เด็กเล็กๆ ที่ฆ่าสัตว์เล่นเป็นบาปหรือไม่

 
thilda
วันที่  10 ก.ค. 2558
หมายเลข  26761
อ่าน  1,779

เรียนถามอาจารย์ค่ะ

เคยทราบมาว่า เด็กเล็กๆ ที่ฆ่าสัตว์เล่น เช่น บี้มด หนอน ด้วยความไร้เดียงสา ไม่รู้ว่าเป็นการเบียดเบียนสัตว์ และไม่รู้จักคำว่าฆ่าหรือทำชีวิตให้ตกไป ก็ยังเป็นอกุศลกรรม เพราะมีเจตนา ไม่ทราบว่าเป็นอย่างนั้นจริงหรือเปล่าคะ ขอทราบในรายละเอียดด้วยค่ะ ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอย่างยิ่งค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 10 ก.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ หรือแม้แต่สัตว์ดิรัจฉานด้วยกันที่ฆ่าสัตว์อื่น ก็เป็นบาป
เป็นปาณาติบาตเหมือนกัน ธรรมฝ่ายที่ไม่ดีเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้นก็เป็นอกุศลเจตนา เป็นการสะสมเหตุที่ไม่ดี และในขณะที่เป็นอกุศล จะไม่ปราศจากความไม่รู้หรือโมหะเลย นี้คือความเป็นจริง

ดังนั้น เมื่อเห็นเด็กฆ่าสัตว์จะด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม ผู้ใหญ่ก็ควรที่จะได้กล่าวตักเตือน ค่อยๆ กล่าวด้วยเหตุผลให้เห็นโทษของการเบียดเบียนผู้อื่น เพราะขณะที่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยการทำอกุศลกรรม นั้น ชื่อว่า เบียดเบียนตนเอง เพราะเมื่อถึงคราวที่อกุศลกรรมให้ผล ก็ให้ผลที่ไม่ดีไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ไม่น่าพอใจกับตนเองเท่านั้น จะไม่ได้รับความสุขจากการกระทำอกุศลกรรมเลย

ในอดีตชาติชีวิตของท่านพระสารีบุตร ตอนเป็นเด็กซึ่งเป็นลูกของช่าง จับแมลงวันแล้วเอาเสี้ยนทองหลางเสียบดุจหลาว กรรมนั้น ไม่ลืมที่จะให้ผล ในกาลที่เกิดเป็นมัณฑัพยดาบส ก็ถูกเสียบหลาวด้วยหลาวทองหลาง เนื่องจากกรณีมีโจรลักทรัพย์ชาวบ้าน ถูกชาวบ้านผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ติดตาม หนีไป เลยเอาห่อของที่ตนเองลักมาทิ้งไว้หน้าบรรณศาลาของท่าน ชาวบ้านเห็นก็เข้าใจผิดว่าเป็นโจรที่ลักของแล้วมาปลอมเป็นดาบส จับส่งตัวให้พระราชา พระราชาไม่ได้ทรงพิจารณาให้รอบคอบเลยทรงตัดสินให้เสียบหลาว ได้รับความทุกข์อย่างมากโดยมีพระโพธิสัตว์คือทีปายนดาบสคอยดูแลอยู่ใกล้ๆ นี้คือ ความน่ากลัวของอกุศลกรรม ซึ่งเมื่อทำแล้วไม่สูญหายไปไหน สะสมสืบต่ออยู่ในจิต เมื่อถึงคราวที่อกุศลกรรมให้ผล ก็ให้ผลที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ไม่น่าพอใจเท่านั้นจริงๆ ควรอย่างยิ่งที่จะได้ละเว้นกรรมชั่ว แล้วสะสมแต่ความดีเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ทัณฑสูตร และ กุมารกสูตร ... วันเสาร์ที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๖

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
thilda
วันที่ 10 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์คำปั่นอย่างยิ่งค่ะ ความไม่รู้นี้น่ากลัวจริงๆ ถ้าไม่ได้ศึกษาธรรมก็ไม่รู้เลย

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
papon
วันที่ 10 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
tanrat
วันที่ 10 ก.ค. 2558

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
thilda
วันที่ 11 ก.ค. 2558

ขออภัยค่ะอาจารย์ ขอเรียนถามเพิ่มเติมค่ะ

โลภะติดข้องได้ทุกอย่าง (ยกเว้นโลกุตตรธรรม) กรณีนี้เดาว่าเด็กเล็กคงเห็นสนุกที่สัตว์เคลื่อนที่แล้วก็หยุดเคลื่อนที่ หรือชอบที่เห็นสีที่เปลี่ยนไปจากตัวสัตว์ ฯลฯ แม้จะไม่รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ไม่รู้ว่าการทำแบบนั้นเป็นการฆ่าสัตว์ แต่ก็มีความพยายามทำให้สัตว์ที่เคลื่อนที่หยุดเคลื่อนที่ หรือให้เห็นสีที่เปลี่ยนไปของสัตว์ ฯลฯ ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือรู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต และมีโลภะ ความติดข้องต้องการ พยายามทำให้สัตว์หยุดเคลื่อนที่ ฯลฯ และความพยายามสำเร็จ จึงครบองค์เป็นปาณาติบาต คงเป็นประมาณนี้หรือเปล่าคะ ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 11 ก.ค. 2558

เรียนความเห็นที่ 5 ครับ

เด็กปรารถนาความสุข รักสนุก จะด้วยอย่างไรก็ตามที่ ทำกับงู แต่เบียดเบียนงู ตีงู ถ้างูตายด้วยเจตนาฆ่านั้น ก็ครบองค์ปาณาติบาต ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
peem
วันที่ 11 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
nvrath
วันที่ 11 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
danai2523
วันที่ 13 ก.ค. 2558

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wannee.s
วันที่ 13 ก.ค. 2558

การรักษาศีล 5 เป็นต้น ชื่อว่าให้ความไม่มีเวร ไม่มีภัย ทั้งตนเองและผู้อื่น ค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ