เมื่อจิต รู้สี รู้เสียง แล้วจะต้องพิจารณาอย่างไรอีก 000
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขอเชิญรับฟัง...
เมื่อจิตรู้สี รู้เสียง แล้วจะต้องพิจารณาอย่างไรอีก
๑. คำว่า “ได้ยินเสียง” คือ รู้ ลักษณะของเสียง ที่ปรากฏ
๒. เวลานี้ มี สภาพรู้ไหม ขณะไหน ต้องรู้ด้วยว่า เมื่อมี เป็นขณะไหน กำลังเห็น พูดถึงเห็น เดี๋ยวนี้
๓. ธรรมดา-หลงลืมสติ แต่ เวลาที่จะ “พิจารณาจิต” ก็ หมายความว่า ในขณะที่ “เห็น” เป็น จิต ที่เกิดขึ้น “เห็น” สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น ในขณะนี้ “ระลึกได้” ที่จะรู้ ว่า มี สภาพที่ กำลัง “รู้” คือ “เห็น” สิ่งที่ปรากฏ
๔. “ใช้” สติ ... “ใช้”-ปัญญา ... “ใช้” ไม่ได้
๕. สติ เกิด - จึง ระลึก -กระทำกิจของสติ ถ้าสติไม่เกิด - ผัสสะ ก็กระทำกิจของสติ - ไม่ได้ เพราะเหตุว่า ผัสสะ เพียง กระทบ กับอารมณ์
๖. แต่ สติ เป็น สภาพธัมมะ-ที่เป็นโสภณะ เมื่อมีการฟัง เรื่องของนามธรรมและรูปธรรม เมื่อมีการฟัง เรื่องของการเห็นการได้ยิน เป็นต้น ซึ่ง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล มีความจำ ที่มั่นคง ที่ไม่ลืม ใน สิ่งที่ได้ยินได้ฟัง ก็ เป็นปัจจัยให้ มี การระลึก ในขณะที่กำลังเห็น แล้ว ค่อยๆ รู้ขึ้น ว่า เป็นสภาพรู้-ที่กำลังเห็น เป็นธาตุรู้ ไม่ใช่รูปธาตุ แต่เป็นนามธาตุ เป็นเพียงอาการรู้ หรือ ธาตุรู้ ที่ เห็น-สิ่งที่ปรากฏ บ่อยๆ เนืองๆ นี่คือ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
๗. เพราะฉะนั้น ลักษณะต่างๆ ของจิต-ประการต่อๆ ไป คือ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทั้งหมด ที่สอดคล้องกัน ที่เมื่อพิจารณาแล้ว ก็จะตรงกับ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมวดต่างๆ
๘. ไม่พ้นจาก - การระลึกรู้-ลักษณะของสภาพรู้ ที่กำลังปรากฏ คือ กำลังเห็นขณะนี้ กำลังได้ยินขณะนี้ กำลังคิดนึกขณะนี้