ปาติโมกข์สังวรศีล

 
papon
วันที่  29 ต.ค. 2558
หมายเลข  27160
อ่าน  6,800

เรียน อาจารย์ทั้งสองท่าน

"ปาติโมกข์สังวรศีล" หมายความว่าอย่างไรครับ ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 29 ต.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ปาริสุทธิศีล ๔ ทรงแสดงโดยตรงกับพระภิกษุ แต่ก็ไม่ห้ามบุคคลทั่วไปว่าห้ามปฏิบัติ ปาริสุทธศีล ๔ คือ

ปาฏิโมกขสังวรศีล ๑

อินทริย์สังวรศีล ๑

ปัจจยสันนิสิตศีล ๑

อาชีวสันนิสิตศีล ๑

ข้อแรก หมายถึง ศีลปาฏิโมกข์ได้แก่ศีล ๒๒๗ ของพระภิกษุ

ข้อที่ ๒ การสำรวมอินทรีย์ ๖ เป็นสติปัฏฐานโดยตรง

ข้อที่ ๓ การพิจารณาปัจจัยโดยแยบคายแล้วจึงบริโภค

ข้อที่ ๔ การเลี้ยงชีพโดยอาชีพที่ชอบคือสัมมาอาชีวะ

ปาติโมกขสังวรศีล หมายถึง การสำรวมระวังในศีลปาฏิโมข์ คือ ท่านกล่าวถึงศีลของพระภิกษุซึ่งเป็นศีลที่เป็นหลักเป็นประธาน โดยความหมายถึงการไม่ล่วงศีล การรักษาศีลที่มาในพระปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อ และความหมายปาฏิโมกข์มีหลายความหมาย

อ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 391

เชิญคลิกอ่านที่.....

นัยของปาติโมกข์

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 29 ต.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

บรรพชิตที่บวชในพระพุทธศาสนาจะต้องศึกษาในแต่ละสิกขาบทที่เป็นพระวินัยบัญญัติที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ กล่าวคือปาฏิโมกข์ ซึ่งมีมากเป็นอย่างยิ่ง พร้อมทั้งละเว้นไม่กระทำในสิ่งที่ผิดพระวินัยส่วนคฤหัสถ์มีศีลที่ต้องสำรวมระวังรักษาอยู่เป็นนิตย์ที่เรียกว่านิจจศีลหรือ ศีล ๕ มีการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท และถ้าสิ่งไหนดี ก็สามารถน้อมประพฤติปฏิบัติตามได้ และสิ่งใดที่เป็นโทษ ไม่นำมาซึ่งประโยชน์ใดๆ ก็งดเว้น ไม่น้อมประพฤติในสิ่งนั้น

ขอเชิญอ่านคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้ที่นี่ ครับ

คฤหัสถ์รักษาศีลตามพระวินัยได้ตามควร เพราะฉะนั้นแต่ละคนจะมีศีล มีความประพฤติขัดเกลามากน้อยสักเท่าไร ก็เป็นเรื่องที่ทำเฉพาะตัว ไม่ใช่ทำเพื่อประกาศให้คนอื่นชื่นชมอนุโมทนา รับรู้หรืออะไรต่างๆ ทั้งสิ้น ถ้าผู้ใดอ่านพระวินัยปิฎกทั้งๆ ที่เป็นคฤหัสถ์ จะเห็นได้จริงๆ ว่า ที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติความประพฤติที่ดีงามทั้งกายวาจา ยิ่งกว่าของคฤหัสถ์ ก็แสดงให้เห็นว่าผู้ที่อยู่ในเพศสมณะ ต้องสงบจริงๆ ระดับไหนแค่ไหน ไม่ใช่จะเหมือนอย่างคฤหัสถ์ แต่ทุกข้อที่บัญญัติเพื่อขัดเกลายิ่งขึ้น เพื่อความสงบ เป็นเรื่องเฉพาะตัว ซึ่งคฤหัสถ์เวลาอ่านแล้ว ถ้าเห็นว่าสิ่งนี้ดี น่าประพฤติปฏิบัติตาม ทำได้ไหมคะ ไม่มีข้อห้ามเลย ต้องไปบอกใครไหมว่า เรามีศีลมากกว่านั้นอีก เราเที่ยวไปเก็บเล็กเก็บน้อยจากพระวินัยมาประพฤติปฏิบัติ แล้วเราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนับว่าเรามีตั้งเท่านั้น หรือตั้งเท่านี้ แต่สิ่งใดที่ดีงามที่ทรงบัญญัติไว้สำหรับพระภิกษุ คฤหัสถ์ที่เห็นสมควรจะกระทำตามได้ก็ทำ โดยที่ว่ายังเป็นเพศของคฤหัสถ์ แล้วก็ไม่จำเป็นที่จะไปบอกใครว่า มีการกระทำที่เป็นไปตามพระวินัยเพิ่มขึ้น เป็นศีลข้อนั้นข้อนี้ เพราะว่าทั้งหมดของพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของการขัดเกลา"

...กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

และอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
papon
วันที่ 29 ต.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
peem
วันที่ 1 พ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nong
วันที่ 13 พ.ย. 2558

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 26 ก.พ. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 9 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Jarunee.A
วันที่ 6 ส.ค. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ