คุยเรื่องหนังล่วงอกุศลกรรมบทแล้ว

 
คนรักหนัง
วันที่  26 ม.ค. 2550
หมายเลข  2720
อ่าน  1,958

สืบเนื่อง จาก กระทู้ อย่างไรจึงเข้าข่ายพูดเพ้อเจ้อ กระผมได้ แสดงความเห็นไปว่า ถ้าคู่สนทนาของเราเข้าใจว่าเป็นเรื่องในหนังเท่านั้นกรรมบทไม่ขาดแต่เมื่อกระผมได้อ่านทบทวน องค์ของ อกุศลกรรมบท ในข้อนี้แล้ว

ปรากฎว่า กรรมบทขาด ครับก็ต้องกราบขออภัย เพื่อนสมาชิกด้วย ที่แสดงความเห็นไม่ตรงกับสภาพธรรมตามความเป็นจริง ขอยกข้อความโดยตรง มาให้ได้พิจารณากันอีกครั้ง นะครับ

[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

สัมผัปปลาบนั้น มีองค์ ๒ คือ

๑. นิรตฺถกกถาปุเรกฺขารตา มุ่งกล่าวถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มีเรื่องภารตยุทธ และเรื่องชิงนางสีดา เป็นต้น

๒. ตถารูปีกถากถนํ กล่าวเรื่องเช่นนั้น

ดังนั้นการหมกมุ่นอยู่กับเรื่องหนัง นอกจากเป็น อบายมุข อย่างหนึ่งแล้ว การพูดคุยกัน เรื่อง หนัง ก็ยังเป็นการล่วงอกุศลกรรมบท ในข้อ พูดเพ้อเจ้อ ด้วยครับ ไม่ทราบว่า เพื่อนๆ มีความเห็นอย่างไร เพราะในสมัยนี้ มีทั้ง โทรทัศน์ มีทั้ง VCD DVD โทรศัพท์ มือถึอก็ยังดูหนัง ฟังเพลง ได้ มันง่ายต่อการให้ความเพลิดเพลินกับตัวเอง จริงๆ เลยครับ


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ปุถุชนคนหนึ่ง
วันที่ 26 ม.ค. 2550

ศีล คือ ปกติ เป็นการขัดเกลากายและวาจาให้บริสุทธิ์ การล่วงศีลเกิดขึ้น เมื่อมีการเบียดเบียนและประทุษร้ายทางกายหรือวาจา จะมีโทษมากเมื่อมีการหักราน ประโยชน์มาก และมีโทษน้อยเมื่อมีการหักรานประโยชน์น้อย ปุชุชนทุกคนย่อมล่วง ศีลกันได้ทั้งนั้นนะคะ แต่เมื่อสติเกิดระลึกขึ้นได้ ขณะนั้นก็เป็นการขัดเกลาไปที ละเล็กละน้อย การดำเนินชีวิตทุกอย่างต้องเป็นไปตามปกติ นี่คือความยาก ของการเจริญสติปัฏฐาน เพราะโดยมากเรามักพยายามหลีกเลี่ยง ฝืนอัธยาศัย หรือกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ผิดจากปกติ เพราะเข้าใจว่านั่นเป็นหนทางที่จะทำให้สติ และปัญญาเจริญยิ่งขึ้น แต่ปัญญาที่รู้ในสภาพธรรมคือ รู้ในขณะนี้จะเป็นนามหรือ รูป กุศลหรืออกุศลก็แล้วแต่สติจะระลึกนะคะถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจธรรมแล้ว จะไม่เป็นผู้ ที่ฝืนอัธยาศัย หรือสร้างเงื่อนไขด้วยประการต่างๆ เพราะสภาพธรรมทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย จะละคลายดับไปด้วยปัญญาเท่านั้นนะคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
จิต89หรือ121
วันที่ 26 ม.ค. 2550

พวกเราเป็นฆราวาส ไม่ใช่ พระภิกษุ การดูหนัง ฟังเพลง จึงเป็นเรื่องปกติของเพศฆราวาสเป็นฆราวาส ก็ไม่ต้องฝืนอัธยาศัย ไปทำตามอย่าง พระภิกษุ บีบ บังคับตัวเอง หนังไม่ดู เพลงไม่ฟัง หนังสือพิมพ์ก็จะไม่อ่าน รักษา ศีล ๘ ทุกวันไป เลย ฟังธรรมอย่างเดียวตั้งแต่ เช้า จด เย็น การกระทำอย่างนี้ มิใช่หนทางการอบรมเจริญปัญญาในเพศฆราวาสพุทธบริษัท มีทั้งเพศบรรพชิต และ คฤหัสถ์เป็น ฆราวาส หรือ คฤหัสถ์ ก็อบรมเจริญสติปัฏฐานได้ ดูหนัง ฟังเพลง ก็ได้ ไม่ต้องอาบัติ ข้อสำคัญคือ เป็นผู้ตรงต่ออัธยาศัยของตนเอง และราก็ไม่ทิ้งการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม

การเป็นผู้ไม่ประมาทมิใช่ว่า จะต้องบวชเป็นเพศบรรพชิต กันหมด นะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 27 ม.ค. 2550

ในครั้งพุทธกาล พระสารีบุตรและโมคคลานะ ทั้งสองคนเป็นเพื่อนรักกัน ไปดูหนังด้วยกันแล้วก็เกิดความเบื่อหน่าย ทำกติกากันว่าถ้าใครได้ดวงตาเห็นธรรมให้ มาบอกกัน วันหนึ่งพระสารีบุตร ได้เจอท่านพระอัสสชิ เกิดความเลื่อมใสฟังธรรมจากท่าน แล้วบรรลุเป็นพระโสดาบัน ก็มาบอกพระโมคคัลลานะ เพราะฉะนั้นเป็น เรื่องธรรมดาที่ปุถุชนยังติดอยู่ในกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ขอเพียงอย่าได้ถึงกับล่วงศึลหรือทำให้คนอื่นเดือดร้อนก็พอแล้ว

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 27 ม.ค. 2550

แต่เมื่อปัญญา เจริญมากขึ้น ปัญญานั้นเองจะทำหน้าที่ รู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ สิ่งใดไม่เป็นประโยชน์ โดยไม่ฝืนอัธยาศัย เพราะเป็นปัญญาที่รู้ว่า สิ่งใดมีประโยชน์ มากว่ากัน ซึ่งเป็นปกติของคนนั้น เพราะเหตุใดเพราะปัญญาเจริญขึ้น จึงเป็นปกติ ของคนนั้น ที่จะรู้ว่า สิ่งใดควร เสพ สิ่งใดไม่ควรเสพ สิ่งใดมีโทษ สิ่งใดไม่มีโทษ รู้ว่า สิ่งใดเป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ นั่นคือ สาตถกสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นการใคร่ ครวญถึงประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์ครับ ขอยกข้อความในพระไตรปิฎก

[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 689

๑. สาตถกสัมปชัญญะ

บรรดาสัมปชัญญะทั้ง ๔ อย่างนั้น การไม่ไปตามอำนาจความคิด ที่เกิดขึ้นทีเดียว ในเมื่อคิดจะก้าวไป กำหนดผลได้ผลเสีย (ก่อน) ว่า การไปที่นี้ จะมีประโยชน์แก่เรา หรือไม่มี แล้วถือเอาแต่ประโยชน์ ชื่อว่า สาตถกสัมปชัญญะ.


ดังนั้น การเป็นผู้มีปกติ เจริญสติปัฏฐาน ก็จึงแล้วแต่อัธยาศัยที่สะสมมา เป็นผู้มีปกติ อย่างไร สติก็สามารถระลึกได้ในขณะนั้น ส่วนเรื่องกระทู้พูดเพ้อเจ้อ จะขอยกข้อความที่ทำให้ครบกรรมบถ คือ บุคคลอื่นต้องเชื่อเรื่องนั้นด้วย ถ้าไม่เชื่อ กรรมบถก็ไม่แตก ครับ

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 598

สัมผัปปลาปะ มีองค์ ๒ คือ

๑. มุ่งพูดเรื่องไม่เป็นเรื่อง มีเรื่องภารตยุทธ์และเรื่องชิงนางสีดาเป็นต้น

๒. การพูดเรื่องอย่างนั้น

ก็เมื่อคนอื่นไม่เชื่อเรื่องนั้น กรรมบถยังไม่แตก เมื่อคนอื่นเชื่อ คำพูดเพ้อเจ้อนั้น กรรมบถจึงแตก

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pornpaon
วันที่ 27 ม.ค. 2550
ขออนุโมทนาความเห็นของทุกท่านค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
medulla
วันที่ 28 ม.ค. 2550
ขออนุโมทนาด้วยค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
suntarara
วันที่ 15 พ.ค. 2550

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
udomjit
วันที่ 19 ก.ค. 2550

ได้อ่านกระดานสนทนาถามตอบเรื่อง

ผิดศีลแล้วแก้ได้อย่างไร

จึงเกิดความสนใจเรื่องอกุศลกรรมบท เข้าไปค้นในกระดานสนทนาจึงพบ 2 กระทู้ อ่านแล้วสนใจใคร่ทราบทั้ง ๑๐ การล่วงองค์อกุศลกรรมบท ๑๐ และการกระทำครบ องค์ของกุศลกรรมบท ๑๐ ขอความอนุเคราะห์นะคะ

ขอบคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
study
วันที่ 19 ก.ค. 2550

ข้อที่ ๑ ปาณาติบาต

ข้อที่ ๒ ซื้อแผ่นดีวีดี.....ผิดศีลข้อลักทรัพย์หรือเปล่าครับ

ข้อที่ ๓ เกณฑ์หรือมาตราฐานในการวัดการผิดศีลข้อ ๓

ข้อที่ ๔ โกหกโดยไม่ได้ตั้งใจ ผิดศีลหรือไม่?

ข้อที่ ๕ ส่อเสียด

ข้อที่ ๖ เรื่องวาจาหยาบ แต่ใจไม่หยาบ

ข้อที่ ๗ สัมผัปปลาป อยู่ในกระทู้นี้

ข้อที่ ๘ อภิชฌา ดูด้านล่าง

ข้อที่ ๙ พยาบาท ดูด้านล่าง

ข้อที่ ๑๐ มิจฉาทิฏฐิ

เชิญคลิกอ่านที่นี่...

มโนกรรม 3 [สังคีติสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
udomjit
วันที่ 19 ก.ค. 2550

กำลังตามอ่านทุกข้อค่ะ ขอบคุณมากๆ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chatchai.k
วันที่ 10 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ