ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๒๓๐

 
khampan.a
วันที่  17 ม.ค. 2559
หมายเลข  27379
อ่าน  2,839

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุญาตแบ่งปันข้อความธรรม (ปันธรรม) ที่ได้จากการฟังพระธรรมจากท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ในแต่ละครั้ง รวบรวมเป็นธรรมเตือนใจเพื่อศึกษาและพิจารณาร่วมกัน เพื่อความเข้าใจธรรม (ปัญญ์ธรรม) ตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นข้อความที่สั้นบ้าง ยาวบ้าง แต่ก็มีอรรถที่สมบูรณ์ พอที่จะเข้าใจได้ควรค่าแก่การพิจารณาอย่างยิ่ง ดังนี้

ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๒๓๐

~ เรื่องของความคิดนึกเป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่าทุกคนต้องคิดนึก และกว่าจะรู้ได้ว่าความคิดขณะใดเป็นกุศล ความคิดขณะใดเป็นอกุศล ก็ต้องอาศัยการอบรมเจริญปัญญาจริงๆ เพราะเหตุว่าอกุศลเร็ว แล้วก็มาก เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นประจำอย่างนี้ ยากที่จะรู้ได้จริงๆ ว่า ความคิดที่เป็นกุศลต่างกับความคิดที่เป็นอกุศลอย่างไร

~ สภาพธรรมทุกอย่างไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ทั้งหมดตั้งแต่เกิดจนตาย ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นสัญญา ความจำที่มั่นคง เป็นปัจจัยให้สติเกิดระลึกได้ว่า ในขณะที่เห็นในขณะนี้ก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง และสิ่งที่ปรากฏทางตาในขณะนี้ ก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง

~
ถ้าไม่ละทิ้งอกุศลเจตสิกที่คิดนึกในเรื่องไม่เป็นประโยชน์ ก็จะทำให้คิดนึกแต่ในเรื่องไม่เป็นประโยชน์

~
การเกื้อกูลกันให้เกิดความเห็นถูกในข้อประพฤติปฏิบัติ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะเหตุว่า ถ้าท่านมีความเข้าใจผิด มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในข้อประพฤติปฏิบัติ ไม่มีโอกาสเลยที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ ถึงแม้ว่าท่านจะอบรม แต่ปัญญาไม่เกิดที่จะแทงตลอดในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้และทรงแสดงไว้ด้วยดี ทั้งพยัญชนะและอรรถ เพราะฉะนั้นถ้าพระธรรมไม่เกื้อกูลให้ท่านมีความเข้าใจถูก ท่านยังคงยึดมั่นในความเห็นผิด ในข้อปฏิบัติที่คลาดเคลื่อน นอกจากในปัจจุบันชาติจะไม่รู้แจ้งอริยสัจจธรรม แม้ในชาติต่อๆ ไป ก็มีความเข้าใจผิด หลงไปว่าข้อปฏิบัติที่คลาดเคลื่อนนั้น เป็นผลที่ถูกต้อง

~
ถ้าบุคคลใดไม่มีความเห็นถูก การปฏิบัติก็ไม่ถูก การรู้แจ้งธรรมก็ถูกไม่ได้ เพราะฉะนั้น ความเห็นถูกเป็นเบื้องต้นทีเดียว เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ท่านสามารถประพฤติปฏิบัติต่อไปจนกระทั่งได้รู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง

~
ผู้ใดหนักด้วยมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ยึดมั่นในความเห็นที่ไม่ตรงกับพระธรรมที่ได้ทรงแสดงไว้ และไม่ตรงกับสภาพธรรมตามความเป็นจริง แต่ว่าก็ไม่ทิ้งหรือว่าทิ้งไม่ได้ นั่นก็แสดงว่าความเห็นผิดหนักมากทีเดียว ซึ่งถ้าไม่ถ่ายถอน ก็ไม่มีโอกาสที่จะเห็นถูก หรือว่าไม่มีโอกาสที่จะรู้แจ้ง รู้จริงในสภาพธรรมตามที่ปรากฏ และตามที่ได้ทรงแสดงไว้

~
การที่ให้มีศรัทธานั้น หมายความถึงให้น้อมใจเชื่อในสิ่งที่มีเหตุผลควรเชื่อ ไม่ใช่ว่าท่านมีศรัทธาไปเสียหมดทุกสิ่งทุกอย่างที่ผิดๆ อย่างนั้นไม่ใช่ศรัทธาแน่นอน เพราะเหตุว่า ศรัทธาเป็นโสภณเจตสิก เกิดกับโสภณจิตเท่านั้น แต่ถ้าท่านเชื่อในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นเหตุผล เป็นมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งเกิดกับอกุศลจิต

~ สำหรับผู้ที่สะสมความโน้มเอียงที่จะเห็นผิด ท่านผู้ฟังจะสังเกตได้ว่า เรื่องใดที่เป็นเรื่องผิด ผู้นั้นพร้อมที่จะรับทันที ง่ายเหลือเกินที่จะคิดว่าถูก เชื่อว่าเป็นความจริง เพราะเหตุว่าสะสมความโน้มเอียงที่จะเห็นผิด เข้าใจผิด แต่ว่าเรื่องใดที่เป็นเรื่องถูก เรื่องใดที่เป็นเรื่องจริง เรื่องใดที่เป็นเรื่องละเอียด บุคคลที่มีความโน้มเอียงสะสมมาที่จะเห็นผิด ไม่ยอมรับเลย ปฏิเสธ เห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่จริง หรือว่าไม่ถูก แต่สิ่งใดที่คลาดเคลื่อน สิ่งใดที่ผิด บุคคลนั้นง่ายที่จะเชื่อ พร้อมที่จะรับทันที

~
ถ้ามีความเห็นผิดเสียแล้ว การชักชวน หรือคำพูดที่ผิดก็ย่อมเกิดขึ้น ทำให้บุคคลอื่นประพฤติปฏิบัติตามในสิ่งที่ผิดไปด้วย แต่ว่าความเห็นชอบ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

~
ขณะใดที่จะกระทำอกุศลกรรม ขณะนั้นก็เป็นการสะสมเพิ่มพูนกิเลสอีก และขณะใดที่หลงลืมสติ ขณะนั้นก็เพิ่มพูนกิเลสมากขึ้นด้วย เพราะฉะนั้น ผู้ที่เห็นโทษของกิเลส แล้วก็ใคร่ที่จะดับกิเลส ก็จะไม่เพิ่มกิเลส โดยการกระทำทุจริตกรรมทางกาย ทางวาจา เพราะฉะนั้น กุศลธรรมมิใช่น้อยจึงเจริญ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

~ ถ้าข้อปฏิบัตินั้นผิด คลาดเคลื่อน ไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้ อกุศลธรรมก็ย่อมเจริญ (คือเกิดมากขึ้น เพิ่มมากขึ้น) สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ก็ย่อมเจริญ เพราะว่าชีวิตปกติประจำวันนั้น มาจากความเห็นผิด เพราะฉะนั้น ทุกอย่างก็ผิดตามไปด้วย เพราะเหตุว่า ไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้

~ ความเห็นผิด เป็นอกุศลธรรมประเภทหนึ่ง ซึ่งพัดไปทำให้ไม่กลับมาสู่ความเห็นถูกเพราะฉะนั้นเป็นอันตรายมาก ถ้ามีความเห็นผิดเพียงเล็กน้อย แล้วก็จะทำให้ความเห็นผิดนั้นพาไปสู่ความเห็นผิดที่มากขึ้นและลึกขึ้น ก็ยากแก่การที่จะละ

~
วันหนึ่งๆ ไม่พ้นจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่เพราะติดกันแน่น ไม่เคยแยก ไม่เคยรู้ว่า เป็นสภาพธรรม เวลาที่สติเกิดขึ้นระลึกรู้ทีละทาง ทีละลักษณะ ถ้ากำลังนึก สติเกิดแทรกขึ้นมาก็รู้ว่า ที่นึกนั้นก็เป็นแต่เพียงสภาพคิด เป็นนามธรรมชนิดหนึ่งค่อยๆ เจริญไป อบรมไป ฟังไป จนกว่าสติจะเกิดบ่อยๆ เนืองๆ และจะช่วยให้ปัญญาสามารถที่จะรู้ชัดถูกต้องตามความเป็นจริงได้

~
อยู่ด้วยโลภะ อยู่ด้วยความเกลียดชัง อยู่ด้วยความริษยา อยู่ด้วยความเห็นแก่ตัวหรือเปล่า? นั่นไม่ใช่ผู้ประเสริฐเลย เพราะฉะนั้นผู้ประเสริฐจริงๆ แม้ในชีวิตประจำวัน ก็คือ เมตตา หมายความว่า ความเป็นมิตร ความเป็นเพื่อน พร้อมจะเกื้อกูล ไม่ได้หมายความว่า ให้เราหลงผิด ทำผิดไปกับคนอื่น แต่การเกื้อกูล คือ เกื้อกูลให้ถูกต้อง ให้เขามีความเห็นถูก ให้มีความเข้าใจถูก ให้มีกายวาจาใจที่ถูก นี่คือความเป็นมิตรที่แท้จริง

~ ผู้ที่เป็นบัณฑิต คือ ผู้ที่เจริญกุศลทุกประการ จึงไม่เบียดเบียนตนเองและไม่เบียดเบียนบุคคลอื่น และเมื่อคิด ก็คิดเพื่อเกื้อกูลแก่ตน เกื้อกูลแก่ผู้อื่น นั่นคือผู้ที่เป็นบัณฑิต

~ ถ้ารู้ตัวเองว่า "กุศลใดๆ ที่ทำ ยังไม่พอ ยังน้อยเหลือเกิน เมื่อเทียบกับอกุศล" ก็จะเป็นกำลังใจที่จะทำให้มีศรัทธา ที่จะทำกุศลมั่นคงขึ้น

~ การที่กุศลจะเจริญขึ้นได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่เห็นคุณจริงของกุศลธรรมที่จะเป็นไปเพื่อการขัดเกลาอกุล จึงไม่ว่างเว้นจากโอกาสที่จะได้สะสมความดีในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นโอกาสของความดีประเภทใดก็ตาม

~ การศึกษาทั้งหมดก็จะละคลายความไม่รู้ และก็ละคลายอกุศลทั้งหลายซึ่งเกิดเพราะความไม่รู้ จนกระทั่งสามารถที่จะนอกจากละชั่ว แล้วก็บำเพ็ญความดี ก็ยังชำระจิตให้บริสุทธิ์จากการยึดถือสภาพธรรมะว่า เป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคลด้วย

~ ประโยชน์สูงสุดของการฟัง แม้ในวันนี้ ก็คือได้ความเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงๆ แม้ว่าจะเพียงเล็กน้อย ก็เป็นความเห็นที่ถูกต้องว่า เป็นธรรม เริ่มเข้าใจ ความเป็นธรรม

~ ถ้าไม่ศึกษาพระธรรมและไม่อบรมเจริญปัญญายิ่งขึ้น ก็จะต้องถูกพัดไป และเป็นผู้หนาด้วยอกุศลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

~ ทุกคนต้องตาย แต่ก่อนตายควรที่จะได้เป็นคนดี

~ ถ้าเข้าใจธรรม เป็นคนดีขึ้นแน่นอน

~ สิ่งที่สะสมสืบต่อที่ประเสริฐอย่างยิ่ง คือ ความเข้าใจถูกเห็นถูก

ขอเชิญผู้ศึกษาพระธรรมร่วมกัน (สหายธรรม) ร่วมแบ่งปันธรรมด้วยครับ

ขอเชิญคลิกอ่านย้อนหลังครั้งที่ผ่านมาได้ที่นี่ครับ

ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๒๒๙

...กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
j.jim
วันที่ 17 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
jirat wen
วันที่ 17 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ปาริชาตะ
วันที่ 17 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
thilda
วันที่ 17 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Boonyavee
วันที่ 17 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
rrebs10576
วันที่ 17 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 17 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 17 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
peem
วันที่ 18 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Noparat
วันที่ 18 ม.ค. 2559

~ ทุกคนต้องตาย แต่ก่อนตายควรที่จะได้เป็นคนดี

~ ถ้าเข้าใจธรรม เป็นคนดีขึ้นแน่นอน

~ สิ่งที่สะสมสืบต่อที่ประเสริฐอย่างยิ่ง คือ ความเข้าใจถูกเห็นถูก

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
jaturong
วันที่ 18 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
siraya
วันที่ 18 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
เมตตา
วันที่ 18 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของ อ.คำปั่น ด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
aurasa
วันที่ 19 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
orawan.c
วันที่ 21 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
puukii
วันที่ 30 ม.ค. 2559

~ วันหนึ่งๆ ไม่พ้นจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่เพราะติดกันแน่น ไม่เคยแยก ไม่เคยรู้ว่า เป็นสภาพธรรม เวลาที่สติเกิดขึ้นระลึกรู้ทีละทาง ทีละลักษณะ ถ้ากำลังนึก สติเกิดแทรกขึ้นมาก็รู้ว่า ที่นึกนั้นก็เป็นแต่เพียงสภาพคิด เป็นนามธรรมชนิดหนึ่งค่อยๆ เจริญไป อบรมไป ฟังไป จนกว่าสติจะเกิดบ่อยๆ เนืองๆ และจะช่วยให้ปัญญาสามารถที่จะรู้ชัดถูกต้องตามความเป็นจริงได้

~ อยู่ด้วยโลภะ อยู่ด้วยความเกลียดชัง อยู่ด้วยความริษยา อยู่ด้วยความเห็นแก่ตัวหรือเปล่า? นั่นไม่ใช่ผู้ประเสริฐเลย เพราะฉะนั้นผู้ประเสริฐจริงๆ แม้ในชีวิตประจำวัน ก็คือ เมตตา หมายความว่า ความเป็นมิตร ความเป็นเพื่อน พร้อมจะเกื้อกูล ไม่ได้หมายความว่า ให้เราหลงผิด ทำผิดไปกับคนอื่น แต่การเกื้อกูล คือ เกื้อกูลให้ถูกต้อง ให้เขามีความเห็นถูก ให้มีความเข้าใจถูก ให้มีกายวาจาใจที่ถูก นี่คือความเป็นมิตรที่แท้จริง

~ ผู้ที่เป็นบัณฑิต คือ ผู้ที่เจริญกุศลทุกประการ จึงไม่เบียดเบียนตนเองและไม่เบียดเบียนบุคคลอื่น และเมื่อคิด ก็คิดเพื่อเกื้อกูลแก่ตน เกื้อกูลแก่ผู้อื่น นั่นคือผู้ที่เป็นบัณฑิต

~ ถ้ารู้ตัวเองว่า "กุศลใดๆ ที่ทำ ยังไม่พอ ยังน้อยเหลือเกิน เมื่อเทียบกับอกุศล" ก็จะเป็นกำลังใจที่จะทำให้มีศรัทธา ที่จะทำกุศลมั่นคงขึ้น

~ การที่กุศลจะเจริญขึ้นได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่เห็นคุณจริงของกุศลธรรมที่จะเป็นไปเพื่อการขัดเกลาอกุล จึงไม่ว่างเว้นจากโอกาสที่จะได้สะสมความดีในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นโอกาสของความดีประเภทใดก็ตาม

~ การศึกษาทั้งหมดก็จะละคลายความไม่รู้ และก็ละคลายอกุศลทั้งหลายซึ่งเกิดเพราะความไม่รู้ จนกระทั่งสามารถที่จะนอกจากละชั่ว แล้วก็บำเพ็ญความดี ก็ยังชำระจิตให้บริสุทธิ์จากการยึดถือสภาพธรรมะว่า เป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคลด้วย

~ ประโยชน์สูงสุดของการฟัง แม้ในวันนี้ ก็คือได้ความเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงๆ แม้ว่าจะเพียงเล็กน้อย ก็เป็นความเห็นที่ถูกต้องว่า เป็นธรรม เริ่มเข้าใจ ความเป็นธรรม

~ ถ้าไม่ศึกษาพระธรรมและไม่อบรมเจริญปัญญายิ่งขึ้น ก็จะต้องถูกพัดไป และเป็นผู้หนาด้วยอกุศลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

~ ทุกคนต้องตาย แต่ก่อนตายควรที่จะได้เป็นคนดี

~ ถ้าเข้าใจธรรม เป็นคนดีขึ้นแน่นอน

~ สิ่งที่สะสมสืบต่อที่ประเสริฐอย่างยิ่ง คือ ความเข้าใจถูกเห็นถูก.

....สาธุการค่ะ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
nong
วันที่ 10 ก.พ. 2559

~ ถ้าเข้าใจธรรม เป็นคนดีขึ้นแน่นอน

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
chatchai.k
วันที่ 7 พ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ