สังโยชนสูตร ... วันเสาร์ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

 
มศพ.
วันที่  21 ก.พ. 2559
หมายเลข  27474
อ่าน  1,142

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ

ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ

สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

••• ... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ... ..•••

... สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ วันเสาร์ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ คือ

สังโยชนสูตร

... จาก ...

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ ๒๗

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ ๒๗

๓. สังโยชนสูตร

(ว่าด้วยสังโยชน์ ๑๐ ประการ)

[๑๓] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการ เป็นไฉน? คือ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลพัตตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการนี้. สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องบน ๕ ประการนี้ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๑๐ ประการนี้แล.

จบสังโยชนสูตรที่ ๓.

อรรถกถาสังโยชนสูตรที่ ๓

สังโยชนสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โอรมฺภาคิยานิ แปลว่า เป็นส่วนเบื้องต่ำ. บทว่า อุทฺธมฺภาคิยานิ แปลว่า เป็นส่วนเบื้องบน. ในสูตรนี้ ท่านกล่าววัฏฏะอย่างเดียว.

จบอรรถกถาสังโยชนสูตรที่ ๓


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 21 ก.พ. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

สังโยชนสูตร (ว่าด้วยสังโยชน์ ๑๐ ประการ)

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสังโยชน์ ๑๐ ประการ

โดยทรงจำแนกเป็นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ คือ

๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นผิดในขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา เป็นตัวตน)

๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัยในสภาพธรรม)

๓. สีลัพพตปรามาส (ความลูบคลำศีลพรตซึ่งเป็นข้อวัตรปฏิบัติที่ผิด)

๔. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ)

๕. พยาบาท (ความโกรธ ขุ่นเคืองใจ ปองร้าย)

และ เป็นสังโยชน์เบื้องบน ๕ คือ

๑. รูปราคะ (โลภะที่ติดข้องในรูปฌาน ติดข้องในรูปภพ)

๒. อรูปราคะ (โลภะที่ติดข้องในอรูปฌาน ติดข้องในอรูปภพ)

๓. มานะ (ความสำคัญตน)

๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)

๕. อวิชชา (ความไม่รู้)

* สังโยชน์ ๑๐ ประการ เป็นอกุศลธรรมที่ผูกมัดเหล่าสัตว์ไว้ในวัฏฏะ จะดับได้อย่างเด็ดขาดด้วยมรรค กล่าวคือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ดับได้ด้วยโสตาปัตติมรรค, กามฉันทะ พยาบาท ดับได้ด้วยอนาคามิมรรค, สังโยชน์เบื้องบน๕ ประการ ดับได้ด้วยอรหัตตมรรค

ขอเชิญคลิกศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

สังโยชน์

ทำอย่างไรจึงจะละสังโยชน์ 10 ได้

ความต่างของสังโยชน์ ในพระสูตรและอภิธรรม

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nong
วันที่ 22 ก.พ. 2559

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 22 ก.พ. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Tommy9
วันที่ 22 ก.พ. 2559

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ปาริชาตะ
วันที่ 22 ก.พ. 2559

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 25 ก.พ. 2559

สาธุ อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
นิคม
วันที่ 27 ก.พ. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ