การถวายรถยนต์ให้ภิกษุ ผิดศีลและทำให้ท่านอาบัติหรือไม่

 
chatchai.k
วันที่  6 มี.ค. 2559
หมายเลข  27532
อ่าน  3,827

สืบเนื่องจากคำถามในกระทู้ ศีลของฆราวาส และ ภิกษุ ท่านวิทยากรได้แสดงให้เห็นว่าผู้ที่บวชในพระธรรมวินัยเป็นภิกษุ มีข้อประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย มากมายกว่าคฤหัส และเป็นข้อบังคับที่ต้องประพฤติและปฏิบัติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตราบใดที่ยังดำรงเพศเป็นภิกษุ มิเช่นนั้นก็อาบัติ ซึ่งมีโทษมาก

ท่านวิทยากรได้กล่าวว่า "คฤหัสถ์ที่เข้าใจพระวินัย ยังสามารถเกื้อกูลพระภิกษุให้ไม่ต้องอาบัติได้ เช่น ไม่ถวายเงินทองแก่พระภิกษุ เป็นต้น" แสดงว่า การรับเงินทอง ของภิกษุ เป็นการผิดพระธรรมวินัยที่ทรงบรรญัติไว้

ขอเรียนถามว่าในกรณีที่มีผู้ถวายรถยนต์และภิกษุรับไว้ โดยมีชื่อของท่านเป็นผู้ครอบครอง จะผิดพระธรรมวินัย หรืออาบัติไหมครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 6 มี.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระภิกษุเป็นเพศที่สละอาคารบ้านเรือนหมดทุกสิ่ง รวมถึงวัตถุที่เป็นไปดั่งเช่น คฤหัสถ์ มี รถยนต์ เป็นต้นด้วย เพราะฉะนั้น การที่คฤหัสถ์ถวายรถยนต์ พระภิกษุผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยย่อมไม่รับ และปฏิเสธ การรับสิ่งของที่ไม่ควร มีรถยนต์ เป็นต้น เพราะทำให้ต้องอาบัติได้ เนื่องด้วย รถยนต์ ไม่ใช่สิ่งของที่เหมาะสม ไม่ใช่ยาน ของพระภิกษุ เพราะ ยานของพระภิกษุที่เที่ยวไป คือ รองเท้า เป็นต้น ไม่ใช่ รถยนต์ เกวียน ไม่ต้องกล่าวถึงการรับในสิ่งที่ไม่ควร ครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎก

เรื่อง ยานที่เหมาะสมกับพระไม่ใช่รถ แต่เป็นรองเท้า

[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

..ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่ ล้อเลื่อน รถ เกวียน รถมีเครื่องประดับ วอรถเข็น. นี้มิใช่ยานของบรรพชิต. บรรพชิตมียานอย่างเดียวคือ รองเท้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่240

ข้อความบางตอนจาก อรรถกถากินททสูตร

บทว่า ยานโท ได้แก่ ยานทั้งหลายมีหัตถิยาน (ยานช้าง) เป็นต้น ก็แต่ว่าในบรรดายานเหล่านั้น ยานช้าง ยานม้าย่อมไม่สมควรแก่สมณะ การให้ไปด้วยรถก็ไม่สมควรเหมือนกัน ยานที่สมควรแก่สมณะก็คือรองเท้าสำหรับสมณะผู้รักษาอยู่ซึ่งศีลขันธ์

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 6 มี.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การรับรถยนต์ของพระภิกษุไม่ควรโดยประการทั้งปวง ผู้รับย่อมอาบัติมีโทษ ส่วนผู้ให้ ก็ให้ในสิ่งที่ไม่เหมาะควรแก่เพศบรรพชิต เป็นเหตุให้ภิกษุต้องอาบัติ และ ถ้าพระภิกษุ ยังมีอาบัติติดตัว ไม่ได้กระทำคืนให้ถูกต้องตามพระวินัย ถ้ามรณภาพลง (ตาย) ก็ไปอบายภูมิอย่างเดียว พระภิกษุก็เกิดเป็นสัตว์นรกได้ เกิดเป็นเปรตได้ เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานได้ ลงไปสู่ที่ต่ำอย่างเดียว, ผู้ที่เป็นพระภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ต้องปฏิเสธการรับรถยนต์ ตลอดจนถึงสิ่งที่ไม่ควรแก่เพศบรรพชิตอย่างอื่นๆ เช่น เงิน ทอง เป็นต้น เพราะไม่ใช่สิ่งที่บรรพชิตจะรับได้ และ ยังควรอย่างยิ่งที่จะกล่าวความจริงให้คฤหัสถ์ได้รับรู้ว่า พระภิกษุในพระธรรมวินัย ไม่รับรถยนต์ ต้องกล้าที่จะกล่าวความจริง ไม่ใช่ว่าเอาอะไรมาให้ก็จะรับหมด เพราะมีแต่โทษโดยส่วนเดียว เป็นผู้ไม่เคารพในพระรัตนตรัย ไม่มีความจริงใจที่จะขัดเกลากิเลสของตนเอง ไม่ได้น้อมประพฤติตามพระธรรมวินัย ถ้าอยากจะมีรถยนต์ อยากจะครอบครองรถยนต์ อยากจะมีเงิน มีทรัพย์สมบัติ ก็ต้องลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์ เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ควรแก่เพศบรรพชิต ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ผู้มีความประมาท
วันที่ 7 มี.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 7 มี.ค. 2559

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 7 มี.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
doungjai
วันที่ 12 มี.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
nong
วันที่ 14 มี.ค. 2559

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wirat.k
วันที่ 14 มี.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ