พุทธวจนะต่างกับอรรถกถาอย่างไรครับ

 
samroeng
วันที่  14 มี.ค. 2559
หมายเลข  27564
อ่าน  1,338

ขอความกระจ่างด้วยครับ

ขอขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 15 มี.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระพุทธพจน์ กับ พุทธวจนะ มีความหมายเหมือนกัน หมายถึง พระดำรัส (คำพูด) ของพระพุทธเจ้า ซึ่งก็คือ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงทั้งหมด 3 ปิฎก

ดังนั้น พระพุทธพจน์ พระพุทธวัจนะ ที่เป็นพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็รวมทั้งพระอภิธรรมด้วย พระสุตตันตปิฎกด้วยและพระวินัยด้วยครับ

ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระนางมหาปชาบดีโคตมีว่า การจะตัดสินว่า ธรรมใดเป็นพระธรรมคำสั่งสอนของเราหรือไม่ ให้พิจารณาในคำสอนนั้นว่า คำสอนใดเป็นไปเพื่อเบื่อหน่าย คลายกำหนัดจากกิเลส ละกิเลส เป็นไปเพื่อความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา และเจริญขึ้นของกุศลและปัญญา คำสอนนั้นเป็น คำสอนของเรา แต่ธรรมใดไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อละกิเลส แต่เป็นไปเพื่อได้ เพื่อติดข้องไม่รู้และไม่ทำให้เจริญขึ้นในกุศลและปัญญา คำสอนนั้นไม่ใช่ คำสอนของเราที่เป็นพุทธพจน์ พุทธวัจนะ ครับ

ซึ่ง พระสุตตันตปิฎก เป็นคำสอนที่แสดงถึงเรื่องราวที่แสดงกับบุคคล แต่เป็นเรื่องราวที่ตรงตามความเป็นจริง ทำให้ผู้ฟังเกิดกุศลและเกิดปัญญา และละคลายกิเลส ดังนั้น พระสุตตันตปิฎก จึงเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นพุทธวัจนะ พุทธพจน์ครับ

ส่วนพระอภิธรรม ก็แสดงเพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจตามความเป็นจริงว่ามีแต่ธรรมไม่ใช่เรา อันเป็นไปเพื่อละกิเลส คือ ความไม่รู้ และเจริญขึ้นของปัญญา เพราะฉะนั้น เมื่อเป็นดังนี้ พระอภิธรรมก็เป็นพระพุทธพจน์ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเช่นกัน ดังเช่นที่พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า คำสอนใดเป็นไปเพื่อละคลายกิเลส มีความไม่รู้และเจริญขึ้นของกุศลและปัญญา เป็นคำสอนของเรา ดังนั้น การศึกษาธรรมจึงต้องเป็นผู้ละเอียดรอบคอบในการศึกษาพระธรรม จึงจะได้สาระจากพระธรรม คือ ความเห็นถูกและละคลายกิเลส ครับ

ก่อนอื่นก็จะต้องเข้าใจคำว่า อรรถกถา ก่อน ว่าคืออะไร อรรถกถา คือ เนื้อความที่อธิบายพระบาลี หรือ คำพระไตรปิฎกให้เข้าใจขึ้นถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ซึ่งในความเป็นจริง ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรม ซึ่งก็เป็นพระบาลี เป็นคำในพระไตรปิฎก และพระองค์ก็ทรงอธิบายอรรถ เนื้อความพระธรรมด้วย ซึ่งพระสารีบุตร พระอานนท์ และพระอุบาลี ก็รวบรวมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นหมวดหมู่ 3 ปิฎก ให้เรียบร้อย และก็สามารถกล่าวได้ว่าพระสารีบุตร พระอานนท์ และพระอุบาลี ต่างก็เป็นพระอรรถกถาจารย์ คือ อาจารย์ที่อธิบายเนื้อความพระไตรปิฎก ที่พระพุทธเจ้าได้แสดงไว้แล้วนั่นเองครับ

ในความเป็นจริง อรรถกถา ก็เป็นพระธรรมของพระพุทธเจ้านั่นเองครับ เพียงแต่ว่ากล่าวโดยพระสาวก เมื่อพระพุทธเจ้าทรงรับรองคำนั้น ก็ชื่อว่า เป็นพระพุทธพจน์แล้ว ดังนั้น อรรถกถาที่อธิบายเพิ่มเติม ก็เป็นคำที่สาวกของพระพุทธเจ้า ไม่ได้แต่งขึ้นใหม่ดังพระสูตรที่อ้างถึง ที่มีคำว่า นักกวีแต่งขึ้นใหม่ แต่อรรถกถาเป็นการอธิบายพระธรรมตามแนวของพระพุทธเจ้า คือ ตามพระบาลี ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงอยู่แล้ว ไม่ได้แต่งให้นอกเหนือจากคำสอนของพระองค์ แต่ที่พระสาวกผู้มีปัญญา ได้อธิบายเป็นอรรถกถา ก็เพื่อความละเอียด เพื่อความเข้าใจของสาธุชนรุ่นหลัง ให้เข้าใจได้ถูกต้อง ไม่เผิน ในพระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้งสุดประมาณ ยากต่อการเข้าใจกับหมู่สัตว์ผู้มากไปด้วยความไม่รู้ ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 15 มี.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา ที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้จากการที่พระอริยสาวกทั้งหลายเห็นประโยชน์ของพระธรรมช่วยกันรักษาพระธรรมวินัยให้คงอยู่อันจะเป็นประโยชน์ แก่ผู้ที่มีโอกาสได้ศึกษาอย่างแท้จริง นั้น เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกโดยตลอด กล่าวได้ว่า พระไตรปิฎกและอรรถกถา เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกทั้งหมด สำคัญอยู่ที่ว่าผู้นั้นจะศึกษาโดยละเอียดหรือไม่? คำจริงที่เป็นไปเพื่อความเข้าใจธรรม เป็นคำของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นใครกล่าวก็ตาม
หลักแห่งการติดสินว่าเป็นพระธรรมวินัยเป็นคำสั่งสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้ว่า ธรรมเหล่าใด เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้เพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว พึงทรงจำธรรมเหล่านี้ไว้ว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของศาสดา
ซึ่งจะต้องขึ้นอยู่กับผู้ศึกษาจริงๆ การที่จะปฏิเสธอรรถกถถา ย่อมเป็นการไม่สมควรเพราะอรรถกถาส่วนหนึ่งมาจากปกิณณกเทศนาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และส่วนหนึ่งก็มาจากพระอรหันต์สาวกมีท่านพระสารีบุตรเป็นต้นท่านอธิบายไว้ เป็นการอธิบายพระบาลีคือพระพุทธพจน์ให้เข้าใจยิ่งขึ้น อันเป็นการอธิบายของพระอริยสาวกผู้ที่ประกอบด้วยปัญญา ที่ควรค่าแก่การศึกษาพิจารณาไตร่ตรองเป็นอย่างยิ่ง ขึ้นอยู่กับว่าผู้นั้นได้ศึกษาโดยละเอียดหรือยัง?

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pdharma
วันที่ 15 มี.ค. 2559

เชิญอ่านโพสต์เดิมที่ อรรถกถา โดยบ้านธัมมะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
กมลพร
วันที่ 15 มี.ค. 2559

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 16 มี.ค. 2559

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 16 มี.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Patchanon
วันที่ 16 มี.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ปาริชาตะ
วันที่ 17 มี.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
nopwong
วันที่ 22 มี.ค. 2559

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
peem
วันที่ 22 มี.ค. 2559

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
นิคม
วันที่ 22 มี.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
wirat.k
วันที่ 23 มี.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
wannee.s
วันที่ 23 มี.ค. 2559

ยุคหลังสองพันกว่าปี มีปัญญาน้อย ต้องอาศัยการฟังธรรมบ่อยๆ เนืองๆ และพระไตรปิฎกที่อ่านมีอรรถกถาแปล ก็ช่วยอธิบายให้เข้าใจขึ้น ตามการสะสมของแต่ละคนไม่เท่ากันค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
paderm
วันที่ 3 เม.ย. 2561

ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ