คู่แห่งบุรุษ ๔บุรุษบุคคล ๘

 
siwa
วันที่  4 ก.พ. 2550
หมายเลข  2774
อ่าน  33,767

ปสาทสูตร

ว่าด้วยความเลื่อมใสในวัตถุเลิศ ๔ ประการ

สงฆ์สาวก ของตถาคตคือใคร คือคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ บุรุษบุคคล ๘ นี่สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า คำว่า คู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ หมายความว่าอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 5 ก.พ. 2550

คำว่า คู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ หมายถึง การกล่าวถึงพระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ เมื่อนับโดยคู่ ได้ ๔ คู่ ได้แก่ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล เป็นที่ ๑สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล เป็นคู่ที่ ๒ อนาคามิมรรค อนาคามิผล เป็นคู่ที่ ๓ อรหัตตมรรค อรหัตตผล เป็นคู่ที่ ๔ ถ้านับเรียงโดยบุคคลได้ ๘ บุคคล คือ ๑.โสดาปัตติมรรค ๒.โสดาปัตติผล ๓.สกทาคามิมรรค ๔.สกทาคามิผล ๕.อนาคามิมรรค ๖.อนาคามิผล ๗.อรหัตตมรรค ๘.อรหัตตผล

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 5 ก.พ. 2550

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 567

บทว่า ยทิทํ ความว่า เหล่านี้ใด. บทว่า จตฺตาริ ปุริสยุคานิ ได้แก่ คู่บุรุษ ๔ คู่ โดยเป็นคู่ๆ อย่างนี้ คือ ท่านผู้ดำรง ในมรรคที่ ๑ ท่านผู้ดำรงอยู่ในผลที่ ๑ นี้คู่ ๑ จนถึงท่านผู้ดำรงอยู่ในมรรคที่ ๔ ท่านผู้ดำรงอยู่ในผลที่ ๔ นี้คู่ ๑. บทว่า อฏฺ ปุริสปุคฺคลา ได้แก่ บุรุษบุคคล ๘ จำพวก ด้วยอำนาจบุรุษบุคคลตามนัยนี้ คือ บุรุษบุคคลผู้ ดำรงอยู่ในปฐมมรรค คน ๑ บุรุษบุคคลผู้ดำรงอยู่ในปฐมผล คน ๑. ก็ ในที่นี้ บทเหล่านี้ คือ ปุริโส ก็ตาม ปุคฺคโล ก็ตาม มีความหมาย อย่างเดียวกัน. แต่คำนี้พระองค์ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์. บทว่า เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ ความว่า โดยเป็นคู่ คู่บุรุษ ๔ คู่ เหล่านี้ โดยแยกกัน บุรุษบุคคล ๘ จำพวกนี่แหละ ชื่อว่า สงฆ์สาวกของพระผู้มี พระภาคเจ้า.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
shumporn.t
วันที่ 5 ก.พ. 2550

การเลื่อมใสในวัตถุอันเลิศย่อมได้วิบากอันเลิศ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลาย พระนิพพานหรือวิราคะธรรมเป็นเลิศกว่าธรรมทั้งปวง สงฆ์ ๔ คู่ ๘ บุคคลเป็นนาบุญที่เลิศกว่านาบุญใด

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornchai.s
วันที่ 5 ก.พ. 2550

กล่าวโดยบุคคลบัญญัติ เป็น 8 บุคคล กล่าวโดยปรมัตถบัญญัติเป็นโลกุตตรจิต 8 ประเภท หรือ 8 ดวง คือ มรรคจิต 4 (เป็นจิตชาติกุศล) ผลจิต 4 (เป็นจิตชาติวิบาก) มรรคจิต และ ผลจิต เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน โดยไม่มีระหว่างคั่น แม้จักรวาลจะแตกทำลาย ก็ไม่สามารถมาคั่นระหว่าง มรรค และ ผล ได้ มรรคจิต แต่ละประเภท จะเกิดขึ้นเพียงขณะเดียวเท่านั้นในสังสารวัฏฏ์ แต่ผลจิตแต่ละประเภท สามารถเกิดขึ้นได้หลายขณะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
siwa
วันที่ 5 ก.พ. 2550

เนื่องจากดิฉันไม่มีความรู้พื้นฐานปรมัตถธรรม อ่านแล้วก็ยังไม่เข้าใจ จึงขอความกรุณาอธิบายเพิ่มเติม

- มรรคจิต และ ผลจิต เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน โดยไม่มีระหว่างคั่น หมายความว่าอย่างไร

- มรรคจิต แต่ละประเภท จะเกิดขึ้นเพียงขณะเดียวเท่านั้นในสังสารวัฏฏ์ แต่ผลจิตแต่ละประเภท สามารถเกิดขึ้นได้หลายขณะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 5 ก.พ. 2550

มรรคจิตเป็นกุศล ผลจิตเป็นวิบาก มรรคจิตที่เกิดขึ้นประหานกิเลสเป็นสมุจเฉท กิเลสอันนั้นจะไม่เกิดอีก เช่น พระโสดาบัน ละความเห็นผิดในสัตว์ในบุคคลได้ ละวิจิกิจฉา มีศีล 5 บริสุทธิ์ เป็นต้น ส่วนผลจิตเกิดได้หลายขณะ หมายความว่า ผลจิตเกิดภายหลังตอนที่เข้าผลสมาบัติ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
devout
วันที่ 5 ก.พ. 2550

มรรคจิตเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น เพื่อประหารกิเลสตามลำดับขั้น กิเลสที่ถูกประหารด้วยมรรคนั้นๆ จะไม่กลับมาเกิดใหม่ให้ประหารอีก คือ ดับเป็นสมุจเฉท เพราะฉะนั้น มรรคจิตจึงเกิดได้เพียงครั้งเดียวในสังสารวัฏฏ์ แต่ผลจิตสามารถเกิดได้หลายขณะ (อาจจะเป็น หรือ ๓ ขณะ) ในมรรควิถี โดยเกิดสืบต่อจากมรรคจิตที่ดับไปทันที สำหรับพระอริยบุคคลที่เป็นเจโตวิมุติ (ได้ฌาน) ท่านยังสามารถเข้าผลสมาบัติได้ โดยมีนิพพานเป็นอารมณ์ ส่วนที่ว่ามรรคจิตและผลจิต เกิดต่อเนื่องกันโดยไม่มีระหว่างคั่นนั้น แสดงถึงความเป็นอกาลิโกของโลกุตรกุศลค่ะ คือให้ผลทันที ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ส่วนกุศลขั้นอื่นๆ นั้น ยังต้องรอกาลให้ผลค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pornchai.s
วันที่ 6 ก.พ. 2550

ผู้ทีบรรลุเป็นพระอริยบุคคล เช่น พระโสดาบัน จะมีโสดาปัตติมรรคจิต เกิดขึ้นเพียงขณะเดียวและโสดาปัตติผลเกิดต่อทันที 2 หรือ 3 ขณะ หลังจากนั้น ถ้าเป็นพระโสดาบันที่ได้็ฌานด้วยสามารถเข้า ผลสมาบัติ ให้ โสดาปัตติผลจิต เกิดขึ้น ต่อเนื่องกันไป จนกว่าจะออกจากฌานสำหรับผู้ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ แม้จะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า หรือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะต้องมี มรรคจิต 4 และผลจิต 4 เกิดขึ้นกับพระองค์เช่นเดียวกับพระอรหันตสาวก

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 6 ก.พ. 2550

จริงๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไกล เกินไปครับ แต่ไม่เป็นไร จะอธิบายพื้นฐานก่อนนะครับ จิตแบ่งเป็น 2 ประเภท ใหญ่ๆ คือ

1. โลกียกุศลจิต (จิตที่นับเนื่องในโลก โลกในที่นี้คือ ตา หู จมูก..ใจ รูป เสียง..เป็นต้น เช่น จิตเห็น จิตได้ยิน

2. โลกุตตรกุศลจิต (จิตที่พ้นจากโลก คือ พ้นจาก ทางตา หู...ใจ คือ เป็นจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์นั่นเอง เช่น มรรคจิต ผลจิต

โสดาปัตติมรรคจิต เป็นจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ ประหารกิเลส คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา ศีลพรตปรามาส

โสดาปัตติผลจิต เป็นจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ เช่นกัน เกิดต่อทันที ไม่มีระหว่างคั่น (ที่เรียกว่า อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล)

มรรคจิตและผลจิต อีก 6 ดวง โดยนัยเดียวกัน แต่ดับกิเลสคนละอย่างครับ ที่เป็นสงฆ์สาวก เพราะ คำว่าสาวก มาจากผู้ที่สำเร็จแล้วจาการฟัง นั่นก็คือการบรรลุธรรม การบรรลุธรรม ก็มีจิต 8 ดวงครับ คือ โสดาปัตติมรรคจิต....อรหัตตผลจิต นี่เรียกว่า การบรรลุธรรม เพราะเป็นพระอริยบุคคลนั่นเอง

แต่ที่สำคัญ เป็นเรื่องไกลๆ ๆ ๆ ๆ มากครับที่จะรู้เรื่องนี้ รู้ก็รู้แต่ชื่อ ควรอบรมความเข้าใจเรื่องสติปัฏฐานเป็นสำคัญ เพราะจะทำให้ถึง จิต 8 ดวงนี้ได้ครับ แต่การรู้ชื่อไม่ได้ทำให้เราถึง จิต 8 ดวงนี้ได้เลย ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
s.bupachat
วันที่ 28 มิ.ย. 2559

ขอบพระคุณครับ :)

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ชัยวิชิต
วันที่ 16 ก.ค. 2562

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
sale2pk
วันที่ 11 ก.พ. 2563

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Chookait
วันที่ 7 เม.ย. 2563

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Somsri_sup@hotmail.com
วันที่ 4 ส.ค. 2567

กราบเรียนถามดังนี้

บุรุษ 4 คู่ นับเรียงได้ 8 บุรุษ

ใช่ตรงกับอริยสัจ 4 กับมรรค 8 ไหมคะ อ่านที่มีอธิบายข้างต้นยังไม่เข้าใจค่ะท่านอาจารย์

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
chatchai.k
วันที่ 6 ส.ค. 2567

คำว่า คู่แห่งบุรุษ ๔ คือ โดยสามารถแห่งคู่ ท่านผู้ตั้งอยู่ในปฐมมรรค และปฐมผล คือ โสตาปัตติมรรค และโสตาปัตติผล ทุติยมรรค และทุติยผล คือ สกทาคามิมรรค และสกทาคามิผล ตติยมรรค และตติยผล คือ อนาคามิมรรค และอนาคามิผล จตุตถมรรค และจตุตถผล คือ อรหัตตมรรค และอรหัตตผล

อัฏฐะปุริสะปุคคะลา

บุรุษบุคคล ๘ ด้วยอำนาจมรรคหนึ่ง ผลหนึ่ง โดยเรียงตัวบุคคล

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

นี้สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ได้แก่ บุรุษ ๔ คู่ ด้วยสามารถแห่งคู่ บุรุษบุคคล ๘ โดยเรียงตัว เหล่านี้ใด นี้คือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค

ที่มา ...

การระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ คือ พระอริยเจ้า

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ