ภัพพสูตร ... วันเสาร์ที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙

 
มศพ.
วันที่  1 พ.ค. 2559
หมายเลข  27740
อ่าน  1,176

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••

... สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)
พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ
วันเสาร์ที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙

คือ
ภัพพสูตร

...จาก...

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓- หน้าที่ ๘๑๓


[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๘๑๓
๒. ภัพพสูตร *
(ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรเข้าถึงธรรม)
[๓๕๗] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบในกุศลธรรมทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกรรมเป็นเครื่องกั้น ๑ ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น ๑ ประกอบด้วยความเป็นผู้มีวิบากเป็นเครื่องกั้น ๑ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีฉันทะ ๑ และมีปัญญาทราม ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบในกุศลธรรมทั้งหลาย. ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบในกุศลธรรมทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ ย่อมเป็นผู้ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกรรมเป็นเครื่องกั้น ๑ ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น ๑ ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้มีวิบากเป็นเครื่องกั้น ๑ เป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีฉันทะ ๑ และมีปัญญา ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลายบุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบในกุศลธรรมทั้งหลาย.
จบภัพพสูตรที่ ๒.
อรรถกถาภัพพสูตรที่ ๒
พึงทราบวินิจฉัยในภัพพสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้:- บทว่า กมฺมาวรณตาย ได้แก่ ด้วยอนันตริยกรรม ทั้ง ๕. บทว่า กิเลสาวรณตาย ได้แก่ ด้วยนิยตมิจฉาทิฏฐิ. บทว่า วิปากาวิวรณตาย ความว่า ด้วยอกุสลวิบากปฏิสนธิ หรือ ด้วยกุศลวิบากอเหตุกปฏิสนธิ.
จบอรรถกถาภัพพสูตรที่ ๒.
หมายเหตุ ภัพพะ แปลว่า ผู้ควร, ผู้สมควร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 1 พ.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความโดยสรุป
ภัพพสูตร
(ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรเข้าถึงธรรม)
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงถึง บุคคลผู้ไม่ควร กับ ผู้ควร หยั่งลงสู่ความแน่นอน และความเป็นชอบ (ถูกต้อง) ในกุศลธรรมทั้งหลาย ดังนี้ คือ ผู้ที่มีกรรมเป็นเครื่องกั้น (กระทำอนันตริยกรรม มี ฆ่าบิดา เป็นต้น) ผู้ที่มีกิเลสเป็นเครื่องกัน (มีความเห็นผิดที่ดิ่ง) มีวิบากเป็นเครื่องกั้น (ปฏิสนธิด้วยอกุศลวิบาก เป็นสัตว์ในอบายภูมิ หรือ บุคคลผู้เกิดในสุคติภูมิแต่ปฏิสนธิด้วยกุศลวิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ คือ เป็นคนพิการบ้าใบ้บอดหนวกตั้งแต่กำเนิด) ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ ไม่มีปัญญา ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่ความแน่นอน และความเป็นชอบ (ถูกต้อง) ในกุศลธรรมทั้งหลาย ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ไมมีกรรมเป็นเครื่องกั้น ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกั้นไม่มีวิบากเป็นเครื่องกั้น มีศรัทธา มีฉันทะ และมีปัญญา ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่ความแน่นอน และความเป็นชอบ (ถูกต้อง) ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ธรรมเป็นเครื่องกั้นมิให้บรรลุธรรม
อนันตริยกรรม
มิจฉาทิฏฐิมีโทษมาก
ทำอย่างไรจะทำให้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นคะ
ความเข้าใจพระธรรมเป็นสาระสำคัญที่สุดในชีวิต
การสะสมปัญญา...ทำไมต้องนาน...แสนนาน
กว่าจะถึงวันนั้น ก็ต้องมีวันนี้
ฉันทะและตัณหา

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
papon
วันที่ 1 พ.ค. 2559

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 1 พ.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 2 พ.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 3 พ.ค. 2559

เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Noparat
วันที่ 3 พ.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ปาริชาตะ
วันที่ 3 พ.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
swanjariya
วันที่ 5 พ.ค. 2559

กราบอนุโมทนาขอบพระคุณยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เมตตา
วันที่ 6 พ.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของ อ.คำปั่น ด้วยค้ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
orawan.c
วันที่ 6 พ.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ