ขอทราบความเห็นถูก
ได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Exploring Karma & Rebirth มีใจความตอนหนึ่งว่า การที่คิดว่าเหตุการณ์ในชีวิตของเราบางประการ เป็นผลมาจากกรรมของเราในอดีตนั้น แม้ จะมีคุณค่าในทางปฏิบัติอยู่บ้าง แต่ก็มีอันตรายมาก ถ้าเราขยายแนวความคิดนี้ให้ ครอบคลุมถีงผู้อื่นด้วย และสรุปเอาว่าความทุกข์ที่คนทั้งหลายได้รับอยู่นั้น เป็นผลมาจากพฤติกรรมอันชั่วร้ายของเขาเหล่านั้นที่ได้ทำไว้ในอดีต เพราะจะทำให้เขาละทิ้ง ความรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของเขาเอง เช่น แพทย์สองคนได้ผ่าตัดชายคนหนึ่งเพื่อเอาไตที่เสียออก แต่ด้วยความผิดพลาดได้ไปตัดเอาไตข้างที่ดีออกไป ทำให้คนไข้เสียชีวิตในเวลาต่อมา ถามว่าอะไรเป็นสาเหตุสำคัญของความล้มเหลวในการผ่าตัดครั้งนี้ เป็นเพราะกรรมในอดีตของคนไข้หรือ หรือเพราะว่าความประมาทเลินเล่อของแพทย์ผู้ผ่าตัด ความรับผิดชอบของแพทย์ใการผ่าตัดที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรงเช่น นี้อยู่ที่ใหน
ตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์ทรงแสดงเรื่อง กรรมและวิบากว่า กรรม คือเจตนาที่เป็นไปกับกุศลจิตและอกุศลจิต ส่วนวิบาก ได้แก่ จิตเจตสิกที่เกิดจากกรรมเป็นปัจจัย ซึ่งในชีวิตประจำวันวิบากจิตที่เป็นไป ได้แก่ จิตรู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย จิตที่รู้อารมณ์ไม่ดีเป็นอกุศลวิบาก จิตที่รับรู้อารมณ์ที่ดีเป็นกุศลวิบาก สำหรับเรื่องที่ยกมาเป็นเรื่องราวที่ยาว มีคนไข้ มีหมอมีการผ่าตัด ซึ่งผู้อื่นไม่สามารถรู้ขณะจิตของแต่ละคนได้ ถ้าจะให้ชัดเจนต้องเป็นขณะจิตแต่ละขณะจึงจะถูกต้องว่าขณะไหนเป็นกรรมขณะไหนเป็นวิบาก แต่ขอสรุปย่อๆ ว่า ถ้าหมอมีเจตนาร้ายเป็นอกุศลกรรม ผลก็คืออกุศลวิบากที่หมอจะได้รับ
ขออนุญาตในการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว จากที่เคยเรียนวิชา ปรัชญามาโดยตรง และประกอบการได้ฟังธัมมะที่ถูกต้อง ทำให้ทราบแนวความคิดของนักปรัชญาที่ เห็นว่า (นักปรัชญาบางคน) มีความเห็นว่า เราไม่ได้ถูกกำหนดมา ดังนั้นควรรับผิดชอบต่อสังคมนี่คือแนวคิดหนึ่ง แต่สิ่งที่นักปรัชญาผิดพลาด คือ เป็นเพียงการตรึกนึก คิดถึงเรื่องราวของสภาพธัมมะ ไม่ได้ประจักษ์สภาพธัมมะเหมือนพระพุทธเจ้านั่นเอง อย่างไร นักปรัชญาหรือปุถุชนอย่างเราๆ สำคัญว่า มีสัตว์ บุคคล ตัวตน แต่แท้จริงแล้ว หามีสัตว์บุคคลตัวตนไม่ มีแต่เพียงสภาพธัมมะเท่านั้น คือ จิต เจตสิก รูป และจิต เจตสิก รูป ก็ต้องมีเหตุปัจจัยให้เกิดด้วย ดังนั้น ขอนำแนวความคิดที่ถูกต้องของพระพุทธองค์มาอธิบายเหตุการณ์ที่ยกตัวอย่าง เรื่องหมอดังนี้ เมื่อไม่มีสัตว์ บุคคล ใครได้รับผลของกรรม ต้องเข้าใจผลของกรรม (วิบาก) ว่าคืออะไร คือ ขณะเห็นได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งกระทบสัมผัส อกุศลกรรมเป็นปัจจัยให้ได้รับ อกุศลวิบาก เมื่อสร้างเหตุ อกุศลกรรม วิบากที่เป็นอกุศลย่อมมีบุคคลที่ถูกตัดไต เคยทำอกุศลกรรมไหม (มี) แล้วย่อมให้ผล ถ้าไม่มีอกุศลกรรม หมอจะทำผิดพลาดได้ไหม ไม่ได้แน่นอน จะโทษหมอหรือจะโทษเราที่ทำเหตุ แต่จริงๆ แล้วก็ไม่มีการโทษใคร เพราะเป็นธัมมะเท่านั้น ก้อนหินหล่นใส่หัวเราเจ็บ ก้อนหินต้องรับผิดชอบไหม หรือว่าเมื่อเราเคยทำเหตุไม่ดี อกุศลกรรมก็ย่อมให้วิบากไม่ดี ถ้าเราเข้าใจเรื่องปรมัตถธรรม และทุกอย่างเป็นธัมมะก็จะไม่โทษใคร เพราะเป็นธัมมะที่ทำหน้าที่อย่างสมเหตุสมผล จะขอยกตัวอย่างในพระไตรปิฎก แม้พระเถระท่านก็ไม่ได้โทษใครที่ทำกับท่าน ท่าน โทษวัฎฎะ
เชิญคลิกอ่านที่นี่
ทุกคนมีกรรมเป็นของตน มีเหตุมีปัจจัยที่หมอผ่าตัดผิด แล้วคนนั้นก็ถึงคราวที่ จะตายด้วย จริงๆ แล้ว เรื่องของกรรม ถ้าเราไม่ได้ทำเหตุ เราก็ไม่ได้รับผลของกรรมขอยกตัวอย่างเรื่องของกรรม ที่ไม่เกี่ยวกับคนอื่นทำค่ะ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ ...
ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณท่านที่กรุณาเข้ามาแสดงหลักธรรม เท่าที่ได้อ่านจาก ท่านที่กรุณาตอบแล้วสรุปได้ความว่า เนื่องจากทั้งหมดเป็นธรรมะ ฉะนั้นผลสืบต่อก็ เป็นไปตามเหตุปัจจัยต่อไป แสดงให้เห็นว่าเป็นเรื่องของเหตุปัจจัย ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ การที่เราต้องการหาผู้รับผิดเป็นเรื่องทางโลกต่างหาก ไม่ได้มีอะไร มากกว่านั้น ไม่ทราบว่าเข้าใจเช่นนี้ตรงกับสิ่งที่ท่านกรุณาอธิบายมาไช่หรือไม่
ไม่มีใครที่มีหน้าที่ตัดสินใคร เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย
เนื่องจากความเร็วที่ทางวิทยาศาสตร์กำหนดไว้ว่า แสงมีความเร็วมากที่สุดเท่าที่จะ เป็นไปได้แล้ว ไม่มีอะไรจะเร็วไปกว่าแสงอีกแล้ว ความเร็วสูงสุดที่คำนวณคร่าวๆ ประมาณ ๑๘๖,๐๐๐ ไมล์/วินาที ไม่ทราบว่าทัศนะและความเห็นทางวิทยาศาสตร์ต่างกับความจริงที่พระองค์ท่านเคยกล่าวไว้หรือไม่