เกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท
กราบเรียนถามอาจารย์ทั้งสองท่านว่า เคยมีผู้ถามไหมครับว่า เพราะเหตุใดในปฏิจจสมุปบาทจึงไม่มีการกล่าวถึง (สัญญาเจตสิก) หรือท่านอ.สุจินต์เคยกล่าวไว้ในที่ใดบ้างไหมหรือในพระไตรปิฎกมีข้อความเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้างไหมครับ ขอความกรุณาอาจารย์ทั้งสองท่านช่วยให้ความรู้ในส่วนนี้ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประโยชน์อยู่ที่ความเข้าใจ ว่า ปฏิจจสมุปบาท คือ ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น เพราะมีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนี้ หมายถึง การวนเวียนในสังสารวัฏฏ์ ปฏิจจสมุปบาท นั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงว่า เป็นธรรมอันลึกซึ้งมาก ยากที่จะหยั่งถึง ผู้ที่ทำลายการวนเวียนนี้ได้ต้องบรรลุธรรมถึงความเป็นพระอรหันต์ บุคคลที่เหลือยังไม่พ้นจากวัฏฏะนี้ได้ ถ้าจะกล่าวถึงความเป็นไปของปฏิจจสมุปบาทโดยองค์ธรรม ก็คือ เพราะมีความไม่รู้เป็นปัจจัย จึงมีการทำบุญทำบาป (สังขาร) เมื่อทำบุญ ทำบาปเป็นปัจจัยจึงมีผลของบุญบาป คือ การเกิดขึ้น (ปฏิสนธิวิญญาณ) เมื่อมีการเกิดขึ้นเป็นปัจจัยจึงมีนามและรูป (เจตสิกและรูป) เมื่อมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีอายตนะ (ตา หู จมูก ฯ) เมื่อมีอายตนะเป็นปัจจัยจึงมีการกระทบ (ผัสสะ) เมื่อมีการกระทบเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา (ความรู้สึกต่างๆ ) เมื่อมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา (ความติดข้อง) เมื่อมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีภพ (กรรม) เมื่อมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ (การเกิด) เมื่อมีชาติเป็นปัจจัย จึงมี ความแก่ ความทุกข์ต่างๆ มากมาย
ตามความเป็นจริงแล้ว สัญญาเจตสิกเกิดร่วมกับจิตทุกขณะอยู่แล้ว แม้ไม่กล่าวถึงสัญญาขันธ์ก็มีกับจิตทุกขณะอยู่แล้ว คือ ไม่เว้น ซึ่งเป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ครับ
ขอเชิญคลิกฟังคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้ที่นี่ครับ
ปฏิจจสมุปบาท หมายความว่าอย่างไร
... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...