ภาระ

 
toto
วันที่  6 ก.พ. 2550
หมายเลข  2786
อ่าน  2,643
ขันธ์ ๕ เรียกว่าเป็นภาระอย่างไร

Tag  ภาระ  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 6 ก.พ. 2550

โปรดอ่านข้อความจากพระไตรปิฎกโดยตรง

เชิญคลิกอ่านที่นี่...

ขันธ์ ๕ เป็นภาระ [ภารสูตรและอรรถกถา]

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 6 ก.พ. 2550

ขันธ์ ๕ อีกนัยหนึ่ง ท่านเปรียบเหมือนอสรพิษ ๔ ( มหาภูตรูป ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ) เลี้ยงดูบำรุงรักษาอย่างดี ก็ยังถูกงูพิษกัด เช่น ธาตุไฟ ถ้าในร่างกายมีมากเกินไป ก็ทำให้ป่วยเป็นไข้ ขันธ์ ๕ ดูแลรักษายาก เป็นภาระ ถึงจะดูแลเป็นอย่างดี วันหนึ่ง ก็ต้องถูกงูพิษทำร้าย หนีไม่พ้น เราต่างก็มีขันธ์ ๕ ที่ต้องดูแล ยิ่งคนที่มีครอบครัว ก็ต้องดูแล ขันธ์ ๕ ของ บุตร ของภรรยา ก็ยิ่งเพิ่มภาระไปอีก

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 6 ก.พ. 2550

ตราบใดที่ยังมีขันธ์ 5 ก็ชื่อว่่ายังมีภาระ ชื่อว่ามีภาระอย่างไร คือ เมื่อมี รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ต้องบริหารรูป คือ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นต้นให้สมดุล ด้วยการให้อาบน้ำ ทานอาหาร เดิน ยืน เพราะถ้าไม่ทำอย่างนี้ ก็จะทำให้ เกิดเป็นโรคบ้าง หรืออยู่ไม่ได้ เพราะเหตุนี้ ขันธ์ 5 จึงเป็นภาระคือต้องทำกิจต่างๆ (บริหาร) เพื่อความดำรงชีวิตอันเนื่องมาจากขันธ์ 5 ขอยกตัวอย่างในพระไตรปิฎก ในเรื่องธาตุทั้ง 4 (รูป) ว่าเป็นภาระเป็นสิ่งที่บำรุงเลี้ยงยาก

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ...

อสรพิษ ๔ จำพวก [อาสีวิสสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornchai.s
วันที่ 8 ก.พ. 2550

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
unknown
วันที่ 10 ก.พ. 2550
หลายขณะแม้ขันธ์ ๕ เป็นภาระ ก็ไม่รู้ว่าเป็นภาระ เพราะอวิชชา
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
สิริพรรณ
วันที่ 10 ก.ค. 2560

กราบนอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า

มีภาระมากมายกับขันธ์ 5 แต่ยังหลงยึดในขันธ์ 5 เพราะเหตที่ยังมีความเห็นผิดว่าขันธ์ 5 เป็นเรา เป็นของเรา

การที่จะเห็นถูกเข้าใจถูกต้องเริ่มจากการศึกษาพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้มากมายคือพระไตรปิฏก

แม้ขณะนี้ไม่มีพระสุรเสียงของพระพุทธองค์แล้ว แต่ยังมีเสียงพระธรรมที่ถ่ายทอดได้ตรงตามพระธรรมที่ทรงแสดงจากผู้ศึกษาโดยละเอียด การฟังพระธรรมโดยเคารพนำมาซึ่งความเข้าใจความจริง ดับความเห็นผิดได้ในวันหนึ่ง คือการบูชาพระคุณพระพุทธองค์ที่ประเสริฐสูงสุด

กราบอนุโมทนาขอบพระคุณในกุศลจิตทุกท่านด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 25 ส.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ