เบื่อไหมในการตอบคำถาม
ผมก็เป็นผู้หนึ่งที่ได้สอบถาม ในเวบบอร์ดโดย
- ไม่ทราบจริงๆ จึงถาม
- ไม่แน่ใจว่าที่ทราบนั้นถูกหรือเปล่า ก็มีบางทีตัวเองเข้าใจผิดจริงๆ
- บางทีถามไปแล้ว ปรากฎว่าเมื่อทางมูลนิธิ ฯ ตอบ ก็เพิ่งนึกได้ว่า เคยได้ฟังมาแล้ว
- อยากอวด (มีความรู้สึกอายๆ อยู่)
ไม่ทราบว่าเบื่อบ้างไหมครับ ยังไงก็ขออนุโมทนาด้วยแล้วกัน
การให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และตรงกับหลักพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นหน้าที่ของเรา ตามหลักพระธรรมทรงแสดงว่า การให้ความรู้แก่ผู้อื่นเป็นความดี ความดีย่อมนำผลที่ดีคือ ความสุขความเจริญ เราจึงไม่เบื่อหน่ายที่จะให้ความรู้ความเห็นที่ตรงกับพระธรรมคำสอนของท่านผู้ตรัสรู้ และขออนุโมทนาในกุศลศรัทธาของทุกท่าน
ไม่เบื่อที่จะให้ธรรมทาน เพราะปกติวัตถุทานก็ให้เป็นประจำอยู่แล้ว การให้ ความเข้าใจความเห็นถูก นอกจากเขาจะเกิดปัญญาแล้ว ยังเป็นปัจจัยให้สะสมบารมี ไปภพหน้าจนกว่าบรรลุ มรรค ผล นิพพานอันสูงสุด ถ้าจะเบื่อ ก็เบื่อที่อกุศลจิตเกิด เบื่อตัวเองที่ยังมีกิเลสโลภะ โทสะ โมหะ มากกว่านะ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกท่านนะครับ คงไม่ต้องพูดอะไรมาก สำหรับคำถามนี้ มาเข้าใจเรื่องความเบื่อกันครับ เบื่อ มี 2 อย่าง เบื่อด้วยกุศล หรือเบื่อด้วยอกุศล เบื่อด้วยกุศลอย่างไร เป็นวิปัสสนาญาณขั้นสูง นั่นคือ เป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา
[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑- หน้าที่ 262
พระโยคาวจรย่อมเบื่อหน่าย เพราะอนุปัสนา ๓ บริบูรณ์
ฉะนั้น จึงชื่อว่านิพพิทา, นิพพิทานั้นด้วย อนุปัสนาด้วย ชื่อว่า นิพพิทานุปัสนา.นิพพิทานุปัสนานั้น เป็นปฏิปักษ์ ต่อความเพลิดเพลิน.
เบื่อด้วยอกุศลอย่างไร เบื่อในสิ่งต่างๆ เพราะไม่ได้สิ่งที่ชอบใจจึงเบื่อ เบื่อนี้คือ โทสมูลจิตนั่นคือ โลภะเป็นปัจจัยให้เกิดโทสะนั่นเอง ขอยก ข้อความพระไตรปิฎก ที่เทวดามาถามว่าพระพุทธเจ้าเบื่อไหม ลองอ่านดูนะ
เชิญคลิกอ่านที่นี่...
กกุธสูตร...ผู้มีความเพลิดเพลินนั่นแหละ จึงมีทุกข์
อีกเรื่องอ่านแล้วจะทำให้เกิดความเลื่อมใส กับพระพุทธเจ้าที่พระองค์ ไม่ทรงเห็นแก่ความสบาย ทรงมุ่งอนุเคราะห์สัตว์โลกครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่...
ความเบื่อเมื่อมีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเบื่อในทางโลกหรือเบื่อในทางธรรม ห้าม ไม่ได้บังคับไม่ได้ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร เพราะปฏิฆานุสัยยังไม่ได้ดับ แต่เมื่อความเบื่อเกิดขึ้นแล้ว ตรงนี้จะเป็นบทพิสูจน์ว่าเรามีความเข้าใจต่อสภาพธรรม ที่ปรากฎนั้นมากน้อยเพียงใด