ความต่างกัน ของ ปรมัตถธรรม กับ บัญญัติธรรม
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอเชิญรับฟัง...
ความต่างกันของปรมัตถธรรม กับ บัญญัติธรรม
1. แต่ว่า ยังไง ก็ตาม “ธัมมะมีจริง” แน่นอน แล้วก็ เราจะรู้ได้ “ขณะไหน” ว่า “ขณะนั้น” เรา กำลัง “เข้าใจ” ลักษณะของสภาพธัมมะ ว่า เป็น “สิ่งที่-มีจริงๆ ” หรือว่า “ไม่ใช่-สิ่งที่มีจริง”
2. เพราะ ฉะนั้น ก่อน ที่จะถึง “สมมติ” เราก็ คงจะ มาถึง “ปรมัตถ์” กับ “บัญญัติ” เพราะว่า สภาพธัมมะ ที่-มีจริง ก็คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน นอกนั้นแล้ว “ไม่ใช่-ปรมัตถธรรม”
3. เพราะฉะนั้น ในขณะนี้ ที่ “กำลัง เห็น” เรา สามารถ ที่จะ รู้ได้ ว่า ขณะไหน-เป็น-ปรมัตถ์ (หรือว่า) ขณะไหนที่ “กำลัง ได้ยิน” เป็นปรมัตถ์
4. ไม่ใช่-เพียง-ชื่อ แต่ ให้ เรา มี ความเข้าใจ ในปรมัตถธรรม ว่า ถ้า เราสามารถ เข้าใจ “ปรมัตถธรรม” เรา-เข้าใจ-“บัญญัติ” แล้วเรา-เข้าใจ-“อย่างอื่น” ด้วย
5. เพราะว่า เรา “ชิน-กับ-อย่างอื่น” แต่เรา “ไม่-เคย-รู้” ลักษณะของปรมัตถธรรม เลย
6. ได้ยิน-แต่ชื่อ เหมือน แว่วๆ แต่ว่า “ตัวจริงๆ ” ก็ อยู่ไกล-หรือ-อยู่ใกล้
7. ก็แล้วแต่ว่า ขณะนั้น “ปัญญาของเรา” สามารถ ที่จะ “มี-ปรมัตถธรรม-เป็น-อารมณ์” หรือเปล่า
8. หรือว่า “เพียงแต่ - ได้ฟัง - เรื่อง ของ ปรมัตถธรรม” ทั้งๆ ที่ขณะนี้เป็นปรมัตถธรรมทั้งหมด
9. ก็แสดงให้เห็นว่า เรา จะต้อง “อบรม” ความรู้ ความเข้าใจใน ปรมัตถธรรม แล้ว เรา ถึงจะ “เห็น-ความต่างกัน-จริงๆ ”
10. แม้จะกล่าวว่า ปรมัตถธรรม มี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เรา-ก็-แค่-จำ-ชื่อ แต่ว่า “ลักษณะที่เป็นปรมัตถ์” นั้น เรา รู้ หรือยัง
11. แต่ ถ้า เรา “ไม่รู้” นะคะ ... เรา ก็ “แค่-จำ-ไว้-ก่อน” ใช่ไหม
12. ถึง ยังไง ใครมาถาม เรา ก็ “ปรมัตถธรรม ๔” แล้ว เราก็ สามารถที่จะ รู้ได้ ว่า ถ้า ขณะใดที่ ”ไม่ใช่-มี-ปรมัตถ์-เป็น-อารมณ์” ขณะนั้นก็ “มี-บัญญัติ-เป็น-อารมณ์”
13. นี้คือ ความรู้ของเรา ค่อยๆ เพิ่มขึ้น มี สภาพธัมมะที่มีจริง เป็นปรมัตถธรรม และ ขณะใด ที่ไม่มี “ปรมัตถธรรม” ๑ ใน ๔ เป็น อารมณ์ ขณะนั้น มี “บัญญัติ” เป็น อารมณ์
14. เพราะฉะนั้น “บัญญัติ” คืออะไร คือ สิ่งที่ไม่ใช่ “ปรมัตถ์”
15. ไม่ต้องเอ่ยมา ซักคำ สมมติ อะไร ก็ไม่มี ทั้งนั้น แต่มี “บัญญัติ”เป็นอารมณ์
16. เพราะเหตุว่า มี สิ่งที่ เรา “จำได้” ทางตา ในขณะนี้ เราก็ “จำได้” เป็นดอกไม้ อย่างนี้ ทั้งๆ ที่เป็นเพียง “สีสัน” แต่ “จำ”.. “ลักษณะ”นั้น ว่าเป็น - ดอกไม้ เพราะฉะนั้น ดอกไม้ เป็น บัญญัติ หรือ เป็น ปรมัตถ์
17. ถ้า “เป็นปรมัตถ์” ก็คือ “สิ่งใด ก็ตาม-ที่ปรากฏ-ทางตา” <> “สิ่งนั้นแหละ” แม้ไม่ต้องเรียกชื่อเลย ก็ มี จริงๆ เป็น ปรมัตถธรรม ๑ ใน ๔
18. เพราะฉะนั้น เรา ต้อง “คุ้นเคย” แล้วก็ “เข้าใจ” ปรมัตถธรรม จึงจะสามารถ “แยก” ปรมัตถธรรม กับ บัญญัติ
19. แล้วก็ จะรู้ว่า เมื่อ มี ปรมัตถธรรม กับ บัญญัติ เราก็ มี การ “นึกคิด” ไม่ใช่ เฉพาะทางตา แต่ว่า มี การ “นึกคิด” ถึงเสียงต่างๆ สูงๆ ต่ำๆ เช่นเดียวกับ ที่ ทางตา เรา เห็น หลายๆ สี แล้วก็ มี การ “ทรงจำ” ว่า สิ่งที่กำลังปรากฏ-ในขณะนี้ ทำไม เป็น คน แล้วก็ ไม่ใช่ คนเดียวกัน ด้วย แต่ละคนๆ ก็สามารถ ที่จะ “จำ” ใน บัญญัติ-ของ-สิ่งที่กำลังปรากฏ-เดี๋ยวนี้
20. นี่คือ การที่เราจะ ค่อยๆ เข้าใจ ว่า แท้ที่จริงแล้ว แม้ว่า ปรมัตถธรรม-มีจริง แล้วก็ -เกิดดับ เร็วมาก แต่ เรา ก็ อยู่ใน “โลก-ของ-บัญญัติ” นั่นเอง
21. จนกว่า จะรู้ว่า แท้ที่จริงแล้ว “บัญญัติ” ไม่ใช่-สภาวธรรมที่-มีจริง แต่เป็นเพียง “ความจำ” แล้วก็ เรื่องราวต่างๆ ที่ “คิดนึก” ต่อมา
22. เมื่อ “เข้าใจ” อย่างนี้แล้ว ต่อมาเราก็รู้ว่า แม้ ไม่ใช้-คำ ไม่มี-สัททะบัญญัติ แต่ “อรรถบัญญัติ” ความหมาย-ของ-สิ่งที่กำลังปรากฏ-ในขณะนี้ - ก็มี หลังจากที่เห็น ก็จะ ทำให้ “เข้าใจ” ว่า ปรมัตถธรรม-ต่างกับ-บัญญัติ
23. แล้วก็ มี คำ-ภาษาต่างๆ เพื่อที่จะ “สมมติ” ให้ “เข้าใจ” ว่า หมายความถึงอะไร
24. ก็เป็น เรื่อง ธรรมดา แต่ว่า “ที่สำคัญ” ก็คือว่า “ต้องให้เข้าใจ” ลักษณะ-ของ-ปรมัตถธรรมว่า “เป็น-ธัมมะ” ไม่อย่างนั้น ก็ต้อง เป็นเรา เป็นเขา เป็นวัตถุ เป็นสิ่งต่างๆ ต่อๆ ไปอีก