3 คำถามที่คาใจมาเป็นปี กับพระสงฆ์ ที่ไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย

 
peeraphon
วันที่  18 ก.พ. 2560
หมายเลข  28625
อ่าน  2,656

เรียน ถามอาจารย์ทุกท่านครับ

ก่อนหน้านี้ ได้มีการไปงานศพหลายงาน ได้เจอ พระสงฆ์ทำหน้าที่โทรสั่งดอกไม้ เจอพระสงฆ์นั่งเก้าอี้อยู่หน้าห้องน้ำวัด กอดเด็กอายุประมาณ 3 ขวบ เจอพระสงฆ์นั่งชันเข่าอยู่หน้าวัด อยู่ร้านขายของชำ หรือวัดแถวบ้าน พระสงฆ์ถือเงินเข้าร้านขายของชำ เข้าไปซื้อเครื่องดื่ม ผมจึงได้ทำการกลับมาถามคุณพ่อ ที่เคยบวชมาก่อนหลายพรรษา ในคำถามที่ว่า หากพระสงฆ์ ไม่สำรวม เรายังจะต้องเคารพอยู่ไหม? คำตอบของคุณพ่อแบบสรุปก็คือ ถ้าท่านไม่สำรวม หรือกระทำการอาบัติ ซึ่งกระทำไปแล้ว เกิดขึ้นแล้ว ท่านย่อมได้รับผลของการกระทำนั้นๆ

แน่นอนว่า ผู้ที่ศึกษาพระธรรมและรู้พระธรรมวินัยบ้าง คงไม่ไปชี้หน้าต่อว่า และด้วยสภาพสังคมในปัจจุบัน ก็ไม่แน่ใจว่า นั่นคือพระหรือโจร หากเจอพระที่อารมณ์ร้อน เราอาจมีเรื่องชกต่อยกันกับพระสงฆ์ก็เป็นได้

ไม่ว่าจะเจอกับตัวเอง หรือดูในทีวี พระสงฆ์ ออกมาตั้งโต๊ะแถลงข่าว การหลบหนีของโจรที่อาจจะอยู่ในวัด มานั่งขัดขวางการจับกุมของ DSI, พระสงฆ์เดินตามหาแฟนสาว ฯลฯ

เราควรปฏิบัติตนอย่างไร? ถึงแม้ว่าพระสงฆ์เหล่านั้น จะไม่ได้ถึงกับ ปาราชิก หรือแม้จะเป็นอาบัติอย่างกลางหรืออย่างเบา แต่ไม่ได้ระลึกไปในทางธรรม ไม่สำรวม ไม่เห็นโทษของการปฏิบัติไม่ตรง และไม่ระลึกไปในคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บางวัดที่เคยเข้าไป เคยถามเจ้าอาวาสเรื่อง ปรมัตถธรรม ท่านถามกลับว่า มันคืออะไร?

เราควรให้ท่านเดินไป โดยไม่ว่ากล่าว ติเตียน หรือไม่? ถึงจะมานั่งคิดดูดีๆ การที่เราไปว่ากล่าวติเตียน พระสงฆ์ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามธรรมมะ ให้สมควรแค่ธรรมมะ ท่านก็ไม่เข้าใจ ท่านไม่ได้ศึกษา พระสงฆ์หลายๆ องค์ ไม่ทราบด้วยซ้ำว่าบวชมาทำอะไร? อะไรคือความหมายของการบวช? ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นอาชีพที่ไม่ต้องทำงานใดๆ แต่ได้ปัจจัยมาด้วยซ้ำ

เราควรเคารพท่านหรือไม่? หากเจอซึ่งหน้า? เพราะเรารู้ดีอยู่แล้วว่า พระสงฆ์ที่ไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย แม้จะต้องท่องมาก่อน ศึกษามากก่อนแล้ว 200 กว่าข้อ รู้ดีอยู่แล้วว่าการเข้ามาบวชต้องปฏิบัติตน เพื่อขัดเกลา แต่ด้วยสีของผ้าที่ห่มร่างกาย ด้วยศีรษะที่ไม่มีเส้นผม คนไทยที่เจอแบบนี้ก็ต้องทำความเคารพอยู่แล้ว ด้วยการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก แต่จริงๆ แล้วท่านมิได้อยู่ในพระธรรมวินัย ที่อยู่ในศาสนาพุทธเลย ซึ่งเมื่อเจอกันและเห็นการประพฤติของท่าน เราทราบดีว่าเราเคารพพระสงฆ์ที่อยู่ในพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ แต่ในเมื่อท่านไม่ได้อยู่ในนั้น และไม่ได้ระลึกไปในทางนั้น เราควรจะเคารพอยู่หรือไม่ครับ?

ขอบพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 19 ก.พ. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เราควรปฏิบัติตนอย่างไร

หากพบพระภิกษุที่ประพฤติปฏิบัติไม่สมควร ตามพระธรรมวินัย ก็ดูกาลเทศะที่เหมาะสม ไม่ใช่การว่ากล่าวติเตียน แต่ สามารถกล่าวโดยพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้วได้ ตามสมควร ที่เหมาะสม และ สามารถ ไม่ลุกรับ กราบไหว้ได้ กับพระภิกษุไม่ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ดังนั้น คฤหัสถ์ที่ดี คือ ศึกษาพระวินัย และ พระธรรมส่วนอื่นๆ เพื่อเข้าใจสิ่งที่ถูกต้อง ครับ

เราควรให้ท่านเดินไป โดยไม่ว่ากล่าว ติเตียน หรือไม่?

สามารถกล่าวพระธรรมที่ถูกต้องได้ และ ไม่ลุกรับ กราบไหว้ ครับ

เราควรเคารพท่านหรือไม่? หากเจอซึ่งหน้า?

ก็ต้องถามว่า เคารพใคร เคารพสังฆรัตนะ หรือ ภิกษุบุคคล ถ้าภิกษุบุคคลที่ประพฤติปฏิบัติไม่ดี ควรหรือไม่ ที่จะเคารพสิ่งที่ไม่ดี เพราะฉะนั้น ควรเคารพซึ่งคุณความดี ถ้า ภิกษุบุคคล ทำผิดพระวินัย ก็ไม่เคารพ ไม่กราบไหว้ในความไม่ดี ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 19 ก.พ. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

-พระภิกษุทุกรูปจะต้องศึกษาพระธรรมและน้อมประพฤติตามพระวินัย ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ ก็ไม่ใช่ภิกษุในธรรมวินัย เป็นผู้ไม่จริงใจต่อการบวชซึ่งเป็นเพศที่สูงยิ่ง เป็นผู้ที่ทรยศต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะไม่ได้ประพฤติคล้อยตามพระองค์ คฤหัสถ์ที่เข้าใจพระธรรมวินัย เมื่อทราบความไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ก็กล่าวความจริง เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นจะได้เข้าใจอย่างถูกต้องว่า พระภิกษุจะประพฤติปฏิบัติสิ่งที่ขัดต่อความเป็นบรรพชิต ไม่ได้ จะได้ไม่หลงผิดไปส่งเสริมสนับสนุนอลัชชี

-ใครเตือนก็ไม่เหมือนพระธรรมวินัย และ ธรรมเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น คำจริง ที่เป็นประโยชน์ แต่ถ้าคนฟังไม่รับฟัง ก็ไม่เกิดประโยชน์ ไม่มีกฎตายตัวว่าจะต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ ขึ้นอยู่กับขณะนั้นว่า เป็นอย่างไร หากมีโอกาสที่พอจะกล่าวพระธรรมวินัย ได้ ก็สามารถที่จะกล่าว เพราะรู้ว่าขณะนั้นท่านกระทำผิด เป็นการเพ่งโทษ ติเตียน ให้รู้ความจริงว่าขณะนั้นท่านกำลังทำในสิ่งที่ผิด และ กระจายข่าวให้ได้รู้โดยทั่วกันว่า ประพฤติกรรมอย่างนั้น ไม่ควรแก่เพศบรรพชิตโดยประการทั้งปวง

-ไม่เคารพภิกษุผู้ทุศีล เพราะความจริงเป็นอย่างนั้น ใครจะเคารพในอกุศลได้ เมื่อเป็นสิ่งที่ผิด ก็ไม่เห็นดีเห็นงามตามไปด้วย ครับ

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
สุณี
วันที่ 19 ก.พ. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
hc215
วันที่ 19 ก.พ. 2560

ขอร่วมแบ่งปันประสบการณ์ค่ะ

เมื่อสัปดาห์ก่อน ได้นิมนต์พระ 5 รูป ไปฉันเพลที่บ้าน ดิฉันได้เตรียมอาหารคาว หวานตามปกติ พร้อมกับเครื่องไทยธรรม คือของใช้ที่จำเป็นต่างๆ และดอกไม้ธูปเทียน ไม่ถวายเงินให้พระ แต่ใส่ซองถวายสงฆ์เป็นค่าน้ำค่าไฟ

อยากขอเรียนปรึกษาท่านผู้รู้ว่า สมควรหรือไม่ หรือไม่ควรถวายเงินเลย

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 19 ก.พ. 2560

เรียน ความคิดเห็นที่ 4 ครับ

ถ้าถวายเงินกับพระภิกษุโดยตรง แม้ว่าจะเป็นการถวายเพื่อจุดประสงค์อื่น ก็ไม่ได้ เป็นสิ่งที่ไม่ควร แต่ถ้ามอบไว้ให้กับคฤหัสถ์ มอบหมายให้ดำเนินการในสิ่งที่เหมาะควร เช่น เป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ก็สามารถที่จะทำได้ โดยไม่เกี่ยวกับพระภิกษุ .. ถ้าหากไม่มีคฤหัสถ์มาด้วย ก็ไม่ต้องถวาย เพราะจะทำให้พระภิกษุท่านต้องอาบัติ ครับ

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
nopwong
วันที่ 20 ก.พ. 2560

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
hc215
วันที่ 20 ก.พ. 2560

กราบขอบพระคุณค่ะ ครั้งต่อไปจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องยิ่งขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
jaturong
วันที่ 20 ก.พ. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
peeraphon
วันที่ 20 ก.พ. 2560

ขอบพระคุณอาจารย์ครับ

ขอถามต่อนะครับ เผื่อว่าจะเป็นแนวทางปฎิบัติให้กับเจ้าหน้าที่รัฐครับ

หากเจอเหตุการณ์ที่ เจ้าหน้าที่รัฐถูกขัดขวางการทำงานโดย ภิกษุบุคคล เช่นการนั่งประท้วง การกีดกันไม่ให้เจ้าหน้าที่คฤหัสถ์ทำตามหน้าที่ ตามกฎหมายของบ้านเมืองที่เป็นธรรม รวมถึง ภิกษุบุคคลที่เข้าทำร้ายร่างกายผู้ปฎิบัติงาน ด้วยเจตนาขัดขวางการปฎิบัติงานและภารกิจ

ไม่ทราบว่าในพระธรรมวินัยมีบัญญัติเอาไว้อย่างไรบ้างครับ? มีตัวอย่างในชาดกหรือไม่ครับ?

เจ้าหน้าที่รัฐจะสามารถกระทำการใดได้บ้าง ต้องเกรงใจภิกษุบุคคลเหล่านั้นหรือไม่?

ภิกษุเหล่านั้นจะต้องอาบัติหรือไม่ อย่างไรครับ?

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 21 ก.พ. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Lertchai
วันที่ 21 ก.พ. 2560

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
wannee.s
วันที่ 22 ก.พ. 2560

เงินทองไม่ควรแก่พระภิกษุไม่ว่ากรณีใดๆ ถ้าคฤหัสถ์ศึกษาพระธรรมวินัยก็มีส่วนช่วยรักษาพระวินัยให้ท่านไม่ต้องอาบัติค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
แสวงรวยสูงเนิน
วันที่ 24 ก.พ. 2560

ขออนุโมทนาด้วยครับ เป็นการถามตอบที่ได้ประโยชน์ ทั้งกับตัวเองและสังคมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ประสาน
วันที่ 24 ก.พ. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
เพียงดิน
วันที่ 28 ก.พ. 2560

คำถามที่ดีครับ ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในคำตอบครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
kullawat
วันที่ 28 ก.พ. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
tanakase
วันที่ 2 มี.ค. 2560

สาธุค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
wirat.k
วันที่ 5 มี.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
jirat wen
วันที่ 1 มิ.ย. 2565

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ