การบอกอาบัติสังฆาทิเสส

 
Maxzz
วันที่  29 ส.ค. 2560
หมายเลข  29127
อ่าน  8,870

กระผมได้ทำการอาบัติสังฆาทิเสสไป แล้วอยากทราบว่า การที่ต้องบอกอาบัติสังฆาทิเสสโดยไม่ให้เกิดการปกปิด เพื่อที่จะไปอยู่กรรม ตามจำนวนวันที่ปกปิด

อยากทราบว่า การบอกอาบัติต้องทำอย่างไร หมายถึงว่าต้องไปบอกพระภิกษุรูปอื่นว่าตัวเราอาบัติสังฆาทิเสสใช่หรือไม่ มีโอกาสได้หาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมา ท่านบอกว่าใช้วิธีบอกด้วยการปลงอาบัติก็ถือว่าบอกแล้ว จากคำว่า ครุละหุกา

เลยอยากทราบว่าข้อเท็จจริง ควรกระทำเช่นใด

ขอขอบคุณสำหรับคำตอบ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 30 ส.ค. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อาบัติสังฆาทิเสส แม้จะเป็นอาบัติหนัก แต่ก็เป็นอาบัติที่สามารถแก้ไขให้ถูกต้อง ตามพระวินัย ซึ่งการประพฤติที่จะทำให้พ้นจากอาบัติดังกล่าวได้เรียกตามพระวินัยว่า "ประพฤติวุฏฐานวิธี" หรือ การอยู่กรรม (หรือ ที่คุ้นกันในคำว่า อยู่ปริวาสกรรม) ซึ่งจะต้องอาศัยสงฆ์เป็นหลัก เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว ไม่ควรปกปิดไว้ ต้องบอกแก่พระภิกษุด้วยกันว่า ตนเองต้องอาบัติสังฆาทิเสส เพราะถ้าปกปิดไว้กี่วัน หรือเป็นเดือน เป็นปี ก็ต้องอยู่ปริวาสตามวันที่ตนเองได้ปกปิดอาบัติไว้ อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่ยังปฏิญาณตนว่าเป็นพระภิกษุเมื่อต้องอาบัติแล้ว ก็จะต้องกระทำคืนแก้ไขให้ถูกต้อง ตามพระวินัย เห็นโทษ พร้อมทั้งมีความจริงใจที่จะไม่ล่วงละเมิดอีก เพื่อให้ตนเองพ้นจากอาบัตินั้นๆ เพราะถ้าไม่แก้ไข ยังเป็นผู้มีอาบัติอยู่ย่อมเป็นเครื่องกั้นสวรรค์ กั้นการบรรลุ มรรค ผล นิพพาน ถ้ามรณภาพลงในขณะที่ยังมีอาบัติอยู่ ก็เป็นผู้มีอบายภูมิเป็นที่ไปในเบื้องหน้า [แต่ถ้าได้ลาสิกขา (คือ สึกไป) เป็นคฤหัสถ์ โดยที่ยังไม่ได้อยู่ปริวาสกรรม ก็ไม่มีอาบัติติดตัวอีกต่อไป เพราะไม่ได้เป็นพระภิกษุแล้ว] ก็ขอให้พระคุณเจ้าได้สอบถามกับพระอุปัชฌาย์อาจารย์ว่า มีการอยู่ปริวาสกรรมที่ไหนบ้างเพื่อจะได้ไปอยู่ปริวาสกรรม ซึ่งจะทำให้พ้นจากอาบัติดังกล่าวได้ ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 30 ส.ค. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยบัญญัติแต่ละสิกขาบท พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติด้วยพระองค์เอง เพื่อให้พระภิกษุได้สำรวมระวัง ไม่ล่วงละเมิดในสิกขาบทนั้นๆ อันจะเป็นไปเพื่อฝึกหัดกาย วาจา ใจ ให้เป็นไปในทางที่ถูกที่ควร เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส ถ้าไม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยให้เข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว โอกาสที่จะล่วงละเมิดสิกขาบท ก็ย่อมจะมีได้มาก รวมถึงต้องอาบัติสังฆาทิเสส ด้วย การบอกว่า ต้องอาบัติสังฆาทิเสส แก่พระภิกษุด้วย ก็แสดงถึงความจริงใจ เปิดเผย ไม่ปกปิดโทษของตนเอง เพื่อจะได้แก้ไขตามพระวินัยให้ถูกต้องต่อไป ถ้าได้สำรวมรักษาพระวินัยบัญญัติอย่างดีแล้ว พร้อมทั้งศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ ขัดเกลากิเลสของตนเอง ย่อมไม่มีเหตุที่จะทำให้เกิดความเดือดร้อนใจเลย ครับ แสดงให้เห็นเลยว่า การล่วงละเมิดพระวินัยบัญญัติ นำมาซึ่งความไม่สบายใจอย่างแท้จริง ครับ

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วิราม
วันที่ 1 ก.ย. 2560

ขอ อนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
p.methanawingmai
วันที่ 1 ก.ย. 2560

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 2 ก.ย. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 7 เม.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Bhikkhu Mit
วันที่ 21 ส.ค. 2565

ต้องบอกกับสงฆ์กี่รูปครับจึงไม่ชื่อว่าปกปิดไว้

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 23 ส.ค. 2565

ทำไมบวช

โดย สุจินต์ บริหารวนเขตต์

คนที่ไม่เข้าใจธรรม ไม่เห็นกิเลสของตัวเองและไม่ได้สะสมอุปนิสัยในการสละเพศคฤหัสถ์ แล้วบวช นั้น ไม่ใช่ผู้ที่จริงใจและไม่ใช่ผู้ตรง เพราะถามว่าบวชทำไม ถ้าตอบว่าเพราะเหตุนั้นๆ แต่ไม่ใช่เพราะได้เข้าใจพระธรรมและรู้อัธยาศัยของตนเองว่าเพื่อศึกษาพระธรรมและขัดเกลากิเลสในเพศภิกษุตามพระธรรมวินัยแล้ว สมควรบวชไหม การบวชเป็นภิกษุไม่ใช่เป็นอยู่อย่างสบายให้ผู้คนกราบไหว้ แต่เพราะเป็นผู้ที่เห็นกิเลสและเห็นโทษของกิเลส และรู้ว่าหนทางเดียวที่จะขัดเกลากิเลสก็ด้วยความเข้าใจพระธรรมจึงบวชเพื่อศึกษาธรรมและขัดเกลากิเลสยิ่งกว่าคฤหัสถ์ ฉะนั้น การดำรงชีวิตของคฤหัสถ์และบรรพชิตจึงต่างกันอย่างสิ้นเชิง

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ