สุวิทูรสูตร - สิ่งที่ไกลแสนไกล ๔ - มาฆบูชา ๓ มี.ค. ๒๕๕๐

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ก.พ. 2550
หมายเลข  2918
อ่าน  1,465

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

••• ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย •••

ขอเชิญร่วมรายการ

สนทนาธรรมที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

วันมาฆบูชา

พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

เสาร์ที่ ๓ มี.ค. ๒๕๕๐

เวลา ๑๐:๐๐ - ๑๑:๐๐น.

สุวิทูรสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่ไกลแสนไกล ๔

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 168

นำการสนทนาโดย ..

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร

โดยมีรายการดังนี้

๐๙:๐๐-๑๐:๐๐น.

สนทนาพระวินัย

๑๐:๐๐ - ๑๑:๐๐ น.

สนทนาพระสูตร

๑๑:๐๐ - ๑๒:๐๐ น.

สนทนาพระอภิธรรมพื้นฐาน

๑๒:๐๐ - ๑๓:๐๐ น.

เชิญร่วมรับประทานอาหารกลางวัน

๑๔:๐๐ - ๑๖:๐๐ น.

สนทนาเรื่องการปฏิบัติธรรม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ..

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

โทร ๐๒ ๔๖๘ ๐๒๓๙


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ก.พ. 2550

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 168

๗. สุวิทูรสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่ไกลแสนไกล ๔

[๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไกลแสนไกล ๔ อย่างนี้ ๔ อย่าง คืออะไร คือ

๑. ฟ้ากับดิน

๒. ฝั่งนี้กับฝั่งโน้นแห่งสมุทร

๓. ที่ๆ ดวงอาทิตย์อุทัยกับที่ๆ ดวงอาทิตย์อัสดง

๔. ธรรมของสัตบุรุษกับธรรมของอสัตบุรุษ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล สิ่งที่ไกลแสนไกล ๔ อย่าง ฟ้ากับดิน ไกลกัน ฝั่งสมุทร ก็ว่า ไกลกัน ที่ๆ ดวงอาทิตย์อุทัย กับที่ๆ ดวงอาทิตย์อัสดง (ก็ไกลกัน) ธรรมของสัตบุรุษกับธรรมของสัตบุรุษ ปราชญ์ กล่าวว่าไกลกันยิ่งกว่านั้น การสมาคมแต่งสัตบุรุษย่อมไม่เสื่อม คลาย จะนานเท่าใดๆ ก็คงที่อยู่เช่นนั้น ส่วนสมาคมแห่งอสัตบุรุษย่อมพลันเสื่อม เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงไกลจาก อสัตบุรุษ

จบ สุวิทูรสูตรที่ ๗

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ก.พ. 2550

อรรถกถาสุวิทูรสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุวิทูรสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สุวิทูรวิทูรานิ ความว่า ไม่ใกล้กันโดยปริยายไรๆ คือ ไกลแสนไกลนั่นเอง.

หลายบทว่า นภญฺจ ภิกฺขเว ปวี จ ได้แก่ อากาศกับ แผ่นดินใหญ่ ในสองอย่างนั้น ชื่อว่าอากาศไม่ไกลจากแผ่นดิน แม้ประมาณ ๒ นิ่วก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็ยังกล่าวว่าไกลแสนไกลเพราะไม่คิดกันและกัน

บทว่า เวโรจโน คือ ดวงอาทิตย์

หลายบทว่า สตญฺจ ภิกขเว ธมฺโม ความว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ อันต่างด้วยสติปัโฐาน ๔ เป็นต้น

สองบทว่า อสตญฺจ ธมโม ความว่า อสัทธรรมอันต่างด้วยทิฏฐิ ๖๒.

บทว่า ปภงฺกโร คือ ดวงอาทิตย์.

สองบทว่า อพฺยายิโก โหติ ได้แก่ ไม่จางไปเป็นสภาพ

สองบทว่า สต สมาคโม ความว่า การสมาคมของบัณฑิตด้วยสามารถกระชับมิตร.

บทว่า ยาวมฺปิ ติฏฺเยฺย ความว่า จะพึงตั้งอยู่นานเท่าใด

บทว่า ตเถว โหติ ความว่า ก็คงที่อยู่เช่นนั้น ไม่ละปกติ.

บทว่า ขิปฺปฺหิ เวติ คือ ย่อมจางเร็ว

จบ อรรถกถาสุวิทูรสูตรที่ ๗

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 26 พ.ย. 2563

เดี๋ยวนี้เอง อยู่ฝั่งไหน ใครอยู่ฝั่งโน้นบ้าง รู้แต่ว่า ฝั่งโน้นมีแน่ แต่กำลังอยู่ฝั่งนี้ แล้วจะถึงฝั่งโน้นได้อย่างไร ถ้าไม่มีความเห็นถูกความเข้าใจถูก

เพราะฉะนั้น ก็คือเดี๋ยวนี้เองมีสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วยังไม่รู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น จะไม่มีกิเลส ความติดข้อง ความยึดถือในสิ่งที่ปรากฏโดยสถานหนึ่งสถานใดได้ไหม เพราะเหตุว่าอุปาทาน ความยึดมั่น มีทั้งกามุปาทาน เพียงแค่เห็น ติดข้องแล้วอย่างมาก จะหมดได้ไหม ฟังธรรมะ ไม่ใช่เรื่องของคนหนึ่งคนใด ไม่ใช่เรื่องของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ ผู้หมดกิเลสทั้งหลาย แต่ว่าเป็นธรรมะทั้งหมด แม้แต่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็คือพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณ

ที่มา อ่าน และฟังเพิ่มเติม ...

ฝั่งนี้-ฝั่งโน้น

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
สิริพรรณ
วันที่ 11 ม.ค. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 11 ม.ค. 2567

แม้แต่พระธรรมที่กล่าวว่า ธรรมของสัตบุรุษ และธรรมของอสัตบุรุษ ไกลกันยิ่งกว่าฟ้า และดิน นี่ก็แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ว่าไกลกันแสนไกล เช่น ฟ้ากับดิน หรือว่าฝั่งข้างนี้ของมหาสมุทรกับฝั่งข้างนั้นของมหาสมุทร แต่คนที่ระลึกได้ถึง อกุศลของตนเองกับผู้ที่ได้ดับอกุศลเป็นสมุจเฉทเป็นลำดับขั้น จะเห็นความต่างกันมากของผู้ที่อกุศลเกิดอยู่ตลอด และหิริโอตตัปปะก็ยังไม่เกิด อกุศลก็มากมาย นานๆ ครั้งหนึ่งจะมีสติระลึกได้ และหิริโอตตัปปะก็เกิดบ้าง เพราะฉะนั้น ก็ต้องต่างกันกับท่านที่ได้อบรมเจริญปัญญาจนสามารถดับกิเลสได้เป็นสัตบุรุษ

ที่มา ...

ธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ