เพียรที่จะเข้าใจให้ถูกต้อง

 
เมตตา
วันที่  25 ม.ค. 2562
หมายเลข  30418
อ่าน  641

ฟังธรรมเพื่อเข้าใจสภาพธรรม ที่มีจริงๆ ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้สภาพธรรมและทรงแสดงธรรมตามความเป็นจริง ธรรมเป็นสิ่งที่รู้ตามได้ยาก จึงต้องฟังด้วยความอดทน ฟังและพิจารณาไตร่ตรอง คำ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งทุกคำแสดงให้เข้าใจถึงลักษณะที่มีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน ธรรมไม่ได้มีอยู่ในหนังสือ แต่อยู่ที่นี่ ขณะนี้ อาจหาญ (อาจหาญเป็นสภาพธรรมที่อุตสาห หรือเพียร ซึ่งเป็นวิริยเจตสิก) ที่จะเข้าใจให้ถูกต้อง ขณะนี้เป็นธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 421

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงนายโคบาลนั้น ผู้นั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งแล ด้วยธรรมีกถา ฯ ล ฯ เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะหลีกไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺทสฺเสสิ ความว่า พระองค์เมื่อทรงแสดงธรรมมีกุศลเป็นต้น วิบากของกรรม โลกนี้โลกหน้า โดยประจักษ์ในนัยมีอาทิว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ในเวลาจบอนุบุพพิกถา จึงทรงชี้แจงอริยสัจ ๔.

บทว่า สมาทเปสิ ความว่าให้เธอยึดเอาธรรมมีศีลเป็นต้นโดยชอบ คือให้เธอตั้งอยู่ในธรรมมีศีลเป็นต้นนั้น โดยนัยมีอาทิว่า เพื่อบรรลุสัจจะ เธอให้ธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นในตน.

บทว่า สมุตฺเตเชสิ ความว่า ทรงให้ธรรมเหล่านั้นที่สมาทานแล้วอบรมโดยลำดับ อันเป็นส่วนแห่งธรรมเครื่องตรัสรู้ มีความเข้มแข็งและสละสลวย ให้อาจหาญโดยชอบ คือให้รุ่งเรืองโดยชอบทีเดียว โดยประการที่จะนำมาซึ่งอริยมรรคโดยพลัน.

บทว่า สมฺปหํเสสิ ความว่าทรงให้ร่าเริงด้วยดี โดยทำจิตให้ผ่องแผ้ว ด้วยการแสดงภาวะแห่งภาวนามีคุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย.

อีกอย่างหนึ่ง ในข้อนี้ พึงทราบการชี้แจงด้วยบรรเทาสัมโมหะ ในธรรมที่มีโทษและหาโทษมิได้ และในสัจจะมีทุกขสัจเป็นต้น การให้สมาทานด้วยการบรรเทาความประมาทในสัมมาปฏิบัติ การให้อาจหาญด้วยการบรรเทาการถึงความคร้านแห่งจิตและความร่าเริงด้วยการสำเร็จสัมมาปฏิบัติ.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 25 ม.ค. 2562

ความเข้าใจขั้นการฟังยังยากมาก กว่าจะถึงขั้นปฏิปัตติหรือสติปัฏฐานก็ต้องยิ่งยากมากกว่าขั้นการฟัง ปฏิปัตติ มีความหมายว่า ถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรม ต้องเป็นปัญญาที่เข้าใจขั้นการฟัง จนสัญญาจำลักษณะของสภาพธรรมมั่นคงจึงเป็นเหตุให้สติถึงเฉพาะลักษณะสภาพธรรมตามจริง ไม่มีเราที่จะให้สติเกิดรู้ตรงสภาพธรรมได้ แต่ต้องด้วยปัญญาความเข้าใจที่ถูกต้อง สติจึงระลึกตรงลักษณะสภาพธรรมซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ดังใน ทุติยสาริปุตตสูตร ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมตามที่ท่านพระสารีบุตรแสดง แต่คนเป็นจำนาวมากเข้าใจ คำว่า ปฏิปัตติ หรือปฏิบัติ คลาดเคลื่อน จึงไปปฏิบัติธรรมที่สำนักปฏิบัติ ไปปฏิบัติธรรมตามวัด ตามสถานที่ต่างๆ ด้วยความเป็นเรา ซึ่งเป็นความเห็นผิดปฏิบัติผิดในหนทางไม่ตรงตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า มีเพียงหนทางเดียว คือการอบรมเจริญสติปัฏฐานหรืออบรมเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เริ่มด้วยมรรคองค์แรก สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกเข้าใจถูกในสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๗๙

๕. ทุติยสาริปุตตสูตร

ว่าด้วยองค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา

[๑๔๒๗] ครั้งนั้นท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร ที่เรียกว่า โสตาปัตติยังคะๆ ดังนี้ โสตาปัตติยังคะเป็นไฉน.

[๑๔๒๘] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสตาปัตติยังคะ คือ สัปปุริสสังเสวะ การคบสัตบุรุษ ๑ สัทธรรมสวนะ ฟังคำสั่งสอนของท่าน ๑ โยนิโสมนสิการ กระทำไว้ในใจโดยอุบายที่ชอบ ๑ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑.

[๑๔๒๙] พ. ถูกละๆ สารีบุตร โสตาปัตติยังคะ คือ สัปปุริสสังเสวะ ๑ สัทธรรมสวนะ ๑ โยนิโสมนสิการ ๑ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ๑. ฯลฯ

เชิฐคลิกอ่านปฏิปัตติ ได้ที่..

ปฏิบัติ

..กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ..

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ