ศีลบารมี - อันตรายของการคบคนพาล ตอนที่ 9-13 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือว่า เราคบหาสนิทสนมอยู่กับใคร ท่านอกิตติดาบสกล่าวแสดงเกี่ยวกับตัวท่านเองว่าท่านไม่ได้ปรารถนาที่จะเห็น ได้ยิน หรือใกล้ชิดกับคนพาล ในคัมภีร์อรรถกถา จริยาปิฎก อุปมาว่าการคบหากับคนพาล เหมือนการลิ้มรสของน้ำที่มีรสขม มีรสที่ไม่น่าปรารถนา และการคบหากับบัณฑิต ก็เปรียบเหมือนกับการลิ้มรสน้ำหวาน
แม้อย่างนั้นพระโพธิสัตว์ก็ยังมีช่วงที่ท่านคบหากับคนพาล ยกตัวอย่างเช่น ครั้งที่ท่านเกิดอยู่ในครอบครัวที่มีความเห็นผิด ในชาติที่ท่านเกิดเป็นโชติปาลมานพครั้งที่เยาวัย ท่านเกิดในตระกูลของผู้ที่เห็นผิด และไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โชติปาลก็กระทำการเหยียดหยามพระพุทธเจ้าเช่นเดียวกับบิดามารดาของท่าน พราหมณ์ผู้ที่มีความเห็นผิดไม่เลื่อมใสในพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ก่อนที่พระพุทธเจ้าองค์นี้ คือ พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า คัมภีร์อรรถกถา ปปัญจสูทนี [เล่มที่ 21] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชิฌิมปัณณาสก์ เล่มที่ ๒ ภาคที่ ๒ หน้าที่ 1 จากพระสูตรเรื่อง "ฆฏิการสูตร" กล่าวว่าพระโพธิสัตว์อบรมบารมีจนกระทั่งเกิดเป็นโชติปาละ เมื่อท่านได้คบหากับคนที่เห็นผิด
คัมภีร์อรรถกถา ได้เปรียบเทียบการสะสมบารมี อุปมาเหมือนไฟที่โชติช่วงสว่างไสว ซึ่งชาตินั้น กระทบกับน้ำ และดับไป แสงสว่างก็ไม่ปรากฏ เหลือเพียงเถ้าถ่าน [1]
เราไม่ทราบอดีตชาติที่ผ่านไปแล้ว แต่เราสามารถที่จะเรียนจากเรื่องราวชีวิตของพระโพธิสัตว์ โชติปาละได้ว่า ถึงแม้ว่าท่านสะสมบารมีอย่างยิ่ง ท่านก็ยังคบหากับคนพาล ควรที่จะศึกษาว่าไม่ควรที่จะประมาท และควรเห็นโทษของการคบคนพาล
ข้อความนี้แปลจาก...The Perfection of Morality - The danger in association with fools
-----------------------
[1] ข้อความอุปมานี้ไม่ได้ปรากฏในอรรถกถา ฆฏิการสูตร ยังคงตรวจสอบอยู่ว่า ปรากฏอยู่ที่ใด ส่วนใน "ฆฏิการสูตร" นั้นแสดงชัดเจนว่าพระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ที่แสดงการลบหลู่พระพุทธเจ้า และเป็นผู้ไม่ปรารถนาไปพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า