รู้ลักษณะของนามธรรมทางมโนทวารหรือยัง

 
pirmsombat
วันที่  20 มี.ค. 2550
หมายเลข  3135
อ่าน  1,217

ต้องระลึกรู้ แม้ในขณะที่กำลังรู้ว่า สิ่งที่เห็นเป็นอะไรหรือเป็นใคร ก็เป็น นามธรรม ชนิดหนึ่ง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
มารินี
วันที่ 21 มี.ค. 2550

เมื่อเกิดทุกข์ ถึงจะนึกถึงธรรม เมื่อไหร่จะมีปัญญาว่า เมื่อเกิดขึ้น ทุกข์ก็เกิดขึ้นซะที

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 21 มี.ค. 2550

ไม่มีหนทางอื่น นอกจากอบรมปัญญาด้วยการฟัง การศึกษาธรรม การอ่าน การคิดพิจารณาถึงธรรม ที่ได้ยินได้ฟัง เพราะฉะนั้น การอบรมปัญญาจะขาดการฟังธรรมไม่ได้เลยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 21 มี.ค. 2550

ต้องระลึกรู้ แม้ในขณะที่กำลังรู้ว่า สิ่งที่เห็นเป็นอะไร หรือเป็นใคร ก็เป็น นามธรรมชนิดหนึ่ง

ถ้าอ่านข้อความนี้ไม่ละเอียด ย่อมทำให้เข้าใจผิด ในการเจริญสติปัฏฐานได้ ครับ สติปัฏฐานต้องมีปรมัตถ์ (จิต เจตสิก รูป) เป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่ใช่บัญญัติ ตรงนี้เป็นความเข้าใจเบื้องต้น และจากข้อความนี้ที่ว่า ต้องระลึกรู้ แม้ในขณะที่กำลังรู้ว่า สิ่งที่เห็นเป็นอะไร หรือเป็นใคร ขณะที่เห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ขณะนั้น จิตมีบัญญัติเป็นอารมณ์ เพราะเห็นเป็น สัตว์ บุคคล ตัวตนแล้ว

ถามว่า สติระลึกในสิ่งที่เห็น ว่า เป็นสัตว์บุคคลไปแล้ว ใช่ไหม ไม่ใช่ เพราะเป็นบัญญัติ (ไม่มีลักษณะที่แท้จริง เช่น ไม่เที่ยง เป็นต้น) แต่ถามว่า มีสภาพธัมมะหนึ่ง ที่รู้ว่าเป็น สัตว์ บุคคล ตัวตนไหม มี นั่นคือ จิตนั่นเอง จิต ที่คิดนึกถึงสิ่งที่ปรากฏทางตา ต่อจากปัญจทวาร จึงเป็นเป็นจิตที่คิดนึก จิตที่คิดนึก ก็เป็น ปรมัตถธรรม ข้อความที่ท่านผู้ตั้งกระทู้จะสื่อ ก็คือ สติต้องระลึกรู้ แม้จิตที่คิดนึก (ทางมโนทวาร) ที่มี บัญญัติเป็นอามรณ์ (เห็นเป็นสัตว์บุคคล) ไม่ใช่สติ ไประลึกถึงสิ่งที่เห็น เป็นสัตว์ บุคคล เพราะนั่นเป็น บัญญัติ

ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
devout
วันที่ 22 มี.ค. 2550

ถ้าเป็นการระลึกรู้จริงๆ คงไม่ต้องคิดว่าป็นทวารไหนใช่มั้ยคะ และก็ไม่ต้องคิดต่อไปอีกด้วยว่า เป็นนามธรรม หรือรูปธรรม เพราะลักษณะนั้นกำลังปรากฎ ประจักษ์ชัดอยู่แล้ว

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 23 มี.ค. 2550

ทุกสิ่ง ไม่เที่ยง ไม่ได้หมายถึงทั้งหมด แม้นิพพาน ก็เที่ยง รวมทั้ง บัญญัติที่ไม่มีลักษณะ สภาวะของเขา จึงไม่มีลักษณะที่ไม่เที่ยงด้วย เพราะไม่ใช่ปรมัตถ์ และไม่มีลักษณะเฉพาะตน และลักษณะสามัญทั่วไป อย่างเช่น พระเจ้าพิมพิสาร เป็นบัญญัติ อันเกี่ยวเนื่องมาจากจิต ถ้าไม่มีจิต ก็ไม่มีพระเจ้าพิมพิสาร แต่ถามว่า สิ่งใดไม่เที่ยง มีลักษณะเฉพาะของตน มีสภาวะลักษณะของเขา ก็ต้องตอบว่า จิต เจตสิก รูป แต่ไม่ใช่ บัญญัติ ที่กำหนดขึ้นมา อันอาศัยปรมัตถ์ธรรมเป็นเรื่องละเอียด ยังไงก็ฟังต่อไป ถ้าต้องการศึกษาเรื่อง ปรมัตถธรรม มูลนิธิฯ แจกหนังสือครับ ก็โทรมาที่มูลนิธิฯได้เลยครับ 024680239 จะทำให้เข้าใจเรื่องบัญญัติ และปรมัต มากขึ้น อนุโมทนา ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

บัญญัติ

ธรรมที่ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
webdh
วันที่ 24 มี.ค. 2550

ถ้าต้องการศึกษาเรื่องปรมัตถธรรม มูลนิธิฯ แจกหนังสือ ก็โทรมาที่มูลนิธิฯ ได้เลยครับ 024680239

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 24 มี.ค. 2550

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Guest
วันที่ 24 มี.ค. 2550

ขันธ์ ๕ คือนามธรรมและรูปธรรม

ขันธ์ ๕ คือ นามธรรมและรูปธรรม ทั้งภายในและภายนอกนั้นเป็นทุกข์ คงจะมีผู้สงสัยว่า ทำไมขันธ์ ๕ จึงเป็นทุกข์ เรายึดถือจิตใจว่าเป็นตัวตน แต่ที่เรายึดถือว่าเป็นจิตใจของเรานั้น ก็เป็นแต่เพียงนามธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับไปทันทีเท่านั้นเอง เรายึดถือร่างกายว่าเป็นตัวตน แต่ที่เรายึดถือว่า เป็นร่างกายของเรานั้น ก็เป็นแต่เพียงรูปธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เมื่อไม่รู้ความจริงก็คิดว่า สภาพธรรมเหล่านั้นยั่งยืน และยึดถือว่าเป็นตัวตน เช่น เราควรจะคิดว่า ความเศร้าโศกนั้นไม่หมดไป แต่ว่าในวันหนึ่งๆ นั้น ก็ไม่ได้ มีแต่ความเศร้าโศก มีสภาพธรรมอื่นๆ อีกหลายอย่างด้วย เช่น มีการเห็น การได้ยิน การคิดนึก เป็นต้น ที่เราคิดว่าเศร้าโศกนานนั้น แท้จริงก็เป็น สภาพธรรมต่างๆ ชนิดที่เกิดดับสืบต่อกันอยู่เรื่อยๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Guest
วันที่ 24 มี.ค. 2550

ควรจะระลึกรู้สภาพธรรมใดก่อน

เป็นความจริงที่สภาพธรรมเกิดพร้อมกันหลายอย่าง เช่น รูปร่างกายประกอบด้วยรูปหลายชนิด เกิดดับสืบต่อกัน รูปดิน น้ำ ไฟ ลม เกิดร่วมกันและดับไปพร้อมกัน แต่จิตรู้ลักษณะของสภาพธรรมได้ทีละอย่าง เพราะจิตดวงหนึ่งก็รู้อารมณ์หนึ่งเท่านั้น
เมื่อสัมมาสติเกิดร่วมกับจิต ก็ย่อมระลึกรู้สภาพธรรม ได้ทีละหนึ่งอย่าง เวลาที่บอกว่าลักษณะแข็งปรากฏ ก็ไม่ใช่ว่ารูปแข็งรูปเดียวเกิดขึ้นในขณะนั้นโดยที่ไม่มีรูปอื่นๆ เกิดด้วย เวลาที่กล่าวว่าลักษณะแข็งปรากฏ นั้นก็หมายความว่า ขณะนั้นจิตรู้สภาพที่แข็ง

เมื่อสติเกิดร่วมกับจิตใด สติก็ระลึกรู้อารมณ์เดียวกับจิตนั้น ขณะนั้นสติก็ระลึกรู้ว่า สภาพแข็งนั้นเป็นลักษณะของรูปอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ตัวตน การที่สติจะระลึกรู้อารมณ์ใดนั้นบังคับไม่ได้ ไม่มีกฎเกณฑ์ว่า ให้สติระลึกสภาพธรรมใดก่อนหลัง แล้วแต่สติที่จะระลึกรู้นามธรรมใด และรูปธรรมใด

การรู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมด้วยการเจริญสตินั้น ไม่ใช่การรู้ โดยขั้นปริยัติ ในพระสูตรจะสังเกตได้ว่า พระผู้มีพระภาค ฯ ตรัสเนืองๆ เรื่องการรู้ชัดในลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมทางทวาร ๖ เช่นใน สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สัปปายสูตรที่ ๑ พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงปฏิปทา อันเป็นอุปการะแก่นิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพาน เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเห็นว่าจักขุไม่เที่ยง รูปทั้งหลายไม่เที่ยง จักขุวิญญาณไม่เที่ยง จักขุสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพานฯ” การคิดพิจารณาว่า สภาพธรรมทั้งหลายไม่เที่ยงนั้น จะทำให้บรรลุนิพพานได้ หรือการละคลายการยึดถือว่าเป็นตัวตนนั้น หมดสิ้นไปเพียงด้วยการคิด

นึกเท่านั้นไม่ได้ ปัญญาที่รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมที่กำลังปรากฏเท่านั้น ที่รู้ชัดในสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ เมื่อรู้ชัดสภาพธรรมตามความเป็นจริงแล้ว ก็ละคลายความเห็นผิดว่า เป็นตัวตนได้จริงผู้ที่เข้าใจผิดว่ารู้สภาพธรรมแล้ว ย่อมไม่เข้าใจความหมายของพระสูตรนี้ ทำไม พระผู้มีพระภาค ฯ จึงตรัสแล้วตรัสอีกว่า จักขุ จักขุวิญญาณ รูปารมณ์ไม่เที่ยง เพื่อทรงโอวาทให้สาวกเจริญสติ เพื่อวันหนึ่งจะได้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 1 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 22 ส.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ