กุศลเป็นสิ่งที่ดี อกุศลไม่ดี ควรละ
กุศลเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลก็ได้ เช่น เราปล่อยปลาแล้วปลาบางตัวไม่แข็งแรงว่ายได้นิดหน่อยแล้วตายต่อหน้าเรา เรารู้สึกไม่สบายใจเลย เป็นต้น แต่ถ้าเราทำกุศลแล้วหวังรวยหวังได้ความสุข เป็นกุศลที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา เพราะขณะนั้นยังติดในผลของกุศล
เมื่อศึกษาพระธรรม ซึ่งกล่าวถึงเรื่องเหตุและผล เหตุที่ดีย่อมได้ผลที่ดี เจริญเหตุแล้วย่อมได้ผล มิได้ขึ้นอยู่ที่ความหวัง เพราะปกติของผู้ที่ยังมีความติดข้องในกามคุณ ๕ ย่อมต้องหวังผล คือสุขเวทนา เป็นธรรมดา เมื่อความหวังเกิด ก็รู้ความจริงว่า เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ที่ปรากฏแล้วตามการสะสม เป็นฐานเป็นที่อาศัย ให้สติระลึกรู้ตามความจริงของสิ่งที่ปรากฏ เพื่อเป็นปัจจัยให้เข้าใจการเจริญบารมี เพราะเป็นการเจริญกุศลทุกประการเพื่อวิวัฏฏะ เพื่อละความหวัง สภาพธรรมละเอียด ควรพิจารณาโดยความรอบคอบ เพราะหวังด้วยฉันทะซึ่งเป็นกุศลก็มี
เป็นเรื่องปกติครับ ที่มีความอยากทำกุศล และหวังผลของกุศล ขณะนั้น สติปัฏฐานเกิดระลึกได้ครับ ว่าเป็นความอยาก เป็นความหวัง เป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ตัวเราที่อยาก ไม่ใช่ตัวเราที่หวัง กล่าวอย่างนี้ดูเหมือนง่าย แต่ความจริง ยากมาก เพราะโลภะ จะคอยหาวิธีทำอย่างอื่น ที่ไม่ใช่ แนวทางเจริญวิปัสสนา (สติปัฏฐาน)
เป็นธรรมดาอยู่แล้ว มีเหตุปัจจัยให้เกิดก็เกิด (ความหวัง) แต่เรามักไปเดือดร้อนกับอกุศลที่เกิด เพราะเราไม่รู้ว่าเป็นธัมมะ ยังไม่มั่นคง ทุกอย่างก็เป็นธัมมะ หนทางที่ถูกก็คือ เมื่อความหวังเกิด สติก็ระลึกว่า เป็นธัมมะไม่ใช่เรา นี่คือหนทาง ดับกิเลส (สติปัฏฐาน) แต่ถึงแม้คุณจะให้โดยไม่หวัง แต่ไม่รู้เลยว่าที่ให้เป็นธัมมะ ก็ยึดถือว่าเป็นเราที่ให้ ก็ไม่มีทางดับกิเลสได้เลย ต้องมั่นคงว่า อกุศลก็เป็นธัมมะ ใครจะห้ามไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ เพราะยังมีเหตุปัจจัยให้เกิด อย่างที่กล่าวข้างต้น ต้องเป็นปรกตินะ ไม่ใช่ฝืน แต่ต้องรู้ตัวจริงของเขา (โลภะ) ไม่เช่นนั้น เราก็จะไม่มีทางรู้ทั่วเลยว่าทุกอย่างเป็นธัมมะ กิเลสที่ต้องดับก่อนคือ การยึดถือว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ครับ
ความต้องการ หรือใคร่ที่จะทำบุญ เป็นฉันทะ ที่เกิดกับกุศลจิตก็ได้ เพราะมีปัญญา รู้ว่าบุญเป็นที่พึ่ง ย่อมนำสุขมาให้ ดังตัวอย่างในพระไตรปิก
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ... เรื่องนางลาชเทวธิดา
อยากจะทำกุศลเพื่อหวังผลที่ดี เป็นโลภะ ซึ่งเป็นอกุศล แต่เป็นอกุศล ที่อยู่ในกรอบของ ศีล เป็นบุญ แต่เป็นบุญที่ ยังทำให้ติดข้องอยู่ในวัฏฏสงสาร ทำให้ต้องเนิ่นช้า เนื่องจากวัฏฏสงสารนั้น ไม่แน่นอน เพราะเราไม่รู้ว่าชาติใด เราจะเป็นผู้ประมาท ซึ่งก็อาจจะประมาท จนกระทั่งทำอกุศล จนต้องไปเกิดในอบาย เพราะฉะนั้น การเจริญกุศล จึงควรเจริญกุศล เพื่อทำลายวัฏฏสงสาร โดยการเจริญกุศลทุกๆ อย่าง มุ่ง ขัดเกลาอกุศลกิเลส ไม่เพ่งเล็ง จะได้ผลอันเป็น ลาภ ยศ สุข สรรเสริญเป็นสำคัญ ในส่วนของผลบุญนั้น ย่อมได้อยู่แล้วตามสมควรแก่เหตุปัจจัย
ซึ่งเป็นอกุศล แต่เป็นอกุศลที่อยู่ในกรอบ ของศีล เป็นบุญแต่เป็นบุญที่ยังทำให้ติดข้องอยู่ในวัฏฏสงสาร? เอ๋ เมื่อศึกษาปรมัตถธรรม จิต มี ๔ ชาติ คือ กุศล อกุศล วิบาก กิริยา
ดังนั้น เมื่อเป็นอกุศล จะกล่าวว่า เป็นกุศล (บุญ) ไม่ได้ อกุศลก็ต้องเป็นอกุศล กุศลก็ต้องเป็นกุศล นี่คือความหมายของพระอภิธรรม คือสภาพธัมมะ เป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น เปลี่ยนแปลงไม่ได้
อนุโมทนา