สัตว์ทดลอง

 
joychorelada
วันที่  10 เม.ย. 2563
หมายเลข  31723
อ่าน  617

ขอกราบเรียนถามค่ะ

การนำสัตว์มาทดลองเพื่อผลิตยารักษาโรคให้มนุษย์

1. เป็นการทรมานสัตว์ หรือเปล่าคะ

2. ผู้ทำจะได้รับบุญหรือบาปค่ะ

3. เป็นสิ่งที่ควรทำหรือเปล่าคะ

4. ผู้ที่มีส่วนร่วม สนับสนุนและยินดีในการกระทำนั้น จะได้รับวิบากอะไรหรือเปล่าค่ะ

กราบขอบพระคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 10 เม.ย. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

1. เป็นการทรมานสัตว์ หรือเปล่าคะ

ธรรมเป็นสัจจะ ตรง ไม่เปลี่ยนลักษณะ ขณะที่รู้อยู่ว่าสัตว์จะเกิดความทุกข์จากการกระทำนั้น และก็ทำ ก็มีเจตนาเบียดเบียน จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ก็ต้องด้วยจิตที่ไม่ดี ครับ

2. ผู้ทำจะได้รับบุญหรือบาปค่ะ

เจตนาเบียดเบียน ในขณะนั้น ไม่ได้บุญเป็นบาปครับ

3. เป็นสิ่งที่ควรทำหรือเปล่าคะ

อะไรก็ตามที่เป็นอกุศลธรรมไม่ควรทำ แต่ ธรรมก็แต่ละหนึ่ง บังคับบัญชาไม่ได้ ครับ

4. ผู้ที่มีส่วนร่วม สนับสนุนและยินดีในการกระทำนั้น จะได้รับวิบากอะไรหรือเปล่าค่ะ

บาปอกุศล เบียดเบียนสัตว์ เป็นผู้มีโรคมาก ถ้ากรรมนั้นให้ผล ซึ่งก็ต้องตามเหตุ ของแต่ละบุคคล เพราะกรรมเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 10 เม.ย. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต เล่ม ๓๗ - หน้าที่ ๔๙๕

สัพพลหุสสูตร

"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาตอันบุคคลเสพแล้วเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัยวิบากแห่งปาณาติบาตอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความเป็นผู้มีอายุน้อยให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์"

(พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต สัพพลหุสสูตร)


จิตเกิดดับสลับกันอย่างรวดเร็ว ไม่ได้เป็นกุศล อยู่ตลอด ไม่ได้เป็นอกุศลอยู่ตลอด ตามความเป็นจริงแล้ว ถ้าจิตไม่ได้เป็นไปในทาน ไม่ได้เป็นไปในการรักษาศีล ไม่ได้เป็นไปในการอบรมเจริญปัญญาแล้ว เป็นอกุศลทั้งหมด ถ้าไม่กล่าวถึงขณะที่เป็นวิบากและกิริยา ขณะที่จิตเป็นอกุศล ไม่ใช่บุญ จะเห็นได้ว่าอกุศลจิตเกิดขึ้นมากในชีวิตประจำวัน ถ้าสะสมมากขึ้น มีกำลังมากขึ้น ก็ล่วงเป็นทุจริตกรรม เป็นอกุศลกรรม เป็นบาปที่จะให้ผล คือ อกุศลวิบาก ในภายหน้า

สำหรับผู้ที่เค้นคว้าวิชาการใหม่ๆ ผลิตยา โดยใช้สัตว์เป็นเครื่องทดลอง เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น นั้น สภาพจิตใจ คงจะไม่เหมือนกับผู้ที่ฆ่าสัตว์เป็นประจำ เบียดเบียนสัตว์เป็นประจำ แต่การฆ่า การเบียดเบียนสัตว์อื่น ไม่ว่าจะเป็นใครทำ ก็เป็นบาป เป็นสิ่งที่ไม่ดี เหมือนกันทั้งนั้น ไม่มีการยกเว้น แสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงของสภาพธรรมที่ใครๆ ก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ และที่ยังเป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่ายังมีภพชาติเหลืออยู่ สังสารวัฏฏ์ยังเป็นไปอยู่ อันเนื่องมาจากการมีกิเลส ยังดับกิเลสใดๆ ไม่ได้นั่นเอง บุคคลผู้ที่จะไ่ม่ฆ่าสัตว์ อย่างเด็ดขาด ต้องเป็นพระอริยบุคคล ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป

สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้เป็นพระอริยบุคคล โอกาสที่จะล่วงศีล เบียดเบียนผู้อื่น ก็อาจจะเกิดขึ้นได้เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ทางที่ดีที่สุด คือ ไม่ประมาทกำลังของกิเลสไม่ประมาทในการเจริญกุศล สะสมความดีและอบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเป็นไปเพื่อละคลายขัดเกลากิเลสของตนเอง ต่อไป ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ครับ

นักศึกษาแพทย์ทำการทดลองกับสัตว์

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
joychorelada
วันที่ 10 เม.ย. 2563

ในครั้งพุทธกาล ท่านหมอชีวกใช้สัตว์ทดลองยา หรือเปล่าคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 10 เม.ย. 2563

เรียน ความเห็นที่ 3 ครับ

หมอชีวกโกมารภัจจ์ ไม่ได้ทราบประวัติละเอียดเมื่อตอนเป็นปุถุชน และรายละเอียดการเรียนทางแพทย์ของท่านโดยละเอียด แต่ พอทราบคร่าวๆ ว่า อาจารย์ของท่านให้ไปหาต้นไม้ภายในระยะรัศมี 1 โยชน์ที่ไม่เป็นยา ท่านหมอชีวก หาไม่มี อาจารย์จึงกล่าวกับท่านว่า สำเร็จวิชาการแพทย์แล้ว ยังไม่เคยอ่านเจอที่ท่านนำสัตว์มาทดลอง ครับ และ ที่อ่านประวัติ ท่านเมื่อจบการศึกษา รักษาท่านเศรษฐีผ่าตัดสมอง นำสัตว์มีชีวิตตัวเล็กออกจากสมอง แต่ไม่มีกล่าวว่าท่านเอาสัตว์ไปทดลองเลย ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
joychorelada
วันที่ 11 เม.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 23 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ