ธรรมารมณ์

 
joychorelada
วันที่  16 ก.ค. 2563
หมายเลข  32088
อ่าน  784

1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

อาทิตตปริยายสูตร

[๓๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอาทิตตปริยายและธรรมปริยายแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาทิตตปริยายและธรรมปริยายเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลแทงจักขุนทรีย์ด้วยหลาวเหล็กอันร้อนไฟติดลุกโพลงแล้วยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในรูป อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ จะดีอะไร

วิญญาณอันเนื่องด้วยความยินดีในนิมิต หรือเนื่องด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะ พึงตั้งอยู่ ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาในสมัยนั้น พึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงกล่าวอย่างนี้ ฯ .. (กรณีทางหู จมูก ลิ้น กาย พระองค์ก็แสดงทำนองเดียวกัน) ..

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลับยังดีกว่า (คือดีกว่าต้องเห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้โผฏฐัพพะ ที่หลังเห็นและรู้แล้วก็ติดข้อง) .... แต่เรากล่าวความหลับว่าเป็นโทษ ไร้ผล เป็นความโง่เขลา ของบุคคลผู้เป็นอยู่ ตนลุอำนาจของวิตกเช่นใดแล้ว พึงทำลายสงฆ์ให้แตกกันได้ บุคคลไม่ควรตรึกถึงวิตกเช่นนั้นเลย (คือไม่พึงตรึกไปในอกุศลธรรม)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้แลว่าเป็นอาทีนว (อาทีนว = สื่งเปนโทษ) ของบุคคลผู้เป็นอยู่ จึงกล่าวอย่างนี้ ฯ

2. [๓๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า จักขุนทรีย์ที่บุคคลแทงด้วยหลาวเหล็กอันร้อน ไฟติดลุกโพลงแล้ว จงงดไว้ก่อน (หมายความว่าถ้าจะเปนอริยสาวกก็ไม่ต้องไปทำวิธีไม่ให้เห็นด้วยแทงตาให้บอด กรือทำให้ไม่ได้ยิน .. ฯลฯ .. แต่ต้องอบรมปัญญา ดังแสดงต่อไปว่า) ..... ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า จักษุไม่เที่ยง รูปไม่เที่ยง จักษุวิญญาณไม่เที่ยง จักษุสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยไม่เที่ยง... (หรือแม้แต่นอนหลับเสียดีกว่า แต่ก็ทรงแสดงว่าไม่ควรเลือกวิธีนอนหลับ ซึ่งวิธีของผู้ที่ไปสู่ความเปนอริยสาวกมีอยู่) ... .ความหลับจงงดไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า ใจไม่เที่ยง (มนายตนะไม่เที่ยง) ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง (อารมณ์ที่ไม่ได้อาสัยรู้ทางปัญจทวาร แต่รู้ทางมโนทวารก็ไม่เที่ยง) มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโนสัมผัสไม่เที่ยง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง

3 ..ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในรูป แม้ในจักษุวิญญาณ แม้ในจักษุสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ... เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเรียกว่าอาทิตตปริยาย และธรรมปริยาย ฉะนี้แล ฯ

ขอเรียนถามว่า

จากพระสูตรข้างต้น การรู้เฉพาะทางมโนทวารที่ไม่ได้อาศัยทางปัญจทวารนั้น สิ่งที่ถูกรู้คือ ธรรมารมณ์ ... ถามว่า นิมิตอนุพยัญชนะของธรรมารมณ์ที่ทรงยกตัวอย่างแสดงไว้ คือกรณีเรื่องอะไรคะ

ขอบพระคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 16 ก.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง แสดงถึงสิ่งที่มีจริงโดยตลอด เพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เมื่อมีตา มีหู เป็นต้น ก็มีเหตุปัจจัยให้เห็น ให้ได้ยิน เป็นต้น แต่ไม่ได้มีเพียงแค่นั้น ยังมีความคิดนึกต่อไปอีก ในสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหูเป็นต้น เป็นรูปร่างสัณฐานต่างๆ ถ้าติดข้องยินดีพอใจ เกิดอกุศลประการต่างๆ ในรูปร่างสัณฐานโดยรวม (นิมิต) หรือ ในส่วนละเอียดของสิ่งนั้น (อนุพยัญชนะ) ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่สมควรอย่างแน่นอน จึงไม่มีแม้แต่คำเดียวที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดอกุศลแม้เพียงเล็กน้อย แต่ทรงแสดงเพื่อให้เห็นโทษของอกุศลโดยประการทั้งปวง ในทางตรงกันข้าม ถ้าเกิดกุศล ย่อมไม่มีโทษใดๆ ตามมา มีแต่คุณประโยชน์เท่านั้น ครับ

ขอเชิญศึกษาความละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ครับ

นิมิตอนุพยัญชนะ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 16 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ