ส่วนตัวผมชอบดูจิต และเห็นความต่างของจิตและเจตสิก

 
ปทุม
วันที่  21 ส.ค. 2563
หมายเลข  32673
อ่าน  667

ขณะที่รู้ความต่างในจิตและเจตสิก โดยเป็นเราดู (ดูจิต) กับขณะที่รู้ความต่างของจิตและเจตสิกที่เป็นของทางมูลนิธิเผยแพร่ (ขั้นปฏิปัตติ) เป็นอย่างไรครับ และเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ผมอยากลองเรียนรู้จากหลายๆ แห่งดูน่ะครับ เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 21 ส.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑
หน้าที่ ๓๑๖

ก็เมื่อว่าโดยลักษณะ จิตมีการรู้แจ้งอารมณ์เป็นลักษณะ จริงอยู่ จิตที่เป็นไปในภูมิ ชื่อว่า ไม่มีการรู้แจ้งอารมณ์เป็นลักษณะ ก็หาไม่ เพราะจิตทั้งหมดมีการรู้แจ้งอารมณ์ทั้งนั้น


พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ ๒๐๒

สภาพธรรมที่ประกอบกับจิต โดยไม่พรากจากกัน ชื่อว่า เจตสิก


พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ หน้าที่ ๔๔๙

ธรรมที่เป็นเจตสิก เมื่อกล่าวโดยประมวลแล้ว มีดังนี้ .-

ธรรมเป็นเจตสิก เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ (ความรู้สึก) สัญญาขันธ์ (ความจำ) สังขารขันธ์ (สภาพธรรมที่ปรุงแต่งจิต มีผัสสะ สภาพธรรมที่กระทบอารมณ์ เจตนา ความจงใจ เป็นต้น) สภาพธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นเจตสิก.


จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ด้วยความเคารพ ละเอียด รอบคอบจริงๆ เพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้อง ตั้งต้นที่ "ธรรม" คือ สิ่งที่มีจริงๆ เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น เปลี่ยนแปลงลักษณะของสิ่งที่มีจริงนั้น ไม่ได้

จิต (สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์) เจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดประกอบพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต) ก็เป็นธรรม เพราะมีจริงๆ ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม ก็ไม่มีทางที่จะเข้าใจเลยว่า จิต คือ อะไร เจตสิก คือ อะไร และ มีไหม ในขณะนี้ ตามความเป็นจริงแล้ว แต่ละขณะ ไม่เคยขาดจิตเลย เช่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น เป็นต้น เหล่านี้ เป็นจิต และเมื่อกล่าวถึงจิต ก็ต้องมีเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิต ด้วย ตามควรแก่จิต ขณะนั้นๆ

เพราะฉะนั้น การดูจิต จึงเป็นเรื่องของความอยาก ความต้องการ จดจ้องที่จะรู้ นั่น ไม่ใช่หนทางแห่งการรู้ความจริง แต่เต็มไปด้วยความเป็นตัวตน เพราะลืมความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม คือ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น จึงต้องตั้งต้นจริงๆ ค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อย ไม่ขาดการฟังพระธรรมเป็นปกติในชีวิตประจำวัน เพราะเหตุว่า การรู้ จิต และ เจตสิก ตามความเป็นจริง เป็นเรื่องของปัญญาที่รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ไม่ใช่เรื่องของการจดจ้องต้องการ ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 21 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 22 ส.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

กระทู้ต่อไปนี้ ให้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์มาก สำหรับผู้ที่คิดจะ "ดูจิต" ครับ

ตามดูจิตแล้วนอนไม่หลับ ใครพอจะช่วยผมได้บ้างมั้ยครับ

ข้อความบางตอนจาก ความเห็นที่ 3 โดย คุณเมตตา

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่เคยตรัสสอนให้ไป หัดสมาธิและดูจิต เราควรศึกษาตามพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ ทรงชี้ทางที่ผู้ใดประพฤติปฎิบัติตาม อย่างถูกต้อง ย่อมสามารถหลุดพ้นจากทุกข์ได้ โดยที่ไม่ใช่ไปเชื่อตามอาจารย์ เพราะไม่ทราบว่าอาจารย์สอนถูกตรงตามพระธรรมหรือไม่

เราจึงควรพิจารณาไตร่ตรองให้ดี ไม่เช่นนั้นปฎิบัติผิดทาง หัดสมาธิก็ผิด ดูจิตก็ไม่ถูกต้อง เป็นผู้ประกอบด้วยความเห็นผิดและปฎิบัติผิด ควรเลิกหัดสมาธิและดูจิตเสีย แล้วศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ จะมีประโยชน์กว่า เมื่ออบรมความเข้าใจ ปัญญาจะค่อยๆ เจริญขึ้นตามลำดับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Selaruck
วันที่ 22 ส.ค. 2563

กราบอนุโมทนาในคำตอบของอาจารย์คำปั่นยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
kullawat
วันที่ 25 ส.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
apichet
วันที่ 26 ส.ค. 2563

กราบ อนุโมทนาสาธุครับ

อาจารย์และพระอาจารย์มากในสมัยนี้ ท่านสอนตามๆ กัน ตามดูจิตบ้าง บ้างก็หัด นิ่งเพ่งและจดจ้องคำใดคำหนึ่งบ้าง หัดนั่งหัดเดินทั้งที่เดินได้ตามปรกติ บ้างอ้างว่าเข้าป่าอยู่ถ้ำมาหลายปีอ้างคุณวิเศษเหล่านี้มากมาย การสอนผิดๆ ตามๆ กันพาคนหลงจำนวนมาก มีโทษ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ