ช่วยอธิบายเรื่องปฏิจจสมุปบาทหน่อยคับ

 
Maxwell
วันที่  24 ส.ค. 2563
หมายเลข  32687
อ่าน  871

คือผมยังไม่เข้าใจว่าเกี่ยวเนื่องกันอย่างไรในแต่ละตัว


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 24 ส.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ปฏิจจสมุปบาท เมื่อกล่าวโดยความหมายแล้ว หมายถึง ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น กล่าวคือ เพราะมีสิ่งนี้ จึงมีสิ่งนี้ เป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง เป็นการเกิดขึ้นวนเวียนไปในสังสารวัฏฏ์ ไม่พ้นไปจากทุกข์ บุคคลผู้ที่จะตัดหรือทำลายต้นเหตุที่จะทำให้มีการเกิดท่องเที่ยววนเวียนไปในสังสารวัฏฏ์ได้ คือ พระอรหันต์เท่านั้น พระอรหันต์เป็นผู้ที่ห่างไกลแสนไกลจากกิเลสโดยประการทั้งปวง เมื่อท่านปรินิพพาน (ตาย) แล้วก็ไม่มีการเกิดอีก เป็นผู้สิ้นทุกข์โดยประการทั้งปวง ส่วนบุคคลนอกนี้ ยังไม่พ้นจากการเกิด ยังต้องท่องเที่ยววนเวียนไปในสังสารวัฏฏ์

ปฏิจจสมุปบาท เมื่อกล่าวตามแต่ละประเภทแล้ว ดังนี้

เพราะมีความไม่รู้ (อวิชชา) เป็นปัจจัย จึงมีการทำบุญบ้าง ทำบาปบ้าง (สังขาร) เมื่อมีการทำบุญ ทำบาป แล้ว จึงเป็นปัจจัยให้เกิดมีผลของบุญ ของบาป นั้น กล่าวคือ มีการเกิดขึ้น (วิญญาณ -- ปฏิสนธิวิญญาณ) เมื่อมีการเกิดขึ้นเป็นปัจจัย แล้ว จึงมีสภาพธรรมที่เป็นนามและรูปเกิดขึ้น เมื่อมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีอายตนะ (ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เมื่อมีอายตนะเป็นปัจจัยจึงมีการกระทบสัมมผัส (ผัสสะ) เมื่อมีการกระทบเป็นปัจจัย จึงเป็นเหตุให้เกิดมีเวทนา (ความรู้สึกประเภทต่างๆ) เมื่อมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา (ความติดข้องยินดีพอใจ) เมื่อมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) เมื่อมีอุปทาน เป็นปัจจัย จึงมีภพ (กรรม) เมื่อมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ (การเกิด) เมื่อมีชาติ เป็นปัจจัย จึงมี ความแก่ ความตาย ความทุกข์ ความเดือดร้อน ต่างๆ ตามมาอีกมากมาย ครับ

ขอเชิญศึกษาคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ เพิ่มเติมได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ครับ

หมดความสงสัยในความหมายของคำว่าธรรม

ปฏิจจสมุปบาท หมายความว่าอย่างไร

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
kullawat
วันที่ 25 ส.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
talaykwang
วันที่ 25 ส.ค. 2563

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ก.ไก่
วันที่ 15 เม.ย. 2566

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ