ทุติยโกธสูตร...พระสูตรสนทนาออนไลน์วันเสาร์ที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๓

 
มศพ.
วันที่  11 ต.ค. 2563
หมายเลข  33084
อ่าน  823

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาออนไลน์

วันเสาร์ที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๓

เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.

คือ

ทุติยโกธสูตร

...จาก...

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒[เล่มที่ 42] - หน้าที่ ๑๖๒

...นำสนทนาโดย...

อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

และคณะวิทยากร

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒[เล่มที่ 42] - หน้าที่ ๑๖๒

๔. ทุติยโกธสูตร

ว่าด้วยอสัทธรรม ๔ และ สัทธรรม ๔

[๔๔] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๔ ประเภทนี้ อสัทธรรม ๔ ประเภท คือ อะไร คือ

ความเป็นผู้หนักในความโกรธ ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑

ความเป็นผู้หนักในความลบหลู่ท่าน ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑

ความเป็นผู้หนักในลาภ ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑

ความเป็นผู้หนักในสักการะ ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑

นี้แล อสัทธรรม ๔ ประเภท

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สัทธรรม ๔ ประเภทนี้ สัทธรรม ๔ ประเภท คือ อะไร คือ

ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความโกรธ ๑

ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความลบหลู่ท่าน ๑

ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในลาภ ๑

ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในสักการะ ๑

นี้แล สัทธรรม ๔ ประเภท

พระคาถา

ภิกษุ ผู้หนักในความโกรธและความลบหลู่ท่าน หนักในลาภและสักการะ ย่อมไม่งอกงามในพระสัทธรรม ดุจพืชที่หว่านในนาเลว ฉะนั้น

ส่วนภิกษุเหล่าใด หนักในพระสัทธรรมแล้ว และกำลังหนักในพระสัทธรรมอยู่ ภิกษุเหล่านั้น ย่อมงอกงามในพระสัทธรรม ดุจสมุนไพร ได้ปุ๋ย ฉะนั้น

จบทุติยโกธสูตรที่ ๔

อรรถกถาทุติยโกธสูตรที่ ๔

ในทุติยโกธสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัย ดังนี้

บทว่า โกธครุตา แปลว่า ความเป็นผู้หนักอยู่ในความโกรธ

ในบททั้งปวงก็นัยนี้นี่แล

จบ อรรถกถาทุติยโกธสูตรที่ ๔


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 11 ต.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

© ข้อความโดยสรุป ©

ทุติยโกธสูตร

ว่าด้วยอสัทธรรม ๔ และ สัทธรรม ๔

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง อสัทธรรม ๔ ประเภท และ สัทธรรม ๔ ประเภท

อสัทธรรม ๔ ประเภท ได้แก่

ความเป็นผู้หนักในความโกรธ ไม่หนักในพระสัทธรรม

ความเป็นผู้หนักในการลบหลู่ท่าน ไม่หนักในพระสัทธรรม

ความเป็นผู้หนักในลาภ ไม่หนักในพระสัทธรรม

ความเป็นผู้หนักในสักการะ ไม่หนักในพระสัทธรรม

ส่วน สัทธรรม ๔ ประเภท ได้แก่

ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความโกรธ

ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความลบหลู่ท่าน

ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในลาภ

ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในสักการะ

(ตามที่ปรากฏในพระสูตร)

ขอเชิญคลิกศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ครับ

พระสัทธรรม

พระสัทธรรม 3 อย่าง [มหาวิภังค์]

ดำรงพระสัทธรรม ด้วยปัญญา

โกรธ ดีไหม? ไม่ดี แต่ยังไม่รู้ว่า ความโกรธ เป็นธรรม ไม่ใช่เรา

ความลบหลู่

ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 11 ต.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pulit
วันที่ 14 ต.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
papon
วันที่ 16 ต.ค. 2563

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ