ถ้าถูกบังคับให้ฟังธรรมะ จะเป็นอกุศลไหม?
ต้องเข้าใจก่อนว่า การฟังก็เป็นเรื่องไม่ใช่ง่าย ที่จะได้ยินได้ฟังพระธรรมคำสอนที่ถูกต้องตรงตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ที่ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหาร วนเขตต์และคณะวิทยากรมูลนิธิศึกษาและเผ่ยแพร่พระพุทธศาสนานำมาแสดง การฟังเป็นความดี เมื่อมีโอกาสฟังขอให้ตั้งใจฟังเพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง การจะเข้าใจต่อ ไปว่าธรรมะคืออะไร อกุศลคืออะไร
ขอให้เริ่มด้วยการฟังก่อนค่ะ
จิตเกิดดับสลับเร็วมาก คนที่บังคับและคนที่ถูกบังคับทั้งคู่เป็นกุศลจิตก็ได้ เป็นอกุศลจิตก็ได้ อยู่ที่เจตนา เช่น เจตนาหวังดี อยากให้ฟังธรรมะเพราะรู้ว่าเป็นหนทาง ที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ ส่วนคนที่ถูกบังคับทีแรกอาจจะไม่ชอบฟัง ฟังไปเรื่อยๆ ก็เกิดกุศลจิตก็ได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าเขาสะสมบุญมาที่จะฟังธรรมหรือเปล่า ขอยกตัวอย่างลูกชายอนาถบิณฑิกเศรษฐี จากพระไตรปิฏกค่ะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 270
เชิญคลิกอ่านที่นี่ ...
บังคับกันไม่ได้ในเมื่อทุกอย่างเป็นธัมมะ ตราบใดที่เหตุปัจจัยไม่พร้อม ก็ไม่สามารถ ให้ใครหรือแม้ตัวเองสนใจธัมมะได้ แม้พระพุทธเจ้ายังต้องรอ สัตว์ทั้งหลายมีอินทรีย์แก่กล้า พร้อมที่จะฟังและเข้าใจจึงแสดงธรรม ดังนั้น เราจึงบังคับอะไรใครไม่ได้เลย เพราะทุกอย่างเป็นธรรมครับ แม้เรายังบังคับไม่ได้เลยครับ ว่าวันนี้นึกอยากจะฟัง ธัมมะ หรือบางครั้งก็ไม่อยากฟังเพราะอะไร เพราะทุกอย่างเป็นธัมมะนั่นเองครับ มีเหตุ ปัจจัยที่จะสนใจ หรือไม่สนใจครับ
เรื่อง ชวนเพื่อนไปฟังพระธรรม (โชติปาลมาณพ เป็นอดีตชาติของพระพุทธเจ้าสม ณโคดม)
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 2
ข้อความบางตอนจาก ฆฏิการสูตร
มีช่างหม้อชื่อฆฏิการะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอุปัฏฐากผู้เลิศ. มีมาณพชื่อโชติปาละเป็นสหายของช่างหม้อชื่อฆฏิการะ เป็นสหายที่รัก. ครั้งนั้น ฆฏิการะช่างหม้อเรียกโชติปาลมาณพมาว่า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สมมติกันว่าเป็นความดี.
ดูก่อนอานนท์ เมื่อฆฏิการะช่างหม้อกล่าวอย่างนี้แล้ว โชติ ปาลมาณพได้กล่าวว่า อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะ ศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้วเล่า.
แต่ตอนหลังโชติปาลก็ยอมไป เพราะฆฏิการ จับที่ผมโชติปาล เพื่อที่จะให้ไป จึงยอมไปครับ เรื่อง ตามปกติของปุถุชน เป็นอย่างนี้จริงๆ คือสนใจอย่างอื่นมากกว่า ธัมมะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 16
บทว่า เอวสมฺม ความว่า แม้ในปัจจุบันนี้ พวกมนุษย์ มิใครชวนว่า พวกเราไปไหว้พระเจดีย์ ไปฟังธรรมกันเถอะ จะไม่กระทำความอุตสาหะ แต่ใครๆ ชวนว่า พวกเราไปดูฟ้อนรำขับร้องเป็นต้น กันเถอะ ดังนี้ จะรับคำด้วยการชักชวน เพียงครั้งเดียวฉันใด โชติปาละก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อฆฏิการะชวนว่า ไป อาบน้ำกันเถอะ ก็รับคำด้วยการชวนคำเดียว จึงตอบไปอย่างนั้น.
ควรพิจาณาอกุศลของตัวเองบ้าง ดีกว่าพิจารณากุศลของตัวเอง
ถ้าถูกบังคับให้ฟังธรรมะ จะเป็นอกุศลไหม?
เป็นอกุศลแน่นอน เพราะไม่ได้สนใจ ไม่ได้อยากฟัง แต่ถูกบังคับให้ฟัง แต่เป็นไปได้เมื่อได้ฟังแล้ว เกิดมีความเข้าใจขึ้นมาทีละเล็กทีละน้อย ในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง ก็อาจจะ เปลี่ยนเป็นกุศลก็ได้แล้วแต่เหตุปัจจัย และหากฟังต่อไปเรื่อยๆ ด้วยความใส่ใจ และมีความสนใจเพิ่มมากขึ้น โอกาสที่จะค่อยๆ สะสมความเห็นถูกอาจเกิดขึ้น (ซึ่งในทางธรรมก็คือปัญญานั่นเอง) ความเห็นผิดก็จะค่อยๆ ลดลง
อยากจะขออนุญาตถามกลับ ว่า ระหว่างความเห็นถูกและความเห็นผิด คุณว่าควรจะสะสมอะไรดีคะ? และควรที่จะ ฟังธรรมต่อไปดีไหม?
คุณพอจะทราบไหมคะว่า พระพุทธเจ้าท่านยังพึ่งพระธรรมเลย แล้วเราเป็นใคร?
ใครก็แล้วแต่ที่บังคับให้คุณฟังธรรมะ ผู้นั้นมีความปรารถนาดีต่อคุณมากๆ ทีเดียว