สติสัมปชัญญะ-รู้สึกตัวทั่วพร้อม

 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่  27 ธ.ค. 2563
หมายเลข  33497
อ่าน  1,229

ความหมายของคำว่า "สติสัมปชัญญะ-รู้สึกตัวทั่วพร้อม" จากคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

"...ตามธรรมดาของคนที่ยังมีอกุศลมาก และมีอวิชชามาก และ ยังไม่ได้เป็นผู้อบรม เจริญสติปัฏฐานจนกระทั่งมีกำลัง มีสติสัมปชัญญะเกิดบ้าง แต่ไม่ใช่ว่าทั่วพร้อมจริงๆ แต่ ขณะใดที่สติเกิด และเป็น สติสัมปชัญญะ หมายความว่า ขณะนั้น ไม่ใช่ สติขั้นทาน ขั้นศีล แต่ว่า เป็น "สติที่สามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีในขณะนั้น ตามขั้นของปัญญา" ถ้าเป็นปัญญาขั้นสมถภาวนา คือ ปัญญาที่สามารถที่จะรู้สภาพของจิตที่สงบหรือเหตุที่จะให้จิตสงบจากอกุศล ขณะนั้นก็จะรู้ว่า ลักษณะของอกุศลจิตแม้ว่าจะเกิดสลับกันอย่างรวดเร็ว แต่ สติสัมปชัญญะ สามารถที่จะรู้ในสภาพที่มีจริงๆ ในขณะนั้น แต่สำหรับสติปัฏฐานแล้ว ในขณะที่สภาพธรรมกำลังปรากฏ สติสัมปชัญญะ ความรู้สึกตัว สามารถที่จะรู้สภาพที่แท้จริงของสิ่งที่ปรากฏ ว่า ขณะนั้นเป็นนามธรรม หรือ เป็นรูปธรรมที่ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล นั่นจึงจะเป็นสติสัมปชัญญะ แต่ถ้าระดับขั้นที่ต่ำกว่านั้นอีก อย่างเมื่อได้ฟังธรรม แล้วเกิดระลึกได้บ้าง เช่น ถ้าจิตเกิดขุ่นเคือง แล้วแต่ก่อนนี้ไม่เคยรู้สึกตัวเลย แต่ว่าภายหลังก็สามารถที่จะรู้สึกได้ว่า ขณะนี้มีสภาพที่ขุ่นเคืองใจ แม้ว่าขณะนั้นยังไม่ใช่ปัญญาที่จะพิจารณารู้ชัดในลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน สัตว์บุคคล คือยังไม่รู้ชัดในลักษณะที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม แต่แม้ขณะนั้นก็มีสติสัมปชัญญะขั้นพิจารณาที่จะรู้ว่าขณะนี้เป็นธรรม เป็นสภาพธรรม เป็นโทสะ บางคนก็พูดเป็นคำ หรือ เป็นชื่อว่านี่ โทสะ แต่ขณะนั้นไม่ใช่สติปัฏฐาน เพราะฉะนั้น สติสัมปชัญญะก็ต้องสมบูรณ์ขึ้นตามลำดับด้วย


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 27 ธ.ค. 2563

ข้อความจากกระทู้ : ความหมายของคำว่ารู้สึกตัวและวิปัสสนา

ความเห็นที่ ๑ โดย paderm (อ.ผเดิม ยี่สมบุญ)

"...คำว่า รู้สึกตัว คืออะไร และ รู้สึกอะไร-อย่างไร จึงเป็นความหมายของคำว่า รู้สึกตัว

รู้สึกตัว ความหมายในพระพุทธศาสนา คือ สภาพธรรมที่เป็น สัมปชัญญะ ซึ่งเป็นชื่อหนึ่งของปัญญา ความเห็นถูก ซึ่งความหมายของความรู้สึกตัว คือ การรู้ความจริงของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา ในขณะที่ยืน เดิน นั่ง นอน ในอิริยาบถใด อิริยาบถหนึ่ง แต่ไม่ใช่ การรู้สึกตัว ว่ากำลังทำอะไร เช่น รู้สึกตัว ว่ากำลังยืน กำลังเดิน อย่างนี้ไม่ใช่ สัมปชัญญะที่เป็นปัญญา เพราะ ไม่ได้มีความเห็นถูก และไม่ได้เป็นจิตที่เป็นกุศลในขณะนั้น แม้ เด็ก หรือ ผู้ที่ไม่ได้ฟังพระธรรม ก็มีความรู้สึกตัว ว่ากำลังทำอะไร ได้ แต่ไม่ใช่ สัมปชัญญะที่เป็นความรู้สึกในการอบรมปัญญา ที่เป็นวิปัสสนา ครับ.."

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 28 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
swanjariya
วันที่ 28 ธ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ