สมมติบัญญัติเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานเพื่อการรู้แจ้งสัจธรรมได้หรือไม่?

 
lokiya
วันที่  27 ม.ค. 2564
หมายเลข  33631
อ่าน  1,066

1. เคยได้ยินได้ฟังการบรรยายธรมมูลนิธิว่า สติปัฏฐานต้องมี ปรมัตธรรม เป็นอารมณ์ของจิต อยากเรียนถามว่าข้อความนี้ยกมาจากที่ใด 

2. และสมมติบัญญัติเพียงอย่างเดียวเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานได้หรือไม่ ตามที่มีข้อความแสดงในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานที่ให้พิจารณาศพรุปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นสมมติบัญญัติ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 27 ม.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. เป็นข้อความที่ปรากฏในมหาสติปัฏฐานสูตร ทั้งหมด รวมถึง ในอรรถกถาด้วย เพราะเหตุว่า อารมณ์ หรือที่ตั้งของสติ ที่เป็นสติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม นั้น ล้วน เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นปรมัตถธรรม ทั้งหมด

ขอเชิญศึกษารายละเอียดได้ในมหาสติปัฏฐานสูตร

[เล่มที่ 14] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่  ๒๐๙ เป็นต้นไป

๒. สติปัฏฐาน เป็นการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตรงตามความเป็นจริง  ซึ่งต้องมีลักษณะให้รู้ได้ นั่นหมายถึงสิ่งที่มีจริงๆ ซึ่งเป็นปรมัตถธรรม เมื่อประมวลแล้ว ก็ไม่พ้นไปจาก จิต เจตสิก และ รูป ซึ่งมีจริงๆ ในขณะนี้ ดังนั้น อารมณ์ของสติปัฏฐาน จึงเป็นปรมัตถอารมณ์เท่านั้น แม้ที่ทรงแสดงในมหาสติปัฏฐาน ในหมวด นวสีวถิกาบรรพ ก็แสดงถึงสภาพธรรมที่มีจริงๆ แม้ซากศพจะเหลือเพียงผุยผง เมื่อกระทบสัมผัส ก็เป็นสภาพธรรมที่ปรากฏทางกายเท่านั้น เป็นธรรมที่มีจริง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน

สิ่งที่ควรจะได้พิจารณาเป็นอย่างยิ่ง คือ กว่าจะถึงสติปัฏฐาน ต้องอาศัยการได้ฟังพระธรรมที่แสดงให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ว่า เป็นธรรม ไม่ขาดการฟังการศึกษาพระธรรมเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ครับ

ขอเชิญศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ครับ

สติปัฏฐาน ๔

สภาพธรรมะต่างๆ เป็นสติปัฏฐาน

...ยินดีในความดีของทุกๆท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
lokiya
วันที่ 27 ม.ค. 2564

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 27 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Witt
วันที่ 28 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
apiwit
วันที่ 1 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาในกุศลครับ สมมติบัญญัติแม้จะไม่ใช่ปรมัตถ แต่ก็จำเป็นต้องใช้เพื่อสื่อสารถึงปรมัตถธรรม คือ สภาพธรรมที่กำลังมีจริงในขณะนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง หากไม่มีสมมติบัญญัติแล้วจะเข้าใจธรรมะเดี๋ยวนี้ได้อย่างไร แล้วสติปัฏฐานจะเกิดได้อย่างไรหากไม่มีความเข้าใจที่ลึกซึ้งจนถึงขั้นระลึกศึกษาตรงลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ดังนั้น ตามที่ผมเข้าใจ สมมติบัญญัติเพียงอย่างเดียวก็สามารถทำให้สติปัฏฐานเกิดได้ เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานได้ หากความเข้าใจในการฟังมั่นคงลงลึกถึงขั้นที่สามารถระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้ ที่เราฟังธรรมอยู่ทุกวันนี้ก็เป็นการฟังสมมติบัญญัติทั้งนั้นคือทุกถ้อยคำที่กล่าวนั้นเอง แต่ก็ต้องอาศัยการฟังอย่างมั่นคงเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งจนถึงขั้นระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้ สติปัฏฐานจึงจะเกิด ถ้าไม่ฟังก็คงไม่มีทางบังคับให้เกิดได้ครับ 

ตามความเข้าใจของผมหากเข้าใจผิดพลาดประการใดก็ขอผู้รู้โปรดชี้แนะด้วยครับ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องยิ่งขึ้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 1 ก.พ. 2564

เรียน ความคิดเห็นที่ 5 ครับ 

ก็ต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ซึ่งเป็นการฟังการศึกษาให้เข้าใจในสิ่งที่มีจริงๆ จนมีความเข้าใจอย่างถูกต้องมั่นคง จึงเป็นรากฐานที่สำคัญที่จะนำไปสู่การระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตรงตามความเป็นจริงได้ ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
apiwit
วันที่ 1 ก.พ. 2564

กราบอนุโมทนาสาธุครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ