เผลอพูดล่วงเกิน จึงเกิดความไม่สบายใจครับ

 
sarnthong67
วันที่  21 เม.ย. 2564
หมายเลข  34104
อ่าน  1,299

ช่วงหนึ่งผมมีความคิดที่ฟุ้งซ่าน คิดปรามาสต่อพระรัตนตรัย ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือ ต่อครูบาอาจารย์  ซึ่งเป็นความคิดที่เกิดขึ้นมาเอง ผมไม่ได้อยากจะให้เกิดขึ้น

ต่อมาขณะที่ผมกำลังไหว้และกล่าวบทคำต่อหน้าพระพุทธรูป อยู่ๆก็เกิดความคิดฟุ้งซ่าน ความคิดปรามาสเกิดขึ้น บวกกับบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในบ้านที่ร้อนอบอ้าว จนทำให้ผมควบคุมสติไม่ได้ชั่วขณะ จึงทำให้ผมเผลอพูดล่วงเกินต่อ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ตอนนี้ผมมีความรู้สึกกังวลใจมากครับ เพราะกลัวบาป ผมควรจะต้องทำอย่างไรดีครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 22 เม.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

จิตคิดที่ไม่ดี ไม่ได้มีกำลัง ก็สามารถขอขมาพระรัตนตรัยในใจได้ครับ ก็ไม่มีโทษ ละโทษได้ในขณะนั้นประการที่สำคัญ ผู้ที่จะรู้ความเป็นไปของจิตจริงๆ ในขณะนั้น ก็ต้องมีปัญญารู้ความละเอียดของจิตของตนเองที่กำลังเกิดขึ้นว่าเป็นจิตอะไร ด้วยปัญญา เพราะปัญญาที่เกิด ย่อมเป็นสภาพธรรมที่ตรง ที่จะรู้ว่าขณะนั้น มีเจตนาอย่างไร และมีจิตประเภทอะไรที่เกิดขึ้น ในขณะที่ทำกายวาจาเหล่านั้นอยู่ ปัญญาของตนเองจึงเป็นเครื่องตัดสินการกระทำของตนเองที่ผ่านมา

ประโยชน์ที่สำคัญคือ อยู่กับปัจจุบันด้วยความเข้าใจ ว่าขณะนี้อะไรที่เป็นความจริง เพราะสิ่งที่ผ่านไปแล้วเกิดขึ้นและดับไปไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ และมีแต่จะทำให้สงสัย และเดือดร้อนใจกับการกระทำที่ผ่านมา ที่กลัวจะเป็นบาป กลัวจะได้รับผลของกรรม ซึ่งความเดือดร้อนใจและความสงสัยเหล่านี้ ก็มาจากเหตุคือ อวิชชา ความไม่รู้ ที่ไม่รู้ว่าความจริงที่ผ่านมาก็เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่เรา ที่ทำบาปหรือไม่ทำบาป เมื่อไม่รู้ว่าเป็นแต่เพียงธรรมย่อมเดือดร้อนในสิ่งที่ทำด้วยความยึดถือว่าเป็นเรา สมดังพระพุทธพจน์ที่ว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด

การคิดถึงอดีตด้วยความเป็นเรา ย่อมไม่รู้ความจริง และคิดถึงอนาคตในสิ่งที่ยังไม่เกิดก็ทำให้ไม่รู้ความจริงเช่นกัน เพราะเหตุที่ว่า ทั้งอดีตและอนาคต ไม่ปรากฎลักษณะของสภาพธรรมให้รู้ แต่ควรพิจารณาสภาพธรรมปัจจุบัน อันจะทำให้รู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีลักษณะให้รู้กำลังปรากฎ เพราะกำลังเกิดขึ้นเป็นไป อันเป็นไปเพื่อความรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ไถ่ถอน อวิชชาและความเห็นผิด ย่อมไม่เดือดร้อนกับอดีตที่ผ่านไปแล้ว และอนาคตที่ยังไม่มาถึง ปัจจุบันขณะจึงควรอบรมปัญญา สะสมคุณความดีในจิตใจ ส่วนอดีตที่ผ่านมาแล้วไม่สามารถแก้ไขได้ แต่ปัจจุบันแก้ไขใจตนเองคือ ละกิเลสที่มีในจิตใจ อันเป็นต้นเหตุให้ทำบาป ด้วยความมั่นคงในการศึกษาพระธรรมต่อไป ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
sarnthong67
วันที่ 22 เม.ย. 2564

อ้างอิงจาก ความคิดเห็น 1 โดย paderm

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

จิตคิดที่ไม่ดี ไม่ได้มีกำลัง ก็สามารถขอขมาพระรัตนตรัยในใจได้ครับ ก็ไม่มีโทษ ละโทษได้ในขณะนั้นประการที่สำคัญ ผู้ที่จะรู้ความเป็นไปของจิตจริงๆ ในขณะนั้น ก็ต้องมีปัญญารู้ความละเอียดของจิตของตนเองที่กำลังเกิดขึ้นว่าเป็นจิตอะไร ด้วยปัญญา เพราะปัญญาที่เกิด ย่อมเป็นสภาพธรรมที่ตรง ที่จะรู้ว่าขณะนั้น มีเจตนาอย่างไร และมีจิตประเภทอะไรที่เกิดขึ้น ในขณะที่ทำกายวาจาเหล่านั้นอยู่ ปัญญาของตนเองจึงเป็นเครื่องตัดสินการกระทำของตนเองที่ผ่านมา

ประโยชน์ที่สำคัญคือ อยู่กับปัจจุบันด้วยความเข้าใจ ว่าขณะนี้อะไรที่เป็นความจริง เพราะสิ่งที่ผ่านไปแล้วเกิดขึ้นและดับไปไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ และมีแต่จะทำให้สงสัย และเดือดร้อนใจกับการกระทำที่ผ่านมา ที่กลัวจะเป็นบาป กลัวจะได้รับผลของกรรม ซึ่งความเดือดร้อนใจและความสงสัยเหล่านี้ ก็มาจากเหตุคือ อวิชชา ความไม่รู้ ที่ไม่รู้ว่าความจริงที่ผ่านมาก็เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่เรา ที่ทำบาปหรือไม่ทำบาป เมื่อไม่รู้ว่าเป็นแต่เพียงธรรมย่อมเดือดร้อนในสิ่งที่ทำด้วยความยึดถือว่าเป็นเรา สมดังพระพุทธพจน์ที่ว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด

การคิดถึงอดีตด้วยความเป็นเรา ย่อมไม่รู้ความจริง และคิดถึงอนาคตในสิ่งที่ยังไม่เกิดก็ทำให้ไม่รู้ความจริงเช่นกัน เพราะเหตุที่ว่า ทั้งอดีตและอนาคต ไม่ปรากฎลักษณะของสภาพธรรมให้รู้ แต่ควรพิจารณาสภาพธรรมปัจจุบัน อันจะทำให้รู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีลักษณะให้รู้กำลังปรากฎ เพราะกำลังเกิดขึ้นเป็นไป อันเป็นไปเพื่อความรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ไถ่ถอน อวิชชาและความเห็นผิด ย่อมไม่เดือดร้อนกับอดีตที่ผ่านไปแล้ว และอนาคตที่ยังไม่มาถึง ปัจจุบันขณะจึงควรอบรมปัญญา สะสมคุณความดีในจิตใจ ส่วนอดีตที่ผ่านมาแล้วไม่สามารถแก้ไขได้ แต่ปัจจุบันแก้ไขใจตนเองคือ ละกิเลสที่มีในจิตใจ อันเป็นต้นเหตุให้ทำบาป ด้วยความมั่นคงในการศึกษาพระธรรมต่อไป ครับ

ขออนุโมทนา

ขณะนั้นที่ผมควบคุมสติไม่ได้ชั่วขณะ จึงทำให้ผมเผลอพูดล่วงเกินทางวจีกรรมต่อ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ผมกลัวว่าจะเป็น การอริยุปวาท ต่อพระองค์ท่าน ผมควรจะขอขมาต่อ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างไรได้บ้างครับ เพื่อที่จะละโทษ ไม่ห้ามสวรรค์และมรรคผล นิพพาน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 22 เม.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

แต่ละคนที่ยังมีกิเลส โอกาสที่จะทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสมไม่ถูกไม่ควร แม้เพียงคิดไม่ดี ก็ย่อมมีได้ด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งไม่เป็นประโยชน์เลยแม้แต่น้อย แต่ถ้าได้ผิดพลาดกระทำในสิ่งที่ไม่ควรลงไปแล้ว ถ้ามีความจริงใจเห็นโทษโดยความเป็นโทษ พร้อมที่จะน้อมประพฤติในสิ่งที่ดีต่อไป อย่างนี้ย่อมถูกต้อง เป็นไปเพื่อความเจริญในกุศลธรรม ยิ่งขึ้น เพราะสามารถเริ่มต้นใหม่ด้วยกุศลธรรม ตั้งใจใหม่ ที่จะไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ดีอย่างนั้นอีก และถ้าได้ฟังพระธรรมบ่อยๆ ก็จะทำให้คิดถึงพระธรรมที่ได้ยินได้ฟัง แทนที่จะไปคิดเรื่องอื่น ก็ขอให้ได้ฟังพระธรรมต่อไป นะครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 22 เม.ย. 2564

เรียน ความเห็นที่ 2 ครับ

อริยุปวาท คือ เจตนา ว่าร้ายพระอริยเจ้า ซึ่งมีพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวก รวมทั้งแม้พระอริยเจ้าที่เป็นคฤหัสถ์ การมีเจตนาด้วยจิตที่เป็นอกุศล เจตนาว่าร้ายและทำการว่า ร้าย ชื่อว่า อริยุปวาท ซึ่งการติเตียนว่าร้ายพระอริยเจ้า ด้วยการกล่าวว่าร้ายในสิ่งที่ไม่จริง เป็นต้น ว่ากล่าวว่าไม่มีคุณความดี ติโทษพระอริยะเจ้าครับ ซึ่งโทษก็คือห้าม สวรรค์และมรรคผล นิพพาน โทษหนักเท่าอนันตริยกรรม

การกล่าวว่าร้ายพระอริยเจ้า คือ บุคคลนั้น จะต้องเป็นพระอริยเจ้า และไม่ใช่เพียงคิดในใจ แต่มีเจตนาพูดออกมาว่าร้ายท่าน ด้วยคุณธรรมของท่านเป็นสำคัญ ว่าท่านไม่ได้มีคุณธรรมอย่างนี้ เป็นต้น อริยุปวาท สำคัญที่เจตนา ว่ามีเจตนาว่าร้ายที่เป็นผรุสวาจาหรือไม่ แม้การขอขมาก็เช่นกัน สำคัญที่เจตนา หากมีเจตนาขอขมา สำนึกผิด และกล่าวการขอขมา หากท่าน มรณภาพไปแล้ว ก็สามารถที่จะไปที่วัดที่มีการทำการเผาศพท่านก็ได้ หรือ นึกถึงท่าน และ ขอขมาก็ได้ เพราะ มีเจตนาที่จะสำนึกในสิ่งที่ทำไป และกล่าวขอขมาด้วยเจตนาการขอขมานี้ ก็เป็นการที่จะเห็นโทษ และ ไม่กั้นสวรรค์มรรคผล ในชาตินั้น

วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 220

ถ้าพระอริยะนั้นเป็นเอกจาริกภิกขุ (ภิกษุผู้จาริกไปผู้เดียว) สถานที่อยู่ของท่านไม่มีใครรู้ สถานที่ไปขอท่านเล่าก็ไม่ปรากฏไซร้ ก็พึงไปหาภิกษุที่เป็นบัณฑิตรูปหนึ่ง แล้วบอก (ปรึกษาท่าน) ว่า "ท่านขอรับ กระผมได้กล่าวถึงท่าน กะท่านผู้มีอายุชื่อโน้น วิปฏิสาร (เกิดมีแก่กระผมทุกทีที่ระลึกถึงท่าน กระผมทำอย่างไร (ดี) " ภิกษุบัณฑิตนั้นจะกล่าวว่า "ท่านอย่าคิดไปเลย พระเถระจะย่อมอดโทษให้แก่ท่าน ท่านจงทำจิตให้ระงับเถิด " ฝ่ายเธอก็พึงบ้างหน้าต่อทิศทางที่พระอริยะไป ประคองอัฐชลีกล่าว (ขึ้น) ว่า "ขมตุ" - ขอพระเถระนั้นขงอดโทษเถิด"

ถ้าพระอริยะนั้นเป็นผู้ปรินิพพานเสียแล้ว เธอพึงไป (ให้) ถึงที่ที่นับว่าเป็นเตียงที่ท่านปรินิพพาน กระทั่งถึงป่าช้าผิดิบก็ดี ขอขมา (ท่าน) เถิด

เมื่อได้ทำ (การขอขมา) เสียได้อย่างนี้แล้ว กรรมนั้นก็ไม่เป็นสัคคาวรณ์ ไม่เป็นมัคคาวรณ์เลย (กลับ) เป็นปกติเท่านั้นเองแล

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 22 เม.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 22 เม.ย. 2564

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก 

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

การที่ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ทำให้มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏแล้วก็หมดไป ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหูทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จิตทุกขณะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป หมดไป ไม่มีอะไรเหลือเลยจริงๆ จากภพหนึ่งไปอีกภพหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ควรสั่งสมไปทุกภพทุกชาติ นั่นก็คือ กุศล (รวมถึงการอบรมเจริญปัญญา ในชีวิตประจำวันด้วย)

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
sarnthong67
วันที่ 22 เม.ย. 2564

อ้างอิงจาก ความคิดเห็น 4 โดย paderm

เรียน ความเห็นที่ 2 ครับ

อริยุปวาท คือ เจตนา ว่าร้ายพระอริยเจ้า ซึ่งมีพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวก รวมทั้งแม้พระอริยเจ้าที่เป็นคฤหัสถ์ การมีเจตนาด้วยจิตที่เป็นอกุศล เจตนาว่าร้ายและทำการว่า ร้าย ชื่อว่า อริยุปวาท ซึ่งการติเตียนว่าร้ายพระอริยเจ้า ด้วยการกล่าวว่าร้ายในสิ่งที่ไม่จริง เป็นต้น ว่ากล่าวว่าไม่มีคุณความดี ติโทษพระอริยะเจ้าครับ ซึ่งโทษก็คือห้าม สวรรค์และมรรคผล นิพพาน โทษหนักเท่าอนันตริยกรรม

การกล่าวว่าร้ายพระอริยเจ้า คือ บุคคลนั้น จะต้องเป็นพระอริยเจ้า และไม่ใช่เพียงคิดในใจ แต่มีเจตนาพูดออกมาว่าร้ายท่าน ด้วยคุณธรรมของท่านเป็นสำคัญ ว่าท่านไม่ได้มีคุณธรรมอย่างนี้ เป็นต้น อริยุปวาท สำคัญที่เจตนา ว่ามีเจตนาว่าร้ายที่เป็นผรุสวาจาหรือไม่ แม้การขอขมาก็เช่นกัน สำคัญที่เจตนา หากมีเจตนาขอขมา สำนึกผิด และกล่าวการขอขมา หากท่าน มรณภาพไปแล้ว ก็สามารถที่จะไปที่วัดที่มีการทำการเผาศพท่านก็ได้ หรือ นึกถึงท่าน และ ขอขมาก็ได้ เพราะ มีเจตนาที่จะสำนึกในสิ่งที่ทำไป และกล่าวขอขมาด้วยเจตนาการขอขมานี้ ก็เป็นการที่จะเห็นโทษ และ ไม่กั้นสวรรค์มรรคผล ในชาตินั้น

วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 220

ถ้าพระอริยะนั้นเป็นเอกจาริกภิกขุ (ภิกษุผู้จาริกไปผู้เดียว) สถานที่อยู่ของท่านไม่มีใครรู้ สถานที่ไปขอท่านเล่าก็ไม่ปรากฏไซร้ ก็พึงไปหาภิกษุที่เป็นบัณฑิตรูปหนึ่ง แล้วบอก (ปรึกษาท่าน) ว่า "ท่านขอรับ กระผมได้กล่าวถึงท่าน กะท่านผู้มีอายุชื่อโน้น วิปฏิสาร (เกิดมีแก่กระผมทุกทีที่ระลึกถึงท่าน กระผมทำอย่างไร (ดี) " ภิกษุบัณฑิตนั้นจะกล่าวว่า "ท่านอย่าคิดไปเลย พระเถระจะย่อมอดโทษให้แก่ท่าน ท่านจงทำจิตให้ระงับเถิด " ฝ่ายเธอก็พึงบ้างหน้าต่อทิศทางที่พระอริยะไป ประคองอัฐชลีกล่าว (ขึ้น) ว่า "ขมตุ" - ขอพระเถระนั้นขงอดโทษเถิด"

ถ้าพระอริยะนั้นเป็นผู้ปรินิพพานเสียแล้ว เธอพึงไป (ให้) ถึงที่ที่นับว่าเป็นเตียงที่ท่านปรินิพพาน กระทั่งถึงป่าช้าผิดิบก็ดี ขอขมา (ท่าน) เถิด

เมื่อได้ทำ (การขอขมา) เสียได้อย่างนี้แล้ว กรรมนั้นก็ไม่เป็นสัคคาวรณ์ ไม่เป็นมัคคาวรณ์เลย (กลับ) เป็นปกติเท่านั้นเองแล

ขออนุโมทนา

ขออนุโมทนา อาจารย์ทุกๆท่านครับ

ผมสามารถที่จะขอขมาต่อ พระบรมสารีริกธาตุ พระประธานในโบสถ์ หรือ พระพุทธรูปที่บ้าน ก็ได้ใช่ไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 23 เม.ย. 2564

เรียนความเห็นที่ 7 ครับ

ใช่ครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ