กิเลส เป็นธรรมะหรือไม่

 
s.boonlert55
วันที่  27 พ.ค. 2564
หมายเลข  34294
อ่าน  952

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนา 

อยากทราบว่า กิเลส ใช่ธรรมะหรือไม่

ถ้าไม่ใช่ ทำไม? กิเลสจึงมีอยู่ในธรรมะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 27 พ.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กิเลส เป็นสภาพธรรมที่เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต กิเลสจึงเป็นธรรมไม่ใช่เรา เมื่อกิเลสเกิดขึ้น ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง กิเลสเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นเจตสิก

กิเลส มี ๑๐ ประการ คือ

๐๑. ทิฏฐิกิเลส อันได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก คือ ความเห็นผิด ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต

๐๒. วิจิกิจฉากิเลส อันได้แก่ ความสงสัย ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต

๐๓. โทสะกิเลส อันได้แก่ ความโกรธความขุ่นมัวใจ ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต

๐๔. โลภะกิเลส อันได้แก่ ความติดข้อง ต้องการ ที่ทำให้ใจเศร้าหมอง

๐๕. โมหะกิเลส อันได้แก่ ความหลงลืมไม่รู้ความจริง เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต

๐๖. ถีนะกิเลส อันได้แก่ ความหดหู่ ท้อถอย ซึมเซา เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต

๐๗. อุทธัจจะกิเลส อันได้แก่ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต

๐๘. อหิริกะกิเลส อันได้แก่ ความไม่ละอายต่อบาป เป็นเครื่องเศร้าหมองจิต

๐๙. มานะกิเลส อันได้แก่ ความสำคัญตน การเปรียบเทียบ ทำให้ใจเศร้าหมอง

๑๐. อโนตตัปปะกิเลส อันได้แก่ ความไม่เกรงกลัวต่อบาป ทำให้ใจเศร้าหมอง

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

กิเลสหมายถึงอะไร

กิเลสมีกี่ชนิด

กิเลสเป็นสภาพธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ เศร้าหมอง

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 27 พ.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๔๒๐

ปุริสสูตร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูกร มหาบพิตร ธรรม ๓ อย่าง เมื่อบังเกิดขึ้นในภายในของบุรุษ ย่อมบังเกิดขึ้นเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สบาย ธรรม ๓ อย่างเป็นไฉน ธรรม ๓ อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ

ดูกร มหาบพิตร ธรรม ๓ อย่างนี้แล มื่อบังเกิดขึ้นในภายในของบุคคล ย่อมบังเกิดขึ้นเพื่อ ความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สบาย


เมื่อกล่าวถึง ธรรม (สิ่งที่มีจริง) แล้ว ครอบคลุมทั้งหมดเลย เพราะเป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น ทรงไว้ซึ่งลักษณะของตนไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

ธรรม ที่เป็น กุศล ก็มี (ได้แก่ กุศลจิตและเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วย)

ธรรม ที่เป็น อกุศล ก็มี (ได้แก่ อกุศลจิตและเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วย

ธรรม ที่ไม่ใช่ทั้งกุศลและอกุศล ก็มี (ได้แก่ รูปทั้งหมด วิบากจิต[และเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วย] กิริยาจิต[และเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วย] และ พระนิพพาน)

ซึ่งจะต้องได้ฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อย

กิเลส เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นนามธรรม เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต กิเลส เวลาที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะตัวเขาเองเท่านั้น ยังมีสภาพธรรมอื่นๆ เกิดร่วมด้วยและจะต้องเกิดร่วมกับอกุศลจิตเท่านั้น กิเลสจะเกิดร่วมกับอกุศลจิตเท่านั้น เกิดร่วมกับจิตฝ่ายดีไม่ได้เลย

เมื่อกล่าวถึงกิเลสแล้ว ไม่ได้อยู่ที่อื่นที่ไกลเลย มีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน ตราบใดที่ยังไม่สามารถดับกิเลสได้ กิเลสเมื่อได้เหตุได้ปัจจัยก็เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของกิเลสนั้นๆ เช่น โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน

เมื่อกิเลส มีจริง จึงเป็นธรรม ด้วย ใครๆ ก็เปลี่ยนแปลงความจริงนี้ไม่ได้ กิเลส เป็นธรรม ฝ่ายที่เป็นอกุศลธรรม ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 27 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 27 พ.ค. 2564

ขอเชิญศึกษาพระธรรม...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก 

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Satitat
วันที่ 31 พ.ค. 2564

ผมขอถามอย่างหนึ่งครับ ช่วยอธิบายทีสิครับ ผมเห็นเรื่องราวที่ว่ามีชาติหนึ่งพระพุทธเจ้ายินดีเกี่ยวกับการหาปลา แล้วส่งผลเป็นวิบากให้พระองค์ปวดเศียร (ถ้าผมพูดข้อมูลใดผิดขออภัย) อยากรู้ว่าทำไมจึงเป็นวิบากครับ 

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 1 มิ.ย. 2564

เรียนความคิดเห็นที่ 5 ครับ

ข้อความแสดงไว้โดยย่อ แต่ก็ต้องพิจารณาถึงความเป็นอกุศลกรรมบถว่า จะต้องมีการล่วงออกมาทางกาย ทางวาจา ไม่ใช่เพียงแค่ยินดีในใจเท่านั้น อาจจะมีการแสดงกิริยาอาการเห็นดีด้วยกับเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น ก็ได้ จึงเป็นอกุศลกรรมบถที่สามารถทำให้เกิดวิบากในภายหน้าได้ ครับ

[เล่มที่ 70] ข้อความใน พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ ๒๓๐ มีดังนี้

อาพาธที่ศีรษะ คือเวทนาที่ศีรษะ ชื่อว่า สีสทุกขะ ทุกข์ที่ศีรษะ.ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นชาวประมง ในหมู่บ้านชาวประมง. วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์นั้นกับพวกบุรุษชาวประมง ไปยังที่ที่ฆ่าปลา เห็นปลาทั้งหลายตาย ได้ทำโสมนัสให้เกิดขึ้นในข้อที่ปลาตาย นั้น แม้บุรุษชาวประมงที่ไปด้วยกัน ก็ทำความโสมนัสให้เกิดขึ้นอย่างนั้นเหมือนกัน. ด้วยอกุศลกรรมนั้น พระโพธิสัตว์ได้เสวยทุกข์ในอบายทั้ง ๔ ในอัตภาพหลังสุดนี้ ได้บังเกิดขึ้นตระกูลศากยราช พร้อมกับบุรุษเหล่านั้นแม้จะได้บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าโดยลำดับแล้ว ก็ยังได้เสวยความเจ็บป่วยที่ศีรษะด้วยตนเอง และเจ้าศากยะเหล่านั้น ถึงความพินาศกันหมดในสงครามของเจ้าวิฑูฑภะ


...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 1 มิ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ