พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. มหาสติปัฏฐานสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 มิ.ย. 2564
หมายเลข  34430
อ่าน  1,860

[เล่มที่ 14] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๐๙ - ๒๕๗

๙. มหาสติปัฏฐานสูตร

กถาว่าด้วยอุทเทสวาร หน้า ๒๐๙

กายานุปัสสนา อานาปานบรรพ หน้า ๒๑๐

อิริยาบถบรรพ หน้า ๒๑๑

สัมปชัญญบรรพ หน้า ๒๑๒

ปฏิกูลมนสิการบรรพ หน้า ๒๑๓

ธาตุมนสิการบรรพ หน้า ๒๑๔

นวสีวถิกาบรรพ หน้า ๒๑๕

เวทนานุปัสสนา หน้า ๒๒๑

จิตตานุปัสสนา หน้า ๒๒๒

ธัมมานุปัสสนา หน้า ๒๒๓

นีวรณบรรพ หน้า ๒๒๓

ขันธบรรพ หน้า ๒๒๕

อายตนบรรพ หน้า ๒๒๖

โพชฌงคบรรพ หน้า ๒๒๙

สัจจบรรพ - ทุกขอริยสัจ หน้า ๒๓๒

ทุกขสมุทัยอริยสัจ หน้า ๒๓๖

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ หน้า ๒๕๐

อานิสงส์การเจริญสติปัฏฐาน ๔ หน้า ๒๕๔

อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 14]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 209

๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๑)

กถาว่าด้วยอุทเทสวาร

[๒๗๓] ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ในหมู่ชนชาวกุรุ นิคมของหมู่ชนชาวกุรุ ชื่อกัมมาสทัมมะ ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายดังนี้. ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลรับพระพุทธพจน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วงซึ่งความโศกและความร่ําไร เพื่ออัสดงค์ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทําพระนิพพานให้แจ้ง ทางนี้คือสติปัฏฐาน (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ) ๔ อย่าง. สติปัฏฐาน ๔ อย่าง เป็นไฉน

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ นําอภิชฌาและโทมนัส (ความยินดียินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ เธอย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสตินําอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ เธอย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต


(๑) พระศาสนโศภน (แจ่มจตฺตสลฺโล) วัดมกุฏกษัตริยาราม แปล

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 210

เนืองๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ นําอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ นําอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียให้พินาศ

จบกถาว่าด้วยอุทเทสวาร

กายานุปัสสนา อานาปานบรรพ

[๒๗๔] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ อย่างไรเล่า.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ดี ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ดี ไปแล้วสู่เรือนว่างเปล่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ (ขัดสมาธิ) ตั้งกายให้ตรง ดํารงสติเฉพาะหน้า. เธอย่อมหายใจเข้า ย่อมมีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น ย่อมสําเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กําหนด รู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจเข้าย่อมสําเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กําหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจออกย่อมสําเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร (คือลมอัสสาสะ ปัสสาสะ) หายใจเข้าย่อมสําเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย แม้ฉันใด นายช่างกลึง หรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ฉลาด เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงยาว หรือเมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงสั้น ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉัน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 211

นั้นนั่นแหละ เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น ย่อมสําเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กําหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจเข้าย่อมสําเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กําหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจออก ย่อมสําเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ย่อมสําเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ดังนี้. ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอ ที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ อย่างนี้

จบข้อกําหนดว่าด้วยลมหายใจเข้าออก

อิริยาบถบรรพ

[๒๗๕] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเมื่อเดินอยู่ก็รู้ชัดว่าเราเดิน หรือเมื่อยืนก็รู้ชัดว่าเรายืน หรือเมื่อนั่งก็รู้ชัดว่าเรานั่ง หรือเมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน. อนึ่งเมื่อเธอนั้น เป็นผู้ตั้งกายไว้

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 212

แล้วอย่างใดๆ ก็ย่อมรู้ชัดอาการกายนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้. ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อันตัณหา และทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้.

จบข้อกําหนดว่าด้วยอิริยาบถ

สัมปชัญญบรรพ

[๒๗๖] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมเป็นผู้ทําสัมปชัญญะ (ความเป็นผู้รู้พร้อม) ในการก้าวไปข้างหน้า และถอยกลับมาข้างหลัง ย่อมเป็นผู้ทําสัมปชัญญะ ในการแลไปข้างหน้า แลเหลียวไปข้างซ้าย ข้างขวา ย่อมเป็นผู้ทําสัมปชัญญะ ในการคู้อวัยวะเข้า เหยียดอวัยวะออก ย่อมเป็นผู้ทําสัมปชัญญะ ในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ย่อมเป็นผู้ทําสัมปชัญญะ ในการกิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม ย่อมเป็นผู้ทําสัมปชัญญะ ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมเป็นผู้ทําสัมปชัญญะ ในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด และความเป็นผู้นิ่งอยู่ ดังนี้

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 213

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความคิดเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

จบข้อกําหนดว่าด้วยสัมปชัญญะ

ปฏิกูลมนสิการบรรพ

[๒๗๗] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้นี่แล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ําแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้คือ

ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำดี น้ำเสลด น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ไถ้มีปาก ๒ ข้าง เต็มด้วยธัญญชาติ มีประการต่างๆ คือ

ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร บุรุษมีจักษุแก้ไถ้นั้นออกแล้ว พึงเห็นได้ว่า เหล่านี้ข้าวสาลี เหล่านี้ข้าวเปลือก เหล่านี้

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 214

ถั่วเขียว เหล่านี้ถั่วเหลือง เหล่านี้งา เหล่านี้ข้าวสาร ฉันใด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นนั่นแล ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้นี่แล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ําแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้ คือ

ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำดี น้ำเสลด น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ดังนี้.

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

จบข้อกําหนดว่าด้วยของปฏิกูล.

ธาตุมนสิการบรรพ

[๒๗๘] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมพิจารณา กายอันตั้งอยู่ตามที่ตั้งอยู่ ตามปกตินี้นี่แล โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 215

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย คนฆ่าโค หรือลูกมือคนฆ่าโค ผู้ฉลาดฆ่าแม่โคแล้ว พึงแบ่งออกเป็นส่วน แล้วนั่งอยู่ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง แม้ฉันใด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุฉันนั้นนั่นแล ย่อมพิจารณากายอันตั้งอยู่ ตามที่ตั้งอยู่ตามปกตินี้นี่แล โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังนี้. ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

จบข้อกําหนดว่าด้วยธาตุ

นวสีวถิกาบรรพ

[๒๗๙] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะพึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่ง หรือตายแล้ว ๒ วัน หรือตายแล้ว ๓ วัน อันพองขึ้นสีเขียวน่าเกลียด เป็นสรีระมีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด. เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 216

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

[๒๘๐] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะ พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตระกรุมจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ตัวเล็กๆ ต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง เธอก็น้อมเข้ามา สู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้.

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 217

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้.

    [๒๘๑] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่า จะพึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด อันเส้นเอ็นรัดรึงอยู่ เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้.

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้.

    [๒๘๒] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่า จะพึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า เป็นร่างกระดูก เปื้อนด้วยเลือด แต่ปราศจากเนื้อแล้ว ยังมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่ เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้.

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นทั้งความเกิดขึ้น

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 218

ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็หรือสติของเธอที่คงมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

[๒๘๓] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะ พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่ เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อม พิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

[๒๘๔] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกับว่า จะพึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า คือเป็น (ท่อน) กระดูก ปราศจากเส้นเอ็นเครื่องรัดรึงแล้ว กระจายไปแล้วในทิศน้อย และทิศใหญ่ คือ กระดูกมือ (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกเท้า (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกแข้ง (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกขา (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกสะเอว (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกหลัง (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกสันหลัง (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกซี่โครง (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกหน้าอก (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกไหล่ (ไปอยู่) ทางอื่น

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 219

กระดูกแขน (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกคอ (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกคาง (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกฟัน (ไปอยู่) ทางอื่น กระโหลกศีรษะ (ไปอยู่) ทางอื่น. เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้.

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือว่าสติของเธอ ที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้.

[๒๘๕] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่า จะพึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า คือเป็น (ท่อน) กระดูก มีสีขาวเปรียบด้วยสีสังข์ เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้.

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอ ที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อม เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 220

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่าง นี้

[๒๘๖] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่า จะพึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า คือเป็น (ท่อน) กระดูก เป็นกองเรี่ยรายแล้ว มีในภายนอก (เกิน) ปีหนึ่งไปแล้ว เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้.

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอ ที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

[๒๘๗] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะ พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า คือเป็น (ท่อน) กระดูกผุละเอียดแล้ว. เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่เล่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้.

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อม

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 221

พิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือว่าสติของเธอ ที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก. เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้.

จบข้อกําหนดด้วยป่าช้า ๙ ข้อ

จบกายานุปัสสนา

เวทนานุปัสสนา

[๒๘๘] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนา (ความเสวยอารมณ์) ในเวทนาเนืองๆ อยู่

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยสุขเวทนา เมื่อเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยทุกขเวทนา เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา (ไม่ทุกข์ ไม่สุข) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้ เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา หรือเมื่อเสวยสุขเวทนามีอามิส (คือเจือกามคุณ) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือเมื่อเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส (คือไม่เจือกามคุณ) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส หรือเมื่อเสวย ทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือเมื่อเราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส หรือเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวย อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ดังนี้

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 222

ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในเวทนาบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในเวทนาบ้าง. ก็หรือสติของเธอ ที่ตั้งมั่นอยู่ว่าเวทนามีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถือ อะไรๆ ในโลกด้วย

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่อย่างนี้แล

จบเวทนานุปัสสนา

จิตตานุปัสสนา

[๒๘๙] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิต ในจิตเนืองๆ อยู่

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อนึ่ง จิตมีราคะก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ หรือจิตไม่มีราคะก็รู้ชัดว่าจิตไม่มีราคะ หรือจิตมีโทสะก็รู้ชัดว่าจิตมีโทสะ หรือจิตไม่มีโทสะก็รู้ชัดว่าจิตไม่มีโทสะ หรือจิตมีโมหะก็รู้ชัดว่าจิตมีโมหะ หรือจิตไม่มีโมหะก็รู้ชัดว่าจิตไม่มีโมหะ หรือจิตหดหู่ก็รู้ชัดว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน หรือจิตเป็นมหรคต (คือถึงความเป็นใหญ่ หมายเอาจิตที่เป็นฌาน หรือเป็นอัปปมัญญา พรหมวิหาร) ก็รู้ชัดว่าจิตเป็นมหรคต จิตไม่เป็นมหรคตก็รู้ชัดว่าจิตไม่เป็นมหรคต หรือจิตเป็นสอุตตระ (คือกามาวจรจิต ซึ่งมีจิตอื่นยิ่งกว่าไม่ถึงอุปจารสมาธิ) ก็รู้ชัดว่าจิต

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 223

เป็นสอุตตระ หรือจิตเป็นอนุตตระ (คือกามาวจรจิต ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า หมาย เอาอุปจารสมาธิ) ก็รู้ชัดว่าจิตเป็นอนุตตระ หรือจิตตั้งมั่นก็รู้ชัดว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ชัดว่าจิตไม่ตั้งมั่น หรือจิตวิมุตติ (คือหลุดพ้นด้วยตทังควิมุตติ และวิกขัมภนวิมุตติ) ก็รู้ชัดว่าจิตวิมุตติ หรือจิตยังไม่วิมุตติก็รู้ชัดว่าจิตยังไม่วิมุตติ ดังนี้

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในจิตบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในจิตบ้าง. ก็หรือสติของเธอ ที่ตั้งมั่นอยู่ว่าจิตมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก. เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลก ด้วย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่อย่าง นี้แล.

จบจิตตานุปัสสนา

ธัมมานุปัสสนา

นีวรณบรรพ

[๒๙๐] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันท์ (ความพอใจในกามารมณ์) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อกามฉันท์ไม่มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่ากามฉันท์

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 224

ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา อนึ่งความที่กามฉันท์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย อนึ่ง ความละกามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้ว เสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย อนึ่ง ความที่กามฉันท์อันตนละเสียแล้ว ไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย

อนึ่ง เมื่อพยาบาทมี ณ ภายในจิตย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อพยาบาทไม่มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทไม่มี ณ ภายในจิตของเรา ความที่พยาบาทอันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย ความละพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย ความที่พยาบาทอันตนละเสียแล้วไม่เกิดขึ้น ต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย.

อนึ่ง ถีนมิทธะมี ณ ภายในจิตย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายใน จิตของเรา หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าถีนมิทธะไม่มี ณ ภายในจิตของเรา ความที่ถีนมิทธะอันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย ความละถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย ความละถีนมิทธะอันตนละเสียแล้ว ไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย.

อนึ่ง เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและรําคาญใจ) มี ณ ภายในจิตย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกจจะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะไม่มี ณ ภายในจิตของเรา ความที่อุทธัจจกุกกุจจะอันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย ความละอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 225

เสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย ความที่อุทธัจจกุกกุจจะอันตน ละเสียแล้ว ไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย.

อนึ่ง เมื่อวิจิกิจฉา (ความเคลือบแคลงสงสัย) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าวิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าวิจิกิจฉาไม่มี ณ ภายในจิตของเรา ความที่วิจิกิจฉาอันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย ความละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย ความที่วิจิกิจฉาอันตนละเสียแล้ว ไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการ นั้นด้วย ดังนี้.

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในธรรมบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในธรรมบ้าง. ก็หรือสติของเธอ ที่ตั้งมั่นอยู่ว่าธรรมมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก. เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ อย่างนี้แล.

จบ ข้อกําหนดนิวรณ์

ขันธบรรพ

[๒๙๑] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออุปาทานขันธ์ ๕. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออุปาทานขันธ์ ๕.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 226

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ (ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า)

อย่างนี้ รูป (สิ่งที่ทรุดโทรม) อย่างนี้ความเกิดขึ้นของรูป อย่างนี้ความดับไปของรูป อย่างนี้เวทนา (ความเสวยอารมณ์) อย่างนี้ความเกิดขึ้นของเวทนา อย่างนี้ความดับไปของเวทนา อย่างนี้สัญญา (ความจํา) อย่างนี้ความเกิดขึ้นของสัญญา อย่างนี้ความดับไปของสัญญา อย่างนี้สังขาร (สภาพปรุงแต่ง) อย่างนี้ความเกิดของสังขาร อย่างนี้ความดับของสังขาร อย่างนี้วิญญาณ (ความรู้) อย่างนี้ความเกิดขึ้นของวิญญาณ อย่างนี้ความดับไปของวิญญาณ ดังนี้

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในธรรมบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในธรรมบ้าง. ก็หรือสติของเธอ ที่ตั้งมั่นอยู่ว่าธรรมมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก. เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้แล.

จบข้อกําหนดว่าด้วยขันธ์

อายตนบรรพ

[๒๙๒] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมพิจารณาธรรมในธรรม คือ อายตนะภายใน และอายตนะภายนอก ๖ (อย่างละ ๖)

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 227

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร อายตนบรรพ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อายตนะภายใน และอายตนะภายนอก ๖

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักตาด้วย ย่อมรู้จักรูปด้วย อนึ่ง สังโยชน์ (เครื่องผูก) ย่อมเกิดขึ้น อาศัยตาและรูปทั้ง ๒ นั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้นด้วย อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย อนึ่ง ความที่ละสังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย.

ย่อมรู้จักหูด้วย ย่อมรู้จักเสียงด้วย อนึ่ง สังโยชน์ย่อมเกิดขึ้น อาศัยหูและเสียงทั้ง ๒ นั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้นด้วย อนึ่ง ความที่สังโยชน์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย อนึ่ง ความละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย อนึ่ง ความที่สังโยชน์อันตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย

ย่อมรู้จักจมูกด้วย ย่อมรู้จักกลิ่นด้วย อนึ่ง สังโยชน์ย่อมเกิดขึ้น อาศัยจมูกและกลิ่นทั้ง ๒ นั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้นด้วย อนึ่ง ความที่สังโยชน์อันยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใดย่อมรู้จักประการนั้นด้วย อนึ่ง ความละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย อนึ่ง ความที่สังโยชน์อันตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย

ย่อมรู้จักลิ้นด้วย ย่อมรู้จักรสด้วย อนึ่ง สังโยชน์ย่อมเกิดขึ้น อาศัยลิ้นและรสทั้ง ๒ นั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้นด้วย อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันยัง

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 228

ไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย อนึ่ง ความละสังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย

ย่อมรู้จักกายด้วย ย่อมรู้จักโผฏฐัพพะ (สิ่งที่พึงถูกต้องด้วยกาย) ด้วย อนึ่ง สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้น อาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้ง ๒ นั้น อันใดย่อมรู้จัก อันนั้นด้วย อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย อนึ่ง ความละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย

ย่อมรู้จักใจด้วย ย่อมรู้จักธรรมารมณ์ (สิ่งที่พึงรู้ได้ด้วยใจ) ด้วย อนึ่ง สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้นอันใด ย่อมรู้จักอันนั้นด้วย อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย อนึ่ง ความละสังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย ดังนี้

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในธรรมบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในธรรมบ้าง. ก็หรือสติของเธอ ที่ตั้งมั่นอยู่ว่าธรรมมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก. เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 229

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออายตนะภายใน และอายตนะภายนอก ๖ อย่างนี้แล

จบข้อกําหนดว่าด้วยอายตนะ.

โพชฌงคบรรพ

[๒๙๓] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมพิจารณา เห็นธรรมในธรรม คือ โพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๗ อย่าง).

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ โพชฌงค ์๗

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ คือ สติ) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าสติสัมโพชฌงค์ มี ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าสติสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ความที่สติสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์ของสติสัมโพซฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ คือ ความเลือกเฟ้นธรรม) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มี ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ความที่ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์ของธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 230

อนึ่ง เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ คือ ความเพียร) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าวิริยสัมโพชฌงค์ มี ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อวิริยสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าวิริยสัมโพชฌงค์ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ความที่วิริยสัมโพชฌงค์ อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์ของวิริยสัมโพชฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อนึ่ง เมื่อปิติสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ คือ ปิติ ความปลื้มใจ) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าปิติสัมโพชฌงค์ มี ณ ภายใน จิตของเรา หรือเมื่อปิติสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าปิติสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ความที่ปิติสัมโพชฌงค์ อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์ของปิติสัมโพชฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อนึ่ง เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ คือ ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบจิต) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มี ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ความที่ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์ของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย.

อนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ คือ สมาธิ) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สมาธิสัมโพชฌงค์มี ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ไม่มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าสมาธิสัมโพชฌงค์

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 231

ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ความที่สมาธิสัมโพชฌงค์ อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์ของสมาธิสัมโพชฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ คือ อุเบกขา ความที่จิตมัธยัสถ์เป็นกลาง) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ มี ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ความที่อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์ของอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังนี้.

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในธรรมบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในธรรมบ้าง. ก็หรือสติของเธอ ที่ตั้งมั่นอยู่ว่าธรรมมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก. เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ โพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.

จบข้อกําหนดว่าด้วยโพชฌงค์.

จบภาณวารที่หนึ่ง.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 232

สัจจบรรพ - ทุกขอริยสัจ

[๒๙๔] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมพิจารณา เห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔ (ของจริงแห่งพระอริยเจ้า).

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกขสมุทัย (เหตุที่เกิดทุกข์) ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ ทุกขนิโรธ (ธรรมเป็นที่ดับทุกข์) ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมที่ดับทุกข์)

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ของจริงแห่งพระอริยเจ้า คือทุกข์ เป็นอย่างไร เล่า

แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ (ความร่ําไรรําพัน) ทุกข์ (ความไม่สบายกาย) โทมนัส (ความเสียใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) ก็เป็นทุกข์ ความประสบสัตว์และสังขาร ซึ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสัตว์ และสังขาร ซึ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ สัตว์ปรารถนาสิ่งใดย่อมไม่ได้ แม้ข้อที่ไม่สมประสงค์นั้น ก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ (ขันธ์ประกอบด้วยอุปาทาน ความถือมั่น) ๕ เป็นทุกข์.

[๒๙๕] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ชาติเป็นอย่างไร ความเกิดเกิดพร้อม ความหยั่งลงเกิด เกิดจําเพาะ ความปรากฏขึ้นแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 233

ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า ชาติ.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ชราเป็นอย่างไร ความแก่ ความคร่ําคร่า ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความที่หนังหดเหี่ยว เป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์นั้นๆ อันใด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า ชรา.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย มรณะเป็นอย่างไร ความจุติ ความเคลื่อนไป ความแตกทําลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทํากาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดไปแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า มรณะ.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย โสกะ (ความแห้งใจ) เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความโสก ความเศร้าใจ ความแห้งใจ ความผาก ณ ภายใน ความโศก ณ ภายในของสัตว์ ผู้ประกอบด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง และผู้มีความทุกข์อันใดอันหนึ่ง มาถูกต้องแล้ว อันใดเล่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า โสกะ

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ปริเทวะ (ความร่ําไรรําพัน) เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความคร่ําครวญ ความร่ําไรรําพัน กิริยาที่คร่ําครวญ ความที่ร่ําไรรําพัน ความที่สัตว์คร่ําครวญ ความที่สัตว์ร่ําไรรําพันของสัตว์ ผู้ประกอบด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง และผู้ที่มีความทุกข์อันใดอันหนึ่ง มาถูกต้องแล้วอันใดเล่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า ปริเทวะ.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ (ความไม่สบายกาย) เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์เกิดในกาย ความไม่ดีเกิดในกาย เวทนาไม่ดีเป็นทุกข์ เกิดแต่สัมผัสทางกาย อันใดเล่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า ทุกข์

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 234

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทมนัส (ความเสียใจ) เป็นอย่างไร ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์เกิดในใจ ความไม่ดีเกิดในใจ เวทนาไม่ดีเป็นทุกข์ เกิดแต่สัมผัสทางใจอันใด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า โทมนัส.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อุปายาส (ความคับแค้นใจ) เป็นอย่างไร ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความแค้น ความคับแค้น ความที่สัตว์แค้น ความที่สัตว์คับแค้นของสัตว์ ผู้ประกอบด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง และผู้ที่ความทุกข์อันใดอันหนึ่ง มาถูกต้องแล้ว อันนี้กล่าวว่า อุปายาส.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความประสบสัตว์และสังขาร ซึ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์อย่างไร ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อารมณ์เหล่าใดในโลกนี้ ซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ปลื้มใจ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ย่อมมีแก่ผู้นั้น อนึ่ง หรือชนเหล่าใด ที่ใคร่ต่อความฉิบหาย ใคร่สิ่งที่ไม่เกื้อกูล ใคร่ความไม่สําราญ และใคร่ความไม่เกษม จากเครื่อง ประกอบแก่ผู้นั้น ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุมร่วม ความระคนกับด้วยอารมณ์และสัตว์เหล่านั้นอันใด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า ความประสบกับสัตว์และสังขาร ซึ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขาร ซึ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์อย่างไร ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อารมณ์เหล่าใดในโลกนี้ ซึ่งเป็นที่ปรารถนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่ปลื้มใจ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ย่อมมีแก่ผู้นั้น อนึ่ง หรือชนเหล่าใด ที่ใคร่ต่อความเจริญ ใคร่ประโยชน์ เกื้อกูลใคร่ความสําราญ และใคร่ความเกษม จากเครื่องประกอบแก่ผู้นั้น คือ มารดา หรือบิดา พี่ชายน้องชาย หรือพี่หญิง น้องหญิง มิตร หรืออํามาตย์

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 235

หรือญาติสาโลหิต ความไม่ไปร่วม ความไม่มาร่วม ความไม่ประชุมร่วม ความไม่ระคน กับด้วยอารมณ์และสัตว์เหล่านั้นอันใด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขาร ซึ่งเป็นที่รักเป็นทุกข์.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ปรารถนาสิ่งใดย่อมไม่ได้ แม้ของที่ไม่สมประสงค์นั้น เป็นทุกข์อย่างไรเล่า.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ ที่มีความเกิดเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า

โอหนอ ขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีความเกิดเป็นธรรมดาเถิด อนึ่งขอความ เกิดอย่ามีมาถึงแก่เราเลยหนอดังนี้ ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้ แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า การไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา ก็เป็นทุกข์.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ ที่มีความแก่เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีความแก่เป็นธรรมดาเถิด อนึ่งขอความแก่อย่ามีมาถึงแก่เราเลยหนา ดังนี้ ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้ แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า การไม่ได้สิ่งที่ปรารถนาก็เป็นทุกข์.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้น แก่เหล่าสัตว์ที่มี ความเจ็บๆ ไข้ๆ เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า

โอหนอ ขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาเถิด ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้ แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า การไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา ก็เป็นทุกข์

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ ที่มีความตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 236

โอหนอ ขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีความตายเป็นธรรมดาเถิด อนึ่ง ขอความตายอย่ามีมาถึงแก่เราเลยหนอ ดังนี้ สัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้ แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า การไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา ก็เป็นทุกข์.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายความปรารถนาย่อมเกิดขึ้น แก่เหล่าสัตว์ที่มีโสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาส เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า

โอหนอ ขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส เป็นธรรมดาเถิด อนึ่ง ขอ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส อย่ามีมาถึงแก่เราเลย ดังนี้ ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้ แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า การไม่ได้สิ่งที่ปรารถนาก็เป็นทุกข์.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์อย่างไร นี้คือ อุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย โดยย่อเหล่านี้ กล่าวว่า อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า อริยสัจ คือ ทุกข์.

ทุกขสมุทัยอริยสัจ

[๒๙๖] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจคือทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) เป็นอย่างไร. ตัณหา (ความทะยานอยาก) นี้อันใด มีความเกิดขึ้นอีกเป็นปกติ ประกอบด้วยความกําหนัด ด้วยอํานาจแห่งความเพลิดเพลิน มักเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ นี้คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.

[๒๙๗] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็แลตัณหานั้นนั่นเอง เมื่อจะเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน. ที่ใดเป็นที่รักใคร่ เป็นที่

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 237

พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น. ก็อะไรเล่า เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตา เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ตานั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ตานั้น. หู เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่หูนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่หูนั้น. จมูก เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่จมูกนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่จมูกนั้น. ลิ้น เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ลิ้นนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ลิ้นนั้น. กาย เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่กายนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่กายนั้น. ใจ เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ใจนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ใจนั้น. รูป เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่รูปนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่รูปนั้น. เสียง เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่เสียงนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่เสียงนั้น. กลิ่น เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่กลิ่นนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่กลิ่นนั้น. รส เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่รสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่รสนั้น. โผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่โผฏฐัพพะนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ โผฏฐัพพะนั้น. ธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 238

เมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ธัมมารมณ์ เมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ธัมมารมณ์นั้น.

จักขุวิญญาณ เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่จักขุวิญญาณนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่จักขุวิญญาณนั้น โสตวิญญาณ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่โสตวิญญาณนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่โสตวิญญาณนั้น ฆาณวิญญาณนั้น เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ฆานวิญญาณนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ฆานวิญญาณนั้น ชิวหาวิญญาณ เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ชิวหาวิญญาณนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ชิวหาวิญญาณนั้น กายวิญญาณ เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่กายวิญญาณนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่กายวิญญาณนั้น มโนวิญญาณ เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่มโนวิญญาณนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่มโนวิญญาณนั้น

จักขุสัมผัส เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่จักขุสัมผัสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่จักขุสัมผัสนั้น โสตสัมผัส เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่โสตสัมผัสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่โสตสัมผัสนั้น. ฆานสัมผัส เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ฆานสัมผัสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ฆานสัมผัสนั้น ชิวหาสัมผัส เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 239

ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ชิวหาสัมผัสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ชิวหาสัมผัสนั้น กายสัมผัส เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่กายสัมผัสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่กายสัมผัสนั้น มโนสัมผัส เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่มโนสัมผัสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่มโนสัมผัสนั้น

เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่จักขุสัมผัสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่เวทนาซึ่งเกิดแต่จักขุสัมผัสนั้น เวทนาซึ่งเกิดแต่โสตสัมผัส เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่โสตสัมผัสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ เวทนาซึ่งเกิดแต่โสตสัมผัสนั้น เวทนาซึ่งเกิดแต่ฆานสัมผัส เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่ฆานสัมผัส เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่ฆานสัมผัสนั้น. เวทนาซึ่งเกิดแต่ชิวหาสัมผัส เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้น ที่เวทนาซึ่งเกิดแต่ชิวหาสัมผัสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่ชิวหาสัมผัสนั้น เวทนาซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่กายสัมผัสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่กายสัมผัสนั้น เวทนา ซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัส เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้น

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 240

ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัสนั้น

รูปสัญญา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น. เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่รูปสัญญานั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่รูปสัญญานั้น สัททสัญญา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่สัททสัญญานั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่สัททสัญญานั้น คันธสัญญา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่คันธสัญญานั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่คันธสัญญานั้น รสสัญญา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่รสสัญญานั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่รสสัญญานั้น โผฏฐัพพสัญญา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่โผฏฐัพพสัญญานั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่โผฏฐัพพ สัญญานั้น ธัมมสัญญา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ธัมมสัญญานั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ธัมมสัญญานั้น

รูปสัญเจตนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่รูปสัญเจตนานั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่รูปสัญเจตนานั้น สัททสัญเจตนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่สัททสัญเจตนานั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ ที่สัททสัญเจตนานั้น คันธสัญเจตนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่คันธสัญเจตนานั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่คันธสัญเจตนานั้น รสสัญเจตนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่รสสัญเจตนานั้น เมื่อจะ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 241

ตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความคิดถึงรสนั้น. ความคิดถึงโผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความคิดถึง โผฏฐัพพะนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความคิดถึงโผฏฐัพพะนั้น. ความคิดถึงธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความคิดถึงธัมมารมณ์นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความคิดถึงธัมมารมณ์นั้น

ความอยากในรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยากในรูปนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความอยากในรูปนั้น. ความอยากในเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยากในเสียงนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความอยากในเสียงนั้น. ความอยากในกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยากในกลิ่นนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความอยากในกลิ่นนั้น. ความอยากในรส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยากในรสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความอยากในรสนั้น. ความอยากในโผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยากในโผฏฐัพพะนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความอยากในโผฏฐัพพะนั้น ความอยากในธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจ ในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยากในธัมมารมณ์นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความอยากในธัมมารมณ์นั้น

ความตรึกถึงรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรึกถึงรูปนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรึกถึงรูปนั้น. ความตรึกถึงเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 242

[๒๙๗] ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรึกถึงเสียงนั้น. เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมจะตั้งอยู่ที่ความตรึกถึงเสียงนั้น ความตรึกถึงกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรึกถึงกลิ่นนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรึกถึงกลิ่นนั้น. ความตรึกถึงรส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรึก ถึงรสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรึกถึงรสนั้น. ความตรึกถึงโผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อม เกิดขึ้นที่ความตรึกถึงโผฏฐัพพะนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรึกถึง โผฏฐัพพะนั้น. ความตรึกถึงธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรึกถึงธัมมารมณ์นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรึกถึงธัมมารมณ์นั้น

ความตรองถึงรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรองถึงรูปนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรองถึงรูปนั้น. ความตรองถึงเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรองถึงเสียง เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรองถึงเสียงนั้น. ความตรองถึงกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่ พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรองถึงกลิ่นนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรองถึงกลิ่นนั้น. ความตรองถึงรส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรองถึงรสนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรองถึงรสนั้น. ความตรองโผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรองถึงโผฏฐัพพะนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความ ตรองถึงโผฏฐัพพะนั้น. ความตรองถึงธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจ

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 243

ในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรองถึงธัมมารมณ์นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรองถึงธัมมารมณ์นั้น.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่าอริยสัจ คือ ทุกขสมุทัย (เหตุให้ ทุกข์เกิด)

ทุกขนิโรธอริยสัจ

[๒๙๘] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายอริยสัจคือ ทุกขนิโรธ (ธรรมเป็นที่ ดับทุกข์) เป็นอย่างไร. คือ ความสํารอกและความดับโดยไม่มีเหลือ ความสละ ความส่งคืน ความปล่อยวาง ความไม่อาลัย ในตัณหานั้นนั่นแล อันใด. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานั้นนั่นแล เมื่อบุคคลจะละเสีย ย่อมละเสียได้ในที่ไหน เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน. ที่ใดเป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับในที่นั้น. ก็อะไรเล่า เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก

ตา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ตานั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ตานั้น

หู เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ทีหูนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่หูนั้น

จมูก เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่จมูกนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่จมูกนั้น

ลิ้น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ลิ้นนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ลิ้นนั้น

กาย เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่กายนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่กายนั้น

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 244

ใจ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ใจนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ใจนั้น

รูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่รูปนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่รูปนั้น

เสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจโนโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่เสียงนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่เสียงนั้น

กลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่กลิ่นนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่กลิ่นนั้น

รส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่รสนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่รสนั้น

โผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่โผฏฐัพพะนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่โผฏฐัพพะนั้น

ธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ธัมมารมณ์นั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ธัมมารมณ์นั้น

ความรู้ทางตา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความรู้ทางตานั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความรู้ทางตานั้น

ความรู้ทางหู เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความรู้ทางหูนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความรู้ทางหูนั้น

ความรู้ทางจมูก เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความรู้ทางจมูกนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความรู้ทางจมูกนั้น

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 245

ความรู้ทางลิ้น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ ความรู้ทางลิ้นนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความรู้ทางลิ้นนั้น

ความรู้ทางกาย เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ ที่ความรู้ทางกายนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความรู้ทางกายนั้น

ความรู้ทางใจ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ ที่ความรู้ทางใจนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความรู้ทางใจนั้น

ความกระทบทางตา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ ที่ความกระทบทางตานั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความกระทบทางตานั้น

ความกระทบทางหู เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ ที่ความกระทบทางหูนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความกระทบทางหูนั้น

ความกระทบทางจมูก เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ ที่ความกระทบทางจมูกนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความกระทบทางจมูกนั้น.

ความกระทบทางลิ้น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ ที่ความกระทบทางลิ้นนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความกระทบทางลิ้นนั้น.

ความกระทบทางกาย เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ ที่ความกระทบทางกายนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความกระทบทางกายนั้น

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 246

ความกระทบทางใจเป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ ที่ความกระทบทางใจนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความกระทบทางใจนั้น

เวทนาที่เกิดแต่จักษุสัมผัส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่จักษุสัมผัสนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่เวทนาซึ่งเกิดแต่จักษุสัมผัสนั้น

เวทนาซึ่งเกิดแต่โสตสัมผัส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่โสตสัมผัสนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่โสตสัมผัสนั้น

เวทนาซึ่งเกิดแต่ฆานสัมผัส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่ฆานสัมผัสนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่ฆานสัมผัสนั้น

เวทนาซึ่งเกิดแต่ชิวหาสัมผัส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่ชิวหาสัมผัสนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่ชิวหาสัมผัสนั้น

เวทนาซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่กายสัมผัสนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่กายสัมผัสนั้น

เวทนาซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัสนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่เวทนา ซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัสนั้น.

ความจํารูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ ที่ความจํารูปนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความจํารูปนั้น

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 247

ความจําเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคล จะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความจําเสียงนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความจําเสียงนั้น

ความจํากลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคล จะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความจํากลิ่นนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความจํากลิ่นนั้น

ความจํารส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคล จะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความจํารสนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความจํารสนั้น

ความจําโผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความจําโผฏฐัพพะ เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความจําโผฏฐัพพะนั้น

ความจําธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความจําธัมมารมณ์นั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความจําธัมมารมณ์นั้น

ความคิดถึงรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อ บุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงรูปนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับความคิดถึงรูปนั้น

ความคิดถึงเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงเสียงนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความคิดถึงเสียงนั้น

ความคิดถึงกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั่น เมื่อ บุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงกลิ่นนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับความคิดถึงกลิ่นนั้น

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 248

ความคิดถึงรส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงรสนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความคิดถึงรสนั้น

ความคิดถึงโผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงโผฏฐัพพะนั้น เมื่อจะดับ ย่อมดับเสียได้ที่ความคิดถึงโผฏฐัพพะนั้น

ความคิดถึงธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงธัมมารมณ์นั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับเสียได้ที่ความคิดถึงธัมมารมณ์นั้น

ความอยากในรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความอยากในรูปนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับเสียได้ที่ความอยากในรูปนั้น

ความอยากในเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความอยากในเสียงนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับเสียได้ที่ความอยากในเสียงนั้น

ความอยากในกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความอยากในกลิ่นนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความอยากในกลิ่นนั้น

ความอยากในรส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความอยากในรสนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความอยากในรสนั้น

ความอยากในโผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความอยากในโผฏฐัพพะนั้น เมื่อจะดับ ก็ดับได้ที่ความอยากในโผฏฐัพพะนั้น

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 249

ความอยากในธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมจะละเสียได้ที่ความอยากในธัมมารมณ์นั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความอยากในธัมมารมณ์นั้น

ความตรึกถึงรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อ บุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงรูปนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับได้ ที่ความตรึกถึงรูปนั้น

ความตรึกถึงเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อ บุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงเสียงนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความตรึกถึงเสียงนั้น

ความตรึกถึงกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงกลิ่นนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความตรึกถึงกลิ่นนั้น

ความตรึกถึงรส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงรสนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความตรึกถึงรสนั้น

ความตรึกถึงโผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงโผฏฐัพพะนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความตรึกถึงโผฏฐัพพะนั้น

ความตรึกถึงธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงธัมมารมณ์นั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับเสียได้ที่ความตรึกถึงธัมมารมณ์นั้น

ความตรองถึงรูป เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรองถึงรูปนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับเสียได้ที่ความตรองถึงรูปนั้น

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 250

ความตรองถึงเสียง เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรองถึงเสียงนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความตรองถึงเสียงนั้น

ความตรองถึงกลิ่น เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรองถึงกลิ่นนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความตรองถึงกลิ่นนั้น

ความตรองถึงรส เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมจะละเสียได้ที่ความตรองถึงรสนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับที่ความตรองถึงรสนั้น

ความตรองถึงโผฏฐัพพะ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรองถึงโผฏฐัพพะนั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับเลียได้ที่ความตรองถึงโผฏฐัพพะนั้น

ความตรองถึงธัมมารมณ์เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรองถึงธัมมารมณ์นั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับเสียได้ที่ความตรองถึงธัมมารมณ์นั้น

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า อริยสัจ คือ ทุกขนิโรธ (ธรรม เป็นที่ดับทุกข์)

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

[๒๙๙] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์) เป็นอย่างไร. ทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ๘ ทางเดียวนี้แล ทางนี้เป็นอย่างไร คือ ความเห็นชอบ ความดําริชอบ การเจรจาชอบ การกระทําชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งจิตมั่นชอบ

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 251

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นอย่างไร.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในธรรมเป็นที่ดับทุกข์ ความรู้ในข้อปฏิบัติ ให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์ อันใดแล.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะ (ความดําริชอบ) เป็นอย่างไร. ความดําริในการออกบวช (คือออกจากกามารมณ์) ความดําริในความไม่พยาบาท ความดําริในการไม่เบียดเบียน ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจา (การเจรจาชอบ) เป็นอย่างไร. การเว้นจากการกล่าวเท็จ การเว้นจากวาจาส่อเสียด การเว้นจากวาจาหยาบคาย การเว้นจากเจรจาเพ้อเจ้อ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาวาจา

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายสัมมากัมมันตะ (การกระทําชอบ) เป็นอย่างไร. การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากความประพฤติผิดในกาม ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมากัมมันตะ

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีพชอบ) เป็นอย่างไร. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายพระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละความเลี้ยงชีพผิดเสียแล้ว ย่อมสําเร็จความเป็นอยู่ ด้วยการเลี้ยงชีพชอบ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาอาชีวะ.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะ (ความพยายามชอบ) เป็นอย่างไร. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพื่อจะยังอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมยังความพอใจให้บังเกิด ย่อมพยายามย่อม

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 252

ปรารภความเพียร ย่อมประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยังความพอใจให้บังเกิด ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น ย่อมยังความพอใจให้บังเกิด ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคอง ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ไม่ใช่สาบศูนย์ เจริญยิ่ง ไพบูลย์มีขึ้นเต็มเปียม แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองตั้งจิตไว้. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาวายามะ

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) เป็นอย่างไร. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ นําอภิชฌาและโทมนัส (ความยินดีและความยินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ นําอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ ย่อมเป็นผู้พิจารณา เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ นําอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ นําอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาสติ

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นชอบ) เป็นอย่างไร. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกามารมณ์ สงัดแล้ว จากธรรมที่เป็นอกุศล เข้าถึงปฐมฌาน (ความเพ่งที่ ๑) ประกอบด้วยวิตกและวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก เพราะความที่วิตกและวิจาร (ทั้ง ๒)

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 253

ระงับลง เข้าถึงทุติฌาน (ความเพ่งที่ ๒) เป็นเครื่องผ่องใสใจ ณ ภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอก ผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข ที่เกิดจากสมาธิ อนึ่ง เพราะความที่ปีติ ปราศไป ย่อมเป็นผู้เพิกเฉยอยู่ และมีสติสัมปชัญญะ และเสวยความสุขด้วยกาย อาศัยคุณคือ อุเบกขา สติ สัมปชัญญะ และเสวยสุขอันใดเล่า เป็นเหตุ พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมกล่าว สรรเสริญผู้นั้นว่า เป็นผู้อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เข้าถึงตติยฌาน (ความเพ่ง ที่ ๓) เพราะละสุขเสียได้ เพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความที่โสมนัสและโทมนัส (ทั้ง ๒) ในกาลก่อนอัสดงดับไป เข้าถึงจตุตถฌาน (ความเพ่งที่๔) ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาสมาธิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า อริยสัจ คือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนี้.

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเสื่อมไปในธรรมบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในธรรมบ้าง. ก็หรือสติของเธอ ที่ตั้งอยู่ว่าธรรมมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก. เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔ อย่างนี้แล

จบ สัจจบรรพ

จบ ธัมมานุปัสสนา

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 254

อานิสงส์การเจริญสติปัฏฐาน ๔

[๓๐๐] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๗ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ๗ ปี ยกไว้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๖ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบัน ชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ๖ ปี ยกไว้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๕ ปี ผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง ๒ ผล อันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ๕ ปี ยกไว้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๔ ปี ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผล อันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ๔ ปี ยกไว้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๓ ปี ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผล อันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ๓ ปี ยกไว้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๒ ปี ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผล

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 255

อันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ๒ ปี ยกไว้. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึง เจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๑ ปี ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผล อันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ปีหนึ่ง ยกไว้. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๗ เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ๗ เดือนยกไว้. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๖ เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ๖ เดือนยกไว้. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๕ เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ๕ เดือนยกไว้. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๔ เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 256

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ๔ เดือน ยกไว้. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๓ เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ๓ เดือน ยกไว้. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๒ เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลใน ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ก็เป็นพระอนาคามี ๑.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ๒ เดือนยกไว้. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๑ เดือน ผู้นั้น พึงหวังผลใน ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ๑ เดือนยกไว้. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอดกึ่งเดือน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผลอันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย กึ่งเดือน ยกไว้. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนั้น ตลอด ๗ วัน ผู้นั้น พึงหวังผลทั้ง ๒ ผล อันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ๑.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความหมดจดวิเศษ ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงเสีย ซึ่งความโสกและความร่ําไร เพื่ออัสดงดับไป

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 257

แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทําพระนิพพานให้แจ้ง ทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔ อย่าง ด้วยประการฉะนี้

คําอันใด ที่กล่าวแล้วอย่างนี้ คําอันนั้น เราอาศัยเอกายนมรรค (คือสติปัฏฐาน ๔) นี้กล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้น มีใจยินดี เพลิดเพลินนักซึ่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการฉะนี้แล

จบ มหาสติปัฏฐานสูตรที่ ๙