พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ปายาสิราชัญญสูตร ว่าด้วยประวัติพระกุมารกัสสปเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 มิ.ย. 2564
หมายเลข  34448
อ่าน  2,463

[เล่มที่ 14] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 369

ปายาสิราชัญญสูตร

ปายาสิราชัญญสูตร หน้าที่ 369

ทิฏฐิของพระยาปายาสิ หน้าที่ 370

กถาว่าด้วยโทษของอกุศลกรรมบถ หน้าที่ 372

ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยโจร หน้าที่ 372

ว่าด้วยอานิสงส์ของกุศลกรรมบถ หน้าที่ 374

ว่าด้วยอุปมาด้วยคนตกบ่อคูถ หน้าที่ 375

ว่าด้วยอานิสงส์ศีล ๕ หน้าที่ 376

ว่าด้วยอุปมาด้วยคนตาบอดแต่กําเนิด หน้าที่ 377

ว่าด้วยสมณพราหมณ์ผู้มีศีลธรรม หน้าที่ 378

ว่าด้วยอุปมาด้วยพราหมณ์มีเมียสอง หน้าที่ 379

ว่าด้วยค้นหาชีวะจากโจร หน้าที่ 380

ว่าด้วยอุปมาด้วยคนนอนฝัน หน้าที่ 381

ว่าด้วยชั่งน้ำหนักคนตายกับคนเป็น หน้าที่ 382

ว่าด้วยอุปมาด้วยเหล็กร้อน และเย็น หน้าที่ 382

ว่าด้วยค้นหาชีวะของโจรผู้ตายแล้ว หน้าที่ 383

ว่าด้วยอุปมาด้วยการเป่าสังข์ หน้าที่ 384

ว่าด้วยการค้นหาชีวะจากโจรอีกเรื่องหนึ่ง หน้าที่ 386

อุปมาด้วยชฏิลบําเรอไฟ หน้าที่ 386

อุปมาด้วยนายกองเกวียน หน้าที่ 388

อุปมาด้วยคนเทินห่อคูถ หน้าที่ 391

อุปมาด้วยนักเลงสะกา หน้าที่ 392

อุปมาด้วยคนหอบป่าน หน้าที่ 394

พระยาปายาสิขอคําแนะนําบูชามหายัญ หน้าที่ 396

การให้ทานของพระยาปายาสิ หน้าที่ 398

เรื่องพระควัมปติเถระเทพบุตรปายาสิ หน้าที่ 399

อรรถกถาปายาสิราชัญญสูตร หน้าที่ 401

ประวัติท่านพระกุมารกัสสป หน้าที่ 401

เรื่องท่านพระควัมปติเถระ หน้าที่ 410


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 14]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 369

๑๐. ปายาสิราชัญญสูตร

ว่าด้วยประวัติพระกุมารกัสสปเถระ

[๓๐๑] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง ท่านพระกุมารกัสสป จาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป มาถึงเสตัพยนครแห่งแคว้นโกศล อาศัยอยู่ ณ ป่า สีสปาวัน ด้านทิศเหนือ เสตัพยนคร. สมัยนั้น พระยาปายาสิ ครอบครองเสตัพยนคร ซึ่งมีปศุสัตว์มาก มีหญ้า ไม้ และน้ำ มีธัญญาหารบริบูรณ์ เป็นพระราชโภคทรัพย์ ที่พระเจ้าปเสนทิโกศล พระราชทานให้เป็นบําเหน็จ ความชอบ. ครั้งนั้น พระยาปายาสิเกิดความเห็นชั่วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี ดังนี้ พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนครได้ทราบว่า พระสมณกุมารกัสสป สาวกของพระสมณโคดม จาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป มาถึงเสตัพยนคร อาศัยอยู่ณ ป่าสีสปาวัน ด้าน ทิศเหนือ เสตัพยนคร. กิตติศัพท์อันงามของพระสมณกุมารกัสสปขจรไปว่า ท่านเป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต กล่าวธรรมได้วิจิตร มีปฏิภาณดี เป็นผู้ตรัสรู้ และเป็นพระอรหันต์ การพบเห็นพระอรหันต์เช่นนั้น เป็นการดี. ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนคร ออกจากเสตัพยนคร พากันไป เป็นหมู่ๆ บ่ายหน้าไปทางด้านทิศเหนือ ซึ่งสีสปาวันตั้งอยู่.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 370

ทิฏฐิของพระยาปายาสิ

[๓๐๒] สมัยนั้น พระยาปายาสิพักผ่อนกลางวันอยู่ ณ ปราสาทชั้นบน เห็นพราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนคร ออกจากเสตัพยนครเป็นหมู่ๆ พากัน เดินมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ จึงเรียกคนสนิทมาถามว่า นี่แน่ะพ่อ พราหมณ์ และคฤหบดีชาวเสตัพยนครเป็นหมู่ๆ พากันมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ ซึ่งสีสปาวัน ตั้งอยู่ทําไมกัน. คนสนิทเรียนตอบว่า ท่านเจ้าข้า มีสมณะชื่อกุมารกัสสป สาวก ของพระสมณโคดม จาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป มาถึงเสตัพยนคร อาศัยอยู่ ณ สีสปาวัน ทางทิศเหนือ เส ตัพยนคร กิตติศัพท์อันงามของพระสมณกุมารกัสสปนั้น ขจรไปว่า ท่านเป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต กล่าวธรรมได้วิจิตร มีปฏิภาณดี เป็นผู้ตรัสรู้และเป็นพระอรหันต์ พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น เข้าไปเพื่อ พบเห็นท่านพระกุมารกัสสปนั้น เจ้าข้า. พระยาปายาสิ จึงสั่งว่า นี่แน่ะเจ้า ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงเข้าไปหาพราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนคร บอกเขาว่า จงรออยู่ก่อน พระยาปายาสิจักเข้าไปพบท่านสมณกุมารกัสสปด้วย แต่ก่อน ท่านพระสมณกุมารกัสสปสอนพวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนครผู้เขลา ไม่ฉลาด ให้เข้าใจว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี สัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วมี นี่แน่ะเจ้า โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดี ทําชั่ว ไม่มี. คนสนิทนั้นรับคําของพระยาปายาสิแล้วก็ไป บอกพราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนคร. ครั้งนั้น พระยาปายาสิอันพวก พราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนครห้อมล้อมแล้วก็ไปยังสีสปาวัน เข้าไปหาท่านกุมารกัสสป ชื่นชมสนทนาปราศรัยกับท่านพระกุมารกัสสปตามสมควรแล้วก็นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง. ส่วนพราหมณ์และคฤหบดีชาวเสตัพยนคร บางพวก กราบท่านพระกุมารกัสสป แล้วนั่ง ณ ที่ส่วนหนึ่ง บางพวกชื่นชมสนทนา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 371

ปราศรัยกับท่านพระกุมารกัสสป แล้วก็นั่ง บางพวกก็นอบน้อมอัญชลี ไปยังท่านพระกุมาร กัสสป แล้วนั่ง บางพวกประกาศชื่อและสกุลตนแล้ว ก็นั่ง บางพวกก็นิ่งแล้วนั่ง. พระยาปายาสิ นั่งเรียบร้อยแล้ว ก็เรียนท่านพระกุมารกัสสปอย่างนี้ว่า ท่านกัสสปผู้เจริญ ข้าพเจ้ามีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี. พระกุมารกัสสปกล่าวว่า ท่านพระยา อาตมานั้นได้เห็นได้ยินว่า ท่านพระยามีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ เหตุไร ท่านพระยาจึงกล่าวว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ที่ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี ถ้าอย่างนั้น อาตมาจะย้อนถามท่านพระยาในข้อนี้บ้าง ท่านพระยาพึง ตอบตามที่เห็นควร ท่านพระยาจะพึงเข้าใจข้อนี้อย่างไร พระจันทร์พระอาทิตย์ มีอยู่ในโลกนี้หรือโลกอื่น เป็นเทวดาหรือมนุษย์.

    พระยาปายาสิ ตอบว่า ท่านกัสสป พระจันทร์พระอาทิตย์มีอยู่ในโลกอื่นไม่ใช่ในโลกนี้ เป็นเทวดาไม่ใช่มนุษย์.

    พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา โดยปริยายนี้แหละ จงเห็นเถิดว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี สัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วมี.

    [๓๐๓] พระยาปายาสิ. ถึงท่านพระกัสสปกล่าวอยางนี้ ก็ตาม แต่ในข้อนี้ข้าพเจ้าก็ยังยืนยันความเห็นว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี.

    พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ยังมีปริยายที่ยืนยันความเห็นของ ท่านพระยาอยู่หรือ.

    พระยาปายาสิ. มีอยู่ซิ ท่านกัสสป.

    พระกุมารกัสสป. มีอยู่เหมือนอย่างไรเล่า ท่านพระยา.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 372

ว่าด้วยโทษของอกุศลกรรมบถ

พระยาปายาสิ ท่านกัสสป ข้าพเจ้ามีมิตรสหาย ญาติสาโลหิตของข้าพเจ้าในโลกนี้ที่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคําหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มักได้ ปองร้ายเขา เห็นผิด ต่อมา เขาล้มป่วย ประสบทุกข์ เจ็บหนัก ข้าพเจ้ารู้ว่า เวลานี้ เขาจักไม่หายป่วยแน่ จึงเข้าไป หาเขาพูดว่า ท่านผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีความเห็น อย่างนี้ว่า คนที่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคําหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มักได้ ปองร้ายเขา เห็นผิด ตายแล้วจักเกิดในอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก ตัวท่านก็ประพฤติอย่างนั้น ถ้าถ้อยคําของสมณพราหมณ์ พวกนั้นเป็นความจริงไซร้ ตัวท่านตายแล้วก็จักเกิดในอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก ถ้าตัวท่านตายแล้ว พึงไปเกิดในอบายภูมินั้นจริงไซร้ ขอท่านพึง กลับมาบอกข้าพเจ้าทีเถิดว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี สัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วมี ด้วยว่าข้าพเจ้าเชื่อถือท่านอย่างสนิทใจว่า สิ่งใดที่ท่านเห็นก็เหมือนข้าพเจ้าเห็นเอง สิ่งนั้นก็จักเป็นอย่างนั้นแน่ คนเหล่านั้น รับคําข้าพเจ้าแล้วก็ไม่เคยกลับมาบอกเองทั้งไม่ส่งคนมาบอกด้วย ท่านกัสสป ปริยายนี้นี่แล ที่เป็นเครื่องยืนยันความเห็นของข้าพเจ้าที่ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี.

ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยโจร

[๓๐๔] พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่างนั้น อาตมาจะย้อนถามท่านพระยาในข้อนั้นบ้าง ท่านพระยาพึงตอบตามที่เห็นสมควร ท่านพระยาจะเข้าใจข้อนั้นอย่างไร พวกเจ้าหน้าที่ของท่านพระยาจับโจรที่ทําผิดมา

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 373

แสดงด้วยกล่าวว่า ท่านขอรับ คนนี้เป็นโจรทําผิด ขอได้โปรดสั่งลงโทษ แก่โจรผู้นี้ตามต้องการด้วย ท่านพระยาจะพึงสั่งว่า ถ้าอย่างนั้น พวกเจ้าจงเอา เชือกที่มั่นคงจับมัดมัน เอามือไพล่หลังให้แน่นหนา โกนหัว ตีบัณเฑาะว์ พาตระเวนไปทุกถนนทุกทาง ๔ แพร่งออกทางประตูด้านทิศใต้ แล้วจงตัดหัว เสียที่ตะแลงแกง ทางด้านทิศใต้พระนคร พวกเจ้าหน้าที่รับคําสั่งแล้ว กระทั่ง นําโจรมานั่งบนตะแลงแกงเตรียมตัดศีรษะ โจรจะพึงได้รับการขอร้องผ่อนผัน จากเจ้าหน้าที่ฆ่าโจรว่า ขอนายท่านจงรอจนกว่าข้าพเจ้าไปแจ้งแก่มิตรสหาย ญาติสาโลหิตที่บ้านหรือนิคมโน้นเสียก่อน หรือเจ้าหน้าที่ฆ่าโจรจะพึงตัดศีรษะ ของโจร ทั้งที่กําลังอ้อนวอนอยู่.

    พระยาปายาสิ. ท่านกัสสป โจรนั้นจะไม่พึงได้รับการผ่อนผันให้รอ ตัดศีรษะไว้ก่อน ที่แท้ เจ้าหน้าที่ฆ่าโจร ก็จะพึงตัดศีรษะของโจร ทั้งที่ร้อง ขออยู่เลยทีเดียว

    พระกุมารกัสสป. (ท่านพระยา ทั้งโจร ก็เป็นมนุษย์ ทั้งเจ้าหน้าที่ ฆ่าโจร ก็เป็นมนุษย์) โจรนั้น ก็ยังไม่ได้รับการผ่อนผันให้รอการตัดศีรษะไว้ก่อน มิตรสหายญาติสาโลหิตของท่านพระยา ซึ่งกระทํากรรมชั่วเห็นปานนั้น ไปบังเกิดในอบายภูมิแล้ว ไฉนจักได้รับการผ่อนผันจากอบาย นิรยบาล ซึ่งไม่ใช่มนุษย์ให้รอการลงโทษไว้จนกว่ามิตรสหาย ญาติสาโลหิตนั้น นําความไปบอก ท่านพระยาแล้วกลับมา เสียก่อนเล่า. โดยปริยายแม้นี้ท่านพระยาจงเห็นเถิดว่า แม้เพราะเหตุนี้โลกอื่นมี สัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วมี.

    [๓๐๕] พระยาปายาสิ. ท่านกัสสปกล่าวอย่างนี้ก็จริงอยู่ ถึงกระนั้นข้าพเจ้าก็ยังยืนยันความเห็นในข้อนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 374

พระกุมารกัสสป. ก็ท่านพระยายังมีปริยายยืนยันความเห็นอย่างนั้น อยู่อีกหรือ

พระยาปายาสิ. มีซิ ท่านกัสสป

พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา มีเหมือนอย่างไรเล่า

ว่าด้วยอานิสงส์กุศลกรรมบถ

พระยาปายาสิ. ท่านกัสสป ข้าพเจ้ามีมิตรสหาย ญาติสาโลหิตในโลกนี้ ที่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคําหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่มักได้ ไม่ปองร้ายเขา มีความเห็นชอบ ต่อมา เขาล้มป่วยประสบทุกข์ เจ็บหนัก ข้าพเจ้ารู้ว่า เวลานี้เขาไม่หายป่วยแน่ จึงเข้าไปหาเขาพูดว่า ท่านผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมี วาทะมีความเห็น อย่างนี้ว่า คนที่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคําหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่มักได้ ไม่ปองร้ายเขา มีความเห็นชอบ ตายแล้วจักเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ตัวท่านก็ประพฤติอย่างนั้น ถ้าถ้อยคําของ สมณพราหมณ์พวกนั้นเป็นความจริงไซร้ ท่านตายไปแล้วก็จักเกิดในสุคติโลกสวรรค์แน่ ถ้าท่านไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์จริง ก็ขอท่านพึงกลับมาบอก ข้าพเจ้าทีเถิดว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี สัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบากของ กรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วมี ด้วยว่า ข้าพเจ้าเชื่อถือท่านอย่างสนิทใจว่า สิ่งใด ที่ท่านเห็นก็เหมือนเราเห็นเอง สิ่งนั้นก็จักเป็นอย่างนั้นแน่ คนเหล่านั้น รับคําข้าพเจ้าแล้ว ก็ไม่เคยกลับมาบอกเอง ทั้งไม่ส่งคนมาบอกด้วย ท่านกัสสป ปริยายนี้นี่แล ที่เป็นเครื่องยืนยันความเห็นของข้าพเจ้าที่ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 375

อุปมาด้วยคนตกบ่อคูถ

[๓๐๖] พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่างนั้น อาตมาจัก อุปมาให้ฟัง วิญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าใจอรรถของคําภาษิตด้วยข้อ อุปมา ท่านพระยา เปรียบเหมือนบุรุษจมบ่อคูถ (อุจจาระ) มิดศีรษะ ท่านพระยาจึงสั่งให้เจ้าหน้าที่ช่วยกันดึงบุรุษนั้นขึ้นมาจากบ่อคูถแล้วให้เอาซีกไม้ไผ่ ครูดคูถออกจากตัวของบุรุษนั้น ให้เอาดินสีเหลืองขัดตัวสามครั้ง ให้เอาน้ำมัน ชะโลมตัวแล้วเอาจุณ (ผง) ละเอียดลูบไล้ให้สะอาดหมดจดสามครั้ง ให้แต่ง ผมและหนวดแล้ว ให้นําเอาพวงดอกไม้เครื่องลูบไล้และผ้าที่มีค่ามากมอบแก่ บุรุษนั้นแล้วนําเขาขึ้นไปยังปราสาทอันดีชั้นบน จัดกามคุณ ๕ ไว้บําเรอ ท่านพระยาจะเข้าใจข้อนั้นอย่างไร บุรุษนั้นอาบน้ำลูบไล้ดีแล้ว แต่งผมและหนวด ประดับอาภรณ์แก้วมณีแล้วนุ่งห่มผ้าขาวสะอาดอยู่ปราสาทอันดีชั้นบน เพียบพร้อมบําเรอด้วยกามคุณ ๕ เขายังประสงค์จะจมลงในบ่อคูถนั้นอีกหรือ.

พระยาปายาสิ. ไม่หรอก ท่านกัสสป.

พระกุมารกัสสป. เพราะเหตุไรเล่า.

พระยาปายาสิ. ท่านกัสสป เพราะบ่อคูถไม่สะอาดเป็นทั้งสิ่ง ไม่สะอาด ทั้งนับว่าไม่สะอาด กลิ่นเหม็น ทั้งนับว่ากลิ่นเหม็น ทั้งน่าเกลียด ทั้งนับว่าน่าเกลียด ทั้งปฏิกูล ทั้งนับว่าปฏิกูล.

พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ข้อนั้นเปรียบฉันใด ข้อนี้ก็เปรียบฉันนั้นเหมือนกัน พวกมนุษย์ทั้งไม่สะอาด ทั้งนับว่าไม่สะอาด ทั้งกลิ่นเหม็นทั้งนับว่ากลิ่นเหม็น ทั้งน่าเกลียด ทั้งนับว่าน่าเกลียด ทั้งปฏิกูล ทั้งนับว่าปฏิกูล. ท่านพระยา กลิ่นมนุษย์คลุ้งขึ้นไปถึงเทวดา ตั้งร้อยโยชน์. ก็มิตรสหาย ญาติสาโลหิตของท่านพระยาประพฤติดีเห็นปานนั้น ตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ยังจะกลับมาบอกท่านพระยาอีกหรือ ท่านพระยา โดยปริยายนี้แล จงเห็นเถิดว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมีสัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วมี.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 376

[๓๐๗] พระยาปายาสิ. ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้น ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น ในข้อนี้ ข้าพเจ้าก็ยังยืนยันความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี.

พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ยังมีปริยายที่ยืนยันความเห็นของ ท่านพระยาอยู่อีกหรือ มีเปรียบเหมือนอย่างไรเล่า.

พระยาปายาสิ. มีซิ ท่านกัสสป ข้าพเจ้ามีมิตรสหาย ญาติสาโลหิต ที่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ และงดเว้น จากที่ตั้งแห่งความประมาท คือ ดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย ต่อมาเขา ล้มป่วยประสบทุกข์เจ็บหนัก ข้าพเจ้ารู้ว่า เขาจักไม่หายป่วยแน่แล้ว จึงเข้าไปหาเขาพูดว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าถ้อยคําของสมณพราหมณ์พวกนั้นเป็นความจริงว่า เมื่อคนประพฤติดีเห็นปานนั้น ตายแล้ว จักเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์ดังนี้ไซร้ ท่านผู้เจริญ ท่านประพฤติเห็นปานนั้น ตายแล้ว ก็พึงบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์แน่นอน ขอท่านพึงกลับมาบอกข้าพเจ้าทีเถิดว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมีสัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วมี ด้วยว่าข้าพเจ้าเชื่อถือท่าน อย่างสนิทใจว่า สิ่งใดที่ท่านเห็นก็เหมือนเราเห็นเอง สิ่งนั้นจักเป็นอย่างนั้นแน่ คนเหล่านั้นรับคําข้าพเจ้าแล้วก็ไม่เคยกลับมาบอกเอง ทั้งไม่ส่งคนมาบอกด้วย ท่านกัสสป ปริยายนี้นี่แล เป็นเครื่องยืนยันความเห็นของข้าพเจ้าที่ว่าแม้เพราะเหตุนี้โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี.

ว่าด้วยอานิสงส์ศีล ๕

[๓๐๘] พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่างนั้น อาตมาจัก ย้อนถามท่านพระยาในข้อนี้บ้าง ท่านพระยาพึงตอบตามที่เห็นสมควรเถิด.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 377

ร้อยปีของมนุษย์เป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดาวดึงส์ สามสิบราตรีโดย ราตรีนั้น เป็นเดือนหนึ่ง สิบสองเดือนโดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง โดยปีนั้น พันปีทิพย์เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ มิตรสหายญาติสาโลหิตของ ท่านพระยา ที่มีศีล ๕ เห็นปานนั้น ตายไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เป็นสหาย ของเทวดาชั้นดาวดึงส์แล้วถ้าพวกเขาคิดว่า ต่อเมื่อพวกเขาเพียบพร้อมบําเรอ อยู่ด้วยกามคุณ ๕ สักสองวันสองราตรีหรือสักสามวันสามราตรี แล้วค่อยกลับ ไปบอกท่านพระยา ดังนี้ไซร้ คนเหล่านั้นจะพึงกลับไปบอกท่านพระยาว่า แม้ เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี สัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วมี ดังนี้หรือ.

พระยาปายาสิ. ไม่หรอกท่านกัสสป. เพราะพวกข้าพเจ้าคงจะตายกัน ไปเสียตั้งนานแล้ว แต่ใครเล่าบอกท่านกัสสปว่า เทวดาชั้นดาวดึงส์มีอยู่ หรือเทวดาชั้นดาวดึงส์มีอายุยืนถึงเพียงนั้น ข้าพเจ้าไม่เชื่อท่านกัสสปดอก.

อุปมาด้วยคนตาบอดแต่กําเนิด

พระกุมารกัสสป. เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดแต่กําเนิด ไม่เห็น สีดํา สีขาว สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีแดงฝาด ไม่เห็นที่เรียบและไม่เรียบ ไม่เห็นรูปดาว พระจันทร์ พระอาทิตย์ บุรุษผู้นั้นพูดว่า รูปดํา รูปขาว รูปเหลือง รูปแดง รูปแดงฝาด ที่เรียบและไม่เรียบ รูปดาว พระจันทร์ พระอาทิตย์ ไม่มี ผู้เห็นรูปดํา รูปขาว รูปเขียว รูปเหลือง รูปแดง รูปแดงฝาด ที่เรียบและไม่เรียบ รูปดาว พระจันทร์พระอาทิตย์ ก็ไม่มี ข้าพเจ้าไม่รู้ไม่เห็น เพราะฉะนั้น สิ่งดังว่านั้น ไม่มี ดังนี้ ท่านพระยา บุรุษผู้นั้น พูดอย่างนั้น ชื่อว่าพูดถูกหรือ.

พระยาปายาสิ. พูดไม่ถูกดอกท่านกัสสป เพราะรูปดังกล่าวนั้น

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 378

มีอยู่ ผู้เห็นก็มีอยู่ บุรุษผู้นั้นพูดว่า ข้าพเจ้าไม่รู้ไม่เห็น ดังนี้ จึงชื่อว่าพูด ไม่ถูก.

พระกุมารกัสสป. ข้อนี้ก็เปรียบเหมือนฉันนั้น ท่านพระยา อุปมา ด้วยคนตาบอดแต่กําเนิด จึงกล่าวว่า ใครเล่าบอกท่านกัสสปว่า เทวดาชั้นดาวดึงส์มีอยู่ หรือเทวดาชั้นดาวดึงส์มีอายุยืนถึงเพียงนั้น ข้าพเจ้าไม่เชื่อท่านกัสสปดอก. ท่านพระยา โลกอื่นอันใครๆ ไม่พึงเห็นได้ด้วยมังสจักษุอย่างที่ ท่านพระยาเข้าใจดอก. สมณพราหมณ์ที่อาศัยเสนาสนะป่าอันสงัด เป็นผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจมุ่งมั่นต่อพระนิพพานอยู่ ชําระทิพยจักษุให้บริสุทธิ์ ย่อมเห็นโลกนี้โลกอื่น ทั้งหมู่สัตว์ที่ผุดเกิดได้ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ เกินจักษุมนุษย์ ท่านพระยา โลกอื่นอันผู้มีทิพยจักษุพึงเห็นได้อย่างนี้ อันใครๆ ไม่พึงเห็นด้วยมังสจักษุอย่างที่ท่านพระยาเข้าใจดอก โดยปริยายนี้นี่แล ท่านพระยาจงเห็นเถิดว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี สัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบากของ กรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วมี.

[๓๐๙] พระยาปายาสิ. ท่านกัสสปกล่าวอย่างนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ในข้อนี้ ข้าพเจ้าก็ยังยืนยันความเห็นของข้าพเจ้าที่ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี.

พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ยังมีปริยายยืนยันความเห็นของท่าน พระยาอยู่อีกหรือมีเปรียบเหมือนอย่างไรเล่า

ว่าด้วยสมณพราหมณ์ผู้มีศีลธรรม

พระยาปายาสิ. มีซิ ท่านกัสสป ข้าพเจ้าเห็นสมณพราหมณ์ในโลกนี้ ที่มีศีล มีกัลยาณธรรมอยากเป็นไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ข้าพเจ้านั้นเห็นว่า ถ้าสมณพราหมณ์ที่มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านี้ รู้ว่า เราตายไปเสียจากโลก

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 379

นี้ จักประเสริฐไซร้ ก็จะพึงกินยาพิษ ใช้ศัสตราฆ่าตัวตาย ผูกคอตาย หรือโดดเหวตายเสีย แต่เพราะเหตุที่สมณพราหมณ์เหล่านี้ ไม่รู้ว่าเราตายไปเสีย จากโลกนี้ จักประเสริฐดังนี้ ฉะนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงอยากเป็นไม่อยากตาย จึงรักสุขเกลียดทุกข์ ท่านกัสสป ปริยายแม้นี้แล ที่เป็นเครื่องยืนยันความเห็นของข้าพเจ้าที่ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี.

อุปมาด้วยพราหมณ์มีเมียสอง

[๓๑๐] พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่างนั้น อาตมาจักอุปมาให้ฟัง ด้วยว่าวิญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าใจอรรถแห่งคําภาษิตได้ด้วย ข้ออุปมา. ท่านพระยา เรื่องเคยมีมาแล้ว พราหมณ์ผู้หนึ่งมีภรรยาสองคน ภรรยาคนหนึ่งมีบุตรอายุ ๑๐ ขวบ หรือ ๑๒ ขวบ ภรรยาอีกคนหนึ่งมีครรภ์แก่ ครั้งนั้น พราหมณ์ผู้สามีก็ตายลง. บุตรวัยรุ่นก็พูดกะแม่เลี้ยงว่า แม่จา ทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน ทองทั้งหมด เป็นของฉันนะแม่นะ แม่ไม่มีสิทธิอะไรๆ ในทรัพย์เหล่านั้น เพราะเป็นทรัพย์ของบิดาฉัน แม่โปรดมอบมรดก แก่ฉันเถิด. แม่เลี้ยงจึงบอกบุตรเลี้ยงว่า พ่อ จงรอจนกว่าแม่จะคลอดเถิดนะ ถ้าทารกในท้องแม่เป็นชาย ก็จักมีสิทธิได้ส่วนหนึ่ง ถ้าเป็นหญิงก็จักตกเป็น ปริจาริกา ที่เจ้าต้องใช้สอย ครั้งที่สอง บุตรเลี้ยงก็อ้อนวอนแม่เลี้ยงให้มอบมรดกให้ แม่เลี้ยงก็ตอบยืนอยู่อย่างนั้น ครั้งที่สาม แม่เลี้ยงขัดใจก็คว้ามีดเข้า ห้องน้อยแหวะท้อง เพื่อจะรู้ว่า ทารกในท้องเป็นชายหรือหญิง หญิงแม่เลี้ยง นั้น ก็ทําลายทั้งตนเอง ทั้งชีวิต ทั้งทารกในครรภ์ทั้งทรัพย์มรดกเพราะนาง เป็นคนเขลา ไม่ฉลาด แสวงหาทายาทโดยอุบายไม่แยบคาย ก็ถึงความย่อยยับ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 380

ฉันใด อุปมัยข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านพระยาเป็นคนเขลาไม่ฉลาดแสวงหาโลกอื่น โดยอุบายไม่แยบคาย ก็จักถึงความย่อยยับ เหมือนพราหมณีผู้นั้น. ท่านพระยา เหล่าสมณพราหมณ์ ผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเป็นบัณฑิต ย่อมไม่ชิงสุกก่อนห่าม แต่รอเวลาสุกเต็มที่ต่างหาก ท่านพระยา ชีวิตของสมณพราหมณ์ ผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ยังดํารงชีวิตอยู่ ยั่งยืนยาวนานเพียงใด ก็ได้ประสบบุญ เป็นอันมากเพียงนั้น เพราะปฏิบัติตนเพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่คนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ท่านพระยาโดยปริยายแม้นี้แล จงเห็นเถิดว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี สัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วมี.

[๓๑๑] พระยาปายาสิ. ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้น ก็จริงดอก ถึงกระนั้น ในข้อนี้ข้าพเจ้าก็ยังยืนยันความเห็นที่ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี.

พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ยังมีปริยายที่ยืนยันความเห็นของ ท่านพระยาอยู่อีกหรือ มีปรียาย เหมือนอย่างไรเล่า.

ว่าด้วยค้นหาชีวะจากโจร

พระยาปายาสิ. มีซิ ท่านกัสสป เจ้าหน้าที่ของข้าพเจ้าจับโจรผู้กระทําผิดมาแสดงแก่ข้าพเจ้า ขอให้สั่งลงโทษข้าพเจ้าจึงสั่งเจ้าหน้าที่ให้เอาโจรที่ยังเป็น อยู่ใส่ลงในหม้อ ปิดปากหม้อเสียเอาหนังสดรัด เอาดินสดพอกปากหม้อยาให้หนา แล้วให้เขายกหม้อขึ้นตั้งเตาติดไฟต้ม. เมื่อข้าพเจ้ารู้ว่า โจรนั้นตายแล้ว ก็สั่งให้เขายกหม้อลงจากเตา กะเทาะดินแก้สายหนังออก เปิดปากหม้อ ค่อยๆ สํารวจดูด้วยหมายใจว่าจะเห็นชีวะของโจรนั้นออกไป ข้าพเจ้าก็ไม่เห็นชีวะออก

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 381

ไปเลย ท่านกัสสป ปริยายนี้นี่แล เป็นเครื่องยืนยันความเห็นของข้าพเจ้า ที่ว่าแม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทํา ดีทําชั่วไม่มี.

อุปมาด้วยคนนอนฝัน

พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่างนั้น อาตมาจักย้อนถาม ท่านพระยา ในข้อนั้นบ้าง ท่านพระยาพึงตอบตามที่เห็นสมควรเถิด. ท่านพระยานอนพักกลางวันรู้สึกฝันเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาค ที่น่ารื่นรมณ์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์บ้างไหม.

พระยาปายาสิ. รู้สึกฝันเห็นซิ ท่านกัสสป.

พระกุมารกัสสป. เวลานั้นทั้งหญิงค่อมหญิงเตี้ย เด็กหญิงเล่นของเล่น ทั้งหญิงวัยรุ่น เฝ้าท่านพระยาอยู่หรือ.

พระยาปายาสิ. อย่างนั้นซิ ท่านกัสสป.

พระกุมารกัสสป. หญิงเหล่านั้นเห็นชีวะของท่านพระยาที่กําลังเข้าไป หรือกําลังออกไปบ้างไหมเล่า.

พระยาปายาสิ. ไม่เห็นดอก ท่านกัสสป.

พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ก็เมื่อท่านพระยายังเป็นอยู่ หญิงเหล่านั้นก็ยังเป็นอยู่ยังไม่แลเห็นชีวะของท่านพระยา ที่กําลังเข้าไปหรืออกไป ดังนั้น ท่านพระยาจักแลเห็นชีวะของคนตาย ที่กําลังเข้าไปหรือออกไป อย่างไร ได้เล่า. ท่านพระยา โดยปริยาย แม้นี้แลจงเห็นเกิดว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่น มีสัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วมี.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 382

[๓๑๒] พระยาปายาสิ. ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้น ก็จริง ถึงอย่างนั้น ในข้อนี้ ข้าพเจ้าก็ยังยืนยันความเห็นที่ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี.

พระกุมารกัสสป. ท่านพระยายังมีปริยายที่เป็นเครื่องยืนยันความเห็น ของท่านพระยาอยู่อีกหรือ มีปริยายเหมือนอย่างไรเล่า.

ว่าด้วยชั่งน้ำหนักคนตายกับคนเป็น

พระยาปายาสิ. มีซิ ท่านกัสสป เจ้าหน้าที่ของข้าพเจ้าจับโจรที่กระทํา ผิดมาแสดงแก่ข้าพเจ้า ขอให้สั่งลงโทษ ข้าพเจ้าจึงสั่งเจ้าหน้าที่ให้เอาโจรที่ยังเป็นอยู่มาชั่งน้ำหนักด้วยตาชั่ง ให้เอาสายธนู มารัดคอ หายใจไม่ออกจนตาย แล้วให้ชั่งด้วยตาชั่งอีกครั้งหนึ่งปรากฏว่า ขณะที่โจรนั้นยังเป็นอยู่ น้ำหนักเบาอ่อน และควรแก่งาน แต่เมื่อโจรนั้นตายแล้ว น้ำหนักกลับหนัก แข็งทื่อ ไม่ควรแก่งาน ท่านกัสสป ปริยายแม้นี้แล เป็นเครื่องยืนยันความเห็นของ ข้าพเจ้าที่ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี.

อุปมาด้วยเหล็กร้อนและเย็น

(๓๑๓] พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่างนั้น อาตมาจักอุปมาให้ฟัง ด้วยว่าวิญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าใจชัดอรรถของคําภาษิต แม้ด้วยอุปมา. ท่านพระยา เปรียบเหมือนก้อนเหล็กร้อนอยู่ทั้งวัน ที่เขาเผาไฟ จนลุกโชนโชติช่วงแล้วชั่งด้วยตาชั่ง ต่อมา ก้อนเหล็กนั้นก็เย็นสนิท แล้วชั่งด้วยตาชั่ง เมื่อใดก้อนเหล็กจึงเบา อ่อน หรือควรแก่งาน เมื่อถูกเผาร้อน โชนโชติช่วง หรือเมื่อเย็นสนิทแล้ว.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 383

พระยาปายาสิ. ท่านกัสสป เมื่อใด ก้อนเหล็ก ยังมีเตโชธาตุ และ วาโยธาตุ ถูกเผาร้อนโชน โชติช่วง เมื่อนั้น มันจะเบาอ่อน และควรแก่งาน แต่เมื่อใดก้อนเหล็กนั้น ไม่มีเตโชธาตุ และวาโยธาตุ เย็นสนิท เมื่อนั้น มันจะหนัก แข็งกระด้าง ไม่ควรแก่งาน.

พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ข้อนี้ก็เปรียบเหมือนฉันนั้นนั่นแล เมื่อใด กายนี้ประกอบด้วยอายุไออุ่น และวิญญาณ เมื่อนั้นกายนี้จะเบาอ่อน และควรแก่งาน แต่เมื่อใดกายนี้ไม่ประกอบด้วยอายุ ไออุ่น และวิญญาณ เมื่อนั้นกายนี้ก็จะหนัก แข็งทื่อ และไม่ควรแก่งาน. ท่านพระยา โดยปริยายแม้นี้แล จงเห็นเถิดว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี สัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบากของกรรม ที่สัตว์ทําดีทําชั่วมี.

ว่าด้วยค้นหาชีวะของโจรผู้ตายแล้ว

[๓๑๔] พระยาปายาสิ. ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้น ก็จริง ถึงอย่างนั้น ในข้อนี้ ข้าพเจ้าก็ยังยืนยันความเห็นของข้าพเจ้าที่ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี

พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ยังมีปริยายที่ยืนยันความเห็นของ ท่านพระยาอีกหรือ มีปริยายเหมือนอย่างไรเล่า.

พระยาปายาสิ. มีซิ ท่านกัสสป เจ้าหน้าที่ของข้าพเจ้าจับโจรผู้กระทําผิดมาแสดง ขอให้ข้าพเจ้าสั่งลงโทษ ข้าพเจ้าจึงสั่งเจ้าหน้าที่ให้ฆ่าโจรนั้นมิให้ ผิวหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก บอบช้ำ เมื่อโจรนั้นเริ่มจะตาย ข้าพเจ้าก็สั่งเจ้าหน้าที่ให้ผลักโจรนั้นล้มลงนอนหงาย ด้วยหมายใจว่า จะได้เห็นชีวะของเขาออกมาบ้าง แต่พวกเราก็มิได้เห็นชีวะของเขาออกมาเลย ข้าพเจ้า

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 384

จึงสั่งเจ้าหน้าที่ให้จับเขาพลิกคว่ําลงบ้าง พลิกนอนตะแคงข้างหนึ่งบ้าง พลิกนอนตะแคงอีกข้างหนึ่งบ้าง จักพยุงให้ยืนขึ้นบ้าง จับเอาหัวลงบ้าง ทุบด้วย ฝ่ามือด้วยก้อนดิน ด้วยท่อนไม้ ด้วยศัสตราบ้าง ลากมาข้างนี้ ลากไปข้างโน้น ลากไป ลากมาบ้าง พวกเราก็มิได้เห็นชีวะของเขาออกมาเลยจักษุของเขาก็อันนั้น รูปก็อันนั้น จักษุนั้นก็มิได้รับรู้รูป โสตะก็อันนั้น เสียงก็อันนั้น โสตะนั้นก็ มิได้รับรู้เสียง ฆานะก็อันนั้น กลิ่นก็อันนั้น ฆานะนั้นก็มิได้รับรู้กลิ่น ชิวหาก็อันนั้น รสก็อันนั้น ชิวหานั้นก็มิได้รับรู้รส กายก็อันนั้น สิ่งที่พึงถูกต้องก็อันนั้น กายนั้นก็มิได้รับรู้สิ่งที่พึงถูกต้องเลย ท่านกัสสป ปริยายแม้นี้แล เป็นเครื่องยืนยัน ความเห็นของข้าพเจ้าที่ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี.

อุปมาด้วยการเป่าสังข์

[๓๑๕] พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่างนั้น อาตมาจักอุปมาให้ฟัง วิญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าใจอรรถของคําภาษิตได้ด้วย ข้ออุปมา. ท่านพระยา เรื่องเคยมีมาแล้วคนเป่าสังข์ผู้หนึ่ง ถือสังข์ไปยังชนบทชายแดน เข้าไปยังบ้านตําบลหนึ่ง ยืนอยู่กลางบ้านแล้วก็เป่า สังข์ ๓ ครั้ง แล้ววางสังข์ไว้ที่พื้นดิน นั่งลง ณ ที่แห่งหนึ่ง คราวนั้น พวกผู้คนชนบท ชายแดนก็คิดกันว่า พวกเราเอ่ย นั่นมันเสียงอะไรหนอ จึงน่ารักใคร่มัวเมา น่าจับใจ ต้องใจอย่างนี้ ชุมนุมกันแล้วก็ได้ถามคนเป่าสังข์ว่า พ่อมหาจําเริญ นั่นเสียงอะไรหนอ จึงน่ารักใคร่มัวเมาน่าจับใจ ต้องใจอย่างนี้. คนเป่าสังข์ ตอบว่า เสียงที่น่ารักใคร่มัวเมา น่าจับใจต้องใจนั่นน่ะ เขาเรียกว่าเสียงสังข์จะ คนเหล่านั้นก็จับสังข์หงายขึ้นแล้วสั่งว่า พูดซิ พ่อสังข์ พูดซิพ่อสังข์. สังข์นั้น

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 385

ก็ไม่ออกเสียงตามที่เขาสั่ง คนเหล่านั้นก็จับสังข์คว่ําลงบ้าง ตะแคงซ้าย ตะแคง ขวาบ้าง ยกขึ้นตั้งบ้าง ตั้งเอาหัวลงบ้าง ทุบด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ด้วยท่อนไม้ ด้วยศัสตราบ้างลากมาทางนี้ ลากไปทางโน้น ลากไป ลากมาบ้าง สั่งว่า พูดซิพ่อสังข์ พูดซิพ่อสังข์. สังข์นั้นก็ไม่ออกเสียงอยู่นั่นเอง. ท่านพระยา คนเป่าสังข์คิดอยู่ในใจว่า คนชาวชนบทชายแดนพวกนี้ ช่างเขลาแท้ ค้นหา เสียงสังข์โดยไม่ถูกทาง จักพบได้อย่างไร. เมื่อคนเหล่านั้นกําลังเพ่งพินิจอยู่ คนเป่าสังข์ก็จับสังข์เป่า ๓ ครั้งแล้ววางสังข์เดินไปเสีย. ท่านพระยา คนชาว ชนบทชายแดนเหล่านั้น ก็คิดได้ว่า เมื่อใด สังข์ประกอบด้วยคน ๑ ความพยายาม ๑ และลม ๑ เท่านั้น สังข์จึงจะออกเสียงได้ แต่ว่า เมื่อใด สังข์ไม่ประกอบด้วยคน ความพยายามและลม เมื่อนั้น สังข์นี้ก็ไม่ออกเสียง ข้ออุปมานั้นฉันใด ท่านพระยา ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้น เมื่อใดร่างกายนี้ ประกอบ ด้วยอายุ ๑ ไออุ่น ๑ และวิญญาณ ๑ เมื่อนั้น ร่างกายนี้ ก็เดินไปข้างหน้าบ้าง ถอยกลับบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง เห็นรูปทางจักษุบ้าง ฟังเสียงทางโสตบ้าง สูดกลิ่นทางฆานะบ้าง ลิ้มรสทางชิวหาบ้าง ถูกต้องสิ่งที่พึงถูกต้อง ทางกายบ้าง รู้เรื่องทางมนะบ้าง แต่ว่าเมื่อใด ร่างกายนี้ไม่ประกอบด้วยอายุ ไออุ่น และวิญญาณ เมื่อนั้นร่างกายนี้ก็ก้าวไปไม่ได้ ถอยกลับไม่ได้ ยืนไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนไม่ได้ เห็นรูปทางจักษุไม่ได้ ฟังเสียงทางโสตะไม่ได้ สูดกลิ่น ทางฆานะไม่ได้ ลิ้มรสทางชิวหาไม่ได้ ถูกต้องสิ่งที่พึงถูกต้องทางกายไม่ได้ รู้เรื่องทางมนะไม่ได้ ท่านพระยา โดยปริยายนี้นี่แล จงเห็นเถิดว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นมี สัตว์ผุดเกิดมี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วมี

    จบปฐมภาณวาร

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 386

ว่าด้วยการค้นหาชีวะโจรอีกเรื่องหนึ่ง

[๓๑๖] พระยาปายาสิ. ท่านกัสสปกล่าวอย่างนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ในข้อนี้ ข้าพเจ้ายังยืนยันความเห็นที่ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี.

พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ยังมีปริยายที่ยืนยันความเห็นของ ท่านพระยาอีกหรือ มีปริยายเหมือนอย่างไรเล่า.

พระยาปายาสิ. มีซิ ท่านกัสสป เจ้าหน้าที่ของข้าพเจ้าจับโจรผู้กระทําผิดมาแสดงแก่ข้าพเจ้า และขอให้ข้าพเจ้าสั่งลงโทษ ข้าพเจ้าก็สั่งเจ้าหน้าที่ ให้เฉือนผิวหนังของโจรนั้นด้วยหมายจะดูชีวะของมัน ก็ไม่เห็น ให้เฉือนหนัง เฉือนเอ็น เฉือนกระดูก เฉือนเยื่อในกระดูก ก็ไม่เห็นชีวะของมันเลย. ท่านกัสสป ปริยายนี้นี่แล เป็นเครื่องยืนยันความเห็นของข้าพเจ้าที่ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี

อุปมาด้วยชฏิลบําเรอไฟ

[๓๑๗] พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่างนั้น อาตมาจัก อุปมาให้ฟัง ด้วยว่าวิญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าใจอรรถของคําภาษิต ได้ด้วยข้ออุปมา. ท่านพระยา เรื่องเคยมีมาแล้ว. ชฏิลผู้บําเรอไฟผู้หนึ่ง อาศัย อยู่ ณ กุฏีมุงใบไม้ ใกล้ชายป่า. ครั้งนั้น ชนบทแห่งหนึ่งกลายเป็นที่พักของ หมู่เกวียน ไปเสียแล้ว. หมู่เกวียนนั้นพักแรมอยู่คืนหนึ่ง ใกล้ๆ อาศรมของชฏิลผู้บําเรอไฟนั้นแล้วก็ไป. ชฏิลนั้นคิดว่า ถ้ากระไร เราจะเข้าไปยังที่หมู่ เกวียนพักอยู่ อาจพบอุปกรณ์บางอย่างในที่นั้นก็ได้. ชฏิลนั้นลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ เข้าไปยังที่ๆ หมู่เกวียนพักอยู่ ก็พบกุมารเล็ก ยังสดใสนอนหงายอยู่

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 387

ซึ่งถูกทอดทิ้งไว้ ณ ที่หมู่เกวียนพัก ครั้นแล้วก็คิดว่าจะปล่อยให้มนุษย์ตาดําๆ ตายเสียต่อหน้าเรา ซึ่งกําลังพบเห็นอยู่ ไม่เป็นการสมควร ถ้ากระไร เราจะนําทารกนี้ไปชุบเลี้ยงให้เจริญเติบโต ดังนี้แล้วก็นําทารกนั้น ไปยังอาศรมไปชุบเลี้ยงเจริญเติบโต กระทั่งทารกนั้นอายุได ้๑๐ ขวบ หรือ ๑๒ ขวบ. ต่อมา ชฏิล ผู้บําเรอไฟนั้น เกิดมีกิจธุระบางอย่างในชนบท จึงสั่งเสียว่าลูกเอย พ่อประสงค์ จะไปยังชนบท อยู่ทางนี้ เจ้าบําเรอไฟไว้นะลูก อย่าให้ไฟของเจ้าดับได้ ถ้าไฟของเจ้าดับ นี้มีด นี้ไม้ นี้ไม้สีไฟ จงติดไฟบําเรอไฟไว้นะลูก. ชฏิลนั้น พร่ําสอนทารกนั้นอย่างนี้แล้ว ก็ไปยังชนบท. เมื่อเด็กนั้นเล่นเพลินไป ไฟก็ดับ เด็กนั้นก็คิดว่าพ่อสอนเราไว้อย่างนี้ว่า บําเรอไฟไว้นะลูก อย่าให้ไฟของเจ้าดับนะ ถ้าไฟดับ นี้มีด นี้ไม้ นี้ไม้สีไฟจงติดไฟ บําเรอไฟไว้ ถ้ากระไรเราจะติดไฟ บําเรอไฟไว้ ดังนี้แล้ว. เด็กนั้นก็เอามีดถากไม้สีไฟ ด้วยหมายใจว่าจะพบไฟบ้าง. แต่เด็กนั้นก็ไม่พบไฟจึงผ่าไม้สีไฟเป็น ๒ ซีก ๓ ซีก ๔ ซีก ๕ ซีก ๑๐ ซีก ๒๐ ซีก ทําให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วเอาใส่ครกโขลก ครั้นโขลก แล้ว ก็โปรยที่ลมแรงๆ ด้วยหมายใจว่า จะพบไฟบ้าง. แต่เด็กนั้นก็ไม่พบไฟ อยู่นั่นเอง. คราวนั้น ชฏิลผู้บําเรอไฟนั้น ทํากิจธุระนั้นในชนบทเสร็จแล้วก็ กลับมา เข้าไปยังอาศรมถามเด็กนั้นว่า ไฟของเจ้าดับเสียแล้วหรือลูก. เด็กนั้น ก็ตอบว่า จะพ่อ ข้ามัวเล่นเสียเพลินไฟเลยดับ ข้าคิดว่าพ่อสั่งให้ข้าบําเรอไฟไว้ และสอนว่าเมื่อไฟดับ นี้มีด นี้ไม้ นี้ไม้สีไฟ ให้ติดไฟบําเรอไฟไว้ ข้าตั้ง ใจจะติดไฟบําเรอไฟ จึงเอามีดถากไม้สีไฟ ก็ไม่พบไฟ จึงผ่าไม้สีไฟเป็น ๒ ซีก ๓ ซีก ๔ ซีก ๕ ซีก ๑๐ ซีก ๒๐ ทําเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วเอาโขลก ในครกโขลกแล้ว ก็โปรยในที่ๆ มีลมแรงๆ ก็ไม่พบไฟจนแล้วจนรอด ชฏิลผู้บําเรอไฟนั้น ก็คิดว่า เจ้าเด็กนี้เขลา ไม่ฉลาดเสียเลย จักค้นหาไฟโดยอุบายไม่แยบคายได้อย่างไร จึงจับไม้สีไฟติดไฟต่อหน้าเด็ก ซึ่งจ้องมองดูอยู่แล้ว

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 388

พูดกะเด็กนั้นว่า เขาติดไฟกันอย่างนี้ ไม่เหมือนเจ้าซึ่งยังเขลาไม่ฉลาด ค้นหาไฟ โดยอุบายไม่แยบคาย อย่างลูกดอก. ท่านพระยา ข้ออุปมานั้นฉันใด ข้ออุปมัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านพระยา เขลาไม่ฉลาด ค้นหาโลกอื่น โดยอุบายไม่แยบคาย โปรดสละความเห็นชั่วนั้นเสียเถิด ท่านพระยา โปรดสละความ เห็นชั่วนั้นเสียเกิด ท่านพระยา ขอความเห็นชั่วนั้นอย่าได้มีแก่ท่านพระยา เพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานเลย.

[๓๑๘] พระยาปายาสิ. ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ดี ข้าพเจ้าก็ไม่อาจสละความเห็นชั่วนี้ได้ดอก ทั้งพระเจ้าปเสนทิโกศล ทั้งพระราชาภายนอก ย่อมรู้จักข้าพเจ้าว่า พระยาปายาสิ มีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทํา ดีทําชั่วไม่มีดังนี้. ท่านกัสสป ถ้าหากว่าข้าพเจ้าจักสละความเห็นชั่วนี้ไซร้ ทั้งพระเจ้าปเสนทิโกศล ทั้งพระราชาภายนอก ก็จักกล่าวเอากับข้าพเจ้าได้ว่า พระยาปายาสิ ช่างเขลา ไม่ฉลาด ยึดถือความเห็นแต่ที่ชั่ว ข้าพเจ้าก็จักใช้ทิฏฐินั้น ด้วยความโกรธบ้าง ด้วยความลบหลู่บ้าง ด้วยความตีเสมอบ้าง.

อุปมาด้วยนายกองเกวียน

[๓๑๙] พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่างนั้น อาตมาจักอุปมาให้ฟัง ด้วยว่าวิญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าใจอรรถของคําภาษิต ด้วยข้ออุปมา. ท่านพระยา เรื่องเคยมีมาแล้ว. พ่อค้าเกวียนหมู่ใหญ่ มีเกวียน ประมาณพันเล่ม ออกจากชนบททิศตะวันออก เดินทางไปทิศตะวันตก. กอง เกวียนกําลังเดินอยู่นั้น หญ้า น้ำ และไม้ ใบไม้สด ก็สิ้นเปลืองอย่างรวดเร็ว. ในกองเกวียนนั้น มีนายกองเกวียนสองคน คุมกองเกวียนคนละห้าร้อยเล่ม. สอง

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 389

นายกองเกวียนปรึกษากันว่า กองเกวียนนี้ใหญ่ มีเกวียนถึงพันเล่ม จําเราจะ แบ่งกองเกวียนนี้ออกเป็นสองกอง กองละห้าร้อยเล่ม. แล้วทั้งสองนายกองเกวียน ก็แบ่งกองเกวียนออกเป็นสองกองเท่าๆ กัน. นายกองเกวียนคนหนึ่ง ก็บรรทุกหญ้า ไม้ และน้ำ เป็นอันมากพากองเกวียนเดินทางไปก่อน. กองเกวียนนั้น เดินทางไปสอง-สามวัน ก็พบบุรุษตัวดําตาแดงสะพายแล่งธนู คล้องพวงมาลัยดอกโกมุท มีผ้าเปียกผมเปียก กําลังเดินส่วนทางมาด้วยรถคันงาม มีล้อ เปื้อนโคลน ครั้นแล้วจึงถามเขาว่าพ่อมหาจําเริญ ท่านมาแต่ไหน. บุรุษตัวดํา ตอบว่าข้ามาแต่ชนบทโน้น. ถามว่า จะไปไหนล่ะ. ตอบว่า จะไปยังชนบทโน้น. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ในทางกันดารข้างหน้าฝนตกชุกบ้างไหม พ่อมหาจําเริญ. ตอบว่า อย่างนั้นจะ ในทางกันดารข้างหน้า ฝนตกชุก หนทางก็ มีน้ำบริบูรณ์ หญ้า ไม้ และน้ำก็มีมาก โปรดทิ้งหญ้าไม้และน้ำของเก่าเสียเถิดนาย เกวียนมีภาระเบา จะไปได้เร็วๆ ยานพา หนะอย่าลําบากเลย. นายกองเกวียนนั้น ก็เรียกพวกลูกเกวียนมาปรึกษาว่า พ่อคุณ บุรุษผู้นี้พูดว่า ทางกันดารข้างหน้า ฝนตกชุก หนทางมีน้ำบริบูรณ์ หญ้า ไม้ และน้ำมีมาก ให้เราทิ้งหญ้า ไม้และน้ำของเก่าเสีย เกวียนบรรทุกเบาจะไปได้เร็ว ยานพาหนะก็ไม่ลําบาก ดังนี้แล้ว สั่งลูกเกวียนให้ทิ้งหญ้า ไม้ และน้ำของเก่าเสีย เกวียนก็มีภาระบรรทุกเบา พากองเกวียนเดินทางไปในที่พักกองเกวียนระยะแรก พวกเขาก็ไม่เห็น หญ้า ไม้ และน้ำ ในที่พักกองเกวียนระยะที่สอง-สาม-สี่-ห้า-หก แม้ระยะที่เจ็ด ก็ไม่พบเช่นเดียวกัน พวกเขาทั้งหมดต้องถึงความพินาศย่อยยับไป ผู้คนหรือ ปศุสัตว์ทั้งหลายที่มีอยู่ในกองเกวียนนั้น. ยักษ์ผู้เป็นอมนุษย์นั้นก็กินเป็นภักษาหมด. เหลือแต่กระดูกเท่านั้น. นายกองเกวียนคนที่สอง รู้ว่ากองเกวียนที่หนึ่งนั้นไปนานแล้ว ก็บรรทุกหญ้า ไม้ และน้ำ เป็นอันมาก พากองเกวียนเดินทางไป กองเกวียนที่สองนั้นเดินทางไปได้สอง-สามวัน ก็ได้พบบุรุษตัวดําตาแดง

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 390

สะพายแล่งธนู คล้องพวงมาลัยดอกโกมุท ผ้าเปียกผมเปียก เดินสวนทางมา ด้วยรถคันงาม มีล้อเปื้อนโคลน ครั้นแล้วจึงถามบุรุษตัวดํานั้นว่า พ่อมหาจําเริญ ท่านมาแต่ไหน. บุรุษตัวดําตอบว่า ข้ามาแต่ชนบทโน้น. ถามว่าจะ ไปไหนล่ะ. ตอบว่า จะไปยังชนบทโน้น. ถามว่า ทางกันดารข้างหน้า มีฝน ตกชุกไหม. ตอบว่า ฝนตกชุกเชียวละ หนทางก็มีน้ำบริบูรณ์หญ้า ไม้ และน้ำก็มีมาก โปรดทิ้งหญ้า ไม้ และน้ำ ของเก่าเสียเถิดจะนาย เกวียนมีภาระเบา ก็จะ ไปได้เร็วๆ อย่าให้ยานพาหนะลําบาก. ครั้งนั้นนายกองเกวียนคนนั้น จึง เรียกพวกลูกเกวียนมาปรึกษาว่า พ่อคุณ บุรุษผู้นี้บอกว่า ทางกันดารข้างหน้า มีฝนตกชุก หนทางมีน้ำบริบูรณ์ หญ้า ไม้ และน้ำมีมาก ขอให้ทิ้งหญ้า ไม้ และน้ำ ของเก่าเสีย เกวียนมีภาระเบา จะไปได้เบา จะไปได้เร็วๆ อย่าให้ยานพาหนะ ลําบากดังนี้พ่อคุณ บุรุษผู้นี้ไม่ได้เป็นมิตร ญาติสาโลหิตของเราๆ จักเชื่อเขาได้อย่างไร เราไม่ควรทิ้งหญ้า ไม้ และน้ำของเก่า แล้วสั่งบรรดาลูกเกวียนให้พา กองเกวียนไปด้วยสิ่งของตามที่บรรทุกไว้แล้ว ห้ามไม่ให้ทิ้งหญ้า ไม้ และน้ำของเก่าเป็นอันขาด. พวกลูกเกวียนรับคําสั่งแล้ว. ก็พากองเกวียนไปพร้อมด้วยสิ่งของที่บรรทุกไว้. ไม่ทิ้งของเก่าเลย ในที่ที่พักกองเกวียนระยะแรก พวกเขาก็ ไม่พบหญ้า ไม้ และน้ำ แม้ในระยะที่สอง-สาม-สี่-ห้า-หก และแม้ระยะที่เจ็ด ก็ไม่เห็นหญ้าไม้และน้ำ พบแต่กองเกวียนนั้นประสบความพินาศย่อยยับสิ้น. พบแต่กระดูกของมนุษย์และปศุสัตว์ ที่มีอยู่ในกองเกวียนนั้นเท่านั้น พวกเขา ถูกยักษ์ผู้เป็นอมนุษย์นั้นกินเป็นภักษาเสียหมดสิ้น. ครั้งนั้น นายกองเกวียน นั้นจึงเรียกบรรดาลูกเกวียนมาปรึกษาว่า พ่อคุณเอย กองเกวียนนั้นนั่นแล มีนายกองเกวียนโง่เขลาเป็นผู้นํา จึงประสบความพินาศย่อยยับ พ่อคุณเอย ถ้าอย่างนั้น สิ่งของอันใดในกองเกวียนของเรามีสาระน้อย ก็จงทิ้งมันเสีย สิ่งใด อันใดในกองเกวียนที่หนึ่งนี้มีสาระมาก พวกเราก็จงช่วยกันขนมันไป. พวกลูก

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 391

เกวียนก็ปฏิบัติตามด้วยดี ทิ้งของที่มีสาระน้อยเสีย ขนไปแต่สิ่งของที่มีสาระมาก ก็ข้ามทางกันดารไปโดยสวัสดี เพราะมีนายกองเกวียนผู้ชาญฉลาดเป็นผู้นํา. ท่านพระยา ข้ออุปมานั้นฉันใด ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านพระยาเป็นผู้เขลาไม่ฉลาด ค้นหาโลกอื่นโดยอุบายไม่แยบคายก็จักถึงความพินาศย่อยยับ เปรียบเหมือนบุรุษนายกองเกวียนนั้น แม้พวกคนที่เชื่อฟังท่านพระยา ก็จักพลอยถึงความพินาศย่อยยับไปเหมือนพวกลูกเกวียนฉะนั้น ท่านพระยา โปรดสละความเห็นชั่วนั้นเสียเถิด ขอความเห็นชั่วนั้นอย่าได้มีแก่ท่านพระยา เพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนานเลย.

[๓๒๐] พระยาปายาสิ. ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ข้าพเจ้าก็ไม่อาจสละความเห็นชั่วนี้ได้ดอก ทั้งพระเจ้าปเสนทิโกศล ทั้งพระราชาภายนอก ก็ทรงรู้จักข้าพเจ้าว่าพระยาปายาสิ มีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มีสัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี ท่านกัสสป ถ้าหากว่าข้าพเจ้าจักสละความเห็นชั่วนี้เสียไซร้ ทั้งพระเจ้าปเสนทิโกศล ทั้งพระราชาภายนอก ก็จักทรงว่ากล่าวเอาแก่ข้าพเจ้าว่า พระยาปายาสิ ช่างเขลา ไม่ฉลาด ยึดถือเอาแต่ความเห็นที่ชั่ว ข้าพเจ้าก็จะใช้ทิฏฐินั้นด้วยความโกรธบ้าง ด้วยความลบหลู่บ้าง ด้วยความตีเสมอบ้าง.

อุปมาด้วยคนเทินห่อคูถ

[๓๒๑] พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่างนั้นอาตมาจักอุปมาให้ฟัง ด้วยว่าวิญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าใจอรรถของคําภาษิต ด้วยข้ออุปมา. ท่านพระยา เรื่องเคยมีมาแล้ว บุรุษผู้เลี้ยงสุกรคนหนึ่ง ออกจากบ้านไปยังบ้านตําบลอื่น พบคูถที่แห้งเป็นอันมากเขาทิ้งไว้ในหมู่บ้าน

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 392

นั้น ครั้นแล้วจึงคิดว่าคูถแห้งที่เขาทิ้งไว้นี้มากพอจะเป็นอาหารของสุกรของเรา ได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะขนคูถแห้งไปจากบ้านนี้ ดังนี้แล้วก็คลี่ผ้าห่มลง เอาคูถแห้งใส่แล้วผูกเป็นห่อยกเทินไว้บนศีรษะ ออกเดินไป. ในระหว่างทาง เกิดเมฆฝนที่มิใช่ฤดูกาลตกลงมาห่าใหญ่. เขาเปรอะเปื้อนไปด้วยคูถตลอดถึง ปลายเล็บเขาเอาห่อคูถซึ่งล้นไหลเดินไปเรื่อยๆ พวกผู้คนเห็นเขาก็พากันพูดว่า พ่อคุณเจ้านี่เป็นบ้าหรือ เสียจริตไปแล้วหรือ เจ้าเปรอะเปื้อนด้วยคูถจนถึงปลายเล็บ ยังจะนําห่อคูถที่ไหลเลอะไปอีก. เขาก็ตอบไปบ้างว่า พวกเจ้านะซิเป็น บ้าหรือเสียจริต ก็นี่มัน เป็นอาหารสุกรของข้านี่นา. ท่านพระยาก็ข้ออุปมานั้น ฉันใด แม้ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านพระยาน่าจะรู้ตัวว่า ท่านเหมือนคนเทินห่อคูถ ท่านพระยาโปรดสละความเห็นชั่วนั้นเสียเถิด ท่านพระยาโปรดสละความเห็นซั่วนั้นเสียเถิดขอความเห็นชั่วนั้นอย่าได้มีแก่ท่านพระยา เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนานเลย.

[๓๒๒] พระยาปายาสิ. ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ข้าพเจ้าก็ไม่อาจสละความเห็นชั่วนี้ได้ดอก ทั้งพระเจ้าปเสนทิโกศล ทั้งพระราชาภายนอก ย่อมรู้ว่าพระยาปายาสิ มีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี. ท่านกัสสป ถ้าหากข้าพเจ้าจักสละความเห็นชั่วนี้เสียไซร้ ทั้งพระเจ้าปเสนทิโกศล ทั้งพระราชาภายนอก ก็จักว่ากล่าวเอาแก่ข้าพเจ้าว่าพระยาปายาสิ ช่างเขลา ไม่ฉลาด ยึดถือความเห็นแต่ที่ชั่วดังนี้ ข้าพเจ้าก็จักใช้ทิฏฐินั้นด้วยความโกรธบ้าง ด้วยความลบหลู่บ้าง ด้วยความตีเสมอบ้าง.

อุปมาด้วยนักเลงสะกา

[๓๒๓] พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่านั้นอาตมาจักอุปมา ให้ฟังด้วยว่า วิญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าใจอรรถของคําภาษิตด้วยข้อ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 393

อุปมา. ท่านพระยา เรื่องเคยมีมาแล้ว นักเลงสะกาสองคนเล่นการพนันสะกากัน นักเลงสะกาคนหนึ่ง กลืนเบี้ยแพ้ที่ทอดมาแล้วมาอีกเสีย. นักเลงสะกาคน ที่สอง เห็นดังนั้น จึงกล่าวกะนักเลงสะกาคนที่หนึ่งว่า เพื่อน เจ้าชนะข้างเดียว โปรดให้ลูกสะกาแก่ข้าเถิด ข้าจักเซ่นบูชา. นักเลงสะกาคนที่สองก็รับคําว่า ได้ซิเพื่อน แล้วมอบลูกสะกาให้เพื่อนนักเลงสะกาคนที่หนึ่งไป. นักเลงสะกาคนหนึ่งก็เอายาพิษอาบลูกสะกา แล้วพูดชวนว่า มาซิ เพื่อน มาเล่นพนันสะกากัน. นักเลงสะกาคนที่สองก็รับคําว่า ได้ซิเพื่อน. เพื่อนนักเลงสะกาทั้งสอง ก็เล่นพนันสะกากันเป็นหนที่สอง. แม้ในหนที่สอง นักเลงสะกาคนที่สองก็กลืน เบี้ยแพ้ที่ทอดมาแล้วมาเล่าอีก. เพื่อนนักเลงสะกาคนที่หนึ่งเห็นดั่งนั้น จึงกล่าวกะเพื่อนนั้นว่า

    [๓๒๔] ลิตฺตํ ปรเมน เตชสา คิลมกฺขํ ปุริโส น พุชฺฌติ คิลเร ปาปธุตฺตา กปณา เต กฏกํ ภวิสฺสติ

    บุรุษกลืนกินลูกสะกา ซึ่งอาบด้วยยาพิษ มีฤทธิ์ร้ายแรงหารู้สึกตัวไม่นักเลง ชั่วผู้น่าสงสารกลืนกินยาพิษเข้าไป ความเร่าร้อนจักต้องมีแก่เจ้า ดังนี้.

    [๓๒๕] ท่านพระยา ข้ออุปมานั้นฉันใด ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านพระยาน่าจะรู้ตัวว่า ท่านพระยาเปรียบเหมือนนักเลงสะกา ท่านพระยา โปรดสละความเห็นชั่วนั้นเสียเถิด ท่านพระยาโปรดสละความเห็นชั่วนั้นเสียเถิด ขอความเห็นชั่วนั้นอย่าได้มีแก่ท่านพระยา เพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ ความทุกข์ตลอดกาลนานเลย.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 394

[๓๒๖] พระยาปายาสิ. ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ข้าพเจ้าก็ไม่อาจสละความเห็นชั่วนี้ได้ดอก ทั้งพระเจ้าปเสนทิโกศล ทั้งพระราชาภายนอก ก็ย่อมรู้จักว่าพระยาปายาสิ มีวาทะ มีความเห็นอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี ท่านกัสสป ถ้าหากข้าพเจ้าจักสละความเห็นชั่วนี้เสียไซร้ ทั้งพระเจ้าปเสนทิโกศล ทั้งพระราชาภายนอก จักว่ากล่าวเอาแก่ข้าพเจ้าว่า พระยาปายาสิ ช่างเขลา ไม่ฉลาด ยึดถือความเห็นแต่ที่ชั่ว ดังนี้ ข้าพเจ้าก็ใช้ทิฏฐินั้นด้วยความโกรธ บ้าง ด้วยความลบหลู่บ้าง ด้วยความตีเสมอบ้าง.

อุปมาด้วยคนหอบป่าน

[๓๒๗] พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ถ้าอย่างนั้น อาตมาจักอุปมาให้ฟัง ด้วยว่าวิญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าใจอรรถแห่งคําภาษิตด้วยข้ออุปมา. ท่านพระยา เรื่องเคยมีมาแล้ว ชนบทแห่งหนึ่งตั้งขึ้นแล้ว. ครั้งนั้น สหายคนหนึ่งพูดชวนสหายคนหนึ่งว่า มาเถิดเพื่อน เราจักไปทางชนบทนั้น ถ้าโชคดีคงจะพบทรัพย์อะไรๆ ที่ชนบทแห่งนั้นกันบ้าง. สหายก็รับคําว่า ไป ซิเพื่อน. สองสหายเข้าไปยังทางหมู่บ้านแห่งหนึ่งของชนบท ได้พบป่านเป็น อันมากที่เขาทิ้งไว้ ณ หมู่บ้านนั้น ครั้นแล้ว ก็เรียกเพื่อนมาบอกว่า เพื่อนนี้ป่านเป็นอันมาก เขาทิ้งแล้ว เจ้าจงมัดห่อป่านของเจ้า ข้าก็จักมัดห่อป่านของข้า เราสองคนจักหอบห่อป่านไปกันนะ. สหายก็รับคํา เอาซิเพื่อน แล้วหอบห่อป่านไป. สองสหายหอบห่อป่านเข้าไปยังทางหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง พบด้ายป่านเป็นอันมาก ที่เขาทิ้งไว้ ณ บ้านแห่งนั้น. ครั้นแล้ว สหายก็เรียกสหายมาบอกว่า เพื่อน เราปรารถนาป่านเพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนี้ก็คือด้ายป่านที่เขา

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 395

ทิ้งมากมาย เพื่อน ถ้าอย่างนั้นเจ้าจงทิ้งห่อป่านเสียข้าก็จักทิ้งห่อป่านเหมือนกัน เราทั้งสองจักแบกมัดด้ายป่านไปกันนะ. สหายอีกคนหนึ่งบอกว่า เพื่อน ห่อป่านนี้ เราหอบมากันไกลแล้ว ทั้งก็มัดไว้ดีแล้วด้วย ข้านะพอแล้วละ เจ้าจงรู้ไว้ด้วย. สหายคนนั้น ก็ทิ้งห่อป่านเสียแล้ว ถือเอาด้ายป่านไป. สองสหายเข้าไปยัง หมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง พบผ้าป่านเป็นอันมาก ที่เขาทิ้งไว้ ณ บ้านแห่งนั้น. ครั้นแล้ว สหายก็เรียกสหายมาบอกว่า เพื่อน เราปรารถนาป่านหรือด้ายป่านเพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนี้ก็คือผ้าป่านที่เขาทิ้งไว้มากมาย เพื่อน ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงทิ้งห่อป่านเสีย เราก็จักทิ้งมัดด้ายป่านเสียเหมือนกัน เราทั้งสองจักถือเอาห่อผ้าป่านไปกันนะ. สหายอีกคนหนึ่งก็บอกว่า เพื่อน ห่อป่านของข้านี้ ข้าหอบมาไกลแล้วทั้งก็มัดไว้ดีแล้วด้วย ข้านะพอแล้ว เจ้าจงรู้ไว้ด้วย. สหายคนนั้น ก็ทิ้งมัดด้ายป่านเสียแล้ว หอบห่อผ้าป่านไป. สองสหายเข้าไปยังทาง หมู่บ้าน อีกแห่งหนึ่ง ก็พบเปลือกไม้เป็นอันมาก ที่เขาทิ้งไว้ณ บ้านแห่งนั้น. แล้วก็พบด้ายเปลือกไม้ที่เขาทิ้งไว้มากมาย พบผ้าเปลือกไม้ พบฝ้าย พบด้ายฝ้าย พบผ้าฝ้าย พบเหล็ก พบโลหะ พบดีบุก พบสําริด พบเงิน ในที่สุด พบทอง. สหายคนที่หนึ่งจึงเรียกสหายคนที่สองชวนว่า นี่แน่ะ เพื่อน เรามา แสวงโชคเพื่อประโยชน์แก่สิ่งอันใด ไม่ว่าจะเป็นป่าน ด้ายป่าน ผ้าป่าน เปลือกไม้ ด้ายเปลือกไม้ ผ้าเปลือกไม้ ฝ้าย ด้ายฝ้าย ผ้าฝ้าย หรือเหล็ก โลหะ ดีบุก สําริด หรือเงิน ทองที่เขาทิ้งไว้มากมายถ้าอย่างนั้น เจ้าจงทิ้งห่อป่านเสียเถิด ข้าก็จักทิ้งห่อเงิน เราทั้งสองก็จะแบก ห่อทองพากัน ไป. สหายคนที่สองพูดว่า เพื่อนเอย ห่อป่านนี้นะ ข้าหอบมา ไกลแล้วทั้งก็มัดไว้ดีด้วย ข้าน่ะพอแล้ว เจ้าจงรู้ไว้ด้วย. คราวนั้น สหายคนที่หนึ่ง จึงทิ้งห่อเงินเสียแล้ว แบกเอาห่อทองไป. ทั้งสองสหายก็พากันกลับบ้าน ของตน. ในสองสหายนั้น สหายคนที่สองนั้นแบกห่อป่านไปบ้าน บิดามารดา

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 396

ของเขามิได้ดีใจด้วยเลย บุตรภริยา มิตรสหายก็ไม่ดีใจ เขาไม่ได้ประสบ ความสุขโสมนัส เพราะห่อป่านของเขานั้น. ส่วนสหายคนที่หนึ่ง แบกห่อทอง ไปบ้าน บิดามารดาของเขาก็ดีใจ ทั้งบุตรภริยา ทั้งมิตรสหาย ก็พากันดีใจ ไปด้วย เขาได้ประสบความสุขโสมนัสเพราะห่อทองของเขานั้น. ท่านพระยา ข้ออุปมานั้นฉันใด แม้ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านพระยาน่าจะรู้ตัวดีว่า ท่านพระยาเปรียบเหมือนสหายคนหอบห่อป่าน ท่านพระยาโปรดสละความเห็นชั่วนั้นเสียเถิด ขอความเห็นชั่วนั้น อย่าได้มีแก่ท่านพระยา เพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนานเลย.

พระยาปายาสิขอคําแนะนําบูชามหายัญ

[๓๒๘] พระยาปายาสิ. ด้วยข้ออุปมาข้อแรกของท่านกัสสป ข้าพเจ้า ก็เริ่มดีใจอย่างยิ่งแล้ว แต่ข้าพเจ้าประสงค์จะฟังปฏิภาณแห่งปัญหาอันวิจิตร เหล่านั้น จึงทําท่าทีโต้แย้งคัดค้านท่านกัสสป ปัญหาปฏิภาณช่างไพเราะจับใจจริงๆ ท่านกัสสปประกาศธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก แจ่มแจ้งเหมือนหงายของที่คว่ํา เปิดของที่ปิด ชี้ทางแก่ผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยหมายใจจะให้ผู้มีจักษุมองเห็นรูป ได้ชัดเจนฉะนั้น ท่านกัสสปข้าพเจ้านี้ขอถึง ท่านพระโคดม ทั้งพระธรรม ทั้งพระสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอท่านกัสสป โปรด ทรงจําข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ถึงสรณะตลอดชีวิต นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป. อนึ่ง ข้าพเจ้าประสงค์จะบูชามหายัญ ขอท่านกัสสปโปรดสั่งสอนแนะข้าพเจ้า ในเรื่องที่จะพึงเป็นประโยชน์เกื้อกูลความสุขแก่ข้าพเจ้าตลอดกาลนานด้วยเถิด.

พระกุมารกัสสป. ท่านพระยา ในยัญเห็นปานใด เหล่าโคจะต้อง ถูกฆ่า เหล่าแพะ แกะจะต้องถูกฆ่า ไก่ และสุกรจะต้องถูกฆ่า เหล่าสัตว์มีชีวิต

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 397

ต่างๆ จะต้องถึงฆาต ทั้งปฏิคาหกก็เป็นผู้มีความเห็นผิด ดําริผิด พูดผิด ทําผิด เลี้ยงชีพผิด พยายามผิด ระลึกผิด ตั้งใจผิด. ท่านพระยา ยัญเห็น ปานนั้นแล ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีผลรุ่งเรืองมาก ไม่มีผลไพศาล. ท่านพระยา เปรียบเหมือนชาวนา ถือเมล็ดพืชและไถเข้าไปป่า ในป่านั้น เขาพึงปลูกเมล็ดพืชที่หัก ที่เสีย ต้องลมและแดด ไม่มีแก่น แห้งไม่สนิท ลงในนาเลวที่มีดินเลว ยังไม่ได้แผ้วถางตอและหนามออก ทั้งฝนก็ไม่ตกต้องตาม ฤดูกาล พืชเหล่านั้นจะพึงเจริญงอกงามเต็มที่ หรือชาวนาพึงประสบผลไพบูลย์ได้หรือ.

    พระยาปายาสิ. ท่านกัสสป ไม่พึงประสบผลไพบูลย์อย่างนั้นดอก.

    พระกุมารกัสสป. ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านพระยา ยัญที่ต้องฆ่าโค แพะ แกะ ไก่ สุกร หรือเหล่าสัตว์ต่างๆ ต้องถึงความพินาศ และปฏิคาหกก็เป็นผู้มีความเห็นผิด ดําริผิด เจรจาผิดการงานผิด เลี้ยงชีพผิด พยายามผิด ระลึกผิด ตั้งใจผิดเช่นนี้ ย่อมไม่มีผลใหญ่ ไม่มีอานิสงส์ใหญ่ ไม่มีความรุ่งเรืองใหญ่ ไม่แพร่หลายใหญ่.

    ดูก่อนท่านพระยา ส่วนยัญที่มิต้องฆ่าแพะ แกะ ไก่ สุกร หรือ เหล่าสัตว์ต่างๆ ไม่ต้องถึงความพินาศ และปฏิคาหกก็เป็นผู้มีความเห็นชอบ ดําริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งมั่นชอบ เช่นนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ มีความรุ่งเรืองใหญ่ แพร่หลายใหญ่ เปรียบเหมือนชาวนาถือเอาพืชและไถไปสู่ป่า เขาพึงหว่านพืชที่ไม่หัก ไม่เสีย ไม่ถูกลมแดดแผดเผา อันมีแก่นแห้งสนิท ลงในนาไร่อันดี เป็นพื้นที่ดี แผ้วถางตอและหนามหมดดีแล้ว ทั้งฝนก็ตกชะเชยโดยชอบตามฤดูกาล พืชเหล่านั้นจะพึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์หรือหนอ ชาวนาจะพึง ได้รับผลอันไพบูลย์หรือ.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 398

เป็นอย่างนั้น ท่านกัสสป.

พระกุมารกัสสป. ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านพระยา ยัญที่มิต้องฆ่าโค แพะ แกะ ไก่ สุกร หรือเหล่าสัตว์ต่างๆ ไม่ต้องถึงความพินาศและปฏิคาหกก็เป็นผู้มีความเห็นชอบ ดําริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งมั่นชอบ เช่นนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ มีความรุ่งเรืองใหญ่ แพร่หลายใหญ่.

การให้ทานของพระยาปายาสิ

[๓๒๙] ครั้งนั้น ท่านพระยาปายาสิ ตั้งทานสําหรับสมณพราหมณ์ คนเข็ญใจ คนเดินทางวณิพก และยาจกทั้งหลาย. แต่ในทานนั้นแล เขาให้โภชนะเป็นข้าวปลายเกรียน มีน้ำส้มพะอูมเป็นกับ และผ้าผืนเล็กๆ ผ้าเปื้อน น้ำอ้อย. อนึ่ง ในทานนั้น อุตตรมาณพเป็นผู้จัดการให้ทานอุทิศแล้วอย่างนี้ว่า ด้วยทานนี้ ขอข้าพเจ้าได้พบกับพระยาปายาสิเฉพาะในโลกนี้เท่านั้น อย่าพบในโลกอื่นเลย. พระยาปายาสิได้ยินว่า เขาว่าอุตตรมาณพให้ทานอุทิศอย่างนี้ว่า ด้วยทานนี้ ข้าพเจ้าพบพระยาปายาสิในโลกนี้เท่านั้นเถิด อย่าพบในโลกอื่นเลย. ครั้งนั้นพระยาปายาสิ จึงเรียกอุตตรมาณพมาถามว่า พ่ออุตตรมาณพ เขาว่าเจ้าให้ทานเสร็จแล้ว อุทิศอย่างเขาว่านั้นจริงหรือ. อุตตรมาณพ ตอบว่า จริงขอรับ. ถามว่า เพราะเหตุไร พ่ออุตตรมาณพ เจ้าให้ทานแล้วจึงอุทิศอย่างนั้น ข้าไม่ต้องการบุญ หวังผลของทานเท่านั้นหรือ. ตอบว่า ท่านขอรับ ท่านพระยาให้โภชนะ คือข้าวปลายเกรียน มีน้ำส้มพะอูมเป็นกับในทาน ท่าน พระยายังไม่ปรารถนาจะแตะต้องแม้แต่เท้า ท่านพระยาจะบริโภคได้อย่างไร ทั้งผ้าก็ผืนเล็กๆ เปื้อนน้ำอ้อย ท่านพระยายังไม่ปรารถนาจะแตะต้องแม้แต่เท้า

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 399

ไฉนจะนุ่งห่มได้เล่า ก็ท่านพระยาเป็นที่รักที่พึงใจของพวกเรา พวกเราจะช่วยท่านพระยาผู้น่ารักน่าพึงใจ โดยอาการที่ไม่น่าพึงใจอย่างไรได้. ท่านพระยาปายาสิกล่าวว่า พ่ออุตตระ ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงจัดโภชนะอย่างที่ข้าบริโภคจงจัดผ้าผ่อนอย่างที่ข้านุ่งห่ม. อุตตรมาณพ รับคําของพระยาปายาสิแล้วจัดโภชนะอย่างที่ท่านพระยาปายาสิบริโภค จัดผ้าผ่อนอย่างที่ท่านพระยาปายาสินุ่งห่ม. ครั้งนั้น พระยาปายาสิ ให้ทานโดยไม่เคารพ ให้ทานไม่ใช่ให้ด้วยมือของตนเอง ให้ทานโดยไม่นอบน้อม ให้ทานแบบทิ้งๆ ขว้างๆ ครั้นตายแล้วก็เข้าถึง ความเป็นสหายของเหล่าเทพชั้นจาตุมหาราช มีเสรีสกวิมานอันว่างเปล่า. ส่วนอุตตรมาณพผู้จัดการในทานของพระยาปายาสินั้น ให้ทานโดยเคารพ ให้ทานด้วยมือของตนเอง ให้ทานโดยนอบน้อม ให้ทานไม่ใช่ทิ้งๆ ขว้างๆ ครั้นตายแล้วก็เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เป็นสหายของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์.

เรื่องพระควัมปติเถระ - เทพบุตรปายาสิ

[๓๓๐] สมัยนั้น ท่านพระควัมปติ ไปพักกลางวัน ณ เสรีสกวิมาน อันว่างเปล่าเนืองๆ. ครั้งนั้น ปายาสิเทพบุตร เข้าไปหาท่านพระควัมปติ กราบแล้วยืน ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. ท่านพระควัมปติจึงถามปายาสิเทพบุตรว่า ผู้มีอายุ ท่านเป็นใคร. ปายาสิเทพบุตร ตอบว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้า คือ พระยาปายาสิ. ถามว่า ผู้มีอายุ ท่านที่ได้มีความเห็นอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี ดังนี้นะหรือ. ตอบว่า จริงเจ้าข้า แต่ข้าพเจ้าถูกพระผู้เป็นเจ้ากุมารกัสสป เปลื้องเสียจากความเห็นอันชั่วนั้นแล้ว. ถามว่า ผู้มีอายุ ท่านอุตตรมาณพ ผู้จัดการในทานของท่านแล้ว เขาไปเกิดเสียที่ไหน. ตอบว่า ท่านเจ้าข้า

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 400

อุตตรมาณพผู้จัดการทานของข้าพเจ้าให้ทานโดยเคารพ ให้ทานด้วยมือของตนเอง ให้ทานโดยนอบน้อม ให้ทานโดยไม่ทิ้งๆ ขว้างๆ ครั้นตายแล้วก็เข้า ถึงสุคติโลกสวรรค์ เป็นสหายของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์ ท่านเจ้าข้า ส่วนข้าพเจ้า ให้ทานโดยไม่เคารพ ให้ทานโดยมิใช่โดยมือของตนเอง ให้ทานโดยไม่นอบน้อม ให้ทานทิ้งๆ ขว้างๆ ครั้นตายแล้ว เข้าถึงความเป็นสหายของ เหล่าเทพชั้นจาตุ เสรีสกวิมานอันว่างเปล่า ท่านพระควัมปติ เจ้าข้าถ้าอย่างนั้น พระคุณเจ้ากลับมนุษยโลกแล้ว โปรดบอกกล่าวคนทั้งหลายอย่างนี้ว่า พวกท่าน จงให้ทานโดยเคารพ จงให้ทานโดยมือของตนเอง จงให้ทานโดยนอบน้อม จงให้ทานอย่าทิ้งๆ ขว้างๆ พระยาปายาสิให้ทานโดยไม่เคารพ ให้ทานไม่ใช่ด้วยมือของตนเอง ให้ทานโดยไม่นอบน้อม ให้ทานทิ้งๆ ขว้างๆ ตายแล้ว ก็เข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทพชั้นจาตุมหาราช มีเสรีสกวิมานอันว่างเปล่า ส่วนอุตตรมาณพผู้จัดการทานของพระยาปายาสินั้น ให้ทานโดยเคารพ ให้ทาน ด้วยมือของตนเอง ให้ทานโดยนอบน้อม ให้ทานไม่ทิ้งๆ ขว้างๆ ตายแล้ว ก็เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เป็นสหายของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์. ครั้งนั้น ท่าน ควัมปติกลับมนุษยโลกแล้วก็บอกกล่าวแก่คนทั้งหลาย อย่างที่ปายาสิเทพบุตร ส่งเสียทุกประการแล.

    จบ ปายาสิราชัญญสูตร ที่ ๑๐

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 401

อรรถกถาปายาสิราชัญญสูตร

ปายาสิราชัญญสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้. ในปายาสิราชัญญสูตรนั้น พรรณนาตามลําดับบท ดังต่อไปนี้.

ประวัติท่านพระกุมารกัสสป

คําว่า อายสฺมา ผู้มีอายุ นี้เป็นคําที่น่ารัก. คําว่า กุมารกัสสป เป็นชื่อของท่าน. ก็เพราะท่านบวชครั้งยังเป็นเด็กรุ่น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า พวกเธอจงเรียกกัสสปมา จงให้ผลไม้นี้บ้าง ของเคี้ยวนี้บ้าง แก่กัสสป ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย สงสัยว่ากัสสปองค์ไหน (เพราะพระที่ชื่อ กัสสปมีหลายองค์) จึงพากันขนานนามว่า กุมารกัสสป. ตั้งแต่นั้นมา แม้ครั้งท่านแก่เฒ่า ก็ยังเรียกกันว่า กุมารกัสสป อยู่นั่นเอง. อีกนัยหนึ่ง เพราะ ท่านเป็นบุตรเลี้ยงของพระเจ้าปเสนทิโกศล คนทั้งหลาย จึงจําหมาย เรียกท่านว่า กุมาร กัสสป จะกล่าวเรื่องของท่านให้แจ่มแจ้ง ตั้งแต่ปุพพประโยค ดังต่อไปนี้

เล่ากันว่า พระเถระ (กุมารกัสสป) เป็นบุตรเศรษฐี ครั้งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ต่อมาวันหนึ่ง ท่านเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแต่งตั้งพระสาวกของพระองค์รูปหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้กล่าวธรรมได้วิจิตรไว้ในตําแหน่ง (เอตทัคค) จึงถวายทานแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๗ วัน กระทําความปรารถนาว่า แม้ข้าพเจ้าผู้มีโชค ก็จะเป็นพระสาวกผู้กล่าวธรรมอย่างวิจิตร เหมือนพระเถระองค์นี้ ของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ในอนาคตกาล

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 402

กระทําบุญทั้งหลาย บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป ไม่สามารถทําคุณวิเศษให้บังเกิดได้. นัยว่า ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระศาสนากําลังเสื่อม ภิกษุ ๕ รูป ทําบันได ขึ้นไปยังภูเขา กระทําสมณธรรม. ภิกษุผู้เป็นสังฆเถระ (หัวหน้า) บรรลุ พระอรหัต ในวันที่ ๓. ภิกษุผู้เป็นอนุเถระ ได้เป็นพระอนาคามี ในวันที่ ๔. อีก ๓ รูปไม่สามารถทําคุณวิเศษให้บังเกิดได้ ก็ไปบังเกิดในเทวโลก. บรรดาภิกษุ ๓ รูป ที่เสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์ตลอดพุทธันดร หนึ่งนั้น รูปหนึ่งไปบังเกิดในราชตระกูลในกรุงตักกสิลา เป็นพระราชาพระนามว่า ปุกกุสาติ บวชอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า มุ่งมายังกรุงราชคฤห์ ได้สดับพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่โรงช่างหม้อ ก็บรรลุอนาคามิผล. รูปหนึ่งไปบังเกิดในเรือนของตระกูลที่ท่าเรือชื่อ สุปัฏฏนะใกล้ทะเลแห่งหนึ่ง โดยสารเรือๆ แตกต้องเอาไม้ทําผ้านุ่ง ได้ลาภสักการะ (ที่คนเขาหลงผิดคิดว่า เป็นพระอรหันต์บูชา) ตัวเองก็เกิดคิดว่าตัวเป็นพระอรหันต์ เทวดาผู้หวังดี ต้องเตือนว่า ท่านไม่ใช่พระอรหันต์ดอก จงไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามปัญหา ก็กระทําตามเทวดาเตือน ได้บรรลุพระอรหัตตผล. รูปหนึ่งไปเกิดในครรภ์ ของกุลสตรีผู้หนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์. กุลสตรีผู้นั้น อ้อนวอนมารดาก่อน ก็ไม่ได้บวช จนมีสามี ไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ เอาใจสามีๆ ก็อนุญาต จึงบวช เป็นภิกษุณีอยู่ในสํานักภิกษุณี. ภิกษุณีทั้งหลาย เห็นนางมีครรภ์จึงถามพระเทวทัต. พระเทวทัตก็บอกว่า นางไม่เป็นสมณะ. แล้ว (ยังสงสัย) ก็ไปทูลถาม พระทศพลเจ้า. พระศาสดารับสั่งให้พระอุบาลีเถระรับเรื่องไปวินิจฉัย. พระเถระ เชิญตระกูลชาวกรุงสาวัตถี และนางวิสาขา อุบาสิกาให้ตรวจ (ได้ข้อเท็จจริงแล้ว) จึงวินิจฉัยว่า นางตั้งครรภ์มาก่อน บรรพชาจึงไม่เสีย. พระศาสดา ประทานสาธุการรับรองแก่พระเถระว่า อุบาลีวินิจฉัยอธิกรณ์ชอบแล้ว. ภิกษุณี

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 403

นั้นคลอดบุตร เช่นกับหล่อด้วยแท่งทองคํา. พระเจ้าปเสนทิโกศลโปรดให้ รับทารกนั้นมาชุบเลี้ยง. พระราชทานนามว่ากัสสป ต่อมา ทรงเลี้ยงกัสสปเติบโตพอแล้ว จึงทรงนําไปฝากไว้ยังสํานักพระศาสดาให้บรรพชา คนทั้งหลายจึงจําหมายเรียกท่านว่า กุมารกัสสป เพราะเป็นบุตรเลี้ยงของพระราชา ด้วยประการฉะนี้. วันหนึ่ง ท่านกระทําสมณธรรมอยู่ที่ป่าอันธวัน เทวดา ผู้หวังดี จึงให้ท่านเรียนปัญหาแล้วบอกให้ท่านไปทูลถามปัญหาเหล่านี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระเถระทูลถามปัญหาแล้วก็บรรลุพระอรหัต ตอนจบการ วิสัชนาปัญหา. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงสถาปนาท่านไว้ในตําแหน่ง เอตทัคคะ เป็นยอดของภิกษุผู้กล่าวธรรมได้วิจิตร.

    คําว่า เสตพฺยา เป็นชื่อของนครนั้น. คําว่า อุตฺตเรน เสตพฺยํ คือ ทิศด้านเหนือของเสตัพยนคร. คําว่า ราชฺโ คือเจ้าผู้มิได้รับมุรธาภิเษก. คําว่า ทิฏิคตํ ก็คือ ทิฏฐิ ความเห็นนั่นเอง. เมื่อมีคําที่กล่าวกันว่า คูถคตํ มุตฺตคตํ ดังนี้ ของสิ่งอื่นนอกจากคูถเป็นต้น ย่อมไม่มี ฉันใด ทิฏฐินั่นแล ก็คือ ทิฏฐิคตะฉันนั้น. คําว่า แม้เพราะเหตุนี้ จึงไม่มี ดังนี้ ความว่า พระยาปายาสิกล่าวว่า ถึงจะอ้างเหตุนั้นๆ อย่างนี้ โลกอื่น ฯลฯก็ไม่มี. คําว่า ปุรา ฯเปฯ สฺาเปติ ความว่า ยังเข้าใจกันไม่ได้เพียงใด.

    คําว่า อิเม โภ กสฺสป จนฺทิมสุริยา ความว่า นัยว่า พระยาปายาสินั้นถูกพระเถระถามแล้ว คิดว่า สมณะผู้นี้นําเอาพระจันทร์พระอาทิตย์มาอุปมาก่อน จักเป็นผู้ที่คนอื่นครอบงําไว้ไม่ได้ด้วยปัญญา เช่นเดียวกับพระจันทร์ พระอาทิตย์ ก็ถ้าเราจักตอบว่า พระจันทร์พระอาทิตย์มีอยู่ในโลกนี้ สมณะผู้นี้ ก็จักทําให้เราตื่นด้วยปัญหากรรมเป็นต้นว่า พระจันทร์พระอาทิตย์เหล่านั้น อาศัยอะไร กว้างยาวเท่าไร สูงเท่าไร เราก็ไม่สามารถจะผูกเธอไว้ได้ จัก ตอบเธอว่า มีอยู่ในโลกอื่นเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระยาปายาสิ จึงกล่าว

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 404

ตอบอย่างนั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส สุธาโภชนียชาดก มาเมื่อไม่นาน ก่อนปายาสิราชัญญสูตรนั้น. ในสุธาโภชนียชาดกนั้น พระจันทร์เป็นจันทรเทพบุตร พระอาทิตย์เป็นสุริยเทพบุตร. ชาดกหรือพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ปรากฏรู้กันทั่วชมพูทวีป. ด้วยเหตุนั้น พระยาปายาสินั้นคิดว่า เราไม่อาจกล่าวว่า เทพบุตรทั้งหลายที่อยู่ประจําในดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์นั้นไม่มี จึงกล่าว ตอบว่า พระจันทร์ พระอาทิตย์นั้น เป็นเทวดาไม่ใช่มนุษย์.

    คําว่า อตฺถิ ปน ราชฺ ปริยาโย ความว่า พระเถระถามว่า เหตุยังมีอยู่หรือ. คําว่า อาพาธิกา คือผู้ประกอบด้วยความเจ็บป่วย กล่าวคือ ผู้มีเวทนาที่ไม่ถูกกัน. คําว่า ทุกฺขิตา คือถึงทุกข์. คําว่า พาฬฺหคิลานา คือ เป็นไข้ มีประมาณยิ่ง. คําว่า สทฺธายิกา ความว่า เราเชื่อพวกท่านๆ เป็นผู้ควรเชื่อ มีวาจาที่เชื่อถือได้ของเรา. คําว่า ปจฺจยิกา ความว่า เรา ไว้ใจพวกท่านๆ ก็เป็นผู้ที่น่าไว้ใจ น่าเชื่อใจของเรา.

    คําว่า อุทฺทิสิตฺวา ความว่า แสดงตัวและสิ่งของที่เก็บงําไว้แก่คน เหล่านั้น ให้รับไว้. คําว่า วิปฺปลปนฺตสฺส คือ พร่ํารําพันว่า ลูกชายของเรา ลูกหญิงของเรา ทรัพย์ของเรา. คําว่า นิรยปาเลสุ คือผู้ลงโทษ สัตว์ในนรก. ก็คนพวกใดกล่าวว่า กรรมนั้นแหละลงโทษ นายนิรยบาลไม่มี คนพวกนั้นก็ค้านเทวทูตสูตร ที่ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายนิรยบาลจับคน ผู้นั้นดังนี้เป็นต้น. นายนิรยบาลมีอยู่ในนรก เหมือนมนุษย์ผู้ลงโทษ ประจําราชตระกูลในมนุษยโลก ฉะนั้น

    คําว่า เวฬุโปสิกาหิ แปลว่า ด้วยซีกไม้ไผ่. คําว่า สุนิมฺมชฺชิตํ ความว่า คูถ เป็นของครูดออกด้วยดีโดยประการใด ก็ครูดออกไปโดยประการนั้น. อธิบายว่า จงครูดออก นําออกไปโดยประการนั้น. คําว่า อสุจิ คือ

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 405

ไม่น่าพอใจ. คําว่า อสุจิสํ ขโต คือ ที่เป็นส่วนไม่สะอาด หรือที่รู้กันว่า เป็นของไม่สะอาด. คําว่า ทุคฺคนฺโธ คือกลิ่นเหม็นเหมือนซากศพ. คําว่า เชคุจฺโฉ คือ ควรเป็นของน่ารังเกียจ. คําว่า ปฏิกูโล คือนําความขัดใจ มาด้วยการเห็นเท่านั้น. คําว่า อุพฺพาธติ ความว่า กลิ่นของพวกมนุษย์ แม้จะเป็นจักรพรรดิ เป็นต้น ซึ่งอาบน้ำวันละ ๒ ครั้ง เปลี่ยนผ้าวันละ ๓ ครั้ง ตกแต่งประดับประดาแล้ว ก็ยังคลุ้งไปเหมือนซากศพที่ห้อยคอเทวดาซึ่งอยู่ไกล ตั้งร้อยโยชน์ คําว่า ตาวตึสานํ ความว่า ท่านกล่าวอีกด้วยอํานาจคนที่สมาทาน ศีล ๕ มีเว้นปาณาติบาตเป็นต้น ประพฤติอยู่. และกล่าวอธิบายคําว่า แห่งเทวดา ชั้นดาวดึงส์ว่า เทวดาผู้เกิดในที่ไกล อย่ามาก่อนเพราะเหตุไร เทวดา เหล่านี้จึงไม่มา. คําว่า ชจฺจนฺธูปโม มฺเ ปฏิภาสิ คือ ปรากฏประหนึ่งคนตาบอด แต่กําเนิด.

    คําว่า อรฺฺวนปฏานิ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าอรัญ เพราะประกอบ ด้วยองค์คุณของผู้อยู่ป่า ที่ชื่อว่าแนวป่า เพราะเป็นแนวป่าใหญ่. คําว่า ปนฺตานิ คือไกล. คําว่า กลฺยาณธมฺเม คือมีธรรมอันดี เพราะศีลนั้นนั่นแหละ. คําว่า ทุกฺขปฏิกูเล คีอผู้ไม่ปรารถนาทุกข์. คําว่า เสยฺโย ภวิสฺสติ อธิบายว่า จัก มีสุคติสุขในโลกอื่น. คําว่า อุปวิชฺา คือเวลาคลอดใกล้เข้ามาแล้วครรภ์แก่แล้ว. อธิบายว่า จักคลอดไม่นานเทียว. บทว่า อุปโภคา ภวิสฺสติ คือ จักเป็น นางบําเรอ. บทว่า อนยพฺยสนํ ได้แก่ ทุกข์ใหญ่. สุขชื่อว่า อยะ ไม่ใช่อนยะ ชื่อว่า อนยะ คือทุกข์ ทุกข์นั่นนั้น ย่อมขับ คือ เขี่ยสุขออกไป โดยประการทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อ พยสนะ พยสนะ คือทุกข์ ชื่อว่า อนพยสนะ อธิบายว่า ทุกข์ใหญ่ ด้วยประการ ฉะนี้. คําว่า อโยนิโส คือโดยไม่ใช่อุบาย. คําว่า อปกฺกํ น ปริปาเจนฺติ อธิบายว่า เข้าไปตัดอายุ ที่ยังไม่เปลี่ยน ยังไม่สิ้นให้ขาดในระหว่าง หามิได้. คําว่า ปริปากํ อาคเมนฺติ คือรอเวลาที่อายุงอม. แม้ท่านพระธรรมเสนาบดีก็กล่าวไว้ว่า

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 406

นาภินนฺทามิ มรณํ นาภิกงฺขามิ ชีวิตํ กาลฺจ ปฏิกงฺขามิ นิพฺเพสํ ภฏโก ยถา

เราไม่ยินดีความตาย ไม่ปรารถนา ความเป็น แต่เรารอเวลา (แตกดับ) เหมือน ลูกจ้างรอค่าจ้างฉะนั้น

คําว่า อุพฺภินฺทิตฺวา คือกระเทาะดินที่ยาไว้. คําว่า รามเณยฺยกํ คือ น่ารื่นรมย์. คําว่า เจลาวิกา คือเด็กหญิงที่ง่วนด้วยการเล่น. คําว่า โกมาริกา คือ เด็กหญิงวัยรุ่น. คําว่า ตุยฺหํ ชีวํ ความว่า หญิงเหล่านั้นแล เห็นชีวะที่ออกไป ที่เข้าไป ขณะที่ท่านพระยาฝันเห็นบ้างไหม. พระเถระถือว่า ชีวะเป็นอาการเที่ยวไปแห่งจิต จึงกล่าวไว้ในที่นี้. ก็ท่านมีความเข้าใจในอาการเที่ยวไปแห่งจิตนั้นว่าชีวะ

คําว่า ชิยาย ความว่า รัดชีวะไว้ด้วยสายธนู. คําว่า ปตฺถินฺนตโร กระด้าง คือ แข็งทื่อ. พระยาปายาสิแสดงอะไรด้วยคํานี้. พระปายาสิแสดง ความข้อนี้ว่า ท่านทั้งหลาย กล่าวว่า เวลายังเป็นอยู่ สัตว์มีขันธ์ ๕ แต่เวลา ตายเหลืออยู่เพียงรูปขันธ์เท่านั้น ขันธ์ ๓ ก็เป็นไปไม่ได้ วิญญาณขันธ์ก็ไป รูปขันธ์ที่ยังเหลือ ควรจะเบา แต่กลับหนัก เพราะฉะนั้น อะไรๆ ไปที่ไหน ไม่มีดังนี้. คําว่า นิพฺพุตํ คือมี เตโชธาตุ อันสงบแล้ว.

คําว่า อนุปหจฺจ คือไม่ให้เสียหาย. คําว่า อทฺธมโต โหติ คือเริ่ม ตายช้าๆ คําว่า โอธุนาถ แปลว่า ลากมาข้างนี้. คําว่า สนฺธุนาถ แปลว่า ลากไปข้างโน้น. คําว่า นิทฺธุนาถ แปลว่า ลากไปลากมา. คําว่า ตฺจายตนํ น ปฏิสํ เวเทติ ความว่า รูปายตนะนั้น ไม่รู้แจ้งด้วยจักษุนั้น. ทุกบทก็นัยนี้. คําว่า สงฺขธโม แปลว่า คนเป่าสังข์. คําว่า อุปฬาสิตฺวา แปลว่า เป่า.

คําว่า อคฺคิโก แปลว่า ผู้บําเรอไฟ. คําว่า อาปาเทยฺยํ คือ พึงให้ สําเร็จ หรือพึงถึงอายุ. คําว่า โปเสยฺยํ คือ พึงเลี้ยงด้วยโภชนะ เป็นต้น. คําว่า วฑฺเฒยฺยํ คือ พึงถึงความเติบโต. คําว่า อรณีสหิตํ คือ คู่ไม้สีไฟ

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 407

คําว่า ติโรราขาโน พระราชาภายนอก ความว่า พระราชาทั้งหลายในภายนอกแคว้น คือในชนบทอื่น ก็รู้. คําว่า อพฺยตฺโต คือ ผู้ไม่มีปัญญา กล้า ผู้ไม่ฉลาด. คําว่า โกเปนปิ ความว่า คนเหล่าใด กล่าวกะเราอย่างนี้ ข้าพเจ้าก็จักชัก จักนํา จักพาเขา ซึ่งมีทิฏฐิอย่างนั้นเที่ยวไป ด้วยความโกรธ ที่เกิดในคนเหล่านั้น. คําว่า มกฺเขน ด้วยมักขะ คือความลบหลู่ ที่มีลักษณะลบหลู่เหตุที่ท่านกล่าวแล้ว. คําว่า ปลาเสน ด้วยปลาสะ คือ ความตีตนเสมอ อันมีลักษณะที่ถือว่าเป็นคู่ (เคียง) กับท่าน

คําว่า หรีตกปณฺณํ ในสมอคือ สมอ ชนิดใดชนิดหนึ่ง. อธิบายว่าโดยที่สุด แม้ใบหญ้าอ่อนก็ไม่มี. คําว่า อาสนฺนทฺธกลาปํ คือ ผู้มีแล่งธนูอัน ผูกสอดไว้แล้ว. คําว่า อาสิตฺโตทกานิ วฏมานิ คือ หนทางและห้วยละหาร มีน้ำบริบูรณ์. คําว่า โยคฺคานิ คือ ยานเทียมโคงาน. คําว่า พหุนิกฺขนุตโร ความว่า ออกไปมาก ออกไปนานแล้ว. คําว่า ยถาภเตน ภณฺเฑน ความว่า สิ่งของ คือหญ้า ไม้ และน้ำอันใด ที่พวกท่านบรรทุกมา ก็จงยังหมู่ เกวียนให้เป็นไป ด้วยสิ่งของที่ท่านนํามา บรรทุกมา พามา นั้นเถิด. คําว่า อปฺปสารานิ คือ มีค่าน้อย. คําว่า ปณิยานิ แปลว่า สิ่งของทั้งหลาย

คําว่า มม จ สูกรภตฺตํ ความว่า นี้เป็นอาหารแห่งสุกรทั้งหลาย ของ ข้าพเจ้า. คําว่า อุคฺฆรนฺตํ แปลว่า ไหลขึ้น. คําว่า ปคฺฆรนฺตํ แปลว่าไหล ลง. คําว่า ตุมฺเห เขฺวตฺถ ภเณ แปลว่าแนะพนาย พวกท่านต่างหากเป็นบ้า เสียจริต ในเรื่องนี้. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. คําว่า ตถา หิปน เม สูกรภตฺตํ แปลว่า แต่ถึงอย่างนั้น คูถนี้ก็เป็นอาหารแห่งสุกรทั้งหลายของ ข้าพเจ้า.

คําว่า อาคตาคตํ กลึ แปลว่า กลืนเบี้ยแพ้ที่ทอดมาถึงๆ เสีย. คําว่า ปโชหิสฺสามิ ความว่า ข้าพเจ้าจักกําการเส้น จักทําการบวงสรวง.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 408

คําว่า อกฺเขหิ ทุพฺพิสฺสามิ แปลว่า จักเล่นด้วยลูกสะกาทั้งหลาย คือ เล่นด้วยลูกบาดทั้งหลาย.

คําว่า ลิตฺตํ ปรเมน เตชสา แปลว่า ที่อาบด้วยยาพิษมีฤทธิ์ร้ายแรง.

ประเทศแห่งบ้านที่อยู่ ท่านเรียก คามปัชชะ บาลีว่า คามปท ก็มี. ความก็อย่างนี้เหมือนกัน. คําว่า ห่อป่าน คือ ห่อเปลือกป่าน. คําว่า สุสนฺนทฺโธ แปลว่า ผูกไว้ ดีแล้ว คําว่า ตฺวํ ปชานาหิ แปลว่า ท่านจงรู้. อธิบายว่า ท่านจงรับไว้ถ้าท่านต้องการจะถือเอาก็ถือเอาได้. คําว่า โขมํ แปลว่า เปลือก ไม้. คําว่า อยสํ แปลว่า เหล็ก (โลหะดํา) คําว่า โลหํ แปลว่า ทองแดง (โลหะแดง) คําว่า สชฺฌุ แปลว่า เงิน คําว่า สุวณฺณํ แปลว่าทองมาสก. คําว่า อภินนฺทึสุ แปลว่า ยินดีแล้ว

คําว่า อตฺตมโน แปลว่า มีใจของตน คือมีจิตยินดีแล้ว. คําว่า อภิลทฺโธ แปลว่า เลื่อมใสยิ่งแล้ว. คําว่า ปฺหปฏิภาณานิ แปลว่า ความปรากฏชัดแห่งปัญหา. คําว่า ปจฺจนีกํ กาตพฺพํ ความว่ากระทําประหนึ่งว่า เป็นข้าศึก คือผู้ทําผิดๆ คําว่า อวมฺิสฺสํ ความว่ายืนหยัดถือกลับกันเสีย

คําว่า สงฺฆาตํ อาปชฺชนฺติ แปลว่า ถึงฆาต พินาศ มรณะ. คําว่า น มหปฺผโล ความว่าไม่มีผลมากโดยผลวิบาก. คําว่า น มหานิสํ โส ความว่า ไม่มีอานิสงส์มาก โดยอานิสงส์คือคุณ. คําว่า น มหาชุติโก ความว่า ไม่มีความรุ่งเรือง โดยความรุ่งเรืองด้วยอานุภาพ. คําว่า น มหาวิปฺผาโร ความว่า ไม่มีความแผ่ไพศาล โดยความแผ่ไปแห่งวิบาก. คําว่า พีชนงฺคลํ แปลว่า พืช (เมล็ดพันธุ์) และไถ. คําว่า ทุกฺเขตฺเต แปลว่า ในนาเลว นาไร้สาระ. คําว่า ทุพฺภูเม แปลว่า พื้นดินไม่สม่ําเสมอ. คําว่า ปติฏฺาเปยฺย แปลว่า พึงทรงไว้. คําว่า ขณฺฑานิ คือ หักและแตก. คําว่า ปูตีนิ คือ ไร้สาระ. คําว่า วาตาตปหตานิ คือถูกลมและแดดกระทบอบอ้าว. คําว่า อสารทานิ

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 409

คือ เขียวสด จนเว้นที่จะให้เมล็ดข้าวสารได้. คําว่า อสุขสยิตานิ คือ พืช เหล่าใด ที่เขาทําให้แห้งแล้ว เกลี่ยไว้ในยุ้งฉาง พืชเหล่านั้น ชื่อว่า สุขสยิต. แต่พืชเหล่านั้นไม่เป็นเช่นนั้น. คําว่า น อนุปฺปเวจฺเฉยฺย คือ ฝนไม่หลั่งลงมา คือ ไม่ตกโดยชอบ (ถูกต้องตามฤดูกาล) . อธิบายว่า ไม่ตกทุกกึ่งเดือน ทุกสิบวัน ทุกห้าวัน. คําว่า อปิ นุ ตานิ ความว่า เมื่อนามีพืชแลฝนเป็นโทษอยู่อย่างนี้ พืชเหล่านั้น จะพึงเติบโตสูงขึ้น งอกงามลงราก และแผ่ไพบูลย์โดยรอบ ด้วยหน่อรากและใบเป็นต้น ได้หรือ. คําว่า เอวรูโป โข ราชฺ ยฺโ ความว่า ดูก่อนท่านพระยา ท่านเห็นปานนี้ ย่อมไม่มีผลมาก เพราะไม่บริสุทธิ์โดยปัจจัยที่การทําร้ายผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้นบ้าง โดยทายกบ้าง โดยปฏิคาหกบ้าง. คําว่า เอวรูโป โข ราชฺ อฺโ ความว่า ดูก่อนท่านพระยา ทานเห็นปานนี้ ย่อมมีผลมาก โดยปัจจัยที่เกิดขึ้น เพราะการไม่ทําร้ายผู้อื่นบ้าง โดยทายกผู้มีศีลเพราะไม่ทําร้ายผู้อื่นบ้าง โดยปฏิคาหก ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นบ้าง. ก็ถ้าทาน ได้ปฏิคาหกผู้ออกจาก นิโรธ ยิ่งยวดด้วยคุณ (คุณาติโรกสัมปทา) และเจตนาของทายก ไพบูลย์ไซร้ก็จะให้วิบากทันตาเห็นทีเดียว. ก็ท่านพระยาปายาสิ สดับธรรมกถาของพระเถระ นิมนต์พระเถระถวายมหาทาน ๗ วัน ตั้งทานประจําแก่คนทั้งปวงตั้งแต่นั้นมา. ท่านหมายถึงทานนั้น จึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระยาปายาสิเป็นต้น

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาณาชิกํ คือข้าวที่หุงจากข้าวสารหักมีรํา. คําว่า พิลงฺคทุติยํ แปลว่า มีน้ำส้ม (พะอูม) เป็นที่สอง. คําว่า โจรกานิ จ วตฺถานิ แปลว่า ผ้าที่มีเส้นด้ายหยาบ. คําว่า คุฬวาลกานิ คือผ้าที่คลุก ชิ้นน้ำอ้อยงบ อธิบายว่าผ้าผืนใหญ่ที่วางไว้เป็นกองๆ . คําว่า เอวมนุทฺทิสติ คือ ชี้แจงไว้อย่างนี้. คําว่า ปาทาปิ แปลว่า แม้ด้วยเท้า. คําว่า อกสกฺกจฺจํ

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 410

คือเว้นศรัทธา ให้ทานด้วยไม่มีศรัทธา. คําว่า อสหตฺถา. แปลว่า ไม่ใช่ ด้วยมือของตนเอง. คําว่า อจิตฺตีกตํ คือเว้นการกระทําความยําเกรงให้ทาน. เข้าไปตั้งการกระทําความยําเกรง หามิได้ ให้ทานกระทําให้ประณีตหามิได้. คําว่า อปวิทฺธํ คือ ทิ้งขว้างตกแตกเรี่ยราด. คําว่า สุฺํ เสรีสกํ ความว่า เข้าไปสู่วิมานเงินที่ว่างเปล่า วิมานหนึ่ง ชื่อ เสรีสกะ นัยว่า มีต้นซึกขนาดใหญ่ อยู่ใกล้ประตูวิมานนั้น เพราะเหตุนั้น วิมานนั้นจึงเรียกกันว่า เสรีสกะ.

เรื่องท่านพระควัมปติ

เล่ากันว่า พระเถระ เป็นหัวหน้าเด็กเลี้ยงโค ในมนุษยโลก ในชาติก่อน แผ้วถางโคนต้นซึกขนาดใหญ่ เกลี่ยทรายไว้ นิมนต์พระเถระผู้ถือ ปิณฑปาติกธุดงค์รูปหนึ่ง ให้นั่งที่โคนต้น ถวายอาหารที่ตนได้มา จุติจากมนุษย์ โลกนั้น ไปบังเกิดในวิมานเงินนั้น ด้วยอานุภาพของบุญนั้น. ต้นซึกตั้งอยู่ใกล้ ประตูวิมาน. ๕๐ ปี ต้นซึกนั้นจึงผลิตผล. แต่นั้นเทพบุตรก็ถึงความสลดใจว่า ล่วงไป ๕๐ ปีแล้ว. สมัยต่อมา เทพบุตรนั้นไปบังเกิดในหมู่มนุษย์ในสมัยของ พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ฟังธรรมกถาของพระศาสดา ก็บรรลุพระอรหัต. แต่ด้วยอํานาจความเคยชิน พระเถระก็ไปยังวิมานนั้นนั่นแหละอยู่เนืองๆ เพื่อพักกลางวัน. นัยว่าวิมานนั้น เป็นที่มีสุขตามฤดูกาล ของพระเถระนั้น ท่านหมายเอาเหตุอันนั้น จึงกล่าวว่า สมัยนั้นแล ท่านพระควัมปติ ดังนี้เป็นต้น.

คําว่า โส สกฺกจฺจํ ทานํ ทตฺวา ความว่า อุตตรมานพนั้น ให้ทานแม้เป็นของๆ ผู้อื่นก็โดยเคารพ. คําว่า เอวมาโรเจหิ ความว่า ท่านจงบอก (มนุษย์) ด้วยนัยเป็นต้นว่า ท่านทั้งหลายจงให้ทานโดยเคารพ ดังนี้. ก็แล มหาชนฟังการบอกกล่าวของพระเถระนั้นแล้ว ก็ให้ทานโดยเคารพไปบังเกิด

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 411

ในเทวโลก. ส่วนนางบําเรอ (ปริจาริกา) ของพระยาปายาสิ. แม้ให้ทานโดยเคารพ ก็ไปบังเกิดในสํานักของพระยาปายาสินั่นแล ด้วยอํานาจความปรารถนา นัยว่าเสรีสกวิมานนั้น เป็นวิมานสําหรับเทพผู้จาริกมาแต่ทุกทิศมีอยู่ในดงชื่อ วัฏฏนี (ลับแล) . ก็ในวันหนึ่ง ปายาสิเทพบุตรแสดงตัวแก่เหล่าพ่อค้าทั้งหลาย แล้วกล่าวกรรมที่ตนกระทําไว้แล้วแล.

    จบอรรถกถาปายาสิราชัญญสูตรที่ ๑๐ แห่งอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อ สุมังคลวิลาสินี ด้วยประการฉะนี้.

    จบ อรรถกถามหาวรรค

รวมพระสูตรในเล่มนี้

    ๖. มหาโควินทสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

    ๗. มหาสมัยสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

    ๘. สักกปัญหสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

    ๙. มหาสติปัฏฐานสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

    ๑๐. ปายาสิราชัญญสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

    ตั้งแต่มหาปทานสูตร ถึง ปายาสิราชัญญสูตรนี้ รวมเรียกว่า มหาวรรค

    จบ มหาวรรค