พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาสามัญญผลสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 มิ.ย. 2564
หมายเลข  34492
อ่าน  2,128
  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 337

๒. อรรถกถาสามัญญผลสูตร

พระบาลีสามัญญผลสูตรว่า เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา ราชคเห ดังนี้เป็นต้น.

ในพระบาลีนั้น มีการพรรณนาตามลําดับบทดังต่อไปนี้

บทว่า ราชคเห ความว่า ในพระนครซึ่งมีชื่ออย่างนั้น จริงอยู่ พระนครนั้น เรียกกันว่า ราชคฤห์ เพราะพระเจ้ามันธาตุราช และ ท่านมหาโควินท์เป็นต้น ครอบครอง

ก็ในคําว่า ราชคฤห์ นี้มีนักปราชญ์อื่นๆ พรรณนาไว้มากมาย จะ มีประโยชน์อะไร ด้วยคําเหล่านั้น เพราะคํานั้น เป็นเพียงชื่อของเมือง เท่านั้น.

พระนครราชคฤห์นี้ เป็นเมืองทั้งในพุทธกาล ทั้งในจักรพรรดิกาล ส่วนในกาลที่เหลือ เป็นเมืองร้าง พวกยักษ์ครอบครอง เป็นป่าที่อยู่อาศัยของยักษ์เหล่านั้น.

คําว่า วิหรติ นี้ ตามธรรมดาเป็นคําแสดงถึงความพร้อมเพรียงด้วย วิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอิริยาบถวิหารทิพพวิหารพรหมวิหาร และอริยวิหาร.

แต่ในที่นี้ แสดงถึงการยืน เดิน นั่ง นอน ซึ่งเป็นอิริยาบถที่ ผลัดเปลี่ยนกันเท่านั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จะประทับยืนก็ตาม เสด็จดําเนินไปก็ตาม ประทับนั่งก็ตาม บรรทมก็ตาม พึงทราบว่า วิหรติ ประทับอยู่ ทั้งนั้น. ด้วยว่า พระองค์ทรงบําบัดความลําบากแห่งอิริยาบถหนึ่ง ด้วยอิริยาบถหนึ่ง ทรงบริหารอัตตภาพมิให้ทรงลําบากพระวรกาย ฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 338

จึงเรียกว่า วิหรติ แปลว่าประทับตามสบาย.

    คําว่า ชีวกสฺส โกมารภจฺจสฺส อมฺพวเน นี้ เป็นคําแสดงแหล่ง ที่พํานักใกล้กรุงราชคฤห์นั้น พอที่จะเข้าไปอาศัยบิณฑบาตได้ เพราะฉะนั้น ในข้อนี้พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า คําว่า ราชคเห วิหรติ ชีวกสฺส โกมารภจฺจสฺส อมฺพวเน ความว่า ประทับอยู่ ณ สวนอัมพวัน ของหมอชีวกโกมารภัจกรุงราชคฤห์ เพราะคํานี้เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงใน อรรถว่า ใกล้.

    ในพระบาลีนั้น ที่ชื่อว่า ชีวก ด้วยอรรถว่า ยังเป็นอยู่ ที่ชื่อว่า โกมารภัจ ด้วยอรรถว่า พระราชกุมารทรงชุบเลี้ยง.

    เหมือนอย่างที่เล่ากันว่า พระอภัยราชกุมาร เสด็จไปพบทารกเข้า รับสั่งถามว่า "อะไรนั่นพนาย ที่ฝูงกาล้อมอยู่" ทูลว่า "ทารก พระเจ้าข้า" "ยังเป็นอยู่หรือ" "ยังเป็นอยู่ พระเจ้าข้า" "ถ้าอย่างนั้น จงนําทารกนั้นเข้าไปภายในเมืองแล้วมอบให้แม่นมทั้งหลายเลี้ยงดูไว้."

    คนทั้งหลายจึงได้ตั้งชื่อทารกนั้นว่า ชีวก เพราะยังเป็นอยู่ และ ตั้งชื่อว่า โกมารภัจ เพราะพระราชกุมารทรงชุบเลี้ยง.

    นี่เป็นความย่อในเรื่องนี้ ส่วนความพิสดารเรื่องหมอชีวก มาแล้วในขันธกะนั่นแล แม้กถาที่วินิจฉัยเรื่องหมอชีวกนี้ ก็ได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาวินัย ชื่อสมันตปาสาทิกา.

    ก็หมอชีวกนี้ สมัยหนึ่ง ทําให้พระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งหมักหมมด้วยโรค ให้หายเป็นปรกติแล้ว ถวายผ้าคู่หนึ่ง ซึ่งทอจากแคว้นสีพี พระพุทธองค์ทรงอนุโมทนา เวลาอนุโมทนาการถวายผ้าจบลง หมอชีวกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล จึงคิดว่า เราควรจะไปเฝ้าดูแลพระ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 339

พุทธเจ้า วันละ๒ - ๓ ครั้ง ก็เขาคิชฌกูฏนี้และพระวิหารเวฬุวัน อยู่ไกลเหลือเกิน. แต่สวนอัมพวันของเราใกล้กว่า อย่ากระนั้นเลย เราจะสร้างวิหารถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในสวนอัมพวันของเรานี้. หมอชีวกนั้น จึงสร้างที่อยู่กลางคืน ที่อยู่กลางวัน ที่พัก กุฎี และมณฑป เป็นต้น แล้วให้สร้างพระคันธกุฎีที่สมควรแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในสวนอัมพวันนั้น ให้สร้างกําแพง มีสีเหมือนผ้าแดง สูง ๑๘ ศอก ล้อมสวนอัมพวัน เลี้ยงดูภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยจีวรและภัตตาหาร ได้หลั่งน้ำทักษิโณทก มอบถวายสวนอัมพวันเป็นพระวิหารแล้ว

    คําว่า ชีวกสฺส โกมารภจฺจสฺส อมฺพวเน ท่านกล่าวหมายเอา พระวิหาร ดังกล่าวมานั้น.

    บทว่า ราชา ในบททั้งหลาย มีบทว่า ราชา เป็นต้น ความว่า ชื่อว่า ราชา ด้วยอรรถว่า ทํามหาชนให้ยินดีหรือให้เจริญด้วยอิสริยสมบัติของตน หรือด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการ.

    ชื่อว่า มาคโธ ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่เหนือชาวมคธ.

    ชื่อว่า อชาตสตฺตุ ด้วยอรรถว่า เนมิตตกาจารย์ทั้งหลายชี้แจงไว้ว่า ยังไม่ทันเกิดก็จักเป็นศัตรูแก่พระราชา.

    ได้ยินว่า เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรู ยังอยู่ในพระครรภ์ พระเทวีเกิดการแพ้ท้องถึงขนาดอย่างนี้ว่า โอ หนอ เราพึงดื่มโลหิตพระพาหาเบื้องขวาของพระราชา. พระนางมีพระดําริว่า การแพ้ท้องเกิดขึ้นในฐานะอันหนัก ไม่อาจบอกให้ใครทราบได้ เมื่อไม่อาจบอกได้ จึงซูบผอมผิวพรรณซีดลง. พระราชาตรัสถามพระนางว่า "แน่ะนางผู้เจริญ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 340

ร่างกายของเธอมีผิวพรรณไม่ปรกติ มีเหตุอะไรหรือ." ทูลว่า " โปรดอย่าถามเลย ทูลกระหม่อม."รับสั่งว่า"แน่ะพระนาง เมื่อไม่อาจบอกความประสงค์ของเธอแก่ฉัน เธอจักบอกแก่ใคร" ดังนี้ ทรงรบเร้าด้วยประการนั้นๆ ให้พระนางบอกจนได้ พอได้ทรงทราบเท่านั้นก็รับสั่งว่า "พระนางนี่โง่ ในเรื่องนี้เธอมีสัญญาหนักหนา มิใช่หรือ" ดังนั้น จึงรับสั่งให้เรียกหมอมา ให้เอามีดทองกรีดพระพาหา แล้วรองพระโลหิตด้วยจอกทองคํา เจือด้วยน้ำแล้วให้พระนางดื่ม

    เนมิตตกาจารย์ทั้งหลายได้ทราบข่าวดังนั้น พากันพยากรณ์ว่า พระโอรสในครรภ์องค์นี้จักเป็นศัตรูแก่พระราชา พระราชาจักถูกพระโอรสองค์นี้ปลงพระชนม์.

    พระเทวีทรงสดับข่าวดังนั้น มีพระดําริว่า "พระโอรสที่ออกจาก ท้องของเราจักฆ่าพระราชา" จึงมีพระประสงค์จะทําลายครรภ์ให้ตกไป เสด็จไปพระราชอุทยานให้บีบพระครรภ์. แต่พระครรภ์ก็หาตกไม่. พระนางเสด็จไปให้ทําอย่างนั้นบ่อยๆ . พระราชาทรงสืบดูว่า พระเทวีนี้เสด็จไปพระราชอุทยานเนืองๆ เพื่ออะไร ทรงทราบเหตุนั้นแล้วจึงทรงห้ามว่า พระนาง เด็กในท้องของพระนาง ยังไม่รู้ว่าเป็นชายหรือหญิงเลย พระนางก็กระทําอย่างนี้กะทารกที่เกิดแก่ตนเสียแล้ว โทษกองใหญ่ของเราดังกล่าวนี้จักกระจายไปทั่วชมพูทวีป ขอพระนางจงอย่ากระทําอย่างนี้อีกเลย แล้วได้ประทานอารักขา. พระนางเธอได้หมายใจไว้ว่า เวลาคลอดจักฆ่าเสีย. แม้ในเวลาที่คลอดนั้น พวกเจ้าหน้าที่อารักขาก็ได้นําพระกุมารออกไปเสีย. สมัยต่อมา พระกุมารเจริญวัยแล้ว จึงนํามาแสดงแก่พระเทวี. พอทอดพระเนตรเห็นพระกุมารเท่านั้น พระนางก็

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 341

เกิดความรักพระโอรส. ฉะนั้นจึงไม่อาจฆ่าพระกุมารนั้นได้. ลําดับต่อมา แม้พระราชาก็ได้พระราชทานตําแหน่งอุปราชแก่พระโอรส.

    สมัยต่อมา พระเทวทัตอยู่ในที่ลับ คิดว่า พระสารีบุตรก็มีบริษัทมาก พระโมคคัลลานะก็มีบริษัทมาก พระมหากัสสปะก็มีบริษัทมาก ท่านเหล่านี้มีธุระคนละอย่างๆ ถึงเพียงนี้ แม้เราก็จะแสดงธุระสักอย่างหนึ่ง. พระเทวทัตนั้น เมื่อไม่มีลาภ ก็ไม่อาจทําบริษัทให้เกิดขึ้นได้ จึงคิดว่า เอาละ เราจักทําลาภให้เกิดขึ้น จึงใช้อิทธิปาฏิหาริย์ ทําให้อชาตศัตรูราชกุมารเลื่อมใส ตามนัยที่มาในขันธกะ พอรู้ว่าพระกุมารอชาตศัตรู เลื่อมใสคุ้นเคยยิ่ง ถึงขนาดมาสู่ที่บํารุงของตนทั้งเช้าเย็นพร้อมด้วยบริวารเต็มรถ ๕๐๐ คัน วันหนึ่งจึงเข้าไปหากล่าวว่า ดูก่อนกุมาร เมื่อก่อนพวกมนุษย์มีอายุยืน แต่เดี๋ยวนี้มีอายุน้อย ดูก่อนกุมาร ถ้าอย่างนั้นพระราชกุมารพระองค์จงปลงพระชนม์พระบิดาเสียแล้วเป็นพระราชา. อาตมภาพจักปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักเป็นพระพุทธเจ้า แล้วส่งพระกุมารไปปลงพระชนม์พระบิดา. พระกุมารอชาตศัตรูนั้นหลงเชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าเทวทัตมีอานุภาพมาก สิ่งที่พระเทวทัตไม่รู้แจ้งไม่มี จึงเหน็บกฤชที่พระอุรุ มุ่งจะฆ่ากลางวันแสกๆ มีความกลัวหวาดหวั่นสะดุ้งตื่นเต้น เข้าไปภายในพระราชฐาน ทําอาการแปลกๆ มีประการดังกล่าวแล้ว. ครั้งนั้นพวกอํามาตย์จับอชาตศัตรูราชกุมารได้ ส่งออกมา ปรึกษาโทษว่า พระกุมารจะต้องถูกประหาร พระเทวทัตจะต้องถูกประหาร และภิกษุพวกพระเทวทัตทั้งหมดจะต้องถูกประหาร แล้วกราบทูลพระราชาว่า พวกข้าพระองค์จักกระทําตามพระราชอาชญา. พระราชาทรง ลดตําแหน่งของพวกอํามาตย์ที่ประสงค์ลงโทษประหาร ทรงตั้งพวก

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 342

อํามาตย์ที่ไม่ต้องการให้ลงโทษประหารไว้ในตําแหน่งสูงๆ แล้วตรัสถามพระกุมารว่า ลูกต้องการจะฆ่าพ่อเพื่ออะไร. พระกุมารกราบทูลว่า หม่อมฉันต้องการราชสมบัติ พระเจ้าข้า. พระราชาได้พระราชทานราชสมบัติแก่พระโอรสนั้น.

    อชาตศัตรูราชกุมาร บอกแก่พระเทวทัตว่า ความปรารถนาของเราสําเร็จแล้ว. ลําดับนั้นพระเทวทัตกล่าวกะพระกุมารว่า พระองค์เหมือนคนเอาสุนัขจิ้งจอกไว้ภายในกลองหุ้มหนัง แล้วสําคัญว่าทํากิจสําเร็จเรียบร้อยแล้ว อีกสองสามวันพระบิดาของพระองค์ทรงคิดว่า พระองค์ทําการดูหมิ่น แล้วก็จักเป็นพระราชาเสียเอง. พระกุมารถามว่า ถ้าอย่างนั้น ข้าพเจ้าจะทําอย่างไรเล่า. พระเทวทัตตอบว่า จงฆ่าชนิดถอนรากเลย. พระกุมารตรัสว่า พระบิดาของข้าพเจ้าไม่ควรฆ่าด้วยศาตรามิใช่หรือ. พระเทวทัตจึงกล่าวว่า จงฆ่าพระองค์ด้วยการตัดพระกระยาหาร. พระกุมารจึงสั่งให้เอาพระบิดาใส่เข้าในเรือนอบ. ที่ชื่อว่าเรือนอบ คือเรือนมีควันที่ทําไว้เพื่อลงโทษแก่นักโทษ. พระกุมารสั่งไว้ว่า นอกจากพระมารดาของเราแล้ว อย่าให้คนอื่นเยี่ยม.

    พระเทวีทรงใส่ภัตตาหารในขันทองคําแล้วห่อชายพกเข้าเยี่ยมพระราชา. พระราชาเสวยภัตตาหารนั้นจึงประทังพระชนม์อยู่ได้. พระกุมารตรัสถามว่า พระบิดาของเราดํารงพระชนม์อยู่ได้อย่างไร. ครั้นทรงทราบความเป็นไปนั้นแล้ว ตรัสสั่งห้ามมิให้พระมารดานําสิ่งของใส่ชายพกเข้าเยี่ยม.

    ตั้งแต่นั้น พระเทวีก็ใส่ภัตตาหารไว้ในพระเมาลีเข้าเยี่ยม. พระกุมารทรงทราบแม้ดังนั้น รับสั่งห้ามมิให้พระมารดามุ่นพระเมาลีเข้าเยี่ยม.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 343

    ลําดับนั้น พระเทวีทรงใส่ภัตตาหารไว้ในฉลองพระบาททองปิดดีแล้ว ทรงฉลองพระบาททองเข้าเยี่ยม. พระราชาดํารงพระชนม์อยู่ด้วยภัตตาหารนั้น. พระกุมารตรัสถามอีกว่า พระบิดาดํารงพระชนม์อยู่ได้อย่างไร ครั้นทรงทราบความนั้น ตรัสสั่งห้ามมิให้แม้แต่ทรงฉลองพระบาทเข้าเยี่ยม.

    ตั้งแต่นั้นพระเทวีก็ทรงสนานพระวรกายด้วยน้ำหอม แล้วทาพระวรกายด้วยอาหารมีรสอร่อย ๔ อย่าง แล้วทรงห่มพระภูษาเข้าเยี่ยม.พระราชาทรงเลียพระวรกายของพระเทวีประทังพระชนม์อยู่ได้. พระกุมารตรัสถามอีก ครั้นทรงทราบดังนั้นแล้วจึงตรัสสั่งว่า ตั้งแต่นี้ไป ห้ามพระมารดาเข้าเยี่ยม.

    ต่อแต่นั้น พระเทวีประทับยืนแทบประตูทรงกันแสงคร่ําครวญว่า ข้าแต่พระสวามีพิมพิสาร เวลาที่เขาผู้นี้เป็นเด็ก พระองค์ก็ไม่ให้โอกาสฆ่าเขา ทรงเลี้ยงศัตรูของพระองค์ไว้ด้วยพระองค์เองแท้ๆ บัดนี้การเห็นพระองค์ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย ต่อแต่นี้ไปหม่อมฉันจะไม่ได้เห็นพระองค์อีก ถ้าโทษของหม่อมฉันมีอยู่ ขอได้โปรดพระราชทานอภัยโทษด้วยเถิดพระเจ้าข้า แล้วก็เสด็จกลับ. ตั้งแต่นั้นมาพระราชาก็ไม่มีพระกระยาหาร ดํารงพระชนม์อยู่ด้วยความสุขประกอบด้วยมรรคผล (ทรงเป็นพระโสดาบัน) ด้วยวิธีเดินจงกรม พระวรกายของพระองค์ก็เปล่งปลั่งยิ่งขึ้น.

    พระกุมารตรัสถามว่า แน่ะพนาย พระบิดาของเรายังดํารงพระชนม์อยู่ได้อย่างไร ครั้นทรงทราบว่า ยังดํารงพระชนม์อยู่ได้ด้วยวิธีเดินจงกรม พระเจ้าข้า ซ้ำพระวรกายยังเปล่งปลั่งยิ่งขึ้นอีก จึงทรงพระดําริว่า เราจักติดมิให้พระบิดาเดินจงกรมได้ในบัดนี้ ทรงบังคับช่างกัลบก

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 344

ทั้งหลายว่า พวกท่านจงเอามีดโกนผ่าพระบาททั้ง ๒ ของพระบิดาของเราแล้วเอาน้ำมันผสมเกลือทา แล้วจงย่างด้วยถ่านไม้ตะเคียนซึ่งติดไฟคุไม่มีเปลวเลย แล้วส่งไป. พระราชาทอดพระเนตรเห็นพวกช่างกัลบก ทรงดําริว่า ลูกของเราคงจักมีใครเตือนให้รู้สึกตัวแน่แล้ว ช่างกัลบกเหล่านี้คงจะมาแต่งหนวดของเรา.

    ช่างกัลบกเหล่านั้นไปถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ครั้นถูกตรัสถามว่า มาทําไม จึงกราบทูลให้ทรงทราบ พระราชาพิมพิสารจึงตรัสว่า พวกเจ้าจงทําตามใจพระราชาของเจ้าเถิด พวกช่างกัลบกจึงกราบทูลว่า ประทับนั่งเถิดพระเจ้าข้า ถวายบังคมพระเจ้าพิมพิสารแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พวกข้าพระองค์จําต้องทําตามพระราชโองการ ขอพระองค์อย่าทรงพิโรธพวกข้าพระองค์เลย การกระทําเช่นนี้ไม่สมควรแก่พระราชาผู้ทรงธรรมเช่นพระองค์ แล้วจับข้อพระบาทด้วยมือซ้าย ใช้มือขวาถือมีดโกนผ่าพื้นพระบาททั้ง ๒ ข้าง เอาน้ำมันผสมเกลือทา แล้วย่างด้วยถ่านเพลิงไม้ตะเคียนที่กําลังคุไม่มีเปลวเลย.

    เล่ากันว่า ในกาลก่อน พระราชาพิมพิสารได้ทรงฉลองพระบาทเข้าไปในลานพระเจดีย์ และเอาพระบาทที่ไม่ได้ชําระเหยียบเสื่อกกที่เขาปูไว้สําหรับนั่ง นี้เป็นผลของบาปนั้น.

    พระราชาพิมพิสารทรงเกิดทุกขเวทนาอย่างรุนแรง ทรงรําลึกอยู่ว่า อโห พุทฺโธ อโห ธมฺโม อโห สงฺโฆ เท่านั้น ทรงเหี่ยวแห้งไปเหมือนพวงดอกไม้ที่เขาวางไว้ในลานพระเจดีย์ บังเกิดเป็นยักษ์ชื่อชนวสภะ เป็นผู้รับใช้ของท้าวเวสสวรรณในเทวโลกชั้นจาตุมหาราช.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 345

    และในวันนั้นนั่นเอง พระโอรสของพระเจ้าอชาตศัตรูก็ประสูติ.หนังสือ ๒ ฉบับ คือข่าวพระโอรสประสูติฉบับหนึ่ง ข่าวพระบิดาสวรรคตฉบับหนึ่ง มาถึงในขณะเดียวกันพอดี.

    พวกอํามาตย์ปรึกษากันว่า พวกเราจักทูลข่าวพระโอรสประสูติก่อน จึงเอาหนังสือข่าวประสูตินั้นทูนถวายในพระหัตถ์ของพระเจ้าอชาตศัตรู.ความรักลูกเกิดขึ้นแก่พระองค์ในขณะนั้นทันที ท่วมไปทั่วพระวรกายแผ่ไปจดเยื่อในกระดูก. ในขณะนั้นพระองค์ได้รู้ซึ้งถึงคุณของพระบิดาว่า แม้เมื่อเราเกิด พระบิดาของเราก็คงเกิดความรักอย่างนี้เหมือนกัน. จึงรีบมีรับสั่งว่า แน่ะพนาย จงไปปล่อยพระบิดาของเรา. พวกอํามาตย์ทูลว่า พระองค์สั่งให้ปล่อยอะไร พระเจ้าข้า แล้วถวายหนังสือแจ้งข่าวอีกฉบับหนึ่งที่พระหัตถ์. พอทรงทราบความเป็นไปดังนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูทรงกันแสง เสด็จไปเฝ้าพระมารดา ทูลว่า ข้าแต่เสด็จแม่ เมื่อหม่อมฉันเกิด พระบิดาของหม่อมฉันเกิดความรักหม่อมฉันหรือหนอ พระนางเวเทหิมีรับสั่งว่า เจ้าลูกโง่ เจ้าพูดอะไร เวลาที่ลูกยังเล็กอยู่ เกิดเป็นฝีที่นิ้วมือ ครั้งนั้นพวกแม่นมทั้งหลายไม่สามารถทําให้ลูกซึ่งกําลังร้องไห้หยุดร้องได้ จึงพาลูกไปเฝ้าเสด็จพ่อของลูกซึ่งประทับนั่งอยู่ในโรงศาล เสด็จพ่อของลูกได้อมนิ้วมือของลูกจนฝีแตกในพระโอษฐ์นั้นเอง ครั้งนั้นเสด็จพ่อของลูกมิได้เสด็จลุกจากที่ประทับ ทรงกลืนพระบุพโพปนพระโลหิตนั้นด้วยความรักลูก เสด็จพ่อของลูกมีความรักลูกถึงปานนี้.พระเจ้าอาชาตศัตรูทรงกันแสงคร่ําครวญ ได้ถวายเพลิงพระศพพระบิดา.

    ฝ่ายพระเทวทัตเข้าเฝ้าพระเจ้าอชาตศัตรูทูลว่า มหาบพิตร พระองค์จงสั่งคนที่จักปลงชีวิตพระสมณโคดม แล้วสั่งคนทั้งหลายที่พระเจ้า-

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 346

อชาตศัตรูพระราชทาน ตนเองขึ้นเขาคิชฌกูฏ กลิ้งศิลาก็แล้ว ให้ปล่อยช้างนาฬาคิรีก็แล้ว ด้วยอุบายไม่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ไม่อาจปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ ก็เสื่อมลาภสักการะ จึงขอวัตถุ ๕ ประการ เมื่อไม่ได้วัตถุ ๕ ประการนั้นก็ประกาศว่า ถ้าอย่างนั้น จักให้มหาชนเข้าใจเรื่องให้ตลอด จึงทําสังฆเภท เมื่อพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะพาบริษัทกลับแล้ว จึงรากเลือดออกร้อนๆ นอนอยู่บนเตียงคนไข้ ๙ เดือน เดือดร้อนใจ ถามว่า เดี๋ยวนี้พระศาสดาประทับอยู่ที่ไหน ครั้นได้รับตอบว่า ในพระเชตวัน จึงกล่าวว่า พวกท่านจงเอาเตียงหามเราไปเฝ้าพระศาสดา เมื่อเขาหามมา เพราะมิได้กระทํากรรมที่ควรจะได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงถูกแผ่นดินสูบที่ใกล้สระโบกขรณีในพระเชตวันนั่นเอง ลงไปอยู่ในมหานรก. นี้เป็นความย่อในเรื่องนี้.ส่วนนัยแห่งเรื่องอย่างพิสดาร มาในขันธกวินัยแล้ว. ก็เพราะเรื่องนี้ มาในขันธกวินัยแล้ว จึงมิได้กล่าวทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้.

    พระกุมารนี้พอเกิดเท่านั้น ก็จักเป็นศัตรูแก่พระราชา พวกเนมิตตกาจารย์ทํานายไว้ดังนี้ ฉะนั้น จึงชื่อว่า อชาตศัตรู ด้วยประการฉะนี้.

    บทว่า เวเทหีปุตฺโต ความว่า พระกุมารนี้ เป็นพระโอรสของพระธิดาพระเจ้าโกศล มิใช่ของพระเจ้าวิเทหราช.

    ก็คําว่า เวเทหี นี้เป็นชื่อของบัณฑิต. เหมือนอย่างที่กล่าวว่า คหปตานีเป็นบัณฑิต พระผู้เป็นเจ้าอานนท์เป็นบัณฑิตมุนี.

    ในคําว่า เวเทหี นั้น มีอธิบายเฉพาะคําดังต่อไปนี้

    ชื่อว่า เวทะ ด้วยอรรถว่า เป็นเครื่องรู้ คําว่า เวทะ นี้เป็นชื่อของ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 347

ความรู้.

    ชื่อว่า เวเทหี ด้วยอรรถว่า ดําเนินการ สืบต่อ พยายามด้วยความรู้.

    โอรสของพระนางเวเทหิ ชื่อว่า เวเทหิบุตร.

    บทว่า ตทหุ เท่ากับบท ตสฺมึ อหุ ความว่า ในวันนั้น.

    ชื่อว่า อุโบสถ ด้วยอรรถว่า วันเป็นที่เข้าไปอยู่ (จําศีล) .อธิบายว่า บทว่า อุปวสนฺติ จําศีล คือเป็นผู้เข้าถึงด้วยศีลหรือด้วยอาการที่ไม่ขวนขวาย ชื่อว่า เป็นผู้อยู่จําศีล.

    ก็ในคําว่า อุโบสถ นี้ มีการขยายความดังต่อไปนี้

    การสวดปาติโมกข์ ชื่อว่า อุโบสถ เช่นในบาลีมีอาทิว่า อายามาวุโส กปฺปิน อุโปสถํ คมิสฺสาม มาเถิดท่านกัปปินะ พวกเราจักไปทําอุโบสถกัน.

    ศีล ชื่อว่า อุโบสถ เช่นในบาลีมีอาทิว่า เอวํ อฏงฺคสมนฺนาคโตโข วิสาเข อุโปสโถ อุปวุตฺโถ แน่ะนางวิสาขา ศีลประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้ เราจําแล้ว.

    การจําศีล ชื่อว่า อุโบสถ เช่นในบาลีมีอาทิว่า สุทฺธสฺส เวสทา ผคฺคุ สุทฺธสฺสุโปสโถ สทา ผัคคุณฤกษ์ย่อมถึงพร้อมแก่ผู้หมดจดแล้วทุกเมื่อ การจําศีลย่อมถึงพร้อมแก่ผู้หมดจดทุกเมื่อ.

    บัญญัติ ชื่อว่า อุโบสถ เช่นในบาลีมีอาทิว่า อุโปสโถนาม นาคราชา นาคราช ชื่อว่า บัญญัติ.

    วันที่ควรจําศีล ชื่อว่า อุโบสถ เช่นในบาลีมีอาทิว่า น ภิกฺขเว ตทหุโปสเถ สภิกฺขุกา อาวาสา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในวันที่ควรจําศีล

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 348

นั้น วัดว่างภิกษุ.

    แม้ในที่นี้ก็ประสงค์วันที่พึงจําศีลนั่นแหละ. ก็วันที่พึงจําศีลนี้นั้นมี ๓ คือ วัน ๘ ค่ํา วัน ๑๔ ค่ํา วัน ๑๕ ค่ํา เพราะฉะนั้น ที่กล่าวในบาลีว่า วัน ๑๕ ค่ํา ก็เพื่อห้ามวัน ๘ ค่ําและวัน ๑๔ ค่ําทั้ง ๒ วัน. ฉะนั้นจึงกล่าวว่า ชื่อว่า อุโบสถ ด้วยอรรถว่า วันเป็นที่เข้าไปอยู่ (จําศีล) .

    บทว่า โกมุทิยา ความว่า มีดอกโกมุทบาน. ได้ยินว่า เวลานั้นดอกโกมุทบานเต็มที่.

    ชื่อว่า โกมุทิ ด้วยอรรถว่า เป็นฤดูมีดอกโกมุท.

    บทว่า จาตุมาสินิยา ความว่า สุดเดือน ๔.

    จริงอยู่ วันอุโบสถวันนั้นเป็นวันที่สุดแห่งเดือน ๔ เหตุนั้น จึงชื่อว่า จาตุมาสี. แต่ในที่นี้ท่านเรียกว่า จาตุมาสินี.

    เพราะเหตุที่ว่าวันนั้นพอดีเต็มเดือน เต็มฤดู เต็มปี สมบูรณ์จึงชื่อว่า ปุณฺณา.

    ศัพท์ว่า มา ท่านเรียกพระจันทร์.

    พระจันทร์เต็มในวันนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า ปุณฺณมา.

    ในบททั้ง ๒ คือ ปุณฺณาย และ ปุณฺณมาย นี้ พึงทราบเนื้อความดังกล่าวมานี้.

    บทว่า ราชา อมจฺจปริวุโต ความว่า พระราชาแวดล้อมด้วยอํามาตย์ทั้งหลาย ในราตรีซึ่งสว่างไสวไปด้วยแสงจันทร์เต็มดวงที่ปราศจากเครื่องเศร้าหมอง ๔ ประการ ปานประหนึ่งทิศาภาคที่ชําระล้างด้วยธารน้ำนมมีแสงเงินยวงออกเป็นช่อ และดุจช่อดอกโกมุททําด้วยผ้าเนื้อดีสีขาวราวกะว่าพวงแก้วมุกดาและพวงดอกมะลิ มีแสงแวววาวกระจายดังวิมาน

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 349

เงินเปล่งรัศมี.

    บทว่า อุปริปาสาทวรคโต ความว่า ประทับอยู่ในมหาปราสาทชั้นบน. ประทับนั่งเหนือพระราชอาสน์ทองภายใต้มหาเศวตฉัตรที่ยกขึ้นไว้ซึ่งควรแก่ความยิ่งใหญ่.

    ถามว่า ประทับนั่งทําไม?

    แก้ว่า เพื่อบรรเทาความหลับ.

    พระราชาองค์นี้แหละ ตั้งแต่วันที่พยายามปลงพระชนม์พระบิดา พอหลับพระเนตรทั้ง ๒ ลงด้วยตั้งพระทัยว่าจักหลับ ก็สะดุ้งเฮือกเหมือนถูกหอกตั้งร้อยเล่มทิ่มแทง ทรงตื่นอยู่ (ไม่หลับ เพราะหวาดภัยเหลือเกิน) . ครั้นพวกอํามาตย์ทูลถามว่า เป็นอะไร พระองค์ก็มิได้ตรัสอะไรๆ . เพราะฉะนั้น ความหลับจึงมิได้เป็นที่พอพระทัยของพระองค์.ดังนั้นจึงประทับนั่งเพื่อบรรเทาความหลับ.

    อนึ่ง ในวันนั้นมีนักษัตรเอิกเกริกมาก. ทั่วพระนครกวาดกันสะอาดเรียบร้อย. เอาทรายมาโรย. ประตูเรือนประดับดอกไม้ ๕ สี.ข้าวตอกและหม้อใส่น่าเต็ม. ทุกทิศาภาคชักธงชัย ธงแผ่นผ้า. ประดับประทีปมาลาวิจิตรโชติช่วง. มหาชนเล่นนักษัตรกันสนุกสนานตามวิถีถนนเบิกบานกันทั่วหน้า.

    อาจารย์บางท่านกล่าวว่า ประทับนั่งเพราะเป็นวันเล่นนักษัตรดังนี้ก็มี. ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เป็นอันทําสันนิษฐานว่า นักษัตรทุกครั้งเป็นของราชตระกูล แต่พระราชาองค์นี้ ประทับนั่งเพื่อบรรเทาความหลับเท่านั้น.

    บทว่า อุทานํ อุทาเนสิ ความว่า ทรงเปล่งอุทาน.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 350

    น้ำมันที่ล้นเครื่องตวงจนไม่อาจตวงได้ เขาเรียกว่า น้ำมันล้น ฉันใด และน้ำที่ท่วมบ่อจนไม่อาจขังอยู่ได้ เขาเรียกว่า ห้วงน้ำล้น ฉันใด คําปีติที่เปียมใจจนไม่อาจเก็บไว้ได้ ดํารงอยู่ภายในใจไม่ได้ ล้นออกมาภายนอกนั้น เรียกว่า อุทาน ฉันนั้น. พระราชาทรงเปล่งคําที่สําเร็จด้วยปีติเห็นดังนี้.

    บทว่า โทสินา ความว่า ปราศจากโทษ. อธิบายว่า ปราศจากเครื่องเศร้าหมอง ๔ ประการเหล่านี้ คือ หมอก น้ำค้าง กลุ่มควัน ราหู.

    ราตรีนั้นมีคําชม ๕ ประการ มีเป็นที่น่ารื่นรมย์เป็นต้น ก็ราตรีนั้น ชื่อว่า รมฺมนียา เพราะอรรถว่า ทําใจของมหาชนให้รื่นรมย์.

    ชื่อว่า อภิรูปา เพราะอรรถว่า งามยิ่งนัก เพราะสว่างด้วยแสงจันทร์ซึ่งพ้นจากโทษดังกล่าว.

    ชื่อว่า ทสฺสนียา เพราะอรรถว่า ควรที่จะดู.

    ชื่อว่า ปาสาทิกา เพราะอรรถว่า ทําจิตให้ผ่องใส.

    ชื่อว่า ลกฺขฺา เพราะอรรถว่า ควรที่จะกําหนดวันและเดือน เป็นต้น.

    บทว่า กํ นุ ขฺวชฺช ตัดบทเป็น กํ นุ โข อชฺช.

    บทว่า สมณํ วา พฺราหฺมณํ วา ความว่า ชื่อว่าสมณะ เพราะเป็นผู้สงบบาป ชื่อว่า พราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยบาป

    บทว่า ยนฺโน ปยิรุปาสโต ความว่า จิตของเราผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์ผู้ฉลาดพูด เพื่อถามปัญหา พึงเลื่อมใสเพราะได้ฟังธรรมที่ไพเราะ.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 351

    ด้วยพระดํารัสแม้ทั้งหมดนี้ พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทรงกระทําแสงสว่างให้เป็นนิมิต ด้วยประการฉะนี้.

    ทรงกระทําแก่ใคร? แก่หมอชีวก. เพื่ออะไร? เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็พระเจ้าอชาตศัตรูไม่อาจเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเองหรือ? ถูกแล้ว ไม่อาจ. เพราะเหตุไร? เพราะพระองค์มีความผิดมาก.

    ด้วยว่า พระเจ้าอชาตศัตรูได้ปลงพระชนม์ชีพพระบิดาของพระองค์ผู้เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้าและเป็นอริยสาวก และพระเทวทัตก็ได้อาศัยพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นนั่นแหละกระทําความฉิบหายใหญ่แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ความผิดจึงมากด้วยประการฉะนี้. ด้วยความที่พระองค์มีความผิดมากนั้น จึงไม่อาจเสด็จไปเฝ้าด้วยพระองค์เอง.อนึ่ง หมอชีวก ก็เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระเจ้าอชาตศัตรูจึงได้ทรงกระทําแสงสว่างให้เป็นนิมิต ด้วยหมายพระทัยว่า เราจักเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเป็นเงาตามหลังหมอชีวกนั้น.

    หมอชีวกรู้ว่า พระราชาทรงกระทําแสงสว่างให้เป็นนิมิตแก่ตนหรือ? รู้อย่างดี. เมื่อรู้เหตุไรจึงนิ่งเสีย? เพื่อตัดความวุ่นวาย. ด้วยว่าในบริษัทนั้น มีอุปัฏฐากของครูทั้ง ๖ ประชุมกันอยู่มาก. เขาเหล่านั้นแม้ตนเองก็ไม่ได้รับการศึกษาเลย เพราะผู้ไม่ได้รับการศึกษาอยู่ใกล้ชิด เมื่อเราเริ่มกล่าวถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า เขาเหล่านั้นก็จักผลุดลุกผลุดนั่งในระหว่างๆ กล่าวคุณแห่งศาสดาของตนๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ คุณกถาแห่งพระศาสดาของเราก็จักไม่สิ้นสุดลงได้ ฝ่ายพระราชาครั้นทรงพบกุลุปกะของครูทั้ง ๖ เหล่านี้แล้ว มิได้พอพระทัยในคุณกถาของครูทั้ง ๖ เหล่านั้น เพราะไม่มีสาระที่จะถือเอาได้ ก็จักกลับมาทรง

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 352

ถามเรา ครั้นถึงตอนนั้น เราจักกล่าวพระคุณของพระศาสดา โดยปราศจากความวุ่นวาย แล้วจักพาพระเจ้าอชาตศัตรูไปสู่สํานักของพระศาสดา หมอชีวกรู้ชัดอยู่อย่างนี้จึงนิ่งเสีย เพื่อตัดความวุ่นวาย ดังนี้แล.

    อํามาตย์แม้เหล่านั้นพากันคิดอย่างนี้ว่า วันนี้พระราชาทรงชมราตรีด้วยบท ๕ บท คงมีพระประสงค์จะเข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์บางองค์ ถามปัญหาแล้วฟังธรรมเป็นแน่ ถ้าพระราชานี้จักทรงสดับธรรมของสมณะหรือพราหมณ์องค์ใดแล้ว ทรงเลื่อมใส และจักทรงกระทําสักการะใหญ่แก่สมณะหรือพราหมณ์องค์นั้น สมณะผู้เป็นกุลุปกะของผู้ใด ได้เป็นกุลุปกะของพระราชา ผู้นั้นย่อมมีความเจริญ ดังนี้.

    อํามาตย์เหล่านั้นครั้นคิดอย่างนี้แล้ว จึงเริ่มกล่าวสรรเสริญสมณะผู้เป็นกุลุปกะของตนๆ ด้วยหมายใจว่า เรากล่าวสรรเสริญสมณะผู้เป็นกุลุปกะของตนแล้วจักพาพระราชาไป เราก็จักไป. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูมีกระแสพระดํารัสอย่างนี้แล้ว อํามาตย์ของพระราชาคนหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.

    บรรดาครูทั้ง ๖ เหล่านั้น คําว่า ปูรโณ เป็นชื่อแห่งศาสดาปฏิญญา. คําว่า กสฺสโป เป็นโคตร.

    ได้ยินว่า ปูรณกัสสปะนั้นเป็นทาสที่ ๙๙ ของตระกูลหนึ่ง เหตุนั้นเขาจึงตั้งชื่อว่า ปูรณะ แต่เพราะเป็นทาสที่เป็นมงคล จึงไม่มีใครคอยว่า กล่าวว่า ทําดี ทําชั่ว หรือว่า ยังไม่ทํา ทําไม่เสร็จ. ได้ยินว่า นายปูรณะนั้นคิดว่า เราจะอยู่ในที่นี้ทําไม จึงหนีไป. ครั้งนั้นพวกโจรได้ชิงผ้าของเขาไป. เขาไม่รู้จะหาใบไม้หรือหญ้ามาปกปิดกาย จึงเปลือยกายเข้าไปในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง. มนุษย์ทั้งหลายเห็นเขา เข้าใจว่า ท่านผู้นี้

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 353

เป็นสมณะ เป็นพระอรหันต์ เป็นผู้มักน้อย คนเช่นท่านผู้นี้ไม่มี จึงถือเอาของคาวหวาน เป็นต้น เข้าไปหา. เขาคิดว่า เพราะเราไม่นุ่งผ้า จึงเกิดลาภนี้ ตั้งแต่นั้นมา แม้ได้ผ้าก็ไม่นุ่ง ได้ถือการเปลือยกายนั้น นั่นแหละเป็นบรรพชา. แม้คนเหล่าอื่นๆ ประมาณ ๕๐๐ คน ก็พากันบวชตาม ในสํานักของปูรณกัสสปะนั้น. ท่านกล่าวว่า ปูรโณ กสฺสโป หมายถึงนักบวชปูรณกัสสปะที่เล่าเรื่องมาแล้วนั้น.

    ชื่อว่า เจ้าหมู่ ด้วยอรรถว่า มีหมู่ กล่าวคือหมู่นักบวช.

    ชื่อว่า เจ้าคณะ ด้วยอรรถว่า มีคณะนั้นนั่นแหละ.

    ชื่อว่า คณาจารย์ ด้วยอรรถว่า เป็นอาจารย์ของคณะนั้น โดยฐานฝึกมารยาท.

    บทว่า าโต แปลว่า รู้กันทั่ว เห็นชัด.

    ชื่อว่า มีเกียรติยศ ด้วยอรรถว่า มียศที่เลื่องลือไปอย่างนี้ว่า มักน้อย สันโดษ แม้ผ้าก็ไม่นุ่ง เพราะมักน้อย.

    บทว่า ติตฺถกโร แปลว่า เจ้าลัทธิ.

    บทว่า สาธุสมฺมโต ความว่า เขายกย่องอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ ดีงาม เป็นสัตบุรุษ.

    บทว่า พหุชนสฺส ความว่า ปุถุชนอันธพาล ผู้ไม่ได้สดับ.

    ชื่อว่า รัตตัญู ด้วยอรรถว่า รู้ราตรีมากหลาย ที่ล่วงมาแล้วตั้งแต่บวช.

    ชื่อว่า จิรปัพพชิตะ ด้วยอรรถว่า บวชนาน.

    เพราะถ้อยคําของผู้ที่บวชไม่นาน เป็นถ้อยคําไม่น่าเชื่อ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า บวชมานาน.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 354

    บทว่า อทฺธคโต แปลว่า มีอายุยืนนาน อธิบายว่า ล่วงไป ๒ - ๓ รัชกาล.

    บทว่า วโยอนุปฺปตฺโต ความว่า อยู่ตลอดมาถึงปัจฉิมวัย.

    แม้คําทั้ง ๒ นี้ ท่านกล่าวหมายเอาถ้อยคําของคนหนุ่มที่ไม่น่าเชื่อ.

    บทว่า ตุณหี อโหสิ ความว่า พระราชาทรงเป็นเหมือนบุรุษผู้ต้องการจะกินมะม่วงสุกมีสีดังทอง มีรสอร่อย ครั้นพบผลมะเดื่อสุกที่นํามาวางไว้ในมือ ก็ไม่พอใจ ฉันใด พระราชาก็ฉันนั้น มีพระประสงค์สดับธรรมกถาที่ไพเราะ ประกอบด้วยคุณมีฌานและอภิญญาเป็นต้น แลสรุปลงด้วยพระไตรลักษณ์ แม้เมื่อก่อนได้เคยพบปูรณกัสสปะ ก็ไม่พอพระทัย มาบัดนี้ยิ่งไม่พอพระทัยขึ้นไปอีกเพราะการพรรณนาคุณ จึงทรงนิ่งเสีย แม้ไม่พอพระทัยเลย ก็มีพระดําริว่า ถ้าเราจักคุกคามคนที่เท็จทูลนั้นแล้วให้เขาจับคอนําออกไป ผู้ใดผู้หนึ่งแม้อื่นก็จะกลัวว่า พระราชาทรงกระทําอย่างนี้แก่คนที่พูดนั้นๆ จักไม่พูดอะไรๆ ฉะนั้น จึงทรงอดกลั้นถ้อยคํานั้นแม้ไม่เป็นที่พอพระทัย ได้ทรงนิ่งเสียเลย.

    ลําดับนั้น อํามาตย์อีกคนหนึ่งคิดว่า เราจักกล่าวคุณของสมณพราหมณ์ผู้เป็นกุลุปกะของตน จึงเริ่มทูล. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อํามาตย์อีกคนหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น. คํานั้นทั้งหมดพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้ว.

    ก็ในบรรดาครูทั้ง ๖ นี้ คําว่า มักขลิ เป็นชื่อของครูคนหนึ่งนั้น.คําว่า โคสาล เป็นชื่อรอง เพราะเกิดที่โรงโค. ได้ยินว่า เขาถือหม้อน้ำมันเดินไปบนพื้นที่มีเปือกตม. นายกล่าวว่า อย่าลื่นล้มนะพ่อ.เขาลื่นล้มเพราะเลินเล่อ จึงเริ่มหนีเพราะกลัวนาย. นายวิ่งไปยึดชายผ้าไว้.เขาจึงทิ้งผ้าเปลือยกายหนีไป. ความที่เหลือ เช่นเดียวกับปูรณกัสสปะ

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 355

นั่นเอง.

    คําว่า อชิต เป็นชื่อของครูคนหนึ่งนั้น. ชื่อว่า เกสกัมพล ด้วยอรรถว่า ครองผ้ากัมพลที่ทอด้วยผมคน. รวมชื่อทั้ง ๒ เข้าด้วยกัน จึงเรียกว่า อชิตเกสกัมพล. ใน ๒ ชื่อนั้น ผ้ากัมพลที่ทําด้วยผมคน ชื่อว่า เกสกัมพล. ชื่อว่าผ้าที่มีเนื้อหยาบกว่าผ้าเกสกัมพลนั้นไม่มี. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้าที่ทอด้วยด้ายจะมีกี่อย่างก็ตาม ผ้ากัมพลที่ทอด้วยผมคนเป็นผ้าที่มีเนื้อหยาบกว่าผ้าทอเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้ากัมพลที่ทอด้วยผมคน หน้าหนาวก็เย็นเยือก หน้าร้อนก็ร้อนระอุ มีค่าน้อย มีสัมผัสระคาย สีไม่สวย ทั้งกลิ่นก็เหม็น.

    คําว่า ปกุทธ เป็นชื่อของครูคนหนึ่งนั้น. คําว่ากัจจายนะ เป็นโคตร. รวมชื่อและโคตรเข้าด้วยกัน จึงเรียกว่า ปกุทธกัจจายนะ. ครูปกุทธกัจจายนะนี้ห้ามน้ำเย็น แม้ถ่ายอุจจาระ ก็ไม่ใช้น้ำล้าง. ได้น้ำร้อนหรือน้ำข้าวจึงทําการล้าง. ครั้นข้ามแม่น้ำหรือน้ำตามทาง คิดว่าศีลของเราขาด แล้วจึงก่อสถูปทรายอธิฐานศีลแล้วจึงไป. ครูคนนี้มีลัทธิที่ปราศจากสิริถึงปานนี้.

    คําว่า สญชัย เป็นชื่อของครูคนหนึ่งนั้น. ชื่อว่า เวลัฏฐบุตร เพราะเป็นบุตรของเวลัฏฐะ.

    ครูคนหนึ่ง ชื่อว่า นิครนถ์ ด้วยอํานาจชื่อที่ได้แล้ว เพราะพูดเสมอว่า พวกเราไม่มีกิเลสที่ร้อยรัด ที่เกลือกกลั้ว พวกเราเว้นจากกิเลสที่พัวพัน.

    ชื่อว่า นาฏบุตร เพราะเป็นบุตรของคนฟ้อนรํา.

    บทว่า อถ โข ราชา ความว่า ได้ยินว่า พระราชาทรงสดับคําของ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 356

อํามาตย์เหล่านั้นแล้ว มีพระราชดําริว่า เราไม่ต้องการฟังคําพูดของผู้ใดๆ ผู้นั้นๆ ย่อมพูดพล่ามไปหมด ส่วนคําพูดของผู้ใดที่เราต้องการฟัง เขาผู้นั้นกลับนิ่งอยู่ เหมือนครุฑถูกฤทธิ์นาคเข้าไปแล้วยืนนิ่ง เสียหายแล้วสิเรา ครั้นแล้วทรงพระดําริว่า หมอชีวกเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สงบระงับ แม้ตัวเองก็สงบระงับ ฉะนั้น จึงนั่งนิ่งเหมือนภิกษุที่สมบูรณ์ด้วยวัตร หมอชีวกนี้ เมื่อเราไม่พูด ก็จักไม่พูด ก็เมื่อจะจับช้าง ควรจะจับเท้าช้างนั่นแหละ จึงทรงปรึกษากับหมอชีวกนั้นด้วยพระองค์เอง. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ โข ราชา ดังนี้.

    ในพระบาลีนั้น บทว่า กึ ตุณฺหี ความว่า นิ่งเพราะเหตุไร พระราชาตรัสถามว่า เมื่ออํามาตย์เหล่านี้กล่าวคุณแห่งสมณะผู้เป็นกุลุปกะของตนๆ อยู่ ปากไม่พอกล่าว สมณะที่เป็นกุลุปกะของท่านเหมือนอย่างของอํามาตย์เหล่านี้ ไม่มีหรือ ท่านเป็นคนจนหรือ พระบิดาของเราประทานความเป็นใหญ่แก่ท่านแล้วมิใช่หรือ หรือว่าท่านไม่มีศรัทธา.

    ลําดับนั้น หมอชีวก จึงคิดในใจว่า พระราชาพระองค์นี้ให้เรากล่าวคุณแห่งสมณะผู้เป็นกุลุปกะ บัดนี้เราไม่ใช่เวลาที่เราจะนิ่ง เหมือนอย่างว่า อํามาตย์เหล่านี้ถวายบังคมพระราชาแล้วนั่งลงกล่าวคุณของสมณะผู้กุลุปกะของตนๆ ฉันใด เราจะกล่าวคุณของพระศาสดาของเราเหมือนอย่างอํามาตย์เหล่านี้หาควรไม่ ดําริพลางลุกขึ้นจากอาสนะหันหน้าไปทางที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ประคองอัญชลีซึ่งรุ่งเรืองไปด้วยทศนัขสโมธานเหนือพระเศียร แล้วทูลว่าข้า แต่พระมหาราช ขอพระองค์อย่าทรงเข้าพระทัยว่า ชีวกนี้จะพาไป

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 357

พบสมณะพอดีพอร้าย เพราะพระศาสดาของข้าพระองค์นี้ ในการถือปฏิสนธิในครรภ์พระมารดา ในการประสูติจากครรภ์พระมารดา ในการเสด็จออกผนวช ในการตรัสรู้ และในการประกาศธรรมจักร หวั่นไหวไปทั่วหมื่นโลกธาตุ ทรงทํายมกปาฏิหาริย์ก็อย่างนี้ คราวเสด็จลงจากเทวโลกก็อย่างนี้ ข้าพระพุทธเจ้าจักกล่าวคุณแห่งพระศาสดาของข้าพระพุทธเจ้า ขอพระองค์จงตั้งพระทัยให้แน่วแน่สดับเถิด พระพุทธเจ้าข้า.ครั้นกราบทูลดังนี้แล้วจึงกล่าวคําเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้ .

    ในพระบาลีนั้น คําว่า ตํ โข ปน เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งอิตถัมภูตาขยาน คือให้แปลว่า ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    บทว่า กลฺยาโณ ความว่า ประกอบด้วยความงาม คือคุณธรรม.มีอธิบายว่า ประเสริฐที่สุด.

    บทว่า กิตฺติสทฺโท ความว่า ชื่อเสียง หรือเสียงสดุดีพระเกียรติที่กึกก้อง.

    บทว่า อุพฺภุคฺคโต ความว่า ลือกระฉ่อนไปทั่วโลกรวมทั้งเทวโลกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้เพราะเหตุนี้ จึงเป็นพระอรหันต์ แม้เพราะเหตุนี้ จึงเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ แม้เพราะเหตุนี้ จึงเป็นผู้แจกพระธรรม ดังนี้.

    ในบทพระพุทธคุณนั้น มีการเชื่อมบทดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้เพราะเหตุนี้ จึงเป็นพระอรหันต์ แม้เพราะเหตุนี้ จึงเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ แม้เพราะเหตุนี้ จึงเป็นผู้แจกพระธรรม อธิบายว่า เพราะเหตุนี้ด้วย นี้ด้วย.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 358

    บทเหล่านี้ทั้งหมดในพระบาลีนั้น ได้อธิบายอย่างพิสดารในพุทธานุสสตินิทเทศในวิสุทธิมรรค เริ่มต้นตั้งแต่อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พึงทราบว่าเป็นพระอรหันต์ด้วยเหตุเหล่านี้ก่อน คือ เพราะไกลจากกิเลสทั้งหลาย ๑ เพราะหักกําจักรแห่งสังสารวัฏฏ์ ๑ เพราะควรแก่ปัจจัยเป็นต้น ๑ เพราะไม่มีความลับในการทําบาป ๑ ความพิสดารแห่งบทพุทธคุณเหล่านั้น พึงถือเอาจากวิสุทธิมรรคนั้น.

    ก็หมอชีวกพรรณนาพุทธคุณทีละบทจบความลง ทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช พระศาสดาของข้าพระองค์เป็นพระอรหันต์อย่างนี้ เป็นสัมมาสัมพุทธะอย่างนี้ ฯลฯ เป็นผู้แจกธรรมรัตน์อย่างนี้ แล้วทูลสรุปว่า ขอพระองค์ผู้สมมติเทพโปรดเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด ถึงอย่างไรเมื่อพระองค์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ พระทัยก็พึงผ่องใส.

    ก็ในพระบาลีตอนนี้ เมื่อหมอชีวกทูลว่า ขอพระองค์ผู้สมมติเทพ โปรดเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด ดังนี้ เท่ากับทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช เมื่อข้าพระองค์ถูกพระราชาเช่นพระองค์ตั้งร้อยตั้งพันตั้งแสนตรัสถาม ย่อมมีเรี่ยวแรงและพลังที่จะกล่าวคุณกถาของพระศาสดาให้จับใจของคนทั้งหมดได้ พระองค์ก็ทรงคุ้นเคย โปรดเข้าไปเฝ้าทูลถามปัญหาเถิด พระพุทธเจ้าข้า.

    เมื่อพระราชาทรงสดับคุณกถาของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่เรื่อยๆ นั้น ทั่วพระวรกายมีปีติ ๕ ประการถูกต้องตลอดเวลา พระองค์มีพระประสงค์จะเสด็จไปในขณะนั้นทีเดียว มีพระดําริว่า เมื่อเราจะไปเฝ้าพระทศพลในเวลานี้ ไม่มีใครอื่นที่จักสามารถจัดยานพาหนะได้เร็ว นอกจากหมอชีวก จึงรับสั่งว่า ชีวกผู้สหาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงสั่งให้

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 359

เตรียมหัตถียานไว้.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตนหิ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่า ส่งไป อธิบายว่า ไปเถิด ชีวกผู้สหาย.

    บทว่า หตฺถิยานานิ ความว่า บรรดายานพาหนะมีม้าและรถเป็นต้นที่มีอยู่มากมาย ยานพาหนะคือช้างเป็นสูงสุด ควรจะนําไปสํานักของพระศาสดาผู้สูงสุด ด้วยยานพาหนะที่สูงสุดเหมือนกัน. พระราชามีพระดําริดังนี้แล้ว และมีพระดําริต่อไปอีกว่า ยานพาหนะคือม้าและรถมีเสียงดัง เสียงของยานพาหนะเหล่านั้นได้ยินไปไกลทีเดียว ส่วนยานพาหนะคือช้าง แม้คนที่เดินตามรอยเท้าก็ไม่ได้ยินเสียง ควรจะไปสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เงียบสงบด้วยยานพาหนะที่เงียบสงบเหมือนกัน ดังนี้แล้วจึงตรัสว่า หตฺถิยานานิ เป็นต้น.

    บทว่า ปฺจมตฺตานิ หตฺถินิยาสตานิ ความว่า ช้างพังประมาณ ๕๐๐.

    บทว่า กปฺปาเปตฺวา ความว่า ให้เตรียมเกยช้าง.

    บทว่า อาโรหณียํ ความว่า ควรแก่การขึ้น อธิบายว่า ปกปิด.

    ถามว่า หมอชีวกนี้ได้กระทําสิ่งที่พระราชาตรัสหรือมิได้ตรัส?

    ตอบว่า ได้กระทําสิ่งที่พระราชามิได้ตรัส .

    เพราะเหตุไร?

    เพราะเป็นบัณฑิต.

    ได้ยินว่า หมอชีวกนั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระราชามีรับสั่งว่าเราจะไปในเวลานี้.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 360

    ธรรมดาพระราชาทั้งหลาย มีศัตรูมาก หากจะมีอันตรายบางอย่างในระหว่างทาง แม้เราก็จักถูกคนทั้งหลายตําหนิว่า หมอชีวกคิดว่า พระราชาเชื่อคําเรา จึงพาพระราชาออกไปในเวลาไม่ควร แม้ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าก็จักถูกตําหนิว่า พระสมณโคดมมุ่งแต่จะเทศน์ ไม่กําหนดกาล ควรไม่ควรแล้วแสดงธรรม ดังนี้บ้าง เพราะฉะนั้น เราจักกระทําอย่างที่ครหาจะไม่เกิดขึ้นแก่เรา และจะไม่เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งพระราชาก็จะได้รับอารักขาอย่างดี. ต่อแต่นั้น หมอชีวกคิดว่า เพราะอาศัยหญิงทั้งหลาย ภัยย่อมไม่มีแก่ชายทั้งหลาย พระราชามีหญิงแวดล้อมเสด็จไปสะดวกดี จึงให้เตรียมช้างพัง ๕๐๐ เชือก ให้หญิง ๕๐๐ คนปลอมเป็นชาย สั่งว่า พวกเธอจงถือดาบและหอกซัดแวดล้อมพระราชา แล้วหมอยังคิดอีกว่า พระราชาองค์นี้ไม่มีอุปนิสัยแห่งมรรคผลในอัตตภาพนี้และธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงเห็นอุปนิสัยก่อนจึงแสดงธรรม เอาละเราจักให้มหาชนประชุมกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ พระศาสดาจักทรงแสดงธรรมตามอุปนิสัยของใครๆ สักคน พระธรรมเทศนานั้นจักเป็นอุปการะแก่มหาชน. หมอชีวกนั้นส่งข่าวสาสน์ให้ตีกลองป่าวประกาศในที่นั้นๆ ว่า วันนี้พระราชาจะเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอให้คนทุกคนถวายอารักขาพระราชาตามสมควรแก่สมบัติของตนๆ

    ลําดับนั้น มหาชนคิดว่า ได้ยินว่า พระราชาจะเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเช่นไรหนอ พวกเราจะมัวเล่นนักษัตรกันทําไม ไปในที่นั้นเถิด.ทุกคนถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ยืนรอการเสด็จมาของพระราชาอยู่ตามทาง. แม้หมอชีวกก็ทูลเชิญเสด็จพระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 361

เทพ เตรียมยานพาหนะช้างเสร็จแล้ว ขอพระองค์จงรู้เวลาที่ควรเสด็จในบัดนี้เถิด.

    ในบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺสทานิ กาลํ มฺสิ เป็นคําทูลเตือน.อธิบายว่า เรื่องใดที่พระองค์ทรงสั่งไว้ เรื่องนั้นข้าพระองค์ทําเสร็จแล้ว บัดนี้ขอพระองค์จงรู้เวลาที่จะเสด็จหรือไม่เสด็จเถิด ขอพระองค์จงทรงกระทําตามชอบพระทัยของพระองค์เถิด.

    บทว่า ปจฺเจกา อิตฺถิโย ตัดบทเป็น ปฏิเอกา อิตฺถิโย อธิบายว่า ช้างพังแต่ละเชือก มีหญิงคนหนึ่งประจํา.

    บทว่า อุกฺกาสุ ธาริยมานาสุ ความว่า มีคนถือคบเพลิง.

    บทว่า มหจฺจราชานุภาเวน ความว่า ด้วยอานุภาพของพระราชาที่ใหญ่หลวง. บาลีว่า มหจฺจา ก็มี ความว่า ใหญ่หลวง นี้เป็นลิงคปริยาย.

    ราชฤทธิ์ เรียกว่า ราชานุภาพ. ก็อะไรเป็นราชฤทธิ์? สิริคือ ความเป็นใหญ่แห่งรัฐใหญ่ ๒ รัฐ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ ๓๐๐ โยชน์เป็นราชฤทธิ์.

    จริงอยู่ ในวันก่อนโน้น มิได้มีการเตรียมจัดไว้ก่อน ด้วยหมายว่า พระราชาจักเสด็จไปเฝ้าพระตถาคต หมอชีวกจัดในขณะนั้นเอง เอาหญิง ๕๐๐ คนปลอมเป็นชาย สวมผ้าโพก คล้องพระขรรค์ที่บ่า ถือหอกซัด มีด้ามเป็นแก้วมณีออกไป ซึ่งพระสังคีติกาจารย์หมายถึง กล่าวว่า ปจฺเจกา อิตฺถิโย อาโรเปตฺวา ดังนี้.

    หญิงฟ้อนรําล้อมนางกษัตริย์อีกจํานวนหนึ่งประมาณหมื่นหกพันคนแวดล้อมพระราชา. ท้ายขบวนหญิงฟ้อนรําเหล่านั้น มีคนค่อม คนเตี้ยและคนแคระเป็นต้น. ท้ายขบวนคนเหล่านั้น มีคนใกล้ชิดผู้ดูแลภายในพระนคร. ท้ายขบวนคนใกล้ชิดเหล่านั้น มีมหาอํามาตย์ประมาณหกหมื่น

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 362

คนแต่งตัวเต็มยศงดงาม. ท้ายขบวนมหาอํามาตย์เหล่านั้น มีลูกเจ้าประเทศราชประมาณเก้าหมื่นคน ประดับด้วยเครื่องประดับหลายอย่าง ราวกะเพทยาธรหนุ่มถืออาวุธชนิดต่างๆ . ท้ายขบวนลูกเจ้าประเทศราช มีพราหมณ์ประมาณหมื่นคนนุ่งผ้ามีค่าตั้งร้อย ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่งค่า ๕๐๐ อาบน้ำลูบไล้อย่างดี งามด้วยเครื่องประดับต่างๆ มีดอกไม้ทองเป็นต้น เดินยกมือขวาเปล่งเสียงไชโย. ท้ายขบวนพราหมณ์เหล่านั้น มีดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕. ท้ายขบวนดนตรีเหล่านั้น มีนายขมังธนูล้อมเป็นวง. ท้ายพวกขมังธนู มีช้างมีตะพองชิดกัน. ท้ายช้าง มีม้าเรียงรายคอต่อคอชิดกัน. ท้ายม้า มีรถชิดกันและกัน. ท้ายรถ มีทหารแขนต่อแขนกระทบกัน. ท้ายทหารเหล่านั้น มีเสนา ๑๘ เหล่า รุ่งเรืองด้วยเครื่องประดับที่สมควรแก่ตนๆ

    หมอชีวกจัดคนถวายพระราชา ชนิดลูกศรที่คนยืนอยู่ท้ายสุดขบวนยิงไปก็ไม่ถึงพระราชา ตนเองยังตามเสด็จไม่ห่างไกลพระราชา ด้วยหมายใจว่า หากจะมีอันตรายอะไรๆ เราจักถวายชีวิตเพื่อพระราชาก่อนคนอื่นทั้งหมด. อนึ่ง คบเพลิงก็กําหนดไม่ได้ว่าร้อยเท่านี้หรือพันเท่านี้.คําว่า พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จไปสวนอัมพวัน ของหมอชีวก โกมารภัจ ด้วยราชานุภาพอย่างยิ่งใหญ่นั้น พระสังคีติกาจารย์กล่าวหมายเอาราชฤทธิ์เห็นปานนี้แล.

    ในคําว่า อหุเทว ภยํ นี้ ภัยมี ๔ อย่าง คือ ภัยเพราะจิตสะดุ้ง ๑ ภัยเพราะญาณ ๑ ภัยเพราะอารมณ์ ๑ ภัยเพราะโอตัปปะ ๑.

    ในภัย ๔ อย่างนั้น ภัยที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า อาศัยชาติมีความกลัว ความพรั่นพรึง ดังนี้ ชื่อว่า ภัยเพราะจิตสะดุ้ง.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 363

    ภัยที่มาแล้วอย่างนี้ว่า เขาแม้เหล่านั้นฟังพระธรรมเทศนาของพระตถาคตแล้ว ย่อมถึงความกลัว ความสลด ความสะดุ้งโดยมาก ดังนี้ชื่อว่า ภัยเพราะญาณ.

    ภัยที่กล่าวแล้วในคํานี้ว่า มาถึงภัยที่น่ากลัวนั่นนั้นแน่ ดังนี้ ชื่อว่า ภัยเพราะอารมณ์.

    ภัยนี้ในคํานี้ว่า คนดีทั้งหลายย่อมสรรเสริญความกลัวต่อบาป ไม่สรรเสริญความกล้าในบาปนั้นเลย เพราะสัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่ทําบาปเพราะกลัว ดังนี้ ชื่อว่า ภัยเพราะโอตตัปปะ.

    ในภัย ๔ อย่างนั้น ในที่นี้หมายเอาภัยเพราะจิตสะดุ้ง อธิบายว่า ได้มีจิตสะดุ้งกลัว.

    บทว่า ฉมฺภิตตฺตํ ความว่า ความพรั่นพรึง อธิบายว่า สั่นไปทั่วร่าง.

    บทว่า โลมหํโส ได้แก่ขนชูชัน อธิบายว่า ขนลุกซู่. ก็ขนชูชันนี้นั้นย่อมมีด้วยปีติในเวลาเกิดอิ่มใจในขณะฟังธรรมเป็นต้นก็มี ด้วยความกลัวในเพราะเห็นการฆ่าฟันกันและเห็นผีเป็นต้นก็มี. ในที่นี้พึงทราบว่า ขนชูชันเพราะกลัว.

    ถามว่า ก็พระราชานี้ทรงกลัว เพราะเหตุไร?

    อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า เพราะความมืด.

    ได้ยินว่า ในกรุงราชคฤห์ มีประตูใหญ่ ๓๒ ประตู ประตูเล็ก ๖๔ ประตู. สวนอัมพวัน ของ หมอชีวก อยู่ระหว่างกําแพงเมืองกับภูเขาคิชฌกูฏต่อกัน. พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จออกทางประตูทิศตะวันตกเสด็จเข้าไปในเงาของภูเขา. ที่ตรงนั้น พระจันทร์ถูกยอดภูเขาบังไว้ ความ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 364

มืดจึงมีขึ้นเพราะเงาของภูเขาและเงาของต้นไม้. แม้ข้อที่กล่าวก็มิใช่เหตุอันสมควร. ด้วยว่าในเวลานั้น คบเพลิงตั้งแสนดวงก็กําหนดไม่ได้.ก็พระเจ้าอชาตศัตรูนี้อาศัยความเงียบสงัดจึงเกิดความกลัวเพราะระแวงหมอชีวก.

    ได้ยินว่า หมอชีวก ได้ทูลพระองค์ที่ปราสาทชั้นบนทีเดียวว่า ข้าแต่พระมหาราช พระผู้มีพระภาคเจ้า ประสงค์ความเงียบสงัด ควรเข้าเฝ้าด้วยความเงียบสงัดนั่นเอง เพราะเหตุนั้น พระราชาจึงทรงห้ามเสียงดนตรี. ดนตรีทั้งหลายพอพระราชาให้หยุดเท่านั้น. ขบวนตามเสด็จจึงไม่เปล่งเสียงดัง มากันด้วยสัญญานิ้วมือ. แม้ในสวนอัมพวัน ก็ไม่ได้ยินแม้เสียงกระแอมของใครๆ . ธรรมดาพระราชาทั้งหลายย่อมยินดีในเสียงยิ่งนัก. พระเจ้าอชาตศัตรูอาศัยความเงียบสงัดนั้น เกิดหลากพระทัยชักระแวงแม้ในหมอชีวกว่า หมอชีวกนี้กล่าวว่า ที่สวนอัมพวัน ของข้าพระองค์มีภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ก็ในที่นี้เราไม่ได้ยินแม้แต่เสียงกระแอม คําหมอชีวกเห็นจะไม่จริง หมอชีวกนี้ลวงนําเราออกจากเมือง ซุ่มพลกายไว้ข้างหน้า ต้องการจับเราแล้วขึ้นครองราชสมบัติเสียเอง ก็หมอชีวกนี้ทรงกําลัง ๕ ช้างสาร และเดินไม่ห่างเรา คนของเราที่ถืออาวุธอยู่ใกล้ก็ไม่มีสักคน น่าอัศจรรย์ เราเสียหายแล้วหนอ. ก็และครั้นทรงกลัวอย่างนี้ แล้วก็ไม่อาจดํารงตนอย่างคนไม่กลัวได้ จึงตรัสบอกความที่พระองค์กลัวแก่หมอชีวกนั้น. เพราะเหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรูฯลฯไม่มีเสียงพึมพํา ดังนี้ .

    ในบทเหล่านั้น บทว่า สมฺม ความว่า นี้เป็นคําเรียกคนรุ่นเดียวกัน. อธิบายว่า เพื่อนยาก นี่ไม่หลอกเราหรือ.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 365

    บทว่า น ปลมฺเภสิ ความว่า ท่านกล่าวสิ่งที่ไม่มีว่ามี ดังนี้ ไม่ลวงเราหรือ.

    บทว่า นิคฺโฆโส ความว่า ถ้อยคําสนทนากึกก้อง.

    บทว่า มา ภายิ มหาราช ความว่า หมอชีวกคิดว่า พระราชาพระองค์นี้ไม่รู้จักเรา ถ้าเราไม่ปลอบพระองค์ให้เบาพระทัยว่า ชีวกคนนี้ไม่ฆ่าผู้อื่น ดังนี้ พึงฉิบหาย จึงทูลปลอบให้มั่นพระทัยว่า อย่าทรงกลัวเลย พระพุทธเจ้าข้า แล้วจึงทูลว่า น ตํ เทว ดังนี้เป็นต้น.

    บทว่า อภิกฺกม ความว่า โปรดเสด็จเข้าไปเถิด อธิบายว่า จงเข้าไป. ก็เมื่อกล่าวครั้งเดียวจะไม่มั่น ฉะนั้น หมอชีวกจึงรีบกล่าว ๒ ๓ ครั้ง.

    บทว่า เอเต มณฺฑลมาเล ปทีปา ฌายนฺติ ความว่า หมอชีวกทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช ธรรมดากําลังของโจรจะไม่จุดประทีปตั้งไว้ แต่นั่นประทีปที่โรงกลมยังสว่างอยู่ ขอพระองค์จงเสด็จไปตามสัญญาแห่งประทีปนั้นเถิด พระเจ้าข้า.

    บทว่า นาคสฺส ภูมิ ความว่า ในที่ใดคนขึ้นช้างอาจไปได้ ที่นี้ชื่อว่าเป็นพื้นที่ช้างไปได้.

    บทว่า นาคา ปจฺโจโรหิตฺวา ความว่า ลงจากช้างที่ซุ้มประตูภายนอกที่ประทับ. ก็เดชแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แผ่ไปสู่พระสรีระของพระราชา ตลอดเวลาที่ประทับ ณ พื้นที่ประทับ. ในทันใดนั้น พระเสโทไหลออกจากทั่วพระสรีระของพระราชา. ผ้าทรงได้เป็นเหมือนบีบน้ำไหล. ความกลัวอย่างมากได้เกิดขึ้นเพราะทรงระลึกถึงความผิดของพระองค์ ท้าวเธอไม่อาจเสด็จไปสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าตรงๆ ทรง

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 366

เกาะมือหมอชีวก ราวกะว่าเสด็จชมสวน พลางตรัสชมที่ประทับว่า ชีวกผู้สหาย นี้เธอให้ทําได้ดี นี้เธอสร้างได้ดี เสด็จเข้าประตูโรงกลมโดยลําดับ อธิบายว่า ถึงพร้อมแล้ว.

    ด้วยคําว่า กถํ ปน สมฺม ดังนี้ พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสถามเพราะอะไร? อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ไม่ทรงทราบมาก่อน.

    ได้ยินว่า ในเวลาที่ยังทรงพระเยาว์ พระราชานี้เคยเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมกับพระบิดา แต่ภายหลัง เพราะคบมิตรชั่ว จึงทําปิตุฆาต ส่งนายขมังธนู ให้ปล่อยช้างธนบาล มีความผิดมาก ไม่กล้าเข้าไปเผชิญพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ว่าไม่ทรงทราบจึงตรัสถามนั้น ไม่ใช่เหตุอันสมควร.

    ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระวรลักษณ์เต็มที่ ประดับด้วยอนุพยัญชนะ เปล่งพระฉัพพรรณรังสีสว่างไสวทั่วสวน แวดล้อมไปด้วยหมู่ภิกษุ ดุจจันทร์เพ็ญแวดล้อมด้วยหมู่ดาว ประทับนั่งท่ามกลางโรงกลม ใครจะไม่รู้จักพระองค์. แต่พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสถามนี้ก็ด้วยท่วงทีแห่งความเป็นใหญ่ของพระองค์. ข้อที่รู้ก็ตามไม่รู้ก็ตาม ถามดูนี้เป็นปรกติธรรมดาของราชสกุลทั้งหลาย.

    ฝ่ายหมอชีวกฟังพระดํารัสนั้นแล้ว คิดว่า พระราชาพระองค์นี้เป็นดุจประทับยืนอยู่บนแผ่นดิน ถามว่า แผ่นดินอยู่ไหน ดูท้องฟ้า แล้วถามว่า พระจันทร์พระอาทิตย์อยู่ไหน ยืนอยู่ที่เชิงเขาสิเนรุ ถามว่าเขาสิเนรุอยู่ไหน ประทับยืนอยู่เฉพาะพระพักตร์พระทศพลทีเดียว ตรัสถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ไหน เอาละ เราจักแสดงพระผู้มี

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 367

พระภาคเจ้าแด่พระองค์ จึงน้อมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ แล้วทูลคําว่า เอโส มหาราช ดังนี้เป็นต้น.

    บทว่า ปุรกฺขโต ความว่า ประทับนั่งข้างหน้าของภิกษุสงฆ์ที่นั่งแวดล้อมพระองค์.

    บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า เข้าไปเฝ้ายังที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่.

    บทว่า เอกมนฺตํ อฏาสิ ความว่า พระราชาพระองค์เดียวเท่านั้นถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับยืนในประเทศแห่งหนึ่งซึ่งสมควรที่พระองค์จะประทับยืนได้ ไม่เบียดพระผู้มีพระภาคเจ้าหรือภิกษุสงฆ์.

    บทว่า ตุณหีภูตํ ตุณฺหีภูตํ ความว่า จะเหลียวแลไปที่ใดๆ ก็เงียบหมดในที่นั้นๆ . จริงอยู่ในที่นั้นไม่มีภิกษุแม้สักรูปหนึ่งที่แสดงความคะนองมือคะนองเท้า หรือเสียงกระแอม. ภิกษุแม้รูปหนึ่งก็มิได้แลดูพระราชาหรือบริษัทของพระราชาที่อยู่ตรงพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ล้วนมีนางฟ้อนรําเป็นบริวาร ประดับด้วยอลังการครบครัน. ภิกษุทุกรูปนั่งดูพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น. พระราชาทรงเลื่อมใสในความสงบของภิกษุเหล่านั้น ทรงตรวจดูภิกษุสงฆ์ผู้มีอินทรีย์สงบ เหมือนห้วงน้ำใส เพราะปราศจากเปือกตม บ่อยๆ ทรงเปล่งอุทาน.

    ในบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อิมินา นี้ แสดงว่า ด้วยความสงบนี้ที่ภิกษุสงฆ์สงบทางกาย ทางวาจาและทางใจ ด้วยความสงบคือศีล. พระราชาตรัสอย่างนี้ในที่นั้น มิได้ทรงหมายถึงความข้อนี้ว่า โอ! หนอ ขอให้ลูกของเราบวชแล้วพึงสงบเหมือนภิกษุเหล่านี้. แต่พระองค์ทอดพระ

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 368

เนตรเห็นภิกษุสงฆ์แล้วทรงเลื่อมใส จึงทรงระลึกถึงพระโอรส. ก็การได้สิ่งที่ได้ด้วยยากหรือเห็นสิ่งอัศจรรย์แล้วระลึกถึงคนรักมีญาติและมิตรเป็นต้น เป็นปรกติของโลกทีเดียว. พระราชานี้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุสงฆ์แล้วทรงระลึกถึงพระโอรสจึงตรัสอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระองค์มีความแหนงพระทัยในพระโอรส เมื่อทรงปรารถนาให้พระโอรสมีความสงบจึงตรัสอย่างนี้. ได้ยินว่า พระองค์ทรงปริวิตกอย่างนี้ว่า ลูกของเราจักถามว่า พระบิดาของเรายังหนุ่ม พระเจ้าปู่ของเราไปไหน เมื่อสดับว่า พระเจ้าปู่นั้น พระบิดาของพระองค์ฆ่าเสียแล้ว ดังนี้จักหมายมั่นว่า เราจักฆ่าพระบิดาแล้วครองราชสมบัติ. พระองค์มีความแหนงพระทัยในพระโอรส เมื่อทรงปรารถนาให้พระโอรสมีความสงบจึงตรัสอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

    ก็พระราชาตรัสอย่างนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้นพระโอรสก็จักฆ่าพระองค์อยู่นั่นเอง. ก็ในวงศ์นั้นมีการฆ่าบิดาถึง ๕ ชั่วรัชกาล.

    คือ พระเจ้าอชาตศัตรูฆ่าพระเจ้าพิมพิสาร

    พระเจ้าอุทัยฆ่าพระเจ้าอชาตศัตรู

    พระโอรสของพระเจ้าอุทัย พระนามว่ามหามุณฑิกะ ฆ่าพระเจ้าอุทัย

    พระโอรสของพระเจ้ามหามุณฑิกะ พระนามว่าอนุรุทธะ ฆ่า

    พระเจ้ามหามุณฑิกะ

    พระโอรสของพระเจ้าอนุรุทธะ พระนามว่านาคทาสะ ฆ่าพระเจ้าอนุรุทธะ.

    ชาวเมืองโกรธว่า พวกนี้เป็นพระราชาล้างวงศ์ตระกูล ไม่มี

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 369

ประโยชน์ จึงฆ่าพระเจ้านาคทาสะเสีย.

    เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้ว่า อาคมา โขตฺวํ ดังนี้.

    ได้ยินว่า เมื่อพระราชามิได้มีพระดํารัสเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดําริว่า พระราชานี้เสด็จมา ประทับนิ่งไม่มีเสียง ทรงพระดําริอย่างไรหนอ ครั้นทรงทราบความคิดของพระราชาแล้วทรงพระดําริว่า พระราชานี้ไม่อาจเจรจากับเรา ทรงชําเลืองดูภิกษุสงฆ์แล้วทรงระลึกถึงพระโอรส ก็เมื่อเราไม่เอ่ยขึ้นก่อน พระราชานี้จักไม่อาจตรัสอะไรๆ เลย เราจะเจรจากับพระองค์. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสในลําดับแห่งพระราชดํารัสว่า อาคมา โข ตฺวํ มหาราช ยถาเปมํ เป็นต้น. เนื้อความของพระพุทธดํารัสนั้นว่า มหาบพิตร น้ำที่ตกในที่สูงย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่มฉันใด ขอพระองค์จงชําเลืองดูภิกษุสงฆ์แล้วปฏิบัติตามความรักฉันนั้นเถิด. ครั้งนั้นพระราชามีพระราชดําริว่า โอ! พระพุทธคุณน่าอัศจรรย์ ชื่อว่าคนที่ทําผิดต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนอย่างเรา ไม่มี ด้วยว่า เราฆ่าอัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า และเชื่อคําของพระเทวทัตส่งนายขมังธนู ปล่อยช้างนาฬาคิรี เพราะอาศัยเรา พระเทวทัตจึงกลิ้งศิลา เรามีความผิดใหญ่หลวงถึงอย่างนี้ พระทศพลยังตรัสเรียกจนพระโอษฐ์จะไม่พอ โอ! พระผู้มีพระภาคเจ้าประดิษฐานอยู่ด้วยดีในลักษณะของผู้คงที่ด้วยอาการ ๕ อย่าง เราจักไม่ละทิ้งพระศาสดาเห็นปานนี้แล้วแสวงหาภายนอก ทรงพระโสมนัส เมื่อจะทรงสนทนากะพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ปิโย เม ภนฺเต เป็นต้น.

    บทว่า ภิกฺขุสงฺฆสฺส อฺชลึ ปณาเมตฺวา ความว่า ได้ยินว่า

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 370

พระเจ้าอชาตศัตรูนั้นมีพระราชดําริว่า เราถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วไปไหว้ภิกษุสงฆ์ข้างโน้นข้างนี้ ย่อมจะต้องหันหลังให้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็จะไม่เป็นการกระทําความเคารพพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะคนที่ถวายบังคมพระราชาแล้วถวายบังคมอุปราช ย่อมเป็นอันไม่กระทําความเคารพพระราชา ฉะนั้น พระองค์จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วน้อมอัญชลีแด่ภิกษุสงฆ์ตรงที่ประทับยืนนั่นเอง แล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรแห่งหนึ่ง.

    บทว่า กฺจิเทว เทสํ เลสมตฺตํ ได้แก่โอกาสบางโอกาส.

    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงหนุนให้พระเจ้าอชาตศัตรูเกิดอุตสาหะในการถามปัญหา จึงตรัสว่า เชิญถามเถิด มหาบพิตร เมื่อทรงพระประสงค์.

    พระพุทธดํารัสนั้นมีความว่า เชิญถามเถิด เมื่อทรงพระประสงค์เราตถาคตไม่มีความหนักใจในการวิสัชนาปัญหา อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปวารณาอย่างสัพพัญูปวารณาซึ่งไม่ทั่วไปแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวกและมหาสาวกทั้งหลายว่า เชิญถามเถิด พระองค์ทรงประสงค์ข้อใดๆ เราตถาคตจักวิสัชนาถวายข้อนั้นๆ ทุกข้อ แด่พระองค์.

    จริงอยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวก และมหาสาวกเหล่านั้น ย่อมไม่กล่าวว่า ยทากงฺขสิ ถ้าทรงพระประสงค์ ย่อมกล่าวว่า ฟังแล้วจักรู้ได้. แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมตรัสว่า ถามเถิด อาวุโสเมื่อต้องการ หรือว่า เชิญถามเถิด มหาบพิตร เมื่อทรงพระประสงค์.

    หรือว่า ดูก่อนวาสวะ ท่านต้องการถามปัญหาข้อใดข้อหนึ่งในใจ

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 371

จงถามกะเรา เราจะกระทําที่สุดแห่งปัญหานั้นๆ แก่ท่าน.

    หรือว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้าอย่างนั้น เธอจงนั่งบนอาสนะของตน ถามปัญหาตามที่ต้องการเถิด.

    หรือว่า ความสงสัยทุกๆ ข้อ ของพราหมณ์พาวรีก็ดี ของพวกท่านทั้งปวงก็ดี อะไรๆ ในใจที่พวกท่านปรารถนา จงถามเถิด เราเปิดโอกาสแล้ว.

    หรือว่า ดูก่อนสภิยะ ท่านต้องการถามปัญหาข้อใดข้อหนึ่งในใจ จงถามกะเรา เราจะกระทําที่สุดแห่งปัญหานั้นๆ แก่ท่าน.

    พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมปวารณาอย่างสัพพัญูปวารณา แก่ยักษ์จอมคน เทวดา สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกทั้งหลายนั้นๆ . ก็ข้อนี้ไม่อัศจรรย์ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุพุทธภูมิแล้วจึงปวารณาอย่างนั้น. แม้เมื่อดํารงอยู่ในญาณระดับภูมิพระโพธิสัตว์ ถูกฤาษีทั้งหลายขอร้องให้แก้ปัญหาเพื่อประโยชน์แก่ท้าวสักกะเป็นต้นอย่างนี้ว่า

    ดูก่อนโกณฑัญญะ ท่านจะพยากรณ์ปัญหาทั้งหลายที่พวกฤาษีดีๆ วอนขอ ดูก่อนโกณฑัญญะ นี้เป็นมนุษยธรรม การที่มาหาความเจริญนี้เป็นหน้าที่ที่ต้องรับเอา.

    ในเวลาเป็นสรภังคดาบส อย่างนี้ว่า เราเปิดโอกาสแล้ว ขอท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงถามปัญหาข้อใดข้อหนึ่งที่ใจปรารถนาเถิด เราจักพยากรณ์ปัญหานั้นๆ ของพวกท่าน เพราะเราเองรู้ทั้งโลกนี้และโลกอื่น.

    และในสัมภวชาดก มีพราหมณ์ผู้สะอาดเที่ยวไปทั่วชมพูทวีป ๓ ครั้ง ไม่พบผู้ที่จะแก้ปัญหาได้ ครั้นพระโพธิสัตว์ให้โอกาสแล้ว เวลานั้นพระ

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 372

โพธิสัตว์เกิดมาได้ ๗ ปี เล่นฝุ่นอยู่ในถนน นั่งคู้บัลลังก์กลางถนนนั่นเอง ปวารณาอย่างสัพพัญูปวารณาว่า

    เชิญเถิด เราจักบอกแก่ท่านอย่างคนฉลาดบอก และพระราชาย่อมทรงทราบข้อนั้นว่า จักทําได้หรือไม่.

    เมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปวารณาสัพพัญูปวารณาอย่างนี้แล้ว พระเจ้าอชาตศัตรูทรงพอพระทัย เมื่อจะทูลถามปัญหา ได้กราบทูลว่า ยถา นุ โข อิมานิ ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น.

    ในบทเหล่านั้น ศิลปะนั่นแหละ ชื่อสิปปายตนะ.

    บทว่า ปุถุสิปฺปายตนานิ แปลว่า ศิลปศาสตร์เป็นอันมาก.

    บทว่า เสยฺยถีทํ ความว่า ก็ศิลปศาสตร์เหล่านั้นอะไรบ้าง?

    ด้วยบทว่า หตฺถาโรหา เป็นต้น พระเจ้าอชาตศัตรูทรงแสดงเหล่าชนที่อาศัยศิลปะนั้นๆ เลี้ยงชีพ. ด้วยว่าพระองค์มีพระราชประสงค์ดังนี้ว่า ผลแห่งศิลปะที่ประจักษ์เพราะอาศัยศิลปะนั้นๆ ย่อมปรากฏแก่ผู้ที่เข้าไปอาศัยศิลปะเลี้ยงชีพเหล่านี้ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจที่จะประกาศสามัญญผลที่ประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนฉันนั้นได้หรือไม่หนอ ดังนี้. เพราะฉะนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูจึงทรงเริ่มศิลปศาสตร์ทั้งหลายมาแสดงคนที่เข้าไปอาศัยศิลปะเลี้ยงชีพ.

    ในบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า หตฺถาโรหา ย่อมแสดงถึงอาจารย์ฝึกช้าง หมอรักษาช้าง และคนผูกช้างเป็นต้นทั้งหมด.

    บทว่า อสฺสาโรหา ได้แก่ครูฝึกม้า หมอรักษาม้า และคนผูกม้าเป็นต้นทั้งหมด.

    บทว่า รถิกา ได้แก่ครูฝึกพลรถ ทหารรถ และคนรักษารถ

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 373

เป็นต้นทั้งหมด.

    บทว่า ธนุคฺคหาได้แก่ ครูฝึกพลธนู และคนแม่นธนู.

    บทว่า เจลกา ได้แก่ผู้เชิญธงชัยไปข้างหน้าในสนามรบ.

    บทว่า จลกา ได้แก่ผู้จัดกระบวนทัพอย่างนี้ว่า พระราชาอยู่ตรงนี้ มหาอํามาตย์ชื่อโน้นอยู่ตรงนี้.

    บทว่า ปิณฺฑทายิกา ได้แก่ทหารใหญ่ที่กล้าตายเก่งกาจ. ได้ยินว่าทหารพวกนั้นเข้ากองทัพข้าศึก ตัดศีรษะข้าศึกเหมือนก้อนข้าวแล้วนําไปอธิบายว่า กระโดดพรวดออกไป. อีกอย่างหนึ่ง คําว่า ปิณฺฑทายิกา นี้เป็นชื่อของผู้ที่ถือถาดอาหารเข้าไปให้แก่ทหาร ท่ามกลางสงความ.

    บทว่า อุคฺคา จ ราชปุตฺตา ได้แก่พวกราชบุตรที่เข้าสงครามมีชื่อว่าอุคคะ-อุคคตะ.

    บทว่า ปกฺขนฺทิโน ได้แก่ ทหารเหล่าใดกล่าวว่า พวกเราจะนําศีรษะหรืออาวุธของใครๆ มา ครั้นได้รับคําสั่งว่า ของคนโน้น ก็แล่นเข้าสู่สงคราม นําสิ่งที่สั่งนั้นนั่นแหละมาได้ ทหารเหล่านี้ชื่อว่า ปกฺขนฺทิโน ด้วยอรรถว่า แล่นไป (หน่วยจู่โจม) .

    บทว่า มหานาคา ได้แก่เป็นผู้กล้ามากเหมือนพระยานาค.

    คําว่า มหานาคา นี้ เป็นชื่อของหมู่ทหารที่แม้เมื่อช้างเป็นต้นวิ่งมาตรงหน้า ก็ไม่ถอยกลับ.

    บทว่า สูรา ได้แก่กล้าที่สุด ซึ่งคลุมด้วยตาข่ายก็ตาม สวมเกราะหนังก็ตาม ก็สามารถข้ามทะเลได้.

    บทว่า จมฺมโยธิโน ได้แก่พวกที่สวมเสื้อหนัง หรือถือโล่หนัง สําหรับต้านลูกธนูรบ.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 374

    บทว่า ทาสิกปุตฺตา ได้แก่พวกลูกทาสในเรือน ซึ่งรักนายเป็นกําลัง.

    บทว่า อาฬาริกา ได้แก่พวกทําขนม.

    บทว่า กปฺปิกา ได้แก่พวกช่างกัลบก.

    บทว่า นฺหาปิกา ได้แก่พนักงานเครื่องสรง.

    บทว่า สูทา ได้แก่พวกทําอาหาร.

    พวกช่างดอกไม้เป็นต้น แจ่มแจ้งอยู่แล้ว.

    บทว่า คณกา ได้แก่พวกพูดไม่มีช่องให้ถาม.

    บทว่า มุทฺธิกา ได้แก่พวกอาศัยวิชานับหัวแม่มือเลี้ยงชีพ.

    บทว่า ยานิ วาปนฺานิปิ ได้แก่พวกช่างเหล็ก ช่างฉลุงาและช่างเขียนลวดลายเป็นต้น.

    บทว่า เอวํ คตานิ ได้แก่เป็นไปอย่างนี้.

    บทว่า เต ทิฏเว ธมฺเม ความว่า พวกพลช้างเป็นต้นเหล่านั้นแสดงศิลปศาสตร์มากอย่างเหล่านั้น ได้สมบัติมากจากราชสกุล เข้าไปอาศัยผลแห่งศิลปะที่เห็นประจักษ์นั่นแหละเลี้ยงชีพอยู่ได้.

    บทว่า สุเขนฺติ แปลว่า ทําให้เป็นสุข.

    บทว่า ปิเณนฺติ ได้แก่ทําให้เอิบอิ่มมีเรี่ยวแรงและกําลัง.

    บทว่า อุทฺธคฺคิกา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    ที่ชื่อว่า อุทฺธคฺคิกา เพราะอรรถว่า มีผลเลิศเหนือผลที่เกิดสูงขึ้นไป.

    ชื่อว่า โสวคฺคิกา เพราะอรรถว่า ควรซึ่งอารมณ์ดีเลิศ.

    ที่ชื่อว่า สุขวิปากา เพราะอรรถว่า มีสุขเป็นวิบาก.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 375

    ที่ชื่อว่า สคฺคสํวตฺตนิกา เพราะอรรถว่า ยังธรรม ๑๐ ประการ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อายุ วรรณะ สุข ยศ และความยิ่งใหญ่อย่างดีเลิศ ให้เป็นไป คือให้เกิด อธิบายว่า ตั้งทักษิณาทานเห็นปานนั้นไว้.

    ในบทว่า สามฺผลํ นี้ โดยปรมัตถ์ สามัญญะ หมายถึงมรรค สามัญญผล หมายถึงอริยผล. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญะเป็นไฉน มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ที่เป็นอริยะนี้แหละเป็นสามัญญะ มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ที่เป็นอริยะคืออะไรบ้าง คือ สัมมาทิฏฐิฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สามัญญะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญผลเป็นไฉน? โสดาปัตติผล ฯลฯอรหัตตผล นี้แหละเป็นสามัญญผล พระราชาองค์นี้มิได้ถึงสามัญญผลนั้น ก็พระองค์ตรัสถามทรงหมายถึงสามัญญผลที่เปรียบด้วยทาสและชาวนาซึ่งมีมาได้อย่างสูง.

    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงวิสัชนาปัญหาทันที ทรงพระดําริว่า อํามาตย์ของพระราชาเหล่านี้ที่เป็นสาวกของอัญญเดียรถีย์มากหลายมาในที่นี้ พวกอํามาตย์เหล่านั้น เมื่อเรากล่าวแสดงฝ่ายดําและฝ่ายขาว จักติเตียนว่า พระราชาของพวกเราเสด็จมาในที่นี้ด้วยอุตสาหะใหญ่ตั้งแต่พระองค์เสด็จมาแล้ว พระสมณโคดมตรัสความโกลาหลของสมณะให้เป็นเรื่องสมณะทะเลาะกันเสีย จักไม่ฟังธรรมโดยเคารพ แต่เมื่อพระราชาตรัส พวกอํามาตย์จักไม่อาจติเตียน จักอนุวัตรตามพระราชาเท่านั้น ธรรมดาชาวโลกย่อมอนุวัตรตามผู้เป็นใหญ่ ตกลงเราจะทําให้เป็นภาระของพระราชาแต่ผู้เดียว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทําให้เป็นภาระ

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 376

ของพระราชา จึงตรัสว่า อภิชานาสิ โน ตฺวํ ดังนี้เป็นต้น.

    ในบทเหล่านั้น บทว่า อภิชานาสิ โน ตฺวํ เท่ากับ อภิชานาสิ นุ ตฺวํ และ โน ศัพท์นี้ พึงประกอบด้วยบท ปุจฺฉิตา ข้างหน้า.อธิบายว่า มหาบพิตร ปัญหามีพระองค์เคยถามสมณพราหมณ์เหล่าอื่นบ้างหรือหนอ. พระองค์ยังจําได้ถึงภาวะที่ถามปัญหานั้น พระองค์มิได้ทรงลืมสมณพราหมณ์เหล่านั้นหรือ.

    บทว่า สเจ เต อครุ ความว่า ถ้าสมณพราหมณ์นั้นๆ พยากรณ์อย่างไร การที่พระองค์ตรัสอย่างนั้นในที่นี้จะไม่เป็นการหนักพระทัยแก่พระองค์. อธิบายว่า ถ้าจะไม่มีความไม่ผาสุกอะไรๆ ขอให้พระองค์ตรัสเถิด.

    บทว่า น โข เม ภนฺเต นี้ พระราชาตรัสหมายถึงอะไร?หมายถึงว่า ก็การกล่าวในสํานักของบัณฑิตเทียมทั้งหลาย ย่อมเป็นความลําบาก. บัณฑิตเทียมเหล่านั้น ย่อมให้โทษทุกๆ บททุกๆ อักษรทีเดียว.ส่วนท่านที่เป็นบัณฑิตแท้ ฟังถ้อยคําแล้ว ย่อมสรรเสริญคําที่กล่าวดี ในถ้อยคําที่กล่าวไม่ดี ผิดบาลีผิดบทผิดอรรถและผิดพยัญชนะตรงแห่งใดๆ บัณฑิตแท้ย่อมช่วยทําให้ถูกตรงแห่งนั้นๆ . ก็ขึ้นชื่อว่าบัณฑิตแท้อย่างพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูจึงทูลว่า ณ ที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าหรือท่านผู้เปรียบด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ หม่อมฉันไม่หนักใจ พระเจ้าข้า.

    ในบทว่า เอกมิทาหํ นี้ ตัดบทเป็น เอกํ อิธ อหํ แปลว่าสมัยหนึ่ง ณ กรุงราชคฤห์นี้ หม่อมฉัน .

    บทว่า สมฺโมทนียํ กถํ สาราณียํ วีติสาเรตฺวา ความว่า

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 377

ยังถ้อยคําที่ให้เกิดความบันเทิง ควรให้ระลึกถึงกันจบลงแล้ว.

    ในคําว่า กโรโต โข มหาราช การยโต เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

    บทว่า กโรโต ได้แก่กระทําด้วยมือของตน.

    บทว่า การยโต ได้แก่บังคับให้ทํา.

    บทว่า ฉินฺทโต ได้แก่ตัดมือเป็นต้นของคนอื่น.

    บทว่า ปจโต ได้แก่ใช้อาชญาเบียดเบียนบ้าง คุกคามบ้าง.

    บทว่า โสจยโต ความว่า ทําเขาให้เศร้าโศกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทําให้เขาเศร้าโศกบ้าง ด้วยการลักสิ่งของของผู้อื่นเป็นต้น.

    บทว่า กิลมยโต ความว่า ให้เขาลําบากเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทําให้เขาลําบากบ้าง ด้วยการตัดอาหารและใส่เรือนจําเป็นต้น.

    บทว่า ผนฺทโต ผนฺทาปยโต ความว่า ในเวลาที่ผูกมัดผู้อื่นซึ่งดิ้นรนอยู่ แม้ตนเองก็ดิ้นรน ทําผู้อื่นให้ดิ้นรน.

    บทว่า ปาณมติปาตาปยโต ความว่า ฆ่าเองบ้าง ให้ผู้อื่นฆ่าบ้าง ซึ่งสัตว์มีชีวิต.

    ในทุกบท พึงทราบเนื้อความด้วยสามารถแห่งการกระทําเองและการให้ผู้อื่นกระทํานั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้.

    บทว่า สนฺธึ ได้แก่ที่ต่อเรือน.

    บทว่า นิลฺโลปํ ได้แก่ปล้นยกใหญ่.

    บทว่า เอกาคาริกํ ได้แก่ล้อมปล้นเรือนหลังเดียวเท่านั้น.

    บทว่า ปริปนฺเถ ได้แก่ยืนดักอยู่ที่ทางเพื่อชิงทรัพย์ของคนที่ผ่านไปมา.

    ด้วยคําว่า กโรโต น กริยติ ปาปํ แสดงว่า แม้เมื่อทําด้วย

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 378

เข้าใจว่า เราทําบาปอย่างใดอย่างหนึ่ง บาปไม่เป็นอันทํา บาปไม่มี.แต่สัตว์ทั้งหลายเข้าใจกันเองอย่างนี้ว่า เราทํา.

    บทว่า ขุรปริยนฺเตน ความว่า ใช้จักรที่มีกงคมเหมือนมีดโกนหรือมีวงกลมคม เช่นคมมีดโกน.

    บทว่า เอกมํสขลํ ได้แก่กองเนื้อกองเดียว.

    บทว่า ปุฺชํ เป็นไวพจน์ของบทว่า ขลํ นั่นเอง.

    บทว่า ตโตนิทานํ ความว่า มีการทําให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกันเป็นเหตุ.

    บทว่า ทกฺขิณํ ความว่า พวกมนุษย์ในฝังขวาเป็นคนหยาบช้าทารุณ ท่านกล่าวว่า หนนฺโต เป็นต้น หมายถึงมนุษย์เหล่านั้น.

    พวกมนุษย์ในฝังซ้ายเป็นคนมีศรัทธาเลื่อมใส นับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นของตน ท่านกล่าวคําว่า ททนฺโต เป็นต้น หมายถึงมนุษย์เหล่านั้น.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยชนฺโต ได้แก่ทําการบูชาใหญ่

    บทว่า ทเมน ได้แก่ด้วยการฝึกอินทรีย์หรือด้วยอุโบสถกรรม.

    บทว่า สฺเมน ได้แก่ด้วยการสํารวมศีล.

    บทว่า สจฺจวาเจน ได้แก่ด้วยการพูดคําจริง.

    บทว่า อาคโม ความว่า มา คือเป็นไป.

    ครูปูรณกัสสปะปฏิเสธการทําบาปและบุญนั่นเอง แม้โดยประการทั้งปวง.

    ที่ชื่อว่า เมื่อถูกถามถึงมะม่วง ตอบขนุนสํามะลอ ได้แก่คนที่เมื่อ

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 379

ถูกถามว่า มะม่วงเป็นเช่นไร หรือลําต้นใบดอกผลของมะม่วงเป็นเช่นไร ดังนี้แล้ว ตอบว่า ขนุนสํามะลอเป็นอย่างนี้ ลําต้นใบดอกผลของขนุนสํามะลอเป็นอย่างนี้.

    บทว่า วิชิเต ได้แก่ในประเทศที่อยู่ในอํานาจปกครอง.

    บทว่า อปสาเทตพฺพํ ความว่าพึงเบียดเบียน.

    บทว่า อนภินนฺทิตฺวา ได้แก่ไม่ทําการสรรเสริญอย่างนี้ว่า ดีละๆ .

    บทว่า อปฺปฏิกฺโกสิตฺวา ได้แก่ไม่ห้ามอย่างนี้ว่า แน่ะคนโง่ ท่านพูดไม่ดี.

    บทว่า อนุคฺคณฺหนฺโต ได้แก่ไม่ถือเอาเป็นสาระ.

    บทว่า อนิกฺกุชฺเชนฺโต ได้แก่ไม่เก็บไว้ในใจว่า นี้เป็นนิสสรณะ นี้เป็นปรมัตถ์ เพราะถือเป็นสาระได้ทีเดียว. แต่พระเจ้าอชาตศัตรูทรงศึกษาพยัญชนะแล้วทรงทิ้งเสีย.

    ในวาทะของ ครูมักขลิโคสาละ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    คําว่า ปจฺจโย เป็นไวพจน์ของคําว่าเหตุ.

    แม้ด้วยบทว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัยทั้ง ๒ เป็นอันครูมักขลิโคสาละปฏิเสธปัจจัยแห่งความเศร้าหมองของกายทุจริตเป็นต้น และปัจจัยแห่งความบริสุทธิ์ของกายสุจริตเป็นต้น ที่มีอยู่นั่นแล.

    บทว่า อตฺตกาเร ความว่า การกระทําของตนเอง สัตว์เหล่านี้ถึงความเป็นเทพก็ดี มารก็ดี พรหมก็ดี การตรัสรู้เป็นพระสาวกก็ดี การตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี ความเป็นพระสัพพัญูก็ดี ด้วยกรรมที่ตนกระทําแล้วอันใด ครูมักขลิโคสาละปฏิเสธกรรมอันนั้น.

    ด้วยบทที่ ๒ (นตฺถิ ปรกาเร) เป็นอันครูมักขลิโคสาละปฏิเสธ

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 380

การกระทําของผู้อื่น คือชนที่เหลือลงเว้นพระมหาสัตว์ อาศัยโอวาทานุศาสนีของผู้อื่น ซึ่งเป็นการการทําของผู้อื่น ตั้งแต่สร้างความโสภาคย์ของมนุษย์จนบรรลุพระอรหัต. คนพาลนี้ชื่อว่าย่อมให้การประหารในชินจักร ด้วยประการฉะนี้.

    บทว่า นตฺถิ ปุริสกาเร ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมถึงสมบัติทั้งหลาย ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว ด้วยการกระทําของบุรุษใด ครูมักขลิโคสาละปฏิเสธการกระทําของบุรุษแม้นั้น.

    บทว่า นตฺถิ พลํ ความว่า สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ในกําลังของตนอันใด กระทําความเพียรแล้วถึงสมบัติเหล่านั้น ครูมักขลิโคสาละปฏิเสธกําลังอันนั้น.

    บทว่า นตฺถิ วิริยํ เป็นต้นทั้งหมด เป็นไวพจน์ของบทว่า ปุริสการํ แต่บทเหล่านี้ ถือเอาไว้แผนกหนึ่ง ด้วยสามารถการปฏิเสธคําที่เป็นไปอย่างนี้ว่า นี้เป็นไปด้วยความเพียรของบุรุษ นี้เป็นไปด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ นี้เป็นไปด้วยความบากบั่นของบุรุษ.

    ด้วยบทว่า สพฺเพ สตฺตา ท่านรวมเอา อูฐ โค ลา เป็นต้นไม่เหลือเลย.

    ด้วยบทว่า สพฺเพ ปาณา ท่านกล่าวด้วยคําเป็นต้นว่า ปาณะมีอินทรีย์เดียว ปาณะมี ๒ อินทรีย์.

    ด้วยบทว่า สพฺเพ ภูตา ท่านกล่าวหมายเอาภูตทั้งหลายบรรดาที่เกิดในฟองไข่และเกิดในมดลูก.

    ด้วยบทว่า สพฺเพ ชีวา ท่านกล่าวหมายเอาข้าวสาลี ข้าวเหนียวและข้าวละมานเป็นต้น ก็ในชีวะเหล่านั้น ครูมักขลิโคสาละนั้น เข้าใจว่า

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 381

ชีวะ โดยที่งอกได้.

    บทว่า อวสา อพลา อวิริยา ความว่า ชีวะเหล่านั้นไม่มีอํานาจหรือกําลังหรือความเพียรของตน.

    ในบทว่า นิยติ สงฺคติ ภาวปริณตา นี้ วินิจฉัยว่า

    นิยติ ได้แก่เคราะห์.

    สงฺคติ ได้แก่การไปในภพนั้นๆ ของอภิชาติทั้ง ๖.

    ภาวะ ได้แก่สภาวะนั่นเอง.

    ความแปรไปตามเคราะห์ ตามความประจวบและตามสภาวะ ถึงความเป็นประการต่างๆ ครูมักขลิโคสาละแสดงว่า ก็ผู้ใดพึงเป็นด้วยประการใด ผู้นั้นย่อมเป็นด้วยประการนั้นแหละ ผู้ใดไม่พึงเป็น ผู้นั้นย่อมไม่เป็น.

    ด้วยบทว่า ฉเสฺววาภิชาตีสุ ครูมักขลิโคสาละแสดงว่า ผู้ตั้งอยู่ในอภิชาติ ๖ นั่นแล ย่อมเสวยสุขและทุกข์ ภูมิที่ให้เกิดสุขเกิดทุกข์แห่งอื่นไม่มี.

    บทว่า โยนิปฺปมุขสตสหสฺสานิ ความว่า กําเนิดที่เป็นประธานคือกําเนิดชั้นสูงสุด ๑,๔๐๖,๖๐๐.

    บทว่า ปฺจ จ กมฺมุโน สตานิ ได้แก่กรรม ๕๐๐.

    ครูมักขลิโคสาละแสดงทิฏฐิที่ไร้ประโยชน์ ด้วยเหตุเพียงตรึกอย่างเดียว.

    แม้ในบทว่า ปฺจ จ กมฺมานิ ตีณิ จ กมฺมานิ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

    แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า ปฺจ จ กมฺมานิ นั้น ท่าน

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 382

กล่าวหมายอินทรีย์ ๕ และกรรม ๓ ท่านกล่าวหมายกายกรรมเป็นต้น.

    ก็ในบทว่า กมฺเม จ อุปฑฺฒกมฺเม จ นี้ ครูมักขลิโคสาละนั้นมีลัทธิว่า กายกรรมและวจีกรรม เป็นกรรม มโนกรรมเป็นครึ่งกรรม.

    บทว่า ทฺวฏิปฏิปทา ความว่า ครูมักขลิโคสาละ กล่าวว่าปฏิปทา ๖๒.

    บทว่า ทฺวฏนฺตรกปฺปา ความว่า ในกัปหนึ่งมีอันตรกัป ๖๔. แต่ครูมักขลิโคสาละนี้ ไม่รู้อันตรกัปอีก ๒ อันตรกัป จึงกล่าวอย่างนี้.

    บทว่า ฉฬาภิชาติโต ความว่า ครูมักขลิโคสาละ กล่าวถึงอภิชาติ ๖ เหล่านี้ คือ อภิชาติดํา อภิชาติเขียว อภิชาติแดง อภิชาติเหลือง อภิชาติขาว อภิชาติขาวยิ่ง.

    ในอภิชาติ ๖ เหล่านั้น พวกฆ่าแพะ พวกฆ่านก พวกฆ่าเนื้อ พวกฆ่าหมู พวกพราน พวกฆ่าปลา พวกโจร พวกฆ่าโจร พวกผู้คุม ก็หรือคนอื่นๆ บางพวกที่มีการงานหนัก นี้ ครูมักขลิโคสาละ เรียกว่าอภิชาติดํา เขาเรียกภิกษุทั้งหลายว่า อภิชาติเขียว.

    ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นเอาหนามใส่ในปัจจัย ๔ ฉัน. อนึ่ง ครูมักขลิโคสาละเรียกภิกษุทั้งหลายว่า มีความประพฤติดั่งหนาม. นี้แหละเป็นแนวของผู้ที่ครูมักขลิโคสาละกล่าวถึง.

    อีกอย่างหนึ่ง ครูมักขลิโคสาละกล่าวว่า บรรพชิตเหล่านั้นชื่อว่า ผู้มีความประพฤติดั่งหนาม.

    ครูมักขลิโคสาละกล่าวว่า พวกนิครนถ์ที่มีผ้าผืนเดียว ชื่ออภิชาติแดง. ได้ยินว่า พวกอภิชาติแดงเหล่านี้ขาวกว่า ๒ พวกข้างต้น.

    พวกคฤหัสถ์ที่นุ่งขาว เป็นสาวกของพวกอเจลก เรียกว่าอภิชาติ

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 383

เหลือง.

    ครูมักขลิโคสาละ ทําผู้ให้ปัจจัยแก่ตนให้เป็นผู้เจริญที่สุดกว่านิครนถ์ทั้งหลายอย่างนี้. เขาเรียกอาชีวกชายและอาชีวกหญิง ว่า อภิชาติขาว.ได้ยินว่า พวกอภิชาติขาวเหล่านั้นขาวกว่า ๔ พวกข้างต้น. ท่านกล่าวว่านันทะ วัจฉะ กีสะ สังกิจจะ ท่านมักขลิโคสาละเป็นอภิชาติขาวยิ่ง ได้ยินว่า ท่านเหล่านั้นขาวกว่าท่านอื่นๆ ทั้งหมด.

    บทว่า อฏ ปุริสภูมิโย ความว่า ครูมักขลิโคสาละกล่าวว่า ภูมิ ๘ เหล่านี้คือ มันทภูมิ ขิฑฑาภูมิ ปทวีมังสภูมิ อุชุคตภูมิ เสขภูมิ สมณภูมิ ชินภูมิ ปันนภูมิ เป็นปุริสภูมิ.

    ในภูมิ ๘ นั้น ตั้งแต่วันตลอดมาใน ๗ วัน สัตว์ทั้งหลายยังมึนงงอยู่ เพราะออกมาจากที่คับแคบ ครูมักขลิโคสาละเรียกคนภูมินี้ว่า มันทภูมิ.

    ส่วนผู้ที่มาจากทุคคติย่อมร้องไห้ส่งเสียงอยู่เนืองๆ ผู้ที่มาจากสุคติระลึกถึงสุคตินั้นเสมอ ย่อมหัวเราะ นี้ชื่อว่า ขิฑฑาภูมิ.

    เด็กที่จับมือหรือเท้าของมารดาบิดา หรือจับเตียงหรือตั่ง แกว่งเท้าบนพื้น ชื่อว่า ปทวีมังสภูมมิ.

    เด็กในเวลาที่สามารถเดินได้ ชื่อว่า อุชุคตภูมิ.

    ในเวลาศึกษาศิลปะทั้งหลาย ชื่อว่า เสขภูมิ.

    ในเวลาออกจากเรือนบวช ชื่อว่า สมณภูมิ.

    ในเวลาที่คบหาอาจารย์แล้วรู้วิชา ชื่อว่า ชินภูมิ.

    สมณะผู้ไม่มีรายได้ เรียกว่า ปันนภูมิ ดังที่กล่าวไว้ว่า ภิกษุก็ดีพวกปันนกะหรือชินะก็ดี ไม่กล่าวขออะไรๆ .

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 384

    บทว่า เอกูนปฺาส อาชีวกสเต ได้แก่ความประพฤติของอาชีวก ๔,๙๐๐.

    บทว่า ปริพฺพาชกสเต ได้แก่ปริพาชกที่บรรพชา ๑๐๐ พวก.

    บทว่า นาควาสสเต ได้แก่มณฑลของนาค ๑๐๐ มณฑล.

    บทว่า วีเส อินฺทฺริยสเต ได้แก่อินทรีย์ ๒,๐๐๐.

    บทว่า ตึเส นิริยสเต ได้แก่นรก ๓,๐๐๐.

    ด้วยบทว่า รโชธาตุโย ท่านกล่าวหมายเอาฐานที่เปรอะเปื้อนธุลี มีหลังมือหลังเท้าเป็นต้น.

    ด้วยบทว่า สตฺตสฺีคพฺภา ท่านกล่าวหมายเอา อูฐ โค ลา แพะ สัตว์เลี้ยง เนื้อ กระบือ.

    ด้วยบทว่า สตฺตอสฺีคพฺภา ท่านกล่าวหมายเอาข้าวสาลี ข้าวเปลือก ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้.

    ด้วยบทว่า นิคฺคณฺิคพฺภา ท่านกล่าวหมายเอาพืชที่มีท้องเกิดที่ข้อ มีอ้อย ไม้ไผ่ และไม้อ้อ เป็นต้น.

    ด้วยบทว่า สตฺตเทวา ท่านกล่าวว่า เทวดาจํานวนมาก. แต่ครูมักขลิโคสาละเรียกว่า สัตว์. แม้มนุษย์ทั้งหลายที่ไม่มีที่สุด ครูมักขลิโคสาละก็เรียกว่า สัตว์.

    ด้วยบทว่า สตฺตปิสาจา ครูมักขลิโคสาละกล่าวว่า พวกสัตว์ใหญ่ๆ ชื่อว่าปิศาจ.

    ด้วยบทว่า สรา ได้แก่สระใหญ่. ครูมักขลิโคสาละกล่าวระบุสระชื่อกัณณมุณฑกะ สระชื่อรถการะ สระชื่ออโนตัตตะ สระชื่อสีหปปาตะ สระชื่อฉัททันต์ สระชื่อมันทากินี และสระชื่อกุณาละ.

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 385

    บทว่า ปวุฏา ได้แก่ปล่อง.

    บทว่า ปปาตา ได้แก่เหวใหญ่.

    บทว่า ปปาตสตานิ ได้แก่เหวเล็ก ๑๐๐ เหว.

    บทว่า สุปินา ได้แก่ฝันใหญ่.

    บทว่า สุปินสตานิ ได้แก่ฝันเล็ก ๑๐๐ ฝัน.

    บทว่า มหากปฺปิโน ได้แก่มหากัป.

    ในบทว่า มหากปฺปิโน นั้น ครูมักขลิโคสาละกล่าวว่า ทุกๆ ร้อยปี คนนําน้ำหยาดหนึ่งไปจากสระใหญ่ประมาณเท่านี้ ด้วยปลายหญ้าคาทําสระน้ำนั้นให้ไม่มีน้ำ ๗ ครั้ง เป็นมหากัปหนึ่ง. มหากัปเห็นปานนี้สิ้นไป ๘ ล้าน ๔ แสนครั้ง ทั้งคนโง่ทั้งคนฉลาดย่อมสิ้นทุกข์ได้. นี้เป็นลัทธิของครูมักขลิโคสาละ.

    ได้ยินว่า แม้บัณฑิตก็ไม่อาจบริสุทธิ์ในระหว่างได้. แม้คนพาลก็ไม่เลยกาลนานนั้นไปได้.

    บทว่า สีเลน ได้แก่ด้วยศีลอเจลกหรือศีลอื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง.

    บทว่า วตฺเตน ได้แก่ด้วยวัตรเช่นนั้นแหละ.

    บทว่า ตเปน ได้แก่ด้วยการบําเพ็ญตบะ.

    ผู้ใดบริสุทธิ์กลางคันด้วยสําคัญว่า เราเป็นบัณฑิต ผู้นั้นชื่อว่าบ่มสิ่งซึ่งไม่มีทีท่าว่าจะสุกได้.

    ผู้ใดล่วงเลยเวลาที่กะไว้ว่าเรายังโง่ไป ผู้นั้นชื่อว่าสัมผัสถูกต้องกรรมที่อํานวยผลแล้วทําให้สิ้นสุดได้.

    บทว่า เหวํ นตฺถิ ได้แก่ไม่มีอย่างนี้. ด้วยว่า ครูมักขลิโคสาละย่อมแสดงทั้ง ๒ อย่างนั้นว่าไม่อาจการทําได้.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 386

    บทว่า โทณมิเต ได้แก่เหมือนตวงด้วยทะนาน.

    บทว่า สุขทุกฺเข ได้แก่สุขและทุกข์.

    บทว่า ปริยนฺตกเต ได้แก่ทําที่สุดตามกาลมีประมาณดังกล่าวแล้ว.

    บทว่า นตฺถิ หานวฑฺฒเน ได้แก่ไม่มีความเสื่อมและความเจริญ.อธิบายว่า สังสารวัฏฏ์มิได้เสื่อมสําหรับบัณฑิต มิได้เจริญสําหรับคนพาล.

    บทว่า อุกฺกํสาวกฺกํเส ได้แก่ทั้งสูงทั้งต่ํา บทนี้เป็นไวพจน์ของความเสื่อมและความเจริญ.

    บัดนี้ เมื่อจะยังความนั้นให้สําเร็จด้วยอุปมา ครูมักขลิโคสาละจึงกล่าวว่า เสยฺยถาปิ นาม เป็นต้น.

    ในพระบาลีนั้น บทว่า สุตฺตคุเล ได้แก่กลุ่มด้ายที่เขาม้วนไว้.

    ด้วยบทว่า นิพฺเพิยมานเมว ปเลติ ครูมักขลิโคสาละแสดงว่าเลยกาลที่กล่าวแล้ว ไม่มีใครจะไปได้ อุปมาเหมือนคนยืนบนภูเขาหรือยอดไม้ ซัดกลุ่มด้ายให้คลี่ออกไปตามประมาณของด้าย เมื่อด้ายหมดแล้ว ด้ายก็หยุดอยู่ตรงนั้น ไม่ไปอีกฉะนั้น.

    ในวาทะของครูอชิตเกสกัมพล มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    ด้วยคําว่า นตฺถิ ทินฺนํ นั้น ครูอชิตเกสกัมพล กล่าวหมายเอาความไร้ผลของทานที่ให้แล้ว.

    การบูชาใหญ่ เรียกว่า ยิฏฐะ.

    บทว่า หุตํ ประสงค์เอาสักการะอย่างเพียงพอ.

    ทั้ง ๒ ข้อนั้น ครูอชิตเกสกัมพลปฏิเสธไปถึงความไร้ผลทีเดียว.

    บทว่า สุกตทุกฺกฏานํ ความว่า กรรมที่ทําดีทําชั่ว ได้แก่กุศลและอกุศล.

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 387

    ด้วยบทว่า ผลํ วิปาโก ครูอชิตเกสกัมพลกล่าวว่า สิ่งใดที่เรียกกันว่า ผล ก็ดี ว่า วิบาก ก็ดี สิ่งนั้นไม่มี.

    บทว่า นตฺถิ อยํ โลโก ความว่า โลกนี้ไม่มีสําหรับคนที่อยู่โลกอื่น.

    บทว่า นตฺถิ ปรโลโก ความว่า โลกอื่นไม่มีแม้สําหรับคนที่อยู่โลกนี้.

    ครูอชิตเกสกัมพลแสดงว่า สัตว์ทุกจําพวกย่อมขาดสูญในภพนั้นๆ นั่นแหละ.

    ด้วยบทว่า นตฺถิ มาตา นตฺถิ ปิตา ครูอชิตเกสกัมพลกล่าวหมายถึงความไร้ผลแห่งการปฏิบัติชอบ และการปฏิบัติผิดในมารดาบิดาเหล่านั้น.

    ด้วยบทว่า นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา ครูอชิตเกสกัมพล กล่าวว่า ชื่อว่าสัตว์ที่จุติแล้วอุบัติ ไม่มี.

    บทว่า จาตุมฺมหาภูติโก ได้แก่สําเร็จแต่มหาภูตรูป ๔.

    บทว่า ปวี ปวีกายํ ได้แก่ปฐวีธาตุที่เป็นภายในติดตามปฐวีธาตุที่เป็นภายนอก.

    บทว่า อนุเปติ แปลว่า ติดตาม.

    บทว่า อนุปคจฺฉติ เป็นไวพจน์ของบทว่า อนุเปติ นั่นเอง ความว่า อนุคจฺฉติ ดังนี้ก็มี.

    ด้วยบททั้ง ๒ ครูอชิตเกสกัมพลแสดงว่า อุเปติ อุปคจฺฉติ.

    แม้ใน อาโปธาตุ เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.

    บทว่า อินฺทฺริยานิ ได้แก่อินทรีย์ทั้งหลายมีใจเป็นที่ ๖ ย่อมเลื่อนลอยไปสู่อากาศ.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 388

    บทว่า อาสนฺทิปฺจมา ได้แก่มีเตียงนอนเป็นที่ ๕. อธิบายว่า เตียงและบุรุษ ๔ คนที่ยืนถือขาเตียงทั้ง ๔.

    บทว่า ยาวาฬาหนา ได้แก่แค่ป่าช้า.

    บทว่า ปทานิ ได้แก่บทแสดงคุณและโทษที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ผู้นี้เป็นผู้มีศีลอย่างนี้เป็นผู้ทุศีลอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง สรีระนั่นเอง ท่านประสงค์เอาว่า ปทานิ ในบทว่า ปทานิ นี้.

    บทว่า กาโปตกานิ ได้แก่เท้าเตียงสีเหมือนนกพิราบ. อธิบายว่า มีสีเหมือนปีกนกพิราบ.

    บทว่า ภสฺสนฺตา ได้แก่มีเถ้าเป็นที่สุด.

    อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.

    บทว่า หุติโย ได้แก่ทานที่บุคคลให้แล้ว ต่างโดยของต้อนรับแขก เป็นต้นอันใด ทานนั้นทั้งหมดย่อมมีเถ้าเป็นที่สุดเท่านั้น ไม่ให้ผลเกินไปกว่านั้น.

    บทว่า ทตฺตุปฺตฺตํ ได้แก่ทานอันคนเซอะ คือมนุษย์โง่ๆ บัญญัติไว้. อธิบายว่า ทานนี้อันคนโง่คือคนไม่มีความรู้บัญญัติไว้ มิใช่บัณฑิตบัญญัติ ครูอชิตเกสกัมพลแสดงว่า คนโง่ให้ทาน คนฉลาดรับทาน.

    บรรดาครูทั้ง ๖ นั้น ปูรณะชี้แจงว่า เมื่อทําบาปก็ไม่เป็นอันทํา ชื่อว่า ย่อมปฏิเสธกรรม.

    อชิตะชี้แจงว่า เพราะกายแตก สัตว์ย่อมขาดสูญ ชื่อว่า ปฏิเสธวิบาก.

    มักขลิชี้แจงว่า ไม่มีเหตุ ชื่อว่า ปฏิเสธทั้งกรรมและวิบากทั้ง ๒.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 389

    ในข้อนั้น แม้เมื่อปฏิเสธกรรม ก็ชื่อว่าปฏิเสธวิบากด้วย. แม้เมื่อปฏิเสธวิบาก ก็ชื่อว่าปฏิเสธกรรมด้วย. ดังนั้นเจ้าลัทธิแม้ทั้งหมดนั้น ว่าโดยอรรถ ก็คือปฏิเสธทั้งกรรมและวิบากของกรรมทั้ง ๒ ย่อมเป็นอเหตุกวาทะด้วย เป็นอกิริยวาทะด้วย เป็นนัตถิกวาทะด้วย.

    ก็บุคคลเหล่าใดถือลัทธิของเจ้าลัทธิเหล่านั้น นั่งสาธยายพิจารณาในที่พักกลางคืนในที่พักกลางวัน บุคคลเหล่านั้นย่อมมีมิจฉาสติจดจ่ออยู่ในอารมณ์นั้นว่า ทําบาปไม่เป็นอันทํา เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี สัตว์ตายแล้วขาดสูญ ดังนี้ ย่อมมีจิตแน่วแน่ ชวนะทั้งหลายย่อมแล่นไป ในปฐมชวนะ ยังพอเยียวยาได้. ในชวนะที่ ๒ เป็นต้นก็เช่นกัน. ครั้นแน่วแน่ในชวนะที่ ๗ แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ทรงเยียวยาไม่ได้ มีอันไม่กลับเป็นธรรมดา เช่นสามเณรอริฏฐะ และ ภิกษุกัณฏกะ.

    ในนิยตมิจฉาทิฏฐิทั้ง ๓ นั้น บางคนดิ่งลงสู่ทัศนะเดียว บางคน ๒ ทัศนะ บางคน ๓ ทัศนะก็มี เมื่อดิ่งลงไปในทัศนะเดียวก็ดี ใน ๒ ๓ ทัศนะก็ดี ย่อมเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ ห้ามทางสวรรค์และห้ามทางนิพพาน ไม่ควรไปสวรรค์แม้ในภพที่ติดต่อกันนั้น จะกล่าวไปไยถึงนิพพานเล่า สัตว์นี้ชื่อว่าเป็นตอวัฏฏะ เป็นผู้เฝ้าแผ่นดิน โดยมากคนมีทิฏฐิเห็นปานนี้ ออกจากภพไม่ได้.

    เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้เห็นประจักษ์หวังความเจริญ พึงเว้นอกัลยาณปุถุชนให้ห่างไกล เหมือนคนเว้นห่างงูมีพิษร้ายฉะนั้น.

    ในวาทะของครูปกุทธกัจจายนะ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    บทว่า อกฏา แปลว่า ไม่มีใครทํา.

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 390

    บทว่า อกฏวิธา แปลว่า ไม่มีวิธีที่ใครทําไว้. อธิบายว่า ถึงจะให้ใครๆ ทําว่า จงทําอย่างนี้ ก็ไม่เป็นอันทํา.

    บทว่า อนิมฺมิตา ได้แก่ไม่มีใครเนรมิตแม้ด้วยฤทธิ์.

    บทว่า อนิมฺมาตา ได้แก่ไม่มีใครให้เนรมิต.

    อาจารย์บางพวกกล่าวบทว่า อนิมฺมาเปตพฺพา บทนั้นไม่ปรากฏในบาลีและในอรรถกถา.

    ๓ บทมีบทว่า วฺฌา เป็นต้น มีเนื้อความดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.

    บทว่า น อิฺชนฺติ ความว่า ไม่หวั่นไหว เพราะตั้งมั่นเหมือนเสาระเนียด.

    บทว่า น วิปริณมนฺติ ได้แก่ไม่ละปรกติ.

    บทว่า น อฺมฺํ พฺยาพาเธนฺติ ได้แก่ไม่กระทบกันและกัน.

    บทว่า นาลํ ได้แก่ไม่สามารถ.

    ในบทว่า ปวีกาโย เป็นต้น กองดินหรือดินรวมกัน ก็คือดินนั่งเอง.

    บทว่า ตตฺถ ได้แก่นกายซึ่งมีชีวะเป็นที่ ๗ เหล่านั้น.

    บทว่า สตฺตนฺนํเยว กายานํ ความว่า ศัสตราย่อมเข้าไปตามระหว่าง คือช่องซอกของกายทั้ง ๗ เหมือนอย่างศัสตราที่ฟันลงไปในกองถั่วเขียวเป็นต้น ย่อมเข้าไปตามระหว่างถั่วเขียวเป็นต้นฉะนั้น. ครูปกุทธกัจจายนะแสดงว่า ในสัตว์นิกายนั้น มีเพียงสัญญาว่าเราจะปลงสัตว์นี้จากชีวิตอย่างเดียวเท่านั้น (หาใช่เป็นการปลงชีวิตไม่)

    ในวาทะของนิครนถนาฏบุตร มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    บทว่า จาตุยามสํวรสํวุโต ความว่า สํารวมทั้ง ๔ ด้าน.

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 391

    บทว่า สพฺพวาริวาริโต จ ความว่า เป็นผู้ห้ามน้ำทั้งปวง. อธิบายว่า เป็นผู้ห้ามน้ำเย็นทั้งหมด.

    ได้ยินว่า ครูนิครนถนาฏบุตรนั้น เข้าใจว่าน้ำเย็นมีสัตว์มีชีวิตฉะนั้น จึงไม่ใช้น้ำเย็นนั้น.

    บทว่า สพฺพวาริยุตฺโต ได้แก่ประกอบด้วยเครื่องกั้นบาปทั้งปวง.

    บทว่า สพฺพวาริธุโต ได้แก่กําจัดบาปด้วยเครื่องกั้นบาปทั้งปวง.

    บทว่า สพฺพวาริผุฏโ ได้แก่อันเครื่องกั้นบาปทั้งปวงต้องแล้ว.

    บทว่า คตตฺโต ได้แก่มีจิตถึงที่สุด.

    บทว่า ยตตฺโต ได้แก่มีจิตสํารวมแล้ว.

    บทว่า ิตตฺโต ได้แก่มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว.

    ในวาทะของครูนิครนถนาฏบุตรนี้ มีบางอย่างที่เข้ากันกับศาสนาได้บ้าง. แต่เพราะเป็นลัทธิไม่บริสุทธิ์ จึงเกิดเป็นทิฏฐิทั้งหมดเลย.

    วาทะของครูสญชัยเวลัฏฐบุตร มีนัยดังกล่าวแล้วในอมราวิกเขปวาทะ (ในพรหมชาลสูตร) นั่นแล.

    บทว่า โสหํ ภนฺเต เป็นต้น ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันไม่ได้สาระในวาทะของเดียรถีย์ทั้งหลาย เหมือนคั้นทราย ไม่ได้น้ำมัน จึงขอทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า.

    บทว่า ยถา เต ขเมยฺย ความว่า ตามที่พอพระทัย.

    บทว่า ทาโส ได้แก่ทาสในเรือนเบี้ย ทาสที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ ทาสที่เป็นเชลยศึก และทาสที่สมัครเป็นทาสเอง อย่างใดอย่างหนึ่ง.

    บทว่า กมฺมกาโร ได้แก่ไม่เกียจคร้านทําการงานเสมอทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 392

    ชื่อว่า ปุพฺพุฏฺายี ด้วยอรรถว่า เห็นนายแต่ไกล ลุกขึ้นก่อนทันที.

    ชื่อว่า ปจฺฉานิปาตี ด้วยอรรถว่า ลุกขึ้นอย่างนี้แล้วปูอาสนะให้นาย ทํากิจที่ควรทํามีล้างเท้า เป็นต้น แล้วจึงพักผ่อน คือนอนในภายหลัง.

    อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า ปุพฺพุฏฺายี ด้วยอรรถว่า ลุกขึ้นก่อน เมื่อนายยังไม่ลุกจากที่นอน.

    ชื่อว่า ปจฺฉานิปาตี ด้วยอรรถว่า ทํากิจทั้งปวงตั้งแต่เช้าตรู่จนนายเข้านอนในราตรี ตนจึงพักผ่อน คือนอนในภายหลัง.

    ชื่อว่า กึการปฏิสฺสาวี ด้วยอรรถว่า คอยเฝ้าฟังบัญชาจะโปรดให้ทําอะไรด้วยตั้งใจอย่างนี้ว่า เราจะทําอะไร.

    ชื่อว่า มนาปจารี ด้วยอรรถว่า ทําแต่กิริยาที่น่าพอใจเท่านั้น.

    ชื่อว่า ปิยวาที ด้วยอรรถว่า พูดแต่คําที่น่ารักเท่านั้น.

    ชื่อว่า มุขมุลฺลิโก ด้วยอรรถว่า คอยดูหน้านายที่แจ่มใสร่าเริง.

    บทว่า เทโว มฺเ ได้แก่เหมือนเทวดา.

    บทว่า โส วตสฺสาหํ ปุฺานิ กเรยฺยํ ความว่า แม้เรานั้นหนอ ก็พึงเป็นพระเจ้าแผ่นดินอย่างองค์นี้ ถ้าเราทําบุญทั้งหลาย.

    ปาฐะว่า โส วตสฺสายํ ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนี้เหมือนกัน.

    ด้วยบทว่า ยนฺนูนาหํ แสดงความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าเราจักให้ทานแม้ตลอดชีวิตเรา ก็ไม่อาจให้แม้เพียงส่วนหนึ่งในร้อยของทานที่พระราชาพระราชทานในวันเดียวได้ จึงทําอุตสาหะในบรรพชา.

    บทว่า กาเยน สํวุโต ได้แก่สํารวมกาย ปิดประตูมิให้อกุศลเข้าไปได้.

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 393

    แม้ใน ๒ บทที่เหลือก็นัยนี้แหละ.

    บทว่า ฆาสจฺฉาทนปรมตาย ความว่า ด้วยความมีอาหารและเครื่องนุ่งห่มเป็นอย่างยิ่ง คืออย่างสูง. อธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่การบวชนี้จริงๆ จึงละอเนสนา สันโดษด้วยสัลเลขปฏิบัติอย่างเลิศ.

    บทว่า อภิรโต ปวิเวเก ความว่า ยินดีในวิเวก ๓ อย่าง ซึ่งท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า กายวิเวก สําหรับผู้ที่มีกายปลีกออกเพื่อความสงัด ๑ จิตตวิเวก สําหรับผู้ที่ยินดีการออกจากกาม ถึงความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง ๑ อุปธิวิเวก สําหรับบุคคลหมดกิเลส หมดเครื่องปรุงแต่ง ๑ ละความคลุกคลีด้วยหมู่ ปลีกกายอยู่คนเดียว ละความเกลือกกลั้วด้วยกิเลสทางใจ อยู่คนเดียวด้วยอํานาจสมาบัติ ๘ เข้าผลสมาบัติหรือนิโรธสมาบัติแล้ว บรรลุพระนิพพานอยู่.

    บทว่า ยคฺเฆ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่าเตือน.

    บทว่า อาสเนนปิ นิมนฺเตยฺยาม ความว่า ควรจะจัดอาสนะสําหรับนั่งแล้วกล่าวว่า นิมนต์นั่งบนอาสนะนี้.

    บทว่า อภินิมนฺเตยฺยามปิ นํ ความว่า ควรจะเชื้อเชิญเขาเข้ามา.ในการนั้น มีการเชื้อเชิญ ๒ อย่าง คือด้วยวาจาอย่าง ๑ ด้วยกายอย่าง ๑.

    จริงอยู่ ทายกที่กล่าวว่า ข้าพเจ้าขอแจ้งให้ทราบ ท่านต้องการสิ่งใด เช่นจีวรเป็นต้น โปรดบอกในขณะที่ท่านต้องการทุกครั้ง ดังนี้ ชื่อว่าเชื้อเชิญให้มาด้วยวาจา. ส่วนทายกที่สังเกตเห็นว่าจีวรเป็นต้นขาดแคลน จึงถวายจีวรเหล่านั้นด้วยกล่าวว่า โปรดรับจีวรนี้ ดังนี้ ชื่อว่า เชื้อเชิญเข้ามาด้วยกาย.

    ท่านกล่าวว่า อภินิมนฺเตยฺยามปิ นํ หมายเอาการเชื้อเชิญทั้ง ๒

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 394

อย่างนั้น.

    ก็ยาเป็นที่สบายแก่คนไข้อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า คิลานเภสชฺชปริกฺขาร ในที่นี้ ก็ความแห่งคํากล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.

    บทว่า รกฺขาวรณคุตฺตึ ได้แก่การคุ้มครอง กล่าวคือการรักษาและการป้องกัน.

    ก็การคุ้มครองที่เป็นการรักษาและป้องกันนี้นั้น หาใช่จัดบุรุษถืออาวุธยืนรักษาไว้ จะชื่อว่า คุ้มครองเป็นธรรมไม่ เป็นแต่เพียงจัดการรักษามิให้คนหาฟืนคนเก็บใบไม้เป็นต้น เข้าไปในวิหารในเวลาอันไม่สมควรหรือมิให้พรานเนื้อเป็นต้น จับเนื้อหรือปลาในเขตวิหาร ก็ชื่อว่าคุ้มครองเป็นธรรม.

    ท่านกล่าวว่า ธมฺมิกํ หมายถึงการคุ้มครองเป็นธรรมที่กล่าวแล้วนั้น.

    บทว่า ยทิ เอวํ สนฺเต ความว่า ถ้าเมื่อทาสของพระองค์ได้รับปฏิสันถารมีอภิวาทเป็นต้นจากสํานักของพระองค์เช่นนั้น.

    คําว่า อทฺธา เป็นคําจํากัดความลงไปส่วนเดียว.

    บทว่า ปมํ ความว่า เมื่อกล่าวถึงที่ ๑ ย่อมแสดงว่ายังมีที่อื่นๆ ต่อไป. ด้วยบทว่า ปมํ นั่นแหละ พระราชาจึงทูลว่า สกฺกา ปน ภนฺเต อฺํปิ ดังนี้เป็นต้น.

    ชื่อว่า ชาวนา ด้วยอรรถว่า ไถนา.

    ชื่อว่า คฤหบดี ด้วยอรรถว่า เป็นใหญ่เฉพาะเรือน คือเป็นหัวหน้าเพียงในเรือนหลังเดียว.

    ชื่อว่า ผู้เสียค่าอากร ด้วยอรรถว่า กระทําค่าอากร กล่าวคือพลีให้.

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 395

    ชื่อว่า ผู้เพิ่มพูนพระราชทรัพย์ ด้วยอรรถว่า เพิ่มพูนกองข้าวเปลือกและกองทรัพย์.

    บทว่า อปฺปํ วา ได้แก่น้อย โดยที่สุดแม้เพียงข้าวสารทะนานหนึ่ง.

    บทว่า โภคกฺขนฺธํ ได้แก่กองโภคะ.

    บทว่า มหนฺตํ วา ได้แก่ไพบูลย์.

    เพื่อแสดงว่า ก็การที่จะละโภคะมากไปบวช ทําได้ยาก ฉันใด โภคะแม้น้อยก็ละไปบวชได้ยาก ฉันนั้น ท่านจึงกล่าวไว้เสียทั้ง ๒ อย่าง.

    ก็จะวินิจฉัยในวาระแห่งทาส : เพราะเหตุที่ทาสไม่เป็นอิสระแม้แก่ตน จะป่วยกล่าวไปไยถึงโภคะทั้งหลาย ก็ทรัพย์ใดของทาสนั้น ทรัพย์นั้นก็เป็นของนายนั่นเอง ฉะนั้น จึงมิได้ถือว่าเป็นโภคะ.

    เครือญาติก็คือญาตินั่นแหละ.

    ข้อว่า สกฺกา ปน ภนฺเต อฺมปิ ทิฏเว ธมฺเม ความว่า ในที่นี้พระเจ้าอชาตศัตรูมิได้ทูลว่า เอวเมว. หากจะถามว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร. แก้ว่าเพราะถ้าเมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูทูลว่า เอวเมว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะทรงแสดงสามัญญผลโดยอุปมาทั้งหลายเห็นปานนั้น ตลอดวันแม้ทั้งสิ้นหรือยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอย่างเพียงพอ พระเจ้าอชาตศัตรูจะมัวสดับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ในที่นั้นไม่มีที่สิ้นสุดโดยแท้. แม้ถึงอย่างนั้น เนื้อความก็จักมีอยู่เท่านั้นเอง. พระเจ้าอชาตศัตรูมีพระดําริดังนี้ เมื่อจะทูลถามให้วิเศษขึ้นไป จึงมิได้ทูลว่า เอวเมว แต่ทูลยิ่งขึ้นไปว่า อภิกฺกนฺตตรํ ปณีตตรํ ดังนี้.

    ในพระบาลีนั้น บทว่า อภิกฺกนฺตตรํ ได้แก่ที่น่าพอใจกว่า คือประเสริฐยิ่งกว่า.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 396

    บทว่า ปณีตตรํ ได้แก่สูงสุดกว่า.

    บทว่า เตนหิ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่าส่งเสริม.

    จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงส่งเสริมในการฟัง จึงได้ตรัสกะพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นอย่างนี้.

    บทว่า สุณาหิ ความว่า ขอพระองค์จงฟังสามัญญผลที่ดีกว่าและประณีตกว่า.

    ก็ในบทว่า สาธุกํ มนสิกโรหิ นี้ คําว่า สาธุกํ และ สาธุ นี้มีอรรถอย่างเดียวกัน.

    ก็สาธุศัพท์นี้ แปลได้หลายอย่าง เช่น ขอโอกาส รับคํา ทําให้ร่าเริงดี และทําให้มั่น เป็นต้น.

    ที่แปลว่า ขอโอกาส เช่นในประโยคว่า สาธุ เม ภนฺเต ภควา สงฺขิตฺเตน ธมฺมํ เทเสตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ดังนี้เป็นต้น.

    ที่แปลว่า รับคํา เช่นในประโยคว่า สาธุ ภนฺเตติ โข โส ภิกฺขุ ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา ภิกษุนั้นรับคําว่า ดีละ พระเจ้าข้า แล้วชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้เป็นต้น.

    ที่แปลว่า ทําให้ร่าเริง เช่นในประโยคว่า สาธุ สาธุ สารีปุตฺต ดีแล้วดีแล้ว สารีบุตรดังนี้เป็นต้น.

    ที่แปลว่าดี เช่นในคาถาเป็นต้นว่า

    สาธุ ธมฺมรุจี ราชา สาธุ ปฺญาณวา นโร สาธุ มิตฺตานมทฺทุพฺโภ ปาปสฺสากรณํ สุขํ

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 397

    พระราชาใฝ่ธรรม ดี นระผู้มีปัญญา ดี ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ดี การไม่ทําบาป ดี.

    ที่แปลว่า ทําให้มั่น เช่นในประโยคว่า เตนหิ พฺราหฺมณ สาธุกํ สุณาหิ ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟังให้ดี สาธุกศัพท์นั่นแหละ บางท่านแปลว่า บังคับ ก็มี. แม้ในที่นี้พึงทราบว่า แปลว่าทําให้มั่นนี้แหละด้วย แปลว่าบังคับด้วย. แม้จะแปลว่า ดี ก็ควร.

    จริงอยู่ โดยแปลว่าทําให้มั่น ย่อมส่องความว่า จงฟังธรรมนี้ให้มั่นยึดถือไว้อย่างดี.

    โดยแปลว่า บังคับ ย่อมส่องความว่า จงฟังตามบังคับของเรา.

    โดยแปลว่า ดี ย่อมส่องความว่า จงฟังธรรมนี้ให้ดี คือให้ได้เนื้อถ้อยกระทงความ.

    บทว่า มนสิกโรหิ ความว่า จงนึกรวบรวม. อธิบายว่า จงมีจิตแน่วแน่เงี่ยโสตตั้งใจ.

    อีกอย่างหนึ่ง คําว่า สุณาหิ ในพระบาลีนี้ เป็นการห้ามความฟุ้งซ่านแห่งโสตินทรีย์.

    คําว่า สาธุกํ มนสิกโรหิ เป็นการห้ามความฟุ้งซ่านแห่งมนินทรีย์โดยประกอบให้มั่นในมนสิการ.

    แลใน ๒ คํานี้ คําต้นห้ามถือพยัญชนะคลาดเคลื่อน คําหลังห้ามถืออรรถคลาดเคลื่อน.

    แลด้วยคําต้น ชักชวนให้ฟังธรรม ด้วยคําหลังชักชวนให้จําและ

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 398

ไตร่ตรองธรรมที่ฟังแล้วเป็นต้น.

    แลด้วยคําต้นแสดงว่า ธรรมนี้พร้อมพยัญชนะ เพราะฉะนั้น จึงควรฟัง ด้วยคําหลังแสดงว่าธรรมนี้พร้อมอรรถ เพราะฉะนั้น จึงควรใส่ใจไว้ให้ดี.

    อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สาธุกํ พึงประกอบด้วยบททั้ง ๒ (ว่า สาธุกํ สุณาหิ สาธุกํ มนสิกโรหิ) .

    เพราะธรรมนี้ลึกโดยธรรม และลึกโดยเทศนา ฉะนั้น จึงต้องฟังให้ดี และเพราะธรรมนี้ลึกโดยอรรถและลึกโดยปฏิเวธ ฉะนั้น จึงต้องใส่ใจให้ดี พึงประกอบเนื้อความอย่างนี้แล.

    บทว่า ภาสิสฺสามิ ความว่า เราจักกล่าวแสดงสามัญญผลที่ได้ปฏิญญาไว้อย่างนี้ว่า อาจ มหาบพิตร ดังนี้ โดยพิสดาร.

    บทว่า เทสิสฺสามิ เป็นการแสดงโดยย่อ.

    บทว่า ภาสิสฺสามิ เป็นการแสดงโดยพิสดาร.

    เพราะเหตุนั้น พระวังคีสเถระจึงกล่าวว่า

    พระผู้มีพระภาคเจ้าเทศนาโดยย่อบ้าง ตรัสโดยพิสดารบ้าง พระสุรเสียงกังวานไพเราะเหมือนเสียงนกสาลิกา พระปฏิภาณก็ไว.

    เมื่อพระผู้มีพระภาคะเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิบุตร เจ้าแผ่นดินมคธก็เกิดพระอุตสาหะรับพร้อมพระพุทธดํารัส อธิบายว่า รับเฉพาะแล้ว.

    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระดํารัสนี้แก่ พระเจ้าอชาตศัตรูนั้น. อธิบายว่า ได้ตรัสพระสูตรทั้งสิ้น มีคําว่า อิธ มหาราช

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 399

เป็นต้น ที่ควรจะตรัสในบัดนี้.

    บทว่า อิธ ในพระบาลีนั้น เป็นนิบาต ใช้ในอรรถอ้างถึงท้องถิ่น.อิธ ศัพท์นี้นั้น บางแห่งท่านกล่าวหมายถึงโลก อย่างที่กล่าวว่า พระตถาคตย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้.

    บางแห่งหมายถึงศาสนา อย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ ๑ มีในศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่ ๒ ก็มีในศาสนานี้.

    บางแห่งหมายถึงโอกาส อย่างที่กล่าวว่า

    เมื่อเราเป็นเทวดาดํารงอยู่ในโอกาสนี้เรา ต่ออายุได้อีกจริงๆ จงทราบอย่างนี้เถิด ท่าน.

    บางแห่งเป็นเพียงปทปูรณะเท่านั้น อย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราบริโภคแล้ว ห้ามภัตแล้ว.

    ก็ในที่นี้ พึงทราบว่า ตรัสหมายถึงโลก.

    บทว่า มหาราช ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า มหาบพิตรอีก เพื่อทรงแสดงเทศนาตามที่ทรงปฏิญญาไว้. คํานี้มีอธิบายว่า ดูก่อนมหาบพิตร ตถาคตย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์.....เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จําแนกพระธรรม.

    ตถาคต ศัพท์ในพระบาลีนั้น ตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร ศัพท์ว่า อรหํ เป็นต้น กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคโดยพิสดาร.

    ก็ในพระบาลีว่า โลเก อุปฺปชฺชติ นี้คําว่าโลกมี ๓ อย่าง คือโอกาสโลก สัตวโลก สังขารโลก. แต่ในที่นี้ประสงค์สัตวโลก. พระตถาคตแม้เมื่อเกิดในสัตวโลก จะได้เกิดในเทวโลกหรือพรหมโลกก็หาไม่

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 400

ย่อมเกิดในมนุษยโลกเท่านั้น. แม้ในมนุษยโลก ก็ไม่เกิดในจักรวาลอื่นย่อมเกิดในจักรวาลนี้เท่านั้น. แม้ในจักรวาลนี้นั้น ก็ไม่เกิดในที่ทั่วไป ย่อมเกิดในมัชฌิมประเทศ โดยยาว ๓๐๐ โยชน์ โดยกว้าง ๒๕๐ โยชน์ โดยวงรอบ ๙๐๐ โยชน์ ซึ่งท่านกําหนดไว้อย่างนี้ว่า ทิศตะวันออกมีนิคมชื่อชังคละ, ต่อจากนิคมชื่อชังคละนั้น มีนิคมชื่อมหาสาละ, ต่อจากนั้นเป็นปัจจันตชนบท, ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท. ทิศตะวันออกเฉียงใต้มีแม่น้ำชื่อสัลลวดี, ต่อจากนั้นเป็นปัจจันตชนบท, ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท. ในทิศใต้มีนิคมชื่อเสตกัณณิกะ, ต่อจากนั้นเป็นปัจจันตชนบท,ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท. ทิศตะวันตกมีพราหมณคามชื่อถูนะ, ต่อจากนั้นเป็นปัจจัยนตชนบท, ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท. ทิศเหนือมีภูเขาชื่ออุสีรธชะ, ต่อจากนั้นเป็นปัจจันตชนบท, ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท.และมิใช่แต่พระตถาคตเท่านั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พระอัครสาวกทั้งหลาย พระอสีติมหาเถระทั้งหลาย พระพุทธมารดา พระพุทธบิดา พระเจ้าจักรพรรดิ พราหมณ์และคฤหบดีที่มีหลักฐานอื่นๆ ย่อมเกิดในมัชฌิมประเทศนี้เท่านั้น.

    ในคําว่า ตถาคโต โลเก อุปฺปชฺชติ นั้น พระตถาคต ตั้งแต่เสวยข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดาถวายจนถึงอรหัตตมรรค ชื่อว่าย่อมอุบัติเมื่อบรรลุอรหัตตผล ชื่อว่าอุบัติแล้ว หรือว่าตั้งแต่มหาภิเนษกรมณ์จนถึงอรหัตตมรรค หรือว่าตั้งแต่ภพชั้นดุสิตจนถึงอรหัตตมรรค หรือว่าตั้งแต่บาทมูลของพระพุทธเจ้าทีปังกรจนถึงอรหัตตมรรค ชื่อว่าย่อมอุบัติ เมื่อบรรลุอรหัตตผล ชื่อว่าอุบัติแล้ว. คําว่าอุปฺปชฺชติ ในพระบาลีนี้ท่านกล่าว

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 401

หมายเอาภาวะที่อุบัติแล้วก่อนทั้งหมด. ก็ในที่นี้มีเนื้อความดังนี้ว่า พระตถาคตอุบัติแล้วในโลก.

    บทว่า โส อิมํ โลกํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงทําโลกนี้ให้แจ้ง. บัดนี้จะแสดงคําที่ควรกล่าว.

    บทว่า สเทวกํ ความว่า กับเทวดาทั้งหลาย ชื่อสเทวกะ กับมาร ชื่อสมารกะ อย่างเดียวกัน กับพรหม ชื่อสพรหมกะ กับสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ชื่อสัสสมณพราหมณ์. ชื่อหมู่สัตว์ เพราะเกิดทั่ว ซึ่งหมู่สัตว์นั้น กับเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ชื่อสเทวมนุสสะ.

    ในบทเหล่านั้น ด้วยคําว่า สเทวกะ พึงทราบว่าถือเอากามาวจรเทพ๕ ชั้น. ด้วยคําว่า สมารกะ พึงทราบว่าถือเอากามาวจรเทพชั้นที่ ๖.ด้วยคําว่า สพรหมกะ ถือเอาพรหมมีชั้นพรหมกายิกะเป็นต้น. ด้วยคําว่าสัสสมณพราหมณ์ ถือเอาสมณพราหมณ์ที่เป็นข้าศึกและปัจจามิตรต่อพระศาสนา และถือเอาสมณพราหมณ์ที่ระงับบาปลอยบาปได้แล้ว. ด้วยคําว่า ปชา ถือเอาสัตวโลก. ด้วยคําว่า สเทวมนุสสะ ถือเอาสมมติเทพและมนุษย์ที่เหลือ.

    ด้วยบท ๓ บท ในที่นี้ พึงทราบว่า ท่านถือเอาสัตวโลกกับโอกาสโลก. เฉพาะสัตวโลก ท่านถือเอาด้วยคําว่า ปชา ด้วยบททั้ง ๒ ด้วยประการฉะนี้.

    อีกนัยหนึ่ง ด้วยศัพท์ว่า สเทวกะ ท่านถือเอาอรูปาวจรเทวโลก.ด้วยศัพท์ว่า สมารกะ ท่านถือเอาฉกามาวจรเทวโลก. ด้วยศัพท์ว่า สพรหมกะ ท่านถือเอารูปพรหมเทวโลก. ด้วยศัพท์ว่า สัสสมณพราหมณ์ เป็นต้น ท่านถือเอามนุษยโลกกับสมมติเทพทั้งหลายโดยเป็นบริษัท ๔

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 402

หรือถือเอาสัตวโลกทั้งหมดที่เหลือลง.

    อีกอย่างหนึ่ง ในบทเหล่านี้ ด้วยคําว่า สเทวกะ ท่านกล่าวถึงความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทําโลกทั้งปวงให้แจ้งโดยกําหนดอย่างสูง.ลําดับนั้น ชนเหล่าใดมีความคิดว่า วสวัตดีมาร ผู้มีอานุภาพมาก เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นกามาวจร. วสวัตดีมาร แม้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทําให้แจ้งด้วยหรือ. เมื่อจะกําจัดความสงสัยของชนเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า สมารกํ ดังนี้.

    ก็ชนเหล่าใดมีความคิดว่า พรหมผู้มีอานุภาพใหญ่ แผ่แสงสว่างไปในพันจักรวาลด้วยองคุลีหนึ่ง__ ด้วย ๒ องคุลี แผ่แสงสว่างไปในหมื่นจักรวาลด้วย ๑๐ องคุลี และเสวยสุขในฌานสมาบัติชั้นยอดเยี่ยม พรหมแม้นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทําให้แจ้งด้วยหรือ เมื่อจะกําจัดความสงสัยของชนเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า สพฺรหฺมกํ ดังนี้.

    ลําดับนั้น ชนเหล่าใดคิดว่า สมณพราหมณ์เป็นอันมากที่เป็นข้าศึกต่อพระศาสนา สมณพราหมณ์แม้เหล่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทําให้แจ้งด้วยหรือ เมื่อจะกําจัดความสงสัยของชนเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า สสฺสมณพฺราหฺมณึ ปชํ ดังนี้.

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศความที่พระองค์ทรงทําฐานะชั้นสูงทั้งหลายให้แจ้งแล้ว ลําดับนั้นเมื่อจะทรงประกาศความที่พระองค์ทรงทําสัตวโลกที่เหลือจนชั้นสมมติเทพและมนุษย์ที่เหลือลงทั้งหลายด้วยกําหนดอย่างสูง จึงตรัสว่า สเทวมนุสฺสํ ดังนี้ นี้เป็นลําดับการขยายความในที่นี้.

    ก็พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า บทว่า สเทวกํ ได้แก่โลก

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 403

ที่เหลือลงรวมทั้งเทวดาทั้งหลาย.

    บทว่า สมารกํ ได้แก่โลกที่เหลือลงรวมทั้งมาร.

    บทว่า สพฺรหฺมกํ ได้แก่โลกที่เหลือลงรวมทั้งพรหมทั้งหลาย.

    โดยอธิบายอย่างนี้ เป็นอันผนวกสัตว์ที่เข้าถึงภพ ๓ ทั้งหมด ในบททั้ง ๓ ด้วยอาการ ๓. เมื่อจะถือเอาด้วยบททั้ง ๒ อีก จึงกล่าวว่า สสฺสมณพฺรหฺมณึ ปชํ สเทวมนุสฺสํ ดังนี้.

    โดยอธิบายอย่างนี้ เป็นอันถือเอาสัตวโลกที่เป็นไตรธาตุนั่นเทียวโดยอาการนั้นๆ ด้วยบททั้ง ๕.

    ก็ในคําว่า สยํ อภิฺา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทติ นี้ มีวินิจฉัยว่า

    บทว่า สยํ ได้แก่เอง คือไม่มีผู้อื่นแนะนํา.

    บทว่า อภิฺา ได้แก่ด้วยความรู้ยิ่ง อธิบายว่า รู้ด้วยญาณอันยิ่ง.

    บทว่า สจฺฉิกตฺวา ได้แก่ทําให้ประจักษ์. ด้วยบทนี้ เป็นอันปฏิเสธความคาดคะเนเป็นต้น.

    บทว่า ปเวเทติ ได้แก่ให้รู้ ให้ทราบ คือ ประกาศให้ทราบกันทั่วไป.

    ข้อว่า โส ธมฺมํ เทเสติ อาทิกลฺยาณํ ฯเปฯ ปริโยสานกลฺยาณํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงอาศัยความเป็นผู้กรุณาในสัตว์ทั้งหลาย แม้ทรงละซึ่งความสุขเกิดแต่วิเวกแสดงธรรม และเมื่อทรงแสดงธรรมนั้น น้อยก็ตาม มากก็ตาม ทรงแสดงชนิดมีความงามในเบื้องต้นเป็นต้นทั้งนั้น. อธิบายว่า แม้ในเบื้องต้น ทรงแสดงทําให้งาม ไพเราะไม่มีโทษเลย แม้ในท่ามกลาง แม้ในที่สุด ก็ทรงแสดงทําให้งาม ไพเราะไม่มีโทษเลย.

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 404

    ในข้อที่กล่าวมาแล้วนั้น เทศนามีเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด.ศาสนาก็มีเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด. จะกล่าวเทศนาก่อน. ในคาถาแม้มี ๔ บาท บาทแรกชื่อว่าเป็นเบื้องต้น. สองบาทต่อจากนั้นชื่อว่าเป็นท่ามกลาง. บาทเดียวในตอนท้ายชื่อว่าเป็นที่สุด.

    พระสูตรที่มีอนุสนธิเดียว มีนิทานเป็นเบื้องต้น มีคําว่า อิทมโวจ เป็นที่สุด คําระหว่างเบื้องต้นและที่สุดทั้ง ๒ เป็นท่ามกลาง.

    พระสูตรที่มีอนุสนธิมาก มีอนุสนธิแรกเป็นเบื้องต้น มีอนุสนธิในตอนท้ายเป็นที่สุด. อนุสนธิหนึ่ง หรือสอง หรือมากในท่ามกลาง เป็นท่ามกลางทั้งนั้น.

    สําหรับศาสนา มีศีลสมาธิและวิปัสสนาชื่อว่าเป็นเบื้องต้น. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ก็อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย? ศีลที่บริสุทธิ์ดีและทิฏฐิที่ตรงเป็นเบื้องต้น.

ก็อริยมรรคที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วมีอยู่ ดังนี้ ชื่อว่าเป็นท่ามกลาง.

    ผลและนิพพานชื่อว่าเป็นที่สุด.

    จริงอยู่ ผลท่านกล่าวว่าเป็นที่สุด ในประโยคนี้ว่า แน่ะพราหมณ์ เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ นั่นเป็นสาระ นั่นเป็นที่สุด ดังนี้.

    นิพพานท่านกล่าวว่าเป็นที่สุด ในประโยคนี้ว่า ดูก่อนท่านวิสาขะ บุคคลอยู่จบพรหมจรรย์ซึ่งหยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด.

    ในที่นี้ทรงประสงค์เบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดแห่งเทศนา.

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 405

    จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงธรรม ทรงแสดงศีลในเบื้องต้น ทรงแสดงมรรคในท่ามกลาง ทรงแสดงนิพพานในที่สุด.ฉะนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ดังนี้.

    เพราะฉะนั้น ธรรมกถึกแม้อื่น เมื่อแสดงธรรม พึงแสดงศีลในเบื้องต้น แสดงมรรคในท่ามกลางและแสดงนิพพานในที่สุด นี้เป็นหลักของธรรมกถึก.

    บทว่า สาตฺถํ สพฺยฺชนํ ความว่า ก็ผู้ใดมีเทศนาเกี่ยวด้วยการพรรณนาถึงข้าวยาคูและภัตรหญิงและชายเป็นต้น ผู้นั้นชื่อว่าแสดงเทศนาพร้อมทั้งอรรถก็หาไม่ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงละการแสดงอย่างนั้น ทรงแสดงเทศนาเกี่ยวด้วยสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น. ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทรงแสดงพร้อมทั้งอรรถ ดังนี้.

    ก็เทศนาของผู้ใดประกอบด้วยพยัญชนะเดียวเป็นต้น หรือมีพยัญชนะหุบปากทั้งหมด หรือมีพยัญชนะเปิดปากทั้งหมด และมีกดปากทั้งหมด เทศนาของผู้นั้นย่อมเป็นเทศนาชื่อว่าไม่มีพยัญชนะ เพราะพยัญชนะไม่บริบูรณ์ ดุจภาษาของพวกมิลักขะ มีเผ่าทมิฬะ เผ่ากิราตะ และเผ่ายวนะเป็นต้น.

    แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงทําพยัญชนะ ๑๐ อย่างที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า สิถิล ธนิต ทีฆะ รัสสะ ลหุ ครุ นิคคหิต สัมพันธ์ วิมุตและประเภทแห่งความขยายของพยัญชนะ ดังนี้ไม่ให้ปะปนกัน ทรงแสดงธรรมทําพยัญชนะนั่นแลให้บริบูรณ์ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทรงแสดงธรรมพร้อมทั้งพยัญชนะ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 406

บทว่า เกวลํ ในบทว่า เกวลปริปุณฺณํ นี้เป็นคําเรียกความสิ้นเชิง.

บทว่า ปริปุณฺณํ เป็นคําเรียกความไม่ขาดไม่เกิน. อธิบายว่า ทรงแสดงบริบูรณ์ทั้งสิ้นทีเดียว แม้เทศนาส่วนหนึ่งที่ไม่บริบูรณ์ก็ไม่มี.

บัณฑิตพึงทราบว่า บริบูรณ์สิ้นเชิง เพราะไม่มีคําที่จะพึงเพิ่มเข้าและตัดออก.

บทว่า ปริสุทฺธํ ได้แก่ไม่มีความเศร้าหมอง.

ก็ผู้ใดแสดงธรรมด้วยคิดว่า เราจักได้ลาภหรือสักการะเพราะอาศัยธรรมเทศนาน เทศนาของผู้นั้นย่อมไม่บริสุทธิ์. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงเพ่งโลกามิส มีพระหทัยอ่อนโยนด้วยเมตตาภาวนาซึ่งแผ่ประโยชน์ทรงแสดงด้วยจิตที่ดํารงอยู่โดยสภาพคือการยกระดับให้สูงขึ้น. ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าทรงแสดงธรรมบริสุทธิ์.

ก็ในคําว่า พฺรหฺมจริยํ ปกาเสติ นี้ ศัพท์ว่า พฺรหฺมจริย นี้ปรากฏในอรรถเหล่านี้ คือ ทาน เวยยาวัจจะ ศีลสิกขาบท ๕ อัปปมัญญาเมถุนวิรัติ สทารสันโดษ วิริยะ องค์อุโบสถ อริยมรรค ศาสนา.

จริงอยู่ ทาน ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ในปุณณกชาดกนี้ว่า

ก็อะไรเป็นพรต อะไรเป็นพรหมจรรย์ของท่าน นี้เป็นวิบากของกรรมอะไรที่สั่งสมดีแล้ว ความสําเร็จความรุ่งเรือง กําลัง การเข้าถึงความเพียร และวิมานใหญ่ของท่านนี้ เป็นผลแห่งกรรมอะไร ท่านผู้ประเสริฐ ข้าพเจ้าและภริยาทั้ง ๒ เมื่ออยู่ในมนุษย-โลก ได้เป็นผู้มีศรัทธา เป็นทานบดี เรื่องของเราในกาลนั้นได้เป็นโรงดื่ม และสมณพราหมณ์ทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 407

ก็อิ่มหนํา ก็ทานนั้นเป็นพรต เป็นพรหมจรรย์ของเรา นี้เป็นวิบากแห่งทานที่สั่งสมดีแล้วความสําเร็จความรุ่งเรือง กําลัง การเข้าถึงความเพียรและวิมานใหญ่ของเรา นี้เป็นผลแห่งทานที่สั่งสมดีแล้ว ท่านผู้แกล้วกล้า.

    เวยยาวัจจะ ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ในเรื่องอังกุรเปรตนี้ว่า

    ฝ่ามือของท่านให้สิ่งที่น่าใคร่ด้วยพรหมจรรย์อะไร ฝ่ามือของท่านหลั่งมธุรสด้วยพรหมจรรย์อะไร บุญสําเร็จในฝ่ามือของท่านด้วยพรหมจรรย์อะไร ฝ่ามือของข้าพเจ้าให้สิ่งที่น่าใคร่ด้วยพรหมจรรย์นั้น ฝ่ามือของข้าพเจ้าหลั่งมธุรสด้วยพรหมจรรย์นั้น บุญสําเร็จในฝ่ามือของข้าพเจ้าด้วยพรหมจรรย์นั้น.

    ศีลสิกขาบท ๕ ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ในติตติรชาดกนี้ว่า อิทํ โข ตํ ภิกฺขเว ติตฺติริยํ นาม พฺรหฺมจริยํ อโหสิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศีล ๕ นั้นแล ชื่อว่าติตติริยพรหมจรรย์.

    อัปปมัญญา ๔ ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ในมหาโควินทสูตร นี้ว่า ตํ โข ปน ปฺจสิข พฺรหฺมจริยํ เนว นิพฺพิทาย น วิราคาย น นิโคธาย ยาวเทว พฺรหฺมโลกุปปตฺติยา ดูก่อนปัญจสิขเทพบุตร ก็พรหมจรรย์นั้นแล ไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา ไม่เป็นไปเพื่อวิราคะ ไม่เป็นไปเพื่อนิโรธ เป็นไปเพียงเพื่อเข้าถึงพรหมโลกเท่านั้น.

    เมถุนวิรัติ ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ในสัลเลขสูตรนี้ว่า ปเร อพฺรหฺมจาริโน ภวิสฺสนฺติ มยเมตฺถ พฺรหฺมจาริโน ภวิสฺสาม คนเหล่า

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 408

อื่นจักเป็นผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เราทั้งหลายในที่นี้จักเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์.

    สทารสันโดษ ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ในมหาธรรมปาลชาดกว่า

    เราทั้งหลายไม่นอกใจภริยาทั้งหลาย และภริยาทั้งหลายก็ไม่นอกใจพวกเรา เว้นภริยาเหล่านั้น พวกเราประพฤติพรหมจรรย์ เพราะเหตุนั้นแหละ พวกเราจึงไม่ตายแต่หนุ่มๆ .

    ความเพียร ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ในโลมหังสนสูตรว่า อภิชานามิโข ปนาหํ สารีปุตฺต จตุรงฺคสมนฺนาคตํ พฺรหฺมจริยํ จริตา ตปสฺสี สุทํโหมิ ดูก่อนสารีบุตร เรานี่แหละรู้ชัดซึ่งความประพฤติพรหมจรรย์อันประกอบด้วยองค์ ๔ เรานี่แหละเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส.

    อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ทําด้วยอํานาจการฝึกตน ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ในนิมิชาดกอย่างนี้ว่า

    บุคคลเกิดเป็นกษัตริย์ด้วยพรหมจรรย์อย่างต่ํา เกิดเป็นเทวดาด้วยพรหมจรรย์อย่างกลาง และย่อมบริสุทธิ์ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูงสุด.

    อริยมรรค ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ในมหาโควินทสูตรนั่นแลว่า อิทํ โข ปน ปฺจสิข พฺรหฺมจริยํ เอกนฺตนิพฺพิทาย วิราคายฯเปฯ อยเมว อริโย อฏงฺคิโก มคฺโค ดูก่อนปัญจสิขเทพบุตรก็พรหมจรรย์นี้แล เป็นไปเพื่อนิพพิทาโดยส่วนเดียว เป็นไปเพื่อวิราคะ เป็นไปเพื่อนิโรธ..... พรหมจรรย์นี้คือมรรคมีองค์ ๘ ที่ห่างไกลจากข้าศึก คือกิเลสนี้แหละ.

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 409

    ศาสนาทั้งสิ้นซึ่งสงเคราะห์ด้วยสิกขา ๓ ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ในปาสาทิกสูตรว่า ตยิทํ พฺรหฺมจริยํ อิทฺธฺเจว ผีตฺจวิตฺถาริกํ พาหุชฺญํ ปุถุภูตํ ยาวเทว เทวมนุสฺเสหิ สุปฺปกาสิตํ พรหมจรรย์นี้นั้นสมบูรณ์ มั่งคั่ง แพร่หลาย คนโดยมากเข้าใจ มั่นคงเพียงที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศดีแล้วเท่านั้น.

    ก็ศาสนาทั้งสิ้นซึ่งสงเคราะห์ด้วยสิกขา ๓ นี้แหละท่านประสงค์ว่าพรหมจรรย์ในที่นี้. เพราะฉะนั้น พึงทราบความในข้อนี้อย่างนี้ว่า บทว่า พฺรหฺมจริยํ ปกาเสติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น....... บริสุทธิ์. และเมื่อทรงแสดงอย่างนี้ ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือศาสนาทั้งสิ้นซึ่งสงเคราะห์ด้วยสิกขา ๓.

    บทว่า พฺรหฺมจริยํ มีอธิบายว่า ความประพฤติเป็นพรหม ด้วยอรรถว่า ประเสริฐที่สุด หรือความประพฤติของพระพุทธเจ้าเป็นต้นผู้เป็นพรหม.

    บทว่า ตํ ธมฺมํ ความว่า ฟังธรรมที่ถึงพร้อมด้วยประการดังกล่าวแล้วนั้น.

    บทว่า คหปติ วา ความว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชี้คฤหบดีก่อน. เพราะจะกําจัดมานะอย่างหนึ่ง เพราะคฤหบดีมีจํานวนสูงอย่างหนึ่ง.

    จริงอยู่ โดยมากพวกที่ออกจากขัตติยตระกูลบวช ย่อมถือตัวเพราะอาศัยชาติ. พวกที่ออกจากตระกูลพราหมณ์บวช ย่อมถือตัวเพราะอาศัยมนต์. พวกที่ออกจากตระกูลต่ําบวช ไม่อาจที่จะดํารงอยู่ได้เพราะตนมีชาติแตกต่างจากเขา. ส่วนพวกเด็กคฤหบดี ไถพื้นที่ไร่นา จนเหงื่อไหล

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 410

รักแร้ ขี้เกลือขึ้นหลัง ย่อมกําจัดความถือตัวและเย่อหยิ่งเสียได้. เพราะไม่มีความถือตัวเช่นนั้น เขาเหล่านั้นบวชแล้ว ไม่ทําความถือตัวหรือความเย่อหยิ่ง เรียนพระพุทธพจน์ตามกําลัง กระทําพระพุทธพจน์นั้นด้วยวิปัสสนา ย่อมอาจที่จะดํารงอยู่ในความเป็นพระอรหันต์ได้. ส่วนผู้ที่ออกจากตระกูลนอกนี้บวช มีไม่มาก. แต่ที่เป็นคฤหบดี มีมาก. ดังนั้น จึงชี้คฤหบดีก่อน เพราะจะกําจัดมานะ และเพราะมีจํานวนสูง ดังนี้

    บทว่า อฺตรสฺมึ วา ความว่า ในตระกูลใดตระกูลหนึ่งบรรดาตระกูลนอกนี้.

    บทว่า ปจฺจาชาโต ได้แก่เกิดเฉพาะ.

    บทว่า ตถาคเต สทฺธํ ปฏิลภติ ความว่า ฟังธรรมบริสุทธิ์ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตผู้เป็นธรรมสามี ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นสัมมาสัมพุทธะหนอ.

    บทว่า อิติ ปฏิสฺจิกฺขติ ได้แก่ย่อมพิจารณาอย่างนี้.

    บทว่า สมฺพาโธ ฆราวาโส ความว่า แม้ถ้าว่าผัวเมียอยู่ในเรือน ๖๐ ศอก หรือแม้ในที่ระหว่างร้อยโยชน์แม้อย่างนั้น การครองเรือนก็คับแคบอยู่นั้นเอง เพราะอรรถว่า เขาเหล่านั้นมีกังวลห่วงใย.

    บทว่า รชาปโถ ในมหาอรรถกถาแก้ว่า ที่เป็นที่ตั้งขึ้นแห่งธุลีมีราคะเป็นต้น. บางท่านกล่าวว่า อาคมปโถ ทางเป็นที่มา ดังนี้ก็มี.

    ชื่อว่า อพฺโภกาโส ด้วยอรรถว่า เป็นเหมือนกลางแจ้ง เพราะอรรถว่า ไม่ติดขัด.

    จริงอยู่ บรรพชิตแม้อยู่ในที่ปกปิดมีเรือนยอดปราสาทแก้วและเทพวิมานเป็นต้น ซึ่งมีประตูหน้าต่างปิดมิดชิด ก็ไม่เกี่ยวไม่ต้อง ไม่พัวพัน.

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 411

ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อพฺโภกาโส ปพฺพชฺชา ดังนี้.

    อีกอย่างหนึ่ง ฆราวาสชื่อว่าคับแคบ เพราะไม่มีโอกาสทํากุศล ชื่อว่าเป็นทางมาแห่งธุลี เพราะเป็นที่ประชุมแห่งธุลีคือกิเกส ดุจกองหยากเยื่อที่ไม่ได้รักษา เป็นที่รวมแห่งธุลีฉะนั้น. บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่งเพราะมีโอกาสทํากุศลตามสบาย.

    ในพระบาลีนี้ว่า นยิทํ สุกรํ ฯเปฯ ปพฺพเชยฺยํ ดังนี้ มีสังเขปกถาดังต่อไปนี้ :

    พรหมจรรย์คือสิกขา ๓ ที่แสดงแล้ว ชื่อว่าพึงประพฤติให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว เพราะไม่ทําให้ขาดแม้วันเดียว ยังจริมกจิตให้เอิบอิ่มได้.ชื่อว่าพึงประพฤติให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว เพราะไม่ทําให้แปดเปื้อนด้วยมลทินคือกิเลสแม้วันเดียว ยังจริมกจิตให้เอิบอิ่มได้.

    บทว่า สงฺขลิขิตํ ความว่า พึงประพฤติให้เหมือนสังข์ที่ขัดแล้ว คือให้มีส่วนเปรียบด้วยสังข์ที่ล้างแล้ว.

    ก็พรหมจรรย์นี้อันผู้อยู่ครองเรือนอยู่ในท่ามกลางแห่งเรือนจะประพฤติให้บริบูรณ์บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทําได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะที่สมควรแก่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะย้อมด้วยน้ำฝาดและมีสีเหลือง ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่มีเรือน. แลในข้อนี้ เพราะการงานมีกสิกรรมและพาณิชกรรมเป็นต้นที่เป็นประโยชน์แก่เรือน เรียกว่า การครองเรือน และการครองเรือนนั้นไม่มีในบรรพชา ฉะนั้น บรรพชาพึงทราบว่า ไม่ใช่การครองเรือน พรหมจรรย์นั้น ไม่ใช่การครองเรือน.

    บทว่า ปพฺพเชยฺยํ ได้แก่พึงปฏิบัติ.

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 412

    บทว่า อปฺปํ วา ความว่า กองโภคะต่ํากว่าจํานวนพัน ชื่อว่าน้อย. ตั้งแต่พันหนึ่งขึ้นไป ชื่อว่ามาก.

    ญาตินั่นแหละ ชื่อว่าเครือญาติ เพราะอรรถว่าเกี่ยวพัน. เครือญาติแม้นั้นต่ํากว่า ๒๐ ชื่อว่าน้อย. ตั้งแต่ ๒๐ ขึ้นไป ชื่อว่ามาก.

    บทว่า ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุโต ได้แก่ประกอบด้วยความสํารวมในปาติโมกข์.

    บทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน ได้แก่ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร.

    บทว่า อณุมตฺเตสุ คือมีประมาณน้อย.

    บทว่า วชฺเชสุ ได้แก่ในอกุศลธรรมทั้งหลาย.

    บทว่า ภยทสฺสาวี คือเห็นภัย.

    บทว่า สมาทาย ได้แก่ถือเอาโดยชอบ.

    บทว่า สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ ความว่า สมาทานศึกษาสิกขาบทนั้นๆ ในสิกขาบททั้งหลาย.

    นี้เป็นความย่อในข้อนี้ ส่วนความพิสดารได้กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.

    ในพระบาลีว่า กายกมฺมวจีกมฺเมน สมนฺนาคโต กุสเลน ปริสุทฺธาชีโว นี้ ความว่า ก็เมื่อกายกรรมและวจีกรรมที่เป็นกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาด้วยศัพท์ว่าอาจารโคจรแล้วก็ตาม เพราะชื่อว่าอาชีวปาริสุทธิศีลนี้ ย่อมไม่เกิดในอากาศหรือที่ยอดไม้เป็นต้น แต่เกิดขึ้นในกายทวารและวจีทวารเท่านั้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ประกอบด้วยกายกรรมและวจีกรรมอันเป็นกุศล เพื่อแสดงทวารที่เกิดของอาชีวปาริ-

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 413

สุทธิศีลนั้น. แต่เพราะประกอบด้วยอาชีวปาริสุทธิศีลนั้น ฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้มีอาชีพบริสุทธิ์.

    อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวอย่างนี้ ก็โดยอํานาจมุณฑิยปุตตสูตร. จริงอยู่ ในสูตรนี้ ท่านกล่าวไว้ว่า ดูก่อนคฤหบดี กายกรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน? ดูก่อนคฤหบดี แม้อาชีวะที่บริสุทธิ์ เราก็กล่าวไว้ในศีล ดังนี้.

    ก็เพราะผู้ปฏิบัติประกอบด้วยศีลนั้น ฉะนั้น พึงทราบว่า เป็นผู้มีอาชีพบริสุทธิ์.

    บทว่า สีลสมฺปนฺโน ความว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ๓ อย่าง ที่กล่าวแล้วในพรหมชาลสูตร.

    บทว่า อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวาโร ความว่า เป็นผู้ปิดทวารในอินทรีย์ทั้งหลายซึ่งมีใจเป็นที่ ๖.

    บทว่า สติสมฺปชฺเน สมนฺนาคโต ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะในฐานะทั้ง ๗ มีก้าวไปและถอยกลับเป็นต้น.

    บทว่า สนฺตุฏโ ความว่า ประกอบด้วยสันโดษ ๓ อย่างในปัจจัย ๔ ชื่อว่า เป็นผู้สันโดษ.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวางหัวข้ออย่างนี้แล้ว เมื่อทรงแจกตามลําดับจึงตรัสคําเป็นต้นว่า มหาบพิตร อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.

    ในพระบาลีนั้น บทว่า อิทํ ปิสฺส โหติ สีลสฺมึ ความว่า ศีลคือเจตนางดเว้น จากปาณาติบาตของภิกษุนั้นแม้นี้ เป็นศีลข้อ ๑ ในศีล. อีกอย่างหนึ่ง คําว่า สีลสฺมึ นี้เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งปฐมาวิภัตติ.

    ก็ในมหาอรรถกถาท่านกล่าวเนื้อความนี้ทีเดียวว่า ศีลคือเจตนา

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 414

งดเว้นจากปาณาติบาตแม้นี้ ก็เป็นศีลของสมณะนั้นเหมือนกัน. คําที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในพรหมชาลสูตรนั่นแหละ.

    บทว่า อิทมสฺส โหติ สีลสฺมึ ความว่า นี้เป็นศีลของภิกษุนั้น.

    บทว่า น กุโตจิ ภยํ สมนุปสฺสติ ยทิทํ สีลสํวรโต ความว่า ภัยเหล่าใดที่มีความไม่สํารวมเป็นมูลย่อมเกิดขึ้น บรรดาภัยเหล่านั้น ภัยที่พึงมีเพราะศีลสังวรนั้น ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลจะไม่ประสบแต่ที่ไหนๆ แม้เพราะสํารวมอย่างเดียว. เพราะเหตุไร เพราะไม่มีภัยที่มีความไม่สํารวมเป็นมูล เพราะความสํารวม.

    บทว่า มุทฺธาวสิตฺโต ความว่า รดบนพระเศียรด้วยขัตติยาภิเษกที่จัดไว้ตามพิธี.

    บทว่า ยทิทํ ปจฺจตฺถิกโต ความว่า ย่อมไม่ประสบภัยที่จะพึงมีแม้จากศัตรูคนหนึ่งแต่ที่ไหนๆ . เพราะเหตุไร เพราะกําจัดปัจจามิตรได้แล้ว.

    บทว่า อชฺฌตฺตํ ได้แก่ภายในของตน อธิบายว่า ในสันดานของตน.

    บทว่า อนวชฺชสุขํ ความว่า ไม่มีโทษ คือไม่มีใครติได้ เป็นกุศล. ภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์ย่อมเสวยสุขทั้งทางกายทางใจ อันธรรมคือความไม่เดือดร้อน ความปราโมทย์ ความอิ่มใจ และความสงบ ซึ่งมีศีลเป็นปทัสถานผสมอยู่.

    ข้อว่า เอวํ โข มหาราช ภิกฺขุ สีลสมฺปนฺโน นาม โหติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงศีลกถาจบลงว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยศีล ๓ อย่าง ที่ทรงแสดงพิสดารติดต่อกันอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์.

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 415

    ในการจําแนกทวารที่คุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    จักขุศัพท์ในบทว่า จกฺขุนา รูปํ นี้ ในที่บางแห่งเป็นไปในพุทธจักษุ. เหมือนอย่างที่กล่าวว่า ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ.

    ในที่บางแห่งเป็นไปในสมันตจักษุ กล่าวคือพระสัพพัญุตญาณ.เหมือนอย่างที่กล่าวว่า ดูก่อนสุเมธะ พระพุทธเจ้าผู้มีสมันตจักษุ เสด็จขึ้นปราสาทที่ล้วนแล้วด้วยพระธรรมมีอุปมาอย่างนั้น.

    ในที่บางแห่งเป็นไปในธรรมจักษุเหมือนอย่างที่กล่าวว่าธรรมจักษุปราศจากธุลีไม่มีมลทินเกิดขึ้นแล้ว ก็ในพระบาลีนี้หมายเอาปัญญา คืออริยมรรค ๓.

    ญาณมีปุพเพนิวาสานุสสติญาณเป็นต้น ในพระบาลีว่า จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ดังนี้ ท่านเรียกว่า ปัญญาจักษุ.

    เป็นไปในทิพยจักษุ ในที่มาทั้งหลายว่า ด้วยทิพยจักษุ ดังนี้.

    เป็นไปในปสาทจักษุ ในพระบาลีนี้ว่า รูปอาศัยจักษุ ดังนี้.

    แต่ในที่นี้ จักขุศัพท์นี้เป็นไปในจักษุวิญญาณโดยโวหารว่า ปสาทจักษุ. เพราะฉะนั้น ในพระบาลีนี้จึงมีเนื้อความว่า เห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณ.

    คําใดที่พึงกล่าวแม้ในบทที่เหลือ คํานั้นทั้งหมด กล่าวแล้วในวิสุทธิมรรค.

    บทว่า อพฺยาเสกสุขํ ความว่า เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลส คือไม่เจือกิเลส เพราะเว้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง เป็นสุขบริสุทธิ์ เป็นอธิจิตสุข แล.

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 416

จบอินทริยสังวรกถา

ก็ในการจําแนกสติสัมปชัญญะ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

จักวินิจฉัยในพระบาลีนี้ว่า อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต ก่อน.

การไป เรียกว่า อภิกกันตะ ก้าวไป.

การกลับ เรียกว่า ปฏิกกันตะ ก้าวกลับ.

แม้ทั้ง ๒ นั้น ย่อมได้ในอิริยาบถ ๔.

ในการไป เมื่อนํากายไปข้างหน้าก่อน ชื่อว่า ก้าวไป เมื่อถอยกลับ ชื่อว่า ก้าวกลับ.

แม้ในการยืน ผู้ที่ยืนนั่นแหละ น้อมกายไปข้างหน้า ชื่อว่า ก้าวไป เอนกายไปข้างหลัง ชื่อว่า ก้าวกลับ.

แม้ในการนั่ง ผู้ที่นั่งนั่นแหละ ชะโงกหน้าไปยังส่วนข้างหน้าของอาสนะ ชื่อว่า ก้าวไป เมื่อถอยไปยังส่วนที่เป็นส่วนข้างหลัง ชื่อว่าก้าวกลับ.

แม้ในการนอนก็นัยนี้แหละ.

บทว่า สมฺปชานการี โหติ ความว่า กระทํากิจทั้งปวงด้วยสัมปชัญญะ หรือกระทําสัมปชัญญะนั่นเอง. ด้วยว่า ภิกษุนั้นย่อมกระทําสัมปชัญญะอยู่เสมอในการก้าวไปเป็นต้น มิได้เว้นสัมปชัญญะในกาลไหนๆ.

สัมปชัญญะ ในพระบาลีนั้น มี ๔ อย่าง คือ

๑. สาตถกสัมปชัญญะ

๒. สัปปายสัมปชัญญะ

๓. โคจรสัมปชัญญะ

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 417

๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ

ใน ๔ อย่างนั้น เมื่อจิตคิดจะไปเกิดขึ้น ยังไม่ทันไปตามที่คิดก่อน ใคร่ครวญถึงประโยชน์มิใช่ประโยชน์ว่า การไปที่นั้นจะมีประโยชน์แก่เราหรือไม่หนอ แล้วใคร่ครวญประโยชน์ ชื่อสาตถกสัมปชัญญะ.

คําว่า ประโยชน์ ในบทว่า สาตถกสัมปชัญญะนั้นคือ ความเจริญฝ่ายธรรมโดยได้เห็นพระเจดีย์ เห็นต้นพระศรีมหาโพธิ เห็นพระสงฆ์ เห็นพระเถระและเห็นอสุภเป็นต้น.ด้วยว่า ภิกษุนั้นยังปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้นแม้เพราะเห็นพระเจดีย์หรือต้นพระศรีมหาโพธิ ยังปีติมีพระสงฆ์เป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้นเพราะเห็นพระสงฆ์ พิจารณาปีตินั้นแหละโดยความเป็นของสิ้นไปเสื่อมไป ย่อมบรรลุพระอรหัต เห็นพระเถระทั้งหลาย ตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระเหล่านั้น เห็นอสุภยังปฐมฌานให้เกิดขึ้นในอสุภนั้น พิจารณาอสุภนั้นแหละโดยความเป็นของสิ้นไปเสื่อมไปย่อมบรรลุพระอรหัต เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกการเห็นสิ่งเหล่านั้นว่า มีประโยชน์.

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ความเจริญแม้ฝ่ายอามิสก็มีประโยชน์เหมือนกัน เพราะอาศัยอามิสนั้นปฏิบัติเพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์.

ส่วนในการไปนั้น ใคร่ครวญถึงสัปปายะและอสัปปายะ แล้วใคร่ครวญสัปปายะ ชื่อสาตถกสัมปชัญญะ ข้อนี้อย่างไร จะกล่าวการเห็นพระเจดีย์มีประโยชน์ก่อน ก็ถ้าบริษัทประชุมกันในที่ ๑๐ โยชน์ ๑๒ โยชน์ เพื่อบูชาใหญ่พระเจดีย์ ทั้งหญิงทั้งชายประดับตกแต่งกายตามสมควรแก่สมบัติของตน ราวกะภาพจิตรกรรม พากันเดินไปมา ก็ในที่นั้น โลภะย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นเพราะอารมณ์ที่น่าปรารถนา ปฏิฆะย่อมเกิดขึ้น

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 418

เพราะอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา โมหะย่อมเกิดขึ้นเพราะไม่พิจารณา ย่อมต้องอาบัติเพราะกายสังสัคคะก็มี ย่อมเป็นอันตรายแก่ชีวิตและพรหมจรรย์ก็มี. ด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้ ที่นั้นจึงเป็นอสัปปายะ. เพราะไม่มีอันตรายอย่างที่กล่าวแล้ว ที่นั้นเป็นสัปปายะ.

    แม้ในการเห็นต้นพระศรีมหาโพธิก็นัยนี้แหละ.

    แม้การเห็นพระสงฆ์ก็มีประโยชน์. ก็ถ้าเมื่อมนุษย์ทั้งหลายสร้างมณฑปใหญ่ภายในหมู่บ้าน ชวนกันฟังธรรมตลอดคืน ย่อมมีทั้งประชุมชนทั้งอันตรายโดยประการที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้ ที่นั้นจึงเป็นอสัปปายะ. เพราะไม่มีอันตราย ที่นั้นเป็นสัปปายะ.

    แม้ในการเห็นพระเถระที่มีบริษัทบริวารมากก็นัยนี้แหละ.

    แม้การเห็นอสุภก็มีประโยชน์.

    ก็เรื่องนี้ เพื่อแสดงประโยชน์นั้น.

    ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งพาสามเณรไปหาไม้สีฟัน. สามเณรหลีกจากทางเดินไปข้างหน้า เห็นอสุภ ยังปฐมฌานให้บังเกิด ทําปฐมฌานนั้นให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลาย ทําให้แจ้งผลทั้ง ๓ แล้วยืนกําหนดกรรมฐานเพื่อต้องการมรรคผลชั้นสูง. ภิกษุหนุ่มเมื่อไม่เห็นสามเณรก็เรียกว่า สามเณร. สามเณรนั้นคิดว่า จําเดิมแต่กาลที่เราบรรพชา ไม่เคยกล่าวคําสองกับภิกษุ เราจักยังคุณวิเศษชั้นสูงให้บังเกิดแม้ในวันอื่น ดังนี้จึงได้ขานรับว่า อะไรขอรับ เมื่อภิกษุหนุ่มเรียกว่า มานี่ ด้วยคําเดียวเท่านั้น สามเณรนั้นก็มา กล่าวว่า ท่านขอรับ ขอท่านจงเดินไปตามทางนี้ก่อน แล้วยืนหันหน้าไปทางทิศทะวันออก แลดูตรงที่ที่กระผมยืนอยู่สักครู่เถิด. ภิกษุนั้นกระทําตามนั้น ได้บรรลุคุณวิเศษที่สามเณรนั้นบรรลุ

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 419

แล้วเหมือนกัน. อสุภเดียวเกิดประโยชน์แก่ชน ๒ คน ด้วยประการฉะนี้.

    อสุภนี้แม้มีประโยชน์อย่างนี้ก็จริง. แต่อสุภหญิงเป็นอสัปปายะแก่ชาย และอสุภชายเป็นอสัปปายะแก่หญิง อสุภที่เป็นสภาคกัน (เพศเดียวกัน) เท่านั้น เป็นสัปปายะ การใคร่ครวญสัปปายะอย่างนี้ ชื่อสัปปายสัมปชัญญะ ด้วยประการฉะนี้.

    ก็การเลือกอารมณ์กล่าวคือกรรมฐานที่ตนชอบใจในบรรดากรรมฐาน ๓๘ อย่าง แล้วยึดอารมณ์นั้นเท่านั้นไปในที่ที่ภิกขาจาร ของภิกษุผู้ใคร่ครวญถึงประโยชน์และสัปปายะอย่างนี้ ชื่อโคจรสัมปชัญญะ.

    เพื่อความแจ่มแจ้งโคจรสัมปชัญญะนั้น บัณฑิตพึงทราบจตุกกะนี้ดังต่อไปนี้

    ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ นําไป ไม่นํากลับ บางรูป นํากลับ ไม่นําไป แต่บางรูป ไม่นําไป ไม่นํากลับ บางรูป นําไปด้วย นํากลับด้วย.

    ในบรรดาภิกษุ ๔ จําพวกนั้น ภิกษุใดชําระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นเครื่องกั้น ด้วยการจงกรมและด้วยการนั่ง ในกลางวัน ตอนปฐมยามในกลางคืนก็ปฏิบัติอย่างนั้น นอนในมัชฌิมยาม ยังกาลให้ล่วงไปด้วยการนั่งและการจงกรมแม้ในปัจฉิมยาม กระทําวัตรที่ลานพระเจดีย์และลานพระศรีมหาโพธิก่อนทีเดียว รดน้ำที่ต้นพระศรีมหาโพธิ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ ประพฤติสมาทานขันธกวัตรทุกอย่างมีอาจริยวัตรและอุปัชฌายวัตรเป็นต้น. ภิกษุนั้นกระทําสรีระบริกรรมแล้วเข้าสู่เสนาสนะ ให้ร่างกายได้รับไออุ่นชั่ว ๒ - ๓ กลับ แล้วประกอบเนืองๆ ซึ่งกรรมฐาน ลุกขึ้นในเวลาภิกขาจาร ถือบาตรและจีวร โดยกําหนดกรรมฐานเป็นหลักนั่นเทียว ออก

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 420

จากเสนาสนะ ใส่ใจถึงกรรมฐานอยู่อย่างนั้น ไปลานพระเจดีย์ หากเจริญพุทธานุสสติกรรมฐานอยู่ ก็เจริญพุทธานุสสติกรรมฐานนั้นเรื่อยไป ไม่ละกรรมฐานนั้น เข้าไปสู่ลานพระเจดีย์ หากเจริญกรรมฐานอื่นอยู่ พักกรรมฐานนั้น เหมือนวางสิ่งของที่ถือมาไว้ ณ เชิงบันได ยึดปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ขึ้นสู่ลานพระเจดีย์ หากเจดีย์ใหญ่ ทําประทักษิณ ๓ ครั้ง แล้วพึงไหว้ในฐานะทั้ง ๔ (๔ ทิศ) หากเจดีย์เล็ก พึงทําประทักษิณอย่างนั้นนั่นแหละแล้วไหว้ในฐานะทั้ง ๘. เมื่อไหว้พระเจดีย์แล้วไปถึงลานต้นพระศรีมหาโพธิ พึงแสดงความเคารพไหว้พระศรีมหาโพธิ ดุจอยู่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มาพระภาคเจ้าฉะนั้น. ภิกษุนั้นไหว้พระเจดีย์และพระศรีมหาโพธิอย่างนี้แล้ว พึงถือเอากรรมฐานที่คนพักไว้ ดุจคนไปยังที่เก็บของไว้ ถือเอาสิ่งของที่เก็บไว้ฉะนั้น เมื่อใกล้หมู่บ้านก็ครองจีวรโดยกําหนดกรรมฐาน เป็นหลักนั่นเทียว เข้าไปยังหมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต.

    ครั้งนั้น มนุษย์ทั้งหลายเห็นภิกษุนั้นก็ออกมาต้อนรับด้วยความยินดีว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรามาแล้ว รับบาตรนิมนต์ให้นั่งบนโรงฉันหรือบนเรือน ถวายข้าวยาคูชั่วระยะเวลาที่ภัตตาหารยังไม่เสร็จ ก็ล้างเท้าทาน้ำมัน นั่งข้างหน้าถามปัญหาบ้าง ขอฟังธรรมบ้าง.

    พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า ถ้าแม้เขาไม่ขอให้แสดงธรรม ก็พึงแสดงธรรมกถาทีเดียวเพื่อสงเคราะห์ประชาชน.

    จริงอยู่ ธรรมกถาที่นอกเหนือไปจากธรรมฐาน ย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเมื่อกล่าวธรรมกถาโดยกําหนดกรรมฐานเป็นหลักนั่นเทียว

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 421

ฉันอาหารโดยกําหนดกรรมฐานเป็นหลักนั้นเทียว แม้เมื่อกระทําอนุโมทนาลากลับ พวกมนุษย์ตามไปส่ง ออกจากหมู่บ้านแล้ว ให้พวกมนุษย์เหล่านั้นกลับตรงที่นั้น เดินไปตามทาง.

    ครั้งนั้น สามเณรและภิกษุหนุ่มที่ออกมาก่อน ได้ฉันภัตตาหารที่นอกบ้านเสร็จแล้ว เห็นภิกษุรูปนั้นไปต้อนรับ รับบาตรและจีวรของท่าน.

    ได้ยินว่า ภิกษุครั้งโบราณ ใช่ว่าจะแลดูหน้าเสียก่อนว่า นี่อุปัชฌาย์ของเรา นี่อาจารย์ของเรา แล้วจึงปรนนิบัติก็หาไม่ ย่อมทําตามกําหนดที่ถึงเข้าเท่านั้น. สามเณรและภิกษุหนุ่มเหล่านั้นถามท่านว่า ท่านผู้เจริญ มนุษย์เหล่านั้นเป็นอะไรกับท่าน เป็นญาติข้างมารดาหรือเป็นญาติข้างบิดา. ภิกษุนั้นกล่าวว่า พวกท่านเห็นอะไรจึงถาม. สามเณรและภิกษุหนุ่มตอบว่า เห็นพวกเขาเหล่านั้นรักนับถือท่านมาก. ภิกษุนั้นกล่าวสรรเสริญชาวบ้านเหล่านั้นว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กิจใดแม้มารดาบิดาก็ยากที่จะทําได้ กิจนั้นพวกเขาเหล่านั้นกระทําแก่พวกเรา แม้จีวรของพวกเราก็เป็นของพวกเขาเหล่านั้นทั้งนั้น เมื่อมีภัยก็ปลอดภัย เมื่อหิวก็ไม่หิว ผู้ที่มีอุปการะแก่พวกเราเช่นนี้ไม่มีอีกแล้ว ดังนี้ไป. นี้เรียกว่า นําไป ไม่นํากลับ.

    ส่วนภิกษุใดกระทําวัตรปฏิบัติมีประการดังกล่าวแล้วก่อนทีเดียว ไฟธาตุย่อยอาหารเผาอาหารใหม่หมดแล้วก็เผากระเพาะอาหาร. เหงื่อไหลท่วมตัว. กรรมฐานไม่ขึ้นสู่วิถีได้. ภิกษุนั้นถือบาตรจีวรก่อนแล้วไหว้พระเจดีย์โดยเร็วทีเดียว แล้วเข้าไปยังหมู่บ้านเพื่อขอยาคู ในเวลาฝูงโคออกจากคอกนั่นเทียว (เช้ามืด) ได้ยาคูแล้วไปฉันยังโรงฉัน. ตอนนั้นพอภิกษุนั้นกลืนยาคูลงไปได้ ๒ - ๓ คํา เตโชธาตุที่เกิดแต่กรรม ไม่เผา

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 422

กระเพาะอาหาร หันมาเผาอาหารใหม่. ภิกษุนั้นถึงความดับความเร่าร้อนแห่งเตโชธาตุ ดุจได้อาบน้ำตั้งร้อยหม้อ ฉันยาคูโดยกําหนดกรรมฐานเป็นหลัก ล้างบาตรและบ้วนปากแล้ว เจริญกรรมฐานเรื่อยไปในระหว่างที่ยังมิได้ฉันภัตตาหาร เที่ยวบิณฑบาตในที่ที่ยังมิได้ไป ฉันอาหารโดยกําหนดกรรมฐานเป็นหลัก ต่อแต่นั้นก็ถือเอากรรมฐานที่คนบํารุงตรงเป้าหมายทีเดียวมา. นี้เรียกว่า นํากลับ ไม่นําไป.

    ภิกษุทั้งหลายที่ฉันยาคูแล้วเริ่มเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัตในพระพุทธศาสนาเช่นนี้ มีมากจนนับไม่ถ้วน ในเกาะสีหลนั้น ในโรงฉันตามหมู่บ้านนั้นๆ ไม่มีอาสนะที่ไม่มีภิกษุฉันยาคูแล้วบรรลุพระอรหัตนั่ง.

    ก็ภิกษุที่อยู่ด้วยความประมาท ทอดทิ้งธุระ ทําลายวัตรที่จะพึงกระทํา มีจิตตรึงแน่นด้วยเจโตขีลธรรม ๕ อย่าง ไม่กระทําความสําคัญแม้ว่ากรรมฐานมีอยู่ เข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน เดินคลุกคลีไปกับคฤหัสถ์บ้าง กินอยู่ปะปนกับคฤหัสถ์บ้าง ซึ่งไม่สมควร เป็นผู้เปล่าออกไป. นี้เรียกว่าไม่นําไป ไม่นํากลับ.

    ก็ภิกษุนี้ใด ที่กล่าวแล้วว่า นําไปด้วย นํากลับด้วย ภิกษุนั้น พึงทราบด้วยอํานาจภิกษุผู้ประพฤติคตปัจจาคติกวัตร (ขาไปก็เจริญกรรมฐาน ขากลับก็เจริญกรรมฐาน) .

    จริงอยู่ กุลบุตรทั้งหลายผู้ใคร่ประโยชน์ บวชในพระศาสนาแล้วอยู่รวมกัน ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๓๐ รูปบ้าง ๔๐ รูปบ้าง ๕๐ รูปบ้าง ๑๐๐ รูปบ้าง ทําข้อตกลงกันว่า แน่ะอาวุโสทั้งหลาย ท่านทั้งหลายมิใช่บวชหลบเจ้าหนี้ มิใช่บวชลี้ภัย มิใช่บวชเพื่ออาชีพ แต่มุ่งพ้นทุกข์จึงบวช

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 423

ในพระศาสนานี้. เพราะฉะนั้น กิเลสเกิดขึ้นในขณะเดิน จงข่มในขณะเดินนั่นเทียว กิเลสเกิดขึ้นในขณะยืน จงข่มในขณะยืนนั่นเทียว กิเลสเกิดขึ้นในขณะนั่ง จงข่มในขณะนั่งนั่นเทียว กิเลสเกิดขึ้นในขณะนอน จงข่มในขณะนอนนั่นเทียว ดังนี้. ภิกษุเหล่านั้นทําข้อตกลงกันอย่างนี้แล้ว ไปภิกขาจาร มีแผ่นหินในระหว่างทาง ครึ่งอุสภ ๑ อุสภ ครึ่งคาวุต และ ๑ คาวุต เดินมนสิการกรรมฐานด้วยสัญญานั้นเทียว. ถ้ากิเลสเกิดขึ้นแก่ใครๆ ในขณะเดิน เธอย่อมข่มกิเลสนั้น ตรงนั้นแหละ เมื่อไม่อาจจะข่มได้อย่างนั้น ต้องยืนอยู่. ครั้งนั้นภิกษุแม้ที่ตามมาข้างหลังภิกษุนั้น ก็ต้องยืนอยู่. ภิกษุนั้นเตือนตนเองว่า ภิกษุนี้รู้ว่าวิตกเกิดขึ้นแก่ท่าน ท่านทํากรรมไม่สมควรแล้ว ดังนี้ เจริญวิปัสสนาแล้วก้าวลงสู่อริยภูมิได้ในที่นั้นเอง. เมื่อไม่อาจจะข่มได้อย่างนั้น ก็นั่ง. ต่อมาภิกษุแม้ที่ตามมาข้างหลังภิกษุนั้น ก็ต้องนั่ง มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. แม้เมื่อไม่อาจจะก้าวลงสู่อริยภูมิ ก็ข่มกิเลสนั้นไว้ เดินมนสิการกรรมฐานเรื่อยไป. ภิกษุนั้นจะไม่ย่างเท้าด้วยจิตที่ปราศจากกรรมฐาน. หากย่างเท้าไป ต้องถอยกลับมายังที่เดิมอีก ดุจพระมหาปุสสเทวเถระผู้อยู่อาลินทกวิหาร.

    ได้ยินว่า พระเถระนั้นบําเพ็ญคตปัจจาคตวัตรอยู่ ๑๙ ปี. แม้มนุษย์ทั้งหลายได้เห็นท่านแล้ว คือ ผู้ที่กําลังไถนาบ้าง หว่านข้าวบ้าง นวดข้าวบ้าง ทําการงานอยู่บ้างในระหว่างทาง เห็นพระเถระเดินอยู่อย่างนั้น จึงสนทนากันว่า พระเถระรูปนี้เดินกลับไปกลับมาอยู่บ่อยๆ ถ้าจะหลงทางหรือลืมของอะไรๆ . พระเถระนั้นหาได้สนใจคําของคนเหล่านั้นไม่ กระทําสมณธรรมด้วยจิตที่ประกอบด้วยกรรมฐานเท่านั้น ได้บรรลุพระอรหัตในพรรษา ๒๐.

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 424

    ในวันที่บรรลุพระอรหัตนั่นเอง เทวดาผู้อยู่ท้ายที่จงกรมของพระเถระ ได้ยืนเอานิ้วมือทําเป็นประทีปสว่างโชติช่วง. แม้ท้าวมหาราชทั้ง ๔ และท้าวสักกเทวราช ตลอดถึงท้าวสหัมบดีพรหม ก็ได้มาบํารุงพระเถระ.

    ก็พระมหาติสสเถระผู้อยู่ป่าเห็นแสงสว่าง ดังนั้นจึงถามท่านในวันรุ่งขึ้นว่า เมื่อตอนกลางคืนได้มีแสงสว่างในสํานักของท่าน แสงสว่างนั้นเป็นอะไร. พระเถระพูดกลบเกลื่อนมีอาทิอย่างนี้ว่า ธรรมดาแสงสว่างย่อมเป็นแสงสว่างของประทีปบ้าง เป็นแสงสว่างของแก้วมณีบ้าง ดังนี้.ต่อแต่นั้นได้บังคับให้พระเถระผู้ถามปกปิดเรื่องไว้ เมื่อท่านรับคําแล้วจึงเล่าให้ฟัง. และดุจพระมหานาคเถระผู้อยู่กาลวัลลิมณฑป

    ได้ยินว่า พระเถระแม้นั้นก็บําเพ็ญคตปัจจาคตวัตร ทีแรกได้อธิษฐานเดินจงกรมอยู่ถึง ๗ ปี ด้วยตั้งใจว่า จักบูชามหาปธานของพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน บําเพ็ญคตปัจจาคตวัตรอีก ๑๖ ปี จึงได้บรรลุพระอรหัต.พระเถระนั้นย่างเท้าด้วยจิตที่ประกอบด้วยกรรมฐานเท่านั้น เมื่อย่างเท้าด้วยจิตที่ปราศจากกรรมฐานแล้ว ก็ถอยกลับใหม่ ครั้นไปใกล้หมู่บ้านยืนในประเทศที่น่าสงสัยว่า แม่โคหรือพระหนอ ห่มจีวรแล้ว ล้างบาตรด้วยน้ำจากแอ่งที่สะอาดแล้วอมน้ำไว้. เพื่ออะไร? เพื่อต้องการว่า เมื่อคนมาถวายภิกษาแก่เราหรือมาไหว้ กรรมฐานอย่าได้เคลื่อน แม้เพียงกล่าวว่า ขอท่านทั้งหลายจงมีอายุยืน. แต่เมื่อถูกถามถึงวันว่า ท่านขอรับวันนี้กี่ค่ํา หรือถามจํานวนภิกษุ หรือถามปัญหา ก็กลืนน้ำแล้วบอก. หากไม่มีผู้ถามถึงวันเป็นต้น ก็จะบ้วนน้ำไว้ที่ประตูบ้านไปในเวลาโคออกจากคอก. และดุจภิกษุ ๕๐ รูปผู้จําพรรษาในกลัมพติตถวิหาร.

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 425

    ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นได้กระทําข้อตกลงกันในวันเพ็ญเดือน ๘ ว่า เราทั้งหลายยังไม่บรรลุพระอรหัต จักไม่พูดคุยกัน เมื่อภิกษุเหล่านั้นเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ก็อมน้ำเข้าไป เมื่อถูกถามถึงวันเป็นต้น ก็ปฏิบัติตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. มนุษย์ทั้งหลายในที่นั้นเห็นรอยบ้วนน้ำก็รู้ว่า วันนี้มารูปเดียว วันนี้ ๒ รูป.

    ก็มนุษย์เหล่านั้นคิดกันอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ไม่พูดกับพวกเราเท่านั้น หรือว่าพวกท่านเองก็ไม่พูดกัน หากพวกท่านเองก็ไม่พูดกันแล้ว คงจักวิวาทกันเป็นแน่ มาเถิดพวกเราจักให้ภิกษุเหล่านั้นขมาโทษกันและกัน. เขาทั้งหมดไปวิหาร ไม่ได้เห็นภิกษุ ๕๐ รูป อยู่ในที่เดียวกันแม้ ๒ รูป. ในลําดับนั้น บรรดาคนเหล่านั้นมีคนตาแหลมคนหนึ่งกล่าวว่าท่านผู้เจริญทั้งหลาย โอกาสเช่นนี้มิใช่ที่อยู่ของผู้ที่ทะเลาะกัน ลานพระเจดีย์ ลานพระศรีมหาโพธิ ก็กวาดสะอาดดี ไม้กวาดก็วางไว้เรียบร้อย น้ำฉันน้ำใช้ก็จัดตั้งไว้ดี. พวกเขาพากันกลับจากที่นั้น. แม้ภิกษุเหล่านั้นก็บรรลุพระอรหัตภายในไตรมาสนั่นเอง ในวันมหาปวารณาได้ปวารณาวิสุทธิปวารณา.

    ภิกษุผู้ประพฤติดุจพระมหานาคเถระผู้อยู่กาลวัลลิมณฑป และดุจภิกษุทั้งหลายที่จําพรรษาในกลัมพติตถวิหาร ดังกล่าวมานั้น ย่างเท้าด้วยจิตที่ประกอบด้วยกรรมฐานเสมอทีเดียว ไปใกล้หมู่บ้านแล้ว อมน้ำกําหนดทางเดิน ทางใดไม่มีพวกทะเลาะกันมีนักเลงสุราเป็นต้น หรือไม่มีช้างดุม้าดุเป็นต้น ก็ไปทางนั้น. และเมื่อเดินบิณฑบาตในหมู่บ้านนั้นก็ไม่เดินเร็วอย่างคนมีธุระร้อน. ด้วยว่า ธุดงค์ที่ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่มีอะไรที่ต้องเร็ว. แต่ต้องค่อยๆ ไป เหมือนเกวียนบรรทุกน้ำไปถึง

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 426

ที่ลุ่มๆ ดอนๆ ต้องค่อยๆ ไป ฉะนั้น. และเข้าไปตามลําดับเรือนแล้วสังเกตดูว่าเขาจะให้หรือไม่ให้ คอยอยู่ชั่วเวลาพอสมควร ได้ภิกษาแล้วถือมาวิหาร ในหมู่บ้านหรือนอกหมู่บ้าน นั่งในที่อันสมควรตามสะดวก มนสิการกรรมฐาน เริ่มปฏิกูลสัญญาในอาหาร พิจารณาด้วยอํานาจอุปมาว่าน้ำมันหยอดเพลา ยาพอกแผล และเนื้อของบุตร ฉันอาหารประกอบด้วยองค์ ๘ มิใช่ฉันเพื่อจะเล่น มิใช่ฉันเพื่อจะมัวเมา มิใช่ฉันเพื่อประดับ มิใช่ฉันเพื่อตกแต่ง...ครันฉันเสร็จแล้ว ดื่มน้ำและบ้วนปาก พักพอให้หายอึดอัดด้วยอาหารครู่หนึ่ง แล้วมนสิการกรรมฐานทีเดียว ก่อนอาหารอย่างไร หลังอาหารก็อย่างนั้น ทั้งยามต้นและยามหลัง. นี้เรียกว่า ทั้งนําไปและนํากลับ.

    ก็ภิกษุบําเพ็ญคตปัจจาคตวัตร กล่าวคือนํากรรมฐานไปและนํากลับมานี้ หากเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแล้ว จะบรรลุพระอรหัตได้ในปฐมวัยทีเดียว. ถ้าไม่ได้บรรลุในปฐมวัย ก็จะได้บรรลุในมัชฌิมวัย. ถ้าไม่ได้บรรลุในมัชฌิมวัย ก็จะได้บรรลุในเวลาตาย. ถ้าไม่ได้บรรลุในเวลาตาย ก็จะไปเป็นเทพบุตรแล้วบรรลุ. ถ้าไม่ไปเป็นเทพบุตรแล้วบรรลุ ไปเกิดเมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ ก็จะบรรลุปัจเจกโพธิญาณ. ถ้าไม่บรรลุปัจเจกโพธิญาณ เมื่อไปเกิดพบพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็จะได้เป็นพระอรหันต์ประเภทขิปปาภิญญา ดังเช่นพระพาหิยทารุจิริยเถระก็มี. ประเภทผู้มีปัญญามาก เช่นพระสารีบุตรเถระก็มี. ประเภทผู้มีฤทธิ์มาก เช่นพระมหาโมคคัลลานเถระก็มี. ประเภทถือธุดงค์ เช่นพระมหากัสสปเถระก็มี. ประเภทได้ทิพยจักษุ เช่นพระอนุรุทธเถระก็มี. ประเภททรงพระวินัย เช่นพระอุบาลีเถระก็มี. ประเภทเชี่ยวชาญแสดงธรรม เช่นพระ

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 427

ปุณณมันตานีบุตรเถระก็มี. ประเภทอยู่ป่าเป็นวัตร เช่นพระเรวตเถระก็มี. ประเภทพหูสูต เช่นพระอานนทเถระก็มี. ประเภทใคร่การศึกษาเช่นพระราหุลเถระผู้พุทธบุตรก็มี.

    ในข้อปฏิบัติ ๔ ข้อนี้ ภิกษุใด ทั้งนําไปและนํากลับ โคจรสัมปชัญญะของภิกษุนั้น ย่อมเป็นอันถึงที่สุดแห่งการปฏิบัติ ด้วยประการฉะนี้.

    ก็ความไม่หลงในการก้าวไปเป็นต้น ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ.อสัมโมหสัมปชัญญะนั้นพึงทราบอย่างนี้ ปุถุชนผู้อันธพาล เมื่อก้าวไปเป็นต้น ย่อมหลงผิดว่า ตนก้าวไป การก้าวไปตนทําให้เกิดขึ้น ดังนี้บ้างว่าเราก้าวไป การก้าวไป เราทําให้เกิดขึ้น ดังนี้บ้าง ฉันใด ภิกษุในพระศาสนานี้ไม่หลงผิดฉันนั้น เมื่อจิตคิดว่าเราจะก้าวไปเกิดขึ้น วาโยธาตุซึ่งเกิดแต่จิต ยังวิญญัติให้เกิด ย่อมเกิดขึ้นด้วยจิตนั้นเอง ดังนั้นร่างกระดูกที่สมมติว่ากายนี้ ย่อมก้าวไปด้วยอํานาจความแผ่ไปของวาโยธาตุอันเกิดแต่พลังงานของจิต ด้วยประการฉะนี้. เมื่อร่างกระดูกนั้นก้าวไปอย่างนี้ ในขณะที่ยกเท้าขึ้นแต่ละข้าง ธาตุทั้ง ๒ คือปฐวีธาตุ อาโปธาตุย่อมอ่อนกําลังลง. อีก ๒ ธาตุนอกนี้ย่อมมีกําลังขึ้น. ในขณะที่หย่อนเท้าลงธาตุทั้ง ๒ คือเตโชธาตุ วาโยธาตุ ย่อมอ่อนกําลังลงอีก ๒ ธาตุนอกนี้ย่อมมีกําลังยิ่งขึ้น. ในขณะที่ปลายเท้าจดพื้นและเหยียบเต็มฝ่าเท้า ก็เช่นเดียวกัน.

    รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปในขณะที่ยกเท้าขึ้น ย่อมไม่ถึงขณะที่เคลื่อนเท้า. รูปธรรมและนามธรรมที่เป็นไปในขณะที่เคลื่อนเท้า ย่อมไม่ถึงขณะที่ก้าวไปข้างหน้าเหมือนกัน. ที่เป็นไปในขณะที่ก้าวไปข้างหน้าย่อมไม่ถึงขณะที่หย่อนเท้าลง. ที่เป็นไปในขณะที่หย่อนเท้าลง ย่อมไม่ถึงขณะที่ปลายเท้าจดพื้น. ที่เป็นไปในขณะที่ปลายเท้าจดพื้น ย่อมไม่ถึงขณะ

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 428

ที่เหยียบเต็มฝ่าเท้า. รูปธรรมและอรูปธรรมย่อมเป็นตอนๆ เป็นท่อนๆ เป็นเขตๆ ดับไปในอิริยาบถนั้นๆ นั่นเอง เหมือนเมล็ดงาที่ใส่ลงในกระเบื้องร้อนย่อมแตกเปาะแปะๆ.

ในการก้าวไปเป็นต้น ใครคนหนึ่งก้าวไป หรือการก้าวไปของใครคนหนึ่ง. แต่โดยปรมัตถ์ ธาตุทั้งหลายเท่านั้นเดิน ธาตุทั้งหลายเท่านั้นยืน ธาตุทั้งหลายเท่านั้นนั่ง ธาตุทั้งหลายเท่านั้นนอน. ก็ในส่วน (แห่งอิริยาบถ) นั้นๆ จิตดวงอื่นเกิดขึ้น จิตดวงอื่นดับไป พร้อมกับรูปเป็นไปอยู่เหมือนกระแสน้ำไหลติดต่อกันไปไม่ขาดสายฉะนั้น ดังนี้. ความไม่หลงในการก้าวไปเป็นต้นอย่างนี้ ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ ดังนี้แล.

จบอธิบายบทว่า อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต สมฺปชานการี โหติ เท่านี้.

ก็ในบทว่า อาโลกิเต วิโลกิเต นี้ มีวินิจฉัย ดังต่อไปนี้

การเพ่งดูไปข้างหน้า ชื่ออาโลกิตะ.

การเพ่งดูไปทิศเฉียง ชื่อวิโลกิตะ.

อิริยาบถอื่นๆ ที่ชื่อว่าโอโลกิตะ อุลโลกิตะและอวโลกิตะ ก็คือการดูข้างล่าง ข้างบน ข้างหลัง การดูเหล่านั้น ท่านมิได้ถือเอาในที่นี้. แต่โดยการถือเอาตามความเหมาะสม ท่านถือเอาการแลดูสองอย่างนี้เท่านั้น.

อีกนัยหนึ่ง การแลดูเหล่านั้นทั้งหมด ท่านถือเอาด้วยมุขนี้ ด้วยประการฉะนี้ทีเดียวแล.

ในการแลดูสองอย่างนั้น เมื่อจิตคิดว่า เราจักแลดูไปข้างหน้า ดังนี้เกิดขึ้น ยังมิทันแลไปด้วยอํานาจจิตนั่นแล ใคร่ครวญถือเอาประโยชน์ชื่อสาตถกสัมปชัญญะ. สาตถกสัมปชัญญะนั้น พึงดูท่านพระนันทะเป็นตัวอย่าง.

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 429

    สมจริงดังคําที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่านันทะจะพึงแลดูทิศตะวันออก เธอย่อมรวบรวมใจทั้งหมดแลดูทิศตะวันออกว่า เมื่อเราแลดูทิศตะวันออกอย่างนี้ อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส ไม่พึงไหลไปตาม ดังนี้ ย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีสาตถกสัมปชัญญะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่านันทะจะพึงแลดูทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง เธอย่อมรวบรวมใจทั้งหมดพิจารณาดูทิศเฉียงว่า เมื่อเราแลดูทิศเฉียงอย่างนี้...ดังนี้ ย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีสาตถกสัมปชัญญะ ดังนี้.

    อีกอย่างหนึ่ง แม้ในที่นี้ก็พึงทราบว่าการเพ่งดูไปข้างหน้าและการเพ่งดูไปตามทิศเป็นสาตถกสัมปชัญญะ และเป็นสัปปายสัมปชัญญะ โดยการเห็นพระเจดีย์เป็นต้นที่กล่าวแล้วในก่อนนั้นแล.

    ส่วนโคจรสัมปชัญญะ คือการไม่ละทิ้งกรรมฐานนั่นเอง เพราะฉะนั้น การเพ่งดูไปข้างหน้าและการเพ่งดูไปตามทิศ ในพระบาลีนี้ ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ยึดขันธ์ ธาตุ อายตนะเป็นอารมณ์ พึงกระทําด้วยอํานาจกรรมฐานของตนนั่นเทียว หรือฝ่ายภิกษุผู้เจริญสมถกรรมฐานยึดกสิณเป็นต้นเป็นอารมณ์ พึงกระทําโดยกําหนดกรรมฐานเป็นหลักทีเดียว. ชื่อว่าตนภายในร่างกาย ที่เพ่งดูไปข้างหน้าหรือที่เพ่งดูไปตามทิศย่อมไม่มี. พอเกิดความคิดว่าเราจักแลดูไปข้างหน้า ดังนี้ วาโยธาตุซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐานพร้อมด้วยจิตดวงนั้นนั่นแล ยังวิญญัติให้เกิด ย่อมเกิดขึ้น หนังตาล่างหดลง หนังตาบนเลิกขึ้น ด้วยอํานาจความแผ่ไปของวาโยธาตุอันเกิดแต่พลังงานของจิต ด้วยประการฉะนี้. จะมีใครๆ ชื่อว่าเที่ยวไปด้วยยนต์ก็หาไม่. ต่อจากนั้น จักขุวิญาณยังทัสสนกิจให้สําเร็จ ก็เกิด

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 430

ขึ้น ดังนี้แล. ก็การรู้ชัดอย่างนี้ ชื่อว่าอสัมโมหสัมปชัญญะในพระบาลีนี้.อีกอย่างหนึ่ง ก็อสัมโมหสัมปชัญญะในพระบาลีนี้ พึงทราบด้วยการกําหนดรู้เหตุตัวเดิมและเหตุจรมา และเหตุเกิดชั่วขณะ. พึงทราบโดยกําหนดรู้เหตุตัวเดิมก่อน.

    ภวังคกิจ อาวัชชนกิจ ทัสสนกิจ สัมปฏิจฉันนกิจ สันตีรณกิจ โวฏฐัพพนกิจ และชวนกิจ เป็นที่ ๗ ย่อมเกิด.

    ในวิถีจิตเหล่านั้น ภวังคจิตยังกิจอันเป็นองค์แห่งอุปปัตติกภพให้สําเร็จเกิดขึ้น. กิริยามโนธาตุรําพึงถึงภวังคจิตนั้นยังอาวัชชนกิจให้สําเร็จเกิดขึ้น. ถัดจากกิริยามโนธาตุดับ จักขุวิญญาณยังทัสสนกิจให้สําเร็จเกิดขึ้น. ถัดจากจักขุวิญญาณดับ วิบากมโนธาตุยังสัมปฏิจฉันนกิจให้สําเร็จเกิดขึ้น. ถัดจากวิบากมโนธาตุดับ วิบากมโนวิญญาณธาตุยังสันตีรณกิจให้สําเร็จเกิดขึ้น. ถัดจากวิบากมโนวิญญาณธาตุดับ กิริยามโนวิญญาณธาตุยังโวฏฐัพพนกิจให้สําเร็จเกิดขึ้น. ถัดจากกิริยามโนวิญญาณธาตุดับ ชวนจิตย่อมแล่นไป ๗ ครั้ง. ในวิถีจิตเหล่านั้นแม้ในชวนจิตที่ ๑ ย่อมไม่มี. การแลไปข้างหน้าและการแลไปตามทิศด้วยอํานาจความกําหนัดขัดเคืองและความหลงว่า นี้เป็นหญิง นี้เป็นชาย...แม้ในทุติยชวนะ...แม้ในสัตตมชวนะก็อย่างนั้น ก็เมื่อวิถีจิตเหล่านั้นแตกดับตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด เหมือนเหล่าทหารในสนามรบ ชื่อว่าการแลและการเหลียว ด้วยอํานาจความกําหนัดเป็นต้นว่า นี้เป็นหญิง นี้เป็นชาย จึงมีขึ้น.

    อสัมโมหสัมปชัญญะ ในการแลและการเหลียวนี้ด้วยอํานาจการกําหนดรู้เหตุตัวเดิม พึงทราบเพียงเท่านี้ก่อน.

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 431

    พึงทราบวินิจฉัยในจักษุทวาร ก็เมื่อรูปารมณ์มาปรากฏ ถัดจากภวังคจิตไหว เมื่อวิถีจิตมีอาวัชชนจิตเป็นต้นเกิดขึ้นดับไป ด้วยอํานาจทํากิจของตนให้สําเร็จ ในที่สุดชวนจิตย่อมเกิด. ชวนจิตนั้นเป็นดุจบุรุษผู้จรมาในจักษุทวาร อันเป็นเพียงดังเรือนของอาวัชชนจิตเป็นต้นที่เกิดขึ้นก่อน. เมื่อบุรุษผู้จรมานั้นเข้าไปในเรือนของผู้อื่นเพื่อจะขอสิ่งของอะไรๆ แม้เมื่อพวกเจ้าของเรือนนิ่งอยู่ ก็ไม่ควรใช้อํานาจ ฉันใด แม้เมื่ออาวัชชนจิตเป็นต้น ไม่กําหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่หลงในจักษุทวารอันเป็นเพียงดังเรือนของอาวัชชนจิตเป็นต้น ก็ไม่ควรกําหนัดขัดเคืองและหลง ฉันนั้น.พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะด้วยอํานาจความเป็นเสมือนผู้จรมาอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

    ก็จิตทั้งหลายมีโวฏฐัพพนจิตเป็นที่สุดเหล่านี้ใด ย่อมเกิดขึ้นในจักษุทวาร จิตเหล่านั้น ย่อมดับไปในที่นั้นๆ นั่งเอง พร้อมกับสัมปยุตตธรรม ย่อมไม่เห็นซึ่งกันและกัน ฉะนั้น จิตนอกนี้จึงเป็นจิตที่มีอยู่ชั่วขณะ.

    ในข้อนั้นมีอธิบายดังนี้ ในเรือนหลังหนึ่งเมื่อคนทั้งหลายตายกันหมดแล้ว เหลืออยู่คนเดียวซึ่งจะต้องตายในขณะนั้นเอง ย่อมไม่อภิรมย์ในการฟ้อนรําขับร้องเป็นต้น ฉันใด เมื่ออาวัชชนจิตเป็นต้นอันเป็นตัวสัมปยุตในทวารหนึ่งดับไปในที่นั้นๆ นั่นเอง ชื่อว่าการอภิรมย์ด้วยอํานาจกําหนัดขัดเคืองและหลงนั่นแล ก็ไม่ควรแม้แก่ชวนจิตที่ยังเหลือ ซึ่งจะต้องดับในขณะนั้นเอง ฉันนั้น พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะด้วยอํานาจความเป็นไปชั่วขณะอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

    อีกอย่างหนึ่ง อสัมโมหสัมปชัญญะนี้ พึงทราบด้วยอํานาจพิจารณา

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 432

เป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุ และปัจจัย.

    ก็ในอธิการนี้จักษุและรูปจัดเป็นรูปขันธ์ ทัสสนะเป็นวิญญาณขันธ์ เวทนาที่สัมปยุตด้วยวิญาณขันธ์นั้นเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาจัดเป็นสัญญาขันธ์ สัมปยุตตธรรมมีผัสสะเป็นต้น เป็นสังขารขันธ์. การแลและการเหลียว ย่อมปรากฏในเพราะขันธ์ ๕ เหล่านี้ประชุมกัน ด้วยประการฉะนี้.ในการแลและการเหลียวนั้น ใครคนหนึ่งแลไปข้างหน้า ใครคนหนึ่งเหลียวไปข้างหลัง. จักษุก็เหมือนกัน จัดเป็นจักขวายตนะ รูปเป็นรูปายตนะ ทัสสนะเป็นมนายตนะ สัมปยุตตธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นเป็นธรรมายตนะ. การแลไปข้างหน้าและการแลไปตามทิศ ย่อมปรากฏเพราะอายตนะ ๔ เหล่านี้ประชุมกัน ด้วยประการฉะนี้. ในการแลไปข้างหน้าและการแลไปตามทิศนั้น ใครคนหนึ่งแลไปข้างหน้า ใครคนหนึ่งเหลียวไปข้างหลัง จักษุก็เหมือนกัน จัดเป็นจักษุธาตุ รูปเป็นรูปธาตุ ทัสสนะเป็นจักขุวิญญาณธาตุ. ธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้นเป็นธรรมธาตุ. การแลไปข้างหน้า และการแลไปตามทิศย่อมปรากฏเพราะธาตุ ๔ เหล่านี้ประชุมกัน ด้วยประการฉะนี้. ในการแลไปข้างหน้าและการแลไปตามทิศนั้น ใครคนหนึ่งแลไปข้างหน้า ใครคนหนึ่งเหลียวไปข้างหลัง. จักษุก็เหมือนกัน เป็นนิสสยปัจจัย รูปเป็นอารัมมณปัจจัย อาวัชชนจิตเป็นอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย นัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัย อาโลกะเป็นอุปนิสสยปัจจัย เวทนาเป็นต้นเป็นสหชาตปัจจัยเป็นต้น. การแลไปข้างหน้าและการแลไปตามทิศย่อมปรากฏเพราะปัจจัยเหล่านี้ประชุมกัน ด้วยประการฉะนี้. ในการแลไป

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 433

ข้างหน้าและการแลไปตามทิศนั้น ใครคนหนึ่งแลไปข้างหน้า ใครคนหนึ่งเหลียวไปข้างหลัง อสัมโมหสัมปชัญญะในการแลไปข้างหน้าและการแลไปตามทิศนี้ พึงทราบด้วยอํานาจพิจารณาเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุ และปัจจัย อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

    บทว่า สมฺมิฺชิเต ปสาริเต ความว่า คู้เข้าหรือเหยียดออกแห่งอิริยาปถปัพพะทั้งหลาย.

    การใคร่ครวญประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ เพราะการคู้เข้าหรือเหยียดออกของมือเท้าเป็นปัจจัย แล้วใคร่ครวญแต่ประโยชน์ โดยมิได้คู้เข้าหรือเหยียดออกด้วยอํานาจจิตเลย ชื่อว่า สาตถกสัมปชัญญะในการคู้เข้าหรือเหยียดออกนั้น. ทุกๆ ขณะที่ภิกษุยืนคู้หรือเหยียดมือและเท้านานเกินไป เวทนาย่อมเกิดขึ้นในการคู้หรือเหยียดนั้น จิตย่อมไม่ได้อารมณ์เป็นหนึ่ง. กรรมฐานย่อมจะเลียไป. ภิกษุนั้นย่อมจะไม่บรรลุคุณวิเศษ. แต่เมื่อเวลาภิกษุคู้เข้าพอดี เหยียดออกพอดี เวทนานั้นๆ ย่อมไม่เกิดขึ้น. จิตย่อมมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. กรรมฐานย่อมถึงความสําเร็จ.เธอย่อมบรรลุคุณวิเศษได้. การใคร่ครวญประโยชน์และมิใช่ประโยชน์พึงทราบอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

    อนึ่ง แม้เมื่อมีประโยชน์ การใคร่ครวญถึงอารมณ์สัปปายะและอสัปปายะแล้วใคร่ครวญแต่อารมณ์ที่เป็นสัปปายะ ชื่อว่า สัปปายสัมปชัญญะ. ในสัปปายสัมปชัญญะในการคู้เข้าหรือเหยียดออกนั้น มีนัยดังนี้.

    ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มหลายรูปสวดมนต์อยู่ที่ลานพระมหาเจดีย์. ภิกษุณีสาวหลายรูปฟังธรรมอยู่ข้างหลังภิกษุเหล่านั้น. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เหยียดมือออกไปถูกกายภิกษุณีเข้า จึงต้องเป็นคฤหัสถ์เพราะ

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 434

เหตุนั้นเอง.

    ภิกษุอีกรูปหนึ่ง เมื่อเหยียดเท้า ได้เหยียดเท้าไปในกองไฟ. ถูกไฟไหม้เท้าจดกระดูก.

    ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ได้เหยียดเท้าไปที่จอมปลวก ถูกอสรพิษกัด. อีกรูปหนึ่งเหยียดแขนไปที่ไม้แขวนมุ้ง ถูกงูเขียวกัด. เพราะฉะนั้น ภิกษุไม่ควรเหยียดมือเท้าไปในที่อันเป็นอสัปปายะเช่นนี้ ควรเหยียดไปในที่อันเป็นสัปปายะ.

    นี้เป็นสัปปายะสัมปชัญญะ ในบทว่า สมฺมิฺชิเต ปสาริเต นี้.

    ก็โคจรสัมปชัญญะ พึงแสดงด้วยเรื่องของพระมหาเถระ.

    ได้ยินว่า พระมหาเถระนั่งอยู่ในที่พักกลางวัน สนทนาอยู่กับอันเตวาสิกทั้งหลาย คู้มือเข้ามาโดยเร็ว แล้วเหยียดออกไปไว้ในที่เดิมอีกแล้วค่อยๆ คู้เข้า อันเตวาสิกทั้งหลายถามท่านว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญเหตุไรท่านจึงคู้มือเข้ามาโดยเร็ว แล้วเหยียดออกไปไว้ในที่เดิมอีก แล้วค่อยๆ คู้เข้า. พระมหาเถระตอบว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ตั้งแต่เราเริ่มมนสิการกรรมฐานมา เราไม่เคยละทิ้งกรรมฐานคู้มือเลย แต่บัดนี้เราสนทนากับท่านทั้งหลายได้ละทิ้งกรรมฐานคู้มือเข้า. เพราะฉะนั้น เราจึงได้เหยียดมือออกไปไว้ในที่เดิมอีกแล้วคู้เข้า. อันเตวาสิกทั้งหลายได้ถวายสาธุการว่า ดีแล้ว ท่านอาจารย์ ขึ้นชื่อว่าภิกษุ ควรเป็นอย่างนี้. การไม่ละกรรมฐานแม้ในที่เช่นนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่าโคจรสัมปชัญญะ ด้วยประการฉะนี้.

    ใครๆ ที่ชื่อว่าตนในภายใน ซึ่งคู้เข้าหรือเหยียดออก ย่อมไม่มี.มีแต่การคู้เข้าหรือเหยียดออกด้วยความแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่พลัง

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 435

จิต มีประการดังกล่าวแล้ว ดุจหุ่นยนต์เคลื่อนไหวมือเท้าได้ด้วยอํานาจการชักสายใยฉะนั้น.

    ก็การกําหนดรู้อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ พึงทราบว่าอสัมโมหสัมปชัญญะในการคู้เข้าหรือเหยียดออกนี้.

    การใช้สอยโดยการนุ่งห่มสังฆาฏิและจีวร และโดยการรับภิกษาด้วยบาตรเป็นต้น ชื่อว่า ธารณะ ในบทว่า สงฺฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ นี้.

    ในการใช้สอยสังฆาฏิบาตรและจีวรนั้น จะวินิจฉัยในการใช้สอยสังฆาฏิและจีวรก่อน.

    การที่ภิกษุนุ่งหรือห่มเที่ยวบิณฑบาตได้อามิสมา คือประโยชน์มีประการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เพื่อป้องกันหนาวดังนี้นั่นแหละ ชื่อว่า ประโยชน์. พึงทราบสาตถกสัมปชัญญะ ด้วยอํานาจของประโยชน์นั้น.

    ก็จีวรเนื้อละเอียดเป็นสัปปายะแก่ภิกษุขี้ร้อนและมีกําลังน้อย จีวรเนื้อหนา ๒ ชั้นเป็นสัปปายะแก่ภิกษุขี้หนาว. จีวรที่ตรงกันข้ามไม่เป็นสัปปายะ. จีวรเก่าไม่เป็นสัปปายะแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเลย. ด้วยว่า จีวรเก่านั้น ย่อมทําความกังวลแก่ภิกษุนั้น เพราะต้องคอยปะเป็นต้น. จีวรชนิดผ้าลายสองเป็นต้น เป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ทําให้กังวลเหมือนกัน.ด้วยว่า จีวรเช่นนั้น ย่อมทําอันตรายแก่ภิกษุผู้อยู่ในป่ารูปเดียว และอาจทําอันตรายถึงชีวิตก็ได้.

    ก็จีวรใดเกิดขึ้นด้วยอํานาจมิจฉาชีพ มีนิมิตตกรรมเป็นต้น และจีวรใดเมื่อภิกษุนั้นใช้สอย อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป จีวรนั้นเป็นอสัปปายะโดยตรง. จีวรที่ตรงกันข้าม เป็นสัปปายะ. ในที่นี้

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 436

พึงทราบสัปปายสัมปชัญญะ ด้วยอํานาจจีวรที่เป็นสัปปายะนั้น และพึงทราบโคจรสัมปชัญญะ ด้วยอํานาจการไม่ละกรรมฐานนั่นแล.

    ใครๆ ชื่อว่าตนในภายใน ที่ชื่อว่าห่มจีวร ย่อมไม่มี. มีแต่การห่มจีวรด้วยความแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่พลังจิต มีประการดังกล่าวแล้วเท่านั้น.

    ในจีวรและกายนั้น แม้จีวรก็ไม่มีเจตนา แม้กายก็ไม่มีเจตนา. จีวรย่อมไม่รู้ว่าเราห่มกายไว้. แม้กายก็ไม่รู้ว่าเราถูกจีวรห่มไว้. ธาตุทั้งหลายเท่านั้นปิดหมู่ธาตุอยู่ เหมือนเอาผ้าเก่าห่อคัมภีร์ไว้ฉะนั้น. เพราะฉะนั้น ภิกษุได้จีวรดี ก็ไม่ควรดีใจ ได้จีวรไม่ดี ก็ไม่ควรเสียใจ. เหมือนอย่างว่า ที่จอมปลวก พระเจดีย์และต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นต้น คนบางพวกบูชาด้วยดอกไม้ของหอมธูปและผ้าเป็นต้น คนบางพวกไม่บูชาด้วยคูถมูตรเปือกตม และประหารด้วยท่อนไม้และสาตราเป็นต้น จอมปลวกและต้นไม้เป็นต้น ย่อมไม่ดีใจหรือเสียใจด้วยการบูชาและไม่บูชาเหล่านั้น ภิกษุได้จีวรดีไม่พึงดีใจ ได้จีวรไม่ดีไม่ควรเสียใจเลยเหมือนฉันนั้นทีเดียว พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะในการใช้สอยสังฆาฏิและจีวรนี้ ด้วยอํานาจพิจารณาที่เป็นไปอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

    แม้ในการใช้สอยบาตร พึงทราบสาตถกสัมปชัญญะ ด้วยอํานาจประโยชน์ที่จะพึงได้เฉพาะ เพราะภิกษุไม่หยิบบาตรโดยรีบร้อน แต่หยิบบาตรโดยพิจารณาอย่างนี้ว่า เมื่อเราหยิบบาตรนี้เที่ยวไปบิณฑบาตจักได้ภิกษา ดังนี้เป็นปัจจัย.

    ก็บาตรหนักไม่เป็นสัปปายะแก่ภิกษุที่มีร่างกายผอม มีกําลังน้อย.บาตรที่มีปุ่มขรุขระ ๔ - ๕ ปุ่ม ล้างยากไม่เป็นสัปปายะแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 437

เลย. แม้บาตรที่ล้างยากก็ไม่ควร. ด้วยว่า เมื่อล้างบาตรนั้นอยู่นั่นแหละ เธอจะมีกังวล.

    ก็บาตรที่มีสีเหมือนแก้วมณี เป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ไม่เป็นสัปปายะตามนัยที่กล่าวแล้วในจีวรนั่นแล.

    อนึ่ง บาตรที่ได้มาด้วยอํานาจนิมิตตกรรมเป็นต้น ไม่เป็นสัปปายะและบาตรใดเมื่อภิกษุใช้สอย อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป บาตรนี้เป็นอสัปปายะโดยส่วนเดียวเท่านั้น. บาตรที่ตรงกันข้าม เป็นสัปปายะ. ในการใช้สอยบาตรนี้ พึงทราบสัปปายสัมปชัญญะด้วยอํานาจบาตรนั้น. พึงทราบโคจรสัมปชัญญะ ด้วยอํานาจไม่ละกรรมฐานนั่นแล.

    ใครๆ ชื่อว่าตนในภายในถือบาตรอยู่ ย่อมไม่มี. มีแต่การถือบาตรด้วยความแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่พลังจิตมีประการดังกล่าวแล้วเท่านั้น.

    ในการถือบาตรนั้น แม้บาตรก็ไม่มีเจตนา แม้มือก็ไม่มีเจตนา.บาตรย่อมไม่รู้ว่า เราถูกมือถือไว้. แม้มือทั้งหลายก็ไม่รู้ว่า เราถือบาตรไว้. ธาตุทั้งหลายเท่านั้นถือหมู่ธาตุอยู่ เหมือนเอาคีมคีบบาตรที่ร้อนเป็นไฟฉะนั้น. พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะในการใช้สอยบาตรนี้ ด้วยอํานาจพิจารณาที่เป็นไปอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

    อีกอย่างหนึ่ง คนทั้งหลายเห็นคนอนาถามือเท้าด้วน มีหนองเลือดและหมู่หนอนออกจากปากแผล มีแมลงวันหัวเขียวตอมหึ่ง นอนอยู่บนศาลาที่อาศัยของคนอนาถา ผู้ที่มีความเอ็นดูเอาผ้าพันแผลมาให้บ้าง เอายาใส่ถ้วยกระเบื้องเป็นต้นมาให้บ้าง แก่คนอนาถาเหล่านั้น บรรดาของ

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 438

เหล่านั้น ผ้าพันแผลของบางคนเป็นผ้าเนื้อละเอียดก็มี ของบางคนเป็นผ้าเนื้อหยาบก็มี ถ้วยกระเบื้องใส่ยาของบางคนรูปร่างสวยก็มี ของบางคนรูปร่างไม่สวยก็มี คนอนาถาเหล่านั้นย่อมไม่ยินดีหรือรังเกียจในสิ่งของเหล่านั้น ด้วยว่าคนอนาถาเหล่านั้นต้องการผ้าเพียงปิดแผลเท่านั้น และถ้วยกระเบื้องก็เพียงใส่ยาไว้เท่านั้น ข้อนี้ฉันใด ก็ภิกษุใดพิจารณาจีวรเหมือนผ้าพันแผล บาตรเหมือนถ้วยกระเบื้องใส่ยา และภิกษาที่ได้ในบาตรเหมือนยา ภิกษุนี้ก็ฉันนั้น พึงทราบว่า เป็นผู้ทําความรู้สึกตัวสูงสุดด้วยอสัมโมหสัมปชัญญะในการใช้สอยสังฆาฏิบาตรและจีวร.

    ในบทว่า อสิเต เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    บทว่า อสิเต ได้แก่ในการฉันบิณฑบาต.

    บทว่า ปีเต ได้แก่ในการดื่มยาคูเป็นต้น.

    บทว่า ขายิเต ได้แก่ในการเคี้ยวกินของขบเคี้ยวที่ทําด้วยแป้งเป็นต้น.

    บทว่า สายิเต ได้แก่ในการลิ้มน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น.

    ประโยชน์แม้ ๘ อย่างที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า เนว ทวาย มิใช่ฉันเพื่อจะเล่น ดังนี้ ชื่อว่า ประโยชน์ พึงทราบสาตถกสัมปชัญญะด้วยอํานาจประโยชน์นั้น.

    ก็บรรดาโภชนะที่เลวหรือประณีต ที่ขมหรือหวานเป็นต้น ภิกษุใด ไม่ผาสุกเพราะโภชนะใด โภชนะนั้นไม่เป็นสัปปายะแก่ภิกษุนั้น.

    อนึ่งโภชนะใดที่ได้มาด้วยอํานาจนิมิตตกรรมเป็นต้น และโภชนะใดเมื่อภิกษุนั้นฉันอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป โภชนะนั้นเป็นอสัปปายะโดยส่วนเดียวเท่านั้น. โภชนะที่ตรง

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 439

กันข้าม เป็นสัปปายะ. ในการฉันเป็นต้นนี้ พึงทราบสัปปายสัมปชัญญะด้วยอํานาจโภชนะนั้น และพึงทราบโคจรสัมปชัญญะด้วยอํานาจไม่ละกรรมฐานนั่นแล.

    ใครๆ ชื่อว่าตนในภายในเป็นผู้บริโภค ย่อมไม่มี. ชื่อว่าการถือบาตรย่อมมีด้วยความแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่พลังจิตมีประการดังกล่าวแล้วเท่านั้น. ชื่อว่าการหยั่งมือลงในบาตรย่อมมีด้วยความแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่พลังจิตเท่านั้น. การทําคําข้าว การยกคําข้าวขึ้น และการอ้าปาก ย่อมมีด้วยความแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่พลังจิตเท่านั้น ใครๆ ก็ใช้กุญแจยนต์ไขกระดูกคางไม่ได้. การเอาคําข้าวใส่ปาก ฟันบนทําหน้าที่สาก ฟันล่างทําหน้าที่ครก และลิ้นทําหน้าที่มือ ย่อมมีด้วยความแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่พลังจิตเท่านั้น. ในการบริโภคนั้น มีน้ำลายบางๆ ที่ปลายลิ้น น้ำลายหนาๆ ที่โคนลิ้นคลุกเคล้า. ของเคี้ยวนั้นถูกตะล่อมด้วยมือคือลิ้นลงในครกคือฟันล่าง น้ำคือน้ำลายทําให้เปียกชุ่ม แหลกละเอียดด้วยสากคือฟันบน. หามีใครมาตักใส่เข้าไปภายในด้วยช้อนหรือทัพพีไม่. เข้าไปด้วยวาโยธาตุนั่นแหละ. อาหารที่เข้าลําคอลงไปๆ หามีใครเอาสิ่งซึ่งลาดด้วยฟางมารองรับไม่. ตั้งอยู่ได้ด้วยอํานาจวาโยธาตุนั่นแหละ. อาหารที่ตั้งอยู่นั้นๆ ก็หามีใครทําเตาก่อไฟหุงต้มไม่. ย่อมสุกด้วยเตโชธาตุเทียว. อาหารที่สุกแล้วๆ หามีใครใช้ท่อนไม้หรือไม้เท้าเขี่ยออกภายนอกไม่. วาโยธาตุนั่นแหละนําออก (ขับถ่าย) .

    ด้วยประการฉะนี้ วาโยธาตุย่อมนําอาหารเข้า เปลี่ยนแปลง ทรงไว้กลับไปกลับมา บดให้ละเอียด ทําให้แห้งและนําออก. ปฐวีธาตุทรงไว้กลับไปกลับมา บดให้ละเอียด และทําให้แห้ง. อาโปธาตุทําให้เหนียวตามรักษาความชุ่มชื้นไว้. เตโชธาตุทําอาหารที่เข้าไปภายในให้สุก อากาศ-

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 440

ธาตุแยกให้เป็นส่วนๆ . วิญญาณธาตุสั่งการให้ธาตุต่างๆ ทําหน้าที่ให้ถูกในเรื่องนั้นๆ . พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะในการบริโภคนี้ ด้วยอํานาจพิจารณาที่เป็นไปอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะในการบริโภคนี้ โดยพิจารณาเป็นของปฏิกูล ๑๐ ประการอย่างนี้ คือ โดยการไป ๑ โดยการแสวงหา ๑ โดยการบริโภค ๑ โดยที่อยู่ ๑ โดยหมักหมม ๑ โดยยังไม่ย่อย ๑ โดยย่อยแล้ว ๑ โดยผล ๑ โดยไหลออก ๑ โดยเปื้อน ๑.ส่วนความพิสดารในเรื่องนี้ พึงถือเอาแต่อาหารปฏิกูลสัญญานิทเทส ในวิสุทธิมรรค.

    บทว่า อุจฺจารปสฺสาวกมฺเม ได้แก่ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ

    ในบทนั้นมีอธิบายว่า เมื่อถึงเวลาถ่ายแล้วนี้ได้ถ่ายอุจจาระปัสสาวะเหงื่อไหลออกจากร่างกายทั้งสิ้น ตาวิงเวียน จิตไม่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง และโรคอื่นๆ ย่อมเกิดขึ้น. แต่เมื่อถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ทุกอย่างนั้นย่อมไม่มี นี้เป็นเนื้อควานในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้. พึงทราบสาตถกสัมปชัญญะ.โดยเนื้อความนั้น.

    ก็ภิกษุถ่ายอุจจาระปัสสาวะในที่ไม่สมควร ย่อมเป็นอาบัติ ย่อมเสียชื่อเสียง เป็นอันตรายแก่ชีวิต เมื่อถ่ายอุจจาระปัสสาวะในที่สมควร ทุกอย่างนั้นย่อมไม่มี ดังนั้นการรู้ตัวในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะนี้ จึงเป็นสัปปายะ. พึงทราบสัปปายสัมปชัญญะ โดยสัปปายะนั้น. พึงทราบโคจรสัมปชัญญะ โดยไม่ละกรรมฐานนั่นแล.

    ชื่อว่าตนในภายในถ่ายอุจจาระปัสสาวะอยู่ ย่อมไม่มี แต่มีการถ่ายอุจจาระปัสสาวะด้วยความแผ่ไปแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่พลังจิตเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 441

    ก็หรือว่า เพราะฝีแตกเมื่อฝีสุก น้ำหนองและเลือดย่อมไหลออกโดยไม่มีใครต้องการ ฉันใด และภาชนะน้ำที่เต็มเปียม น้ำย่อมไหลออกโดยไม่มีใครต้องการ ฉันใด อุจจาระปัสสาวะที่สั่งสมอยู่ในลําไส้ใหญ่และกระเพาะปัสสาวะ ถูกกําลังลมบีบคั้นหนักเข้า ย่อมไหลออกแม้โดยไม่มีใครต้องการ ฉันนั้น.

    ก็อุจจาระปัสสาวะนี้นั้น เมื่อไหลออกอย่างนี้ ย่อมไม่เป็นของตนของภิกษุนั้น ไม่เป็นของผู้อื่น เป็นกากอาหารที่ไหลออกมาจากร่างกายเท่านั้นเอง. เหมือนอย่างอะไร. เหมือนอย่างว่า คนที่ถ่ายน้ำเก่าจากตุ่มน้ำ น้ำเก่านั้นย่อมไม่เป็นของตน ไม่เป็นของผู้อื่น เป็นเพียงล้างตุ่มเท่านั้นเอง. พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะนี้ โดยพิจารณาที่เป็นไป ด้วยประการฉะนี้.

    ในบทว่า คเต เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    บทว่า คเต ได้แก่ในการเดิน.

    บทว่า ิเต ได้แก่ในการยืน.

    บทว่า นิสินฺเน ได้แก่ในการนั่ง.

    บทว่า สุตฺเต ได้แก่ในการนอน.

    บทว่า ชาคริเต ได้แก่ในการตื่น.

    บทว่า ภาสิเต ได้แก่ในการพูด.

    บทว่า ตุณฺหีภาเว ได้แก่ในการไม่พูด.

    ก็ในพระสูตรนี้ว่า ภิกษุเดินอยู่ก็ดี ย่อมรู้ตัวว่าเราเดิน ยืนอยู่ก็ดี ย่อมรู้ตัวว่าเรายืน นั่งอยู่ก็ดี ย่อมรู้ตัวว่าเรานั่ง นอนอยู่ก็ดี ย่อมรู้ตัวว่าเรานอน ดังนี้ ตรัสถึงอิริยาบถยาวนาน.

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 442

    ในคํานี้ว่า ในการก้าวไป ในการถอยกลับ ในการแลไปข้างหน้า ในการแลไปตามทิศ ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ดังนี้ ตรัสถึงอิริยาบถปานกลาง.

    แต่ในที่นี้ว่า ในการเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น ดังนี้ ตรัสถึงอิริยาบถย่อยเล็กน้อย. เพราะฉะนั้น พึงทราบความเป็นผู้ทําความรู้สึกตัวในอิริยาบถแม้เหล่านั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

    ก็พระมหาสิวเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวว่า ภิกษุใดเดินหรือจงกรมนาน ภายหลังหยุดยืน ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปในเวลาจงกรม ดับไปในขณะหยุดยืนนั้นแหละ ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทําความรู้สึกตัวในการเดิน.

    ภิกษุใดท่องบ่นอยู่ก็ดี วิสัชนาปัญหาอยู่ก็ดี มนสิการกรรมฐานอยู่ก็ดี ยืนอยู่นาน ภายหลังนั่งลง ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปในเวลายืน ดับไปโนขณะนั่งลงนั้นแหละ ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทําความรู้สึกตัวในการยืน.

    ภิกษุใดนั่งนาน โดยกระทําการสาธยายเป็นต้น ภายหลังลุกขึ้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปในเวลานั่ง ดับไปในขณะลุกขึ้นนั้นแหละ ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทําความรู้สึกตัวในการนั่ง

    แต่ภิกษุใดนอนท่องบ่นอยู่ก็ดี มนสิการกรรมฐานอยู่ก็ดี หลับไปภายหลังลุกขึ้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปในเวลานอน ดับไปในขณะลุกขึ้นนั้นแหละ ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทําความรู้สึกตัวในการหลับและการตื่น. ก็จิตที่ไม่ทํางานชื่อว่าหลับ ที่ทํางานชื่อว่าตื่น.

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 443

    ก็ภิกษุใดกําลังพูดอยู่ มีสติสัมปชัญญะว่า ชื่อว่าเสียงนี้ย่อมเกิดเพราะอาศัยริมฝีปาก ฟัน ลิ้น เพดาน และความพยายามที่เหมาะแก่เรื่องนั้นๆ ของจิต ดังนี้ พูด ก็หรือว่า ท่องบ่นก็ตาม กล่าวธรรมก็ตาม เจริญกรรมฐานก็ตาม วิสัชนาปัญหาก็ตาม ตลอดกาลนาน แล้วนิ่งไปในภายหลัง ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมที่เกิดขึ้นในเวลาพูด ดับไปในขณะนิ่งนั้นแหละ ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทําความรู้สึกด้วยในการพูด.

    ภิกษุใดนิ่งแล้วยังมนสิการพระธรรมหรือกรรมฐานเป็นเวลานานภายหลังพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปในเวลานิ่งดับไปในขณะนิ่งนี้เอง ด้วยว่าเมื่ออุปาทายรูปเกิด ชื่อว่าพูด เมื่อไม่เกิดชื่อว่านิ่ง ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทําความรู้สึกตัวในความเป็นผู้นิ่ง ด้วยประการฉะนี้. เรื่องนี้นั้น พระมหาสีวเถระกล่าวไว้แล้ว.

    หน้าที่ของอสัมโมหสัมปชัญญะ ท่านประสงค์ในมหาสติปัฏฐานสูตร. แต่ในสามัญญผลสูตรนี้ ย่อมได้สัมปชัญญะ ๔ อย่างแม้ทั้งหมดฉะนั้น พึงทราบความเป็นผู้ทําความรู้สึกตัวด้วยอํานาจแห่งสัมปชัญญะ ๔ ในที่นี้ ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.

    ก็บทว่า สมฺปชานการี ดังนี้ พึงทราบเนื้อความ โดยสัมปชัญญะที่สัมปยุตด้วยสตินั่นเทียวในทุกๆ บท. บทว่า สติสมฺปชฺเนสมนฺนาคโต นี้ ก็มีความพิสดารเท่านี้.

    แต่ในวิภังคปกรณ์ ท่านจําแนกบทเหล่านี้ไว้อย่างนี้ว่า สโตสมฺปชาโน อภิกฺกมติ สโต สมฺปชาโน ปฏิกฺกมติ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะก้าวไป เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะถอยกลับ ดังนี้ทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 444

    บทว่า เอวํ โข มหาราช ความว่า ภิกษุเมื่อยังการก้าวไปเป็นต้นให้เป็นไป โดยสัมปชัญญะที่สัมปยุตด้วยสติอย่างนี้ ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ.

    บทว่า สนฺตุฏโ ในข้อความว่า อิธ มหาราช ภิกฺขุ สนฺตุฏโ โหติ นี้ ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยความยินดีปัจจัยตามมีตามได้.

    ก็สันโดษนี้นั้น มี ๑๒ อย่าง.

    อะไรบ้าง?

    สันโดษในจีวร ๓ อย่าง คือ ยถาลาภสันโดษ ยถาพลสันโดษ ยถาสารุปปสันโดษ.

    ในบิณฑบาตเป็นต้น ก็อย่างนี้.

    สันโดษ ๑๒ ประเภทนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้จีวรดีก็ตาม ไม่ดีก็ตาม เธอใช้สอยจีวรนั้นเท่านั้น ไม่ปรารถนาจีวรอื่น ถึงได้ก็ไม่รับ นี้เป็นยถาลาภสันโดษในจีวรของเธอ.

    ต่อมาภายหลัง เธอมีกําลังน้อยตามธรรมดาก็ดี ถูกความป่วยไข้ครอบงําก็ดี ถูกชราครอบงําก็ดี เมื่อห่มจีวรหนักย่อมลําบาก เธอเปลี่ยนจีวรนั้นกับภิกษุผู้ชอบพอกัน แม้ใช้สอยจีวรเบาอยู่ ก็ยังเป็นผู้สันโดษอยู่นั่นเอง นี้เป็นยถาพลสันโดษในจีวรของเธอ.

    ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้ปัจจัยอย่างประณีต ครั้นเธอได้บาตรและจีวรเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นบาตรจีวรมีค่ามากหรือมีจํานวนมาก เธอถวายด้วยคิดว่า นี้สมควรแก่พระเถระทั้งหลายผู้บวชนาน นี้สมควรแก่ภิกษุพหูสูต นี้สมควรแก่ภิกษุไข้ นี้จงมีแก่ภิกษุผู้มีลาภน้อย ดังนี้

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 445

หรือรับเอาจีวรเก่าของภิกษุเหล่านั้น หรือเลือกเก็บผ้าที่ไม่มีชายจากกองหยากเยื่อเป็นต้น แม้เอาผ้าเหล่านั้นมาทําเป็นสังฆาฏิครอง ก็ยังเป็นผู้สันโดษอยู่นั่นเอง นี้เป็นยถาสารุปปสันโดษในจีวรของเธอ.

    อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้บิณฑบาตเศร้าหมองหรือประณีต เธอใช้สอยบิณฑบาตนั้นเท่านั้น ไม่ปรารถนาบิณฑบาตอื่น ถึงได้ก็ไม่รับ นี้เป็นยถาลาภสันโดษในบิณฑบาตของเธอ.

    ก็ภิกษุใดได้บิณฑบาตที่ไม่ถูกกับร่างกายปกติ หรือไม่ถูกกับโรคของตน ซึ่งเธอบริโภคแล้วจะไม่สบาย เธอให้บิณฑบาตนั้นแก่ภิกษุผู้ชอบพอกัน แม้ฉันโภชนะที่สบายแต่มือของภิกษุนั้นทําสมณธรรมอยู่ ก็ยังเป็นผู้สันโดษอยู่นั่นเอง นี่เป็นยถาพลสันโดษในบิณฑบาตของเธอ.

    ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้บิณฑบาตประณีตจํานวนมาก เธอถวายบิณฑบาตนั้นแก่พระเถระผู้บวชนาน แก่ผู้พหูสูต แก่ผู้มีลาภน้อย แก่ภิกษุไข้เหมือนจีวรนั้น แม้รับเศษอาหารของภิกษุนั้นๆ หรือเที่ยวบิณฑบาตแล้วฉันอาหารที่ปนกัน ก็ยังเป็นผู้สันโดษอยู่นั่นเอง นี้เป็นยถาสารุปปสันโดษในบิณฑบาตของเธอ.

    อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้เสนาสนะที่พอใจหรือไม่พอใจ ไม่ดีใจไม่เสียใจเพราะเสนาสนะนั้น ยินดีตามที่ได้เท่านั้น โดยที่สุดแม้เป็นเครื่องปูลาดถักด้วยหญ้า นี้เป็นยถาลาภสันโดษในเสนาสนะของเธอ.

    ก็ภิกษุใดได้เสนาสนะที่ไม่ถูกกับร่างกายปกติ หรือไม่ถูกกับโรคของตน ซึ่งเมื่อเธออยู่จะไม่สบาย เธอให้เสนาสนะนั้นแก่ภิกษุผู้ชอบพอกัน แม้อยู่ในเสนาสนะที่สบายซึ่งเป็นของภิกษุนั้น ก็ยังเป็นผู้สันโดษอยู่นั่นเอง นี้เป็นยถาพลสันโดษในเสนาสนะของเธอ.

 
  ข้อความที่ 110  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 446

    ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีบุญมาก ได้เสนาสนะที่ประณีตจํานวนมาก มีถ้ำ มณฑป เรือนยอดเป็นต้น เธอให้เสนาสนะเหล่านั้นแก่พระเถระผู้บวชนาน ผู้พหูสูต ผู้มีลาภน้อย และเป็นไข้ เหมือนจีวร แม้อยู่ในเสนาสนะแห่งใดแห่งหนึ่ง ก็ยังเป็นผู้สันโดษอยู่นั่นเอง นี้เป็นยถาสารุปปสันโดษในเสนาสนะของเธอ.

    ก็ภิกษุใดพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ชื่อว่าเสนาสนะชั้นดีเยี่ยมเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นั่งในเสนาสนะนั้นย่อมง่วงเหงาซบเซาหลับไป เมื่อตื่นขึ้นอีกก็ครุ่นคิดแต่เรื่องกาม แล้วไม่รับเสนาสนะเช่นนั้นแม้ถึงแล้วเธอห้ามเสนาสนะนั้น แม้อยู่ในที่แจ้งหรือโคนไม้เป็นต้น ก็ยังเป็นผู้สันโดษอยู่นั่นเอง แม้นี้ก็เป็นยถาสารุปปสันโดษในเสนาสนะ.

    อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้เภสัชเศร้าหมองหรือประณีต เธอยินดีตามที่ได้นั้นๆ เท่านั้น ไม่ปรารถนาเภสัชอื่น ถึงได้ก็ไม่รับ นี้เป็นยถาลาภสันโดษในคิลานปัจจัยของเธอ.

    ก็ภิกษุใดต้องการน้ำมัน ได้น้ำอ้อย เธอให้น้ำอ้อยนั้นแก่ภิกษุผู้ชอบพอกัน แล้วถือเอาน้ำมันแต่มือของภิกษุนั้น หรือแสวงหาของอื่นนั่นเทียว แม้เมื่อได้เภสัช ก็ยังเป็นผู้สันโดษอยู่นั่นเอง นี้เป็นยถาพลสันโดษในคิลานปัจจัยของเธอ.

    ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีบุญมาก ได้เภสัชที่ประณีต มีน้ำมัน น้ำอ้อย เป็นต้นจํานวนมาก เธอให้เภสัชนั้นแก่พระเถระผู้บวชนาน ผู้พหูสูต ผู้มีลาภน้อยและผู้เป็นไข้ เหมือนจีวร แล้วเยียวยาอัตตภาพด้วยเภสัชอย่างใดอย่างหนึ่งที่ภิกษุเหล่านั้นนํามา ก็ยังเป็นผู้สันโดษอยู่นั้นเอง.

    อนึ่ง ภิกษุใดวางสมอแช่เยี่ยวโคไว้ในภาชนะใบหนึ่ง มีคนมาบอก

 
  ข้อความที่ 111  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 447

กล่าวถึงของอร่อย ๔ อย่างในภาชนะหนึ่งว่า ถือเอาเถิดท่านเจ้าข้า ถ้าต้องการ ดังนี้ เธอคิดว่า ถ้าโรคของเธอจะหายแม้ด้วยของอร่อยอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ อย่างนั้น ถึงอย่างนั้น ชื่อว่าสมอแช่เยี่ยวโค พระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงสรรเสริญแล้ว ดังนี้ ห้ามของอร่อย ๔ อย่าง ทําเภสัชด้วยสมอแช่เยี่ยวโคเท่านั้น ย่อมเป็นผู้สันโดษอย่างยิ่งแท้ นี้เป็นยถาสารุปปสันโดษในคิลานปัจจัยของเธอ.

    ก็บริขาร ๘ คือ ไตรจีวร บาตร มีดตัดไม้ชําระฟัน เข็ม ประคดเอวและผ้ากรองน้ำ ย่อมควรแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยความยินดีปัจจัยตามมีตามได้ ๑๒ อย่างนี้. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

    ไตรจีวร บาตร มีด เข็ม ประคดเอว

    รวมทั้งผ้ากรองน้ำ เป็น ๘ เหล่านี้

    เป็นบริขารของภิกษุผู้ประกอบความเพียร.

    บริขารทั้งหมดเหล่านั้น เป็นเครื่องบริหารกายก็ได้ เป็นเครื่องบริหารท้องก็ได้. บริหารอย่างไร?

    จะพูดถึงจีวรก่อน ภิกษุบริหารเลี้ยงดูกายในเวลานุ่งห่มจีวรเที่ยวไป ดังนั้นจีวรจึงชื่อว่าเป็นเครื่องบริหารกาย ภิกษุบริหารเลี้ยงดูท้องในเวลาเอาชายจีวรกรองน้ำแล้วดื่ม และในเวลาเอาจีวรห่อของขบเคี้ยวและผลไม้น้อยใหญ่ ดังนั้นจีวรจึงชื่อว่าเป็นเครื่องบริหารท้อง.

    แม้บาตร ย่อมเป็นเครื่องบริหารกายในเวลาเอาบาตรนั้นตักน้ำอาบและในเวลาทําประพรมกุฎี ย่อมเป็นเครื่องบริหารท้องในเวลารับอาหารบริโภค.

    แม้มีด ย่อมเป็นเครื่องบริหารกายในเวลาตัดไม้ชําระฟันด้วยมีดนั้น

 
  ข้อความที่ 112  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 448

และในเวลาตกแต่งเท้าเตียงและคันกลด ย่อมเป็นเครื่องบริหารท้องในเวลาตัดอ้อยและปอกมะพร้าวเป็นต้น.

    แม้เข็ม ย่อมเป็นเครื่องบริหารกายในเวลาเย็บจีวร ย่อมเป็นเครื่องบริหารท้องในเวลาจิ้มขนมหรือผลไม้กิน.

    ประคดเอว ย่อมเป็นเครื่องบริหารกายในเวลาพันกายเที่ยวไป เป็นเครื่องบริหารท้องในเวลามัดอ้อยเป็นต้นถือเอา.

    ผ้ากรองน้ำ เป็นเครื่องบริหารกายในเวลาใช้ผ้ากรองน้ำนั้นกรองน้ำอาบ และในเวลาทําการประพรมเสนาสนะ เป็นเครื่องบริหารท้องในเวลากรองน้ำดื่ม และในเวลาใช้ผ้ากรองน้ำนั้นแหละใส่งา ข้าวสารและอาหารแข้นเป็นต้นฉัน.

    พึงทราบความที่บริขาร ๘ เป็นบริขารเท่านี้ก่อน.

    ก็เครื่องปูลาดซึ่งปูไว้ในที่นั้น หรือกุญแจ ย่อมควรแก่ภิกษุผู้มีบริขาร ๙ อย่าง เข้าไปสู่ที่นอน.

    ผ้าปูนั่งหรือท่อนหนัง ย่อมควรแก่ภิกษุผู้มีบริขาร ๑๐ อย่าง.

    ไม้เท้าหรือหลอดน้ำมัน ย่อมควรแก่ภิกษุผู้มีบริขาร ๑๑ อย่าง

    ร่มหรือรองเท้า ย่อมควรแก่ภิกษุผู้มีบริขาร ๑๒ อย่าง.

    ก็บรรดาภิกษุเหล่านี้ ภิกษุผู้มีบริขาร ๘ เท่านั้น ชื่อว่าผู้สันโดษ นอกนี้ชื่อว่าไม่สันโดษ แต่ไม่ควรเรียกว่า มักมาก เลี้ยงยาก.

    จริงอยู่ ภิกษุเหล่านี้เป็นผู้มักน้อยเทียว เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้เลี้ยงง่าย เป็นผู้มีความประพฤติเบาพร้อมเทียว แต่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสพระสูตรนี้สําหรับภิกษุเหล่านั้น ตรัสสําหรับภิกษุผู้มีบริขาร ๘.

    ด้วยว่า ภิกษุผู้มีบริขาร ๘ นั้น เอามีดเล็กและเข็มใส่ในผ้ากรองน้ำ

 
  ข้อความที่ 113  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 449

แล้ววางไว้ภายในบาตร คล้องบาตรที่จะงอยบ่า พันกายที่ไตรจีวร หลีกไปสบายตามปรารถนา. ไม่มีสิ่งของที่ชื่อว่าเธอจะต้องกลับมาถือเอา.

    เมื่อจะทรงแสดงความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้มีความประพฤติเบาพร้อมด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ภิกษุนี้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเครื่องบริหารกายเป็นต้น.

    ในบทเหล่านั้น บทว่า กายปริหาริเกน ได้แก่จีวรพอเป็นเครื่องบริหารกาย.

    บทว่า กุจฺฉิปริหาริเกน ได้แก่จีวรพอเป็นเครื่องบริหารท้อง.

    บทว่า สมาทาเยว ปกฺกมติ ความว่าถือเอาเพียงบริขาร ๘ นั้นทั้งหมดเท่านั้น ทําให้ติดตัวไป. ไม่มีความห่วงใยหรือผูกพันว่า วิหารบริเวณ อุปัฏฐากของเรา. เธอเหมือนลูกศรที่หลุดจากแล่ง และเหมือนช้างซับมันหลีกออกจากโขลง บริโภคเสนาสนะตามที่ปรารถนา เป็นราวป่า โคนไม้ เงื้อมเขาในป่า รูปเดียวเท่านั้นยืน รูปเดียวเท่านั้นนั่ง รูปเดียวไม่มีเพื่อนในอิริยาบถทั้งปวง ย่อมถึงความเป็นผู้เหมือนนอแรดที่ท่านพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า

    ภิกษุยินดีอยู่ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ย่อมไปได้ ๔ ทิศ ไม่ติดขัด อดกลั้นต่ออันตรายทั้งหลาย ไม่หวาดหวั่น คนเดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด ดังนี้.

    บัดนี้ เมื่อจะยังเนื้อความนั้นให้สําเร็จด้วยอุปมา จึงตรัสว่า เสยฺยถาปิ เป็นต้น.

    ในบทเหล่านั้น บทว่า ปกฺขี สกุโณ ได้แก่นกมีปีก.

    บทว่า เฑติ ได้แก่บินไป.

 
  ข้อความที่ 114  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 450

    ก็ความย่อในเรื่องนี้ดังนี้. ธรรมดานกทั้งหลายรู้ว่า ที่ประเทศโน้นต้นไม้มีผลสุกแล้ว มาจากทิศต่างๆ เจาะจิกกินผลของต้นไม้นั้นด้วยกลีบเล็บและจะงอยปากเป็นต้น นกเหล่านั้นมิได้คิดว่า ผลไม้นี้จักมีสําหรับวันนี้ ผลไม้นี้จักมีสําหรับวันพรุ่งนี้ และเมื่อผลไม้สิ้นแล้ว ก็มิได้ตั้งอารักขาต้นไม้เลย มิได้วางปีก เล็บ หรือจะงอยปากไว้ที่ต้นไม้นั้น โดยที่แท้มิได้สนใจในต้นไม้นั้นเลย ตัวใดปรารถนาจะไปทิศาภาคใดๆ ตัวนั้นมีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไปตามทิศาภาคนั้นๆ ภิกษุนี้ก็อย่างนั้นเหมือนกัน ไม่เกี่ยวข้อง ไม่สนใจ เมื่อจะหลีกไปตามความต้องการก็ถือไปได้เอง ดังนี้แล.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอะไร ด้วยคําว่า โส อิมินา จ ดังนี้เป็นต้น.

    ทรงแสดงปัจจัยสมบัติของภิกษุผู้อยู่ป่า.

    ภิกษุใดไม่มีปัจจัย ๔ เหล่านี้ การอยู่ป่าของภิกษุนั้นย่อมไม่สําเร็จ ภิกษุนั้นย่อมจะถูกเปรียบเปรยเท่ากับสัตว์ดิรัจฉานหรือพรานป่า. เทวดาที่สิงสถิตอยู่ในป่า ทําให้ได้ยินเสียงที่น่ากลัวว่า การอยู่ป่าของภิกษุชั่วเช่นนี้จะมีประโยชน์อะไร เอามือทุบศีรษะแล้วหนีไป. โทษมิใช่ยศ ย่อมระบือไปว่า ภิกษุรูปโน้นเข้าป่า ได้การทํากรรมชั่วอย่างนี้บ้างอย่างนี้บ้าง.

    แต่ภิกษุใดมีปัจจัย ๔ เหล่านี้ การอยู่ป่าของภิกษุนั้นย่อมสําเร็จ.ด้วยว่า เธอพิจารณาศีลของตนอยู่ เมื่อไม่เห็นด่างพร้อยอะไรๆ ยังปีติให้เกิดขึ้นแล้วพิจารณาปีตินั้นโดยความสิ้นไปเสื่อมไป ย่อมหยั่งลงสู่อริยภูมิ.เทวดาที่สิงสถิตอยู่ในป่ามีความพอใจพากันสรรเสริญ. ยศของภิกษุนี้ย่อมกระฉ่อนไป เหมือนหยาดน้ำมันที่หยดลงในน้ำฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 115  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 451

    ในบทเหล่านั้น บทว่า วิวิตฺตํ ความว่า ว่าง อธิบายว่า มีเสียงเงียบ คือไม่ค่อยดังนัก. จริงอยู่ ในวิภังคปกรณ์ท่านกล่าวหมายถึงความสงัดนี้ไว้ว่า บทว่า วิวิตฺตํ ความว่า แม้หากว่ามีเสนาสนะอยู่ในที่ใกล้ และเสนาสนะนั้นไม่พลุกพล่านด้วยคฤหัสถ์บ้างบรรพชิตบ้าง เพราะเหตุนั้นเสนาสนะนั้น ชื่อว่าสงัด.

    ชื่อว่า เสนาสนะ เพราะอรรถว่า เป็นที่นอนด้วย เป็นที่นั่งด้วย.คํานี้เป็นชื่อของเตียงและตั่งเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า บทว่า เสนาสนะ ได้แก่เตียงก็ดี ตั่งก็ดี ฟูกก็ดี หมอนก็ดี วิหารก็ดี เพิงก็ดี ปราสาทก็ดี เรือนโล้นก็ดี ถ้ำก็ดี ป้อมก็ดี โรงกลมก็ดี ที่เร้นก็ดี กอไผ่ก็ดี โคนไม้ก็ดี มณฑปก็ดี ชื่อว่าเสนาสนะ ก็หรือว่า ภิกษุเปลี่ยนอิริยาบถในที่ใด ที่นั้นทั้งหมด ชื่อว่าเสนาสนะ.

    อีกอย่างหนึ่ง เสนาสนะนี้ คือ วิหาร เพิง ปราสาท เรือนโล้น ถ้ำ ชื่อว่าเสนาสนะประเภทที่อยู่.

    เสนาสนะนี้ คือ เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ชื่อว่าเสนาสนะสําหรับเตียงตั่ง.

    เสนาสนะนี้ คือ ปลอกหมอน ท่อนหนัง เครื่องปูลาดที่ถักด้วยหญ้า เครื่องปูลาดที่ทําด้วยใบไม้ ชื่อว่าเสนาสนะเป็นเครื่องลาด.

    เสนาสนะซึ่งเป็นที่เปลี่ยนอิริยาบถของภิกษุทั้งหลายนี้ ชื่อว่าเสนาสนะตามโอกาส.

    เสนาสนะมี ๔ อย่าง ด้วยประการฉะนี้. เสนาสนะทั้งหมดนั้นท่านสงเคราะห์ด้วยศัพท์ว่าเสนาสนะนั่นเทียว.

    ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงเสนาสนะที่สมควรแก่ภิกษุผู้ไป

 
  ข้อความที่ 116  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 452

ใน ๔ ทิศ เหมือนนกนั้น ดังนี้ ตรัสพระพุทธพจน์มีอาทิว่า อรฺํรุกฺขมูลํ ดังนี้.

    ในบทเหล่านั้น บทว่า อรฺํ ได้แก่ป่าที่อยู่นอกเขตเมือง ทั้งหมดนี้ ชื่อว่าป่า ป่านี้สําหรับภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

    เสนาสนะที่ทั้งอยู่ที่สุดชั่ว ๕๐๐ ธนู ชื่อว่าป่า ก็เสนาสนะป่านี้สมควรแก่ภิกษุนี้ ด้วยประการฉะนี้. ลักษณะของป่านั้น กล่าวไว้แล้วในธุดงคนิทเทสในวิสุทธิมรรค.

    บทว่า รุกฺขมูลํ ได้แก่โคนไม้ที่สงัด มีร่มเงาสนิทแห่งใดแห่งหนึ่ง.

    บทว่า ปพฺพตํ ได้แก่ศิลา. ก็เมื่อภิกษุใช้น้ำในบ่อน้ำ ณ ที่นั้นแล้วนั่งที่เงาไม้ร่มเย็น เมื่อทิศต่างๆ ปรากฏ ลมเย็นพัดมา จิตย่อมมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.

    ด้วยบทว่า กนฺทรํ ท่านเรียกน้ำว่า ประเทศแห่งภูเขาที่น้ำเซาะ น้ำทําลาย ซึ่งท่านเรียกว่า นทีตุมพะบ้าง นทีกุญชะบ้าง. ก็ในที่นั้น มีทรายเหมือนแผ่นเงิน. ป่าชัฏข้างบนเหมือนเพดานแก้วมณี. น้ำเช่นกับกองแก้วมณีไหลไป. เมื่อภิกษุลงซอกน้ำอย่างนี้ ดื่มน้ำแล้วทําร่างกายให้เย็น ก่อทรายขึ้น ปูลาดผ้าบังสุกุล นั่งบําเพ็ญสมณธรรม จิตย่อมมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.

    บทว่า คิริคุหํ ได้แก่ช่องใหญ่ระหว่างภูเขา ๒ ลูก หรือช่องใหญ่เหมือนอุโมงค์ภูเขาลูกหนึ่ง. ลักษณะของป่าช้า กล่าวแล้วในวิสุทธิมรรค.

    บทว่า วนปตฺถํ ได้แก่ที่เลยเขตบ้าน มิได้เป็นที่ไถที่หว่านของมนุษย์ทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าวว่า คําว่า วนปตฺถํ.

 
  ข้อความที่ 117  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 453

นี้เป็นชื่อของเสนาสนะที่ไกล ดังนี้เป็นต้น.

    บทว่า อพฺโภกาสํ ได้แก่ที่ไม่ได้มุงบัง.

    ก็เมื่อภิกษุประสงค์จะทํากลดอยู่ในที่นี้ก็ได้.

    บทว่า ปลาสปุฺชํ ได้แก่กองฟาง.

    ก็ภิกษุดึงฟางออกจากกองฟางใหญ่ ทําที่อยู่อาศัยเหมือนที่เร้นในเงื้อมเขา. บางทีเอาฟางใส่ข้างบนกอไม้พุ่มไม้เป็นต้น นั่งบําเพ็ญสมณธรรมอยู่ภายใต้ ท่านกล่าวหมายเอาที่นั้น.

    บทว่า ปจฺฉาภตฺตํ ได้แก่ภายหลังอาหาร.

    บทว่า ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺโต ได้แก่กลับจากการแสวงหาบิณฑบาต.

    บทว่า ปลฺลงฺกํ ได้แก่นั่งขัดสมาธิ.

    บทว่า อาภุชิตฺวา ได้แก่ประสานไว้.

    บทว่า อุชุํ กายํ ปณิธาย ได้แก่ ตั้งกายท่อนบนให้ตรง ให้ที่สุดต่อที่สุดกระดูกสันหลัง ๑๘ ข้อประชิดกัน.

    ด้วยว่า เมื่อนั่งอย่างนี้ หนังเนื้อและเอ็นทั้งหลายไม่ตึง. เมื่อเป็นเช่นนี้ เวทนาที่จะพึงเกิดขึ้นในทุกๆ ขณะ เพราะหนังเนื้อเอ็นตึงเป็นปัจจัย ก็ไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น เมื่อเวทนาเหล่านั้นไม่เกิดขึ้น จิตย่อมมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กรรมฐานย่อมไม่ตกถอย ย่อมเข้าถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.

    บทว่า ปริมุขํ สติํ อุปฏฺเปตฺวา ความว่า ตั้งสติมุ่งตรงต่อกรรมฐาน หรือตั้งกรรมฐานไว้ตรงหน้า. เพราะเหตุนั้นนั่นแล ในวิภังค์จึงกล่าวไว้ว่า สตินี้ย่อมเป็นอันตั้งมั่นจดจ่ออยู่ตรงปลายจมูกหรือแถวๆ

 
  ข้อความที่ 118  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 454

หน้า เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ดํารงสติไว้ตรงหน้า ดังนี้.

    อีกอย่างหนึ่ง ในข้อนี้พึงทราบเนื้อความโดยนัยที่กล่าวแล้วในปฏิสัมภิทาอย่างนี้ว่า บทว่า ปริ มีอรรถว่า กําหนด บทว่า มุขํ มีอรรถว่า นําออก บทว่า สติ มีอรรถว่า เข้าไปตั้งมั่น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคําว่า ปริมุขํ สตึ ดังนี้. รวมความในคํานั้นว่า ทําสติให้เป็นที่กําหนด เป็นที่ออกไป.

    ในบทว่า อภิชฺฌํ โลเก นี้ อุปาทานขันธ์ ๕ ชื่อว่าโลก ด้วยอรรถว่า สลาย เพราะฉะนั้น ในบทนี้จึงมีเนื้อความดังนี้ว่า ละราคะ คือข่มกามฉันทะในอุปาทานขันธ์ ๕ ได้.

    บทว่า วิคตาภิชฺเฌน ความว่า มีความเพ่งเล็งไปปราศแล้ว เพราะละได้โดยวิกขัมภนปหาน เช่นกับจักษุวิญญาณ

    บทว่า อภิชฺฌาย จิตฺตํ ปริโสเธติ ความว่า เปลื้องจิตจากความเพ่งเล็ง อธิบายว่า ความเพ่งเล็งนั้นพ้นไป และครั้นพ้นไปแล้วไม่มาจับจิตอีกได้ด้วยประการใด เธอย่อมทําด้วยประการนั้น

    แม้ในบทว่า พฺยาปาทปโทสมฺปหาย เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.

    ชื่อว่า พยาปาทะ ด้วยอรรถว่า จิตย่อมพยาบาทด้วยโทสจิตนี้ คือละปกติเดิม เหมือนขนมกุมมาสบูดเป็นต้น.

    ชื่อว่า ปโทสะ ด้วยอรรถว่า ประทุษร้ายถึงพิการ หรือทําผู้อื่นให้เดือดร้อน คือพินาศ.

    ก็ทั้ง ๒ คํานี้เป็นชื่อของความโกรธนั่นเอง. ความที่จิตเป็นไข้ ชื่อว่าถีนะ. ความที่เจตสิกเป็นไข้ ชื่อว่ามิทธะ ถีนะและมิทธะ ชื่อว่าถีนมิทธะ.

 
  ข้อความที่ 119  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 455

    บทว่า อาโลกสฺี ความว่า ประกอบด้วยสัญญาอันบริสุทธิ์ปราศจากนิวรณ์ เพราะสามารถกําหนดรู้แสงสว่างที่เห็นทั้งกลางคืนทั้งกลางวัน.

    บทว่า สโต สมฺปชาโน ได้แก่ประกอบด้วยสติและด้วยญาณ.

    คําทั้ง ๒ นี้ ท่านกล่าวแล้วเพราะเป็นอุปการะแก่อาโลกสัญญา.

    ความฟุ้งซ่านและความรําคาญ ชื่อว่า อุทธัจจกุกกุจจะ

    บทว่า ติณฺณวิจิกิจฺโฉ ได้แก่ข้าม คือก้าวล่วงวิจิกิจฉาตั้งอยู่.

    ชื่อว่า ไม่มีความคลางแคลง ด้วยอรรถว่า ไม่เป็นไปอย่างนี้ว่านี้อย่างไร นี้อย่างไร.

    บทว่า กุสเลสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ในธรรมทั้งหลายที่ไม่มีโทษ.อธิบายว่า ไม่สงสัย คือไม่กังขาอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้หนอแลเป็นกุศล ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลได้อย่างไร. นี้เป็นความย่อในข้อนี้ ก็คําใดที่ควรจะกล่าวในนิวรณ์เหล่านี้ โดยจําแนกใจความของคําและลักษณะเป็นต้น คํานั้นทั้งหมดกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.

    ก็ในอุปมาที่ท่านกล่าวไว้ว่า เสยฺยถาปิ มหาราช นั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    บทว่า อิณํ อาทาย ได้แก่ถือเอาทรัพย์เพื่อความเจริญ.

    บทว่า พฺยนฺตีกเรยฺย ความว่า พึงทําหนี้นั้นให้หมดไป คือพึงทํามิให้หนี้เหล่านั้นเหลืออยู่เพียงกากะณึกหนึ่ง อธิบายว่า พึงใช้ให้หมดเลย.

    บทว่า ตโตนิทานํ ได้แก่มีความไม่มีหนี้เป็นมูลเหตุ.

    จริงอยู่ เมื่อเขารําพึงอยู่ว่า เราไม่มีหนี้ ย่อมได้ความปราโมทย์

 
  ข้อความที่ 120  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 456

เป็นกําลัง ย่อมได้ความดีใจ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ลเภถปาโมชฺชํ อธิคจฺเฉยฺย โสมนสฺสํ ดังนี้.

ชื่อว่า อาพาธ ด้วยอรรถว่า ตัดอิริยาบถ ๔ เหมือนตัดด้วยเลื่อยเบียดเบียนอยู่เพราะเกิดเวทนาที่เป็นข้าศึก.

ชื่อว่า อาพาธิก ด้วยอรรถว่า มีอาพาธ.

ชื่อว่า ถึงความลําบาก เพราะความลําบากซึ่งเกิดแต่อาพาธนั้น.

บทว่า อธิมตฺตคิลาโน ได้แก่เจ็บหนัก

บทว่า นจฺฉาเทยฺย ได้แก่ไม่พึงชอบใจ เพราะมีพยาธิหนักยิ่งครอบงําอยู่แล้ว.

บทว่า พลมตฺตา ได้แก่มีกําลังนั่นเอง อธิบายว่า เขามีกําลังกาย.

บทว่า ตโตนิทานํ ได้แก่มีความไม่มีโรคเป็นต้นเหตุ.

ก็เมื่อเขารําพึงอยู่ว่า เราไม่มีโรค ทั้งความปราโมทย์และโสมนัสนั้นย่อมมีทั้งคู่. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ลเภถ ปาโมชฺชํ อธิคจฺเฉยฺย โสมนสฺสํ ดังนี้.

บทว่า น จสฺส กิฺจิ โภคานํ วโย ความว่า ไม่มีความเสื่อมโภคะแม้เพียงกากะณึกหนึ่ง.

บทว่า ตโตนิทานํ ได้แก่มีการไม่พ้นจากเครื่องผูกมัดเป็นต้นเหตุ.คําที่เหลือพึงประกอบในบททั้งหมด ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.

บทว่า อนตฺตาธีโน ได้แก่ไม่เป็นที่พึ่งในตน จะทําอะไรๆ ตามความพอใจของตนไม่ได้.

บทว่า ปราธีโน ได้แก่ต้องพึ่งคนอื่น เป็นไปตามความพอใจของคนอื่นเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 121  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 457

บทว่า น กาเยน กามงฺคโม ความว่า เขาประสงค์จะไปโดยทิศาภาคใด ก็ไปโดยทิศาภาคนั้นไม่ได้.

บทว่า ทาสพฺยา ได้แก่จากความเป็นทาส.

บทว่า ภุชิสฺโส ได้แก่เป็นตัวของตัวเอง.

บทว่า ตโตนิทานํ ได้แก่มีความเป็นไทเป็นต้นเหตุ.

บทว่า กนฺตารทฺธานมคฺคํ ได้แก่ทางไกลกันดาร อธิบายว่า ทางไกลไม่มีน้ำ.

บทว่า ตโตนิทานํ ได้แก่มีพื้นที่ที่ปลอดภัยเป็นต้นเหตุ.

ในคําว่า อิเม ปฺจ นิวรเณ อปฺปหีเน นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงกามฉันท์ที่ยังละไม่ได้เหมือนหนี้ แสดงนิวรณ์ที่เหลือทําให้เป็นเหมือนโรคเป็นต้น ในข้อนั้นมีอุปมาดังนี้

ก็ผู้ใดกู้หนี้คนอื่นแล้ว ย่อมพินาศ ผู้นั้นแม้ถูกเจ้าหนี้ทวงว่าจงใช้หนี้ แม้พูดคําหยาบ แม้ถูกจองจํา แม้ถูกฆ่า ก็ไม่อาจจะโต้ตอบอะไรได้ ย่อมอดกลั้นทุกอย่าง ด้วยว่า หนี้ของเขานั้นเป็นเหตุให้อดกลั้น ผู้ที่ติดวัตถุด้วยกามฉันทะก็ฉันนั้น ย่อมยืดวัตถุนั้นด้วยเครื่องยึดคือตัณหา เขาแม้ถูกกล่าวคําหยาบ แม้ถูกจองจํา แม้ถูกฆ่า ย่อมอดกลั้นทุกอย่าง. ด้วยว่ากามฉันทะของเขานั้นเป็นเหตุให้อดกลั้น เหมือนกามฉันทะของหญิงทั้งหลายที่ถูกเจ้าของเรือนฆ่า พึงเห็นกามฉันทะเหมือนหนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

เหมือนอย่างว่า คนกระสับกระส่ายเพราะโรคดี แม้เมื่อเขาให้น้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดเป็นต้น ก็ไม่ได้รสของของหวานเหล่านั้น ย่อมบ่นว่าขม ขม เท่านั้น เพราะตนกระสับกระส่ายด้วยโรคดีฉันใด ผู้มีจิตพยาบาท

 
  ข้อความที่ 122  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 458

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้อาจารย์และอุปัชฌาย์ผู้หวังดีว่ากล่าวเพียงเล็กน้อย ก็ไม่รับโอวาท กล่าวว่าท่านทั้งหลายวุ่นวายเหลือเกินเป็นต้น ลาสิกขาบทไป เขาไม่ได้รสของพระศาสนาประเภทสุขในฌานเป็นต้น เพราะเป็นผู้กระสับกระส่ายด้วยความโกรธ เหมือนบุรุษนั้นไม่ได้รสของของหวานมีน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดเป็นต้น เพราะเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะโรคดี พึงเห็นความพยาบาทเหมือนโรค ด้วยประการฉะนี้แล.

    เหมือนอย่างคนที่ถูกจองจําในเรือนจําในวันนักขัตฤกษ์ ย่อมไม่เห็นเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของนักขัตฤกษ์เลย ครั้นรุ่งขึ้น เขาพ้นเรือนจํา แม้ได้ฟังคําเป็นต้นว่า โอ เมื่อวานนักขัตฤกษ์น่าพอใจ ฟ้อนรําขับร้องน่าพอใจ ดังนี้ ก็ให้คําตอบไม่ได้. เพราะเหตุอะไร? เพราะไม่ได้ดูนักษัตรฉันใด ภิกษุถูกถีนมิทธะครอบงําก็ฉันนั้น เมื่อการฟังธรรมแม้มีนัยวิจิตรกําลังดําเนินไป ย่อมไม่รู้เบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดของธรรมนั้น เธอแม้นั้นเมื่อปรากฏการฟังธรรมขึ้นแล้ว ผู้คนพากันสรรเสริญการฟังธรรมว่า โอ การฟังธรรม โอ เหตุผล โอ อุปมา ถึงฟังก็ให้คําตอบไม่ได้. เพราะเหตุไร. เพราะอํานาจถีนมิทธะทําให้ฟังธรรมไม่รู้เรื่อง.พึงเห็นถีนมิทธะเหมือนเรือนจํา ด้วยประการฉะนี้.

    เหมือนอย่างทาสแม้เล่นนักษัตรอยู่ นายกล่าวว่า มีงานที่ต้องทํารีบด่วนชื่อนี้ เจ้าจงรีบไปที่นั้น ถ้าไม่ไป เราจะตัดมือและเท้า หรือหูและจมูกของเจ้า เขารีบไปทันที ย่อมไม่ได้ชมเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดของงานนักษัตร. เพราะเหตุไร. เพราะมีคนอื่นเป็นที่พึ่งฉันใด ภิกษุผู้ไม่รู้ทั่วถึงพระวินัยก็ฉันนั้น แม้เข้าป่าเพื่อต้องการวิเวก เมื่อเกิดความสําคัญในกัปปิยมังสะอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุดว่าเป็นอกัปปิยมังสะ ต้อง

 
  ข้อความที่ 123  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 459

ละวิเวกไปสํานักพระวินัยธรเพื่อชําระศีล ย่อมไม่ได้เสวยสุขอันเกิดแต่วิเวก. เพราะเหตุไร. เพราะถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงํา พึงเห็นอุทธัจจกุกกุจจะเหมือนความเป็นทาส ด้วยประการฉะนี้แล.

    เหมือนอย่างบุรุษเดินทางไกลที่กันดาร ได้เห็นโอกาสที่มนุษย์ทั้งหลายถูกพวกโจรปล้น และถูกฆ่า พอได้ยินเสียงท่อนไม้ก็ดี เสียงนกก็ดี ย่อมระแวงสงสัยว่า พวกโจรมาแล้ว เดินไปบ้าง ยืนอยู่บ้าง กลับเสียบ้าง ที่ที่มาจากที่ไปแล้วมีมากกว่า เขาย่อมถึงที่ปลอดภัยโดยยากโดยฝืดเคือง หรือไม่ถึงเลยฉันใด คนที่เกิดวิจิกิจฉาในฐานะ ๘ ก็ฉันนั้น สงสัยโดยนัยเป็นต้นว่า พระพุทธเจ้ามีหรือไม่มีหนอ ลังเลแล้วไม่อาจจะยึดถือด้วยศรัทธา เมื่อไม่อาจ ย่อมไม่บรรลุมรรคหรือผลได้. ดังนั้นเหมือนในทางไกลที่กันดาร ย่อมมีความหวาดระแวงบ่อยๆ ว่า พวกโจรมี ไม่มี ทําให้จิตไม่เชื่อ มีความหวาดกลัวเกิดขึ้น ย่อมทําอันตรายแก่การถึง มีที่ปลอดภัยฉันใด แม้วิจิกิจฉาก็ฉันนั้น ทําให้เกิดความหวาดระแวงบ่อยๆ โดยนัยว่า พระพุทธเจ้ามีหรือไม่มีหนอ ดังนี้เป็นต้น ไม่มั่นใจ สะดุ้งกลัว ย่อมทําอันตรายแก่การเข้าถึงอริยภูมิ พึงเห็นวิจิกิจฉาเหมือนทางไกลที่กันดาร ด้วยประการฉะนี้.

    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเปรียบเทียบผู้ที่ละกามฉันทนิวรณ์ได้ว่าเหมือนคนไม่มีหนี้ ผู้ที่ละนิวรณ์ที่เหลือได้ว่าเหมือนคนไม่มีโรคเป็นต้น ในพระบาลีนี้ว่า เสยฺยถาปิ มหาราช อานณฺยํ ดังนี้. ในข้อนั้นมีอุปมาดังนี้.

    เหมือนอย่างว่า บุรุษกู้หนี้แล้วประกอบการงาน ถึงความร่ํารวยคิดว่า ชื่อว่าหนี้นี้เป็นมูลแห่งความกังวล จึงใช้หนี้พร้อมทั้งดอกเบี้ย

 
  ข้อความที่ 124  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 460

แล้วฉีกหนังสือสัญญากู้เสีย เมื่อเป็นเช่นนั้น ไม่มีใครส่งคนไปทวงเขาตั้งแต่นั้นมา หนังสือสัญญากู้ก็ไม่มี เขาแม้เห็นเจ้าหนี้ทั้งหลาย ถ้าประสงค์จะต้อนรับก็ลุกจากอาสนะ ถ้าไม่ประสงค์ก็ไม่ลุก. เพราะเหตุไร?เพราะมิได้ติดต่อมิได้เกี่ยวข้องกับเจ้าหนี้เหล่านั้น ฉันใด ภิกษุ (ผู้ปฏิบัติ) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่า ชื่อว่ากามฉันทะนี้ เป็นมูลแห่งความกังวล จึงเจริญธรรม ๖ ประการแล้วละกามฉันทนิวรณ์เสีย. ก็ธรรม ๖ ประการเหล่านั้น เราจักพรรณนาในมหาสติปัฏฐานสูตร.

    เมื่อภิกษุนั้นละกามฉันทะได้อย่างนี้ ย่อมไม่กลัวไม่สะดุ้ง เหมือนบุรุษผู้ปลดหนี้แล้ว เห็นเจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมไม่กลัวไม่สะดุ้ง ฉันใด ย่อมไม่มีความเกี่ยวข้อง ไม่มีความผูกพันในวัตถุของผู้อื่น ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเห็นรูปแม้เป็นทิพย์ กิเลสก็ไม่กําเริบ. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสการละกามฉันทะได้เหมือนความไม่มีหนี้.

    เหมือนอย่างบุรุษผู้กระสับกระส่ายเพราะโรคดีนั้น ทําโรคนั้นให้สงบด้วยการปรุงยา ตั้งแต่นั้นก็ได้รสแห่งน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดเป็นต้น ฉันใดภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่า ชื่อว่าพยาบาทนี้ กระทําความพินาศ จึงเจริญธรรม ๖ ประการ ละพยาบาทนิวรณ์ได้. เราจักพรรณนาธรรม ๖ ประการในนิวรณ์ทั้งหมด ในมหาสติปัฏฐานสูตรนั่นแล. ก็ธรรม ๖ ประการเหล่านั้น มิใช่เจริญเพื่อละถีนมิทธะเป็นต้นอย่างเดียว เราจักพรรณนานิวรณ์เหล่านั้นทั้งหมดในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้นแหละ. ภิกษุนั้นละพยาบาทได้อย่างนี้แล้ว รับสิกขาบททั้งหลายมีอาจารบัญญัติเป็นต้นอย่างเต็มใจด้วยเศียรเกล้า สนใจศึกษาอยู่ เหมือนบุรุษหายจากโรคดีแล้ว ย่อมรับประทานรสน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดเป็นต้นอย่างเต็มใจ. เพราะฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 125  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 461

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสการละพยาบาทเหมือนหายโรค.

    บุรุษผู้ถูกขังในเรือนจําในวันนักษัตรนั้น ในวันนักษัตรต่อมาเขาคิดว่า แม้เมื่อก่อนเราถูกจําเพราะโทษที่ประมาท ไม่ได้ชมนักษัตร เพราะเหตุนั้น บัดนี้เราจักไม่ประมาท ดังนี้ เป็นผู้ไม่ประมาทอย่างที่ศัตรูทั้งหลายของเขาไม่ได้โอกาส จึงได้ชมนักษัตรเปล่งอุทานว่า โอนักษัตร ดังนี้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น คิดว่า ชื่อว่าถีนมิทธะนี้ทําความพินาศใหญ่ จึงเจริญ ธรรม ๖ ประการ ย่อมละถีนมิทธนิวรณ์ได้ เธอละถีนมิทธะได้อย่างนี้แล้ว ได้ชมเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดแห่งนักษัตรคือธรรม บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เหมือนอย่างบุรุษที่พ้นจากการจองจํา ได้ชมเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดแห่งนักษัตรทั้ง ๗ วัน. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสการละถีนมิทธะได้ว่าเหมือนพ้นจากจองจํา.

    เหมือนอย่างว่า ทาสเข้าไปอาศัยมิตรบางคน ให้ทรัพย์แก่นายทั้งหลายแล้วทําตนให้เป็นไท ตั้งแต่นั้นตนปรารถนาสิ่งใด ก็ทําสิ่งนั้นฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่า ชื่อว่าอุทธัจจกุกกุจจะนี้ทําความพินาศใหญ่ จึงเจริญธรรม ๖ ประการ ย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้. เธอละอุทธัจจกุกกุจจะได้อย่างนี้แล้ว ย่อมดําเนินสู่เนกขัมมปฎิปทาได้ตามสบาย. อุทธัจจกุกกุจจะไม่สามารถให้เธอกลับจากเนกขัมมปฏิปทานั้นได้โดยพลการ. เหมือนอย่างบุรุษผู้เป็นไท ปรารถนาสิ่งใด ก็ทําสิ่งนั้น ไม่บ่รารถนาสิ่งใด ก็ไม่ทําสิ่งนั้น. ไม่มีใครๆ จะให้เขากลับจากความเป็นไทนั้นโดยพลการได้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสการละอุทธัจจกุกกุจจะว่าเหมือนความเป็นไท.

 
  ข้อความที่ 126  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 462

    เหมือนอย่างบุรุษมีกําลัง ถือเอาทรัพย์ที่มีสาระติดมือ เตรียมอาวุธพร้อมด้วยบริวารเดินทางกันดาร พวกโจรเห็นเขาแต่ไกล พึงหนีไป.เขาข้ามพ้นทางกันดารนั้นโดยสวัสดี ถึงแดนเกษม มีความร่าเริงยินดีฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่า ชื่อว่าวิจิกิจฉานี้ทําความพินาศ จึงเจริญธรรม ๖ ประการ ย่อมละวิจิกิจฉาได้ เธอละวิจิกิจฉาได้อย่างนี้แล้ว ข้ามกันดารแห่งทุจริตได้ บรรลุพระอมตมหานิพพานอันเป็นภูมิที่เกษมสําราญอย่างยิ่ง เหมือนบุรุษผู้มีกําลัง เตรียมอาวุธพร้อมด้วยบริวารปลอดภัย ไม่สนใจพวกโจรเหมือนหญ้า ออกไปถึงภูมิอันเป็นที่ปลอดภัยโดยความสวัสดี. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสการละวิจิกิจฉาไว้เหมือนภูมิอันเป็นแดนเกษม.

    บทว่า ปาโมชฺชํ ชายติ ความว่า เกิดอาการยินดี.

    บทว่า ปมุทิตสฺส ปีติ ชายติ ความว่า ปีติเกิดท่วมทั่วสรีระของผู้ที่ยินดี.

    บทว่า ปีติมนสฺส กาโย ปสฺสมฺภติ ความว่า นามกายของบุคคลผู้มีจิตสัมปยุตด้วยปีติ ย่อมสงบ คือปราศจากความกระวนกระวาย.

    บทว่า สุขํ เวเทติ ความว่า ย่อมเสวยสุขทั้งทางกายทางใจ

    บทว่า จิตฺตํ สมาธิยติ ความว่า จิตของผู้ที่มีสุขด้วยเนกขัมมสุขนี้ ย่อมตั้งมั่นด้วยอํานาจอุปจารฌานก็มี ด้วยอํานาจอัปปนาฌานก็มี.

    ก็คําว่า โส วิวิจฺเจว กาเมหิ ฯ เปฯ ปมชฺฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ดังนี้เป็นต้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อแสดงคุณวิเศษเบื้องสูงในเมื่อจิตตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิ และเพื่อแสดงประเภทของ

 
  ข้อความที่ 127  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 463

สมาธินั้น ในเมื่อจิตตั้งมั่นด้วยอัปปนาสมาธิ.

    บทว่า อิมเมว กายํ ได้แก่กรชกายนี้.

    บทว่า อภิสนฺเทติ ได้แก่เอิบอาบ ไหลไป คือทําปีติสุขที่เป็นไปในที่ทั้งปวง.

    บทว่า ปริสนฺเทติ ได้แก่ซ่านไปโดยรอบ.

    บทว่า ปริปูเรติ ได้แก่เต็มเหมือนสูบด้วยลม.

    บทว่า ปริปฺผรติ ได้แก่แผ่ไปโดยรอบ.

    บทว่า สพฺพาวโต กายสฺส ความว่า กายของภิกษุ (ผู้ได้ฌาน) นั้นทุกส่วน ไม่มีฐานะที่ตรงไหนเลยในกายที่มีใจครองและยังมีสันตติเป็นไปอยู่แม้สักน้อยหนึ่ง ตามผิวเนื้อและโลหิต ที่ความสุขในปฐมฌานจะไม่ถูกต้อง.

    บทว่า ทกฺโข ได้แก่ผู้ฉลาด สามารถเพื่อจะทํา เพื่อจะประกอบ เพื่อจะอาบไล้ซึ่งผงสําหรับอาบน้ำ.

    บทว่า กํสถาเล ได้แก่ในภาชนะที่ทําด้วยโลหะอย่างใดอย่างหนึ่ง.ภาชนะดินเป็นของไม่ทน เมื่อใช้อาบย่อมแตก ฉะนั้น จึงไม่ทรงยกภาชนะดินขึ้นแสดง.

    บทว่า ปริปฺโผสกปริโผสกํ ได้แก่รดแล้วรดเล่า.

    บทว่า สนฺเนยฺยํ ได้แก่ถือภาชนะสัมฤทธิ์ด้วยมื้อซ้าย วักน้ำพอประมาณด้วยมือขวา ลูบตัวอยู่ ทําการวักทีละฟายมือ.

    บทว่า เสฺนหานุคตา ได้แก่ความเอิบอาบของน้ำแผ่ซ่านไป.

    บทว่า เสฺนหปเรตา ได้แก่เอิบอาบด้วยความซาบซ่านของน้ำ

 
  ข้อความที่ 128  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 464

    บทว่า สนฺตรพาหิรา ได้แก่ความเอิบอาบของน้ำถูกต้อง พร้อมทั้งภายในและภายนอกทุกส่วน.

    บทว่า น จ ปคฺฆรติ ความว่า มิใช่น้ำจะหยดออกทีละหยาดๆ น้ำนั้นอาจวักด้วยมือก็ได้ ด้วยองคุลี ๒ - ๓ องคุลีก็ได้ แม้ด้วยชายพกก็ทําได้.

    อุปมาความสุขในทุติยฌาน มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    บทว่า อุพฺภิโตทโก ความว่า น้ำกระจาย. อธิบายว่า ไม่ใช่น้ำที่แตกข้างล่างแล้วพลุ่งขึ้น แต่เป็นน้ำที่เกิดขึ้นในภายในนั่นเอง.

    บทว่า อายมุขํ ได้แก่ทางเป็นที่มา.

    บทว่า เทโว ได้แก่เมฆ.

    บทว่า กาเลน กาลํ แปลว่า ทุกๆ เวลาอธิบายว่า ทุกกึ่งเดือนหรือทุก ๑๐ วัน.

    บทว่า ธารํ แปลว่าสายฝน.

    บทว่า อนุปฺปเวจฺเฉยฺย ความว่า ฝนไม่หลั่ง คือไม่ตก.

    บทว่า สีตา วาริธารา อุพฺภิชฺชิตฺวา ความว่า น้ำเย็นทําห้วงน้ำให้เต็มเกิดขึ้น.

    จริงอยู่ น้ำที่พลุ่งขึ้นข้างล่าง ครั้นพลุ่งขึ้นแล้วย่อมทำน้ำที่แตกให้กระเพื่อม. น้ำที่ไหลมาแต่ทิศทั้ง ๔ ย่อมทําน้ำให้กระเพื่อมด้วยใบไม้เก่า หญ้าไม้และท่อนไม้เป็นต้น. น้ำฝนย่อมทำน้ำให้กระเพื่อมด้วยสายน้ำที่ตกลงมาและฟองน้ำ. น้ำที่เกิดขึ้น จมอยู่อย่างนั้นแหละเหมือนเนรมิตด้วยฤทธิ์

 
  ข้อความที่ 129  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 465

แผ่ไปสู่ประเทศนี้ จะว่าไม่แผ่ไปสู่ประเทศนี้ไม่มี. ชื่อว่าโอกาสที่น้ำนั้นไม่ถูกต้องไม่มี ดังนี้แล.

    ในเรื่องนี้นั้น กรชกายเหมือนห้วงน้ำ. สุขในทุติยฌานเหมือนน้ำ.คําที่เหลือพึงทราบตามนัยมีในก่อนนั้นแหละ.

    อุปมาความสุขในตติยฌาน มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    ชื่อว่า อุปฺปลินี ด้วยอรรถว่า เป็นที่มีดอกอุบล แม้ในสองบทที่เหลือก็นัยนี้แหละ. ก็ในเรื่องอุปมานี้ บรรดาอุบลขาวอุบลแดงและอุบลขาบ อุบลอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอุบลนั่นเองดอกบัวที่มีกลีบหย่อนร้อยชื่อบุณฑริก ที่มีกลีบถึงร้อยชื่อปทุม อีกอย่างหนึ่ง เว้นบัวที่กําหนดกลีบเสีย บัวขาวชื่อปทุม บัวแดงชื่อบุณฑริก ในเรื่องบัวนี้มีวินิจฉัยเท่านี้แล.

    บทว่า อุทกานุคฺคตานิ ได้แก่ยังไม่ขึ้นพ้นน้ำ.

    บทว่า อนฺโตนิมุคฺคโปสินี ความว่า จมอยู่ในพื้นน้ำนั่นเอง อันน้ำเลี้ยงไว้ ยังงอกงามได้ คําที่เหลือพึงทราบตามนัยมีในก่อนนั้นแหละ.

    อุปมาความสุขในจตุตถฌาน มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    ในบทว่า ปริสุทฺเธน เจตสา ปริโยทาเตน นี้ พึงทราบว่า ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะอรรถว่า ไม่มีอุปกิเลส ชื่อว่า ผ่องแผ้ว เพราะอรรถว่า ผ่องใส.

    บทว่า โอทาเตน วตฺเถน นี้ ตรัสหมายความถึงฤดูแผ่ไป.จริงอยู่ ความแผ่ไปของฤดูย่อมไม่มีด้วยผ้าเก่า. ความแผ่ไปของฤดูย่อมมีกําลังด้วยผ้าสะอาดที่ซักในขณะนั้น. ก็ด้วยอุปมานี้ กรชกายเหมือนผ้า ความสุขในจตุตถฌานเหมือนความแผ่ไปของฤดู. เพราะฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 130  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 466

เมื่อบุรุษอาบน้ำดีแล้ว เอาผ้าสะอาดคลุมตลอดศีรษะ ไออุ่นแต่ศีรษะย่อมแผ่ไปทั่วผ้าทั้งผืนทีเดียว ไม่มีส่วนไรๆ ของผ้าที่ไออุ่นจะไม่ถูกต้องฉันใด กรชกายของภิกษุก็ฉันนั้น ไม่มีส่วนไรๆ ที่ความสุขในจตุตถฌานจะไม่ถูกต้อง ในข้อนี้พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

    ก็การพรรณนาตามลําดับบทและนัยแห่งภาวนาของฌาน ๔ เหล่านี้ กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค ฉะนั้น จะไม่กล่าวให้พิสดารในที่นี้.

    ก็ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้ได้รูปฌานเท่านั้น ยังหาได้อรูปฌานไม่. ด้วยว่า เว้นความเป็นผู้ชํานาญในสมาบัติทั้ง ๘ โดยอาการ ๑๔ เสียแล้ว การบรรลุอภิญญาชั้นสูงจะมีไม่ได้ แต่ในพระบาลีมาเฉพาะรูปฌานเท่านั้น จึงควรนําอรูปฌานมากล่าวด้วย.

    ภิกษุนั้น ในคําว่า โส เอวํ สมาหิเต จิตฺเต ฯเปฯ อาเนฺชปฺปตฺเต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสคงว่า ได้แก่ภิกษุผู้มีความชํานาญในสมาบัติ ๘ โดยอาการ ๑๔ อันเธอได้สั่งสมแล้ว. คําที่เหลือในพระบาลีนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแล.

    ในพระบาลีว่า าณทสฺสนาย จิตฺตํ อภินีหรติ นี้ คําว่า ญาณทัสสนะ ท่านกล่าวหมายถึงมรรคญาณก็ได้ ผลญาณก็ได้ สัพพัญุตญาณก็ได้ ปัจจเวกขณญาณก็ได้ วิปัสสนาญาณก็ได้.

    ก็มรรคญาณ ท่านเรียกว่า ญาณทัสสนะ ในพระบาลีนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อความบริสุทธิ์แห่งญาณทัสสนะหรือหนอแล.

    ผลญาณ ท่านเรียกว่า ญาณทัสสนะ ในพระบาลีนี้ว่า อุตตริ-

 
  ข้อความที่ 131  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 467

มนุสสธรรมอื่นนี้ คือญาณทัสสนะวิเศษที่ควรแก่พระอริยะ เป็นผาสุวิหารซึ่งเราบรรลุแล้ว.

    สัพพัญุตญาณ ท่านเรียกว่า ญาณทัสสนะ ในพระบาลีนี้ว่าญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแม้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าแลว่า อาฬารดาบสกาลามโคตร ทํากาละได้ ๗ วัน.

    ปัจจเวกขณญาณ ท่านเรียกว่า ญาณทัสสนะ ในพระบาลีนี้ว่าก็ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เรา วิมุติของเราไม่กําเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย.

    แต่คําว่า าณทสฺสนาย จิตฺตํ ในที่นี้ท่านกล่าวหมายถึงญาณทัสสนะที่เป็นตัววิปัสสนาญาณ.

    บทว่า อภินีหรติ ความว่า ทําให้น้อมไป ให้โอนไป ให้เงื้อมไป เพื่อเกิดวิปัสสนาญาณ.

    เนื้อความของบทว่า รูปี เป็นต้น ได้กล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.

    บทว่า โอทนกุมฺมาสุปจโย ความว่า เติบโตขึ้น เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมกุมมาส.

    บทว่า อนิจฺจุจฺฉาทนปริมทฺทนเภทนวิทธํสนธมฺโม ความว่า มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา เพราะอรรถว่า มีแล้วหามีไม่ มีอันต้องขัดสีเป็นธรรมดา เพราะต้องลูบไล้ตัวเพื่อต้องการกําจัดกลิ่นเหม็น มีอันต้องนวดฟั้นเป็นธรรมดา เพราะต้องนวดเล็กน้อยเพื่อบรรเทาความปวดเมื่อยของอวัยวะน้อยใหญ่ หรือมีอันต้องนวดฟั้นเป็นธรรมดา เพราะในเวลาเป็นเด็กเขาให้นอนบนขาทั้ง ๒ แล้วหยอดยาตาและบีบนวดเป็นต้น เพื่อให้อวัยวะ

 
  ข้อความที่ 132  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 468

ที่คดมีทรวดทรงไม่ดีนั้นๆ เพราะอยู่ในครรภ์ ให้ได้ทรวดทรง แม้บริหารอย่างนี้ ก็ยังแตกกระจัดกระจายเป็นธรรมดา ย่อมแตกไป ย่อมกระจายไป ร่างกายมีสภาพอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

    ในบทว่า รูปี จาตุมฺมหาภูติโก เป็นต้นนั้น ท่านกล่าวความเกิดขึ้นด้วยบท ๖ บท กล่าวความดับไปด้วยบท ๒ หลังพร้อมด้วยอนิจจบท.

    บทว่า เอตฺถ นิสฺสิตํ เอตฺถ ปฏิพทฺธํ ความว่า อาศัยด้วย ติดเนื่องด้วย ในกายอันประกอบด้วยมหาภูต ๔ นี้.

    บทว่า สุโภ แปลว่า งาม.

    บทว่า ชาติมา ได้แก่ตั้งขึ้นด้วยอาการอันบริสุทธิ์.

    บทว่า สุปริกมฺมกโต ได้แก่นายช่างเจียระไนอย่างดี เอาหินและกรวดออกหมด.

    บทว่า อจฺโฉ แปลว่า ผิวบาง.

    บทว่า วิปฺปสนฺโน แปลว่า ใสดี.

    บทว่า สพฺพาการสมฺปนฺโน ความว่า ถึงพร้อมด้วยอาการทุกอย่างมีการล้างเป็นต้น.

    ด้วยบทว่า นีลํ เป็นต้น ท่านแสดงความเพียบพร้อมด้วยสี.

    จริงอยู่ ด้ายที่ร้อยแล้วย่อมปรากฏอยู่เช่นนั้น.

    ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงทราบการเทียบเคียงด้วยอุปมา ดังนี้.

    ก็กรชกายเหมือนแก้วมณี วิปัสสนาญาณเหมือนด้ายที่ร้อยไว้ ภิกษุผู้ได้วิปัสสนาเหมือนบุรุษตาดี เวลาที่กายอันประกอบด้วยมหาภูต ๔ ปรากฏ

 
  ข้อความที่ 133  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 469

แจ้งแก่ภิกษุผู้นั่งพิจารณาวิปัสสนาญาณ เหมือนเวลาที่แก้วมณีปรากฏแจ้งแก่นายช่างผู้เอาแก้วมณีไว้ในมือพิจารณาอยู่ว่า นี้แลแก้วมณีเวลาที่หมวด ๕ แห่งผัสสะซึ่งมีวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ก็ดี จิตและเจตสิกทั้งปวงก็ดี วิปัสสนาญาณนั่นเองก็ดี ปรากฏแจ้งแก่ภิกษุผู้นั่งพิจารณาวิปัสสนาญาณเหมือนเวลาที่ด้ายปรากฏแจ้งว่า นี้ด้ายเขาร้อยไว้ในแก้วมณีนั้น.

    วิปัสสนาญาณนี้ อยู่ในลําดับแห่งมรรคญาณ แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะวิปัสสนาญาณนี้ไม่มีอันตรายวาระในเมื่อเริ่มอภิญญาวาระแล้ว ฉะนั้นท่านจึงแสดงในที่นี้ทีเดียว.

    อนึ่ง เพราะเมื่อภิกษุไม่ทําการพิจารณาโดยอนิจจลักษณะเป็นต้น ได้ยินเสียงที่น่ากลัวด้วยทิพโสต ระลึกถึงขันธ์ที่น่ากลัวด้วยบุพเพนิวาสานุสสติ ได้เห็นรูปที่น่ากลัวด้วยทิพยจักษุ ความกลัวและความสะดุ้งย่อมเกิดขึ้น อาการที่น่ากลัวดังกล่าวนี้ ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ทําการพิจารณาโดยอนิจจลักษณะเป็นต้น ฉะนั้น ท่านจึงแสดงวิปัสสนาญาณนี้ในที่นี้ทีเดียว แม้เพื่อแสดงเหตุที่บรรเทาความกลัวของภิกษุผู้บรรลุอภิญญาให้พร้อมมูล.

    อีกอย่างหนึ่ง เพราะขึ้นชื่อว่าความสุขในวิปัสสนานี้ เป็นเครื่องยังสุขในมรรคผลให้พร้อมมูล เป็นของเฉพาะตัว เป็นสามัญญผล ฉะนั้น ท่านจึงแสดงวิปัสสนาญาณนี้ในที่นี้แต่ต้นทีเดียว.

    บทว่า มโนมยํ แปลว่า บังเกิดด้วยใจ.

    บทว่า สพฺพงฺคปจฺจงฺคํ แปลว่า ประกอบด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วน.

 
  ข้อความที่ 134  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 470

    บทว่า อหีนินฺทฺริยํ ได้แก่มีอินทรีย์ไม่บกพร่องโดยทรวดทรง

    จริงอยู่ รูปที่ผู้มีฤทธิ์นิรมิต ถ้าผู้มีฤทธิ์ขาว แม้รูปที่นิรมิตนั้นก็ขาว ถ้าผู้มีฤทธิ์ไม่ได้เจาะหู แม้รูปที่นิรมิตนั้นก็มิได้เจาะหู รูปนิรมิตย่อมเป็นเหมือนผู้นิรมิตนั้นทุกประการทีเดียวอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

    จริงอยู่ แม้อุปมา ๓ อย่าง มีชักไส้ออกจากหญ้าปล้องเป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อแสดงความเหมือนกันนั่นเอง. ก็ไส้ภายในหญ้าปล้องนั้นก็เท่ากับหญ้าปล้องนั่นเอง ดาบก็เท่ากับฝักนั่นเอง. ที่ฝักเป็นเกลียวดาบก็เป็นเกลียวด้วย คนจึงใส่เข้าไปได้ ที่ฝักแบน ดาบก็แบน

    คําว่า กรณฺฑา แม้นี้ เป็นชื่อของคราบงู ไม่ใช่เป็นชื่อของขวดที่เป็นเกลียว.

    จริงอยู่ คราบงูย่อมเท่ากับตัวงูนั่นเอง.

    ในอุปมานั้น ท่านแสดงว่าเหมือนชักงูจากคราบด้วยมือว่า บุรุษพึงชักงูออกจากคราบ ดังนี้ ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็พึงทราบว่า ชักรูปนิรมิตนั้นออกด้วยจิตนั้นเอง.

    ก็ชื่อว่างูนี้ดํารงอยู่ในชาติของตน อาศัยระหว่างไม้หรือระหว่างต้นไม้ ลอกคราบเก่าซึ่งเหมือนรัดลําตัวอยู่ ด้วยเรี่ยวแรงกล่าวคือพยายามดึงลําตัวออกจากคราบ งูย่อมลอกคราบได้เองด้วยเหตุ ๔ ประการเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้ ไม่อาจลอกคราบได้ด้วยเหตุอื่นจาก ๔ อย่างนั้น เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า คํานี้ท่านกล่าวหมายเอาการลอกด้วยจิต.

    ด้วยประการฉะนี้ สรีระของภิกษุนี้ก็เช่นเดียวกับหญ้าปล้องเป็นต้น รูปนิรมิตก็เช่นเดียวกับไส้หญ้าปล้องเป็นต้น นี้เป็นการเทียบเคียงด้วย

 
  ข้อความที่ 135  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 471

อุปมาในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้.

    ก็วิธีนิรมิตในเรื่องนี้และกถาว่าด้วยอภิญญา ๕ มีอิทธิวิธีเป็นต้น แต่ที่อื่นกล่าวไว้พิสดารในวิสุทธิมรรคโดยอาการทั้งปวง ฉะนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในที่นั้นเถิด. ด้วยว่า เพียงอุปมาเท่านั้นก็เกินไปในที่นี้.

    ในพระบาลีนั้น ภิกษุผู้ได้อิทธิวิธญาณ พึงเห็นเหมือนช่างหม้อผู้ฉลาดเป็นต้น. อิทธิวิธญาณ พึงเห็นเหมือนดินเหนียวที่นวดไว้อย่างดี.การแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ ของภิกษุนั้น พึงเห็นเหมือนการทําภาชนะชนิดต่างๆ ที่ปรารถนาแล้วๆ .

    อุปมาทิพโสตธาตุ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    เพราะทางไกลที่กันดาร ย่อมเป็นที่รังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ผู้ที่ไม่ไว้ใจระแวงในทางนั้น ไม่อาจกําหนดได้ว่า นี้เสียงกลอง นี้เสียงตะโพน ฉะนั้น เมื่อจะแสดงทางที่ปลอดภัย จึงกล่าวว่าผู้เดินทางไกล โดยไม่ใช้ศัพท์ว่ากันดาร.

    ก็ทางที่ปลอดภัย คนเอาผ้าคลุมศีรษะค่อยๆ เดินไป ย่อมกําหนดเสียงต่างๆ ดังกล่าวแล้วได้สบาย พึงทราบว่า เวลาที่เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งไกลและใกล้ปรากฏแก่พระโยคี เหมือนเวลาที่เสียงนั้นๆ ปรากฏด้วยอํานาจการกําหนดเสียงได้อย่างสบายนั้น.

    อุปมาเจโตปริยญาณ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    บทว่า ทหโร แปลว่า หนุ่ม.

    บทว่า ยุวา ได้แก่ประกอบด้วยความเป็นหนุ่ม.

    บทว่า มณฺฑนชาติโก ความว่า แม้เป็นคนหนุ่มก็ไม่เกียจคร้าน

 
  ข้อความที่ 136  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 472

ไม่ใช่คนมีผ้าและร่างกายมอมแมม มีปรกติตกแต่งจริงๆ อาบน้ำวันละ๒ - ๓ ครั้ง มีปรกตินุ่งห่มผ้าสะอาดและตกแต่งอยู่เสมอ.

    บทว่า สกณิกํ ความว่า มีตําหนิอย่างใดอย่างหนึ่งมีไฝดําหน้าเป็นแผลและฝีร้ายเป็นต้น.

    ในพระบาลีนั้น พึงทราบว่า จิต ๑๖ อย่างของผู้อื่น ย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้นั่งโน้มจิตไปด้วยเจโตปริยญาณ เหมือนตําหนิในหน้าย่อมปรากฏแก่หนุ่มสาวที่พิจารณาเงาหน้าฉะนั้น.

    อุปมาบุพเพนิวาสญาณ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    กิริยาที่ทําในวันนั้น ย่อมปรากฏ ฉะนั้น ๓ บ้านที่ไปในวันนั้นนั่นเทียว เป็นอันกําหนดแล้ว.

    ในพระบาลีนั้น ภิกษุผู้ได้บุพเพนิวาสญาณ พึงเห็นเหมือนบุรุษผู้ไป ๓ บ้าน ภพ ๓ พึงเห็นเหมือนบ้าน ๓ ตําบล ภาวะแห่งกิริยาที่ทําในภพ ๓ ปรากฏแก่ภิกษุผู้นั่งโน้มจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสญาณ พึงเห็นเหมือนความแจ่มแจ้งแห่งกิริยาที่ทําในวันนั้นในบ้านทั้ง ๓ ตําบลของบุรุษนั้น.

    อุปมาทิพยจักษุ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    บทว่า วีถิํ สฺจรนฺเต ได้แก่เทียวไปเทียวมา ปาฐะว่า วีถิํ จรนฺเต ก็มี. ความอย่างเดียวกันนี้แหละ.

    ในพระบาลีนั้น กรชกายของภิกษุนี้ พึงเห็นเหมือนปราสาทในทาง ๓ แพร่งท่ามกลางนคร ภิกษุผู้บรรลุทิพยจักษุนี้แหละ พึงเห็นเหมือนคนตาดียืนอยู่บนปราสาท สัตว์ที่เข้าไปในครรภ์มารดาด้วยอํานาจจุติและปฏิสนธิ พึงเห็นเหมือนคนที่เข้าเรือน สัตว์ที่คลอดจากครรภ์มารดาพึงเห็นเหมือนคนที่ออกจากเรือน สัตว์ที่สัญจรไปๆ มาๆ พึงเห็นเหมือน

 
  ข้อความที่ 137  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 473

คนที่สัญจรไปตามถนนต่างๆ สัตว์ที่บังเกิดในที่นั้นๆ ในภพทั้ง ๓ พึงเห็นเหมือนคนที่นั่งอยู่ที่ทาง ๓ แพร่งในท่ามกลางซึ่งเป็นที่โล่งแจ้งข้างหน้าเวลาที่เหล่าสัตว์ผู้บังเกิดในภพทั้ง ๓ ปรากฏแจ้งชัดแก่ภิกษุผู้นั่งโน้มจิตไปเพื่อทิพยจักษุญาณ พึงเห็นเหมือนเวลาที่มนุษย์เหล่านั้นปรากฏแจ้งชัดแก่บุรุษผู้ยืนอยู่บนพื้นปราสาท. ก็การเทียบเคียงนี้ ท่านกล่าวไว้เพื่อเทศนาสะดวกเท่านั้น. แต่ในอรูปฌานไม่มีอารมณ์ของทิพยจักษุ. ในพระบาลีว่า ภิกษุนั้น เมื่อจิตตั้งมั่นอย่างนี้ นี้ พึงทราบว่า จิตในจตุตถฌานซึ่งเป็นบาทแห่งวิปัสสนา.

    บทว่า อาสวานํ ขยาณาย ความว่า เพื่อให้เกิดอาสวักขยญาณ.ก็ชื่อว่าอาสวักขยะในที่นี้ท่านเรียกว่า มรรคบ้าง ผลบ้าง นิพพานบ้าง ภังคะบ้าง.

    จริงอยู่ มรรค ท่านเรียกว่า อาสวักขยะ ในบาลีนี้ว่า ขเย าณํ อนุปฺปาเท าณํ ญาณในมรรค ญาณในความไม่เกิดขึ้น.

    ผล ท่านเรียกว่า อาสวักขยะ ในบาลีนี้ว่า อาสวานํ ขยา สมโณโหติ ย่อมเป็นสมณะเพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป.

    นิพพาน ท่านเรียกว่า อาสวักขยะ ในคาถานี้ว่า

    ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส นิจฺจํ อุชฺฌานสฺิโน อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ อารา โส อาสวกฺขยา

    คนที่คอยจ้องโทษผู้อื่น มุ่งแต่จะยกโทษอยู่เป็นนิจ อาสวะของเขาย่อมเจริญ เขาย่อมไกลจากนิพพาน.

    ภังคะ ท่านเรียกว่า อาสวักขยะ ในบาลีนี้ว่า อาสวานํ ขโย วโย เภโท อนิจฺจตา อนฺตรธานํ อาสวะทั้งหลายสิ้นไป เสื่อมไป แตกไป ไม่เที่ยง สูญหาย.

 
  ข้อความที่ 138  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 474

    แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอานิพพาน แม้อรหัตตมรรคก็ใช้ได้เหมือนกัน

    บทว่า จิตฺตํ อภินีหรติ ความว่า ทําวิปัสสนาจิตให้น้อมไป ให้โน้มไป ให้เงื้อมไปสู่อาสวักขยญาณนั้น.

    ในคําว่า โส อิทํ ทุกฺขํ เป็นต้น ความว่า รู้ชัดซึ่งทุกขสัจแม้ทั้งหมดตามความเป็นจริง โดยแทงตลอดลักษณะพร้อมทั้งกิจว่า ทุกข์มีประมาณเท่านี้ ยิ่งไปกว่านี้ไม่มี และรู้ชัดซึ่งตัณหาอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์นั้นว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ และรู้ชัดซึ่งฐานะที่ทุกข์และทุกขสมุทัยทั้ง ๒ นั้นถึงแล้วดับไป คือความไม่เป็นไป ความดับแห่งทุกข์และทุกขสมุทัยเหล่านั้นว่า นี้ความดับแห่งทุกข์ และรู้ชัดซึ่งอริยมรรคอันยังทุกขนิโรธนั้นให้ถึงพร้อมตามความเป็นจริง โดยแทงตลอดลักษณะพร้อมทั้งกิจว่านี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์.

    ครั้นทรงแสดงสัจจะโดยสรุปอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงย้ำอีก บรรยายหนึ่งโดยเป็นกิเลส จึงตรัสคําเป็นต้นว่า อิเน อาสวา ดังนี้.

    บทว่า ตสฺส เอวํ ชานโต เอวํ ปสฺสโต ความว่า เมื่อภิกษุนั้นรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จึงตรัสมรรคถึงที่สุดพร้อมด้วยวิปัสสนา.

    บทว่า กามาสวา แปลว่า จากอาสวะคือกาม.

    ด้วยบทว่า วิมุจฺจติ นี้ ทรงแสดงมรรคขณะ.

    ด้วยบทว่า วิมุตฺตสฺมิํ นี้ ทรงแสดงผลขณะ.

    ด้วยบทว่า วิมุตฺตมิติ าณํ โหติ นี้ ทรงแสดงปัจจเวกขณญาณ.

    ด้วยบทว่า ขีณา ชาติเป็นต้น ทรงแสดงภูมิของปัจจเวกขณญาณนั้น.

 
  ข้อความที่ 139  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 475

    ด้วยว่า พระขีณาสพเมื่อพิจารณาด้วยญาณนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว เป็นต้น.

    ถามว่า ก็ชาติไหนของภิกษุนั้นสิ้นแล้ว และภิกษุนั้นจะรู้ชัดข้อนั้นได้อย่างไร.

    แก้ว่า ชาติที่เป็นอดีตของภิกษุนั้นยังไม่สิ้นก่อน เพราะสิ้นไปแล้วในกาลก่อนเทียว. ชาติที่เป็นอนาคตก็ยังไม่สิ้น เพราะไม่มีความพยายามในอนาคต. ชาติที่เป็นปัจจุบันยังไม่สิ้น เพราะขันธบัญจกของภิกษุนั้นยังมีอยู่. แต่ชาติใดพึงเกิดขึ้นเพราะมรรคยังมิได้อบรม ต่างโดยประเภทคือขันธบัญจก ๑ และ ๔ และ ๕ ในเอกโวการภพจตุโวการภพและปัญจโวการภพ ชาตินั้นชื่อว่าสิ้นแล้ว เพราะถึงความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะมรรคอบรมแล้ว. ภิกษุนั้นพิจารณากิเลสที่ตนละได้ด้วยมรรคภาวนา เมื่อรู้ว่า กรรมแม้ยังมีอยู่ ก็ไม่ทําปฏิสนธิต่อไป เพราะไม่มีกิเลส ดังนี้ ชื่อว่าย่อมรู้ชัดซึ่งชาตินั้น.

    บทว่า วุสิตํ แปลว่า อยู่แล้ว อยู่จบแล้ว.

    บทว่า พฺรหฺมจริยํ ได้แก่มรรคพรหมจรรย์.

    พระเสขะ ๗ จําพวก รวมทั้งกัลยาณปุถุชนทั้งหลาย ชื่อว่ากําลังอยู่พรหมจรรย์. พระขีณาสพชื่อว่าอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว. เพราะฉะนั้น พระขีณาสพนั้นเมื่อพิจารณาถึงการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ของตน ย่อมรู้ชัดว่า พรหมจรรย์เราอยู่จบแล้ว.

    บทว่า กตํ กรณียํ ความว่า กิจ ๑๖ อย่าง คือ ปริญญากิจ ปหานกิจ สัจฉิกิริยากิจ และภาวนากิจ ด้วยมรรค ๔ ในสัจจะ ๔ สําเร็จแล้ว อธิบายว่า กิเลสอันมรรคนั้นๆ พึงละ เธอละได้แล้ว เหตุแห่งทุกข์

 
  ข้อความที่ 140  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 476

เธอตัดขาดแล้ว.

    จริงอยู่ กัลยาณปุถุชนเป็นต้น ยังกระทํากิจนั้น พระขีณาสพกระทํากรณียกิจเสร็จแล้ว เพราะฉะนั้น พระขีณาสพนั้นเมื่อพิจารณากรณียกิจที่ตนทําแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า กิจที่ควรทําเราทําเสร็จแล้ว

    บทว่า นาปรํ อิตฺถตฺตาย ความว่า ย่อมรู้ชัดว่า กิจคือมรรคภาวนา เพื่อความเป็นอย่างนี้ คือเพื่อความเป็นกิจ ๑๖ อย่าง หรือเพื่อความสิ้นไปแห่งกิเลสอย่างนี้อีก ในบัดนี้ไม่มีแก่เรา.

    อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อิตฺถตฺตาย ความว่า ย่อมรู้ชัดว่า ขันธสันดานอื่นจากความเป็นอย่างนี้คือ จากขันธสันดานที่กําลังเป็นไปในบัดนี้ นี้คือมีประการอย่างนี้ ไม่มีแก่เรา ก็เบญจขันธ์เหล่านี้เรากําหนดรู้แล้ว ตั้งอยู่เหมือนต้นไม้ขาดราก เบญจขันธ์เหล่านั้นจักดับเหมือนไฟไม่มีเชื้อ และจักถึงความไม่มีบัญญัติเพราะจริมกจิตดับ.

    บทว่า ปพฺพตสงฺเขเป แปลว่า บนยอดภูเขา.

    บทว่า อนาวิโล แปลว่า ไม่มีเปือกตม.

    หอยโข่งและหอยกาบทั้งหลาย ชื่อว่า สิปปิสัมพุกะ ก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วยทั้งหลาย ชื่อว่า สักขรกถละ.

    ชื่อว่า มัจฉคุมพะ ด้วยอรรถว่า ฝูงคือกลุ่มปลาทั้งหลาย.

    ในคําว่า ติฏนฺตํปิ จรนฺตํปิ นี้ ความว่า ก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วยอยู่เฉยๆ ฝ่ายฝูงปลานอกนี้ว่ายอยู่ก็มี หยุดอยู่ก็มี. เหมือนอย่างว่าในโคทั้งหลายที่ยืนอยู่ก็มี จ่อมอยู่ก็มี มีอยู่รวมๆ กัน โคเหล่านี้เที่ยวไปฉะนั้น แม้โคนอกนี้ เขาก็เรียกว่า เที่ยวไป เพราะกําหนดเอาโคที่กําลังเที่ยว ฉันใด แม้หอยและฝูงปลาทั้ง ๒ นอกนี้ ก็เรียกว่า หยุดอยู่

 
  ข้อความที่ 141  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 477

เพราะกําหนดเอาก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วยที่อยู่เฉยๆ แม้ก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วย ก็เรียกว่า เที่ยวไป เพราะกําหนดเอาหอยและฝูงปลาทั้ง ๒ นอกนี้ที่ว่ายอยู่ ฉันนั้น.

    ในอาสวักขยญาณนั้นมีอุปมาว่า เวลาที่สัจจะ ๔ ปรากฏชัดแก่ภิกษุผู้นั่งน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยะ พึงเห็นเหมือนเวลาที่หอยโข่งและหอยกาบ เป็นต้นปรากฏแก่คนตาดียืนดูอยู่ริมฝังฉะนั้น

    ด้วยคําอธิบายเพียงเท่านี้ เป็นอันแสดงไขญาณ ๑๐ คือวิปัสสนาญาณ มโนมยญาณ อิทธิวิธญาณ ทิพโสตญาณ เจโตปริยญาณ บุพเพนิวาสญาณ ญาณคู่คืออนาคตังสญาณและยถากัมมุปคญาณ ซึ่งสําเร็จโดยเป็นทิพยจักษุ ทิพยจักษุญาณ อาสวักขยญาณ. พึงทราบการจําแนกอารมณ์ของญาณ ๑๐ เหล่านั้น ดังต่อไปนี้

    ในญาณ ๑๐ เหล่านั้น วิปัสสนาญาณมีอารมณ์ ๗ อย่าง คือปริตตารมณ์ มหัคคตารมณ์ อตีตารมณ์ อนาคตารมณ์ ปัจจุบันนารมณ์ อัชฌัตตารมณ์ พหิทธารมณ์.

    มโนมยญาณทําเพียงรูปายตนะที่นิรมิตแล้วเท่านั้นให้เป็นอารมณ์ ฉะนั้น จึงเป็นปริตตารมณ์ ปัจจุบันนารมณ์ และพหิทธารมณ์.

    อาสวักขยญาณ เป็นอัปปมาณารมณ์ พหิทธารมณ์ และอวัตตัพพารมณ์.

    ประเภทของอารมณ์ที่เหลือ กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.

    บทว่า อุตฺตริตรํ วา ปณีตตรํ วา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เทศนาจบลงด้วยยอดคือพระอรหัตว่า ชื่อว่าสามัญญผลที่ประเสริฐกว่านี้ โดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่มี.

 
  ข้อความที่ 142  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 478

    พระราชาทรงถวายสาธุการทุกๆ ตอน ทรงสดับเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดแห่งพระพุทธพจน์โดยเคารพ มีพระดําริว่า ก็เราถามปัญหาเหล่านี้กะสมณพราหมณ์เป็นอันมากนานหนอ ไม่ได้สาระอะไรๆ เลยเหมือนตําแกลบ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีคุณสมบัติน่าอัศจรรย์ ทรงวิสัชนาปัญหาเหล่านี้แก่เรา ทําความสว่างไสว เหมือนทรงส่องแสงประทีปพันดวง เราถูกลวงมิให้รู้คุณานุภาพของพระทศพลมาตั้งนาน ดังนี้ มีพระสรีระอันปีติ ๕ อย่างซึ่งเกิดขึ้นด้วยการระลึกถึงพระพุทธคุณสัมผัสแล้ว เมื่อจะทรงเผยความเลื่อมใสของพระองค์ จึงทรงประกาศพระองค์เป็นอุบาสก.เพื่อจะแสดงความข้อนั้น ท่านจึงเริ่มต้นว่า เอวํ วุตฺเต ราชา ดังนี้.

    บรรดาบทเหล่านั้น อภิกฺกนฺต ศัพท์ในคําว่า อภิกฺกนฺตํ ภนฺเต นี้ปรากฏในอรรถว่า สิ้นไป ดี งาม และน่ายินดียิ่ง.

    ก็ อภิกฺกนฺต ศัพท์นี้ ปรากฏในอรรถว่า สิ้นไป ดังในบาลีมีอาทิว่า อภิกฺกนฺตา ภนฺเต รตฺติ นิกฺขนฺโต ปโม ยาโม จิรํ นิสินฺโน ภิกฺขุสงฺโฆ ราตรีสิ้นไปแล้ว พระเจ้าข้า ปฐมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นานแล้ว ดังนี้.

    ในความดี ดังในบาลีมีอาทิว่า อยํ อิเมสํ จตุนฺนํ ปุคฺคลานํ อภิกฺกนฺตตโร จ ปณีตตโร จ ผู้นี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคล ๔ เหล่าดังนี้.

    ในความงาม ดังในคาถามีอาทิว่า

    โก เม วนฺทติ ปาทานิ อิทฺธิยา ยสสา ชลํ อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน สพฺพา โอภาสยํ ทิสา

    ใครรุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ ด้วยยศ มีวรรณะงามนัก ยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว ไหว้เท้าของเรา ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 143  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 479

    ในความว่าน่ายินดียิ่ง ดังในบาลีมีอาทิว่า น่ายินดีนัก ท่านพระโคดมผู้เจริญ ดังนี้.

    แม้ในที่นี้ ก็ปรากฏในอรรถว่า น่ายินดียิ่งนั่นแหละ และเพราะปรากฏว่าในอรรถว่า น่ายินดียิ่ง ฉะนั้น พึงทราบว่า เท่ากับรับสั่งว่า ดีแล้ว ดีแล้ว พระเจ้าข้า ดังนี้.

    ก็เนื้อความว่า อภิกฺกนฺตํ ภนฺเต อภิกฺกนฺตํ ภนฺเต นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระเจ้าอชาตศัตรูตรัส ๒ ครั้งโดยความเลื่อมใสในพระพุทธพจน์นี้ โดยลักษณะนี้ว่า ผู้รู้พึงกล่าวซ้ำในขณะกลัว ขณะโกรธ ขณะสรรเสริญ ขณะรีบด่วน ขณะตื่นเต้น ขณะร่าเริง ขณะโศกเศร้า และขณะเลื่อมใส ดังนี้ และโดยความสรรเสริญ.

    อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อภิกฺกนฺตํ มีอธิบายว่า น่าใคร่นัก น่าปรารถนายิ่ง น่าพอใจยิ่ง ดียิ่ง.

    ในพระบาลีนี้ พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงชื่นชมพระเทศนาด้วย อภิกฺนนฺต ศัพท์ ศัพท์หนึ่ง ทรงชื่นชมความเลื่อมใสของพระองค์ด้วย อภิกฺกนฺต ศัพท์ อีกศัพท์หนึ่ง.

    ก็ในพระบาลีนี้มีอธิบายดังนี้ว่า จับใจจริง พระเจ้าข้า เพราะพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าน่ายินดียิ่งนัก พระเจ้าข้า เพราะข้าพระองค์อาศัยพระธรรมเทศนา จึงเลื่อมใส.

    อีกอย่างหนึ่ง พระเจ้าอชาตศัตรูทรงชื่นชมพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นแล หมายถึงประโยชน์ ๒ อย่าง คือพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าดีนักเพราะทําโทษให้พินาศ ดีนักเพราะให้บรรลุคุณ.

    อนึ่ง พึงประกอบความด้วยเหตุอย่างนี้เป็นต้น ว่า พระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าดีนัก เพราะ

 
  ข้อความที่ 144  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 480

    ๑. ให้เกิดศรัทธา

    ๒. ให้เกิดปัญญา

    ๓. พร้อมด้วยอรรถ

    ๔. พร้อมด้วยพยัญชนะ

    ๕. มีบทง่าย

    ๖. มีอรรถลึกซึ้ง

    ๗. สบายหู

    ๘. จับใจ

    ๙. ไม่ยกตน

    ๑๐. ไม่ข่มท่าน

    ๑๑. เยือกเย็นด้วยกรุณา

    ๑๒. ผ่องแผ้วด้วยปัญญา

    ๑๓. เป็นคลองธรรมน่ารื่นรมย์

    ๑๔. น่าขบคิด

    ๑๕. ฟังได้ง่าย

    ๑๖. ทดลองทําตามได้ประโยชน์

    แม้ยิ่งไปกว่านั้น ยังทรงชื่นชมพระเทศนานั่นแหละ ด้วยอุปมา ๔ อย่าง. ในอุปมา ๔ อย่างนั้น บทว่า นิกฺกุชฺชิตํ ความว่า ตั้งเอาปากลง หรือตั้งปากไว้ข้างล่าง

    บทว่า อุกฺกุชฺเชยฺย ความว่า ทําให้มีปากขึ้นข้างบน

    บทว่า ปฏิจฺฉนฺนํ ความว่า ปิดด้วยหญ้าและใบไม้เป็นต้น

    บทว่า วิวเรยฺย แปลว่า เพิกขึ้น

 
  ข้อความที่ 145  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 481

    บทว่า มูฬฺหสฺส วา แปลว่า แก่คนหลงทิศ

    บทว่า มคฺคํ อาจิกฺเขยฺย ความว่า จูงมือไปบอกว่า นี่ทาง.

    บทว่า อนฺธกาเร ความว่า ในความมึดมีองค์ ๔ คือ วันแรม ๑๔ ค่ํา ๑ เที่ยงคืน ๑ ไพรสณฑ์ทึบ ๑ ก้อนเมฆบัง ๑

    เนื้อความของบทที่ยากมีเพียงเท่านี้.

    ส่วนอธิบายประกอบมีดังนี้ ใครๆ หงายภาชนะที่คว่ําไว้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้ายังเราผู้หันหลังให้พระสัทธรรม ตกลงไปในอสัทธรรม ให้หลุดพ้นจากอสัทธรรมได้ ฉันนั้น ใครๆ เปิดของที่ปิด ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปิดพระศาสนา ซึ่งถูกรกชัฏ คือมิจฉาทิฏฐิปิดไว้ตั้งแต่ครั้งศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะอันตรธานไป ฉันนั้น ใครๆ บอกทางแก่คนหลง ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทําทางสวรรค์ทางนิพพานให้แจ้งแก่เราผู้เดินทางผิด ฉันนั้น ใครๆ ส่องประทีปน้ำมันในที่มืด ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราผู้ทรงไว้ซึ่งประทีปคือเทศนาอันขจัดเสียซึ่งความมืดคือโมหะที่ปิดบังพระรัตนตรัยนั้น ทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย เพราะทรงประกาศโดยปริยายเหล่านี้ แก่เราผู้จมอยู่ในความมืดคือโมหะ ไม่เห็นรูปรัตนะมีพระพุทธรัตนะเป็นต้น ฉันนั้น.

    พระเจ้าอชาตศัตรูทรงชื่นชมพระเทศนาอย่างนี้แล้ว มีพระทัยเลื่อมใสในพระรัตนตรัย ด้วยพระเทศนานี้ เมื่อจะทรงทําอาการที่เลื่อมใสจึงมีพระดํารัสว่า เอสาหํ เป็นต้น

    ในพระบาลีนั้น บทว่า เอสาหํ ตัดบทเป็น เอโส อหํ.

    บทว่า ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ ความว่า ข้าพระองค์ขอถึง คือ คบ ส้องเสพ เข้าไปนั่งใกล้ เข้าใจด้วยความประสงค์นี้ว่า พระผู้มีพระ

 
  ข้อความที่ 146  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 482

ภาคเจ้าเป็นที่พึ่ง เป็นที่ยึดหน่วง เป็นผู้ขจัดไข้ใจ เป็นผู้จัดแจงประโยชน์ของเรา.

    ก็ธาตุเหล่าใดมีเนื้อความว่าไป แม้ความรู้ก็เป็นเนื้อความของธาตุเหล่านั้น เพราะฉะนั้น เนื้อความของบทว่า คจฺฉามิ ข้าพระองค์ขอถึง นี้ ท่านจึงกล่าวอย่างนี้ทีเดียวว่า ชานามิ พุชฺฌามิ ข้าพระองค์รู้เข้าใจ ดังนี้.

    ก็ในคําว่า ธมฺมฺจ ภิกฺขุสงฺฆฺจ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    ชื่อว่า พระธรรม ด้วยอรรถว่าทรงไว้ซึ่งผู้บรรลุมรรคแล้ว ทํานิโรธให้เป็นแจ้งแล้ว และปฏิบัติตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพร่ําสอน มิให้ตกไปในอบายทั้งหลาย. พระธรรมนั้น โดยอรรถก็คืออริยมรรคและนิพพาน. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่าใดที่เป็นสังขตะ อริยมรรคมีองค์ ๘ ตถาคตกล่าวว่าเป็นยอดของธรรมเหล่านั้น ดังนี้. พึงทราบความพิสดาร.

    และมิใช่แต่อริยมรรคและนิพพานอย่างเดียวเท่านั้นที่เป็นพระธรรมแม้ปริยัตติธรรมกับอริยผลทั้งหลาย ก็เป็นพระธรรมโดยแท้แล. สมจริงดังที่กล่าวไว้ในฉัตตมาณวกวิมาน ว่า

    เธอจงเข้าถึงพระธรรมนี้ ซึ่งเป็นเครื่องสํารอกราคะ ไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก เป็นอสังขตธรรม ไม่ปฏิกูล มีรสเอมโอช ซื่อตรง บัณฑิตจําแนกไว้ดีแล้ว ว่าเป็นสรณะที่มีประโยชน์.

    ก็ในคาถานี้ ที่ว่าเป็นเครื่องสํารอกราคะ ท่านกล่าวหมายเอามรรค.ที่ว่าไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก หมายเอาผล. ที่ว่าเป็นอสังขตธรรม หมาย

 
  ข้อความที่ 147  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 483

เอานิพพาน. ที่ว่าไม่ปฏิกูล มีรสเอมโอช ซื่อตรง บัณฑิตจําแนกไว้ดีแล้ว หมายเอาธรรมขันธ์ทั้งหมดที่จําแนกไว้โดยปิฎก ๓.

    ชื่อว่า พระสงฆ์ คือผู้ที่เข้ากันได้โดยการรวมกันด้วยทิฏฐิและศีล พระสงฆ์นั้น โดยอรรถก็คือหมู่แห่งพระอริยบุคคล ๘. สมจริงดังที่กล่าวไว้ในวิมานวัตถุนั้นแหละว่า

    ก็ทานที่บุคคลถวายแล้วในบุญเขตใด ท่านกล่าวว่ามีผลมาก บุญเขตนั้น คือคู่แห่งบุรุษ ๔ ผู้สะอาด และจําแนกรายบุคคลเป็น ๘ ซึ่งเป็นผู้เห็นธรรม เธอจงเข้าถึงพระสงฆ์นี้ว่าเป็นสรณะที่มีประโยชน์.

    หมู่แห่งภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าภิกษุสงฆ์. พระราชาทรงประกาศการถึงสรณะ ๓ ด้วยคําเพียงเท่านี้.

    เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในสรณคมน์เหล่านั้น บัดนี้พึงทราบวิธีนี้ว่าสรณะ สรณคมน์ ผู้ที่เข้าถึงสรณะ ประเภทแห่งสรณคมน์ ผลแห่งสรณคมน์ ความเศร้าหมอง และการแตกทําลาย.

    ข้อนี้เป็นอย่างไร?

    จะขยายความโดยอรรถแห่งบทก่อน.

    ชื่อว่า สรณะ ด้วยอรรถว่า เบียดเบียน อธิบายว่า ฆ่า เบียดเบียนทําให้พินาศ ซึ่งความกลัว ความสะดุ้ง ความทุกข์ ทุคติ ความเศร้าหมองทุกด้าน ด้วยการเข้าถึงสรณะนั้นแหละ. คําว่าสรณะนี้เป็นชื่อของพระรัตนตรัยนั่นเอง.

    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า พุทธะ ด้วยอรรถว่า กําจัดภัยของสัตว์ทั้งหลาย เหตุให้ดําเนินไปในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และให้หันกลับจากสิ่งที่ไม่เป็น

 
  ข้อความที่ 148  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 484

ประโยชน์

    ชื่อว่า ธรรม ด้วยอรรถว่า กําจัดภัยของสัตว์ทั้งหลาย เหตุให้ข้ามกันดารคือภพได้ และให้ความแช่มชื่น.

    ชื่อว่า สงฆ์ ด้วยอรรถว่า กําจัดภัยของสัตว์ทั้งหลาย เหตุทําสิ่งที่ทําแม้น้อยให้ได้ผลไพบูลย์.

    เพราะฉะนั้น พระรัตนตรัยจึงชื่อว่าเป็นสรณะโดยปริยายนี้.

    จิตตุปบาทที่ดําเนินไปโดยอาการมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเบื้องหน้า มีกิเลสอันความเลื่อมใสและความเคารพในพระรัตนตรัยนั้นกําจัดแล้ว ชื่อว่าสรณคมน์

    สัตว์ผู้มีพระรัตนตรัยนั้นพร้อมแล้ว ย่อมถึงสรณะ อธิบายว่า ย่อมเข้าถึงอย่างนี้ว่า รัตนะ ๓ เหล่านั้นเป็นที่พึ่งของเรา เหล่านี้เป็นที่นับถือของเรา ดังนี้ ด้วยจิตตุปบาทมีประการดังกล่าวแล้ว. พึงทราบ ๓ อย่างนี้คือ สรณะ ๑ สรณคมน์ ๑ และผู้เข้าถึงสรณะ ๑ เท่านี้ก่อน.

ก็ในประเภทแห่งสรณคมน์ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    สรณคมน์มี ๒ อย่าง คือ โลกุตตรสรณคมน์และโลกิยสรณคมน์.ใน ๒ อย่างนั้น โลกุตตรสรณคมน์ ว่าโดยอารมณ์มีนิพพานเป็นอารมณ์ ย่อมสําเร็จด้วยตัดขาดอุปกิเลสของสรณคมน์ ในมัคคขณะแห่งพระอริยบุคคลผู้เห็นสัจจะแล้ว ว่าโดยกิจย่อมสําเร็จในพระรัตนตรัยแม้ทั้งสิ้น.โลกิยสรณคมน์ว่าโดยอารมณ์มีพระพุทธคุณเป็นต้นเป็นอารมณ์ ย่อมสําเร็จด้วยการข่มอุปกิเลสของสรณคมน์ของปุถุชนทั้งหลาย. โลกิยสรณคมน์นั้นว่าโดยอรรถได้แก่การได้เฉพาะซึ่งศรัทธาในวัตถุทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า

 
  ข้อความที่ 149  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 485

เป็นต้น และสัมมาทิฏฐิ ซึ่งมีศรัทธาเป็นมูล ที่ท่านเรียกว่า ทิฏุชุกรรมในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ.

    โลกิยสรณคมน์นี้นั้น จําแนกเป็น ๔ อย่าง คือ โดยมอบกายถวายชีวิต ๑ โดยมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเบื้องหน้า ๑ โดยมอบตัวเป็นศิษย์ ๑ โดยความนอบน้อม ๑.

    ใน ๔ อย่างนั้น ที่ชื่อว่ามอบกายถวายชีวิต ได้แก่การสละตนแก่พระพุทธเจ้าเป็นต้นอย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอมอบตนแด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์.

    ที่ชื่อว่ามีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเบื้องหน้า ได้แก่ความเป็นผู้มีพระรัตนตรัยเป็นเบื้องหน้าอย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอท่านทั้งหลายโปรดทรงจําข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีพระพุทธเจ้า มีพระธรรม และมีพระสงฆ์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

    ที่ชื่อว่ามอบตัวเป็นศิษย์ ได้แก่เข้าถึงความเป็นศิษย์อย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอท่านทั้งหลายโปรดทรงจําข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้าเป็นอันเตวาสิกของพระพุทธเจ้า ของพระธรรม ของพระสงฆ์.

    ที่ชื่อว่าความนอบน้อม ได้แก่การเคารพอย่างยิ่งในพระพุทธเจ้าเป็นต้นอย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอท่านทั้งหลายโปรดทรงจําข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้าจะกระทําการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แด่วัตถุทั้ง ๓ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นเท่านั้น.

    ก็เมื่อกระทําอาการ ๔ อย่างนี้แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมเป็นอันถือเอาสรณะแล้วโดยแท้.

    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบการมอบกายถวายชีวิตแม้อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า

 
  ข้อความที่ 150  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 486

สละตนแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า สละตนแด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ ข้าพเจ้าสละชีวิต ข้าพเจ้าสละตนแน่นอน สละชีวิตแน่นอน ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง เป็นที่เร้นภัย เป็นที่ป้องกันภัยของข้าพเจ้า.

    การมอบตนเป็นศิษย์ พึงทราบเหมือนการถึงสรณะของพระมหากัสสปะแม้อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าพึงเห็นพระศาสดาหนอ พึงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเทียว ข้าพเจ้าพึงเห็นพระสุคตหนอ พึงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเทียว ข้าพเจ้าพึงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหนอ พึงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเทียว.

    ความมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเบื้องหน้า พึงทราบเหมือนการถึงสรณะของอาฬวกยักษ์เป็นต้นอย่างนี้ว่า

    ข้าพเจ้านั้นจักเที่ยวไปจากบ้านนั้นสู่บ้านนี้ จากเมืองนั้นสู่เมืองนี้ นมัสการพระสัมพุทธเจ้า และความเป็นธรรมที่ดีของพระธรรม.

    ความนอบน้อม พึงทราบแม้อย่างนี้ว่า ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อพรหมายุ ลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง หมอบลงที่พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยศีรษะ ใช้ปากจุมพิตพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า และใช้มือทั้ง ๒ นวดฟั้น พร้อมกับประกาศชื่อว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ ดังนี้.

    ก็การนอบน้อมนี้นั้น มี ๔ อย่าง คือ เพราะเป็นญาติ ๑ เพราะกลัว ๑ เพราะเป็นอาจารย์ ๑ และเพราะถือว่าเป็นทักขิไณยบุคคล ๑

 
  ข้อความที่ 151  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 487

    ใน ๔ อย่างนั้น เพราะนอบน้อมว่าเป็นทักขิไณยบุคคล จัดเป็นสรณคมน์ นอกนี้ไม่ใช่.

    จริงอยู่ เพราะการนับถือพระรัตนตรัยอย่างประเสริฐนั่นแหละ บุคคลย่อมถือสรณะได้ และขาดได้ เพราะฉะนั้น ผู้ใดที่เป็นศากยะก็ตาม โกลิยะก็ตาม ไหว้ด้วยคิดว่า พระพุทธเจ้าเป็นญาติของเรา ดังนี้ ย่อมไม่เป็นการถือสรณะเลย หรือผู้ใดไหว้ด้วยความกลัวว่า พระสมณโคดมเป็นผู้ที่พระราชาทรงบูชา มีอานุภาพมาก เมื่อเราไม่ไหว้ จะพึงทําแม้ความพินาศให้ดังนี้ ย่อมไม่เป็นการถือสรณะเลย หรือผู้ใดระลึกถึงมนต์อะไรๆ ที่ตนเรียนในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าในกาลเป็นพระโพธิสัตว์ หรือในกาลเป็นพระพุทธเจ้า เรียนอนุศาสนีเห็นปานนี้ว่า

    บัณฑิตอยู่ครองเรือน พึงแบ่งทรัพย์เป็น ๔ ส่วน พึงใช้สอยส่วน ๑ พึงประกอบการงาน ๒ ส่วน พึงเก็บส่วนที่ ๔ ไว้ เผื่อจักมีอันตราย ดังนี้แล้ว

    ไหว้ด้วยคิดว่า อาจารย์ของเรา ดังนี้ ย่อมไม่เป็นการถือสรณะเลย. แต่ผู้ใดไหว้ด้วยคิดว่า ท่านผู้นี้เป็นทักขิไณยบุคคลเลิศในโลก ดังนี้ ผู้นั้นแหละได้ถือสรณะแล้ว.

    ก็เมื่ออุบาสกหรืออุบาสิกาผู้ถือสรณะอย่างนี้แล้ว ถึงไหว้ญาติแม้บวชในอัญญเดียรถีย์ ด้วยคิดว่า ผู้นี้เป็นญาติของเรา ดังนี้ ย่อมไม่ขาดสรณคมน์ ไม่จําเป็นต้องกล่าวถึงผู้ที่ไม่ได้บวช. ผู้ไหว้พระราชาโดยความกลัวก็เหมือนกัน เพราะพระราชานั้น เมื่อใครไม่ไหว้ จะพึงทําแม้ความพินาศให้ก็ได้ เพราะเป็นผู้ที่รัฐบูชาแล้ว ดังนี้. ถึงไหว้แม้เดียรถีย์ผู้สอนศิลปะคนใดคนหนึ่ง ด้วยคิดว่า ผู้นี้เป็นอาจารย์ของเรา ดังนี้ ก็ไม่ขาด

 
  ข้อความที่ 152  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 488

สรณคมน์. พึงทราบประเภทแห่งสรณคมน์ ด้วยประการฉะนี้.

    ก็ในที่นี้ สรณคมน์ที่เป็นโลกุตตระ มีสามัญญผล ๔ เป็นวิบากผล มีความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งปวงเป็นอานิสังสผล. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า

    ส่วนผู้ใดยึดเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ผู้นั้นเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ คือเห็นทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความล่วงพ้นทุกข์ และมรรคซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐ อันเป็นทางถึงความดับทุกข์ สรณะนั้นของผู้นั้นเป็นสรณะอันเกษม เป็นสรณะสูงสุด บุคคลอาศัยสรณะนี้แล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ดังนี้.

    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอานิสังสผลแห่งสรณคมน์นี้ แม้โดยการที่เขาไม่เข้าถึงภาวะมีนิจจสัญญาเป็นต้น. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า ไม่เป็นฐานะ ไม่เป็นโอกาสที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิจะพึงยึดถือสังขารอะไรๆ โดยเป็นของเที่ยง ยึดถือสังขารอะไรๆ ว่าเป็นสุข ยึดถือธรรมอะไรๆ ว่าเป็นตัวตน ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ มีจิตประทุษร้ายพระตถาคตทําให้ห้อพระโลหิต ทําลายสงฆ์ อุทิศศาสดาอื่น นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้.

    ก็สรณคมน์ที่เป็นโลกิยะ มีภวสมบัติบ้าง โภคสมบัติบ้าง เป็นผลแน่นอน. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า

    ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง ชนเหล่านั้นจักไม่ไปอบายภูมิ ละกายมนุษย์แล้ว จักยังเทวกายให้บริบูรณ์ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 153  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 489

    แม้ผลอย่างอื่นของสรณคมน์ที่เป็นโลกิยะ ท่านก็กล่าวไว้ว่า ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดาพร้อมด้วยเทวดา ๘ หมื่น เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะฯลฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวคํานี้กะท้าวสักกะจอมเทวดาผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรแห่งหนึ่งว่า แน่ะจอมเทวดา การถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งดีแล แน่ะจอมเทวดา สัตว์บางจําพวกในโลกนี้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะเหตุที่ถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอย่างนี้ สัตว์เหล่านั้น ย่อมเทียบเท่าเทวดาเหล่าอื่น โดยฐานะ ๑๐ อย่าง คือ อายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะทิพย์ ดังนี้. ในพระธรรมและพระสงฆ์ก็นัยนี้.

    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบผลวิเศษแห่งสรณคมน์ แม้ด้วยอํานาจเวลามสูตรเป็นต้น. พึงทราบผลแห่งสรณคมน์อย่างนี้.

    ในสรณคมน์ทั้งโลกิยะและโลกุตตระเหล่านั้น สรณคมน์ที่เป็นโลกิยะย่อมเศร้าหมองด้วยความไม่รู้ ความสงสัยและความเข้าใจผิดในพระรัตนตรัยเป็นต้น ไม่รุ่งเรืองมากมายไปได้ ไม่แพร่หลายใหญ่โตไปได้.

    สรณคมน์ที่เป็นโลกุตตระไม่มีความเศร้าหมอง.

    อนึ่ง สรณคมน์ที่เป็นโลกิยะมี ๒ ประเภท คือ ที่มีโทษ ๑ ที่ไม่มีโทษ ๑.

    ใน ๒ อย่างนั้น ที่มีโทษ ย่อมมีได้ด้วยเหตุเป็นต้นว่า มอบตนในศาสดาอื่นเป็นต้น. สรณคมน์ที่มีโทษนั้นมีผลไม่น่าปรารถนา. สรณคมน์ที่ไม่มีโทษ ย่อมมีด้วยกาลกิริยา. สรณคมน์ที่ไม่มีโทษนั้น ไม่มีผล เพราะไม่เป็นวิบาก. ส่วนสรณคมน์ที่เป็นโลกุตตระไม่มีการแตกเลย. เพราะพระ

 
  ข้อความที่ 154  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 490

อริยสาวกไม่อุทิศศาสดาอื่นแม้ในระหว่างภพ. พึงทราบความเศร้าหมองและการแตกแห่งสรณคมน์ ด้วยประการฉะนี้.

    บทว่า อุปาสกํ มํ ภนฺเต ภควา ธาเรตุ ความว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจํา คือทรงทราบข้าพระองค์ไว้อย่างนี้ว่า ข้าพระองค์อชาตศัตรูนี้เป็นอุบาสก.

    ก็เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในวิธีของอุบาสก ควรทราบข้อปกิณณกะในที่นี้ดังนี้ว่า ใครเป็นอุบาสก เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า อุบาสก อะไรคือศีลของอุบาสก อาชีพอย่างไร วิบัติอย่างไร สมบัติอย่างไร.

    ในปกิณณกะนั้น ใครคืออุบาสก คือคฤหัสถ์คนใดคนหนึ่งที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า ดูก่อนมหานาม เพราะเหตุที่อุบาสกเป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ถึงพระธรรมพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ชื่อว่าอุบาสก.

    เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า อุบาสก?

    เพราะนั่งใกล้พระรัตนตรัย.

    จริงอยู่ อุบาสกนั้น ชื่อว่าอุบาสกด้วยอรรถว่า นั่งใกล้พระพุทธเจ้า นั่งใกล้พระธรรมพระสงฆ์ก็เป็นอุบาสกเหมือนกัน.

    อะไรคือศีลของอุบาสกนั้น?

    เวรมณี ๕ ข้อ เป็นศีลของอุบาสก. เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า ดูก่อนมหานาม เพราะเหตุที่อุบาสกเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท จากน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนมหานาม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้มีศีล.

 
  ข้อความที่ 155  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 491

    อาชีพอย่างไร?

    คือ ละการค้าขายผิดศีลธรรม ๕ อย่าง เลี้ยงชีพโดยธรรมสม่ําเสมอ.สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ อย่างเหล่านี้ อุบาสกไม่ควรทํา ๕ อย่างอะไรบ้าง? การค้าขายศัสตรา การค้าขายสัตว์ การค้าขายเนื้อสัตว์ การค้าขายน้ำเมา การค้าขายยาพิษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ อย่างเหล่านี้แล อุบาสกไม่ควรทํา ดังนี้.

    วิบัติอย่างไร?

    คือ ศีลวิบัติและอาชีววิบัติของอุบาสกนั้นแหละ เป็นวิบัติของอุบาสก.

    อีกอย่างหนึ่ง อุบาสกนี้เป็นจัณฑาล เป็นมลทิน และเป็นผู้ที่น่ารังเกียจด้วยกิริยาใด กิริยาแม้นั้น พึงทราบว่าเป็นวิบัติของอุบาสก. ก็วิบัติเหล่านั้น โดยอรรถได้แก่ธรรม ๕ อย่างมีความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น.เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างย่อมเป็นอุบาสกจัณฑาล เป็นอุบาสกมลทิน และเป็นอุบาสกที่น่ารังเกียจ ๕ อย่างอะไรบ้าง? คือเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนทุศีล เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อมงคลไม่เชื่อกรรม และแสวงหาทักขิไณยบุคคลนอกพระพุทธศาสนา ทําบุญในทักขิไณยบุคคลเหล่านั้น ดังนี้.

    สมบัติอย่างไร?

    ศีลสมบัติและอาชีวสมบัติของอุบาสกนั้นนั่นแหละ เป็นสมบัติของอุบาสก ได้แก่ธรรม ๕ ประการมีศรัทธาเป็นต้น ที่กระทําความเป็นอุบาสกรัตนะเป็นต้น. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการย่อมเป็นอุบาสกรัตนะ เป็นอุบาสกปทุม

 
  ข้อความที่ 156  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 492

และเป็นอุบาสกบุณฑริก ๕ ประการอะไรบ้าง คือเป็นผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีศีล ไม่เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรมไม่เชื่อมงคล ไม่แสวงหาทักขิไณยบุคคลนอกพระพุทธศาสนา และทําบุญในพระศาสนานี้ ดังนี้.

    อคฺค ศัพท์ ในบทว่า อชฺชตคฺเค นี้ ปรากฏในอรรถว่า เป็นเบื้องต้น เบื้องปลาย ส่วน และประเสริฐที่สุด.

    ปรากฏในอรรถว่า เป็นเบื้องต้น ในประโยคมีอาทิว่า อชฺชตคฺเค สมฺม โทวาริก อาวรามิ ทฺวารํ นิคฺคณฺฐานํ นิคฺคณฺีนํ แน่ะนายประตูผู้สหาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจะเปิดประตูต้อนรับนิครนถ์ชายหญิง.

    ในอรรถว่า เบื้องปลาย ในประโยคมีอาทิว่า เตเนว องฺคุลคฺเคนตํ องฺคุลคฺคํ ปรามเสยฺย อุจฺฉคฺคํ เวฬคฺคํ พึงเอาปลายนิ้วจดปลายนิ้ว เอาปลายอ้อยจดปลายอ้อย เอาปลายไม้ไผ่จดปลายไม้ไผ่.

    ในอรรถว่า ส่วน ในประโยคมีอาทิว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว อมฺพิลคฺคํ วา มธุรคฺคํ วา ติตฺตกคฺคํ วา วิหารคฺเคน วา ปริเวณคฺเคน วา ภาเชตุํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แบ่งส่วนรสเปรี้ยวก็ดี ส่วนรสหวานก็ดี ส่วนรสขมก็ดี ตามส่วนวิหารหรือตามส่วนบริเวณ.

    ในอรรถว่า ประเสริฐที่สุด ในประโยคมีอาทิว่า ยาวตา ภิกฺขเว สตฺตา อปทา วา ฯ เปฯ ตถาคโต เตสํ อคฺคมกฺขายติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใด ไม่มีเท้าก็ตาม ฯลฯ ตถาคต เรากล่าวว่าประเสริฐที่สุดของสัตว์เหล่านั้น.

    แต่ในที่นี้ อคฺค ศัพท์นี้ พึงเห็นในอรรถว่า เป็นเบื้องต้น เพราะฉะนั้น พึงทราบเนื้อความในบทว่า อชฺชตคฺเค นี้ อย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้

 
  ข้อความที่ 157  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 493

เป็นต้นไป.

    บทว่า อชฺชตํ แปลว่า เป็นในวันนี้ ปาฐะว่า อชฺชทคฺเค ดังนี้ก็มี ท อักษรทําบทสนธิเข้าไว้ ความว่า ทําวันนี้ให้เป็นต้น.

    บทว่า ปาณุเปตํ ได้แก่เข้าถึงด้วยชีวิต.

    พระเจ้าอชาตศัตรูถึงสรณะด้วยการมอบตนอย่างนี้ว่า ชีวิตของข้าพระองค์ยังเป็นไปอยู่ตราบใด ขอพระองค์โปรดทรงจํา คือทรงทราบข้าพระองค์ไว้ตราบนั้นเถิดว่า เข้าถึงแล้ว ไม่มีผู้อื่นเป็นศาสดา ถึงสรณะเป็นด้วยสรณคมน์ทั้ง ๓ เป็นอุบาสก เป็นกัปปิยการก (ศิษย์รับใช้) ด้วยว่า แม้หากจะมีใครเอาดาบคมกริบตัดศีรษะของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ก็จะไม่พึงกล่าวพระพุทธเจ้าว่าไม่ใช่พระพุทธเจ้า ไม่พึงกล่าวพระธรรมว่าไม่ใช่พระธรรม ไม่พึงกล่าวพระสงฆ์ว่าไม่ใช่พระสงฆ์ ดังนี้ เมื่อประกาศความผิดที่ตนทํา จึงตรัสคําเป็นต้นว่า อจฺจโย มํ ภนฺเต.

    ในบทเหล่านั้น บทว่า อจฺจโย แปลว่า ความผิด.

    บทว่า มํ อจฺจคมา ความว่า ก้าวล่วง คือครอบงําข้าพระองค์เป็นไป.

    ในบทว่า ธมฺมิกํ ธมฺมราชานํ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    ชื่อว่า ธัมมิกะ ด้วยอรรถว่า ประพฤติธรรม.

    ชื่อว่า ธรรมราชา ด้วยอรรถว่า เป็นพระราชาโดยธรรมทีเดียว มิใช่โดยอธรรมมีปิตุฆาตเป็นต้น.

    บทว่า ชีวิตา โวโรเปสึ ได้แก่ปลงชีวิต.

    บทว่า ปฏิคฺคณฺหาตุ ได้แก่จงอดโทษ.

    บทว่า อายตึ สํวราย ความว่า เพื่อสังวรในอนาคต คือเพื่อไม่

 
  ข้อความที่ 158  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 494

กระทําความผิดคือโทษ คือความพลั้งพลาดเห็นปานนี้อีก.

    บทว่า ตคฺฆ เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า ส่วนเดียว.

    บทว่า ยถาธมฺมํ ปฏิกโรสิ ความว่า จงกระทําอย่างที่ธรรมจะดํารงอยู่ได้ อธิบายว่า จงให้อดโทษเสีย.

    บทว่า ตนฺเต มยํ ปฏิคฺคณฺหาม ความว่า ความผิดของมหาบพิตรนั้น เราอดโทษให้.

    บทว่า วุฑฺฒิ เหสา มหาราช อริยสฺส วินเย ความว่า มหาบพิตร นี้ชื่อว่าเป็นวัฒนธรรมในวินัยของพระอริยะ คือในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า.อย่างไร?

    คือการเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วกระทําคืนตามธรรม ถึงความสํารวมต่อไป. แต่เมื่อทรงทําเทศนาให้เป็นบุคคลาธิฏฐานตามสมควร จึงตรัสว่า การที่บุคคลเห็นโทษ โดยเป็นโทษ แล้วสารภาพโทษ รับสังวรต่อไป นี้เป็นวัฒนธรรมในวินัยของพระอริยเจ้าแล.

    บทว่า เอวํ วุตฺเต ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว.

    ศัพท์ว่า หนฺท ในคําว่า หนฺท จ ทานิ มยํ ภนฺเต นี้ เป็นนิบาตในอรรถว่า คําละเอียดอ่อน. ด้วยว่า พระเจ้าอชาตศัตรูนั้นทรงทําคําละเอียดอ่อนในการเสด็จไป จึงตรัสอย่างนี้.

    บทว่า พหุกิจฺจา ได้แก่มีกิจมาก.

    คําว่า พหุกรณียา เป็นไวพจน์ของคําว่า พหุกิจฺจา นั้นเอง.

    บทว่า ยสฺสทานิ ตฺวํ ความว่า มหาบพิตร ขอพระองค์ทรงสําคัญ

 
  ข้อความที่ 159  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 495

คือทราบเวลาที่เสด็จไปในบัดนี้เถิด อธิบายว่า พระองค์นั่นแหละจงทรงทราบเวลาที่เสด็จนั้น.

    บทว่า ปทกฺขิณํ กตฺวา ปกฺกามิ ความว่า พระเจ้าอชาตศัตรูทรงทําประทักษิณ ๓ ครั้ง ยออัญชลีที่รุ่งเรืองด้วยทศนัขสโมธานไว้เหนือเศียร ผินพระพักตร์ตรงพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จถอยหลังชั่วทัศนวิสัยแล้ว ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ณ ภาคพื้นตรงที่พ้นทัศนวิสัย แล้วเสด็จหลีกไป.

    บทว่า ขตายํ ภิกฺขเว ราชา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระองค์นี้ถูกขุดเสียแล้ว.

    บทว่า อุปหตายํ ความว่า พระราชาพระองค์นี้ถูกขจัดเสียแล้ว.มีอธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระองค์นี้ถูกขุดเสียแล้ว ถูกขจัดเสียแล้ว มีที่พึ่งถูกทําลายแล้ว คือตนเองถูกตนเองขุดเสียแล้วก็หมดที่พึ่ง.

    บทว่า วิรชํ ได้แก่ปราศจากธุลีคือราคะเป็นต้น.

    ชื่อว่า มีมลทินไปปราศแล้ว เพราะปราศจากมลทินคือราคะเป็นต้นนั้นแล.

    บทว่า ธมฺมจกฺขุํ ได้แก่จักษุในธรรมทั้งหลาย หรือจักษุที่สําเร็จด้วยธรรม.

    คําว่า ธรรมจักษุ นี้ เป็นชื่อของมรรค ๓ ในฐานะอื่นๆ แต่ในที่นี้เป็นชื่อของโสดาปัตติมรรคเท่านั้น.

    มีอธิบายว่า หากพระเจ้าอชาตศัตรูมิได้ปลงพระชนม์พระบิดา พระองค์ประทับนั่งบนอาสนะนี้แหละ จักได้ทรงบรรลุโสดาปัตติมรรคใน

 
  ข้อความที่ 160  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 496

บัดนี้ แต่เพราะทรงคบมิตรชั่ว จึงเกิดอันตรายแก่พระองค์ แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูนี้เข้าเฝ้าพระตถาคต ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เพราะฉะนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูจะบังเกิดในโลหกุมภี ตกอยู่ในเบื้องต่ํา ๓ หมื่นปี ถึงพื้นเบื้องล่างแล้วผุดขึ้นเบื้องบน ๓ หมื่นปี ถึงพื้นเบื้องบนอีกจึงจักพ้นได้ เหมือนใครๆ ฆ่าคนแล้ว พึงพ้นโทษได้ด้วยทัณฑกรรมเพียงดอกไม้กํามือหนึ่งฉะนั้น เพราะพระศาสนาของเรามีคุณใหญ่.

    ได้ยินว่า คําที่กล่าวมาแล้วแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วทีเดียว แต่มิได้ยกขึ้นไว้ในบาลี.

    ถามว่า ก็พระราชาทรงสดับพระสูตรนี้แล้ว ทรงได้อานิสงส์อะไร?

    แก้ว่า ได้อานิสงส์มาก.

    ด้วยว่า ตั้งแต่เวลาที่ปลงพระชนม์พระชนกแล้ว พระราชานี้มิได้บรรทมหลับเลยทั้งกลางคืนกลางวัน แต่ตั้งแต่เวลาที่เข้าเฝ้าพระศาสดาทรงสดับพระธรรมเทศนาอันไพเราะมีโอชานี้แล้ว ทรงบรรทมหลับได้ ได้ทรงกระทําสักการะใหญ่แด่พระรัตนตรัย ชื่อว่าผู้ที่ประกอบด้วยศรัทธาระดับปุถุชน ที่เสมอเหมือนพระราชานี้ไม่มี. ก็ในอนาคต จักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่าชีวิตวิเสส จักปรินิพพานแล.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคํานี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นดีใจชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

    อรรถกถาสามัญญผลสูตร

    ในอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อสุมังคลวิลาสินี

    จบแล้ว ด้วยประการฉะนี้