พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๒. ทักษิณาวิภังคสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 มิ.ย. 2564
หมายเลข  34495
อ่าน  1,768
  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 391

๑๒. ทักษิณาวิภังคสูตร

[๗๐๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขต พระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท. สมัยนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงถือผ้าคู่หนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอประทับนั่งเรียบร้อย แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่ คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้าย ทอเอง ตั้งใจอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์ โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่ของหม่อมฉันเถิด.

[๗๐๗] เมื่อพระนางกราบทูลแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส ดังนี้ว่า ดูก่อนโคตมี พระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอัน พระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้าย ทอเอง ตั้งใจอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความ อนุเคราะห์ โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่นี้ของหม่อมฉันเถิด แม้ในครั้งที่ ๒ แม้ใน ครั้งที่ ๓ แล พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสกะพระนาง แม้ในครั้งที่ ๒ แม้ใน ครั้งที่ ๓ ดังนี้ว่า ดูก่อนโคตมี พระนางถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์

[๗๐๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดรับผ้าทั้งคู่ ของพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถิด พระนางมหาปชาบดี

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 392

โคตมี มีอุปการะมาก เป็นพระมาตุจฉาผู้ทรงบํารุงเลี้ยง ประทานพระขีรรส แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระชนนีสวรรคตแล้ว ได้โปรดให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดื่มเต้าพระถัน แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงมีอุปการะมากแก่ พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระนางทรงอาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงถึง พระพุทธะ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะได้ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงงดเว้น จากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท จากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยได้ ทรง อาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหว ในพระพุทธะ พระธรรม พระสงฆ์ ทรงประกอบด้วยศีลที่พระอริยะมุ่งหมาย ได้ ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเป็นผู้หมดความสงสัยในทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงมีพระอุปการะมากแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี.

[๗๐๙] พ. ถูกแล้วๆ อานนท์ จริงอยู่ บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้ถึงพระพุทธะ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะได้ เราไม่กล่าวการที่ บุคคลนี้ตอบแทนต่อบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทําอัญชลี ทํา สามีจิกรรมด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร บุคคลใดอาศัยบุคคลใดแล้ว งดเว้น จากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จาก กาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท จากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเพราะ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยได้ เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนต่อบุคคลนี้ด้วย ดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทําอัญชลีทําสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร. บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็น ผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระพุทธะ พระธรรม พระสงฆ์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 393

ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะมุ่งหมายได้ เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทน บุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทําอัญชลี ทําสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร. บุคคลอาศัยบุคคล ใดแล้ว เป็นผู้หมดความสงสัยในทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาได้ เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทําอัญชลี ทําสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจยเภสัชบริขาร.

[๗๑๐] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิกมี ๑๔ อย่าง คือ ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการ ที่ ๑. ให้ทานในพระปัจเจกสัมพุทธะ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๒. ให้ทานในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการ ที่๓. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทําอรหัตตผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๔. ให้ทานแก่พระอนาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการ ที่๕. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทําอนาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๖. ให้ทานแก่พระสาทกคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก ประการที่ ๗. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทําสกทาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็น ทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๘. ให้ทานในพระโสดาบัน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๙. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทําโสดาปัตติผลให้แจ้ง นี้ เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๐. ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจาก ความกําหนัดในกาม นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่๑๑. ให้ทานใน ปุถุชนผู้มีศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๒. ให้ทานในปุถุชน ผู้ทุศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๓ ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๔.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 394

[๗๑๑] ดูก่อนอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น บุคคลให้ทานในสัตว์ เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผล ทักษิณาได้พันเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า. ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกําหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้ แสนโกฏิเท่า. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทําโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผล ทักษิณาจะนับไม่ได้ จะประมาณไม่ได้ จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทําสกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อทําอนาคามิผลให้แจ้ง ในพระอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทําอรหัตตผล ให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ในปัจเจกสัมพุทธะ และใน ตถาคตอรหันต์ สัมมาสัมพุทธเจ้า.

[๗๑๒] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์มี๗ อย่างคือ ให้ ทานในสงฆ์๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ ประการที่ ๑. ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว เป็น ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๒. ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่๓. ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้ว ในสงฆ์ประการที่ ๔. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจํานวน เท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้าแล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ ประการที่ ๕. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจํานวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๖. เผดียงสงฆ์ ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจํานวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๗

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 395

[๗๑๓] ดูก่อนอานนท์ ก็ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู มีผ้ากาสาวะพันคอ เป็นคนทุศีล มีธรรมลามก คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะ สงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น ดูก่อนอานนท์ ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ใน เวลานั้นเราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่ามีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไรๆ เลย

[๗๑๔] ดูก่อนอานนท์ ก็ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณานี้มี ๔ อย่าง. ๔ อย่าง เป็นไฉน. ดูก่อนอานนท์ ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายกไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหก บางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก บางอย่างฝ่าย ทายกก็ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์ บางอย่างบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและ ฝ่ายปฏิคาหก.

[๗๑๕] ดูก่อนอานนท์ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทาหก ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกอย่างไร ดูก่อนอานนท์ ในข้อนี้ ทายกมีศีล มีธรรมงาม ปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก.

[๗๑๖] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่ บริสุทธิ์ฝ่ายทายกอย่างไร. ดูก่อนอานนท์ ในข้อนี้ ทายกเป็นผู้ทุศีล มีธรรม ลามก ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่าย ปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก.

[๗๑๗] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่าย ปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์อย่างไร. ดูก่อนอานนท์ ในข้อนี้ ทายกก็เป็นผู้ทุศีล มี ธรรมลามก ปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่า ฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 396

[๗๑๘] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก และฝ่าย ปฏิคาหกอย่างไร. ดูก่อนอานนท์ในข้อนี้ ทายกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม ปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่าย ทายกและฝ่ายปฏิคาหก.

ดูก่อนอานนท์ นี้แล ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ อย่าง.

[๗๑๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้ แล้วได้ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ ต่อไปอีกว่า

(๑) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลแห่งธรรม อย่างยิ่ง ให้ทานในคนทุศีล ทักษิณาของ ผู้นั้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก

(๒) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่ เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมไสไม่เชื่อธรรม และผลของธรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคน มีศีล ทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่าย ปฏิคาหก

(๓) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่ เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใสไม่เชื่อกรรม และผลของธรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคน ทุศีล เราไม่กล่าวทานของผู้นั้นว่า มีผล ไพบูลย์

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 397

(๔) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดีเชื่อกรรมและผลของกรรม อย่างยิ่ง ให้ทานในคนมีศีล เรากล่าว ทานของผู้นั้นแลว่า มีผลไพบูลย์

(๕) ผู้ใดปราศจากราคะแล้ว ได้ ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อ กรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทาน ในผู้ปราศจากราคะ ทานของผู้นั้นนั่นแล เลิศกว่าอามิสทานทั้งหลาย

จบ ทักขิณาวิภังคสูตร ที่ ๑๒

จบ วิภังควรรค ที่ ๔

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 398

อรรถกถาทักขิณาวิภังคสูตร

ทักขิณาวิภังคสูตร มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

ในทักขิณาวิภังคสูตรนั้น บทว่า มหาปชาปตี โคตมี ได้แก่ พระโคตรว่า โคตมี. ก็ในวันขนานพระนาม พราหมณ์ทั้งหลายได้รับสักการะ แล้ว เห็นพระลักษณ สมบัติของพระนางแล้ว ได้พยากรณ์ว่า ถ้าพระนางนี้ จักได้พระธิดา พระธิดาจักเป็นอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าจักได้พระ โอรส พระโอรสจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระปชาของพระนาง จักเป็น ผู้ยิ่งใหญ่ โดยประการแม้ทั้งสองนั้นเทียว ดังนี้. พระญาติทั้งหลายจึงได้ ขนานพระนามของพระนางว่า ปชาบดี ด้วยประการฉะนี้. แต่ในสูตรนี้

ท่านรวมเอาพระโคตรด้วย จึงกล่าวว่า มหาปชาบดีโคตมี. บทว่า นวํ (ผ้าใหม่) ได้แก่ ใหม่. บทว่า สามํ วายิตํ (ทอเอง) คือทรงทอเองด้วยพระหัตถ์. ก็ในวันนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี อันหมู่พระพี่เลี้ยงนางนม แวดล้อมแล้ว เสด็จมาสู่โรงงานทอผ้าของศิลปินทั้งหลาย ทรงจับปลายกระสวย ได้ทรงทําอาการแห่งการทอผ้า. คํานั้น ท่านกล่าวหมายถึงการทอผ้านั้น. ถามว่า พระ นางโคตมีทรงเกิดพระทัย เพื่อถวายผ้าคู่หนึ่ง แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในกาล ไหน. ตอบว่า ในกาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณแล้ว เสด็จมาสู่กรุงกบิลพัสดุ์ โดยการเสด็จครั้งแรก. จริงอย่างนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงพาพระศาสดาซึ่งเสด็จบิณฑบาต ให้เสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ของ พระองค์. ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงเห็นพระรูปโสภาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทรงพระดําริว่า พระอัตภาพของบุตรเรางดงามหนอ ดังนี้ ลําดับนั้น พระนางก็เกิดพระโสมนัสเป็นกําลัง. แต่นั้น ทรงพระดําริว่า

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 399

เมื่อบุตรของเราอยู่ในท่ามกลางวัง ตลอด ๒๙ ปี วัตถุที่เราให้แล้วโดยที่สุด แม้สักว่าผลกล้วยนั้นเทียว ไม่มีเลย แม้บัดนี้เราจักถวายผ้าจีวรแก่บุตรนั้น. ทรงยังพระหฤทัยให้เกิดขึ้นว่า ก็ในกรุงราชคฤห์นี้มีผ้าราคาแพงมาก ผ้าเหล่านั้น ย่อมไม่ยังเราให้ดีใจ ผ้าที่เราทําเองนั้นแล ย่อมยังเราให้ดีใจได้ เราจําจะ ต้องทําผ้าเองถวาย ดังนี้.

ครั้งนั้น พระนางทรงให้นําฝ้ายมาจากตลาด ทรงขยําทรงยีด้วย พระหัตถ์ กรอด้ายอย่างละเอียด ทรงให้สร้างโรงงานทอผ้าในภายในพระราชวังนั้นเทียว ทรงให้เรียกช่างศิลปทั้งหลาย พระราชทานเครื่องบริโภคขาทนียะ และโภชนียะ ของพระองค์นั้นแลให้แก่ช่างศิลปทั้งหลายแล้วทรงให้ทอผ้า. ก็พระนางอันคณะพระพี่เลี้ยงนางนม แวดล้อมแล้ว เสด็จไปจับปลายกระสวย ตามสมควรแก่กาลเวลา. ในกาลที่ผ้านั้นทอเสร็จแล้ว ทรงทําการสักการะใหญ่ แก่ช่างศิลปทั้งหลายแล้ว ทรงใส่ผ้าคู่หนึ่งในหีบอันมีกลิ่นหอม ทรงให้ถือผ้า ทูลแด่พระราชาว่า หม่อมฉันจักถือผ้าจีวรไปถวายแก่บุตรเรา. พระราชาตรัส สั่งให้เตรียมทางเสด็จ. ราชบริวารทั้งหลายปัดกวาดถนน ตั้งหม้อน้ำเต็ม ยกธงผ้าทั้งหลาย ตกแต่งทางตั้งแต่พระทวารพระราชวัง จนถึงพระวิหาร นิโครธาราม ทําทางให้เกลื่อนกล่นด้วยดอกไม้. ฝ่ายพระนางมหาปชาบดีทรง ประดับเครื่องอลังการทุกอย่าง ผู้อันคณะพระพี่เลี้ยงนางนมแวดล้อมแล้ว ทรงทูลหีบผ้า เสด็จไปยังสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้เป็นของหม่อมฉัน ดังนี้เป็นต้น บทว่า ทุติยมฺปิ (แม้ในครั้งที่ ๒) ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโคตมี พระนาง จงถวายสงฆ์เถิด พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้กราบทูลอ้อนวอนว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันอาจเพื่อถวายผ้าจีวรทั้งหลายจากคลังผ้าแก่ภิกษุ ร้อยรูปบ้าง พันรูปบ้าง ก็ผ้าใหม่คู่นี้หม่อมฉันกรอด้ายเอง ทอเอง ตั้งใจอุทิศ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 400

พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดรับผ้า ใหม่คู่นั้นของหม่อมฉันเถิด. พระนางกราบทูลอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง. แม้พระผู้มี พระภาคเจ้าก็ตรัสห้ามอย่างนั้นเทียว. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงให้ถวายผ้าใหม่คู่ที่พระนางจะถวายแด่พระองค์ แก่พระภิกษุสงฆ์ เล่า. ตอบว่า เพราะเพื่อทรงอนุเคราะห์พระมารดา. ก็ได้ยินว่า พระผู้มี พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระดําริว่า เจตนา ๓ อย่างคือ บุพเจตนา มุญจนเจตนา อปราปรเจตนา ของพระนางมหาปชาบดีนี้ เกิดขึ้นปรารภเราแล้ว จงเกิดขึ้นปรารภพระภิกษุสงฆ์บ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ เจตนาทั้ง ๖ อย่าง ก็จะรวมเป็นอันเดียวกัน จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนานแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมีนั้น ดังนี้. ฝ่ายวิตัณฑวาที (ผู้พูดให้ หลงเชื่อ) กล่าวว่า ทานที่ถวายสงฆ์มีผลมาก. พึงท้วงติงวิตัณฑวาทีนั้น ว่า เพราะเหตุไรจึงกล่าวอย่างนั้น ท่านย่อมกล่าวถึงทานที่ถวายสงฆ์ มีผลมากกว่า ทานที่ถวายแก่พระศาสดาหรือ. เออขอรับ เรากล่าว. ท่านจงอ้างพระสูตรมา. ท่านวิตัณฑวาทีอ้างพระสูตรว่า ดูก่อนโคตมี พระนางถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์. ก็พระสูตรนี้ มีเนื้อความเพียงเท่านี้หรือ. เออ เพียงเท่านี้. ผิว่าเป็นเช่นนั้น ทานที่ให้แก่ คนกินเดนทั้งหลายก็พึงมีผลมาก ตามพระดํารัสว่าดูก่อนอานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้ขนมแก่คนกินเดนทั้งหลาย และว่า ดูก่อนกัจจานะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้งบน้ำอ้อยแก่คนกินเดนทั้งหลาย ดังนี้. ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น พระศาสดา จึงทรงยังผ้าที่จะถวายพระองค์ให้ถึงสงฆ์แล้ว ดังนี้. ก็ชนทั้งหลายแม้มีพระราชา และมหาอํามาตย์ของพระราชาเป็นต้น ย่อมสั่งให้บรรณาการที่นํามาเพื่อ ให้แก่ชนทั้งหลายมีคนเลี้ยงช้างเป็นต้น ชนเหล่านั้นก็พึงใหญ่กว่าพระราชา เป็นต้น. จริงอยู่ ทักขิไณยบุคคลที่ยอดเยี่ยมกว่าพระศาสดาไม่มี ตามพระ-

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 401

บาลีว่า เพราะฉะนั้น ท่านอย่าถืออย่างนั้น ทักขิไณยบุคคลที่ถึงความเป็น ผู้เลิศแห่งอาหุไนยบุคคลทั้งหลาย ผู้ต้องการบุญ แสวงผลไพบูลย์ที่ประเสริฐ ที่สุดเช่นกับ พระพุทธเจ้าไม่มีในโลกนี้ หรือในโลกอื่น. พระเจตนา ๖ ประการ ของพระนางมหาปชาบดีโคตมี นั้นรวมเข้ากันแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกุล เพื่อความสุข ตลอดกาลนานอย่างนี้.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามถึง ๓ ครั้งแล้ว ทรงให้ถวายแก่สงฆ์ ทรงมุ่งหมายอะไร. ตรัสอย่างนั้น เพื่อชนรุ่นหลัง และเพื่อทรงให้เกิดความ ยําเกรงในสงฆ์ด้วย. นัยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระดําริอย่างนี้ว่า เราไม่ ดํารงอยู่นาน แต่ศาสนาของเราจักตั้งอยู่ในพระภิกษุสงฆ์ ชนรุ่นหลังจงยังความ ยําเกรงในสงฆ์ให้เกิดขึ้น ดังนี้ จึงทรงห้ามถึง ๓ ครั้งแล้ว ทรงให้ถวายสงฆ์ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดาจึงทรงให้ถวายผ้าใหม่คู่หนึ่ง แม้ที่พระนางจะ ถวายแด่พระองค์ให้แก่สงฆ์ ทักขิไณยบุคคลชื่อว่า สงฆ์ เพราะฉะนั้น ชน รุ่นหลังยังความยําเกรงให้เกิดขึ้นในสงฆ์ จักสําคัญปัจจัยสี่เป็นสิ่งพึงถวายสงฆ์ เมื่อไม่ลําบากด้วยปัจจัยสี่ จักเรียนพระพุทธวจนะทําสมณธรรม เมื่อเป็นอย่าง นั้น ศาสนาของเราจักตั้งอยู่ถึง ๕,๐๐๐ ปีดังนี้. ก็คําว่า ธรรมดา ทักขิไณย บุคคลที่ยอดเยี่ยมกว่าพระศาสดาไม่มีนั้น ควรกล่าวแม้โดยคําว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดรับเถิด ดังนี้ ก็พระอานนทเถระไม่มี ความอาฆาต หรือเวรในพระนางมหาปชาบดี ทั้งพระเถระไม่ต้องการว่า ทักขิณาของพระนางอย่าได้มีผลมาก. จริงอยู่ พระเถระเป็นบัณฑิต พหูสูต บรรลุเสกขปฏิปทา พระเถระนั้น เมื่อเห็นความที่ผ้าใหม่คู่หนึ่งที่พระนางถวาย พระศาสดานั้นมีผลมาก จึงกราบทูลขอเพื่อทรงรับว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดรับเถิด ดังนี้. วิตัณฑวาทีกล่าวอีกว่า พระศาสดา

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 402

ทรงนับเนื่องกับสงฆ์ เพราะพระดํารัสว่า เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอัน พระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์ดังนี้. วิตัณฑวาทีนั้น ควรถูกท้วงติงว่า ก็ท่านรู้หรือว่า สรณะมีเท่าไร ความเลื่อมใสแน่นแฟ้นมีเท่าไร. วิตัณฑวาที เมื่อรู้ ก็จะกล่าวว่า สรณะมี ๓ ความเลื่อมใสแน่นแฟ้นมี ๓. แต่นั้น ก็ควรถูก กล่าวว่า ตามลัทธิของท่านสรณะก็คงมี ๒ อย่างเท่านั้น เพราะความที่พระ ศาสดานับเนื่องกับสงฆ์. เมื่อเป็นอย่างนั้น บรรพชาที่ทรงอนุญาตอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบรรพชาอุปสมบท ด้วยไตรสรณคมน์ ดังนี้ แม้อุปสมบทก็ไม่เจริญขึ้น. แต่นั้น ท่านก็จะไม่เป็นบรรพชิต คงเป็นคฤหัสถ์. ครั้นแม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่ง ณ พระคันธกุฎี ภิกษุทั้งหลายกระทํา อุโบสถบ้าง ปวารณาบ้าง สังฆกรรมทั้งหลายบ้าง กรรมเหล่านั้นก็พึงกําเริบ เพราะความที่พระศาสดาทรงนับเนื่องกับสงฆ์ และจะไม่มี. เพราะฉะนั้นจึง ไม่ควรกล่าวคํานี้ว่า พระศาสดาทรงนับเนื่องกับสงฆ์. บทว่า อาปาทิตา (ผู้ทรงบำรุง) ได้แก่ ทรงให้เจริญพร้อมแล้ว อธิบายว่า ครั้น พระหัตถ์และพระบาทของ พระองค์ไม่ยังกิจด้วยพระหัตถ์และพระบาทให้สําเร็จ พระนางก็ทรงให้พระหัตถ์ และพระบาทให้เจริญปรนปฏิบัติ. บทว่า โปสิกา (เลี้ยงดู) ความว่า พระนางทรงเลี้ยง พระองค์ โดยให้อาบน้ำ ทรงให้เสวย ทรงให้ดื่ม วันละ ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง. บทว่า ถฺํ ปาเยสิ (ทรงให้ดื่มเต้าพระถัน) ความว่าได้ยินว่า นันทกุมารโพธิสัตว์ ทรงเป็นหนุ่ม เพียงสอง - สามวันเท่านั้น ครั้น เมื่อนันทกุมารประสูติแล้ว พระนางมหาปชาบดี ทรงไห้พระโอรสของพระองค์ ให้แก่พระพี่เลี้ยงนางนม พระองค์เองให้หน้าที่ นางนมให้สําเร็จ ประทานพระขีรรสแด่พระโพธิสัตว์ พระเถระหมายถึงการ ประทานพระขีรรสนั้น จึงกราบทูลอย่างนี้.

พระเถระครั้นแสดงความที่พระนางมหาปชาบดีทรงมีพระอุปการะมาก ด้วยประการฉะนั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงความที่พระตถาคตทรงมีพระอุปการ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 403

มาก จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญแม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภควนฺตํ อาคมฺม (ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า) คือ ทรงอาศัย คือ ทรงพึ่งพา ทรงมุ่งหมายพระผู้มีพระภาคเจ้า. ลําดับ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงอนุโมทนาถึงพระอุปการะยิ่งๆ ขึ้นไป ในพระอุปการะทั้งสอง จึง ตรัสว่า ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ หานนฺท ปุคฺคโล ปุคฺคลํ อาคมฺม (เพราะบุคลลอาศัยบุคคลใดแล้ว) ความว่า บุคคลผู้อันเตวาสิกอาศัยบุคคลผู้อาจารย์ ใด. บทว่า อิมสฺสานนฺท ปุคฺคลสฺส อิมินา ปุคฺคเลน (การที่บุคคลนี้ตอบแทนบุคคลนี้) ความว่า บุคคล ผู้อันเตวาสิกนี้ตอบแทนต่อบุคคลผู้อาจารย์นี้. บทว่า น สุปฏิการํ วทามิ (เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนบุคคลนี้ด้วยดี) ความว่า เราไม่กล่าวการตอบแทนอุปการะเป็นการทําด้วยดี. ในกรรมทั้งหลาย มีการอภิวาทนะเป็นต้น การเห็นอาจารย์แล้วทําการกราบไหว้ ชื่อว่า อภิวาทนะ ได้แก่ เมื่อจะสําเร็จอิริยาบถทั้งหลาย ผินหน้าไปทางทิศาภาคที่ อาจารย์อยู่ ไหว้แล้วเดิน ไหว้แล้วยืน ไหว้แล้วนั่ง ไหว้แล้วนอน ส่วน การเห็นอาจารย์แต่ที่ไกลแล้ว ลุกขึ้นทําการต้อนรับ ชื่อว่า ปัจจุฏฐานะ. ก็ กรรมนี้คือ เห็นอาจารย์แล้ว ประคองอัญชลีไว้เหนือศีรษะ นมัสการอาจารย์ หรือแม้ผินหน้าไปทางทิศาภาคที่อาจารย์นั้นอยู่ นมัสการอย่างนั้นแล เดินไป ก็ดี ยืนก็ดี นั่งก็ดี นอนก็ดี ประคองอัญชลีแล้วนมัสการนั้นเทียว ชื่อว่า อัญชลีกรรม. การทํากรรมอันสมควร ชื่อว่า สามีจิกรรม. ในวัตถุทั้งหลาย มีจีวรเป็นต้น เมื่อจะถวายจีวร ไม่ถวายตามมีตามเกิด. ถวายจีวรอันมีค่ามาก มีมูลค่า ๑๐๐ บ้าง ๒๐๐ บ้าง ๑,๐๐๐ บ้าง. ในวัตถุทั้งหลายแม้มีบิณฑบาต เป็นต้น มีนัยนี้เหมือนกัน. ด้วยปัจจัยมากอย่างไร. แม้เมื่อยังระหว่างจักรวาล ให้เต็มด้วยปัจจัยอันประณีต ๔ ถือเอายอดเท่าสิเนรุบรรพตถวาย ย่อมไม่อาจ เพื่อทํากิริยาที่สมควรแก่อาจารย์เลย.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 404

เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภว่า ก็ทักขิณา ๑๔ นี้แล. สูตรนี้เกิดขึ้นปรารภทักขิณาเป็นปาฏิบุคคลิก. ฝ่ายพระอานนทเถระถือ ทักขิณาเป็นปาฏิบุคคลิกอย่างเดียวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดรับ ดังนี้. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภเทศานี้ เพื่อทรง แสดงว่า ทานที่บุคคลให้แล้ว ในฐานะสิบสี่ชื่อว่า เป็นปาฏิบุคคลิก. บทว่า อยํ ปมา (นี้... ประการที่๑) ความว่า ทักขิณานี้ประการที่ ๑ ด้วยอํานาจคุณบ้าง ด้วยอํานาจ เป็นทักขิณาเจริญที่สุดบ้าง จริงอยู่ ทักขิณานี้ ที่หนึ่งคือ ประเสริฐ ได้แก่ เจริญที่สุด ชื่อว่า ประมาณแห่งทักขิณานี้ไม่มี. ทักขิณาแม้ประการที่ ๒๓ เป็นทักขิณาอย่างยิ่งเหมือนกัน. ทักขิณาทั้งหลายที่เหลือ ย่อมไม่ถึงความเป็น ทักขิณาอย่างยิ่งได้. บทว่า พาหิรเก กาเมสุ วีตราเค (ในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม) ได้แก่ ผู้กัมมวาที ผู้กิริยวาที ผู้มีอภิญญา ๕ อันเป็นโลกิยะ. บทว่า ปุถุชฺชนสีลวา (ในปุถุชนผู้มีศีล) ความว่า ปุถุชนผู้มีศีล โดยชื่อเป็นผู้มีศีลเป็นพื้นไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ไม่เบียดเบียน คนอื่น สําเร็จชีวิตด้วยกสิกรรมหรือพาณิชกรรม โดยธรรม โดยชอบ. บทว่า ปุถุชฺชนทุสฺสีเล (ในปุถุชนผู้ทุศีล) ความว่าบุคคลทั้งหลายมีนายเกวัฏฏะ และผู้จับปลาเป็นต้น ชื่อว่า ปุถุชนผู้ทุศีล. เลี้ยงชีวิต ด้วยการเบียดเบียนสัตว์อื่น.

บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงกําหนดวิบากของทักขิณา เป็น ปาฏิบุคคลิก จึงตรัสว่า ตตฺรานนฺท (อานนท์ ใน๑๔ประการนั้น) เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ติรจฺฉานคเต (สัตว์เดรัจฉาน) ความว่า ทานใดที่บุคคลให้แล้ว เพื่อเลี้ยงด้วยอํานาจแห่งคุณ ด้วยอํานาจแห่งอุปการะ ทานนี้ไม่ถือเอา. ทานแม้ใดสักว่าข้าวคําหนึ่งหรือ ครึ่งคําอันบุคคลให้แล้ว ทานแม้นั้น ไม่ถือเอาแล้ว. ส่วนทานใดอันบุคคล หวังผลแล้วให้ตามความต้องการแก่สัตว์ทั้งหลายมีสุนัข สุกรไก่ และกาเป็นนี้ ตัวใดตัวหนึ่งที่มาถึง ทรงหมายถึงทานนี้ จึงตรัสว่า ให้ทานในสัตว์ดิรัจฉาน

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 405

ดังนี้. บทว่า สตคุณา (ร้อยเท่า) ได้แก่มีอานิสงส์ร้อยเท่า. บทว่า ปาฏิกงฺขิตพฺพา (พึงหวัง) คือ พึงปรารถนา. มีอธิบายว่า ทักขิณานี้ย่อมให้อานิสงส์ห้าร้อยเท่า คือ อายุร้อยเท่า วรรณะร้อยเท่า สุขร้อยเท่า พละร้อยเท่า ปฏิภาณร้อยเท่า. ทักขิณาให้อายุในร้อยอัตภาพ ชื่อว่า อายุร้อยเท่า ให้วรรณะในร้อยอัตภาพ ชื่อว่า วรรณะร้อยเท่า ให้สุขในร้อยอัตภาพ ชื่อว่า สุขร้อยเท่า ให้พละใน ร้อยอัตภาพ ชื่อว่า พละร้อยเท่า ให้ปฏิภาณ ทําความไม่สะดุ้งในร้อยอัตภาพ ชื่อว่า ปฏิภาณร้อยเท่า. แม้ในภพร้อยเท่าที่กล่าวแล้ว ก็มีเนื้อความ อย่างนี้แล. พึงทราบนัยทุกบท ด้วยทํานองนี้. ในบทนี้ว่า ผู้ปฏิบัติ เพื่อทํา ให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล แม้อุบาสกผู้ถึงไตรสรณะโดยที่สุดเบื้องต่ํา ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อทําให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. แม้ทานที่ให้ในอุบาสก ผู้ปฏิบัติเพื่อทํา ให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลนั้น นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้. ส่วนทานที่ให้แก่บุคคล ผู้ตั้งอยู่ในศีลห้า มีผลมากกว่านั้น ทานที่ให้แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในศิลสิบ มีผล มากกว่านั้นอีก. ทานที่ถวายแก่สามเณรที่บวชในวันนั้น มีผลมากกว่านั้น ทาน ที่ถวายแก่ภิกษุผู้อุปสมบท มีผลมากกว่านั้น ทานที่ถวายแก่ภิกษุผู้อุปสมบท นั้นแล ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตรมีผลมากกว่านั้น ทานให้แก่ผู้ปรารภวิปัสสนา มี ผลมากกว่านั้น. ก็สําหรับผู้มรรคสมังคีโดยที่สุดชั้นสูง ผู้ปฏิบัติเพื่อทําให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล ชื่อว่า ปฏิบัติแล้ว. ทานที่ให้แก่บุคคลนั้น มีผลมากกว่า นั้นอีก ถามว่า ก็อาจเพื่อให้ทานแก่ภิกษุผู้มรรคสมังคี หรือ. ตอบว่า เออ อาจเพื่อให้. ก็ภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา ถือบาตรและจีวร เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต เมื่อภิกษุผู้มรรคสมังคีนั้น ยืนที่ประตูบ้าน ชนทั้งหลายรับบาตรจากมือก็ใส่ ขาทนียะและโภชนียะ. การออกจากมรรคของภิกษุย่อมมีในขณะนั้น. ทานนี้ชื่อว่า เป็นอันให้แล้วแก่ภิกษุผู้มรรคสมังคี. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุ นั้นนั่ง ณ โรงฉัน. มนุษย์ทั้งหลายไปแล้ววางขาทนียะ โภชนียะในบาตร.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 406

การออกจากมรรคของภิกษุนั้น ย่อมมีในขณะนั้น. ทานแม้นี้ ชื่อว่าให้แล้ว แก่ภิกษุผู้มรรคสมังคี. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อภิกษุนั้นนั่ง ณ วิหาร หรือ โรงฉัน อุบาสกทั้งหลายถือบาตรไปสู่เรือนของตนแล้ว ใส่ขาทนียะและโภชนียะ. การออกจากมรรคของภิกษุนั้น ย่อมมีในขณะนั้น ทานแม้นี้ ชื่อว่าให้แล้วแก่ภิกษุ ผู้มรรคสมังคี. พึงทราบความที่ทานอันบุคคลให้แล้วแก่ผู้ปฏิบัติเพื่อทําให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผลนั้น เหมือนน้ำในลํารางไม่อาจนับได้ฉะนั้น. พึงทราบความที่ ทานอันบุคคลให้แล้วในบุคคลทั้งหลาย มีพระโสดาบันเป็นต้น ดุจน้ำในมหาสมุทรแล ในบรรดามหานทีนั้นๆ เป็นอันนับไม่ได้. พึงแสดงเนื้อความนี้ แม้โดยความที่ทําฝุ่นในสถานสักว่าลานข้าวแห่งแผ่นดินเป็นต้น จนถึงฝุ่นทั้ง แผ่นดิน อันประมาณไม่ได้.

เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภว่า ก็ทักขิณา ๗ อย่างนี้. ทรงปรารภเทศนานี้ ที่ตรัสว่า ดูก่อนโคตมี พระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อ ถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมาภาพและสงฆ์ เพื่อทรง แสดงว่า ทานที่ให้ในฐานะ ๗ นั้น เป็นอันชื่อว่าถวายสงฆ์แล้ว. บรรดาบท เหล่านั้น บทว่า พุทฺธปฺปมุเข อุภโตสงฺเฆ (ในสงฆ์สองฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข) ความว่า สงฆ์นี้คือ ภิกษุสงฆ์ ฝ่ายหนึ่ง ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายหนึ่ง พระศาสดาประทับนั่ง ณ ท่ามกลาง ชื่อว่า สงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. บทว่า อยํ ปมา (นี้..ประการที่๑) ความว่า ชื่อว่า ทักขิณา มีประมาณเสมอด้วยทักขิณานี้ไม่มี. ก็ทักขิณาทั้งหลายมีทักขิณาที่สอง เป็นต้น ย่อมไม่ถึงทักขิณาแม้นั้น. ถามว่า ก็เมือพระตถาคตปรินิพพานแล้ว อาจเพื่อถวายทานแด่พระสงฆ์ ๒ ฝ่ายมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขหรือ. ตอบว่า อาจ. อย่างไร. ก็พึงตั้งพระพุทธรูปที่มีพระธาตุในฐานะประมุขของสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในอาสนะวางตั้ง ถวายวัตถุทั้งหมดมีทักขิโณทกเป็นต้นแด่พระศาสดาก่อนแล้ว ถวายแด่พระสงฆ์ ๒ ฝ่าย. ทานเป็นอันชื่อว่าถวายสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้า

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 407

เป็นประมุข ด้วยประการฉะนี้. ถามว่า ในพระสงฆ์ ๒ ฝ่ายนั้น ทานใด ถวายพระศาสดา ทานนั้นพึงทําอย่างไร. ตอบว่า พึงถวายภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย วัตร ผู้ปฏิบัติพระศาสดา ด้วยว่า ทรัพย์อันเป็นของบิดาย่อมถึงแก่บุตร แม้การถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ ก็ควร. ก็ถือเนยใสและน้ำมัน พึงตามประทีป ถือผ้าสาฏกพึงยกธงปฏาก. บทว่า ภิกฺขุสงฺเฆ (ในภิกษุสงฆ์) ได้แก่ภิกษุสงฆ์ส่วนมากยัง ไม่ขาดสาย. แม้ในภิกษุณีสงฆ์ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า โคตฺรภุโน (เหล่าภิกษุโคตรภู) ได้แก่ เสวยสักว่า โคตรเท่านั้น อธิบายว่า เป็นสมณะแต่ชื่อ. บทว่า กาสาวกณฺา (มีผ้ากาสาวะพันคอ) คือผู้มีชื่อว่ามีผ้ากาสาวะพันคอ. ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นพันผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง ที่มือ หรือที่คอเที่ยวไป. ก็ประตูบ้าน แม้กรรมมีบุตรภริยากสิกรรมและ วณิชกรรม เป็นต้นทั้งหลาย ของภิกษุผู้ทุศีลเหล่านั้น ก็จักเป็นปกติเทียว. ไม่ได้ตรัสว่า สงฆ์ทุศีล ในบทนี้ว่า คนทั้งหลายจักถวายทาน เฉพาะสงฆ์ได้ ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น จริงอยู่ สงฆ์ชื่อว่าทุศีลไม่มี แต่อุบาสกทั้งหลายชื่อว่า ทุศีล จักถวายทานด้วยคิดว่า เราจักถวายเฉพาะสงฆ์ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น

แม้ทักขิณาที่ถวายสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีผลนับไม่ได้ ด้วยการนับคุณ ด้วยประการฉะนี้. แม้ทักขิณาที่ ให้ในสงฆ์ซึ่งมีภิกษุมีผ้ากาสาวะพันคอ ตรัสว่ามีผลนับไม่ได้ ด้วยการนับคุณ เหมือนกัน. ก็ทักขิณาที่ถึงสงฆ์ย่อมมีแก่บุคคลผู้อาจเพื่อทําความยําเกรงในสงฆ์ แต่ความยําเกรงในสงฆ์ ทําได้ยาก. ก็บุคคลได้เตรียมไทยธรรมด้วยคิดว่า เราจักให้ทักขิณาถึงสงฆ์ ไปวิหารแล้วเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจง ให้พระเถระรูปหนึ่งเจาะจงสงฆ์เถิด. ลําดับนั้น ได้สามเณรจากสงฆ์ย่อมถึง ความเป็นประการอื่นว่า เราได้สามเณรแล้วดังนี้. ทักขิณาของบุคคลนั้นย่อมไม่ถึงสงฆ์. เมื่อได้พระมหาเถระแม้เกิดความโสมนัสว่า เราได้มหาเถระแล้ว ดังนี้ ทักขิณาก็ไม่ถึงสงฆ์เหมือนกัน. ส่วนบุคคลใดได้สามเณร ผู้อุป-

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 408

สมบทแล้ว ภิกษุหนุ่ม หรือเถระ ผู้พาลหรือ บัณฑิต รูปใดรูปหนึ่งจาก สงฆ์แล้ว ไม่สงสัย ย่อมอาจเพื่อทําความยําเกรงในสงฆ์ว่า เราจะถวายสงฆ์. ทักขิณาของบุคคลนั้นเป็นอัน ชื่อว่าถึงสงฆ์แล้ว. ได้ยินว่า พวกอุบาสกชาว สมุทรฝั่งโน้น กระทําอย่างนี้. ก็ในอุบาสกเหล่านั้น คนหนึ่งเป็นเจ้าของวัด เป็นกุฏมพี เจาะจงจากสงฆ์ว่า เราจักถวายทักขิณาที่ถึงสงฆ์ จึงเรียนว่า ขอท่านจงให้ภิกษุรูปหนึ่ง. อุบาสกนั้น ได้ภิกษุทุศีลรูปหนึ่ง พาไปสู่สถานที่นั่ง ปูอาสนะผูกเพดานเบื้องบน บูชาด้วยของหอม ธูป และดอกไม้ ล้างเท้า ทาด้วยน้ำมัน ได้ถวายไทยธรรมด้วยความยําเกรงในสงฆ์ ดุจทําความนอบน้อม แด่พระพุทธเจ้า. ภิกษุรูปนั้น มาสู่ประตูเรือนว่าท่านจงให้จอบเพื่อประโยชน์ แก่การปฏิบัติวัดในภายหลังภัต. อุบาสกนั่งเขี่ยจอบด้วยเท้าแล้วให้ว่า จงรับไป. มนุษย์ทั้งหลายได้กล่าวกะเขานั้นว่า ท่านได้ทําสักการะแก่ภิกษุนี้แต่เช้าตรู่เทียว ไม่อาจเพื่อจะกล่าว บัดนี้ แม้สักว่า อุปจาระ (มรรยาท) ก็ไม่มีนี้ชื่อว่าอะไร ดังนี้. อุบาสก กล่าวว่า แนะนาย ความยําเกรงนั้นมีต่อสงฆ์ ไม่มี แก่ภิกษุนั้น. ถามว่า ก็ใครย่อมยังทักขิณาที่ถวายสงฆ์ ซึ่งมีภิกษุมีผ้ากาสาวะ พันคอให้หมดจด. ตอบว่า พระมหาเถระ ๘๐ รูปมีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นต้น ย่อมให้หมดจดได้. อนึ่ง พระเถระทั้งหลายปรินิพพาน นานแล้ว พระขีณาสพทั้งหลายที่ยังมีชีวิตอยู่ตั้งแต่พระเถระเป็นต้น จนถึงทุก วันนี้ ย่อมให้หมดจดเหมือนกัน.

ในบทนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ แต่ว่า เราไม่กล่าวปาฏิบุคคลิก ทานว่ามีผลมากกว่าทักขิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไรๆ เลย สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขมีอยู่ สงฆ์ปัจจุบันนี้มีอยู่ สงฆ์ซึ่งมีภิกษุมีผ้า กาสาวะพันคอในอนาคตก็มีอยู่ สงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขไม่พึงนําเข้า ไปกับสงฆ์ในปัจจุบันนี้ สงฆ์ในปัจจุบันนี้ก็ไม่พึงนําเข้าไปกับสงฆ์ซึ่งมีภิกษุมีผ้า

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 409

กาสาวะพันคอในอนาคต พึงกล่าวตามสมัยนั้นเท่านั้น. ก็สมณปุถุชนซึ่งนําไป เฉพาะจากสงฆ์ เป็นปาฏิบุคคลิกโสดาบัน เมื่อบุคคลอาจเพื่อทําความยําเกรง ในสงฆ์ ทานที่ให้ในสมณะผู้ปุถุชน มีผลมากกว่า. ในคําแม้มีอาทิว่า โสดาบัน อันทายกถือเอาเจาะจง เป็นปาฏิบุคคลิกสทาคามี ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ เมื่อบุคคลอาจเพื่อทําความยําเกรงในสงฆ์ ให้ทานแม้ในภิกษุทุศีล ซึ่งเจาะจงถือเอา มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายในพระขีณาสพนั้นแล. ก็คําใดที่กล่าวว่า ดูก่อนมหาบพิตร ทานที่ให้แก่ผู้มีศีลแล มีผลมาก ทานที่ให้ในผู้ทุศีลหามีผลมากอย่างนั้นไม่ คํานั้นพึงละนัยนี้แล้ว พึงเห็นใน จตุกกะนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ก็ความบริสุทธิ์แห่งทักขิณานี้มี ๔ อย่าง. บทว่า ทายกโต วิสุชฺฌติ (บริสุทธิ์ฝ่ายทายก) ความว่า ทักขิณาบางอย่างบริสุทธิ์ โดยความมี ผลมากอธิบายว่า เป็นทาน มีผลมาก. บทว่า กลฺยาณ ธมฺโม (มีธรรมงาม) ได้แก่ มีสุจิธรรม บทว่า ปาปธมฺโม (มีธรรมลามก) คือมีธรรมอันชั่ว. ก็พึงแสดงพระเวสสันดรมหาราชใน บทนี้ว่า ทักขิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายก. ก็พระเวสสันดรมหาราชนั้น ทรง ให้พระโอรสพระธิดาแก่พราหมณ์ชูชกแล้ว ยังแผ่นดินให้หวั่นไหว พึงแสดง นายเกวัฏฏะ ผู้อาศัยอยู่ที่ประตูปากน้ำกัลยาณนทีในคํานี้ว่า ทักขิณาบางอย่าง บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก. ได้ยินว่า เกวัฏฏะนั้น ได้ถวายบิณฑบาตแก่พระทีฆโสมเถระถึง ๓ ครั้ง นอนบนเตียงเป็นที่ตายได้กล่าวว่า บิณฑบาตที่ถวายแก่ พระผู้เป็นเจ้าทีฆโสมเถระ ย่อมยกข้าพเจ้าขึ้น. พึงแสดงถึงพรานผู้อยู่ใน วัฑฒมานะในบทว่า เนว ทายกโต (ฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์) นี้. ได้ยินว่า นายพรานนั้นเมื่อให้ทุกขิณา อุทิศถึงผู้ตายได้ให้แก่ภิกษุผู้ทุศีลรูปหนึ่งนั้น แลถึง ๓ ครั้ง. ในครั้งที่ ๓ อมนุษย์ ร้องขึ้นว่า ผู้ทุศีลปล้นฉัน ดังนี้. ในเวลาที่พรานนั้นถวายแก่ภิกษุผู้มีศีลรูป หนึ่งมาถึง ผลของทักขิณาก็ถึงแก่เขา. พึงแสดงอสทิสทานในคํานี้ว่า ทักขิณา บางอย่างบริสุทธิ์ ฝ่ายทายกเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 410

ในคําว่า ทักขิณานั้นบริสุทธิ์ฝ่ายทายกนี้ พึงทราบความบริสุทธิ์แห่ง ทานในบททั้งปวง โดยทํานองนี้ว่า ชาวนาผู้ฉลาดได้นาแม้ไม่ดี ไถในสมัย กําจัดฝุ่น ปลูกพืชที่มีสาระดูแลตลอดคืนวัน เมื่อไม่ถึงความประมาท ย่อมได้ ข้าวดีกว่านาที่ไม่ดูแลของคนอื่น ชื่อฉันใด ผู้มีศีลแม้ให้ทานแก่ผู้ทุศีลย่อมได้ผล มากฉันนั้น. ในบทว่า วีตราโค วีตราเคสุ พระอนาคามี ชื่อว่า ปราศ จากราคะ ส่วนพระอรหันที่เป็นผู้ปราศจากราคะโดยสิ้นเชิงทีเดียว เพราะฉะนั้น ทานที่พระอรหันต์ให้แก่พระอรหันต์นั่นแหละเป็นทานอันเลิศ. เพราะเหตุไร. เพราะไม่มีความปรารถนาภพของผู้อาลัยในภพ. ถามว่า พระขีณาสพย่อมไม่ เชื่อผลทานมิใช่หรือ. ตอบว่า บุคคลทั้งหลายเธอผลทาน ที่เป็นเช่นกับพระขีณาสพเทียว ไม่มี ก็กรรมที่พระขีณาสพทําแล้ว ไม่เป็นกุศล หรืออกุศล เพราะเป็นผู้ปราศจากฉันทราคะแล้ว ย่อมตั้งอยู่ในฐานกิริยา ด้วยเหตุนั้น บัณฑิตทั้งหลายจึงกล่าวว่า ทานของพระขีณาสพนั้นมีผลเลิศ ดังนี้. ถามว่า ก็ทานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้แก่พระสารีบุตรเถระมีผลมาก หรือว่าทาน ที่พระสารีบุตรเถระถวายแด่พระสัมมมาสัมพุทธเจ้ามีผลมาก. ตอบว่า บัณฑิต ทั้งหลายกล่าวว่าทานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้แก่พระสารีบุตรมีผลมาก. เพราะเหตุไร. เพราะบุคคลอื่นเว้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าสามารถให้ผล ทานให้เกิดขึ้นไม่มี. จริงอย่างนั้น ทานย่อมให้ผลแก่ผู้อาจเพื่อทําด้วยสัมปทา ๔ ในอัตภาพนั้นแล. สัมปทาในสูตรนี้มีดังนี้ คือความที่ไทยธรรมไม่เบียดเบียน ผู้อื่นเกิดขึ้น โดยธรรม โดยชอบ, ความที่เจตนาด้วยอํานาจแห่งบุพเจตนา เป็นต้น เป็นธรรมใหญ่, ความเป็นผู้มีคุณอันเลิศยิ่งโดยความเป็นพระขีณาสพ. ความถึงพร้อมด้วยวัตถุ โดยความเป็นผู้ออกแล้วจากนิโรธในวันนั้น ดังนี้.

จบอรรถกถาทักขิณาวิภังคสูตรที่ ๑๒

จบวรรคที่ ๔

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 411

รวมพระสูตรและอรรถกถาในวิภังควรรค

๑. ภัทเทกรัตตสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๓. มหากัจจานภัตเทกรัตตสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๖. มหากัมมวิภังคสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๗. สฬายตนวิภังคสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๘. อุทเทสวิภังคสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๙. อรณวิภังคสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๑๐. ธาตุวิภังคสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๑๑. สัจจวิภังคสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา