พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. นันทโกวาทสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ก.ค. 2564
หมายเลข  34548
อ่าน  875
  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 450

๔. นันทโกวาทสูตร

[๗๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระมหาปชาบดี โคตมี พร้อมด้วยภิกษุณีประมาณ ๕๐๐ รูป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายัง ที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงโอวาทสั่งสอนพวกภิกษุณี จงตรัสสั่ง แสดงธรรมแก่พวกภิกษุณีเถิด.

[๗๖๗] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ย่อมโอวาทพวกภิกษุณี โดยเป็นเวรกัน แต่ท่านพระนันทกะ ไม่ปรารถนาจะโอวาทพวกภิกษุณีโดย เป็นเวรกัน ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ วันนี้ เวรโอวาทภิกษุณีโดยเป็นเวรกัน ของใครหนอแล.

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งปวงทํา เวรโอวาทภิกษุณีโดยเป็นเวรกัน หมดแล้ว แต่ท่านพระนันทกะรูปนี้ ไม่ปรารถนาจะโอวาทพวกภิกษุณีโดยเป็นเวรกัน ต่อนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส กะท่านพระนันทกะว่าดูก่อนนันทกะ เธอจงโอวาทสั่งสอนพวกภิกษุณี ดูก่อน พราหมณ์ เธอจงกล่าวแสดงธรรมกถาแก่พวกภิกษุณีเถิด ท่านพระนันทกะ ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า แล้วนุ่งสบงทรงบาตร จีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถีในเวลาเช้า ครั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว เข้าไปยังวิหารราชการามแต่รูปเดียว ภิกษุณีเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 451

ได้เห็นท่านพระนันทกะเดินมาแต่ไกล พากันแต่งตั้งอาสนะและตั้งน้ำสําหรับ ล้างเท้าไว้ ท่านพระนันทกะนั่งบนอาสนะที่แต่งตั้งไว้แล้ว จึงล้างเท้า แม้ภิกษุณีเหล่านั้น ก็ถวายอภิวาทท่านพระนันทกะ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๗๖๘] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระนันทกะได้กล่าวดังนี้ว่าดูก่อน น้องหญิงทั้งหลาย จักต้องมีข้อสอบถามกันแล ในข้อสอบถามนั้น น้องหญิงทั้งหลายรู้อยู่ พึงตอบว่ารู้ ไม่รู้อยู่. ก็พึงตอบว่าไม่รู้. หรือน้องหญิงรูปใด มีความเคลือบแคลงสงสัย น้องหญิงรูปนั้น พึงทวนถามข้าพเจ้าในเรื่องนั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อนี้เป็นอย่างไร ข้อนี้มีเนื้อความอย่างไร.

ภิกษุณีเหล่านั้นกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกดิฉันย่อมพอใจยินดีต่อพระผู้เป็นเจ้านันทกะ ด้วยเหตุที่พระผู้เป็นเจ้านันทกะ ปวารณาแก่พวกดิฉันเช่นนี้.

ว่าด้วยอายตนะภายใน

[๗๖๙] น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสําคัญความข้อนั้น เป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี เป็นทุกข์ เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

ภิกษุณี ไม่ควรเลย เจ้าข้า.

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน โสตเที่ยงหรือไม่เที่ยง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 452

ภิกษุณี ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. ฆานะเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี เป็นทุกข์ เจ้าข้า

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

ภิกษุณี ไม่ควรเลย เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร.

ภิกษุณี เพราะเมื่อก่อน พวกดิฉันมิได้เห็นข้อนั้นดีด้วยปัญญาชอบ ตามความเป็นจริงว่า อายตนะภายใน ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้ เจ้าข้า

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย ถูกละๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วย ปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล

[๗๗๐] น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 453

ภิกษุณี ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี เป็นทุกข์ เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิกษุณี ไม่ควรเลย เจ้าข้า.

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เสียงเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. กลิ่นเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. รสเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. โผฏฐัพพะเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี เป็นทุกข์ เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิกษุณี ไม่ควรเลย เจ้าข้า

น. นั่นเพราะเหตุไร.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 454

ภิกษุณี เพราะเมื่อก่อน พวกดิฉันมิได้เห็นข้อนั้นดีด้วยปัญญาชอบ ตามความเป็นจริงว่า อายตนะภายนอก ๖ ของเราไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้ เจ้าข้า.

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย ถูกละๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ ด้วยปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล. ว่าด้วยกองแห่งวิญญาณ

[๗๗๑] น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสําคัญความข้อนั้น เป็นไฉน จักษุวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี เป็นทุกข์ เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่น ของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

ภิกษุณี ไม่ควรเลย เจ้าข้า.

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน โสตวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. ฆานวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ.

น. ชิวหาวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ.

น. กายวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 455

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ.

น. มโนวิญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง. เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิกษุณี. ไม่ควร เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร.

ภิกษุณี. เพราะเมื่อก่อน พวกดิฉันมิได้เห็นข้อนั้นดีด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงว่า หมวดวิญญาณ ๖ ของเราไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้เจ้าข้า.

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย ถูกละๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วยปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล.

[๗๗๒] น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันกําลังติดไฟอยู่ มีน้ำมันก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไส้ก็ไม่เที่ยงแปรปรวนไปเป็นธรรมดา เปลวไฟก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แสงสว่างก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ประทีปน้ำมันที่กําลังติดไฟอยู่โน้น มีน้ำมันก็ไม่เที่ยงแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไส้ก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เปลวไฟก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แต่ว่าแสงสว่างของประทีปนั้นแลเที่ยงยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าวชอบหรือหนอแล.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 456

ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า.

น. นั้นเพราะเหตุไร.

ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะประทีปน้ำมันที่กําลังติดไฟอยู่โน้นมีน้ำมันก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไส้ก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เปลวไฟก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แสงสว่างของประทีปนั้น ก็ต้องไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เช่นกัน.

[๗๗๓] ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อายตนะภายใน ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะภายในเสวยเวทนาใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เวทนานั้น เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาบุคคลผู้กล่าวอย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวชอบหรือหนอแล.

ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร.

ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะเวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายในนั้นๆ อาศัยปัจจัยที่เกิดแต่อายตนะภายในนั้นๆ แล้ว จึงเกิดขึ้นได้ เพราะปัจจัยที่เกิดแต่อายตนะภายในนั้นๆ ดับ เวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายในนั้นๆ จึงดับไป.

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย ถูกละๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วยปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล.

[๗๗๔] น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ มีรากก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ลําต้นก็ไม่เที่ยงแปรปรวนไปเป็นธรรมดา กิ่งและใบก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดาเงาก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย ผู้ใดพึง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 457

กล่าวอย่างนี้ว่า ต้นไม้ไหญ่ มีแก่นตั้งอยู่โน้น มีรากก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ลําต้นก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา กิ่งและใบก็ไม่เที่ยงแปรปรวนไปเป็นธรรมดา แต่ว่าเงาของต้นไม้นั้นแล เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ผู้ที่กล่าวอยู่นั้นชื่อว่าพึงกล่าวชอบหรือหนอแล.

ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร.

ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะต้นไม้ใหญ่ มีแก่นตั้งอยู่โน้นมีรากก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ลําต้นก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา กิ่งและใบก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เงาของต้นไม้ก็ต้องไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เช่นกัน

ว่าด้วยอายตนะภายนอก ๖

[๗๗๕] พ. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อายตนะภายนอก ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะภายนอกเสวยเวทนาใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เวทนานั้น เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา บุคคลผู้กล่าวนั้นชื่อว่า กล่าวชอบหรือหนอแล

ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร.

ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะเวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายนอกนั้นๆ อาศัยปัจจัยที่เกิดแต่อายตนะภายนอกนั้นๆ แล้ว จึงเกิดขึ้นได้ เพราะ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 458

ปัจจัยที่เกิดแต่อายตนะภายนอกนั้นๆ ดับ เวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายนอกนั้นๆ จึงดับไป.

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย ถูกละๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วยปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล.

[๗๗๖] น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ฉลาด ฆ่าโคแล้ว ใช้มีดแล่โคอันคมชําแหละโค แยกส่วนเนื้อข้างใน แยกส่วนหนังข้างนอกไว้ ในส่วนเนื้อนั้น ส่วนใดเป็นเนื้อล่ําในระหว่าง เอ็นในระหว่าง เครื่องผูกในระหว่าง ก็ใช้มีดแล่โคอันคมเถือแล่คว้านส่วนนั้นๆ ครั้นแล้วคลี่ส่วนหนังข้างนอกออก เอาปิดโคนั้นไว้ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า โคตัวนี้ประกอบด้วยหนังผืนนี้ เหมือนอย่างเดิมนั่นเองน้องหญิงทั้งหลายคนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้กล่าวนั้นชื่อว่า กล่าวชอบหรือหนอแล.

ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า.

น. นั่น เพราะเหตุไร.

ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะคนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ฉลาดโน้น ฆ่าโคแล้ว ใช้มีดแล่โคอันคมชําแหละโค แยกส่วนเนื้อข้างในแยกส่วนหนังข้างนอกไว้ในส่วนเนื้อนั้น ส่วนใดเป็นเนื้อล่ําในระหว่าง เอ็นในระหว่าง เครื่องผูกในระหว่าง ก็ใช้มีดแล่โคอันคมเถือ แล่ คว้านส่วนนั้นๆ ครั้นแล้วคลี่ส่วนหนังข้างนอกออก เอาปิดโคนั้นไว้ แม้เขาจะกล่าวอย่างนี้ว่าโคตัวนี้ประกอบด้วยหนังผืนนี้ เหมือนอย่างเดิมนั่นเอง ก็จริง ถึงกระนั้นแลโคนั้นก็แยกกันแล้วจากหนังผืนนั้น.

[๗๗๗] น. น้องหญิงทั้งหลาย เราเปรียบอุปมานี้เพื่อให้เข้าใจเนื้อความชัด เนื้อความในอุปมานั้น มีดังต่อไปนี้ น้องหญิงทั้งหลาย ข้อว่าส่วน

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 459

เนื้อข้างในนั้น เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ ส่วนหนังข้างนอกนั้น เป็นชื่อของอายตนะภายนอก ๖ เนื้อล่ําในระหว่าง เอ็นในระหว่าง เครื่องผูกในระหว่างนั้นเป็นชื่อของนันทิราคะ มีดแล่โคอันคมนั้น เป็นชื่อของปัญญาอันประเสริฐซึ่งใช้เถือแล่คว้านกิเลสในระหว่าง สัญโญชน์ในระหว่างเครื่องผูกในระหว่างได้.

ว่าด้วยโพชฌงค์ ๗

[๗๗๘] ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย โพชฌงค์ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว เป็นเหตุ ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทําให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่เหล่านี้ มี๗ อย่างแล ๗ อย่างเป็นไฉน ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้.

(๑) ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย

(๒) ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์...

(๓) ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์...

(๔) ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์...

(๕) ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์...

(๖) ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์...

(๗) ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธอันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อยดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย เหล่านั้นแลโพชฌงค์ ๗ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว เป็นเหตุ ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทําให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 460

[๗๗๙] ครั้นท่านพระนันทกะกล่าวสอนภิกษุณีเหล่านั้นด้วยโอวาทนี้แล้วจึงส่งไปด้วยคําว่า ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงไปเถิด สมควรแก่เวลาแล้ว ลําดับนั้น ภิกษุณีเหล่านั้น ยินดีอนุโมทนาภาษิตของท่านพระนันทกะแล้ว ลุกจากอาสนะ อภิวาทท่านพระนันทกะ กระทําประทักษิณเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้ายืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุณีทั้งหลาย พวกเธอจงไปเถิด สมควรแก่เวลาแล้ว ต่อนั้นภิกษุณีเหล่านั้น ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทําประทักษิณแล้วหลีกไป.

[๗๘๐] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นหลีกไปแล้วไม่นาน ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในทุกวันอุโบสถ ๑๔ ค่ํานั้น ชนเป็นอันมากไม่มีความเคลือบแคลง หรือสงสัยว่าดวงจันทร์พร่องหรือเต็มหนอ แต่แท้ที่จริง ดวงจันทร์ก็ยังพร่องอยู่ที่เดียวฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ชื่นชมธรรมเทศนาของนันทกะ ทั้งๆ ที่ยังไม่มีความดําริบริบูรณ์เลย ฉันนั้นเหมือนกันแล ในลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระนันทกะว่า ดูก่อนนันทกะถ้าเช่นนั้น วันพรุ่งนี้เธอก็พึงกล่าวสอนภิกษุณีเหล่านั้นด้วยโอวาทนั้น เหมือนกันท่านพระนันทกะทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

[๗๘๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระนันทกะ พอล่วงราตรีนั้นไปแล้ว ถึงเวลาเช้า จึงนุ่งสบงทรงบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว เข้าไปยังวิหารราชการามแต่รูปเดียว ภิกษุณีเหล่านั้นได้เห็นท่านพระนันทกะเดินมาแต่ไกล จึงพากันแต่งตั้งอาสนะและตั้งน้ำล้างเท้าไว้ ท่านพระนันทกะนั่งบนอาสนะที่แต่งตั้งไว้แล้ว

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 461

จึงล้างเท้า แม้ภิกษุณีเหล่านั้นก็อภิวาทท่านพระนันทกะแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๗๘๒] พอนึ่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระนันทกะได้กล่าวดังนี้ว่าดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย จักต้องมีข้อสอบถามกันแล ในข้อสอบถามนั้นน้องหญิงทั้งหลายรู้อยู่ พึงตอบว่ารู้ ไม่รู้อยู่ ก็พึงตอบว่าไม่รู้ หรือน้องหญิงรูปใด มีความเคลือบแคลงสงสัย น้องหญิงรูปนั้น พึงทวนถามข้าพเจ้าในเรื่องนั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อนี้เป็นอย่างไร ข้อนี้มีเนื้อความอย่างไรเถิด.

ภิกษุณีเหล่านั้นกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกดิฉันย่อมพอใจยินดีต่อพระผู้เป็นเจ้านันทกะ ด้วยเหตุที่พระผู้เป็นเจ้านันทกะปวารณาแก่พวกดิฉัน เช่นนี้.

ว่าด้วยอายตนะภายใน ๖

[๗๘๓] น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้า.

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉนโสตเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 462

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ.

น. ฆานะเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ.

น. ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ.

น. กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร.

ภิกษุณี. เพราะเมื่อก่อน พวกดิฉันมิได้เห็นข้อนั้นดีด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงว่า อายตนะภายใน ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้เจ้าข้า.

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย ถูกล่ะๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วยปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล.

[๗๘๔] น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสําคัญความข้อนั้น.เป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 463

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า.

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉนเสียงเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. กลิ่นเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. รสเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. โผฏฐัพพะเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า. ฯลฯ

น. ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 464

ภิกษุณี. เพราะเมื่อก่อน พวกดิฉันมิได้เห็นข้อนั้นดีด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงว่า อายตนะภายนอก ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้เจ้าข้า.

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย ถูกละๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วยปัญญาชอบ ตามเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล.

ว่าด้วยกองแห่งวิญญาณ ๖

[๗๘๕] น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า.

น. น้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสําคัญความข้อนั้น เป็นไฉน โสตวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ฆานวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ชิวหาวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. กายวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 465

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร.

ภิกษุณี. เพราะเมื่อก่อน พวกดิฉันมิได้เห็นข้อนั้นดีด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงว่า กองวิญญาณ ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้เจ้าข้า.

น. น้องหญิงทั้งหลาย ถูกละๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วยปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล.

[๗๘๖] น้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันกําลังติดไฟอยู่ มีน้ำมันก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรนดา ไส้ก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เปลวไฟก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แสงสว่างก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา น้องหญิงทั้งหลาย ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่าประทีปน้ำมันที่กําลังติดไฟอยู่โน้น มีน้ำมันก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดาไส้ก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เปลวไฟก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แต่ว่าแสงสว่างของประทีป นั้นแล เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ผู้ที่กล่าวนั้น ชื่อว่า พึงกล่าวชอบหรือหนอแล.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 466

ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะอะไร.

ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะประทีปน้ำมัน ที่กําลังติดไฟอยู่โน้นมีนํามันก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไส้ก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เปลวไฟก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แสงสว่างของประทีปนั้นก็ต้องไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เช่นกัน.

[๗๘๗] น. น้องหญิงทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อายตนะภายใน ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะภายในเสวยเวทนาใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เวทนานั้น เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาบุคคลผู้กล่าวนั้น ชื่อว่า กล่าวชอบหรือหนอแล.

ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร.

ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะเวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายในนั้นๆ อาศัยปัจจัยที่เกิดแต่อายตนะภายในนั้นๆ แล้ว จึงเกิดขึ้นได้ เพราะปัจจัยที่เกิดแต่อายตนะภายในนั้นๆ ดับ เวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายในนั้นๆ จึงดับไป.

น. น้องหญิงทั้งหลายถูกละๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วยปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล.

[๗๘๘] น้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่มีรากก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรนดา ลําต้นก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา กิ่งและใบก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เงาก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา น้องหญิงทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า นี้ไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่โน้น มีรากก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ลําต้นนี้ก็ไม่เที่ยง

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 467

แปรปรวนไปเป็นธรรมดา กิ่งและใบก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดาแต่ว่าเงาของต้นไม้นั้นแล เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ผู้ที่กล่าวนั้น ชื่อว่า พึงกล่าวชอบหรือหนอแล.

ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร

ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะต้นไม้ใหญ่ มีแก่นตั้งอยู่โน้นมีรากก็ไม่เทียง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ลําต้นก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา กิ่งและใบก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เงาของต้นไม้นั้นก็ต้องไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดาเช่นกัน.

ว่าด้วยอายตนะภายนอก ๖

[๗๘๙] น. น้องหญิงทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อายตนะภายนอก ๖ ของเราไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะภายนอกเสวยเวทนาใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตามเวทนานั้น เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาบุคคลผู้กล่าวนั้น ชื่อว่า กล่าวชอบหรือหนอแล.

ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร.

ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะเวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายนอกนั้นๆ อาศัยปัจจัยที่เกิดแต่อายตนะภายนอกนั้นๆ แล้ว จึงเกิดขึ้นได้ เพราะปัจจัยที่เกิดแต่อายตนะภายนอกนั้นๆ ดับ เวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายนอกนั้นๆ จึงดับไป.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 468

น. น้องหญิงทั้งหลาย ถูกละๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วยปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล.

[๗๙๐] ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ฉลาด ฆ่าโคแล้ว ใช้มีดแล่โคอันคมชําแหละโค แยกส่วนเนื้อข้างในแยกส่วนข้างนอกไว้ ในส่วนเนื้อนั้น ส่วนใดเป็นเนื้อล่ําในระหว่างเอ็นในระหว่าง เครื่องผูกในระหว่าง ก็ใช้มีดแล่โคอันคมเถือ แล่ คว้านส่วนนั้นๆ ครั้นแล้วคลี่ส่วนหนังข้างนอกออก เอาปิดโคนั้นไว้ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า โคตัวนี้ประกอบด้วยหนังผืนนี้ เหมือนอย่างเดิมนั้นเอง ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย คนฆ่าโคหรือลูกมือของตนฆ่าโคผู้กล่าวนั้น ชื่อว่า กล่าวชอบหรือหนอแล.

ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร.

ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะคนฆ่าโค หรือลูกมือของตนฆ่าโคผู้ฉลาดโน้น ฆ่าโคแล้ว ใช้มีดแล่โคอันคมชําแหละโค แยกส่วนเนื้อข้างในแยกส่วนหนังข้างนอกไว้ ในส่วนเนื้อนั้น ส่วนใดเป็นเนื้อล่ําในระหว่า เอ็นในระหว่าง เครื่องผูกในระหว่าง ก็ใช้มีดแล่โคอันคมเถือ แล่ คว้านส่วนนั้นๆ ครั้น แล้วคลี่ส่วนหนังข้างนอกออก เอาปิดโคนั้นไว้ แม้เขาจะกล่าวอย่างนี้ว่าโคตัวนี้ประกอบด้วยหนังผืนนี้ เหมือนอย่างเดิมนั่นเอง ก็จริง ถึงกระนั้นแลโคนั้น ก็แยกกันแล้วจากหนังผืนนั้น.

[๗๙๑] น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย เราเปรียบอุปมาน เพื่อให้เข้าใจเนื้อความชัด เนื้อความในอุปมานั้น มีดังต่อไปนี้ ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลายข้อว่าส่วนเนื้อข้างในนั้น เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ ส่วนหนังข้างนอกนั้นเป็นชื่อของอายตนะภายนอก ๖ เนื้อล่ําในระหว่าง เอ็นในระหว่าง เครื่องผูก

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 469

ในระหว่าง นั้นเป็นชื่อของนันทิราคะ มีดแล่โคอันคมนั้น เป็นชื่อของปัญญาอันประเสริฐ ซึ่งใช้เถือ แล่ คว้านกิเลสในระหว่าง สัญโญชน์ในระหว่างเครื่องผูกในระหว่างได้.

ว่าด้วยโพชฌงค์ ๗

[๗๙๒] ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย โพชฌงค์ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว เป็นเหตุ ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทําให้แจ้งเพราะรู้ยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่เหล่านี้ มี๗ อย่างแล ๗ อย่างเป็นไฉน ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้.

(๑) ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย

(๒) ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์...

(๓) ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์...

(๔) ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์...

(๕) ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์...

(๖) ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์...

(๗) ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย เหล่านี้แลโพชฌงค์ ๗ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทําให้มากแล้วเป็นเหตุ ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทําให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 470

[๗๙๓] ครั้นท่านพระนันทกะกล่าวสอนภิกษุณีเหล่านั้น ด้วยโอวาทนี้แล้ว จึงส่งไปด้วยคําว่า ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงไปเถิดสมควรแก่เวลาแล้ว ลําดับนั้น ภิกษุณีเหล่านั้น ยินดีอนุโมทนาภาษิตของท่านพระนันทกะแล้ว ลุกจากอาสนะ อภิวาทท่านพระนันทกะ กระทําประทักษิณเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้ายืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่าดูก่อนภิกษุณีทั้งหลาย พวกเธอจงไปเถิด สมควรแก่เวลาแล้ว ต่อนั้นภิกษุณีเหล่านั้นได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า การทําประทักษิณแล้วหลีกไป.

[๗๙๔] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นหลีกไปแล้วไม่นาน ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในทุกวันอุโบสถ ๑๕ ค่ํานั้น ชนเป็นอันมากไม่มีความเคลือบแคลง หรือสงสัยว่าดวงจันทร์พร่องหรือเต็มหนอ แต่แท้ที่จริงดวงจันทร์ก็เต็มแล้วทีเดียว ฉันใดดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้นย่อมเป็นผู้ชื่นชมธรรมเทศนาของนันทกะและมีความดําริบริบูรณ์แล้ว ฉันนั้นเหมือนกันแล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบรรดาภิกษุณีทั้ง ๕๐๐ รูปนั้น รูปสุดท้ายยังเป็นถึงพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ นันทโกวาทสูตร ที่ ๔

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 471

อรรถกถานันทโกวาทสูตร

นันทโกวาทสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

ในสูตรนั้น คําว่า ก็โดยสมัยนั้นแล ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้รับการขอร้องจากพระมหาปชาบดีโคตมีแล้ว ก็ทรงส่งภิกษุณีสงฆ์ไป. แล้วรับสั่งให้ภิกษุสงฆ์เข้าประชุม ทรงกระทําการแก่สงฆ์ว่า ภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระจงเปลี่ยนเวรกันสอนพวกภิกษุณี พระอานนท์กล่าวหมายเอาความข้อนั้น จึงกล่าวคําว่านี้. ในสูตรนั้น คําว่า ปริยาเยน หมายถึงโดยวาระ.คําว่า ไม่ปรารถนา คือเมื่อถึงเวรของตนแล้ว ผู้สอนภิกษุณีจะไปบ้านไกลหรือเอาเข็มมาเย็บผ้าเป็นต้น แล้วสั่งให้พูดแทนว่า นี้คงจะเป็นความล่าช้าของภิกษุนั้น แต่การเปลี่ยนเวรกันสอนนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทําการะเพราะเหตุแห่งพระนันทกเถระเท่านั้น. เพราะเหตุไร เพราะเมื่อพวกภิกษุณีเหล่านี้ได้เห็นพระเถระแล้ว จิตก็จะเลื่อมใสแน่วแน่. เพราะเหตุนั้น พวกนางภิกษุณีเหล่านั้นจึงอยากรับคําสอนของท่าน ประสงค์จะฟังธรรมกถา ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงทําโอวาทโดยวาระว่า เมื่อถึงเวรของตนแล้วนันทกะจะแสดงโอวาทจะกล่าวธรรมกถา ฝ่ายพระเถระไม่ยอมทําเวรของตน.หากมีคําถามว่า เพราะเหตุไร ก็ตอบว่า นัยว่าภิกษุณีเหล่านั้น เมื่อพระเถระเสวยราชสมบัติในชมพูทวีปเมื่อชาติก่อน เป็นนางสนม. พระเถระได้ทราบเหตุการณ์นั้นด้วยบุพเพนิวาสญาณ จึงคิดว่า ภิกษุอื่นที่ได้บุพเพนิวาสญาณเมื่อได้เห็นเรานั่งกลางภิกษุณีสงฆ์นี้ชักเอาข้อเปรียบเทียบและเหตุการณ์ต่างๆ มากล่าวธรรมอยู่ ก็จะพึงมองเหตุการณ์นี้แล้วสําคัญคําที่จะพึงกล่าวว่า ท่านนันทกะไม่ยอมทั้งพวกนางสนมจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ท่านนันทกะที่มีนางสนม

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 472

ห้อมล้อมนี้ ช่างงามแท้. เมื่อพิจารณาเห็นความข้อนี้ พระเถระจึงไม่ยอมทําเวรของตน. และเล่ากันมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ธรรมเทศนาของพระเถระเท่านั้น จึงจะเป็นที่สบายแก่ภิกษุณีเหล่านั้น จึงรับสั่งเรียกพระนันทกะมาในครั้งนั้นแล. เพื่อรู้ว่าภิกษุณีเหล่านั้นเมื่อชาติก่อนเป็นนางสนมของพระเถระมา จึงมีเรื่องดังต่อไปนี้.

มีเรื่องเล่ากันมาว่า ครั้งก่อน ที่กรุงพาราณสีมีพวกทํางานด้วยลําแข้งอยู ่๑,๐๐๐ คน คือ ทาส ๕๐๐ คน ทาสี ๕๐๐ คน ทํางานด้วยกัน พักอยู่ในที่เดียวกัน. พระนันทกเถระนี้เป็นหัวหน้าทาสในเวลานั้น พระโคตมีเป็นหัวหน้าทาสี นางเป็นภรรยาที่ฉลาดสามารถของหัวหน้าทาส. แม้พวกทํางานด้วยลําแข้งทั้ง ๑,๐๐๐ คน เมื่อจะทําบุญกรรม ก็ทําด้วยกัน ต่อมาเวลาเช้าพรรษา มีพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕ องค์ จากเงื้อมเขานันทมูลกะมาลงที่อิสิปตนะเที่ยวบิณฑบาตในกรุงแล้วก็ไปสู่อิสิปตนะนั่นแหละ คิดว่า พวกเราจะขอหัตถกรรมเพื่อประโยชน์แก่กุฏิอยู่จําพรรษา ห่มจีวรเข้าไปสู่กรุงในตอนเย็นยืนที่ประตูเรือนเศรษฐี. นางหัวหน้าทาสีกระเดียดหม้อน้ำไปท่าน้ำได้เห็นพวกพระปัจเจกพุทธเจ้าที่กําลังเข้าสู่กรุง. เศรษฐีได้ฟังเหตุการณ์ที่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นมา ก็พูดว่า พวกเราไม่มีเวลาว่างนิมนต์ไปเถอะ.

ครั้งนั้น นางหัวหน้าทาสีกําลังทูนหม้อน้ำเข้าไปก็เห็นพวกพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น กําลังออกมาจากกรุง จึงยกหม้อน้ำลง น้อมไหว้ ปิดหน้าแล้วทูลถามว่า พวกพระผู้เป็นเจ้าสักว่าเข้าสู่กรุงแล้วก็ออกมา อะไรกันหนอ.

ปัจ. พวกอาตมา มาเพื่อขอหัตถกรรมแห่งกุฏิจําพรรษา.

ทา. ได้หรือเปล่า เจ้าคะ.

ปัจ. ไม่ได้หรอก อุบาสิกา.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 473

ทา. ก็แหละกุฏินั้น พวกคนใหญ่คนโตเท่านั้น จึงจะทําได้ หรือแม้แต่พวกคนยากจนก็ทําได้.

ปัจ. ใครผู้ใดผู้หนึ่งอาจทําได้.

ทา. ดีล่ะ เจ้าค่ะ พวกดิฉันจะทําถวาย พรุ่งนี้นิมนต์รับภิกษาของดิฉันนะคะ นิมนต์ไว้แล้วก็เอาน้ำไป แล้วกระเดียดหม้อน้ำมายืนที่ทางท่าน้ำอีกพูดกับพวกทาสีที่เหลือซึ่งพากันมาแล้วว่า พวกเธอจงอยู่นี้แหละ ในเวลาที่ทุกคนมาแล้วก็พูดว่า แม่ นี่พวกเธอจะทํางานเป็นขี้ข้าคนอื่นตลอดไปหรือ หรืออยากจะพ้นจากความเป็นขี้ข้า. พวกทาสีตอบว่า อยากจะพ้นในวันนี้แหละ แม่เจ้า นางจึงว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น พรุ่งนี้ฉันได้นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๕ องค์ที่ไม่ได้หัตถกรรมมาฉัน ขอให้พวกเธอจงให้พวกสามีของพวกเธอให้หัตถกรรมสักวันเถิด. พวกนางเหล่านั้น ก็รับว่า ได้ แล้วก็บอกแก่สามีในเวลาที่มาจากดงในตอนเย็น.

พวกเขาก็รับว่า ตกลง แล้วก็พากันไปประชุมที่ประตูเรือนของพวกหัวหน้าทาสี. ลําดับนั้น นางหัวหน้าทาสีกล่าวก็พวกเขาเหล่านั้นว่า พ่อทั้งหลายพรุ่งนี้ขอให้พวกคุณจงให้หัตถกรรมแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเถิดนะคะแล้วก็บอกอานิสงส์ ขู่แล้ว ปกป้องพวกที่ไม่อยากทําด้วยโอวาทที่หนักแน่นวันรุ่งขึ้น นางได้ถวายอาหารแด่พวกพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วให้สัญญาณแก่พวกลูกทาสทุกคน. ทันใดนั้น พวกลูกทาสเหล่านั้นก็เข้าป่า รวบรวมเครื่องเคราร้อยก็ทั้งร้อยสร้างกุฏิกัน แต่ละหลังๆ มีบริวารคือที่จงกรมเป็นต้น หลังละแห่งๆ วางเตียง ตั่ง น้ำดื่มและภาชนะสําหรับใส่ของที่ต้องฉันเป็นต้นไว้ ขอให้พวกพระปัจเจกพุทธเจ้าทําปฏิญญาเพื่อประโยชน์อยู่ในกุฏินั้นตลอดสามเดือน แล้วตั้งเวรถวายอาหารกัน. ในวันเวรตน ใครไม่สามารถ นางหัวหน้าทาสีก็ขนเอาจากเรือนตนเองมาถวายแทนผู้นั้น. เมื่อนางหัวหน้าทาสีปรนนิบัติตลอดสาม

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 474

เดือนอย่างนี้เสร็จแล้ว ก็ให้ทาสแต่ละคนสละผ้ากันคนละผืน ได้ผ้าเนื้อหยาบ๕๐๐ ผืน ให้พลิกแพลงผ้าเหล่านั้น ทําเป็นไตรจีวรถวายพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๕ องค์. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายก็หลีกไปตามสําราญ. แม้คนผู้ทํางานด้วยลําแข้งทั้งพันคนนั้นได้ทํากุศลมาด้วยกัน ตายแล้วก็เกิดในเทวโลก. แม่บ้านทั้ง ๕๐๐ คนนั้น บางทีก็เป็นภรรยาของชายทั้ง ๕๐๐ คนนั้น. บางทีแม้ทั้งหมดก็เป็นภรรยาของลูกทาสผู้เป็นหัวหน้าเท่านั้น. ต่อมา ในกาลครั้งหนึ่งลูกหัวหน้าทาสเคลื่อนจากเทวโลกมาบังเกิดในราชตระกูล. ถึงเทวกัญญาทั้ง๕๐๐ นั้น ก็มาเกิดในตระกูลที่มีสมบัติมาก เมื่อเจ้าชายนั้นได้เสวยราชย์ก็ไปสู่พระราชวัง เป็นนางสนม. เมื่อพวกนางท่องเที่ยวอยู่โดยทํานองนี้ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา ก็มาเกิดในตระกูลกษัตริย์ในโกลิยนครบ้าง ในเทวทหนครบ้าง.

แม้พระนันทกะเล่า เมื่อบวชแล้วก็ได้สําเร็จเป็นพระอรหันต์. ลูกสาวหัวหน้าทาสี เจริญวัยแล้ว ก็ดํารงอยู่ในตําแหน่งอัครมเหสี ของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช. ถึงหญิงนอกนี้ก็ไปสู่วัง (คือเป็นพระชายา) ของราชบุตรเหล่านั้น. เจ้าชาย ๕๐๐ องค์ ซึ่งเป็นพระสวามีของพวกพระนางเหล่านั้น ได้ทรงฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาในเพราะการทะเลาะกันเกี่ยวกับแย่งน้ำแล้วก็ทรงผนวช. พวกเจ้าหญิงก็ทรงส่งพระสาส์น เพื่อให้พวกเจ้าชายเหล่านั้นกระสัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพาพวกท่านผู้กระสันเหล่านั้นไปสระดุเหว่าแล้วทรงให้ดํารงอยู่ในโสดาปัตติผล ในวันประชุมใหญ่ก็ทรงให้ตั้งอยู่ในความเป็นพระอรหันต์. แม้เจ้าหญิงทั้ง ๕๐๐ องค์นั้นเล่า ก็พากันออกไปบวชในสํานักพระมหาประชาบดี.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 475

พึงแสดงเรื่องนี้อย่างนี้ว่า หัวหน้าทาสนี้คือ ท่านพระนันทกะ นางทาสีเหล่านี้แหละ คือภิกษุณีเหล่านั้น ดังนี้. คําว่า ราชการาโม ได้แก่ วัดที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสร้างไว้ในสถานที่คล้ายถูปาราม ที่ส่วนทิศใต้ของพระนคร คําว่า สมฺมปฺปฺาย สุทฏํ (มิได้เห็นข้อนั้นอย่างชัดแจ้งด้วยปัญญาชอบ) คือที่เห็นตามเหตุ ตามการณ์ด้วยวิปัสสนาปัญญา คือตามความเป็นจริง. คําว่า ตชฺชํ ตชฺชํ (ที่เกิดแต่อายตนะภายในนั้นๆ) คือมีปัจจัยนั้นเป็นตัวแท้ มีปัจจัยนั้นเป็นสภาพ. มีคําที่อธิบายว่า ก็แล เวทนานั้นๆ เพราะอาศัยปัจจัยนั้นๆ จึงเกิดขึ้น. คําว่า ปเควสฺส ฉายา (เงาของต้นไม้นั้น) ความว่าความที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยรากเป็นต้นก็ไม่เที่ยง ตั้งแต่เริ่มแรกทีเดียว คําว่า อนุปหจฺจ (แยก) คือไม่เข้าไปประหาร บุคคลทําเนื้อให้เห็นก้อนๆ แล้วปล่อยให้หนังห้อยย้อยมา ชื่อว่าย่อมเข้าไปกําจัดกายคือเนื้อ ในคําว่า ไม่เข้าไปกําจัด นั้น บุคคลทําให้หนังติดกันเป็นพืด แล้วปล่อยให้เนื้อทั้งหลายห้อยย้อยมาชื่อว่าย่อมเข้าไปกําจัดกายคือหนัง ไม่ทําอย่างนั้น. คําว่า วิลิมํสมหารุ พนฺธนํ (เนื้อล่ำ เอ็นใหญ่ เอ็นเล็ก) ได้แก่ เนื้อที่พอกที่ติดที่หนังทั้งหมดนั่นเอง. ท่านกล่าวหมายเอากิเลสในระหว่างทุกอย่างนั้นแหละว่า มีเครื่องผูกคือกิเลสสังโยชน์ในระหว่างดังนี้.

ถามว่า ทําไม ท่านจึงกล่าวคําว่า ก็เจ็ดอย่างเหล่านี้แล. ตอบว่าเพราะปัญญาใดที่ท่านว่า ปัญญานี้ย่อมตัดกิเลสทั้งหลายได้ ปัญญานั้น ลําพังอย่างเดียวแท้ๆ ไม่อาจตัดได้โดยธรรมดาของคน. ก็เหมือนอย่างว่า. ขวานโดยธรรมดาของตนแล้วจะตัดสิ่งที่ต้องตัดให้ขาดไม่ได้ ต่อเมื่ออาศัยความพยายามที่เกิดจากคนนั้นของบุรุษแล้ว จึงจะตัดได้ฉันใด เว้นจากโพชฌงค์อีก ๖ ข้อแล้ว ปัญญาก็ไม่สามารถจะตัดกิเลสทั้งหลายได้ ฉันนั้น เหมือนกันเพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนั้น. คําว่า ถ้าอย่างนั้น ความว่า เธอแสดงอายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ กองวิญญาณ ๖ การเทียบประทีป เทียบต้นไม้

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 476

และเทียบโค แล้วจบเทศนาลงด้วยความสิ้นไปแห่งอาสวะด้วยโพชฌงค์๗ อย่าง เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น แม้พรุ่งนี้ เธอก็พึงสั่งสอนพวกภิกษุณีเหล่านั้นด้วยโอวาทนั้นแล.

คําว่า สา โสตาปนฺนา (รูปสุดท้ายเป็นพระโสดาบัน) ความว่า ภิกษุณีที่ต่ํากว่าเขาหมดทางคุณธรรมก็เป็นโสดาบัน. ที่เหลือก็เป็นสกทาคามินี อนาคามินี และขีณาสพ. ถามว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น จะมีความดําริบริบูรณ์ได้อย่างไร. ตอบว่า จะมีความดําริบริบูรณ์ได้ด้วยความบริบูรณ์แห่งอัธยาศัย. จริงอยู่ภิกษุณีรูปใดมีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอแล เรากําลังฟังธรรมเทศนาของพระคุณเจ้านันทกะพึงทําให้แจ้งโสดาปัตติผลในอาสนะนั่นแล. ภิกษุณีนั้นก็ได้ทําให้แจ้งโสดาปัตติผล. ภิกษุณีรูปใดมีความคิดว่า สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล นางภิกษุณีรูปนั้น ก็ทําความเป็นพระอรหันต์ให้แจ่มแจ้ง. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นผู้ชื่นใจและมีความดําริที่บริบูรณ์แล้วแล.

จบอรรถกถานันโกวาทสูตรที่ ๔