๖. มหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถา
[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 237
๖. มหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถา
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 237
๖. มหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถา
[๔๕๖] พระมหาปชาบดีโคตมี กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้แกล่วกล้า สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง หม่อมฉันขอนอบน้อมแด่พระองค์ผู้ทรงช่วยปลดเปลื้องหม่อมฉัน และชนอื่นเป็นอันมากให้พ้นจากทุกข์ หม่อมฉันกำหนดรู้ทุกข์ทั้งปวงแล้ว เผาตัณหา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 238
อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ให้เหือดแห้งแล้ว ได้เจริญมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ได้บรรลุนิโรธแล้ว.
ชนทั้งหลายเป็นมารดา เป็นบุตรธิดา เป็นพี่เป็นน้อง เป็นปู่ย่าตายายกันมาในชาติก่อนๆ หม่อมฉันไม่รู้ตามความเป็นจริง ไม่พบที่พึ่งจึงท่องเที่ยวไป.
ก็หม่อมฉันได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้ว อัตภาพนี้เป็นอัตภาพสุดท้าย ชาติสงสารสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตรพระสาวกทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว มีความบากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์ มีความพร้อมเพรียงกัน การทำโลกุตรธรรมให้ประจักษ์แก่ตนอย่างนี้เป็นการถวายบังคมต่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
พระนางเจ้ามหามายาเทวี ได้ประสูติพระโคดมมาเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมากหนอ เพราะพระองค์ได้ทรงบรรเทากองทุกข์ของชนทั้งหลาย ที่ถูกพยาธิและมรณะทิ่มแทงแล้ว.
จบมหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 239
๖. อรรถกถามหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถา
คาถาว่า พุทฺธวีร นโม ตยตฺถุ ดังนี้เป็นต้น เป็นคาถาของพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี.
พระเถรีแม้รูปนี้ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ก็บังเกิดในเรือนผู้มีสกุล กรุงหังสวดี รู้เดียงสาแล้ว กำลังฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศของภิกษุณีผู้รัตตัญญู ทำกุศลกรรมให้ยิ่งยวดขึ้นไปแล้วปรารถนาตำแหน่งนั้น ทำบุญมีทานเป็นต้นจนตลอดชีวิต เที่ยวเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ตลอดแสนกัป ได้บังเกิดเป็นหัวหน้าทาสี ๕๐๐ ในกรุงพาราณสี ในโลกซึ่งว่างพระพุทธเจ้าในระหว่างพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสปะ กับพระผู้มีพระภาคเจ้าแห่งเราทั้งหลาย ครั้งนั้น นางได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕ องค์ ในวันเข้าพรรษา ลงจากเงื้อมเขานันทมูลกะมาที่อิสิปตนะแล้วเที่ยวบิณฑบาตในเมือง ก็กลับไปอิสิปตนะอีก แสวงหาหัตถกรรมเพื่อสร้างกุฏิในวันเข้าพรรษา ได้ชักชวนหญิงรับใช้เหล่านั้นและสามีของตนๆ ให้ช่วยกันสร้างกุฏิ ๕ หลัง พร้อมด้วยบริวารมีที่จงกรมเป็นต้น ตั้งเตียงตั่งน้ำฉันน้ำใช้และภาชนะเป็นต้นไว้เสร็จ นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้า เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดไตรมาสในที่นั้นนั่นเอง จึงตั้งภิกษาไว้ถวายตามวาระกัน หญิงคนใดไม่สามารถจะถวายภิกษาในวันที่ถึงวาระของตนได้ นางก็นำเอาภิกษาจากเรือนของตนไปถวายแทน นางปฏิบัติอยู่อย่างนี้ตลอดไตรมาส เมื่อถึงวันปวารณาให้นางทาสีแต่ละคนสละผ้าสาฏกคนละผืน รวมเป็นผ้าสาฎกเนื้อหยาบ ๕๐๐ ผืน ให้จัดผ้าเหล่านั้นทำเป็นไตรจีวรถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕ องค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๕ องค์ ได้เหาะไปสู่ภูเขาคันธมาทน์ต่อหน้าหญิงเหล่านั้นแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 240
หญิงเหล่านั้นทุกคนได้ทำกุศลจนตลอดชีวิต แล้วไปบังเกิดในเทวโลก.หัวหน้าหญิงเหล่านั้น จุติจากเทวโลกนั้นไปบังเกิดในเรือนของหัวหน้าช่างหูกในหมู่บ้านช่างหูก กรุงพาราณสี รู้เดียงสาแล้ว ได้พบพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ซึ่งเป็นพระโอรสของพระนางปทุมวดีรู้สึกนึกรัก ไหว้ท่านทุกองค์แล้วถวายภิกษา. ท่านฉันเสร็จก็กลับไปยังภูเขาคันธมาทน์ หญิงหัวหน้าทาสีนั้นทำกุศลจนตลอดชีวิตเที่ยวเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ถือปฏิสนธิในพระราชมณเฑียรของพระเจ้ามหาสุปปพุทธะกรุงเทวหะก่อนแต่พระศาสดาของเราทั้งหลายเสด็จอุบัติ ได้มีพระนามตามโคตรว่า โคตมี เป็นกนิษฐภคินีของพระนางมหามายา แม้พวกหมอดูลักษณะได้พยากรณ์ไว้ว่า ทารกทั้งหลายที่อยู่ในท้องของหญิงทั้งสองคนนี้ จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงทำมงคลทั้งของพระองค์แล้ว นำไปยังพระราชมณเฑียรของพระองค์ในเวลาเจริญพระชนม์.
ต่อมา เมื่อพระศาสดาของเราทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้น ทรงประกาศธรรมจักรอันประเสริฐ ทำการอนุเคราะห์โปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลายในที่นั้นๆ โดยลำดับ ทรงอาศัยกรุงเวสาลี ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงทำให้แจ้งพระอรหัตแล้วเสด็จปรินิพพานภายใต้พระมหาเศวตฉัตรครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีมีพระประสงค์จะผนวช เมื่อทูลขอบรรพชากะพระศาสดาครั้งแรกไม่ได้ ครั้งที่สองให้ตัดพระเกศาแล้วทรงนุ่งห่มผ้ากาสายะ พอจบการแสดงกลหวิวาทสูตร ได้เสด็จไปกรุงเวสาลีกับพวกหญิงบาทปริจาริกาของศากยกุมาร ๕๐๐ ซึ่งประสงค์จะบวชด้วยกันได้ให้พระอานนท์ทูลอ้อนวอนพระศาสดา จึงได้บรรพชาและอุปสมบทด้วยครุธรรม ๘ประการ ส่วนหญิงนอกนี้ ได้อุปสมบทพร้อมกันทั้งหมด นี้เป็นความสังเขปในที่นี้ ส่วนความพิสดารในเรื่องนั้นก็มาในบาลีทั้งนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 241
ฝ่ายพระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้อุปสมบทอย่างนี้แล้วได้เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายอภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้งนั้นพระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พระนางแล้ว พระนางทรงเรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดา พากเพียรภาวนาอยู่ ไม่นานนัก ก็ได้บรรลุพระอรหัตที่แวดล้อมด้วยอภิญญาและปฏิสัมภิทา ส่วนภิกษุณี ๕๐๐ ที่เหลือได้อภิญญา ๖ เมื่อจบนันทโกวาทสูตร. ภายหลังวันหนึ่ง พระศาสดา ประทับนั่งท่ามกลางหมู่พระอริยะในพระเชตวันมหาวิหาร กำลังทรงสถาปนาภิกษุณีไว้ในตำแหน่งจึงทรงสถาปนาพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศของภิกษุณีฝ่ายรัตตัญญูผู้รู้ราตรีนาน พระนางทรงยับยั้งอยู่ด้วยผลสุข และด้วยนิพพานสุข ดำรงอยู่ในความกตัญญู ในวันหนึ่ง เมื่อจะทรงพยากรณ์พระอรหัตโดยมุขคือทำการสรรเสริญพระคุณและความที่มีอุปการะก่อนแก่พระ-ศาสดาให้แจ่มแจ้งจึงได้ตรัสคาถาเหล่านั้นว่า
ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้า ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง หม่อมฉันขอนอบน้อมแด่พระองค์ผู้ทรงช่วยปลดเปลื้องหม่อมฉัน และชนอื่นเป็นอันมากให้พ้นจากทุกข์ หม่อมฉันกำหนดรู้ทุกข์ทั้งปวงแล้ว เผาตัณหาอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ให้เหือดแห้งแล้ว ได้เจริญมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ได้บรรลุนิโรธแล้ว ชนทั้งหลายเป็นมารดา เป็นบุตร เป็นธิดา เป็นพี่ เป็นน้อง เป็นปู่ย่าตายายกันมาในชาติก่อนๆ หม่อมฉันไม่รู้ตามความเป็นจริง ไม่พบที่พึ่ง จึงท่องเที่ยวไป ก็หม่อมฉันได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้วอัตภาพนี้เป็นอัตภาพสุดท้ายชาติสงสารสิ้นไปแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 242
บัดนี้ภพใหม่มิได้มี ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตรพระสาวกทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร ใจเด็ดเดี่ยวมีความบากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์ มีความพร้อมเพรียงกัน การทำโลกุตรธรรมให้ประจักษ์แก่ตนอย่างนี้ เป็นการถวายบังคมต่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระนางเจ้ามหามายาเทวีได้ประสูติพระโคดมมา เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมากหนอ เพราะพระองค์ได้ทรงบรรเทากองทุกข์ของชนทั้งหลายผู้ถูกพยาธิและมรณะทิ่มแทงแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺธวีร ได้แก่ ผู้แกล้วกล้าในหมู่ผู้ตรัสรู้สัจจะ ๔ แท้จริงพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ชื่อว่าผู้แกล้วกล้ากว่าผู้มีความเพียรสูงสุด หรือท่านผู้ตรัสรู้สัจจะ ๔ เพราะทรงได้ชัยชนะ ด้วยการทำกิจให้สำเร็จด้วยความเพียรคือสัมมัปปธาน ๔ อย่าง ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าควรได้รับคำยกย่องว่าวีระ เพราะทรงประกอบด้วยความเพียรเป็นพิเศษเหตุความบริบูรณ์แห่งวิริยบารมี คือการทำกิจให้สำเร็จด้วยสัมมัปปธาน ๔ อย่าง ด้วยการอธิษฐานความเพียรที่ประกอบด้วยองค์ ๔ และทรงยังการทำกิจให้สำเร็จนั้นประดิษฐานอยู่โดยชอบในสันดานของเวไนยสัตว์. บทว่า นโม ตฺยตฺถุความว่า ขอความนอบน้อมคือการทำความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์. บทว่าสพฺพสตฺตานมุตฺตม ได้แก่ ข้าแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สูงสุดด้วยคุณมีศีลเป็นต้นในสัตว์ทั้งหลายมีสัตว์ชนิดไม่มีเท้าเป็นต้น. เพื่อแสดงอุปการคุณของพระศาสดาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งแห่งคุณมีศีลเป็นต้นนั้นพระนางตรัสว่า โย มํทุกฺขา ปโมจสิ อญฺญฺจ พหุกํ ชนํ ดังนี้ เมื่อประกาศความที่ตนพ้นแล้วจากทุกข์ ได้ตรัสคาถาว่า สพฺพทุกฺขํ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 243
พระนางเมื่อแสดงวัฏทุกข์ที่ทรงช่วยปลดเปลื้องนั้นโดยเอกเทศ ได้ตรัสคาถาว่า มาตา ปุตฺโต ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาตาปุตฺโต เป็นต้น ความว่า ในภพใด ได้เป็นมารดาของบุตรคนหนึ่ง ในภพอื่นจากภพนั้นได้เป็นบุตรของคนนั้นแหละ อธิบายว่า ภพต่อไปอีกเป็นบิดาเป็นพี่ชายน้องชาย. บทว่า ยถาภุจฺจํ อชานนฺตี คือไม่รู้ถึงประวัติและเหตุเป็นต้นตามเป็นจริง. บทว่า สํสรึหํ อนิพฺพิสํ พระนางตรัสว่า หม่อมฉันเมื่อไม่ประสบ หรือไม่ได้ที่พึ่งในสมุทรคือสงสารวัฏโดยเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดในภพเป็นต้น ได้ตรัสคำเป็นต้นว่า มาตา ปุตฺโต ดังนี้. อธิบายว่า ในภพใดเป็นมารดาของเขา ต่อจากภพนั้นเป็นบุตรของเขานั่นแหละ ภพต่อไปอีกก็เป็นบิดา เป็นพี่ชาย น้องชาย.
พระเถรีประกาศความที่ตนพ้นแล้วจากทุกข์ แม้ด้วยคาถาว่า ทิฏฺโหิ เม เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺโ หิ เม โส ภควา ความว่า หม่อมฉันได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง พระองค์นั้น โดยประจักษ์ด้วยจักษุคือญาณโดยการเห็นโลกุตรธรรมที่พระองค์ทรงเห็นแล้ว. จริงอยู่ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นตถาคต ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า อารทฺธวีริเย คือประคองความเพียรไว้แล้ว. บทว่าปหิตฺตฺเต คือ ผู้มีจิตส่งไปพระนิพพาน. บทว่า นิจจํ ทฬฺหปรกฺกเม ได้แก่ ผู้มีความบากบั่นมั่นคงทุกเวลาเพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อความไพบูลย์แห่งธรรมที่บรรลุแล้ว และเพื่อผลสมาบัติ. บทว่า สมคฺเค ได้แก่ชื่อว่าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน เพราะถูกรวบรวมไว้ด้วยศีลสามัญญตาและทิฏฐิสามัญญตา. ชื่อว่าสาวกเพราะเป็นผู้เกิด ในที่สุดแต่การฟังเทศนาของพระศาสดา.พระศาสดาทรงเห็นเหล่าสาวกตามเป็นจริงว่า ท่านเหล่านี้ตั้งอยู่ในมรรค เหล่านี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 244
ตั้งอยู่ในผล. บทว่า เอสาพุทฺธาน วนฺทนา ความว่า การกระทำให้ประจักษ์แก่ตนซึ่งโลกุตรธรรม อันเป็นสรีรธรรมของพระศาสดาและเป็นอริยภาวะของพระอริยสาวกทั้งหลายอันใด อันนั้นเป็นการถวายบังคมคือความน้อมไปในพระคุณตามความเป็นจริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสาวกพุทธะทั้งหลาย.
พระเถรีได้ประกาศความที่พระศาสดาเป็นผู้มีอุปการะมากแก่โลก แม้ด้วยคาถาสุดท้ายว่า พหูนํ วต อตฺถาย เป็นต้น แต่โดยความ. คำที่ไม่จำแนกไว้ในที่นี้รู้ได้ง่ายทั้งนั้น.
บางคราว พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ ณกูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี พระองค์เองก็ประทับอยู่ ณ สำนักภิกษุณีกรุงเวสาลี ในเวลาเช้าเสด็จเที่ยวบิณฑบาต เสวยภัตตาหารแล้ว ก็ยับยั้งอยู่ด้วยสุขในผลสมาบัติตามเวลาที่กำหนดไว้ในสถานที่พักกลางวันของพระองค์ออกจากผลสมาบัติพิจารณาการปฏิบัติของพระองค์เกิดโสมนัสรำพึงถึงอายุสังขารของพระองค์อยู่ ก็ทรงรู้ว่าอายุสังขารเหล่านั้นสิ้นแล้ว ทรงดำริอย่างนี้ว่าถ้ากระไร จำเราจะไปพระวิหารขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้วอำลาพระเถระทั้งหลาย และเพื่อนสพรหมจารีทุกรูป ซึ่งเป็นที่เจริญใจของตน พึงมาปรินิพพานเสียในที่นี้นี่แหละ ภิกษุณี ๕๐๐ รูป ผู้เป็นบริวารของพระนางก็ได้มีความปริวิตกเหมือนพระเถรี ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ในคัมภีร์อปทานว่า ๑
ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นประทีปส่องโลกให้สว่างไสวเป็นสารถีฝึกนรชน ประทับอยู่ ณกูฏาคารศาลาป่ามหาวันกรุงเวสาลี ครั้งนั้น
๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๕๗ มหาปชาบดีโคตมีเถรีอปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 245
พระมหาโคตมีภิกษุณี พระมาตุจฉาของพระชินพุทธเจ้า อยู่ในสำนักนางภิกษุณีในพระบุรีอันรื่นรมย์นั้น พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึ่งพ้นจากกิเลสแล้ว พระมหาปชาบดีโคตมีนั้น อยู่ในที่สงัดตรึกนึกคิดอย่างนี้ว่า การปรินิพพานของพระพุทธเจ้าก็ดี ของพระอัครสาวกก็ดีของพระราหุล พระอานนท์ และพระนันทะก็ดี เราจะไม่ได้เห็น จำเราที่พระโลกนาถผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ทรงอนุญาตแล้ว พึงปลงอายุสังขารแล้วนิพพานก่อนการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าหรือคู่พระอัครสาวก พระมหากัสสป พระนันทะ พระอานนท์ และพระราหุล. พระภิกษุณีทั้ง ๕๐๐ รูป ก็ได้ตรึกอย่างนั้นเหมือนกัน แม้พระเขมาภิกษุณีเป็นต้น ก็ได้ตรึกเช่นนี้เหมือนกัน ครั้งนั้น เกิดแผ่นดินไหว กลองทิพย์ บันลือลั่นขึ้นเอง ทวยเทพที่สิงอยู่ในสำนักภิกษุณี ถูกความโศกบีบคั้น พร่ำเพ้ออยู่อย่างน่าสงสารหลังน้ำตาแล้วในที่นั้น ภิกษุณีทุกๆ รูป พร้อมด้วยทวยเทพเหล่านั้นเข้าไปหาพระมหาโคตมีภิกษุณี ซบศีรษะแทบพระบาทแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระแม่เจ้าพวกเราถูกหยดน้ำคือวิมุตติรดแล้วในสำนักพระภิกษุณีนั้นมาด้วยกัน อยู่ในที่ลับ แผ่นดินนั้นก็ไหวหวั่นสั่นสะเทือน กลองทิพย์ ก็บันลือลั่นขึ้นเอง และเราได้ยินเสียงคร่ำครวญ ข้าแต่พระโคตมีจะต้องมีเหตุอะไรเกิดขึ้นแน่ ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีได้ตรัส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 246
บอกถึงเหตุตามที่ตนปริวิตกแล้วทุกประการ ลำดับนั้นพระภิกษุณีทุกๆ รูป ก็ได้บอกถึงเหตุที่ตนปริวิตกแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้าพระแม่เจ้าชอบใจการนิพพานอันเกษมอย่างยิ่งไซร้ ถึงข้าพเจ้าทั้งหลายก็จักนิพพานกันหมด ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงพระอนุญาต พวกข้าพเจ้าได้ออกจากเรือนจากภพพร้อมด้วยพระแม่เจ้า ก็จักไปสู่นิพพานบุรี อันยอดเยี่ยมพร้อมๆ กันกับพระแม่เจ้า ข้าพเจ้าทั้งหลายก็จักไปพร้อมกับพระแม่เจ้าเหมือนกัน พระมหาปชาบดีโคตมีได้ตรัสว่า เมื่อท่านทั้งหลายจะไปนิพพานเราจักว่าอะไรเล่า แล้วได้ออกจากสำนักภิกษุณีไปพร้อมกับภิกษุณีทั้งหมด ในครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณี ได้กล่าวกะทวยเทพทั้งหลายที่สิงอยู่ ณสำนักภิกษุณีว่า จงอดโทษแก่เราเถิด การเห็นสำนักภิกษุณีของเรานี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้ายในที่ใดไม่มีความแก่หรือความตาย ไม่มีการประกอบด้วยสัตว์และสังขาร อันไม่เป็นที่รักไม่มีการพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก ที่นั้นนักปราชญ์กล่าวว่า เป็นอสังขตสถาน พระโอรสของพระสุคตทั้งหลายที่ยังไม่ปราศจากราคะ ได้สดับคำของพระนางนั้นเป็นผู้โศกกำสรดปริเทวนาการว่า น่าสังเวชหนอพวกเราเป็นคนมีบุญน้อย สำนักนางภิกษุณีนี้ จะว่างเปล่า เว้นภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีผู้ชิโนรสจะไม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 247
ปรากฏ เปรียบเหมือนดวงดาวทั้งหลายไม่ปรากฏในเวลาสว่างฉะนั้น พระโคตมีภิกษุณีจะไปสู่นิพพานพร้อมกับภิกษุณี ๕๐๐ รูปเหมือนกับแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สาครพร้อมกับแม่น้ำ ๕๐๐ สาย ฉะนั้น อุบาสิกาทั้งหลาย ผู้มีศรัทธาเห็นพระโคตมีภิกษุณีนั้น กำลังเสด็จไปตามถนน ได้พากันออกจากเรือนหมอบลงแทบเท้าแล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายเลื่อมใสในพระแม่เจ้า พระแม่เจ้าจะละทิ้งข้าพเจ้าทั้งหลายไว้ให้เป็นคนอนาถาเสียแล้ว พระแม่เจ้ายังไม่สมควรที่จะปรินิพพาน อุบาสิกาเหล่านั้นถูกความอยากให้ท่านอยู่บีบคั้นแล้วเพื่อจะให้อุบาสิกาเหล่านั้นละเสียซึ่งความโศกพระเถรีจึงได้กล่าวอย่างเพราะพริ้งว่า อย่าร้องไห้ไปเลยลูกเอ๋ย วันนี้เป็นเวลารื่นเริงของท่านทั้งหลาย ความทุกข์เราก็กำหนดรู้แล้ว ตัณหาอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ เราก็เว้นขาดแล้ว ความดับทุกข์เราก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว ทั้งมรรคเราก็ได้อบรมดีแล้ว. พระศาสดาเราก็ได้บำรุงแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราก็ได้ทำเสร็จแล้วภาระอันหนักเราก็ปลงลงแล้ว ตัณหาอันนำไปในภพเราก็ถอนเสียแล้ว คนทั้งหลายออกจากเรือนบวชไม่มีเรือน เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นเราก็บรรลุแล้วโดยลำดับ สังโยชน์ทุกอย่างก็หมดไป. พระพุทธเจ้าและพระสัทธรรมของพระองค์มิได้บกพร่อง ยังดำรงอยู่ตราบใด กาลเวลาที่เรานิพพานก็ดำรงอยู่ตราบนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 248
ลูกเอ๋ย อย่าได้เศร้าโศกถึงเราเลย พระโกณฑัญญะพระอานนท์และพระนันทะเป็นต้นก็ยังอยู่ พระราหุลพุทธชิโนรสก็ยังอยู่ พระสงฆ์ก็อยู่ร่วมกันเป็นสุข พวกเดียรถีย์ก็หายโง่ หายกระด้างแล้ว.
ลูกเอ๋ย ยศของพระผู้เป็นวงศ์ของพระเจ้าโอกกากราช ถูกยกย่องว่า ย่ำยีผู้เป็นมาร กาลเวลาสำหรับการนิพพาน เป็นสมบัติของเรามิใช่หรือ.
ลูกเอ๋ย ความปรารถนาอันใดของเรา มีมาเป็นเวลาช้านาน ความปรารถนาอันนั้น ก็สำเร็จแก่เราในวันนี้ เวลานี้เป็นเวลาที่จะลั่นกลองอานันทเภรี [ตีกลองแสดงความยินดี] น้ำตาของท่านทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรเล่า ถ้าท่านทั้งหลายจะมีความเอ็นดูทั้งมีความกตัญญูในเราไซร้ ขอให้ท่านทุกคน จงทำความเพียรมั่น เพื่อความดำรงอยู่แห่งพระสัทธรรมเถิดพระสัมพุทธเจ้าอันเราทูลอ้อนวอน จึงได้ประทานบรรพชาแก่สตรีทั้งหลาย เพราะฉะนั้นเราร่าเริง ฉันใด ท่านทั้งหลายจึงเจริญรอยตามซึ่งความร่าเริงนั้นฉันนั้นเถิด ครั้นพระเถรีพร่ำสอนอุบาสิกาเหล่านี้แล้วเสด็จนำหน้า ภิกษุณีทั้งหลาย เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าถวายบังคมแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ว่า ข้าแต่พระสุคตหม่อมฉันเป็นพระมารดาของพระองค์ ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน ข้าแต่พระโลกนาถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 249
พระองค์เป็นผู้ประทานความสุข อันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ทรงทำให้เกิด ข้าแต่พระสุคตรูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโตธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ก็ทรงทำให้เจริญเติบโตแล้ว พระองค์อันหม่อนฉันให้ดูดดื่มน้ำนม อันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ ส่วนหม่อมฉัน พระองค์ก็โปรดให้ดูดดื่มน้ำนมคือธรรมอันสงบอย่างยิ่งแล้ว ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ชื่อว่ามิได้ทรงเป็นหนี้หม่อมฉัน เพราะการรักษาไว้ซึ่งพันธะอันสตรีทั้งหลายผู้อยากได้บุตรวอนขออยู่ ก็ย่อมจะได้บุตรเช่นนั้น สตรีที่เป็นพระมารดาของพระนราธิบดีมีพระเจ้ามันธาตุราชเป็นต้น ขอว่าเป็นมารดาในห้วงมหรรณพคือภพ ข้าแต่พระโอรส หม่อนฉันผู้จมดิ่งอยู่ในห้วงมหรรณพคือภพ อันพระองค์ให้ข้ามสาครคือภพแล้ว พระนามว่ามเหสีพันปีหลวง สตรีทั้งหลายได้ง่าย พระนามว่าพระพุทธมารดา สตรีทั้งหลายได้ยากอย่างยิ่ง ข้าแต่พระมหาวีระ ก็พระนามว่าพระพุทธมารดานั้นหม่อมฉันได้แล้ว ความปรารถนาไม่ว่าน้อยใหญ่ของหม่อนฉันทั้งหมดนั้น หม่อมฉันได้บำเพ็ญแล้วกับพระองค์ หม่อมฉันปรารถนาเพื่อจะทิ้งร่างนี้นิพพาน ข้าแต่พระมหาวีระผู้ทำที่สุดทุกข์ เป็นผู้นำขอพระองค์โปรดทรงอนุญาตแก่หม่อมฉันเถิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 250
ขอได้โปรดทรงเหยียดออกซึ่งพระยุคลบาท อันเกลื่อนกล่นไปด้วยลายจักร และธงอันละเอียดอ่อนเหมือนกับดอกบัวเถิด หม่อมฉันจะถวายบังคมพระยุคลบาทนั้น จะขอทำความรักเยี่ยงโอรสแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำ ขอพระองค์โปรดทรงแสดงพระวรกาย ทำพระสรีระที่สุกปลั่งดังกองทองให้เป็นเหตุปรากฏ หม่อมฉันจึงจะเข้าสู่ปรินิพพานพระเจ้าข้า.
พระชินพุทธเจ้า ก็ได้ทรงแสดงพระวรกาย ที่ประกอบด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการประดับด้วยพระรัศมี อันงามเหมือนดวงอาทิตย์ส่องแสงอ่อนๆ ในยามสนธยา กะพระมาตุจฉาเจ้าลำดับนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ได้ซบพระเศียรลงแทบพื้นพระบาทอันเป็นประกาย คล้ายดอกบัวบานมีพระรัศมีงามดังดวงอาทิตย์ทอแสงอ่อนๆ พระนางได้กราบทูลว่า หม่อมฉันขอน้อมนมัสการ พระผู้เป็นอาทิตยวงศ์จอมนรชน ผู้ทรงเป็นธงไชยแห่งอาทิตยวงศ์ หม่อมฉันมรณะเป็นครั้งสุดท้าย หม่อมฉันจะไม่ได้เห็นพระองค์อีก ข้าแต่พระองค์ผู้เลิศแห่งโลก ธรรมดาสตรีทั้งหลาย ล้วนแก่ก่อโทษทุกอย่างแล้วก็พากันตายไป ถ้าโทษไรๆ ของหม่อมฉันมีอยู่ ก็ขอพระองค์ได้โปรดกรุณา อดโทษแก่หม่อมฉันด้วยเถิดอนึ่ง หม่อมฉันได้ทูลซ้ำๆ ซากๆ ให้สตรีทั้งหลายได้บวช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 251
ข้าแต่พระนราสภ ถ้าโทษของหม่อมฉันในข้อนี้มีอยู่ ขอได้โปรดทรงอดโทษนั้นด้วยเถิด ข้าแต่พระมหาวีระ ทรงไว้ซึ่งการอดโทษ ภิกษุณีทั้งหลายอันหม่อมฉันสั่งสอนแล้ว ตามที่พระองค์ทรงอนุญาต ถ้าในข้อนั้นมีการแนะนำยาก ขอได้โปรดทรงอดโทษข้อนั้นด้วยเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนโคตมีผู้ประดับไปด้วยคุณ โทษที่จะพึงอดยังจะมีอะไรในเมื่อบอกกล่าวเสีย เมื่อท่านจะไปนิพพาน ตถาคตจักกล่าวอะไรแก่ท่านให้มากไปเล่า เมื่อภิกษุสงฆ์ของตถาคตบริสุทธิ์ไม่บกพร่อง ท่านจะออกไปเสียจากโลกนี้ก็ควร เหมือนเพราะเห็นในเวลาที่ยังมีแสงสว่างของอาทิตย์ที่อัสดงคตแล้ว รอยในดวงจันทร์ก็ออกไปฉะนั้น ภิกษุณีทั้งหลาย นอกจากพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีพากันทำประทักษิณพระชินะพุทธเจ้าผู้เลิศ พระองค์เหมือนหมู่ดาวที่ติดตามดวงจันทร์ เวียนขวาภูเขาสิเนรุฉะนั้น หมอบลงแทบพระบาทแล้ว ยืนจ้องดูพระพักตร์ของพระพุทธเจ้ากราบทูลว่า จักษุของหม่อมฉันทั้งหลาย ไม่เคยอิ่มด้วยการเห็นพระองค์ โสตของหม่อมฉันทั้งหลาย ไม่เคยอิ่มด้วยภาษิตของพระองค์ จิตของหม่อมฉันทั้งหลายดวงเดียวเท่านั้น อิ่มด้วยรสแห่งธรรมของพระองค์ ข้าแต่พระผู้เป็นจอมนรชนเมื่อพระองค์บันลืออยู่ในบริษัท กำจัดเสียซึ่งทิฏฐิและมานะ ชนเหล่าใดเห็นพระพักตร์ของพระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 252
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณ ชนเหล่าใดประณตน้อมพระยุคลบาทของพระองค์ซึ่งมีพระองคุลียาว มีพระนขาแดงงดงาม มีส้นพระบาทยาว แม้ชนเล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ.
ข้าแต่พระนโรดม ชนเหล่าใดได้สดับพระดำรัสของพระองค์อันไพเราะน่าปลื้มใจ กำจัดโทษเป็นประโยชน์เกื้อกูลชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันเอาใจใส่การบูชาพระบาทของพระองค์ ข้ามพ้นทางกันดารคือสงสารได้ ด้วยพระสุนทรกถาของพระองค์ผู้ทรงศิริจึงชื่อว่าเป็นผู้มีบุญลำดับนั้นพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ผู้มีวัตรอันงามประกาศในหมู่พระภิกษุสงฆ์แล้วไหว้พระราหุล พระอานนท์และพระนันทะ และได้ตรัสดังนี้ว่า ลูกเอ๋ย แม่เบื่อหน่ายในร่างกายซึ่งเสมอด้วยที่อยู่ของอสรพิษเป็นที่พักของโรค เป็นเรือนร่างของทุกข์ เป็นที่โคจรของชราและมรณะ อาเกียรณ์ไปด้วยมลทินโทษต่างๆ ต้องอาศัยผู้อื่น ปราศจากเรี่ยวแรง ด้วยเหตุนั้น แม่จึงปรารถนาจะนิพพานเสีย ลูกเอ๋ย พ่อจงเข้าใจแม่เถิดพระนันทเถระและพระราหุลผู้น่ารัก เป็นผู้ปราศจากความโศก ไม่มีอาสวะ ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว มีปัญญามีความเพียรก็ได้คิดถึงธรรมดาว่า น่าติโลก ที่ปัจจัยปรุงแต่ง ปราศจากแก่นสารเปรียบด้วยต้นกล้วย เช่นเดียวกับมายากลและพยัพแดด นอกจากนี้ยังไม่มั่นคง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 253
ปชาบดีโคตมีเถรี พระมาตุจฉาของพระชินพุทธเจ้าพระองค์นี้เป็นผู้เลี้ยงดูพระพุทธเจ้าก็ต้องถึงมรณะ ซึ่งไม่เที่ยงเป็นสังขตธรรมทุกอย่างในที่ใด ก็ครั้งนั้นท่านพระอานนท์พุทธอนุชา ซึ่งเป็นคนสนิทของพระชินพุทธเจ้ายังเป็นพระเสขบุคคลอยู่ ท่านหลั่งน้ำตาร้องไห้คร่ำครวญอย่างน่าสงสาร ณ ที่นั้นว่า พระโคตมีเถรีตรัสอยู่หลัดๆ ก็เสด็จไปนิพพานไม่นานเลย แม้พระพุทธเจ้าก็คงเสด็จไปนิพพานแน่นอน เปรียบเหมือนไฟที่หมดเชื้อแล้วฉะนั้น พระโคตมีเถรีได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ผู้มีสุตะคือปริยัติอันล้ำลึกดังสาคร [พหูสูต] เอาใจใส่ในการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าซึ่งพร่ำรำพันอยู่ดังกล่าวมาว่า ลูกเอ๋ย เมื่อกาลน่าร่าเริงปรากฏขึ้นแล้ว พ่อไม่ควรที่จะเศร้าโศกถึงการตายของแม่ การนิพพานของแม่ใกล้เข้ามาแล้วลูกเอ๋ย พระศาสดา พ่อได้ทูลเชื้อเชิญแล้วจึงได้ทรงอนุญาตให้แม่บวช ลูกเอ๋ยพ่ออย่าเสียใจไปเลยความยากลำบากของพ่อมีผล ก็บทใดอาจารย์ฝ่ายเดียรถีย์เก่าๆ ไม่เห็น บทนั้นเด็กหญิงซึ่งมีอายุ ๗ ขวบก็รู้แจ้งประจักษ์แล้ว พ่อจงรักษาพระพุทธศาสนาไว้ แม่เห็นพ่อครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายบุคคลไปในทิศใดแล้วไม่ปรากฏ แม่ก็จะไปในทิศนั้นนะลูก ในกาลบางคราวพระนายกผู้เลิศในโลกกำลังทรงแสดงธรรมอยู่ทรงไอแล้ว ครั้งนั้นแม่เกิดสงสารกล่าววาจาถวายพระพรว่า ข้าแต่พระมหาวีระ ขอพระองค์จงมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 254
พระชนม์อยู่นานๆ ข้าแต่พระมหามุนี ขอพระองค์จงดำรงพระชนม์อยู่ตลอดกัป เพื่อความเกื้อกูลและประโยชน์แก่โลกทั้งปวงเถิด ขออย่าให้พระองค์ทรงพระชราและปรินิพพานเลย พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสกะแม่ผู้กราบทูลเช่นนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนโคตมีพระพุทธเจ้าทั้งหลายมิใช่บุคคลจะพึงไหว้เหมือนอย่างที่เธอไหว้อยู่ดอก แม่ได้ทูลถามว่า ก็แลด้วยประการไรเล่า พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าอันบุคคลไม่พึงไหว้ พระองค์อันหม่อมฉันทูลถามแล้วโปรดตรัสบอกเหตุนั้นแก่หม่อมฉันเถิด พระองค์ตรัสตอบว่า เธอจงดูพระสาวกทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร ใจเด็ดเดี่ยว มีความบากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์พร้อมเพรียงกัน นี้เป็นการไหว้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ต่อแต่นั้นแม่ก็ไปสำนักภิกษุณีอยู่ผู้เดียว ก็คิดได้ว่า พระนาถะผู้ถึงที่สุดแห่งไตรภพทรงป้องกันบริษัทที่สามัคคีกัน เอาเถิด แม่จักปรินิพพานเสีย ขออย่าได้เห็นความวิบัตินั้นเลย แม่ครั้นคิดดังนั้นแล้วได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระผู้เป็นฤษีพระองค์ที่ ๗ แล้วได้กราบทูลถึงกาลเป็นที่ปรินิพพานกะพระผู้นำพิเศษ ลำดับนั้นพระองค์ได้ทรงอนุญาตว่า จงรู้กาลเอาเองเถิดโคตมี แม่เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้แล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกได้เหมือนช้างพังตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การที่แม่มาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดเป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 255
๓ แม่ก็บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้าแม่ได้ทำเสร็จแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้คือปฏิสัมภิทา ๔วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ แม่ทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า แม่ได้ทำเสร็จแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนโคตมีคนพาลเหล่าใดสงสัยในการตรัสรู้ธรรมของสัตว์ทั้งหลาย เธอจงแสดงอิทธิฤทธิ์เพื่อให้คนพาลเหล่านั้นละทิฏฐิเสีย ครั้งนั้นพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีถวายบังคมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว เหาะขึ้นไปสู่อัมพรแสดงฤทธิ์เป็นอันมากตามพระพุทธานุญาต คือองค์เดียวเป็นหลายองค์ก็ได้ หลายองค์เป็นองค์เดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำ ไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ทำภูเขาสิเนรุให้เป็นคัน พลิกมหาปฐพีพร้อมด้วยรากทำให้เป็นตัวร่ม กั้นร่มเดินจงกรมในอากาศ ทำโลกให้เป็นควันประหนึ่งเวลาอาทิตย์ ๖ ดวง อุทัยขึ้น และทำโลกนั้นให้เกลื่อนด้วยพวงดอกไม้ตาข่ายเหมือนคล้องพวงดอกไม้ไว้ยอดเขายุคนธร เอาพระหัตถ์ข้างเดียวกำภูเขามุจลินท์ ภูเขาสิเนรุ ไว้ในระหว่างมูลนทีทั้งหมด เหมือนดังกำเมล็ดพันธุ์ผักกาดเอาปลายนิ้วมือบังดวงอาทิตย์พร้อมทั้งดวงจันทร์ไว้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 256
ทัดทรงดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ไว้พันดวง เหมือนทัดทรงพวงมาลัยฉะนั้น แบกน้ำในสาครทั้ง ๔ ไว้ได้ด้วยฝ่าพระหัตข้างเดียว บันดาลฝนตกห่าใหญ่มีอาการปานประหนึ่งหลั่งน้ำเหนือยอดเขายุคนธร พระเถรีนั้น เนรมิตเป็นพระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยบริษัท ณ พื้นนภากาศ แสดงให้เป็นครุฑ คชสาร ราชสีห์ต่างบันลือเสียงกึกก้องอยู่ องค์เดียวเนรมิตให้เป็นคณะภิกษุณีนับไม่ถ้วน แล้วก็อันตรธานกลับเป็นองค์เดียว กราบทูลพระมหามุนีว่า ข้าแต่พระมหาวีระผู้มีพระจักษุ พระมาตุจฉาของพระองค์เป็นผู้ทำตามคำสอนของพระองค์ บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับแล้ว ขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์ พระเถรีนั้นครั้นแสดงฤทธิ์ต่างๆ แล้ว ลงจากพื้นนภากาศถวายบังคมพระผู้ส่องโลกแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหามุนี ผู้นำโลกหม่อมฉันมีอายุได้ ๑๒๐ ปีนับแต่เกิด เพียงเท่านี้ก็พอแล้ว หม่อมฉันจักขอทูลลานิพพาน.
ครั้งนั้น บริษัททั้งหมดนั้นต่างพิศวงยิ่งนักจึงได้พากันกระทำอัญชลีถามว่า ข้าแต่พระแม่เจ้าเป็นอย่างไรพระแม่เจ้า จึงบากบั่นแสดงฤทธิ์ที่ไม่มีอะไรเทียบได้ พระมหาปชาบดีเถรีได้กล่าวบุรพจรรยาของพระองค์ดังต่อไปนี้ว่า
ในแสนกัปนับแต่กัปนี้ไปพระชินพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้มีจักษุในธรรมทั้งปวง เป็นผู้นำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 257
ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้วครั้งนั้น ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลอำมาตย์ ซึ่งสมบูรณ์ด้วยเครื่องอุปการะทุกสิ่ง มั่งคั่งรุ่งเรือง ร่ำรวย ในกรุงหังสวดี บางครั้งข้าพเจ้าพร้อมด้วยบิดานำหน้าหมู่ทาสีมีบริวารมาก เข้าไปเฝ้าพระนราสภพระองค์นั้น ได้เห็นพระชินพุทธเจ้าผู้ปานดังท้าววาสวะ ยังฝนคือธรรมให้ตกอยู่ เป็นไม่มีอาสวะเกลื่อนกล่นไปด้วยระเบียบแห่งรัศมี เช่นกับดวงอาทิตย์ในสรทกาลแล้ว ทำจิตให้เลื่อมใส และสดับสุภาษิตของพระองค์ เห็นพระผู้นำนรชนทรงสถาปนานางภิกษุณีผู้เป็นพระมาตุจฉาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ จึงถวายปัจจัยเป็นอันมากเป็นมหาทานแด่พระผู้เลิศกว่านรชนผู้คงที่พระองค์นั้น พร้อมทั้งพระสงฆ์ตลอด ๗ วัน แล้วได้หมอบลงแทบพระบาทมุ่งปรารถนาตำแหน่งนั้น. ลำดับนั้น พระผู้เป็นฤาษีพระองค์ที่ ๗ ได้ตรัสในบริษัทใหญ่ว่า สตรีใดได้นิมนต์พระผู้นำโลกพร้อมด้วยพระสงฆ์ ให้ฉันตลอด ๗ วัน เราจักพยากรณีสตรีนั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวไว้ให้ดี ในแสนกัปนับแต่กัปนี้ไป พระศาสดาพระนามว่าโคดม ซึ่งทรงสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราชจักเป็นศาสดาในโลก สตรีผู้นั้น จักได้เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรมนิรมิต จักได้เป็นสาวิกาของพระศาสดามีนามว่าโคตมีจักได้เป็นพระมาตุจฉาบำรุงเลี้ยงชีวิตของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น จักได้ความเป็นเลิศของภิกษุณีทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 258
ฝ่ายผู้รู้ราตรีนานครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้สดับพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว มีใจปราโมทย์บำรุงพระชินพุทธเจ้าด้วยปัจจัยทั้งหลายตราบเท่าสิ้นชีวิต ต่อจากนั้น ข้าพเจ้าได้ทำกาลกิริยา ไปบังเกิดในพวกเทพเหล่าดาวดึงส์ผู้ซึ่งให้สำเร็จสิ่งน่าใคร่ได้ทุกประการ ล่วงล้ำทวยเทพอื่นๆ ด้วยองค์ ๑๐ ประการ คือด้วยรูป เสียง กลิ่นรส ผัสสะ อายุ วรรณะ สุข ยศและรุ่งเรืองล้ำทวยเทพอื่นๆ ด้วยอธิปไตยความเป็นใหญ่ ข้าพเจ้าได้เป็นพระมเหสีผู้น่าเอ็นดูของท้าวอมรินทร์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น ก็ข้าพเจ้าท่องเที่ยวอยู่ในสงสารเป็นผู้อันพายุคือกรรมพัดพาไปเกิดในตำบลบ้านของทาสในอาณาเขตของพระเจ้ากาสี ครั้งนั้นทาส ๕๐๐ ถ้วนอาศัยอยู่ในบ้านนั้น ข้าพเจ้าได้เป็นภรรยาของหัวหน้าทาสในตำบลบ้านนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ได้เข้าไปบ้านเพื่อบิณฑบาต ข้าพเจ้ากับญาติทุกคน เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นก็มีความยินดีช่วยกันสร้างกุฏิ ๕๐๐ หลัง อุปัฏฐากอยู่ ๔ เดือนแล้วถวายไตรจีวรข้าพเจ้ากับสามีก็พากันท่องเที่ยวไป จุติจากนั้นข้าพเจ้าพร้อมกับสามีก็ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บัดนี้ภพสุดท้ายข้าพเจ้าเกิดในกรุงเทวทหะ พระชนกของข้าพเจ้าพระนามว่า อัญชนศากยะ พระชนนีของข้าพเจ้าพระนามว่าสุลักขณา ต่อมาข้าพเจ้าได้ไปพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าสุทโธทนะในกรุงกบิลพัสดุ์ สตรีนอกนั้นเกิดในตระกูลศากยะ แล้วก็ไปเรือนของพวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 259
เจ้าศากยะด้วยกัน แต่ข้าพเจ้าประเสริฐกว่าสตรีทุกคนได้เป็นผู้บำรุงเลี้ยงพระชินพุทธเจ้า พระโอรสของข้าพเจ้าเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์แล้วได้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นผู้นำพิเศษ ภายหลังข้าพเจ้าพร้อมด้วยเจ้าสากิยานี ๕๐๐ จึงได้บวช แล้วก็ได้ประสบสันติสุขพร้อมด้วยเจ้าสากิยานีผู้เป็นบัณฑิต สามีของข้าพเจ้าที่ได้ทำบุญร่วมกันมาแต่ชาติก่อนในครั้งนั้น เป็นผู้ทำมหาสมัยประชุมใหญ่อันพระสุคตทรงอนุเคราะห์แล้วก็พากันบรรลุพระอรหัต.
ภิกษุณีทั้งหลาย นอกจากพระมหาปชาบดีเถรีนั้นได้พากันเหาะขึ้นสู่นภากาศ เป็นผู้ประกอบด้วยมหิทธิฤทธิ์รุ่งโรจน์เหมือนดวงดาวทั้งหลาย อันโคจรเป็นกลุ่มกันไป ครั้งนั้นภิกษุณีเหล่านั้นได้แสดงฤทธิ์มิใช่น้อยเหมือนนายช่างทองผู้ชำนาญการทำทอง แสดงเครื่องประดับหลากชนิด ฉะนั้น.
ในครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้น แสดงปาฏิหาริย์ได้วิจิตรหลายอย่าง ทำพระมุนีผู้เป็นพระศาสดาผู้ประเสริฐ พร้อมทั้งบริษัทให้ชอบใจแล้ว ได้พากันลงจากนภากาศถวายบังคมพระศาสดาพระผู้เป็นฤษีพระองค์ที่ ๗ อันพระศาสดาผู้เป็นยอดของนรชนทรงอนุญาตแล้วจึงได้นั่ง ณ สถานที่อันสมควร แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาวีระ โอหนอพระโคตมีเถรี เป็นผู้อนุเคราะห์ข้าพระองค์ทุกๆ คน พวกข้าพระองค์อันบุญบารมีของพระองค์อบรมแล้ว จึงพากันบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ ข้าพระองค์ทั้งหลายเผากิเลสได้แล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 260
ถอนภพทั้งปวงได้แล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกเหมือนช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่. การที่ข้าพระองค์ทั้งหลายมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดเป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ พวกข้าพระองค์บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้า พวกข้าพระองค์ก็ได้ทำเสร็จแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพระองค์ทั้งหลายทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าอันข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทำเสร็จแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความชำนาญในฤทธิ์และทิพโสตธาตุ ข้าแต่พระมหามุนีข้าพระองค์ทั้งหลายชำนาญเจโตปริยญาณ รู้ปุพเพนิวาสญาณชำระทิพยจักษุได้แล้ว สิ้นอาสวะหมดแล้วบัดนี้ภพใหม่ไม่มี ข้าแต่พระมหาวีระ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีญาณในอรรถธรรมนิรุตติและปฏิภาณ ญาณนั้นเกิดที่สำนักของพระองค์ ข้าแต่พระมหามุนีผู้ทรงเป็นผู้นำ พระองค์เป็นผู้อันข้าพระองค์ทั้งหลายผู้มีเมตตาจิต บำรุงแล้ว ขอพระองค์โปรดทรงอนุญาตให้ข้าพระองค์ทั้งหมดนิพพานเถิด.
พระชินพุทธเจ้าตรัสว่า เธอทั้งหลายเมื่อพูดอย่างนี้ว่า จักนิพพาน ตถาคตจักไปว่าอะไร ก็บัดนี้เธอทั้งหลายจงสำคัญกาลเวลาของเธอเอาเองเถิด.
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีพระปชาบดีโคตมีเถรีเป็นต้น ถวายบังคมพระชินพุทธเจ้าแล้วได้พากัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 261
ลุกจากที่นั่งนั้นมา พระธีรเจ้าผู้นำเลิศของโลกพร้อมด้วยหมู่ชนเป็นอันมาก ได้เสด็จไปส่งพระมาตุจฉาจนถึงซุ้มประตู.
ครั้งนั้นพระปชาบดีโคตมีเถรีพร้อมด้วยภิกษุณีทั้งหมด ได้พากันหมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระศาสดาผู้เป็นพงศ์พันธุ์ของโลกกราบทูลว่า นี้เป็นการถวายบังคมพระยุคลบาทครั้งสุดท้ายของหม่อมฉันการได้เห็นพระองค์ผู้เป็นนาถะของโลกครั้งนี้ ก็เป็นครั้งสุดท้าย หม่อมฉันจักไม่ได้เห็นพระพักตร์ของพระองค์ซึ่งมีอาการดุจอมตะอีก ข้าแต่พระมหาวีระผู้เลิศของโลก การถวายบังคมของหม่อมฉันจักไม่สัมผัสพระยุคลบาทของพระองค์ ซึ่งละเอียดอ่อนดี วันนี้หม่อมฉันจะนิพพาน.
พระศาสดาตรัสว่า ประโยชน์อะไรของเธอด้วยรูปนี้ในปัจจุบัน รูปนี้ล้วนปัจจัยปรุงแต่ง ไม่น่ายินดีเป็นของต่ำทราม. พระมหาปชาบดีเถรีพร้อมด้วยภิกษุณีเหล่านั้น ไปสำนักของภิกษุณีของตนแล้ว นั่งพับเพียบบนอาสนะอันประเสริฐ.
ครั้งนั้น อุบาสิกาทั้งหลายในพระนครนั้นผู้มีความเคารพรักในพุทธศาสนา ได้สดับประพฤติเหตุของพระเถรี ก็พากันเข้าไปหา นมัสการแทบบาทมูลเอากรข้อนอุระประเทศร้องไห้คร่ำครวญอย่างน่าสงสาร เต็มกลั้นด้วยความโศกเศร้า ก็ล้มลงที่พื้นพสุธาดุจเถาวัลย์รากขาดฉะนั้น พากันรำพันว่า ข้าแต่พระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 262
แม่เจ้า ผู้เป็นนาถะให้ที่พึ่งแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย พระแม่เจ้าอย่าละทิ้งข้าพเจ้าทั้งหลายไปสู่นิพพานเลย ข้าพเจ้าทุกคนขอซบเกล้าอ้อนวอน. พระมหาปชาบดีเถรีลูบศีรษะของอุบาสิกา ผู้มีศรัทธา มีปัญญาซึ่งเป็นหัวหน้าของอุบาสิกาเหล่านั้นกล่าวดังนี้ว่า ลูกเอ๋ย ความโศกสลด ซึ่งตกอยู่ในบ่วงแห่งมารไม่ควรเลย สังขตธรรมทั้งปวงล้วนไม่เที่ยง การพลัดพรากกันเป็นที่สุด หวั่นไหวไปมา. ต่อแต่นั้น พระเถรี ก็สละอุบาสิกาเหล่านั้น เข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน แล้วเข้าอากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ตามลำดับแล้ว พระปชาบดีโคตมีเถรีก็เข้าฌานทั้งหลายใดยปฏิโลมแล้ว ก็เข้าปฐมฌานไปตราบเท่าถึงจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานนั้นแล้วก็ดับ เหมือนเปลวประทีปที่ปราศจากเชื้อแล้วดับไปฉะนั้น ได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ สายฟ้าก็ตกลงจากนภากาศ กลองทิพย์ก็บันลือลั่นขึ้นเอง ทวยเทพพากันคร่ำครวญ และฝนดอกไม้ก็ตกจากอากาศลงยังพื้นแผ่นดิน แม้ขุนเขาเมรุราชก็กัมปนาทหวั่นไหวเหมือนนักฟ้อนรำในท่ามกลางเวทีฟ้อนรำ ฉะนั้น สาครก็ปั่นป่วนตีฟองคะนองเพราะความโศก ทวยเทพ นาค อสูรและพรหม ต่างก็พากันสลดใจ กล่าวขึ้นในทันใดนั้นเองว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ เหมือนอย่างพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีนี้ ถึงความย่อยยับไปแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 263
และพระเถรีทั้งหลาย ผู้ทำตามคำสอนของพระศาสดา ซึ่งแวดล้อมพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรีนี้ก็พากันปรินิพพาน เหมือนเปลวประทีปหมดเชื้อฉะนั้น โอ้ ความพบกัน ก็มีความพลัดพรากกันเป็นที่สุด โอ้ สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งล้วนแต่ไม่เที่ยง โอ้ ชีวิตมีความหายสูญเป็นที่สุด ความพิไรรำพัน ได้มีแล้วด้วยประการฉะนี้.
ในลำดับนั้นเทวดาและพรหม ต่างก็ทำความประพฤติตามโลกธรรมตามสมควรแก่กาลแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้เป็นยอดฤษี พระองค์ที่ ๗.
ครั้งนั้น พระศาสดาได้ตรัสเรียกท่านพระอานนท์ผู้พหูสูตมาสั่งว่า อานนท์ เธอจงไปประกาศให้ภิกษุทั้งหลาย ทราบถึงการนิพพานของพระมารดา เวลานั้น ท่านพระอานนท์ผู้ร่าเริง ก็ไร้ความร่าเริงมีดวงตาเต็มไปด้วยน้ำตา ได้กล่าวด้วยเสียงร้องไห้ว่า ขอภิกษุทั้งหลายผู้เป็นโอรสของพระสุคต ซึ่งอยู่ในทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก และทิศเหนือจงมาประชุมกัน ภิกษุณีผู้ทำพระสรีระสุดท้ายของพระมุนีให้เติบโตด้วยน้ำนม มีนามว่าพระปชาบดีโคตมีเถรีนิพพานถึงความสงบเหมือนดวงดาวทั้งหลายเมื่อดวงอาทิตย์อุทัยฉะนั้น พระเถรีตั้งบัญญัติทำให้รู้กันทั่วไปว่า เป็นพระพุทธมารดา นิพพานแล้วในที่ใด ถึงคนมี ๕ ตาก็แลไม่เห็น ในที่นั้นพระผู้มีพระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 264
ภาคเจ้า ซึ่งเป็นผู้นำ ทรงเห็นได้ ขอพระโอรสของพระสุคตผู้มีความเชื่อในพระสุคต หรือเป็นศิษย์ของพระมหามุนี จงทำสักการะแด่พระพุทธมารดาเถิด ภิกษุทั้งหลายถึงอยู่ไกล ได้ฟังคำประกาศนั้นแล้วก็รีบมา บางพวกมาด้วยพุทธานุภาพ บางพวกที่ฉลาดในฤทธิ์ก็มาด้วยฤทธิ์ ต่างช่วยกันยกเอาเตียงที่พระโคตมีเถรีหลับขึ้นไว้ในเรือนยอด [เมรุ] อันประเสริฐ น่ารื่นรมย์ ทำด้วยทองล้วนๆ งดงาม ท้าวโลกบาลทั้งสี่เอาบ่าเข้ารองรับเรือนยอด ทวยเทพที่เหลือมีท้าวสักกะเป็นต้นเข้าช่วยรับเรือนยอด ก็เรือนยอดทั้งหมดมี ๕๐๐ หลัง แท้จริงวิสสกรรมเทพบุตรเนรมิตมีสีเหมือนดวงอาทิตย์ในสรทกาล ทวยเทพทั้งหลายได้แบกภิกษุณีทุกๆ รูปที่นอนอยู่บนเตียงแล้ว นำเอาออกไปตามลำดับ พื้นนภากาศถูกเอาเพดานบังไว้ทั่วดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์พร้อมทั้งดวงดาวซึ่งสำเร็จด้วยทองได้ถูกติดประดับไว้ที่เพดานนั้น ธงปฏากได้ถูกยกขึ้นไว้เป็นอันมาก จิตกาธารทั้งหลายมีดอกไม้เป็นเครื่องปกคลุม ดอกบัวที่เกิดขึ้นในอากาศเอาปลายลง ดอกไม้ผุดขึ้นจากแผ่นดิน ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์คนมองดูเห็นได้ และดาวทั้งหลายส่องแสงระยิบระยับ อนึ่ง ดวงอาทิตย์ถึงจะโคจรไปในเวลาเที่ยง ก็ไม่ทำใครๆ ให้ร้อน เหมือนดวงจันทร์ ทวยเทพทั้งหลายพากันบูชาด้วยของทิพย์คือของหอมและดอกไม้ที่หอมตระหลบ และการฟ้อนรำขับร้องดีดสีตีเป่า พวกนาค
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 265
อสูรและพรหม ต่างก็พากันบูชาพระพุทธมารดาผู้นิพพานแล้ว กำลังถูกเขานำออกไปตามสติกำลัง ภิกษุณีทั้งหลาย ผู้เป็นโอรสของพระสุคต ซึ่งนิพพานแล้วทั้งหมด เชิญไปข้างหน้า พระปชาบดีโคตมีเถรีพุทธมารดา ผู้อันเทวดาและมนุษย์สักการะเชิญเอาไปข้างหลัง เทวดา มนุษย์ พร้อมด้วย นาค อสูรและพรหมไปข้างหน้า ข้างหลังพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวกเสด็จไปเพื่อบูชาพระมารดา การปรินิพพานของพระพุทธเจ้าหาได้เป็นเช่นนี้ไม่ การปรินิพพานของพระปชาบดีโคตมีเถรี อัศจรรย์ยิ่งนัก ในเวลาพระพุทธเจ้าเสด็จนิพพาน ไม่มีพระพุทธเจ้าและภิกษุทั้งหลาย มีพระสารีบุตรเป็นต้น เหมือนในเวลาพระปชาบดีโคตมีเถรีนิพพาน ซึ่งมีพระพุทธเจ้าและภิกษุทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นต้น ชนทั้งหลายช่วยกันทำจิตกาธารซึ่งสำเร็จด้วยของหอมล้วนและเกลื่อนไปด้วยจุรณแห่งเครื่องหอม แล้วเผาภิกษุณีเหล่านั้นบนจิตกาธารนั้น ส่วนแห่งสรีระนอกนั้นถูกไฟไหม้สิ้นเหลือแต่อัฐิ ในเวลานั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าววาจาอันให้เกิดความสังเวชว่า พระปชาบดีโคตมีเถรีเข้านิพพานแล้ว พระสรีระของพระเถรีก็ถูกเผาแล้ว การนิพานของพระพุทธเจ้าน่าสังเกต อีกไม่นานก็คงจักมี ต่อจากนั้น ท่านพระอานนท์อันพระพุทธเจ้าทรงตักเตือนท่าน ได้น้อมพระธาตุของพระปชาบดีโคตมีเถรี ซึ่งอยู่ในบาตรของพระเถรีเข้ามาถวายแด่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 266
พระโลกนาถพระผู้มีพระภาคเจ้าพระผู้เป็นฤษีพระองค์ที่ ๗ ได้ประคองพระธาตุเหล่านั้นด้วยฝ่าพระหัตถ์แล้วตรัสว่า เพราะสังขารเป็นสภาพไม่เที่ยง โคตมีผู้เป็นใหญ่กว่าหมู่ภิกษุณียังต้องนิพพาน เหมือนลำต้นของต้นไม้ใหญ่ที่มีแก่นยืนต้นอยู่ ถึงจะใหญ่โตก็ต้องผุพังไปฉะนั้น ดูเอาเถิดอานนท์ พระพุทธมารดาแม้นิพพานแล้วเหลือแต่เพียงสรีระ ก็ไม่มีความเศร้าโศกปริเทวนาการ.
ท่านพระอานนท์ทูลว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอพระมารดาของข้าพระองค์ แม้นิพพานแล้วเหลือแต่เพียงสรีระ ก็ไม่มีความโศกปริเทวนาการ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โคตมี ข้ามสาครคือสงสารไปแล้ว ละเว้นเหตุอันทำให้เดือดร้อนได้แล้วเป็นผู้เยือกเย็นดับสนิทดีแล้ว อันผู้อื่นไม่ควรเศร้าโศกถึง โคตมีเป็นบัณฑิต มีปัญญามากและมีปัญญากว้างขวาง ทั้งเป็นผู้รู้ราตรีนานกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทรงจำไว้อย่างนี้เถิด โคตมีเป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ ทิพโสตธาตุ และมีความชำนาญในเจโตปริยญาณ รู้ทั่วถึงปุพเพนิวาสญาณ ชำระทิพยจักษุให้หมดจด สิ้นอาสวะหมดแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ญาณในอรรถะ ธรรมะ นิรุตติและปฏิภาณบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรจะเศร้าโศกถึงโคตมีนั้น คติของไฟที่ลุกโพลง ถูกแผ่นเหล็กทับแล้วดับไปโดยลำดับ ใครๆ ก็รู้ไม่ได้ฉันใด คติของท่านที่หลุดพ้นจากกิเลสโดยชอบแล้ว ข้ามพ้นโอฆะคือพันธะทาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 267
กามบรรลุอจลบท บทที่ไม่หวั่นไหวแล้ว ก็ไม่มีใครจะรู้ได้ฉันนั้น เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นที่พึ่งมีสติปัฏฐานเป็นทางดำเนินเถิด เธอทั้งหลายอบรมโพชฌงค์ ๗ ประการแล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
ทราบว่า พระมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีได้ตรัสคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถา