พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาสังคีติสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 ก.ค. 2564
หมายเลข  34567
อ่าน  2,053
  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 264

อรรถกถาสังคีติสูตร

ว่าด้วยธรรมหมวด ๑

สังคีติสูตร มีคําเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ เป็นต้น

ในสังคีติสูตรนั้น มีคําอธิบายไปตามลําดับบท ดังต่อไปนี้. คําว่า จาริกฺจรมาโน หมายถึงเสด็จเที่ยวไปอย่างนิพัทธจาริก. ได้ยินว่าในครั้งนั้น พระศาสดาทรงแผ่ข่าย คือพระญาณไปในหมื่นจักรวาล ตรวจดูสัตว์โลกอยู่ ได้ทรงเล็งเห็นเหล่ามัลลราช ชาวเมืองปาวา จึงทรงคํานึงว่า "ราชาเหล่านี้มาปรากฏในข่าย คือ สัพพัญุตญาณของเรา. จะมีอะไรหรือหนอ" ก็ได้ทรงเห็นความข้อนี้ว่า "ราชาทั้งหลายให้สร้างสัณฐาคารขึ้นแห่งหนึ่ง เมื่อเราไป ก็จักให้เรากล่าวมงคล, เรากล่าวมงคลแก่ราชาเหล่านั้นแล้ว ส่ง (กลับ) ไปแล้ว จักบอกสารีบุตรว่า "เธอจงกล่าวธรรมกถา แก่หมู่ภิกษุ, สารีบุตรพิจารณาโดยพระไตรปิฏกแล้ว จักกล่าวสังคีติสูตรแก่หมู่ภิกษุ ประดับไปด้วยปัญหา ๑,๐๑๔ ข้อ ภิกษุ ๕๐๐ รูป รําลึกถึงพระสูตร (นี้) แล้ว จักบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา" ดังนี้ จึงได้เสด็จจาริกไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มลฺเลสุ จาริกฺจรมาโน คําว่า อุพฺภตกํ เป็นชื่อของ สัณฐาคารแห่งนั้น. อีกนัยหนึ่ง ท่านเรียกว่า (อุพฺภตกํ) อย่างนั้น เพราะเป็นอาคารสูง. คําว่า สณฺาคารํ หมายถึง ศาลาที่ประชุมกลางเมือง. ในคําว่า สมเณน วา นี้เพราะเหตุที่เทวดาทั้ง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 265

หลาย ย่อมถือเอาที่อยู่ของตนในเวลาที่กําหนดพื้นที่ (ปลูก) เรือนนั่นเอง ฉะนั้นท่านจึงไม่กล่าวว่า เทเวน วา แต่กล่าวว่า สมเณน วา พฺราหฺม เณน วา เกนจิ วา มนุสฺสภูเตน สมณพราหมณ์หรือใครๆ ที่เป็นมนุษย์.

คําว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ ความว่า พวกเจ้ามัลละได้ สดับ (ข่าวว่า) พระผู้มีพระภาคเสด็จมา จึงดําริว่า "แม้พวกเราจะมิได้ไปทูลเชิญพระผู้มีพระภาคมา ทั้งมิได้ส่งทูตไปกราบทูลให้เสด็จมา แต่พระองค์ก็เสด็จมาที่อยู่ของพวกเราเอง มีภิกษุหมู่ใหญ่เป็นบริวาร, แลพวกเราก็ได้สร้างสัณฐาคารศาลาขึ้นแล้ว, เราจักเชิญเสด็จพระทศพลมาให้ทรงกล่าวมงคล ณ สัณฐาคารศาลานี้" ดังนี้ จึงได้เข้าไปเฝ้า. คําว่า เยน สณฺาคารํ เตนุปสงฺกมึสุ ความว่าพวกเจ้ามัลละเหล่านั้นคิดว่า "ได้ทราบว่า ช่างทําจิตรกรรมในสัณฐาคารเสร็จแล้ว แต่พวกป้อมยาม (หอคอย) เพิ่งจะเสร็จในวันนั้น และธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงมีพระอัธยาศัย (ชอบ) ป่า ยินดีในป่า พึงทรง (พอพระทัย) ประทับอยู่ภายในบ้าน หรือไม่ (ก็ไม่อาจทราบได้) เพราะฉะนั้น เราทราบถึงพระทัยของพระผู้มีพระภาคก่อนแล้ว จึงจักเตรียมการ" ดังนี้แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค. แต่บัดนี้ พวกเจ้ามัลละประสงค์จะเตรียมการให้ต้องพระทัยพระผู้มีพระภาค จึงเข้าไปยังสัณฐาคาร. คําว่า สพฺพสนฺถรึ หมายความว่า ปูลาดอย่างพร้อมสรรพ.

อนึ่ง ในคําว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ นี้มีความว่า พวกเจ้ามัลละเหล่านั้น จัดแจงสัณฐาคารเสร็จแล้วจึงให้แผ้วถางถนนในเมือง ให้ยกธงขึ้นแล้วตั้งหม้อน้ำเต็มเปียม ทั้งต้นกล้วย ณ ประตูบ้านทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 266

ทําเมืองทั้งสิ้นให้เกลื่อนกล่นไปด้วยระเบียบแห่งโคมไฟ ประหนึ่งว่า ดวงดาว แล้วให้ป่าวประกาศว่า "พวกทารกที่ยังไม่อดนม จงให้ดื่มนมเสีย, พวกเด็กรุ่นๆ จงรีบให้บริโภค (ข้าวปลาอาหาร) แล้วให้นอนเสีย อย่าได้ส่งเสียงอึกทึกครึกโครม, วันนี้พระศาสดาจักประทับภายในหมู่บ้านคืนหนึ่ง, อันพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงพอพระทัยในความสงบเงียบ" ดังนี้แล้ว พากันถือคบเพลิงด้วยตัวเอง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ.

คําว่า ภควนฺตํ เยว ปุรกฺขิตฺวา แปลว่า กระทําพระผู้มีพระภาคไว้เบื้องหน้า. พระผู้มีพระภาคประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุและอุบาสกทั้งหลาย ในสัณฐาคารนั้น ย่อมไพโรจน์ยิ่งนัก เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสโดยรอบ มีพระฉวีวรรณเพียงทอง งดงาม น่าชม. พระรัศมีมีพรรณเพียงดังทองพวยพุ่งจากพระกายเบื้องหน้า แผ่ไปถึง ๘๐ ศอก. พระรัศมีมีพรรณเพียงดังทองพวยพุ่งจากพระกายท่ามกลาง จากพระหัตถ์เบื้องขวา จากพระหัตถ์เบื้องซ้าย ก็แผ่ไปได้ข้างละ ๘๐ ศอก (ดุจกัน). พระรัศมีมีพรรณเพียงสร้อยคอมยุรา พวยพุ่งจากกลุ่มพระเกษาทั้งหมด ตั้งแต่ริมพระเกษาเบื้องบนแผ่ไปในพื้นนภากาศถึง ๘๐ ศอก. พระรัศมี มีพรรณเพียงแก้วประพาฬ พวยพุ่งจากฝ่าพระบาทเบื้องใต้ แผ่ไปในแผ่นดินทึบ ได้ถึง ๘๐ ศอก. พระพุทธรัศมี มีพรรณ ๖ ประการ พวยพุ่งรุ่งเรือง พร่างพรายตลอดที่ประมาณ ๘๐ ศอก โดยรอบ ด้วยประการดังนี้. สรรพทิศาภาคก็กระจ่างแจ้งดังว่าโปรยปรายไปด้วยดอกจําปาทอง ประหนึ่งว่า โรยรดด้วยสุวรรณรสอันไหลจากหม้อทอง ปานว่าดาดาดลาดไปด้วยแผ่นทอง และประดุจว่าเกลื่อนกล่นไปด้วยผงดอกทองกวาว และกรรณิการ์อัน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 267

ฟุ้งตลบด้วยเวรัมภวาต. แม้พระวรกายแห่งพระผู้มีพระภาคอันรุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ พระรัศมี (โดยปรกติ) ประมาณวาหนึ่ง และ วรลักษณ์ ๓๒ ประการ ก็ไพโรจน์เพียงพื้นอัมพรอันพร่างพราว ด้วยดวงดาว ประหนึ่งดอกประทุมอันบานสะพรั่ง ดุจดังปาริฉัตรประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ผลิบานเต็มต้น ราวกับจะเผยพระสิริ ครอบงําเสียซึ่งสิริแห่ง พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระเจ้าจักรพรรดิ ท้าวเทวราช (และ) มหาพรหม อย่างละ ๓๒ อันตั้งไว้โดยลําดับกัน (ให้อับรัศมีไป) ฉะนั้น. แม้ภิกษุทั้งสิ้น อันนั่งแวดล้อมอยู่นั้น ก็ล้วนเป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงบ ไม่พลุกพล่าน ทําความเพียร เป็นผู้บอก ทนต่อคําบอก เป็นผู้เตือน ติเตียนบาป สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัศนะ. พระผู้มีพระภาคอันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ไพโรจน์ประหนึ่งท่อนทองอันห่อหุ้มด้วยผ้ากัมพลแดง ประดุจเรือทองอันลอยลําอยู่ในท่ามกลางดงประทุมแดง เสมือนปราสาททอง อันล้อมรอบไปด้วยเวทีแก้วประพาฬ ฝ่ายพระอสีติมหาเถระทรงผ้าบังสุกุลสีปานเมฆ เป็นมหานาค ปานว่าจอมปลวกแก้วมณี คลายราคะแล้ว ทําลายกิเลสสิ้นแล้ว ถางชัฏออกหมดแล้ว ตัดเครื่องผูกได้แล้ว ไม่ติดข้องในตระกูล หรือในหมู่คณะ ก็นั่งแวดล้อมพระผู้มีพระภาค. ด้วยประการดังนี้ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงบําราศจากราคะด้วยพระองค์เอง อันท่านผู้บําราศจากราคะแวดล้อมแล้ว ผู้ทรงบําราศจากโทสะด้วยพระองค์เอง อันท่านผู้บําราศจากโทสะแวดล้อมแล้ว ผู้ทรงบําราศจากโมหะด้วยพระองค์เอง อันท่านผู้บําราศจากโมหะแวดล้อมแล้ว ผู้ทรงไร้ตัณหาด้วยพระองค์เอง อันท่านผู้ไร้ตัณหาแวดล้อมแล้ว ผู้ทรงไร้กิเลสด้วยพระองค์เอง อันท่านผู้ไร้กิเลสแวดล้อมแล้ว ผู้ทรงเป็นพุทธะด้วยพระองค์เอง อัน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 268

ท่านผู้เป็นพุทธะ ผู้พหูสูตแวดล้อมแล้ว ประหนึ่งเกสรอันแวดล้อมไปด้วยกลีบ ประดุจกรรณิการ์ อันแวดล้อมไปด้วยเกสร เสมือนพญาช้างฉัททันต์อันแวดล้อมไปด้วยช้างบริวารทั้งแปดพัน ปานว่าจอมหงส์ธตรัฐ อันแวดล้อมไปด้วยหงส์บริวารเก้าแสน ดังว่า พระเจ้าจักรพรรดิอันแวดล้อม ไปด้วยเหล่าเสนางคนิกร ประดุจท้าวสักกเทวราชอันแวดล้อมไปด้วยเหล่าทวยเทพ ปานว่าหาริตมหาพรหมอันแวดล้อมไปด้วยคณะพรหม ได้ประทับนั่งในท่ามกลางบริษัทเหล่านั้น ด้วยพุทธเพศอันหาที่เสมอเหมือนมิได้ ด้วยพุทธวิลาศอันหาประมาณมิได้ ทรงยังพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาให้เห็น ฯลฯ ด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นอันมาก แล้วทรงส่งไป. และในที่นี้พึงทราบว่า ปกิณกกถา อันประกอบไปด้วยคําอนุโมทนาในสัณฐาคาร ชื่อว่า ธรรมกถา. แท้จริงในคราวนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสปกิณกกถาอันนํามาซึ่งประโยชน์ และความสุขแก่เจ้ามัลละ แห่งนครปาวา ประหนึ่งว่า ยังอากาศคงคาให้หลั่งลงอยู่ เสมือนว่าทรงรวบรวมมาซึ่งโอชะแห่งปฐพี ปานว่าทรงจับยอดต้นมหาชมพู แล้วสั่นให้หวั่นไหวอยู่ และประดุจว่าทรงคั้นรวงผึ้งอันควรแก่การคั้น ด้วยเครื่องจักร แล้วยังบุคคลให้ดูดดื่มเอาซึ่งน้ำหวาน ฉะนั้น.

คําว่า ตุณฺหีภูตํ ตุณหีภูตํ ความว่า ทรงเหลียวดูทิศใดๆ หมู่ภิกษุในทิศนั้นๆ นิ่งสงบทีเดียว. คําว่า อนุวิโลเกตฺวา ความว่า เหลียวดูโดยทิศนั้นๆ ด้วยจักษุ ๒ อย่าง คือ มังสจักษุ และทิพยจักษุ. จริงอยู่ ทรงกําหนดอิริยาบถภายนอกของภิกษุเหล่านั้นด้วยมังสจักษุ. ในหมู่ภิกษุเหล่านั้น มิได้มีภิกษุผู้คะนองมือคะนองเท้า แม้สักรูปเดียว ไม่มีรูปไหน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 269

ยื่นศีรษะพูดจา หรือนั่งหลับ. ภิกษุทั้งปวงนั้นเป็นผู้ศึกษาอบรมมาแล้วด้วยไตรสิกขา นั่งสงบนิ่ง เสมือนหนึ่งเปลวประทีปในที่อันสงัดลม ฉะนั้น. ทรงกําหนดอิริยาบถนี้ของภิกษุเหล่านั้น ด้วยมังสจักษุ ด้วยประการดังนี้. อนึ่ง ทรงเจริญอาโลก (แสงสว่าง) จนเห็นหทัยรูปของภิกษุเหล่านั้นแล้วทรงตรวจดูศีลภายใน ด้วยทิพยจักษุ. พระองค์ได้ทรงเห็นศีลอันเข้าถึงพระอรหัต ของภิกษุหลายร้อย ประดุจว่าประทีปอันสว่างโพลงอยู่ภายในหม้อ. แท้จริงภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้ปรารภวิปัสสนา. ได้ทรงเห็นศีลของภิกษุเหล่านั้น ด้วยประการดังนี้แล้ว ทรงดําริว่า "ภิกษุเหล่านี้คู่ควรแก่เรา ทั้งเราก็คู่ควรแก่ภิกษุเหล่านี้" แล้วทรงตั้งนิมิตไว้ในพื้นจักษุ ตรวจดูหมู่สงฆ์ แล้วตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรว่า "เราเมื่อยหลัง". เพราะเหตุไรจึงทรงเมื่อยหลัง?. เพราะเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบําเพ็ญความเพียรอย่างแรงกล้าอยู่ถึง ๖ ปี ได้เกิดความลําบากพระวรกายเป็นอันมาก. ครั้นกาลต่อมาถึงคราวทรงพระชรา ลมเสียดหลังย่อมเกิดขึ้นแก่พระองค์ได้ (เป็นธรรมดา). คําว่า สงฺฆาฏึ ปฺเปตฺวา ความว่า ได้ยินว่า เจ้ามัลละเหล่านั้น ให้ปูลาดเตียงอันเป็นกัปปิยะไว้ที่ข้างด้านหนึ่งของสัณฐาคาร ด้วยความมุ่งหมายว่า บางทีพระศาสดาจะพึงบรรทมบ้าง. ฝ่ายพระศาสดาทรงดําริว่า "เตียงที่เราใช้สอยด้วยอิริยาบถทั้ง ๔ จักมีผลานิสงส์มากแก่เจ้ามัลละเหล่านี้" จึงรับสั่งให้ปูลาดผ้าสังฆาฏิบนเตียงนั้น แล้วบรรทม. คําที่ควรกล่าว ในคําว่า ตสฺส กาลกิริยาย เป็นต้น ได้กล่าวไว้แล้วทั้งหมดในหนหลัง.

คําว่า อามนฺเตสิ ความว่า ทรงประสงค์จะแสดงสวากขาตธรรม

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 270

อันกระทําความสงบระงับเหตุมีการบาดหมางกันเป็นต้น จึงได้ตรัสเรียก. คําว่า ตตฺถ แปลว่า ในธรรมนั้น. คําว่า สงฺคายิตพฺพํ ความว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันพึงสังคายนา คือสงฆ์ผู้มีถ้อยคําเป็นอันเดียวกัน มีถ้อยคําไม่แย้งกัน พึงสวด. คําว่า น วิวทิตพฺพํ ความว่า ไม่ควรกล่าวแย้งกันในอรรถะก็ตาม ในพยัญชนะก็ตาม. คําว่า เอโก ธมฺโม ความว่าพระเถระมีความประสงค์จะแสดงสามัคคีรสมากๆ อย่าง เช่น หมวดหนึ่ง หมวดสอง หมวดสาม เป็นต้น จึงกล่าวว่า เอโก ธมฺโม (ธรรมหนึ่ง) ดังนี้เป็นอันดับแรก.

คําว่า สพฺเพ สตฺตา หมายถึงสัตว์ทั้งปวงในภพทั้งปวง เช่นในกามภพเป็นต้น ในสัญญีภพเป็นต้น และในเอกโวการภพเป็นต้น. คําว่า อาหารฏฺิติกา มีบทนิยามว่า สัตว์เหล่านั้นดํารงอยู่ได้เพราะอาหาร ดังนั้น จึงชื่อว่า อาหารฏฺิติกา ผู้ดํารงอยู่ได้เพราะอาหาร. อาหารย่อมเป็นเหตุแห่งการดํารงอยู่ได้แห่งสรรพสัตว์ ด้วยประการดังนี้. พระเถระแสดงความหมายว่า "ท่านทั้งหลาย ธรรมหนึ่ง คือ สัตว์ทั้งหลายดํารงอยู่ได้เพราะอาหารนี้ พระศาสดาของเราทั้งหลาย ทรงทราบตามความเป็นจริงแล้ว ได้ตรัสได้เป็นอันถูกต้อง". ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ คําที่ตรัสไว้ว่า "เทพจําพวกอสัญญสัตตะ เป็นอเหตุกะ ไม่มีอาหาร ไม่มีผัสสะ" ดังนี้เป็นต้น จะมิเป็นอันคลาดเคลื่อนไปละหรือ. ไม่คลาดเคลื่อน ทั้งนี้เพราะเทพพวกนั้นก็มีฌานเป็นอาหาร. ถึงอย่างนั้นก็เถอะ, แม้คําที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันว่าอาหารเพื่อความดํารงอยู่ของสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาแล้ว หรือเพื่อการตามประคับประคองพวกสัมภเวสีทั้งหลาย มีอยู่ ๔ อย่าง ๔ อย่าง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 271

อะไรบ้าง ๑. กพฬิงการาหาร จะหยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ๒. ผัสสาหาร ๓. มโนสัญเจตนาหาร ๔. วิญญาณาหาร" ดังนี้ ก็คลาดเคลื่อน. แม้คํานี้ก็ไม่คลาดเคลื่อน. เพราะว่าในพระสูตรนั้น ตรัสธรรมทั้งหลายที่มีลักษณะเป็นอาหารโดยตรงนั่นแลว่า "อาหาร". แต่ในที่นี้ตรัสเรียกปัจจัยโดยอ้อมว่า "อาหาร" จริงอยู่ ปัจจัยควรจะได้แก่ธรรมทั้งปวง. และปัจจัยนั้น ยังผลใดๆ ให้เกิด ก็ย่อมชื่อว่านํามาซึ่งผลนั้นๆ เพราะฉะนั้นจึงเรียกได้ว่า อาหาร. ด้วยเหตุนั้นแล จึงตรัสไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อวิชชา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิใช่ไม่มีอาหาร, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารของอวิชชา, ควรจะกล่าว นิวรณ์ ๕ เป็นอาหารของอวิชชา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิใช่ไม่มีอาหาร, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕, ควรจะกล่าวว่า อโยนิโสมนสิการ เป็นอาหารของนิวรณ์ ๕" ดังนี้, อาหารคือปัจจัยนี้ประสงค์เอาในพระสูตรนี้. ก็เมื่อถือเอาปัจจัยเป็นอาหารอย่างหนึ่งแล้ว ก็ย่อมเป็นอันถือเอาทั้งหมด ทั้งอาหารโดยอ้อม ทั้งอาหารโดยตรง. ในอสัญญภพนั้น ย่อมได้ปัจจัยอาหาร.

เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้อุบัติขึ้น พวกนักบวชในลัทธิเดียรถีย์ ทําบริกรรมในวาโยกสิณแล้ว ยังฌานที่ ๔ ให้เกิดขึ้นได้แล้ว ออกจากฌานนั้นแล้ว ให้เกิดความยินดี ชอบใจว่า "น่าติเตียนจิต จิตนี้น่าติเตียนแท้, ชื่อว่าการไม่มีจิตนั่นแล เป็นความดี, เพราะอาศัยจิต จึงเกิดทุกข์อันมีการฆ่าและการจองจําเป็นต้น เป็นปัจจัย, เมื่อไม่มีจิต ทุกข์นั้นก็ย่อมไม่มี" ดังนี้ ไม่เสื่อมฌาน สิ้นชีวิตแล้วไปเกิดในอสัญญภพ. ผู้ใดตั้งมั่นอิริยาบถใด ในมนุษยโลก, ผู้นั้นก็เกิดโดยอิริยาบถนั้น เป็นผู้ยืนบ้าง นั่งบ้าง

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 272

นอนบ้าง ตลอด ๕๐๐ กัป, เป็นประดุจว่านอนอยู่ตลอดกาลนานถึงเพียงนี้. แม้สัตว์ทั้งหลายที่มีรูปอย่างนี้ ก็ย่อมได้ปัจจัยอาหาร. แท้จริง สัตว์เหล่านั้นเจริญฌานใด แล้วไปเกิด, ฌานนั้นแหละย่อมเป็นปัจจัยของสัตว์เหล่านั้น. ปัจจัยคือฌาน ยังมีอยู่ตราบใด ก็ย่อมดํารงอยู่ได้ตราบนั้น อุปมาเหมือนลูกศรที่ยิงไปด้วยแรงส่งแห่งสาย, แรงส่งแห่งสายยังมิเพียงใด ก็พุ่งไปได้เพียงนั้น ฉะนั้น. เมื่อปัจจัยคือฌานนั้นหมดลง สัตว์เหล่านั้นก็ย่อมตกไป ดุจลูกศรที่สิ้นแรงส่งแห่งสายฉะนั้น.

ส่วนพวกสัตว์นรกที่ท่านกล่าวไว้ว่า มิได้เป็นอยู่ด้วยผลแห่งความหมั่น ทั้งมิได้เป็นอยู่ด้วยผลแห่งบุญ เหล่านี้มีอะไรเป็นอาหาร. กรรมนั่นเองเป็นอาหารของสัตว์นรกเหล่านั้น. ถ้าจะถามว่า อาหารมี ๕ อย่างกระนั้นหรือ?. (ก็ต้องตอบว่า) คําว่า "๕ อย่างหรือไม่ใช่ ๕ อย่าง" นี้ไม่ควรพูด, ท่านกล่าวคํานี้ไว้แล้วมิใช่หรือว่า "ปัจจัยคืออาหาร" เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นเกิดในนรกด้วยกรรมใด กรรมนั้นนั่นเองจัดว่าเป็นอาหาร เพราะเป็นปัจจัยแห่งความดํารงอยู่ของสัตว์เหล่านั้น ดังที่ตรัสมุ่งหมายถึงไว้ว่า "จะยังไม่สิ้นชีวิตตราบเท่าที่บาปกรรมอันนั้น ยังไม่หมดสิ้น". และในที่นี้ไม่ควรจะต้องโต้เถียงกัน ด้วยเรื่องกพฬิงการาหาร. เพราะแม้แต่น้ำลายที่เกิดในปากก็ยังให้สําเร็จกิจในเชิงอาหารแก่สัตว์เหล่านั้นได้. จริงอยู่ น้ำลายนั้น ในนรกนับว่า เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ในสวรรค์นับว่าเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา จัดว่าเป็นปัจจัยได้.

ดังนั้น ในกามภพ โดยตรง มีอาหาร ๔ อย่าง ในรูปภพ และอรูปภพ ยกเว้นอสัญญสัตตะ ที่เหลือนอกนั้น มีอาหาร ๓ อย่าง, สําหรับ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 273

อสัญญสัตตะ และเทพอื่นๆ (นอกจากที่กล่าวแล้ว) มีอาหารคือปัจจัยอาหาร ด้วยประการดังนี้. พระเถระกล่าวปัญหาข้อหนึ่งว่า สัตว์ทั้งปวงดํารงอยู่ได้เพราะอาหาร ด้วยอาหาร ตามที่แสดงมา นี้แล้วได้แก้ไขปัญหาข้อที่ ๒ ว่า "สัตว์ทั้งปวงดํารงอยู่ได้เพราะสังขาร" ดังนี้ โดยมิได้กําหนดหมาย อย่างนี้ว่า อยํ โข อาวุโส (นี้แลท่านทั้งหลาย) ทั้งมิได้ไขความอีกว่า อตฺถิโข อาวุโส (มีอยู่แล ท่านทั้งหลาย). เพราะเหตุไรจึงมิได้กําหนดหมาย ทั้งมิได้ไขความอีก. เพราะการที่จะเรียนและสอนในเมื่อมัวแต่กําหนดหมาย ทั้งมัวแต่ไขความอยู่นั้น เป็นเรื่องยาก ฉะนั้นท่านจึงแก้ไขทั้งสองประเด็นรวมกันไปเลย.

แม้ในการแก้ไขปัญหาข้อที่ ๒ นี้ ปัจจัยที่ได้กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นเอง ก็เรียกว่า สังขาร เพราะปรุงแต่งผลของตน. อาหารปัจจัยได้กล่าวมาแล้วในหนหลัง, ความแตกต่างกันอย่างน้อยที่สุด ในปัญหาข้อนี้ก็คือ ข้อนี้ - ในที่นี้ เป็นสังขารปัจจัย. (แต่) พระมหาสิวเถระกล่าวว่า "เมื่อถือเอาอย่างนี้ว่า "อาหารโดยตรง ถือเอาแล้วในหนหลัง, ในที่นี้หมายเอาอาหารโดยอ้อม ดังนี้ ความแตกต่างกันก็จะปรากฏขึ้น, แต่ว่าท่านมิได้ถือเอา (อย่างนั้น) ". แท้จริง ธรรมทั้งที่เนื่องด้วยอินทรีย์ ทั้งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ควรที่จะได้ปัจจัย แล. ขึ้นชื่อว่าธรรม เว้นจากปัจจัยย่อมไม่มี. บรรดาธรรม ๒ อย่างนั้น ธรรมที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ เช่น หญ้า ต้นไม้ และเครือเถาเป็นต้น ย่อมมีรสแผ่นดิน และรสน้ำเป็นปัจจัย. เพราะเมื่อฝนไม่ตก หญ้าเป็นต้น ก็เหี่ยว. แต่จะสีเขียวเมื่อฝนตก. รสแผ่นดิน และรสน้ำเป็นปัจจัย ของหญ้าเป็นต้นเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 274

ด้วยประการดังนี้. ธรรมที่เนื่องด้วยอินทรีย์มีสิ่งเป็นต้นว่าอวิชชา ตัณหา กรรม อาหาร เป็นปัจจัย ปัจจัยในหนหลังนั้นแล ท่านเรียกว่า อาหาร (แต่) ในที่นี้ ท่านเรียกว่า สังขาร ความแตกต่างกัน ในเรื่องนี้มีเพียงเท่านี้แล. บทว่า อยํ โข อาวุโส ความว่า ท่านทั้งหลาย ธรรมหนึ่งอันนี้ พระศาสดาของพวกเราประทับนั่ง ณ มหาโพธิมณฑล ทรงทําให้แจ้งด้วยพระองค์ด้วยพระสัพพัญุตญาณแล้วได้ทรงแสดงไว้ อันเป็นธรรมหนึ่งที่ท่านทั้งหลาย พึงสังคายนาพร้อมเพรียงกัน ไม่พึงโต้แย้งกัน. คําว่า ยถยิทํ พฺรหฺมาจริยํ ความว่า ศาสนพรหมจรรย์นี้ พึงตั้งมั่นอยู่ได้ ดังที่เมื่อท่านทั้งหลายสังคายนาอยู่. คือเมื่อภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า "ท่านทั้งหลายธรรมหนึ่งอันพระศาสดาตรัสไว้ชอบแล้วมีอยู่ ธรรมหนึ่งคืออะไร คือ สัตว์ทั้งปวงดํารงอยู่ได้เพราะอาหาร สัตว์ทั้งปวงดํารงอยู่ได้เพราะสังขาร" ดังนี้, ภิกษุรูปหนึ่งได้ฟังคํากล่าวของภิกษุรูปนั้นแล้วก็บอกกล่าวต่อไป อีกรูปหนึ่งได้ฟังก็บอกกันต่อไปอีก โดยกําหนดคําบอกกล่าวสืบๆ กันไป ด้วยประการอย่างนี้แล พรหมจรรย์นี้ก็จักดํารงอยู่ตลอดกาลนาน เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก ท่านพระธรรม เสนาบดีสารีบุตรเถระได้แสดงสามัคคีรสด้วยอํานาจธรรมหมวดหนึ่งด้วย ประการดังนี้แล.

จบธรรมหมวด ๑

ว่าด้วยธรรมหมวด ๒

ครั้นแสดงสามัคคีรส ด้วยว่าอํานาจธรรมหมวดหนึ่งดังกล่าวมานี้แล้ว

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 275

บัดนี้ พระเถระได้เริ่มเทศนาต่อไป เพื่อแสดงด้วยอํานาจธรรมหมวดสอง. ในธรรมหมวดสอง คือ นามรูป นั้น นาม ได้แก่อรูปขันธ์ ๔ และนิพพาน ๑. บรรดาธรรมเหล่านี้ ขันธ์ ๔ ชื่อว่า นาม ด้วยอรรถว่าน้อมไป. คําว่า ด้วยอรรถว่า น้อมไป หมายความว่า ด้วยอรรถว่ากระทําชื่อ. เหมือนอย่างว่า พระเจ้ามหาสมมต มีพระนามว่า "มหาสมมต" ก็เพราะมหาชนสมมติ (ยกย่อง, หมายรู้พร้อมกันขึ้น) , หรือเหมือนอย่างพ่อแม่ ตั้งชื่อให้เป็นที่กําหนดหมายแก่บุตร อย่างนี้ว่า "คนนี้ชื่อดิศ คนนี้ชื่อบุส" หรือเหมือนอย่างชื่อที่ได้มา โดยคุณสมบัติว่า "พระธรรมกถึก พระวินัยธร" ดังนี้ฉันใด, ขันธ์ทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น จะได้ชื่อฉันนั้นหามิได้. แท้จริง เวทนาเป็นต้น ย่อมมีชื่อของตนเกิดขึ้น (เอง) เหมือนมหาปฐพี เป็นต้น. เมื่อขันธ์เหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว ชื่อของขันธ์เหล่านั้น ก็เป็นอันเกิดขึ้นด้วยทีเดียว. เพราะไม่มีใครที่จะมากล่าวกับเวทนาที่เกิดขึ้นว่า "เจ้าจงชื่อว่าเวทนา". และธุระที่จะต้องตั้งชื่อแก่เวทนานั้นด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็หามีไม่. เหมือนอย่างเมื่อแผ่นดินเกิดขึ้น ก็ไม่มีธุระที่จะต้องตั้งชื่อว่า เจ้าจงชื่อแผ่นดิน, เมื่อจักรวาล เขาพระสุเมรุ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวนักษัตรเกิดขึ้น ก็ไม่มีธุระที่จะต้องตั้งชื่อว่า "เจ้าจงชื่อจักรวาล ฯลฯ เจ้าจงชื่อนักษัตร" ชื่อเป็นอันเกิดขึ้นทีเดียว ตกลงเป็นบัญญัติที่เกิดขึ้นได้เองฉันใด, เมื่อเวทนาเกิดขึ้น ก็ไม่มีธุระที่จะต้องตั้งชื่อว่า "เจ้าจงชื่อเวทนา" เวทนาที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นอันเกิด มีชื่อว่า เวทนาเลยทีเดียว ฉันนั้น. แม้สัญญาเป็นต้น ก็มีนัยอย่างนี้. เวทนาแม้ในอดีต ก็คือชื่อว่า เวทนา, สัญญา, สังขาร วิญญาณ ในอดีต แม้ในอนาคต แม้ในปัจจุบัน ก็คงชื่อว่า สัญญา สังขาร วิญญาณ เช่นเดียวกัน. อนึ่ง นิพพาน ทั้งในอนาคต ทั้งในปัจจุบัน ก็คงชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 276

นิพพาน ทุกเมื่อไปแล. ชื่อว่า นาม ด้วยอรรถว่า กระทําชื่อ ด้วยประการดังนี้. อนึ่ง ขันธ์ ๔ ในบรรดาธรรมเหล่านั้น ก็ชื่อว่า นาม แม้ด้วยอรรถว่า น้อมไป. เพราะขันธ์เหล่านั้น ย่อมมุ่งหน้าน้อมไปในอารมณ์. แม้สิ่งทั้งปวงก็ชื่อว่า นาม ด้วยอรรถว่า น้อมไป. ขันธ์ ๔ ย่อมยังกันและกันให้น้อมไปในอารมณ์. นิพพานย่อมยังธรรมอันไม่มีโทษให้น้อมไปในตน เพราะเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นใหญ่ในอารมณ์. คําว่ารูป หมายถึงมหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔. ทั้งหมดนั้นชื่อว่ารูป เพราะอรรถว่า ต้องย่อยยับไป. คําบรรยายโดยละเอียดสําหรับรูปนั้นพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคปกรณ์.

คําว่า อวิชฺชา ได้แก่ความไม่รู้ในสัจจะ มีทุกข์เป็นต้น. แม้เรื่องนี้ก็ได้กล่าวไว้โดยละเอียดแล้วในวิสุทธิมรรคเช่นกัน. คําว่า ภวตณฺหา หมายถึงความปรารถนาภพ. สมดังที่ตรัสไว้ว่า "บรรดาตัณหาเหล่านั้น ภวตัณหาคืออะไร คือความพอใจ ความเป็นในภพทั้งหลาย" ดังนี้เป็นอาทิ.

คําว่า ภวทิฏฺิ (นี้) ความเที่ยง ท่านเรียกว่า ภวะ คือ ทิฏฐิที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจความเห็นว่าเที่ยง แม้ทิฏฐินั้นท่านก็แถลงรายละเอียดไว้แล้วในพระอภิธรรมโดยนัยเป็นต้นว่า "บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ภวทิฏฐิคืออะไร คือทิฏฐิได้แก่ความเห็นถึงขนาดนี้ว่า "ตนมี โลกมี" ดังนี้. คําว่า วิภวทิฏฺิ (นี้) ความขาดสูญ ท่านเรียกว่า วิภวะ คือทิฏฐิที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจเห็นว่าขาดสูญ แม้ทิฏฐินั้น ท่านก็แถลงรายละเอียดไว้แล้วในพระอภิธรรมเช่นเดียวกันโดยนัยเป็นต้นว่า "บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น วิภวทิฏฐิคืออะไร คือทิฏฐิได้แก่ความเห็นถึงขนาดนี้ว่า "ตนไม่มี โลกไม่มี" ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 277

คําว่า อหิริกํ ได้แก่ความไม่ละอาย ที่ท่านแถลงรายละเอียดไว้อย่างนี้ว่า "ความไม่ละอายด้วยสิ่งที่ควรจะละอาย." คําว่า อโนตฺตปฺปํ ได้แก่อาการที่ไม่หวาดกลัว ที่ท่านแถลงรายละเอียดไว้อย่างนี้ว่า "ความไม่สะดุ้งกลัวด้วยสิ่งที่ควรจะสะดุ้งกลัว".

คําว่า หิริจ โอตฺตปฺปฺจ ได้แก่ความละอาย และความสะดุ้งกลัวที่ท่านแถลงรายละเอียดไว้อย่างนี้ว่า "ความละอายด้วยสิ่งที่ควรละอาย ความสะดุ้งกลัวด้วยสิ่งที่ควรสะดุ้งกลัว". อีกประการหนึ่ง บรรดาธรรม ๒ อย่างนี้ หิริ มีสมุฏฐานจากภายใน โอตตัปปะ มีสมุฏฐานจากภายนอก หิริมีตนเป็นใหญ่ โอตตัปปะมีโลกเป็นใหญ่ หิริตั้งขึ้นเพราะสภาวะ คือความละอายใจ โอตตัปปะตั้งขึ้นเพราะสภาวะ คือความกลัว. คําอธิบายโดยละเอียดในเรื่องหิริโอตตัปปะนี้ ได้กล่าวไว้ครบถ้วนแล้วในวิสุทธิมรรค.

คําว่า โทวจสฺสตา มีบทนิยาม ดังนี้ -การว่ากล่าวในบุคคลนี้ผู้มักถือเอาแต่สิ่งน่ารังเกียจติดใจในสิ่งที่เป็นข้าศึก ไม่เอื้อเฟื้อ เชื่อฟัง เป็นการยาก ดังนั้น บุคคลผู้นี้จึงชื่อ ทุพฺพโจ ผู้ว่ายาก การกระทําของบุคคลผู้ว่ายากนั้น ชื่อว่า โทวจสฺสํ, ภาวะของโทวจัสสะนั้น ชื่อว่า โทวจสฺสตา ภาวะแห่งการกระทําของผู้ว่ายาก -ความเป็นผู้ว่ายาก. ความเป็นผู้ว่ายากนี้รายละเอียดมีมาในพระอภิธรรมว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น โทวจัสสตาคืออะไร. คือความเป็นผู้ว่ายากสอนยาก ในเมื่อเพื่อนสหธรรมิกกําลังว่ากล่าวตักเตือนอยู่". โทวจัสสตานั้น โดยความหมาย ย่อมเป็นสังขารขันธ์. แต่บางท่านกล่าวว่า คํานี้เป็นชื่อของขันธ์ทั้ง ๔ ที่เป็นไปโดยอาการเช่นนี้. คําว่า ปาปมิตฺตตา มีบทนิยามดังนี้. - คนชั่วทั้งหลาย มีคนไร้ศรัทธา

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 278

เป็นต้น เป็นมิตรของผู้นั้น ดังนั้น เขาจึงชื่อว่า ปาปมิตฺโต (ผู้มีคนชั่วเป็นมิตร) , ภาวะแห่งปาปมิตตะนั้น ชื่อว่า ปาปมิตฺตา (ความเป็นผู้มีคนชั่วเป็นมิตร). ความเป็นผู้มีคนชั่วเป็นมิตรนี้ รายละเอียดมีมาในพระอภิธรรม อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น ปาปมิตฺตตา คืออะไร? คือการคบหาสมาคมส้องเสพ มั่วสุม จงรักภักดี ประพฤติคล้อยตามบุคคลผู้ไร้ศรัทธา ทุศีล ขาดการศึกษา ตระหนี่ และไม่มีปัญญา". แม้ปาปมิตตตานั้น โดยความหมาย ก็พึงทราบเช่นเดียวกับ โทวจัสสตา.

ความเป็นผู้ว่าง่าย และความมีคนดีเป็นมิตร พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามจากที่กล่าวมาแล้ว. คุณธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ ในที่นี้ ท่านกล่าวระคนกันทั้งโลกิยะ และโลกุตระ.

คําว่า อาปตฺติกุสลตา คือความเป็นผู้ฉลาดในเรื่องอาบัติ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ คือความรู้ ความเข้าใจในเรื่องอาบัติ ๕ กองอาบัติ ๗ กองเหล่านั้น". คําว่าอาปตฺติวุฏานกุสลตา คือความรู้ความเข้าใจเรื่องกําหนดการออกจากอาบัติ พร้อมทั้งกรรมวาจา ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "ความเป็นผู้ฉลาด ความรู้ความเข้าใจเรื่องการออกจากอาบัติเหล่านั้น"

คําว่า สมาปตฺติกุสลตา คือความรู้ ความเข้าใจเรื่องกําหนดอัปปนาพร้อมทั้งบริกรรม ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "ความเป็นผู้ฉลาด ความรู้ ความเข้าใจเรื่องสมาบัติ เหล่านั้นที่มีอยู่ ทั้งที่เป็นสมาบัติที่มีวิตกวิจาร, สมาบัติที่ไม่มีวิตก มีเพียงวิจาร, สมาบัติที่ไม่มีทั้งวิตกวิจาร" คําว่า สมาปตฺติวุฏฺานกุสลตา คือปัญญาเครื่องกําหนดเวลาที่จะออกจาก

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 279

สมาบัติว่า "พอตะวันเกินไปแค่นี้ เราจะออก" ซึ่งเป็นปัญญาที่สามารถจะออกจากสมาบัติได้ตรงตามเวลาที่กําหนด ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "ความเป็นผู้ฉลาด ความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการออกจากสมาบัติเหล่านั้น".

คําว่า ธาตุกุสลตา คือ ปัญญาในการสดับฟัง การทรงจํา การพิจารณา และการรู้แจ้ง อันเป็นเครื่องกําหนดสภาวะแห่งธาตุ ๑๘ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ คือความรู้ ความเข้าใจเรื่องธาตุ ๑๘ อย่าง คือ จักษุธาตุ ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ". คําว่า มนสิการกุสลตา ได้แก่ปัญญาในการพิจารณา การรู้แจ้ง การเพ่งพิศธาตุทั้งหลายเหล่านั้นแล ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "ความเป็นผู้ฉลาดความรู้ ความเข้าใจธาตุทั้งหลายเหล่านั้น".

คําว่า อายตนกุสลตา คือ ปัญญาในการเรียนรู้ การใส่ใจ การเข้าใจอายตนะ ๑๒ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะคือ ความรู้ ความเข้าใจอายตนะ ๑๒ คือจักษุอายตนะ ฯลฯ ธรรมายตนะ". อีกประการหนึ่ง ทั้งความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ ทั้งความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ ย่อมควร ในการเรียนรู้ การใส่ใจ การสดับฟัง การพิจารณา การรู้แจ้ง และการเพ่งพิศ. ส่วนความแตกต่างกันในธรรมเหล่านี้ มีดังนี้ การสดับฟัง การเรียนรู้ และการเพ่งพิศ เป็นโลกิยะ, การรู้แจ้ง เป็นโลกุตระ, การพิจารณา การใส่ใจเป็นโลกิยะและโลกุตระระคนกัน. คําว่า ปฏิจฺจสมุปฺปาทกุสลตา คือ ปัญญาที่เป็นไปด้วยอํานาจเป็นต้นว่าการเรียนรู้ปัจจยาการ ๑๒ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ความรู้ ความเข้าใจ ในปัจจยาการที่ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 280

จึงมีสังขาร ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ ย่อมมีได้ ด้วยประการดังนี้".

คําว่า านกุสลตา คือ ปัญญาอันสามารถในการกําหนดฐานะอย่างนี้ว่า "จักษุ รูป เป็นฐานะและเป็นเหตุแห่งจักษุวิญาณ ซึ่งเกิดขึ้นโดยกระทําจักษุให้เป็นที่ตั้ง และกระทํารูปให้เป็นอารมณ์" ท่านกล่าวไว้ในพระอภิธรรม อย่างนี้ว่า "ความรู้ ความเข้าใจ ในธรรมทั้งหลาย ว่าเป็นเหตุ เป็นปัจจัย อาศัยธรรมเหล่าใดๆ ธรรมนั้นๆ จัดเป็นฐานะ". คําว่าอฏฺานกุสลตา คือ ปัญญาอันสามารถในการกําหนด อฐานะอย่างนี้ว่า "โสตวิญญาณเป็นต้น ย่อมไม่เกิดขึ้นโดยกระทําจักษุให้เป็นที่ตั้ง และกระทํารูปให้เป็นอารมณ์, เพราะฉะนั้น จักษุรูปจึงไม่เป็นฐาน ไม่เป็นเหตุแห่งโสตวิญญาณเป็นต้นเหล่านั้น" ท่านกล่าวไว้ในพระอภิธรรมว่า "ความรู้ความเข้าใจในธรรมทั้งหลายว่า มิใช่เป็นเหตุ มิใช่เป็นปัจจัย อาศัยธรรมเหล่าใดๆ ธรรมนั้นๆ จัดเป็นอฐานะ". อีกประการหนึ่งพึงทราบความหมายในธรรมหมวดสองนี้ โดยพระสูตรนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญด้วยเหตุเพียงเท่าไร จึงควรจะกล่าวได้ว่า ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ พึงเข้าไปยึดสังขารไรๆ โดยเป็นของเที่ยง นั่นไม่เป็นฐานะ ไม่เป็นโอกาสที่จะมีได้ ส่วนข้อที่ปุถุชนจะพึงเข้าไปยึดสังขารไรๆ โดยเป็นของเที่ยง นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้".

คําว่า อาชฺชวํ ได้แก่ ความไม่ตรง ๓ ชนิด คือ โคมุตตวังกตา จันทวังกตา และ นังคลโกฏิวังกตา. อธิบายว่า ภิกษุบางรูป ในปฐมวัย

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 281

ประพฤติในอเนสนา ๒๑ และอโคจร ๖ แต่ในมัชฌิมวัย และปัจฉิมวัยเป็นผู้มีความละอาย รังเกียจ ใคร่การศึกษา, อันนี้ชื่อว่า โคมุตตวังกตา (คดดังโคมูตร). ภิกษุรูปหนึ่งในปฐมวัย และปัจฉิมวัย บําเพ็ญจตุปาริสุทธิศีล มีความละอาย รังเกียจ ใคร่ต่อการศึกษา แต่ในมัชฌิมวัยเหมือนกับรูปก่อน, อันนี้ชื่อว่า จันทวังกตา (คดดังวงจันทร์). ภิกษุรูปหนึ่ง ทั้งในปฐมวัย และมัชฌิมวัย บําเพ็ญจตุปาริสุทธิศีล มีความละอาย รังเกียจ ใคร่ต่อการศึกษา แต่ในปัจฉิมวัย เหมือนกับรูปก่อน, อันนี้ชื่อว่านังคลโกฏิวังกตา (คดดังปลายไถ). ภิกษุรูปหนึ่ง ละความคดทั้งหมดนั่นเสียแล้ว มีศีล มีความละอาย รังเกียจ ใคร่ต่อการศึกษา ทั้ง ๓ วัยความตรงของภิกษุรูปนั้น อันนี้แล ชื่อว่า อาชฺชวํ. แม้ในพระอภิธรรมก็กล่าวไว้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น อาชชวะ คืออะไร คือความตรง ความไม่งอ ความไม่คด ความไม่โกง, อันนี้ เรียกว่าอาชชวะ. คําว่า ลชฺชวํ ได้แก่ความเป็นมีความละอาย ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น ลัชชวะ คืออะไร คือละอายด้วยสิ่งที่ควรละอาย ละอายต่อการประพฤติบาปกรรม อกุศลธรรม อันนี้เรียกว่า ลัชชวะ".

คําว่า ขนฺติ ได้แก่อธิวาสนขันติ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ "บรรดาธรรมเหล่านั้น ขันติ คืออะไร คือความอด ความทน ความกลั้น ความไม่เดือดดาล ความไม่หุนหันพลันแล่น ความใจเย็น แห่งจิต". คําว่า โสรจฺจํได้แก่ความเสงี่ยม ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น โสรัจจะคืออะไร คือความไม่ล่วงล้นออกมาทางกาย ความไม่ล่วงล้นออกมาทางวาจา ความไม่ล่วงล้นออกมาทางกายและวาจา, นี้เรียกว่า โสรัจจะ, แม้ศีลสังวร

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 282

ทั้งหมด ก็จัดว่าเป็นโสรัจจะ".

คําว่า สาขลฺยํ ได้แก่ความเป็นผู้ร่าเริงอ่อนโยน ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น สาขัลยะ คือ อะไร คือ ความมีวาจาอ่อนหวาน ความมีวาจาไพเราะ ความมีวาจาไม่หยาบ ในท่านผู้ละถ้อยคําอันหยาบช้า สามานย์ เผ็ดร้อน ดุด่าผู้อื่น ชวนโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ เช่นนั้นเสียแล้ว พูดจาแต่ถ้อยคําอันสุภาพ เสนาะโสต น่ารักถูกใจ ทันสมัย เป็นที่พอใจ รักใคร่ของชนหมู่มาก เช่นนั้น, นี้เรียกว่าสาขัลยะ".

คําว่า ปฏิสนฺถาโร ได้แก่การรับรองด้วยอามิส และด้วยธรรมเหมือนกับว่า ปูตั่งด้วยเครื่องลาด โดยลักษณะที่โลกสันนิวาสนี้ ซึ่งมีช่องอยู่ ๒ ช่องคือ ช่องอามิส และช่องธรรม นั้น จะไม่ปรากฎช่องได้เลย. แม้ในพระอภิธรรม ก็กล่าวไว้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น ปฏิสันถารคืออะไร คือ ปฏิสันถาร ๒ อย่าง ได้แก่ อามิสปฏิสันถาร การรับรองด้วยอามิส และ ธรรมปฏิสันถาร การรับรองด้วยธรรม, บางคนในโลกนี้เป็นผู้ปฏิสันถาร ด้วยอามิสปฏิสันถารบ้าง ด้วยธรรมปฏิสันถารบ้าง, นี้เรียกว่า ปฏิสันถาร". และในที่นั้น การสงเคราะห์ด้วยอามิส ชื่อว่าอามิสปฏิสันถาร. เมื่อจะทําอามิสปฏิสันถารนั้น แก่บิดามารดา ชาววัด แก่ไวยาวัจกร แก่พระราชาและแก่โจร ไม่ควรจะเอาส่วนดีๆ ไว้ เสียก่อนแล้วให้ (แต่ส่วนที่ไม่ดี) เพราะเมื่อถือเอาเสียก่อนแล้ว จึงให้ (เช่นนั้น) พระราชาและโจร ย่อมจะทําความพินาศให้บ้าง ให้ถึงสิ้นชีวิตบ้าง เมื่อไม่ถือเอาก่อนแล้วให้ พระราชาและโจรย่อมจะพอใจ. และในกรณีเช่นนี้ ควรจะ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 283

เล่าเรื่องโจรนาคเป็นต้น (เป็นตัวอย่าง). เรื่องเหล่านั้น มีรายละเอียดอยู่ในสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัยแล้ว. การตั้งใจสงเคราะห์ด้วยธรรมอย่างนี้ คือ ให้อุเทศ อธิบายพระบาลี กล่าวธรรมกถา ชื่อว่า ธรรมปฏิสันถาร.

คําว่า อวิหึสา หมายเอาทั้งกรุณา ทั้งบุรพภาคแห่งกรุณา. ข้อนี้ท่านกล่าวไว้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น อวิหิงสา คืออะไร คือความกรุณาสงสาร เอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งกรุณาเจโตวิมุตติ (การหลุดพ้นด้วยใจ โดยอาศัยกรุณา) , นี้เรียกว่า อวิหิงสา". คําว่า โสเจยฺยํ หมายถึงความสะอาด ด้วยอํานาจเมตตา และบุรพภาคแห่งเมตตา. ข้อนี้ท่านกล่าวไว้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น โสเจยยะ คืออะไร คือไมตรีความเมตตา รักใคร่ ในสัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งเมตตาเจโตวิมุตติ (การหลุดพ้น ด้วยใจโดยอาศัยเมตตา) นี้เรียกว่า โสเจยยะ".

คําว่า มุฏฺสจฺจํ คือ การอยู่อย่างขาดสติ สมดังที่กล่าวไว้ว่าบรรดาธรรมเหล่านั้น มุฏฐสัจจะ คืออะไร คือไม่มีสติ ระลึกตามไปไม่ได้ ระลึกย้อนไปก็ไม่ได้ นึกไม่ออก จําไม่ได้ ฟันเฟือน หลงลืม, นี้เรียกว่ามุฏฐสัจจะ. คําว่า อสมฺปชฺ ได้แก่ อวิชชานั่นเอง ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น อสัมปชัญญะ คืออะไร คือความไม่รู้ ไม่เห็น ฯลฯ ขัดข้องเพราะอวิชชา ความหลง อกุศลมูล".

สติ ก็คือสตินั่นเอง. สัมปชัญญะ คือ ญาณ (ความรู้).

คําว่า อินฺทฺริเยสุ อคุตฺตทฺวารตา หมายถึงการขาดความสํารวมอินทรีย์ ที่ท่านแถลงไว้อย่างละเอียดโดยนัย เป็นต้นว่า "บรรดาธรรม

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 284

เหล่านั้น ความไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย คืออะไร คือ (อาการที่) ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้ยึดถือเอาโดยนิมิต". คําว่า โภชเน อมตฺตฺุตา คือ ความไม่รู้จักประมาณในโภชนะที่มาอย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น ความไม่รู้จักประมาณในโภชนะคืออะไร คือ ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้ ไม่พิจารณาเสียก่อน บริโภคอาหารโดยไม่แยบคาย เพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อตกแต่ง เพื่อสวยงาม, ความไม่สันโดษ ความไม่รู้จักประมาณ ในโภชนะที่มิได้พิจารณา (แล้วบริโภค) ".

ธรรมหมวดสองในลําดับนั้น พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามจากที่กล่าวแล้ว.

คําว่า ปฏิสงฺขานพลํ ได้แก่ ญาณอันไม่หวั่นไหว เพราะไม่ได้พิจารณา ที่ท่านแถลงรายละเอียดไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้นปฏิสังขานพละ คืออะไร คือ ความรู้ ความเข้าใจ". คําว่า ภาวนาพลํ หมายถึงพละที่เกิดขึ้นแก่ท่านผู้อบรมอยู่. โดยความหมาย ก็คือโพชฌงค์ ๗ โดยหัวข้อมีวิริยสัมโพชฌงค์. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้นภาวนาพละ คืออะไร คือ การเสพคุ้น การทําให้มี การทําให้มากซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภาวนาพละ, แม้โพชฌงค์ ๗ ก็จัดเป็นภาวนาพละ".

คําว่า สติพลํ ก็คือ สตินั่นเอง โดยที่ไม่หวั่นไหวไปเพราะความไม่มีสติ. คําว่า สมาธิพลํ ก็คือสมาธินั่นเอง โดยที่ไม่หวั่นไหวไปเพราะความฟุ้งซ่าน.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 285

สมถะ คือ สมาธิ. วิปัสสนา คือ ปัญญา.

สมถะนั่นเอง ชื่อว่า สมถนิมิต ด้วยอํานาจนิมิตแห่งสมถะ ที่ถือเอาอาการนั้นแล้ว พึงให้เป็นไปอีก. แม้ในปัคคาหนิมิต (นิมิตที่เกิดเพราะความเพียร) ก็นัยนี้เช่นกัน.

ปัคคาหะ ก็คือความเพียร. อวิกเขปะ ก็คือความมีใจแน่วแน่. ต่อจากธรรมหมวดสอง ทั้ง ๖ คู่ เหล่านี้ คือ สติและสัมปชัญญะ ๑ ปฏิสังขานพละและภาวนาพละ ๑ สติพละและสมาธิพละ ๑ สมถะและวิปัสสนา ๑ สมถนิมิตและปัคคาหนิมิต ๑ ปัคคาหะและอวิกเขปะ ๑ พระเถระได้กล่าวธรรมทั้งโลกิยะ และโลกุตระระคนกัน คือ ศีลสัมปทาและทิฏฐิสัมปทาอย่างละคู่.

คําว่า สีลวิปตฺติ หมายถึงความไม่สํารวมอันเป็นตัวการทําศีลให้พินาศ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น ศีลวิบัติ คืออะไร คือความล่วงละเมิดทางกาย ฯลฯ ความเป็นผู้ทุศีล ทุกอย่าง ชื่อว่าศีลวิบัติ." คําว่า ทิฏฺิวิปตฺติ หมายถึงมิจฉาทิฏฐิอันเป็นตัวการทําสัมมาทิฏฐิให้พินาศ ที่มาแล้วอย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น ทิฏฐิวิบัติคืออะไร คือความเห็นที่ว่าให้ทานไม่มีผล บูชาไม่มีผล".

คําว่า สีลสมฺปทา ความว่า โสรัจจะนั่นเองที่กล่าวไว้ข้างต้นอย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น ศีลสัมปทาคืออะไร คือความไม่ล่วงละเมิดทางกาย" ดังนี้ เรียกชื่อว่าศีลสัมปทา เพราะยังศีลให้ถึงพร้อมบริบูรณ์. แต่คําที่กล่าวในที่นี้ว่า "ศีลสังวรทั้งหมด ชื่อว่าศีลสัมปทา" นี้กล่าวไว้เพื่อจะรวมเอาความไม่ล่วงละเมิดทางใจเข้ามาด้วยให้ครบถ้วน. คําว่า ทิฏฺิสมฺปทา หมายถึงญาณ อันเป็นเครื่องทําทิฏฐิให้บริบูรณ์ ที่มา

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 286

แล้วอย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น ทิฏฐิสัมปทา คืออะไร คือความรู้ความเข้าใจเช่นนี้ว่า "ให้ทานมีผล บูชามีผล ฯลฯ ท่านผู้รู้ทั้งหลายทําความข้อนี้ให้แจ้งแล้ว จึงประกาศไว้".

คําว่า สีลวิสุทฺธิ คือศีลอันสามารถจะให้ถึงความหมดจดได้. ส่วนในพระอภิธรรม ท่านแจกแจงศีลวิสุทธิไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้นศีลวิสุทธิ คืออะไร คือ ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิดทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า ศีลวิสุทธิ คําว่า ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ คือทัศนะ อันสามารถจะให้ถึงความหมดจดได้ ในพระอภิธรรมท่านกล่าวถึงทิฏฐิวิสุทธิไว้อย่างนี้ว่า" "บรรดาธรรมเหล่านั้น ทิฏฐิวิสุทธิคืออะไร คือ กัมมัสสกตญาณ สัจจานุโลมิกญาณ มัคคสมังคีญาณ ผลสมังคีญาณ". และในบรรดาญาณเหล่านี้ ความรู้อย่างนี้ว่า "ทุจริต ๓ อย่างทั้งที่ตนเองทํา ทั้งที่ผู้อื่นทํา ไม่ชื่อว่าเป็นกรรมของตน เพราะหักรานประโยชน์สุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่า เป็นกรรมของตน เพราะให้เกิดประโยชน์" ดังนี้ ชื่อว่า กัมมัสสกตญาณ. ผู้ที่ตั้งอยู่ในญาณแล้ว ขวนขวาย (ทํา) กรรมอันเป็นไปในวัฏฏะเป็นอันมาก และบรรลุพระอรหัตโดยสะดวกดายมีจํานวนเหลือที่จะนับ. ส่วนวิปัสสนาญาณ ท่านเรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณเพราะอนุโลมวจีสัจจะ ฯลฯ และไม่สวนทางกับปรมัตถสัจจะ.

ในคําว่า ทิฏฺิวิสุทฺธิ โข ปน ยถา ทิฏฺิสฺส จ ปธานํ (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ และความเพียรของผู้มีทิฏฐิ) นี้ ญาณทัศนะ ท่านเรียกว่าทิฏฐิวิสุทฺิ คําว่า ยถา ทิฏฺิสฺส จ ปธานํ หมายถึงความเพียรที่ประกอบไปด้วยญาณทัศนะนั้น. อีกนัยหนึ่ง บทแรก หมายถึง จตุมรรคญาณ,

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 287

บทหลัง หมายถึงความเพียรที่ประกอบด้วย จตุมรรคญาณนั้น. ส่วนในพระอภิธรรม ท่านแจกแจงธรรมหมวดสองคู่นี้ไว้อย่างนี้ว่า "คําว่า ทิฏฺิวิสุทฺธิ โข ปน ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ ฯลฯ ความไม่หลง ความสอดส่องธรรม สัมมาทิฏฐิ คําว่า ยถา ทิฏฺสฺส จ ปธานํ ได้แก่ความริเริ่มความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ".

ในคําว่า สํเวโค จ สํเวชนีเยสุ าเนสุ นี้ ที่ชื่อว่า สังเวคะ ได้แก่ ญาณทัศนะ โดยการเห็น ความเกิดเป็นต้นโดยเป็นภัย อย่างนี้ว่าชาติภัย (ความเกิดเป็นภัย) ชราภัย (ความแก่เป็นภัย) พยาธิภัย (ความเจ็บเป็นภัย) มรณภัย (ความตายเป็นภัย). คําว่า สํเวชนียํ ฐานํ หมายถึงชาติ ชรา พยาธิ และมรณะ. ทั้ง ๔ ประการเหล่านี้ ท่านเรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ เพราะเป็นเหตุให้เกิดความสังเวชอย่างนี้ว่า เกิดเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์ เจ็บเป็นทุกข์ ตายเป็นทุกข์. คําว่า สํวิคฺคสฺส จ โยนิโสปธานํ คือความเพียรโดยแยบคาย ของท่านผู้ที่เกิดความสังเวชอย่างนี้. คํานี้เป็นชื่อของความเพียรที่มาแล้วอย่างนี้ว่า "ภิกษุในพระศาสนานี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิดขึ้น เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งบาปอกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิดขึ้น".

คําว่า อสนฺตุฏฺิตา จ กุสเลสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ความปรารถนาที่จะให้ยิ่งๆ ขึ้นไปของท่านผู้ยังไม่พอใจด้วยการอบรมกุศลธรรม. ที่จริงบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยอสันตุฏฐิตานั้น บําเพ็ญศีลแล้วย่อมยังฌานให้เกิดขึ้น, ได้ฌานแล้ว ย่อมเริ่มวิปัสสนา เริ่มวิปัสสนาแล้ว ยังไม่บรรลุพระอรหัตย่อมไม่ย่อหย่อนเสียในระหว่าง. คําว่า อปฺปฏิวานิตา ข ปธานสฺมึ หมายความว่า อาการที่ยังไม่บรรลุพระอรหัตแล้ว ไม่ท้อถอย ในความเพียรที่ริเริ่มขึ้นด้วยอํานาจ ชาคริยานุโยค ที่ทําวันคืนหนึ่งให้เป็น ๖ ส่วน

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 288

ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ "การทําโดยตั้งใจ การทําติดต่อกัน การทําไม่หยุด การประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ทอดทิ้งความพอใจ การไม่ทอดธุระ การเสพคุ้น การทําให้มีขึ้น การทําให้มาก ในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย".

คําว่า วิชฺชา ได้แก่ วิชชา ๓. คําว่า วิมุตฺติ ได้แก่ วิมุตติ ๒ คือ อธิมุตติแห่งจิต และนิพพาน. และในที่นี้ สมาบัติ ๘ ชื่อว่า อธิมุตติ เพราะพ้นแล้วเป็นอันดี จากกิเลสทั้งหลายมีนิวรณ์เป็นต้น. นิพพาน พึงทราบว่า ชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้นแล้วจากสังขตธรรมทั้งปวง.

คําว่า ขเย ญานํ ได้แก่ ญาณในอริยมรรค อันทําให้กิเลสสิ้นไป. คําว่า อนุปฺปาเท ญาณํ ได้แก่ญาณในอริยผล อันเป็นผลที่ยังไม่เกิดโดยปฏิสนธิ หรือที่เกิดขึ้นในที่สุดแห่งความไม่เกิดขึ้นแห่งกิเลสที่มรรคนั้นๆ ฆ่าได้แล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า "คําว่า ขเย ญาณํ คือ ญาณของผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค. คําว่า อนุปฺปาเท ญาณํ คือ ญาณของผู้พรั่งพร้อมด้วยผล".

คําว่า อิเม โข อาวุโส เป็นต้น พึงประกอบความ ตามนัยที่กล่าวแล้วในหมวดหนึ่งนั่นแล. พระเถระแสดงสามัคคีรส ด้วยอํานาจธรรม หมวดสอง รวม ๓๕ คู่ ด้วยประการดังนี้แล.

จบธรรมหมวด ๒

ว่าด้วยธรรมหมวด ๓

ครั้นแสดงสามัคคีรส ด้วยอํานาจธรรมหมวดสอง ดังนี้แล้ว บัดนี้พระเถระเริ่มเทศนาต่อไป เพื่อจะแสดงด้วยอํานาจธรรมหมวดสาม. บรรดา

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 289

ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่าโลภะ ด้วยอรรถว่า อยากได้. อกุศลนั้นด้วยเป็นมูลรากด้วย หรือว่า (โลภะเป็น) มูลรากแห่งอกุศลทั้งหลาย ดังนั้น จึงชื่อว่าอกุศลมูล. ชื่อว่า โทสะ ด้วยอรรถว่า ประทุษร้าย. ชื่อว่าโมหะ ด้วยอรรถว่า งมงาย. ส่วนอโลภะ เป็นต้น พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับโลภะเป็นต้นเหล่านั้น.

ความประพฤติเลวร้าย หรือว่า ความประพฤติผิดรูป ดังนั้น จึงชื่อว่า ทุจริต. ทุจริตด้วยกาย หรือว่า ทุจริตอันเป็นไปทางกาย ดังนั้นจึงชื่อว่า กายทุจริต. แม้คําที่เหลือก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้. ความประพฤติถูกต้อง หรือว่าความประพฤติดีงาม ดังนั้น จึงชื่อว่า สุจริต. และธรรมหมวดสามทั้ง ๒ ข้อนี้ ความจะกล่าวโดยบัญญัตินัยหนึ่ง โดยกรรมบถนัยหนึ่ง. จะว่าโดยบัญญัติก่อน. ความล่วงละเมิดสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วในกายทวาร ชื่อว่า กายทุจริต, ความไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่ากายสุจริต. ความล่วงละเมิดสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วในวจีทวาร ชื่อว่าวจีทุจริต, ความไม่ล่วงละเมิดชื่อว่า วจีสุจริต. ความล่วงละเมิดสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วในทวารทั้ง ๒ นั่นเอง ชื่อว่า มโนทุจริต, ความไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่ามโนสุจริต. นี้กล่าวโดยบัญญัติ. ส่วนเจตนา ๓ อย่าง มีปาณาติบาตเป็นต้นที่เกิดขึ้น ทั้งในกายทวาร ทั้งในวจีทวาร ชื่อว่ากายทุจริต. เจตนา ๔ อย่างมีมุสาวาทเป็นต้น ชื่อว่าวจีทุจริต. ธรรม ๓ อย่างที่ประกอบด้วยเจตนาคืออภิชฌา (เพ่งเล็ง อยากได้ของเขา) พยาบาท (ปองร้ายเขา) มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ชื่อว่า มโนทุจริต. เจตนาก็ดี วิรัติก็ดี ทั้ง ๓ อย่าง ที่เกิดขึ้นแก่ผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า กายสุจริต เจตนาก็ดี วิรัติก็ดีทั้ง ๔ อย่าง ที่เกิดขึ้นแก่ผู้งดเว้นจากมุสาวาทเป็นต้น ชื่อว่า วจีสุจริต.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 290

ธรรม ๓ อย่าง ที่ประกอบด้วยเจตนา คือ อนภิชฌา (ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) อพยาบาท (ไม่ปองร้ายเขา) สัมมาทิฏฐิ (เห็นถูก) ชื่อว่ามโนสุจริต นี้กล่าวโดยกรรมบถ.

วิตกที่ประกอบด้วย กาม ชื่อว่า กามวิตก. วิตกที่ประกอบด้วยพยาบาท ชื่อว่า พยาบาทวิตก. วิตกที่ประกอบด้วย วิหิงสา (ความเบียดเบียน) ชื่อว่า วิหิงสาวิตก. บรรดาวิตกเหล่านี้ วิตก ๒ อย่าง ย่อมเกิดขึ้น ทั้งในสัตว์ ทั้งในสังขาร. เป็นความจริงที่เมื่อคิดถึงสัตว์ก็ตามสังขารก็ตาม ที่น่ารักใคร่พอใจ กามวิตกย่อมเกิดขึ้น. ตั้งแต่เวลาที่โกรธแล้วมองดูสัตว์ก็ตาม สังขารก็ตาม ที่ไม่รักไม่ชอบใจจนกระทั่ง (เห็นสัตว์หรือสังขารนั้น) พินาศไป พยาบาทวิตกย่อมเกิดขึ้น. วิหิงสาวิตกย่อมไม่เกิดขึ้นในสังขาร. เพราะสังขารที่ชื่อว่าควรจะทําให้ถึงความลําบากได้หามีไม่. แต่วิหิงสาวิตกย่อมเกิดขึ้นในสัตว์ในเวลาที่คิดว่า สัตว์พวกนี้จงถูกฆ่า จงขาดสูญไป จงพินาศไป หรือว่า จงอย่าได้มี. วิตกที่ประกอบด้วยเนกขัมมะ (ความออกจากกาม) ชื่อว่า เนกขัมมวิตก. เนกขัมมวิตกนั้นจัดเป็นกามาวจร ในบุรพภาคแห่งอสุภฌาน, จัดเป็นรูปาวจรในอสุภฌาน,จัดเป็นโลกุตตระในเวลาที่ทําฌานนั้นให้เป็นพื้นฐานแล้วเกิดมรรคผล. วิตกที่ประกอบด้วยอพยาบาท ชื่อว่าอพยาบาทวิตก. อพยาบาทวิตกนั้น จัดเป็นกามาวจร ในบุรพภาคแห่งเมตตาฌาน. จัดเป็นรูปาวจร ในเมตตาฌาน, จัดเป็นโลกุตตระในเวลาที่ทําฌานให้เป็นพื้นฐานแล้วเกิดมรรคผล. วิตกที่ประกอบด้วยอวิหิงสา ชื่อว่า อวิหิงสาวิตก. อวิหิงสาวิตกนั้น จัดเป็นกามาวจรในบุรพภาคแห่งกรุณา จัดเป็นรูปาวจรในกรุณาฌาน, จัดเป็น

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 291

โลกุตตระในเวลาที่ทําฌานนั้นให้เป็นพื้นฐานแล้วเกิดมรรคผล. เมื่อใดอโลภะเป็นตัวนํา, เมื่อนั้น ธรรม ๒ อย่างนอกนี้ ก็ย่อมเป็นตัวตาม. เมื่อใดเมตตาเป็นตัวนํา, เมื่อนั้น ธรรม ๒ อย่างนอกนี้ ก็ย่อมเป็นตัวตาม. เมื่อใดกรุณาเป็นตัวนํา, เมื่อนั้น ธรรม ๒ อย่างนอกนี้ก็ย่อมเป็นตัวตาม ด้วยประการดังนี้. ส่วนกามสังกัปปะเป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. เพราะข้อนี้เป็นแต่เพียงเทศนาเท่านั้น. แต่โดยความหมายแล้วทั้งกามวิตกเป็นต้น และกามสังกัปปะเป็นต้น ไม่มีอะไรที่ทําให้แตกต่างกัน.

สัญญาที่ประกอบด้วยกาม ชื่อว่ากามสัญญา. สัญญาที่ประกอบด้วยพยาบาท ชื่อว่า พยาบาทสัญญา. สัญญาที่ประกอบด้วยวิหิงสาชื่อว่า วิหิงสาสัญญา. แม้อาการที่เกิดขึ้นแห่งสัญญาเหล่านั้น ก็พึงทราบเช่นเดียวกับกามวิตกเป็นต้น. เพราะสัญญาเหล่านี้ ก็ล้วนแต่ประกอบด้วยกามวิตกเป็นต้น นั้นเช่นเดียวกัน. แม้เนกขัมมสัญญาเป็นต้น ก็ประกอบด้วยเนกขัมมวิตกเป็นต้นเช่นกัน. เพราะฉะนั้น พึงทราบความเป็นกามาวจรเป็นต้น แห่งสัญญาเหล่านั้น เช่นเดียวกับเนกขัมมวิตกเป็นต้นนั้นนั่นเอง

พึงทราบวินิจฉัยในธรรมทั้งหลาย มีกามธาตุเป็นต้น (ต่อไป). ความตรึก วิตก ความดําริผิด ที่ประกอบด้วยกาม นี้เรียกว่ากามธาตุ, อกุศลธรรมทั้งปวง ชื่อว่ากามธาตุ ดังกล่าวมานี้คือ กามธาตุ. ความตรึก วิตกความดําริผิด ที่ประกอบด้วยพยาบาท นี้เรียกว่า พยาบาทธาตุ, ความอาฆาต ความกระทบแห่งจิต ความไม่พอใจ ในบรรดาวัตถุแห่งความอาฆาต ๑๐ อย่างดังกล่าวมานี้คือ พยาบาทธาตุ, ความตรึก วิตก ความดําริผิด ที่ประกอบด้วยวิหิงสา นี้เรียกว่า วิหิงสาธาตุ, บางคนในโลกนี้ ย่อมเบียดเบียน

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 292

สัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง ด้วยเชือกบ้าง ด้วยวัตถุหรือกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ดังกล่าวมานี้ คือวิหิงสาธาตุ. ในเรื่องกามธาตุนั้น มีกถาอยู่ ๒ อย่าง คือ สัพพสังคาหิกกถาและอสัมภินนกถา, ในกถา ๒ อย่างนั้น ถือเอากามธาตุ ย่อมเป็นอันถือเอาธาตุ ๒ อย่างนอกนี้ด้วย แต่ทรงแยกออกจากธาตุนั้นแสดงว่า นี้คือพยาบาทธาตุ นี้คือวิหิงสาธาตุ ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่าสัพพสังคาหิกกถา. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสกามธาตุ ก็ทรงงดพยาบาทธาตุไว้ในที่ของพยาบาทธาตุ ทรงงดวิหิงสาธาตุไว้ในที่ของวิหิงสาธาตุ แล้วตรัสส่วนที่เหลือว่า นี้คือกามธาตุ, ดังที่กล่าวมานี้ ชื่อว่า อสัมภินนกถา. พึงทราบวินิจฉัยในธรรมทั้งหลาย มีเนกขัมมธาตุเป็นต้น. ความตรึก วิตก ความดําริถูกที่ประกอบด้วยเนกขัมมะนี้ เรียกว่า เนกขัมมธาตุ กุศลธรรมทั้งปวง ชื่อว่าเนกขัมมธาตุ ดังกล่าวมานี้ คือ เนกขัมมธาตุ. ความตรึก ฯลฯ ที่ประกอบด้วยอพยาบาท นี้เรียกว่าอพยาบาทธาตุ, ไมตรีในสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติ ดังกล่าวมานี้คือ อพยาบาทธาตุ. ความตรึก ฯลฯ ที่ประกอบด้วยอวิหิงสา นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ, ความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ กรุณาเจโตวิมุตติ ดังกล่าวมานี้คือ อวิหิงสาธาตุ แม้กถา ๒ อย่างในที่นี้ ก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วแต่หนหลังนั่นแล. คําว่า อปราปิ ติสฺโสธาตุโย หมายถึงธาตุอย่างอื่นอีก ๓ ด้วยอรรถว่าเปล่า. บรรดาธาตุเหล่านั้น กามภพที่ท่านแถลงรายละเอียดไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาธาตุเหล่านั้น กามธาตุคืออะไร คือ กามภพ มีอเวจีนรก เบื้องต่ําให้เป็นที่สุด" ดังนี้ชื่อว่ากามธาตุ. ส่วนรูปภพและอรูปภพ ที่ท่านแถลงรายละเอียดไว้อย่างนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 293

"รูปภพมีพรหมโลกชั้นต่ําเป็นที่สุด. อรูปภพมีเทพที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะเป็นที่สุด" ดังนี้ ชื่อว่ารูปธาตุ และอรูปธาตุ ทั้ง ๒. ในที่มาแห่งธาตุ พึงกําหนดเขตด้วยภพ. ในที่มาแห่งภพ พึงกําหนดเขตด้วยธาตุ. ในที่นี้ ท่านแถลงการกําหนดเขตด้วยภพ. พึงทราบวินิจฉัยในรูปธาตุเป็นต้น. รูปธาตุและอรูปธาตุ ก็คือรูปภพ และอรูปภพนั่นเอง. ท่านแถลงนิพพานด้วยนิโรธธาตุ. พึงทราบวินิจฉัยใน หีนธาตุเป็นต้น. คําว่า หีนธาตุได้แก่จิตตุปบาท อันเป็นอกุศล ๑๒. ธรรมที่เหลืออันเป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่ามัชฌิมธาตุ. โลกุตตรธรรม ๙ ชื่อว่า ปณีตธาตุ.

คําว่า กามตัณหา ได้แก่ราคะ อันประกอบด้วยเบญจกามคุณ. ส่วนราคะในรูปภพและอรูปภพจัดเป็นฌานนิกันติ (ความติดใจในฌาน). ราคะที่ประกอบด้วยสัสสตทิฏฐิคือการปรารถนาด้วยอํานาจภพ ชื่อว่า ภวตัณหา. ราคะที่ประกอบด้วยอุจเฉททิฏฐิ ชื่อว่า วิภวตัณหา. อีกนัยหนึ่ง ยกเว้นตัณหา ๒ อย่างหลัง (คือภวตัณหาและวิภวตัณหา) ตัณหาที่เหลือ ชื่อว่ากามตัณหา. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า "บรรดาตัณหาเหล่านั้น ภวตัณหาคืออะไร คือราคะ ที่ประกอบด้วยสัสสตทิฏฐิ. สาราคะ (ความกําหนัดจัด) ฯลฯ สาราคะแห่งจิตนี้เรียกว่า ภวตัณหา, บรรดาตัณหาเหล่านั้น วิภวตัณหาคืออะไร คือราคะที่ประกอบด้วยอุจเฉททิฏฐิ. สาราคะ ฯลฯ สาราคะแห่งจิตนี้เรียกว่า วิภวตัณหา". ตัณหาที่เหลือชื่อว่า กามตัณหา" พึงทราบวินิจฉัยในกามตัณหาเป็นต้นอีกหมวดหนึ่ง. ราคะอันประกอบด้วยเบญจกามคุณ ชื่อว่า กามตัณหา. ฉันทราคะ ในรูปภพและอรูปภพ ชื่อว่ารูปตัณหาและอรูปตัณหา ๒ อย่างนอกนี้. ส่วนในพระอภิธรรม ท่านแถลง

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 294

รายละเอียดเรื่องตัณหาหมวดนี้ไว้อย่างนี้ว่า "ฉันทราคะ ที่ประกอบด้วยกามธาตุ ฯลฯ ที่ประกอบด้วยอรูปธาตุ". ด้วย วาระนี้ ท่านแสดงอย่างไร. ท่านรวมเอาตัณหาทั้งหมดไว้ด้วยกามตัณหาว่า "ธรรมทั้งปวงที่เป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา ด้วยอรรถว่า น่ากําหนัดยินดี" แล้วแสดงตัณหา ๒ อย่างนอกนี้แยกออกจากกามตัณหานั้น. พึงทราบวินิจฉัยในรูปตัณหาเป็นต้น. ฉันทราคะในรูปภพ ชื่อว่า รูปตัณหา. ฉันทราคะในอรูปภพ ชื่อว่า อรูปตัณหา. ราคะที่ประกอบด้วยอุจเฉททิฏฐิ ชื่อว่านิโรธตัณหา.

พึงทราบวินิจฉัยในสังโยชน์ ๓ อย่าง. ชื่อว่า สังโยชน์ เพราะอรรถว่า ร้อยรัดผูกพันไว้ในวัฏฏะ. ความเห็นในกายเช่นรูป เป็นต้นว่ามีอยู่ หรือว่า ความเห็นในกาย อันมีอยู่ ดังนั้น จึงชื่อว่า สักกายทิฏฐิ. เมื่อพิจารณาเลือกเฟ้นอยู่ ย่อมสงสัย คือไม่สามารถที่จะตกลงใจได้ เพราะธรรมชาติอันนี้ ดังนั้น ธรรมชาติอันนั้นจึงชื่อว่า วิจิกิจฉา. บุคคลย่อมลูบคลํา (ยึดติด) ศีลด้วย วัตรด้วย ดังนั้น จึงชื่อว่า สีลัพพตปรามาส. แต่ว่าโดยความหมายแล้ว ทิฏฐิอันมีวัตถุ ๒๐ ที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า "ย่อมพิจารณาเห็นรูปว่าเป็นตัวตน" ชื่อว่า สักกายทิฏฐิฯ ความสงสัยอันมีวัตถุ ๘ ที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า "ย่อมสงสัยในพระศาสดา" ชื่อว่าวิจิกิจฉา. การยึดถืออย่างผิดปรกติ ที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า "บางคนในโลกนี้ ลูบคลํา (ยึดติด) ศีล ลูบคลําวัตร ลูบคลําศีลพรตว่า "หมดจดได้ด้วยศีล หมดจดได้ด้วยวัตร, หมดจดได้ด้วยศีลพรต, ทิฏฐิความเห็นไปข้างทิฏฐิมีลักษณะอย่างนี้" ดังนี้ ชื่อว่า สีลัพพตปรามาส.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 295

พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า ตโย อาสวา นี้ต่อไป. ชื่อว่า อาสวะ ด้วยอรรถว่า เป็นฐานะที่อาศัยอยู่ช้านานบ้าง ด้วยอรรถว่าไหลไปทั่วบ้าง. ใน ๒ ความหมายนั้น พึงทราบอาสวะโดยความหมายที่ว่า เป็นฐานะที่อาศัยอยู่ช้านาน ก่อนอย่างนี้ - " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏว่า "ก่อนแต่นี้ อวิชชามิได้มี, ต่อมาภายหลังจึงได้มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งภวตัณหา ภวทิฏฐิ ย่อมไม่ปรากฏว่า "ก่อนแต่นี้ภวทิฏฐิมิได้มี, ต่อมาภายหลังจึงได้มี" ดังนี้. พึงทราบอาสวะ โดยความหมายที่ว่า ไหลไปทั่วอย่างนี้ว่า "อาสวะย่อมไหลไป ไหลไปทั่ว ไหลทั่วไป เป็นไปในรูปโดยทางตา ในเสียงโดยทางหู ในกลิ่นโดยทางจมูก ในรสโดยทางลิ้น ในโผฏฐัพพะโดยทางกาย. ย่อมไหลไป ไหลไปทั่ว ไหลทั่วไปเป็นไปในธรรมารมณ์ โดยทางใจ" ดังนี้. แต่ในพระบาลี บางแห่งอาสวะมีมา ๒ อย่าง คือ ทิฐธรรมิกาสวะ (อาสวะในภพนี้) และสัมปรายิกาสวะ (อาสวะในภพหน้า). บางแห่งมีมา ๓ อย่าง เช่น "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอาสวะ ๓ เหล่านี้คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ". ในพระอภิธรรมอาสวะ ๓ เหล่านั้นเอง รวมกับทิฏฐิอาสวะ เป็น ๔. ในนิพเพธิกปริยายสูตรมี ๕ อย่างนี้คือ- "ภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่ยังให้ถึงนรกมีอยู่, อาสวะที่ยังให้ถึงกําเนิดดิรัจฉานมีอยู่, อาสวะที่ยังให้ถึงเปรตวิสัยมีอยู่ อาสวะที่ยังให้ถึงมนุษย์โลก มีอยู่, อาสวะที่ยังให้ถึงเทวโลก มีอยู่". ในอาหุเนยยสูตร ฉักกนิบาต มี ๖ อย่างนี้คือ- "ภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่พึงละด้วยความสํารวมระวังมีอยู่, อาสวะที่พึงละด้วยการคบหามีอยู่, อาสวะที่พึงละด้วยการเว้นรอบมีอยู่, อาสวะที่พึงละด้วยความอดกลั้นมีอยู่, อาสวะที่พึงละด้วยการบรรเทามีอยู่, อาสวะที่พึงละด้วยการอบรมมีอยู่". ใน

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 296

สัพพาสวปริยายสูตร อาสวะ ๖ เหล่านี้เองรวมกับอาสวะที่พึงละด้วยทัศนะเป็น ๗. ส่วนในสังคีติสูตรนี้ อาสวะมีมา ๓ อย่าง. บรรดาอาสวะ ๓ อย่างนั้น ราคะที่ประกอบด้วยเบญจกามคุณ อันท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "กามฉันทะในกามทั้งหลาย" ดังนี้ ชื่อว่า กามาสวะ. ราคะที่ประกอบด้วยสัสตทิฏฐิอันท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "ภวฉันทะในภพทั้งหลาย" ดังนี้ หรือความปรารถนาเนื่องด้วยภพ ชื่อว่า ภวาสวะ. อวิชชาที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า "ความไม่รู้ทุกข์" ชื่อว่า อวิชชาสวะ ดังนี้แล. กามภพเป็นต้น ได้กล่าวมาแล้วโดยเกี่ยวกับกามธาตุเป็นต้นนั่นเอง.

พึงทราบวินิจฉัยในกาเมสนาเป็นต้น. ราคะที่แสวงหากาม อันท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น กาเมสนาคืออะไร คือกามฉันทะ ในกามทั้งหลาย ฯลฯ ความจมลงในกามนี้เรียกว่า กาเมสนา (แสวงหากาม) ". ราคะที่แสวงหาภพ อันท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า บรรดาธรรมเหล่านั้น ภเวสนาคืออะไร คือ "ภวฉันทะในภพทั้งหลาย ฯลฯ ความจมลงในภพนี้เรียกว่า ภเวสนา (แสวงหาภพ) ". ทิฏฐิที่แสวงหาพรหมจรรย์ที่รู้กันว่าเป็นคติแห่งทิฏฐิ อันท่านกล่าวไว้อย่างนั้นว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น พรหมจริเยสนา คืออะไร คือทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิการยึดถืออย่างผิดปรกติ ถึงขนาดนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์ตายแล้วไม่เกิดอีกบ้าง สัตว์ตายแล้วจะไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง นี้เรียกว่า พรหมจริเยสนา (แสวงหาพรหมจรรย์") ดังนี้ ชื่อว่าพรหมจริเยสนา. มิใช่เฉพาะภวราคทิฏฐิอย่างเดียวเท่านั้น แม้กรรมที่มีความหมายอย่างเดียวกันนั้น ก็จัดเป็นเอสนาเช่นกัน. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า "บรรดาเอสนาเหล่านั้น กาเมสนาคืออะไร คือกามราคะ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 297

อันเป็นอกุศล ที่มีความหมายอย่างเดียวกันนั้น นี้เรียกว่า กาเมสนา. บรรดาเอสนาเหล่านั้น ภเวสนาคืออะไร คือภวราคะ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันเป็นอกุศล ที่มีความหมายอย่างเดียวกันนั้น นี้เรียกว่าภเวสนา บรรดาเอสนาเหล่านั้น พรหมจริเยสนาคืออะไร คือทิฏฐิที่ยึดถือจนสุดเหวี่ยง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันเป็นอกุศล ที่มีความหมายอย่างเดียวกันนั้น นี้เรียกว่า พรหมจริเยสนา.

พึงทราบวินิจฉัยในวิธา. การตั้งไว้ซึ่งอาการ ดังเช่นในประโยคว่า "บัณฑิตกล่าวถึงคนมีศีลว่าเป็นอย่างไร, กล่าวถึงคนมีปัญญาว่าเป็นอย่างไร" ดังนี้ ชื่อว่า วิธา. ส่วนก็ชื่อว่าวิธา ดังเช่นในประโยคว่า "ญาณวัตถุโดย ๑ ส่วน, ญาณวัตถุโดย ๒ ส่วน". มานะชื่อว่าวิธา ดังเช่นในประโยคว่า "วิธา (มานะ) ว่าเราดีกว่าเขา", ในที่นี้มุ่งหมายเอาวิธาที่แปลว่า มานะนั้น. อันที่จริง มานะท่านเรียกว่า วิชา เพราะจัดแจงด้วยอํานาจที่ให้ถือว่าดีกว่าเขาเป็นต้น. ด้วยคําว่า เสยฺโย หมสฺมิ นี้ท่านกล่าวถึงมานะ ๓ อย่าง คือดีกว่าเขา เสมอเขา เลวกว่าเขา. แม้ในสทิสวิธา และหีนวิธา ก็มีนัยเดียวกันนี้. ที่จริงมานะนี้มี ๙ อย่าง. คือคนดีกว่าเขามีมานะ ๓ อย่าง คนเสมอเขามีมานะ ๓ อย่าง คนเลวกว่าเขามีมานะ ๓ อย่าง. บรรดามานะ ๙ อย่างนั้น สําหรับคนดีกว่าเขา มานะว่าเราดีกว่าเขา ย่อมเกิดขึ้นแก่พระราชาและบรรพชิต. พระราชาย่อมมีมานะเช่นนี้ว่า "ใครหรือจะมาสู้เราได้ ไม่ว่าจะทางราชอาณาเขต ทางราชทรัพย์ หรือว่าทางไพร่พลพาหนะ". ฝ่ายบรรพชิตก็ย่อมมีมานะเช่นนี้ว่า "ใครเล่าจะมาทัดเทียมเราได้ด้วยศีลคุณ และธุดงคคุณเป็นต้น".

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 298

แม้มานะว่า เราเสมอเขา สําหรับคนดีกว่าเขา ก็ย่อมเกิดขึ้นได้แก่พระราชาและบรรพชิตนั้นเช่นกัน. พระราชาย่อมมีมานะเช่นนี้ "อะไรล่ะที่จะมาแตกต่างกันระหว่างเรากับราชาอื่นๆ ไม่ว่าจะทางราชอาณาเขต ทางราชทรัพย์ หรือว่าทางไพร่พลพาหนะ". ฝ่ายบรรพชิตก็ย่อมมีมานะเช่นนี้ว่า "อะไรเล่าที่จะมาผิดแผกกัน ระหว่างเรากับภิกษุอื่น ไม่ว่าจะโดยศีลคุณหรือธุดงคคุณเป็นต้น". แม้มานะว่าเราเลวกว่าเขา สําหรับคนดีกว่าเขา ก็ย่อมเกิดขึ้นได้แก่พระราชาและบรรพชิตนั้นเช่นกัน. พระราชาองค์ใดมีราชอาณาเขต ราชทรัพย์หรือไพร่พลพาหนะเป็นต้นไม่สมบูรณ์มากนัก, พระราชาองค์นั้นย่อมมีมานะเช่นนี้ว่า "เขาสักแต่เรียกเราว่าพระราชาไปอย่างนั้นเอง อย่างเราน่ะรึ ชื่อว่าราชา". ฝ่ายบรรพชิตที่ลาภสักการะน้อย ก็ย่อมมีมานะเช่นนี้ว่า "เขาก็เพียงแต่เรียกเราว่า พระธรรมกถึก พหูสูต พระมหาเถระไปอย่างนั้นเอง อย่างเราไม่มีลาภสักการะจะเป็นพระธรรมกถึก เป็นพหูสูต เป็นมหาเถระไปได้อย่างไร". สําหรับคนเสมอเขา มานะว่า เราดีกว่าเขาเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นแก่อํามาตย์เป็นต้น. อํามาตย์หรือข้าราชการย่อมมีนานะเช่นนี้ว่า "ข้าราชการอื่นๆ ใครหรือจะมาสู้เราได้ ไม่ว่าจะเป็นทางโภคทรัพย์ หรือทางยานพาหนะ เป็นต้น" ดังนี้บ้าง ว่า "อะไรล่ะที่จะมาแตกต่างกันระหว่างเรากันคนอื่น" ดังนี้บ้าง ว่า "เขาสักแต่เรียกเราว่าอํามาตย์ไปอย่างนั้นเอง แม้เพียงของกินและเสื้อผ้าเราก็ไม่มี อย่างเรานี้หรือจะชื่อว่าอํามาตย์" ดังนี้บ้าง. สําหรับคนเลวกว่าเขา มานะว่าเราดีกว่าเขา เป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นแก่คนใช้เป็นต้น. คนใช้ย่อมมีมานะเช่นนี้ว่า "ชื่อว่าคนใช้อื่นๆ ใครหรือจะมาสู้เราได้ ไม่ว่าจะฝ่ายข้างแม่ หรือว่าฝ่ายข้างพ่อก็ตาม พวกอื่นๆ น่ะไม่

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 299

สามารถจะเลี้ยงชีพอยู่ได้ จึงต้องมาเป็นขี้ข้าเขา แต่เรานี้ดีกว่าเพราะเป็นคนใช้สืบกันมาตามเชื้อสาย" ดังนี้บ้าง, ว่า "อะไรล่ะที่จะมาแตกต่างกันระหว่างเรากับคนใช้คนโน้น ไม่ว่าจะโดยความเป็นคนใช้สืบกันมาตามเชื้อสาย หรือว่าโดยความเป็นคนใช้ขนานแท้ ทางฝ่ายแม่และฝ่ายพ่อ" ดังนี้บ้าง, ว่า "เราน่ะ ต้องเป็นคนใช้เขาก็เพราะต้องเลี้ยงปากเลี้ยงท้องแต่ว่ากันให้ถึงที่สุด พ่อแม่แล้ว เรามิได้มีฐานะเป็นคนใช้เลย อย่างเรานะรึจะชื่อว่าเป็นคนใช้" ดังนี้บ้าง. แม้พวกคนขนขยะ และคนจัณฑาลเป็นต้น ก็ย่อมมีมานะเช่นนี้ ดุจเดียวกับคนใช้เหมือนกัน. บรรดามานะเหล่านี้ คนดีกว่า มานะว่าเราดีกว่าเขา, คนเสมอเขา มานะว่าเราเสมอเขา และคนเลวกว่าเขา มานะว่าเราเลวกว่าเขา ทั้ง ๓ ประเภทนี้ได้ชื่อว่าเป็นมานะอย่างเข้มข้น จะฆ่าเสียได้ด้วยอรหัตตมรรค. ธรรมที่เหลือ ได้ชื่อว่าเป็นมานะอย่างไม่เป็นไปตามความจริง ฆ่าเสียได้ด้วยมรรค ชั้นต้น.

คําว่า ตโย อทฺธา หมายถึงกาล ๓. ในคําเป็นต้นว่า อตีโต อทฺธา มีปริยาย ๒ อย่าง คือ ปริยายแห่งพระสูตร และปริยายแห่งพระอภิธรรม. โดยปริยายแห่งพระสูตร ก่อนแต่ปฏิสนธิ ชื่อว่าอตีตัทธา (กาลอดีต). ภายหลังแต่จุติ ชื่อว่า อนาคตัทธา (กาลอนาคต) , ในระหว่างนั้น พร้อมทั้งจุติและปฏิสนธิ ชื่อว่า ปัจจุปปันนัทธา (กาลปัจจุบัน). โดยปริยายแห่งพระอภิธรรม เหนือขึ้นไปจากภังคขณะในบรรดาขณะทั้ง ๓ ชื่อว่าอตีตัทธา, ก่อนแต่อุปปาทขณะ ชื่อว่า อนาคตัทธา, ในขณะทั้ง ๓ ชื่อว่า ปัจจุปปันนัทธา. อันว่าอัทธา อันต่างโดยอตีตัทธาเป็นต้นนี้ ย่อมมีแก่ธรรมทั้งหลาย, มิใช่มีแก่กาลเวลา. แต่อาศัยธรรมอันต่างโดยอตีตัทธาเป็นต้น กาลเวลา

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 300

แม้จะไม่มีโดยปรมัตถ์ในที่นี้ ท่านก็เรียก (ว่าอตีตัทธาเป็นต้น) โดยโวหารนั้นนั่นเอง. พึงทราบตามที่กล่าวมานี้.

คําว่า ตโย อนฺตา หมายถึงส่วนทั้ง ๓, ที่สุดนั่นเอง ชื่อว่าอันตะ (ริม) ดังเช่นในประโยคว่า "ริม (หรือชาย) ผ้ารัดประคต ย่อมเก่าไป". ส่วนอื่น ชื่อว่าอันตะ ดังเช่นในประโยคว่า "นั่นเป็นส่วนอื่นแห่งทุกข์". ความเลวทราม ชื่อว่าอันตะ ดังเช่นในพระบาลีนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความเลวทรามของการเลี้ยงชีวิต". ส่วน ชื่อว่า อันตะ ดังเช่นในประโยคว่า "ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สักกายะแล เป็นส่วนที่หนึ่ง." ในที่นี้หมายเอาอันตะที่แปลว่าส่วน. คําว่า สกฺกาโย หมายถึงอุปาทานขันธ์ ทั้ง ๕.

คําว่า สกฺกายสมุทโย หมายถึงตัณหาในเบื้องต้นอันเป็นตัวทําให้เกิดอุปาทานขันธ์เหล่านั้น. คําว่า สกฺกายนิโรโธ หมายถึงความดับที่ทําให้อุปาทานขันธ์และตัณหาทั้งคู่นั้นเป็นไปไม่ได้. ส่วนมรรคพึงทราบว่า เมื่อกล่าวถึงนิโรธแล้วก็เป็นอันกล่าวถึงด้วยทีเดียว เพราะเป็นอุบายแห่งการบรรลุนิโรธ.

คําว่า ทุกฺขทุกฺขตา หมายเอาทุกข์เพราะเป็นทุกข์. คํานี้เป็นชื่อของทุกขเวทนา. คําว่า สงฺขารทุกฺขตา หมายเอาทุกข์เพราะความเป็นสังขาร. คํานี้เป็นชื่อของอทุกขมสุขเวทนา. ความเป็นทุกข์เพราะสังขารนั้นมีความเกิดขึ้น และเสื่อมไป ถูกความแตกดับบีบคั้น เพราะเป็นสภาพที่ถูกปรุงแต่ง เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวความเป็นทุกข์เพราะสังขารไว้ โดยเว้นจากสภาวะแห่งทุกข์อื่น. คําว่า วิปริณามทุกฺขตา หมายเอาทุกข์เพราะ

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 301

แปรปรวนไป. คํานี้เป็นชื่อของสุขเวทนา. แท้จริง เพราะสุขแปรปรวนไปทุกข์จึงเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกสุขว่า "ทุกข์เพราะแปรปรวน". อีกประการหนึ่ง ธรรมทั้งปวงอันเป็นไปในภูมิ ๓ เว้นทุกขเวทนา และสุขเวทนาพึงทราบว่า "ทุกข์เพราะสังขาร" โดยพระบาลีว่า "สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์."

คําว่า มิจฺฉตฺตนิยโต คือ เป็นสภาพความผิดที่แน่นอน. คํานี้เป็นชื่อของอนันตริยกรรม พร้อมทั้งนิยตมิจฉาทิฏฐิ. ชื่อว่า สัมมัตตนิยตะเพราะแน่นอนในสภาพที่ถูกต้อง. คํานี้เป็นชื่อของอริยมรรค ๔. ชื่อว่าอนิยตะ เพราะไม่แน่นอน. คํานี้เป็นชื่อของธรรมที่เหลือ.

อวิชชา ชื่อว่า ตมะ (ความมืด) ในคําว่า ตโย ตมา เพราะพระบาลีว่า "ห้วงน้ำคือ อวิชชา ทําให้มืดมิด ลุ่มหลง มีภัยมาก". แต่ในที่นี้ ท่านกล่าวถึงวิจิกิจฉา โดยหัวข้อว่า อวิชชา. คําว่า อารพฺภ เท่ากับ อาคมฺม (แปลว่า มาถึง หรือ อาศัย). คําว่า กงฺขติ ความว่าให้เกิดความสงสัย. คําว่า วิจิกิจฺฉติ ความว่า เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ย่อมถึงอาการลังเล ไม่อาจที่จะตกลงใจได้. คําว่า นาธิมุจฺจติ ความว่า ไม่อาจที่จะน้อมเชื่อในกาลนั้น. บทว่า น สมฺปสีทติ ความว่า ไม่อาจเพื่อจะปลูกความเลื่อมใสโดยอาศัยกาลนั้น.

คําว่า อรกฺเขยฺยานิ แปลว่าไม่ต้องรักษาไว้. ท่านแสดงความหมายว่า ไม่มีหน้าที่จะต้องรักษาเป็นอย่างๆ ไป ในทวารทั้ง ๓ ทุกอย่างรักษาไว้แล้วด้วยสติอย่างเดียว. คําว่า ปฏิจฺฉาเทมิ ความว่า กายทุจริต

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 302

ข้อนี้เกิดขึ้นเพราะความไม่รอบคอบของเรา, เราจะรักษาไว้มิให้คนอื่นรู้. คําว่า นตฺถิ ตถาคตสฺส ความว่ากายทุจริตที่จะต้องรักษาอย่างนั้น ไม่มีแก่พระตถาคต. แม้ในส่วนที่เหลือก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้. ถามว่า พระขีณาสพอื่นๆ มีกายสมาจารเป็นต้น ไม่บริสุทธิ์กระนั้นหรือ ตอบว่า ไม่ใช่ไม่บริสุทธิ์ เพียงแต่ว่าบริสุทธิ์ไม่เท่ากับพระตถาคต. พระขีณาสพที่ฟังมาน้อย ย่อมไม่ต้องอาบัติที่เป็นโลกวัชชะ ก็จริงอยู่, แต่เพราะไม่ฉลาดในพุทธบัญญัติ ก็ย่อมจะต้องอาบัติในกายทวาร ประเภททําวิหาร ทํากุฏิ (คลาดเคลื่อนไปจากพุทธบัญญัติ) อยู่ร่วมเรือน นอนร่วมกัน (กับอนุปสัมบัน เป็นต้น). ย่อมต้องอาบัติในวจีทวารประเภทชักสื่อ กล่าวธรรมโดยบท พูดเกินกว่า ๕ - ๖ คํา บอกอาบัติที่เป็นจริง (เป็นต้น). ย่อมต้องอาบัติเพราะรับเงินรับทอง ในทางมโนทวารด้วยอํานาจยินดีเงินทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตน. แม้พระขีณาสพ ขนาดพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรก็ยังเกิดมโนทุจริตขึ้นได้ ด้วยอํานาจที่นึกตําหนิ ในมโนทวาร. เมื่อศากยะปาตุเมยยกะขอขมาพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อประโยชน์แก่พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ในคราวที่ทรงประณามพระเถระทั้งสองนั้น พร้อมกับภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ในเรื่องปาตุมะ พระเถระ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า. "เธอคิดอย่างไร สารีบุตร เมื่อภิกษุสงฆ์ถูกเราประณามแล้ว". ดังนี้ ก็ให้เกิดความคิดขึ้นว่า "เราถูกพระศาสดาประณาม เพราะไม่ฉลาดเรื่องบริษัท, ตั้งแต่บัดนี้ไป เราจะไม่สอนคนอื่นละ" จึงได้กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ามีความคิดอย่างนี้ว่า "ภิกษุสงฆ์อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประณามแล้ว, บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงขวนขวายน้อย ประกอบทิฐธรรมสุขวิหารธรรมอยู่ แม้เราทั้งสองก็จัก

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 303

ขวนขวายน้อย ประกอบทิฐธรรมสุขวิหารธรรมอยู่". ลําดับนั้น พระศาสดา เมื่อจะทรงยกข้อตําหนิ เพราะมโนทุจริตนั้น ของพระเถระ จึงตรัสว่า "เธอจงรอก่อนสารีบุตร. ความคิดอย่างนี้ไม่ควรที่เธอจะให้เกิดขึ้นอีกเลย สารีบุตร". แม้เพียงความคิดว่า "เราจะไม่ว่ากล่าวสั่งสอนคนอื่น อย่างนี้" ก็ชื่อว่าเป็นมโนทุจริต ของพระเถระ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมไม่มีพระดําริเช่นนั้น และการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงบรรลุพระสัพพัญุตญาณแล้ว จะไม่พึงมีทุจริตนั้น ไม่ใช่ของน่าอัศจรรย์. แม้แต่ดํารงอยู่ในภูมิแห่งพระโพธิสัตว์ ทรงประกอบความเพียรอยู่ ๖ ปี พระองค์ก็มิได้มีทุจริต. แม้เมื่อเหล่าเทวดาเกิดความสงสัยขึ้นอย่างนี้ว่า "หนังท้องติดกระดูกสันหลัง (อย่างนี้) พระสมณโคดม ถึงแก่การดับสูญ (เสียละกระมัง) " เมื่อถูกมารใจบาป กล่าวอยู่ว่า "สิทธัตถะ ท่านจะต้องมาลําบากลําบนทําไม ท่านสามารถที่จะเสวยโภคสมบัติไปด้วย สร้างบุญกุศลไปด้วยได้" ดังนี้ แม้เพียงความคิดว่า "เราจัก (กลับไป) เสวยโภคสมบัติ" ก็ไม่เกิด. ครั้นแล้ว มารก็ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าในเวลาที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ถึง ๖ ปี ในเวลาที่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว อีก ๑ ปี ก็มิได้เห็นโทษผิดอันหนึ่งอันใด จึงกล่าวความข้อนี้ไว้ แล้วหลบไป ว่า-

"เราติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปทุกย่างก้าว ตลอดเวลา ๗ ปี ก็มิได้เห็นข้อบกพร่องใดๆ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระสติไพบูลย์นั้นเลย" อีกประการหนึ่ง พึงทราบความไม่มีทุจริตของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ด้วยอํานาจแห่งพุทธธรรม ๑๘ ประการ. อันว่าพุทธธรรม ๑๘

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 304

ประการ ดังนี้ พระตถาคตไม่มีกายทุจริต ๑ ไม่มีวจีทุจริต ๑ ไม่มีมโนทุจริต ๑ พุทธญาณไม่มีอะไรติดขัดในอดีต ๑ พุทธญาณไม่มีอะไรติดขัดในอนาคต พุทธญาณไม่มีอะไรติดขัดในปัจจุบัน ๑ กายกรรมทั้งปวงของพระผู้มีพระภาคเจ้า คล้อยตามพระญาณ ๑ วจีกรรมทั้งปวงของพระผู้มีพระภาคเจ้า คล้อยตามพระญาณ ๑ มโนกรรมทั้งปวงของพระผู้มีพระภาคเจ้า คล้อยตามพระญาณ ๑ ไม่มีความเสื่อมฉันทะ ๑ ไม่มีความเสื่อมวิริยะ ๑ ไม่มีความเสื่อมสติ ๑ ไม่มีการเล่น ๑ ไม่มีการวิ่ง ๑ไม่มีความพลาดพลั้ง ๑ ไม่มีความผลุนผลัน ๑ ไม่มีพระทัยที่ไม่ขวนขวาย ๑ไม่มีอกุศลจิต ๑.

คําว่า กิฺจนา หมายถึงปลิโพธ เครื่องกังวล. คําว่า ราโค กิฺจนํ มีคํานิยามว่า ราคะ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมผูกมัดขัดข้องสัตว์เอาไว้ (ไม่ให้หลุดพ้นจากวัฏฏะ) ดังนั้น ท่านจึงเรียกว่ากิฺจนะ (เครื่องข้อง). แม้ใน ๒ บทนอกนี้ก็มีนัยเดียวกันนี้แล.

คําว่า อคฺคิ มีคํานิยามว่า ชื่อว่า อัคคี เพราะอรรถว่า ตามเผาไหม้. คําว่า ราคคฺคิ มีคํานิยามว่า ราคะ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมตามไหม้เผาผลาญสัตว์ให้ร้อน ดังนั้น ท่านจึงเรียกว่า อัคคี. แม้ใน ๒ บทนอกนี้ก็มีนัยเดียวกันนี้. ในกรณีนั้น มีเรื่อง (ดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง). ภิกษุณีสาวรูปหนึ่ง ไปยังโรงอุโบสถ ทําจิตตลบรรพตวิหาร ยืนมองร่างของนายทวารบาลอยู่. ครั้นแล้ว ราคะก็เกิดขึ้น ภายในใจของเธอ. เธอถูกราคะนั้นเองเผาเอาจนตายไป (ในขณะที่ยืนอยู่ตรงนั้นเอง). พวกภิกษุณีเมื่อจะกลับ จึงกล่าวขึ้นว่า "ภิกษุณีรูปนี้ ยืนอยู่ (ตรงนั้นเอง) , ไปเรียกเธอมา". ภิกษุณีรูปหนึ่งเดินไปจับแขนพูดว่า "ยืนทําอะไรอยู่". พอถูก

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 305

เข้าร่างภิกษุณีสาวนั้น ก็ล้มพับลงไป. นี้เป็นเรื่องที่ราคะตามเผาเอาก่อน. ส่วนเรื่องที่โทสะตามเผาเอานั้น ก็อย่างพวกเทวดาประเภทมโนปโทสิกา (พวกถูกทําร้ายด้วยใจ คือ โกรธขึ้นมาแล้วต้องจุติไป). เรื่องที่โมหะตามเผาเอานั้น พึงเห็นอย่างพวกเทวดาประเภทขิฑฑาปโทสิกา (พวกถูกทําร้ายด้วยการเล่น). คือเทวดาพวกนั้นหลงลืมสติด้วยอํานาจโมหะ. เพราะฉะนั้นพอเลยเวลาอาหารไปแล้ว มัวแต่เที่ยวเล่นอยู่จึงต้องสิ้นชีวิตไป.

พึงทราบวินิจฉัย ในบทว่า อาหุเนยฺยคฺคิ เป็นต้น. เครื่องสักการะท่านเรียกว่าอาหุนะ. บุคคลผู้ควรแก่อาหุนะ ชื่อว่า อาหุไนย. แท้จริงมารดาบิดา ย่อมควรแก่อาหุนะ เพราะมีอุปการะมากแก่บุตร. บุตรทั้งหลายเมื่อปฏิบัติผิดพลาดในมารดาบิดา ก็ย่อมไปเกิดในอบาย มีนรกเป็นต้น, ดังนั้น แม้ว่า มารดาบิดาจะไม่ตามเผาไหม้บุตรก็จริง แต่ก็เป็นต้นเหตุแห่งการถูกเผาไหม้. ท่านเรียกว่า อาหุเนยยัคคิ (ไฟคืออาหุไนยบุคคล) โดยอรรถว่า ตามเผาไหม้ ด้วยประการดังนี้. ความข้อนี้นั้นพึงทราบด้วยเรื่องนายมิตตวินทุกะ.

เรื่องมีอยู่ว่า นายมิตตวินทุกะ ถูกมารดากล่าวว่า "ลูกเอย วันนี้เจ้าจงรักษาอุโบสถฟังธรรมที่วัดตลอดทั้งคืนเถิด แม่จะให้เจ้าพันหนึ่ง" ด้วยความอยากได้ทรัพย์ จึงสมาทานอุโบสถไปวัด หมายใจว่า "ที่ตรงนี้ปลอดภัย" จึงหลบเข้าไปนอนอยู่ใต้ธรรมาสน์ หลับไปตลอดทั้งคืน (รุ่งเช้า) ก็กลับบ้าน. ฝ่ายมารดาต้มยาคูไว้ แต่เช้าตรู่ เสร็จแล้วก็ยกเข้าไปให้. นายมิตตวินทุกะดื่มยาคูทั้งๆ ที่ยังกําเงินพันไว้. ต่อมาเขามีความคิดขึ้นว่า จะรวบรวมทรัพย์. ก็เลยคิดอยากจะไป (ค้าขาย) ทาง

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 306

เรือเดินทะเล. ทีนั้น มารดาห้ามเขาไว้ว่า "ลูกเอย ในตระกูลนี้ มีทรัพย์อยู่ถึง ๔๐ โกฏิแล้ว อย่าไปเลย". เขาไม่เอาใจใส่ต่อคําขอร้องของมารดา ขืนจะไปให้ได้. มารดาจึงยืนขวางหน้าไว้. เขาโกรธมารดาว่า "แม่นี่มายืนขวางหน้าเราได้" จึงเตะมารดาล้มลง แล้วเดินข้ามไป. มารดาลุกขึ้นกล่าวว่า "ลูกเอย เจ้าคงจะสําคัญว่า ทํากรรมเห็นปานนี้ในคนที่เป็นแม่อย่างเรา แล้วเดินทางไป จักมีความสุขในที่ที่ไปถึง". เมื่อนายมิตตวินทุกะลงเรือไป ถึงวันที่ ๗ เรือก็หยุด (ขึ้นมาเฉยๆ ). คนทั้งหลาย (ที่ไปในเรือ) เหล่านั้นพากันกล่าวว่า "ในเรือลํานี้" มีคนบาปอยู่เป็นแน่ จงจับสลากกันดูเถิด". เมื่อจับสลากกัน ก็ตกอยู่แก่นายมิตตวินทุกะ นั่นเอง ถึง ๓ ครั้ง. คนเหล่านั้นก็เอาเขาลงแพ ลอยไปในทะเล. เข้าไปถึงเกาะแห่งหนึ่งเสวยสมบัติอยู่กับพวกนางเวมานิกเปรต เมื่อเปรตพวกนั้นบอกว่า อย่าไปต่อๆ ไปอีกเลย ก็กลับมองเห็นสมบัติ (ข้างหน้า) เป็นสองเท่าอยู่ร่ําไปจนกระทั่งได้พบสัตว์ตนหนึ่งมีจักรคม (พัดผันอยู่ที่ศีรษะ). เขาเห็นจักรนั้นเป็นประหนึ่งดอกบัว. จึงกล่าวกับสัตว์ตนนั้นว่า นี่แม่ท่านจงให้ดอกบัวที่ท่านประดับอยู่นี้แก่ข้าพเจ้าเถิด". สัตว์นั้นกล่าวว่า "นายเอย นี่มิใช่ดอกบัวดอก นี่มันจักรคม". เขากลับพูดว่า "ท่านหลอกข้าพเจ้า, ดอกบัวทําไมข้าพเจ้าจะไม่เคยเห็น" ดังนี้แล้ว กล่าวต่อไปว่า "ท่านลูบไล้จันทน์แดงอยู่แล้ว ไม่อยากจะให้ดอกบัวเครื่องประดับแก่ข้าพเจ้า. สัตว์ตนนั้นคิดว่า "บุรุษผู้นี้คงจะได้ทํากรรมอย่างเดียวกับที่เราทํา จึงอยากจะเสวยผลกรรมนั้น". ครั้นแล้ว จึงกล่าวกับนายมิตตวินทุกะ ว่า "เอาเถิดข้าพเจ้ายกให้" แล้วเหวี่ยงจักรไปบนศีรษะของเขา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 307

"ได้สี่แล้วอยากได้แปด ได้แปดแล้วอยากได้สิบหก ได้สิบหกแล้วอยากได้สามสิบสอง จึงต้องมาทูนจักรไว้ คนที่ถูกความอยากเล่นงานเอา จักรกําลังหมุนอยู่บนหัว".

เจ้าของเรือน ท่านเรียกว่า คฤหบดี คฤหบดีนั้น ชื่อว่า มีอุปการะมากแก่มาตุคาม ด้วยการเพิ่มให้ซึ่งสิ่งของเช่นที่นอน, ผ้าผ่อนเครื่องแต่งตัวเป็นต้น. มาตุคาม นอกใจคฤหบดี ย่อมไปเกิดในอบายมีนรกเป็นต้น ดังนั้นคฤหบดีนั้น ท่านจึงเรียกว่า คหปตัคคิ ด้วยอรรถว่า ตามเผาไหม้โดยนัยก่อนเช่นกัน. ในกรณีนั้น มีเรื่อง (นี้เป็นตัวอย่าง) -

ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ภริยาของอุบาสกผู้เป็นโสดาบันประพฤตินอกใจ. อุบาสกเห็นเหตุนั้นโดยประจักษ์ จึงกล่าวว่า "เหตุไรเธอจึงทําอย่างนั้น. ภริยาตอบว่า "ถ้าดิฉันทําเห็นปานนั้น (จริงอย่างที่ท่านว่า) , ขอให้สุนัขตัวนี้ทึ้งกัดดิฉันเถิด" ดังนี้แล้ว ตายไปเกิดเป็นเวมานิกเปรตที่สระกัณณมุณฑกะ. กลางวันเสวยสมบัติ กลางคืนเสวยทุกข์. คราวนั้น พระเจ้าพาราณสี เสด็จล่าเนื้อ เข้าไปในป่า เสด็จไปถึงสระกัณณมุณฑกะ โดยลําดับ ได้เสวยสมบัติอยู่กับนาง. นางเปรตลวงท้าวเธอไปเสวยทุกข์ในตอนกลางคืน. พระราชาทรงทราบความแล้ว ทรงสงสัยว่า "นางไปที่ไหนหนอ" จึงเสด็จตามไปข้างหลัง ทรงหยุดอยู่ไม่ห่างนัก ทอดพระเนตรเห็นสุนัขตัวหนึ่งออกมาจากสระกัณณมุณฑกะ กัดกินนางเสียงดังกรุบๆ กรับๆ อยู่ จึงทรงฟันด้วยพระแสงดาบ ขาดสองท่อน. สุนัขกลับเพิ่มขึ้นเป็น ๒. เมื่อถูกฟันขาดอีก ก็เป็น ๔. เมื่อถูกฟันขาดอีก ก็เพิ่มเป็น ๘. เมื่อถูกฟันขาดอีก ก็เพิ่มขึ้นเป็น ๑๖. นางทูลว่า "สวามี พระองค์

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 308

ทรงทําอะไร". ท้าวเธอตรัสว่า "นี้อะไรกัน". นางทูลว่า พระองค์อย่าทําอย่างนั้น จงทรงถ่มก้อนเขฬะลงบนพื้นแล้วขยี้ด้วยพระบาท". ท้าวเธอทรงทําตามที่นางทูลบอก. สุนัขทั้งหลายก็หายไป. วันนั้นพอดีนางสิ้นกรรม พระราชาไม่ทรงสบายพระทัย จึงทรงเริ่มจะเสด็จกลับ. นางทูลว่า "สวามี กรรมของหม่อมฉันสิ้นแล้ว อย่าเสด็จไปเลย". พระราชาไม่ทรงฟัง เสด็จไปจนได้. ส่วนในคําว่า ทกฺขิเณยฺยคฺคิ นี้ คําว่า ทกฺขิณา คือปัจจัย ๔. ภิกษุสงฆ์ ชื่อว่า ทักขิไณยบุคคล. ภิกษุสงฆ์ ชื่อว่า มีอุปการะมากแก่คฤหัสถ์ ด้วยการชักนําให้ประพฤติในกัลยาณธรรมทั้งหลายเป็นต้นว่า สรณะ ๓ ศีล ๕ ศีล ๑๐. การเลี้ยงดูมารดาบิดา การบํารุงสมณพราหมณ์ผู้มีธรรม. คฤหัสถ์ที่ปฏิบัติผิดในภิกษุสงฆ์ บริภาษด่าทอภิกษุสงฆ์ ย่อมไปเกิดในอบายมีนรกเป็นต้น ดังนั้น แม้ภิกษุสงฆ์ท่านก็เรียกว่า ทักขิเณยยัคคิ ด้วยอรรถว่า ตามเผาไหม้โดยนัยก่อนเช่นกัน. และเพื่อจะให้ความข้อนี้กระจ่าง ควรจะแถลงเรื่องเวมานิกเปรตโดยละเอียดด้วย.

พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า ติวิเธน รูปสงฺคโห นี้ต่อไป. คําว่า ติวิเธน แปลว่า ๓ ส่วน. คําว่า สงฺคโห หมายเอาสังคหะ ๔ อย่างคือ ชาติสังคหะ สัญชาติสังคหะ กิริยสังคหะ และคณนสังคหะ. บรรดาสังคหะ ๔ อย่างนั้นการรวบรวมเป็นต้นว่า "กษัตริย์ทั้งปวงจงมา" ดังนี้ ชื่อว่า ชาติสังคหะ (รวบรวมตามชาติกําเนิด). การรวบรวมเป็นต้นว่า "ชาวโกศล ทั้งหมดจงมา" ดังนี้ ชื่อว่า สัญชาติสังคหะ (รวบรวมตามสัญชาติ). การรวบรวมเป็นต้นว่า "ควาญช้างทั้งหมด จงมา" ดังนี้ ชื่อว่ากิริยสังคหะ (รวบรวมตามอาการที่ทํา). การรวบรวมนี้ว่า "ถามว่า อายตนะ คือ จักษุ

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 309

นับเข้าในขันธ์ไหน ตอบว่า อายตนะ คือ จักษุ นับเข้าในรูปขันธ์ พระสกวาทีกล่าวว่า ถ้าอายตนะ คือ จักษุนับเข้าในรูปขันธ์ ด้วยเหตุนั้นก็ควรจะกล่าวว่า อายตนะคือ จักษุ สงเคราะห์เข้าด้วยรูปขันธ์" ดังนี้ชื่อว่า คณนสังคหะ (รวบรวมตามการนับเข้าได้). คณนสังคหะนั้นมุ่งหมายเอาในที่นี้. เพราะฉะนั้น คําว่า ติวิเธน รูปสงฺคโห จึงมีความหมายว่า การนับรูปเป็น ๓ ส่วน. พึงทราบวินิจฉัยในสนิทัสสนะ เป็นต้น. รูปพร้อมทั้งนิทัสสนะ กล่าวคือจักษุวิญญาณที่เป็นไปปรารภตน ชื่อว่าสนิทัสสนะ รูปพร้อมทั้งปฏิฆะ เพราะสามารถที่จะกระทบจักษุ ชื่อว่าสัปปฏิฆะ. สัปปฏิฆะนั้น โดยความหมาย ก็คือรูปายตนะนั่นเอง. นิทัสสนะกล่าวคือ จักษุวิญญาณของรูปนั้นไม่มี ดังนั้น จึงชื่อว่า อนิทัสสนะ. รูปพร้อมทั้งปฏิฆะ เพราะสามารถที่จะกระทบโสต ชื่อว่า สัปปฏิฆะ. สัปปฏิฆะนั้น โดยความหมาย ก็คือ อายตนะ ๙ มีอายตนะคือจักษุเป็นต้น. นิทัสสนะมีประการดังกล่าวมาแล้ว ของรูปนั้นไม่มี ดังนั้น จึงชื่อว่าอนิทัสสนะ. ปฏิฆะของรูปนั้นไม่มี ดังนั้น จึงชื่อว่าอัปปฏิฆะ. อัปปฏิฆะนั้นโดยความหมาย ก็คือ สุขุมรูปที่เหลือ ยกเว้นอายตนะ ๑๐.

คําว่า ตโย สงฺขารา มีคํานิยามว่า ชื่อว่า สังขาร เพราะปรุงขึ้นคือทําให้เป็นกลุ่มขึ้น ซึ่งธรรมที่เกิดร่วมกัน และธรรมที่มีผลในกาลต่อไป. ชื่อว่า อภิสังขาร เพราะปรุงขึ้นอย่างยิ่ง. อภิสังขารคือบุญ ชื่อว่าปุญญาภิสังขาร.

คําว่า ปุญญาภิสังขารนั้น เป็นชื่อของมหาจิตเจตนา อันเป็นกามาวจรกุศล ๘ ดวง และเจตนาอันเป็นรูปาวจรกุศล ๕ ดวง ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาอภิสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขารคืออะไร คือ กุศลเจตนา เป็นกามาวจร รูปาวจร สําเร็จด้วยทาน สําเร็จด้วยศีล สําเร็จ

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 310

ด้วยภาวนา". บรรดาเจตนาเหล่านั้น เฉพาะเจตนา ๘ ดวง สําเร็จด้วยทาน สําเร็จด้วยศีล. ทั้ง ๑๓ ดวง สําเร็จด้วยภาวนา. อุปมาเหมือนบุคคลสาธยายธรรมที่ตนคล่อง แม้จะว่าไป ๑ หรือ ๒ หัวข้อแล้ว ก็ไม่รู้ ภายหลังระลึกขึ้นมาจึงรู้ ฉันใด ท่านผู้ทํากสิณบริกรรม พิจารณาฌานที่ตนคล่องอยู่ภาวนาก็ย่อมเป็นญาณวิปยุต (ไม่ประกอบด้วยความรู้) ได้บ้าง ฉันนั้นเหมือนกันฯ ด้วยเหตุนั้นจึงกล่าวว่า "ทั้ง ๑๓ ดวง สําเร็จด้วยภาวนา". บรรดาปุญญาภิสังขารที่สําเร็จด้วยทานเป็นต้นนั้น ความตั้งใจ จํานงจงใจที่ปรารภทาน เกิดขึ้น มีทานเป็นหลัก นี่ท่านเรียกว่า ปุญญาภิสังขารที่สําเร็จด้วยทาน ความตั้งใจจํานง จงใจที่ปรารภศีล ปรารภภาวนาเกิดขึ้น มีภาวนาเป็นหลัก นี้ท่านเรียกว่า ปุญญาภิสังขารที่สําเร็จด้วยภาวนา. ดังกล่าวมานี้ เป็นสังเขปเทศนา. เจตนาที่เป็นไปในกาลทั้ง ๓ ของผู้ถวายสิ่งของนั้นๆ ในจําพวกปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น อารมณ์ ๖ มีรูปารมณ์เป็นต้น หรือทานวัตถุ ๑๐ อย่างมีข้าวเป็นต้น คือในกาลเบื้องต้น ตั้งแต่ยังสิ่งของเหล่านั้นให้เกิดขึ้น ๑ ในกาลขณะกําลังบริจาค ๑ ในกาลที่หวนระลึกในภายหลังด้วยจิตโสมนัส ๑ ดังนี้ ชื่อว่า ทานมัยเจตนา (เจตนาที่สําเร็จด้วยทาน). ส่วนเจตนาที่เป็นไปแล้ว ของท่านผู้ไปวัดด้วยตั้งใจว่า "จักบวชบําเพ็ญศีล", ของผู้กําลังบวช ของผู้ยังมโนรถ ให้ถึงที่สุดแล้ว หวนระลึกว่า "เราบวชแล้วหนอ" สําเร็จประโยชน์ด้วยของผู้สํารวมพระปาฏิโมกข์ ของผู้พิจารณาปัจจัยทั้งหลาย มีจีวรเป็นต้น ของผู้สํารวมทวารมีจักษุทวารเป็นต้นในอารมณ์มีรูปเป็นต้น ที่มาถึงเข้า และของผู้ชําระอาชีวะให้หมดจด (ดังนี้) ชื่อว่า สีลมัยเจตนา (เจตนาที่สําเร็จด้วยศีล). เจตนาที่เป็นไปแล้ว ของท่านผู้อบรมจักษุ โดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา ด้วยวิปัสสนา

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 311

มรรค ที่กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทา ของท่านผู้อบรมใจ ฯลฯ ของท่านผู้อบรมจักษุวิญญาณ มโนวิญญาณ จักษุสัมผัส มโนสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่จักษุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส ในรูปารมณ์ ในธรรมารมณ์, ของท่านผู้อบรมรูปสัญญา ฯลฯ ชรามรณะ โดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาชื่อว่า ภาวนามัยเจตนา (เจตนาที่สําเร็จด้วยภาวนา) , ดังกล่าวมานี้ เป็นวิตถารกถา. อภิสังขารนั้นด้วย มิใช่บุญ (เป็นบาป) ด้วยดังนั้น จึงชื่อว่า อปุญญาภิสังขาร (อภิสังขารอันเป็นบาป). คําว่า อปุญญาภิสังขาร นี้เป็นชื่อของเจตนา ที่สัมปยุตด้วยอกุศลจิต. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า "บรรดาอภิสังขารเหล่านั้น อปุญญาภิสังขารคืออะไร คืออกุศลเจตนาที่เป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร". ที่ชื่อว่าอาเนญชาภิสังขาร เพราะปรุงขึ้นอย่างยิ่ง ซึ่งอรูปนั่นเองที่เป็นวิบาก ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นคลอน สงบ. คําว่า อาเนญชาภิสังขารนี้ เป็นชื่อของกุศลเจตนาอันเป็นอรูปาวจร ๔ ดวง. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า "บรรดาอภิสังขารเหล่านั้น อาเนญชาภิสังขารคืออะไร คือกุศลเจตนา อันเป็นอรูปาวจร นี้เรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร".

พึงทราบวินิจฉัยในปุคคลัตติกะ ต่อไป. บุรุษบุคคล ๗ ชนิด ย่อมศึกษาไตรสิกขา ดังนั้น จึงชื่อว่าเสกขะ (ผู้ยังต้องศึกษา). พระขีณาสพไม่ต้องศึกษาอีกเพราะศึกษาไตรสิกขาจบแล้ว ดังนั้น จึงชื่อว่า อเสกขะ (ผู้ไม่ต้องศึกษา). ปุถุชน ชื่อว่า เสกขะก็ไม่ใช่ อเสกขะก็ไม่ใช่ เพราะอยู่ภายนอกจากสิกขาทั้งหลาย. พึงทราบวินิจฉัยในเถรัตติกะต่อไป. ท่านเป็นผู้ใหญ่โดยชาติ ชื่อว่า คิหิชาติเถระ. ท่านผู้ประกอบด้วยธรรมอย่างเดียว หรือหลายอย่าง ในบรรดาธรรมทั้งหลาย ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 312

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ทําให้เป็นเถระ ๔ ประการเหล่านี้ คือพระเถระในพระศาสนานี้ เป็นผู้มีศีล เป็นพหูสูต ได้ฌาน ๔ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ฯลฯ เข้าถึงพร้อมอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ทําให้เป็นเถระ ๔ ประการเหล่านี้แล" ดังนี้ ชื่อว่า ธรรมเถระ. ท่านผู้มีชื่อว่าเถระอย่างนี้ คือ "ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ที่ชื่อว่า พระเถระ" ก็ดี คนทั้งหลายเห็นนักบวชเช่นสามเณรเป็นต้น ที่บวชเวลามีอายุมากแล้วเรียกขานว่า "พระเถระ พระเถระ" ก็ดี นี้ชื่อว่า สมมติเถระ.

พึงทราบวินิจฉัยในบุญญกิริยาวัตถุต่อไป. ทานนั่นเอง ชื่อว่า ทานมัย. การทําบุญนั้นด้วย วัตถุ (คือที่ตั้ง) แห่งบุญญานิสงส์เหล่านั้นด้วย ดังนั้นจึงชื่อ บุญญกิริยาวัตถุ (ที่ตั้งแห่งการทําบุญ) แม้ในบุญญกิริยาวัตถุข้ออื่นๆ ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้. แต่โดยความหมาย พึงทราบบุญญกิริยาวัตถุ ๓ อย่างเหล่านี้ พร้อมทั้งบุรพภาคเจตนา (ความตั้งใจก่อนและทํา) และอปรภาคเจตนา (ความตั้งใจภายหลังจากทําแล้ว) ด้วยอํานาจแห่งเจตนาที่สําเร็จด้วยทานเป็นต้น ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น. และในเรื่องนี้ บุคคลทํากรรมอย่างหนึ่งๆ ด้วยกาย นับตั้งแต่บุรพภาคเจตนา ก็จัดเป็นกายกรรม. เมื่อเปล่งวาจาอันมีความหมายอย่างนั้น จัดเป็นวจีกรรม. เมื่อไม่ได้ยังองค์แห่งกายและองค์แห่งวาจาให้ไหว คิดด้วยใจ (อย่างเดียว) ก็จัดเป็นมโนกรรมอีกนัยหนึ่ง สําหรับผู้ให้ทานวัตถุมีข้าวเป็นต้น (ในเวลาที่กล่าวว่า) ข้าพเจ้าให้อันนทาน (ให้ข้าว) เป็นต้นก็ดี ในเวลาที่ระลึกถึงทานบารมีแล้ว ให้ก็ดี จัดเป็นบุญญกิริยาวัตถุ สําเร็จด้วยทาน. ตั้งอยู่ในวัตรและศีลแล้วให้ จัดเป็นบุญญกิริยาวัตถุสําเร็จด้วยศีล. เริ่มตั้งความพิจารณาโดยความสิ้นไป เสื่อมไปแล้วให้ จัดเป็นบุญญกิริยาวัตถุ สําเร็จด้วยภาวนา. บุญกิริยาวัตถุอย่างอื่น

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 313

มีอีก ๗ อย่าง คือ บุญญกิริยาวัตถุอันประกอบด้วยความเคารพยําเกรง ประกอบด้วยการขวนขวาย (ช่วยทํากิจของผู้อื่น) การให้ส่วนบุญ การอนุโมทนาส่วนบุญ อันสําเร็จด้วยการแสดงธรรม อันสําเร็จด้วยการฟังธรรม บุญกิริยาวัตถุคือ การทําความเห็นให้ตรง ดังนี้. บรรดาบุญญกิริยาวัตถุทั้ง ๗ นั้น ความเคารพ ยําเกรง พึงทราบ โดยอาการเช่น เห็นพระผู้เฒ่าแล้ว ลุกรับ รับบาตรจีวร กราบไหว้ หลีกทางให้เป็นต้น. การขวนขวาย พึงทราบด้วยการทําวัตร ปฏิบัติแก่พระภิกษุผู้แก่กว่าตนด้วยการที่เห็นภิกษุเข้าบ้าน เพื่อบิณฑบาตแล้วถือบาตรไปชักชวน รวบรวมภิกษาในบ้าน และด้วยการได้ฟังว่า "ไปเอาบาตรของพวกภิกษุมา" ดังนี้แล้ว เร่งรีบไปนําบาตรมา เป็นต้น. การให้ส่วนบุญพึงทราบ ด้วยการที่ถวายปัจจัย ๔ แล้ว (ตั้งจิตอุทิศ) ให้เป็นไปว่า "ส่วนบุญจะมีแก่สรรพสัตว์". การอนุโมทนาส่วนบุญ พึงทราบ ด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญที่ผู้อื่นให้ว่า "สาธุ ถูกดีนักแล้ว". ภิกษุรูปหนึ่งตั้งอยู่ในความปรารถนาว่า "คนทั้งหลายจักรู้จักเราว่าเป็นธรรมกถึก ด้วยอุบายอย่างนี้" เป็นผู้หนักในลาภแสดงธรรม ข้อนั้นไม่มีผลมาก. ภิกษุรูปหนึ่งแสดงธรรมที่ตนคล่องแก่ชนอื่นๆ โดยไม่ได้หวังผลตอบแทน นี้ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ สําเร็จด้วยการแสดงธรรม. บุคคลผู้หนึ่ง เมื่อจะฟังธรรม ก็ฟังด้วยความมุ่งหมายว่า "คนทั้งหลาย จักได้รู้จักเราว่า มีศรัทธาด้วยอาการอย่างนี้" ข้อนั้นไม่มีผลมาก. บุคคลผู้หนึ่ง ฟังธรรมด้วยจิตที่อ่อนโยนแผ่ประโยชน์ว่า จักมีผลมากแก่เราด้วยอาการอย่างนี้" นี้ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ สําเร็จด้วยการฟังธรรม. ส่วนการทําความเห็นให้ตรงเป็นลักษณะกําหนดสําหรับบุญญกิริยา

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 314

วัตถุทุกอย่าง. ที่จริง คนทําบุญอย่างใดๆ ก็ตาม มีผลมากได้ ก็ด้วยความเห็นตรงนั่นเอง.บุญญกิริยาวัตถุ ๗ อย่างเหล่านี้ พึงทราบว่า รวมเข้าได้กับบุญญกิริยาวัตถุ ๓ อย่างข้างต้นนั่นเอง ด้วยประการดังนี้. ในที่นี้ ความเคารพ ยําเกรง และการขวนขวาย (ช่วยทํากิจของผู้อื่น) รวมลงได้ในสีลมัยบุญญกิริยาวัตถุ, การให้ส่วนบุญ และการอนุโมทนาส่วนบุญ รวมลงได้ในทานมัยบุญญกิริยาวัตถุ, การแสดงธรรม และการฟังธรรม รวมลงได้ในภาวนามัยบุญญกิริยาวัตถุ, การทําความเห็นให้ตรง รวมลงได้ทั้ง ๓ อย่าง.

คําว่า โจทนาวตฺถูนิ หมายถึงเหตุที่จะโจท (กล่าวหา) กัน. คําว่า ทิฏฺเน หมายความว่า เห็นความผิดด้วยตาเนื้อก็ตาม ด้วยตาทิพย์ก็ตาม แล้วโจทขึ้น. คําว่า สุเตน หมายความว่าได้ยินเสียง (เล่าอ้าง) ของผู้อื่น ด้วยหูธรรมดาก็ตาม ด้วยหูทิพย์ก็ตาม แล้วโจทขึ้น. คําว่าปริสงฺกาย หมายความว่า โจทขึ้นด้วยความสงสัย เพราะได้เห็นมา ก็ตามด้วยความสงสัย เพราะได้ยินมาก็ตาม ด้วยความสงสัยเพราะได้ทราบมาก็ตาม. นี้เป็นความสังเขปในเรื่องนี้. ส่วนรายละเอียดพึงทราบตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในสมันตปาสาทิกานั่นแล.

บทว่า ผู้เข้าถึงกาม หมายความว่า ผู้เข้าไปเสพกาม หรือได้เฉพาะกาม. บทว่า ผู้มีกามปรากฏแล้ว ได้แก่ ผู้มีกามผูกมัดไว้ คือ ผู้มีอารมณ์ผูกมัด. คําว่า เปรียบเหมือนมนุษย์ คือเหมือนพวกมนุษย์. เพราะว่าพวกมนุษย์ ย่อมยังอํานาจให้เป็นไปในวัตถุที่ผูกพันเท่านั้น มีจิตปฏิพัทธ์ในมาตุคามคนใด ก็ให้เงินร้อยหนึ่งบ้าง สองร้อยบ้าง แล้วนํามาตุคาม

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 315

นั้นมาบริโภคโภคะที่ผูกพัน. เทพยดาผู้อยู่ในเทวโลก ๔ เหล่า ชื่อว่า เทพยดาบางพวก. แม้เทพยดาเหล่านั้น ก็ยังอํานาจให้เป็นไปในวัตถุที่ผูกพันนั่นและ. เทพดาที่เหลือ เว้นพวกสัตว์นรก ชื่อว่า พวกวินิบาต. เพราะแม้ปลา และเต่า เป็นต้นก็ยังอํานาจให้เป็นไปในวัตถุที่ผูกพันนั้นแหละ. อธิบายว่า ปลาก็ยังอํานาจให้เป็นไปกับนางปลา เต่าก็ยังอํานาจให้เป็นไปกับนางเต่า. สองบทว่า เนรมิตแล้วๆ ความว่า เนรมิตรูปนั้นๆ ที่ปรารถนาสําหรับตน โดยเป็นรูปสีเขียว และรูปสีเหลืองเป็นต้น เหมือนเทวดาเหล่ามนาปกายิกา เนรมิตรูปไว้ข้างหน้าท่านพระอนุรุทธะฉะนั้น. บทว่า นิมฺมานรตี ความว่า ชื่อว่าเทวดาเหล่านิมมานรดี เพราะอรรถว่า เทวดาเหล่านั้น ยินดีในของเนรมิตที่ตนเนรมิตแล้วๆ อย่างนั้น. บทว่า ปรนิมฺมิตกามา แปลว่า ผู้มีกามที่ผู้อื่นเนรมิตให้. เพราะว่า เทวดาพวกอื่นรู้ใจของเทวดาเหล่านั้น แล้วก็เนรมิตกามโภคะตามที่ชอบใจให้ เทวดาเหล่านั้น ย่อมยังอํานาจให้เป็นไปในกามโภคะนั้นนั่นแหละ. ถามว่า ผู้อื่นรู้ใจของคนอื่นได้อย่างไร. ตอบว่ารู้ได้ด้วยอํานาจการเสพใช้ตามปรกติ. อุปมาเหมือนพ่อครัวผู้ฉลาด เมื่อพระราชาเสวยอยู่ย่อมรู้ได้ว่า พระราชาพระองค์นั้นทรงรับสิ่งใดๆ มาก พระองค์ย่อมโปรดสิ่งนั้นๆ. ผู้อื่นรู้อารมณ์ที่เขาชอบใจมากตามปรกติด้วยอาการอย่างนี้แล้ว จึงเนรมิตอารมณ์เช่นนั้นนั่นแลให้ พวกเขาย่อมยังอํานาจให้เป็นไปในสิ่งที่เขาเนรมิตให้นั้น คือเสพเมถุน. ส่วนพระเถระบางท่านกล่าวว่า กามกิจย่อมสําเร็จแก่พวกเขาด้วยอาการสักว่าหัวเราะ สักว่ามองดูและสักว่าการสรวมกอด. คําของพระเถระบางท่านนั้น ถูกคัดค้านไว้ในอรรถกถาว่าคําที่กล่าวนั้นไม่มี. กามกิจที่จะพึงถูกต้องจะสําเร็จแก่ผู้ไม่ถูกต้องด้วยกาย หามิได้. เพราะว่า กามทั้ง

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 316

หลายของเหล่าเทพชั้น ฉกามาวจรเป็นไปตามปรกติเหมือนกัน. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า

เทพเหล่ากามาวจรหกชั้นเหล่านั้น พรั่งพร้อมด้วยกามทั้งปวง อายุของเทพเหล่านั้นเมื่อนับรวมกันจะเป็นเท่าไร.

บทว่า สุขูปปตฺติโย แปลว่า ผู้ได้เฉพาะสุข. คําว่า อุปฺปาเทตฺวา อุปฺปาเทตฺวา สุขํ วิหรนฺติ ความว่า ยังความสุขในปฐมฌานให้เกิดขึ้นในขั้นต่ํา แล้วเสวยความสุขในฌานอันเป็นตัววิบากในชั้นสูง. สองบทว่า สุเขน อภิสนนา แปลว่า ชุ่มฉ่ําด้วยสุข ในทุติยฌาน. บทว่า ปริสนฺนา แปลว่า ชุ่มฉ่ําโดยทั่วถึง. บทว่า ปริปูรา แปลว่า บริบูรณ์. บทว่า ปริปฺผุฏา เป็นไวพจน์ของคําว่า ปริปูรา นั้นนั่นแหละ. แม้คํานี้ที่ว่าสุขหนอ สุขหนอ ก็ทรงตรัสหมายเอาความสุขอันเป็นตัววิบาก นั้นนั่นเอง. ได้ยินว่า เทพเหล่านั้น เกิดความโลภในภพมากชั้น เพราะฉะนั้น จึงเปล่งอุทานอย่างนั้นในที่บางแห่ง ในบางเวลา. บทว่า สนฺตเมว แปลว่า ประณีตแท้. บทว่า สนฺตุสิตา หมายความว่า เป็นผู้สันโดษ เพราะไม่ต้องการสุขยิ่งขึ้นไปกว่านั้น. สองบทว่า สุขํ ปฏิเวเทนฺติ แปลว่า เสวยสุขในตติยฌาน.

ปัญญาของพระอริยเจ้า ๗ พวก ชื่อว่า เสกขปัญญา ปัญญาของพระอรหันต์เป็นอเสกขปัญญา ปัญญาที่เหลือเป็นเนวเสกขานาเสกขปัญญา (เป็นเสกขปัญญาก็ไม่ใช่ เป็นอเสกขปัญญาก็ไม่ใช่). ในปัญญาที่สําเร็จด้วยความคิด เป็นต้น มีความพิสดารดังต่อไปนี้ ที่ว่าบรรดาปัญญาเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 317

ปัญญาที่สําเร็จด้วยความคิดเป็นไฉน ในบ่อเกิดของการงานที่น้อมนําเข้าไปด้วยปัญญา หรือในบ่อเกิดของศิลปะ ที่น้อมนําเข้าไปด้วยปัญญา หรือในสถานที่ของวิชาที่น้อมนําเข้าไปด้วยปัญญา บุคคลไม่ได้ฟังมาแต่ผู้อื่น กลับได้กัมมัสสกตาญาณ หรือ สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมิกขันติ ทิฏฐิ รุจิ มุนิ เปกขะ ธัมมนิชฌานขันติ เห็นปานนี้ อันใดว่ารูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง นี้เรียกว่า จินตามยปัญญา ในปัญญา ๓ ประการนั้น ปัญญาที่สําเร็จด้วยการฟังเป็นไฉน ในบ่อเกิดของการงานที่น้อมนําเข้าไปด้วยปัญญา ได้ฟังจากผู้อื่นเท่านั้น จึงกลับได้ ฯลฯ ธัมมนิชฌานขันติ นี้เรียกว่า สุตมยปัญญา ในปัญญา ๓ ประการนั้น ปัญญาที่สําเร็จด้วยการเจริญภาวนาเป็นไฉน ปัญญาแม้ทั้งหมดของผู้เข้าสมาบัติชื่อว่า ภาวนามยปัญญา.

บทว่า สุตาวุธํ ได้แก่ อาวุธ คือ สุตะ. อาวุธ คือ สุตะนั้นโดยใจความได้แก่ พระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก. เพราะว่า ภิกษุอาศัยอาวุธนั้น คือ อาศัยอาวุธ ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ครั่นคร้าม ข้ามล่วงสังสารกันดารได้ เหมือนทหารกล้า ไม่ครั่มคร้ามข้ามล่วงมหากันดารได้ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้นแหละ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายอริยสาวกผู้มีสุตะเป็นอาวุธ ย่อมละอกุศล ทํากุศลให้เจริญ ละสิ่งที่มีโทษ ทําสิ่งที่ไม่มีโทษให้เจริญ บริหารตนให้บริสุทธิ์อยู่ดังนี้. บทว่า ปวิเวกาวุธํ ความว่า อาวุธ คือวิเวก แม้สามประการนี้คือ กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก. วิเวก ๓ ประการนั้นมีการกระทําต่างๆ กัน. กายวิเวกสําหรับบุคคลผู้มีกายหลีกออกไป ยินดีในเนกขัมมะ จิตตวิเวกสําหรับบุคคล

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 318

ผู้มีจิตบริสุทธิ์ บรรลุถึงความผ่องแผ้วอย่างยอด และอุปธิวิเวกสําหรับบุคคลผู้ไม่มีอุปธิ ถึงซึ่งวิสังขาร (คือพระนิพพาน). ก็บุคคลผู้ยินดียิ่งแล้วในวิเวก ๓ อย่างนี้ ย่อมไม่กลัวแต่ที่ไหนๆ เพราะฉะนั้น วิเวกแม้นี้ก็เรียกว่าอาวุธ เพราะอรรถว่าเป็นที่พึ่งอาศัย. อาวุธคือปัญญาอันเป็นโลกิยะและโลกุตตระ จัดเป็นอาวุธ คือปัญญา. เพราะว่า บุคคลผู้มีอาวุธ คือ ปัญญานั้น ย่อมไม่กลัวแต่ที่ไหนๆ ทั้งใครๆ ก็ไม่กลัวบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น ปัญญาแม้นั้นก็เรียกว่า อาวุธ เพราะอรรถว่า เป็นที่พึ่งอาศัย.

บทว่า อนฺตฺสฺสามีตินฺทฺริยํ ความว่า อินทรีย์ที่เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติด้วยหวังว่า เรารู้จักธรรมที่ยังไม่รู้ ยังไม่แจ้งในกาลก่อนแต่นี้. คําว่า อนฺตฺตสฺสามีตินฺทฺริยํ นี้ เป็นชื่อของโสดาปัตติมรรคญาณ. บทว่า อฺินฺทฺริยํ ได้แก่ อินทรีย์อันเป็นความรู้ทั่วถึง คือ เป็นความรู้. คําว่า อฺินฺทฺริยํ นี้เป็นชื่อของญาณ ในฐานะ ๖ ประการ เริ่มแต่โสดาปัตติผลไป. บทว่า อฺาตาวินฺทฺริยํ นี้ ได้แก่ อินทรีย์ในธรรมทั้งหลายที่เป็นของท่านผู้รู้ทั่วถึง คือ อันถึงที่สุดกิจของการรู้. คําว่า อฺญาตาวินฺทฺริยํ นี้เป็นชื่อของอรหัตตผลญาณ.

มังสจักขุ ได้แก่ จักขุประสาท. ทิพยจักขุ ได้แก่ ญาณอาศัยแสงสว่าง ปัญญาจักขุ ได้แก่ ปัญญาอันเป็นโลกิยะ และโลกุตตระ.

พึงทราบวินิจฉัยในอธิสีลสิกขาเป็นต้นต่อไป. ศีลอันยิ่งนั้นด้วยชื่อว่า สิกขา เพราะจะต้องศึกษาด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อธิสีลสิกขา. แม้ในสิกขาทั้ง ๒ นอกนั้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ในอธิสีลสิกขาเป็นต้นนั้น ศีล คือศีลอันยิ่ง จิต คือจิตอันยิ่ง ปัญญา ก็คือปัญญาอันยิ่ง เพราะเหตุนั้นพึงทราบความต่างกันเพียงเท่านี้. ศีล ๕ และศีล ๑๐ ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 319

ศีล. ความสํารวมในพระปาฏิโมกข์ ชื่อว่า ศีลอันยิ่ง. สมาบัติ ๘ จัดเป็นจิต (สมาธิ). ฌานอันเป็นบาทของวิปัสสนา จัดเป็นจิตอันยิ่ง. กัมมัสสกตาญาณ จัดเป็นปัญญา. วิปัสสนา จัดเป็นปัญญาอันยิ่ง. เพราะว่าศีล ๕ และศีล ๑๐ ย่อมมีในพุทธุปบาทกาลแม้ยังไม่เกิดขึ้นเพราะเหตุนั้น ศีล ๕ ศีล ๑๐ จึงคงเป็นศีลนั้นแหละ. ปาติโมกขสังวรศีลย่อมมีเฉพาะในพุทธุปบาทกาลเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ปาติโมกขสังวร จึงจัดเป็นศีลอันยิ่ง. แม้ในจิตและปัญญาก็นัยนี้เหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง ศีล ๕ ก็ดี ศีล ๑๐ ก็ดีที่บุคคลปรารถนาพระนิพพานสมาทานแล้ว จัดเป็นศีลอันยิ่งเหมือนกัน แม้สมาบัติ ๘ ที่บุคคลเข้าแล้ว ก็จัดเป็นจิตอันยิ่งเหมือนกัน. หรือว่าโลกิยศีลทั้งหมด เป็นศีลเท่านั้น. (ส่วน) โลกุตตรศีล เป็นศีลอันยิ่ง. แม้ในจิตและปัญญาก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

พึงทราบวินิจฉัยใน ภาวนา ต่อไป. กายอันเป็นไปในทวาร ๕ ของพระขีณาสพ ชื่อว่า กายภาวนา. สมาบัติ ๘ ชื่อว่า จิตตภาวนา. ปัญญาในอรหัตตผล ชื่อว่า ปัญญาภาวนา. ก็พระขีณาสพย่อมเป็นผู้อบรมกายอันเป็นไปในทวาร ๕ มาดีแล้ว โดยส่วนเดียว. สมาบัติ ๘ ของท่านก็ไม่ทุรพลเหมือนของคนอื่น. และปัญญาของท่านเท่านั้น ชื่อว่าอบรมแล้วเพราะความไพบูลย์ด้วยปัญญา. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวอย่างนี้.

พึงทราบวินิจฉัยใน อนุตตริยะ ต่อไป. วิปัสสนาจัดเป็นทัสสนานุตตริยะ มรรคจัดเป็นปฏิปทานุตตริยะ ผลจัดเป็นวิมุตตานุตตริยะ. หรือว่าผลเป็นทัสสนานุตตริยะ มรรคเป็นปฏิปทานุตตริยะ นิพพานเป็นวิมุตตานุตตริยะ. หรือว่า นิพพานจัดเป็นทัสสนานุตตริยะเพราะว่า ธรรมดาสิ่งที่จะพึงเห็นที่ยิ่งไปกว่าพระนิพพานนั้น ย่อมไม่มี มรรคจัดเป็นปฏิปทานุตตริยะ

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 320

ผลจัดเป็นวิมุตตานุตตริยะ. คําว่า อนุตฺตริยํ แปลว่า สูงสุด คือเจริญที่สุด.

พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิต่อไป. สมาธิในปฐมฌาน ที่ทั้งวิตกและวิจาร. โดยปัญจกนัย สมาธิในทุติยฌาน ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร. สมาธิที่เหลือ (จากสมาธิในทุติยฌาน) ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร. กถาในสุญญตะเป็นต้น มี ๓ อย่างคือ โดยความสําเร็จ โดยคุณของตน โดยอารมณ์. ภิกษุรูปหนึ่ง ยึดถือโดยความเป็นอนัตตา เห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมออกไป (คือหลุดพ้น) โดยความเป็นอนัตตา ชื่อว่า (สุญญตะ) โดยความสําเร็จ. วิปัสสนาของท่านชื่อว่า เป็นสุญญตะ เพราะเหตุไร. เพราะกิเลสตัวกระทําไม่ให้เป็นสุญญตะไม่มี. มรรคสมาธิ ชื่อว่าเป็นสุญญตะ เพราะสําเร็จด้วยวิปัสสนา ผลสมาธิ ชื่อว่า เป็นสุญญตะ เพราะสําเร็จด้วยมรรค. รูปอื่นอีก ยึดถือโดยความเป็นของไม่เที่ยง เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงแล้วออกไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง. วิปัสสนาของท่าน ชื่อว่าเป็น อนิมิตตะ. เพราะเหตุไร. เพราะไม่มีกิเลสที่กระทํานิมิต. มรรคสมาธิ ชื่อว่า เป็นอนิมิตตะ เพราะสําเร็จโดยวิปัสสนา ผล ชื่อว่าอนิมิตตะ เพราะสําเร็จโดยมรรค. รูปอื่นอีก ยึดมั่นโดยความเป็นทุกข์ เห็นโดยความเป็นทุกข์ แล้วออกไป (หลุดพ้น) โดยความเป็นทุกข์. วิปัสสนาของท่านชื่อว่า เป็นอัปปณิหิตะหาที่ตั้งมิได้. เพราะเหตุไร. เพราะไม่มีกิเลสตัวที่กระทําปณิธิที่ปรารถนา. มรรคสมาธิ ชื่อว่า เป็นอัปปณิหิตะ เพราะสําเร็จโดยวิปัสสนา ผลชื่อว่า เป็นอัปปณิหิตะ. เพราะสําเร็จโดยมรรค กถาโดยความสําเร็จมีเท่าที่พรรณนามานี้แล. ก็มรรคสมาธิ ชื่อว่า สุญญตะ เพราะว่างเปล่าจากราคะเป็นต้น ชื่อว่า อนิมิตตะ เพราะไม่มีราคะ เป็นนิมิตเป็นต้น ชื่อว่าอัปปณิหิตะ เพราะไม่มีราคะเป็นที่ตั้งอาศัยเป็นต้น กถาโดยคุณของตน

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 321

มีเท่าที่พรรณนามานี้แล. พระนิพพาน ชื่อว่า สุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ เพราะว่างเปล่าจากราคะ เป็นต้น และเพราะไม่มีราคะเป็นต้น เป็นเครื่องหมาย และเป็นที่ตั้งอาศัย. มรรคสมาธิ ซึ่งมีนิพพานนั้นเป็นอารมณ์จึงเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ. กถาว่าโดยอารมณ์มีเพียงเท่านี้.

ธรรมอันทําความสะอาด คือปฏิปทาแห่งความสะอาด ชื่อว่า โสเจยฺยานิ. ก็ในข้อที่ว่าด้วยความสะอาดนี้ พึงทราบความพิสดารด้วยอํานาจสุจริต ๓ ซึ่งตรัสไว้โดยนัยมีอาทิดังนี้ว่า ในความสะอาด ๓ อย่างนั้น ความสะอาดทางกาย เป็นไฉน คือเจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต.

ธรรมอันทําความเป็นมุนีได้แก่ โมเนยฺยปฏิปทา ชื่อว่า โมเนยฺยานิ. ความพิสดารแห่งธรรมอันทําความเป็นมุนีเหล่านั้น ดังนี้ว่า ในความเป็นมุนีเหล่านั้น ความเป็นมุนีทางกาย เป็นไฉน คือการละกายทุจริต ๓ อย่าง เป็นกายโมเนยยะ กายสุจริต ๓ อย่าง เป็นกายโมเนยยะ ญาณมีกายเป็นอารมณ์ เป็นกายโมเนยยะ มรรคอันสหรคตด้วยการกําหนดรู้กายเป็นกายโมเนยยะ การละฉันทราคะในกาย เป็นกายโมเนยยะ การเข้าจตุตถฌาน อันดับเสียซึ่งกายสังขาร เป็นกายโมเนยยะ ในความเป็นมุนีเหล่านั้น ความเป็นมุนีทางวาจาเป็นไฉน การละวจีทุจริต ๔ เป็นวจีโมเนยยะ วจีสุจริต ๔ ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ มรรคอันสหรคต ด้วยการกําหนดรู้วาจา การละฉันทราคะในวาจา การเข้าทุติยฌาน อันดับเสียซึ่งวจีสังขารเป็นวจีโมเนยยะ. ในความเป็นมุนีเหล่านั้น ความเป็นมุนีทางใจเป็นไฉน การละมโนทุจริต ๓ เป็นมโนโมเนยยะ มโนสุจริต ๓ ญาณมีใจเป็นอารมณ์ มรรคอันสหรคตด้วยการกําหนดรู้ใจการละฉันทราคะในใจ การเข้าสัญญา

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 322

เวทยิตนิโรธสมาบัติ อันดับเสียซึ่งจิตตสังขาร เป็นมโนโมเนยยะ.

พึงทราบวินิจฉัยในความเป็นผู้ฉลาดต่อไป. ความเจริญชื่อว่าอายะ. ความไม่เจริญชื่อว่า อปายะ. เหตุแห่งความเจริญ และไม่เจริญนั้นๆ เป็นอุบาย. ความรู้ทั่วถึงความเจริญ ความไม่เจริญ และเหตุแห่งความเจริญและไม่เจริญ เหล่านั้น เป็นความฉลาด. ก็ความพิสดารตรัสไว้ในวิภังค์นั่นแล. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ในความฉลาดเหล่านั้น ความฉลาดในความเจริญเป็นไฉน ปัญญาความรู้ทั่ว ฯลฯ ความเห็นชอบในความเจริญนั้นอันใดว่า เมื่อเรามนสิการถึงธรรมเหล่านี้ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป ก็หรือว่า เมื่อเรามนสิการถึงธรรมเหล่านี้ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความภิญโญภาพ เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ฉลาดในความเจริญ ในความฉลาดเหล่านั้น ความฉลาดในความไม่เจริญเป็นไฉน ปัญญา ความรอบรู้ ฯลฯ ความเห็นชอบในความไม่เจริญนั้น อันใดว่า เมื่อเรามนสิการถึงธรรมเหล่านี้ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิด และกุศลที่เกิดแล้ว ย่อมดับไป ก็หรือว่า เมื่อเรามนสิการถึงธรรมเหล่านี้ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความภิญโญภาพ เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ฉลาดในความไม่เจริญ ปัญญาอันเป็นอุบาย ในความเจริญ และความไม่เจริญนั้น แม้ทั้งหมด เป็นความฉลาดในอุบาย ดังนี้. ก็ความฉลาดในอุบายนี้ พึงทราบด้วยอํานาจการรู้เหตุแห่งฐานะที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขกิจรีบด่วนหรือภัยนั้น ในตอนที่กิจรีบด่วนหรือภัยเกิดขึ้น.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 323

บทว่า มทา แปลว่า เป็นไปด้วยอํานาจแห่งอาการมัวเมา. ในบรรดาความมัวเมาเหล่านั้น การกระทํามานะอย่างนี้ว่า เราเป็นคนไม่มีโรคตั้ง ๖๐ หรือ ๗๐ ปีล่วงไปแล้ว แม้แต่ชิ้นสมอเรายังไม่เคยขบเคี้ยว ส่วนคนอื่นเหล่านี้ เที่ยวพูดว่า ที่โน้นยอกขัด พวกเราจะเคี้ยวกินยาใครอื่น ชื่อว่าเป็นคนไม่มีโรคเหมือนเราดังนี้ ชื่อว่า ความเมาในความเป็นผู้ไม่มีโรค. การที่ยังอยู่ในความเป็นหนุ่มสาว แล้วทํามานะว่า พวกเราจักทําบุญในตอนแก่ ตอนนี้ยังเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ก่อน ดังนี้ ชื่อว่า เมาในความเป็นหนุ่มสาว. การกระทํามานะอย่างนี้ว่า เราเป็นอยู่มานานแล้ว ยังเป็นอยู่นาน จักเป็นอยู่อีกนาน เราอยู่เป็นสุขมาแล้ว กําลังเป็นอยู่อย่างเป็นสุข จักเป็นอยู่อย่างเป็นสุข (ต่อไป) ดังนี้ ชื่อว่า เมาในชีวิต.

พึงทราบวินิจฉัยในความเป็นใหญ่ต่อไป. คุณชาติอันมาแล้วจากความเป็นใหญ่ ชื่อว่า อาธิปเตยยะ. การทําตนให้เป็นใหญ่ คือให้เป็นหัวหน้า อย่างนี้ว่า เราเป็นคนเท่านี้โดยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ ข้อนั้นไม่ควรแก่เรา ดังนี้แล้ว ไม่กระทําความชั่ว ชื่อว่า อัตตาธิปไตย. การทําชาวโลกให้เป็นใหญ่แล้ว ไม่ทําความชั่ว ชื่อว่า โลกาธิปไตย. การทําโลกุตตรธรรมให้เป็นใหญ่แล้วไม่ทําความชั่ว ชื่อว่า ธรรมาธิปไตย.

เหตุของการกล่าวถ้อยคํา ชื่อว่า กถาวัตถุ. สองบทว่า อตีตํ วา อทฺธานํ แปลว่า คติธรรม ที่ล่วงไปแล้ว อธิบายว่า ขันธ์ที่เป็นอดีต. อีกอย่างหนึ่ง พึงแสดงเนื้อความในคําว่า อตีตํ วา อทฺธานํ นี้ โดยนิรุตติปถสูตร (สูตรที่ว่าด้วยหลักภาษา) ซึ่งมีที่มาอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย รูปใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว การนับรูปนั้นว่าได้มีแล้ว การบัญญัติรูปนั้นว่า ได้มีแล้ว การให้ชื่อรูปนั้นว่า ได้มีแล้ว รูปนั้นไม่นับว่า จักมี รูปนั้นไม่นับว่า มีอยู่. บทว่า วิชฺชา ความว่า ชื่อว่า วิชชา

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 324

เพราะอรรถว่า แทงทะลุความมืด. ชื่อว่า วิชชา เพราะอรรถว่า ทําให้รู้แจ้งก็ได้. ก็บุพเพนิวาสานุสสติญาณซึ่งเกิดขึ้นอยู่ ชื่อว่า วิชชา เพราะอรรถว่า ทําลายความมืด ซึ่งตั้งปกปิดขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อน และกระทําขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน ให้รู้แจ้ง. จุตูปปาตญาณ ชื่อว่า วิชชา เพราะอรรถว่า ทําลายความมืดที่ปกปิดจุติ และกระทําจุติ และปฏิสนธินั้นให้รู้แจ้ง. ญาณ ความรู้ในความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ชื่อว่า วิชชา เพราะอรรถว่า ทําลายความมืดที่ปกปิดสัจจะ ๔ และกระทําสัจจะธรรมทั้ง ๔ ให้รู้แจ้ง. พึงทราบวินิจฉัยในวิหารธรรมต่อไป. สมาบัติ ๘ ชื่อว่า ทิพยวิหารธรรม. อัปปมัญญา ๔ ชื่อว่า พรหมวิหารธรรม ผลสมาบัติชื่อว่า อริยวิหารธรรม. ปาฏิหาริย์ทั้งหลาย ทรงให้พิสดารแล้วในเกวัฏฏสูตร. ในคําว่า อิเม โข อาวุโส ดังนี้เป็นต้น พึงประกอบโดยนัยดังกล่าวแล้ว นั่นแล. พระเถระเมื่อกล่าวปัญหา ๑๘๐ ข้อ ด้วยอํานาจ ติกะ ๖๐ ถ้วน จึงได้แสดงสามัคคีรสไว้ ด้วยประการฉะนั้นแล.

จบหมวด ๓

ว่าด้วยธรรมหมวด ๔

พระเถระครั้นแสดงสามัคคีรสด้วยอํานาจหมวด ๓ ด้วยประการดังนี้แล้ว บัดนี้หวังจะแสดงด้วยอํานาจหมวด ๔ จึงเริ่มเทศนาอีก. บรรดา หมวด ๔ เหล่านั้น หมวด ๔ ว่าด้วยสติปัฏฐาน ท่านให้พิสดารแล้วในเบื้องต้นนั่นเอง พึงทราบอธิบายในหมวด ๔ ว่า ด้วยสัมมัปปธาน. ข้อว่า ฉนฺทํ ชเนติ ความว่า ให้เกิดกัตตุกัมยตาฉันทะ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ความพอใจ ความเป็นผู้มีความพอใจ ความเป็นผู้ใคร่จะทําอันใด นั้นจัดเป็นกุศล คือความเป็นผู้มีความพอใจในธรรม. ข้อว่า วายมติ ความว่า

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 325

ทําความพยายาม. ข้อว่า วิริยํ อารภติ ความว่า ทําความเพียรให้เกิดขึ้น. ข้อว่า จิตฺตํ ปคฺคณฺหติ ความว่า ค้ำชูจิตไว้. นี้เป็นความย่อในที่นี้. ส่วนความพิสดาร มาแล้ว ในสัมมัปปธานวิภังค์นั่นเอง. ในอิทธิบาททั้งหลาย พึงทราบอธิบาย ดังต่อไปนี้. สมาธิที่อาศัยฉันทะเป็นไป ชื่อว่าฉันทสมาธิ. สังขารทั้งหลายที่เป็นประธาน ชื่อว่า ปธานสังขาร. ข้อว่า สมนฺนาคตํ ความว่า เข้าถึงแล้วด้วยธรรมเหล่านี้. บาทแห่งฤทธิ์ หรือทางอันเป็นเครื่องถึงซึ่งเป็นความสําเร็จ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อิทธิบาท. แม้ในอิทธิบาทข้อที่เหลือ ก็นัยนั้นเหมือนกัน. นี้เป็นความย่อในที่นี้. ส่วนความพิสดาร มาแล้วในอิทธิบาทวิภังค์นั่นแล. ส่วนเนื้อความของอิทธิบาทนั้นท่านแสดงไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. กถาว่าด้วยฌานท่านให้พิสดารไว้แล้วในวิสุทธิมรรคเหมือนกัน.

ข้อว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหาราย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การอยู่สบายในอัตภาพนี้นั่นเทียว. ผลสมาบัติและฌาน และฌานที่พระขีณาสพให้เกิดขึ้นแล้ว ในเวลาต่อมา ท่านกล่าวไว้ในที่นี้. ข้อว่า อาโลกสฺํ มนสิกโรติ ความว่า ทําไว้ในใจถึงแสงสว่าง มีแสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และแก้วมณี เป็นต้น ทั้งกลางวันหรือกลางคืนว่าอาโลโก ดังนี้. ข้อว่า ทิวาสฺํ อธิฏฺาติ ความว่า ครั้นมนสิการอย่างนี้แล้ว ก็ตั้งสัญญาไว้ว่ากลางวัน ดังนี้. ข้อว่า ยถา ทิวา คถา รตฺตึ ความว่า เห็นแสงสว่างในกลางวันฉันใด ในกลางคืนก็มนสิการไปเหมือนฉันนั้น. ข้อว่า ยถา รตฺตึ ตถา ทิวา ความว่า เห็นแสงสว่างในกลางคืนฉันใด ในกลางวันก็มนสิการไปฉันนั้นเหมือนกัน. ข้อว่า อิติ วิวเฏน เจตสา ความว่า

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 326

มีจิตที่เปิดแล้วอย่างนี้. ข้อว่า อปริโยนทฺเธน ความว่า ไม่ถูกผูกมัดไว้โดยรอบ. ข้อว่า สปฺปภาสํ ความว่า เป็นไปกับแสงสว่าง. ข้อว่า าณทสฺสนปฏิลาภาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การได้ญาณทัสสนะ. ท่านกล่าวอะไรไว้ด้วยคํานี้. ท่านกล่าวถึงแสงสว่างที่เป็นเครื่องบรรเทาถีนมิทธะ หรือแสงสว่างในการบริกรรม. แม้ด้วยคํานี้เป็นอันท่านกล่าวถึงอะไร. เป็นอันท่านกล่าวถึงทิพยจักษุญาณของพระขีณาสพ. อีกอย่างหนึ่งเมื่อทิพยจักษุญาณนั้น มาแล้วก็ตาม ยังไม่มาก็ตาม ท่านหมายถึงสมาบัติที่มีฌานเป็นบาทนั่นแหละ จึงกล่าวคําว่า ยังจิตที่มีแสงสว่างให้เกิดมีขึ้น. ข้อว่า สติสมฺปชฺาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่สติสัมปชัญญะ อันมีสัตว์เป็นที่ตั้ง. ในข้อว่า วิทิตา เวทนา อุปฺปชฺชนฺติ เป็นต้นความว่าวัตถุเป็นอันพระขีณาสพรู้แล้ว อารมณ์ก็เป็นอันรู้แล้ว เวทนาทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ ย่อมตั้งอยู่อย่างนี้ ย่อมดับไปอย่างนี้ เพราะรู้ทั้งวัตถุและอารมณ์. ไม่เฉพาะเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น ท่านกล่าวไว้ในที่นี้ แม้สัญญาเป็นต้นก็เป็นอันรู้ชัดแล้ว ย่อมเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ และย่อมดับไป. อีกอย่างหนึ่ง ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาก็เป็นอันท่านรู้แล้ว ความตั้งอยู่ก็เป็นอันท่านรู้แล้ว. ภิกษุแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความเกิดขึ้นว่า เพราะอวิชชาเกิด เวทนาจึงเกิด เพราะตัณหาเกิด เพราะกรรมเกิด เพราะผัสสะเกิด จึงเกิดเวทนา ชื่อว่าย่อมเห็นความเกิดของเวทนาขันธ์. ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ย่อมเป็นอันท่านทราบแล้วอย่างนี้. ท่านทราบถึงความตั้งอยู่แห่งเวทนาอย่างไร. เมื่อท่านมนสิการอยู่โดยความเป็นของไม่เที่ยง ก็ย่อมเป็นอันทราบถึงความตั้งอยู่โดยความเป็นของสิ้นไป. เมื่อมนสิการอยู่โดยความเป็นทุกข์ ย่อมเป็นอันทราบถึงความตั้งอยู่โดยความเป็นของน่ากลัว.

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 327

เมื่อมนสิการอยู่ โดยความเป็นอนัตตา ก็ย่อมทราบถึงความตั้งอยู่โดยความเป็นของว่างเปล่า. ความตั้งอยู่แห่งเวทนาเป็นอันท่านทราบแล้วอย่างนี้. ท่านย่อมรู้โดยความเป็นของสิ้นไป โดยความเป็นของน่ากลัว โดยความเป็นของว่างเปล่า. ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งเวทนา เป็นอันท่านทราบแล้วอย่างไร. ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งเวทนา ย่อมมีได้อย่างนี้ว่า เพราะอวิชชาดับ เวทนาจึงดับ ฯลฯ ดังนี้. ในข้อนี้บัณฑิตพึงทราบเนื้อความตามนัยแม้นี้. คําว่า รปํ เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้. ข้อว่า อยํ อาวุโส สมาธิภาวนา ความว่า สมาธิภาวนาซึ่งฌานเป็นบาทนี้ ย่อมมีแก่ญาณเป็นเครื่องรู้ถึงความสิ้นอาสวะ. ข้อว่า อปฺปมฺา ความว่า อัปปมัญญา ด้วยอํานาจการไม่ถือเอาประมาณแผ่ไปหมดทั้งสิ้น. ทัสสนภาวนา และวิธีแห่งสมาธิ ซึ่งมีการพรรณนาไปตามลําดับบทแห่งอัปปมัญญาเหล่านั้น ท่านให้พิสดารไว้แล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแล. แม้กถาว่าด้วย อรูป (ฌาน) ท่านก็ให้พิสดารไว้แล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแหละ.

ข้อว่า อปสฺเสนานิ ความว่า ที่สําหรับอิง. ข้อว่า สํขาย ความว่าด้วยญาณฯ ข้อว่า ปฏิเสวติ ความว่า ภิกษุรู้ด้วยญาณแล้ว ย่อมเสพเฉพาะของที่ควรเสพได้เท่านั้น. ก็ความพิสดารแห่งการเสพนั้น พึงทราบโดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงเสพจีวร. ข้อว่า สํขาเยกํ อธิวาเสติ ความว่า ภิกษุรู้ด้วยญาณแล้ว ย่อมอดกลั้นอารมณ์ที่ควรจะอดกลั้นได้นั่นแล. ก็ในข้อนี้ พึงทราบความพิสดารโดยนัย เป็นต้นว่า ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเป็นผู้อดทนต่อความหนาวได้. ข้อว่า ปริวชฺเชติ ความว่า ภิกษุรู้ด้วยญาณแล้ว ย่อมเว้นสิ่งที่ควร เพื่อละเว้น

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 328

นั่นแล. ความพิสดารแห่งการเว้นนั้น พึงทราบโดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมหลีกเลี่ยงช้างดุเสีย. ข้อว่า วิโนเทติ ความว่า ภิกษุรู้ด้วยญาณแล้วย่อมบรรเทาสิ่งควรบรรเทานั่นแล คือไล่ออก นําออกไม่ให้อยู่ในภายใน. ความพิสดารแห่งการบรรเทานั้น พึงทราบโดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุอดกลั้นกามวิตกที่เกิดขึ้นไม่ได้ ดังนี้.

ข้อว่า อริยวํสา ความว่า วงศ์ของพระอริยะ. เหมือนอย่างว่าวงศ์กษัตริย์ วงศ์พราหมณ์ วงศ์แพทย์ วงศ์ศูทร วงศ์สมณะ วงศ์พระราชาฉันใด วงศ์พระอริยะ แบบแผนพระอริยะ ที่ ๘ แม้นี้ ก็ชื่อว่าประเพณีของพระอริยะฉันนั้น. ก็อริยวงศ์นี้นั้นแล ท่านกล่าวว่า เป็นเลิศกว่าวงศ์เหล่านี้ ดุจกลิ่นมีกลิ่นกะลัมพักเป็นต้น เป็นยอดกว่ากลิ่นที่เกิดจากรากเป็นต้น ฉะนั้น. ก็วงศ์เหล่านี้มีอยู่แก่พระอริยะเหล่าใด พระอริยะเหล่านั้นได้แก่คนจําพวกไหน. ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้า ที่ท่านเรียกว่า พระอริยะ. วงศ์ของพระอริยเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อริยวงศ์. จริงอยู่ในกาลก่อนแต่นี้ มีพระพุทธเจ้า ๔ องค์คือ พระพุทธเจ้าตัณหังกร พระพุทธเจ้าเมธังกร พระพุทธเจ้าสรณังกร พระพุทธเจ้าทีปังกร ทรงอุบัติขึ้นแล้ว ในที่สุด สี่อสงไขยกับแสนกัปป พระพุทธเจ้าเหล่านั้นชื่อว่าพระอริยวงศ์ของพระอริยะเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า อริยวงศ์. ในกาลต่อมาแต่การปรินิพพานของพระพุทธเจ้าเหล่าล่วงไปหนึ่งอสงไขย พระพุทธเจ้าพระนามว่า โกณฑัญญะ ทรงอุบัติขึ้นแล้ว ฯลฯ ในกัปปนี้ มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้น ๔ องค์คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเราพระนามว่าโคดมวงศ์ของพระอริยะเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอริยวงศ์. อีกอย่าง

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 329

หนึ่ง วงศ์ของพระอริยะคือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า อริยวงศ์. ก็อริยวงศ์เหล่านี้นั้นแล พึงทราบว่าเป็นวงศ์ชั้นยอดเพราะรู้กันว่า เป็นวงศ์อันล้ำเลิศ พึงทราบว่า เป็นไปตลอดกาลนานเพราะรู้จักกันมานาน พึงทราบว่าเป็นวงศ์ เพราะรู้ว่าเป็นวงศ์. ข้อว่า เป็น วงศ์เก่า ความว่า มิใช่เพิ่งเกิดขึ้นเดี๋ยวนี้. ข้อว่า ไม่กระจัดกระจาย ความว่าไม่เกลื่อนกล่น คือ ไม่ถูกนําออกไป. ข้อว่า อสงฺกิณฺณปุพฺพา ความว่า เป็นวงศ์ไม่เคยถูกนําออกไป เพราะอรรถว่า เป็นวงศ์ไม่เคยเกลื่อนกล่นแม้กับอดีตพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเกลื่อนกล่นกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านี้ได้อย่างไร. ข้อว่า น สํกิยนฺติ ความว่าถึงในบัดนี้ ก็มิได้ถูกนําออกไป. ข้อว่า น สํกิยิสฺสนฺติ ความว่า แม้อันพระพุทธเจ้าในอนาคตทั้งหลาย ก็จักไม่นําออกไป. สมณะและพราหมณ์ ผู้เป็นวิญูเหล่าใดในโลก ก็ไม่ถูกสมณะและพราหมณ์ ผู้เป็นวิญูชนเหล่านั้น สาปแช่งนินทา ติเตียน.

ข้อว่า สนฺตุฏฺโ โหติ ความว่า เป็นผู้สันโดษด้วยอํานาจความสันโดษในปัจจัย. ข้อว่า อิตรีตเรน จีวเรน ความว่า (เป็นผู้สันโดษ) ด้วยบรรดาจีวรที่เนื้อหยาบ ละเอียด เศร้าหมอง ประณีต มั่นคง เก่า ชนิดใดชนิดหนึ่งหามิได้ โดยที่แท้ เป็นผู้สันโดษด้วยบรรดาจีวรตามที่ได้เป็นต้น ชนิดใดชนิดหนึ่งตามแต่จะได้. ก็ในจีวรมีสันโดษ ๓ คือ สันโดษตามได้ สันโดษตามกําลัง สันโดษตามสมควร. แม้ในบิณฑบาตเป็นต้น ก็นัยนั้นเหมือนกัน. กถาโดยพิสดารแห่งสันโดษเหล่านั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในสามัญญผลสูตรนั่นแล. คําว่า เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามที่ได้

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 330

เป็นต้น ชนิดใดชนิดหนึ่ง ท่านกล่าวหมายเอาสันโดษ ๓ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้. ก็ในข้อนี้พึงทราบจีวร พึงทราบเขตแห่งจีวร พึงทราบบังสุกูลจีวร พึงทราบความสันโดษในจีวร พึงทราบธุดงค์ที่เกี่ยวเนื่องกับจีวร.

ข้อว่า จีวรํ ชานิตพฺพํ ความว่า พึงทราบ จีวร ๖ ชนิด มีผ้าเปลือกไม้ เป็นต้น อนุโลมจีวร ๖ ชนิดมีผ้าทุกูลเป็นต้น จีวร ๑๒ ชนิดเหล่านี้ ชื่อว่า กัปปิยจีวร. ส่วนจีวรมีอาทิอย่างนี้ว่า ผ้าคากรอง ผ้าเปลือกปอ ผ้าทอเป็นแผ่น ผ้ากัมพลทอด้วยผมมนุษย์ ผ้ากัมพลทอด้วยขนหางสัตว์ หนังเสือ หนังสัตว์ ปีกนกเค้า ผ้าที่พันด้วยต้นไม้ ผ้าที่ใช้เถาวัลย์ถัก ผ้าที่ทําด้วยตระไคร้น้ำ ผ้าที่ถักด้วยปอกล้วย ผ้าที่สานด้วยดอกไม้ไผ่ ชื่อว่า อกัปปิยจีวร (จีวรที่ไม่สมควรจะใช้).

ข้อว่า จีวรกฺเขตฺตํ ความว่า ชื่อว่า เขตมี ๖ อย่าง เพราะเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า จากสงฆ์ จากคณะ จากญาติ จากมิตร จากทรัพย์ของตนหรือเป็นผ้าบังสุกูล. ส่วนเขต ๘ พึงทราบด้วยอํานาจมาติกา ๘.

ข้อว่า ปํสุกูลํ ความว่า พึงทราบผ้าบังสุกูล ๒๓ ชนิดคือ

๑. ผ้าโสสานิกะ (ผ้าที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า)

๒. ผ้าปาปณิกะ (ผ้าที่เขาทิ้งอยู่ตามทางเข้าตลาด)

๓. ผ้ารถิกะ (ผ้าที่เขาทิ้งอยู่ตามตรอก)

๔. ผู้สังการโจฬกะ (ผ้าที่เขาทิ้งไว้ในกองหยากเยื่อ)

๕. ผ้าโสตถิยะ (ผ้าที่เขาใช้เช็ดครรภ์มลทินแล้วทิ้ง)

๖. ผ้าสินานะ (ผ้าที่เขาผลัดอาบน้ำมนต์แล้วทิ้ง)

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 331

๗. ผ้าติตถะ (ผ้าที่ทิ้งอยู่ตามท่าน้ำ)

๘. ผ้าคตปัจจาคตะ (ผ้าที่ใช้ห่มศพไปป่าช้า แล้วนํากลับมาทิ้งไว้)

๙. ผ้าอัคคิทัฑฒะ (ผ้าถูกไฟไหม้แล้วเขาทิ้งไว้)

๑๐. ผ้าโคขายิตะ (ผ้าที่โคเคี้ยวแล้วเขาทิ้งไว้)

๑๑. ผ้าอุปจิกขายิตะ (ผ้าปลวกกัดแล้วเขาทิ้งไว้)

๑๒. ผ้าอุนธูรขายิตะ (ผ้าหนูกัดแล้วเขาทิ้งไว้)

๑๓. ผ้าอันตัจฉินนะ (ผ้าขาดริมแล้วเขาทิ้งไว้)

๑๔. ผ้าทสัจฉินนะ (ผ้าขาดชายแล้วเขาทิ้งไว้)

๑๕. ผ้าธชาหฏะ (ผ้าที่เขาชักเป็นธงแล้วทิ้งไว้)

๑๖. ผ้าถูปะ (ผ้าที่เขาบูชาจอมปลวกทิ้งไว้)

๑๗. ผ้าสมณจีวร (ผ้าของภิกษุด้วยกัน)

๑๘. ผ้าสามุททิยะ (ผ้าที่คลื่นทะเลซัดขึ้นฝัง)

๑๙. ผ้าอภิเสกิกะ (ผ้าที่เขาทิ้งไว้ในที่ราชาภิเษก)

๒๐. ผ้าปันถิกะ (ผ้าที่ตกอยู่ตามหนทาง ไม่ปรากฏเจ้าของ)

๒๑. ผ้าวาตาหฏะ (ผ้าที่ลมหอบเอาไปไม่มีเจ้าของติดตาม)

๒๒. ผ้าอิทธิมยะ (ผ้าสําหรับเอหิภิกษุ)

๒๓. ผ้าเทวทัตติยะ (ผ้าที่เทวดาถวาย)

ก็บรรดาผ้าเหล่านี้ ผ้าที่ชื่อว่า โสตถิยะ ได้แก่ผ้าสําหรับเช็ดครรภ์มลทิน. ผ้าที่ชื่อว่า คตปัจจาคตะ ได้แก่ ผ้าที่เขาห่มศพนําไปป่าช้าแล้วนํากลับมา. ผ้าที่ชื่อว่า ธชาหฏะ ได้แก่ ผ้าที่เขาชักเป็นธง แล้วภิกษุนํามาจากที่นั้น. ผ้าที่ชื่อว่า ถูปะ ได้แก่ ผ้าที่เขาบูชาจอมปลวก.

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 332

ผ้าที่ชื่อว่า สามุททิยะ ได้แก่ ผ้าที่ถูกคลื่นทะเลชัดขึ้นบก. ผ้าที่ชื่อว่า ปันถิกะ ได้แก่ ผ้าที่คนเดินทางใช้แผ่นหินทุบแล้วห่ม เพราะกลัวโจร. ผ้าที่ชื่อว่า อิทธิมยะ ได้แก่ ผ้าของเอหิภิกขุ. ผ้าที่เหลือปรากฏชัดแล้ว.

ข้อว่า จีวรสนฺโตโส ได้แก่ ความสันโดษในจีวร ๒๐. ก็ในจีวรสันโดษ ๒๐ คือ สันโดษในการตรึก สันโดษในการไป สันโดษในการแสวงหา สันโดษในการได้ สันโดษในการรับแต่พอประมาณ สันโดษในการเว้นจากความอยากได้ สันโดษตามแต่ได้ สันโดษตามกําลัง สันโดษตามความสมควร สันโดษในน้ำ (ซัก) สันโดษในการซัก สันโดษในการทํา สันโดษในปริมาณ สันโดษในด้าย สันโดษในการเย็บ สันโดษในการย้อม สันโดษในการทํากัปปะ สันโดษในการใช้สอย สันโดษในการเว้นจากการสะสม สันโดษในการสละ. บรรดาสันโดษเหล่านั้น ภิกษุผู้ยินดีอยู่จําพรรษาประจําครบไตรมาส จะตรึกเพียงเดือนเดียว ก็ควร. ก็ภิกษุนั้นปวารณาแล้วย่อมทําจีวรในเดือนที่ทําจีวร. ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลย่อมทําโดยครึ่งเดือนเท่านั้น. การตรึกเพียงหนึ่งเดือนหรือครึ่งเดือน ชื่อว่าสันโดษในการตรึก ด้วยประการฉะนี้. ก็ภิกษุผู้สันโดษด้วยการสันโดษในการตรึก พึงเป็นผู้เช่นกับพระบังสุกูลเถระ ผู้จําพรรษาอยู่ในปาจีนขัณฑราชีวิหารเถิด.

มีเรื่องเล่ามาว่า พระเถระมาด้วยความหวังว่า จักไหว้พระเจดีย์ในเจติยบรรพตวิหาร ครั้นไหว้พระเจดีย์แล้ว ก็คิดว่า จีวรของเราเก่าแล้วเราจักได้ในที่อยู่ของภิกษุมาก. ท่านจึงไปยังมหาวิหาร พบพระสังฆเถระแล้วถามถึงที่อยู่ แล้วก็อยู่ในที่นั้น วันรุ่งขึ้น จึงถือเอาจีวรมาไหว้พระ

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 333

เถระ. พระเถระถามว่า อะไรคุณ. ก็ตอบว่า ท่านขอรับ ผมจักไปประตูบ้าน. พระเถระจึงกล่าวว่า คุณ แม้ผมจักไป. จึงกล่าวว่า ดีแล้วขอรับ พลางไปยืนที่ซุ้มประตูด้านต้นมหาโพธิ์ คิดว่า เราจักได้จีวรที่น่าพอใจ ในที่อยู่ของคนผู้มีบุญ แล้วจึงกลับคิดได้ว่า การตรึกของเราไม่บริสุทธิ์ กลับจากที่นั้นทันที รุ่งขึ้นจึงไปยังที่ใกล้เนินมะม่วง รุ่งขึ้นก็กลับจากประตูด้านทิศเหนือของมหาเจดีย์เหมือนอย่างนั้น แม้ในวันที่ ๔ ก็ได้ไปยังสํานักของพระเถระ. พระเถระรู้ว่า ภิกษุนี้จักมีความตรึกไม่บริสุทธิ์ จึงถือเอาจีวร ถามปัญหาพลางเข้าบ้านไปกับเธอทีเดียว. ก็ในคืนนั้น มนุษย์คนหนึ่ง ถูกอุจจาระเบียดเบียนเอา จึงถ่ายอุจจาระลงในผ้าสาฎกนั้นทิ้งผ้าสาฎกนั้นไว้ในกองขยะ. พระบังสุกูลิกเถระเห็นผ้าสาฎกนั้นมีแมลงวันหัวเขียวรุมตอมอยู่ จึงประคองอัญชลี. พระมหาเถระจึงถามว่าทําไมคุณจึงได้ประคองอัญชลีต่อกองหยากเยื่อเล่า. ก็ตอบว่า ท่านขอรับผมมิได้ประคองอัญชลีต่อกองหยากเยื่อดอก ผมประคองอัญชลีต่อพระทศพลพระบิดาของผมต่างหาก ท่านขอรับ การที่ภิกษุถือเอาผ้าบังสุกุลที่เขาห่มซากของนางปุณณทาสีแล้วทิ้งไว้ ไล่ตัวสัตว์เล็กๆ ประมาณทะนานหนึ่งออกมาจากป่าช้า ทําได้ยาก. พระมหาเถระ คิดว่า การตรึกของภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลหมดจดแล้ว. แม้พระเถระผู้ทรงผ้าบังสุกุลยืนอยู่ในที่นั้นนั่นเอง เจริญวิปัสสนาบรรลุผล ๓ ถือเอาผ้าสาฎกผืนนั้นทําเป็นจีวรห่มไปยังปาจีนขัณฑราชีวิหาร บรรลุพระอรหัตต์ซึ่งเป็นผลชั้นเลิศ. ก็การที่ภิกษุเมื่อไปเพื่อต้องการจีวร ไม่ต้องคิดว่า จักได้ที่ไหน แล้วไปโดยมุ่งกรรมฐานเป็นใหญ่ ทีเดียว ชื่อว่า สันโดษในการไป. ก็การที่ภิกษุเมื่อแสวงหา อย่าแสวงหากับใครส่งๆ ไป พาเอาภิกษุผู้เป็นลัชชีมีศีลเป็นที่รัก

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 334

ไปแสวงหา ชื่อว่า สันโดษในการแสวงหา. การที่ภิกษุเมื่อแสวงหาไปอย่างนี้ เห็นคนนําจีวรมาแต่ไกล อย่าตรึกอย่างนี้ว่า จีวรนั่นจักเป็นของน่าพอใจ จีวรนั่นไม่เป็นของน่าพอใจ ดังนี้แล้ว ยินดีด้วยบรรดาจีวรเนื้อหยาบหรือเนื้อละเอียด เป็นต้นตามแต่จะได้ ชื่อว่าสันโดษในการได้. การที่ภิกษุแม้รับเอาจีวรที่ได้แล้วอย่างนี้ ยินดีโดยประมาณที่เพียงพอแก่ตนเท่านั้นว่า ผ้าเท่านี้จักมีเพื่อจีวร ๒ ชั้น ผ้าเท่านี้จักมีเพื่อจีวรชั้นเดียว ชื่อว่า สันโดษในการรับแต่พอประมาณ. ก็การที่ภิกษุเมื่อแสวงหาจีวรไม่ต้องคิดว่า เราจักได้จีวรที่น่าพอใจที่ประตูเรือนของคนโน้น ดังนี้แล้วเที่ยวไปตามลําดับประตู ชื่อว่า สันโดษในการเว้นจากความอยากได้. การที่ภิกษุเมื่อสามารถจะยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยบรรดาจีวรที่เศร้าหมองหรือประณีตอย่างใดอย่างหนึ่ง ยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรตามที่ได้นั่นแหละ ชื่อว่า สันโดษตามได้. การที่ภิกษุรู้ถึงกําลังของตนแล้ว สามารถจะยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรชนิดใด ยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรนั้น ชื่อว่าสันโดษตามกําลัง. การที่ภิกษุให้จีวรที่น่าชอบใจแก่ภิกษุอื่น ตนเองยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สันโดษตามความเหมาะสม. การที่ภิกษุไม่เลือกว่า น้ำที่ไหนน่าพอใจ ที่ไหนไม่น่าพอใจดังนี้แล้ว ซักด้วยน้ำที่พอจะซักได้บางอย่าง ชื่อว่า สันโดษในน้ำ. ก็การที่ภิกษุจะเว้นน้ำที่ขุ่นไปด้วยดินสีเหลือง ดินสอพอง และในหญ้าเน่าเสียก็ควร. ก็การที่ภิกษุเมื่อซักไม่ใช้ไม่ค้อนเป็นต้นทุบ ใช้มือขยําซัก ชื่อว่าสันโดษในการซัก. การที่ภิกษุใส่ใบไม้ลงไปแล้วซักจีวรที่ไม่สะอาดอย่างนั้นแม้ด้วยน้ำร้อนก็ควร. การที่ภิกษุเมื่อซักทําไปอย่างนี้ ไม่ให้ใจกําเริบว่าผ้าผืนนี้เนื้อหยาบ ผ้าผืนนี้เนื้อละเอียด ทําไปโดยทํานองที่เพียงพอนั้น

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 335

แหละ ชื่อว่า สันโดษในการกระทํา. การทําจีวรที่เพียงพอจะปิดมณฑล ๓ ได้นั่นแหละ ชื่อว่า สันโดษในปริมาณ. ก็เพื่อจะทําจีวร การที่ภิกษุไม่กะเกณฑ์ลงไปว่า เราจักแสวงหาด้ายที่ถูกใจดังนี้ แล้วนําด้ายในสถานที่มีตรอกเป็นต้น หรือในเทวสถานมา หรือถือเอาด้ายอย่างใดอย่างหนึ่งนั่นแหละที่เขาวางไว้ใกล้เท้ามากระทํา ชื่อว่า สันโดษในเส้นด้าย. ก็ในเวลาเย็บกุสิพึงสอยได้ ๗ ครั้ง ห่างกันประมาณ ๑ องคุลี. ก็เมื่อภิกษุทําอย่างนี้ ภิกษุรูปใดไม่มีสหาย แม้วัตตเภทก็ไม่มีแก่ภิกษุนั้น. แต่พึงสอย ๗ ครั้ง ประมาณ ๓ องคุลี. ภิกษุผู้กระทําอย่างนี้ พึงมีสหายผู้เดินทางด้วยกันเถิด. ภิกษุใดไม่มีสหาย เป็นวัตตเภทแก่ภิกษุนั้น. นี้ชื่อว่า ความสันโดษในการเย็บ. ก็ภิกษุเมื่อย้อมไม่พึงเที่ยวแสวงหาไทรดําเป็นต้น ได้สิ่งใด บรรดาเปลือกไม้สีดํา เป็นต้น พึงย้อมด้วยเปลือกไม้นั้น. เมื่อไม่ได้ พึงถือเอาน้ำย้อมที่พวกมนุษย์ถือเอาปอในป่าแล้วทิ้งไว้ หรือกากที่พวกภิกษุต้มแล้วทิ้งไว้ ย้อมเถิด. นี้ชื่อว่าความสันโดษในการย้อม. การที่ภิกษุถือเอาบรรดาสีเขียว เปลือกตม สีดํา และสีครามอย่างใดอย่างหนึ่ง ทํากัปปะขนาดเท่าคนนั่งบนหลังช้างมองเห็น ชื่อว่า สันโดษในการทํากัปปะ. การใช้สอยเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ ที่จะทําให้ความอายกําเริบ ชื่อว่า สันโดษในการบริโภค. ก็ภิกษุได้ท่อนผ้าแล้ว แต่ยังไม่ได้ด้าย เข็มหรือ ผู้ (ช่วย) ทํา จะเก็บไว้ก็ควร. เมื่อได้แล้วจะเก็บไว้ไม่ควร. ถ้าประสงค์จะให้จีวรที่ทําเสร็จแล้ว แก่พวกอันเตวาสิกเป็นต้น แต่พวกอันเตวาสิกนั้นไม่อยู่ ควรจะเก็บไว้จนกว่าพวกเขาจะมา พอเมื่อพวกอันเตวาสิกมาถึงพึงให้เถิด เมื่อไม่สามารถจะให้ได้ ก็พึงอธิษฐานไว้ เมื่อมีจีวรอื่น จะ

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 336

อธิษฐานเป็นผ้าปูพื้นก็ควร ก็จีวรที่ไม่ได้อธิษฐานเท่านั้น จึงเป็นสันนิธิจีวรที่อธิษฐานแล้วหาเป็นสันนิธิไม่ พระมหาสิวเถระกล่าวไว้ดังนี้. นี้ชื่อว่าสันโดษในการเว้นจากการสะสม. ภิกษุเมื่อสละ ไม่พึงให้โดยเห็นแก่หน้า. พึงตั้งอยู่ในสาราณียธรรมแล้ว สละเถิด. นี้ชื่อว่าสันโดษในการสละ.

ปังสุกูลิกังคธุดงค์ และเตจีวริกังคธุดงค์ ชื่อว่า ธุดงค์ที่เกี่ยวเนื่องด้วยจีวร. กถาอย่างพิสดารของธุดงค์ทั้ง ๒ นั้น พึงทราบจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค. ภิกษุผู้บําเพ็ญมหาอริยวงศ์ข้อว่า การสันโดษด้วยจีวร ย่อมรักษาธุดงค์ ๒ ข้อนี้ไว้ได้ ด้วยประการฉะนี้. ภิกษุเมื่อรักษาธุดงค์ ๒ ข้อนี้ได้ ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าสันโดษด้วยตามมหาอริยวงศ์ข้อว่า การสันโดษด้วยจีวร.

บทว่า วณฺณวาที พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้. ภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้สันโดษ จริงๆ แต่หากล่าวพรรณนาถึงความสันโดษไม่. อีกรูปหนึ่งไม่เป็นผู้สันโดษ แต่กลับกล่าวพรรณนาถึงความสันโดษ. อีกรูปหนึ่งทั้งไม่สันโดษ ทั้งไม่กล่าวพรรณนาถึงความสันโดษ. อีกรูปหนึ่งทั้งเป็นผู้สันโดษทั้งกล่าวพรรณนาถึงความสันโดษ. เพื่อแสดงเหตุผลข้อนั้น ท่านจึงกล่าวคําว่าเป็นผู้มีปกติกล่าวพรรณนาถึงความสันโดษในจีวรตามมีตามได้. บทว่า อเนสนํ ความว่า การแสวงหาอันไม่สมควร อันต่างด้วยการส่งข่าวสาส์นการเดินทาง และการตามประกอบในกรรมทั้ง ๒ นั้น ซึ่งเป็นการงานของทูต. บทว่า อปฺปฏิรูปํ ความว่า ไม่ควร. บทว่า อลทฺธา จ แปลว่าไม่ได้. ภิกษุผู้สันโดษ ถึงไม่ได้จีวร ก็หาเดือดร้อนเหมือนภิกษุบางรูปคิดว่าเราจักได้จีวรอย่างไรหนอแล้วเข้าพวกกับภิกษุผู้มีบุญ ทําการหลอกลวง

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 337

ย่อมสะดุ้ง ย่อมเดือดร้อนฉันนั้นไม่. บทว่า ลทฺธา จ ความว่าได้โดยชอบธรรม. บทว่า อคธิโต ความว่า ผู้ไม่ถูกความโลภผูกมัดไว้. บทว่า อมุจฺฉิโต ความว่า ไม่ถึงความสยบ เพราะความอยากจัด. บทว่า อนชฺฌาปนฺโน ความว่า ไม่ถูกตัณหาท่วมทับ คือ มัดไว้. บทว่า อาทีนวทสฺสาวี ความว่า เห็นโทษในอาบัติที่ต้องเพราะการแสวงหาอันไม่สมควร และในการบริโภคลาภ ที่ถูกความอยากผูกมัดไว้ บทว่า นิสฺสรณปฺโ ความว่าผู้รู้ถึงการสลัดออกที่ท่านกล่าวไว้ว่า เพียงเพื่อบําบัดความหนาวเป็นต้น. บทว่า อิตรีตรจีวรสนฺตุฏฺิยา ความว่า ด้วยการสันโดษด้วยจีวร อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า เนวตฺตานุกฺกํเสติ ความว่าไม่ทําการยกตนขึ้นว่า เราเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุล เราสมาทาน ปังสุกูลิกังคธุดงค์ ตั้งแต่อยู่ในโรงอุปสมบททีเดียว จะมีใครเหมือนเรา ดังนี้. สองบทว่า น ปรํ วมฺเภติ ความว่า ไม่ข่มผู้อื่นอย่างนี้ว่า ก็ภิกษุพวกอื่นนี้ หาเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลไม่ หรือว่า ภิกษุพวกนี้หามีแม้แต่เพียงปังสุกูลิกังคธุดงค์ไม่ดังนี้. หลายบทว่า โย หิ ตตฺถ ทกฺโข ความว่า ผู้ใดเป็นผู้ขยัน ฉลาดเฉียบแหลม ในการสันโดษด้วยจีวรนั้น หรือในคุณมีความเป็นผู้กล่าวพรรณนาเป็นต้น. บทว่า อนลโส ความว่า เว้นจากความเกียจคร้าน โดยการทําติดต่อ. สองบทว่า สมฺปชาโน ปฏิสฺสโต ความว่า ประกอบด้วยปัญญาในการรู้ตัว และด้วยการระลึกได้. สองบทว่า อริยวํเส ิโต ความว่า ดํารงอยู่ในอริยวงศ์.

ข้อว่า อิตริตเรน ปิณฺฑปาเตน ความว่า ด้วยบิณฑบาตอย่างใดอย่างหนึ่ง. แม้ในข้อนี้ บัณฑิตก็พึงทราบ บิณฑบาต เขตในการเที่ยวบิณฑบาต ความสันโดษในบิณฑบาต ธุดงค์ที่เกี่ยวเนื่องด้วยบิณฑบาต.

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 338

บรรดา ๔ ข้อนั้น ข้อว่า บิณฑบาต ๑๖ อย่างคือข้าวสุก ขนมกุมมาส ข้าวตู ปลา เนื้อ น้ำนม เนยส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ข้าวต้ม ของควรเคี้ยว ของควรลิ้ม ของควรเลีย (ชิม).

ข้อว่า ปิณฺฑปาตกฺเขตฺตํ ความว่า เขตแห่งการเที่ยวบิณฑบาต มี ๑๕ คือ ภัตที่เขาถวายพระสงฆ์ ภัตที่เขาถวายเจาะจง ภัตที่ได้ในที่นิมนต์ ภัตที่เขาถวายพร้อมกับสลาก ภัตที่เขาถวายประจําปักษ์ ภัตที่เขาถวายในวันอุโบสถ ภัตที่เขาถวายในวันปาฏิบท (คือวันขึ้นหรือแรมค่ําหนึ่ง) ภัตที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้จรมา ภัตที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้เตรียมจะไป ภัตที่เขาถวายแก่ภิกษุไข้ ภัตที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้อุปัฏฐากภิกษุไข้ ภัตที่เขาถวายในวิหารใกล้ ภัตที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้เฝ้ากุฏิ ภัตที่เขาถวายประจําวัน ภัตที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้เฝ้าวิหาร.

ข้อว่า ปิณฺฑปาตสนฺโตโส ความว่า สันโดษมี ๑๕ คือ สันโดษในการตรึกในบิณฑบาต สันโดษในการไป สันโดษในการแสวงหา สันโดษในการได้เฉพาะ สันโดษในการรับ สันโดษในการรับแต่พอประมาณ สันโดษในการเว้นจากความอยากได้ สันโดษตามได้ สันโดษตามกําลัง สันโดษตามสมควร สันโดษในการบํารุง สันโดษในการกําหนด สันโดษในการบริโภค สันโดษในการเว้นจากการสะสม สันโดษในการสละ. บรรดาสันโดษเหล่านั้น ภิกษุผู้ยินดีล้างหน้าแล้ว ย่อมตรึก. ก็ภิกษุผู้เที่ยวไปกับคณะ. ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ในเวลาอุปัฏฐากพระเถระในเวลาเย็น ถูกถามว่า พรุ่งนี้พวกเราจักเที่ยวบิณฑบาตที่ไหน ตอบว่าในบ้านชื่อโน้นขอรับ คิดเพียงเท่านี้ จากนั้นไป ก็ไม่พึงตรึก (อีก). ภิกษุผู้เที่ยวไปรูปเดียว พึงยืนตรึกในโรงสําหรับตรึกเถิด. ภิกษุผู้ตรึกเกินกว่านั้น

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 339

ย่อมเป็นผู้เคลื่อน เหินห่างจากอริยวงศ์. ข้อที่ว่ามานี้ ชื่อว่าสันโดษในการตรึก. ก็ภิกษุผู้จะเข้าไปบิณฑบาต ไม่ต้องคิดว่าจักได้ที่ไหน พึงไปโดยมีกรรมฐานเป็นใหญ่เถิด. ข้อนี้ชื่อว่า สันโดษในการไป. ภิกษุผู้แสวงหาไม่ต้องกําหนดว่าเป็นอะไร พึงพาเอาภิกษุผู้เป็นลัชชี มีศีลเป็นที่รักเท่านั้นไปแสวงหาเถิด. ข้อนี้ ชื่อว่า สันโดษในการแสวงหา. ภิกษุเห็นคนนําอาหารมาแต่ไกล ไม่พึงให้เกิดความคิดขึ้นว่า ของนั่นน่าพอใจ ของนั่นไม่น่าพอใจ ดังนี้. นี้ชื่อว่า สันโดษในการได้เฉพาะ. ภิกษุไม่พึงคิดว่าของนี้น่าชอบใจ เราจักรับ ของนี้ไม่น่าชอบใจ เราจะไม่รับ ดังนี้แล้วรับเอาแต่เพียงอาหารพอยังอัตตภาพอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นเถิด. นี้ชื่อว่าสันโดษในการรับ. ก็ในสันโดษข้อนี้ ไทยธรรมมีมาก แต่ทายกต้องการจะถวายแต่น้อยพึงรับเอาแต่น้อย แม้ไทยธรรมก็มีมาก ถึงทายกก็ต้องการจะถวายมาก พึงรับเอาแต่พอประมาณเท่านั้น ไทยธรรมมีไม่มาก ถึงทายกก็ต้องการจะถวายไม่มาก พึงรับเอาแต่น้อย ไทยธรรมมีไม่มาก แต่ทายกต้องการจะถวายมาก ก็พึงรับเอาแต่พอประมาณเท่านั้น. ก็ภิกษุผู้ไม่รู้จักประมาณในการรับย่อมทําความเลื่อมใสของพวกมนุษย์ให้แปดเปื้อน ทําศรัทธาไทยให้ตกไป ไม่กระทําคําสอน ไม่สามารถจะยึดจิตแม้ของมารดาผู้บังเกิดเกล้าได้. ภิกษุพึงรู้จักประมาณเสียก่อนแล้วจึงรับ ด้วยประการฉะนี้แล นี้ชื่อว่า สันโดษในการรับแต่พอประมาณ. ภิกษุไม่ไปยังตระกูลที่มั่งคั่งเท่านั้น พึงไปตามลําดับประตูเถิด. นี้ชื่อว่า สันโดษในการเว้นจากการอยากได้. ยถาลาภสันโดษเป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วในจีวรนั่นแหละ. การที่ภิกษุรู้อุปการอย่างนี้ว่า เราจักฉันบิณฑบาตแล้ว รักษาสมณธรรมดังนี้แล้วฉัน ชื่อว่าอุปการสันโดษ. ภิกษุไม่พึงรับบิณฑบาตที่เขาบรรจุเต็มบาตรแล้วนํามา (ถวาย) เมื่อมีอนุปสัมบัน (ลูกศิษย์) พึงให้อนุปสัมบันนั้น

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 340

นํามา เมื่อไม่มี ก็พึงให้เขานํามาแล้วรับเท่าที่พอรับได้. นี้ชื่อว่า สันโดษในการกําหนด. การที่ภิกษุฉันโดยมนสิการอย่างนี้ว่า การฉันนี้บรรเทาความหิวได้ การออกไปจากภพจะมีได้ในเพราะการฉันนี้ ชื่อว่า สันโดษในการบริโภค. ภิกษุไม่พึงเก็บสะสมไว้ฉัน. นี้ชื่อว่า สันโดษในการเว้นจากการสะสม. ภิกษุไม่พึงเห็นแก่หน้า ตั้งอยู่ในสาราณิยธรรมแล้ว พึงสละเถิด. นี้ชื่อว่า สันโดษในการสละ.

ก็ธุดงค์ ๕ ข้อคือ ปิณฑปาติกังคะ สปทานจาริกังคะ เอกาสนิกังคะ ปัตตปิณฑิกังคะ ขลุปัจฉาภัตติกังคะ เกี่ยวเนื่องกับบิณฑบาต. กถาอย่างพิสดารของธุดงค์ทั้ง ๕ ข้อนั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. ภิกษุผู้บําเพ็ญ มหาอริยวงศ์ ข้อว่า การสันโดษในบิณฑบาต ย่อมรักษาธุดงค์ ๕ ข้อนี้ไว้ได้ ด้วยประการฉะนี้. ภิกษุเมื่อรักษาธุดงค์ ๕ ข้อนี้ได้ ย่อมเป็นผู้สันโดษตามมหาอริยวงศ์ ข้อว่าการสันโดษด้วยบิณฑบาต. บทว่า วณฺณวาที เป็นต้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.

ในบทว่า เสนาสเนน นี้บัณฑิตพึงทราบ เสนาสนะ. เขตแห่งเสนาสนะ ความสันโดษในเสนาสนะ ธุดงค์ที่เกี่ยวกับเสนาสนะ.

บรรดา ๔ ข้อนั้น ข้อว่า เสนาสนํ ความว่า เสนาสนะ มี ๑๕ ชนิด นี้คือเตียง ตั่ง ฟูก หมอน วิหาร เพิง ปราสาท ปราสาทโล้น ถ้ำ ที่เร้น ป้อม เรือนยอดเดียว พุ่มไม้ไผ่ โคนต้นไม้ ก็หรือว่า ที่ที่สมควรแก่ภิกษุ.

ข้อว่า เขตของเสนาสนะ ความว่า เขตมี ๖ คือจากสงฆ์ จากคณะ จากญาติ จากมิตร จากทรัพย์ของตน หรือเขตที่เป็นของบังสุกุล.

ข้อว่า สันโดษในเสนาสนะ ความว่า ในเสนาสนะ มีสันโดษ ๑๕ อย่าง มีสันโดษในการตรึกเป็นต้น. สันโดษเหล่านั้น พึงทราบตาม

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 341

นัยที่กล่าวแล้วในบิณฑบาตนั่นแหละ.

ก็ธุดงค์ ๕ ข้อคือ อารัญญิกังคะ รุกขมูลิกังคะ อัพโภกาสิกังคะ โสสานิกังคะ ยถาสันถติกังคะ เกี่ยวเนื่องด้วยเสนาสนะ กถาอย่างพิสดารของธุดงค์เหล่านั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. ภิกษุผู้บําเพ็ญมหาอริยวงศ์ข้อว่า การสันโดษในเสนาสนะ ย่อมชื่อว่ารักษาธุดงค์ ๕ ข้อนี้ด้วยประการฉะนี้. เมื่อรักษาธุดงค์ ๕ ข้อนี้ได้ จัดว่าเป็นผู้สันโดษตามมหาอริยวงศ์ข้อว่า การสันโดษในเสนาสนะ.

ก็คิลานปัจจัย รวมเข้าในบิณฑบาตนั่นแหละ. ในคิลานปัจจัยนั้นภิกษุพึงเป็นผู้สันโดษด้วยการสันโดษตามได้ สันโดษตามกําลังและสันโดษตามสมควรทีเดียว. ภิกษุ (เมื่อสมาทาน) เนสัชชิกังคธุดงค์ ชื่อว่า ย่อมคบอริยวงค์ข้อว่า การยินดีในภาวนา. สมจริงดังคําที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ในเสนาสนะท่านกล่าวธุดงค์ไว้ ๕ ข้อ ธุดงค์ ๕ ข้ออาศัยอาหาร ข้อหนึ่งเกี่ยวเนื่องกับความเพียร และอีก ๒ ข้อ อาศัยจีวร.

ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ กล่าวอริยวงศ์ข้อว่า การสันโดษในจีวรข้อที่หนึ่งเป็นเหมือนกับจะแบ่งขยายมหาปฐวี เป็นเหมือนกับจะยังท้องน้ำให้เต็ม และเป็นเหมือนกับจะขยายอากาศให้กว้างขวาง กล่าวอริยวงศ์ข้อว่า การสันโดษในบิณฑบาต ข้อที่ ๒ เป็นเหมือนกับจะยังพระจันทร์ให้ตั้งขึ้น และเป็นเหมือนกับจะยังพระอาทิตย์ให้โลดขึ้นมา กล่าวอริยวงศ์ ข้อว่า การสันโดษในเสนาสนะข้อที่ ๓ เป็นเหมือนกับจะ

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 342

ยกเขาสิเนรุขึ้น บัดนี้เพื่อจะกล่าวอริยวงศ์ ข้อว่า ความยินดีในภาวนาข้อที่ ๔ ซึ่งประดับไปด้วยนัยหนึ่งพันจึงเริ่มเทศนาว่า ท่านผู้มีอายุ ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมเป็นผู้ยินดีในการละ ดังนี้.

ในข้อนั้น ความยินดี ชื่อว่า อาราโม อธิบายว่า ความยินดียิ่ง. ภิกษุชื่อว่า ยินดีในการละ เพราะอรรถว่า มีความยินดีในการละ ๕ อย่าง. ภิกษุชื่อว่า ยินดีแล้วในการละเพราะอรรถว่า ยินดีแล้วในการละอย่างนี้ว่า เมื่อละความพอใจในกามได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญเนกขัมมะย่อมยินดี เมื่อละพยาบาทให้ย่อมยินดี ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งหมดได้ย่อมยินดี เมื่อเจริญอรหัตตมรรค ย่อมยินดี. ภิกษุชื่อว่า ยินดีในภาวนา เพราะอรรถว่ามีความยินดีในภาวนา ตามนัยที่กล่าวนั่นแล. ชื่อว่ายินดีแล้วในภาวนา เพราะอรรถว่าเป็นผู้ยินดีแล้วในภาวนา. ก็บรรดาอริยวงศ์ ๔ ข้อเหล่านี้ ด้วยอริยวงศ์ข้างต้น ๓ ข้อแรก เป็นอันท่านกล่าวถึงวินัยปิฎกทั้งสิ้น ด้วยอํานาจแห่งธุดงค์ ๑๓ ข้อ และการสันโดษในปัจจัย ๔. ด้วยอริยวงศ์ข้อว่า การยินดีในภาวนา เป็นอันท่านกล่าวถึงปิฏก ๒ ข้อที่เหลือ. ก็ภิกษุเมื่อกล่าวอริยวงศ์ข้อว่า ความยินดีในภาวนานี้ พึงกล่าวตามบาลีแห่งเนกขัมมะในปฏิสัมภิทามรรค พึงกล่าวโดยบรรยายแห่งทสุตตรสูตรในทีฆนิกาย พึงกล่าวโดยบรรยายแห่งสติปัฏฐานสูตร ในมัชฌิมนิกาย (และ) พึงกล่าวโดยบรรยายแห่งนิเทสในอภิธรรมเถิด.

ใน ๔ ข้อนั้น ข้อว่า ปฏิสัมฺภิทามคฺเค เนกฺขมฺมปาลิยา ความว่าภิกษุพึงกล่าว ตามบาลีแห่งเนกขัมมะ ในปฏิสัมภิทามรรคอย่างนี้ว่า ภิกษุนั้น เมื่อเจริญเนกขัมมะ ย่อมยินดี เมื่อละกามฉันทะได้ ย่อมยินดี เมื่อ

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 343

เจริญความไม่พยาบาท ย่อมยินดี เมื่อละความพยาบาทได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญอาโลกสัญญา ย่อมยินดี เมื่อละถิ่นมิทธะได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญความสงบ ย่อมยินดี เมื่อละอุทธัจจะได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญการกําหนดธรรม ย่อมยินดี เมื่อละวิจิกิจฉาได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญญาณ (ปัญญา) ย่อมยินดี เมื่อละอวิชชาได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญปราโมชย่อมยินดี เมื่อละความไม่ยินดีได้ย่อมยินดี เมื่อเจริญปฐมฌานย่อมยินดี เมื่อละนิวรณ์ ๕ ได้ย่อมยินดี เมื่อเจริญทุติยฌาน ย่อมยินดี เมื่อละวิตกวิจารได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญตติยฌานย่อมยินดี เมื่อละปีติได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญจตุตถฌานย่อมยินดี เมื่อละสุขและทุกข์ได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมยินดี เมื่อละรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ย่อมยินดี เมื่อเจริญวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมยินดี เมื่อละอากิญจัญญายตนสมาบัติได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญอนิจจานุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละนิจจสัญญาได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญทุกขานุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละสุขสัญญาได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญอนัตตานุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละอัตตสัญญาได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญนิพพิทานุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละความพอใจได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญวิราคานุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละราคะได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญนิโรธานุปัสสนาย่อมยินดี เมื่อละสมุทัยได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญปฏินิสสัคคานุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละความยึดถือได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญขยานุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละฆนสัญญาได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญวยานุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละอายูหนะ (การประมวลไว้) ได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญวิปริณามานุปัสสนาย่อมยินดี เมื่อละธุวสัญญา (ความสําคัญว่ายั่งยืน) ได้ ย่อมยินดี เมื่อ

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 344

เจริญอนิมิตตานุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละนิมิตได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญอัปปณิหิตานุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละปณิธิ ย่อมยินดี เมื่อเจริญสุญญตานุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละอภินิเวสได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละสาราทานาภินิเวสได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมยินดี เมื่อละสัมโมหาภินิเวสได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญอาทีนวานุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละอาลยาภินิเวส ย่อมยินดี เมื่อเจริญปฏิสังขาภินิเวส ย่อมยินดี เมื่อละอัปปฏิสังขะได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญวิวัฎฏานุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละสังโยคาภินิเวสได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญโสดาปัตติมรรค ย่อมยินดี เมื่อละกิเลสที่ตั้งอยู่ที่เดียวกับทิฏฐิได้ ย่อมยินดีเมื่อเจริญสกทาคามิมรรค ย่อมยินดี เมื่อละกิเลสอย่างหยาบเสียได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญอนาคามิมรรค ย่อมยินดี เมื่อละกิเลสอย่างละเอียดได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญอรหัตตมรรค ย่อมยินดี เมื่อละกิเลสทั้งหมดได้ย่อมยินดี ดังนี้.

ข้อว่า ทีฆนิกาเย ทสุตฺตรสุตฺตนฺตปริยาเยน กเถตพฺโพ ความว่าพึงกล่าวโดยบรรยายแห่งทสุตตรสูตรในทีฆนิกาย อย่างนี้ว่า ภิกษุเมื่อเจริญธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมยินดี เมื่อละธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมยินดี ฯลฯ เมื่อเจริญธรรมสิบ ย่อมยินดี เมื่อละธรรมได้ ๑๐ ย่อมยินดี ภิกษุเมื่อเจริญธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมยินดีเป็นไฉน เมื่อเจริญกายคตาสติ อันเป็นธรรมที่สหรคตด้วยความยินดี ย่อมยินดี ภิกษุเมื่อเจริญธรรมอย่างหนึ่งนี้ ย่อมยินดี ภิกษุเมื่อละธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมยินดี เป็นไฉน เมื่อละอัสมิมานะได้ ย่อมยินดี ภิกษุเมื่อละธรรมอย่างหนึ่งนี้ได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญธรรม ๒ อย่างย่อมยินดีเป็นไฉน ฯลฯ เมื่อเจริญธรรมสิบอย่างย่อมยินดี เป็นไฉน เมื่อเจริญกสิณสิบ ย่อมยินดี เมื่อเจริญธรรมเหล่านี้ ย่อมยินดี

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 345

เมื่อละธรรมสิบเหล่าไหนได้ ย่อมยินดี เมื่อละมิจฉัตตะสิบได้ ย่อมยินดีเมื่อละธรรมสิบเหล่านี้ได้ ย่อมยินดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ยินดีในภาวนา อย่างนี้แล.

ข้อว่า มชฺฌิมนิกาเยน สติปฏฺานสุตฺตนฺตปริยาเย กเถตพฺโพ ความว่า พึงกล่าวโดยบรรยายแห่งสติปัฏฐานสูตร ในมัชฌิมนิกายอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นหนทางเครื่องดําเนินไปอย่างเอก ฯลฯ เพียงเพื่อความรู้ เพียงเพื่อเป็นที่อาศัยระลึก เธอไม่ติดอาศัยอยู่ และไม่ยึดถืออะไรในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุย่อมเป็นผู้ยินดีในภาวนา เป็นผู้ยินดีแล้วในภาวนา เป็นผู้ยินดีในการละ เป็นผู้ยินดีแล้วในการละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเมื่อกําลังไปก็รู้ว่า เรากําลังไป ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุแม้พึงเหมือนผู้เห็นร่างกายที่ทิ้งไว้ในป่าช้า ฯลฯ เป็นของเปือยเน่า ผุพัง เธอย่อมนําเข้าไปเปรียบเทียบกับกายนี้นี่แหละว่า ร่างกายแม้นี้แลก็มีธรรมอย่างนี้ มีภาวะอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นภาวะอย่างนี้ ไปได้ ดังนี้ เธอย่อมเห็นกายในกายอันเป็นภายใน ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ยินดีในภาวนาแม้อย่างนี้แล.

ข้อว่า อภิธมฺเม นิทฺเทสปริยาเยน ความว่า พึงกล่าวโดยบรรยายแห่งนิเทสในอภิธรรมอย่างนี้ว่า ภิกษุเมื่อเห็นสังขตธรรมแม้ทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นแผล ฝี ฯลฯ เป็นธรรมมีความเศร้าหมอง ย่อมยินดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล ย่อมเป็นผู้ยินดีในภาวนา.

ข้อว่า เนว อตฺตานุกฺกํเสติ ความว่า ภิกษุย่อมไม่ทําการยกตนขึ้นอย่างนี้ว่า เมื่อเราทําการงานในวิปัสสนาว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 346

อนัตตา ตลอด ๖๐ หรือ ๗๐ ปี ในวันนี้จะมีใครเหมือนเรา ดังนี้. ข้อว่า นรํปรํ วมฺเภติ ความว่า ภิกษุย่อมไม่ทําการข่มผู้อื่นอย่างนี้ว่า แม้เพียงเหตุสักว่า วิปัสสนาว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาก็ไม่มี (แก่ภิกษุเหล่านี้) ทําไม ภิกษุเหล่านี้ จึงละทิ้งกรรมฐาน เที่ยวไป ดังนี้. คําที่เหลือมีนัยที่กล่าวแล้วนั่นเอง.

ข้อว่า ปธานานิ ได้แก่ ความเพียรขั้นสูงสุด. ข้อว่า สํวรปธานํ ความว่า ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้สํารวม อายตนะมีจักษุเป็นต้น.

ข้อว่า ปหานปธานํ ความว่า ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ละกามวิตกเป็นต้น. ข้อว่า ภาวนาปธานํ ความว่า ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์. ข้อว่า อนุรกฺขนาปธานํ ความว่า ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ตามรักษาสมาธินิมิต. ในข้อว่า วิเวกนิสฺสิตํ เป็นต้น ความว่า แม้คําทั้ง ๓ คือ วิเวก วิราคะ นิโรธ ก็เป็นชื่อของพระนิพพาน. จริงอยู่พระนิพพานชื่อว่า วิเวก เพราะสงัดจากอุปธิกิเลส ชื่อว่าวิราคะเพราะอรรถว่า กิเลสมีราคะเป็นมาถึงพระนิพพานนั้น ย่อมบําราศไป ชื่อว่า นิโรธ เพราะอรรถว่า ดับ เพราะเหตุนั้นในคําว่า วิเวกนิสฺสิตํ เป็นต้น จึงมีอธิบายว่าอาศัยพระนิพพาน ด้วยอํานาจความเป็นอารมณ์ หรือด้วยอํานาจพึงบรรลุ. ในคําว่า โวสฺสคฺคปริณามี นี้ ความว่า การสละลงมี ๒ อย่าง คือ การสละลงคือการบริจาค ๑ การสละลงคือการแล่นไป ๑. ใน ๒ อย่างนั้น วิปัสสนา ชื่อว่าการสละลงคือการบริจาค เพราะอรรถว่า สละกิเลสและขันธ์ได้ด้วยองค์นั้น. มรรค ชื่อว่าการสละลงคือการแล่นไป เพราะอรรถว่า แล่นไปสู่พระนิพพานโดยความเป็นอารมณ์. เพราะฉะนั้นในข้อว่า โวสฺสคฺคปริณามี นี้จึงมีอธิบายอย่างนี้ว่า สติสัมโพชฌงค์ที่ภิกษุเจริญอยู่

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 347

ย่อมน้อมไปเพื่อความสละลง เธอย่อมบรรลุวิปัสสนาภาวนาและมรรคภาวนา ฉันใด เธอย่อมเจริญโวสสัคคะฉันนั้น ดังนี้. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนั้นเหมือนกัน. สมาธินิมิตอันเจริญ ท่านเรียกว่า ภทฺทกํ. สมาธินั่นแหละ เป็นอันภิกษุบรรลุแล้ว ด้วยอํานาจอัฏฐิกสัญญาเป็นต้น. ข้อว่า อนุรกฺขติ ความว่า เมื่อภิกษุชําระ ราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งเป็นธรรมฝ่ายข้าศึกย่อมรักษาสมาธิไว้ได้. ก็ในข้อนี้ท่านกล่าวสัญญาไว้ ๕ ข้อ มีอัฏฐิกสัญญา เป็นต้น. ก็ในฐานะนี้ ท่านกล่าวอสุภะไว้ครบทั้ง ๑๐ โดยพิสดาร. ความพิสดารของอสุภเหล่านั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแล.

ข้อว่า ธมฺเม าณํ ความว่า ญาณในสัจจธรรมสี่ และญาณในนิโรธธรรมในภายในสัจจสี่ด้วยอํานาจการแทงตลอดเป็นอันเดียวกัน. เหมือนที่กล่าวไว้แล้ว. ถามว่า ในญาณ ๒ นั้น ญาณในธรรมเป็นไฉน ตอบว่า ญาณในมรรค ๔ ผล ๔. ข้อว่า อนฺวเย าณํ ความว่าญาณที่เป็นไปตามญาณนั้นอย่างนี้ว่า ภิกษุเห็นสัจจะ ๔ โดยประจักษ์ในบัดนี้ฉันใด ถึงในอดีต ถึงในอนาคต ก็ฉันนั้น ขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นเอง ชื่อว่า ทุกขสัจจะตัณหานี้นั่นแหละ ชื่อว่าสมุทยสัจจะ นิโรธนี้เทียว ชื่อว่านิโรธสัจจะ มรรคนี้ทีเดียว ชื่อว่ามรรคสัจจะ. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เธอย่อมนํานัยไปในอดีตและอนาคต ด้วยการรู้ การเห็น การบรรลุ การรู้ชัด การหยั่งเห็น ตามธรรมนี้. ข้อว่า ปริจฺเฉเท าณํ ความว่า ญาณในการกําหนดใจของคนพวกอื่น. เหมือนที่ท่านกล่าวไว้แล้ว. บัณฑิตพึงให้ข้อความพิสดารว่า ในญาณนั้นญาณในการกําหนดใจเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ กําหนดใจของสัตว์อื่น บุคคลอื่นได้ด้วยใจ ก็ย่อมรู้ได้ ดังนี้. ก็ญาณที่เหลือเว้นญาณ ๓ เหล่านี้ ชื่อว่าสัมมติญาณ. เหมือนดังท่าน

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 348

กล่าวไว้แล้ว. ในข้อนั้น สัมมติญาณเป็นไฉน ญาณที่เหลือ เว้นญาณในธรรม เว้นญาณในการไปตาม เว้นญาณในการกําหนดใจเสียแล้ว ชื่อว่าสัมมติญาณ ดังนี้. กรรมฐานในสัจจะ ๔ ท่านกล่าวสรุปไว้สําหรับภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งบรรลุอรหัตด้วยญาณในทุกขสัจจะเป็นต้น. บรรดาสัจจะ ๔ นั้นสัจจะ ๒ ข้อเป็นวัฏฏะ อีก ๒ ข้อเป็นวิวัฏฏะ. อภินิเวสะ (ความยึดมั่น) ย่อมมีในวัฏฏะ แต่หามีในวิวัฏฏะไม่. ภิกษุเรียนพระปริยัติในสํานักอาจารย์ชื่อว่า ย่อมทําการงานในสัจจะ ๒. ภิกษุย่อมทํางานในสัจจะ ๒ ข้อด้วยอํานาจการฟังว่า ธรรมดาว่า นิโรธสัจจะเป็นของดี น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ธรรมดาว่า มรรคสัจจะ เป็นของน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ. การแทงตลอดด้วยอํานาจการเรียน การสอบถาม การฟัง การทรงจํา การใคร่ครวญ ในสัจจะ ๒ ย่อมควร. การแทงตลอดด้วยอํานาจการฟังในสัจจะ ๒ ย่อมควร. เธอย่อมแทงตลอด สัจจะ ๓ ด้วยอํานาจกิจ. ย่อมแทงตลอดสัจจะ ๑ ด้วยอํานาจความเป็นอารมณ์. สัจจะ ๒ ข้อเป็นของลึกซึ้งเพราะเห็นได้ยาก. สัจจะ ๒ ข้อ ที่ชื่อว่าเห็นได้ยากเพราะเป็นสภาพลึกซึ้ง.

ข้อว่า โสตาปตฺติยงฺคานิ ความว่า องค์แห่งการบรรลุกระแส. อธิบายว่า เหตุแห่งการได้โสดาปัตติมรรค. ข้อว่า สปฺปุริสสํเสโว ความว่าการเข้าไปคบหาสัตบุรุษ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. ข้อว่า สทฺธมฺมสฺสวนํ ความว่า การฟังธรรมคือ พระไตรปิฏกอันเป็นที่สบาย. ข้อว่า โยนิโสมนสิกาโร ความว่า การทําไว้ในใจด้วยอํานาจอนิจจลักษณะ เป็นต้น. ข้อว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ ความว่า ปฏิบัติ ข้อปฏิบัติอันมีในส่วนเบื้องต้น อันเป็นธรรมไปตามโลกุตตรธรรม. ข้อว่า อเวจฺจปฺปสาเทน

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 349

ความว่า ด้วยศรัทธาอันมั่นคง. พระพุทธคุณว่า อิติปิ โส ภควา ดังนี้เป็นต้น ท่านให้พิสดารไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. หมวดสี่แห่งผล ธาตุ และอาหาร มีเนื้อความง่ายทีเดียว. อีกอย่างหนึ่งในข้อนี้ บัณฑิตพึงทราบความเป็นของหยาบและละเอียด ด้วยอํานาจความเป็นของหยาบและประณีต.

ข้อว่า วิฺาณฏฺิติโย ความว่า ที่ชื่อว่าวิญญาณฐิติ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งของวิญญาณ. คํานี้ท่านกล่าวไว้แล้วด้วยอํานาจเป็นที่ตั้งของอารมณ์. ข้อว่า รูปูปายํ ความว่า เป็นสภาพเข้าถึงรูป. จริงอยู่ อภิสังขารวิญญาณอาศัยรูปขันธ์ ตั้งอยู่ในปัญจโวการภพ. คํานี้ท่านกล่าวหมายถึงวิญญาณนั้น. ข้อว่า รูปารมฺมณํ ความว่า มีรูปขันธ์เป็นอารมณ์. ข้อว่ารูปปฺปติฏฺํ ความว่า เป็นของตั้งอยู่เฉพาะแล้วในรูป. ข้อว่า นนฺทูปเสวนํ ความว่า เป็นของอันความพอใจเข้าไปอาศัย เพราะสัมปยุตด้วยจิตที่สหรคตด้วยโลภะ. นอกนี้ เป็นของถูกส่วนสุดแห่งความประพฤติที่เคยชิน เข้าไปอาศัย. ข้อว่า วุฑฺฒึ วิวุฬฺหึ เวปุลฺลํ อาปชฺชติ ความว่า ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ซึ่งเป็นไปอยู่อย่างนี้ ๖๐ ปีบ้าง ๗๐ ปีบ้าง. นัยแม้ในอุบายแห่งเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้. ก็ในจตุโวการภพ ท่านกล่าวอภิสังขารวิญญาณไว้ด้วยบททั้ง ๓ เหล่านี้. พึงทราบการถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ด้วยอํานาจความเป็นไปตราบเท่าชั่วอายุของวิญญาณนั้น. ท่านไม่กล่าวว่าอุบายแห่งวิญญาณ ดังนี้ เพราะมาแล้วด้วยเทศนา ตามหมวด ๔. ก็เมื่อกล่าวไปอย่างนี้ ก็จะเป็นการฟันเฝือหนักขึ้นว่า ในที่นี้ กัมมวิญญาณเป็นไฉน วิบากวิญญาณเป็นไฉน แม้เพราะเหตุนั้น จึงไม่กล่าวไว้. การถึงอคติท่านให้พิสดารไว้แล้วทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 350

ข้อว่า จีวรเหตุ ความว่า เกิดขึ้นเพราะมีจีวรเป็นเหตุว่า เราจักได้จีวรที่ชอบใจในที่ไหน. อิติศัพท์ในข้อว่า อิติภวาภวเหตุ นี้ เป็นนิบาตลงในการชี้แจง. อธิบายว่า เหตุมีจีวรเป็นต้นเป็นฉันใด เหตุมีภพและอภพเป็นต้น (เหตุที่ประณีตและประณีตกว่า) ก็เป็นฉันนั้น. ในข้อว่าภวาภโว นี้ท่านประสงค์เอาน้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้นที่ประณีตและประณีตกว่า. พึงทราบว่า ก็อริยวงศ์ ๔ ท่านแสดงไว้ตามลําดับทีเดียว เพื่อต้องการละตัณหา และอุปาทาน ๔ เหล่านี้ หมวด ๔ แห่งปฏิปทาท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.

ในการอดทนไม่ได้เป็นต้น มีวิเคราะห์ดังต่อไปนี้. ภิกษุที่ชื่อว่าอักขมา เพราะอรรถว่า อดทนความหนาวเป็นต้นไม่ได้ ในเวลาทําความเพียร. ชื่อว่า ขมา เพราะอรรถว่า ทนได้. การฝึกอินทรีย์ชื่อว่า ทมา. ความสงบวิตก โดยนัยเป็นต้นว่า อดกลั้นกามวิตกที่เกิดขึ้นไม่ได้ชื่อ สมา.

ข้อว่า ธมฺมปทานิ ความว่า ส่วนแห่งธรรม. ความไม่เพ่งเล็งชื่อว่า บทแห่งธรรม อีกอย่างหนึ่งความไม่โลภ โดยมีความไม่โลภเป็นใหญ่ หรือการบรรลุฌานวิปัสสนามรรคผลและนิพพาน ก็ชื่อว่า บทแห่งธรรม ความไม่พยาบาท ชื่อว่า บทแห่งธรรม หรือ ความไม่โกรธโดยมีเมตตาเป็นหลัก หรือ การบรรลุฌานเป็นต้น ชื่อว่า บทแห่งธรรม. สัมมาสติ ชื่อว่าบทแห่งธรรม อีกอย่างหนึ่ง การตั้งสติมั่น โดยมีสติเป็นหลัก หรือการบรรลุฌานเป็นต้น ชื่อว่าบทแห่งธรรม. สัมมาสมาธิ ชื่อว่า บทแห่งธรรม อีกอย่างหนึ่ง สมาบัติด้วยอํานาจสมาบัติ ๘ หรือการบรรลุฌานวิปัสสนามรรคผล และนิพพาน ชื่อว่า บทแห่งธรรม. การบรรลุฌาน

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 351

เป็นต้น ด้วยอํานาจอสุภะ ๑๐ หรือความไม่เพ่งเล็ง ชื่อว่า บทแห่งธรรม. บทแห่งธรรมที่บรรลุด้วยอํานาจพรหมวิหาร ๔ (หรือ) ความไม่พยาบาท ชื่อว่า บทแห่งธรรม. บทแห่งธรรมที่บรรลุด้วยอํานาจ อนุสสติ ๑๐ และอาหารปฏิกูลสัญญา (หรือ) สัมมาสติ ชื่อว่าบทแห่งธรรม. บทแห่งธรรมที่บรรลุด้วยอํานาจกสิณ ๑๐ และอานาปานสติ (หรือ) สัมมาสมาธิชื่อว่าบทแห่งธรรมดังนี้แล.

ในการสมาทานธรรมทั้งหลาย มีเนื้อความดังต่อไปนี้. การสมาทานข้อแรก เป็นปฏิปทาของอเจลกะ. การสมาทานข้อที่ ๒ เป็นการประพฤติพรหมจรรย์อย่างบริสุทธิ์ของบุคคลผู้มีกิเลสกล้า ไม่สามารถจะคว้าเอาพระอรหัตไว้ได้ ร้องไห้น้ำตาเปียกหน้าอยู่. การสมาทานข้อที่ ๓ เป็นการสมาทานที่ตกไปในกามทั้งหลาย. การสมาทานข้อที่ ๔ เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ในศาสนาของบุคคลผู้แม้ไม่ได้ปัจจัยสี่ แต่ก็พรั่งพร้อมไปด้วยความสุข ตามอํานาจฌานและวิปัสสนา.

ในข้อว่า ธมฺมกฺขนฺธา นี้ ได้แก่ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในคุณ คือตั้งอยู่ในขันธ์. ข้อว่า ลีลกฺขนฺโธ ได้แก่ คุณของศีล. ก็ผลของศีลท่านประสงค์เอาในข้อนี้. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ผลนั่นเองท่านกล่าวไว้ในฐานแม้ทั้ง ๔ ด้วยประการฉะนี้.

ข้อว่า พลานิ ความว่า ที่ชื่อว่า กําลังทั้งหลาย เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องช่วยเหลือ และเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว. บัณฑิตพึงทราบความที่กําลังเหล่านั้นเป็นของไม่หวั่นไหว ด้วยธรรมมีโกสัชชะ เป็นต้น ซึ่งเป็น

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 352

ข้าศึกกัน. กําลังแม้ทั้งหมด ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระท่านกล่าวไว้แล้วด้วยอํานาจสมถะ วิปัสสนา และมรรค.

อธิศัพท์ในข้อว่า อธิฏฺานานิ นี้เป็นเพียงอุปสรรค. แต่ว่าโดยความหมายแล้ว ก็มีความหมายว่า เป็นเหตุตั้งอยู่ เป็นที่ตั้งอยู่ของคุณธรรมหรือว่าเป็นฐานะ คือความตั้งใจมั่นของคนที่สร้างสมคุณนั้นๆ. การตั้งใจมั่นคือปัญญา ชื่อว่า ปัญญาธิฏฐาน. ก็ในที่นี้ พระมูสิยาภยเถระ กล่าวไว้ว่าบัณฑิตพึงทราบว่า ปัญญาในมรรคและผล ท่านกล่าวไว้ด้วยอธิษฐานข้อที่หนึ่ง วาจาสัตย์ กล่าวไว้ด้วยอธิษฐานข้อที่สอง การบริจาคอามิส กล่าวไว้ด้วยอธิษฐานข้อที่สาม การสงบกิเลส กล่าวไว้ด้วยอธิษฐานข้อที่สี่ อีกอย่างหนึ่ง ปัญญาในผลเริ่มต้นแต่กัมมัสสกตาปัญญา หรือวิปัสสนาปัญญา กล่าวไว้ด้วยอธิษฐานข้อที่หนึ่ง พระนิพพานซึ่งเป็นปรมัตถสัจจะเริ่มต้นแต่วาจาสัตย์ กล่าวไว้ด้วยอธิษฐานข้อที่สอง การสละกิเลสด้วยอรหัตตมรรค เริ่มต้นแต่การบริจาคอามิส กล่าวไว้ด้วยอธิษฐานข้อที่สาม การสงบกิเลสด้วยอรหัตตมรรค เริ่มต้นแต่การข่มกิเลสได้ด้วยสมาบัติ กล่าวไว้ด้วยอธิษฐานข้อที่สี่ อีกอย่างหนึ่งปัญญาในอรหัตตผล กล่าวไว้ด้วยปัญญาธิฏฐานข้อหนึ่ง ปรมัตถสัจจะ กล่าวไว้ด้วยปัญญาธิฏฐานข้อที่เหลือ อีกอย่างหนึ่ง ปรมัตถสัจจะ กล่าวไว้ด้วยสัจจาธิฏฐานข้อหนึ่ง ปัญญาในอรหัตตผล กล่าวไว้ด้วยปัญญาธิฏฐานที่เหลือ ดังนี้. การพยากรณ์ปัญหา ท่านให้พิสดารแล้วในกถามหานิเทสนั้นแหละ.

ข้อว่า กณฺหํ แปลว่า อกุศลกรรมบถสิบ ซึ่งเป็นธรรมฝ่ายดํา. ข้อว่า กณฺหวิปากํ ได้แก่ ผลของอกุศลกรรม เพราะให้สัตว์ผู้ทําเกิดใน

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 353

อุบาย. ข้อว่า สุกฺกํ ได้แก่ กุศลกรรมบถสิบ ซึ่งเป็นธรรมฝ่ายขาว. ข้อว่า สุกฺกวิปากํ ได้แก่ ผลของกุศลกรรม เพราะให้สัตว์ผู้ทําเกิดในสวรรค์. ข้อว่า กณฺหสุกฺกํ ได้แก่ กรรมที่ระคนกัน. ข้อว่า กณฺหสุกฺกวิปากํ ได้แก่ ผลที่เป็นสุขและเป็นทุกข์. จริงอยู่ บุคคลที่ทํากรรมอันเจือกันไปเกิดในที่แห่งช้างมงคลเป็นต้น ในกําเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เพราะอกุศล เสวยสุขในปัจจุบัน เพราะกุศล. บุคคลผู้เกิดแม้ในราชตระกูลเพราะกุศล ย่อมเสวยทุกข์ในปัจจุบันด้วยอกุศล. ข้อว่า ไม่ดําไม่ขาว ความว่า ท่านประสงค์เอา ญาณในมรรค ๔ อันทําความสิ้นกรรม. จริงอยู่ กรรมนั้นถ้าเป็นกรรมฝ่ายดํา (อกุศล) ก็พึงให้ผลของกรรมฝ่ายดํา ถ้าเป็นกรรมฝ่ายขาว (กุศล) ก็พึงให้ผลของกรรมฝ่ายขาว. กรรมที่ชื่อว่า ไม่ดําไม่ขาวเพราะไม่ให้ผลทั้งสอง เพราะมีผลไม่ดําไม่ขาว ในข้อนี้ มีอธิบายดังว่ามานี้.

ข้อว่า สจฺฉิกรณียานิ ความว่า พึงทําให้แจ้ง โดยทําให้ประจักษ์และโดยการได้เฉพาะ. บทว่า จกฺขุนา ได้แก่ ทิพยจักษุ. ข้อว่า กาเยน ได้แก่ สหชาตนามกาย. ข้อว่า ปฺายได้แก่ ญาณในอรหัตตผล.

ในบทว่า โอฆะ มีวิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่า โอฆะ เพราะอรรถว่า กดคือทําสัตว์ให้จมลงในวัฏฏะ. บรรดาโอฆะนั้น ความกําหนัดที่เกี่ยวเนื่องกับกามคุณ ๕ ชื่อว่า โอฆะ คือ กาม. ความกําหนัดด้วยความพอใจในรูปภพ และอรูปภพ ชื่อว่า โอฆะ คือภพ. ความติดใจในญาน และความกําหนัดที่สหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ ก็เหมือนกัน. ทิฏฐิ ๖๒ ชื่อว่าโอฆะ คือ ทิฏฐิ. ที่ชื่อว่า โยคะ เพราะอรรถว่า ประกอบสัตว์ไว้ในวัฏฏะ. โยคะ เหล่านั้นพึงทราบว่าเหมือนโอฆะ. ที่ชื่อว่า วิสังโยค เพราะอรรถว่า

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 354

ไม่ประกอบสัตว์ไว้. ในวิสังโยคนั้น อสุภฌาน ชื่อว่าการไม่ประกอบไว้ด้วยกามโยคะ อนาคามิมรรค ที่บุคคลบรรลุโดยทําอสุภฌานนั้นให้เป็นบาท ชื่อว่า การไม่ประกอบด้วยกามโยคะ โดยส่วนเดียวทีเดียว. อรหัตตมรรค ชื่อว่าการไม่ประกอบด้วยภวโยคะ. โสดาปัตติมรรค ชื่อว่าการไม่ประกอบในทิฏฐิโยคะ. อรหัตตมรรค ชื่อว่า การไม่ประกอบในอวิชชาโยคะ.

กิเลสที่ชื่อว่า คันถา ด้วยสามารถผูก (สัตว์) ไว้. ที่ชื่อว่ากายคันถะ เพราะอรรถว่า ผูก คือ พัน ได้แก่ ร้อยรัด นามกาย และรูปกายไว้ในวัฏฏะ. ข้อว่า อิทํสจฺจาภินิเวโส ความว่า อภินิเวส คือทิฏฐิที่เป็นไปอย่างนี้ว่า นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น เปล่า ดังนี้.

ข้อว่า อุปาทานานิ ได้แก่ การยึดมั่นถือมั่น. ความกําหนัดชื่อว่ากาม. กามนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า กามุปาทาน เพราะอรรถว่า ถือมั่นด้วยอรรถว่า ยึดไว้. มิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า ทิฏฐิ. ทิฏฐิแม้นั้น ชื่อว่าทิฏุปาทาน เพราะอรรถว่า ถือมั่น ด้วยอรรถว่า ยึดถือไว้. การยึดถือศีลพรตอย่างนี้ว่า ความหมดจดมีได้ด้วยศีลพรตนี้ ชื่อว่าการยึดมั่นศีลพรต. ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้เรียกว่า ตน และเป็นเหตุแห่งการยึดมั่น.

ข้อว่า โยนิโย แปลว่า ส่วนทั้งหลาย. เหล่าสัตว์ที่ชื่อว่า อัณฑชะ เพราะอรรถว่า เกิดในไข่. ชื่อว่า ชลาพุชะ เพราะอรรถว่า เกิดในครรภ์. ชื่อว่า สังเสทชะ เพราะอรรถว่า เกิดในเหงื่อไคล. คํานี้เป็นชื่อของสัตว์ที่เกิดในที่นอน และในที่โสโครก มีปลาเน่า เป็นต้น. ที่ชื่อว่า โอปปาติกะ

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 355

เพราะอรรถว่า เป็นเหมือนมาเกิดขึ้นโดยฉับพลัน. ในข้อนั้น นี้เป็นความแตกต่างกันระหว่าง สัตว์เกิดในเหงื่อไคล กับสัตว์ที่เกิดผุดขึ้นในจําพวกเทวดาและมนุษย์. สัตว์จําพวกสังเสทชะ เกิดเป็นตัวอ่อนเล็กๆ. สัตว์จําพวกโอปปาติกะ เกิดเป็นตัวเท่ากับคนอายุ ๑๖ ปี. จริงอยู่ ในหมู่มนุษย์และภุมมเทวดา ย่อมหากําเนิดสี่ เหล่านี้ได้ครบ. ในจําพวก ครุฑและนาคเป็นต้น ซึ่งเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ก็เหมือนกัน. สมจริงดังพระดํารัสที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาครุฑ และนาคนั้น พวกครุฑซึ่งเป็นสัตว์ในไข่ ย่อมสังหารพวกนาค ซึ่งเป็นสัตว์เกิดในไข่ด้วยกันแต่หาสังหารสัตว์จําพวกชลาพุชะ สังเสทชะ โอปปาติกะ ไม่. เทวดาชั้นสูงๆ ขึ้นไปตั้งแต่ ชั้นจาตุมมหาราชิกา จัดเป็นจําพวกโอปปาติกะทั้งนั้น. สัตว์นรกก็เช่นกัน. ในจําพวกเปรตก็หากําเนิดได้ครบทั้ง ๔. การก้าวลงสู่ครรภ์ ท่านกล่าวไว้แล้วในสัมปสาทนียสูตร นั่นแล.

ในการกลับได้อัตตภาพ สัตว์จําพวกที่หนึ่งพึงทราบด้วยอํานาจการขวนขวายในการเล่น จําพวกที่สอง พึงทราบด้วยอํานาจสัตว์ในภายในเป็นต้น ซึ่งถูกสัตว์ภายในเป็นต้นทําลาย จําพวกที่สาม พึงทราบด้วยอํานาจการประทุษร้ายทางใจ จําพวกที่สี่ พึงทราบด้วยอํานาจเทวดาที่เหลือชั้นสูงขึ้นไปเริ่มตั้งแต่ชั้นจาตุมมหาราชิกา. จริงอยู่ เทวดาเหล่านั้น ย่อมไม่ตายด้วยความจงใจของตนเอง ทั้งไม่ตายด้วยความจงใจของสัตว์อื่น.

ในข้อว่า ทกฺขณาวิสุทฺธิโย มีวิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่า ทักษิณาวิสุทธิ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุ ให้ทักษิณา กล่าวคือ ทาน หมดจดมีผลมาก. ข้อว่า ทายกโต วิสุชฺฌติ โน ปฏิคฺคาหกโต ความว่า ในทักษิณาใด

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 356

ทายกเป็นคนมีศีล ถวายไทยธรรมที่เกิดขึ้นโดยธรรม แต่ปฏิคคาหก (ผู้รับ) เป็นคนทุศีล ทักษิณานี้เป็นเหมือนทักษิณาของพระเวสสันดรมหาราช. ข้อว่า ปฏิคฺคาหกโต วิสุชฺฌติ โน ทายกโต ความว่า ในทักษิณาใดปฏิคคาหก เป็นคนมีศีล แต่ทายกเป็นคนเสียศีล ถวายไทยธรรมที่เกิดขึ้นโดยไม่เป็นธรรม ทักษิณานี้เป็นเหมือนทักษิณาของคนฆ่าโจร. ข้อว่า เนว ทายกโต วิสุชฺฌติ โน ปฏิคฺคาหกโต ความว่า ในทักษิณาใดทั้งสองฝ่าย เป็นคนทุศีล ถึงไทยธรรมก็เกิดโดยไม่เป็นธรรม. จําพวกที่ ๔ พึงทราบโดยปริยายตรงกันข้าม. ข้อว่า สงฺคหวตฺถูนิ ความว่า เหตุแห่งการสงเคราะห์. การสงเคราะห์เหล่านั้น ท่านจําแนกไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.

ข้อว่า อนริยโวหารา ความว่า โวหารของบุคคลผู้มิใช่อริยะ คือของคนลามก. ข้อว่า อริยโวหารา ความว่า โวหารของพระอริยะ คือสัตบุรุษ. ข้อว่า ทิฏฺวาทิตา ความว่า ความเป็นผู้มีปกติกล่าวอย่างนี้ว่าเราเห็นมา เป็นต้น ก็ในข้อนี้ พึงทราบเนื้อความด้วยอํานาจเจตนาเป็นเหตุให้ถ้อยคํานั้นๆ ตั้งขึ้น.

ในจําพวกชนที่มีตปะเป็นของตน เป็นต้น มีอธิบายดังนี้. จําพวกที่หนึ่ง ได้แก่ อเจลกะ. จําพวกที่สองได้แก่ บรรดาคนภายในเป็นต้นคนใดคนหนึ่ง. จําพวกที่สาม ได้แก่คนบูชายัญ. จําพวกที่สี่ ได้แก่ คนผู้ปฏิบัติชอบในศาสนา. ในจําพวกชนผู้ที่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ตนเป็นต้น มีอธิบายดังนี้. จําพวกที่หนึ่ง ได้แก่ คนที่ตนเองเพรียบพร้อมด้วยคุณมีศีลเป็นต้น แต่ไม่ชักชวนคนอื่นในคุณมีศีลเป็นต้น เปรียบเหมือนท่าน

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 357

พระวักกลิเถระฉะนั้น. จําพวกที่สอง ได้แก่ คนที่ตนเองไม่สมบูรณ์ด้วยคุณ มีศีลเป็นต้น แต่ชักชวนคนอื่นในคุณมีศีลเป็นต้น เปรียบเหมือนท่านพระอุปนันทะ ฉะนั้น. จําพวกที่สามได้แก่ คนที่ตนเองก็ไม่สมบูรณ์ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น และไม่ชักชวนคนอื่นในคุณมีศีลเป็นต้น เปรียบเหมือนพระเทวทัตต์ฉะนั้น. จําพวกที่สี่ได้แก่บุคคลที่ตนเองก็สมบูรณ์ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น และทั้งชักชวนคนอื่นในคุณมีศีลเป็นต้น เปรียบเหมือนพระมหากัสสปฉะนั้น.

ในบุคคลที่ชื่อว่า มืด เป็นต้น มีอธิบายดังนี้. ข้อว่า ตโม ได้แก่คนที่มืดสนิท. ข้อว่า ตมปรายโน ความว่า คนที่ชื่อว่า ตมปรายโน เพราะอรรถว่า มีความมืดนั่นแล เป็นทางดําเนินไป คือไปในเบื้องหน้า. ในทุกๆ บทพึงทราบเนื้อความอย่างนี้. ก็ในคนสี่จําพวกนี้ จําพวกที่หนึ่งเกิดในอัตตภาพที่เลว มีการเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง มีตระกูลคนจัณฑาลเป็นต้น ซึ่งเป็นตระกูลต่ํา ทําทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์. จําพวกที่สองก็เป็นคนอย่างนั้น แต่บําเพ็ญสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์. จําพวกที่ ๓ บังเกิดในอัตตภาพที่สมบูรณ์ มีข้าวและน้ำมาก มีตระกูลกษัตริย์เป็นต้น ซึ่งเป็นตระกูลอันโอฬาร แต่ทําทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์. จําพวกที่ ๔ ก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน แต่บําเพ็ญสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์.

ข้อว่า สมณเมจโล ความว่า สมณะผู้ไม่หวั่นไหว. ม อักษรเป็นเพียงบทสนธิ. สมณะผู้ไม่หวั่นไหวนั้น พึงทราบ (ว่า) ได้แก่พระโสดาบัน. จริงอยู่ พระโสดาบัน ชื่อว่า สมณะผู้ไม่หวั่นไหว เพราะอรรถว่า

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 358

เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ด้วยการกล่าวร้ายของคนอื่น เหมือนเสาเขื่อนไม่หวั่นไหวเพราะลมทั้ง ๔ ฉะนั้น เป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธาอันไม่คลอนแคลน. สมจริงตามคําที่ท่านกล่าวไว้แล้ว ความพิสดารว่า ก็บุคคลคนไหนชื่อว่า สมณะผู้ไม่หวั่นไหว บุคคลบางคนในโลกนี้ (ที่ชื่อว่าสมณะผู้ไม่หวั่นไหว) เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓. ส่วนพระสกทาคามี ชื่อว่า สมณะดอกปทุม เพราะอรรถว่า มีราคะ โทสะ และโมหะ เบาบาง. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็บุคคลคนไหนชื่อว่า สมณะดอกปทุม บุคคลบางคนในโลกนี้ มาสู่โลกนี้ ครั้งเดียวเท่านั้น ย่อมทําความสิ้นทุกข์ได้ บุคคลนี้ท่านเรียกว่า สมณะดอกปทุม. พระอนาคามี ชื่อว่า สมณะดอกบุณฑริก เพราะอรรถว่า จักตรัสรู้ (บาน) พลันทีเดียว เพราะไม่มีราคะและโทสะ. เพระเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า บุคคลคนไหน ชื่อว่า สมณะดอกบุณฑริก บุคคลบางคนในโลกนี้ (ละ) สังโยชน์เบื้องต่ํา ๕ ฯลฯ บุคคลนี้ท่านเรียกว่า สมณะดอกบุณฑริก. ส่วนพระอรหันต์ชื่อว่า สมณะสุขุมาล (สมณะผู้ละเอียดอ่อน) ในบรรดาสมณะ (ด้วยกัน) เพราะไม่มีกิเลสทุกอย่างที่ทําให้กระด้าง. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็ในบรรดาสมณะบุคคลคนไหน ชื่อว่า สมณะสุขุมาละ บุคคลบางคนในโลกนี้เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ฯลฯ สําเร็จอยู่ บุคคลนี้ท่านเรียก สมณสุขุมาละ ในบรรดาพระสมณะทั้งหลาย. คําว่า อิเม โข อาวุโส เป็นต้น บัณฑิตพึงประกอบเข้าด้วยกัน ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. พระเถระเมื่อกล่าว (แก้) ปัญหาสองร้อยข้อด้วยสามารถแห่งจตุกห้าสิบถ้วน ด้วยประการฉะนี้ ก็ชื่อว่า แสดงแล้วซึ่งสามัคคีรส ดังนี้แล.

จบหมวด ๔

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 359

ว่าด้วยธรรมหมวด ๕

พระเถระครั้นแสดงสามัคคีรสด้วยอํานาจหมวดสี่ ด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้หวังจะแสดงด้วยอํานาจหมวด ๕ จึงเริ่มเทศนาอีก. ในหมวด ๕ นั้น พึงทราบอธิบายดังนี้. บรรดาขันธ์ ๕ รูปขันธ์เป็นโลกิยะ. ขันธ์ที่เหลือ เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ อุปทานขันธ์ เป็นโลกิยะอย่างเดียว. ก็กถาว่าด้วยขันธ์ ท่านกล่าวไว้โดยพิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค. กามคุณทั้งหลาย ท่านให้พิสดารแล้วในหนหลัง ที่ชื่อว่า คติ เพราะอรรถว่าสัตว์พึงดําเนินไป เพราะกรรมที่ทําดี และกรรมที่ทําไม่ดีเป็นต้น ข้อว่า นิรโย แปลว่า หมดความยินดี. ขันธ์ทั้งหลาย ท่านกล่าวไว้พร้อมกับโอกาส (ที่อยู่) ร่วมกัน. ขันธ์ที่เกิดขึ้นในที่ ๓ แห่งนอกจากนี้ ท่านกล่าวแล้ว. แม้โอกาสท่านก็กล่าวไว้แล้วในขันธ์ที่ ๔.

ความตระหนี่ในอาวาส ชื่อว่า อาวาสมัจฉริยะ ภิกษุผู้ประกอบด้วยอาวาสมัจฉริยะนั้น เห็นอาคันตุกะแล้ว กล่าวคําเป็นต้นว่า ในอาวาสหลังนี้เขาเก็บบริขารของเจดีย์หรือของสงฆ์ไว้ ย่อมกันอาวาสแม้ที่เป็นของสงฆ์. เธอทํากาละแล้ว ย่อมไปเกิดเป็นเปรต หรืองูเหลือม. ความตระหนี่ ในตระกูลชื่อว่า กุลมัจฉริยะ. ภิกษุผู้ประกอบด้วยความตระหนี่ในตระกูลนั้น ย่อมกันภิกษุพวกอื่นจะเข้าไปในตระกูลอุปัฏฐากของตน ด้วยเหตุนั้นๆ. ความตระหนี่ในลาภ ชื่อว่า ลาภมัจฉริยะ. ภิกษุผู้ประกอบด้วยความตระหนี่ในลาภนั้น ตระหนี่ลาภแม้เป็นของสงฆ์ กระทําโดยประการที่ภิกษุพวกอื่นจะไม่ได้. ความตระหนี่ในวรรณะ ชื่อว่า วรรณมัจฉริยะ. ก็ในคําว่า วณฺโณ นี้ บัณฑิตพึงทราบ ทั้งสรีรวรรณะ ทั้งคุณวรรณะ. ความตระหนี่ในปริยัติธรรม ชื่อว่า ธรรมมัจฉริยะ. ภิกษุผู้ประกอบด้วยความตระหนี่ในปริยัติธรรมนั้น ย่อมไม่ให้ (ปริยัติธรรม) แก่ภิกษุอื่นด้วยคิดเสียว่า

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 360

ภิกษุนี้เรียนธรรมนี้แล้วจักข่มเรา. ส่วนภิกษุใดไม่ให้เพราะอนุเคราะห์ธรรม หรืออนุเคราะห์บุคคล อันนั้นไม่จัดเป็นควานตระหนี่ (สําหรับภิกษุนั้น).

ธรรมชาติที่ชื่อว่า นิวรณ์ เพราะอรรถว่า ห้าม คือ ปิดกั้นจิตไว้. กามฉันท์ที่ถึงความเป็นนิวรณ์ ฆ่าด้วยอรหัตตมรรคได้. อนุสัยคือกามราคะที่ถึงความเป็นกามราคสังโยชน์ ฆ่าด้วยอนาคามิมรรคได้. ถีนะเป็นความขัดข้องทางจิต. มิทธะ เป็นความขัดข้องของขันธ์ ๓. ถีนะ และมิทธะ แม้ทั้งสองฆ่าด้วยอรหัตตมรรคได้. อุทธัจจะ ก็เหมือนกัน. กุกกุจจะฆ่าด้วยอนาคามิมรรคได้. วิจิกิจฉา ฆ่าด้วยโสดาปัตติมรรคได้.

ข้อว่า สฺโชนานิ ได้แก่ เครื่องผูกมัด. ก็บรรดาบุคคลที่ถูกสัญโยชน์เหล่านั้นผูกไว้ พระโสดาบัน และพระสกทาคามีซึ่งเกิดในรูปภพและอรูปภพ ชื่อว่า นอนแล้วในภายนอกจากเครื่องผูกในภายใน. จริงอยู่พระโสดาบันและพระสกทาคามีเหล่านั้น ยังมีเครื่องผูกมัดไว้ในกามภพ. พระอนาคามี ชื่อว่า นอนในภายในจากเครื่องผูกในภายนอก ในกามภพ. จริงอยู่ สําหรับพระอนาคามีเหล่านั้น ยังมีเครื่องผูกมัดไว้ในรูปภพ และอรูปภพ. พระโสดาบัน และพระสกทาคามี ชื่อว่านอนในภายในจากเครื่องผูกในภายใน ในกามภพ. พระอนาคามี ชื่อว่า นอนในภายนอกจากเครื่องผูกในภายนอก ในรูปภพ และอรูปภพ. พระขีณาสพ ไม่มีเครื่องมัดไว้ในทุกๆ ภพ.

บทที่พึงศึกษา ชื่อว่า สิกขาบท. อธิบายว่า ส่วนแห่งสิกขา. อีกอย่างหนึ่งว่า บทแห่งสิกขา ชื่อว่า สิกขาบท. อธิบายว่า อุบายเครื่องบรรลุอธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา. นี้เป็นความย่อในที่นี้. ส่วนกถาแห่งสิกขาบท โดยพิสดาร มาแล้วในสิกขาบทวิภังค์ในวิภังค์ปกรณ์นั่นแล.

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 361

คําเป็นต้นว่า อาวุโส ภิกษุผู้ขีณาสพเป็นผู้ไม่ควรที่จะแกล้งฆ่าสัตว์ดังนี้ เป็นหัวข้อแห่งเทศนานั่นแล. ถึงแม้พระโสดาบันเป็นต้น ก็เป็นผู้ไม่ควร. การนินทาและการสรรเสริญ ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ สําหรับปุถุชนและพระขีณาสพ. ธรรมดาว่า ปุถุชน ที่เป็นคนต่ําช้า ย่อมทําแม้การฆ่ามารดาเสียก็ได้. ส่วนพระขีณาสพ เป็นผู้สูงส่ง ย่อมไม่กระทําแม้การฆ่ามดดํามดแดงเป็นต้น.

ในความย่อยยับทั้งหลาย มีเนื้อความดังต่อไปนี้. ข้อว่า พฺยสติ แปลว่า ความฉิบหาย. อธิบายว่า ซัดไป คือ กําจัดประโยชน์เกื้อกูลและความสุขเสีย. ความพินาศแห่งญาติ ชื่อว่า ญาติพยสนะ. อธิบายว่าความพินาศแห่งญาติ เพราะโจรภัย และโรคภัยเป็นต้น. ความพินาศแห่งโภคะ ชื่อว่า โภคพยสนะ. อธิบายว่า ความพินาศแห่งโภคะ ด้วยอํานาจพระราชา และโจรเป็นต้น. ความพินาศคือโรค ชื่อว่า โรคพยสนะ. จริงอยู่ โรคย่อมทําลาย คือ ยังความไม่มีโรคให้พินาศไป เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า พยสนะ. ความพินาศแห่งศีล ชื่อว่า สีลพยสนะ. คํานี้เป็นชื่อของความทุศีล. ความย่อยยับ คือ ทิฏฐิ ซึ่งทําสัมมาทิฏฐิให้พินาศเกิดขึ้น ชื่อว่า ทิฏฐิพยสนะ. ก็ในข้อนี้ ความย่อยยับ ๓ อย่าง มีความย่อยยับแห่งญาติเป็นต้น เป็นอกุศลหามิได้ (ทั้ง) ไม่ทําลายลักษณะ ๓ ด้วย. ความย่อยยับแห่งศีลและทิฏฐิทั้ง ๒ เป็นอกุศลไม่ทําลายลักษณะ ๓. เพราะเหตุนั้น นั่นแหละท่านจึงกล่าวคําเป็นต้นว่า นาวุโส สตฺตาญาติพฺยสนเหตุ วา ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 362

ข้อว่า าติสมฺปทา ความว่า ความถึงพร้อม ความบริบูรณ์ ความมีญาติมาก. แม้ในความถึงพร้อมแห่งโภคะเป็นต้น ก็นัยนี้. ความถึงพร้อมแห่งความเป็นผู้ไม่มีโรค ชื่อว่า อาโรคยสัมปทา ได้แก่ ความเป็นผู้ไม่มีโรคตลอดกาลนาน. แม้ในความถึงพร้อมแห่งศีลและทิฏฐิเป็นต้นก็นัยนี้. แม้ในข้อนี้ ความถึงพร้อมแห่งญาติเป็นต้น ไม่เป็นกุศล ไม่ทําลายลักษณะ ๓. ความถึงพร้อมแห่งศีลและทิฏฐิ เป็นกุศลไม่ทําลายลักษณะ ๓. เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ ท่านจึงกล่าวคําเป็นต้นว่า นาวุโส สตฺตา าติสมฺปทาเหตุ วา. กถาว่าด้วยศีลวิบัติ และศีลสมบัติ ท่านให้พิสดารแล้วในมหาปรินิพพานสูตรแล.

ข้อว่า โจทเกน ความว่า ถูกโจทด้วยเรื่องสําหรับโจท ๔ อย่างคือ การเทียบเคียงเรื่องราว การเทียบเคียงอาบัติ การห้ามการอยู่ร่วม การห้ามสามีจิกรรม. ในข้อว่า กาเลน วกฺขามิ โน อกาเลน ความว่า สําหรับจําเลยต้องบอกเวลาสําหรับโจทก์ไม่ต้อง. จริงอยู่ภิกษุเมื่อจะโจท ผู้อื่นไม่พึงโจทในท่ามกลางบริษัท ในโรงอุโบสถ ในโรงปวารณา หรือในโรงฉัน โรงเลี้ยงเป็นต้น. เวลาที่ท่านนั่งพักในที่พักกลางวัน พึงให้ท่านให้โอกาสเสียก่อนแล้วจึงโจทขึ้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ขอท่านจงให้โอกาส ผมต้องการจะพูดกับท่าน. ก็ครั้นสอบสวนบุคคลแล้ว ผู้ใดเป็นบุคคลเหลาะแหละพูดเท็จ ยกโทษมิใช่ยศขึ้นแก่พวกภิกษุทั้งหลาย ผู้นั้นแม้เว้นการทําโอกาสก็โจทได้. ข้อว่า ภูเตน ความว่า ตามสภาพที่เป็นจริง. ข้อว่า สณฺเหน ความว่า เกลี้ยงเกลา อ่อนโยน. ข้อว่า อตฺถสฺหิเตน ความว่า ด้วยการเข้าถึงโดยความเป็นผู้ใคร่ประโยชน์ ความเป็นผู้ใคร่ความเกื้อกูล.

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 363

ข้อว่า ปธานิยงฺคานิ ความว่า ภาวะที่เป็นที่ตั้ง ท่านเรียกว่าปธาน. ปธานของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้นบุคคลนั้นชื่อว่า ปธานิยะ. องค์แห่งภิกษุผู้มีปาน ชื่อว่า ปธานิยังคะ (องค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร). ข้อว่า สทฺโธ ความว่า ประกอบด้วยศรัทธา. ก็ศรัทธามี ๔ อย่างคือ อาคมนศรัทธา อธิคมนศรัทธา โอกัปปนศรัทธา ปสาทศรัทธา. บรรดาศรัทธา ๔ อย่างนั้น ความเชื่อต่อปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า อาคมนศรัทธา เพราะมาแล้วตั้งแต่ (เริ่มทํา) อภินิหาร. ความเชื่อต่อพระอริยสาวกทั้งหลาย ชื่อว่า. อธิคมนศรัทธาเพราะบรรลุแล้วด้วยการแทงตลอด. เมื่อมีคนกล่าวว่า พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ดังนี้แล้ว การปลงใจลงเชื่อโดยความไม่หวั่นไหว ชื่อว่าโอกัปปนศรัทธา. ความเกิดขึ้นแห่งความเลื่อมใส ชื่อว่า ปสาทศรัทธา. ในที่นี้ท่านประสงค์เอาศรัทธาคือการปลงใจลงเชื่อ. ข้อว่า โพธึ ได้แก่ญาณในมรรคที่ ๔. บุคคลย่อมเชื่อว่า ญาณในมรรคที่ ๔ นั้นเป็นอันพระตถาคตเจ้าตรัสรู้แล้ว. ก็คํานี้เป็นแง่แห่งเทศนานั่นเทียว. ก็ความเชื่อในรัตนะแม้ทั้ง ๓ ประการด้วยองค์นี้ ท่านประสงค์เอาแล้ว. จริงอยู่ ความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ของบุคคลใดเป็นสภาพมีกําลังความเพียรที่ตั้งไว้ของบุคคลนั้น ย่อมสําเร็จได้. ข้อว่า อปฺปาพาโธ แปลว่า ไม่มีโรค. ข้อว่า อปฺปาตงฺโก แปลว่า หมดทุกข์. ข้อว่า สมเวปากินิยา แปลว่า มีผลสุกงอม. ข้อว่า คหณิยา ได้แก่ เตโชธาตุ ซึ่งเกิดแต่กรรม. ข้อว่า นาติสีตาย นาจฺจุณฺหาย ความว่าก็บุคคลที่มีน้ำย่อยออกมาเย็นมาก. ย่อมกลัวต่อความเย็น บุคคลที่มีน้ำย่อยออกมาร้อนมากย่อมกลัวต่อความร้อน. ความเพียรย่อมไม่สําเร็จแก่พวกเขา. สําหรับบุคคล

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 364

ผู้ที่มีน้ำย่อยพอปานกลาง สําเร็จได้. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เหมาะแก่ความเพียรระดับกลาง. ข้อว่า ยถาภูตํ อตฺตานํ อาวิกตฺตา ความว่าประกาศโทษของตนตามที่เป็นจริง. ข้อว่า อุทยตฺถคามินิยา ความว่าสามารถที่จะขึ้นไปและที่จะกําหนดถึงเวลาขึ้นและเวลาตก. อุทยัพยญาณที่กําหนดเอาลักษณะ ๕๐ ประการ ท่านกล่าวไว้ด้วยคํานี้. ข้อว่า อริยาย ความว่า สะอาดหมดจด. ข้อว่า นิพฺเพธิกาย ความว่า สามารถเพื่อแทงตลอดขันธ์มีความโลภ เป็นต้น ซึ่งไม่เคยรู้มาก่อน. ข้อว่า สมฺมาทุกฺขกฺขยคามินิยา ความว่า ทุกข์ใดๆ จะสิ้นไปได้ ดําเนินไปเพื่อความสิ้นทุกข์นั้นๆ เพราะละกิเลสได้ด้วยอํานาจองค์นั้นๆ. วิปัสสนาปัญญาท่านกล่าวไว้ด้วยบทเหล่านี้ทุกบท ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ ความเพียรหาสําเร็จแก่คนทรามปัญญาไม่.

ข้อว่า สุทฺธาวาสา ความว่า พวกพรหมชั้นสุทธาวาส อยู่แล้วกําลังอยู่ หรือจักอยู่ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สุทธาวาส. ข้อว่า สุทฺธา ได้แก่ พระอนาคามี และพระขีณาสพ ซึ่งปราศจากกิเลสมลทิน. คําใดที่พึงกล่าวในข้อว่า อวิหา เป็นต้น คํานั้นท่านกล่าวไว้แล้วในมหาปทานสูตรนั่นแล.

ในบรรดาพระอนาคามีบุคคลทั้งหลาย พึงทราบดังต่อไปนี้. พระอนาคามีผู้ยังไม่ล่วงวัยกลางคน แล้วบรรลุพระอรหัต ซึ่งเป็นการดับกิเลสเสียได้ในระหว่าง ชื่อว่า อันตรปรินิพพายี (ปรินิพพานในระหว่าง). พระอนาคามีผู้ล่วงเลยวัยกลางคนไปแล้วจึงบรรลุชื่อว่า อุปหัจจปรินิพพายี (นิพพานเมื่อล่วงวัยกลางคนแล้ว) พระอนาคามีผู้ไม่ลําบากเพราะไม่ต้องประกอบความเพียร โดยไม่มีสังขาร (เครื่องปรุงแต่งช่วยเหลือ) บรรลุได้

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 365

อย่างง่ายดาย ชื่อว่า อสงฺขารปรินิพฺพายี (นิพพานโดยไม่มีสังขาร). พระอนาคามีผู้ลําบาก เพราะต้องประกอบความเพียร พร้อมกับสังขาร บรรลุได้โดยความลําบาก ชื่อว่า สสังขารปรินิพพายี (ปรินิพพานพร้อมสังขาร). พระอนาคามีทั้ง ๔ เหล่านี้ หาได้ในสุทธาวาสทั้ง ๕ ชั้น. บัณฑิตพึงทราบหมวด ๔ ในข้อว่า อุทฺธํโสโต อกนิฏฺคามี นี้ต่อไป. ก็พระอนาคามีท่านใดชําระเทวโลกสี่ชั้น ตั้งแต่ชั้นอวิหาไปให้หมดจด ไปยังอกนิฏฐภพแล้วปรินิพพาน พระอนาคามีนี้ ชื่อว่า มีกระแสในเบื้องบน ไปยังอกนิฏฐภพ. พระอนาคามีท่านใดไปยังเทวโลกชั้นที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔ ตั้งแต่ชั้นอวิหาไป แล้วปรินิพพาน พระอนาคามีนี้ ชื่อว่า มีกระแสในเบื้องบน ไม่ไปยังอกนิฏฐภพ. พระอนาคามีท่านใด จากกามภพ แล้วเกิดในอกนิฎฐภพแล้วปรินิพพาน พระอนาคามีนี้ ชื่อว่า ไม่มีกระแสในเบื้องบน ไปยังอกนิฏฐภพ. พระอนาคามีท่านใดบังเกิดในที่นั้นๆ นั่นแหละ บรรดาเทวโลก ๔ ชั้นเบื้องล่าง แล้วปรินิพพาน พระอนาคามีนี้ ชื่อว่า มีกระแสในเบื้องบน ไม่ชื่อว่าไปยังอกนิฏฐภพ.

ข้อว่า เจโตขีลา ความว่า ภาวะที่จิตแข็งกระด้าง. ข้อว่า สตฺถริ กงฺขติ ความว่าย่อมสงสัยใน พระสรีระ หรือในพระคุณของพระศาสดา. บุคคลเมื่อสงสัยในพระสรีระย่อมสงสัยไปว่า ขึ้นชื่อว่าสรีระที่ประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ อันประเสริฐ ๓๒ ประการ มีอยู่หรือไม่หนอ. บุคคลผู้สงสัยในพระคุณ. ย่อมสงสัยว่า สัพพัญุตญาณ ที่สามารถจะรู้อดีตอนาคตและปัจจุบัน มีหรือไม่หนอ. ข้อว่า อาตปฺปาย ความว่า เพื่อบําเพ็ญเพียร. ข้อว่า อนุโยคาย ความว่า โดยการประกอบเนืองๆ. ข้อว่า สาตจฺจาย ความว่า โดยกระทําติดต่อ. ข้อว่า ปธานาย ความว่า เพื่อการตั้งไว้. ข้อว่า อยํ ปโม เจโตขีโล นี้ความว่า ความที่จิตกระด้างข้อแรกนี้ได้

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 366

แก่ความสงสัยในพระศาสดา. ข้อว่า ธมฺเม ความว่า ในปริยัติธรรม และปฏิเวธธรรม. บุคคลผู้สงสัยในปริยัติธรรม ย่อมสงสัยว่าคนทั้งหลายพูดกันว่า พระพุทธพจน์คือพระไตรปิฏกมี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระพุทธพจน์นั้นมีอยู่หรือไม่หนอ. บุคคลผู้สงสัยในปฏิเวธธรรม ย่อมสงสัยว่าคนทั้งหลายพากันพูดว่าผลของวิปัสสนา ชื่อว่า มรรค ผลของมรรค ชื่อว่าผล การสละสังขารทั้งปวงเสียได้ชื่อว่า นิพพาน นิพพานนั้นมีอยู่หรือไม่หนอ. ข้อว่า สงฺเฆ กงฺขติ ความว่า ย่อมสงสัยว่าประชุมแห่งบุคคลผู้ปฏิบัติปฏิทาอย่างนี้ ด้วยอํานาจแห่งบทเป็นต้นว่า อุชุปฏิปนฺโน ดังนี้มี ๘ คือ พระผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ พระผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ ชื่อว่า พระสงฆ์ พระสงฆ์นั้นมีอยู่หรือไม่หนอ. บุคคลผู้สงสัยในสิกขา ย่อมสงสัยว่า คนทั้งหลายพูดว่า ชื่อว่าอธิสีลสิกขา ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา สิกขานั้นมีอยู่หรือไม่หนอ. ข้อว่า อยํ ปฺจโม นี้ความว่า ภาวะที่จิตแข็ง ภาวะที่จิตเป็นดุจกองหยากเยื่อ ภาวะที่จิตเป็นดุจตอนี้เป็นที่ ๕ ได้แก่ความโกรธเคืองในเรื่องพรหมจารีทั้งหลาย.

ข้อว่า เจตโส วินิพนฺธา ความว่า เหล่ากิเลสที่ชื่อว่า เป็นเครื่องผูกมัดจิตไว้ เพราะอรรถว่า ผูกจิตยึดไว้ เหมือนทําไว้ในกํามือฉะนั้น. ข้อว่า กาเมสุ ความว่า ทั้งในวัตถุกาม ทั้งในกิเลสกาม. ข้อว่า กาเยได้แก่ กรัชกายของตน. ข้อว่า รูเป ได้แก่ รูปภายนอก. ข้อว่า ยาวทตฺถํ ความว่า เท่าที่ต้องการ. ข้อว่า อุทราวเทหกํ ความว่า เต็มท้อง. จริงอยู่ท้องนั้นท่านเรียกว่า อุทราวเทหกัง เพราะเลี้ยงร่างกายไว้. ข้อว่า เสยฺยสุขํ ความว่า มีความสุขเพราะเตียงและตั่ง. ข้อว่า ปสฺสสุขํ ความว่า สําหรับบุคคลผู้นอนกลิ้งไปตามสบาย นอนตะแคงขวา หรือนอนตะแคงซ้าย ก็มี

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 367

ความสุข ความสุขเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้. ข้อว่า มิทฺธสุขํ ความว่า สุขอันเกิดจากความหลับ. ข้อว่า อนุยุตฺโต ความว่า ประกอบสิ่งที่สมควรอยู่. ข้อว่า ปณิธาย ความว่า ตั้งไว้แล้ว. ข้อว่า พฺรหฺมจริเยน ความว่าประพฤติพรหมจรรย์งดเว้นเมถุน. ข้อว่า เทโว วา ภวิสฺสามิ ความว่าเราจักเป็นเทพผู้มีศักดิ์ใหญ่หรือ. ข้อว่า เทวฺตโร วา ความว่า หรือว่าบรรดาเทพผู้มีศักดิ์น้อยทั้งหลาย เทพองค์ใดองค์หนึ่ง.

พึงทราบวินิจฉัยในอินทรีย์ทั้งหลายต่อไป. อินทรีย์ที่เป็นโลกิยะเท่านั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในปัญจกะที่หนึ่ง. ปฐมฌาน ทุติยฌาน และจตุตถฌานที่เป็นโลกิยะ ท่านกล่าวไว้แล้วในปัญจกะที่ ๒ ตติยฌานและปัญจมฌาน เป็นทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ (ท่านก็กล่าวไว้ในปัญจกะที่ ๒). ที่เป็นโลกิยะ และโลกุตตระ ท่านกล่าวไว้ในปัญจกะที่ ๓ ด้วยอํานาจสมถะ วิปัสสนา และมรรค.

ข้อว่า นิสฺสารณียา ความว่า แล่นออกไป คือ หมดความทรงจํา. ข้อว่า ธาตุโย ได้แก่ สภาวะที่ว่างจากตัวตน. ข้อว่า กามํ มนสิกโรติ ความว่า นึกถึงแต่เรื่องกาม. อธิบายว่า ออกจากอสุภฌานแล้ว ส่งจิตมุ่งต่อกาม เพื่อจะทดลองดู เหมือนคนจับงูแล้วจะทดลองพิษดูฉะนั้น. ข้อว่า น ปกฺขนฺทติ ความว่า ไม่เข้าไป. ข้อว่า น ปสีทติ ความว่าไม่ถึงกับเลื่อมใส. ข้อว่า น สนฺติฏฺติ ความว่า ตั้งอยู่ไม่ได้. ข้อว่า วิมุจฺจติ ความว่า ไม่หลุดพ้นไปได้. ขนปีกไก่ หรือท่อนเอ็นที่คนโยนเข้าในไฟ ย่อมหงิก งอ ม้วนเข้า คือไม่เหยียดออก ฉันใด จิตนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมหดหู่ ไม่ร่าเริง. ในข้อว่า เนกฺขมฺมํ โข ปน นี้ ความว่า ปฐมฌานในอสุภ ๑๐ ชื่อว่า เนกขัมมะ. เมื่อบุคคลนั้นมนสิการถึงปฐมฌานนั้น จิตก็ย่อมแล่นไป. ข้อว่า ตสฺส ตํ จิตฺตํ ความว่า

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 368

อสุภฌาน จิตดวงนั้นของบุคคลนั้น. ข้อว่า สุคตํ ความว่า ดําเนินไปดีเพราะไปในโคจร. ข้อว่า สุภาวิตํ ความว่า อบรมมาอย่างดี เพราะเป็นส่วนที่ไม่เลวทราม. ข้อว่า สุวุฏฺิตํ ความว่า ออกจากกามได้ด้วยดี. ข้อว่า สุวิมุตฺตํ ความว่า พ้นเด็ดขาดด้วยดีจากกามทั้งหลาย. อาสวะ ๔ ที่มีกามเป็นเหตุ ชื่อว่า อาสวะมีกามเป็นปัจจัย. ข้อว่า วิฆาตา แปลว่าเป็นทุกข์. ข้อว่า ปริฬาหา ความว่า เร่าร้อนเพราะกามระคะ. ข้อว่า น โส ตํ เวทนํ เวเทติ ความว่า บุคคลนั้น ย่อมไม่เสวยเวทนาอันเกิดจากความใคร่ และเวทนาอันเกิดจากความคับแค้น และความเดือดร้อนนั้น. ข้อว่า อิทมกฺขาตํ กามานํ นิสฺสรณํ ความว่า อสุภฌานนี้ท่านกล่าวว่า เป็นเครื่องสลัดกามออกไป เพราะสลัดออกไปจากกามทั้งหลาย. ก็บุคคลใดทําฌานนั้นให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลายบรรลุมรรคที่ ๓ เห็นพระนิพพานด้วยอนาคามิผล รู้ว่า ชื่อว่า กามทั้งหลายไม่มีอีก จิตของบุคคลนั้น ก็เป็นอันสลัดออกไปได้อย่างแน่นอน (จากกามทั้งหลาย). แม้ในบททั้งหลายที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. อันนี้เป็นข้อที่แตกต่างกัน. ในวาระที่ ๒ เมตตาฌาน ชื่อว่า เป็นการสลัดพยาบาทออกไป. ในวาระที่ ๓ กรุณาฌาน ชื่อว่า การสลัดออกไปจากความเบียดเบียน. ในวาระที่ ๔ อรูปฌาน ชื่อว่า การสลัดออกไปซึ่งรูป. ก็ในข้อนี้ พึงประกอบอรหัตตผลเข้าในการสลัดออกได้อย่างแน่นอน พึงทราบอธิบายในวาระที่ ๕ ต่อไป. ข้อว่า สกฺกายํ มนสิกโรโต ความว่า พระขีณาสพสุกขวิปัสสก กําหนดเอาสังขารที่ หมดจดแล้วบรรลุพระอรหัตออกจากผลสมาบัติ ส่งจิตมุ่งตรงไปยังอุปาทาน ขันธ์ ๕ เพื่อจะทดลองดู. ข้อว่า อิทมกฺขาตํ สกฺกายสฺส นิสฺสรณํ นี้ ความว่าจิตที่สัมปยุตด้วยอรหัตตผลสมาบัติเกิดขึ้นว่า ร่างกายของเราจะไม่มีอีก

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 369

ต่อไปของภิกษุผู้เห็นพระนิพพานด้วยอรหัตตมรรค และอรหัตตผล ท่านเรียกว่า การสลัดออกซึ่งกายของตน.

ข้อว่า วิมุตฺตายตนานิ ความว่า เหตุแห่งการหลุดพ้น. ข้อว่า อตฺถปฏิสํเวทิโน ความว่า รู้อรรถแห่งพระบาลี. ข้อว่า ธมฺมปฏิสํเวทิโน ความว่า รู้พระบาลี. ข้อว่า ปาโมชฺชํ ได้แก่ ปิติอย่างอ่อน. ข้อว่า ปิติ ความว่า ปิติอย่างรุนแรงอันเป็นเหตุแห่งอาการยินดี. ข้อว่า กาโย ความว่านามกายย่อมสงบ. ข้อว่า สุขํ เวเทติ ความว่า ได้รับความสุข. ข้อว่า จิตฺตํ สมาธิยติ ความว่า จิตตั้งมั่น ด้วยอรหัตตผลสมาธิ. ก็บุคคลนี้เมื่อฟังธรรมนั้นย่อมรู้ฌานวิปัสสนามรรค และผลในฐานที่มาแล้ว และมาแล้ว. เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ ปิติย่อมเกิดขึ้น. เธอไม่ยอมให้ปิตินั้นลดถอยลงเสียในระหว่าง เป็นผู้ประกอบไปด้วย อุปจารกัมมัฏฐาน เจริญวิปัสสนาย่อมบรรลุพระอรหัต คําว่า จิตตั้งมั่นดังนี้ ท่านกล่าวหมายเอาพระอรหัตนั้น. แม้ในคําที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. นี้เป็นข้อที่แตกต่างกัน. ข้อว่า สมาธินิมิตฺตํ ความว่า บรรดาอารมณ์ ๓๘ สมาธิอย่างใดอย่างหนึ่งนั่นเอง ชื่อว่า สมาธินิมิต. ข้อว่า สุคหิตํ โหติ ความว่า เมื่อเธอเรียนเอากรรมฐานในสํานักอาจารย์ก็ชื่อว่า เป็นอันเรียนอย่างดี. ข้อว่า สุมนสิกตํ ความว่า ทําไว้ในใจอย่างดี. ข้อว่า สุปธาริตํ ความว่า จําทรงไว้ได้อย่างดี. ข้อว่า สุปฏิวทฺธํ ปฺาย ความว่า ทําให้ประจักษ์ด้วยดีด้วยปัญญา. ข้อว่า ตสฺมึ ธมฺเม ความว่า ธรรมในพระบาลีว่าด้วยเรื่องกรรมฐานนั้น.

ข้อว่า วิมุตฺติปริปาจนิยา ความว่า ความหลุดพ้น ท่านเรียกว่าอรหัต คุณธรรมเหล่าใดย่อมอบรมพระอรหัตต์นั้น เพราะเหตุนั้น คุณธรรมนั้น จึงชื่อว่า วิมุตติปริปาจนิยา. บทว่า อนิจฺจสฺา ความว่า

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 370

สัญญาซึ่งเกิดขึ้นในอนิจจานุปัสสนาญาณ. ข้อว่า อนิจฺเจ ทุกฺขสฺ ความว่า สัญญาซึ่งเกิดขึ้นในทุกขานุปัสสนาญาณ. ข้อว่า ทุกฺเข อนตฺตสฺา ความว่า สัญญาซึ่งเกิดขึ้นในอนัตตานุปัสสนาญาณ. ข้อว่า ปหานสฺา ความว่า สัญญาซึ่งเกิดขึ้นใน ปหานานุปัสสนาญาณ. ข้อว่า วิราคสฺา ความว่า สัญญาซึ่งเกิดขึ้นในวิราคานุปัสสนาญาณ. คําเป็นต้นว่า อิเม โข อาวุโส พึงประกอบเข้ากับนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. พระเถระเมื่อกล่าวปัญหา ๑๓๐ ด้วยสามารถแห่งปัญจกะ ๒๖ ชื่อว่าแสดงสามัคคีรสแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

จบหมวด ๕

ว่าด้วยธรรมหมวด ๖

พระเถระ (พระสารีบุตร) ครั้นแสดงสามัคคีรส ด้วยสามารถแห่งธรรมหมวดห้า ด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงสามัคคีรส ด้วยสามารถแห่งธรรมหมวดหก จึงเริ่มปรารภพระธรรมเทศนาต่อไปอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌตฺติกานิ ได้แก่อายตนะภายใน. บทว่า พาหิรานิ ได้แก่ อายตนะที่มีในภายนอกจากอายตนะภายในนั้น. ส่วนว่าอายตนะกถาโดยพิสดาร ข้าพเจ้า (พระพุทธโฆษาจารย์) กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคแล้วแล. บทว่า วิฺาณกายา ได้แก่ หมู่แห่งวิญญาณ. บทว่า จกฺขุวิฺาณํ ได้แก่ วิญญาณที่เป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบาก อันอาศัยจักษุประสาท. ในวิญญาณทั้งปวง ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า จกฺขุสมฺผสฺโส ได้แก่ สัมผัสอันอาศัยจักษุ. แม้ในโสตสัมผัสเป็นต้น

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 371

ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า มโนสมฺผสฺโส ได้แก่ สัมผัสทั้งปวงที่เหลือเว้นสัมผัส ๑๐ เหล่านี้เสีย ชื่อว่า มโนสัมผัส. แม้หมวดหกแห่งเวทนาบัณฑิต ก็พึงทราบ โดยนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า รูปสฺา ได้แก่สัญญาที่กระทํารูปให้เป็นอารมณ์บังเกิดขึ้น. แม้สัญญาที่เหลือ บัณฑิตก็พึงทราบโดยอุบายนี้. แม้ในหมวดหกแห่งเจตนา ก็นัยนี้เหมือนกัน. ในหมวดหกแห่งตัณหาก็เหมือนกัน.

บทว่า อคารโว ได้แก่ เว้นจากความเคารพ. บทว่า อปฺปฏิสฺโส ได้แก่ ไม่ยําเกรง คือไม่ประพฤติอ่อนน้อม. ก็ภิกษุใด ในพระศาสนานี้ครั้นเมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ย่อมไม่ไปสู่ที่บํารุง ในกาลทั้ง ๓ ครั้นเมื่อพระศาสดาไม่สวมรองเท้า เสด็จจงกรมอยู่ ก็สวมรองเท้าจงกรม ครั้นเมื่อพระศาสดาเสด็จจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ํา ก็จงกรมในที่จงกรมสูงครั้นเมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่ในเบื้องล่าง ก็อยู่ในเบื้องบน ในที่เห็นพระศาสดา ก็ห่มคลุมไหล่ทั้งสอง กั้นร่ม สวมรองเท้า อาบน้ำ ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก็หรือว่า ครั้นเมื่อพระศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว ย่อมไม่ไปเพื่อจะไหว้พระเจดีย์ กระทํากิจทั้งปวงตามที่กล่าวแล้ว ในที่พระเจดีย์ยังปรากฏอยู่ (หรือ) ในที่เห็นพระศาสดา ภิกษุนี้ชื่อว่า ไม่เคารพในพระศาสดา.

ก็ภิกษุใด ครั้นเมื่อเขาประกาศการฟังธรรม ก็ไม่ไปโดยเคารพ ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ นั่งคุยฟุ้งอยู่ ไม่เรียน ไม่บอก โดยเคารพ ภิกษุนี้ชื่อว่า ไม่เคารพในพระธรรม. ก็ภิกษุใด อันภิกษุผู้เถระ มิได้เชื้อเชิญก็แสดงธรรม นั่ง กล่าวปัญหา เบียดภิกษุผู้เฒ่าไป ยืน นั่ง กระทําการ

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 372

รัดเข่าด้วยผ้าหรือด้วยมือ ในท่ามกลางสงฆ์ ก็ห่มคลุมไหล่ทั้งสอง กั้นร่มหรือสวมรองเท้า ภิกษุนี้ชื่อว่า ไม่เคารพในพระสงฆ์. ก็เมื่อภิกษุกระทําความไม่เคารพแม้ในภิกษุรูปเดียว ความไม่เคารพในพระสงฆ์ ก็จัดว่าเป็นอันเธอกระทําแล้วเหมือนกัน. ส่วนภิกษุผู้ไม่ยังสิกขาทั้ง ๓ ให้บริบูรณ์อยู่นั่นแล ชื่อว่า ไม่เคารพในสิกขา. ภิกษุผู้ไม่ตามพอกพูนซึ่งลักษณะแห่งความไม่ประมาท ชื่อว่า ไม่เคารพในความไม่ประมาท. ภิกษุ เมื่อไม่กระทําปฏิสันถาร แม้ทั้ง ๒ อย่าง ชื่อว่าไม่เคารพในปฏิสันถาร. ความเคารพ บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่งนัยตรงกันข้ามตามที่กล่าวไว้แล้ว.

บทว่า โสมนสฺสูปวิจารา ได้แก่ วิจาร ที่สัมปยุตด้วยโสมนัส. บทว่า โสมนสฺสฏฺานียํ คือ เป็นเหตุแห่งโสมนัส. บทว่า อุปวิจรติ ได้แก่ ตรึกด้วยวิตก (ก่อน) แล้วจึงกําหนดด้วยวิจาร. ในคําที่เหลือทั้งปวง ก็นัยนี้เหมือนกัน. แม้โทมนัสสูปวิจาร บัณฑิตก็พึงทราบอย่างนั้นนั่นแหละ. อุเปกขูปวิจาร ก็เหมือนกัน. สาราณิยธรม ท่านให้พิสดารในหนหลัง. ส่วน ปฐมมรรค ท่านกล่าวไว้ในโกสัมพิกสูตร ด้วยบทนี้ว่า ทิฏฺิสามฺคโต. มรรค แม้ทั้ง ๔ ท่านกล่าวไว้ในที่นี้.

บทว่า วิวาทมูลานิ ได้แก่ มูลแห่งวิวาท. บทว่า โกธโน ได้แก่ผู้ประกอบด้วยความโกรธ อันมีความเกรี้ยวกราดเป็นลักษณะ. บทว่า อุปนาหิ ได้แก่ ประกอบด้วยความเข้าไปผูกโกรธไว้ อันมีการไม่สลัดการจองเวรกันเป็นลักษณะ. หลายบทว่า อหิตาย ทุกฺขาย เทวมนุสฺสานํ ได้แก่วิวาท แห่งภิกษุทั้งสอง ย่อมเป็นไปพร้อม เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล

 
  ข้อความที่ 110  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 373

เพื่อความทุกข์ แห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอย่างไร. เหมือนอย่างในโกสัมพิกขันธกะ เมื่อภิกษุ ๒ รูป วิวาทกัน พวกอันเตวาสิกของเธอทั้งสองนั้น ในวิหารนั้นก็วิวาทกัน. ภิกษุณีสงฆ์ ผู้รับโอวาทของพวกภิกษุเหล่านั้นก็วิวาทกัน แต่นั้นพวกอุปัฏฐากของภิกษุเหล่านั้น ก็วิวาทกัน. ลําดับนั้นเหล่าอารักขเทวดา ของพวกมนุษย์ก็ (แยก) เป็นสองฝ่าย. บรรดาเทวดาเหล่านั้น เหล่าอารักขเทวดาของพวกมนุษย์ผู้เป็นธรรมวาที ก็เป็นธรรมวาทีด้วย. สําหรับพวกมนุษย์ผู้เป็นอธรรมวาที ก็เป็นอธรรมวาทีตาม. จากนั้นเหล่าภุมมเทวดา ผู้เป็นมิตรของอารักขเทวดา จึงแตกกัน. เทวดาและมนุษย์ทั้งหมด ยกเว้นพระอริยสาวกเสีย ต่อๆ กันไป จนกระทั่งถึงพรหมโลกก็ (แยก) เป็นสองฝ่าย ด้วยประการฉะนี้. ก็พวกที่เป็นอธรรมวาทีเทียวมีจํานวนมากกว่าพวกธรรมวาที. ลําดับนั้น พวกเทวดาและมนุษย์ก็ปรารถนาที่จะยึดถือสิ่งที่ชนเป็นอันมากพากันยืดถือ พวกอธรรมวาทีที่มากกว่า นั่นแหละ ก็แก้สภาพที่เป็นธรรมแล้ว พากันยึดถือสภาพที่มิใช่ธรรม. พวกอธรรมวาทีเหล่านั้น กระทําสภาพที่มิใช่ธรรมให้อยู่ในเบื้องหน้ากล่าวอยู่ จึงบังเกิดในอบายทั้งหลาย. วิวาทของภิกษุทั้งสองฝ่าย ย่อมมีเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ แห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อชฺฌตฺตํ วา ได้แก่ ในภายในบริษัทของท่าน. บทว่า พหิทฺธา ได้แก่ ในบริษัทของชนเหล่าอื่น. บทว่า มกฺขิ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความลบหลู่ อันมีการลบหลู่คุณของชนเหล่าอื่นเป็นลักษณะ. บทว่า ปลาสิ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยการตีตนเสมอ อันมีการแข่งดีเป็นลักษณะ. บทว่า อิสฺสุกิ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความริษยา อันมีการริษยา เครื่องสักการะของชนอื่นเป็นต้นเป็นลักษณะ. บทว่า มจฺฉริ ได้แก่ ผู้ประกอบ

 
  ข้อความที่ 111  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 374

ด้วยความตระหนี่ที่อยู่เป็นต้น. บทว่า สโ ได้แก่ ผู้เต็มไปด้วยการหลอกลวง (ผู้โอ้อวด). บทว่า มายาวี ได้แก่ ผู้ปกปิดความชั่วที่ตัวกระทําแล้ว. บทว่า ปาปิจฺโฉ ได้แก่ผู้ปรารถนาจะให้มีในสิ่งที่ไม่มี คือ ผู้ทุศีล. บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิ. ได้แก่ ผู้มีปกติกล่าวว่าไม่มี ผู้มีปกติกล่าวว่าหาเหตุมิได้ ผู้มีปกติกล่าวว่าไม่เป็นอันทําฯ บทว่า สนฺทิฏฺิปรามาสิ คือ ลูบคลําทิฏฐิเองทีเดียวฯ บทว่า อาธานคฺคาหี คือ ผู้ยึดถืออย่างมั่นฯ บทว่า ทุปฺปฏินิสฺสคฺคี ได้แก่ไม่อาจที่จะสละสิ่งที่ตนยึดถือไว้ฯ

ธาตุที่ตั้งอยู่เฉพาะชื่อว่า ปฐวีธาตุฯ ธาตุที่เอิบอาบชื่อว่า อาโปธาตุฯ ธาตุที่ยังอาหารให้ย่อย ชื่อว่า เตโชธาตุฯ ธาตุที่เคลื่อนไหวได้ ชื่อว่าวาโยธาตุฯ ธาตุที่ถูกต้องไม่ได้ชื่อว่า อากาสธาตุฯ ธาตุที่รู้ชัดอย่างเดียวชื่อว่า วิญญาณธาตุฯ

ธาตุที่พ้นออกไป ชื่อว่า นิสสารณียธาตุ. หลายบทว่า ปริยาทายติฏฺติ ได้แก่ ครอบงําให้เสื่อมแล้วคงอยู่. หลายบทว่า มา เหวนฺติสฺสวจนีโย ได้แก่ เพราะเหตุที่ภิกษุพยากรณ์ ซึ่งคําพยากรณ์อันไม่เป็นจริงฉะนั้น พึงถูกกล่าวว่า ท่านอย่าพูดอย่างนี้. สองบทว่า ยทิทํ เมตฺตาเจโตวิมุตฺติ ได้แก่ เมตตาเจโตวิมุตตินี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความพยาบาท. อธิบายว่าออกไปจากความพยาบาท. ก็ภิกษุใด ออกจากติกฌานหรือจตุกกฌานด้วยเมตตาแล้ว พิจารณาสังขารทั้งหลาย บรรลุตติยมรรคแล้ว เห็นพระนิพพานด้วยตติยผลว่า พยาบาทไม่มีอีก จิตของภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นจิตที่สลัดออกซึ่งความพยายามโดยส่วนเดียว. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในบททั้งปวง โดยอุบายนี้. สมาบัติของพระอรหัตตผล ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 112  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 375

อนิมิตตา เจโตวิมุตติ. ก็สมาบัติของพระอรหัตตผลนั้น ท่านเรียกว่า ไม่มีนิมิต เพราะไม่มีราคนิมิตเป็นต้น เพราะไม่มีรูปนิมิตเป็นต้น และเพราะไม่มีนิจจนิมิตเป็นต้น. บทว่า นิมิตฺตานุสารี ความว่า ภิกษุผู้แล่นไปตามนิมิต อันมีประเภทตามที่กล่าวแล้ว เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า นิมิตตานุสารี (ผู้แล่นไปตามนินิต). บทว่า อสฺมิ ได้แก่ การถือว่าเรามีอยู่ (อัสมิมานะ). บทว่า อยมหมสฺมิ ได้แก่ พระอรหัตต์เป็นอันท่านพยากรณ์แล้ว ด้วยคํามีประมาณเท่านี้ว่า เราชื่อนี้มีอยู่ในขันธ์ห้า. บทว่า วิจิกิจฺฉากถํกถาสลฺลํ ได้แก่ ลูกศรคือ ความเคลือบแคลงสงสัย อันเป็นตัววิจิกิจฉา. หลายบทว่า มา เหวนฺติสฺส วจนีโย ความว่า ถ้าว่า วิจิกิจฉา อันควรกําจัดด้วยปฐมมรรค จะบังเกิดขึ้นแก่ท่านไซร้ การพยากรณ์พระอรหัตต์ก็เป็นอันผิด เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นพึงถูกห้ามว่า ท่านอย่ากล่าวคําที่ไม่จริง. บทว่า อสฺมิ ความว่า พระอรหัตตมรรค ชื่อว่า ถอนมานะเสียได้. ก็เมื่อบุคคลเห็นพระนิพพาน ด้วยอํานาจแห่งพระอรหัตตผลแล้ว อัสมิมานะ (ความถือตัวว่าเรามีอยู่) ย่อมไม่มีอีก เพราะเหตุนั้น พระอรหัตตมรรคท่านจึงกล่าวว่า ถอนอัสมิมานะเสียได้.

บทว่า อนุตฺตริยานิ ได้แก่ ไม่มีอะไรอื่นยิ่งไปกว่า คือประเสริฐที่สุด. ไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่าในการเห็นทั้งหลาย ชื่อว่า ทัสสนานุตตริยะ. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บรรดาการเห็นเหล่านั้น การเห็นช้างแก้วเป็นต้น ไม่จัดเป็นทัสสนานุตตริยะ. ส่วนว่าสําหรับผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้ว การเห็นพระทศพล. หรือพระภิกษุสงฆ์ ด้วยอํานาจแห่งความรักที่ตั้งมั่นแล้ว หรือว่า การเห็นบรรดากสิณนิมิตและอสุภนิมิตเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทัสสนานุตตริยะ. การฟังคุณกถาของกษัตริย์เป็นต้น ไม่จัดเป็นสวนานุตตริยะ. ส่วนสําหรับผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้วการฟัง

 
  ข้อความที่ 113  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 376

คุณกถาของพระรัตนตรัย ด้วยอํานาจแห่งความรักที่ตั้งมั่นแล้ว หรือว่าการฟังพระพุทธวจนะ คือพระไตรปิฏก ชื่อว่า สวนานุตตริยะ. การได้รัตนะคือ แก้วมณีเป็นต้น ไม่จัดเป็นลาภานุตตริยะ. ส่วนการได้อริยทรัพย์ ๗ อย่าง ชื่อว่า ลาภานุตตริยะ. การศึกษาศิลปะ มีศิลปะเพราะช้างเป็นต้นไม่จัดเป็น สิกขานุตตริยะ. ส่วนการบําเพ็ญสิกขาทั้ง ๓ ให้บริบูรณ์ ชื่อว่าสิกขานุตตริยะ. การบําเรอกษัตริย์เป็นต้น ไม่จัดเป็นปาริจริยานุตตริยะ. ส่วนการบําเรอพระรัตนตรัย ชื่อว่า ปาริจริยานุตตริยะ. การตามระลึกถึงคุณของกษัตริย์ เป็นต้น ไม่จัดเป็นอนุสสรณานุตตริยะ (อนุสสตานุตตริยะ). ส่วนการตามระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย ชื่อว่า อนุสสรณานุตตริยะ (อนุสสตานุตตริยะ).

อนุสสติทั้งหลายเทียว ชื่อว่า อนุสสติฐาน (ที่ตั้งแห่งความระลึกถึง). การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ชื่อว่า พุทธานุสสติ. ก็เมื่อบุคคลระลึกถึงอยู่อย่างนี้ ปีติ ย่อมบังเกิดขึ้น. บุคคลนั้น เริ่มตั้งปีตินั้นโดยความสิ้นไปโดยความเสื่อมไป ย่อมบรรลุความเป็นพระอรหันต์ได้. ธรรมดาว่าอุปจารกัมมัฏฐานนี้ แม้คฤหัสถ์ ทั้งหลาย ก็ย่อมได้ (บรรลุได้) ในกัมมัฏฐานทั้งปวง ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนกถาโดยพิสดาร บัณฑิตพึงทราบ โดยนัยอันข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ในวิสุทธิมรรคนั่นแล.

การอยู่ประจําของพระขีณาสพ ชื่อว่า สตตวิหาร. หลายบทว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา ความว่า ครั้นเมื่ออารมณ์แห่งจักขุทวารไปสู่คลอง ภิกษุเห็นรูปนั้นด้วยจักขุวิญญาณแล้ว ไม่ยินดีในชวนขณะที่น่ายินดีย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่ประทุษร้ายในชวนขณะที่ไม่น่ายินดี ย่อมเป็นผู้ไม่เสียใจ ไม่ยังโมหะให้บังเกิดขึ้น ในเพราะการเพ่งที่ไม่สม่ําเสมอ วางเฉย

 
  ข้อความที่ 114  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 377

มีตนเป็นกลางอยู่ มีสติ เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยสติ มีสัมปชัญญะเพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยสัมปชัญญะ. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้เหมือนกัน. ภิกษุ ย่อมวางเฉยอยู่ แม้ในทวารทั้ง ๖ ด้วยประการฉะนี้. ท่านกล่าว ฉฬังคุเบกขา ไว้ด้วยบทนี้. ก็เพราะคําว่า สมฺปชาโน บัณฑิตย่อมได้ญาณสัมปยุตตจิต ๔ ดวง. คําว่า สตตวิหารา บัณฑิตย่อมได้ มหาจิต แม้ทั้ง ๘ ดวง. เพราะคําว่า อรชฺชนฺโต อทุสฺสนฺโต บัณฑิตย่อมได้จิต แม้ทั้ง ๑๐ ดวง. หากมีคําถามสอดเข้ามาว่า โสมนัสจะมีได้อย่างไร. แก้ว่า มีได้เพราะอาเสวนะ.

ชาติทั้งหลายชื่อว่า อภิชาติ. สองบทว่า กณฺหาภิชาติโก สมาโน ความว่า ผู้เกิดแล้วในที่ดํา คือในตระกูลต่ํา. หลายบทว่า กณฺหํ ธมฺมํอภิชายติ ความว่า ย่อมประสบ คือกระทํา ธรรมคือความเป็นผู้ทุศีล ๑๐ ประการ อันเป็นธรรมฝ่ายดํา. บุคคลนั้นประสบธรรม คือความเป็นผู้ทุศีล ๑๐ ประการนั้นแล้ว ย่อมบังเกิดในนรก. สองบทว่า สุกฺกํ ธมฺมํ ความว่าเราเกิดแล้วในตระกูลต่ํา เพราะความที่ไม่ได้กระทําบุญไว้ แม้ในกาลก่อนบัดนี้ เราจักทําบุญ เพราะเหตุนั้น เขาย่อมประสบธรรมฝ่ายขาว กล่าวคือบุญ. บุคคลนั้นย่อมบังเกิดในสวรรค์ ด้วยธรรมฝ่ายขาว กล่าวคือบุญนั้น. หลายบทว่า อกณฺหํ อสุกฺกํ นิพฺพานํ ความว่า ก็พระนิพพาน หากว่าจะพึงเป็นธรรมฝ่ายดําไซร้ ก็จะพึงให้วิบากที่ดํา หากว่าจะพึงเป็นธรรมฝ่ายขาวไซร้ ก็จะพึงให้วิบากที่ขาว แต่ เพราะไม่ให้วิบากแม้ทั้ง ๒ พระนิพพาน ท่านจึงกล่าวว่า ไม่ดํา ไม่ขาว. ก็ธรรมดาว่า พระนิพพานท่านประสงค์เอาพระอรหัตต์ในอรรถนี้. จริงอยู่ พระอรหัตต์นั้น ชื่อว่าพระนิพพาน เพราะเกิดในที่สุดแห่งการดับกิเลส. บุคคลนั้นย่อมพบ คือประสบ กระทํา พระนิพพานนั้น. สองบทว่า สุกฺกาภิชาติโก สมาโน

 
  ข้อความที่ 115  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 378

ความว่า เป็นผู้เกิดแล้วในที่ขาว คือในตระกูลสูง. คําที่เหลือ บัณฑิตพึง ทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า นิพฺเพธภาคิยา ความว่า พระนิพพาน ท่านเรียกว่า นิพเพธ. ชนทั้งหลาย ย่อมคบคือ ย่อมเข้าไปใกล้ พระนิพพานนั้น เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า นิพเพธภาคิยา (ส่วนแห่งการแทงตลอด). อนิจจสัญญาเป็นต้น ท่านกล่าวไว้ในหนวดห้า. ความกําหนดหมายในนิโรธานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า นิโรธสัญญา. คําเป็นต้นว่า อิเม โข อาวุโส บัณฑิต ที่ประกอบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. พระเถระ กล่าวอยู่ซึ่ง ปัญหา ๑๓๒ ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดหก ๒๒ หมวดแสดงสามัคคีรส ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้แล.

จบหมวด ๖

ว่าด้วยธรรมหมวด ๗

พระเถระครั้นแสดงสามัคคีรส ด้วยสามารถแห่งหมวดหก ด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงสามัคคีรส ด้วยสามารถแห่งหมวดเจ็ด จึงเริ่มปรารภพระธรรมเทศนาอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น ทรัพย์คือศรัทธา ชื่อว่า ทรัพย์คือศรัทธา ด้วยอรรถว่า ได้เฉพาะซึ่งสมบัติ. ในบททั้งปวงก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็บรรดาอริยทรัพย์เหล่านี้ ทรัพย์คือปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์ทั้งปวง. เพราะว่า สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ในปัญญาแล้ว บําเพ็ญสุจริต ๓ ศีล ๕ ศีล ๑๐ ให้บริบูรณ์ ย่อมเข้าถึงสวรรค์ คือ ย่อมแทงตลอด ซึ่งสาวกบารมีญาณ ปัจเจกโพธิญาณ และพระสัพพัญุตญาณได้. ปัญญา ท่านเรียกว่า ทรัพย์

 
  ข้อความที่ 116  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 379

คือปัญญา เพราะเป็นเหตุแห่งการได้เฉพาะ ซึ่งสมบัติเหล่านี้. ก็อริยทรัพย์แม้ทั้ง ๗ ประการเหล่านี้ ท่านกล่าวว่า เจือด้วยโลกิยะ และโลกุตตระทีเดียว. โพชฌงค์กถา ท่านกล่าวไว้แล้วเทียว. บริวารแห่งสมาธิ ชื่อว่า สมาธิปริกฺขารา. สัมมาทิฏฐิเป็นต้น มีอรรถอันท่านกล่าวไว้แล้วนั่นเทียว. ด้วยบทว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นต้นเหล่านี้ บริขาร ๗ ท่านกล่าวว่า เป็นทั้งโลกิยะ ทั้งโลกุตตระเทียว. ธรรมของอสัตบุรุษทั้งหลาย ชื่อว่า อสัทธรรมอีกอย่างหนึ่ง ธรรมอันไม่สงบ คือธรรมอันลามก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอสัทธรรม. บัณฑิตพึงทราบ สัทธรรม โดยปริยายตรงกันข้าม. บรรดาบทเหล่านี้ คําที่เหลือ มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น. ก็บรรดาสัทธรรมทั้งหลาย สัทธรรมแม้ทั้งปวง มีศรัทธาเป็นตัน ท่านกล่าวไว้เฉพาะพระวิปัสสนา. ปัญญา แม้ในสัทธรรมเหล่านั้น เป็นทั้งโลกิยะ ทั้งโลกุตตระ. นี้ความย่อ.

สองบทว่า สปฺปุริสานํ ธมฺมา ได้แก่ ธรรมของสัตบุรุษ. ชนใดรู้ธรรม ในบรรดาสัปปุริสธรรมเหล่านั้น มีสุตตะและเคยยะเป็นต้น เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า ธัมมัญู (รู้จักเหตุ). ชนใด รู้อรรถแห่งภาษิตนั้นๆ นั่นแล เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า อัตถัญู (รู้จักผล). ชนใด รู้จักตน อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีประมาณเท่านี้ ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า อัตตัญู (รู้จักตน). ชนใดรู้จักประมาณในการรับและการบริโภค เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่ามัตตัญู (รู้จักประมาณ). ชนใด รู้จักกาลอย่างนี้ว่า นี้กาลแสดง นี้กาลไต่ถาม นี้กาลบรรลุโยคธรรม เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า กาลัญู (รู้จักกาล). ก็บรรดากาลเหล่านั้น กาลแสดง ๕ ปี กาลไต่ถาม ๑๐ ปี.

 
  ข้อความที่ 117  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 380

นี้นับว่า คับแคบยิ่งนัก. กาลแสดง ๑๐ ปี กาลไต่ถาม ๒๐ ปี. เบื้องหน้าต่อแต่นั้นไป บัณฑิตพึงกระทํากรรมในการประกอบเถิด. ชนใด รู้จักบริษัท ๘ อย่าง เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า ปริสัญู (รู้จักบริษัท). ชนใดรู้จักบุคคลที่ควรเสพหรือไม่ควรเสพ เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า. ปุคคลัญู (รู้จักบุคคล).

วัตถุมีนิททสเป็นต้น ชื่อว่า นิททสวัตถุ. เหตุแห่งคําอย่างนี้ว่าภิกษุไม่มี ๑๐ ภิกษุไม่มี ๒๐ ไม่มี ๓๐ ไม่มี ๔๐ ไม่มี ๕๐. เล่ากันว่าปัญหานี้ เกิดขึ้นในสมัยเดียรถีย์. ก็พวกเดียรถีย์กล่าวถึงนิครนถ์ผู้ตายในเวลา ๑๐ ปี ว่า ไม่ใช่ ๑๐. เล่ากันว่า นิครนถ์นั้น มีกาลฝน ๑๐ ก็ไม่ใช่อีก. อนึ่ง จะว่า ๑๐ ปี อย่างเดียวก็ไม่ใช่ แม้ ๙ ปี ฯลฯ แม้ ๑ ปีก็ไม่ใช่. โดยนัยนั้นนั่นแหละ พวกเดียรถีย์กล่าวถึงนิครนถ์ผู้ตายแม้ในเวลา ๒๐ ปี เป็นต้นว่า ไม่ใช่ ๒๐ ไม่ใช่ ๓๐ ไม่ใช่ ๔๐ ไม่ใช่ ๕๐. ท่านพระอานนท์เที่ยวไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ฟังถ้อยคํานั้นแล้ว จึงไปยังวิหาร กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ นี้ไม่ใช่คําของพวกเดียรถีย์หรอก นั่นเป็นคําของพระขีณาสพในศาสนาของเราดังนี้. ด้วยว่า พระขีณาสพ ปรินิพพานแล้วในเวลา๑๐ ปี จะเป็นผู้ชื่อว่า มีกาลฝน ๑๐ อีกก็ไม่ใช่. อนึ่ง พระขีณาสพ จะเป็นผู้ชื่อว่า มีกาลฝน ๑๐ อย่างเดียวก็หามิได้ แม้จะเป็นผู้มีกาลฝน ๙ ฯลฯ แม้จะเป็นผู้มีกาลฝน ๑. อนึ่ง พระขีณาสพจะเป็นผู้ชื่อว่า มีกาลฝน ๑ อย่างเดียวก็หามิได้ จะเป็นผู้ชื่อว่า ๑๐ เดือนบ้าง ฯลฯ ๑ เดือนบ้าง ๑ วันบ้าง ครู่หนึ่งบ้าง ก็หามิได้นั่นเที่ยว. ถามว่า เพราะเหตุอะไร. แก้ว่า เพราะความไม่มีปฏิสนธิอีก. แม้ในคําว่า ไม่มี ๒๐ เป็นต้น ก็นัยนี้

 
  ข้อความที่ 118  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 381

เหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสว่า นั่นเป็นคําของพระขีณาสพในศาสนาของเรา ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้แล้ว เพื่อจะทรงแสดงเหตุที่พระขีณาสพนั้น เป็นผู้มิใช่ (มีกาลฝน) ๑๐ จึงทรงแสดงนิททสวัตถุ ๗ ประการ. แม้พระเถระครั้นยกพระธรรมเทศนานั้นนั่นแหละขึ้นแล้วจึงกล่าวนิททสวัตถุ ๗ ประการ ดังมีคําเป็นอาทิว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุในพระศาสนานี้ เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้า ในการสมาทานสิกขา. บรรดาคําเหล่านั้น คําว่า อิธ ได้แก่ ในพระศาสนานี้. หลายบทว่า สิกฺขาสมาทาเน ติพฺพจฺฉนฺโท โหติ ความว่า เป็นผู้มีความพอใจอย่างมากในการบําเพ็ญไตรสิกขา. หลายบทว่า อายติฺจ สิกฺขาสมาทาเน อวิคตเปโม ความว่า เป็นผู้มาตามพร้อมด้วยความรักอันตนบรรลุแล้วในการบําเพ็ญสิกขาแม้ในวันรุ่งขึ้นเป็นต้น ในอนาคต. บทว่า ธมฺมนิสฺติยา ความว่าด้วยการพิจารณาธรรม. คํานั่นเป็นชื่อของวิปัสสนา. บทว่า อิจฺฉาวินเย ความว่า ในการปราบตัณหา. บทว่า ปฏิสลฺลาเน ความว่า ในความเป็นผู้ผู้เดียว. บทว่า วิริยารมฺเภ ความว่า ในการบําเพ็ญความเพียรที่เป็นไปทางกายและเป็นไปทางจิต. บทว่า สติเนปกฺเก ความว่า ในสติ และในความเป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน. บทว่า ทิฏฺิปฏิเวเธ ความว่าในการเห็นมรรค. คําที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในที่ทั้งปวงเถิด. พึงทราบวินิจฉัยในสัญญาทั้งหลาย. สัญญาในอสุภานุปัสสนาญาณชื่อว่าอสุภสัญญา. สัญญา ในอาทีนวานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า อาทีนวสัญญา. สัญญาที่เหลือท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล. หมวด ๗ แห่งพละ หมวด ๗ แห่งวิญญาณฐิติ และหมวด ๗ แห่งบุคคล มีนัยอันท่านกล่าวไว้แล้วนั่นเทียว. กิเลสทั้งหลายเหล่าใดย่อมนอนเนื่อง ด้วยอรรถว่า

 
  ข้อความที่ 119  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 382

ละไม่ได้ เพราะเหตุนั้น กิเลสเหล่านั้นชื่อว่า อนุสัย. กามราคะที่มีกําลังเรี่ยวแรง ชื่อว่า กามราคานุสัย. ในราคะทั้งปวงก็นัยนี้. หมวดเจ็ดแห่งสัญโญชน์ มีเนื้อความชัดทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในอธิกรณสมถะ ต่อไปนี้. อธิกรณ์ทั้งหลาย ย่อมสงบ คือเข้าไประงับ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อธิกรณสมถะ. บทว่า อุปฺปนฺนุปฺปนฺนานํ ความว่า เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า อธิกรณานํ ความว่า แห่งอธิกรณ์ ๔ เหล่านี้คือ วิวาทาธิกรณ์ ๑ อนุวาทาธิกรณ์ ๑ อาปัตตาธิกรณ์ ๑ กิจจาธิกรณ์ ๑. สองบทว่า สมถาย วูปสมาย ความว่าเพื่อสงบ และเพื่อเข้าไประงับ. พระวินัยธร พึงให้สมถะ ๗ เหล่านี้คือพึงให้ สัมมุขาวินัย ฯลฯ พึงให้ติณวัตถารกวินัย. นัยแห่งการวินิจฉัยในสมถะ เหล่านั้น ดังต่อไปนี้. พึงทราบวินิจฉัยในอธิกรณ์ทั้งหลายก่อน, วิวาทอันใดแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้วิวาทกัน ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการว่า ธรรมหรือ มิใช่ธรรมก็ตาม อันนี้ชื่อว่า วิวาทาธิกรณ์ การกล่าวโทษ. การกล่าวโทษ การติเตียน และการโจทกันอันใด แห่งภิกษุผู้กล่าวโทษกันถึงศีลวิบัติก็ดี ถึงอาจารวิบัติ และอาชีววิบัติก็ดี อันนี้ชื่อว่า อนุวาทาธิกรณ์. กองแห่งอาบัติแม้ทั้ง ๗ คือ กองแห่งอาบัติ ๕ มาในมาติกา กองแห่งอาบัติ ๒ มาในวิภังค์ อันนี้ ชื่อว่า อาปัตตาธิกรณ์ การกระทํากรรม ๔ อย่างมีอปโลกนกรรม เป็นต้น แห่งสงฆ์ อันนี้ชื่อว่า กิจจาธิกรณ์.

บรรดาอธิกรณ์เหล่านั้น วิวาทาธิกรณ์ ระงับได้ด้วยสมถะ ๒ คือสัมมุขาวินัย ๑ เยภุยยสิกา ๑. วิวาทาธิกรณ์ ระงับอยู่ด้วยสัมมุขาวินัยเท่านั้นคือ วิวาทาธิกรณ์ เกิดขึ้นในวิหารใด อันสงฆ์ วินิจฉัยแล้วในวิหารนั้นนั่น

 
  ข้อความที่ 120  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 383

แหละ ย่อมระงับ เมื่อภิกษุไปเพื่อจะระงับในที่อื่น อันสงฆ์วินิจฉัยแล้วในระหว่างทางก็ย่อมระงับได้ อันภิกษุไปมอบให้แก่สงฆ์ในที่ใด อันสงฆ์ในที่นั้นวินิจฉัยแล้ว ก็ย่อมระงับได้ หรือว่า ครั้นเมื่อสงฆ์ ไม่อาจเพื่อจะระงับ อันบุคคลผู้อันสงฆ์สมมติแล้ว วินิจฉัยเพื่อดึงออก (จากอาบัติ) ในที่นั้นนั่นแหละ ย่อมระงับได้เช่นกัน. ก็แลครั้นเมื่อวิวาทาธิกรณ์นั้นระงับอยู่อย่างนี้ ความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล อันใด อันนี้ชื่อว่า สัมมุขาวินัย. ก็บรรดาความพร้อมหน้าเหล่านั้น ความที่สงฆ์ผู้กระทํา (กรรม) พร้อมหน้ากัน ด้วยสามารถแห่งความสามัคคีของสงฆ์ อันนี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าสงฆ์. ความที่มีวัตถุ (เรื่อง) อันจะพึงระงับ ชื่อว่าความพร้อมหน้าธรรม. การพิจารณาโดยประการที่วิวาทาธิกรณ์จะพึงระงับไป ชื่อว่า ความพร้อมหน้าวินัย. ภิกษุใดวิวาทกัน และวิวาทด้วยเนื้อความอันใด ความพร้อมหน้ากันแห่งเนื้อความและคู่กรณี (ข้าศึก) ทั้งสองนั้น ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคล. ก็ความพร้อมหน้าสงฆ์ในวิวาทาธิกรณ์นี้ ย่อมเสื่อมหายไปในเพราะการเข้าไประงับเพื่อดึงออก (จากอาบัติ). วิวาทาธิกรณ์ ย่อมระงับไปด้วยสัมมุขาวินัยเท่านั้น อย่างนี้ก่อน. ก็ถ้าว่า วิวาทาธิกรณ์ไม่ระงับไป แม้อย่างนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้พวกภิกษุผู้อันสงฆ์สมมติ เพื่อดึงออก (จากอาบัติ) ย่อมมอบเรื่องนั้นแก่สงฆ์นั่นแหละด้วยคิดว่า พวกเราไม่อาจเพื่อจะระงับได้. ลําดับนั้น สงฆ์จึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ห้า ให้เป็นผู้จับฉลาก เพราะความที่พระธรรมวาทีแห่งบริษัท ผู้ยังภิกษุรูปนั้นให้จับฉลาก ด้วยสามารถแห่งวิธีอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาการจับฉลาก ๓ อย่างคือ ซ่อน ๑ เปิดเผย ๑ กระซิบที่หูของตน ๑ ประชุมกันแล้วมีมาก

 
  ข้อความที่ 121  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 384

อธิกรณ์ที่เข้าไประงับโดยประการที่พระธรรมวาทีเหล่านั้นกล่าว ก็จัดว่าเป็นอันเข้าไประงับแล้ว ด้วยสัมมุขาวินัย และเยภุยยสิกา. สัมมุขาวินัยในวิวาทาธิกรณ์นั้น มีนัยอันท่านกล่าวไว้แล้วนั่นเทียว. ก็การกระทํากรรมโดยเสียงข้างมากเป็นประมาณอันใดอันนี้ชื่อว่า เยภุยยสิกา. วิวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.

อนุวาทาธิกรณ์ ย่อมระงับด้วยสมถะ ๔ คือ สัมมุขาวินัย ๑ สติวินัย ๑ อมุฬหวินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑. อนุวาทาธิกรณ์ ระงับอยู่ด้วยสัมมุขาวินัย นั่นเทียว คือ ภิกษุผู้โจท กล่าวโทษ และโจท กล่าวโทษผู้ใด อนุวาทาธิกรณ์ อันสงฆ์ฟังถ้อยคําของทั้งสองฝ่ายนั้นแล้ว วินิจฉัยอย่างนี้ว่า ถ้าว่า อาบัติบางอย่างไม่มี ยังเธอทั้งสองให้อดโทษแล้ว ถ้าว่ามีอาบัติ อาบัติในอนุวาทาธิกรณ์นี้ ชื่อนี้ ย่อมเข้าไประงับได้. ลักษณะแห่งสัมมุขาวินัย ในอนุวาทาธิกรณ์นั้น มีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วนั่นเทียว. ก็ในกาลใด สงฆ์ให้สติวินัย ด้วยญัติติจตุตถกรรม แก่ภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพผู้ถูกโจท ด้วยศีลวิบัติ อันหามูลมิได้ผู้ขอสติวินัยอยู่ ในกาลนั้น อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอันระงับไปด้วยสัมมุขาวินัย และสติวินัย. ก็เมื่อสงฆ์ให้สติวินัยแล้ว การกล่าวโทษของใครๆ ย่อมไม่ขึ้น ในบุคคลนั้นอีก. ในกาลใด ภิกษุผู้เป็นบ้า ถูกพวกภิกษุโจทว่า ท่านผู้มีอายุระลึกถึงอาบัติเห็นปานนี้ ได้หรือ ในความประพฤติอันไม่ใช่ของสมณะ ด้วยอํานาจแห่งความเป็นบ้า แม้กล่าวอยู่ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กระผมผู้เป็นบ้า กระทํากรรมนั้นแล้ว กระผมหาระลึกได้ไม่ ดังนี้แล้ว ยังถูกพวกภิกษุโจทอยู่เทียว ขออมุฬหวินัย เพื่อประโยชน์แก่การไม่โจทอีก และสงฆ์ให้อมุฬหวินัย แก่ภิกษุนั้นด้วยญัตติจตุตถกรรม ในกาลนั้น อนุวาทาธิกรณ์

 
  ข้อความที่ 122  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 385

เป็นอันเข้าไประงับ ด้วยสัมมุขาวินัย และอมุฬหวินัย. ก็ครั้นเมื่อสงฆ์ให้อมุฬหวินัยแล้ว การกล่าวโทษของใครๆ เพราะความที่ภิกษุนั้นเป็นบ้าเป็นปัจจัย ย่อมไม่ขึ้นในบุคคลนั้นอีก. ก็ในกาลใด เมื่อบุคคลผู้ลามกเพราะมากด้วยความชั่ว ถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกกลับประพฤติเป็นอย่างอื่น ถ้าว่าบุคคลผู้นี้ จักเป็นผู้มีมูล อันตนต้องการแล้ว ประพฤติโดยชอบเทียว จักได้การรวมกัน (เข้าหมู่) ถ้าว่า เป็นผู้มีมูลอันตนตัดแล้ว สงฆ์สําคัญอยู่ว่า การขับไล่นี้นั่นแหละ จักมีแก่บุคคลนั้น จึงกระทําตัสสปาปิยสิกา (การลงโทษแก่ผู้ผิด) ด้วยญัตติจตุตถกรรมในกาลนั้น อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอันเข้าไประงับ ด้วยสัมมุขาวินัย และตัสสปาปิยสิกา. อนุวาทาธิกรณ์ ย่อมระงับไปด้วยสมถะ ๔ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.

อาปัตตาธิกรณ์ ย่อมระงับด้วยสมถะ ๓ คือ สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑ ติณวัตถารกะ ๑. อาปัตตาธิกรณ์นั้น ไม่มีการเข้าไประงับด้วยสัมมุขาวินัยทีเดียว. ก็ในกาลใด ภิกษุแสดงลหุกาบัติ ในสํานักแห่งภิกษุรูปหนึ่ง หรือในท่ามกลางคณะสงฆ์ ในกาลนั้น อาปัตตาธิกรณ์ย่อมเข้าไประงับ ด้วยสัมมุขาวินัย และปฏิญญาตกรณะ. บรรดาสมถะเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยในสัมมุขาวินัยก่อน ภิกษุผู้แสดงและแสดงแก่ผู้ใด ความพร้อมหน้ากัน แห่งบุคคลทั้งสองนั้น ชื่อว่าความพร้อมหน้าบุคคล. คําที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. ความพร้อมหน้าสงฆ์ ย่อมเสื่อมหายไปในกาลที่แสดงแก่บุคคลและคณะ. ก็บรรดาสมถะเหล่านี้ การกระทําปฏิญญาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมต้องแล้วซึ่งอาบัติชื่อนี้ และว่า

 
  ข้อความที่ 123  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 386

ขอรับ กระผมเห็นอยู่ (ผู้รับแสดงอาบัติกล่าวว่า) ท่านพึงสํารวมระวังต่อไป อันใด อันนั้น ชื่อว่า ปฏิญญาตกรณะ. การขอปริวาสเป็นต้นจากอาบัติสังฆาทิเสสทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิญญา การให้ปริวาสเป็นต้นชื่อว่า ปฏิญญาตกรณะ. ก็พวกภิกษุผู้กระทําการทะเลาะกัน เกิดแยกเป็นสองฝ่าย ประพฤติล่วงละเมิดกิจอันมิใช่ของสมณะเป็นอันมาก ครั้นเมื่อลัชชีธรรม เกิดขึ้นอีก เห็นโทษในการชักชวนกันและกันให้กระทําอาบัติว่า ถ้าว่าพวกเราพึงกระทํากันและกัน ด้วยอาบัติเหล่านี้ไซร้ อธิกรณ์นั้นแม้จะพึงมี ก็พึงเป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้หยาบช้า แล้วจึงกระทําติณวัตถารกกรรมในกาลใด ในกาลนั้น อาปัตตาธิกรณ์ ย่อมระงับด้วยสัมมุขาวินัย และติณวัตถารกะ. ก็ภิกษุผู้เข้าอยู่ในหัตถบาสในกรรมนั้นไม่กระทํากรรมให้แจ้งอันตนเห็นอย่างนี้ว่า กรรมนั้น ไม่เหมาะแก่เราแล้วพากันหลบไปเสีย. อาบัติทั้งปวงของภิกษุทั้งปวงเหล่านั้น เว้นโทษที่หยาบ และที่ปฏิสังยุตต์ด้วยคฤหัสถ์ย่อมออกพ้นไปได้. อาปัตตาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.

กิจจาธิกรณ์ ย่อมระงับด้วยสมถะ ๑ คือ สัมมุขาวินัยเท่านั้น. อธิกรณ์ ๔ เหล่านี้ ย่อมระงับด้วยสมถะ ๗ ประการเหล่านี้ ตามสมควร. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า เพื่อความสงบระงับอธิกรณ์ อันบังเกิดขึ้นแล้วๆ พึงให้สัมมุขาวินัย พึงให้สติวินัย พึงให้อมุฬหวินัย พึงปรับตามปฏิญญา พึงถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ พึงปรับตามความผิดของจําเลย พึงใช้ติณวัตถารกวิธี ดังนี้แล. นี้เป็นนัยแห่งการวินิจฉัยในอธิกรณ์เหล่านี้. ส่วนความพิสดารมาแล้วในสมถขันธกะนั่นแล. แม้การวินิจฉัย

 
  ข้อความที่ 124  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 387

แห่งความพิสดารนั้น ข้าพเจ้าก็กล่าวไว้แล้วในสมันตปาสาทิกา. คําเป็นต้น ว่า อิเม โข อาวุโส บัณฑิตพึงประกอบโดยนัย อันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั่นเทียว พระเถระกล่าว ๙๘ ปัญหาด้วยสามารถแห่งหมวดเจ็ด ๑๔ หมวด แสดงสามัคคีรส ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้แล.

จบหมวด ๗

ว่าด้วยธรรมหมวด ๘

พระเถระครั้นแสดงสามัคคีรส ด้วยสามารถแห่งหมวดเจ็ด ด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงสามัคคีรสด้วยสามารถแห่งหมวดแปด จึงเริ่มปรารภพระธรรมเทศนาต่อไปอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิจฺฉตฺตา คือ ไม่แน่นอน ได้แก่ มีสภาพที่ผิด. บทว่า สมฺมตฺตา คือ แน่นอน ได้แก่มีสภาพที่ถูกโดยชอบ. บทว่า กุสีตวตฺถูนิ ได้แก่ เรื่อง คือ ที่พึ่งของคนเกียจคร้าน คือของคนขี้เกียจ อธิบายว่า เหตุของความเกียจคร้าน. หลายบท ว่า กมฺมํ กตฺตพฺพํ โหติ ความว่า พึงกระทํากรรมมีการกะจีวรเป็นต้น. หลายบทว่า น วิริยํ อารภติ ความว่าไม่ปรารภ ความเพียร แม้ทั้ง ๒ อย่าง. บทว่า อปฺปตฺตสฺส ความว่า เพื่อบรรลุธรรม คือ ฌาน วิปัสสนา มรรค และผล ที่ตนยังไม่บรรลุ บทว่า อนธิคตสฺส ความว่า เพื่อประโยชน์ คือการบรรลุธรรมคือ ฌาน วิปัสสนา มรรคและผลนั้นนั่นแหละ อันตนยังมิได้บรรลุ บทว่า อสจฺฉิกตสฺส ความว่า เพื่อประโยชน์คือการกระทําให้แจ้งธรรม คือ ฌาน วิปัสสนา มรรค และผลนั้นที่ตนยังไม่

 
  ข้อความที่ 125  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 388

กระทําให้แจ้ง. สองคํานี้ว่า อิทํ ปฐมํ ได้แก่การนั่งลง (ด้วยการคิด) อย่างนี้ว่า เอาเถิดเราจะนอน ดังนี้ จัดเป็นเรื่องของความเกียจคร้านทีแรก. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยนัยนี้. ก็ถั่วราชมาสอันชุ่มชื่อว่ามาสาจิตะ ในคํานี้ว่า มาสาจิตํ มฺเ ดังนี้. อธิบายว่า เป็นผู้หนักเหมือนถั่วราชมาสที่เปียกชุ่ม เป็นของหนักฉะนั้น. สองบทว่า คิลานวุฏฺิโต โหติ ความว่า เป็นไข้หายออกไปทีหลัง. บทว่า อารพฺภวตฺถูนิ ได้แก่ เหตุแห่งความเพียร บัณฑิตพึงทราบเนื้อความ โดยนัยนี้เทียวแห่งบททั้งหลาย แม้เหล่านั้น.

บทว่า ทานวตฺถูนิ คือ เหตุแห่งทาน. หลายบทว่า อาสชฺชทานํ เทติ ความว่า ถึงแล้วจึงให้ทาน. บุคคลเห็นภิกษุผู้มาแล้วเทียวนิมนต์ท่านให้นั่งครู่หนึ่งเท่านั้น แล้วจึงกระทําสักการะถวายทาน ย่อมไม่ลําบาก ด้วยการคิดว่า เราจักให้. ความหวังในการให้นี้ ชื่อว่า เหตุแห่งการให้ ด้วยประการฉะนี้. เหตุทั้งหลายมีความกลัวเป็นต้น แม้ในคําเป็นต้นว่า ให้ทานเพราะความกลัว บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นเหตุแห่งการให้. บรรดาเหตุเหล่านั้น ความกลัวต่อคําติเตียน หรือความกลัวต่ออบายว่าบุคคลผู้นี้ เป็นผู้ไม่ให้ (ทาน) เป็นผู้ไม่กระทํา (สักการะ) ชื่อว่าความกลัว. สองบทว่า อทาสิ เม ความว่า บุคคลย่อมให้ตอบด้วยคิดว่าบุคคลนั้นได้ให้วัตถุชื่อนี้แก่เราในกาลก่อน. สองบทว่า ทสฺสติ เม ความว่าบุคคลย่อมให้ด้วยคิดว่า เขาจักให้วัตถุชื่อนี้ ในอนาคต. สองบทว่า สาหุทานํ ความว่า บุคคลย่อมให้ (ทาน) ด้วยคิดว่า ธรรมดาว่า การให้เป็นการยังประโยชน์ให้สําเร็จ คือ เป็นกรรมดี อันบัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงสรรเสริญแล้ว. หลายบทว่า จิตฺตาลงฺการจิตฺต-

 
  ข้อความที่ 126  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 389

ปริกฺขารตฺถํ ทานํ เทติ ความว่า บุคคลย่อมให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับ และเพื่อเป็นบริวารของจิตในสมถะ และวิปัสสนา. จริงอยู่ ทาน ย่อมกระทําจิตให้อ่อนได้. อันผู้ใดได้วัตถุ แม้ผู้นั้นก็ย่อมมีจิตอ่อนว่า เราได้แล้ว. อันผู้ใดให้แล้ว แม้ผู้นั้นก็ย่อมมีจิตอ่อนว่า เราให้แล้ว. ทานย่อมกระทําจิตของบุคคลแม้ทั้งสองให้อ่อนได้ ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคําเป็นต้นว่า การฝึกจิตซึ่งยังไม่เคยฝึก (ชื่อว่าทาน). เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

การฝึกจิตซึ่งยังไม่เคยฝึก ชื่อว่าทาน การไม่ให้เป็นเหตุประทุษร้ายจิตที่ฝึกแล้ว สัตว์ทั้งหลายย่อมฟูขึ้น และฟุบลง ด้วยทานและวาจาที่อ่อนหวาน ดังนี้.

ก็บรรดาทานทั้ง ๘ ประการเหล่านี้ทานที่เป็นเครื่องประดับจิตเท่านั้นสูงสุด.

บทว่า ทานูปปตฺติโย ความว่า เข้าถึงเพราะทานเป็นปัจจัย. บทว่า ทหติ แปลว่า ตั้งไว้. คําว่า อธิฏฺาติ เป็นไวพจน์ของคําว่า ทหติ นั้นนั่นแหละ. บทว่า ภาเวติ แปลว่า ให้เจริญ. สองบทว่า หีเน วิมุตฺตํ ความว่า หลุดพ้นกามคุณ ๕ อันเลว. บทว่า อุตฺตริอภาวิตํ ความว่าแต่นั้น ไม่อบรมเพื่อต้องการมรรคผลอันยอดเยี่ยม. สองบทว่า ตตฺรูปปตฺติยาสํวตฺตติ ความว่า บุคคลปรารถนา (เกิด) ที่ใด กระทํากุศลไว้ก็ย่อมเป็นไปพร้อม เพื่อประโยชน์แก่การเกิดในที่นั้นๆ. บทว่า วีตราคสฺส ความว่า ผู้มีราคะอันตัดได้เด็ดขาดด้วยมรรค หรือผู้มีราคะอันข่มได้ด้วย

 
  ข้อความที่ 127  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 390

สมาบัติ. จริงอยู่ สัตว์ไม่อาจที่จะเกิดในพรหมโลกได้ด้วยกุศลสักว่าทานเท่านั้น. ก็ทานย่อมเป็นเครื่องประดับเป็นบริวารของจิตในสมาธิ และวิปัสสนา. บุคคลผู้มีจิตอ่อนโยน เพราะทานนั้น เจริญพรหมวิหารแล้วย่อมบังเกิดในพรหมโลกได้. เพราะเหตุนั้นท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวไว้ว่าของผู้มีราคะไปปราศแล้ว ไม่ใช่ของผู้มีราคะ. บริษัทของกษัตริย์ ชื่อว่าขัตติยปริสา (บริษัทของกษัตริย์) อธิบายว่า หมู่. ในบททั้งปวงก็นัยนี้นั่นเทียว.

ธรรมของโลก ชื่อว่าโลกธรรม. ธรรมดาว่าบุคคลผู้พ้นจากโลกธรรมเหล่านั้นไม่มี. แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ยังต้องมีนั่นเทียว. สมจริงดังพระดํารัสแม้ที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการเหล่านี้ ย่อมหมุนเวียนไปตามโลก และโลกก็ย่อมหมุนเวียนไปตามโลกธรรม ๘ ประการดังนี้. สองบทว่า ลาโภ อลาโภ บัณฑิตพึงทราบว่าครั้นเมื่อลาภมา ความไม่มีลาภก็มาด้วยนั่นเทียว. แม้ใน ยศ เป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. กถาว่าด้วยอภิภายตนะและวิโมกข์ ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล. คําว่า อิเม โข อาวุโส เป็นต้น บัณฑิตพึงประกอบโดยนัยดังที่กล่าวแล้วเหมือนกัน. พระเถระกล่าวปัญหา ๘๘ ปัญหาด้วยสามารถแห่งหมวดแปด ๑๑ หมวด แสดงสามัคคีรสแล้วด้วยประการฉะนี้แล.

จบหมวด ๘

 
  ข้อความที่ 128  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 391

ว่าด้วยธรรมหมวด ๙

พระเถระครั้นแสดงสามัคคีรสด้วยสามารถแห่งหมวดแปดด้วยประการฉะนี้ บัดนี้เพื่อจะแสดงสามัคคีรสด้วยสามารถแห่งหมวดเก้า จึงปรารภพระธรรมเทศนาอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาฆาตวตฺถูนิ แปลว่า เหตุแห่งความอาฆาต. สองบทว่า อาฆาตํ พนฺธติ ความว่า ผูกไว้คือกระทําได้แก่ ยังความโกรธให้เกิดขึ้น. หลายบทว่า ตํ กุเตตฺถ ลพฺภา ความว่า การประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์นั้น อย่าได้มีแล้ว เพราะเหตุนั้น อันบุคคลพึงได้จากที่ไหน คืออาจเพื่อจะได้ด้วยเหตุอะไรในบุคคลนี้. บุคคลคิดอย่างนี้ว่าธรรมดาว่าบุคคลอื่น ย่อมกระทําความฉิบหายตามความพอใจแห่งจิตของตนแก่บุคคลอื่น ดังนี้ ย่อมบรรเทาความอาฆาตได้. อีกอย่างหนึ่ง. อธิบายว่า ถ้าว่า เราพึงกระทําความโกรธตอบไซร้ การกระทําความโกรธนั้นอันเราพึงได้แต่ที่ไหนในบุคคลนี้ หรือพึงได้ด้วยเหตุอะไร บาลีว่า กุโต ลาภา ดังนี้ก็มี. ถ้าว่า เราพึงกระทําความโกรธในบุคคลนี้ไซร้ ธรรมดาว่า ลาภอันเราได้แต่ที่ไหนในการกระทําความโกรธของเรานั้น อธิบายว่า ลาภเหล่าไหนพึงมี. ก็ในอรรถนี้ ศัพท์ว่า ตํ เป็นเพียงนิบาต เท่านั้น.

บทว่า สตฺตาวาสาได้แก่ ถิ่นเป็นที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย อธิบายว่าที่เป็นที่ยู่. บรรดาสัตตาวาสเหล่านั้น แม้สุทธาวาสทั้งหลายก็จัดเป็นสัตตาวาสเหมือนกัน แต่ว่า ท่านมิได้จัดไว้ เพราะความที่ไม่เป็นไปในกาล

 
  ข้อความที่ 129  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 392

ทั้งปวง. จริงอยู่ สุทธาวาสทั้งหลาย เป็นเหมือนกับค่าย (ถิ่นที่ประทับ) ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เพราะว่าในอสงไขยกัปป ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าไม่บังเกิด ที่นั้นย่อมว่างเปล่า เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่จัดไว้ (ว่าเป็นสัตตาวาส) เพราะความที่ไม่เป็นไปในกาลทั้งปวง. คําที่เหลือในอรรถนี้ บัณฑิตพึงทราบดังต่อไปนี้ คําที่จะพึงกล่าวท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล. พึงทราบวินิจฉัยในอขณะทั้งหลาย. หลายบทว่า ธมฺโม จ เทสิยติ ความว่า สัจจธรรม ๔ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดง. บทว่า โอปสมิโก ความว่า กระทําการเข้าไประงับกิเลส. บทว่า ปรินิพฺพานิโก ความว่า นํามาซึ่งการดับรอบแห่งกิเลส. บทว่า สมฺโพธคามี ความว่า ผู้แทงตลอดด้วยมรรคญาณ ๔. บทว่า อฺตรํ ความว่า อสัญญภพ หรือว่า อรูปภพ บทว่า อนุปุพฺพวิหารา ความว่า วิหารธรรมอันจะพึงเข้าไปตามลําดับ. บทว่า อนุปุพฺพนิโรธา ความว่า ดับไปตามลําดับ. คําว่า อิเม โข อาวุโส เป็นต้น บัณฑิตพึงประกอบโดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล. พระเถระเมื่อกล่าวปัญหา ๕๔ ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดเก้า ๖ หมวด แสดงสามัคคีรส แล้วด้วยประการฉะนี้ ดังนี้แล.

จบหมวด ๙

ว่าด้วยธรรมหมวด ๑๐

พระเถระครั้นแสดงสามัคคีรสด้วยสามารถแห่งหมวดเก้าด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะแสดงสามัคคีรสด้วยสามารถแห่งหมวดสิบ จึงปรารภพระธรรมเทศนาอีก.

 
  ข้อความที่ 130  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 393

บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า นาถกรณา ความว่า ธรรมอันกระทําที่พึ่งแห่งตน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงมีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าอยู่ไม่มีที่พึ่งเลย ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้ เป็นธรรมที่กระทําที่พึ่ง. พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า กลฺยาณมิตฺโต เป็นต้น. มิตรทั้งหลายของบุคคลนั้น ถึงพร้อมด้วยคุณมีศีลเป็นต้น คือเป็นคนดี เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า กัลยาณมิตร (ผู้มีมิตรดี). อนึ่งมิตรเหล่านั้นของบุคคลนั้น ชื่อว่า สหาย เพราะไปร่วมกันในอิริยาบถทั้งหลายมีการยืนและการนั่งเป็นต้น เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่ากัลยาณสหาย (ผู้มีสหายดี). ความเข้าพวกในกัลยาณมิตรนั่นแล น้อมไปทั้งจิตและกาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า กัลยาณสัมปวังกะ (ผู้มีพวกดี).

สองบทว่า สุพฺพโจ โหติ ความว่า เป็นผู้อันเขาพึงว่ากล่าวได้โดยง่าย คืออันเขาพึงตามสอนได้โดยง่าย. บทว่า ขโม ความว่า ผู้ถูกเขาว่าด้วยถ้อยคําอันหนักคือ หยาบคาย ได้แก่แข็งกระด้าง ย่อมอดทนได้คือไม่โกรธ. สองบทว่า ปทกฺขิณคฺคาหี อนุสาสนี ความว่า ผู้ไม่กระทําเหมือนบุคคลบางคน พอถูกเขาโอวาทก็รับโดยเบื้องซ้าย แตกแยกกันไป หรือไม่ฟังไปเสีย ย่อมรับเบื้องขวาด้วยกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงโอวาท จงตามสอนเถิด เมื่อท่านไม่โอวาท คนอื่นใครเล่าจักโอวาทดังนี้. บทว่า อุจฺจาวจานิ ความว่า สูงและต่ํา. บทว่า กึกรณียานิ ความว่า การงานอันจะพึงกล่าวกระทําอย่างนี้ว่า กระผมจะทําอะไร. บรรดาการงานเหล่านั้น การงานมีอาทิอย่างนี้ว่า การกระทําจีวร การย้อมจีวร

 
  ข้อความที่ 131  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 394

การทําความสะอาดที่พระเจดีย์ การงานอันจะพึงกระทําที่โรงอุโบสถ เรือนพระเจดีย์ และเรือนโพธิ์ทั้งหลาย ชื่อว่า การงานสูง. การงานเล็กน้อยมีการล้างเท้าและทาเท้าเป็นต้น ชื่อว่า การงานต่ํา. บทว่า ตตฺรูปายาย ความว่า ควรเข้าไปในที่นั้น. สองบทว่า อลํ กาตุํ ความว่า เป็นผู้สามารถเพื่อจะทํา. สองบทว่า อลํ สํวิธาตุํ ความว่า ผู้สามารถเพื่อจะพิจารณา. อธิบายว่า เป็นผู้ใคร่ที่จะแสดงแก่คนเหล่าอื่น. ความใคร่คือความรัก ในธรรมของบุคคลนั้น มีอยู่ เหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า ธัมมกาโม (ผู้ใคร่ในธรรม). อธิบายว่าย่อมประพฤติรักซึ่งพระพุทธวจนะ คือพระไตรปิฎก. บทว่า ปิยสมุทาหาโร ความว่า เมื่อบุคคลอื่นกล่าวอยู่ ย่อมฟังโดยเคารพและเป็นผู้ใคร่ เพื่อจะแสดงแก่ชนเหล่าอื่นเอง. ในหมวดสองแห่งบทนี้ว่าอภิธมฺเม อภิวินเย บัณฑิตพึงทราบหมวดสี่แห่งคําว่า ธมฺโม อภิธมฺโม วินโย อภิวินโย ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม ได้แก่พระสุตตันปิฎก. บทว่า อภิธมฺโม ได้แก่ สัตตัปปกรณ์ (ปกรณ์ ๗). บทว่า วินโย ได้แก่ อุภโตวิภังค์. บทว่า อภิวินโย ได้แก่ ขันธกบริวาร. อีกอย่างหนึ่ง แม้พระสุตตันตปิฎก คือพระธรรมนั่นเอง มรรคและผลทั้งหลาย คือพระอภิธรรม พระวินัยปิฎกทั้งสิ้น คือพระวินัย การกระทําการเข้าไประงับกิเลส คือ อภิวินัย. บัณฑิตพึงทราบอธิบาย ในธรรม อภิธรรม วินัย และอภิวินัย. นี้แม้ทั้งหมดด้วยประการฉะนี้. บทว่า อุฬารปาโมชฺโช ความว่า เป็นผู้มีความปราโมทย์มาก. กุสเลสุ ธมฺเมสุ ความว่า สัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งตติภวิภัตติ. เพราะเหตุแห่งกุศลธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔. อธิบายว่า เป็นผู้ไม่ทอดธุระ เพื่อประโยชน์แก่การบรรลุกุศลธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔ เหล่านั้น.

 
  ข้อความที่ 132  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 395

บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในหมวดสิบแห่งกสิณดังต่อไปนี้. โดยอรรถทั้งสิ้น กสิณทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นแดน ด้วยอรรถว่า เป็นเขต หรือด้วยอรรถว่า การตั้งใจมั่น แห่งธรรมทั้งหลายอันเป็นตทารมณ์. บทว่า อุทฺธํ ความว่า ผู้มีหน้าเฉพาะต่อพื้นท้องฟ้าในเบื้องบน. บทว่า อโธ ความว่า ผู้มีหน้าเฉพาะต่อพื้นแผ่นดินเบื้องต่ํา. บทว่า ติริยํ ความว่า กําหนดตัดโดยรอบเหมือนมณฑลแห่งนา. จริงอยู่ บุคคลบางคน ย่อมขยายกสิณไปเบื้องบนอย่างเดียว บางคนขยายไปเบื้องล่าง บางคนขยายไปโดยรอบ. บุคคลผู้ใคร่ในการเห็นรูป ประดุจเหมือนแสงสว่าง ย่อมแผ่ออกไปอย่างนั้นหรือโดยเหตุนั้นนั้น. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า ผู้หนึ่ง ย่อมจําปฐวีกสิณได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง. ส่วนคําว่า อนฺวยํ นี้ ท่านกล่าวไว้เพื่อการเข้าถึงความเป็นอย่างอื่น แห่งบุคคลผู้หนึ่ง. เหมือนอย่างว่าเมื่อบุคคลดําลงน้ำ น้ำเท่านั้น ย่อมปรากฏมีในทิศทั้งปวง สิ่งอื่นหามีไม่ฉันใด ปฐวีกสิณก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นปฐวีกสิณอยู่นั่นเอง ความเจือด้วยกสิณอย่างอื่นของผู้นั้นย่อมไม่มี. ในกสิณทั้งปวงก็นัยนี้. คําว่า อปฺปมาณํ นี้ ท่านกล่าวไว้ ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปไม่มี ประมาณแห่งบุคคลนั้นๆ. จริงอยู่บุคคลเมื่อแผ่กสิณนั้นไปด้วยใจ ชื่อว่า แผ่ไปทั้งสิ้นทีเดียว คือไม่ถือเอาประมาณว่า นี้เป็นเบื้องต้น นี้เป็นท่ามกลางแห่งกสิณนั้น ดังนี้แล. ก็ในคําว่า วิฺาณกสิณํ นี้ได้แก่ วิญญาณที่เป็นไปในกสิณุคฆาติมากาศ (อากาศที่เพิกกสิณ). บัณฑิตพึงทราบความเป็นเบื้องบน เบื้องล่างและเบื้องขวาง ในวิญญาณที่เป็นไปในกสิณนั้น ด้วยสามารถแห่งกสิณุคฆาติมากาศด้วยอํานาจแห่งกสิณในวิญญาณนั้น. นี้เป็นความย่อในกสิณนี้. ก็แล กสิณทั้งหลายมีปฐวีกสิณเป็นต้นเหล่านั้น อันข้าพเจ้า

 
  ข้อความที่ 133  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 396

กล่าวไว้แล้ว โดยพิสดาร ในวิสุทธิมรรคนั่นแล โดยภาวนามัย แห่งกัมมัฏฐาน.

พึงทราบวินิจฉัยในกรรมบถทั้งหลายดังต่อไปนี้. กรรมทั้งหลายนั่นเอง ชื่อว่าเป็นกรรมบถ เพราะความเป็นทางแห่งทุคคติ และสุคติทั้งหลาย. บรรดากรรมบถเหล่านั้น กรรมบถทั้ง ๔ มีปาณาติบาต อทินนาทาน และมุสาวาท เป็นต้น ท่านให้พิสดารแล้วในพรหมชาลสูตรนั่นแล. ส่วนในกรรมบถข้อว่า กาเมสุ มิจฺฉาจาโร นี้ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า กาเมสุ ความว่า ในความประพฤติเมถุน หรือในวัตถุแห่งเมถุน. บทว่า มิจฺฉาจาโร ความว่า ความประพฤติอันลามก ที่บัณฑิตติเตียนโดยส่วนเดียว. ส่วนโดยลักษณะเจตนาที่ก้าวล่วงฐานะ อันไม่พึงถึงที่เป็นไปทางกายทวาร โดยความประสงค์จะเสพอสัทธรรม ก็จัดเป็นกาเมสุมิจฉาจาร. ในกาเมสุมิจฉาจารนั้น สําหรับบุรุษทั้งหลายก่อน หญิง ๑๐ จําพวก มีหญิงอันมารดารักษาเป็นต้น คือ หญิงอันมารดารักษา ๑ หญิงอันบิดารักษา ๑ หญิงอันมารดาและบิดารักษา ๑ หญิงอันพี่น้องชายรักษา ๑ หญิงอันพี่น้องหญิงรักษา ๑ หญิงอันญาติรักษา ๑ หญิงอันโคตรรักษา ๑ หญิงอันธรรมรักษา ๑ หญิงที่มีการอารักขา ๑ หญิงที่มีอาชญา ๑ และหญิง อีก ๑๐ จําพวกมีหญิงที่ซื้อมาด้วยทรัพย์เป็นต้น เหล่านั้น คือ หญิงที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ ๑ หญิงที่อยู่ด้วยความพอใจ ๑ หญิงที่อยู่ด้วยโภคะ ๑ หญิงที่อยู่ด้วยแผ่นผ้า ๑ หญิงผู้มีถังน้ำ (ตักน้ำ) ๑ หญิงผู้มีเทริดนําไป ๑ ภริยาผู้เป็นทาสี ๑ ภริยาผู้ทํางาน ๑ หญิงผู้นํามาด้วยธง ๑ หญิงผู้อยู่ชั่วครู่ ๑ รวมเป็นหญิง ๒๐ จําพวกชื่อว่า ฐานอันไม่พึงถึง. ส่วนบรรดาหญิงทั้งหลาย บุรุษเหล่าอื่น ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 134  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 397

เป็นฐานะอันไม่พึงถึงแห่งหญิง ๑๒ จําพวก คือ หญิงที่มีการอารักขาและมีอาชญา ๒ และหญิงที่ซื้อมาด้วยทรัพย์เป็นต้นอีก ๑๐. ก็มิจฉาจารนี้นั้นจัดว่ามีโทษน้อยในฐานะอันไม่พึงถึง ที่เว้นจากคุณมีศีลเป็นต้น จัดว่ามีโทษมากในฐานะอันไม่พึงถึง ที่ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น. กาเมสุมิจฉาจารนั้นมีสัมภาระ (องค์) ๔ คือวัตถุอันไม่พึงถึง ๑ จิตคิดจะเสพในวัตถุอันไม่พึงถึงนั้น ๑ ความพยายามในการเสพ ๑ การหยุดอยู่แห่งการปฏิบัติต่อองค์มรรคด้วยมรรค ๑. การกระทําด้วยมือของตนก็เป็นความพยายามอย่างหนึ่งนั่นแล.

บทว่า อภิชฺฌายติ แปลว่า การเพ่ง. อธิบายว่า เป็นผู้มีหน้าเฉพาะต่อภัณฑะของผู้อื่นเป็นไป เพราะความที่น้อมไปในภัณฑะของผู้อื่นนั้น. อภิชฌา นั้น มีการเพ่งต่อภัณฑะของผู้อื่นเป็นลักษณะอย่างนี้ว่า โอ หนอ วัตถุนี้พึงเป็นของเรา มีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือนอทินนาทาน. อภิชฌานั้น สัมภาระ (องค์) ๒ คือ ภัณฑะของผู้อื่น ๑ น้อมภัณฑะนั้นไปเพื่อตน ๑. ก็ครั้นเมื่อความโลภอันมีภัณฑะของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง แม้บังเกิดขึ้นแล้ว บุคคลไม่น้อมภัณฑะนั้นไปเพื่อตนว่า โอหนอ วัตถุนี้พึงเป็นของเรา ดังนี้ เพียงใด ความแตกแห่งกรรมบถ ก็ไม่มีเพียงนั้น. กิเลสใด ยังหิตสุขให้ย่อยยับไป เหตุนั้น กิเลสนั้นชื่อว่า พยาบาท. พยาบาทนั้น มีลักษณะประทุษร้ายทางใจ เพื่อความพินาศของผู้อื่น มีโทษน้อยและมีโทษมากเหมือนผรุสวาจา. พยาบาทนั้นมีสัมภาระ (องค์) ๒ คือสัตว์อื่น ๑ การคิดเพื่อความพินาศแห่งสัตว์อื่นนั้น ๑. ก็ครั้นเมื่อความโกรธอันมีสัตว์อื่นเป็นที่ตั้ง แม้บังเกิดขึ้นแล้ว บุคคลไม่คิดถึงความพินาศ

 
  ข้อความที่ 135  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 398

แห่งสัตว์อื่นนั้นว่าโอ หนอ บุคคลนี้ พึงขาดสูญ พึงพินาศ ดังนี้ เพียงใดความแตกแห่งกรรมบถก็ไม่มีเพียงนั้น. ที่ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เห็นผิด โดยไม่มีการถือเอาตามสภาพที่เป็นจริง. มิจฉาทิฏฐินั้น มีลักษณะเห็นผิด โดยนัยเป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ดังนี้ มีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือนสัมผัปปลาปะ. อีกอย่างหนึ่ง มิจฉาทิฏฐิ ที่ไม่แน่นอน (ไม่มั่นคง) มีโทษน้อย ที่แน่นอน (มั่นคง) มีโทษมาก. มิจฉาทิฏฐินั้นมีสัมภาระ (องค์) ๒ คือ ความที่วัตถุผิดจากอาการที่ตนถือเอา ๑ การบําเรอวัตถุนั้นโดยความเป็นเหมือนอย่างที่ตนถือเอา ๑. ส่วนอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการเหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยโดยอาการ ๕ คือ โดยธรรม ๑ โดยส่วน ๑ โดยอารมณ์ ๑ โดยเวทนา ๑ โดยมูล ๑.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมโต ความว่า เจตนาธรรม ๗ โดยลําดับเทียว ย่อมมีในอกุศลกรรมบถเหล่านั้น. เจตนาธรรม ๓ มีอภิชฌาเป็นต้น ชื่อว่า สัมปยุตด้วยเจตนา. บทว่า โกฏฺาสโต ความว่าเจตนาธรรม ๘ เหล่านี้ คือ โดยลําดับ ๑ และมิจฉาทิฏฐิอีก ๗ เป็นกรรมบถแท้ทีเดียว แต่ไม่เป็นมูล. อภิชฌาและพยาบาท เป็นทั้งกรรมบถและเป็นทั้งมูล. จริงอยู่ อภิชฌา ถึงความเป็นมูลแล้ว ย่อมเป็นโลภะอกุศลมูล. พยาบาทเป็นโทสะอกุศลมูล. บทว่า อารมฺมณโต ความว่าปาณาติบาต มีสังขารเป็นอารมณ์ โดยมีชีวิตินทรีย์เป็นอารมณ์. อทินนาทาน มีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง. มิจฉาจารมีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอํานาจแห่งโผฏฐัพพะ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง. มุสาวาท มีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง ปิสุณวาจาก็อย่างนั้น. ผรุสวาจามีสัตว์เป็นอารมณ์. สัมผัปปลาปะ มีสัตว์

 
  ข้อความที่ 136  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 399

เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยสามารถแห่งรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟังและอารมณ์ที่ได้ทราบแล้วรู้แจ้งแล้ว. อภิชฌาก็อย่างนั้น. พยาบาทมีสัตว์เป็นอารมณ์. มิจฉาทิฏฐิ มีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยสามารถแห่งธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ บ้าง มีสัตว์เป็นอารมณ์ ด้วยสามารถแห่งบัญญัติบ้าง. บทว่า เวทนาโต ความว่าปาณาติบาต เป็นทุกขเวทนา. เหมือนอย่างว่า พระราชาทั้งหลายทรงเห็นโจรแล้ว แม้จะทรงร่าเริงอยู่ตรัสว่า พวกท่านจงไปฆ่าโจรนั้น ดังนี้ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น สันนิฏฐาปกเจตนา (เจตนาที่ให้สําเร็จ) ก็ชื่อว่า สัมปยุตด้วยทุกข์แท้. อทินนาทานมีเวทนา ๓. มิจฉาจาร มีเวทนา ๒ คือ สุข และมัชฌัตตเวทนา (อุเบกขา) ส่วนว่า ในสันนิฏฐาปกจิต (จิตที่ให้สําเร็จ) มิจฉาจาร ไม่เป็นมัชฌัตตเวทนา. มุสาวาท มีเวทนา ๓. ปิสุณวาจาก็อย่างนั้น. ผรุสวาจา เป็นทุกขเวทนา. สัมผัปปลาปะ มีเวทนา ๓. อภิชฌามีเวทนา ๒ คือ สุขและมัชฌัตตเวทนา (อุเบกขา). มิจฉาทิฏฐิก็อย่างนั้น. พยาบาทเป็นทุกขเวทนา. บทว่า มูลโต ความว่า ปาณาติบาต มีมูล ๒ คือโทสะและโมหะ. อทินนาทานก็มีมูล ๒ เหมือนกัน คือโทสะและโมหะบ้าง โลภะและโมหะบ้าง. มิจฉาจาร มีมูล ๒ คือ โลภะและโมหะ. มุสาวาท ก็มีมูล ๒ คือโทสะและโมหะบ้าง โลภะและโมหะบ้าง. ปิสุณวาจา และสัมผัปปลาปะก็อย่างนั้น. ผรุสวาจามีมูล ๒ คือ โทสะและโมหะ. อภิชฌามีมูลเดียวคือโมหะ. พยาบาทก็อย่างนั้น. มิจฉาทิฏฐิมีมูล ๒ คือ โลภะและโมหะดังนี้แล.

กุศลกรรมบถทั้งหลายมีเจตนางดเว้น จากปาณาติบาตเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่งสมาทานวิรัติ สัมปัตตวิรัติ. และสมุจเฉท-

 
  ข้อความที่ 137  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 400

วิรัติ ส่วนโดยธรรม เจตนาทั้ง ๗ ก็ดี วิรัติทั้งหลายก็ดีย่อมเป็นไปโดยลําดับในกุศลกรรมบถแม้เหล่านั้น. เจตนาธรรม ๓ ในที่สุด ชื่อว่าสัมปยุตด้วยเจตนาแท้. บทว่า โกฏฺาสโต ความว่า เจตนาธรรม ๗ โดยลําดับชื่อว่าเป็นกรรมบถแท้ทีเดียวแต่ไม่มีมูล. เจตนาธรรม ๓ ในที่สุดเป็นทั้งกรรมบถและเป็นมูล. จริงอยู่ อนภิชฌา ถึงความเป็นมูลแล้ว ย่อมเป็นอโลภะกุศลมูล. อัพยาบาท เป็นอโทสะกุศลมูล. สัมมาทิฏฐิเป็นอโมหะกุศลมูล. บทว่า อารมฺมณโต ความว่า อารมณ์แห่งปาณาติบาตเป็นต้นนั่นเทียว แม้เป็นอารมณ์แห่งกุศลกรรมบถเหล่านั้น โดยลําดับ. จริงอยู่ เจตนานั้น ชื่อว่าเป็นเจตนางดเว้น เพราะความเป็นสภาพอันจะพึงก้าวล่วง. ก็อริยมรรคอันมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ย่อมละกิเลสทั้งหลายได้ฉันใด กรรมบถทั้งหลายเหล่านั้น แม้มีชีวิตินทรีย์เป็นต้นเป็นอารมณ์ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมละความเป็นผู้ทุศีลทั้งหลาย มีปาณาติบาตเป็นต้นฉันนั้น. บทว่า เวทนาโต ความว่า กุศลกรรมบถทั้งปวง เป็นสุขเวทนาบ้าง เป็นมัชฌัตตเวทนา (อุเบกขาเวทนา) บ้าง. จริงอยู่ ธรรมดาว่าทุกขเวทนา ถึงความเป็นกุศลไม่มี. ว่าโดยมูล กุศลกรรมบถ ๗ โดยลําดับ ย่อมมีมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะและอโมหะ แก่บุคคลผู้เว้นด้วยญาณสัมปยุตตจิต. ย่อมมีมูล ๒ แก่บุคคลผู้เว้นด้วยญาณวิปปยุตตจิต. อนภิชฌา มีมูลสอง สําหรับผู้เว้นด้วยญาณสัมปยุตตจิต มีมูลหนึ่งแก่บุคคลผู้เว้นด้วยญาณวิปปยุตตจิต. ก็อโลภะไม่เป็นมูลแก่ตนด้วยตนเลย. แม้ในอัพยาบาทก็นัยนี้เหมือนกัน. สัมมาทิฏฐิ มีมูล ๒ คืออโลภะ และอโทสะเท่านั้น ดังนี้แล.

บทว่า อริยวาสา ความว่า พระอริยะทั้งหลายนั่นเทียว อยู่แล้วคือ ย่อมอยู่ ได้แก่จักอยู่ในธรรมเหล่านั้น เหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอริยวาส. บทว่า ปฺจงฺควิปฺปหีโน ความว่า เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยองค์

 
  ข้อความที่ 138  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 401

ห้า พระขีณาสพ ได้อยู่แล้ว คือย่อมอยู่ ได้แก่จักอยู่ เพราะเหตุดังนี้นั้นความเป็นผู้ละองค์ห้าเสียได้นี้ ท่านเรียกว่าอริยวาส เพราะความเป็นธรรมเครื่องอยู่ของพระอริยะ. ในธรรมทั้งปวงก็นัยนี้เหมือนกัน. ดูก่อนท่านผู้มีอายุภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์หก อย่างนี้แล เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยฉฬังคุเบกขา. ถามว่า ธรรม เหล่าไร ชื่อว่า ฉฬังคุเบกขา. แม้ว่าธรรมมีญาณเป็นต้น ชื่อว่า ฉฬังคุเบกขา. เมื่อท่านกล่าวว่า ญาณบัณฑิตย่อมได้ ญาณสัมปยุตตจิต ๔ ดวง โดยกิริยา. เมื่อท่านกล่าวว่าสตตวิหาร ย่อมได้มหาจิต ๘ ดวง. เมื่อท่านกล่าวว่า รชฺชนทุสฺสนํ นตฺถิ ย่อมได้จิต ๑๐ ดวง. โสมนัส บัณฑิตย่อมได้ด้วยสามารถแห่งอาเสวนะ. สองบทว่า สตารกฺเขน เจตสา ความว่า ก็สติย่อมยังกิจแห่งการรักษาให้สําเร็จ ตลอดกาลทั้งปวง ในทวารทั้ง ๓ ของพระขีณาสพ. เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ ญาณทัสสนะ อันสงบระงับ แล้วติดต่อกัน ท่านจึงเรียกว่าเป็นญาณอันปรากฏเฉพาะแล้ว แก่พระขีณาสพนั้น ผู้เที่ยวไปอยู่ ผู้ยืนอยู่ ผู้หลับ และผู้ตื่น.

บทว่า ปุถุสมณพฺราหฺมณานํ ความว่า แห่งสมณพราหมณ์มาก. ก็บรรดาคําเหล่านั้น ที่ชื่อว่า สมณะ. ได้แก่ผู้เข้าถึงการบรรพชา. ที่ชื่อว่าพราหมณ์ ได้แก่ ผู้มีปกติกล่าวว่า เจริญ. บทว่า ปุถุปจฺเจกสจฺจานิ ความว่า สัจจะเฉพาะตัวมาก อธิบายว่า สัจจะ เป็นอันมากที่ท่านถือเอาเฉพาะอย่างนี้ว่า นี้เท่านั้นจริง. บทว่า นุณฺณานิ ความว่า ถูกนําออก. บทว่า ปนุณฺณานิ ความว่า ถูกนําออกด้วยดี. บทว่า จตฺตานิ ความว่าปล่อยแล้ว. บทว่า วนฺตานิ ความว่า คายแล้ว. บทว่า มุตฺตานิ ความว่ากระทําการตัดเครื่องผูก. บทว่า ปหีนานิ ความว่า ละแล้ว. บทว่า

 
  ข้อความที่ 139  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 402

ปฏินิสฺสฏฺานิ ความว่า สละเฉพาะโดยประการที่กิเลสจะไม่ขึ้นสู่จิตอีก. คําเหล่านั้นทั้งปวงนั่นแล เป็นไวพจน์แห่งความสละการยึดถืออันตนยึดถืออยู่แล้ว. บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคําว่า สมวยสฏฺเสโน นี้ดังต่อไปนี้ บทว่า อวยา ได้แก่ ไม่ขาดแคลน บทว่า สฏฺา ได้แก่ สละแล้ว บุคคลนี้มีการแสวงหา อันไม่ขาดแคลน คือสละแล้วโดยชอบ. เพราะเหตุนี้ จึงชื่อว่า ผู้มีการแสวงหาอันไม่ขาดแคลนและสละแล้วเสมอ. อธิบายว่า ผู้มีการแสวงหาทั้งปวงอันสละแล้วโดยชอบ ด้วยคําเป็นต้นว่า จิตหลุดพ้นแล้วจากราคะ เป็นอันกล่าวความสําเร็จแห่งกิจของมรรค. ด้วยคําเป็นต้นว่า เราละราคะได้แล้ว เป็นอันกล่าวผลของการพิจารณา. พระอเสขะชื่อว่า มีธรรมอันสัมปยุตด้วยผลแม้ทั้งปวง มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น. ก็ในบรรดาธรรมเหล่านั้น ปัญญาเทียวเป็นอันท่านกล่าวไว้ ในฐานะทั้ง ๒ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาญาณ ๑. ธรรม คือผลสมาบัติ ที่เหลือ ท่านกล่าวไว้ด้วยบทนี้ว่า สัมมาวิมุตติ บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านสงเคราะห์เข้าแล้ว. คําว่า อิเม โข อาวุโส เป็นต้น บัณฑิตพึงประกอบโดยนัย ดังที่กล่าวแล้วนั่นแล. พระเถระเมื่อกล่าวปัญหา ๖๐ ถ้วน ด้วยสามารถแห่งหมวดสิบ ๖ หมวด ด้วยประการฉะนี้ แสดงสามัคคีรสแล้วดังนี้แล.

จบหมวด ๑๐

ก็ภิกษุดํารงในศาสนานี้แล้ว พึงประชุมปัญหาดังต่อไปนี้. จริงอยู่ ในพระสูตรนี้ เป็นอันท่านกล่าว ๒ ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดหนึ่งๆ กล่าว ๗๐ ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดสอง กล่าว ๑๘๐ ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดสาม ๒๐๐ ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดสี่ กล่าว ๑๓๐ ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดห้า กล่าว ๑๓๒ ปัญหา ด้วยสามารถ

 
  ข้อความที่ 140  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 403

แห่งหมวดหก กล่าว ๙๘ ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดเจ็ด กล่าว ๘๘ ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดแปด กล่าว ๕๔ ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดเก้า กล่าว ๖๐ ปัญหาถ้วน ด้วยสามารถแห่งหมวดสิบ รวมเป็น อันท่านกล่าวปัญหาไว้ ๑,๐๑๔ ปัญหา ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ เว้นพระสูตรนี้เสีย พระสูตรอื่นในพระพุทธวจนะคือ พระไตรปิฏกอันประดับด้วยปัญหามากอย่างนี้ไม่มี. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับพระสูตรนี้ทั้งหมดตั้งแต่ต้นแล้ว ดําริว่า พระสารีบุตรผู้เป็นธรรมเสนาบดี แสดงกําลังแห่งพระพุทธเจ้า บรรลือสีหนาท ในอัปปฏิวัตกาล เมื่อเรากล่าวว่า เป็นสาวกภาษิต ความปลงใจเชื่อก็จะไม่มี ครั้นเมื่อเรากล่าวว่า เป็นชินภาษิต ดังนี้ ความปลงใจเชื่อจึงจะมี เพราะเหตุนั้น เรากระทําให้เป็นชินภาษิตแล้ว ยังความปลงใจเธอให้เกิดแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายในพระสูตรนี้ ดังนี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากที่นั้นได้ประทานสาธุการแล้ว. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้น ตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาว่า สารีบุตร ดีละ ดีนักแล สารีบุตร เธอได้กล่าวสังคีติปริยายสูตรแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺคีติปริยายํ ได้แก่ เหตุแห่งความสามัคคี. มีคําที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า สารีบุตร ดีนักแล เธอเทียบเคียงด้วยสัพพัญุตญาณของเรา ได้กล่าวสามัคคีรสแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว. หลายบทว่า สมนุฺโ สตฺถา อโหสิ ความว่า ได้เป็นผู้พอใจด้วยการอนุโมทนาแล้ว. พระสูตรนี้ชื่อว่า ชินภาษิต เกิดแล้วด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้. ในกาลเป็นที่สิ้นสุดแห่งพระเทศนา ภิกษุเหล่านั้น กระทําไว้ในใจซึ่งพระสูตรนี้ บรรลุพระอรหัตต์แล้ว ดังนี้แล.

จบอรรถกถาสังคีติสูตรที่ ๑๐