พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถามหาปทานสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  11 ก.ค. 2564
หมายเลข  34593
อ่าน  1,364
  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 69

สุมังคลวิลาสีนี

ทีฑนิกาย

มหาวรรควรรณนา

อรรถกถามหาปทานสูตร

มหาปทานสูตรมีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กเรริกุฏี ณ พระวิหารเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในพระนครสาวัตถี.

ต่อไปนี้เป็นการพรรณนาบทตามลําดับในมหาปทานสูตรนั้น บทว่าในกเรริ ในบทว่า กเรริกุฏิกายํ เป็นชื่อของไม้กุ่มน้ำ กเรริมณฑปตั้งอยู่ใกล้ประตูกุฏีนั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่ากเรริกุฏี เหมือนท่านเรียกว่าโกสัมพกุฏี เพราะตั้งอยู่ใกล้ประตูต้นเล็บเหยี่ยว.

นัยว่าภายในพระวิหารเชตวัน มีเรือนใหญ่อยู่ ๔ หลังคือกเรริกุฏี โกสัมพกุฏี คันธกุฏี สฬลฆระ (เรือนไม้สน) หลังหนึ่งๆ สําเร็จด้วยการบริจาคทรัพย์หลังละหนึ่งแสน. ใน ๔ หลังนั้นพระเจ้าปเสนทิทรงสร้างสฬลฆระ. ที่เหลืออนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้าง. เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงประทับอยู่ ณ กเรริกุฏี โดยที่อนาถบิณฑิกคฤหบดีได้สร้างทิพยพฤกษ์ดุจ เทววิมานไว้เบื้องบนเสาทั้งหลาย.

บทว่า ปจฺฉาภตฺตํ ความว่า เมื่อภิกษุฉันอาหารมื้อเดียว และมิใช่ฉันภายหลังอาหาร ฉันแต่เช้าตรู่แม้ฉันภายในเที่ยงวัน ก็ชื่อว่าปัจฉาภัตเหมือนกัน. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์ปัจฉาภัตรหลังอาหารตามปรกติ. บทว่า ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺตานํ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 70

ความว่า เมื่อภิกษุกลับจากบิณทบาตฉันอาหารเสร็จแล้วลุกขึ้น. บทว่า กเรริมณฺฑลมาเล ความว่า ณ ศาลานั่งซึ่งสร้างไว้ไม่ไกลกเรริมณฑป นั่นเอง.

ได้ยินว่ากเรริมณฑปนั้นอยู่ในระหว่างคันธกุฎีและศาลา. เพราะฉะนั้น คันธกุฏีบ้าง กเรริกุฏีบ้าง ศาลาบ้าง ท่านเรียกว่าโรงกเรริมณฑล.

บทว่า ปุพฺเพนิวาสปฏิสํยุตฺตา ความว่า ธรรมีกถาประกอบด้วยบุพเพสันนิวาส กล่าวคือขันธสันดานที่อาศัยอยู่ในชาติก่อน จําแนกออกอย่างนี้ คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง อันเป็นไปแล้ว. บทว่า ธมฺมี คือประกอบด้วย ธรรม. บทว่า อุทปาทิ ความว่า บุพเพนิวาสญาณของพระทศพลน่าอัศจรรย์จริง. ถามว่า ชื่อว่าบุพเพนิวาส ใครระลึกได้ ใครระลึกไม่ได้ ตอบ เดียรถีย์ระลึกได้ พระสาวกพระปัจเจกพุทธะระลึกได้. เดียรถีย์พวกไหนระลึกได้. เดียรถีย์เหล่าใดถึงความเป็นผู้เลิศเป็นกรรมวาที เดียรถีย์แม้เหล่านั้นก็ระลึกได้ตลอด ๔๐ กัปเท่านั้น ยิ่งกว่านั้นไม่ได้. พระสาวกระลึกได้แสนกัป. พระอัครสาวกทั้งสองระลึกได้อสงไขยและแสนกัป. พระปัจเจกพุทธะระลึกได้สองอสงไขยและแสนกัป. แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีกําหนดเท่านั้นเท่านี้. พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงระลึกเท่าที่ทรงหวัง เดียรถีย์ทั้งหลายระลึกได้ตามลําดับขันธ์ พ้นลําดับแล้วไม่สามารถระลึกได้. เดียรถีย์ทั้งหลายแม้ระลึกได้ตามลําดับ ก็ถึงความเป็นผู้ไม่มีความรู้สึก ย่อมไม่เห็นความเป็นไปของขันธ์ เหมือนนกตกลงไปในตาข่าย และคนพิการตกลงไปในหลุม. เขาเหล่านั้นตกแล้วในที่นั้น ย่อมเห็นว่าเท่านี้เอง ยิ่งกว่านี้ไม่มี. ด้วยเหตุนี้ การระลึกถึงบุพเพสันนิวาสของพวกเดียรถีย์ย่อมเป็นเหมือนคนตาบอดเดินไปด้วยปลายไม้เท้า. ธรรมดาคนตาบอด เมื่อยังมีคนถือปลายไม้เท้าอยู่ ย่อมเดินไปได้ เมื่อไม่มีก็นั่งอยู่ที่นั้นเองฉันใด พวกเดียรถีย์ก็ฉันนั้น นั่นแล ย่อมสามารถระลึกถึงได้ตามลําดับขันธ์ เว้นลําดับ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 71

เสียแล้วย่อมไม่สามารถระลึกได้. แม้พระสาวกทั้งหลายก็ระลึกถึงตามลําดับขันธ์ได้ ครั้นถึงความเป็นผู้ไม่มีความรู้สึก ย่อมไม่เห็นความเป็นไปของขันธ์. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ ชื่อว่ากาลอันไม่มีแห่งขันธ์ทั้งหลายของสัตว์ผู้ท่องเที่ยวไปสู่วัฏฏะเหล่านั้นย่อมไม่มี แต่ในอสัญญภพย่อมเป็นไป ๕๐๐ กัป เพราะฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายก้าวล่วงกาลประมาณเท่านี้ ตั้งอยู่ในคําแนะนําอันพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงประทานแล้ว ย่อมระลึกถึงข้างหน้าได้เหมือนท่านโสภิตะฉะนั้น. อนึ่ง พระอัครสาวกทั้งสองและพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรวจดูจุติและปฏิสนธิแล้วย่อมระลึกถึงได้. กิจคือจุติและปฏิสนธิของพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่มี. พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระประสงค์จะทรงเห็นฐานะใดๆ ย่อมทรงเห็นฐานะนั้นๆ ทีเดียว. อนึ่ง เดียรถีย์ทั้งหลายเมื่อระลึกถึงบุพเพสันนิวาสย่อมระลึกถึงสิ่งที่ตนเห็นแล้วกระทําแล้วฟังแล้วเท่านั้น. พระสาวกทั้งหลายและพระปัจเจกพุทธะทั้งหลายก็เหมือนอย่างนั้น. แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงระลึกถึงสิ่งทั้งหมดทีเดียวที่พระองค์หรือผู้อื่นเห็นแล้วกระทําแล้วฟังแล้ว. บุพเพนิวาสญาณของพวกเดียรถีย์เป็นเช่นกับแสงหิ่งห้อย ของพระสาวกทั้งหลายเป็นเช่นกับแสงประทีป ของพระอัครสาวกเป็นเช่นกับแสงดาวประกายพฤกษ์ ของพระปัจเจกพุทธะทั้งหลายเป็นเช่นกับแสงพระจันทร์ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นกับแสงลุริยมณฑลพันดวง. พระพุทธเจ้านั้น ไม่กําหนดประมาณเท่านี้ว่า ร้อยชาติ พันชาติ แสนชาติ หรือ ร้อยกัป พันกัป แสนกัป เมื่อพระพุทธเจ้าทรงระลึกถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมไม่พลาด ย่อมไม่ขัดข้องโดยแท้ ความนึกคิดต่อเนื่องกันย่อมเป็นความต่อเนื่องกันด้วย ความหวัง ความไตร่ตรองและจิตตุบาทนั่นเอง บุพเพนิวาสญาณย่อมแล่นไปไม่ติดขัด ดุจลูกศรเหล็กแล่นไปฉับพลันในกองใบไม้ที่ผุ และดุจอินทวัชระที่ซัดไปบนยอดเขาสิเนรุ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 72

บทว่า อโห มหนฺตํ ภควโต ปุพฺเพนิวาสาณํ ความว่า การสนาทนาเกิดขึ้น คือ เป็นไปแล้วปรารภพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประการฉะนี้ เพื่อแสดงความทั้งหมดนั้น โดยย่อท่านจึงกล่าวไว้ในบาลีเพียงว่า อิติปิ ปุพฺเพนิวาโส อิติปิ ปุพฺเพนิวาโส ในบทเหล่านั้นบทว่า อิติปิ แปลว่าแม้อย่างนี้

ข้อความใดที่ควรกล่าวไว้ในบาลีนี้ว่า อสฺโสสิ โข ภควา ฯเปฯ อถ ภควา อนุปฺปตฺโต ท่านกล่าวไว้แล้วในอรรถกถาพรหมชาลสูตรนั้นแล ต่อไป นี้ข้อความนั้น เป็นความต่างกัน. ในสูตรนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้สดับโดยพระสัพพัญุตญาณ. ในสูตรนี้ได้สดับโดยทิพพโสต. อนึ่ง ในสูตรนั้นสนทนาถึงคุณและโทษยังค้างอยู่. ในสูตรนี้สนทนาถึงบุพเพนิวาสญาณ. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดําริว่า ภิกษุเหล่านี้สรรเสริญคุณปรารภบุพเพนิวาสญาณของเรา แต่ไม่รู้ความสําเร็จแห่งบุพเพนิวาสญาณของเรา ช่างเถิด เราจักกล่าว ถึงความสําเร็จแห่งบุพเพนิวาสญาณนั้นแล้วแสดงแก่พวกเธอ จึงเสด็จมาประทับ นั่ง ณ พุทธอาศน์อันประเสริฐซึ่งตามปกติตั้งไว้เพื่อพระพุทธเจ้าประทับนั่งแสดงธรรม ซึ่งขณะนั้นภิกษุทั้งหลายปูลาดถวายไว้ มีพระพุทธประสงค์จะทรงแสดงธรรมกถาเกี่ยวกับบุพเพนิวาสญาณแก่ภิกษุเหล่านั้น ในที่สุดแห่งคําถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสนทนาเรื่องอะไรกัน และแห่งคําตอบตั้งแต่ต้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ากลับจากบิณฑบาตแล้วในเวลาปัจฉาภัต ได้นั่งประชุมกัน ณ โรงกเรริมณฑล แล้วเกิดสนทนาธรรมกันขึ้นเกี่ยวกับบุพเพนิวาสญาณว่า บุพเพนิวาส บุพเพนิวาส ดังนี้พระเจ้าข้า จึงตรัสคําเป็นต้นว่า พวกเธอปรารถนาจะฟังหรือไม่. ในบทเหล่านั้น บทว่า อิจฺเฉยฺยาถโน แปลว่า พวกเธอปรารถนาจะฟังหรือไม่หนอ.

ลําดับนั้น ภิกษุทั้งหลายมีใจรื่นเริง เมื่อจะทูลวิงวอนกะพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงเวลาแล้วที่พระองค์จะทรงกระทําธรรมกถานี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า เอตสฺส คือ การกระทําธรรมกถานี้.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 73

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับคําทูลวิงวอนของภิกษุเหล่านั้น มีพระพุทธประสงค์จะทรงแสดง จึงทรงชักชวนภิกษุเหล่านั้นในการเงี่ยหูฟังและตั้งใจฟังด้วยดีด้วยพระดํารัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้น พวกเธอทั้งหลายจงฟัง แล้วมีพระพุทธประสงค์จะประกาศการระลึกถึงทางอันตัดขาดแล้ว ไม่ทั่วไปแก่ชนเหล่าอื่น จึงตรัสคําเป็นต้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นับแต่นี้ไปดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยํ วิปสฺสี คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีในกัปใด. แท้จริง ยํ ศัพท์นี้ ใช้ในปฐมาวิภัตติ์ ในบททั้งหลายเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อความใดที่ข้าพระองค์สดับมาแล้วรับมาแล้วต่อหน้าพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ข้าพระองค์จะกราบทูลข้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ใช้ในทุติยาวิภัตติ์ในบททั้งหลายเป็นต้นว่า

ท่านอกิตตยิ พวกข้าพเจ้าได้ถามข้อความอันใดไว้ พวกข้าพเจ้าจะขอถามข้อความอันนั้นอื่น ขอเชิญท่านจงบอกข้อความนั้นแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายเถิดดังนี้.

ใช้ในตติยาวิภัตติ์ ในบททั้งหลายเป็นต้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ไม่มีช่องว่างด้วยโลกธาตุหนึ่งไม่ใช่ฐานะที่จะเป็นได้. แต่ในบทนี้พึงทราบว่าใช้ในสัตตมีวิภัตติ์. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ยสฺมึ กปฺเป แปลว่า ในกัปใด. บทว่า อุทปาทิ ความว่า ยังหมื่นโลกธาตุให้บันลือเกิดขึ้นแล้ว. บทว่า ภทฺทกปฺเป ความว่า ในสุนทรกัปคือในสาระกัป เพราะมีพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้น ๕ พระองค์ ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงยกย่องกัปนี้ จึงตรัสอย่างนี้.

ดังได้ทราบมาว่า ตั้งแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายทรงบําเพ็ญอภินิหาร ย่อมไม่มีแม้ในกัปเดียวในระหว่างนั้นที่พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ทรงอุบัติแล้ว. ก็แต่ก่อนอภินิหารของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย พระพุทธ-

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 74

เจ้า ๔ พระองค์คือ พระตัณหังกร พระเมธังกร พระสรณังกร พระทีปังกร ทรงอุบัติแล้วในกัปเดียว. ในส่วนที่เหนือขึ้นไปของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ได้ว่างเปล่าพระพุทธเจ้าไปถึงหนึ่งอสงไขยทีเดียว. ในที่สุดอสงไขยกัป พระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะพระองค์เดียวเท่านั้น ทรงอุบัติขึ้นในกัปหนึ่ง. แม้จากนั้นก็ได้ว่างเปล่าพระพุทธเจ้าไปอีกหนึ่งอสงไขย. ในที่สุดอสงไขยกัป พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ คือ พระสุมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ พระโสภิตะ ทรงอุบัติขึ้นในกัปหนึ่ง. แม้จากนั้นก็ว่างเปล่าพระพุทธเจ้าไปอีกหนึ่งอสงไขย ในที่สุด-อสงไขยกัป ต่อไปอีก อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป พระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ คือ พระอโนมทัสสี พระปทุมะ พระนารทะ ทรงอุบัติขึ้นในกัปหนึ่ง. แม้จากนั้นก็ได้ว่างเปล่าพระพุทธเจ้าไปอีกหนึ่งอสงไขย. ในที่สุดอสงไขยกัป ต่อไปอีกแสนกัป พระผู้มีพระภาคพระนามว่า พระปทุมุตตระ พระองค์เดียวเท่านั้น ทรงอุบัติขึ้นในกัปหนึ่ง. ต่อจากนี้ไปอีกสามหมื่นกัป พระพุทธเจ้าสองพระองค์ คือ พระสุเมธะ พระสุชาตะ ทรงอุบัติขึ้นในกัปหนึ่ง. ในส่วนที่เหนือออกไปจากนั้น ต่อไปอีก ๑๘,๐๐๐ กัป พระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ คือ พระปิยทัสสี พระอัตถทัสสิ พระธัมมทัสสี ทรงอุบัติขึ้นในกัปหนึ่ง. ต่อจากนั้นไป ๙๔ กัป พระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถ ทรงอุบัติขึ้นในกัปหนึ่ง ต่อจากนั้นไป ๙๒ กัป พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือ พระติสสะ พระปุสสะ ทรงอุบัติขึ้นในกัปหนึ่ง. ต่อจากนั้นไป ๙๑ กัป พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงอุบัติขึ้น. ต่อจากนั้น ๓๑ กัป พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือ พระสิขี พระเวสสภู ทรงอุบัติขึ้น. ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลายทรงอุบัติขึ้น พระเมตเตยยะจักทรงอุบัติขึ้นภายหลัง. กัปนี้เป็นสุนทรกัปเป็นสารกัป เพราะมีพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้น ๕ พระองค์ด้วยประการฉะนี้ ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงยกย่องกัปนี้ จึงตรัสอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 75

ถามว่า ข้อที่ว่าพระพุทธเจ้าประมาณเท่านั้น ทรงอุบัติขึ้นแล้วก็ดี จักทรงอุบัติขึ้นก็ดี ในกัปนี้ ย่อมเป็นการปรากฏแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้นหรือ หรือว่าย่อมเป็นการปรากฏแม้แก่ผู้อื่นด้วย. ตอบว่า ย่อมเป็นการปรากฏแม้แก่ผู้อื่นด้วย. ถามว่า แก่ใคร. ตอบว่า แก่พรหมชั้นสุทธาวาส.

จริงอยู่ในกาลดํารงอยู่แห่งกัป เมื่อโลกสันนิวาสดํารงอยู่ตลอดอสงไขยหนึ่ง ฝนเริ่มตกเพื่อให้โลกดํารงอยู่. ย่อมเป็นเหมือนหิมะตกในสุดแคว้นแต่ต้นเทียว. จากนั้นก็มีรําข้าวประมาณหนึ่ง งาประมาณหนึ่ง ข้าวสารประมาณหนึ่ง ถั่วเขียวประมาณหนึ่ง ถั่วทองประมาณหนึ่ง พุทรา มะขามป้อม ฟักเหลือง ฟักเขียว น้ำเต้า ประมาณหนึ่ง เป็นสายน้ำงอกงามขึ้นโดยลําดับ หนึ่งอุสภะ สองอุสภะ กึ่งคาวุต หนึ่งคาวุต กึ่งโยชน์ หนึ่งโยชน์ สองโยชน์ สามโยชน์ สิบโยชน์ ฯลฯ แสนโยชน์เป็นประมาณ ตั้งอยู่บริบูรณ์ในระหว่างแสนโกฏิจักรวาลจนถึงอกนิฏฐพรหมโลก. ลําดับนั้น น้ำนั้นตกโดยลําดับ เมื่อน้ำตก เทวโลกทั้งหลายย่อมดํารงอยู่ในที่ของเทวโลกเป็นปกติ. วิธีสร้างเทวโลกเหล่านั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในบุพเพนิวาสกถา ในวิสุทธิมรรค.

ก็ฐานะของมนุสสโลก เหมือนเมื่อนําเข้าไปแล้วปิดปากธมกรกเสีย น้ำนั้นก็อยู่ได้ด้วยอํานาจของลม. แผ่นดินย่อมตั้งอยู่ได้เหมือนใบบัวอยู่หลังน้ำ. มหาโพธิบัลลังก์ เมื่อโลกพินาศ จะพินาศในภายหลัง เมื่อโลกดํารงอยู่ก็ดํารงอยู่ก่อน. ณ โพธิบัลลังก์นั้น กอบัวกอหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้นเป็นบุพพนิมิตร หากว่าในกัปนั้นของโพธิบัลลังก์นั้น พระพุทธเจ้าจักทรงอุบัติ ดอกบัวย่อมเกิดขึ้น หากไม่ทรงอุบัติ ดอกบัวจะไม่เกิด. อนึ่ง เมื่อดอกบัวเกิด หากพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งจักทรงอุบัติ ก็เกิดดอกเดียว. หากพระพุทธเจ้าจักทรงอุบัติ ๒ องค์ ๓ องค์ ๔ องค์ ๕ องค์ ดอกบัวก็เกิด ๕ ดอก. อนึ่งดอกบัวเหล่านั้นเป็นดอกมีช่อติดกันในก้านเดียวนั่นเอง. ท้าวสุทธาวาสพรหมทั้งหลายชวนกันว่า ท่านผู้นิรทุกข์

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 76

ทั้งหลาย พวกเรามากันเกิด จักเห็นบุพนิมิตรแล้วพากันมายังมหาโพธิบัลลังก์สถาน ในกัปที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายยังไม่ทรงอุบัติดอกบัวก็ไม่มี. ทวยเทพทั้งหลายเห็นดอกบัวไม่มีดอกก็มีความเสียใจว่า พ่อคุณเอย โลกจักมืดมนหนอ สัตว์ทั้งหลายถูกความมืดครอบงําจักเต็มในอบาย เทวโลก ๖ พรหมโลก ๙ จักว่างเปล่า ครั้นเห็นดอกบัวในเวลาบานต่างดีใจว่า เมื่อพระสัพพัญูโพธิสัตว์ทรงก้าวลงสู่ครรภ์พระมารดา ประสูติตรัสรู้ ยังธรรมจักรให้เป็นไป ทรงกระทํายมกปาฏิหาริย์หยั่งลงจากเทวโลก ทรงปลงอายุสังขารเสด็จดับขันธปรินิพพานพวกเราจักเห็นปาฏิหาริย์ อันทําให้หมื่นจักรวาลหวั่นไหว และอบายทั้ง ๔ จักเสื่อมโทรม เทวโลก ๖ พรหมโลก ๙ จักบริบูรณ์พากันเปล่งอุทานไปสู่พรหมโลกของตนของตน.

อนึ่ง ดอกบัว ๕ ดอกเกิดขึ้นแล้วในกัปนี้. แม้ท้าวสุทธาวาสพรหมทั้งหลายครั้นเห็นดอกบัวเหล่านั้นก็รู้ความนี้ว่า พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ ทรงอุบัติแล้ว องค์ที่ ๕ จักทรงอุบัติต่อไปดังนี้ ด้วยอานุภาพแห่งนิมิตรเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ข้อนั้นเป็นการปรากฏแม้แก่ผู้อื่นดังนี้.

แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงบุพเพนิวาส ด้วยสามารถกําหนดกัปโดยนัยเป็นต้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นับแต่นี้ไป ดังนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะทรงแสดงด้วยสามารถกําหนดชาติเป็นต้นของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น จึงตรัสคําเป็นต้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าพระวิปัสสีดังนี้.

ในบทเหล่านั้นพึงทราบวินิจฉัยในการกําหนดอายุ. บททั้งสองนี้ว่า ปริตฺตํ ลหุกํ เป็นไวพจน์ของอายุน้อยนั้นเอง. ด้วยว่าอายุใดน้อย อายุนั้นย่อมเป็นของนิดหน่อยและเยา. บทว่า อปฺปํวา ภิยฺโย คืออายุเกินกว่า ๑๐๐ ปีมีน้อย. ครั้นยังไม่ถึง ๑๐๐ ปี ย่อมเป็นอยู่ ๒๐ ปี ๓๐ ปี ๔๐ ปี ๕๐ ปี หรือ ๖๐ ปี. แต่คนอายุยืนอย่างนี้หาได้ยากนัก ได้ข่าวว่า คนโน้นอยู่นานอย่างนี้

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 77

ควรพากันไปดูในที่นั้นๆ . บรรดาคนมีอายุยืนนั้น นางวิสาขาอุบาสิกาอยู่ได้ ๑๒๐ ปี พราหมณ์โปกขรสาติ พราหมณ์พรหมายุ พราหมณ์เสละ พราหมณ์พาวริยะ พระอานนทเถระ พระมหากัสสปเถระ ก็เหมือนกัน แต่พระอนุรุทธเถระอยู่ถึง ๑๕๐ ปี พระพากุลเถระอยู่ ๑๖๐ ปี ท่านผู้นี้มีอายุยืนกว่าทั้งหมด. แม้ท่านก็อยู่ไม่ถึง ๒๐๐ ปี.

ก็พระโพธิสัตว์แม้ทั้งปวงมีพระวิปัสสีเป็นต้น ถือปฏิสนธิในครรภ์พระมารดา ด้วยอสังขาริกจิต สหรคตด้วยโสมนัสและสัมปยุตด้วยญาณ อันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งเมตตา. เมื่อถือปฏิสนธิด้วยจิตดวงนั้นจะมีอายุอสงไขยหนึ่ง. ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าทั้งปวง จึงมีอายุอสงไขยหนึ่ง. ถามว่า เพราะเหตุไรท่านเหล่านั้นจึงไม่ตั้งอยู่ถึงอสงไขย. ตอบว่า เพราะความวิบัติแห่งฤดูและโภชนะ. จริงอยู่ อายุย่อมเสื่อมบ้าง ย่อมเจริญบ้างด้วยอํานาจแห่งฤดูและโภชนะ.

ในข้อนั้น เมื่อใดพระราชาทั้งหลายไม่เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม เมื่อนั้น อุปราช เสนาบดี เศรษฐี สกลนคร สกลรัฐ ก็ย่อมไม่ประกอบด้วยธรรมเหมือนกัน. เมื่อเป็นดังนั้น อารักขเทวดาของชนเหล่านั้น ภุมมเทวดา ผู้เป็นมิตรของเทวดาเหล่านั้น อากาสัฏฐกเทวดา ผู้เป็นมิตรของภุมมเทวดา อุณหวลาหกเทวดาผู้เป็นมิตรของอากาสัฏฐกเทวดา อัพภวลาหกเทวดา ผู้เป็นมิตรของอุณหวลาหกเทวดาเหล่านั้น สีตวลาหกเทวดา ผู้เป็นมิตรของอัพภวลาหกเทวดาเหล่านั้น วัสสวลาหกเทวดา ผู้เป็นมิตรของสีตวลาหกเทวดาเหล่านั้น จาตุมมหาราชิกาเทวดา ผู้เป็นมิตรของวัสสวลาหกเทวดาเหล่านั้น ดาวดึงสเทวดา ผู้เป็นมิตรของจาตุมมหาราชิกาเทวดาเหล่านั้น ยามาเทวดา ผู้เป็นมิตรของดาวดึงสเทวดาเหล่านั้นเป็นต้น ตราบเท่าถึงภวัคคพรหม เว้นพระอริยสาวกเทวดาทั้งหมด แม้พรหมบริษัท ก็เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม. พระจันทร์พระอาทิตย์ย่อมดําเนินไปลุ่มๆ ดอนๆ เพราะเทวดาเหล่านั้นไม่

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 78

ประกอบด้วยธรรม. ลมย่อมไม่พัดไปตามทางลม. เมื่อลมไม่พัดไปตามทางลมย่อมทําให้วิมานซึ่งตั้งอยู่บนอากาศสะเทือน. เมื่อวิมานสะเทือน พวกเทวดาก็ไม่มีจิตใจจะไปเล่นกีฬา เมื่อเทวดาไม่มีจิตใจจะไปเล่นกีฬา ฤดูหนาว ฤดูร้อน ย่อมไม่เป็นไปตามฤดูกาล. เมื่อฤดูไม่เป็นไปตามฤดูกาล ฝนย่อมไม่ตกโดยชอบ บางครั้งตก บางครั้งไม่ตก ตกในบางท้องที่ ไม่ตกในบางท้องที่ ก็เมื่อตกย่อมตกขณะหว่าน ขณะแตกหน่อ ขณะแตกก้าน ขณะออกรวง ขณะออกน้ำนม เป็นต้น ย่อมตกโดยประการที่ไม่เป็นอุปการะแก่ข้าวกล้าเลย และแล้งไปนาน ด้วยเหตุนั้นข้าวกล้าจึงสุกไม่พร้อมกัน ปราศจากสมบัติมีกลิ่นสีและรส เป็นต้น. แม้ในข้าวสารที่ใส่ในภาชนะเดียวกัน ข้าวในส่วนหนึ่งดิบ ส่วนหนึ่งเปียกแฉะ ส่วนหนึ่งไหม้. บริโภคข้าวนั้นเข้าไปย่อมถึงโดยอาการ ๓ อย่างในท้อง. สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีโรคมากและมีอายุน้อยด้วยเหตุนั้น. อายุย่อมเสื่อมด้วยอํานาจของฤดูและโภชนะด้วยประการฉะนี้โดยแท้.

แม้ทวยเทพทั้งปวงตลอดถึงพรหมโลกย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมโดยนัยอันมีในเบื้องต้นว่า ก็เมื่อใดพระราชาเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม เมื่อนั้นแม้เสนาบดีและอุปราชก็เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดังนี้. เพราะทวยเทพเหล่านั้นตั้งอยู่ในธรรม พระจันทร์และพระอาทิตย์ย่อมดําเนินไปโดยสม่ําเสมอ. ลมย่อมพัดไปตามทางของลมย่อมไม่ทําให้วิมานที่ตั้งอยู่บนอากาศสะเทือน. เมื่อวิมานไม่สะเทือนพวกเทวดาก็มีแก่ใจเล่นกีฬา. ฤดูย่อมเป็นไปตามกาลอย่างนี้. ฝนย่อมตกโดยชอบเกื้อกูลข้าวกล้าตั้งแต่ขณะหว่าน ตกตามเวลา แล้งไปตามเวลา. ด้วยเหตุนั้น ข้าวกล้าสุกพร้อมกัน มีกลิ่นหอม มีสีงาม มีรสอร่อย มีโอชะ. โภชนะที่ปรุงด้วยข้าวกล้านั้นแม้บริโภคแล้วก็ถึงความย่อยง่าย สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ไม่มีโรคมีอายุยืนด้วยเหตุนั้น. อายุย่อมเจริญด้วยอํานาจฤดูและโภชนะด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 79

ในบรรดาพระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีทรงอุบัติในขณะที่สัตว์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี พระสิขีทรงอุบัติในขณะที่สัตว์มีอายุ ๗๐,๐๐๐ ปี ดังนั้น ท่านกําหนดอายุนี้ไว้ คล้ายกับเสื่อมไปโดยลําดับแต่ไม่ใช่เสื่อมอย่างนั้น. พึงทราบว่าอายุเจริญ เจริญแล้วเสื่อม. ถามว่าอย่างไร. ตอบว่า ในภัทรกัปนี้ ก่อนพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะทรงอุบัติในขณะที่สัตว์มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี กําหนดอายุไว้ ๕ ส่วน ดํารงอยู่ ๔ ส่วน เมื่อถึงส่วนที่ ๕ ก็ปรินิพพาน. อายุนั้นเสื่อม ถึงกาลกิริยาเมื่ออายุ ๑๐ ปี แล้วเจริญอีกเป็นอสงไขย จากนั้นก็เสื่อม ดํารงอยู่ในขณะที่สัตว์มีอายุ ๓๐,๐๐๐ ปี. กาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะทรงอุบัติ. แม้เมื่อพระโกนาคมนะนิพพานแล้วอย่างนั้น อายุนั้นเสื่อม ถึงกาลกิริยาเมื่ออายุ ๑๐ ปี แล้วเจริญอีกเป็นอสงไขย เสื่อมอีก ดํารงอยู่ในขณะที่สัตว์มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี. กาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะทรงอุบัติ. แม้เมื่อพระกัสสปะนั้นปรินิพพานอย่างนั้นแล้ว อายุนั้นก็เสื่อม ถึงกาลกิริยาเมื่อมีอายุ ๑๐ ปี แล้วเจริญอีกเป็นอสงไขย เสื่อมอีก ถึงกาลกิริยาเมื่อมีอายุ ๑๐๐ ปี. ทีนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเราทรงอุบัติ. อายุมิได้เสื่อมลงโดยลําดับอย่างนั้น พึงทราบว่าเจริญ เจริญแล้วจึงเสื่อม. ในข้อนั้นพึงทราบว่า ข้อที่เมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุเจริญ พระพุทธเจ้าย่อมทรงอุบัตินั้นแลเป็นกําหนดอายุของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. การกําหนดอายุจบ พึงทราบวินิจฉัยในการกําหนดสถานที่ตรัสรู้.

บทว่า ปาฏลิยามูเล คือภายใต้ต้นแคฝอย. ลําต้นแคฝอยนั้นโดยส่วนสูงถึง ๑๐๐ ศอก คือ วันนั้นลําต้นพุ่งขึ้นไป ๕๐ ศอกกิ่ง ๕๐ ศอก. อนึ่ง ต้นแคฝอยนั้นในวันนั้นมีดอกดุจติดกับช่อปกคลุมเป็นอันเดียวกันตั้งแต่โคนต้น. กลิ่นทิพย์ฟุ้งไป. มิใช่ดอกแคฝอยต้นนี้ต้นเดียวเท่านั้นบาน.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 80

ต้นแคฝอยทั้งหมดในหมื่นจักรวาลก็บาน. มิใช่แคฝอยอย่างเดียวบาน.บรรดาต้นไม้ทั้งหมดในหมื่นจักรวาลก็บาน เช่น กอปทุมบานที่กอ ก้านปทุมบานที่ก้าน สายปทุมบานที่สาย อากาศปทุมบานบนอากาศ บัวหลวงทําลายพื้นดินผุดขึ้น. แม้มหาสมุทรก็ดาดาษไปด้วย ปทุม ๕ ชนิดและด้วยบัวขาบ บัวแดง.ทั้งหมื่นจักรวาลได้มีกลุ่มดอกไม้คล้ายธง เกลื่อนกลาดไปด้วยพวงดอกไม้เนื่องกันและกองดอกไม้ที่ร่วง ณ ที่นั้นๆ แพรวพราวไปด้วยดอกไม้สีต่างๆ ได้เป็นเช่นกับสวนนันทวัน จิตรลดาวัน มิสสกวัน และปารุสกวัน. เป็นดุจยกธงขึ้น ณ ริมขอบจักรวาลด้านทิศตะวันออก จดริมขอบจักรวาลด้านทิศตะวันตก. และดุจยกธงขึ้น ณ ริมขอบจักรวาลด้านทิศตะวันตก ทิศใต้ ทิศเหนือ จดริมขอบจักรวาลด้านทิศใต้. ได้เป็นจักรวาลอันสมบูรณ์ด้วยสิริของกันและกันอย่างนี้. บทว่า อภิสมฺพุทฺโธ ความว่า แทงตลอด คุณ ความเจริญ สิริอันเป็นพุทธะ คือ ตรัสรู้ยิ่งซึ่งอริยสัจ ๔. แม้ในบททั้งหลายเป็นต้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะตรัสรู้ยิ่งแล้ว ณ ดวงไม้บุณฑริกดังนี้ พึงทราบการพรรณนาโดยนัยนี้แล.

ก็บทว่า ปุณฺฑรีโก ในที่นี้ คือ ต้นมะม่วงมีรสหวาน. แม้ต้นมะม่วงนั้นก็มีปริมาณนั้นเหมือนกัน. อนึ่งในวันนั้นต้นมะม่วงนั้นก็ปกคลุมไปด้วยดอกอันเป็นทิพย์และมีกลิ่นหอม. ไม่ใช่ดอกอย่างเดียว. ได้มีผลดกด้วย. มะม่วงนั้น ข้างหนึ่งผลอ่อน ข้างหนึ่งผลปานกลาง ข้างหนึ่งผลยังไม่แก่จัด ข้างหนึ่งผลแก่จัดมีรสอร่อย มีโอชะดุจใส่ทิพย์โอชะลงไปห้อยย้อยลง. ต้นมะม่วงนั้นฉันใด ในหมื่นจักรวาลก็ฉันนั้น ต้นไม้ที่ออกดอกก็ได้ประดับด้วยดอก ต้นไม้ที่ออกผลก็ได้ประดับด้วยผล.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 81

บทว่า สาโล คือต้นสาละ. แม้ต้นสาละนั้น ก็มีปริมาณนั้นเหมือนกัน.พึงทราบดอกสิริความเจริญอย่างนั้นเหมือนกัน. แม้ในต้นไม้ซึกก็นัยนี้เหมือนกัน. ในต้นมะเดื่อไม่มีดอก ความงอกงามของผลในต้นมะเดื่อนี้มีนัยกล่าวแล้วในต้นมะม่วงนั้นแล. ในต้นไทรก็อย่างเดียวกันในโพธิ์ใบก็อย่างเดียวกัน.

บัลลังก์ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์อย่างเดียวกัน. แต่ต้นไม้เป็นอย่างอื่น. ในบรรดาต้นไม้เหล่านั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงรู้แจ้งถึงการตรัสรู้กล่าวคือมรรคญาณ ๔ ณ ควงไม้ใดๆ ไม้นั้นๆ ท่านเรียกว่า โพธิ. นี้ชื่อว่ากําหนดสถานที่ตรัสรู้.

พึงทราบวินิจฉัยในการกําหนดสาวก. บทว่า ขณฺฑติสฺสํ คือ พระสาวกชื่อว่า ขัณฑะและติสสะ. ท่านทั้งสองนั้นท่านขัณฑะร่วมบิดาเดียวกันเป็นน้อง ท่านติสสะเป็นปุโรหิต. ท่านขัณฑะบรรลุที่สุดแห่งปัญญาบารมี ท่านติสสะบรรลุที่สุดแห่งสมาธิบารมี. บทว่า อคฺคํ อธิบายว่า เป็นผู้สูงสุดเพราะความเป็นผู้มีคุณไม่เหมือนกับผู้ที่เหลือยกเว้นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี. บทว่า ภทฺทยุคํ อธิบายว่า ชื่อว่าคู่เจริญเพราะความเป็นผู้เลิศ.

บทว่า อภิภูสมฺภวํ คือ พระสาวกชื่อว่า อภิภูและสัมภวะ. ท่านทั้งสองนั้น ท่านอภิภูบรรลุที่สุดแห่งปัญญาบารมีไปสู่พรหมโลก จากอรุณวดีกับพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี แล้วแสดงปาฏิหาริย์หลายอย่างแก่พรหมบริษัท แสดงธรรมแผ่ไปทั่วหมื่นโลกธาตุให้มืดมิดแล้วส่องแสงสว่างแก่ผู้ที่เกิดสังเวชว่านี้อะไรกัน แล้วอธิษฐานว่า ขอให้ชนทั้งปวงจงเห็นรูปของเราและจงได้ยินเสียงของเราดังนี้ ได้กล่าวสองคาถา ว่า ท่านทั้งหลายจงเริ่มได้ดังนี้เป็นต้น ให้ได้ยินเสียง. ท่านสัมภวะได้บรรลุที่สุดแห่งสมาธิบารมี.

บทว่า โสณุตฺตรํ คือ พระสาวกชื่อว่า โสณะและพระอุตตระ. ในท่านทั้งสองนั้น ท่านโสณะบรรลุปัญญาบารมี ท่านอุตตระบรรลุสมาธิบารมี.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 82

บทว่า วิธูรสฺชีวํ คือ พระสาวกชื่อว่า วิธูระและสัญชีวะ ในท่านทั้งสองนั้น ท่านวิธุระบรรลุปัญญาบารมี. ท่านสัญชีวะบรรลุสมาธิบารมี เป็นผู้มักเข้าสมาบัติพยายามด้วยกําลังสมาบัติในที่พักกลางคืนที่พักกลางวัน กุฎี ถ้ำและมณฑปเป็นต้น เข้านิโรธในป่าตลอดวัน. พวกทํางานในป่าเป็นต้นเข้าใจว่า ท่านมรณภาพจึงพากันเผาท่าน. ท่านสัญชีวะนั้นครั้นออกจากสมาบัติตามกําหนด ห่มคลุมเข้าไปยังบ้านเพื่อบิณฑบาตร. อาศัยเหตุนั้นแล ชนทั้งหลายจึงรู้จักท่านว่า ท่านสัญชีวะ ดังนี้.

บทว่า ภิยฺโยสุตฺตรํ คือ พระสาวกชื่อว่า ภิยโยสะและอุตตระ. ในท่านทั้งสองนั้น ท่านภิยโยสะเป็นผู้เลิศด้วยปัญญา ท่านอุตตระเป็นผู้เลิศด้วยสมาธิ.

บทว่า ติสฺสภารทฺวาชํ คือ พระสาวกชื่อว่า ติสสะและภารัทวาชะ.ในท่านทั้งสองนั้น ท่านติสสะได้บรรลุปัญญาบารมี ท่านภารทวาชะได้บรรลุสมาธิบารมี.

บทว่า สารีปุตฺตโมคฺคลฺลานํ คือ พระสาวกชื่อว่า สารีบุตรและโมคคัลลานะ. ในท่านทั้งสองนั้น ท่านสารีบุตรได้เป็นผู้เลิศในทางปัญญา ท่านโมคคัลลานะได้เป็นผู้เลิศในทางสมาธิ. นี้ชื่อว่ากําหนดคู่อัครสาวก.

พึงทราบวินิจฉัยในการกําหนดการประชุมสาวก. การประชุมครั้งแรกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปัสสีได้ประกอบด้วยองค์ ๔. คือภิกษุทั้งหมดเป็นเอหิภิกษุ ภิกษุทั้งหมดมีบาตรและจีวรบังเกิดด้วยฤทธิ์. ภิกษุทั้งหมดไม่ได้นัดหมายกันมา. อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกันในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ํา. ลําดับนั้น พระศาสดา ประทับนั่งจับพัดยังภิกษุให้ลงอุโบสถ. ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ ก็นัยนี้แล. ในการประชุมทั้งหมดของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่เหลือก็เป็นอย่างนั้น. ก็แต่ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายได้มีการประชุมในปฐมโพธิกาล

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 83

เท่านั้นเพราะเหตุใด, พระสูตรนี้ท่านกล่าวไว้แล้วในภาคอื่น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประชุมสาวกของเราในบัดนี้ ให้มีหนเดียวดังนั้นการประชุมจึงจบ.

ในบทว่า อฑฺฒเตรสานิภิกฺขุสตานิ ความว่า ภิกษุ ๑,๒๕๐ รูปคือบุราณชฎิล ๑,๐๐๐ รูป ปริวารพระอัครสาวก ๒๕๐ รูป. ในบรรดาภิกษุเหล่านั้น ควรกล่าวถึงเรื่องตั้งแต่อภินิหารของพระอัครสาวกทั้งสองแล้ว แสดงถึงการบรรพชา. อนึ่ง บรรดาบรรพชิตเหล่านั้น พระมหาโมคคลัลานะบรรลุพระอรหัตในวันที่เจ็ด. พระธรรมเสนาบดี เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเวทนาปริคคหสูตรอันเป็นธรรมยาคะที่เตรียมไว้แก่ทีฆนขปริพาชกผู้เป็นหลาน ณ ถ้ำสูกรขาตา ท่ามกลางภูเขาคิชฌกูฏ ในวันที่ ๑๕ ส่งญาณไปเพื่อรู้ตามโดยระลึกไปตามเทศนา ได้บรรลุสาวกบารมีญาณ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบถึงการบรรลุพระอรหัตของพระเถระแล้ว เสด็จขึ้นไปยังเวหาส ไปปรากฏ ณ พระวิหารเวฬุวัน. พระเถระรําพึงว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปไหนหนอ ครั้นทราบความที่พระองค์ประดิษฐานอยู่ณ พระวิหารเวฬุวัน แม้ท่านเองก็เหาะสู่เวหาส ไปปรากฏ ณ พระวิหารเวฬุวันเหมือนกัน. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศปาติโมกข์ (หลักคําสอน) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงการประชุมนั้น จึงตรัสว่า ภิกษุ ๑,๒๕๐ รูปเป็นต้น. นี้คือกําหนดการประชุมของพระสาวก.

พึงทราบวินิจฉัย ในการกําหนดอุปฐากต่อไป. บทว่า พระอานนท์ ท่านกล่าวหมายถึงความที่พระอานนทเถระ เป็นอุปฐากประจํา. เพราะว่า ในปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระอุปฐากไม่ประจํา. บางคราว พระนาคสมาละถือบาตรและจีวรตามเสด็จ. บางคราวพระนาคิตะ. บางคราวพระอุปวาณะ. บางคราวพระสุนักขัตตะ. บางคราวจุนทสมณุเทส. บางคราวพระสาคตะ บางคราวพระเมฆิยะ.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 84

ในบรรดาท่านเหล่านั้น บางคราวพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปทางไกลกับพระนาคสมาลเถระ เสด็จถึงทางสองแพร่ง. พระเถระหลีกออกจากทางกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์จะไปตามทางนี้. ทีนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะพระเถระนั้นว่า มานี่ภิกษุเราจะไปทางนี้. พระเถระนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์รับบาตรและจีวรของพระองค์เถิดข้าพระองค์จะไปตามทางนี้ แล้วก็เตรียมจะวางบาตรและจีวรลงบนพื้น. ลําดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะพระเถระนั้นว่า นํามาเถิดภิกษุแล้วทรงรับบาตรและจีวรเสด็จไป. เมื่อภิกษุนั้นไปอีกทางหนึ่ง พวกโจรชิงบาตรและจีวรไป และตีศีรษะ. ภิกษุนั้นคิดว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งของเรา ไม่มีผู้อื่นแล้ว ได้มาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งที่เลือดไหล. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นี่อะไร ภิกษุจึงกราบทูลเรื่องที่เกิดขึ้นนั้น. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุนั้นว่า อย่าคิดไปเลย ภิกษุ เราห้ามเธอถึงเหตุนั้นแล้วทรงปลอบภิกษุนั้น.

ก็บางคราวพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปยังชันตุคามในวังสมฤคทายวันด้านปาจีนกับพระเมฆิยเถระ. แม้ ณ ที่นั้น พระเมฆิยะไปบิณฑบาตในชันตุคาม เห็นสวนมะม่วงน่าประทับใจ ณ ฝังแม่น้ำ กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ทรงรับบาตรและจีวรของพระองค์ไปเถิด ข้าพระองค์จะบําเพ็ญสมณธรรมที่สวนมะม่วงนั้น แม้ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามถึง ๓ ครั้ง ก็ไปจนได้ ครั้นถูกอกุศลวิตกครอบงํา จึงกลับมากราบทูลเหตุที่เกิดขึ้นนั้นให้ทรงทราบ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะพระเมฆิยะว่า เรากําหนดรู้เหตุนี้แก่เธอแล้วยังได้ห้ามเธอไว้ แล้วได้เสด็จไปยังพระนครสาวัตถี โดยลําดับ.

ณ พระนครสาวัตถีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมด้วยหมู่ภิกษุประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อันบวรที่ปูไว้ ณ บริเวณคันธกุฎี ตรัสเรียกภิกษุทั้ง

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 85

หลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราเป็นผู้แก่ ภิกษุบางรูปเมื่อเราบอกว่าเราไปตามทางนี้กันเถิด ได้ไปเสียทางอื่น บางรูปวางบาตรและจีวรของเราไว้บนพื้น พวกเธอจงเลือกภิกษุรูปหนึ่ง เป็นอุปฐากประจําของเรา. ภิกษุทั้งหลายเกิดธรรมสังเวช ลําดับนั้น ท่านพระสารีบุตรลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ตั้งความปรารถนาไว้กะพระองค์ บําเพ็ญบารมีตลอดอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ธรรมดาอุปฐากมีปัญญามากเช่นข้าพระองค์สมควรมิใช่หรือ ข้าพระองค์จักอุปฐากพระองค์ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามพระสารีบุตรว่า อย่าเลย สารีบุตร เธออยู่ในทิศใด ทิศนั้นไม่ว่างเปล่าทีเดียว โอวาทของเธอเช่นเดียวกับโอวาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เธอไม่ต้องทําหน้าที่อุปฐากเรา. พระมหาสาวก ๘๐ รูป เริ่มแต่พระมหาโมคคัลลานะเป็นต้น ได้ลุกขึ้นโดยทํานองเดียวกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามพระสาวกเหล่านั้นทั้งหมด. แต่พระอานนทเถระ นั่งนิ่งทีเดียว.

ลําดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะพระอานนทเถระนั้นอย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ หมู่ภิกษุกราบทูลขอคําแหน่งอุปฐาก แม้ท่านก็จงกราบทูลขอบ้างดังนี้. พระอานนทเถระนั้นกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ชื่อว่าการอุปฐากที่กราบทูลขอแล้วได้มาจะเป็นเช่นไร พระศาสดาไม่ทรงเห็นเราดอกหรือ หากพระองค์จักพอพระทัย จักทรงบอกว่า อานนท์ จงอุปฐากเราดังนี้. ทีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์ไม่ควรให้ผู้อื่นส่งเสริมจักรู้ด้วยตนเองแล้วอุปฐากเรา. แต่นั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ท่านพระอานนท์ลุกขึ้นเถิด จงกราบทูลขอตําแหน่งอุปฐากกะพระทศพล. พระเถระลุกขึ้นกราบทูลขอพร ๘ ประการ คือ ข้อห้าม ๔ ข้อ ข้อขอร้อง ๔ ข้อ.

พึงทราบข้อห้าม ๔ ข้อ. พระอานนทเถระกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากพระผู้มีพระภาคเจ้า จักไม่ประทานจีวรอันประณีตที่พระองค์

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 86

ได้มาแก่ข้าพระองค์ จักไม่ประทานบิณฑบาต จักไม่ให้อยู่ในคันธกุฎีเดียวกัน รับนิมนต์แล้วจักไม่ไปร่วมกัน ด้วยประการฉะนี้ ข้าพระองค์จักอุปฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกรอานนท์ ก็เธอเห็นโทษอะไรในข้อนี้ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากข้าพระองค์จักได้สิ่งเหล่านี้ จักมีผู้กล่าวหาแก่ข้าพระองค์ว่า พระอานนท์ใช้จีวรอันประณีตที่พระทศพลได้แล้ว ฉันบิณฑบาต อยู่ในคันธกุฎีเดียวกัน ไปสู่ที่นิมนต์ร่วมกัน เมื่อได้ลาภนี้จึงอุปฐากพระตถาคต เมื่ออุปฐากอย่างนี้จะหนักหนาอะไร. พระอานนทเถระกราบทูลขอข้อห้าม ๔ ข้อ เหล่านี้.

พึงทราบข้อขอร้อง ๔ ข้อ. พระอานนทเถระกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับไว้ หากข้าพระองค์จักได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในขณะที่บริษัทมาจากภายนอกแคว้นภายนอกชนบทเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ามาถึงแล้ว ขณะใดความสงสัยเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ ขณะนั้นข้าพระองค์จักได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมข้อใดลับหลังข้าพระองค์ ครั้นเสด็จกลับมาแล้ว จักทรงแสดงธรรมข้อนั้นแก่ข้าพระองค์ ด้วยประการฉะนี้ ข้าพระองค์จักอุปฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อานนท์ เธอเห็นอานิสงส์อะไรในข้อนี้ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรทั้งหลายผู้มีศรัทธาในพระศาสนานี้ เมื่อไม่ได้โอกาสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมกล่าวกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ วันพรุ่งนี้โปรดรับภิกษาในเรือนของพวกกระผมพร้อมด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักไม่เสด็จไป ณ ที่นั้น ข้าพระพุทธเจ้าจักไม่ได้โอกาสเพื่อชี้แจงกะบริษัทในขณะที่เขาปรารถนาและเพื่อบรรเทาความสงสัย จักมีผู้กล่าวว่า อะไรกันพระอานนท์ อุปฐากพระทศพล แม้เพียงเท่านี้

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 87

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรงทําการอนุเคราะห์แก่พระอานนท์ ดังนี้ อนึ่งชนทั้งหลายจักถามข้าพระพุทธเจ้าลับหลังพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงคาถานี้ สูตรนี้ ชาดกนี้ในที่ไหน ดังนี้ หากข้าพระองค์จักชี้แจงข้อนั้นไม่ได้ จักมีผู้กล่าวว่า แม้เพียงเท่านี้ ท่านก็ยังไม่รู้ ท่านไม่ละพระผู้มีพระภาคเจ้าดุจเงาเที่ยวไปตลอดกาลนาน เพราะเหตุไร ดังนี้ ด้วยเหตุนั้น ข้าพระองค์ปรารถนาจะกล่าวธรรมแม้ที่พระองค์ทรงแสดงลับหลังอีกครั้ง. พระอานนท์กราบทูลขอข้อขอร้อง ๔ ข้อนี้.

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงประทานแก่พระอานนท์นั้น. พระอานนท์ครั้นรับพร ๘ ประการเหล่านี้แล้วก็ได้เป็นอุปฐากประจําด้วยประการฉะนี้. พระอานนท์บรรลุผลแห่งบารมีที่บําเพ็ญมาตลอดแสนกัปเพื่อตําแหน่งนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ภิกษุอานนท์ผู้เป็นอุปฐากของเราได้เป็นอุปฐากผู้เลิศดังนี้ หมายถึงความที่พระอานนท์นี้เป็นอุปฐากประจํานั้น. นี้เป็นการกําหนดอุปฐาก.

การกําหนดบิดามีความง่ายอยู่แล้ว.

บทว่า วิหารํ ปาวิสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปสู่วิหารเพราะเหตุอะไร นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสดังนั้นแล้วทรงดําริว่า เราบรรลุถึงที่สุดอันหาระหว่างมิได้แล้วยังไม่ได้ กล่าวถึงวงศ์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๗ พระองค์เลย ก็เมื่อเราเข้าไปยังวิหาร ภิกษุเหล่านี้ได้ปรารภถึงบุพเพนิวาสญาณโดยประมาณอันยิ่งแล้วจักกล่าวถึงคุณ เมื่อเป็นเช่นนั้น เรามากล่าวถึงพุทธวงศ์อันหาระหว่างมิได้ ให้ภิกษุทั้งหลายบรรลุถึงที่สุดแล้ว จักแสดงดังนี้ ทรงให้โอกาสภิกษุทั้งหลายสนทนากันจึงเสด็จลุกจากอาสนะเข้าสู่พระวิหาร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแบบอันใดไว้ วาระ ๙ เหล่านี้มาแล้วในแบบแผนนั้น คือกําหนดกัป กําหนดชาติ กําหนดโคตร กําหนดอายุ กําหนดการตรัสรู้ กําหนด

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 88

คู่สาวก กําหนดการประชุมสาวก กําหนดอุปฐาก กําหนดบิดา. วาระหลายอย่างยังไม่มาถึงแต่จะนํามาแสดง.

จริงอยู่ เมื่อบุตรสมควรแก่ตระกูลและวงศ์หนึ่งของพระโพธิสัตว์ทั้งปวงเกิดแล้วควรออกบวช นี้แลเป็นวงศ์ นี้เป็นประเพณี. ถามว่าเพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะว่าตั้งแต่การหยั่งลงสู่ครรภ์ของมารดาของพระโพธิสัตว์ผู้เป็นพระสัพพัญูทั้งหลายมีปาฏิหาริย์หลายอย่างดังได้กล่าวแล้วในตอนก่อน ผิว่า เมืองเกิดบิดามารดาภรรยาบุตรของพระโพธิสัตว์เหล่านั้นไม่พึงปรากฏ เมืองเกิดบิดาบุตรของบุคคลนี้ก็ไม่ปรากฏ.

ผู้นี้เห็นจะเป็นเทวดา ท้าวสักกะมารหรือพรหม และสําคัญว่าปาฏิหาริย์เช่นนี้ของเทวดาทั้งหลายไม่น่าอัศจรรย์ พึงสําคัญถึงปาฏิหาริย์อันไม่ควรฟังไม่ควรเชื่อ. แต่นั้นการตรัสรู้ไม่พึงมี เมื่อไม่มีการตรัสรู้ การอุบัติของพระพุทธเจ้าก็ไม่มีประโยชน์ คําสอนก็ไม่นําให้พ้นไปจากทุกข์ เพราะฉะนั้นเมื่อบุตรสมควรแก่ตระกูลและวงศ์ของพระโพธิสัตว์ทั้งปวงเกิด ควรออกบวช นี้แลเป็นวงศ์ นี้เป็นประเพณี. เพราะฉะนั้น ควรนําวาระหลายๆ อย่างมาแสดงด้วยสามารถแห่งบุตรเป็นต้น.

ในสัมพหุลวาระพึงทราบบุตรทั้ง ๗ ตามลําดับของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์เหล่านี้ก่อน คือ

สมวัตตักขันธะ อตุละ สุปปพุทธะ อุตตระ สัตถวาหะ วิชิตเสนะ ราหุลเป็นที่ ๗, ในบรรดาบุตรเหล่านั้น เมื่อเจ้าชายราหุลประสูติ พวกราชบุรุษนําหนังสือบอกข่าวมาวางไว้บนพระหัตถ์ของพระมหาบุรุษ. ลําดับนั้น ความสิเนหาในพระโอรสทําให้พระวรกายทุกส่วนของพระมหาบุรุษซาบซ่าน. พระมหาบุรุษดําริว่า เมื่อบุตรเกิดเพียงคนเดียว ความสิเนหาในบุตรยังเป็นถึงเพียงนี้ ถ้าเราจักมีบุตรกว่า ๑,๐๐๐ คน ในบุตรเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 89

เมื่อคนหนึ่งเกิดความผูกพันด้วยสิเนหาเพิ่มมากขึ้นอย่างนี้ หัวใจจักแตกสลายเป็นแท้ เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า ห่วงเกิดแล้ว เครื่องผูกพันเกิดแล้ว. ในวันนั้นเอง พระมหาบุรุษทรงสละราชสมบัติออกทรงผนวช. ในการเกิดบุตรของพระโพธิสัตว์ทุกองค์มีนัยนี้แล นี้ การกําหนดบุตร

บุตรแม้ทั้ง ๗ เหล่านั้น ได้มีมารดาเหล่านี้คือ

พระนางสุตตนา พระนางสัพพกามา พระนางสุจิตตา พระนางโรจนี พระนางรุจจตินี พระนางสุนันทา และพระนางพิมพาเป็นองค์ที่๗. ก็พระนางพิมพาเทวี เมื่อราหุลกุมารประสูติ ได้ปรากฏชื่อว่าราหุลมารดา. นี้ การกําหนดภรรยา.

ก็พระโพธิสัตว์ ๒ องค์นี้คือ พระวิปัสสี พระกกุสันธะ เสด็จขึ้นรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์. พระโพธิสัตว์ ๒ องค์คือ พระสิขี พระโกนาคมนะ ประทับบนคอช้างประเสริฐออกทรงผนวช. พระเวสสภูโพธิสัตว์ประทับนั่งบนวอทองออกทรงผนวช. พระกัสสปะประทับนั่งบนพื้นมหาปราสาท ยังอานาปานจตุตถฌานให้เกิด ออกจากฌานแล้ว กระทําฌานนั้นให้เป็นบาท ทรงอธิษฐานว่า ปราสาทจงไปหยั่งลง ณ โพธิมณฑล ปราสาทไปทางอากาศแล้วหยั่งลง ณ โพธิมณฑล. แม้พระมหาบุรุษลงจากปราสาทนั้น ประทับบนพื้น ทรงอธิษฐานว่า ปราสาทจงไปตั้งอยู่ ณ ที่เดิม. ปราสาทนั้นก็ต้องอยู่ในที่เดิม. แม้พระมหาบุรุษก็ทรงประกอบความเพียรตลอด ๗ วัน ประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์ได้ตรัสรู้พระสัพพัญุตญาณ. ก็พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย เสด็จประทับม้ากัณฐกะออกทรงผนวช. นี้ การกําหนดยาน.

วิหารของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ตั้งอยู่ในเนื้อที่ประมาณโยชน์หนึ่ง. ของพระสิขี ๓ คาวุต. ของพระเวสสภูกึ่งโยชน์ ของพระกกุสันธะคาวุตหนึ่ง ของพระโกนาคมนะกึ่งคาวุต ของพระกัสสปะ ๒๐ อุสภะ. วิหาร

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 90

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราตั้งอยู่ในเนื้อที่ ๑๖ กรีสโดยวัดตามปกติ ๘ กรีสโดยวัดของหลวง. นี้ การกําหนดพระวิหาร.

เศรษฐีทั้งหลายให้ช่างทําอิฐทองคํา ยาว ๑ ศอก กว้าง ๑ คืบ สูง๘ นิ้ว ปูโดยส่วนขวางแล้ว ซื้อสร้างที่อยู่ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี. ปูด้วยผาลไม้เส้าทองคําซื้อถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี. ให้ช่างทําเท้าช้างทองคําปูโดยขวาง ซื้อถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า เวสสภู. ปูด้วยอิฐทองคํา ตามนัยที่กล่าวแล้ว ซื้อถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ. ปูด้วยเต่าทองคํา ตามนัยกล่าวแล้ว ซื้อถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โกนาคมนะ. ปูด้วยทองแท่ง ซื้อถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสปะ. และปูโดยขวางแห่งกหาปณะอันมีเครื่องหมายซื้อถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย. นี้ กําหนดในการถือพื้นที่สร้างวิหาร.

อุปฐากผู้ที่ซื้อพื้นที่ทําให้เป็นวิหารถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี นั้น ชื่อ ปุนัพพสุมิตตะ. ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี ชื่อ สิริวัฑฒ์. ถวายพระเวสสภูชื่อ โสตถิยะ. ถวายพระกกุสันธะ ชื่อ อัจจุตะ.ถวายพระโกนาคมนะ ชื่อ อุคคะ. ถวายพระกัสสปะ ชื่อ สุมนะ. ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ชื่อ สุทัตตะ. ก็อุปฐากเหล่านั้นทั้งหมดได้เป็นเศรษฐีคหบดีมหาศาล. นี้ กําหนดอุปัฏฐาก.

ยังมีสถานที่อื่นอีก ๔ แห่ง. อันเป็นสถานที่ที่จะเว้นเสียมิได้ คือ โพธิบัลลังก์ของพระพุทธเจ้าทั้งหมด เว้นไม่ได้ย่อมมีในที่เดียวเท่านั้น. การแสดงพระธรรมจักรในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เว้นไม่ได้เลย. การเหยียบพระบาทครั้งแรก ณ ประตูสังกัสสนคร ตอนเสด็จลงจากเทวโลก เว้นไม่ได้เลย. ที่ตั้งเท้าเตียง ๔ ที่ในพระคันธกุฏี ในเชตวันมหาวิหาร เว้นไม่ได้ทีเดียว. ก็แต่ว่า

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 91

วิหารมีเล็กบ้างใหญ่บ้าง. แม้วิหารก็เว้นไม่ได้. แต่นครเว้นได้. กาลใดนครอยู่ด้านปาจีน กาลนั้นวิหารอยู่ด้านปัจฉิม. กาลใดนครอยู่ด้านทักษิณ กาลนั้นวิหารอยู่ด้านอุดร. กาลใดนครอยู่ด้านปัจฉิม กาลนั้นวิหารอยู่ด้านปาจีน. กาลใดนครอยู่ด้านอุดร กาลนั้นวิหารอยู่ด้านทักษิณ. ก็บัดนี้ นครอยู่ด้านอุดรวิหารอยู่ด้านทักษิณ. อนึ่ง พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีความต่างกันอยู่ ๕ อย่างคือ ต่างกันโดยอายุ ต่างกันโดยประมาณ ต่างกันโดยตระกูล ต่างกันโดยความเพียร ต่างกันโดยรัศมี.

พระพุทธเจ้าบางพระองค์มีพระชนมายุยืน บางพระองค์มีพระชนมายุน้อย ชื่อว่าต่างกันโดยอายุ. เป็นความจริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกรได้มีพระชนมายุประมาณแสนปี. พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเราได้มีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี. พระพุทธเจ้าบางพระองค์สูง บางพระองค์เตี้ย ชื่อว่าต่างกันโดยประมาณ. เป็นความจริงอย่างนั้น พระทีปังกร สูง ๘๐ ศอก พระสุมนะ สูง ๙๐ ศอก แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย สูง ๑๘ ศอก. บางพระองค์ทรงอุบัติในตระกูลกษัตริย์ บางพระองค์ทรงอุบัติในตระกูลพราหมณ์ ชื่อว่าต่างกันโดยตระกูล. ความเพียรของบางพระองค์มีเวลาสั้น เช่น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ของบางพระองค์ยาวนานดั่งเช่นพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ชื่อว่าต่างกันโดยความเพียร. พระรัศมีจากพระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุมังคละ ประมาณหมื่นโลกธาตุ. ของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราประมาณวาหนึ่งโดยรอบ ชื่อว่าต่างกันโดยรัศมี ในความต่างกันนั้น ต่างกันโดยรัศมีเกี่ยวกับพระพุทธประสงค์. พระพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงมีพระประสงค์เท่าใด รัศมีจากพระวรกายของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นย่อมแผ่ไปเท่านั้น. รัศมีจากพระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสุมังคละย่อมแผ่ไปหมื่นโลกธาตุเป็นนิจ ดังนี้ได้เป็นพระพุทธประสงค์. แต่

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 92

ชื่อว่าความต่างกันในคุณ คือ การตรัสรู้ไม่มี. โบราณกบัณฑิตแสดงเรื่องอื่นอีกเช่นกําหนดสหชาต และกําหนดนักษัตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย.

บุคคลและสิ่งที่เกิดร่วมกับพระสัพพัญูโพธิสัตว์ ๗ เหล่านี้ คือ ราหุลมารดา พระอานนทเถระ พระฉันนะ ม้ากัณฐกะ หม้อขุมทรัพย์ ต้นมหาโพธิ พระกาฬุทายี. อนึ่ง พระมหาบุรุษทรงปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมารดา เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงแสดงพระธรรมจักร ทรงกระทํายมกปาฏิหาริย์ ในฤกษ์อุตตราสาฬหะ ประสูติ ตรัสรู้ และ ปรินิพพาน โดยฤกษ์วิสาขะ. ประชุมพระสาวกและทรงปลงอายุสังขารโดยฤกษ์มาฆะ. เสด็จลงจากเทวโลกโดยฤกษ์อัสสยุชะ พึงนํามาแสดงเพียงเท่านี้. นี้ กําหนดหลายวาระ.

บัดนี้ พึงทราบความในบทว่า อถโข เตสํ ภิกฺขูนํ เป็นต้น ภิกษุเหล่านั้นเกิดความประหลาดใจยิ่งนักว่า ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวถึงการเข้าสู่ปฏิสนธิตั้งแต่จุติ การส่งญาณย้อนหลังตั้งแต่ปฏิสนธิไปถึงจุติอันเป็นทางของบุพเพนิวาส อันนี้หนักมาก ดุจทรงชี้รอยเท้าบนอากาศ แล้วจึงกล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง เมื่อจะแสดงเหตุแม้อื่นอีกจึงกล่าวว่า ยตฺร หิ นาม ตถาคโต ดังนี้.

บทว่า ยตฺร หิ นาม เป็นนิบาตใช้ในความว่าน่าอัศจรรย์. อธิบายว่าพระตถาคต พระองค์ใดเล่า. ในบทว่า ฉินฺนปปฺเจ นี้ ความว่ากิเลส ๓ อย่างเหล่านี้ คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ชื่อธรรมทําให้เนินช้า. บทว่า ฉินฺนวฏเม นี้ ท่านกล่าววัฏฏะ คือ กุศลกรรมและอกุศลกรรม ว่า วฏมะ. บทว่า ปริยาทินฺนวฏเฏ เป็นไวพจน์ของบทว่า ฉินฺนวฏเม นั้น นั่นแล. อธิบายว่าควบคุมวัฏฏะคือกรรมทั้งหมดได้แล้ว. บทว่า สพฺพทุกฺขวีติวตฺเต ได้แก่ ล่วงทุกข์ กล่าวคือวิปากวัฏฏ์ฏะ ทั้งหมด.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 93

บทว่า อนุสฺสริสฺสติ นี้เป็นคํากล่าวถึงอนาคต ด้วยอํานาจของนิบาตว่า ยตฺรหิ ดังนี้. ก็ในบทนี้พึงทราบอธิบายด้วยสามารถแห่งอดีต จริงอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว ไม่ใช่จักระลึกถึงในบัดนี้.

บทว่า เอวํสีลา ความว่า มีศีลอย่างนี้โดย มรรคศีล ผลศีล โลกิยศีล โลกุตตรศีล. บทว่า เอวํธมฺมา ความว่า ธรรมเป็นฝ่ายสมาธินั่นแล ท่านประสงค์ในบทนี้. อธิบายว่า มี้สมาธิอย่างนี้โดยมรรคสมาธิ ผลสมาธิ โลกิยสมาธิ โลกุตตรสมาธิ. บทว่า เอวํปฺา ความว่า มีปัญญาอย่างนี้ด้วยสามารถแห่งมรรคปัญญา เป็นต้น.

บทว่า เอวํวิหารี อธิบายว่า หากมีปัญหาว่า ก็ในบทนี้ เพราะธรรมฝ่ายสมาธิท่านยึดถือในภายหลังเป็นอันยึดถือวิหารธรรมด้วย เพราะเหตุไร จึงยึดถือธรรมที่ยึดถืออยู่แล้วอีกเล่า. ตอบว่า นี้ไม่ใช่เป็นการยึดถือ. เพราะบทนี้ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงนิโรธสมาบัติ. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้นได้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่คือนิโรธสมาบัติ พึงทราบความในบทนี้อย่างนี้.

บทว่า เอวํ วิมุตฺตา ความว่า ความพ้นในบทนี้มี ๕ อย่าง คือพ้นด้วยข่มไว้ (วิกขัมภนวิมุตติ) พ้นชั่วคราว (ตทังควิมุตติ) พ้นเด็ดขาด (สมุจเฉทวิมุตติ) พ้นอย่างสงบ (ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ) พ้นออกไป (นิสสรณวิมุตติ) . ในวิมุตติเหล่านั้น สมาบัติ ๘ จัดเป็น วิกขัมภนวิมุตติ เพราะพ้นจากนิวรณ์ เป็นต้น ที่ข่มไว้ได้เอง. อนุปัสสนา ๗ มี อนิจจานุปัสสนา เป็นต้น จัดเป็นตทังควิมุตติ เพราะกําหนดด้วยสามารถเป็นข้าศึกของธรรมนั้นๆ เองเพราะพ้นจากนิจจสัญญา เป็นต้น เหล่านั้น. อริยมรรค จัดเป็นสมุจเฉทวิมุตติเพราะพ้นจากกิเลสที่ตัดขาดแล้วเอง. สามัญญผล ๔ จัดเป็นปฏิปัสสัทธิวิมุตติเพราะเกิดขึ้นในที่สุดแห่งการสงบของกิเลสด้วยอานุภาพมรรค. นิพพานจัดเป็น

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 94

นิสสรณวิมุตติเพราะพ้นคือเพราะปราศจากคือเพราะตั้งอยู่ไกลจากกิเลสทั้งปวง เพราะเหตุนั้น พึงทราบเนื้อความในบทนี้ว่า พ้นแล้วอย่างนี้ด้วยสามารถแห่งวิมุตติ ๕ เหล่านี้.

บทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏิโต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากความเป็นผู้ประทับอยู่พระองค์เดียว. ถามว่า สืบเนื่องกันอย่างไรจากบทว่า อิโต โส ภิกฺขเว ดังนี้. ตอบว่า ก็พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มด้วยสองบทเหล่านี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้แทงตลอดธรรมธาตุนี้ และว่าแม้ทวยเทพก็พากันกราบทูลความนี้แก่ตถาคตดังนี้. ในบททั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงบทกราบทูลของเทวดา จักใคร่ครวญถึงโกลาหลของเทวจารึกในตอนจบพระสูตร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภเทศนานี้ด้วยสามารถการสืบเนื่องจากบทธรรมธาตุ.

ในบทเหล่านั้น พึงทราบ ๑๑ บท เป็นต้นว่า ขตฺติโย ชาติยา โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในนิทานกัณฑ์. บทว่า วิปัสสี ในบทเป็นต้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโพธิสัตว์พระนามว่าวิปัสสี เป็นชื่อของพระโพธิสัตว์องค์นั้น. อนึ่ง ท่านได้ชื่อนั้น เพราะเป็นผู้ฉลาดในการเห็นเนื้อความหลายๆ อย่าง.

บทว่า โพธิสตฺโต คือสัตว์ผู้ฉลาด สัตว์ผู้ตรัสรู้. อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ผู้ฝักใฝ่คือมีใจจดจ่ออยู่ในมรรค ๔ กล่าวคือ โพธิ ชื่อว่า โพธิสัตว์. ในบทว่า สโต สมฺปชาโน นี้ บทว่า สโต คือ สตินั้นเอง. บทว่า สมฺปชาโน คือ ญาณ อธิบายว่า พระโพธิสัตว์ทรงกระทําสติให้มั่น กําหนดด้วยญาณ เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา. บทว่า โอกฺกมิ ท่านแสดงความที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงด้วย บทนี้ในบาลีไม่ได้แสดงถึงลําดับแห่งการก้าวลง ก็เพราะลําดับแห่งการก้าวนั้น ท่านยกขึ้นสู่อรรถกถา ฉะนั้น พึงทราบอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 95

จริงอยู่ พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ทรงบําเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ ทรงบริจาคมหาบริจาค ๕ ทรงบรรลุที่สุดแห่งญาตัตถจริยา โลกัตถจริยา พุทธจริยา ทรงดํารงอยู่ในอัตภาพที่ ๓ เช่นพระเวสสันดร ทรงให้มหาทาน ๗ ครั้ง ทรงยังแผ่นดินให้หวั่นไหว ๗ ครั้ง ทรงกระทํากาละแล้วทรงอุบัติในภพดุสิตในวาระแห่งจิตที่ ๒. แม้พระโพธิสัตว์พระนามว่าวิปัสสี ก็ทรงกระทํากาละเหมือนอย่างนั้น ทรงอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต ทรงประดิษฐานอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิตนั้นตลอด ๕๗ โกฏิปี ยิ่งด้วย ๖ ล้านปี. ก็ในกาลอื่น พระโพธิสัตว์ทั้งหลายทรงอุบัติในเทวโลกที่สัตว์มีอายุยืน ย่อมไม่ดํารงอยู่ตราบเท่าอายุนั้น. เพราะเหตุไร. เพราะทําบารมีให้เต็มได้ยากในที่นั้น. พระโพธิสัตว์เหล่านั้น กระทําอธิมุตตกาลกิริยา จึงบังเกิดในถิ่นของมนุษย์นั้นแล. ก็บารมีทั้งหลายของพระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้น สามารถจะยังพระสัพพัญุตญาณให้เกิดโดยอัตภาพเดียวในบัดนี้ได้ ฉันใด ในครั้งนั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้ดํารงอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิตนั้นตราบเท่าอายุเพราะบารมีเต็มแล้วด้วยประการทั้งปวง ฉันนั้น. ก็พวกเทวดาจักจุติโดย ๗ วัน ด้วยการคํานวณของพวกมนุษย์ ดังนั้น บุพนิมิต ๕ ย่อมเกิดขึ้น คือดอกไม้เหี่ยว ผ้าเศร้าหมอง เหงื่อไหลจากรักแร้ทั้งสอง ผิวพรรณหมอง เทวดาไม่ตั้งอยู่ในเทวอาสน์.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มาลา ได้แก่ ดอกไม้ที่ประดับในวันถือปฏิสนธิ. นัยว่าดอกไม้เหล่านั้นไม่เหี่ยวมาตลอด ๕๗ โกฏิปี ยิ่งด้วย ๖ ล้านปี แต่ในตอนนั้นเหี่ยว. แม้ในผ้าทั้งหลายก็มีนัยนี้แหละ. ก็ตลอดกาลประมาณเท่านี้ พวกเทวดาไม่รู้สึกหนาวไม่รู้สึกร้อน. ในกาลนั้นเหงื่อไหลจากสรีระเป็นหยดๆ ตลอดกาลประมาณเท่านี้ในสรีระของเทวดาเหล่านั้น ย่อมไม่ปรากฏวรรณต่างกันด้วยสามารถฟันหักและผมหงอก เป็นต้น. เทพธิดาปรากฏเหมือนมีอายุ ๑๖ เทพบุตรปรากฏเหมือนมีอายุ ๒๐. แต่ในเวลาตาย อัตภาพของเทพบุตร

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 96

เหล่านั้นทรุดโทรม. อนึ่ง ตลอดกาลประมาณเท่านี้ เทพบุตรเหล่านั้นไม่มีความกระสันในเทวโลก. แต่ในเวลาจะตาย หายใจไม่ออก กระสับกระส่าย ไม่ยินดีในอาสนะของตน.

ก็บุพนิมิต ๕ เหล่านี้ ย่อมปรากฏแก่เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่เท่านั้นไม่ปรากฏแก่เทวดาทั้งปวง เหมือนนิมิตมีอุกกาบาตแผ่นดินไหวและจันทคราส เป็นต้น ย่อมปรากฏแก่พระราชาและอํามาตย์ของพระราชา เป็นต้น ผู้มีบุญมากเท่านั้น ไม่ปรากฏแก่คนทั้งปวง ฉะนั้น. เหมือนอย่างมีนักโหราศาสตร์ย่อมรู้บุพนิมิต ในมนุษย์ทั้งหลาย คนทั้งปวงไม่รู้ ฉันใด ทวยเทพทั้งปวงย่อมไม่รู้แม้นิมิตเหล่านั้น แต่บัณฑิตเท่านั้นรู้ได้ ฉันนั้น. เทพบุตรเหล่าใดเกิดในเทวโลกนั้นด้วยกุศลกรรมน้อย เมื่อเทพบุตรเหล่านั้นเกิด เขากลัวว่า บัดนี้ใครจะรู้พวกเราเกิดที่ไหน เทพบุตรที่มีบุญมากย่อมไม่กลัวว่า พวกเราอาศัยทานที่เราให้ ศีลที่เรารักษา ภาวนาที่เราเจริญ จักเสวยสมบัติในเทวโลกเบื้องบน.

แม้พระโพธิสัตว์พระนามว่าวิปัสสี ทรงเห็นบุพนิมิตเหล่านั้นแล้วไม่ทรงกลัวว่า บัดนี้เราจักเป็นพระพุทธเจ้าในอัตภาพถัดไป. เมื่อเป็นเช่นนั้นเมื่อนิมิตเหล่านั้นปรากฏแก่พระองค์ ทวยเทพในหมื่นจักรวาลพากันมาประชุมทูลวิงวอนว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระองค์ทรงบําเพ็ญบารมี ๑๐ มิได้ทรงปรารถนาสักกสมบัติ มารสมบัติ พรหมสมบัติ สมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ แต่พระองค์ทรงปรารถนาความเป็นพุทธะ ทรงบําเพ็ญเพื่อถอนสัตว์ออกจากโลก บัดนี้กาลนั้นมาถึงพระองค์แล้ว เป็นสมัยเพื่อความเป็นพุทธะแล้ว.

ลําดับนั้น พระมหาสัตว์มิได้ทรงรับปฏิญญาของเทวดาเหล่านั้น ทรงตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ ประการ ด้วยสามารถทรงกําหนด กาล ทวีป ประเทศ ตระกูล และอายุของพระมารดา. ในมหาวิโลกนะ ๕ นั้น พระมหาสัตว์ทรงตรวจดูกาลก่อนว่าถึงเวลาหรือยัง. กาลเมื่ออายุของสัตว์เจริญมากกว่าแสนปี ก็ยัง

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 97

ไม่ใช่กาล. ถามว่าเพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะในกาลนั้น ชาติชราและมรณะจะไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย. ชื่อว่าพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอันจะทําให้พ้นจากพระไตรลักษณ์ก็จะไม่มี. เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสว่า ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา ดังนี้ สัตว์ทั้งหลายก็จะพูดว่า พระพุทธเจ้าตรัสอะไรแล้วไม่สําคัญเพื่อจะฟัง เพื่อจะเชื่อ. แต่นั้นก็จะไม่มีการตรัสรู้ เมื่อไม่มีการตรัสรู้. คําสอนก็จะไม่นําสัตว์ให้ออกจากทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่กาล แม้กาลเมื่อสัตว์มีอายุถอยลงไปกว่า ๑๐๐ ปี ก็ไม่ใช่กาล. ถามว่าเพราะเหตุไร ตอบว่าเพราะในกาลนั้น สัตว์ทั้งหลายมีกิเลสหนา. โอวาทที่ให้แก่สัตว์ที่มีกิเลสหนาย่อมไม่ดํารงอยู่ในฐานะเป็นโอวาท เหมือนไม้เท้าขีดลงไปในน้ำย่อมหายไปทันที เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่กาล. กาลเมื่ออายุสัตว์ตั้งแต่แสนปีลงมาถึง ๑๐๐ ปีชื่อว่ากาล. ก็ในกาลนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี. ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ทรงเห็นว่าถึงกาลที่ควรจะเกิดแล้ว. จากนั้น พระมหาสัตว์ทรงตรวจดูทวีป ทรงเห็นทวีป ๔ พร้อมด้วยบริวาร ทรงเห็นว่าใน ๓ ทวีป พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่บังเกิด บังเกิดในชมพูทวีปแห่งเดียว. ชมพูทวีปเป็นทวีปใหญ่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ โยชน์ทรงตรวจดูประเทศต่อไปว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมบังเกิดในประเทศไหนหนอ ทรงเห็นมัชฌิมประเทศ. ท่านกล่าวถึงมัชฌิมประเทศไว้ในวินัยโดยนัยเป็นต้นว่า ด้านทิศตะวันออกมีนิคมชื่อกชังคละ ประเทศนั้นโดยส่วนยาวประมาณ ๓๐๐ โยชน์ โดยส่วนกว้างประมาณ ๑๕๐ โยชน์ โดยรอบประมาณ ๙๐๐ โยชน์. จริงอยู่ ในประเทศนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธะทั้งหลาย พระอัครสาวก พระมหาสาวก ๘๐ พระเจ้าจักรพรรดิและกษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี เศรษฐี ผู้มีศักดิ์ใหญ่เหล่าอื่นย่อมเกิด. อนึ่ง ในประเทศนี้มีนครชื่อพันธุมดี พระมหาสัตว์ทรงตัดสินพระทัยว่า เราควรไปเกิดในนครนั้น. จากนั้นทรงตรวจดูตระกูล ทรงเห็นตระกูลแล้วว่า ธรรมดา

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 98

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมบังเกิดในตระกูลที่ชาวโลกยกย่อง ก็บัดนี้ ตระกูลกษัตริย์อันชาวโลกยกย่องแล้ว เราจักเกิดในตระกูลนั้น พระราชาพระนามว่าพันธุมจักเป็นพระบิดาของเราดังนี้. จากนั้น ทรงตรวจดูมารดา ทรงเห็นแล้วว่า ธรรมดาพระพุทธมารดาไม่เป็นหญิงเหลาะแหละ ไม่เป็นนักเลงสุรา บําเพ็ญบารมีมาแล้วถึงแสนกัป ตั้งแต่เกิดมาศีล ๕ ไม่ขาด ก็หญิง เช่นพระนางพันธุมดีเทวีนี้จักเป็นมารดาของเรา ดังนี้. ทรงรําพึงว่า พระนางพันธุมดีเทวีจะมีพระชนมายุเท่าไร ทรงเห็นแล้วจักมีพระชนมายุ๗ วัน ต่อจาก ๑๐ เดือน.

พระโพธิสัตว์ทรงตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ นี้ตรัสว่า ดูกรผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เป็นกาลอันสมควรของเราเพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เมื่อจะทรงทําการสงเคราะห์แก่ทวยเทพ ประทานปฏิญญาว่า พวกท่านจงพากันกลับไปเถิด ทรงส่งเทวดาเหล่านั้นแล้ว แวดล้อมด้วยเทวดาชั้นดุสิต เสด็จเข้าไปยังสวนนันทวันในดุสิตเทวโลก. แม้ในเทวโลกทั้งหมดก็มีสวนนันทวันเหมือนกัน. เหล่าเทวดาพากันทูลเตือนว่า ขอพระองค์จงจุติจากเทวโลกนี้ไปสู่มนุษยสุคติเถิด แล้วทูลให้ระลึกถึงโอกาสที่ทรงบําเพ็ญกุศลกรรมมาในกาลก่อน. พระโพธิสัตว์นั้นแวดล้อมไปด้วยเหล่าเทวดาผู้ให้ระลึกถึงกุศลอย่างนี้ เสด็จไปอยู่ในสวนนันทวันนั้นทรงจุติแล้ว. ก็ครั้นจุติอย่างนี้แล้วย่อมรู้ว่า เราจุติ ไม่รู้จุติจิตแม้ถือปฏิสนธิแล้วจึงรู้ แต่ไม่รู้ปฏิสนธิจิตอีกนั้นแหละ แต่รู้อย่างนี้ว่าเราถือปฏิสนธิในที่นี้นั่นเอง. แต่พระเถระบางพวกกล่าวว่า ควรได้การนึกคิดโดยปริยายพระโพธิสัตว์จักรู้วารจิตที่สองที่สาม.

แต่พระมหาสิวเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวว่า ปฏิสนธิของพระมหาสัตว์ไม่เหมือนปฏิสนธิของสัตว์อื่น ด้วยว่าสติสัมปชัญญะของพระมหาสัตว์เหล่านั้นถึงที่สุดแล้ว แต่เพราะไม่สามารถกระทําจิตดวงนั้นด้วยจิตดวงนั้นได้ฉะนั้น จึงไม่รู้จุติจิต แต่ในขณะจุตินั่นเองย่อมรู้ว่าเราจุติไม่รู้ปฏิสนธิจิต รู้เพียง

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 99

ว่าเราได้ถือปฏิสนธิ ณ ที่โน้นดังนี้. ในกาลนั้นหมื่นโลกธาตุย่อมหวั่นไหว. พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะอย่างนี้ เสด็จลงสู่ครรภ์มารดาทรงถือปฏิสนธิด้วยมหาวิบากจิต เช่นกับกุศลจิตอันเป็นอสังขาริกะ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้น แห่งเมตตาในปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวง. อนึ่ง พระมหาสิวเถระยังกล่าวว่า จิตสหรคตด้วยอุเบกขา. พระโพธิสัตว์แม้พระองค์นั้นก็ได้ถือปฏิสนธิด้วยฤกษ์อุตตราสาฬหะในวันเพ็ญเดือน ๘ เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายฉะนั้น.

ได้ยินว่า ในครั้งนั้นจําเดิมแต่วันที่ ๗ แห่งอาสาฬหะบูรณมี พระมารดาของพระโพธิสัตว์ทรงเล่นนักขัตตกีฬา ทรงประดับด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น ไม่มีการดื่มสุรา เสด็จลุกแต่เข้าในวันที่ ๗ ทรงสรงสนานด้วยน้ำหอม ทรงตกแต่งด้วยเครื่องประดับทุกชนิด เสวยพระกระยาหารเลิศ ทรงอธิษฐานองค์อุโบสถ เสด็จเข้าสู่ห้องสิริบรรทมเหนือพระสิริไสยาศน์ ทรงเข้าสู่นิทราได้ทอดพระเนตรเห็นพระสุบินนี้.

ในพระสุบินนั้นว่า ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ได้ยกพระพุทธมารดาพร้อมด้วยพระที่ นําไปยังสระอโนดาด ให้สรงสนาน ให้ทรงนุ่งห่มด้วยผ้าทิพย์ ให้ทรงลูบไล้ด้วยของหอมทิพย์ประดับดอกไม้ทิพย์ ไม่ไกลจากนั้นมีภูเขาเงิน ภายในภูเขาเงินนั้นมีวิมานทอง ให้พระพุทธมารดาหันพระเศียรไปทางทิศปาจีน บรรทม ณ วิมานทองนั้น.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นช้างเผือกผ่อง ไม่ไกลจากนั้นมีภูเขาทองลูกหนึ่ง พระโพธิสัตว์เสด็จไปที่ภูเขาทองนั้นแล้ว เสด็จลงจากภูเขาทอง เสด็จขึ้นภูเขาเงิน แล้วเสด็จเข้าไปยังวิมานทอง กระทําประทักษิณพระมารดาแล้วได้เป็นคล้ายแหวกพระปรัศเบื้องขวา เสด็จเข้าไปสู่พระครรภ์. ทันทีนั้น พระเทวีทรงตื่นกราบทูลพระสุบินนั้นแด่พระราชา.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 100

ครั้นสว่างแล้ว พระราชารับสั่งให้เรียกหัวหน้าพราหมณ์ประมาณ ๖๔ คน ให้ลาดอาสนะอันมีค่ามากบนพื้นฉาบด้วยของเขียว กระทํามงคลสักการะด้วยข้าวตอก เป็นต้น เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายนั่ง ณ ที่นั้นแล้ว ทรงนําถาดทองถาดเงินอันเต็มไปด้วยข้าวปายาสอย่างดี ปรุงด้วยเนยใสน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวด ครอบด้วยถาดทองถาดเงินอีกทีถวาย. ทรงให้พราหมณ์เหล่านั้นอิ่มเอิบด้วยวัตถุอย่างอื่น มีผ้าใหม่แม่โคแดงและทาน เป็นต้น. พระราชาตรัสบอกพระสุบินนั้นแก่พราหมณ์เหล่านั้น ผู้เอิบอิ่มด้วยสิ่งปรารถนาทั้งปวงแล้วรับสั่งถามว่า พระสุบินนั้นจักเป็นอย่างไร. พวกพราหมณ์กราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าแต่มหาราช พระองค์อย่าทรงพระวิตกเลย พระเทวีทรงพระครรภ์แล้ว พระเจ้าข้า อนึ่ง พระครรภ์นั้นเป็นบุรุษไม่ใช่สตรี พระองค์จักมีพระโอรส พระโอรสนั้นหากครองเรือนจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ประกอบด้วยธรรม เป็นธรรมราชา หากออกบวชจักเป็นพระพุทธเจ้าผู้เปิดโลก. พึงทราบลําดับการพรรณนาเนื้อความในบทนี้ว่า พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาดังนี้ก่อน. บทว่า อยเมตฺถธมฺมตา ความว่า ข้อนี้เป็นธรรมดาในการเสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดานี้. ท่านอธิบายว่านี้เป็นความเป็นจริง นี้เป็นความแน่นอนดังนี้.

ชื่อว่านิยามนี้มี๕ อย่าง คือ กรรมนิยาม อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตตนิยาม ธรรมนิยาม. ในนิยามทั้ง ๕ นั้น การให้ผลแห่งกุศลที่น่าปรารถนา การให้ผลแห่งอกุศลที่ไม่น่าปรารถนา นี้ชื่อกรรมนิยาม. เพื่อแสดงกรรมนิยามนั้นควรกล่าวถึงเรื่องในคาถาว่า น อนฺตลิกฺเข ดังนี้ เป็นต้น. มีเรื่องเล่าว่า หญิงคนหนึ่งทะเลาะกับสามีประสงค์จะผูกคอตาย จึงสอดคอเข้าไปในบ่วงเชือก. บุรุษคนหนึ่งลับมีดอยู่เห็นหญิงนั้น ประสงค์จะตัดเชือก จึงวิ่งไปปลอบหญิงนั้นว่า น้องอย่ากลัว น้องอย่ากลัว. เชือกกลายเป็นอสรพิษรัดคอหญิงอยู่. บุรุษนั้นกลัวรีบหนีไป. หญิงนั้นตาย ณ ที่นั้นเอง. ควรแสดงถึงเรื่องทั้งหลายเป็นต้นอย่างนี้ ในที่นี้.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 101

ในชนบทนั้นๆ ในกาลนั้นๆ การเก็บดอกไม้และผลไม้ เป็นต้น โดยตัดครั้งเดียวเท่านั้น ลมพัด ลมไม่พัด แดดกล้า แดอ่อน ฝนตก ฝนไม่ตก ดอกบัวกลางวันแย้ม กลางคืนหุบ อย่างนี้เป็นต้น เป็นอุตุนิยาม.

ผลข้าวสาลีย่อมเป็นผลจากพืชข้าวสาลีอย่างเดียว รสหวานย่อมเป็นผลจากน้ำหวาน รสขมย่อมเป็นผลจากพืชขม นี้เป็นพีชนิยาม.

ธรรมคือจิตและเจตสิกดวงก่อนๆ เป็นปัจจัย โดยอุปนิสัยปัจจัยแห่งธรรมคือจิตและเจตสิกดวงหลังๆ เพราะฉะนั้น การเกิดขึ้นแห่งสัมปฏิจฉันนะ เป็นต้น ในลําดับแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น นี้ เป็นจิตตนิยาม.

ความเป็นไปแห่งความหวั่นไหวในหมื่นโลกธาตุ ในการเสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแห่งพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย นี้ชื่อธรรมนิยาม. ในที่นี้ท่านประสงค์ธรรมนิยาม. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความนั้นจึงตรัสคําเป็นต้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดา ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กุจฺฉึ โอกฺกมติ นี้มีความว่า พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์. ก็เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นเสด็จลงแล้ว ย่อมเป็นอย่างนี้ หาใช่กําลังเสด็จลงไม่. บทว่า อปฺปมาโณ ความว่า มีประมาณเจริญคือไพบูลย์ บทว่า อุฬาโร เป็นไวพจน์ของบทนั้น . ท่านกล่าวว่ามีรสอร่อยอย่างยิ่งในบทเป็นต้นว่า ชนทั้งหลาย ย่อมเคี้ยวกินของควรเคี้ยวอันมีรสอร่อยอย่างยิ่ง ท่านกล่าวว่า ประเสริฐอย่างยิ่ง. ในบทมีอาทิว่า ได้ยินมาว่า เหล่ากอแห่งวัจฉะผู้เจริญย่อมสรรเสริญพระสมณโคดมด้วยความสรรเสริญอันยิ่ง. แต่ในบทนี้ ท่านประสงค์เอาความไพบูลย์. ในบทว่า เทวานํ เทวานุภาวํ นี้ มีความว่า อานุภาพของเทวดาก็คือ ผ้านุ่งมีรัศมีสร้านไป ๑๒ โยชน์ ร่างกายก็เช่นนั้น เครื่องประดับก็เช่นนั้น วิมานก็เช่นนั้น พระโพธิสัตว์ล่วงเลยเทวานุภาพนั้นดังนี้.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 102

บทว่า โลกนฺตริกา ความว่า ช่องว่างอันหนึ่งๆ ในระหว่างจักรวาลทั้ง ๓ ย่อมมีในที่สุดโลก ดุจช่องว่างในท่ามกลางล้อเกวียน ๓ ล้อ หรือแผ่น ๓ แผ่นที่วางทับกัน ฉะนั้น. ก็โลกันตรนรกนั้นโดยส่วนกว้างถึง ๘,๐๐๐ โยชน์. บทว่า อฆา คือเปิดเป็นนิจ. บทว่า อสํวุตา ความว่า แม้ข้างล่างก็ไม่มีตั้งไว้. บทว่า อนฺธการา คือ มืดมิด. บทว่า อนฺธการติมิสา ความว่า ประกอบด้วยหมอกอันทําความมืดพ้นจากจักขุวิญญาณ. นัยว่า จักขุวิญญาณย่อมไม่เกิด ณ ที่นั้น. บทว่า เอวํ มหิทฺธิกา ความว่า พระจันทร์และพระอาทิตย์ย่อมปรากฏใน ๓ ทวีป โดยส่องแสงครั้งเดียวเท่านั้น อย่างนี้ชื่อว่า พระจันทร์และพระอาทิตย์มีฤทธิ์มาก. พระจันทร์และพระอาทิตย์กําจัดความมืดตลอดหนึ่งล้านแปดแสนโยชน์ในทิศหนึ่งๆ แล้วส่องแสงสว่าง อย่างนี้ชื่อว่าพระจันทร์และพระอาทิตย์มีอานุภาพมาก. บทว่า อาภาย นานุโภนฺติ ความว่า แสงสว่างของตนไม่พอ. นัยว่า พระจันทร์และพระอาทิตย์เหล่านั้นแล่นไปท่ามกลางจักรวาลบรรพต. ก็โลกันตรนรกเลยจักรวาลบรรพตไป เพราะฉะนั้น พระจันทร์และพระอาทิตย์เหล่านั้นจึงมีแสงสว่างไม่พอในที่นั้น.

บทว่า เยปิ ตตฺถ สตฺตา ความว่า แม้สัตว์เหล่าใดเกิดแล้วในโลกันตรมหานรกนั้น. ถามว่า ก็สัตว์เหล่านั้นกระทํากรรมอะไรไว้จึงเกิดในโลกันตรมหานรกนั้น. ตอบว่า ทํากรรมหนักคือหยาบช้า. สัตว์เหล่านั้นกระทําความผิดต่อมารดาบิดาและสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมและกรรมร้ายกาจมีฆ่าสัตว์เป็นต้น ทุกวันๆ ย่อมเกิดในโลกันตรนรกนั้น ดุจอภยโจรและนาคโจรเป็นต้นในตามพปัณณิทวีป ร่างกายของสัตว์เหล่านั้นสูง ๓ คาวุต มีเล็บยาวเหมือนเล็บค้างคาว สัตว์เหล่านั้นเกาะอยู่บนจักรวาลบรรพตด้วยเล็บ เหมือนค้างคาวเกาะอยู่บนต้นไม้ฉะนั้น เมื่อใดสัตว์เหล่านั้นคลานไปถูกฝ่ามือของกันและกันเข้า เมื่อนั้นก็สําคัญว่า เราพบอาหารแล้วจึงวิ่งหมุนไปรอบๆ แล้วก็ตกไปบนน้ำหนุนโลก

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 103

เมื่อลมปะทะก็ขาดตกลงไปในน้ำเหมือนผลมะทราง พอตกลงไปแล้วก็ละลายเหมือนก้อนแป้งตกลงไปในน้ำที่เค็มจัด. บทว่า อฺเญปิ กิร โภ สนฺติ สตฺตา ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเห็นกันในวันนั้นว่า โอ้โฮแม้สัตว์เหล่าอื่นก็เกิดในที่นี้ เพื่อเสวยทุกข์เหมือนอย่างพวกเราเสวยทุกข์ยิ่งใหญ่ฉะนั้น. ก็แสงสว่างนี้ไม่ตั้งอยู่นาน ตั้งอยู่เพียงดื่มข้าวยาคูครั้งเดียว เปล่งออกเหมือนแสงสายฟ้าเพียงลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น เมื่อสัตว์ทั้งหลายพูดว่านี้อะไรก็หายไป. บทว่า สํกมฺปติ คือ หวั่นไหวไปโดยรอบ. สองบทต่อไปเป็นไวพจน์ของบทก่อนนั้นแล. บทว่า ปุน อปฺปมาโณ จ เป็นต้น ท่านกล่าวความสรุปต่อไป.

บทว่า จตฺตาโร ในบทนี้ว่า เทวบุตร ๔ องค์ เข้าไปรักษาทิศทั้ง ๔ ท่านกล่าวหมายถึงท้าวมหาราช ๔ องค์. ก็ในหมื่นจักรวาลแบ่งเป็นอย่างละ ๔ ก็เป็นสี่หมื่นจักรวาล. ในสี่หมื่นจักรวาลนั้นในจักรวาลนี้ ท้าวมหาราชถือพระขรรค์เข้าไปคอยอารักขาพระโพธิสัตว์ เข้าไปสู่ห้องสิริ ยังหมู่ยักษ์เป็นต้นว่าพวกปีศาจเล่นฝุ่นที่กีดขวาง ตั้งแต่ประตูห้องให้หลีกออกไปแล้ว ถือการอารักขาตลอดจักรวาล.

ก็การรักษานี้เพื่อประโยชน์อะไร แม้หากว่าจําเดิมแต่กาลแห่งกลละในขณะปฏิสนธิ พวกมารแสนโกฏิ ยกเขาสิเนรุแม้แสนโกฏิ พึงมาเพื่อทําอันตรายพระโพธิสัตว์ หรือพระมารดาของพระโพธิสัตว์ อันตรายทั้งหมดพึงหายไปมิใช่หรือ. แม้เรื่องนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้แล้วในทําพระโลหิตให้ห้อว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่พวกมารจะพึงปลงพระชนม์ตถาคตด้วยความพยายามของผู้อื่น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตทั้งหลายไม่ปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงไปตามที่อยู่เถิด ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทั้งหลายไม่ควรที่จะอารักขา เพราะฉะนั้น อันตรายถึงชีวิตของพระตถาคตเหล่านั้นย่อมไม่มีด้วยความเพียรของผู้อื่นอย่างนี้แหละ. พวก

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 104

เทพบุตรได้ถืออารักขาเพื่อป้องกันภัยก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี อันพึงเกิดแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์ เพราะเห็นรูปหรือฟังเสียงของอมนุษย์ที่มีรูปพิการน่าเกลียดน่ากลัวเป็นมฤคปักษี. อีกประการหนึ่ง พวกเทพบุตรเกิดความเคารพด้วยเดชแห่งบุญของพระโพธิสัตว์ แม้ได้ประกาศความเคารพของตนๆ ก็ได้กระทําอย่างนี้.

ก็ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เหล่านี้ เข้าไปยืนภายในห้องแสดงตนหรือไม่แสดงตนแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์. ไม่แสดงในเวลาทรงอาบน้ำ ทรงตกแต่งพระวรกาย ทรงบริโภคพระกระยาหาร เป็นต้น และเวลาถ่าย แต่จะแสดงในเวลาพระมารดาเสด็จเข้าห้องสิริแล้วบรรทมบนพระที่สิริไสยาศน์. ณ ที่นั่นชื่อว่าการเห็นอมนุษย์ย่อมเป็นภัยเฉพาะหน้าของมนุษย์ก็จริง. แต่ถึงดังนั้น พระมารดาของพระโพธิสัตว์เห็นอมนุษย์เหล่านั้นด้วยบุญญานุภาพของตน และของพระโอรสจึงไม่ทรงกลัว. พระทัยของพระมารดานั้นย่อมเกิดในอมนุษย์เหล่านั้นเหมือนผู้ดูแลภายในพระนครตามปกติ.

บทว่า ปกติยา สีลวตี ความว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลโดยสภาวะนั่นเอง. ได้ยินว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอุบัติ พวกมนุษย์นั่งกระหย่งไหว้รับศีลในสํานักของพวกดาบสและปริพาชก. แม้พระมารดาของพระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายก็ทรงรับศีลในสํานักของฤษีกาลเทวิล. แต่เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จสู่พระครรภ์ ใครๆ อื่นไม่สามารถจะนั่ง ณ บาทมูลได้. แม้นั่งรับศีลบนอาสนะเสมอกันก็เป็นอาการดูหมิ่น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระมารดาพระโพธิสัตว์ทรงรับศีลด้วยพระองค์เอง.

บทว่า ปุริเสสุ ความว่าจิตประสงค์ในบุรุษ ในมนุษย์ไรๆ เริ่มด้วยพระบิดาพระโพธิสัตว์เป็นต้น ย่อมไม่เกิดแก่พระมารดาพระโพธิสัตว์. คนมีศิลปะแม้ฉลาด ก็ไม่สามารถจะวาดรูปพระมารดาพระโพธิสัตว์ลงในใบลานเป็น

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 105

ต้นได้. อันใครๆ ไม่สามารถจะกล่าวได้ว่า เพราะเห็นรูปนั้น ราคะย่อมไม่เกิดแก่บุรุษ. ก็หากว่าบุรุษมีจิตกําหนัดประสงค์จะเข้าไปหาพระมารดาพระโพธิสัตว์นั้น เท้าไม่พาไปย่อมผูกติดดุจโซ่ทิพย์ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคําเป็นต้นว่าพระมารดาอันใครๆ ล่วงเกินไม่ได้.

บทว่า ปฺจนฺนํ กามคุณานํ ความว่าในบทก่อนท่านกล่าวถึงการห้ามวัตถุด้วยสามารถความประสงค์ในบุรุษด้วยบทนี้ว่า กามคุณูปสฺหิตํ ในบทนี้ท่านแสดงถึงการได้อารมณ์. ได้ยินว่า ในกาลนั้นพระราชาทั้งหลายโดยรอบสดับว่า พระโอรสเห็นปานนี้ทรงอุบัติในพระครรภ์ของพระเทวี ทรงส่งบรรณาการอันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดีในทวารห้า ด้วยสามารถอาภรณ์มีค่ามากและดนตรีเป็นต้น. ชื่อว่าการกําหนดปริมาณแห่งลาภและสักการะไม่มีแก่พระโพธิสัตว์และแก่มารดาของพระโพธิสัตว์ เพราะสั่งสมกรรมที่ทําไว้.

บทว่า อกิลนฺตกายา ความว่า พระมารดาพระโพธิสัตว์นั้นมิได้มีความลําบากไรๆ อย่างที่หญิงทั้งหลายอื่นลําบากด้วยหนักครรภ์ มือและเท้าย่อมถึงการบวมเป็นต้น.

บทว่า ติโรกุจฺฉิคตํ คือ เสด็จอยู่ภายในพระครรภ์. บทว่า ปฺสสติ ความว่า พระมารดาพระโพธิสัตว์ครั้นล่วงกาลมีกลละเป็นต้น ทรงเห็นพระโพธิสัตว์เข้าถึงความเป็นผู้มีอวัยวะน้อยใหญ่ และพระอินทรีย์สมบูรณ์เกิดแล้ว. ถามว่าทรงเห็นเพื่ออะไร. ตอบว่าเพื่ออยู่อย่างสบาย. เหมือนอย่างว่ามารดานั่งหรือนอนกับบุตรยกมือหรือเท้าของบุตรนั้นห้อยลงคิดว่า เราจักให้บุตรแข็งแรง มองดูบุตรเพื่ออยู่อย่างสบายฉันใด แม้พระมารดาของพระโพธิสัตว์ก็ฉันนั้น คิดว่า ทุกข์ใดเกิดแก่ครรภ์ในขณะที่มารดายืนเดินเคลื่อนไปมาและนั่งเป็นต้นและในการกลืนอาหารร้อนเย็นเค็มขมเป็นต้นของมารดา ทุกข์นั้นจะมีแก่บุตรของเราหรือไม่หนอดังนี้ แล้วมองดูพระโพธิสัตว์เพื่ออยู่อย่างสบาย ทรง

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 106

เห็นพระโพธิสัตว์ประทับนั่งขัดสมาธิ. เหมือนอย่างว่าสัตว์เหล่าอื่นอยู่ภายในท้องบีบพุงแขวนกะเพาะทําแผ่นท้องไว้ข้างหลัง. อาศัยกระดูกสันหลังวางคางก้มไว้บนกํามือทั้งสอง นั่งเจ่าเหมืองลิงที่โพรงไม้เมื่อฝนตกฉันใด พระโพธิสัตว์มิได้เป็นอย่างนั้น. พระโพธิสัตว์กระทํากระดูกสันหลังไว้ข้างหลังนั่งขัดสมาธิ ก็บ่ายพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกดุจพระธรรมกถึกนั่งธรรมาสน์. ก็กรรมที่พระองค์ทรงกระทํามาในกาลก่อน จึงทําให้วัตถุของพระโพธิสัตว์บริสุทธิ์. เมื่อวัตถุบริสุทธิ์ พระลักษณะคือพระฉวีละเอียดย่อมบังเกิดขึ้น. พระตโจในพระอุทรไม่สามารถจะปกปิดพระฉวีนั้นได้. เมื่อพระมารดาทรงแลดูย่อมปรากฏเหมือนตั้งอยู่ภายนอก. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงทําเนื้อความนั้นให้แจ่มแจ้งด้วยอุปมา จึงตรัสคําเป็นอาทิว่า เสยฺยถาปิ ดังนี้. ก็พระโพธิสัตว์ประทับอยู่ภายในพระครรภ์ย่อมไม่ทรงเห็นพระมารดา. เพราะจักขุวิญญาณย่อมไม่เกิดขึ้นภายในท้อง.

บทว่า กาลํ กโรติ ความว่า มิใช่โดยสิ้นอายุเพราะการคลอดเป็นปัจจัยด้วยว่าที่ที่พระโพธิสัตว์ประทับอยู่เป็นเช่นกับเจดีย์และกุฎี ไม่ควรที่ผู้อื่นจะร่วมใช้สอย. อนึ่ง ใครๆ ไม่สามารถจะนําพระมารดาพระโพธิสัตว์ไปดํารงในฐานะเป็นอัครมเหสีผู้อื่นได้ ดังนั้น พระชนมายุของพระมารดาพระโพธิสัตว์จึงมีประมาณเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระนางจึงเสด็จทิวงคตในกาลนั้น.

ถามว่า ก็พระมารดาพระโพธิสัตว์เสด็จทิวงคตในวัยไหน. ตอบว่าในมัชฌิมวัย. เพราะว่าในอัตตภาพของสัตว์ทั้งหลายในปฐมวัย ฉันทราคะย่อมมีกําลัง. เพราะเหตุนั้น หญิงที่ตั้งครรภ์ในตอนนั้น จึงไม่สามารถจะรักษาครรภ์ไว้ได้. ครรภ์ย่อมเจ็บมาก. แต่ครั้นเลยส่วนสองของมัชฌิมวัย ในส่วนที่สามวัตถุย่อมเป็นของบริสุทธิ์. ทารกที่เกิดในวัตถุบริสุทธิ์ย่อมไม่มีโรค. เพราะฉะนั้น พระมารดาของพระโพธิสัตว์เสวยสมบัติในปฐมวัย ประสูติในส่วนที่สามของมัชฌิมวัยแล้ว เสด็จทิวงคต ดังนั้น ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 107

วาศัพท์ในบทนี้ว่า นว วา ทส วา พึงทราบด้วยสามารถเป็นเครื่องกําหนด พึงทราบการสงเคราะห์แม้คําเป็นต้นอย่างนี้ว่า ๗ เดือน ๘ เดือน ๑๑ เดือน หรือ ๑๒ เดือน. ในบทเหล่านั้น ทารกเกิดใน ๘ เดือน ยังมีชีวิตอยู่แต่ทนหนาวและร้อนไม่ได้ เกิดใน ๗ เดือนย่อมไม่มีชีวิต ที่เหลือยังมีชีวิตอยู่ได้.

บทว่า เทวา ปมํ ปฏิคฺคณฺหนฺติ ความว่า พรหมชั้นสุทธาวาสผู้เป็นพระขีณาสพย่อมรับ. ถามว่าอย่างไร. ตอบว่าอาจารย์บางพวกกล่าวว่า รับเครื่องแต่งตัวในตอนประสูติ. แต่ข้อนั้นถูกคัดค้านแล้วจึงกล่าวข้อนี้ว่า ในกาลนั้นพระมารดาพระโพธิสัตว์ ทรงนุ่งผ้าประด้วยทองคํา เช่นกับตาปลามีสองชั้นคลุมตลอดพระบาทได้พระทับยืน ขณะนั้น พระมารดาพระโพธิสัตว์ได้ประสูติพระโอรสคลองเช่นกับน้ำไหลออกจากธมกรก ลําดับนั้น เหล่าเทวดามีเพศเป็นพรหมตามปกติเข้าไปรับด้วยข่ายทองคําก่อน ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ได้เอาเครื่องลาดทําด้วยหนังเสือเหลืองรับจากหัตถ์ของพรหมเหล่านั้น จากนั้นพวกมนุษย์จึงรับด้วยผ้ารองสองชั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าเทวดาทั้งหลายรับก่อน พวกมนุษย์รับภายหลัง ดังนี้.

บทว่า จตฺตาโร นํ เทวปุตฺตา ความว่า มหาราช ๔ องค์. บทว่า ปฏิคฺคเหตฺวา ความว่า รับด้วยเครื่องลาดทําด้วยหนังเสือเหลือง. บทว่า มเหสกฺโข ความว่า มีเดชมาก มียศมาก ถึงพร้อมด้วยลักษณะ.

บทว่า วิสุทฺโธว นิกฺขมติ ความว่า ไม่เสด็จออกเหมือนสัตว์เหล่าอื่น มักติดอยู่ที่ช่องคลอดข่มแล้วข่มอีกจึงคลอด. อธิบายว่า เสด็จออกไม่ติดขัด. บทว่า อุทฺเทน แปลว่า ด้วยน้ำ. บทว่า เกนจิ อสุจินา ความว่า พระโพธิสัตว์มิเป็นเหมือนสัตว์เหล่าอื่น ถูกลมเบ่งซัดมีเท้าขึ้น มีหัวลงที่ช่องคลอด เหมือนตกลงไปสู่เหวนรกชั่ว ๑๐๐ บุรุษ เหมือนช้างถูกฉุดออกจากช่องดาล เสวย

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 108

ทุกข์ใหญ่ เปรอะเปื้อนด้วยอสุจิต่างๆ แล้วคลอด ฉะนั้น. จริงอยู่ ลมเบ่งไม่สามารถทําพระโพธิสัตว์ให้มีเท้าขึ้น มีหัวลงได้ พระโพธิสัตว์นั้นเหมือนพระธรรมกถึกลงจากธรรมาสน์ และเหมือนบุรุษลงจากบันได ทรงเหยียดพระหัตถ์ทั้งสองและพระบาททั้งสอง ประทับยืนไม่เปรอะเปื้อนด้วยอสุจิอย่างใดอย่างหนึ่งอันมีอยู่ในพระครรภ์ของพระมารดาเสด็จออก.

บทว่า อุทกธารา คือสายน้ำ. ในสายน้ำนั้น น้ำเย็นไหลจากหม้อทองน้ำร้อนไหลจากหม้อเงิน. อนึ่ง ท่านกล่าวบทนี้เพื่อแสดงน้ำดื่มและน้ำบริโภคและสายน้ำเป็นที่เล่นไม่ทั่วไปด้วยน้ำเหล่าอื่นของสายน้ำเหล่านั้น อันไม่เปรอะเปื้อนด้วยอสุจิอย่างใดอย่างหนึ่งบนพื้นดิน. ไม่มีการกําหนดน้ำที่นํามาด้วยหม้อทองและเงินอื่นและน้ำที่ไหลไปสู่สระโบกขรณีมีหังสวฏกะ เป็นต้น.

บทว่า สมฺปติชาโต คือประสูติได้ครู่หนึ่ง. แต่ในบาลีท่านแสดงดูเหมือนพอเสด็จออกจากพระครรภ์ของพระมารดา แต่ก็ไม่ควรเห็นเป็นอย่างนั้น. เพราะพรหมทั้งหลายรับพระโพธิสัตว์นั้นพอเสด็จออกด้วยข่ายทองคําก่อน. ท้าวมหาราชทั้ง ๔ รับด้วยเครื่องลาดทําด้วยหนังเสือเหลืองจากหัตถ์ของพรหมเหล่านั้น. มนุษย์ทั้งหลายรับด้วยผ้ารองสองชั้นจากหัตถ์ของท้าวมหาราชทั้ง ๔. พระโพธิสัตว์พ้นจากมือมนุษย์ทั้งหลายแล้วประดิษฐานบนแผ่นดิน. บทว่า เสตมฺหิ ฉตฺเต อนุธาริยมาเน ความว่า เมื่อเทวดากั้นเศวตฉัตรทิพย์ตามเสด็จอยู่. ในบทนี้แม้เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๕ มีพระขรรค์ เป็นต้น อันเป็นบริวารของฉัตรนั้นก็ปรากฏขึ้นทันที. แต่ในบาลีท่านกล่าวถึงฉัตรดุจพระราชาในขณะเสด็จพระราชดําเนิน. ในเบญจราชกุกกุฏภัณฑ์นั้น ฉัตรเท่านั้นปรากฏคนถือฉัตรไม่ปรากฏ. เช่นเดียวกัน พระขรรค์พัดใบตาล แซ่หางนกยูง พัดวาลวิชนี และกรอบพระพักตร์ย่อมปรากฏ คนถือไม่ปรากฏ นัยว่าเทวดาทั้งหลาย ไม่ปรากฏรูปถือสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด. แม้ข้อนี้ท่านก็กล่าวไว้ว่า

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 109

พวกเทวดากั้นฉัตรมีก้านไม่น้อย มีมณฑลพันหนึ่งบนอากาศ ไม้เท้าทองคํา พัดจามรโบกสะบัดไปมา แต่ไม่เห็นคนถือพัดจามรและฉัตร ดังนี้.

บทว่า สพฺพา จ ทิสา นี้ ท่านกล่าวดุจพระโพธิสัตว์ประทับยืนหลังจากเสด็จย่างพระบาท ๗ ก้าวแล้ว ทรงเหลียวมองดูทิศทั้งหมด ไม่ควรเห็นอย่างนั้นเลย. ความจริง พระโพธิสัตว์ทรงพ้นจากมือของพวกมนุษย์แล้วประดิษฐานบนแผ่นดิน ทรงแลดูทิศตะวันออก. หลายพันจักรวาลได้เป็นเนินเดียวกัน. ณ ที่นั้น พวกเทวดาและมนุษย์ต่างบูชาด้วยของหอมและดอกไม้ เป็นต้น พากันกล่าวว่า ข้าแต่พระมหาบุรุษ ในโลกนี้แม้คนเช่นพระองค์ก็ไม่มี จะหาคนยิ่งกว่าพระองค์ได้แต่ไหน. พระโพธิสัตว์ทรงเหลียวแลดู ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ ทิศเบื้องล่างเบื้องบน ไม่ทรงเห็นแม้คนเช่นพระองค์ ทรงดําริว่า นี้ทิศเหนือ แล้วทรงบ่ายพระพักตร์ไปทางเหนือได้เสด็จโดยอย่างพระบาท ๗ ก้าว. พึงทราบความในบทนี้อย่างนี้. บทว่า อาสภึ คือ สูงสุด. บทว่า อคฺโค คือเป็นที่หนึ่งของชนทั้งหมดด้วยคุณธรรมทั้งหลาย. อีก ๒ บท เป็นไวพจน์ของบทนี้. พระโพธิสัตว์ทรงพยากรณ์พระอรหัตอันพระองค์พึงบรรลุในอัตตภาพนี้ด้วยบททั้งสองว่านี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา บัดนี้ภพใหม่ของเราไม่มีอีกแล้ว ดังนี้.

ก็ในบทนี้พึงทราบว่า การประดิษฐานบนแผ่นดินด้วยพระบาทเสมอกัน เป็นบุพนิมิตแห่งการได้อิทธิบาท ๔ การบ่ายพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ เป็นบุพนิมิตแห่งการเสด็จไปครอบงําปราบปรามมหาชน การเสด็จย่างพระบาท ๗ ก้าว เป็นบุพนิมิตแห่งการได้รตนะ คือ โพชฌงค์ ๗ การกั้นเศวตฉัตรทิพย์ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้ฉัตรประเสริฐ คือ วิมุติ การได้ราชกุกกุฏภัณฑ์ ๕ เป็นบุพนิมิตแห่งการพ้นด้วยวิมุติ ๕ การเหลียวแลดูทิศ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้อนาวรณญาณ การเปล่งอาสภิวาจา เป็นบุพนิมิตแห่งการเป็นไปแห่ง

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 110

ธรรมจักรที่ยังไม่ได้เป็นไป การเปล่งสีหนาทว่า นี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา เป็นบุพนิมิตแห่งการปรินิพพานโดยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดังนี้. วาระเหล่านี้มาแล้วในบาลี. แต่หลายวาระยังไม่มา ควรนํามาแสดง.

จริงอยู่ในวันพระมหาบุรุษประสูติ หมื่นโลกธาตุหวั่นไหว เทวดาในหมื่นโลกธาตุพากันมาประชุมในจักรวาลเดียวกัน. เทวดารับก่อน. พวกมนุษย์รับภายหลัง. พิณที่ขึงสาย กลองที่ขึงหนัง ไม่มีใครประโคมก็ประโคมขึ้นเอง. ป้อมและที่กักขัง เป็นต้น ของพวกมนุษย์พังเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย. โรคทั้งปวงสงบหมดไปเหมือนสนิมทองแดงที่ล้างด้วยของเปรี้ยว. คนตาบอดโดยกําเนิดเห็นรูป. คนหนวกโดยกําเนิดได้ยินเสียง. คนพิการได้มีกําลังสมบูรณ์. สติของคนแม้เลวโดยชาติ คนบ้าน้ำลาย ก็ตั้งมั่นได้. เรือที่แล่นไปต่างประเทศถึงท่าสะดวก. รตนะที่ตั้งอยู่บนอากาศและตั้งอยู่บนพื้น ได้ส่องแสงด้วยความยิ่งใหญ่ของตนเอง. พวกมีเวรก็ได้เมตตาจิตต่อกัน. ไฟในอเวจีดับ. แสงสว่างในโลกันตรนรกก็เกิดขึ้น น้ำในแม่น้ำไม่ไหล. ในมหาสมุทรได้มีน้ำหวาน. ลมไม่พัด. นกที่บินไปบนอากาศที่อยู่บนภูเขาและต้นไม้ได้ตกลงไปบนพื้นดิน. พระจันทร์สว่างยิ่งนัก. พระอาทิตย์ไม่ร้อนไม่เย็นปราศจากมลทินได้สมบูรณ์ตามฤดู. พวกเทวดาประดิษฐานอยู่ ณ ประตูวิมานของตนๆ เล่นกีฬาอย่างสนุกสนาน ด้วยการปรบมือ ผิวปาก โบกผ้า เป็นต้น. แม้ฝนจากทิศทั้ง ๔ ก็ได้ตกลงมา. ความหิว ความกระหาย มิได้บีบคั้นมหาชน. ประตูและหน้าต่างทั้งหลายเปิดเอง. ไม้ดอกไม้ผล ก็ออกดอกออกผล หมื่นโลกธาตุได้มีธงดอกไม้เป็นอันเดียวกัน.

แม้ในข้อนี้พึงทราบดังนี้ หมื่นโลกธาตุหวั่นไหว เป็นบุพนิมิตของการได้สัพพัญุตญาณของพระมหาบุรุษนั้น การประชุมในจักรวาลเดียวกันของเทวดาทั้งหลาย เป็นบุพนิมิตแห่งการประชุมโดยทํานองเดียวนี้แลในกาลยัง

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 111

ธรรมจักรให้เป็นไปแล้วรับพระธรรม การรับของพวกเทวดาครั้งแรก เป็นบุพนิมิตแห่งการได้รูปาวจรฌาณ ๔ การรับของพวกมนุษย์ภายหลังเป็นบุพนิมิตแห่งการได้อรูปฌาน ๔ พิณที่ขึงสายดีดเอง เป็นบุพนิมิตแห่งการได้อนุปุพพวิหารธรรม กลองที่ขึงหนังดังเอง เป็นบุพนิมิตแห่งการได้ยินธรรมเภรีอันใหญ่หลวง ป้อมและที่กักขัง เป็นต้น พัง เป็นบุพนิมิตแห่งการตัดขาดอัสมีมานะ มหาชนหายจากโรค เป็นบุพนิมิตแห่งการได้อริยสัจ ๔ คนตาบอดโดยกําเนิดเห็นรูป เป็นบุพนิมิตแห่งการได้ทิพจักษุ คนหูหนวกได้ยินเสียงเป็นบุพนิมิตแห่งการได้ทิพโสต คนพิการมีกําลัง เป็นบุพนิมิตแห่งการได้อิทธิบาท ๔ คนใบ้แต่กําเนิดพูดได้ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้สติปฏิฐาน ๔ เรือแล่นไปต่างประเทศถึงท่าโดยสะดวก เป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุปฏิสัมภิทา ๔ ความที่รตนะส่องแสงด้วยความยิ่งใหญ่ของตนเอง เป็นบุพนิมิตแห่งแสงธรรมที่พระโพธิสัตว์จักประกาศแก่โลก ผู้มีเวรกันได้เมตตาจิตต่อกัน เป็นบุพนิมิตของการได้พรหมวิหาร ๔ ไฟในอเวจีดับ เป็นบุพนิมิตของการดับไฟ ๑๑ ดวง โลกันตรนรกสว่าง เป็นบุพนิมิตแห่งการกําจัดความมืด คือ อวิชชา แล้วเห็นความสว่างแห่งญาณ น้ำในแม่น้ำไม่ไหล เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เวสารัชชธรรม ๔ มหาสมุทรมีรสหวาน เป็นบุพนิมิตแห่งความมีรสเป็นอันหนึ่งด้วยรสคือนิพพาน การที่ลมไม่พัด เป็นบุพนิมิตแห่งการทําลายทิฏฐิ ๖๒ นกทั้งหลายไปบนดิน เป็นบุพนิมิตแห่งมหาชนผู้ฟังโอวาทแล้วถึงสรณะด้วยชีวิต การที่พระจันทร์สว่างไสวยิ่ง เป็นบุพนิมิตแห่งความงามของตนเป็นอันมาก การที่พระอาทิตย์เว้นความร้อนและความเย็น เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดสุขทางกายและทางใจ เพราะฤดูสบาย การที่พวกเทวดาประดิษฐานอยู่ ณ ประตูวิมานรื่นเริงด้วยการปรบมือเป็นต้น เป็นบุพนิมิตแห่งการถึงความเป็นพระพุทธเจ้าแล้วทรงเปล่งอุทาน การที่ฝนตกทั้ง ๔ ทิศ เป็นบุพนิมิตแห่งการตกของฝนคือพระธรรมอันใหญ่

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 112

หลวง การไม่มีความหิวบีบคั้น เป็นบุพนิมิตแห่งการได้น้ำอมฤตคือกายคตาสติ การไม่มีความกระหายบีบคั้น เป็นบุพนิมิตแห่งความเป็นผู้ถึงความสุขด้วยวิมุตติสุข การที่ประตูและหน้าต่างเปิดเอง เป็นบุพนิมิตแห่งการเปิดประตูคือมรรคมีองค์ ๘ การที่ต้นไม้ออกดอกและผลเป็นบุพนิมิตของดอกไม้ คือ วิมุติ บาน และความเป็นผู้เต็มด้วยภาระคือสามัญญผล การที่หมื่นโลกธาตุมีธงดอกไม้เป็นอันเดียว เป็นบุพนิมิตแห่งความเป็นผู้มีธงดอกไม้คืออริยะ. นี้ชื่อสัมพหุลวาระ.

ในเรื่องนี้ชนทั้งหลายถามปัญหาว่า ตอนที่พระมหาบุรุษประทับยืนบนแผ่นดินแล้ว ทรงบ่ายพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ เสด็จไปได้ทรงเปล่งอาสภิวาจาเสด็จไปบนแผ่นดินหรือ หรือว่าเสด็จไปทางอากาศ ทรงปรากฏพระองค์เสด็จไปหรือไม่ปรากฏ เสด็จเปลือยพระองค์ไปหรือตกแต่งพระองค์ เสด็จไปเป็นหนุ่มหรือเป็นคนแก่ แม้ภายหลังก็ได้เป็นเช่นนั้นหรือ หรือว่าเป็นทารกอ่อนอีก. ก็ปัญหานี้ตั้งขึ้นภายใต้โลหปราสาท พระจูฬาภยเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกได้แก้ไว้แล้ว.

มีเรื่องเล่ามาว่า ในเรื่องนี้พระเถระกล่าวถึงข้อนั้นไว้มาก ด้วยสามารถการกล่าวถึงโชคดีโชคร้าย กรรมเก่าและการไม่ถือว่าเพราะความเป็นใหญ่แล้ว ในที่สุดได้พยากรณ์อย่างนี้ว่า พระมหาบุรุษเสด็จไปบนแผ่นดิน แต่ได้ปรากฏแก่มหาชนเหมือนเสด็จไปทางอากาศ พระองค์เสด็จไปแต่เหมือนไม่ปรากฏแก่มหาชน เสด็จเปลือยพระองค์ไปแต่ปรากฏแก่มหาชนเหมือนตกแต่งพระองค์ เสด็จไปเป็นคนหนุ่มแต่ปรากฏแก่มหาชนเหมือนมีพระชนม์ ๑๖ พระพรรษา แต่ภายหลังได้เป็นทารกอ่อนตามเดิม ไม่เป็นหนุ่มอยู่อย่างนั้นดังนี้. อนึ่ง บริษัทของพระเถระนั้นได้พากันชอบใจว่า พระเถระแก้ปัญหาดีเหมือนพระพุทธเจ้า. โลกันตริกวาระมีนัยดังที่ได้กล่าวไว้แล้วแล. ก็แลธรรมดานี้ท่านกล่าวไว้แล้วตั้งแต่ต้น. พึงทราบว่า ธรรมดาทั้งหมดย่อมมีแด่พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์.

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 113

บทว่า อทฺทสาโข ความว่า พระราชาพันธุมได้ทอดพระเนตรเห็นพระกุมารที่นางสนมให้บรรทมบนเครื่องรองสองชั้นนํามาเฝ้า. บทว่า มหาปุริสสฺส ความว่า แห่งบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ด้วยสามารถ ชาติ โคตร ตระกูลประเทศ เป็นต้น.บทว่า เทฺว คติโย คือความสําเร็จสองอย่าง. ก็ศัพท์ว่าคตินี้ย่อมเป็นไปในคติอันสัตว์ทั้งหลายพึงไปโดยประเภทมีนรกเป็นต้น ในบาลีนี้ว่า ดูกรสารีบุตร คติ ๕ เหล่านี้แลดังนี้. ย่อมเป็นไปในอัธยาศัยในบาลีนี้ว่า เราไม่รู้อคติหรืออัธยาศัยของภิกษุทั้งหลายผู้ศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านี้ได้เลย. ย่อมเป็นไปในที่พึงอาศัยในบาลีนี้ว่า พระนิพพานเป็นที่พึงอาศัยของพระอรหัตต์. อีกอย่างหนึ่งย่อมเป็นไปในความสําเร็จในบาลีนี้ว่า ดูก่อนพรหม เราย่อมรู้ความสําเร็จจุติและอุปัติของท่าน ท่านเป็นท้าวพกพรหมผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้. พึงทราบคติศัพท์นั้นแม้ในบทนี้ว่าย่อมเป็นไปในความสําเร็จ. บทว่า อนฺา ความว่า ชื่อว่าความสําเร็จในคติอื่นย่อมไม่มี. บทว่า ธมฺมิโก ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยกุศลธรรม ๑๐ เว้นการถึงอคติ. บทว่า ธมฺมราชา นี้เป็นไวพจน์ของบทก่อนนั้นแล. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเป็นพระธรรมราชา เพราะได้ราชสมบัติโดยธรรม. บทว่า จาตุรนฺโต ความว่า ความเป็นผู้มีอิสระในผืนแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขตด้วยสามารถสมุทร ๔ มีสมุทรด้านทิศตะวันออกเป็นต้น. บทว่า วิชิตาวี คือมีชัยชนะสงคราม. อธิบายว่า ชนบทถึงความเป็นชนบทที่ยั่งยืนมั่นคง เพราะฉะนั้น พระกุมารจึงถึงความเป็นผู้มีพระราชอาณาจักรมั่นคง. จริงอยู่ เมื่อพระราชาดุร้ายเบียดเบียนโลกด้วยเสียภาษีและลงอาชญาเป็นต้น พวกมนุษย์พากันละทิ้งมัชฌิมชนบทไปอาศัยอยู่ตามภูเขาและฝังสมุทรเป็นต้น เลี้ยงชีพอยู่ที่ชายแดน. พวกมนุษย์ถูกโจรใจร้ายเบียดเบียนด้วยการปล้นประชาชนจึงพากันละชายแดน ไปหาเลี้ยงชีพ ณ ท่ามกลางชนบทของมนุษย์ผู้อ่อนโยน. ชนบทในการปกครองเห็นปานนี้ย่อมไม่ถึงความมั่นคง. ก็เมื่อพระกุมารนี้เสวย

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 114

ราชสมบัติ ชนบทของพระองค์จักมั่นคงเหมือนวางแผ่นหินไว้หลังแผ่นดินแล้วล้อมด้วยแผ่นเหล็ก พรหมณ์ผู้ทํานายทั้งหลายเมื่อชี้แจงดังนี้ จึงกล่าวว่า พระกุมารจึงถึงความเป็นผู้มีพระราชอาณาจักรมั่นคงดังนี้. รตนะในบทว่าประกอบด้วยรตนะ ๗ นี้ โดยอรรถคือยังความยินดีให้เกิด. อีกอย่างหนึ่ง

    รตนะทําความชื่นชม มีค่ามากหาเปรียบมิได้ หาดูได้ยาก เป็นของใช้ของสัตว์ผู้วิเศษ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่ารตนะ.

    อนึ่ง จําเดิมแต่กาลที่จักรรตนะเกิดไม่มีเทวสถานอื่น ชนทั้งปวงย่อมทําการบูชาจักรรัตนะนั้นนั่นแล ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น และกระทําการกราบไหว้เป็นต้น เพราะฉะนั้นรตนะจึงเป็นไปโดยอรรถว่าน่าชื่นชม.

    การตีราคาว่าชื่อว่าทรัพย์มีประมาณเท่านี้ ย่อมเป็นค่าของจักรรตนะนั้นแลดังนี้ไม่มี เพราะฉะนั้น รตนะจึงเป็นไปแม้โดยอรรถว่ามีค่ามาก.

    อนึ่ง จักรแก้วไม่เหมือนรตนะอย่างอื่นที่มีอยู่ในโลก เพราะฉะนั้น รตนะจึงเป็นไปแม้โดยอรรถว่าหาเปรียบมิได้.

    ก็เพราะพระเจ้าจักรพรรดิอุบัติในกัปที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายอุบัติ. ก็แต่ว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายอุบัติในบางครั้งบางคราว ฉะนั้น รตนะจึงเป็นไปแม้โดยอรรถว่าหาดูได้ยาก.

    รตนะนั้นย่อมเกิดแก่สัตว์ผู้วิเศษ ยิ่งด้วยชาติรูปตระกูลและความเป็นใหญ่เป็นต้น ไม่เกิดแก่ผู้อื่น เพราะฉะนั้น รตนะจึงเป็นไปแม้โดยอรรถคือเป็นของใช้ของสัตว์ผู้วิเศษ.

    อนึ่ง แม้รตนะที่เหลือก็เหมือนจักรแก้วนั่นแล พระมหาบุรุษทรงประกอบด้วยรตนะ ๗ เหล่านี้ โดยความเป็นของสมทบและโดยความเป็นอุปกรณ์แห่งโภคะทั้งปวง เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษจึงชื่อว่าทรงสมบูรณ์ด้วยรตนะ ๗.

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 115

    บัดนี้ เพื่อแสดงรตนะเหล่านั้นโดยสรุปจึงตรัสว่า ตสฺสิมานิ เป็นต้น.

    ในรตนะเหล่านั้นนี้เป็นอธิบายโดยย่อ ในบทว่า จักรแก้วเป็นต้น จักรแก้วย่อมปรากฏสามารถยึดสิริสมบัติของทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มี ทวีป ๒,๐๐๐ เป็นบริวารได้. ช้างแก้วเหาะไปบนเวหาสามารถดิ่งลงสู่แผ่นดินมีสาครเป็นที่สุดก่อนอาหารทีเดียว. ม้าแก้วก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน. เมื่อความมืดประกอบด้วยองค์ ๔ แก้วมณีสามารถกําจัดความมืดประมาณโยชน์หนึ่งแล้วเห็นแสงสว่างได้. นางแก้วผู้มีความประพฤติเป็นที่พอใจเว้นโทษ ๖ อย่าง. คหบดีแก้วสามารถเห็นขุมทรัพย์ที่อยู่ภายในแผ่นดินประมาณโยชน์หนึ่งได้. ปริณายกแก้วกล่าวคือบุตรผู้เจริญที่สุด สามารถเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีแล้วครองราชสมบัติได้ทั้งหมด ย่อมปรากฏ.

    บทว่า ปโรสหสฺสํ คือ พันกว่า. บทว่า สุรา คือ กล้าหาญ. บทว่า วีรงฺครูปา คือ มีรูปทรงสมเป็นวีรบุรุษ. บทนี้ เป็นชื่อของความเพียร. ชื่อ วีรงฺครูปา เพราะมีรูปทรงสมเป็นวีรบุรุษ. มีรูปทรงสมเป็นวีรบุรุษ คือมีความเพียรเป็นที่เกิด มีความเพียรเป็นสภาวะ สําเร็จด้วยความเพียร เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน. ท่านอธิบายว่า แม้รบตลอดวันก็ไม่เหนื่อย.

    บทว่า สาครปริยนฺตํ ความว่า มีมหาสมุทรเป็นที่สุดกระทําภูเขาจักรวาลให้เป็นเขตแดนตั้งอยู่. บทว่า อทณฺเฑน ความว่า ผู้ใดปรับผู้ไม่ได้ทําความผิด ๑๐๐ บ้าง ๑,๐๐๐ บ้าง ผู้นั้นชื่อว่าใช้อํานาจด้วยอาชญาคือทรัพย์. ผู้ใดออกคําสั่งให้ประหารและทิ่มแทง ผู้นั้นชื่อว่าใช้อํานาจด้วยอาชญาคือศัสตรา. แต่พระราชาพระองค์นี้ทรงละอาชญาแม้ทั้งสองนั้น ทรงปกครองไม่ต้องใช้อาชญา. บทว่า อสตฺเถน ความว่า ผู้ใดใช้ศัสตรามีคมข้างเดียวเป็นต้นเบียดเบียนผู้อื่น ผู้นั้นชื่อว่าใช้อํานาจด้วยศัสตรา. แต่ก็พระราชาพระองค์นี้ไม่ทรงทําโลหิตของใครๆ เพียงแมลงวันตัวเล็กดื่มได้ให้เกิดขึ้นด้วยศัสตรา

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 116

ทรงได้รับการต้อนรับจากพระราชาผู้เป็นศัตรูอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงเสด็จมาโดยธรรมเถิดดังนี้. อธิบายว่า ทรงยึดแผ่นดินดังกล่าวแล้ว ทรงปกครอง ทรงปราบปราม จนได้เป็นเจ้าของครอบครอง. ครั้นบอกถึงความสําเร็จอย่างที่หนึ่งอย่างนี้แล้ว เพื่อจะบอกความสําเร็จอย่างที่สอง จึงกล่าวคําเป็นอาทิว่า สเจโข ปน ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า พระกุมารนี้มีหลังคาคือกิเลสเปิดแล้ว เพราะมีเครื่องปกปิดกีดขวาง กล่าวคือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะทิฏฐิ กิเลสตัณหาเปิดแล้ว คือกําจัดได้แล้ว. ปาฐะว่า วิวฎฺฎจฺฉโท ดังนี้บ้าง. อธิบายอย่างนี้เหมือนกัน. ครั้นบอกความสําเร็จอย่างที่สองอย่างนี้แล้ว เพื่อแสดงลักษณะอันเป็นนิมิตแห่งคติเหล่านั้น จึงกล่าวคําเป็นอาทิว่า อยฺหิเทว กุมาโร ดังนี้.

    ในบทเหล่านั้น บทว่า สุปติฏิตปาโท ความว่า พระกุมารไม่เป็นเหมือนคนอื่น เมื่อคนอื่นวางเท้าลงบนแผ่นดิน ปลายฝ่าเท้า ส้นเท้า หรือข้างเท้าย่อมจดก่อน ก็แต่ว่ายังปรากฏช่องในตอนกลาง แม้เมื่อยกขึ้นส่วนหนึ่งในปลายฝ่าเท้าเป็นต้นนั่นแหละก็ยกขึ้นก่อน. ฝ่าพระบาททั้งสิ้นของพระกุมารนั้น ย่อมจดพื้นโดยทรงเหยียบพระบาทครั้งหนึ่ง ดุจพื้นรองเท้าทองคําฉะนั้น ทรงยกพระบาทขึ้นจากพื้นก็โดยทํานองเดียวกันนั่นแหละ เพราะฉะนั้น พระกุมารนี้จึงเป็นผู้มีพระบาทเรียบเสมอกัน.

    บทว่า จกฺกานิ ท่านกล่าวไว้ในบาลีว่า ณ พื้นพระบาททั้ง ๒ มีจักร ๒ เกิดขึ้น จักรเหล่านั้นมีซี่มีกงและดุม. ก็พึงทราบความวิเศษนี้ด้วยบทนี้ว่าบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง. ได้ยินว่า ดุมของจักรเหล่านั้นปรากฏ ณ ท่ามกลางพื้นพระบาท. ลวดลายวงกลมกําหนดด้วยดุมย่อมปรากฏ วงกลมล้อมหน้าดุมปรากฏ ท่อน้ำปรากฏ ซี่ปรากฏ ลวดลายวงกลมในซี่ทั้งหลายปรากฏ กงปรากฏ กงแก้วมณีปรากฏ. นี้มาในบาลีก่อนแล้ว. แต่สัมพหุลวาระยังไม่มา. สัมพหุ-

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 117

ลวาระนั้น พึงทราบอย่างนี้. รูปหอก รูปแว่นส่องพระฉาย รูปดอกพุดซ้อน รูปสายสร้อย รูปสังวาล รูปถาดทอง รูปมัจฉาคู่ รูปตั่ง รูปขอ รูปปราสาท รูปเสาระเนียด รูปเศวตฉัตร รูปพระขรรค์ รูปพัดใบตาล รูปหางนกยูง รูปพัดวาลวิชนี รูปมงกุฎ รูปแก้วมณี รูปบาตร รูปพวงดอกมะลิ รูปดอกบัวขาบ รูปดอกบัวแดง รูปดอกบัวขาว รูปดอกปทุม รูปดอกบุณฑริก รูปหม้อเต็มด้วยน้ำ รูปถาดเต็มด้วยน้ำ รูปมหาสมุทร รูปเขาจักรวาล รูปป่าหิมพานต์ รูปเขาสิเนรุ รูปพระจันทร์พระอาทิตย์ รูปดาวนักษัตร รูปทวีปใหญ่ทั้ง ๔ รูปทวีปน้อย ๒,๐๐๐ ทั้งหมด โดยที่สุดหมายถึงบริวารของพระเจ้าจักรพรรดิด้วย เป็นบริวารของจักรลักษณะนั่นเอง.

    บทว่า อายตปณฺหิ ความว่า มีส้นพระบาทยาวคือ มีส้นพระบาทบริบูรณ์. อธิบายว่า ส้นพระบาทของพระมหาบุรุษไม่เป็นเหมือนปลายเท้าของคนอื่นที่ยาว ลําแข้งตั้งอยู่สุดส้นเท้าเป็นเหมือนตัดส้นเท้าตั้งอยู่ ฉะนั้น. แต่ของพระมหาบุรุษ พระบาทมี ๔ ส่วน ปลายพระบาทมี ๒ ส่วน ลําพระชงฆ์ตั้งอยู่ในส่วนที่ ๓ ส้นพระบาทในส่วนที่ ๔ เป็นเช่นกับลูกคลีหนัง ทําด้วยผ้ากัมพลสีแดง ดุจม้วนด้วยปลายเข็มแล้วตั้งไว้.

    บทว่า ทีฆงฺคุลิ ความว่า นิ้วพระหัตถ์ของพระมหาบุรุษไม่เป็นเหมือนนิ้วของคนอื่นที่บางนิ้วยาว บางนิ้วสั้น. แต่ของพระมหาบุรุษนิ้วพระหัตถ์และพระบาทยาวเหมือนของวานร ข้างโคนใหญ่แล้วเรียวไปโดยลําดับ ถึงปลายนิ้วเช่นเดียวกับแท่งหรดาลที่ขยําด้วยน้ำมันยางแล้วปั้นไว้. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีนิ้วพระหัตถ์ยาวดังนี้.

    บทว่า มุทุตลุนหตฺถปาโท ความว่า มีพระหัตถ์และพระบาทอ่อนดุจปุยฝ้ายที่ยีได้ ๑๐๐ ครั้ง เอารวมตั้งไว้ในเนยใส. แม้ในเวลาพระชนม์เจริญพระหัตถ์และพระบาทก็จักอ่อนนุ่มเหมือนเมื่อพอประสูติ. พระหัตถ์และพระ-

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 118

บาทของพระโพธิสัตว์นั้นอ่อนนุ่ม เพราะฉะนั้น พระโพธิสัตว์จึงมีพระหัตถ์และพระบาทอ่อนนุ่ม.

    บทว่า ชาลหตฺถปาโท ความว่า ระหว่างพระองคุลีหนังไม่ติดกัน. เพราะผู้มีมือติดกันเป็นพืดเช่นนี้ ถูกกําจัดโดยบุรุษโทษ แม้บวชก็ไม่ได้. ก็พระมหาบุรุษมีนิ้วพระหัตถ์ ๔ นิ้ว พระบาท ๕ ชิดสนิทเป็นอันเดียวกัน. ก็เพราะพระองคุลีทั้งหลายชิดสนิทเป็นอันเดียวกัน พระองคุลีทั้งหลายจึงติดกันและกัน มีลักษณะเป็นข้าวเหนียวตั้งอยู่. พระหัตถ์และพระบาทของพระโพธิสัตว์นั้นเป็นเช่นกับหน้าต่างตาข่ายอันช่างผู้ฉลาดดีประกอบแล้ว. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย.

    เพราะข้อพระบาทตั้งอยู่เบื้องบน พระบาทของพระโพธิสัตว์นั้น จึงเหมือนสังข์คว่ํา เพราะฉะนั้น พระโพธิสัตว์จึงมีพระบาทเหมือนสังข์คว่ํา. จริงอยู่ ข้อเท้าของคนอื่นอยู่ที่หลังเท้า เพราะฉะนั้น เท้าของคนเหล่านั้นจึงติดกันเหมือนติดด้วยสลักกลับกลอกไม่ได้ตามสะดวก เมื่อเดินไปฝ่าเท้าไม่ปรากฏ. แต่ข้อพระบาทของพระมหาบุรุษขึ้นไปตั้งอยู่เบื้องบน. เพราะฉะนั้น พระวรกายท่อนบนของพระมหาบุรุษ ตั้งแต่พระนาภีขึ้นไปจึงมิได้หวั่นไหวเลย ดุจพระสุวรรณปฏิมาประดิษฐานอยู่ในเรือ. พระวรกายท่อนเบื้องล่างย่อมไหว. พระบาทกลอกกลับได้สะดวก. เมื่อชนทั้งหลายยืนอยู่ข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง แม้ในข้างทั้งสองก็เห็น ฝ่าพระบาทย่อมปรากฏ. แต่ไม่ปรากฏเหมือนยืนอยู่ข้างหลังช้าง.

    บทว่า เอณิชงฺโฆ คือ มีพระชงฆ์เรียวดุจเนื้อทราย. อธิบายว่ามีพระชงฆ์บริบูรณ์ด้วยหุ้มพระมังสะเต็ม ไม่ใช่เนื้อตะโพกติดโดยความเป็นอันเดียว ประกอบด้วยพระชงฆ์เช่นกับท้องข้าวสาลีท้องข้าวเหนียว อันมังสะที่ตั้งอยู่เสมอกันโดยรอบล้อมอยู่แล้วกลมกล่อมดีแล้ว.

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 119

    บทว่า อโนนมนฺโต คือไม่น้อมลง. ท่านแสดงความที่พระมหาบุรุษนั้นไม่ค่อมไม่แคระด้วยบทนี้. ก็คนที่เหลือเป็นคนค่อมหรือเป็นคนแคระ. คนค่อมกายส่วนบนไม่บริบูรณ์ คนแคระกายส่วนล่างไม่บริบูรณ์ คนเหล่านั้นเพราะกายไม่บริบูรณ์เมื่อก้มลงจึงไม่สามารถลูบคลําเข่าได้. แต่พระมหาบุรุษเพราะพระวรกายทั้งส่วนบนส่วนล่างบริบูรณ์ จึงสามารถลูบคลําได้.

    บทว่า โกโสหิตวตฺถคุยฺโห ความว่า พระมหาบุรุษมีพระคุยหะซ่อนอยู่ในฝัก ดุจฝักบัวทอง ดุจคุยหะแห่งโคและช้างเป็นต้น เพราะเหตุนั้น พระมหาบุรุษจึงมีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก. บทว่า วตฺถคุยฺหํ ท่านกล่าวองคชาตควรปกปิดด้วยผ้า.

    บทว่า สุวณฺณวณฺโณ ความว่า พระมหาบุรุษเช่นกับรูปทองแท่งที่คลุกเคล้าด้วยสีแดงชาดแล้วขัดด้วยเขี้ยวเสือ แล้วระบายด้วยดินสอแดงตั้งไว้. ด้วยบทนี้เพื่อแสดงความที่พระวรกายของพระมหาบุรุษนั้น แน่นสนิทละเอียดแล้วจึงแสดงพระฉวีวรรณ ท่านจึงกล่าวว่า พระมหาบุรุษมีพระฉวีคล้ายกับทองคําดังนี้. อีกอย่างหนึ่งบทนี้เป็นไวพจน์ของบทก่อน.

    บทว่า รโชชลฺลํ คือ ธุลีหรือมลทิน. บทว่า น อุปลิมฺปติ ความว่าไม่ติด คือ กลิ้งเหมือนหยาดน้ำกลิ้งจากใบบัว. ก็พระพุทธเจ้าทั้งปวงทรงกระทําการชําระพระหัตถ์เป็นต้น เพื่อกําหนดฤดูและเพื่อผลบุญของพวกทายก. อนึ่งทรงกระทําแม้โดยหลักปฏิบัตินั้นเอง. ข้อนี้ท่านกล่าวไว้ว่า ก็ภิกษุผู้จะเข้าไปสู่เสนาสนะควรชําระเท้าแล้วจึงเข้าไป.

    บทว่า อุทฺธคฺคโลโม ความว่า พระมหาบุรุษมีพระโลมชาติมีปลายช้อยขึ้นเบื้องบน ตอนปลายเวียนเป็นทักษิณาวัฏ ตั้งอยู่ มองดูพระพักตร์งาม เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษมีพระโลมชาติมีปลายช้อนขึ้นเบื้องบน.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 120

    บทว่า พฺรหฺมุชุคตฺโต ความว่า พระมหาบุรุษมีพระวรกายตรงเหมือนกายพรหม คือจักมีพระวรกายสูงตรงขึ้นไปทีเดียว. ความจริงโดยมากสัตว์ทั้งหลายย่อมน้อมไปในที่ทั้งสามคือที่คอที่สะเอวที่เข่าทั้งสอง. สัตว์เหล่านั้นเมื่อน้อมไปที่สะเอวย่อมไปข้างหลัง. ในที่ทั้งสองพวกนั้นย่อมน้อมไปข้างหน้า. ก็สัตว์บางพวกมีร่างกายสูง มีข้างคด บางพวกแหงนหน้าเที่ยวไปเหมือนจะนับดวงดาว. บางพวกมีเนื้อและเลือดน้อยเป็นเช่นคนเป็นโรคเสียดท้อง. บางพวกง้อมไปข้างหน้าเดินตัวสั่น. อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ก็พระมหาบุรุษนี้ทรงดําเนินพระวรกายตรงทีเดียวมีประมาณเท่าส่วนสูง จักเป็นดุจเสาทองที่ยกขึ้นในเทพนคร. อนึ่ง พึงทราบว่าข้อนี้ท่านกล่าวหมายถึงข้อที่มหาปุริสลักษณะของพระมหาบุรุษ ซึ่งพอประสูติยังไม่บริบูรณ์ด้วยประการทั้งปวงจะเจริญในโอกาสต่อไป.

    บทว่า สตฺตุสฺสโท ความว่า พระมหาบุรุษมีพระมังสะฟูบริบูรณ์ด้วยดีในที่ ๗ สถาน คือ หลังพระหัตถ์ทั้งสอง หลังพระบาททั้งสอง จะงอยพระอังสาทั้งสอง และพระศอ เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษจึงชื่อว่ามีพระมังสะเต็มในที่ ๗ สถาน. แต่ของคนเหล่าอื่นที่หลังมือและหลังเท้าเป็นต้น ปรากฏเส้นเลือดเป็นตาข่ายที่จะงอยบ่าและคอปรากฏปลายกระดูก. มนุษย์เหล่านั้นย่อมปรากฏเหมือนเปรต. พระมหาบุรุษไม่ปรากฏเหมือนอย่างนั้น. ก็พระมหาบุรุษมีพระศอเช่นกับกลองทองคําที่เขากลึงด้วยหลังพระหัตถ์เป็นต้น มีเส้นเลือดเป็นตาข่ายซ่อนไว้เพราะมีพระมังสาฟูบริบูรณ์ในที่ ๗ สถาน ย่อมปรากฏเหมือนรูปศิลาและรูปปั้น.

    บทว่า สีหปุพฺพฑฺฒกาโย ความว่า พระมหาบุรุษมีกึ่งกายท่อนบนเหมือนกึ่งกายท่อนหน้าของราชสีห์ เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษจึงชื่อว่ามีส่วนพระวรกายเบื้องหน้าเหมือนกึ่งกายเบื้องหน้าแห่งราชสีห์ เพราะว่ากายเบื้องหน้า

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 121

ของราชสีห์บริบูรณ์ กายเบื้องหลังไม่บริบูรณ์. ก็พระวรกายทั้งหมดของพระมหาบุรุษบริบูรณ์ดุจกายเบื้องหน้าของราชสีห์. แม้พระวรกายของมหาบุรุษก็เหมือนกายของราชสีห์ย่อมไม่ตั้งอยู่สูงๆ ต่ําๆ ด้วยสามารถแห่งความฟูและแฟบเป็นต้น แต่ยาวในที่ควรยาวย่อมเป็นอย่างนั้น ในที่ควรสั้น ควรล่ํา ควรเรียว ควรกว้าง ควรกลมเป็นต้น. ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายพระมหาบุรุษทรงปลื้มพระทัยนักแล เมื่อผลกรรมปรากฏ ทรงงดงามเพราะอวัยวะส่วนใดยาว อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่ยาว ทรงงดงามเพราะอวัยวะส่วนใดสั้น อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่สั้น ทรงงดงามเพราะอวัยวะส่วนใดล่ํา อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่ล่ํา ทรงงดงามเพราะอวัยวะส่วนใดเรียว อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่เรียว ทรงงดงามเพราะอวัยวะส่วนใดกว้าง อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่กว้าง ทรงงดงามเพราะอวัยวะส่วนใดกลม อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่กลมดังนี้. อัตตภาพของพระมหาบุรุษสะสมไว้ด้วยทานจิต บุญจิต ตระเตรียมไว้ด้วยบารมี ๑๐ ด้วยประการฉะนี้. ศิลปินทั้งปวงหรือผู้มีฤทธิ์ทั้งปวงในโลก ไม่สามารถสร้างรูปเปรียบได้.

    บทว่า ปิตนฺตรํโส ความว่า ในระหว่างส่วนทั้งสองท่านกล่าวว่า อนฺตรํ โส. พระมหาบุรุษมีพระอังสาเต็มคือบริบูรณ์ เพราะเหตุนั้น พระมหาบุรุษจึงมีระหว่างพระอังสาเต็ม. อันที่จริงฐานะนั้นของคนพวกอื่นบุม หลังและท้องทั้งสองปรากฏเฉพาะตัว. แต่ของพระมหาบุรุษพื้นพระมังสาตั้งแต่บั้นพระองค์จนถึงพระศอขึ้นไปปิดพระปฤษฎางศ์ ตั้งอยู่เหมือนแผ่นกระดานทองที่ยกขึ้นตั้งไว้.

    บทว่า นิโครฺธปริมณฺฑโล คือ พระมหาบุรุษมีปริมณฑลดุจต้นนิโครธ. อธิบายว่าพระมหาบุรุษแม้โดยพระวรกาย แม้โดยพยามประมาณเท่ากันดุจต้นนิโครธลําต้นและกิ่งเสมอกัน เพราะจะเป็น ๕๐ ศอกก็ตาม ๑๐๐

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 122

ศอกก็ตาม ย่อมมีประมาณเท่ากันทั้งส่วนยาวทั้งส่วนกว้าง. กายหรือวาของคนอื่นยาวไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นแล ท่านจึงกล่าวว่า ยาวตกฺวสฺส กาโย เป็นอาทิ. ยาวตกฺวสฺส ตัดบทเป็น ยาวตโก อสฺส ความว่า พระวรกายของพระมหาบุรุษเท่ากับวาของพระมหาบุรุษเท่ากับกายของพระมหาบุรุษ.

    บทว่า สมวฏฎกฺขนฺโธ คือพระมหาบุรุษมีลําพระศอเท่ากัน. คนบางคนมีลําคอยาว คด หนา เหมือนนกกะเรียน เหมือนนกยาง เหมือนหมู เวลาพูด เอ็นเป็นตาข่ายย่อมปรากฏเสียงออกมาแหบฉันใด ของพระมหาบุรุษไม่เหมือนอย่างนั้น. ก็ลําพระศอของพระมหาบุรุษเป็นเช่นกับกลองทองที่เขากลึงดีแล้ว ในเวลาตรัส เอ็นเป็นตาข่ายไม่ปรากฏพระสุรเสียงดังก้องดุจเสียงเมฆกระหึ่ม.

    ในบทว่า รสคฺคสคฺคี มีวิเคราะห์ว่า เส้นประสาทนําไปซึ่งรสชื่อว่า รสัคคสา. บทนี้เป็นชื่อของเส้นประสาทนํารสอาหารไป. เส้นประสาทนํารสอาหารของพระมหาบุรุษนั้นเลิศ เพราะเหตุนั้น พระมหาบุรุษจึงเป็นผู้มีปลายเส้นประสาทสําหรับนํารสอาหารอันเลิศ. ได้ยินว่า พระมหาบุรุษมีเส้นประสาทสําหรับนํารสอาหารประมาณ ๗๐๐๐ เส้น มีปลายขึ้นเบื้องบนแล้วรวมเข้าที่ลําพระศอนั่นเอง. พระกระยาหารแม้เพียงเมล็ดงาตั้งอยู่ ณ ปลายพระชิวหาย่อมแผ่ไปทั่วพระวรกายทุกส่วน. ด้วยเหตุนั้นแล เมื่อพระมหาบุรุษทรงเริ่มตั้งความเพียรอันยิ่งใหญ่ ได้ยังพระวรกายให้เป็นไปอยู่ได้ ด้วยข้าวสารเมล็ดเดียวเป็นต้นบ้าง ด้วยเพียงผักดองฟายมือหนึ่งบ้าง. แต่ของคนอื่นเพราะไม่มีอย่างนั้น รสโอชาจึงไม่แผ่ไปทั่วกาย. เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้นจึงมีโรคมาก.

    บทว่า สีหหนุ มีวิเคราะห์ว่า พระหนุของพระมหาบุรุษดุจคางของราชสีห์ เพราะเหตุนั้น พระมหาบุรุษจึงมีพระหนุดุจคางราชสีห์. ในบทนั้นอธิบายว่า ราชสีห์มีคางท่อนล่างบริบูรณ์ท่อนบนไม่บริบูรณ์. แต่พระมหาบุรุษ

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 123

บริบูรณ์แม้ทั้งสองดุจคางเบื้องล่างของราชสีห์ เป็นเช่นกันพระจันทร์ในวันขึ้น ๑๒ ค่ํา. ลําดับนั้น พราหมณ์ผู้พยากรณ์ทั้งหลายมองดูปลายพระหนุสังเกตว่าที่พระหนุเหล่านี้ พระทนต์ ๔๐ องค์คือ ข้างล่าง ๒๐ ข้างบน ๒๐ จักตั้งอยู่เสมอกันไม่ห่าง จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พระกุมารนี้มีพระทนต์ ๔๐ องค์ พระเจ้าข้า ดังนี้เป็นต้น. ในบทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้. คนเหล่าอื่นแม้มีฟันครบบริบูรณ์ก็มี ๓๒ ซี่. แต่พระกุมารนี้จักมี ๔๐ องค์ อนึ่ง ของคนเหล่าอื่น ฟันบางซี่สูง บางซี่ต่ํา บางซี่ไม่เสมอกัน. แต่ของพระกุมารนี้จักเสมอกันดุจเครื่องหุ้มสังข์ที่ช่างเหล็กตัดฉะนั้น. ฟันของพวกคนอื่นห่างเหมือนฟันจรเข้ เมื่อเคี้ยวปลาและเนื้อย่อมเต็มระหว่างฟันหมด. แต่พระทนต์ของพระกุมารนี้ จักไม่ห่างดุจแถวแก้ววิเชียรที่เขาตั้งไว้บนแผ่นกระดานทอง จักเป็นดุจตอนที่เขาแสดงด้วยดินสอสี อนึ่ง ฟันของคนพวกอื่น เป็นฟันเสียขึ้น เพราะเหตุนั้นเขี้ยวบางซี่ดําบ้าง ไม่มีสีบ้าง. แต่พระกุมารนี้ มีพระทาฒะขาวสะอาด จักเป็นพระทาฒะประกอบด้วยรัศมีรุ่งเรืองยิ่งกว่าแม้ดาวประกายพฤกษ์.

    บทว่า ปหุตชิวฺโห คือพระกุมารมีพระชิวหาใหญ่. อธิบายว่าลิ้นของคนเหล่าอื่น หนาบ้าง เล็กบ้าง สั้นบ้าง กระด้างบ้าง ไม่เสมอบ้าง. แต่พระชิวหาของพระมหาบุรุษ อ่อน ยาว ใหญ่ สมบูรณ์ด้วยสี. พระกุมารนั้นเพื่อปลดเปลื้องความสงสัยของผู้ที่มาเพื่อแสวงหาลักษณะนั้น เพราะพระชิวหาอ่อนจึงทรงแลบพระชิวหานั้นดุจของแข็งที่สะอาดแล้วลูบช่องพระนาสิกทั้งสองได้ เพราะพระชิวหายาวจึงทรงลบช่องพระกรรณทั้งสองได้ เพราะพระชิวหาใหญ่จึงทรงปิดพระนลาฏแม้ทั้งสิ้นถึงสุดปลายพระเกษา ทรงประกาศความที่พระชิวหานั้นอ่อน ยาวและใหญ่อย่างนี้ จึงทรงปลดเปลื้องความสงสัยของพราหมณ์ผู้พยากรณ์เหล่านั้นได้. บทว่า ปหุตชิโวฺห ท่านกล่าวหมายถึงพระชิวหาที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะทั้ง ๓ อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 124

    บทว่า พฺรหฺมสฺสโร ความว่า แม้คนพวกอื่นย่อมมีเสียงขาดบ้าง แตกบ้าง. เสียงเหมือนกาบ้าง. แต่พระกุมารนี้จักทรงประกอบด้วยเสียงเช่นกับเสียงของท้าวมหาพรหม. ด้วยว่า ท้าวมหาพรหมมีเสียงแจ่มใสเพราะไม่กลั้วด้วยน้ำดีและเสมหะ. กรรมแม้อันพระมหาบุรุษทรงกระทําแล้วย่อมชําระวัตถุของเสียงนั้น. เพราะวัตถุบริสุทธิ์เสียงปรากฏขึ้นตั้งแต่พระนาภีเป็นเสียงบริสุทธิ์ ประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมปรากฏชัด. พระกุมารตรัสดุจเสียงนกการเวก เพราะเหตุนั้น พระกุมารจึงตรัสมีสําเนียงดุจเสียงนกการเวก. อธิบายว่า พระกุมารมีพระสุรเสียงก้องไพเราะดุจเสียงนกการเวกอันน่าชื่นชม.

    บทว่า อภินีลเนตฺโต ความว่า พระกุมารมีพระเนตรไม่ดําทั้งหมด. พระเนตรของพระกุมารนั้นประกอบด้วยสีเขียวบริสุทธิ์ยิ่งนัก เช่นกับดอกสามหาวในที่ที่ควรเขียว. ในที่ที่ควรเหลืองก็มีสีเหลือง เช่นกับดอกกรรณิกา. ในที่ที่ควรแดงก็มีสีแดงเช่นกับดอกชบา. ในที่ที่ควรขาวก็มีสีเช่นกับดาวประกายพฤกษ์ ในที่ที่ควรดําก็มีสีดําเช่นกับลูกประคําดีควาย พระเนตรย่อมปรากฏ เช่นกับสีหบัญชรแก้วอันเผยออกแล้วในวิมานทอง.

    บทว่า ปขุมํ ในบทว่า โคปขุโม นี้ ท่านประสงค์ดวงพระเนตรทั้งหมด. ดวงตานั้นของลูกโคดําเป็นธาตุหนา ของลูกโคแดงผ่องใส อธิบายว่า พระกุมารมีดวงเนตรเช่นกับพระโคแดงอ่อนซึ่งเกิดได้ครู่เดียว. จริงอยู่ ดวงตาของคนอื่นไม่บริบูรณ์ ประกอบด้วยตาถลนออกมาบ้างลึกลงไปบ้าง เช่นกับตาสัตว์มีช้างและหนู เป็นต้น. แต่พระเนตรของพระมหาบุรุษสะสมไว้ด้วยความอ่อนสนิทดําละเอียดดุจแก้วมณีกลมที่เขาล้างแล้วขัดตั้งไว้.

    บทว่า อุณฺณา คือ พระอุณณาโลม. บทว่า ภมุกนฺตเร ความว่า พระอุณณาโลม เกิดในที่สุดพระนาสิกท่ามกลางพระขนงทั้งสอง และก็ขึ้นไปเกิดในท่ามกลางพระนลาฏ. บทว่า โอทาตา ความว่า บริสุทธิ์คือมีสีเสมอด้วยดาว

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 125

ประกายพฤกษ์. บทว่า มุทุ ความว่า พระอุณณาโลมเช่นกับไยฝ้ายที่ชี (๑) ได้๑๐๐ ครั้ง ซึ่งเขาใส่ลงไปในเนยใสตั้งไว้. บทว่า ตูลสนฺนิภา คือ เสมอด้วยนุ่นไม้งิ้วและนุ่นเคลือ. นี้เป็นข้อเปรียบเพราะความขาวของนุ่น. ก็เมื่อจับปลายเส้นพระโลมาแล้วดึงออกจะได้ประมาณครึ่งพระพาหา ครั้นปล่อยเส้นพระโลมาก็จะม้วนเป็นทักษิณาวัฏมีปลายในเบื้องบนตั้งอยู่ พระอุณณาโลมนั้น ย่อมรุ่งเรืองไปด้วยสิริเป็นที่จับใจยิ่งนักดุจฟองน้ำเงินตั้งอยู่ ณ ท่ามกลางแผ่นกระดานทอง ดุจสายน้ำนมไหลออกจากหม้อทองและดุจดาวประกายพฤกษ์บนท้องฟ้าย้อมด้วยแสงอรุณ.

บทว่า อุณฺหีสสีโส นี้ท่านกล่าวอาศัยอํานาจประโยชน์ ๒ อย่าง คือ ความที่พระนลาฏบริบูรณ์และความที่พระเศียรบริบูรณ์. อธิบายว่า เพราะว่าพื้นพระมังสะของพระมหาบุรุษนูนขึ้นตั้งแต่หมวกพระกรรณเบื้องขวาปกพระนลาฏทั้งสิ้นเต็มบริบรูณ์ไปจดหมวกพระกรรณเบื้องซ้าย. งดงามเหมือนแผ่นอุณหิสเครื่องประดับของพระราชา. ได้ยินว่า ชนทั้งหลายเห็นลักษณะนี้ของพระมหาบุรุษได้กระทําทําแผ่นพระอุณหิสสําหรับพระราชาทั้งหลาย. นี้เป็นใจความข้อหนึ่งก่อน. ก็ชนเหล่าอื่นมีศีรษะไม่บริบูรณ์. บางคนมีศีรษะเหมือนลิง บางคนมีศีรษะเหมือนผลไม้ บางคนมีศีรษะเหมือนช้าง บางคนมีศีรษะเหมือนหม้อ บางคนมีศีรษะเหมือนเงื้อมภูเขา. แต่พระมหาบุรุษมีพระเศียรเช่นกับฟองน้ำบริบูรณ์ดีดุจม้วนด้วยปลายเข็มตั้งไว้. ในสองนัยนั้น ในนัยแรกพระกุมารมีพระเศียรดุจพระเศียรประดับด้วยกรอบพระพักตร์ เพราะเหตุนั้น พระกุมารจึงชื่อว่ามีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์. ในนัยที่สองพระกุมารมีพระเศียรเป็นปริมณฑลในที่ทั้งปวงดุจอุณหีส เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่ามีพระเศียรเป็นปริมณฑลดุจอุณหีส.


(๑) ชี หมายถึง ทําสิ่งของที่เป็นปุย เช่น สําลีให้กระจายออก.

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 126

    บทว่า สพฺพกาเมหิ นี้ ท่านกล่าวเหมือนว่าพระราชาพันธุมะให้พวกพราหมณ์ดูลักษณะแล้วเลี้ยงดูในภายหลัง. แต่ไม่ควรเห็นอย่างนั้น. พึงทราบว่าพระราชาพันธุมะโปรดเลี้ยงดูพวกพราหมณ์พยากรณ์ จนอิ่มหนําก่อนแล้วจึงให้ตรวจลักษณะภายหลัง. ความพิสดารของเรื่องนั้นท่านกล่าวไว้แล้วในการก้าวลงสู่พระครรภ์. บทว่า ปาเยนฺติ คือให้ดื่มน้ำนม. ได้ยินว่า พระราชาพันธุมะโปรดให้นางนม ๖๐ นาง ปรุงน้ำนมมีรสหวานปราศจากโทษบํารุงพระโพธิสัตว์. แม้นางนมที่เหลือล้วนเป็นผู้ฉลาดในการงานนั้นๆ ก็แผนกละหกสิบเหมือนกัน. โปรดให้ชาย ๖๐ คน ทําหน้าที่รับใช้นางนมเหล่านั้น. โปรดให้ตั้งอมาตย์ ๖๐ คน คอยดูการกระทําและไม่กระทําของชายนั้นๆ . ด้วยประการฉะนี้ได้มีแก่อุปฐาก ๓๖๐ คน คือของหญิง ๒๔๐ คน ของชาย ๑๒๐ คน. บทว่า เสตจฺฉตฺตํ คือ ทิพยเศวตฉัตร. ก็ทิพยเศวตฉัตรเป็นของที่ตระกูลให้ตั้งอยู่ในห้องสิรินั้นแล. พึงทราบความว่า อย่าครอบงําเลย ในบทเป็นต้นว่า มา นํ สีตํ วา ดังนี้.

    บทว่า สฺวาสฺสุสุทํ ตัดบทเป็น โส อสฺสุ สุทํ. บทว่า องฺเกเนวองฺกํ ความว่า พระกุมารนั้นอันบุคคลผลัดเปลี่ยนกันอุ้มผลัดเปลี่ยนกันแบก. บทว่า ปริหริยติ ความว่า นําไป คืออุ้มไป.

    บทว่า มฺชุสฺสโร คือพระกุมารมีพระสุรเสียงไม่กระด้าง. บทว่า วคฺคุสฺสโร คือพระกุมารมีพระสุรเสียงเต็มไปด้วยความฉลาด. บทว่า มธุรสฺสโร คือพระกุมารมีพระสุรเสียงน่าพอใจ. บทว่า เปมนียสฺสโร คือพระกุมารมีพระสุรเสียงทําให้เกิดความรัก. ข้อนี้เป็นอธิบายในบทนั้น เพราะนกการเวกมีเสียงเพราะ ได้ยินมาว่า เมื่อนกการเวกจิกมะม่วงสุกมีรสอร่อยด้วยจะงอยปาก แล้วดื่มรสที่ไหลออกมาแล้วกระพือปีกร้อง บรรดาสัตว์ ๔ เท้า เริ่มเยื้องย่างเหมือนเมา. บรรดาสัตว์ ๔ เท้า แม้กําลังหาอาหารก็ทิ้งหญ้าที่เข้าไปในปากฟัง

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 127

เสียงนั้น. บรรดาเนื้อร้ายที่กําลังติดตามพวกเนื้อน้อยๆ ก็ไม่วางเท้าที่ยกขึ้นยืนนิ่งอยู่. และบรรดาเนื้อที่ถูกติดตามก็ละความกลัวตายยืนนิ่ง. แม้บรรดานกกําลังบินไปบนอากาศก็เหยียดปีกหยุดฟังเสียง. แม้บรรดาปลาในน้ำกระดิกแผ่นหูหยุดฟังเสียงนั้น. นกการเวกมีเสียงเพราะถึงอย่างนี้. แม้พระนางอสันธิมิตตาพระเทวีของพระเจ้าธรรมาโศกราช ก็ยังตรัสถามพระสงฆ์ว่า พระคุณเจ้าเสียงของใครๆ เช่นกับเสียงของพระพุทธเจ้ายังมีอยู่หรือหนอ. พระสงฆ์ถวายพระพรว่าถวายพระพรมีเสียงของนกการเวก. พระคุณเจ้า นกเหล่านั้นอยู่ที่ไหนเจ้าคะ ถวายพระพรว่าอยู่ในป่าหิมพานต์ พระเทวีทูลพระราชาว่า ข้าแต่เทวะ หม่อมฉันประสงค์จะเห็นนกการเวกเพคะ. พระราชาทรงอธิษฐานว่า นกการเวกจงมาเกาะในกรงนี้แล้วปล่อยกรงทองไป. กรงทองได้ไปตั้งอยู่ข้างหน้านกการเวกตัวหนึ่ง. นกการเวกนั้นคิดว่า กรงทองมาตามพระดํารัสสั่งของพระราชาไม่อาจขัดขืนได้แล้วจับเฉยอยู่ ณ ที่นั้น. กรงทองได้มาตั้งอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระราชา อํามาตย์ทั้งหลายไม่สามารถให้นกการเวกทําเสียงได้. ลําดับนั้น พระราชาตรัสว่า ดูก่อนพระนายทั้งหลาย นกการเวกเหล่านี้ทําเสียงอย่างไร. พวกอมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ นกการเวกเหล่านี้เห็นพวกญาติจึงจะทําเสียง. ลําดับนั้น พระราชารับสั่งให้เอากระจกล้อมนกการเวกนั้น. นกการเวกนั้นครั้นเห็นเงาของตนสําคัญว่า ญาติของเรามาแล้ว จึงกระพือปีกร้องดุจเป่าแก้วมณีวงศ์ด้วยเสียงอันอ่อน. พวกมนุษย์ในสกลนครเยื้องกรายดุจคนเมาพระนางอสันธิมิตตาดําริว่า เสียงของสัตว์เดียรัจฉานนี้ยังเพราะถึงอย่างนี้ พระสุรเสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงบรรลุสิริ คือ พระสัพพัญุตญาณจะเป็นเช่นไรหนอ ยังพระปีติให้เกิดไม่ทรงละพระปีตินั้น ทรงดํารงอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมด้วยบริวาร ๗๐๐ พึงทราบว่าเสียงนกการเวกยังเพราะถึงอย่างนี้. แต่พระสุรเสียงของพระวิปัสสีราชกุมารได้ไพเราะกว่านั้นร้อยส่วนพันส่วน.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 128

    บทว่า กมฺมวิปากชํ คือไม่สําเร็จด้วยภาวนา. ก็มังสจักขุได้เป็นเช่นกับจักษุของเทวดาทั้งหลายด้วยอํานาจผลของกรรม โดยที่แม้เมล็ดงาเมล็ดเดียวทําเครื่องหมายไว้แล้ว ใส่ลงไปในหม้องาก็สามารถยกขึ้นให้ได้ฉะนี้.

    ในบทว่า วิปสฺสี นี้ เป็นอรรถของคําพูด. ชื่อว่าวิปัสสีเพราะเห็นชัดเจนโดยเว้นจากการหลับตา ความจําและความมืดและเห็นด้วยตาที่ลืม. ในวาระที่สอง. ชื่อวิปัสสีเพราะเลือกดู. อธิบายว่าสอดส่องดู. บทว่า อตฺเถปนายติ ความว่า รู้เห็นแนะนําหรือพิจารณาอรรถคดี. ได้ยินว่า วันหนึ่ง เมื่อพระราชาประทับนั่งบนศาลสําหรับวินิจฉัยทรงสอดส่องพิจารณาคดี แม่นมนําพระมหาบุรุษซึ่งประดับตกแต่งพระองค์แล้วมาวางไว้บนพระหัตถ์ เมื่อพระราชานั้นทรงรับพระกุมารวางบนพระเพลาแล้วทรงกอดจูบ พวกผู้พิจารณาได้ตัดสินคนที่เป็นเจ้าของไม่ให้เป็นเจ้าของ พระโพธิสัตว์ทรงเปล่งพระสุรเสียงแสดงความไม่พอพระทัย. พระราชาตรัสว่า พวกเจ้าพิจารณาคดีนี้อย่างไร. พวกอํามาตย์มองดูไม่เห็นคนอื่นเพราะตนวินิจฉัยคดีผิด คิดว่า เราจักตัดสินอย่างนี้. พวกผู้พิพากษาตัดสินผู้เป็นเจ้าของโดยแท้ให้เป็นเจ้าของใหม่แล้ว พิจารณาดูว่าพระกุมารทรงทราบหรือไม่หนอ จึงทรงกระทําอย่างนี้ ได้ตัดสินผู้เป็นเจ้าของไม่ให้เป็นเจ้าของอีก. พระโพธิสัตว์ทรงเปล่งพระสุรเสียงอย่างนั้นอีก. ทีนั้นพระราชาทรงดําริว่า พระกุมารผู้เป็นมหาบุรุษย่อมรู้ ตั้งแต่นั้นมามิได้ทรงประมาทเลย. ท่านกล่าวว่าพระกุมารทรงสอดส่องพิจารณาคดี หมายถึงข้อนี้.

    ในบทว่า วสฺสิกํ เป็นต้น ความว่า สถานที่เพื่ออยู่อย่างมีความสุขในฤดูฝน ชื่อว่า วสฺสิก. ปราสาทสําหรับประทับในฤดูฝนนอกนี้มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ข้อนี้ในบทนี้มีอรรถเป็นคําพูด. การอยู่ในฤดูฝนชื่อ วัสสะ ผู้สมควรซึ่งฤดูฝนนั้นชื่อ วัสสิกะ. แม้ในบทนอกนี้ก็มีนัยนี้แล. ในปราสาท ๓ หลังนั้น ปราสาทที่ประทับให้ฤดูฝน ไม่สูงนัก ไม่ต่ํานัก แม้ประตูและ

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 129

หน้าต่างของปราสาทนั้น ก็ไม่มากนัก ไม่น้อยนัก. อนึ่ง เครื่องปูพื้น เครื่องลาดของเคี้ยวและของบริโภคในปราสาทนี้ควรรวมกัน. ในปราสาทสําหรับประทับในฤดูหนาว แม้เสา แม้ฝา ก็ต่ํา. แม้ประตูและหน้าต่างน้อยก็มีช่องสะดวก. เพื่อเข้าไปหาความอบอุ่นควรนําฝาและหิ้งออก ก็ในปราสาทหลังนี้เครื่องปูพื้น เครื่องลาดพื้น ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ควรเป็นผ้ากัมพลเป็นต้น ช่วยให้เกิดความอบอุ่น. ของเคี้ยวและของบริโภคอร่อยและเจือเผ็ด. ในปราสาทสําหรับประทับในฤดูร้อน แม้เสาแม้ฝาก็สูง. ก็ในปราสาทหลังนี้ประตูและหน้าต่างมีตาข่ายมากมาย. เครื่องลาดพื้นเป็นต้นควรสําเร็จด้วยผ้าสองชั้น. ของเคี้ยวและของบริโภคควรเป็นของเย็นมีรสอร่อย. อนึ่ง ในปราสาทหลังนี้ ชนทั้งหลายตั้งตุ่มใหม่ไว้ในที่ใกล้หน้าต่าง ใส่น้ำจนเต็มแล้วปลูกบัวเขียวเป็นต้น. สายน้ำไหลเหมือนฝนตกโดยท้องที่ที่ชนทั้งหลายทําท่อน้ำไว้. บทว่า นิปฺปุริเสหิ คือไม่มีผู้ชาย. อธิบายว่า ก็ที่ปราสาทนี้มิใช่ดนตรีอย่างเดียวเท่านั้นที่ไม่มีผู้ชาย. แม้สถานที่ทั้งหมดก็ไม่มีผู้ชายเหมือนกัน. แม้คนเฝ้าประตูก็เป็นผู้หญิง. แม้คนทําบริการมีอาบน้ำเป็นต้น ก็เป็นผู้หญิงทั้งนั้น. ได้ยินว่าพระราชาทรงดําริว่า ความรังเกียจบุรุษ เพราะเห็นบุรุษย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้เสวยอิสริยสมบัติและสุขสมบัติเห็นปานนั้น ความรังเกียจบุรุษนั้นอย่าได้มีแก่บุตรของเราเลยดังนี้ จึงทรงตั้งสตรีเท่านั้นในกิจการทั้งหมด.

จบอรรถกถาภาณวารที่หนึ่ง

    พึงทราบในภาณวารที่สอง. บทว่า โคปานสิวงฺกํ คือมีซี่โครงคดดุจกลอน. บทว่า ภคฺคํ ความว่า มีหลังงอในที่ทั้ง ๓ คือที่ลําคอ สะเอวและเข่าทั้ง ๒. บทว่า ทณฺฑปรายนํ คือไปด้วยไม้เท้า มีไม้เท้าเป็นที่พึ่ง. บทว่า อาตุรํ คือกระสับกระส่ายเพราะชรา. บทว่า คตโยพฺพนํ คือ ล่วง

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 130

วัยหนุ่ม ตั้งอยู่ในปัจฉิมวัย. บทว่า ทิสฺวา ความว่า พระกุมารแวดล้อมด้วยหมู่พลประมาณกึ่งโยชน์ได้จัดอารักขาเป็นอย่างดี เสด็จไปทอดพระเนตรเห็นบุรุษนั้นอันพรหมชั้นสุทธาวาส และพรหมผู้เป็นขีณาสพแสดงปรากฏข้างหน้ารถด้วยอานุภาพของพระองค์ในโอกาสที่รถอยู่ข้างหน้าหมู่พลอยู่ข้างหลัง. นัยว่ามหาพรหมชั้นสุทธาวาสดําริว่า พระมหาบุรุษทรงติดในกามคุณทั้ง ๕ ดุจช้างติดหล่ม เราจักยังสติให้เกิดแก่พระมหาบุรุษนั้นดังนี้ จึงได้แสดงบุรุษนั้น. อนึ่ง ทั้งพระโพธิสัตว์และสารถีก็ทอดพระเนตรเห็นและเห็นบุรุษที่ท้าวมหาพรหมแสดงไว้แล้วอย่างนี้นั้น. จริงอยู่ แม้พรหมทั้งหลายได้แสดงบุรุษนั้นก็เพื่อความไม่ประมาทของพระโพธิสัตว์ และเพื่อการสนทนาของสารถี. พระกุมารตรัสถามว่า ก็คนนี้เป็นอะไร. สารถีทูลว่า คนนี้เป็นคนแก่พระเจ้าข้า ท่านกล่าวไว้อย่างไร. พระกุมารตรัสถามว่า นี้แน่เราไม่เคยเห็นบุรุษเห็นปานนี้มาก่อนเลย. บทว่า เตนหิ ความว่า ถ้าเช่นนั้น แม้เราก็จะพึงมีผมเห็นปานนี้ มีกายเห็นปานนี้. หลายบทว่าถ้าเช่นนั้นสหายสารถี วันนี้พอแล้วสําหรับภาคพื้นสวน ความว่า พระกุมารตรัสว่า วันนี้เราพอแล้วสําหรับภาคพื้นสวนที่เราเห็น เรากลับกันเถิดดังนี้ ทรงสลดพระทัยตรัสอนุรูปแก่ความสังเวช. บทว่า อนฺเตปุรํ คโต ความว่า พระกุมารทรงสละสตรีประทับนั่งพระองค์เดียวในห้องสิริ. บทว่า ยตฺร หิ นาม ความว่า เมื่อมีชาติ ชราย่อมปรากฏ จงตําหนิเกลียดชังชาติ ชาติ ชื่อว่าเป็นสิ่งนี้เกลียด เพราะเหตุนั้น พระกุมารประทับนั่งขุดรากของชาติ ดุจถูกศรลูกแรกแทงพระทัยฉะนั้น.

    บทว่า สารถึ อามนฺตาเปตฺวา ความว่า นัยว่า พระราชาตั้งแต่พวกพราหมณ์นักพยากรณ์กราบทูล ทรงเงี่ยพระโสตสดับอยู่ตลอดเวลา. พระราชาทรงสดับว่า พระกุมารนั้นเสด็จประพาสพระอุทยาน เสด็จกลับในระหว่างทาง จึงรับสั่งให้เรียกสารถีมา. ในบทว่า มาเหวโข เป็นต้น ความว่า พระราชาทรง

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 131

ดําริอย่างนี้ว่า กุมารโอรสของเรา จงครองราชสมบัติ จงอย่าบวช ถ้อยคําของพวกพราหมณ์จงอย่าเป็นจริงดังนี้.

    บทว่า อทฺทสา โข ความว่ากุมารได้ทอดพระเนตรเห็นบุรุษที่ท้าวสุทธาวาสมหาพรหมแสดงโดยนัยที่กล่าวแล้วในตอนต้นนั้นแล. บทว่า อาพาธิกํ ความว่า มีความเจ็บป่วยด้วยอาพาธต่างกันอันทําลายอิริยาบถ. บทว่า ทุกฺขิตํ คือถึงทุกข์ด้วยทุกข์คือโรค. บทว่า พาฬฺหคิลานํ คือไข้หนัก. บทว่า ปลิปนฺนํ คือจม. แม้ในบทนี้ว่าชราจักปรากฏ พยาธิจักปรากฏ ความว่า เมื่อมีชาติ ชราพยาธิทั้งสองนี้ย่อมปรากฏ ชาติน่ารังเกียจไม่มีชาติจะปลอดโปร่ง เพราะเหตุนั้น พระกุมารประทับนั่งขุดรากของชาติ ดุจถูกศรลูกที่สองแทง.

    บทว่า วิลาตํ คือวอ. บทว่า เปตํ คือละไปจากโลกนี้. บทว่า กาลกตํ คือตาย. อธิบายว่าอันคนเรากระทําสิ่งทั้งปวงตลอดกาล ที่เป็นอยู่ ครั้นเสร็จแล้วก็ตาย. พรหมทั้งหลายแสดงแม้เรื่องนี้แก่พระกุมารโดยนัยก่อนนั้นแล. แม้ในบทว่า ยตฺร หิ นาม นี้ก็มีอธิบายว่า เมื่อมีชาติ ชราพยาธิ มรณะทั้ง ๓ นี้ ย่อมปรากฏ ชาติเป็นสิ่งน่ารังเกียจ เมื่อไม่มีชาติก็ปลอดโปร่ง เพราะเหตุนั้น พระกุมารประทับนั่งขุดรากของชาติ ดุจถูกศรลูกที่ ๓ แทง.

    บทว่า ภณฺฑุํ คือโล้น. พรหมทั้งหลายแสดงแม้เรื่องนี้แก่พระกุมาร โดยนัยก่อนนั้นแล.

    ในบทว่า สาธุ ธมฺมจริยา เป็นต้น ความว่า สารถีทูลพระกุมารว่า ข้าแต่เทวะ ความเป็นผู้ประพฤติธรรมนี้เป็นความดีดังนี้ พึงทราบการประกอบบทหนึ่งๆ อย่างนี้ว่า ปพฺพชิโต ดังนี้. อนึ่งบททั้งหมดนี้เป็นไวพจน์ของกุศลกรรมบถ ๑๐ นั้นเอง. ก็ในที่สุดบทว่า อวิหึสา เป็นส่วนเบื้องต้นของกรุณา. บทว่า อนุกมฺปา เป็นส่วนเบื้องต้นของเมตตา. บทว่า เตนหิ เป็นนิบาตในความว่าเร่งเร้า. เพราะพระกุมารทอดพระเนตรเห็นบรรพชิตแล้วมีพระทัยน้อม

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 132

ไปในบรรพชา. ลําดับนั้น พระกุมารมีพระประสงค์จะตรัสกับสารถีนั้น เมื่อจะทรงส่งสารถีกลับจึงตรัสคําเป็นอาทิว่า เตนหิ ดังนี้.

    บทว่า อถโข ภิกฺขเว ความว่า พระกุมารทรงสดับคําเป็นต้นว่า การประพฤติธรรมเป็นความดีของบรรพชิต และคําอื่นอีกมากอันเป็นธรรมกถาประกอบด้วยโทษของผู้อยู่ครองเรือนอันคับแคบด้วยบุตรและภรรยาที่หมู่มหาชนรักษาอยู่และประกอบด้วยอานิสงส์แห่งวิเวก ของบรรพชิตผู้อยู่ในป่าตามสบาย มีใจเป็นเช่นมฤคแล้วมีพระประสงค์จะบรรพชา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล วิปัสสีกุมารจึงได้เรียกสารถีมา. ชื่อว่าการเห็นเทวทูตทั้ง ๒ เหล่านี้แล้วบวชเป็นวงศ์ เป็นแบบแผน เป็นประเพณีของพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์. อนึ่งพระโพธิสัตว์แม้เหล่าอื่นก็ย่อมเห็นสิ้นกาลนานเหมือนพระวิปัสสีกุมารพระองค์นี้ทรงเห็นแล้วตลอดกาลนาน. แต่พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายทรงเห็นเทวทูตทั้ง ๔ วันเดียวเท่านั้น ก็เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ทรงบรรพชาที่ฝังแม่น้ำอโนมา จากนั้นเสด็จถึงกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นพระราชาพิมพิสารทูลถามว่า ท่านบัณฑิต ท่านบวชเพื่ออะไร ตรัสว่า

    มหาพิตรอาตมาเห็นคนแก่คนเจ็บได้รับทุกข์ และคนตายถึงอายุขัย กับได้เห็นบรรพชิตนุ่งห่มผ้ากาสายะ เพราะฉะนั้นจึงบวช ถวายพระพร

    บทว่า สุตฺวาน เตสํ ความว่า มหาชน ๘๔,๐๐๐ คนนั้น ได้สดับแล้วได้มีดําริดังนี้. บทว่า โอรโก คือพร่อง ลามก. บทว่า อนุปพฺพชึสุ คือบวชตาม. ก็เพราะเหตุใดในที่นี้ท่านจึงไม่กล่าวเหมือนที่ท่านกล่าวไว้ข้างต้นว่า พระกุมารเสด็จออกจากราชธานีพันธุมดี โดยท่านขัณฑะและท่านติสสะออกบวชตาม. เพราะออกไปแล้วจึงได้สดับ. ได้ยินว่า มหาชนแม้ทั้งหมดเหล่านี้

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 133

เป็นบุรุษอุปฐากของพระวิปัสสีกุมาร. มหาชนเหล่านั้นมาอุปฐากแต่เช้าตรู่ครั้นไม่เห็นพระกุมาร จึงพากันกินอาหารเช้า ครั้นกินอาหารเช้าเสร็จแล้วจึงมาถามว่า พระกุมารไปไหน ครั้นสดับว่าพระกุมารเสด็จไปพระอุทยานจึงพากันออกไปด้วยคิดว่า พวกเราจักเฝ้าพระกุมารในพระอุทยานนั้น ครั้นเห็นสารถีกลับ ได้สดับคําของสารถีนั้นว่า พระกุมารทรงบรรพชาแล้วจึงเปลื้องอาภรณ์ทุกอย่างไว้ในที่ที่ได้สดับแล้วนั่นเอง ให้คนนําผ้ากาสายะสีเหลืองจากตลาดมา แล้วปลงผมและหนวดบวชแล้ว. ด้วยเหตุดังนี้ ในที่นี้จึงไม่กล่าวว่าออกจากราชธานีพันธุมดี เพราะออกจากนครแล้วจึงได้สดับนอกนคร.

    บทว่า จาริกํ จรติ ความว่า พระวิปัสสีโพธิสัตว์สร้างมณฑปใหญ่ในที่ที่ไปแล้ว ตระเตรียมทานมารับนิมนต์ในวันรุ่งขึ้นรับภิกษาที่มหาชนขอร้องไว้ เที่ยวจาริกไปตลอด ๔ เดือน. บทว่า อากิณฺโณ คือถูกแวดล้อมด้วยคณะนี้. ก็ความวิตกนี้เกิดขึ้นแก่พระโพธิสัตว์เมื่อไร. ในวันขึ้น ๑๔ ค่ํา เพราะวันพรุ่งนี้จักเป็นวันเพ็ญเดือน ๖. ได้ยินว่า ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ทรงดําริว่า พวกนี้เมื่อก่อนแวดล้อมเราผู้เป็นคฤหัสถ์เที่ยวไปอย่างใด แม้เดี๋ยวนี้ก็เป็นอย่างนั้นอยู่อีก ประโยชน์อะไรด้วยคณะนี้ ทรงรังเกียจด้วยการปะปนอยู่กับคณะ ทรงดําริว่า เราจะไปวันนี้แหละ แล้วทรงดําริต่อไปว่า วันนี้ยังไม่ถึงเวลา หากเราจักไปเดี๋ยวนี้ พวกนี้ทั้งหมดก็จะรู้ เราจักไปวันพรุ่งนี้. อนึ่ง ในวันนั้นชาวบ้านในหมู่บ้านเช่นกับหมู่บ้านอุรุเวลาได้นิมนต์พระโพธิสัตว์เพื่อฉันในวันรุ่งขึ้น. ชาวบ้านเหล่านั้นตระเตรียมข้าวปายาสสําหรับบรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูปและสําหรับพระมหาบุรุษ. ขณะนั้น พระมหาบุรุษได้ฉันอาหารกับบรรพชิตเหล่านั้นในบ้านนั้น ในวันรุ่งขึ้นแล้วได้ไปที่อยู่. ณ ที่นั้นพวกบรรพชิตได้ปรนนิบัติพระมหาบุรุษเสร็จแล้วเข้าไปที่พักกลางคืนและกลางวันของตนๆ . แม้พระโพธิสัตว์ก็เสด็จเข้าไปประทับนั่ง ณ บรรณศาลา ทรงรําพึงว่า

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 134

เมื่อถึงเวลาเที่ยง นกทั้งหลายมารวมกันป่าใหญ่จะมีเสียงอึกกะทึก ภัยนั้นจะส่องถึงเรา

ในคราวมีภัยแก่ผู้ยินดีในความสงัด ในคราวมีความวุ่นวายแก่สัตว์ทั้งปวง เห็นปานนี้ พระโพธิสัตว์ทรงดําริว่า นี้ถึงเวลาแล้วจึงเสด็จออกปิดประตูบรรณศาลา บ่ายพระพักตร์สู่โพธิมัณฑะ. แม้ในกาลอื่นพระโพธิสัตว์เที่ยวไปในที่นั้น ทรงเห็นโพธิมัณฑ์. แต่พระทัยพระโพธิสัตว์นั้นไม่เคยน้อมไปเพื่อประทับนั่งเลย. แต่วันนั้นพระญาณของพระโพธิสัตว์ถึงความแก่กล้า เพราะฉะนั้นเกิดจิตเพื่อทอดพระเนตรโพธิมัณฑะที่ตกแต่งแล้วเสด็จขึ้นไป. พระโพธิสัตว์นั้นเสด็จเข้าไปโดยส่วนทิศใต้ทรงกระทําประทักษิณปูบัลลังก์กว้าง ๑๔ ศอกในส่วนทิศตะวันออก ทรงอธิษฐานความเพียรประกอบด้วยองค์ ๔ ประทับนั่งทรงตั้งปฏิญญาว่า เราจะไม่ลุกจากที่นี้ตลอดเวลาที่เรายังมิได้เป็นพุทธะ. ท่านกล่าวบทนี้ว่า พระโพธิสัตว์พระองค์เดียวหลีกออกจากคณะอยู่ หมายถึงการหลีกออกจากพระโพธิสัตว์พระองค์นี้.

บทว่า อฺเเนว ตานิ ความว่า นัยว่า บรรพชิตเหล่านั้นมาอุปฐากพระโพธิสัตว์ตอนเย็นแล้วนั่งล้อมบรรณศาลากล่าวว่า เกินเวลาไปมากแล้วพวกท่านจงเข้าไปสังเกตการณ์ ครั้นเปิดบรรณศาลา แม้เมื่อไม่เห็นพระโพธิสัตว์นั้น ก็มิได้ติดตามให้รู้ว่าพระโพธิสัตว์เสด็จไปไหน. พวกบรรพชิตคิดว่าพระมหาบุรุษทรงเบื่อในการอยู่ร่วมคณะ เห็นจะมีพระประสงค์จะประทับอยู่พระองค์เดียว พวกเราจักเห็นพระโพธิสัตว์ตอนได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วนั่นแหละ แล้วพากันมุ่งหน้าไปภายในชมพูทวีปหลีกออกจาริกไป.

บทว่า วาสูปคตสฺส ความว่า เข้าไปอยู่ราตรีหนึ่ง ณ โพธิมัณฑะ. บทว่า รโหคตสฺส คือไปในที่ลับ. บทว่า ปฏิสลฺลีนสฺส คือเร้นอยู่ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้เดียว. บทว่า กิจฺฉํ คือยาก. ก็ทั้งสองบทนี้คือ จวติ จ

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 135

อุปปชฺชสิ จ ท่านกล่าวหมายถึงจุติและปฏิสนธิต่อๆ ไป. ในบทว่า ชรามรณสฺส นี้ความว่า เพราะพระโพธิสัตว์เมื่อทรงผนวชทอดพระเนตรเห็น คนแก่ คนเจ็บ และคนตายนั่นแลจึงทรงผนวช ฉะนั้น ชราและมรณะนั้นแลย่อมปรากฏแก่พระโพธิสัตว์นั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า ชรามรณสฺส ดังนี้.

    ด้วยประการดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ความปริวิตกนี้ได้มีแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ผู้กระทําชราและมรณะ ให้เป็นข้อมูลตั้งมั่นเฉพาะแล้ว ดุจหยั่งลงจากภวัคคพรหม. บทว่า โยนิโสมนสิการา ความว่า กระทําไว้ในใจโดยอุบาย คือ ทําทางไว้ในใจ. อธิบายว่า จริงอยู่ เมื่อกระทําไว้ในใจซึ่งลักษณะมีความไม่เที่ยง เป็นต้น โดยลักษณะมีความไม่เที่ยง เป็นต้น ชื่อว่าผู้กระทําไว้ในใจโดยอุบายแยบคาย. อนึ่ง โยนิโสมนสิการ นี้ย่อมเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งของบรรดาอภิสมัยเหล่านั้น เพราะความเป็นไปด้วยสามารถแห่งปรีชา คํานึงเห็นทั้งความเกิดทั้งความดับว่า เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ชาติเป็นต้นย่อมมี เมื่ออะไรไม่มี ชาติเป็นต้นย่อมไม่มีดังนี้ เพราะฉะนั้น การตรัสรู้ด้วยปัญญาได้มีแก่พระโพธิสัตว์นั้น เพราะกระทําไว้ในใจโดยแยบคายจากนี้ คือด้วยการกระทําไว้ในใจโดยอุบายนี้ ดังนั้นเมื่อสิ่งใดมี ชรามรณะย่อมมี การรวมกันเข้ากับเหตุ คือชราและมรณะนั้นได้มีด้วยพระปัญญาของพระโพธิสัตว์. ก็ชราและมรณะนั้นมีเพราะอะไร. เพราะชาติ. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเมื่อชาติมี ชรามรณะจึงมี การรวมกันเข้ากับปัญญากําหนดเหตุแห่งชราและมรณะได้มีแก่พระโพธิสัตว์นี้เป็นอธิบายในข้อนี้. พึงทราบบททั้งหมดโดยทํานองนี้.

    ก็ในบทว่า เมื่อนามรูปมีวิญญาณจึงมีนี้ ความว่า ควรจะกล่าวว่า เมื่อสังขารมี วิญญาณจึงมี และเมื่ออวิชชามี สังขารจึงมี แม้ทั้งสองนั้น เชื่อถือไม่ได้. เพราะอะไร. เพราะอวิชชากับสังขารเป็นอดีตภพ. วิปัสสนานี้ไม่ต่อกับ อวิชชา

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 136

และสังขารเหล่านั้น. จริงอยู่ พระมหาบุรุษทรงตั้งมั่นอยู่แล้วด้วยสามารถแห่งปัจจุบัน. อันผู้ไม่เห็นอวิชชาและสังขารไม่อาจเป็นพระพุทธเจ้าได้มิใช่หรือ. จริงไม่อาจเป็นได้. แต่ธรรมเหล่านั้น อันพระมหาบุรุษนี้เห็นแล้วด้วย สามารถแห่งภพ อุปาทานและตัณหา. ก็ในที่นี้ควรกล่าวถึงปฏิจจสมุปบาทโดยพิสดาร. ปฏิจจสมุปบาทนั้นท่านกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.

    บทว่า ปจฺจุทาวตฺตติ คือกลับเวียนมา. ก็ในบทนี้วิญญาณกลับเวียนมาเป็นไฉน. วิญญาณนั้นได้แก่ปฏิสนธิวิญญาณบ้าง วิปัสสนาวิญญาณบ้าง ในวิญญาณทั้งสองนั้น ปฏิสนธิวิญญาณกลับเวียนมาแต่ปัจจัย. วิปัสสนาวิญญาณกลับเวียนมาแต่อารมณ์. แม้ทั้งสองก็ไม่พ้นนามรูป อื่นจากนามรูปย่อมไปไม่ได้. ในบททั้งหลายมีอาทิว่า เอตฺตาวตา ชาเยถ วา ความว่า ท่านแสดงบททั้ง ๕ พร้อมด้วยจุติและปฏิสนธิอื่นๆ อย่างที่ว่า เมื่อวิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป และเมื่อนามรูปเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ แม้เมื่อทั้งสองก็เป็นปัจจัยของกันและกัน ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลกพึงเกิดบ้าง พึงแก่บ้าง พึงตายบ้าง พึงจุติบ้าง พึงอุบัติบ้าง ก็นอกจากนี้อย่างอื่นยังมีอีกหรือ สัตว์พึงเกิดบ้าง ฯลฯ พึงอุบัติบ้าง นี้เท่านั้นมิใช่หรือสัตว์ย่อมเกิด ฯลฯ และย่อมอุบัติ เมื่อจะขยายความที่ท่านกล่าวคํานั้นอีกว่า เอตฺตาวตา จึงกล่าวว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีรูปนาม ต่อจากนั้นเพื่อจะแสดงชาติชราและมรณะแม้ต่อไป อันมีนามรูปเป็นรากเหง้า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ด้วยสามารถปัจจยาการโดยอนุโลม จึงกล่าวคําเป็นอาทิว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ. ในบททั้งหลายเหล่านั้น บทว่า เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ ความว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลมีประเภทเป็นต้นว่า ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ย่อมมีได้. พระมหาบุรุษได้เห็นความเกิดแห่งวัฏฏทุกข์ ทั้งมวลด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 137

    บทว่า สมุทโย สมุทโยติ โข ความว่า เกิดขึ้น เกิดขึ้น ดังนี้แล. บทว่า อนนุสฺสุเตสุ ความว่า ไม่ได้สดับมาแล้วคือไม่เคยฟังมาแล้ว. ในบททั้งหลายว่า จักษุเกิดขึ้นแล้ว เป็นต้น ความว่า ก็ปัญญาเห็นความเกิดนี้ท่านกล่าวว่า เป็นจักษุด้วยอรรถว่าเห็น เป็นญาณด้วยอรรถว่าทําให้รู้ เป็นปัญญาด้วยอรรถว่ารู้ทั่ว เป็นวิชชาด้วยอรรถว่ารู้แจ้ง แทงตลอดเกิดขึ้นแล้ว เป็นอาโลกะด้วยอรรถว่าเป็นแสงสว่าง ดังนี้. เหมือนอย่างท่านกล่าวแล้วว่า จักษุเกิดขึ้นแล้วโดยอรรถว่าเห็น ญาณเกิดขึ้นแล้วโดยอรรถว่ารู้แล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้วโดยอรรถว่ารู้ทั่ว วิชชาเกิดขึ้นแล้วโดยอรรถว่าแทงตลอด อาโลกะเกิดขึ้นแล้วโดยอรรถว่าแสงสว่าง จักษุเป็นเหตุ อรรถว่าเห็นเป็นผล ญาณเป็นเหตุ อรรถว่ารู้แล้วเป็นผล ปัญญาเป็นเหตุ อรรถว่ารู้ชัดเป็นผล วิชชาเป็นเหตุ อรรถว่าแทงตลอดเป็นผล อาโลกะเป็นเหตุ อรรถว่าแสงสว่างเป็นผลดังนี้. ท่านกล่าวด้วยบทเพียงเท่านี้หรือ. ท่านกล่าวเพียงให้กําหนดรู้ปัจจัยว่า เมื่อสิ่งนี้มีอยู่ สิ่งนี้ย่อมมีดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง. ท่านกล่าวถึง ตรุณวิปัสสนา อันเป็นแนวทางปฏิบัติ.

    บทว่า อธิคโต โข มยายํ ความว่า มรรคนี้อันเราบรรลุแล้ว. บทว่า มคฺโค คือ วิปัสสนามรรค. บทว่า โพธาย ความว่า เพื่อรู้อริยสัจ ๔ หรือเพื่อรู้นิพพาน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อ โพธิเพราะรู้. นี้เป็นชื่อของอริยมรรค. เป็นอันท่านกล่าวว่าเพื่อประโยชน์แก่อริยมรรคนั้นบ้าง. เพราะอริยมรรคมีวิปัสสนามรรคเป็นมูล. บัดนี้เมื่อจะขยายความมรรคนั้นจึงกล่าวคําเป็นอาทิว่า ยทิทํ นามรูปนิโรธา ดังนี้. อนึ่งในบทนี้ท่านกล่าวถึงนิพพานเท่านั้นด้วยบทปฐมาวิภัตติ์ว่า วิฺาณนิโรโธ เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้ พระมหาบุรุษได้ทรงเห็นการดับคือความไม่เกิดขึ้นแห่งวัฏฏทุกข์ทั้งมวล.

    บทว่า นิโรโธ นิโรโธติ โข ความว่า ไม่เกิด ไม่เกิดแล. บทว่า จกฺขุํ เป็นต้น มีความอันท่านกล่าวไว้แล้วนั่นแล. แต่ในที่นี้ ด้วยบททั้งหมดนี้

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 138

ท่านกล่าวเพียงให้รู้ถึงความดับเท่านั้นว่า เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ ย่อมไม่มี ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง. ท่านกล่าวถึงวิปัสสนาแก่กล้าอันจะให้ถึงความพ้นไป.

    บทว่า อปเรน สมเยน ความว่า พระโพธิสัตว์ทรงรู้ปัจจัยและความดับแห่งปัจจัยอย่างนี้ในสมัยอื่นจากนั้น. บทว่า อุปาทานกฺขนเธสุ คือในขันธ์อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน. บทว่าอุทยพฺพยานุปสฺสี ความว่า พิจารณาเห็นความเกิดและความเสื่อมที่เห็นแล้วครั้งแรกนั่นแหละ. บทว่า วิหาสิ ความว่าพระโพธิสัตว์ทรงเจริญวิปัสสนาอันเป็นเหตุให้ถึงความพ้นสุดยอดอยู่. ท่านกล่าวข้อนี้ไว้เพราะเหตุไร. เพราะพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงทรงบําเพ็ญบารมี ในปัจฉิมภพเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ในวันพระโอรสประสูติ ทรงผนวช ทรงประกอบความเพียร เสด็จขึ้นโพธิบัลลังก์ ทรงกําจัดมารและเสนามาร ในยามต้นทรงระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อน ในยามที่สองทรงชําระทิพพจักขุ ในยามที่สามทรงพิจารณาปัจจยาการ ทรงออกจากจตุตถฌานกําหนดลมหายใจเข้าออก ทรงเพ่งพินิจในขันธ์ ๕ ทรงเห็นลักษณะ ๕๐ ถ้วน ด้วยสามารถความเกิดและความเสื่อม ทรงเจริญวิปัสสนาจนกระทั่งถึงโคตรภูญาณ แล้วทรงแทงตลอดพุทธคุณทั้งสิ้นด้วยอริยมรรค. อนึ่ง พระมหาบุรุษแม้พระองค์นี้ก็ได้บําเพ็ญบารมีแล้ว. พระองค์ทรงกระทําตามลําดับทั้งหมดดังที่กล่าวแล้ว ในปัจฉิมยามทรงออกจากจตุตถฌานกําหนดลมหายใจเข้าออก ทรงเพ่งพินิจในขันธ์ ๕ ทรงปรารภการเห็นแจ้งความเกิดและความเสื่อมมีประการดังที่กล่าวแล้ว. ท่านกล่าวถึงความเห็นแจ้งอันจะให้ถึงความพ้นนี้ เพื่อแสดงถึงความเห็นแจ้งความเกิดและความเสื่อมนั้น.

    ในบทเหล่านั้น บทว่า อิติรูปํ ความว่า รูปนี้ รูปมีประมาณเท่านี้รูปเบื้องบนจากนี้ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวถึงการกําหนดรูปอันไม่มีส่วนเหลือด้วยสามารถแห่งลักษณะรสปัจจุปัฏฐานและปทัฏฐาน กระทําสภาวะ

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 139

แห่งการสลายไป และประเภทแห่งการอาศัยเกิดเป็นอาทิ. ท่านกล่าวความเห็นเหตุเกิดแห่งรูปที่กําหนดไว้อย่างนี้ ด้วยบทนี้ว่า อิติ รูปสฺส สมุทโย ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า อิติ ความว่า อย่างนี้เป็นเหตุเกิด. พึงทราบความพิสดารของบท สมุทโย นั้นอย่างนี้ว่า เพราะอวิชชาเกิด รูปจึงเกิด เพราะตัณหาเกิด รูปจึงเกิด เพราะกรรมเกิด รูปจึงเกิด เพราะอาหารเกิด รูปจึงเกิด เพราะเหตุนั้น แม้เห็นลักษณะแห่งการเกิดอยู่ก็ย่อมเห็นเหตุเกิดของรูปขันธ์. แม้ในความดับก็พึงทราบความพิสดารอย่างนี้ว่า เพราะอวิชชาดับ รูปจึงดับ ฯลฯ แม้เห็นลักษณะแห่งความเปลี่ยนแปลงอยู่ก็ย่อมเห็นความดับแห่งรูปขันธ์. แม้ในบททั้งหลายว่า อิติ เวทนา เป็นต้น ก็มีความว่า เวทนานี้ เวทนามีประมาณเท่านี้ เวทนาเบื้องบนจากนี้ย่อมไม่มี สัญญานี้ สังขารเหล่านี้ วิญญาณนี้ วิญญาณมีประมาณเท่านี้ วิญญาณเบื้องบนจากนี้ย่อมไม่มี ดังนี้ ท่านกล่าวกําหนด เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณไม่เหลือด้วยสามารถแห่งลักษณะรสปัจจุปัฎฐานและปทัฎฐาน กระทําสภาพแห่งความเสวยอารมณ์ความรู้สึก การปรุงและความเข้าใจ และประเภทแห่งสุขเป็นต้น รูปสัญญาเป็นต้น ผัสสะเป็นต้น จักขุวิญญาณเป็นต้น ให้เป็นอาทิ. ก็แต่ว่าท่านกล่าวถึงความเห็นเหตุเกิดแห่งเวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณทั้งหลายที่กําหนดไว้อย่างนี้ด้วยบทว่า อิติ เวทนาย สมุทโย เป็นต้น. บทว่า อิติ แม้ในบทนั้นก็มีความว่า อย่างนี้เป็นเหตุเกิดดังนี้. ความพิสดารแม้ของบทเหล่านั้นว่า เพราะอวิชชาเกิด เวทนาจึงเกิด พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในรูปนั้นแล. แต่มีความแปลกออกไปดังนี้. ในขันธ์ ๓ ไม่ควรกล่าวว่า เพราะอาหารเกิด ควรกล่าวว่า เพราะผัสสะเกิด. ในวิญญาณขันธ์ ควรกล่าวว่า เพราะนามรูปเกิด. แม้บทว่าความดับพึงประกอบด้วยสามารถแห่งบทเหล่านั้นนั่นแล. นี้เป็นสังเขปในบทนี้. ข้อวินิจฉัยความเกิดและความเสื่อมอย่างพิสดารบริบูรณ์ด้วยประการทั้งปวง ท่านกล่าวไว้

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 140

แล้วในวิสุทธิมรรค. บทว่า เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นทรงพิจารณาเห็นความเกิดและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ ความว่า เมื่อพระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้นพิจารณาเห็นความเกิดและความเสื่อมด้วยสามารถลักษณะ ๕๐ ถ้วน ในอุปาทานขันธ์ ๕ มีรูปเป็นต้นเหล่านี้อยู่ เมื่อวิปัสสนาญาณเจริญแล้วตามลําดับ จิตไม่ยึดมั่นเพราะไม่เกิด ย่อมพ้นจากกิเลสทั้งหลายกล่าวคือ อาสวะดับสนิทด้วยอนุปาทนิโรธ. จิตนั้นชื่อว่าย่อมพ้นในขณะมรรค ชื่อว่าพ้นแล้วในขณะผล หรือว่าพ้นแล้วและจะพ้นในขณะมรรค เป็นอันพ้นแล้วในขณะผลนั่นเอง. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล พระมหาบุรุษทรงพ้นแล้วจากเครื่องผูกมัดทั้งปวง มีพระสันดานเบิกบานดุจประทุมต้องแสงอาทิตย์ฉะนั้น มีพระดําริบริบูรณ์ประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์ ทรงกระทํามรรคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ ญาณกําหนดกําเนิด ๔ ญาณกําหนด ๕ อสาธารณญาณ ๖ และพระพุทธคุณทั้งมวลให้อยู่ในเงื้อมพระหัตถ์. ทรงกระทําไว้ในพระทัยอย่างนี้ว่า

    เราแล่นไปสิ้นสงสารหลายชาติ แสวงหาช่างทําเรือนไม่พบ การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนช่างทําเรือน เราพบท่านแล้ว ท่านจะไม่ทําเรือนอีก เราหักซี่โครงของท่านหมดแล้วเรารื้อเรือนยอดเสียแล้ว จิตของเราไม่ได้ปรุงแต่งแล้ว เราได้บรรลุความสิ้นตัณหาแล้วไม่มีคติเพื่อประกาศแก่ผู้ที่พ้นโดยชอบ ผู้ข้ามโอฆะอันผูกมัดด้วยกาม ผู้บรรลุสุขอันไม่หวั่นไหว เหมือนอันใครๆ ไม่รู้คติของผู้ทําลายท่อนเหล็กอันรุ่งเรืองด้วยพระเวท เป็นผู้สงบโดยลําดับฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 141

ทรงรุ่งเรืองดุจพระอาทิตย์ในสารทกาลและดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญ.

จบภาณวารกถาที่ ๒

    พึงทราบในภาณวารที่ ๓. บทว่า ยนฺนูนาหํ ธมฺมํ เทเสยฺยํ ความว่าไฉนหนอ เราจะพึงแสดงธรรม. ก็วิตกนี้เกิดขึ้นแล้วเมื่อไร. เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ ๘ ของผู้เป็นพระพุทธเจ้า.

    ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีนั้นเป็นพระพุทธเจ้า แล้วประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์ตลอดสัปดาห์ ประทับยืนเพ่งดูโพธิบัลลังก์ตลอดสัปดาห์ เสด็จจงกรม ณ เรือนแก้วตลอดสัปดาห์ ประทับนั่งเฟ้นพระธรรม ณ เรือนแก้วตลอดสัปดาห์ ประทับนั่ง ณ อชปาลนิโครธตลอดสัปดาห์ ประทับนั่ง ณ โคนมุจลินท์ตลอดสัปดาห์ ประทับนั่ง ณ ราชายตนะตลอดสัปดาห์ เสด็จลุกจากราชายตนะนั้น พอพระองค์เสด็จมาในสัปดาห์ที่ ๘ ประทับนั่ง ณ อชปาลนิโครธอีก ความวิตกนี้และความวิตกนอกเหนือจากนี้ที่พระพุทธเจ้าประพฤติและประพฤติมาอย่างสม่ําเสมอเกิดขึ้นแล้วแก่พระพุทธเจ้าทั้งปวง.

    ในบททั้งหลายเหล่านั้น บทว่า อธิคโต คือแทงตลอดแล้ว. บทว่า ธมฺโม ได้แก่ ธรรมคืออริยสัจ ๔. บทว่า คมฺภีโร นี้ เป็นชื่อของการปฏิเสธความเป็นของตื้น. บทว่า ทุทฺทโส ความว่า เป็นธรรมที่เห็นได้ยาก คือเป็นธรรมอันบุคคลเห็นโดยยาก คือไม่สามารถเห็นง่าย เพราะเป็นธรรมลึกซึ้ง. เพราะเป็นธรรมที่เห็นได้ยากจึงเป็นธรรมที่รู้ตามยากอันบุคคลพึงตรัสรู้โดยยาก คือไม่สามารถตรัสรู้ได้โดยง่าย. บทว่า สนฺโต คือดับสนิทแล้ว. บทว่า ปณีโต คือไม่เร่าร้อน ทั้งสองบทนี้ท่านกล่าวหมายถึง โลกุตตระนั่นเอง. บทว่า อตกฺกาวจโร ความว่า ไม่ควรคาดคะเน คือไม่ควรหยั่งลงด้วยการตรึก ควรคาดคะเนด้วยญาณเท่านั้น. บทว่า นิปุโณ คือละเอียด. บทว่า

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 142

ปณฺฑิตเวทนีโย ความว่า อันบัณฑิตผู้ปฏิบัติปฏิปทาชอบพึงรู้ได้. บทว่า อาลยรามา ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมติดในกามคุณ ๕ เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นท่านกล่าวว่า อาลยา. สัตว์ทั้งหลายย่อมอยู่กับความพัวพันวิปริตของตัณหา ๑๐๘ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อาลยา. สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีด้วยอาลัยเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาลยรามา คือมีอาลัยเป็นที่ยินดี. สัตว์ทั้งหลายยินดีแล้วในอาลัย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาลยรตา คือยินดีแล้วในอาลัย. สัตว์ทั้งหลายเบิกบานแล้วด้วยดีในอาลัยทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอาลยสมฺมุทิตา คือเบิกบานแล้วในอาลัย. สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีด้วยอาลัยในกามและอาลัยในตัณหาแม้เหล่านี้ เป็นผู้เบิกบานกระสันในสังสารวัฏฏ์อยู่ เหมือนพระราชาเสด็จประพาสพระราชอุทยาน อันสมบูรณ์ด้วยรุกขชาติที่เต็มไปด้วยดอกและผลเป็นต้น ซึ่งตกแต่งไว้เป็นอย่างดี ทรงรื่นรมย์เบิกบานชื่นชมเพลิดเพลินด้วยสมบัตินั้นๆ ไม่ทรงเบื่อหน่าย ไม่ทรงพระประสงค์จะเสด็จกลับแม้เย็นแล้วฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความอาลัยแม้ ๒ อย่าง ดุจภาคพื้นอุทยานแก่สัตว์เหล่านั้น จึงตรัสว่าอาลยรามา คือมีอาลัยเป็นที่ยินดี ดังนี้เป็นต้น. บทว่า ยทิทํ เป็นนิบาต. พึงทราบความอย่างนี้ว่า บทว่า ยํ อิทํ หมายถึงฐานะของบทนั้น. บทว่า โย อยํ หมายถึง ปฏิจุจสมุปบาท. ปัจจัยของบททั้งสองนี้ว่า อิทปฺปจฺจยตา ปฏิจฺจสมุปฺปาโท ชื่ออิทัปปัจจยา คือสิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนี้. ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยตา และ ปฏิจฺจสมุปฺปาโท เพราะความที่สิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนี้ และปัจจัยอันเป็นที่อาศัยกันเกิดขึ้น. บทนี้เป็นชื่อของ อวิชฺชา เป็นต้น อันเป็นปัจจัยแห่งสังขารเป็นต้น. บททั้งหมดว่า สพฺพสงฺขารสมโถ เป็นต้น เป็นนิพพานอย่างเดียว. เพราะความดิ้นรนของสังขารทั้งปวงอาศัยนิพพานนั้นย่อมสงบย่อมระงับ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า สพฺพสงฺขารสมโถ คือ เป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวงดังนี้.

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 143

อนึ่ง เพราะกิเลสทั้งปวงเป็นอันสลัดทิ้งไปได้ ตัณหาทั้งปวงสิ้นไป กิเลสราคะทั้งปวงคลายไป ทุกข์ทั้งปวงดับไป เพราะอาศัยนิพพานนั้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค คือ เป็นที่สลัดกิเลสทั้งปวง ตณฺหกฺขโย เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา วิราโค คลายความกําหนัด นิโรโธ ดับทุกข์ ดังนี้. ก็ตัณหานั้นย่อมนําไป คือร้อยรัดภพด้วยภพหรือกรรมกับด้วยผลกรรม เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ตัณหาการทําการร้อยรัด. ชื่อนิพพานเพราะออกจากเครื่องร้อยรัดนั้น บทว่า โส มมสฺส กิลมโถ ความว่า การแสดงธรรมแก่ผู้ไม่รู้พึงเป็นความลําบากของเรา. เป็นอันท่านกล่าวว่า พึงเป็นความลําบากทางกาย และพึงเป็นการเบียดเบียนทางกาย. ก็แต่ว่าทั้งสองนี้มิได้มีในดวงจิตของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

    บทว่า อปิสฺสุ เป็นนิบาตในอรรถว่า พอกพูน. นิบาตนั้น แสดงว่ามิใช่ได้มีความวิตกนี้อย่างเดียว แม้คาถาเหล่านี้ก็แจ่มแจ้งแล้ว. ในบททั้งหลายว่า วิปสฺสึ เป็นอาทิ ความว่า พระวิปัสสีพระผู้มีพระภาค เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

    บทว่า อนจฺฉริยา คือ อัศจรรย์น้อย. บทว่า ปฏิภํสุ ความว่าธรรมเป็นโคจรทั้งหลายได้เกิดแก่ญาณกล่าวคือปฏิภาน ถึงซึ่งความเป็นธรรมพึงปริวิตก.

    บทว่า กิจฺเฉน ความว่า โดยยาก คือ มิใช่เพื่อปฏิบัติยาก. เพราะแม้มรรค ๔ ก็ย่อมเป็นข้อปฏิบัติง่ายของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. บทนี้ท่านกล่าวหมายถึงการปฏิบัติเพื่อได้คุณวิเศษมาของท่านที่ยังมีราคะ มีโทสะ และมีโมหะในเวลาบําเพ็ญบารมีนั้นเองให้สิ่งเป็นต้น อย่างนี้ คือ ตัดศรีษะที่ประดับตกแต่งแล้ว เอาเลือดออกจากคอ ควักดวงตาทั้งสองข้างที่หยอดยาไว้อย่างดี สละบุตรผู้จะดํารงวงศ์ตระกูล สละภรรยา ผู้มีความประพฤติเป็นที่พอใจ แก่

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 144

ผู้ขอทั้งหลายที่พากันมา และถึงอย่างอื่นมีการตัดและทําลายในอัตภาพ เช่น กับขันติวาทีดาบสเป็นต้น. ห อักษรในบทว่า หลํ นี้เป็นเพียงนิบาต แปลว่า ควร. บทว่า ปกาสิตุํ คือเพื่อแสดง คือเมื่อคนบรรลุธรรมได้ยากอย่างนี้ ก็ไม่ควรแสดง คือควรแสดงกับคนฉลาด ท่านอธิบายว่า ประโยชน์อะไรด้วยการแสดง. บทว่า ราคโทสปเรเตหิ คือถูกราคะโทสะครอบงํา หรือราคะโทสะติดตามไป. บทว่า ปฏิโสตคามึ ความว่าสัจจธรรม ๔ อันถึงแล้วอย่างนี้ว่าเป็นธรรมทวนกระแสแห่งความเที่ยงเป็นต้น คือ ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไม่มีตัวตนและไม่งาม. บทว่า ราครตฺตา ความว่า ถูกกามราคะ ภวราคะและทิฏฐิราคะย้อมไว้. บทว่า น ทกฺขนฺติ ความว่า สัตว์ทั้งหลายจักไม่เห็นตามความเป็นจริงนี้ว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตนไม่งามดังนี้ ใครเล่าจักอาจเพื่อให้ผู้ที่ไม่เห็นเหล่านั้น ถือเอาอย่างนี้ได้. บทว่า ตโมกฺขนฺเธน อาวุฏา ความว่า ถูกกองอวิชชาหุ้มห่อไว้.

    บทว่า อปฺโปสฺสุกฺกตาย ความว่า เพราะไม่ประสงค์จะทรงแสดงโดยความเป็นผู้ไม่มีความขวนขวาย. ก็เพราะเหตุไร พระทัยของพระองค์จึงน้อมไปอย่างนี้เล่า พระองค์ทรงการทําความปรารถนาไว้ว่า เรานั่นพ้นแล้วจักปลดเปลื้องสัตว์ เราข้ามได้แล้วจักให้สัตว์ข้ามบ้าง

    จะได้ประโยชน์อะไร ด้วยเราผู้รู้แจ้งธรรมในโลกนี้แล้วจะไม่ให้ผู้อื่นรู้บ้าง เราบรรลุสัพพัญุตญาณแล้ว จักยังสัตว์พร้อมด้วยเทวดาให้ข้ามพ้นไป ดังนี้ มิใช่หรือ แล้วทรงบําเพ็ญบารมีจนได้บรรลุพระสัพพัญุตญาณ. ข้อนั้นเป็นความจริง แต่จิตของพระองค์ทรงน้อมไปอย่างนั้นด้วยอานุภาพแห่งการพิจารณา. จริงอยู่เมื่อพระองค์บรรลุสัพพัญุตญาณแล้ว ทรงพิจารณาถึงความที่สัตว์ทั้งหลายยังยึดกิเลสอยู่ และความที่พระธรรมเป็นธรรมลึกซึ้ง ความที่สัตว์ทั้งหลายยังยึดถือกิเลสอยู่ และความที่พระธรรม

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 145

เป็นธรรมลึกซึ้ง ปรากฏโดยอาการทั้งปวง. เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อพระองค์ทรงดําริว่า สัตว์เหล่านี้แลเต็มไปด้วยกิเลสเศร้าหมองยิ่งหนัก ถูกราคะย้อม ถูกโทสะครอบงํา ลุ่มหลงไปด้วยโมหะดุจน้ำเต้าเต็มไปด้วยน้ำส้ม ดุจถาดเต็มไปด้วยเปรียง ดุจผืนผ้าขี้ริ้วชุ่มไปด้วยมันเหลวและน้ำมัน ดุจมือเปื้อนไปด้วยยาหยอดตา เขาเหล่านั้นจักรู้แจ้งแทงตลอดไปได้อย่างไร ดังนี้ จิตจึงน้อมไปอย่างนั้น ด้วยอานุภาพแห่งการยึดถือกิเลสและการพิจารณา. อนึ่ง พระธรรมนี้ลึกซึ้งดุจลําน้ำหนุนแผ่นดินไว้ เห็นได้ยาก ดุจเมล็ดผักกาดที่ถูกภูเขากําบังไว้ตั้งอยู่ และรู้ตามได้ยาก ดุจการแยกปลายด้วยปลายของขนสัตว์ที่ผ่าออก ๑๐๐ ส่วน. จริงอยู่ เราพยายามเพื่อรู้แจ้งแทงตลอด ธรรมนี้ไม่มีทานที่ไม่ได้ให้ ไม่มีศีลที่ไม่ได้รักษา ไม่มีบารมีที่ไม่ได้บําเพ็ญมิใช่หรือ แม้เมื่อเรากําจัดมารและเสนามารดุจไร้ความอุตสาหะ แผ่นดินก็ไม่หวั่นไหว แม้เมื่อเราระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในชาติก่อนในปฐมยามได้ ก็ไม่หวั่นไหว แม้เมื่อเราชําระทิพพจักษุในมัชฌิมยาม ก็ไม่หวั่นไหว แต่เมื่อเรารู้แจ้งแทงตลอดปฏิจจสมุปบาทในปัจฉิมยาม แผ่นดินหมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหวแล้ว ด้วยประการดังนี้แม้ชนเช่นเรายังรู้แจ้งแทงตลอดธรรมนี้ด้วยญาณอันกล้าได้โดยยากถึงเพียงนี้แล้ว มหาชนชาวโลกจักรู้แจ้งแทงตลอด ธรรมนั้นได้อย่างไร เพราะเหตุนั้นพึงทราบว่า จิตของพระองค์น้อมไปแล้วอย่างนั้น แม้ด้วยอานุภาพแห่งความที่พระธรรมเป็นธรรมลึกซึ้งและด้วยการพิจารณาดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพระพรหมทูลวิงวอน จิตของพระองค์ก็น้อมไปอย่างนี้ เพราะมีพระประสงค์จะแสดง. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า เมื่อจิตของเราน้อมไปเพราะความที่เราเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย มหาพรหมวิงวอนเราเพื่อขอให้แสดงธรรมก็สัตว์เหล่านี้เป็นผู้เคารพพรหม เมื่อรู้ว่ามีข่าวว่า พระศาสดาไม่มีพระประสงค์จะแสดงธรรมแก่พวกเรา ทีนั้น มหาพรหมทูลวิงวอนพระองค์ให้แสดงแล้ว

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 146

ผู้เจริญทั้งหลาย พระธรรมสงบหนอ ประณีตหนอดังนี้ จักตั้งใจฟัง ดังนี้. พึงทราบว่า อาศัยเหตุนี้ จิตของพระองค์จึงน้อมไป เพื่อความที่พระองค์เป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรม.

    ในบทว่า อฺตรสฺส นี้ ท่าวกล่าวว่า อฺตโร ก็จริง ถึงดังนั้นพึงทราบว่า นั่นคือมหาพรหมผู้ใหญ่ในจักรวาลนี้. บทว่า นสฺสติ วต โภ โลโก ความว่า นัยว่ามหาพรหมนั้นเปล่งเสียงนี้ โดยที่หมู่พรมในหมื่นโลกธาตุสดับแล้ว ทั้งหมดประชุมกัน. บทว่า ยตฺร หินาม คือในโลกชื่อใด. บทว่า ปุรโต ปาตุรโหสิ ความว่า มหาพรหมได้ปรากฏพร้อมกับพรหมหนึ่งหมื่นเหล่านั้น. บทว่า อปฺปรชกฺขชาติกา ความว่า ธุรี คือราคะโทสะและโมหะเบาบาง คือนิดหน่อย ในดวงตาอันสําเร็จด้วยปัญญา สภาพอย่างนี้ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นยังมีอยู่ เพราะเหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายชื่อว่า อปฺปรชกฺขชาติกา คือ มีกิเลศเพียงดังธุลีในจักษุเบาบาง. บทว่า อสฺสวนตา คือเพราะมิได้ฟัง. บทว่า ภวิสฺสนฺติ ความว่า ท่านแสดงว่า สัตว์ทั้งหลายผู้สร้างสมบุญไว้แล้ว ถึงความแก่กล้าในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ด้วยสามารถบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ หวังพระธรรมเทศนาอย่างเดียวเหมือนประทุมชาติหวังแสงอาทิตย์ เป็นผู้ควรหยั่งลงสู่อริยภูมิ ในเมื่อจบคาถา ๔ บท ไม่ใช่คนเดียว ไม่ใช่สองคน มีหลายแสนจักเป็นผู้รู้ธรรม ดังนี้.

    บทว่า อชฺเฌสนํ คือวิงวอนอย่างนี้ ๓ ครั้ง. บทว่า พุทฺธจกฺขุนา ความว่า ด้วยปรีชากําหนดรู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายและด้วยอาสยานุสยญาณ. บทว่า พุทฺธจกฺขุ เป็นชื่อแห่งญาณทั้งสองนี้. บทว่า สมนฺตจกฺขุ เป็นชื่อแห่งพระสัพพัญุตญาณ. บทว่า ธมฺมจกฺขุ เป็นชื่อแห่งมรรคญาณ ๓. ในบทว่า อปฺปรชกฺเข เป็นต้น ความว่า สัตว์ที่มีธุลีมีราคะเป็นต้น ในปัญญาจักษุน้อยโดยนัยที่กล่าวนั้นแล. ชื่อว่า อปฺปรชกฺขา คือมี

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 147

กิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย. สัตว์ที่มีธุลีมีราคะเป็นต้นนั้นในปัญญาจักษุมากชื่อว่า มหารชกฺขา คือมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมาก. สัตว์ที่มีอินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้น แก่กล้า ชื่อว่า ติกฺขินฺทฺริยา คือ มีอินทรีย์แก่กล้า. สัตว์ที่มีอินทรีย์เหล่านั้นอ่อน ชื่อว่า มุทุนฺทฺริยา คือ มีอินทรีย์อ่อน. สัตว์ที่มีอาการมีศรัทธาเป็นต้น เหล่านั้นดี ชื่อ สฺวาการา คือมีอาการดี. สัตว์ที่กําหนดเหตุที่กล่าวสามารถให้รู้ได้ง่าย ชื่อว่า สุวิฺาปยา คือให้รู้แจ้งได้ง่าย. สัตว์ที่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยชื่อว่า ปรโลกวชฺชภยทสฺสาวิโน คือมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย.

    ก็ในเรื่องที่มีบาลีดังนี้ บุคคลที่มีศรัทธามีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธามีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมาก บุคคลผู้ปรารภความเพียรมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย บุคคลผู้เกียจคร้านมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมาก บุคคลผู้มีสติตั้งมั่นมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย บุคคลผู้มีสติลุ่มหลงมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมาก บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมาก บุคคลผู้มีปัญญามีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย บุคคลผู้มีปัญญาทรามมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมาก เช่นเดียวกัน บุคคลผู้มีศรัทธามีอินทรีย์แก่กล้า ฯลฯ บุคคลผู้มีปัญญามักเห็นโลกอื่นและโทษด้วยความเป็นภัย บุคคลผู้มีปัญญาทรามมักไม่เห็นโลกอื่นและโทษโดยความเป็นภัย.

    บทว่า โลโก ได้แก่ ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก สมบัติภวโลก วิบัติภวโลก สมบัติและวิบัติภวโลก วิบัติสัมปัติภวโลก โลกหนึ่ง คือ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่ได้ด้วยอาหาร โลก ๒ คือ นามและรูป โลก ๓ คือเวทนา ๓ โลก ๔ คืออาหาร ๔ โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ โลก ๖ คืออายตนะภายใน ๖ โลก ๗ คือภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ ๗ โลก ๘ คือโลกธรรม ๘ โลก ๙ คือ

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 148

ภพเป็นที่อยู่ของสัตว์ ๙ โลก ๑๐ คืออายตนะ ๑๐ โลก ๑๒ คืออายตนะ ๑๒ โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘.

    บทว่า วชฺชํ ได้แก่ กิเลสทุกชนิดเป็นโทษ ทุจริตทุกชนิดเป็นโทษ อภิสังขารทุกชนิดเป็นโทษ กรรมคือการไปสู่ภพทุกชนิดเป็นโทษ ด้วยประการฉะนี้ ทั้งในโลกนี้ทั้งโทษนี้ เป็นอันปรากฏความหมายรู้โดยความเป็นภัยอย่างแรงกล้าเหมือนเพชฌฆาตเงื้อดาบ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงรู้ยิ่ง ทรงแทงตลอดอินทรีย์ ๕ เหล่านี้ ด้วยอาการ ๕๐ เหล่านี้ นี้เป็นพระปรีชากําหนดรู้ความหย่อนและยิ่งของอินทรีย์ทั้งหลายของพระตถาคต.

    บทว่า อุปฺปลินิยํ คือ ในกอบัว. แม้ในบทนอกนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อนฺโตนิมุคฺคโปสีนิ คือ ดอกบัวแม้เหล่าอื่นใดจมอยู่ในน้ำอันน้ำเลี้ยงไว้. บทว่า อุทกํ อจฺจุคฺคมฺม ติฏนฺติ คือ บัวบางเหล่าตั้งขึ้นพ้นน้ำ. ในบทนั้นอธิบายว่า บัวบางเหล่าที่ตั้งขึ้นพ้นน้ำคอยรอสัมผัสแสงอาทิตย์แล้วบานในวันนี้. บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำจักบานในวันพรุ่งนี้. บางเหล่ายังจมอยู่ภายในน้ำอันน้ำเลี้ยงไว้จักบานในวันที่ ๓. แต่ว่ายังมีดอกบัวเป็นต้นที่มีโรคแม้เหล่าอื่นไม่ขึ้นพ้นจากน้ำแล้ว ดอกบัวเหล่าใดจักไม่บาน จักเป็นภักษาแห่งปลาและเต่าอย่างเดียว ดอกบัวเหล่านั้น ท่านไม่ควรนําขึ้นสู่บาลีได้แสดงไว้ชัดแล้ว.

    บุคคล ๔ จําพวก คือ อุคฆฏิตัญู วิปจิตัญู เนยยะ ปทปรมะ ก็เปรียบเหมือนดอกบัว ๔ เหล่านั้นแล.

    ในบุคคล ๔ จําพวกนั้น บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกขึ้นแสดง ชื่อ อุคฆฏิตัญู. บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกความแห่งคําย่อโดยพิสดาร ชื่อว่า วิปจิตัญู. บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมโดยลําดับด้วยความพากเพียรท่องจํา ด้วยการไต่ถาม ด้วยทําไว้ในใจโดยแยบคาย ด้วยคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร ชื่อว่า เนยยะ. บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ในชาตินั้น แม้เรียนมาก ทรงไว้มาก สอนเขามาก ชื่อว่า ปทปรมะ.

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 149

    ในบทนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดู หมื่นโลกธาตุ เช่นกับดอกบัว เป็นต้น ได้ทรงเห็นแล้วว่า บุคคลจําพวก อุคฆฏิตัญู ดุจดอกบัวจะบานในวันนี้ บุคคลจําพวก วิปจิตัญู ดุจดอกบัวจักบานในวันพรุ่งนี้ บุคคลจําพวกเนยยะ ดุจดอกบัวจักบานในวันที่ ๓ บุคคลจําพวกปทปรมะ ดุจดอกบัวอันเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงตรวจดูได้ทรงเห็นโดยอาการทั้งปวงอย่างนี้ว่า สัตว์มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย มีประมาณเท่านี้ สัตว์มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมาก มีประมาณเท่านี้ แม้ในสัตว์เหล่านั้น จําพวกที่เป็น อุคฆฏิตัญู มีประมาณเท่านี้ ดังนี้. ในสัตว์ ๔ จําพวกนั้น การแสดงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมสําเร็จประโยชน์แก่บุคคล ๓ จําพวกในอัตภาพนี้แล. พวกปทปรมะจะมีวาสนาเพื่อประโยชน์ในอนาคต.

    ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศพระธรรมเทศนา อันนํามาซึ่งประโยชน์แก่บุคคล ๔ จําพวกเหล่านี้แล้ว ยังความเป็นผู้มีพระประสงค์จะทรงแสดงให้เกิดขึ้น ได้ทรงจัด สัตว์แม้ทั้งปวงในภพ ๓ ใหม่ ให้เป็นสองส่วนด้วยสามารถแห่งภัพสัตว์ และอภัพสัตว์ สัตว์ที่ท่านกล่าวหมายถึงนั้นคือ สัตว์เหล่าใดประกอบด้วย กัมมาวรณะ วิปากาวรณะ กิเลสาวรณะ ไม่มีศรัทธา ไม่มีความพยายาม มีปัญญาทราม เป็นผู้ไม่ควรก้าวลงสู่ความชอบในธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศลอย่างแน่นอน สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้นั้นเป็นอภัพสัตว์ ภัพสัตว์เป็นไฉน สัตว์เหล่าใดไม่ประกอบด้วย กัมมาวรณะ ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้นั้นเป็นภัพสัตว์ ดังนี้. ในบทนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละอภัพบุคคลแม้ทั้งหมด ทรงกําหนดภัพบุคคลอย่างเดียวด้วยพระญาณ ได้ทรงจัดให้เป็น ๖ ส่วน คือ สัตว์จําพวกราคจริตประมาณเท่านี้ สัตว์จําพวกโทสจริต โมหจริต วิตักกจริต ศรัทธจริต พุทธิจริต มีประมาณเท่านี้. ครั้นทรงจัดอย่างนี้แล้ว จึงทรงพระดําริว่า เราจักแสดงธรรม ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 150

    พรหมครั้นทราบดังนั้นแล้ว เกิดโสมนัส ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาหลายคาถา

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อถโข โส ภิกฺขเว มหาพฺรหฺมา เป็นต้น ทรงหมายถึงข้อนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌภาสิ ตัดบทเป็น อธิอภาสิ. อธิบายว่า ได้กราบทูลปรารภยิ่งขึ้นไป.

    บทว่า เสเล ยถา ปพฺพตมุทฺธนิฎฺิโต คือเหมือนคนยืนอยู่บนภูเขาหินล้วน. จริงอยู่ เมื่อคนยืนอยู่บนยอดภูเขานั้นก็ไม่มีกิจเป็นต้นว่า ยกและยืดคอ แม้เพื่อจะดู. บทว่า ตถูปมํ ความว่า เปรียบด้วยสิ่งนั้น คือ เปรียบด้วยภูเขาหินล้วน. ก็ความสังเขปในเรื่องนี้มีดังนี้. บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดเขาหินล้วนพึงเห็นหมู่ชนโดยรอบฉันใด ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เป็นผู้มีปัญญาดี มีจักษุโดยรอบด้วยพระสัพพัญุตญาณก็ฉันนั้น เสด็จขึ้นสู่ปราสาทสําเร็จด้วยธรรมสําเร็จด้วยปัญญา เป็นผู้ปราศจากความโศกด้วยพระองค์เอง ทรงพิจารณา ทรงใคร่ครวญ ทรงตรวจตรา หมู่ชนผู้เกลือกกลั้วไปด้วยความโศก ถูกชาติชราครอบงําแล้ว.

    ในบทนี้มีอธิบายดังนี้ เหมือนอย่างว่า มนุษย์ทั้งหลาย กระทําที่ดินผืนใหญ่โดยรอบเชิงภูเขา แล้วปลูกกระท่อมในแนวพื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ณ ที่ดินผืนนั้น จุดไฟในเวลากลางคืน อนึ่ง ที่ดินนั้นพึงมีความมืดประกอบด้วยองค์ ๔ ขณะนั้น เมื่อบุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดภูเขานั้น มองดูพื้นที่ ที่ดินไม่ปรากฏ แนวพื้นที่เพาะปลูกไม่ปรากฏ กระท่อมไม่ปรากฏ พวกมนุษย์ที่นอนในกระท่อมนั้นไม่ปรากฏ แต่ปรากฏเพียงเปลวไฟในกระท่อมทั้งหลาย เท่านั้น ฉันใด เมื่อพระตถาคตเสด็จขึ้นสู่ธรรมปราสาททรงตรวจดูหมู่สัตว์ สัตว์ทั้งหลายที่ไม่ได้ทําความดี แม้นั่ง ณ ข้างพระชานุเบื้องขวา ในในที่อยู่แห่งเดียวกัน ก็ฉันนั้น ก็ไม่มาถึงคลองแห่งพุทธจักษุ ย่อมเป็นเหมือน

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 151

ลูกศรที่ซัดไปในเวลากลางคืน แต่สัตว์ทั้งหลายที่ทําความดี เป็นเวไนยบุคคลแม้ยืนอยู่ไกลพระตถาคตนั้น ย่อมมาสู่คลองได้. สัตว์เหล่านั้นย่อมเป็นดุจไฟและดุจภูเขาหิมพานต์. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

    สัตบุรุษทั้งหลายย่อมปรากฏ ณ ที่ไกลเหมือนภูเขาหิมพานต์ อสัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ ณ ที่นี้ เหมือนลูกศรที่เขาซัดไปในเวลากลางคืน ฉะนั้น.

    บทว่า อุฏเหิ ความว่า พรหมกราบทูลวิงวอนถึงการเสด็จจาริกเพื่อโปรดแสดงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พึงทราบในบทว่า วีร เป็นต้นว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า วีระ เพราะพระองค์มีความเพียร ชื่อว่าเป็นผู้ชนะสงครามเพราะพระองค์ทรงชนะ เทวบุตรมาร มัจจุมาร และกิเลสมาร ชื่อว่าเป็นผู้นําพวก เพราะพระองค์ทรงข้ามชาติกันดารเป็นต้นได้ คือ เพราะพระองค์สามารถแนะนําแล้วนําพวกไปได้ ชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีหนี้ เพราะไม่มีหนี้ คือกามฉันทะ ดังนี้.

    บทว่า อปารุตา คือ เปิดเผย. บทว่า ประตูอมตะ ได้แก่ อริยมรรค. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ว่า เพราะเราได้เปิดประตูนิพพานกล่าวคือ อมตะ ตั้งไว้แล้ว. บทว่า ปมุฺจนฺตุ สทฺธํ ความว่าผู้มีโสตทั้งปวง จงปล่อย คือ สละศรัทธาของตนเถิด. ในสองบทหลังมีเนื้อความว่า ด้วยว่า เราเป็นผู้มีความรู้สึกลําบากด้วยกายและวาจา จึงมิได้กล่าวธรรมอันประณีต คือสูงสุดนี้ ซึ่งตนทําให้คล่องแคล่ว คือ เป็นไปด้วยดีแล้ว ก็บัดนี้ชนทั้งปวง จงน้อมนําภาชนะคือศรัทธาเข้าไปเถิด เราจักยังความดําริของชนเหล่านั้นให้บริบูรณ์ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 152

    บทว่า โพธิรุกฺขมูเล ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้หายพระองค์ที่ต้นอชปาลนิโครธไม่ไกลโพธิพฤกษ์. บทว่า เขเมมิคทาเย ความว่า อิสิปตนมฤคทายวัน โดยสมัยนั้นเป็นสวน ชื่อว่า เขมะ ก็สวนนั้นท่านให้ชื่อว่า มฤคทายวัน เพราะเป็นที่ที่ท่านให้เพื่ออยู่โดยปลอดภัยแก่เนื้อทั้งหลาย. ท่านกล่าวว่า เขเม มิคทาเย หมายถึงสวนนั้น.

    แม้พระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ ก็เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามวิปัสสี เสด็จไปเพื่อทรงแสดงธรรมเป็นครั้งแรก ได้เสด็จไปทางอากาศแล้วเสด็จลง ณ ที่นั้นเหมือนกัน. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ทอดพระเนตรเห็นอุปนิสัยของอุปกาชีวก ทรงทราบว่า อุปกะเดินมาทางนี้ เห็นเราจักสนทนากับเราแล้วไป แต่แล้วอุปกะเบื่อหน่ายจักมาหาเราอีก แล้วจักทําให้แจ้งซึ่งพระอรหัต ดังนี้ ได้เสด็จด้วยพระบาทเปล่าสิ้นทาง ๑๘ โยชน์.

    บทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกคนเฝ้ามฤคทายวัน ความว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทอดพระเนตรดูคนเฝ้าสวนมฤคทายวันหลายครั้งแล้ว ตรัสเรียกให้เข้าไปหา ตรัสสั่งให้ไปบอกขัณฑราชบุตรและติสสบุตรปุโรหิตว่า ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้าของเราทั้งหลายเสด็จมาแล้ว.

    บทว่า อนุปุพฺพีกถํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกถาตามลําดับอย่างนี้ คือ ทานกถา ศีล ในลําดับทาน สวรรค์ในลําดับศีล มรรคในลําดับสวรรค์. กถาปฏิสังยุตด้วยคุณของทานมีอาทิอย่างนี้ว่า ในบทเหล่านั้นบทว่า ทานกถํ ความว่า ชื่อว่า ทานนี้เป็นเหตุของความสุขทั้งหลาย เป็นบ่อเกิดแห่งสมบัติทั้งหลาย เป็นที่ตั้งแห่งโภคะทั้งหลาย เป็นความต้านทาน เป็นที่อาศัย เป็นคติ เป็นเครื่องค้ำจุนของผู้ที่ถึงความสงบวิเศษ ที่พึ่ง ที่ตั้งอารมณ์ความต้านทาน ที่อาศัยคติการค้ำจุน เช่นกับทานย่อมไม่มีในโลกนี้ และในโลกหน้า. จริงอยู่ ทานนี้ชื่อว่า เช่นกับ สีหาศน์ สําเร็จด้วยแก้วเพราะอรรถว่า

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 153

เป็นที่พึ่ง ชื่อว่า เช่นกับ แผ่นดินใหญ่ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง ชื่อว่า เช่นกับ เชือกรัด เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ชื่อว่า เช่นกับ เรือ เพราะอรรถว่า ข้ามไปจากทุกข์ ชื่อว่า เช่นกับ ความกล้าในสงคราม เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องปลอบใจ ชื่อว่า เช่นกับ นครที่ปรับปรุงดีแล้ว เพราะอรรถว่าป้องกันภัย ชื่อว่า เช่นกับ ประทุม เพราะอรรถว่า ไม่ติดด้วยมลทิน คือความตระหนี่ เป็นต้น ชื่อว่า เช่นกับ ไฟ เพราะอรรถว่า เผากิเลสเหล่านั้น ชื่อว่า เช่นกับ อสรพิษ เพราะอรรถว่า เข้าไปใกล้ได้ยาก ชื่อว่า เช่นกับ สีหะ เพราะอรรถว่า ไม่สะดุ้ง ชื่อว่า เช่นกับ ช้าง เพราะอรรถว่า มีกําลัง ชื่อว่า เช่นกับ วัวผู้เผือก เพราะอรรถว่า เห็นเป็นมงคลยิ่ง ชื่อว่า เช่นกับ พญาม้าวลาหก เพราะอรรถว่า ให้ถึงภาคพื้นแห่งความปลอดภัย จริงอยู่ท่านย่อมให้สักกสมบัติในโลก ย่อมให้มารสมบัติ พรหมสมบัติ จักรพรรดิสมบัติ สาวกปารมีญาณ ปัจเจกโพธิญาณ อภิสัมโพธิญาณ. ก็เพราะเมื่อให้ทาน จึงสามารถสมาทานศีลได้ ฉะนั้น พระองค์จึงตรัส สีลกถา ในลําดับทานนั้น.

    บทว่า สีลกถํ ความว่า กถาปฏิสังยุต ด้วยคุณของศีล มีอาทิอย่างนี้ว่า ชื่อว่าศีลนี้ เป็นที่พึ่ง เป็นที่ตั้ง เป็นอารมณ์ เป็นเครื่องป้องกัน เป็นที่อาศัย เป็นคติ เป็นเครื่องค้ำจุน จริงอยู่ ที่พึ่ง ที่ตั้ง อารมณ์ เครื่องป้องกัน ที่อาศัย คติ เครื่องค้ำจุน เช่นกับศีล ย่อมไม่มีแก่สมบัติในโลกนี้และโลกหน้า เครื่องประดับ เช่นกับศีล ย่อมไม่มี ดอกไม้ เช่นกับดอกไม้ คือศีล ย่อมไม่มี กลิ่น เช่นกับกลิ่นศีล ย่อมไม่มี จริงอยู่ โลกพร้อมด้วยเทวโลก แลดูการประดับด้วยเครื่องประดับคือศีล การตกแต่งด้วยดอกไม้คือศีล การลูบไล้ด้วยกลิ่นคือศีล ย่อมไม่ถึงความอิ่ม. เพื่อจะแสดงว่า คนได้สวรรค์ เพราะอาศัยศีลนี้ พระองค์จึงตรัส สัคคกถา ในลําดับศีล.

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 154

    บทว่า สคฺคกถํ ความว่า กถาปฏิสังยุต ด้วยสวรรค์มีอาทิอย่างนี้ว่า ชื่อว่า สวรรค์นี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ กีฬาอันเป็นทิพย์สมบัติ ย่อมได้ในสวรรค์นี้เป็นนิจ เหล่าเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกา ย่อมได้ทิพยสุขและทิพยสมบัติตลอดเก้าล้านปี เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ย่อมได้ทิพยสุขและทิพยสมบัติตลอดสามโกฏิปี และหกล้านปี. จริงอยู่ เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสถึงสมบัติสวรรค์ยังไม่พอปาก. ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราพึงกล่าว สัคคกถา โดยปริยายไม่น้อยแล ดังนี้เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงล่อด้วยตรัสถึงสวรรค์อย่างนี้แล้ว เพื่อทรงแสดงว่า แม้สวรรค์นี้ก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่ควรทําความกําหนัดด้วยความพอใจในสวรรค์นี้ เหมือนประดับช้างแล้วตัดงวงช้างนั้น จึงตรัสถึงโทษ ความเลวทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย โดยนัยเป็นต้นว่า กามทั้งหลายมีความชื่นชมน้อย มีทุกข์มาก มีความดับใจมาก โทษในกามนี้ยอดยิ่งนัก ดังนี้.

    ในบทเหล่านั้น บทว่า อาทีนโว คือ โทษ. บทว่า โอกาโร คือ ความเลวทราม ความลามก. บทว่า สํกิเลโส ความว่า ความเศร้าหมองในสงสารของสัตว์ทั้งหลาย มีขึ้นด้วยกามทั้งหลายนั้น. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า ผู้เจริญทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายจักเศร้าหมอง ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคุกคามด้วยโทษของกามอย่างนี้แล้ว ทรงประกาศอานิสงส์ในเนกขัมมะ อธิบายว่า ทรงประกาศคุณของบรรพชา. บทที่เหลือมีดังกล่าวแล้วในอรรถกถาอัมพัฎฐสูตร และมีใจความง่าย.

    บทว่า อลตฺถุํ คือ ได้แล้วอย่างไร. ได้แล้วโดยความเป็นเอหิภิกขุ. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูการสั่งสมบาตรและจีวรสําเร็จด้วยฤทธิ์ ทรงเห็นการถวายจีวรเป็นต้น ในชาติไม่น้อยของหมู่ชนเหล่านั้นจึงตรัสคําเป็นอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงมาเถิด ดังนี้. หมู่ชนเหล่านั้นมีศีรษะโล้น

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 155

นุ่งห่มผ้ากาสายะ มีภิกขุบริขาร ๘ สวมในร่างกาย นั่งถวายนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้าดุจพระเถระมีพรรษา ๒๐.

    ในบทว่า สนฺทสฺเสสิ เป็นต้น ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้า. เมื่อทรงแสดงถึงประโยชน์ในโลกนี้ทรงแสดงว่า อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ดังนี้ ทรงแสดง ขันธ์ทั้งหลาย ธาตุทั้งหลาย อายตนะทั้งหลาย ปฏิจจสมุปบาท เมื่อทรงแสดงความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ทรงแสดงถึงลักษณะ ๕ เมื่อทรงแสดงความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์เป็นต้น ก็อย่างนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงลักษณะ ๕๐ ด้วยสามารถความเกิดขึ้นและความเสื่อม. เมื่อทรงแสดงถึงประโยชน์ในโลกหน้า ทรงแสดงถึงนรก กําเนิดเดียรัจฉาน เปรตวิสัย อสุรกาย ทรงแสดงอันเป็นวิบากแห่งกุศล ๓ อย่าง สมบัติแห่งเทวโลก ๖ ชั้น พรหมโลก ๙ ชั้น.

    บทว่า สมาทเปสิ ความว่า ให้ถือกัลยาณธรรมมีปาริสุทธิศีล ๔ ธุดงค์กถาวัตถุ ๑๐ เป็นต้น.

    บทว่า สมุตฺเตเชสิ คือ ให้อาจหาญด้วยดี ให้อุตสาหะยิ่งๆ ขึ้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้หวาดสะดุ้งให้หวาดกลัวประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้าตรัสทําดุจบรรลุแล้ว. ก็เมื่อพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคทรงทําให้สัตว์หวาดสะดุ้งหวาดกลัวแล้วตรัสถึงประโยชน์โลกนี้ อันมีประเภท เช่นกัมมกรณ์ ๓๒ และมหาภัย ๒๕ ย่อมทําให้เกิดความหวาดสะดุ้ง ดุจถูกมัดแขนไพล่หลังจนแน่นแล้วโบย ๑๐๐ ครั้ง ที่ทาง ๔ แพร่ง นําออกไปทางประตูทิศใต้ ดุจวางศีรษะที่ระฆังสําหรับประหาร ดุจเสียบบนหลาวและดุจถูกช้างซับมันเหยียบ. และเมื่อทรงกล่าวถึงประโยชน์ในโลกหน้าย่อมเป็นดุจเกิดในนรกเป็นต้นและดุจเสวยสมบัติในเทวโลก.

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 156

    บทว่า สมฺปหํเสติ คือให้รื่นเริงด้วยคุณที่ตนได้แล้ว. อธิบายว่า ทรงกล่าวทําให้มีอานิสงส์มาก.

    บทว่า สงฺขารานํ อาทีนวํ ความว่า ตรัสถึงโทษของกามทั้งหลายเพื่อบรรลุปฐมมรรคขั้นต่ํา. แต่ในบทนี้เพื่อบรรลุมรรคเบื้องสูงพระองค์จึงทรงประกาศโทษของสังขารทั้งหลาย และความที่สังขารทั้งหลายลามกและความลําบากอันมีสังขารเป็นปัจจัยโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่ปลอดโปร่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อันนี้เพียงพอเพื่อความเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลาย เพียงพอเพื่อคลายกําหนัด เพียงพอเพื่อความหลุดพ้นดังนี้. ทรงประกาศอานิสงส์ในนิพพานโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่านิพพานนี้มีอยู่ในเนกขัมมะเหมือนกัน เป็นสิ่งประณีตเป็นเครื่องป้องกัน เป็นที่อาศัยดังนี้.

    บทว่า มหาชนกาโย ความว่า หมู่มหาชนผู้เป็นอุปฐากของกุมารทั้งสองนั้นนั่นแล. บทว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าและพระธรรมเป็นที่พึ่งดังนี้ ความว่า หมู่ชนเหล่านั้นได้กล่าววาจาสองหน [คือกล่าวถึงพระพุทธเจ้าหนหนึ่งพระธรรมหนหนึ่ง] เป็นสรณะ เพราะยังไม่ครบพระสงฆ์. บทว่า อลตฺถุํ คือ ได้แล้วโดยความเป็นเอหิภิกขุ โดยนัยที่กล่าวแล้วในตอนก่อน. แม้ในคราวที่บวชแล้วในลําดับจากนี้ก็มีนัยนี้แล.

    บทว่า ปริวิตกฺโก อุทปาทิ ความว่า ความปริวิตกเกิดขึ้นเมื่อไร. เกิดขึ้นเมื่อล่วง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน จากการตรัสรู้.

    ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทําการสงเคราะห์พระชนกอยู่แล้ว. แม้พระราชาก็ทรงดําริว่า โอรสคนโตของเราออกบวชเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว โอรสคนที่สองของเราออกบวชเป็นอัครสาวก บุตรปุโรหิตเป็นสาวกรูปที่สอง อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่เหลือเหล่านี้แม้ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ก็ได้แวดล้อมโอรส

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 157

ของเราเที่ยวไป ภิกษุเหล่านั้น เมื่อก่อนเป็นภาระของเราแม้เดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นภาระของเราอยู่นั่นเอง เราจักบํารุงภิกษุเหล่านั้นด้วยปัจจัย ๔ เราจักไม่ให้โอกาสแก่ผู้อื่นดังนี้. พระราชารับสั่งให้สร้างกําแพงทําด้วยไม้ตะเคียนทั้งสองข้างตั้งแต่ซุ้มประตูพระวิหารจนถึงพระทวารเมืองราชคฤห์ คลุมด้วยเสื่อลําแพน มุงด้วยผ้าและปกปิดในเบื้องบน ทรงให้ทําเพดานมีพวงดอกไม้หลายชนิดประมาณเท่าลําตาล ห้อยย้อยลงมา วิจิตรด้วยดวงทอง ข้างล่างพื้นลาดด้วยเครื่องลาดอันสวยงาม รับสั่งให้จัดดอกไม้ในลําดับกลิ่น และกลิ่นในลําดับดอกจนเต็มหม้อน้ำ ในสวนดอกไม้ ในข้างทั้งสองภายในเพื่อให้อยู่ในทางเดียวกันทั้งสิ้น แล้วรับสั่งให้กราบทูลเวลาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมด้วยหมู่ภิกษุเสด็จไปเมืองราชคฤห์ ภายในม่านนั่นเองเสวยพระอาหารเสร็จแล้วเสด็จกลับพระวิหาร. ใครๆ อื่น ย่อมไม่ได้แม้แต่เห็น ก็การถวายภิกษาก็ดี การทําการบูชาก็ดี การฟังธรรมก็ดีจะมีแต่ไหนเล่า. ชาวเมืองคิดกันว่า วันนี้เมื่อพระศาสดาทรงอุบัติขึ้นในโลกแล้ว พวกเราไม่ได้แม้เพื่อเห็นตลอด ๗ ปี๗ เดือน จะกล่าวไปไยถึงการถวายภิกษา การทําการบูชา หรือการฟังธรรม พระราชาทรงรักใคร่หวงแหนว่า พระพุทธเจ้าของเราผู้เดียว พระธรรมของเราผู้เดียว พระสงฆ์ของเราผู้เดียวแล้ว ทรงบํารุงเพียงองค์เดียว ก็พระศาสดาเมื่อทรงอุบัติได้อุบัติเพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูลแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก จริงอยู่ นรกของพระราชาไม่พึงร้อนของคนเหล่าอื่นเช่นกับกอบัวขาบ เพราะฉะนั้น พวกเราจะกราบทูลพระราชา หากพระราชาไม่ทรงให้พระศาสดาแก่พวกเรา ก็ดีละ หากไม่ทรงให้ พวกเราแม้ต้องรบกับพระราชาก็จะพาสงฆ์ไปแล้วทําบุญมีทาน เป็นต้น แต่ชาวเมืองผู้บริสุทธิ์คงไม่อาจทําอย่างนั้น พวกเราจะยึดถือบุรุษผู้เจริญคนหนึ่งดังนี้. ชาวเมืองเหล่านั้นเข้าไปหาเสนาบดี บอกความนั้นแก่เสนาบดีแล้ว กล่าวว่า นายฝ่ายของพวกเรายังมีอยู่หรือ หรือจะมีแด่พระราชา. เสนาบดีนั้นกล่าวว่า เรา

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 158

เป็นฝ่ายของพวกท่าน ก็แต่ว่า วันแรกควรให้เราก่อน ภายหลังจึงถึงวาระของพวกท่าน. พวกชาวเมืองเหล่านั้นรับคํา. เสนาบดีนั้นเข้าไปเฝ้าพระราชาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ชาวเมืองเขาพากันโกรธพระองค์ พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า โกรธเรื่องอะไรเล่าพ่อ. กราบทูลว่า นัยว่า พระองค์เท่านั้นทรงบํารุงพระศาสดา พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้เลย หากว่าชาวเมืองได้ในบัดนี้บ้าง พวกเขาก็จะไม่โกรธ เมื่อไม่ได้พวกเขาประสงค์จะรบกับพระองค์ พระเจ้าข้า. ตรัสว่า นี่แน่เจ้า เราจะรบ เราจะไม่ให้หมู่สงฆ์. ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ชาวเมืองเป็นทาสของพระองค์ พวกข้าพระองค์จะรบกับพระองค์. ตรัสว่า พวกเจ้าจักจับใครรบ. เจ้าเป็นเสนาบดีมิใช่หรือ. กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ข้าพระองค์เว้นชาวเมืองเสียแล้วไม่สามารถจะรบได้ พระเจ้าข้า. แต่นั้น พระราชาทรงทราบว่า ชาวเมืองมีกําลังมากแม้เสนาบดีก็เป็นฝ่ายพวกชาวเมืองเสียแล้ว แล้วตรัสว่า พวกชาวเมืองจงให้หมู่ภิกษุแก่เราตลอด ๗ ปี ๗ เดือนต่อไป พวกชาวเมืองไม่ยอมรับ พระราชาทรงลดมา ๖ ปี ๕ ปี ๓ ปี ๒ ปี ๑ ปี. แม้ให้ลดอย่างนี้ชาวเมืองก็ไม่ยอมรับ. พระราชาทรงขอ ๗ วันอื่น. พวกชาวเมืองคิดกันว่า บัดนี้พวกเราไม่ควรทําความรุนแรงกับพระราชาจึงอนุญาต. พระราชาทรงตระเตรียมทานมุขที่พระองค์ตระเตรียมไว้แล้วถึง ๗ ปี ๗ เดือน เหลือเพียง ๗ วันเท่านั้น ตลอด ๖ วัน ทรงให้ทานแก่คนบางพวกผู้ยังไม่เห็นเท่านั้น ในวันที่ ๗ ตรัสเรียกชาวเมืองมาตรัสว่า พวกท่านจักสามารถให้ทานเห็นปานนี้ได้หรือ. แม้พวกชาวเมืองก็พากันกราบทูลว่า ทานนั้นอาศัยพวกข้าพระองค์นั่นแหละจึงเกิดขึ้นแด่พระองค์แล้วมิใช่หรือ กราบทูลว่า พวกข้าพระองค์จักสามารถพระเจ้าข้า. พระราชาทรงเช็ดพระอัสสุชลด้วยหลังพระหัตถ์ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดแล้วว่า ข้าพระองค์จักไม่ทําภิกษุหกล้านแปดแสนรูปให้เป็นภาระของผู้อื่น จักบํารุงด้วยปัจจัย ๔ จนตลอด

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 159

ชีวิต บัดนี้ ข้าพระองค์อนุญาตแก่ชาวเมืองแล้ว เพราะชาวเมืองพากันโกรธว่าพวกเราไม่ได้เพื่อถวายทาน ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ พวกพระคุณเจ้าทั้งหลายจงกระทําอนุเคราะห์แก่ชาวเมืองเหล่านั้นเถิด. ครั้นถึงวันที่สอง เสนาบดีตระเตรียมมหาทานแล้วกล่าวว่า วันนี้พวกท่านจงรักษาโดยที่คนอื่นบางคนจะไม่ถวายแม้ภิกษาอย่างเดียวได้ ได้ตั้งบุรุษไว้โดยรอบ. ในวันนั้นภรรยาเศรษฐีร้องไห้พูดกะลูกสาวว่า ลูกเอย หากบิดาของลูกยังมีชีวิตอยู่ วันนี้แม่คงจะยังพระทศพลให้เสวยก่อน. ลูกสาวพูดกะแม่ว่า แม่จาอย่าคิดไปเลย ลูกจักกระทําโดยที่หมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขจักเสวยภิกษาของพวกเราก่อน. แต่นั้นในถาดทองคํามีค่าประมาณหนึ่งแสน เต็มไปด้วยข้าวปายาสไม่มีน้ำ นางได้ปรุงเนยใส่น้ำผึ้งน้ำตาลกรวดเป็นต้น เอาถาดใบอื่นครอบถาดทองคําล้อมถาดนั้นด้วยสายพวงดอกมะลิกระทําคล้ายเชือกร้อยดอกไม้ ในเวลาพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าสู่บ้าน นางยกขึ้นเอง แวดล้อมด้วยหมู่พี่เลี้ยงออกจากเรือน. ในระหว่างทางพวกคนใช้ของเสนาบดีกล่าวว่า ดูก่อนแม่นาง เจ้าอย่ามาทางนี้. ธรรมดาหญิงผู้มีบุญมากย่อมมีคําพูดน่าพอใจ. เมื่อคนใช้ของเสนาบดีเหล่านั้นพูดบ่อยๆ ก็ไม่อาจห้ามถ้อยคําของนางได้. นางกล่าวว่า อาจา ลุงจา น้าจา เพราะเหตุไร พวกท่านจึงไม่ให้ฉันไปเล่า. คนรับใช้เหล่านั้นกล่าวว่า เสนาบดีตั้งเราไว้ว่า พวกท่านจงอย่าให้ใครๆ อื่นถวายของเคี้ยวของบริโภคได้. นางกล่าวว่า ก็พวกท่านเห็นของเคี้ยวของบริโภคในมือของฉันหรือ. คนใช้ตอบว่า พวกเราเห็นพวงดอกไม้. นางถามว่า เสนาบดีของพวกท่านไม่ให้เพื่อทําแม้การบูชาด้วยพวงดอกไม้ดอกหรือ. คนใช้ตอบว่า ให้ซิแม่นาง. นางกล่าวว่าถ้าเช่นนั้นพวกท่านจงหลีกไปเถิด แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ทรงให้รับพวงดอกไม้นี้เถิด พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแลดูคนใช้ของเสนาบดีคนหนึ่งให้รับพวงดอกไม้. นางถวายบังคมพระผู้มีพระภาค

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 160

เจ้าแล้ว ตั้งความปรารถนาว่า เมื่อข้าพเจ้ามีอันต้องเกิดในภพน้อยภพใหญ่ ขอจงอย่ามีชีวิตหวาดสะดุ้งเลย ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ และขอให้ชื่อว่าสุมนาในที่ที่เกิด ดุจพวงดอกมะลิเถิด แล้วพระศาสดาตรัสว่า ขอนางจงมีความสุขเถิด แล้วนางถวายบังคมกระทําประทักษิณหลีกไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปเรือนเสนาบดีประทับนั่ง ณ อาศนะที่เขาปูไว้ เสนาบดีถือข้าวยาคูเข้าไปถวาย. พระศาสดาทรงปิดบาตร. เสนาบดีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หมู่ภิกษุนั่งแล้ว พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า พวกเรามีบิณฑบาตอย่างหนึ่งซึ่งได้ในระหว่าง. เสนาบดีนําพวงดอกไม้ออก ได้เห็นบิณฑบาตแล้ว จุฬุปฐากกล่าวว่า มาตุคามกล่าวกะข้าพเจ้าว่า นาย ดอกไม้ได้หลอกลวงเสียแล้ว. ข้าวปายาสเพียงพอแก่ภิกษุทั้งหมด ตั้งแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นต้น. แม้เสนาบดีก็ได้ถวายไทยธรรมของตน. พระศาสดาเสวยภัตตาหารเสร็จแล้ว ตรัสมงคล เสด็จกลับ. เสนาบดีถามว่า หญิงถวายบิณฑบาตนั้นชื่ออะไร. เป็นลูกสาวเศรษฐีจะนาย. เสนาบดีคิดว่า หญิงนั้นมีปัญญา เมื่อหญิงเห็นปานนี้อยู่ในเรือนชื่อว่าสมบัติคือสวรรค์ของบุรุษจะหาได้ไม่ยาก จึงนําหญิงนั้นมาตั้งไว้ในตําแหน่งพี่ใหญ่.

    วันรุ่งขึ้น ชาวเมืองพากันถวายทาน ได้ปรารภเพื่อถวายโดยสลับกันไปอย่างนี้ ว่าแม้พระราชาก็จะทรงถวายในวันรุ่งขึ้น. พระราชาทรงตั้งจารบุรุษไว้แล้ว ทรงถวายให้ยิ่งกว่าทานที่ชาวเมืองถวาย. แม้ชาวเมืองก็กระทําอย่างนั้นเหมือนกัน ถวายยิ่งกว่าทานที่พระราชาทรงถวาย.

    หญิงฟ้อนทั้งหลายในเมืองราชคฤห์ กล่าวกะสามเณรหนุ่มว่า พ่อสามเณรทั้งหลาย นิมนต์รับทานที่ไม่ได้กระทําด้วยมือที่เช็ดที่ผ้าเช็ดตัวของคฤหบดีทั้งหลายแล้วชําระล้างน้ำลายและน้ำมูกเป็นต้นของเด็กอ่อน กระทําให้เป็นทานสะอาดประณีต. วันรุ่งขึ้น แม้ชาวเมืองทั้งหลายก็กล่าวกะสามเณรหนุ่มทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 161

ว่า พ่อสามเณรทั้งหลาย นิมนต์รับทาน ที่ไม่ทําด้วยข้าวสารน้ำนมน้ำส้มและเนยใสที่คร่ามาในเมืองในบ้านและนิคมเป็นต้น ไม่ได้ทําด้วยการทําลายแข้งศีรษะและหลังของผู้อื่นแล้วนํามาถวาย กระทําด้วยเนยใสและน้ำนมอย่างแท้เป็นต้นทีเดียว. ครั้นเมื่อล่วงไป ๗ ปี ๗ เดือนและ ๗ วัน อย่างนี้แล้ว ทีนั้นความวิตกนี้ได้เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ล่วงไป ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน จากวันตรัสรู้ ความวิตกได้เกิดขึ้นแล้วดังนี้.

    บทว่า อฺตโร มหาพฺรหฺมา ความว่า พรหมทูลวิงวอนให้ทรงแสดงธรรม. บทว่า จตุราสีติ อาวาสสหสฺสานิ คือ วิหาร ๘๔,๐๐๐ หลัง. วิหารเหล่านั้นทั้งหมดเป็นวิหารใหญ่รับภิกษุได้ถึงหนึ่งล้านสองแสนรูป ได้เป็นเช่นกับมหาวิหารอภัยคีรี เจดียบรรพตและจิตตลบรรพต.

    บทว่า ขนฺตี ปรมํ ตโป ความว่า ขันติคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง. บทว่า ตีติกฺขา เป็นไวพจน์ของขันตินั้นแหละ. อธิบายว่า อธิวาสนขันติ กล่าวคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างสูงสุด. บทว่า นิพฺพานํ ปรมํ ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่งโดยอาการทั้งปวง. บทว่า น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี ความว่า ผู้ใดเข้าไปทําร้ายรบกวนและเบียดเบียนผู้อื่น เพราะเว้นจากอธิวาสนขันติ ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต. ก็บาทที่ ๔ เป็นไวพจน์ของบทนั้นนั่นเอง. บทว่า น สมโณ โหติ เป็นไวพจน์ของบทนี้ว่า น หิ ปพฺพชิโต. บทว่า ปรํ วิเหยนฺโต เป็นไวพจน์ของบทนี้ว่า ปรุปฆาตี. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปรูปฆาตี คือ ทําลายศีล. เพราะศีลท่านกล่าวว่า ปรํ โดยอรรถว่าสูงสุด อธิบายว่า ก็ผู้ใดเป็นสมณะเบียดเบียนสัตว์อื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เข้าไปทําร้ายผู้อื่น คือ ทําศีลของตนให้พินาศ ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต. อีกอย่างหนึ่งผู้ใดเข้าไปทําร้ายผู้อื่น เพราะไม่มีอธิวาสนขันติ ฆ่าสัตว์อื่นโดยที่สุดแม้เหลือบและยุง ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็น

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 162

บรรพชิต. เพราะเหตุไร. เพราะยังเว้นมลทินไม่ได้. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่าเพราะเว้นมลทินของตนได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าบรรพชิตดังนี้ นี้คือลักษณะของบรรพชิต.

    แม้ผู้ใดไม่ทําร้าย ไม่ฆ่า แต่เบียดเบียนด้วยอาชญาเป็นต้น ผู้นั้นยังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ. เพราะเหตุไร. เพราะไม่สงบจากการเบียดเบียน. ดังที่ท่านกล่าวว่า ผู้ที่เรียกว่า สมณะ เพราะบาปสงบดังนี้ นี้คือลักษณะของสมณะ.

    พึงทราบในคาถาที่สอง. บทว่า สพฺพปาปสฺส ได้แก่อกุศลทุกชนิด. บทว่า อกรณํ คือไม่ให้เกิดขึ้น. บทว่า กุสลสฺส ได้แก่กุศลอันมีในภูมิ ๔. บทว่า อุปสมฺปทา คือได้เฉพาะ. บทว่า สจิตฺตปริโยทปนํ คือยังจิตของตนให้สว่าง. ก็บทนั้นย่อมมีได้โดยความเป็นพระอรหันต์ ด้วยประการดังนี้ บรรพชิตควรละบาปทั้งปวงด้วยศีลสังวร ยังกุศลให้ถึงพร้อมด้วยสมถะและวิปัสสนาทั้งหลาย ยังจิตให้ผ่องแผ้วด้วยอรหัตตผล นี้เป็นคําสอน คือ เป็นโอวาท คือ เป็นคําตักเตือนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

    พึงทราบในคาถาที่สาม บทว่า อนูปวาโท คือ ไม่เข้าไปกล่าวร้ายแก่ใครๆ ด้วยวาจา. บทว่า อนูปฆาโต คือไม่ทําร้ายด้วยกาย. บทว่า ปาฏิโมกฺเข แยกศัพท์เป็น ป อติ โมกฺขํ แปลว่า การพ้นทั่วยิ่ง คือศีลสูงสุดย่อมรักษาด้วยความวิเศษคือสุคติและย่อมให้พ้นจากภัยคือทุคติ หรือย่อมรักษาสุคติ ย่อมให้พ้นทุคติ เพราะฉะนั้น ศีลนั้นท่านเรียกว่า ปาฏิโมกฺขํ ผู้สํารวมในปาฏิโมกข์นั้น.

    บทว่า มตฺตฺุตาคือ รู้ประมาณด้วยสามารถการรับและการบริโภค. บทว่า ปนฺตฺจ สยนาสนํ ความว่า เว้นการเบียดเสียดที่นอนและที่นั่ง. ในบทนั้นพึงทราบว่า เป็นอันท่านแสดงถึงความสันโดษในปัจจัย ๔ ด้วยปัจจัย ๒

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 163

เท่านั้น. บทว่า เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ความว่าการไม่เข้าไปว่าร้าย ไม่เข้าไปทําร้ายผู้อื่น การสํารวมในปาฏิโมกข์ ความเป็นผู้รู้จัก ประมาณในการรับและการบริโภค การเสพเสนาสนะอันสงัด เพราะความเป็นผู้ชํานาญในสมบัติ ๘ นี้เป็นคําสอน เป็นโอวาท เป็นคําตักเตือนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ก็พึงทราบคาถาเหล่านี้เป็นคาถาแสดงหัวข้อธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง. ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ เพื่อทรงประกาศถึงความที่พระองค์ทรงรู้แจ้งแทงตลอดธรรมธาตุ ที่พระองค์ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรู้แจ้งแทงตลอดธรรมธาตุนี้แล้วดังนี้แล้ว จึงทรงประกาศการวิงวอนของเทวดาที่ท่านกล่าวไว้ว่า บัดนี้ แม้เทวดาทั้งหลายก็ได้กราบทูลความนี้แด่พระตถาคตดังนี้ จึงตรัสคําเป็นอาทิว่า เอกมิทาหํ ดังนี้ โดยกล่าวพิสดารตามความเป็นไปของเรื่องราวของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีนี้.

    ในบทเหล่านั้นบทว่า สุภวเน ในป่าชื่ออย่างนั้น. บทว่า สาลราชมูเล ได้แก่ควงไม้ใหญ่เป็นไม้เจ้าป่า. คําว่า คลายความพอใจในกาม ความว่า คลายด้วยสามารถถอนรากออกด้วยอนาคามิมรรค ก็พวกเทวดาผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐอยู่แล้วในพระศาสนาได้พากันกราบทูล แม้แก่พระพุทธเจ้าที่เหลือเหมือนกราบทูลแด่พระวิปัสสี. แต่บาลีมาด้วยสามารถแห่งพระวิปัสสี และแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย.

    ในเทวดาเหล่านั้น เทวดาชื่อว่า อาวิหา เพราะไม่ละ คือไม่เสื่อมจากสมบัติของตน. เทวดาชื่อ อตัปปา เพราะไม่เผาสัตว์ไรๆ . ชื่อ สุทัสสา เพราะดูงามสวยน่าเลื่อมใส. ชื่อว่า สุทัสสี เพราะน่าดูของผู้พบเห็น. ชื่อ อกนิฏฐา เพราะเป็นใหญ่ด้วยคุณทั้งปวงและด้วยสมบัติในภพ ไม่มีความน้อยในภพนี้. ควรประชุมภาณวารทั้งหลายไว้ในที่นี้. ก็ในสูตรนี้ท่านกล่าว ๓ ภาณวารด้วยสามารถเรื่องราวของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ท่าน

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 164

กล่าวด้วยสามารถเรื่องราว แม้ของพระสิขีเป็นต้น, ก็เหมือนของพระวิปัสสี. แต่บาลีย่อไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายตรัส ๒๑ ภาณวาร ด้วยสามารถพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ด้วยประการฉะนี้ เทวดาชั้นอวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา ก็กล่าวเหมือนอย่างนั้น. แม้ทั้งหมดก็เป็น ๒๖๐๐ ภาณวาร พระสูตรอื่นในพุทธวจนะอันเป็นไตรปิฎก ไม่มีจํานวน ๒๖๐๐ ภาณวาร พึงทราบว่า พระสูตรนี้ชื่อว่าสุตตันตราชสูตร. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงกําหนดแม้อนุสนธิทั้งสองต่อจากนี้ จึงตรัสว่า อิติโข ภิกฺขเว ดังนี้ เป็นอาทิ. บททั้งหมดนั้นมีใจความง่ายอยู่แล้ว.

    จบอรรถกถามหาปทานสูตรในทีฆนิกาย ชื่อ สุมังคลวิลาสินีด้วย ประการฉะนี้.

    จบสูตรที่ ๑