๑. พรหมชาลสูตร เรื่องทิฏฐิ ๖๒
[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 1
๑. พรหมชาลสูตร
เรื่องทิฏฐิ ๖๒ (สุปปิยปริพาชกกับศิษย์) 1/1
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 11]
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 1
พระสุตตันตปิฎก
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
เล่มที่ ๑
๑. พรหมชาลสูตร
เรื่องทิฏฐิ ๖๒
(๑) ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดําเนินทางไกลระหว่าง กรุงราชคฤห์ และ เมืองนาลันทา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป แม้ สุปปิยปริพาชก ก็เดินทางไกลระหว่าง กรุงราชคฤห์ และ เมืองนาลันทา พร้อมด้วยพรหมทัตตมาณพผู้เป็นอันเตวาสิก ได้ยินว่า ในระหว่างทางนั้น สุปปิยปริพาชก กล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย ส่วนพรหมทัตตมาณพ อันเตวาสิกของสุปปิยปริพชก กล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย อาจารย์และอันเตวาสิกทั้งสองนั้น มี ถ้อยคําเป็นข้าศึกแก่กันและกันโดยตรงฉะนี้ เดินตามพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลังๆ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 2
ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าประทับพักแรมราตรีหนึ่ง ณ พระตํานักหลวงในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. แม้สุปปิยปริพาชกก็ได้เข้าพักแรมราตรีหนึ่ง ใกล้พระตําหนักหลวงในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา กับพรหมทัตตมาณพผู้เป็นอันเตวาสิก. ได้ยินว่า แม้ ณ ที่นั้น สุปปิยปริพาชกก็ยังกล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย. ส่วนพรหมทัตตมาณพอันเตวาสิกของสุปปิยปริพาชก คงกล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย. อาจารย์และอันเตวาสิกทั้งสองนั้น มีถ้อยคําเป็นข้าศึกแก่กันและกันโดยตรงฉะนี้ เดินตามพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลังๆ .
ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง นั่งประชุมกัน ณ โรงกลม สนทนากันว่า ท่านทั้งหลาย เท่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ผู้เห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงทราบความที่หมู่สัตว์มีอัธยาศัยต่างๆ กันได้เป็นอย่างดีนี้ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ความจริงสุปปิยปริพาชกผู้นี้ กล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย ส่วนพรหมทัตตมาณพ อันเตวาสิกของสุปปิยปริพาชกกล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยายอาจารย์และอันเตวาสิกทั้งสองนี้ มีถ้อยคําเป็นข้าศึกแก่กันและกันโดยตรงฉะนี้ เดินตามพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลังๆ .
ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบคําสนทนาของภิกษุเหล่านั้นแล้ว เสด็จไปยังโรงกลมประทับนั่ง ณ อาสนะที่เขาจัดถวาย.ครั้นประทับนั่งแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 3
ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันถึงเรื่องอะไร และเรื่องอะไรที่พวกเธอพูดค้างไว้.เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า พระเจ้าข้า ณ ที่นี้เมื่อพวกข้าพระองค์ลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง นั่งประชุมกันอยู่ที่โรงกลม สนทนากันว่า ท่านทั้งหลาย เท่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ผู้เห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงทราบความที่หมู่สัตว์มีอัธยาศัยต่างๆ กันได้เป็นอย่างดีนี้ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ความจริง สุปปิยปริพาชกผู้นี้กล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม หรือติพระสงฆ์ โดยอเนกปริยายส่วนพรหมทัตตมาณพอันเตวาสิกของสุปปิยปริพาชก กล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม หรือชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย อาจารย์และอันเตวาสิกทั้งสองนี้ มีถ้อยคําเป็นข้าศึกแก่กันและกันโดยตรงฉะนี้ เดินตามพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลังๆ พระเจ้าข้า เรื่องนี้แล ที่พวกข้าพระองค์พูดค้างไว้ พอดีพระองค์เสด็จมาถึง
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม หรือติพระสงฆ์ ก็ตาม เธอทั้งหลายไม่ควรทําความอาฆาต โทมนัส แค้นใจในคนเหล่านั้น.ดูก่อนภิกษุทั้งหลายคนเหล่าอื่นพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ก็ตาม ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคือง หรือจักน้อยใจในคนเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น อันตรายพึงมีแก่เธอทั้งหลายนี่แหละ.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม หรือติพระสงฆ์ ก็ตาม ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคืองหรือจักน้อยใจในคนเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรู้คําที่เป็นสุภาษิต ของคนเหล่าอื่นได้ละหรือ.ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 4
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม หรือติพระสงฆ์ ก็ตาม ในคําที่เขากล่าวตินั้น คําที่ไม่จริง เธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความไม่เป็นจริงว่า นั่นไม่จริงแม้เพราะเหตุนี้ นั่นไม่แท้แม้เพราะเหตุนี้ แม้ข้อนั่นก็ไม่มีในเราทั้งหลายและในเราทั้งหลายก็ไม่มีข้อนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม หรือชมพระสงฆ์ ก็ตาม เธอทั้งหลายไม่ควรทําความเพลิดเพลินดีใจ เบิกบานใจในคําชมนั้น.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม หรือชมพระสงฆ์ ก็ตาม ถ้าเธอทั้งหลายจักเพลิดเพลิน ดีใจ เบิกบานใจในคําชมนั้น ด้วยเหตุนั้น อันตรายพึงมีแก่เธอทั้งหลายนี่แหละ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม หรือชมพระสงฆ์ ก็ตาม ในคําที่เขากล่าวชมนั้น คําที่จริง เธอทั้งหลายควรปฏิญาณให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า นั่นจริงแม้เพราะเหตุนี้ แม้ข้อนั่นก็มีในเราทั้งหลาย และในเราทั้งหลายก็มีข้อนั้น.
จุลศีล
(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต พึงกล่าวด้วยประการ นั่นมีประมาณน้อยนัก ยังต่ํานัก เป็นเพียงศีล.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่ปุถุชนกล่าวชมตถาคต ... เพียงศีลนั้นเป็นไฉน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 5
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต พึงกล่าวชมอย่างนี้ว่า
๑. พระสมณโคดม ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางสาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่.
๒. พระสมณโคดม ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่.
๓. พระสมณโคดม ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกลเว้นจากเมถุน ซึ่งเป็นเรื่องของชาวบ้าน.
(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต พึงกล่าวชมอย่างนี้ว่า
๔. พระสมณโคดม ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดคําจริง ดํารงคําสัตย์ มีถ้อยคําเป็นหลักฐาน ควรเชื่อ ไม่พูดลวงโลก.
๕. พระสมณโคดม ละคําส่อเสียด เว้นขาดจากคําส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่บอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่บอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกกัน สมานคนที่แตกกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนที่พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนที่พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนที่พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คําที่ทําให้คนพร้อมเพรียงกัน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 6
๖. พระสมณโคดม ละคําหยาบ เว้นขาดจากคําหยาบกล่าวแต่คําที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นคําของชาวเมือง คนโดยมากรักใคร่ ชอบใจ.
๗. พระสมณโคดม ละคําเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคําเพ้อเจ้อพูดถูกกาล พูดคําจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคํามีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กําหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร.
(๕) ๘. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม.
(๖) ๙. พระสมณโคดม ฉันอาหารหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดการฉันในเวลาวิกาล.
๑๐. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการฟ้อนรําขับร้องประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึก.
๑๑. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการทัดทรงประดับตกแต่งร่างกาย ด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิว ซึ่งเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.
๑๒. พระสมณโคดม เว้นขาดจากที่นอนที่นั่งสูง และที่นอนที่นั่งใหญ่.
๑๓. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับทอง และเงิน.
(๗) ๑๔. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับธัญญชาติดิบ.
๑๕. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
๑๖. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับสตรี และเด็กหญิง.
๑๗. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับทาสี และทาส
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 7
๑๘. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับแพะ และแกะ.
๑๙. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับไก่ และสุกร.
๒๐. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
๒๑. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับนา และไร่.
(๘) ๒๒. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเป็นทูต และการรับใช้.
๒๓. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการซื้อ และการขาย.
๒๔. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยโลหะ และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด.
๒๕. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.
๒๖ พระสมณโคดม เว้นขาดจากการฟัน การฆ่า การจองจํา การตีชิง การปล้น การจี้.
จบจุลศีล
มัชฌิมศีล
(๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต พึงกล่าวชมอย่างนี้ว่า
๑. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจําพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 8
แล้ว ยังประกอบการพรากพืชคาม และภูตคามเห็นปานนี้อยู่เนืองๆ คือพืชเกิดแต่เง่า พืชเกิดแต่ลําต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ด เป็นที่ห้า.
(๑๐) ๒. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการบริโภคของที่สะสมไว้อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจําพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังประกอบการบริโภคของที่สะสมไว้เห็นปานนี้อยู่เนืองๆ คือสะสมข้าว สะสมน้ำ สะสมผ้า สะสมยาน สะสมที่นอน สะสมเครื่องประเทืองผิวสะสมของหอม สะสมอามิส.
(๑๑) ๓. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจําพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายดูการเล่น ที่เป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้อยู่เนืองๆ คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคม มหรสพมีการรําเป็นต้น การเล่านิยาย การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่นตีกลองฉากภาพบ้านเมืองที่สวยงาม การเล่นของคนจัณฑาล การเล่นไม้สูง การเล่นหน้าศพ ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ ชนนกกระทา รํากระบี่กระบอง มวยชก มวยปล้ำ สนามรบการตรวจพล การจัดกระบวนทัพ การดูกองทัพ.
(๑๒) ๔. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการขวนขวายเล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจําพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายเล่นการพนัน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเห็นปานนี้อยู่เนืองๆ คือ เล่นหมากรุกแถวละแปดตา แถวละสิบตา เล่นหมากเก็บ เล่นดวด เล่นหมากไหว เล่น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 9
โยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง เล่นกําทาย เล่นสะกา เล่นเป่าใบไม้ เล่นไถนาน้อยๆ เล่นหกคะเมน เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถน้อยๆ เล่นธนูน้อยๆ เล่นทายอักษร เล่นทายใจ เล่นเลียนคนพิการ.
(๑๓) ๕. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจําพวกฉัน โภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงให้เห็นปานนี้อยู่เนืองๆ คือเตียงมีเท้าเกินประมาณ เตียงมีเท้าทําเป็นรูปสัตว์ร้าย พรมทําด้วยขนสัตว์ เครื่องลาดทําด้วยขนแกะอันสวยงาม เครื่องลาดทําด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดทําด้วยขนแกะเป็นรูปดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดทําด้วยขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ต่างๆ เครื่องลาดทําด้วยขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดทําด้วยขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทําด้วยทอง และเงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทอง และเงิน เครื่องลาดขนแกะ และจุหญิงฟ้อนได้ ๑๖ คน เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดที่ทําด้วยหนังเสือ เครื่องลาดอย่างดี ที่ทําด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนสองข้าง.
(๑๔) ๖. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการประดับตกแต่งร่างกาย อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจําพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประดับตกแต่งร่างกายเห็นปานนี้อยู่เนืองๆ คืออบตัว ไคลอวัยวะ อาบน้ำหอม นวด ส่องกระจก แต้มตา ทัดดอกไม้ ประเทืองผิว ผัดหน้า ทาปาก ประดับข้อมือ สวมเกี้ยว ใช้ไม้เท้า ใช้กลักยา ใช้ดาบ ใช้มีดสองคม ใช้ร่ม สวมรองเท้าสวยงาม ติดกรอบหน้า ปักปิน ใช้พัดวาลวีชนี นุ่งห่มผ้าขาว นุ่งห่มผ้ามีชายยาว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 10
(๑๕) ๗. พระสมณโคดม เว้นขาดจากติรัจฉานกถา อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจําพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบดิรัจฉานกถาเห็นปานนี้อยู่เนืองๆ คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอํามาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องสงคราม เรื่องข้าว เรื่องน้ำเรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้า เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญ และความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ .
(๑๖) ๘. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการพูดแก่งแย่งกันอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจําพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังพูดแก่งแย่งกันเห็นปานนี้อยู่เนืองๆ คือ ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก คําพูดของข้าพเจ้ามีประโยชน์ ของท่านไม่มีประโยชน์ คําที่ควรกล่าวก่อน ท่านกล่าวทีหลัง คําที่ควรจะกล่าวทีหลัง ท่านกล่าวก่อน ข้อที่ท่านเคยช่ําชองมาได้ผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้ ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ.
(๑๗) ๙. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเป็นทูต และการรับใช้อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจําพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประกอบการเป็นทูต และการรับใช้เห็นปานนี้อยู่เนืองๆ คือรับเป็นทูตของพระราชา มหาอํามาตย์ของพระราชา กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี และกุมารว่า จงไปที่นี้ จงไปที่โน้น จงนําเอาสิ่ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 11
นี้ไป จงนําเอาสิ่งในที่โน้นมา ดังนี้.
(๑๘) ๑๐. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการพูดหลอกลวง และการพูดเลียบเคียง อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจําพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว พูดเลียบเคียง พูดหว่านล้อม พูดและเล็ม แสวงหาด้วยลาภ
จบมัชฌิมศีล
มหาศีล
(๑๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต พึงกล่าวชมอย่างนี้ว่า
๑. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจําพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายอุปบาต ทํานายฝัน ทํานายลักษณะ ทํานายหนูกัดผ้า ทําพิธีบูชาไฟ ทําพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทําพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทําพิธีซัดรําบูชาไฟ ทําพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทําพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทําพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทําพิธีเสกเป่าบูชาไฟ ทําพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะพื้นที่ ดูลักษณะที่ไร่นาเป็นหมอปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 12
เสกกันลูกศร เป็นหมอดูรอยเท้าสัตว์
(๒๐) ๒. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจําพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้คือ ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะไม้พลอง ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะศาสตรา ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนู ทายลักษณะอาวุธ ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส ทายลักษณะทาสี ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ ทายลักษณะโคทาย ลักษณะแพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนกกระทา ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะช่อฟ้า ทายลักษณะเต่า ทายลักษณะมฤค.
(๒๑) ๓. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจําพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก พระราชาภายในจักเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอกจักเข้าประชิด พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอกจักมีชัย พระราชาภายในจักปราชัย พระราชาพระองค์นี้จักมีชัย พระราชาพระองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุนี้ หรือเหตุนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 13
(๒๒) ๔. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจําพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้คือ พยากรณ์ว่า จักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทางดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักขึ้น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักตก ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักมัวหมอง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักกระจ่าง จันทรคราสจักมีผลอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลอย่างนี้ นักษัตรคราสจักมีผลอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลอย่างนี้ อุกกาบาตจักมีผลอย่างนี้ ดาวหางจักมีผลอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผลอย่างนี้ ฟ้าร้องจักมีผลอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรตกจักมีผลอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรมัวหมองจักมีผลอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลอย่างนี้.
(๒๓) ๕. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจําพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 14
พยากรณ์ว่า จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีภิกษาหาได้ง่าย จักมีภิกษาหาได้ยาก จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสําราญหาโรคมิได้ หรือนับคะแนน คํานวณ นับประมวล แต่งกาพย์ โลกายตศาสตร์.
(๒๔) ๖. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจําพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้าง ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง ร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอทรงกระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้าบวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ ทําพิธีเชิญขวัญ.
(๒๕) ๗. พระสมณะโคดมเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจําพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิด ด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้คือ ทําพิธีบนบาน ทําพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน ทํากะเทยให้กลับเป็นชาย ทําชายให้กลายเป็นกะเทย ทําพิธีปลูกเรือน ทําพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทําพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสํารอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 15
ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทําการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปุถุชนกล่าวชมตถาคตด้วยประการใดซึ่งมีประมาณน้อยนัก ยังต่ํานัก เป็นเพียงศีลนั้น เท่านั้นแล.
จบมหาศีล
ทิฏฐิ ๖๒
(๒๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีธรรมอย่างอื่นอีกแล ที่ลึกซึ้งเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทําให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเหล่านั้น ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทําให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ เหล่านั้นเป็นไฉน.
ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ ๑๘
(๒๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งกําหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นไปตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคําแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ. ก็สมณพราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 16
ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงกําหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นไปตามขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคําแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยวัตถุ ๑๘ประการ
สัสสตทิฏฐิ ๔
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะว่า เที่ยง บัญญัติอัตตา และโลกว่าเที่ยง ด้วยวัตถุ ๔ ประการ. ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตา และโลก ว่าเที่ยง ด้วยวัตถุ๔ ประการ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น (บริสุทธิ์ ผุดผ่องไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจากอุปกิเลส) ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ระลึกชาติได้ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายร้อยชาติบ้าง หลายแสนชาติบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น มีกําหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 17
อายุเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศฉะนี้. เขากล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง เป็นหมัน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระเนียดที่ตั้งอยู่ ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไปย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมอุบัติ แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอ คงมีอยู่แท้.
ข้อนี้เพราะเหตุไร.
เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ จึงสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกชาติได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้างร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายร้อยชาติบ้าง หลายพันชาติบ้าง หลายแสนชาติบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้นแม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้. ด้วยการบรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง เป็นหมัน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระเนียดที่ตั้งอยู่ ส่วนสัตว์เหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 18
ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมอุบัติ แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่๑ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตา และโลกว่าเที่ยง.
(๒๘) ๒. อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตา และโลก ว่าเที่ยง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน ได้สังวัฏฏวิวัฏฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าง สามบ้าง สี่บ้าง ห้าบ้าง สิบบ้างว่า ในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากกัปนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากกัปนั้นแล้วได้มาเกิดในกัปนี้ ย่อมระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้. เขากล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยงเป็นหมัน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระเนียดที่ตั้งอยู่ ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมอุบัติ แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 19
เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบแล้ว สัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้ สังวัฏฏวิวัฏฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าง สามบ้าง สี่บ้าง ห้าบ้าง สิบบ้าง ว่ากัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้นมีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากกัปนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากกัปนั้นแล้ว ได้มาเกิดในกัปนี้ ย่อมระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้. ด้วยการสัมผัสคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตา และโลกเที่ยง เป็นหมัน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระเนียดที่ดังอยู่ ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมอุบัติ แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่๒ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตา และโลกว่าเที่ยง.
(๒๙) ๓. อนึ่ง ในฐานะที่๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตา และโลก ว่าเที่ยง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 20
เนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สิบสังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากกัปนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากกัปนั้นแล้วได้มาเกิดในกัปนี้ ย่อมระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้. เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง เป็นหมัน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระเนียดที่ตั้งอยู่ ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมอุบัติ แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร.
เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สิบสังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่าง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 21
นั้นๆ มีกําหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากกัปนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้นแม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเท่านั้น ครั้นจุติจากกัปนั้นแล้วได้มาเกิดในกัปนี้ ย่อมระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้. ด้วยการสัมผัสคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตา และโลกเที่ยง เป็นหมันตั้งมั่นดุจยอดภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระเนียดที่ตั้งอยู่ ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมอุบัติ แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่๓ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตา และโลก ว่าเที่ยง.
(๓๐) ๔. อนึ่ง ในฐานะที่ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตา และโลก ว่าเที่ยง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักตรอง กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิดได้อย่างนี้ว่า อัตตา และโลกเที่ยง เป็นหมัน ตั้งมั่นดุจยอดภูเขาตั้งมั่นดุจเสาระเนียดที่ตั้งอยู่ ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมอุบัติ แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตา และโลก ว่าเที่ยง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตา และโลก ว่าเที่ยง ด้วยวัตถุ ๔ นี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 22
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตา และโลก ว่าเที่ยง สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยวัตถุ๔ นี้เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ อย่างนี้นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งวาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด และรู้ชัดยิ่งไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย และเมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทของตนเอง รู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษแห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยากรู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทําให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.
จบภาณวารที่หนึ่ง
เอกัจจสัสสตทิฏฐิ ๔
(๓๑) ๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตา และโลกว่า บางอย่าง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 23
เที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยวัตถุ ๔. ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นอาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยวัตถุ ๔
๕.๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บางครั้งบางคราวมีสมัยที่โลกนี้พินาศโดยล่วงไปช้านาน เมื่อโลกกําลังพินาศอยู่ เหล่าสัตว์โดยมากย่อมเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม. สัตว์เหล่านั้นได้สําเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีในตัวเอง เที่ยวไปในอากาศ อยู่ในสถานที่สวยงาม ดํารงอยู่ในภพนั้นตลอดกาลช้านาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บางครั้งบางคราวมีสมัยที่โลกนี้กลับเจริญโดยล่วงไปช้านาน เมื่อโลกกําลังเจริญอยู่ ปรากฏว่าวิมานพรหมว่างเปล่า. ครั้งนั้น สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นอาภัสสรพรหมเพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงวิมานพรหมที่ว่างเปล่า. แม้สัตว์ผู้นั้นก็ได้สําเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีในตัวเอง เที่ยวไปในอากาศได้ อยู่ในสถานที่สวยงาม ดํารงอยู่ในภพนั้นตลอดกาลช้านาน.เพราะสัตว์ผู้นั้นอยู่ในภพนั้นแต่ผู้เดียวเป็นเวลานาน จึงเกิดความกระสันดิ้นรนขึ้นว่า โอหนอ แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง.
ต่อมาสัตว์เหล่าอื่นก็จุติจากชั้นอาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงพรหมวิมาน อันเป็นสหายของสัตว์ผู้นั้น.แม้สัตว์เหล่านั้นก็ได้สําเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีในตัวเองเที่ยวไปในอากาศได้ อยู่ในสถานที่สวยงาม ดํารงอยู่ในภพนั้นตลอดกาลช้านาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์ที่เกิดก่อนมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้ใช้อํานาจ เป็นอิสระ เป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 24
ผู้สร้าง เป็นผู้เนรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้มีอํานาจเป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้ว และกําลังเป็น สัตว์เหล่านี้เราเนรมิตขึ้นข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะเราได้มีความคิดอย่างนี้มาก่อนว่า โอหนอแม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง. ความตั้งใจของเราเป็นเช่นนี้และสัตว์เหล่านี้ก็ได้มาเป็นอย่างนี้แล้ว.
แม้พวกสัตว์ที่เกิดภายหลัง ก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญนี้แลเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้เป็นผู้ใช้อํานาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้เนรมิต เป็นผู้ประเสริฐเป็นผู้บงการ เป็นผู้มีอํานาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้ว และกําลังเป็น พวกเราอันพระพรหมผู้เจริญองค์นี้เนรมิตแล้ว. ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวกเราได้เห็นพระพรหมผู้เจริญองค์นี้ เกิดในที่นี้ก่อนส่วนพวกเราเกิดมาภายหลัง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์ที่เกิดก่อน มีอายุยืนกว่า มีผิวพรรณงามกว่า มีศักดิ์ใหญ่กว่า ส่วนสัตว์ที่เกิดภายหลังมีอายุน้อยกว่า มีผิวพรรณทรามกว่า มีศักดิ์น้อยกว่า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่ง จุติจากหมู่นั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาทอาศัยมนสิการโดยชอบแล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่นตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ เกินกว่านั้นไประลึกไม่ได้. เขากล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ใดแลเป็นพรหมผู้เจริญ เป็นมหาพรหม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 25
เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้ใช้อํานาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้เนรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้มีอํานาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้ว และกําลังเป็น พระพรหมผู้เจริญใดเนรมิตพวกเรา พระพรหมผู้เจริญนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปอย่างนั้นทีเดียว. ส่วนพวกเราที่พระพรหมผู้เจริญเนรมิตแล้วนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยังยืน มีอายุน้อย มีความเคลื่อนเป็นธรรมดาจึงมาเป็นอย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้เป็นฐานะที่ ๑ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตา และโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.
(๓๒) ๕.๒ อนึ่ง ในฐานะที่๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยงๆ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเทวดาชื่อว่าขิฑฑาปโทสิกะ เทวดาพวกนั้นพากันหมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา. เมื่อเทวดาพวกนั้นพากันหมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือ การสรวลเส และการเล่นหัวจนเกินเวลา ก็หลงลืมสติ เทวดาพวกนั้นจึงจุติจากหมู่นั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากหมู่นั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แล้วอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 26
ก่อนนั้นได้ เกินกว่านั้นไประลึกไม่ได้. เขากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพวกเทวดาผู้มิใช่เหล่า ขิฑฑาปโทสิกะ ไม่หมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา. เมื่อเทวดาพวกนั้นไม่พากันหมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลาก็ไม่หลงลืมสติ. เพราะไม่หลงลืมสติ เทวดาพวกนั้นจึงไม่จุติจากหมู่นั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปอย่างนั้นทีเดียว. ส่วนพวกเราได้เป็นขิฑฑาปโทสิกะหมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา.เมื่อพวกเรานั้นพากันหมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา ก็หลงลืมสติ. เพราะหลงลืมสติ พวกเราจึงจุติจากหมู่นั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย มีจุติเป็นธรรมดา ต้องมาเป็นอย่างนี้ ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่าบางอย่างเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตา และโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.
(๓๓) ๕.๓ อนึ่ง ในฐานะที่๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไรปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตา และโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเทวดาชื่อว่ามโนปโทสิกะ. เทวดาพวกนั้นมักเพ่งโทษกัน และกันเกินขอบเขต. เมื่อเทวดาพวกนั้นเพ่งโทษกัน และกันเกินขอบเขต ย่อมคิดมุ่งร้ายกัน และกัน เมื่อต่างคิดมุ่งร้ายกัน และกัน จึงลําบากกายลําบากใจ พากันจุติจากหมู่นั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 27
ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากหมู่นั้นแล้ว มาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบแล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ เกินกว่านั้นไประลึกไม่ได้. เขากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพวกเทวดาผู้มิใช่เหล่ามโนปโทสิกะ ไม่เพ่งโทษกันและกันเกินขอบเขต. เมื่อเทวดาพวกนั้นไม่เพ่งโทษกันและกันเกินขอบเขต ย่อมไม่คิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างไม่คิดมุ่งร้ายกันและกัน จึงไม่ลําบากกายไม่ลําบากใจ. เทวดาพวกนั้นจึงไม่จุติจากหมู่นั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืนคงทน มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปอย่างนั้นทีเดียว. ส่วนพวกเราได้เป็นเหล่ามโนปโทสิกะ มัวเพ่งโทษกัน และกันเกินขอบเขต. เมื่อพวกเรานั้นพากันเพ่งโทษกันเกินขอบเขต . ย่อมคิดมุ่งร้ายกัน และกัน เมื่อพวกเราต่างคิดมุ่งร้ายกัน และกัน จึงลําบากกายลําบากใจ. พวกเราจุติจากหมู่นั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อยมีจุติเป็นธรรมดา ต้องมาเป็นอย่างนี้ เช่นนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๓ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตา และโลกว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.
(๓๔) ๘.๔ อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตา และโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 28
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักตรอง กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ตรองได้อย่างนี้ว่า สิ่งที่เรียกว่าตาก็ดี หูก็ดี จมูกก็ดี ลิ้นก็ดี กายก็ดี นี้ชื่อว่าอัตตา เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา. ส่วนสิ่งที่เรียกว่าจิต หรือใจ หรือวิญญาณ นี้ชื่อว่าอัตตาเป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปอย่างนั้นทีเดียว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่๔ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว จึงมีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตา และโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีวาทะ ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาื และโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยวัตถุ ๔ นี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตา และโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยวัตถุ ๔ นี้เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ อย่างนี้นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งวาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด และรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย. และเมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะตนเอง รู้ความเกิด ความดับ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 29
คุณ โทษ แห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทําให้แจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่งเอง แล้วสอนผู้อันให้รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.
อันตานันติกทิฏฐิ ๔
(๓๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะว่า โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด บัญญัติว่าโลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด ด้วยวัตถุ ๔.
ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด และไม่มีสุด ด้วยวัตถุ ๔.
๙.๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบแล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ย่อมมีความสําคัญในโลกว่ามีที่สุด. เขากล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น จึงมี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 30
ความสําคัญในโลกว่ามีที่สุด. ด้วยการสัมผัสคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่โลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีวาทะว่า โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด.
(๓๖) ๑๐.๒ อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด บัญญัติว่าโลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ย่อมมีความสําคัญในโลกว่าไม่มีที่สุด.เขากล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดรอบมิได้ สมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่า โลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ นั้นเป็นเท็จ. โลกนี้ไม่มีที่สุดหาที่สุดรอบมิได้. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น จึงมีความสําคัญในโลก ว่าไม่มีที่สุด. ด้วยการสัมผัสคุณวิเศษนี้ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดรอบมิได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้เป็นฐานะที่ ๒ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีวาทะว่า โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด.
(๓๗) ๑๑.๓ อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 31
มีที่สุด และไม่มีที่สุด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ย่อมมีความสําคัญในโลกว่าด้านบนด้านล่างมีที่สุด ด้านขวางไม่มีที่สุด. เขากล่าวอย่างนี้ว่า โลกนี้ทั้งมีที่สุด ทั้งไม่มีที่สุด สมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่าโลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ นั้นเป็นเท็จ. แม้สมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่า โลกนี้ไม่มีที่สุดหาที่สุดรอบมิได้ นั้นก็เป็นเท็จ. โลกนี้ ทั้งมีที่สุด ทั้งไม่มีที่สุด.ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลสอาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น จึงมีความสําคัญในโลกว่า ด้านบนด้านล่างมีที่สุด ด้านขวางไม่มีที่สุด. ด้วยการสัมผัสคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่โลกนี้ทั้งมีที่สุด ทั้งไม่มีที่สุด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๓ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีวาทะว่า โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด.
(๓๘) ๑๒.๔ อนึ่งในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักตรองกล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ตรอง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 32
ได้อย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ สมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่า โลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบ แม้นั้นก็เป็นเท็จ. แม้สมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดรอบมิได้ แม้นั้นก็เป็นเท็จ. ถึงสมณพราหมณ์พวกที่กล่าวว่าโลกนี้ ทั้งมีที่สุด ทั้งไม่มีที่สุด แม้นั้นก็เป็นเท็จ. โลกนี้มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีวาทะว่า โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีวาทะว่า โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด บัญญัติว่าโลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด ด้วยวัตถุ ๔ นี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีวาทะว่า โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยวัตถุ ๔ นี้เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน ๔ อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งวาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด และรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย. และเมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะตนเอง รู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ แห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 33
รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทําให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.
อมราวิกเขปิกทิฏฐิ ๔
(๓๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยวัตถุ๔. ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญพวกนั้น อาศัยอะไร จึงมีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยวัตถุ ๔.
๑๓.๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล. เขามีความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล ก็ถ้าเราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล จะพึงพยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล หรือนี้เป็นอกุศล คําพยากรณ์ของเรานั้นพึงเป็นคําเท็จ คําเท็จของเรานั้นพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา ความเดือดร้อนนั้นพึงเป็นอันตรายแก่เรา. ด้วยเหตุนี้ เขาจึงไม่พยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เพราะกลัวการกล่าวเท็จ เพราะเกลียดการกล่าวเท็จ เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้นๆ จึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ ที่สมณพราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 34
พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้นๆ จึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.
(๔๐) ๑๔.๒ อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล. เขามีความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล ก็ถ้าเราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล จะพึงพยากรณ์ว่านี้เป็นกุศล หรือนี้เป็นอกุศล ความพอใจ ความติดใจ ความเคืองใจหรือความขัดใจในข้อนั้นพึงมีแก่เรา ข้อที่มีความพอใจ ความติดใจ ความเคืองใจ หรือความขัดใจนั้น จะพึงเป็นอุปาทานของเรา อุปาทานของเรานั้นจะพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา ความเดือดร้อนของเรานั้นจะพึงเป็นอันตรายแก่เรา. ด้วยเหตุฉะนี้ เขาจึงไม่พยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เพราะกลัวอุปาทาน เพราะเกลียดอุปาทาน เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้นๆ จึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้นๆ จึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.
(๔๑) ๑๕.๓ อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้นๆ ย่อม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 35
กล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล. เขามีความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล ก็ถ้าเราไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล จะพึงพยากรณ์ว่านี้เป็นกุศล หรือนี้เป็นอกุศล ก็สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียด ชํานาญการโต้วาทะ เป็นดุจคนแม่นธนู มีอยู่แล สมณพราหมณ์เหล่านั้น เหมือนจะเที่ยวทําลายวาทะด้วยปัญญา เขาจะพึงซักไซ้ ไล่เลียงสอบสวนเราในข้อนั้น เราไม่อาจโต้ตอบเขาได้ การที่เราโต้ตอบเขาไม่ได้นั้น จะเป็นความเดือดร้อนแก่เรา ความเดือดร้อนของเรานั้น จะพึงเป็นอันตรายแก่เรา. ด้วยเหตุฉะนี้ เขาจึงไม่พยากรณ์ว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เพราะกลัวอุปาทาน เพราะเกลียดอุปาทาน เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้นๆ จึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๓ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้น. จึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.
(๔๒) ๑๖.๔ อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ เป็นคนเขลา งมงาย. เพราะเป็นคนเขลา เพราะเป็นคนงมงาย เมื่อถูกถาม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 36
ปัญหาในเรื่องนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ถ้าท่านถามเราอย่างนี้ว่า โลกอื่นมีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า โลกอื่นมี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า โลกอื่นมี แต่ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ถ้าท่านถามเราว่า โลกอื่นไม่มีหรือ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า โลกอื่นมีด้วย ไม่มีด้วย ถ้าเรามีความเห็นว่าไม่มี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า ไม่มี ถ้าท่านถามเราว่า โลกอื่นมีด้วยไม่มีด้วยหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีด้วย ไม่มีด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์ว่ามีด้วย ไม่มีด้วย . . . . ถ้าท่านถามเราว่า โลกหน้ามีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่หรือถ้าเรามีความเห็นว่า มีก็มิใช่ไม่มีก็มิใช่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีก็มิใช่ไม่มีก็มิใช่ ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เกิดผุดขึ้นมีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มี . . . . ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เกิดผุดขึ้นไม่มีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า ไม่มี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า ไม่มี . . . . .ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เกิดผุดขึ้น มีด้วย ไม่มีด้วยหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีด้วย ไม่มีด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีด้วย ไม่มีด้วย . . ถ้าท่านถามเราว่า สัตว์เกิดผุดขึ้นมีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ . .ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทําดีทําชั่ว มีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่ามี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มี . . . . ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทําดีทําชั่วไม่มีหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า ไม่มี เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า ไม่มี . . . . ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทําดีทําชั่ว มีด้วย ไม่มีด้วยหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีด้วย ไม่มีด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีด้วย ไม่มีด้วย . . . . ถ้าท่านถามเราว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทําดี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 37
ทําชั่ว มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีก็มิใช่ ไม่มีก็มิใช่ . . . . . ถ้าท่านถามเราว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย สัตว์มีอยู่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีอยู่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีอยู่ . . . . . ถ้าท่านถามเราว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย สัตว์ไม่มีอยู่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า ไม่มีอยู่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า ไม่มีอยู่ . . .ถ้าท่านถามเราว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย สัตว์มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วยหรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วย เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วย. . . . ถ้าท่านถามเราว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย สัตว์มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ ถ้าเรามีความเห็นว่า มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ เราก็จะพึงพยากรณ์ว่า มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ แต่ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวด้วยวัตถุ ๔ นี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ ๔ ประการนี้เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 38
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งวาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด และรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย. และเมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิท เฉพาะตนเอง รู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ แห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทํารู้แจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.
อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ๒
(๔๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีความเห็นว่า อัตตา และโลกเกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตา และโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยวัตถุ ๒. ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญพวกนั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีความเห็นว่า อัตตา และโลกเกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตา และโลก ว่าเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยวัตถุ ๒
๑๗.๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเทวดาชื่ออสัญญีสัตว์ ก็และเทวดาเหล่านั้น ย่อมจุติจากหมู่นั้นเพราะความเกิดขึ้นแห่งสัญญา.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากหมู่นั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ออกจากเรือนบวชเป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 39
บรรพชิต เมื่อออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยการประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วสัมผัสเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องให้จิตตั้งมั่น ย่อมระลึกถึงความเกิดขึ้นแห่งสัญญาได้ เกินกว่านั้นไประลึกไม่ได้. เขากล่าวอย่างนี้ว่า อัตตา และโลกเกิดขึ้นลอยๆ . ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะเมื่อก่อนข้าพเจ้าไม่ได้มีแล้ว เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้านั้นก็ไม่มีจึงน้อมไปเพื่อความเป็นผู้สงบ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว มีความเห็นว่า อัตตา และโลกเกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตา และโลก ว่าเกิดขึ้นลอยๆ .
(๔๔) ๑๘.๒ อนึ่งในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีความเห็นว่า อัตตา และโลกเกิดขึ้นลอยๆ บัญญัติอัตตา และโลก ว่าเกิดขึ้นลอยๆ . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งในโลกนี้เป็นนักตรึก เป็นนักตรอง. เขากล่าวแสดงปฏิภาณเอาเองตามที่ตรึกได้ ตามที่ตรองได้อย่างนี้ว่า อัตตา และโลกเกิดขึ้นลอยๆ . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีความเห็นว่า อัตตา และโลกเกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตา และโลก ว่าเกิดขึ้นลอยๆ .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์มีความเห็นว่า อัตตา และโลกเกิดขึ้นลอยๆ ย่อม บัญญัติอัตตา และโลก ว่าเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยวัตถุ ๒ นี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีความเห็นว่า อัตตา และโลกเกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตา และโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยวัตถุ ๒
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 40
นี้เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งวาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด และรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย. และเมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะตน รู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ แห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทําให้แจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น กําหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นไปตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคําแสดงวาทะหลายชนิดด้วยวัตถุ ๑๘ นี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กําหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นไปตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคําแสดงวาทะหลายชนิด สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมกล่าวด้วยเหตุ ๑๘ นี้เท่านั้น หรือด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน ๑๘ อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งวาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 41
คติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด และรู้ชัดยิ่งขั้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย. และเมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะตน รู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ แห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทําให้แจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.
อปรันตกัปปิกทิฏฐิ ๔๔
(๔๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กําหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคําแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ ๔๔. ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงกําหนดขันธ์ส่วนอนาค9 มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคําแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยวัตถุ ๔๔
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 42
สัญญีทิฏฐิ ๑๖
(๔๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะว่า หลังแต่ความตาย อัตตามีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า หลังแต่ความตาย อัตตามีสัญญา ด้วยวัตถุ ๑๖. ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า หลังแต่ความตาย อัตตามีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า หลังแต่ความตาย อัตตามีสัญญา ด้วยวัตถุ ๑๖.สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมบัญญัติอัตตานั้นว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย
๑๙.๑ อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๐.๒ อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๑.๓ อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๒.๔ อัตตา ทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๓.๕ อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๔.๖ อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๕.๗ อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๖.๘ อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๗.๙ อัตตาที่มีสัญญาอย่างเดียวกัน ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๘.๑๐ อัตตาที่มีสัญญาต่างกัน ยั่งยืน มีสัญญา.
๒๙.๑๑ อัตตาที่มีสัญญาน้อย ยั่งยืน มีสัญญา.
๓๐.๑๒ อัตตาที่มีสัญญาหาประมาณมิได้ ยั่งยืน มีสัญญา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 43
๓๑.๑๓ อัตตาที่มีสุขอย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา.
๓๒.๑๔ อัตตาที่มีทุกข์อย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา.
๓๓.๑๕ อัตตาที่มีทั้งสุขทั้งทุกข์ ยั่งยืน มีสัญญา.
๓๔.๑๖ อัตตาที่มีทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา ด้วยวัตถุ ๑๖ นี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยวัตถุ ๑๖ นี้เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๑๖ อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งวาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด และรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย. และเมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะตน รู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ แห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 44
เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทําให้แจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.
อสัญญีทิฏฐิ ๘
(๔๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่า หลังแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า หลังแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ด้วยวัตถุ ๘. ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า หลังแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า หลังแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ด้วยวัตถุ ๘. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมบัญญัติอัตตานั้นว่า หลังแต่ความตาย
๓๕.๑ อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
๓๖.๒ อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
๓๗.๓ อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
๓๘.๔ อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
๓๙.๕ อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
๔๐.๖ อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
๔๑.๗ อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 45
๔๒.๘ อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีวาทะว่า หลังแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า หลังแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ด้วยวัตถุ๘ เหล่านี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีวาทะว่า หลังแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า หลังแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยวัตถุ ๘ นี้เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน ๘ อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งวาทะเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้นแล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด และรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย. และเมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะตน รู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ แห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทําให้แจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 46
เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ ๘
(๔๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะว่า หลังแต่ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า หลังแต่ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยวัตถุ๘. ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า หลังแต่ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า หลังแต่ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยวัตถุ ๘. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมบัญญัติอัตตานั้นว่า หลังแต่ความตาย
๔๓. ๑ อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
๔๔. ๒ อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
๔๕. ๓ อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยังยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
๔๖. ๔ อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืนมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
๔๗. ๕ อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
๔๘. ๖ อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
๔๙. ๗ อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 47
ก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
๕๐. ๘ อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีวาทะว่า หลังแต่ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า หลังแต่ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยวัตถุ ๘ นี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีวาทะว่า หลังแต่ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยวัตถุ ๘ นี้เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๘ อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งวาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด และรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย. และเมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะตน รู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ แห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทําให้แจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 48
อุจเฉททิฏฐิ ๗
(๔๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่ปรากฏอยู่ ด้วยวัตถุ ๗. ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไรปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า ขาดสูญ บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่ปรากฏอยู่ ด้วยวัตถุ ๗.
๕๑.๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้มีรูป สําเร็จด้วยมหาภูตรูป ๔ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เพราะกายแตกย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ฉะนั้นหลังแต่ความตาย อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่ปรากฏอยู่ด้วยประการฉะนี้.
๕๒.๒ สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น มีอยู่จริง ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้ขาดสูญอย่างเด็ดขาดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เป็นทิพย์ มีรูปเป็นกามาวจร บริโภคกวฬิงการาหาร ซึ่งท่านยังไม่รู้ไม่เห็น ข้าพเจ้ารู้ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแล ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ฉะนั้นหลังแต่ความตาย ท่านผู้เจริญ อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่ปรากฏอยู่ ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 49
ประการฉะนี้.
๕๓. ๓ สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้ขาดสูญอย่างเด็ดขาดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ท่านผู้เจริญ ยิ่งมีอัตตาอย่างอื่นที่เป็นทิพย์ มีรูปสําเร็จด้วยใจ มีอวัยวะใหญ่น้อยครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ซึ่งท่านยังไม่รู้ยังไม่เห็น ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแลย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ฉะนั้นหลังแต่ความตาย ท่านผู้เจริญ อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่มีอยู่ด้วยประการฉะนี้.
๕๔. ๔ สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น มีอยู่จริง ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้ขาดสูญอย่างเด็ดขาดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ มีอารมณ์ว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ซึ่งท่านยังไม่รู้ยังไม่เห็น ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตกอัตตานั้นแล ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ฉะนั้นหลังแต่ความตาย ท่านผู้เจริญ อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่มีอยู่ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 50
๕๕.๕ สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น มีอยู่จริง ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้ขาดสูญอย่างเด็ดขาดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ มีอารมณ์ว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง ซึ่งท่านยังไม่รู้ยังไม่เห็น ข้าพเจ้ารู้ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแลย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ฉะนั้นหลังแต่ความตาย ท่านผู้เจริญ อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยประการฉะนี้.
๕๖.๖ สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญอัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้ขาดสูญอย่างเด็ดขาดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ มีอารมณ์ว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง ซึ่งท่านยังไม่รู้ยังไม่เห็น ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแล ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ฉะนั้นหลังแต่ความตาย ท่านผู้เจริญ อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่ปรากฏอยู่. ด้วยประการฉะนี้.
๕๗. ๗ สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น มีอยู่จริง ข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 51
มิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้ขาดสูญอย่างเด็ดขาดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ท่านผู้เจริญ ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ มีอารมณ์ว่า นั่นละเอียด นั่นประณีต เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง ซึ่งท่านไม่รู้ไม่เห็น ข้าพเจ้ารู้ ข้าพเจ้าเห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะกายแตก อัตตานั้นแลย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ฉะนั้นหลังแต่ความตาย ท่านผู้เจริญ อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยประการฉะนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีวาทะว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ทั้งหลายที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๗ นี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีวาทะว่า ขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่ปรากฏอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยวัตถุ ๗ นี้เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๗ อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งวาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด และรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่น ความรู้ชัดนั้นด้วย. และเมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะตน รู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ แห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 52
หลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทําให้แจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.
ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕
(๕๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่านิพพานปัจจุบัน ย่อมบัญญัติว่านิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่ปรากฏอยู่ ด้วยวัตถุ ๕. ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีวาทะว่า นิพพานปัจจุบัน บัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๕.
๕๘.๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้ เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม เพลิดเพลินอยู่ด้วยกามคุณ ๕ ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยประการฉะนี้.
๕๙.๒ สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้บรรลุนิพพาน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 53
ปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า กามทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะกามเหล่านั้นแปรปรวนเป็นอย่างอื่น จึงเกิดความโศกความร่ําไร ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับใจ ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยประการฉะนี้.
๖๐.๓ สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้บรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ปฐมฌานนั้นท่านกล่าวว่าหยาบ ด้วยยังมีวิตกวิจารอยู่ ท่านผู้เจริญเพราะอัตตานี้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยประการฉะนี้.
๖๑.๔ สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้นมีอยู่จริงข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้บรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 54
เพราะเหตุว่า ทุติยฌานนั้นท่านกล่าวว่าหยาบ ด้วยยังมีปีติเป็นเหตุให้ใจเบิกบานอยู่ เพราะอัตตานี้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ เสวยสุขอยู่ ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยประการฉะนี้.
๖๒.๕ สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้มิได้บรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ตติยฌานนั้นท่านกล่าวว่าหยาบ ด้วยจิตยังคํานึงถึงสุขอยู่ เพราะอัตตานี้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ ฉะนั้นจึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยประการฉะนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีวาทะว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ย่อมบัญญัติว่านิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๕ นี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีวาทะว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ สมณะ หรือ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 55
พราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยวัตถุ ๕ นี้เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๕ อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี. . ."
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น กําหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคําแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ ๔๔ นี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กําหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคําแสดงวาทะหลายชนิด สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมกล่าวด้วยวัตถุ ๔๔ นี้เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔๔ อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น กําหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กําหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กําหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคําแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ ๖๒ นี้แล.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กําหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กําหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กําหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคําแสดงวาทะหลายชนิด สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมกล่าวด้วยวัตถุ ๖๒ นี้เท่านั้น หรือด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๖๒ อย่างนี้ นอกจากนี้ไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งวาทะเหล่านี้ ที่บุคคลถือไว้อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น. อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 56
เหตุนั้นชัด และรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย และเมื่อไม่ยึดมั่น ตถาคตก็รู้ความดับสนิทเฉพาะตน รู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ แห่งเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออก ไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ที่ตถาคตทําให้แจ้งด้วยปัญญารู้ยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายกล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.
จบทิฏฐิ ๖๒
ฐานะของผู้ถือทิฏฐิ
(๕๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลก ว่าเที่ยง ด้วยวัตถุ ๔ ข้อนั้นเป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(๕๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยงด้วยวัตถุ๔ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 57
(๕๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด ย่อมบัญญัติว่า โลกมีที่สุดและไ ม่มีที่สุด ด้วยวัตถุ ๔ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(๕๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยวัตถุ ๔ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(๕๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า อัตตา และโลกเกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตา และโลก ว่าเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยวัตถุ ๒ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(๕๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด กําหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคําแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ ๑๘ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(๕๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 58
ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา ด้วยวัตถุ ๑๖ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(๕๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ด้วยวัตถุ ๔ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(๕๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยวัตถุ ๘ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(๖๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๗ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(๖๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่านิพพานปัจจุบัน ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยวัตถุ ๕ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 59
สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(๖๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด กําหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคําแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ ๔๔ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(๖๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด กําหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กําหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กําหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคําแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ ๖๒ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น.
(๖๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตา และโลก ว่าเที่ยงด้วยวัตถุ ๔ ข้อนั้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๖๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตา และโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยวัตถุ ๔ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๖๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 60
พราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าโลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด บัญญัติว่า โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด ด้วยวัตถุ ๔ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๖๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยวัตถุ ๔ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๖๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีความเห็นว่า อัตตา และโลกเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยวัตถุ ๒ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๖๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด กําหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีตปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคําแสดงวาทะหลายอย่างด้วยวัตถุ ๑๘ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๗๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา ด้วยวัตถุ ๑๖ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๗๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ด้วยวัตถุ ๔ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๗๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแค่ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 61
ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยวัตถุ ๘ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๗๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๗ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๗๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า นิพพานปัจจุบัน ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๕ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๗๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด กําหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคําแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ ๔๔ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๗๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด กําหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กําหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กําหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั่งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคําแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ ๖๒ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
(๗๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตา และโลก ว่าเที่ยงด้วยวัตถุ๔ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 62
(๗๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตา และโลก ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยวัตถุ ๔ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(๗๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด ย่อมบัญญัติว่า โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด ด้วยวัตถุ ๔ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(๘๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหาในเรื่องนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยวัตถุ๔ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(๘๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีความเห็นว่า อัตตา และโลกเกิดขึ้นลอยๆ ย่อมบัญญัติอัตตา และโลก ว่าเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยวัตถุ ๒ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(๘๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด กําหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคําแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ๑๘ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(๘๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา ย่อม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 63
บัญญัติว่าเบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญาด้วยวัตถุ ๑๖ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(๘๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตาไม่มีสัญญา ด้วยวัตถุ ๘ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(๘๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยวัตถุ ๘ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(๘๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า ขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี ของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๗ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(๘๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่า นิพพานปัจจุบัน ย่อมบัญญัติว่านิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๕ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(๘๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดกําหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคําแสดงวาทะหลายชนิด ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 64
วัตถุ ๔๔ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(๘๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดกําหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กําหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กําหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตส่วนอนาคต กล่าวคําแสดงวาทะหลายชนิด ด้วยวัตถุ ๖๒ สมณพราหมณ์เหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจักรู้สึกได้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
(๙๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตา และโลก ว่าเที่ยงด้วยวัตถุ ๔ สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง . . . สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะว่า โลกมีที่สุด และไม่มีที่สุด . . .สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะดิ้นได้ไม่ตายตัว . . . สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะว่าโลกเกิดขึ้นลอยๆ . . . สมณพราหมณ์เหล่าใดกําหนดขันธ์ส่วนอดีต . . . สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตามีสัญญา. . . สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตายอัตตาไม่มีสัญญา . . . สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ความตายอัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ . . . สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะว่าขาดสูญ . . . สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะว่า นิพพานปัจจุบัน . . . สมณพราหมณ์เหล่าใดกําหนดขันธ์ส่วนอนาคต. . . สมณพราหมณ์เหล่าใดกําหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กําหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กําหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 65
ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคําแสดงวาทะหลายชนิดด้วยวัตถุ ๖๒ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดถูกต้องแล้วถูกต้องเล่าด้วยผัสสายตนะทั้ง ๖ ย่อมเสวยเวทนา เพราะเวทนาของสมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากผัสสายตนะเหล่านั้น เมื่อนั้นภิกษุนี้ย่อมรู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งกําหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กําหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กําหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคําแสดงวาทะหลายชนิดสมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ถูกทิฏฐิ ๖๒ อย่างเหล่านั้นแหละเป็นดุจข่ายคลุมไว้ อาศัยอยู่ในข่ายนี้แหละ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ ติดอยู่ในข่ายนี้ ถูกข่ายคลุมไว้ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ เปรียบเหมือนชาวประมงหรือลูกมือชาวประมงผู้ฉลาด ใช้แหตาถี่ทอดลงยังหนองน้ำเล็กๆ เขาคิดอย่างนี้ว่า บรรดาสัตว์ใหญ่ๆ ในหนองนี้ทั้งหมด ถูกแหคลุมไว้ ติดอยู่ในแห เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ติดอยู่ในแหนี้ ถูกแหคลุมไว้ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 66
หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้น กําหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กําหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กําหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคําแสดงวาทะหลายชนิด สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ถูกทิฏฐิ ๖๒ อย่างเหล่านี้แหละเป็นดุจข่ายคลุมไว้ อาศัยอยู่ในข่ายนี้แหละ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ ติดอยู่ในข่ายนี้ ถูกข่ายคลุมไว้ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนําไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดํารงอยู่ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายย่อมเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตดํารงอยู่ ต่อเมื่อกายแตกสิ้นชีวิตแล้ว เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายจะไม่เห็นตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวงมะม่วงเมื่อขาดจากขั้วแล้ว ผลใดผลหนึ่งที่ติดขั้วอยู่ ย่อมติดขั้วไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนําไปสู่ภพชาติแล้วก็เหมือนฉันนั้น ยังดํารงอยู่ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายย่อมเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดํารงอยู่ ต่อเมื่อกายแตกสิ้นชีวิตแล้ว เทวดาแล ะมนุษย์ทั้งหลายจะไม่เห็นตถาคต.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีพระเจ้าข้า ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อานนท์ เพราะฉะนั้นแหละ เธอจงทรงจําธรรมบรรยายนี้ว่าอรรถชาละก็ได้ ว่าธรรมชาละก็ได้ ว่าพรหมชาละก็ได้ ว่าทิฏฐิชาละก็ได้ ว่าพิชัยสงครามอย่างยอดเยี่ยมก็ได้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 67
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นต่างมีใจชื่นชม เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็และ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ หมื่นโลกธาตุได้ไหว แล้วแล
จบพรหมชาลสูตร ที่ ๑