พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาพรหมชาลสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  14 ก.ค. 2564
หมายเลข  34610
อ่าน  2,269

[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 68

อรรถกถาพรหมชาลสูตร

แก้อรรถบท เอวํ 110

แก้อรรถบท เม 113

แก้อรรถบทว่า สุตํ 114

แก้อรรถเอวมฺเม สุตํ 115

อีกนัยหนึ่ง 118

แก้อรรถบท เอกํสมยํ 121

แก้อรรถบท ภควา 126

แก้อรรถบท เอวมฺเม สุตํเอกํสมยํภควา 127

แก้อรรถคําว่าอนฺตราจราชคหํ เป็นต้น 128

แก้อรรถบท อทฺธาน มคฺคปฏิปนฺโน เป็นต้น 129

อธิบายวณฺณ ศัพท์ 133

สุปปิยปริพาชกพบพระผู้มีพระภาคเจ้า 140

อธิบายคําว่า ภิกษุทั้งหลายและคําว่าสงฆ์ 142

พรรณนาพุทธกิจ ๕ ประการ 147

พรรณนาเหตุที่ตั้งพระสูตร 156

ก็เหตุที่ทรงตั้งพระสูตรมี ๔ ประการคือ 156

พรรณนาอนุสนธิเริ่มต้น 164

ศีลยังไม่ถึงสมาธิเป็นอย่างไร 167

อธิบายคําว่า ปุถุชน 170

คําว่า ตถาคต มีความหมาย ๘ อย่าง 171

อธิบาย ปุจฉา 184

วรรณนาจุลศีล 186

ปาณาติบาตนั้น มีองค์ ๕ อย่างคือ 187

ปาณาติบาตนั้น มีประโยค ๖ คือ 187

อทินนาทานนั้น มีองค ์๕ คือ 190

มุสาวาทนั้น มีองค ์๔ คือ 192

ปิสุณาวาจานั้น มีองค์ ๔ อย่างคือ 194

เรื่องวาจาหยาบ แต่ใจไม่หยาบ 196

ผรุสวาจานั้น มีองค ์๓ คือ 197

สัมผัปปลาปนั้น มีองค์ ๒ คือ 198

การรับสินจ้างเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ 204

ในการตัดเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ 205

วรรณนามัชฌิมศีล 206

ในการสะสมที่นอน วินิจฉัยดังต่อไปนี้ 209

ในการสะสมของหอม มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ 209

ในการดูที่เป็นข้าศึก มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ 210

ในเรื่องอบตัวเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ 216

ในเรื่องประดับข้อมือเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ 217

ก็ในเรื่องญาติเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ 219

ก็ในเรื่องบ้านเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ 219

ในเรื่องการทําตัวเป็นทูต มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ 221

ในบทว่ากุหกา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ 222

เบื้องหน้าแต่นี้ไป เป็นมหาศีล 222

ในการทายลักษณะแก้วมณีเป็นต้น มีอธิบายดังนี้ 225

ฐานะ ๔ ประการอะไรบ้าง 235

ก็พระสูตรมีอนุสนธิ ๓ อย่าง 272

พึงทราบแผ่นดินไหวด้วยเหตุ ๘ ประการ 285


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 11]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 68

สุมังคลวิลาสินี

อรรถกถาทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

ข้าพเจ้าขอนมัสการด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระสุคต ผู้พ้นคติ (๕ คือ นิรยคติ เปตคติ ติรัจฉานคติ มนุสสคติ เทวคติ) มีพระทัยเยือกเย็นด้วยพระกรุณา มีมืดคือโมหะอันดวงประทีปคือปัญญาขจัดแล้ว ทรงเป็นครูของโลกพร้อมทั้งมนุษย์และเทวดา

ก็พระพุทธเจ้าทรงอบรม และทรงทําให้แจ้ง ซึ่งความเป็นพระพุทธเจ้า ทรงบรรลุพระธรรมใดที่ปราศจากมลทิน ข้าพเจ้าขอนมัสการด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระธรรมนั้นอันยอดเยี่ยม

ข้าพเจ้าขอนมัสการด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระอริยสงฆ์หมู่โอรสของพระสุคตเจ้า ผู้ย่ํายีกองทัพมาร

บุญอันใดซึ่งสําเร็จด้วยการไหว้พระรัตนตรัย มีอยู่แก่ข้าพเจ้าผู้มีใจเลื่อมใส ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้มีอันตราย อันอานุภาพแห่งบุญนั้น ขจัดราบคาบแล้ว ด้วยประการดังนี้

อรรถกถาใดอันพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ สังคายนา แล้วแต่ต้น และสังคายนาต่อมา เพื่อประกาศเนื้อ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 69

ความของทีฆนิกาย ซึ่งกําหนดหมายไว้ด้วยสูตร ขนาดยาว ละเอียดลออ ประเสริฐกว่านิกายอื่น ที่พระพุทธเจ้า และพระสาวกสังวรรณนาไว้ มีคุณค่าในการปลูกฝังศรัทธา แต่ภายหลังพระมหินทเถระ นํามาเกาะสีหล ต่อมาได้เรียบเรียงด้วยภาษาสีหล เพื่อประโยชน์แก่ชาวสีหลทั้งหลาย

ต่อจากนั้น ข้าพเจ้าจึงแปลภาษาสีหลเป็นภาษามคธ ถูกต้องตามหลักภาษา ไม่ผิดเพี้ยนอักขรสมัยของพระเถระคณะมหาวิหาร ผู้เป็นประทีปแห่งเถรวงศ์ ที่วินิจฉัยไว้ละเอียดลออ จะตัดข้อความที่ซ้ำซากออกแล้วประกาศข้อความ เพื่อความชื่นชมยินดีของสาธุชน และเพื่อความยั่งยืนของพระธรรม

ศีลกถา ธุดงคธรรม กรรมฐานทั้งปวง ฌานสมาบัติ พิสดาร ซึ่งประกอบด้วยวิธีปฏิบัติตามจริต อภิญญาทั้งปวง ข้อวินิจฉัยทั้งปวงด้วยปัญญา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ อริยสัจ ๔ ปัจจยาการ เทศนา และวิปัสสนาภาวนา มีนัยบริสุทธิ์ดี และละเอียดลออ ที่ไม่นอกทางพระบาลี ข้อธรรมดังกล่าวทั้งหมดนี้ ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้ว อย่างบริสุทธิ์ดี เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักไม่วิจารข้อธรรมทั้งหมดนั้นในที่นี้ให้ยิ่งขึ้น คัมภีร์วิสุทธิมรรค นี้ตั้งอยู่ท่ามกลางนิกายทั้ง ๔ จักประกาศเนื้อความ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 70

ตามที่กล่าวไว้ในนิกายทั้ง ๔ เหล่านั้น ข้าพเจ้าแต่งไว้ ด้วยความประสงค์อย่างนี้ เพราะฉะนั้น ขอท่านทั้งหลายจงถือเอาคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นกับอรรถกถานี้ แล้วเข้าใจเนื้อความที่อาศัยทีฆนิกายเถิด

นิทานกถา

ในคําว่า ทีฆาคมนิสฺสิตํ นั้น พึงทราบรายละเอียดดังนี้ คัมภีร์ ทีฆนิกาย กล่าวโดยวรรคมี ๓ วรรค คือ สีลขันธวรรค มหาวรรค ปาฏิกวรรค กล่าวโดยสูตรมี ๓ สูตร ในวรรคทั้งหลายเหล่านั้น สีลขันธวรรคเป็นวรรคต้น บรรดาสูตรทั้งหลาย พรหมชาลสูตรเป็น สูตรต้น คํานิทานมีคําว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้เป็นต้น ที่ท่านพระอานนท์ กล่าวในคราวทําปฐมมหาสังคายนา เป็นคําเริ่มต้นของพรหมชาลสูตร

เรื่องสังคายนาใหญ่ครั้งแรก

ชื่อว่าปฐมมหาสังคายนานี้ แม้ได้จัดขึ้นพระบาลีไว้ในวินัยปิฎกแล้ว ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ควรทราบปฐมมหาสังคายนาแม้ในอรรถกถานี้ เพื่อ ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุที่เป็นมา ดังต่อไปนี้

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลก ทรงบําเพ็ญพุทธกิจ เริ่มต้นแต่ทรงแสดงพระธรรมจักรจนถึงโปรดสุภัททปริพาชก แล้วเสด็จปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เวลาใกล้รุ่งวันวิสาขปูรณมี ระหว่างต้นสาละคู่ในสาลวันอุทยานของมัลลกษัตริย์ ตรงที่เป็นทางโค้ง ใกล้กรุงกุสินารา ท่านพระมหากัสสปะผู้เป็นสังฆเถระของภิกษุประมาณ เจ็ดแสนรูปที่ประชุมกันในวันแบ่งพระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้า มาระลึกถึงคําที่หลวงตาสุภัททะกล่าวเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 71

ปรินิพพานได้ ๗ วันว่า พอกันทีอาวุโสทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าเศร้าโศกไปเลย อย่าร่ําไรไปเลย เราทั้งหลายพ้นดีแล้วจากพระมหาสมณะนั้น ด้วยว่าพวกเราถูกท่านจู้จี้บังคับว่า สิ่งนี้ควรแก่เธอทั้งหลาย สิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้ แต่บัดนี้พวกเราปรารถนาสิ่งใด จักกระทําสิ่งนั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใด จักไม่กระทําสิ่งนั้น ดังนี้

ท่านพิจารณาเห็นว่าการประชุมสงฆ์จํานวนมากเช่นนี้ ต่อไปจะหาได้ยาก จึงดําริต่อไปว่า พวกภิกษุชั่วจะเข้าใจว่า ปาพจน์มีศาสดาล่วงแล้ว ได้พวกฝ่ายอลัชชี จะพากันย่ํายีพระสัทธรรมให้อันตรธานต่อกาลไม่นานเลย นั้นเป็นฐานะที่จะมีได้แน่นอน จริงอยู่ พระธรรมวินัยยังดํารงอยู่ตราบใด ปาพจน์ก็หาชื่อว่ามีศาสดาล่วงแล้วไม่อยู่ตราบนั้น สมจริงดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ ธรรม และวินัยใดอันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรม และวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ดังนี้ อย่ากระนั้นเลย เราพึงสังคายนาพระธรรม และพระวินัย โดยวิธีที่พระศาสนานี้จะมั่นคงดํารงอยู่ ชั่วกาลนาน

อนึ่ง ตัวเราอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสปะ เธอจักห่มได้หรือไม่ซึ่งผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้เก่าแล้วของเรา ดังนี้ ทรงอนุเคราะห์ ด้วยสาธารณบริโภคในจีวร และด้วยการสถาปนาไว้เสมอกับพระองค์ใน ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ต่างโดยอนุปุพพวิหาร ๙ และอภิญญา ๖ เป็นต้น โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราต้องการสงัดจากกาม ทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌานอยู่เพียงใด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย แม้กัสสปะต้องการสงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจาก

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 72

อกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌานอยู่เพียงนั้น ดังนี้ ยิ่งกว่านั้นยังสรรเสริญ ด้วยความเป็นผู้มีจิตไม่ติดอยู่ในตระกูล เหมือนสั่นมือในอากาศ และด้วยปฏิปทาเปรียบด้วยพระจันทร์ การทรงอนุเคราะห์ และการทรงสรรเสริญ เป็นประหนึ่งหนี้ของเรา กิจอื่นนอกจากการสังคายนาที่จะให้เราพ้นสภาพหนี้ จักมีอะไรบ้าง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบซึ่งเรามิใช่หรือว่า กัสสปะนี้ จักเป็นผู้ประดิษฐานวงศ์พระสัทธรรมของเรา ดังนี้ แล้วทรงอนุเคราะห์ด้วยความอนุเคราะห์อันไม่ทั่วไปนี้ และทรงสรรเสริญด้วยการ สรรเสริญอันยอดเยี่ยมนี้ เหมือนพระราชาทรงทราบพระราชโอรส ผู้จะประดิษฐานวงศ์ตระกูลของพระองค์ แล้วทรงอนุเคราะห์ด้วยการมอบ เกราะ และพระอิสริยยศของพระองค์ฉะนั้น ดังนี้ ยังความอุตสาหะให้เกิด แก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อสังคายนาพระธรรมวินัย. สมดังคําที่พระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้ในสุภัททกัณฑ์ว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะแจ้งให้ ภิกษุทั้งหลายทราบว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราเดินทางไกล จากเมืองปาวามาสู่เมืองกุสินารา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ดังนี้ เป็นต้น. สุภัททกัณฑ์ทั้งหมด บัณฑิตควรทราบโดยพิสดาร. แต่ข้าพเจ้าจักกล่าวเนื้อความของสุภัททกัณฑ์นั้น ในอาคตสถานตอนจบ มหาปรินิพพานสูตรเท่านั้น

ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสปะกล่าวว่า เอาเถิดท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายจะสังคายนาพระธรรม และพระวินัย ต่อไปเบื้องหน้า อธรรมรุ่งเรือง ธรรมจะร่วงโรย ต่อไปเบื้องหน้า อวินัยรุ่งเรือง วินัยจะร่วงโรย ต่อไปเบื้องหน้า อธรรมวาทีมีกําลัง ธรรมวาทีจะอ่อนกําลัง ต่อไปเบื้องหน้า อวินัยวาทีมีกําลัง วินัยวาทีจะอ่อนกําลัง. ภิกษุเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 73

กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอพระเถระโปรดเลือกภิกษุทั้งหลายเถิด. ฝ่ายพระเถระเว้นภิกษุปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันตสุกขวิปัสสก ผู้ทรงพระปริยัติ คือ นวังคสัตถุศาสน์ทั้งสิ้น เป็นจํานวนหลายร้อยหลายพันรูป เลือกเอาเฉพาะภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ประเภทเตวิชชา เป็นต้น ซึ่งทรงพระปริยัติ คือ พระไตรปิฎกทั้งหมด บรรลุปฏิสัมภิทา มีอานุภาพยิ่งใหญ่ โดยมาก พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยกย่องเป็นเอตทัคคะที่พระสังคีติกาจารย์หมายกล่าวคํานี้ไว้ว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะเลือกพระอรหันต์ไว้ ๕๐๐ หย่อนหนึ่งองค์ ดังนี้.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระมหากัสสปเถระจึงทําให้หย่อนไว้องค์หนึ่ง. ตอบว่า เพื่อไว้โอกาสแก่ท่านพระอานนทเถระ เพราะทั้งร่วมกับท่านพระอานนท์ ทั้งเว้นท่านพระอานนท์เสีย ไม่อาจทําการสังคายนาธรรมได้. ด้วยว่าท่านพระอานนท์นั้นเป็นพระเสขะยังมีกิจที่ต้องทําอยู่ ฉะนั้น จึงไม่อาจร่วมได้. แต่เพราะนวังคสัตถุศาสน์มีสุตตะ และเคยยะเป็นต้นข้อใดข้อหนึ่ง ซึ่งพระทศพลทรงแสดงแล้ว ที่ชื่อว่าไม่ประจักษ์ชัดแก่พระอานนท์นั้น ไม่มี ดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ว่า ธรรมเหล่าใดเป็นไปแก่ข้าพเจ้า ธรรมเหล่านั้น ข้าพเจ้ารับมาจากพระพุทธเจ้าแปดหมื่นสองพัน รับมาจากภิกษุสองพัน รวมเป็นแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ เพราะฉะนั้น ถ้าเว้นท่านพระอานนท์เสีย ก็ไม่อาจทําได้.

ถามว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น แม้ท่านพระอานนท์จะยังเป็นพระเสขะอยู่ พระเถระก็ควรเลือก เพราะเป็นผู้มีอุปการะในการสังคายนาธรรมมาก

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 74

แต่เหตุไฉนจึงไม่เลือก.

ตอบว่า เพราะจะหลีกเลี่ยงคําติเตียนของผู้อื่น. ความจริงพระเถระเป็นผู้คุ้นเคยกับท่านพระอานนท์อย่างยิ่ง. จริงอย่างนั้น ถึงพระอานนท์จะศีรษะหงอกแล้ว พระมหากัสสปะยังเรียกด้วยคําว่า เด็ก ในประโยคว่า เด็กคนนี้ไม่รู้จักประมาณเลย ดังนี้. อนึ่ง ท่านพระอานนท์เกิดในตระกูลศากยะ เป็นพระอนุชาของพระตถาคต เป็นพระโอรสของพระเจ้าอา.ในการคัดเลือกพระอานนท์นั้น ภิกษุบางพวกจะเข้าใจว่า ดูเหมือนจะลําเอียงเพราะรักใคร่กัน จะพากันติเตียนว่า พระมหากัสสปเถระมองข้ามภิกษุผู้ได้บรรลุปฏิสัมภิทาชั้นอเสขะไปเป็นจํานวนมาก แล้วเลือกพระอานนท์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาชั้นเสขะ เมื่อจะหลีกเลี่ยงคําติเตียนนั้น พระมหากัสสปเถระจึงไม่เลือกพระอานนท์ ด้วยพิจารณาเห็นว่า เว้นท่านพระอานนท์เสีย ไม่อาจทําการสังคายนาธรรมได้ เราจักรับท่านพระอานนท์นั้นโดยอนุมัติของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น. ลําดับนั้น ภิกษุทั้งหลายพากันขอร้องพระมหากัสสปเถระเพื่อเลือกพระอานนท์เสียเอง. สมดังคําที่พระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านพระอานนท์นี้แม้จะยังเป็นพระเสขะอยู่ก็จริง แต่ก็ไม่ถึงอคติเพราะรัก เพราะชัง เพราะกลัว เพราะหลง ด้วยว่าท่านพระอานนท์นี้ได้เล่าเรียนพระธรรม และพระวินัยในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันมาก ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระเถระได้โปรดเลือกท่านพระอานนท์ด้วยเถิด. ครั้นแล้วท่านพระมหากัสสปะจึงได้เลือกท่านพระอานนท์ด้วย. โดยนัยดังกล่าวแล้วอย่างนี้ จึงเป็นพระเถระ ๕๐๐ องค์ รวมทั้งท่านพระอานนท์ ที่พระมหากัสสปะเลือกโดยอนุมัติของ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 75

ภิกษุทั้งหลาย.

ลําดับนั้นแล พวกภิกษุชั้นพระเถระได้ดําริกันว่า เราควรสังคายนาพระธรรม และพระวินัยกันที่ไหน. ลําดับนั้น พวกภิกษุชั้นพระเถระได้ดําริกันว่า กรุงราชคฤห์ มีอาหารบิณฑบาตมาก มีเสนาสนะเพียงพอ อย่ากระนั้นเลย เราพึงอยู่จําพรรษาสังคายนาพระธรรม และพระวินัยในกรุงราชคฤห์เถิด ภิกษุเหล่าอื่นไม่พึงเข้าจําพรรษาในกรุงราชคฤห์. ก็เพราะเหตุไร พระเถระเหล่านั้นจึงมีความดําริดังนี้? เพราะพระเถระเหล่านั้นมีความดําริตรงกันว่า การสังคายนาพระธรรมวินัยนี้เป็นถาวรกรรมของเรา บุคคลฝ่ายตรงข้ามบางคนจะพึงเข้าไปยังท่ามกลางสงฆ์แล้วรื้อฟื้นขึ้นได้.

ลําดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ เป็นผู้อยู่จําพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรม และพระวินัย ภิกษุอื่นๆ ไม่พึงจําพรรษาในกรุงราชคฤห์ ดังนี้ นี้เป็นญัตติ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ว่าภิกษุ๕๐๐ รูปเหล่านี้เป็นผู้อยู่จําพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรม และพระวินัย ภิกษุอื่นๆ ไม่พึงจําพรรษาในกรุงราชคฤห์ ดังนี้การสมมติภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ว่า ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ เป็นผู้อยู่จําพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรม และพระวินัย ภิกษุอื่นๆ ไม่พึงอยู่จําพรรษาในกรุงราชคฤห์ ดังนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ขอท่านผู้นั้นพึงนิ่งอยู่ ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ขอท่านผู้นั้นพึงพูด ภิกษุ ๕๐๐ รูป

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 76

เหล่านี้สงฆ์สมมติแล้วว่าเป็นผู้อยู่จําพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรม และพระวินัย ภิกษุอื่นๆ ไม่พึงอยู่จําพรรษาในกรุงราชคฤห์ ดังนี้ การสมมตินี้สมควรแก่สงฆ์ ฉะนั้น สงฆ์จึงนิ่งอยู่ ข้าพเจ้าทรงความไว้ด้วยอย่างนี้.

กรรมวาจานี้ พระมหากัสสปะกระทําในวันที่ ๒๑ หลังจากพระตถาคตปรินิพพาน. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานเวลาใกล้รุ่งวันวิสาขปูรณมี.

ครั้งนั้น พุทธบริษัทได้บูชาพระพุทธสรีระซึ่งมีสีเหมือนทอง ด้วยของหอม และดอกไม้เป็นต้นตลอด ๗ วัน . วันสาธุกีฬาได้มีเป็นเวลา ๗ วันเหมือนกัน. ต่อจากนั้นไฟที่จิตกาธารยังไม่ดับตลอด ๗ วัน. พวกมัลลกษัตริย์ได้ทําลูกกรงหอกแล้วบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ในสันถาคารศาลาตลอด ๗ วัน ดังนั้นจึงรวมวันได้ ๒๑ วัน. พุทธบริษัทซึ่งมีโทณพราหมณ์เป็นเจ้าหน้าที่ ได้จัดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลาย ในวันขึ้น ๕ ค่ําเดือน ๗ นั่งเอง. พระมหากัสสปะเลือกภิกษุทั้งหลาย เสร็จแล้วจึงสวดกรรมวาจานี้ โดยนัยที่ท่านแจ้งความประพฤติอันไม่สมควรที่หลวงตาสุภัททะทําแล้วแก่ภิกษุสงฆ์จํานวนมาก ซึ่งมาประชุมกันในวันแบ่งพระบรมสารีริกธาตุนั้น.

ก็และครั้นสวดกรรมวาจานี้แล้ว พระเถระจึงเตือนภิกษุทั้งหลายให้ทราบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บัดนี้ข้าพเจ้าให้เวลาแก่ท่านทั้งหลายเป็นเวลา ๔๐ วัน ต่อจากนั้นไป ท่านจะกล่าวว่า ข้าพเจ้ายังมีกังวลเช่นนี้อยู่ ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ภายใน ๔๐ วันนี้ ท่านผู้ใดมีกังวลเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บก็ดี มีกังวลเกี่ยวกับอาจารย์ และพระอุปัชฌาย์ก็ดี มีกังวลเกี่ยวกับ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 77

มารดาบิดาก็ดี หรือต้องสุมบาตรต้องทําจีวรก็ดี ขอท่านผู้นั้นจงตัดกังวลนั้น ทํากิจที่ควรทํานั้นเสีย. ก็แลกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเถระแวดล้อมไปด้วยบริษัทของตนประมาณ ๕๐๐ รูป ไปยังกรุงราชคฤห์. แม้พระเถระผู้ใหญ่องค์อื่นๆ ก็พาบริวารของตนๆ ไป ต่างก็ประสงค์จะปลอบโยนมหาชนผู้เปียมไปด้วยเศร้าโศก จึงไปยังทิศทางนั้นๆ . ฝ่ายพระปุณณเถระมีภิกษุเป็นบริวารประมาณ ๗๐๐ รูป ได้อยู่ในเมืองกุสินารานั่นเอง ด้วยประสงค์ว่าจะปลอบโยนมหาชนที่พากันมายังที่ปรินิพพานของพระตถาคต.

ฝ่ายท่านพระอานนท์เอง ท่านก็ถือบาตร และจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เสด็จปรินิพพานแล้ว เหมือนเมื่อยังไม่เสด็จปรินิพพาน เดินทางไปยังกรุงสาวัตถีพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป. แลเมื่อท่านพระอานนท์นั้นกําลังเดินทาง ก็มีภิกษุผู้เป็นบริวารมากขึ้นๆ จนนับไม่ได้.ในสถานที่ที่พระอานนท์เดินทางไป ได้มีเสียงร่ําไห้กันอึงมี่. เมื่อพระเถระถึงกรุงสาวัตถีแล้ว ผู้คนชาวกรุงสาวัตถีได้ทราบว่า พระอานนท์มาแล้ว ก็พากันถือของหอม และดอกไม้เป็นต้นไปต้อนรับ แล้วร้องไห้รําพันว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ เมื่อก่อนท่านมากับพระผู้มีพระภาคเจ้า วันนี้ท่านทิ้งพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้เสียที่ไหน จึงมาแต่ผู้เดียว ดังนี้เป็นต้น.ได้มีการร้องไห้อย่างมากเหมือนในวันเสด็จปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนั้น.

ได้ยินว่า ณ กรุงสาวัตถีนั้น ท่านพระอานนท์สั่งสอนมหาชนให้เข้าใจด้วยธรรมีกถาประกอบด้วยความไม่เที่ยง เป็นต้น แล้วเข้าสู่พระวิหารเชตวัน ไหว้พระคันธกุฎีที่พระทศพลประทับ เปิดประตูนําเตียงตั่งออกปัด กวาดพระคันธกุฎี ทิ้งขยะดอกไม้แห้ง แล้วนําเตียงตั่งเข้าไปตั้ง

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 78

ไว้ในที่เดิมอีก ได้ทําหน้าที่ทุกอย่างซึ่งเป็นวัตรที่ต้องปฏิบัติในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าดํารงพระชนม์อยู่ และเมื่อทําหน้าที่ก็ไหว้พระคันธกุฎี ในเวลาทํากิจมีกวาดห้องน้ำ และตั้งน้ำ เป็นต้น ได้ทําหน้าที่ไปพลาง รําพันไปพลาง โดยนัยเป็นต้นว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เวลานี้เป็นเวลาสรงน้ำของพระองค์ มิใช่หรือ? เวลานี้เป็นเวลาแสดงธรรม เวลานี้เป็นเวลาประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย เวลานี้เป็นเวลาสําเร็จสีหไสยา เวลานี้เป็นเวลาชําระพระพักตร์ มิใช่หรือ? เหตุทั้งนี้เพราะพระอานนท์นั้นเป็นผู้มีความรักตั้งมั่นในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะความเป็นผู้รู้อมตรสซึ่งเป็นที่รวมพระพุทธคุณ และยังมิได้เป็นพระอรหันต์ทั้งเป็นผู้มีจิตอ่อนโยนที่เกิดด้วยเคยอุปการะกัน และกันมาหลายแสนชาติ.เทวดาองค์หนึ่ง ได้ทําให้พระอานนท์นั้นสลดใจด้วยคําพูดว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ ท่านมัวมารําพันอยู่อย่างนี้ จักปลอบโยนคนอื่นๆ ได้อย่างไร. พระอานนท์สลดใจด้วยคําพูดของเทวดานั้น แข็งใจดื่มยาถ่ายเจือน้ำนมในวันที่๒ เพื่อทํากายซึ่งมีธาตุหนักให้เบา เพราะตั้งแต่พระตถาคตเสด็จปรินิพพาน ท่านต้องยืนมาก และนั่งมาก จึงนั่งอยู่แต่ในพระวิหารเชตวันเท่านั้น พระอานนท์ดื่มยาถ่ายเจือน้ำนมชนิดใด ท่านหมายเอายาถ่ายเจือน้ำนมชนิดนั้น ได้กล่าวกะเด็กหนุ่มที่สุภมาณพใช้ไปว่า ดูก่อนพ่อหนุ่ม วันนี้ยังไม่เหมาะ เพราะวันนี้เราดื่มยาถ่าย ต่อพรุ่งนี้เราจึงจะเข้าไป ดังนี้. ในวันที่ ๒ พระอานนท์มีพระเจตกเถระติดตามไปถูกสุภมาณพถามปัญหาได้กล่าวสูตรที่ ๑๐ ชื่อสุภสูตร ในคัมภีร์ทีฆนิกายนี้.

พระอานนท์เถระขอให้ทําการปฏิสังขรณ์สิ่งที่ชํารุดทรุดโทรมในพระเชตวันมหาวิหาร เมื่อใกล้วันเข้าพรรษา ท่านอําลาภิกษุสงฆ์ไป

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 79

กรุงราชคฤห์. แม้ภิกษุผู้ทําสังคายนาเหล่าอื่นก็ไปเหมือนกัน ความจริงท่านหมายเอาภิกษุเหล่านั้นที่ไปกรุงราชคฤห์อย่างนี้ กล่าวคํานี้ไว้ว่า ครั้งนั้นแล ภิกษุชั้นพระเถระได้ไปกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรม และพระวินัย. พระเถระเหล่านั้น ทําอุโบสถในวันขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๘ ประชุมเข้าพรรษาในวันแรม ๑ ค่ํา.

ปฐมสังคายนาเริ่มวันแรม ๕ ค่ํา เดือน ๙

ก็โดยสมัยนั้นแล มีวัดใหญ่ ๑๘ วัด ล้อมรอบกรุงราชคฤห์. วัดเหล่านั้นมีหยากเยื่อถูกทิ้งเรี่ยราดไปทั้งนั้น เพราะในเวลาเสด็จปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุทั้งหมดต่างก็ถือบาตรจีวรของตนๆ ทิ้งวัดและบริเวณไป. ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลาย เมื่อจะทําข้อตกลงเกี่ยวกับการปฏิสังขรณ์วัดเหล่านั้น ได้คิดกันว่า พวกเราต้องทําการปฏิสังขรณ์สิ่งชํารุดทรุดโทรมตลอดเดือนต้นของพรรษา เพื่อบูชาคําสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า และเพื่อเปลื้องคําติเตียนของเดียรถีย์. เพราะพวกเดียรถีย์จะพึงกล่าวติอย่างนี้ว่า สาวกของพระสมณโคดมบํารุงวัดวาอารามแต่เมื่อพระศาสดายังมีพระชนม์อยู่เท่านั้น เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ก็พากันทอดทิ้งเสีย การบริจาคทรัพย์เป็นจํานวนมากของตระกูลทั้งหลายย่อมเสียหายไปโดยทํานองนี้. มีคําอธิบายว่า ที่พระเถระทั้งหลายคิดกันก็เพื่อจะเปลื้องคําติเตียนของเดียรถีย์เหล่านั้น. ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว จึงได้ทําข้อตกลงกัน ซึ่งท่านหมายเอาข้อตกลงนั้น กล่าวว่า ครั้งนั้นแล ภิกษุชั้นพระเถระทั้งหลายได้ปรึกษากันว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสรรเสริญการปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชํารุดทรุดโทรม บัดนี้ เราทั้งหลายจงทําการปฏิสังขรณ์สิ่งที่ชํารุดทรุดโทรมตลอดเดือนต้น

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 80

พรรษา จักประชุมสังคายนาพระธรรม และพระวินัยในเดือนกลางพรรษา.

ในวันที่ ๒ พระเถระเหล่านั้นได้ไปยืนอยู่ที่ประตูพระราชวัง.พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จมานมัสการแล้ว มีพระราชดํารัสถามถึงกิจที่พระองค์ทําว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย มาธุระอะไร เจ้าข้า? พระเถระทั้งหลายถวายพระพรให้ทรงทราบถึงงานฝีมือ เพื่อประโยชน์แก่การปฏิสังขรณ์วัดใหญ ่๑๘ วัด. พระเจ้าอชาตศัตรูได้พระราชทานคนที่ทํางานฝีมือ. พระเถระให้ปฏิสังขรณ์วัดทั้งหมดตลอดเดือนต้นฤดูฝนเสร็จแล้ว ถวายพระพรแด่พระเจ้าอชาตศัตรูว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร งานปฏิสังขรณ์วัดเสร็จแล้ว บัดนี้อาตมภาพทั้งหลาย จะทําการสังคายนาพระธรรม และพระวินัย. พระเจ้าอชาตศัตรูมีพระราชดํารัสว่า ดีแล้ว เจ้าข้า พระคุณเจ้าทั้งหลายไม่ต้องหนักใจ นิมนต์ทําเถิด การฝ่ายอาณาจักรขอให้เป็นหน้าที่ของโยม ส่วนการฝ่ายธรรมจักร ขอให้เป็นหน้าที่ของพระคุณเจ้าทั้งหลาย โยมจะต้องทําอะไรบ้าง โปรดสั่งมาเถิด เจ้าข้า. พระเถระทั้งหลายถวายพระพรว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร ขอพระองค์ได้โปรดให้ทําที่นั่งประชุมสําหรับภิกษุทั้งหลายผู้ทําสังคายนา. จะทําที่ไหน เจ้าข้า? ขอถวายพระพรมหาบพิตร ควรทําใกล้ประตูถ้ำสัตตบรรณ ข้างภูเขาเวภาระ. พระเจ้าอชาตศัตรูมีพระราชกระแสว่า เหมาะดี เจ้าข้า แล้วโปรดให้สร้างมณฑปมีเครื่องประดับวิเศษที่น่าชม มีทรวดทรงสัณฐาน เช่นอาคารอันวิษณุกรรมเทพบุตรเนรมิตไว้ มีฝาเสา และบันไดจัดแบ่งไว้เป็นอย่างดี มีความงามวิจิตรไปด้วยมาลากรรม และลดากรรมนานาชนิดพิศแล้วประหนึ่งว่า จะครอบงําความงามแห่งพระตําหนักของพระราชา งามสง่าเหมือนจะเย้ยหยันความงามของเทพวิมาน ปานประหนึ่งว่า สถานเป็น

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 81

ที่รวมอยู่ของโชควาสนา ราวกะว่าท่าที่รวมลงของฝูงวิหค คือนัยนาแห่งเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เพียงดังภาพที่งามตาน่ารื่นรมย์ในโลก ซึ่งประมวลไว้ในที่เดียวกัน มีเพดานงามยวนตาเหมือนจะคายออกซึ่งพวงดอกไม้ชนิดต่างๆ และไข่มุกที่ห้อยอยู่ ดูประหนึ่งพื้นระดับ ซึ่งปรับด้วยทับทิม วิจิตรไปด้วยรัตนะต่างๆ มีแท่นที่สําเร็จเรียบร้อยดี ด้วยดอกไม้บูชานานาชนิด ประดับให้วิจิตรละม้ายคล้ายพิมานพรหม โปรดให้ปูลาดอาสนะอันเป็นกัปปิยะ ๕๐๐ ที่ มีค่านับมิได้ ในมหามณฑปนั้น สําหรับภิกษุ ๕๐๐ รูป ให้ปูลาดที่นั่งพระเถระ หันหน้าทางทิศเหนือหันหลังทางทิศใต้ ให้ปูลาดที่นั่งแสดงธรรมอันควรแก่การประทับนั่งของพระพุทธเจ้าผู้มีบุญ หันหน้าทางทิศตะวันออก ในท่ามกลางมณฑป วางพัดทําด้วยงาช้างไว้บนธรรมาสน์นั้น แล้วมีรับสั่งให้แจ้งแก่ภิกษุสงฆ์ว่า กิจของโยมเสร็จแล้ว เจ้าข้า.

ก็และในวันนั้น ภิกษุบางพวกได้พูดพาดพิงถึงท่านพระอานนท์อย่างนี้ว่า ในหมู่ภิกษุนี้ มีภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวโชยกลิ่นคาวอยู่. พระอานนท์เถระได้ยินคํานั้นแล้ว ถึงความสังเวชว่า ภิกษุรูปอื่นที่ชื่อว่าเที่ยวโชยกลิ่นคาว ไม่มีในหมู่ภิกษุนี้ ภิกษุเหล่านี้คงพูดหมายถึงเราเป็นแน่.ภิกษุบางพวกกล่าวกะพระอานนท์นั้นว่า ดูก่อนท่านอานนท์ การประชุมทําสังคายนาจักมีในวันพรุ่งนี้ แต่ท่านยังเป็นพระเสขะ ยังมีกิจที่จะต้องทําด้วยเหตุนั้นท่านไม่ควรเข้าประชุม ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด.

พระอานนท์บรรลุพระอรหัต

ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์คิดว่า พรุ่งนี้เป็นวันประชุมทําสังคายนา การที่เรายังเป็นพระเสขะอยู่ จะเข้าประชุมด้วยนั้น ไม่สมควรแก่

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 82

เราเลย แล้วให้เวลาล่วงไปด้วยกายคตาสติกรรมฐาน ตลอดราตรีเป็นส่วนมากทีเดียว ในเวลาใกล้รุ่งของราตรีก็ลงจากที่จงกรมเข้าวิหาร เอนกายลงหมายจะนอน. เท้าทั้งสองพ้นจากพื้นแล้ว แต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอนในระหว่างนี้จิตพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน. พระอานนทเถระนี้ให้เวลาล่วงไปในภายนอก ด้วยการจงกรม เมื่อไม่อาจให้คุณวิเศษเกิดขึ้นได้ ก็คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเราไว้มิใช่หรือว่า ดูก่อนอานนท์ เธอได้สร้างบุญไว้แล้ว จงหมั่นบําเพ็ญเพียรเถิด ไม่ช้าก็จะเป็นพระอรหันต์ดังนี้ ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ตรัสผิดพลาด แต่เราปรารภความเพียรมากเกินไป ฉะนั้น จิตของเราจึงฟุ้งซ่าน ทีนี้เราจะประกอบความเพียรพอดีๆ คิดดังนี้แล้ว ลงจากที่จงกรม ยืนในที่ล้างเท้า ล้างเท้า เข้าวิหาร นั่งบนเตียงคิดว่า จักพักผ่อนสักหน่อย แล้วเอนกายบนเตียง เท้าทั้งสองพ้นจากพื้น ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน ในระหว่างนี้จิตพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน. ความเป็นพระอรหันต์ของพระอานนทเถระ เว้นจากอิริยาบถ ๔ ฉะนั้น เมื่อมีการกล่าวถามกันขึ้นว่า ในศาสนานี้ ภิกษุที่ไม่นอน ไม่นั่ง ไม่ยืน ไม่เดินจงกรม แต่ได้บรรลุพระอรหัต คือภิกษุรูปไหน ควรตอบว่า คือ พระอานนทเถระ.

ครั้งนั้น ในวันที่ ๒ จากวันที่พระอานนท์บรรลุพระอรหัต คือวันแรม ๕ ค่ํา พวกภิกษุชั้นพระเถระฉันเสร็จแล้ว เก็บบาตร และจีวร แล้วประชุมกันในธรรมสภา. สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เป็นพระอรหันต์ได้ไปสู่ที่ประชุม. ท่านไปอย่างไร. ท่านพระอานนท์มีความยินดีว่า บัดนี้เราเป็นผู้สมควรเข้าท่ามกลางที่ประชุมแล้ว ห่มจีวรเฉวียงบ่า

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 83

ข้างหนึ่ง มีลักษณะเหมือนลูกตาลสุกที่หล่นจากขั้ว มีลักษณะเหมือนทับทิมที่วางไว้บนผ้ากัมพลสีเหลือง มีลักษณะเหมือนดวงจันทร์เพ็ญที่ลอยเด่นในท้องนภากาศอันปราศจากเมฆ และมีลักษณะเหมือนดอกปทุมมีเกสร และกลีบแดงเรื่อกําลังแย้มด้วยต้องแสงอาทิตย์อ่อนๆ คล้ายจะบอกเรื่องที่ตนบรรลุพระอรหัตด้วยปากอันประเสริฐบริสุทธิ์ผุดผ่องมีรัศมี และมีสิริ ได้ไปสู่ที่ประชุมสงฆ์. ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะพอเห็นพระอานนท์ดังนั้น ได้มีความรู้สึกว่า ท่านผู้เจริญ พระอานนท์บรรลุพระอรหัตแล้ว งามจริงๆ ถ้าพระศาสดายังดํารงพระชนม์อยู่ พระองค์ก็จะพึงประทานสาธุการแก่พระอานนท์ในวันนี้แน่แท้ บัดนี้เราจะให้สาธุการซึ่งพระศาสดาควรประทานแก่พระอานนท์นั้น ดังนี้แล้ว ได้ให้สาธุการ ๓ ครั้ง.

ส่วนพระมัชฌิมภาณกาจารย์กล่าวว่า พระอานนทเถระ ประสงค์จะให้สงฆ์ทราบเรื่องที่ตนบรรลุพระอรหัต จึงมิได้ไปพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายเมื่อนั่งบนอาสนะที่ถึงแก่ตนๆ ตามลําดับอาวุโส ก็นั่งเว้นอาสนะของพระอานนทเถระไว้. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางพวกถามว่า นั่นอาสนะของใคร? ได้รับตอบว่า ของพระอานนท์. ภิกษุเหล่านั้นถามอีกว่า พระอานนท์ไปไหนเสียเล่า? สมัยนั้น พระอานนทเถระคิดว่า บัดนี้เป็นเวลาที่เราควรจะไป ต่อจากนั้น เมื่อจะแสดงอานุภาพของตน ท่านจึงดําดินแล้วแสดงตนบนอาสนะของตนทีเดียว.อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า พระอานนท์ไปทางอากาศแล้ว นั่งบนอาสนะของตน ดังนี้ก็มี. อย่างไรก็ตาม การที่ท่านพระมหากัสสปะเห็นพระอานนท์แล้ว ให้สาธุการ เป็นการเหมาะสมโดยประการทั้งปวงทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 84

เมื่อท่านพระอานนท์มาอย่างแล้ว พระมหากัสสปเถระจึงปรึกษาหารือภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายจะสังคายนาอะไรก่อน พระธรรมหรือพระวินัย? ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่พระมหากัสสปะผู้เจริญ พระวินัยเป็นอายุของพระพุทธศาสนา เมื่อพระวินัยตั้งอยู่ พระศาสนาก็ชื่อว่ายังดํารงอยู่ เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายจงสังคายนาพระวินัยก่อน พระมหากัสสปะถามว่าเราจะจัดให้ใครรับเป็นธุระ? ที่ประชุมตอบว่าให้ท่านพระอุบาลีรับเป็นธุระ? ท่านถามแย้งว่าพระอานนท์ไม่สามารถหรือ? ที่ประชุมชี้แจงว่า ไม่ใช่พระอานนท์ไม่สามารถ ก็แต่ว่าเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งดํารงพระชนม์อยู่ ได้สถาปนาท่านพระอุบาลีไว้ในเอตทัคคะ เพราะอาศัยการเล่าเรียนวินัยว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาลีเป็นยอดแห่งภิกษุสาวกของเราผู้ทรงวินัย ดังนี้ เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายจึงต้องถามพระอุบาลีเถระ สังคายนาพระวินัย.ลําดับนั้น พระมหากัสสปเถระได้สมมติตนเองเพื่อถามพระวินัย แม้พระอุบาลีเถระ ก็สมมติตนเองเพื่อตอบพระวินัย ในการสมมตินั้นมีบาลีดังต่อไปนี้

ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะได้เผดียงว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าจะขอถามวินัยกะพระอุบาลี. แม้ท่านพระอุบาลีก็ได้เผดียงว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหากัสสปะถามวินัยแล้ว จะตอบ ครั้นท่านพระอุบาลีสมมติตนอย่างนี้แล้วลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นมัสการภิกษุชั้นพระเถระแล้วนั่งบนธรรมาสน์จับพัดงา. ลําดับนั้น

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 85

พระมหากัสสปเถระนั่งบนเถรอาสน์ ถามวินัยกะท่านพระอุบาลีว่า ดูก่อนอาวุโสอุบาลี ปฐมปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติที่ไหน? พระอุบาลีตอบว่า ทรงบัญญัติที่เมืองเวสาลี เจ้าข้า.พระมหากัสสปะถามว่า ทรงปรารภใคร? พระอุบาลีตอบว่า ทรงปรารภพระสุทิน บุตรกลันทเศรษฐี. พระมหากัสสปะถามว่า เรื่องอะไร? พระอุบาลีตอบว่า เรื่องเสพเมถุนธรรม. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะถามท่านพระอุบาลีทั้งวัตถุ ถามทั้งนิทาน ถามทั้งบุคคล ถามทั้งมูลบัญญัติ ถามทั้งอนุบัญญัติ ถามทั้งอาบัติ ถามทั้งอนาบัติแห่งปฐมปาราชิก. ท่านพระอุบาลีอันพระมหากัสสปะถามแล้วๆ ก็ได้ตอบแล้ว.

ถามว่า ก็ในบาลีปฐมปาราชิก ในวินัยปิฎกนี้ บทอะไรๆ ที่ควรตัดออกหรือที่ควรเพิ่มเข้ามา จะมีบ้างหรือไม่มีเลย. ตอบว่า บทที่ควรตัดออก ไม่มีเลย เพราะถือกันว่าบทที่ควรตัดออกในภาษิตของพระพุทธเจ้าผู้มีบุญ จะมีไม่ได้เลย ด้วยว่าพระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ตรัสอักษรที่ไม่มีประโยชน์แม้แต่ตัวเดียว แต่บทที่ควรตัดออกในภาษิตของพระสาวกทั้งหลายก็ดี ของเทวดาทั้งหลายก็ดี ย่อมมีบ้าง พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้ตัดบทนั้นออกแล้ว. ส่วนบทที่ควรเพิ่มเข้ามา ย่อมมีได้แม้ในพุทธภาษิต สาวกภาษิต และเทวดาภาษิตทั่วไป เพราะฉะนั้น บทใดควรเพิ่มเข้าในเทศนาใด พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายก็ได้เพิ่มบทนั้นเข้ามาแล้ว. ถามว่า บทที่เพิ่มเข้ามานั้นได้แก่บทอะไรบ้าง? ตอบว่าบทที่เพิ่มเข้ามานั้น ได้แก่บทที่เป็นแต่เพียงคําเชื่อมความท่อนต้นกับท่อนหลัง มีอาทิอย่างนี้ว่า เตน สมเยน บ้าง เตน โข ปน สมเยน บ้าง

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 86

อถโข บ้าง เอวํ วุตฺเต บ้าง เอตทโวจ บ้าง อนึ่ง พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย ได้เพิ่มบทที่ควรเพิ่มเข้ามาอย่างนี้แล้ว ตั้งไว้ว่าอิทํ ปมปาราชิกํ (สิกขาบทนี้ชื่อปฐมปาราชิก) เมื่อปฐมปาราชิกขึ้นสู่สังคายนาแล้ว พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ก็ได้ทําคณสาธยาย (สวดเป็นหมู่) โดยนัยที่ยกขึ้นสู่สังคายนาว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เวรฺชายํ วิหรติ เป็นต้น. ในเวลาที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์เหล่านั้นเริ่มสวด แผ่นดินใหญ่ได้เป็นเหมือนให้สาธุการไหวจนถึงน้ำรองแผ่นดิน.

พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย ยกปาราชิกที่เหลืออยู่ ๓ สิกขาบท ขึ้นสู่สังคายนาโดยนัยนี้เหมือนกัน แล้วตั้งไว้ว่า อิทํ ปาราชิกกณฺฑํ กัณฑ์นี้ชื่อปาราชิกกัณฑ์ ตั้งสังฆาทิเสส ๑๓ ไว้ว่า เตรสกณฺฑํ ตั้งสิกขาบท ๒ ไว้ว่า อนิยต ตั้งสิกขาบท ๓๐ ไว้ว่า นิสสัคคียปาจิตตีย์ ตั้งสิกขาบท ๙๒ ไว้ว่า ปาจิตตีย์ ตั้งสิกขาบท ๔ ไว้ว่า ปาฏิเทสนียะ ตั้งสิกขาบท ๗๕ ไว้ว่า เสขิยะ ตั้งธรรม ๗ ประการไว้ว่า อธิกรณสมถะ ระบุสิกขาบท ๒๒๗ ว่า คัมภีร์มหาวิภังค์ ตั้งไว้ด้วยประการฉะนี้. แม้ในเวลาเสร็จการสังคายนาคัมภีร์มหาวิภังค์ แผ่นดินใหญ่ก็ได้ไหวโดยนัยก่อนเหมือนกัน.

ต่อจากนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย ได้ตั้งสิกขาบท ๘ ในภิกขุนีวิภังค์ไว้ว่า กัณฑ์นี้ชื่อปาราชิกภัณฑ์ ตั้งสังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบทไว้ว่า นี้สัตตรสกัณฑ์ ตั้งนิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทนี้ไว้ว่า นี้นิสสัคคียปาจิตตีย์ ตั้งปาจิตตีย์ ๑๖๖ สิกขาบทไว้ว่า นี้ปาจิตตีย์ ตั้งปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบทไว้ว่า นี้ปาฏิเทสนียะ ตั้งเสขิยะ ๗๕ สิกขาบทไว้ว่า นี้เสขิยะ ตั้งธรรม ๗ ประการไว้ว่า นี้อธิกรณสมถะ ระบุ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 87

สิกขาบท ๓๐๔ ว่า ภิกขุนีวิภังค์ อย่างนี้แล้ว ตั้งไว้ว่า วิภังค์นี้ชื่อ อุภโตวิภังค์ มี ๖๔ ภาณวาร. แม้ในเวลาเสร็จการสังคายนาคัมภีร์อุภโตวิภังค์ แผ่นดินใหญ่ก็ได้ไหวโดยนัยที่กล่าวแล้วเหมือนกัน.

โดยอุบายวิธีนี้แหละ พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย ยกคัมภีร์ขันธกะ (มหาวรรค และจุลวรรค) ซึ่งมีประมาณ ๘๐ ภาณวาร และคัมภีร์บริวารซึ่งมีประมาณ ๒๕ ภาณวาร ขึ้นสู่สังคายนาแล้วตั้งไว้ว่า ปิฎกนี้ชื่อวินัยปิฎก. แม้ในเวลาเสร็จการสังคายนาวินัยปิฎก แผ่นดินได้ไหวตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้มอบท่านพระอุบาลีให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน ในเวลาเสร็จการสังคายนาวินัยปิฎก พระอุบาลีเถระ วางพัดงาลงจากธรรมาสน์ นมัสการภิกษุชั้นเถระทั้งหลายแล้วนั่งบนอาสนะที่ถึงแก่ตน.

ครั้นสังคายนาพระวินัยเสร็จแล้ว ท่านพระมหากัสสปะประสงค์จะสังคายนาพระธรรมต่อไป จึงถามภิกษุทั้งหลายว่า เราทั้งหลายผู้จะสังคายนาพระธรรม (สุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก) จะจัดให้ใครรับเป็นธุระสังคายนาพระธรรม ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ให้ท่านพระอานนทเถระรับเป็นธุระ ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะได้เผดียงว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าจะขอถามพระธรรมกะพระอานนท์. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เผดียงว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหากัสสปะถามพระธรรมแล้ว จะตอบ. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นมัสการภิกษุชั้นพระเถระทั้งหลายแล้วนั่งบน

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 88

ธรรมาสน์จับพัดงา. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะถามภิกษุทั้งหลายว่าดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เราทั้งหลายจะสังคายนาปิฎกไหนก่อน? ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า สังคายนาสุตตันปิฎกก่อน พระมหากัลสปะถามว่า ในสุตตันตปิฎกมีสังคีติ ๔ ประการ (คือ ทีฆสังคีติ การสังคายนาทีฆนิกาย มัชฌิมสังคีติ การสังคายนามัชฌิมนิกาย สังยุตตสังคีติ การสังคายนาสังยุตตนิกาย อังคุตตรสังคีติ การสังคายนาอังคุตตรนิกาย ส่วนขุททกนิกาย มีวินัยปิฎกรวมอยู่ด้วย จึงไม่นับในที่นี้) ในสังคีติเหล่านั้น เราทั้งหลายจะสังคายนาสังคีติไหนก่อน? ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า สังคายนาทีฆสังคีติก่อน. พระมหากัสสปะถามว่า ในทีฆสังคีติ มีสูตร ๓๔ สูตร มีวรรค ๓ วรรค ในวรรคเหล่านั้น เราทั้งหลายจะสังคายนาวรรคไหนก่อน? ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า สังคายนาสีลขันธวรรคก่อน. พระมหากัสสปะถามว่า ในสีลขันธวรรค มีสูตร ๑๓ สูตร ในสูตรเหล่านั้น เราทั้งหลายจะสังคายนาสูตรไหนก่อน? ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญขึ้นชื่อว่าพรหมชาลสูตรประดับด้วยศีล ๓ ประเภท เป็นสูตรกําจัดโทษมีการหลอกลวง และการพูดประจบประแจงซึ่งเป็นมิจฉาชีพหลายอย่าง เป็นต้น เป็นสูตรปลดเปลื้องข่ายคือ ทิฏฐิ ๖๒ ทําหมื่นโลกธาตุให้ไหว เราทั้งหลายจงสังคายนาพรหมชาลสูตรนั้นก่อน.

ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะได้กล่าวถามคํานี้กะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอาวุโสอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพรหมชาลสูตรที่ไหน? พระอานนท์ตอบว่า ตรัส ณ พระตําหนักในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา ระหว่างกรุงราชคฤห์ และเมืองนาลันทา. พระมหากัสสปะถามว่า ทรงปรารภใคร? พระอานนท์ตอบว่า ทรงปรารภ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 89

สุปปิยปริพาชกกับพรหมทัตมาณพ. พระมหากัสสปะถามว่า เรื่องอะไร? พระอานนท์ตอบว่า เรื่องชม และติ. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะถามทั้งนิทาน ถามทั้งบุคคล แห่งพรหมชาลสูตรกะท่านพระอานนท์ ท่านพระอานนท์ก็ได้ตอบแล้ว. เมื่อตอบเสร็จแล้ว พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ไค้ทําคณสาธยาย. และแผ่นดินได้ไหวตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

ครั้นสังคายนาพรหมชาลสูตรอย่างนี้แล้ว ต่อจากนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนาสูตร ๑๓ สูตร ทั้งหมดรวมทั้งพรหมชาลสูตร ตามลําดับแห่งปุจฉา และวิสัชนา โดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อน อาวุโสอานนท์ วรรคนี้ชื่อสีลขันธวรรค. พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย สังคายนาบาลีประมาณ ๖๔ ภาณวาร ประดับด้วยสูตร ๖๔ สูตร จัดเป็น ๓ วรรค อย่างนี้ คือ มหาวรรคต่อจากสีลขันธวรรคนั้น ปาฏิกวรรคต่อจากมหาวรรคนั้น แล้วกล่าวว่า นิกายนี้ชื่อทีฆนิกาย แล้วมอบท่านพระอานนท์ ให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน. ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์ทีฆนิกายนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนามัชฌิมนิกาย ประมาณ ๘๐ ภาณวาร แล้วมอบกะนิสิตของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระว่า ท่านทั้งหลาย จงบริหารคัมภีร์มัชฌิมนิกายนี้ . ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์มัชฌิมนิกายนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนาสังยุตตนิกายประมาณ ๑๐๐ ภาณวาร แล้วมอบกะพระมหากัสสปเถระ ให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์สังยุตตนิกายนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนาอังคุตตรนิกายประมาณ ๑๒๐ ภาณวาร แล้วมอบกะพระอนุรุทธเถระ ให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่านว่า

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 90

คัมภีร์ธรรมสังคณี คัมภีร์วิภังค์ คัมภีร์กถาวัตถุ คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ คัมภีร์ธาตุกถา คัมภีร์ยมก คัมภีร์ปัฏฐาน ท่านเรียกว่า พระอภิธรรม.

ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์อังคุตตรนิกายนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย ได้สังคายนาบาลีพระอภิธรรม ซึ่งเป็นอารมณ์ของญาณอันสุขุม อันบัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญแล้วอย่างนี้ แล้วกล่าวว่า ปิฎกนี้ชื่อ อภิธรรมปิฎก พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ได้ทําคณสาธยาย แผ่นดินได้ไหวตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล. ต่อจากการสังคายนาอภิธรรมปิฎกนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนาพระบาลี คือ ชาดก นิทเทส ปฏิสัมภิทามรรค อปทาน สุตตนิบาต ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา พระทีฆภาณกาจารย์กล่าวว่า ประชุมคัมภีร์นี้ชื่อว่า ขุททกคันถะ และกล่าวว่า พระธรรมสังคาหกเถระ ยกสังคายนาในอภิธรรมปิฎกเหมือนกัน. ส่วนพระมัชฌิมภาณกาจารย์กล่าวว่า ขุททกคันถะทั้งหมดนี้กับจริยาปิฎก และพุทธวงศ์ นับเนื่องในสุตตันตปิฎก.

พระพุทธพจน์แม้ทั้งหมดนี้ พึงทราบว่ามี ๑ คือ รส มี ๒ คือ ธรรม และวินัย มี ๓ คือ ปฐมพจน์ มัชฌิมพจน์ และปัจฉิมพจน์ มี ๓ ด้วยอํานาจแห่งปิฎก มี ๕ ด้วยอํานาจแห่งนิกาย มี ๙ ด้วยอํานาจแห่งองค์มี ๘๔,๐๐๐ ด้วยอํานาจธรรมขันธ์ ด้วยประการฉะนี้.

พระพุทธพจน์มี ๑ คือ รส นับอย่างไร? จริงอยู่ คําใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมแล้ว

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 91

ทรงสั่งสอนเทวดา มนุษย์ นาค และยักษ์เป็นต้นก็ดี ทรงพิจารณาอยู่ก็ดี ตลอดเวลา ๔๕ ปี ในระหว่างนี้จนตราบเท่าเสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ตรัสไว้ คําทั้งหมดนั้นมีรสเดียว คือ วิมุตติรส นั่นแล พระพุทธพจน์ มี ๑ คือ รส นับอย่างนี้.

พระพุทธพจน์ มี ๒ คือธรรม และวินัย นับอย่างไร? จริงอยู่ พระพุทธพจน์ทั้งหมดนี้ ย่อมนับว่าธรรม และวินัย ในธรรม และวินัยนั้น วินัยปิฎก ชื่อว่าวินัย พระพุทธพจน์ที่เหลือ ชื่อว่าธรรม. เพราะเหตุนั้นแล พระมหากัสสปะจึงกล่าวว่า อย่ากระนั้นเลย เราทั้งหลายพึงสังคายนาพระธรรม และพระวินัย และกล่าวว่า ข้าพเจ้าจะถามวินัยกะพระอุบาลี จะถามธรรมกะพระอานนท์ พระพุทธพจน์มี ๒ คือธรรม และวินัย นับอย่างนี้.

พระพุทธพจน์มี ๓ คือปฐมพจน์ มัชฌิมพจน์ และปัจฉิมพจน์ นับอย่างไร? จริงอยู่ พระพุทธพจน์ทั้งหมดนี้มี ๓ ประเภท คือปฐมพุทธพจน์ มัชฌิมพุทธพจน์ ปัจฉิมพุทธพจน์. ใน ๓ ประเภทนี้ ปฐมพุทธพจน์ได้แก่พุทธพจน์นี้ คือ

อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ คหการํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ คหการก ทิฏโสิ ปุน เคหํ น กาหสิ สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏํ วิสงฺขตํ วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา

เราแสวงหาช่างผู้ทําเรือนคืออัตภาพ เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยวไปแล้ว สิ้นสงสารนับด้วยชาติมิใช่น้อย ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 92

ดูก่อนช่างผู้ทําเรือนคืออัตภาพ เราพบท่านแล้ว ท่านจักทําเรือนคืออัตภาพของเราอีกไม่ได้ โครงบ้านของท่านทั้งหมด เราทําลายแล้ว ยอดแห่งเรือนคืออวิชชา เรารื้อแล้ว จิตของเราถึงพระนิพพานแล้ว เราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลายแล้ว.

อาจารย์บางพวกกล่าวอุทานคาถาในคัมภีร์ขันธกะ มีคําว่า ยทา หเวปาตุภวนฺติ ธมฺมา ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ ดังนี้เป็นต้น ว่าเป็นปฐมพุทธพจน์ ก็อุทานคาถานี้ พึงทราบว่า เป็นอุทานคาถาที่บังเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าบรรลุพระสัพพัญุตญาณแล้ว ทรงพิจารณาอยู่ซึ่งปัจจยาการ ด้วยพระญาณที่สําเร็จด้วยโสมนัสเวทนา ในวันแรม ๑ ค่ํา เดือน ๖ ก็คําที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในเวลาใกล้เสด็จปรินิพพานว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังสัมมาปฏิบัติให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ดังนี้ เป็นปัจฉิมพุทธพจน์. คําที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสระหว่างปฐมพจน์ และปัจฉิมพจน์ ชื่อมัชฌิมพจน์. พุทธพจน์ ๓ ประเภทคือ ปฐมพุทธพจน์ มัชฌิมพุทธพจน์ และปัจฉิมพุทธพจน์ นับอย่างนี้

พุทธพจน์มี ๓ ด้วยอํานาจแห่งปิฎก นับอย่างไร? จริงอยู่ พระพุทธพจน์ทั้งหมดนี้มี ๓ ประเภท คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก. ใน ๓ ปิฎกนั้น พระพุทธพจน์นี้ คือ ปาติโมกข์ทั้ง ๒ วิภังค์ ขันธกะ ๘๒ ปริวาร ๑๖ ชื่อวินัยปิฎก เพราะรวมพระพุทธพจน์ทั้งหมดที่สังคายนาในครั้งปฐมสังคายนา และที่สังคายนาต่อมา. พระพุทธพจน์ที่ชื่อว่าสุตตันตปิฎก ได้แก่พระพุทธพจน์ต่อไปนี้คือ ทีฆนิกาย มีจํานวน ๓๔ สูตร มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น มัชฌิมนิกาย มีจํานวน ๑๕๒

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 93

สูตร มีมูลปริยายสูตรเป็นต้น สังยุตตนิกาย มีจํานวน ๗,๗๖๒ สูตร มีโอฆตรณสูตรเป็นต้น อังคุตตรนิกาย มีจํานวน ๙,๕๕๐ สูตร มีจิตตปริยาทานสูตรเป็นต้น ขุททกนิกายมี ๑๕ ประเภท คือขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตก สุตตนิบาต วิมานวัตถุ เปตวัตถุเถรคาถา เถรีคาถา ชาดก นิทเทส ปฏิสัมภิทา อปทาน พุทธวงศ์ และจริยาปิฎก. พระพุทธพจน์ที่ชื่อว่าอภิธรรมปิฎก ได้แก่พระพุทธพจน์ต่อไปนี้ คือ ธรรมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก ปัฏฐาน. ใน ๓ ปิฎกนี้

(อรรถาธิบายคําว่าวินัย)

วินัยศัพท์นี้ บัณฑิตผู้รู้อรรถแห่งวินัยศัพท์แปลความหมายว่าวินัยเพราะมีนัยต่างๆ เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะควบคุมกาย และวาจา.

ก็ในวินัยปิฎกนี้ มีนัยต่างๆ คือ มีปาติโมกขุทเทส ๕ อาบัติ ๗ กอง มีปาราชิกเป็นต้น มาติกา และวิภังค์เป็นต้นเป็นประเภท ส่วนนัยอนุบัญญัติเป็นนัยพิเศษ มีผลทําให้พระพุทธบัญญัติเดิมตึงขึ้น และหย่อนลง และวินัยนี้ ย่อมควบคุมกาย และวาจา เพราะห้ามการประพฤติล่วงทางกาย และทางวาจา เพราะฉะนั้น ท่านจึงแปลความหมายว่า วินัย เพราะมีนัยต่างๆ เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะควบคุมกาย และวาจา เพราะเหตุนั้นเพื่อความเป็นผู้ฉลาดในเนื้อความของคําของวินัยนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 94

วินัยศัพท์นี้ บัณฑิตผู้รู้อรรถแห่งวินัยศัพท์ แปลความหมายว่า วินัยเพราะมีนัยต่างๆ เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะควบคุมกาย และวาจา.

(อรรถาธิบายคําว่าสูตร)

ส่วนสุตตศัพท์นอกนี้ ท่านแปลความหมาย ว่าสูตร เพราะเปิดเผยซึ่งประโยชน์ทั้งหลาย เพราะกล่าวประโยชน์ไว้เหมาะสม เพราะเผล็ดประโยชน์ เพราะหลั่งประโยชน์ เพราะป้องกันอย่างดี และเพราะมีส่วนเสมอด้วยสายบรรทัด.

ก็พระสูตรนั้นย่อมส่องถึงประโยชน์ทั้งหลายอันต่างด้วยประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่นเป็นต้น. อนึ่ง ประโยชน์ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ในปิฎกนี้ เพราะตรัสอนุโลมตามอัธยาศัยของเวไนย. อนึ่งสุตตันตปิฎกนี้ ย่อมเผล็ดประโยชน์ทั้งหลาย อธิบายว่า เผล็ดผลเหมือนข้าวกล้าเผล็ดผลฉะนั้น. พระสูตรนี้ย่อมหลั่งประโยชน์ทั้งหลาย อธิบายว่าเหมือนโคนมหลั่งน้ำนมฉะนั้น. อนึ่ง พระสูตรนี้ ย่อมป้องกัน อธิบายว่าย่อมรักษาประโยชน์เหล่านั้นอย่างดี. อนึ่ง พระสูตรนี้มีส่วนเสมอด้วยสายบรรทัด เหมือนอย่างว่าสายบรรทัดเป็นเครื่องกําหนดของช่างไม้ทั้งหลายฉันใด แม้พระสูตรนี้ก็เป็นเครื่องกําหนดของวิญูชนทั้งหลายฉันนั้น เหมือนอย่างว่าดอกไม้ทั้งหลายที่คุมไว้ด้วยด้าย ย่อมไม่เรี่ยราย ย่อมไม่

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 95

กระจัดกระจายด้วยลมฉันใด ประโยชน์ทั้งหลายที่รวบรวมไว้ด้วยพระสูตรนี้ก็ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในเนื้อความแห่งคํา ของสูตรนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า

สุตตศัพท์นี้ ท่านแปลความหมายว่าสูตร เพราะส่องถึงประโยชน์ทั้งหลาย เพราะกล่าวประโยชน์ไว้เหมาะสม เพราะเผล็ดประโยชน์ เพราะหลั่งประโยชน์ เพราะป้องกันอย่างดี เพราะมีส่วนเสมอด้วยสายบรรทัด.

(อรรถาธิบายคําว่าอภิธรรม)

ก็ธรรมนอกนี้ ท่านเรียกอภิธรรม เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอภิธรรมนี้ว่าเป็นธรรมที่มีความเจริญ ที่กําหนดเป็นมาตรฐาน ที่บุคคลบูชาแล้ว ที่ตัดขาด และเป็นธรรมอันยิ่ง.

อภิศัพท์นี้ย่อมปรากฏในความว่าเจริญ ความว่าอันบัณฑิตกําหนดเป็นมาตรฐาน ความว่าอันบุคคลบูชาแล้ว ความว่าตัดขาด และความว่าเป็นธรรมอันยิ่ง มีประโยคตัวอย่างดังต่อไปนี้

อภิศัพท์มาในอรรถว่าเจริญ ในประโยคมีอาทิว่า พาฬฺหา เมอาวุโส ดูก่อนอาวุโส ทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า ย่อมเจริญกําเริบแก่ข้าพเจ้า ย่อมไม่ถอยลงเลย. อภิศัพท์มาในอรรถว่า อันบัณฑิตกําหนด

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 96

เป็นมาตรฐาน ในประโยคมีอาทิว่า ยา ตา รตฺติโย อภิฺาตาอภิลกฺขิตา ราตรีนั้นใด (วันจาตุททสี วันปัณณรสี วันอัฏฐมี) อันบัณฑิตกําหนดรู้แล้ว (ด้วยความเต็มดวงของดวงจันทร์ และด้วยความหมดดวงของดวงจันทร์) อันบัณฑิตกําหนดเป็นมาตรฐานไว้แล้ว (เพื่อสมาทานอุโบสถ เพื่อฟังธรรม และเพื่อทําสักการบูชาเป็นต้น) . อภิศัพท์มาในอรรถว่า อันบุคคลบูชาแล้ว ในประโยคมีอาทิว่า ราชาภิราชามนุชินฺโท ขอพระองค์จงทรงเป็นพระราชาอันพระราชาบูชาแล้วจงเป็นจอมคน. อภิศัพท์มาในอรรถว่า ตัดขาด ในประโยคมีอาทิว่า ปฏิพโลวิเนตุํ อภิธมฺเม อภิวินเย เป็นผู้สามารถแนะนําในอภิธรรม ในอภิวินัย.อธิบายว่า อฺฺมฺสงฺกรวิรหิเต ธมฺเม จ วินเย จ ในพระธรรม และในพระวินัย ซึ่งเว้นจากการปะปนกันและกัน. อภิศัพท์มาในอรรถว่า ยิ่ง ในประโยคมีอาทิว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน มีผิวพรรณงามยิ่ง.อนึ่ง แม้ธรรมทั้งหลายที่มีความเจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระอภิธรรมนี้ โดยนัยมีอาทิว่า รูปุปฺปตฺติยา มคฺคํ ภาเวติ เมตฺตาสหคเตน เจตสา เอกํ ทิสํ ผริตฺวา วิหรติ ภิกษุเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพนี้ มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่. แม้ธรรมทั้งหลายที่บัณฑิตกําหนดเป็นมาตรฐาน เพราะความเป็นสภาพที่ควรกําหนดด้วยอารมณ์เป็นต้น ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า รูปารมฺมณํ วาสทฺทารมฺมณํ วา มีรูปเป็นอารมณ์ มีเสียงเป็นอารมณ์. แม้ธรรมทั้งหลายอันท่านบูชาแล้ว ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า เสกฺขา ธมฺมา อเสกฺขา ธมฺมา โลกุตฺตรา ธมฺมา เสกขธรรม อเสกขธรรม โลกุตตรธรรม.แม้ธรรมทั้งหลายที่ตัดขาดแล้ว เพราะความเป็นของที่ตัดขาดแล้วตาม

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 97

สภาวะ. ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า ผสฺโส โหติ เวทนา โหติ ผัสสะมี เวทนามี แม้ธรรมทั้งหลายอันยิ่ง ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า มหคฺคตา ธมฺมา อปฺปมาณา ธมฺมา อนุตฺตรา ธมฺมา มหัคคตธรรม อัปปมาณธรรม อนุตตรธรรม เพราะเหตุนั้น เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในเนื้อความของคํา ของอภิธรรมนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า

ก็ธรรมนอกนี้ท่านเรียกว่าอภิธรรม เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอภิธรรมนี้ว่า เป็นธรรมที่มีความเจริญ ที่กําหนดเป็นมาตรฐาน ที่บุคคลบูชาแล้ว ที่ตัดขาด และเป็นธรรมยิ่ง.

ก็ในปิฎกทั้งหลายมีวินัยปิฎกเป็นต้นนี้ ปิฎกใดยังเหลืออยู่

ผู้รู้เนื้อความของปิฎกเรียกปิฎกนั้นว่า ปิฎกโดยเนื้อความว่าปริยัติ และภาชนะ พึงทราบว่ามี ๓ มีวินัยเป็นต้น เพราะรวมเข้ากับปิฎกศัพท์นั้น

จริงอยู่ แม้ปริยัติท่านก็เรียกว่า ปิฎก ในประโยคมีอาทิว่า อย่าถือโดยอ้างปิฎก. แม้ภาชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่า ปิฎก ในประโยคมีอาทิว่า ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้าเดินมา. เพราะเหตุนั้นบัณฑิตผู้รู้เนื้อความของปิฎกศัพท์ จึงเรียกปิฎกศัพท์ว่า ปิฎก โดยเนื้อความว่าปริยัติ และภาชนะ.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 98

บัดนี้พึงทราบว่า มี๓ มีวินัยเป็นต้น เพราะรวมเข้ากับปิฎกศัพท์นั้น พึงทราบว่ามี๓ มีวินัยเป็นต้นเหล่านี้อย่างนี้ว่า เพราะทําสมาสกับปิฎกศัพท์ ซึ่งมีเนื้อความ ๒ อย่างนั้น อย่างนี้ คือวินัยด้วย วินัยนั้นเป็นปิฎกด้วย เพราะเป็นปริยัติ และเพราะเป็นภาชนะแห่งเนื้อความนั้นๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อวินัยปิฎก โดยนัยตามที่กล่าวแล้ว พระสูตรด้วย พระสูตรนั้นเป็นปิฎกด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสุตตันตปิฎก อภิธรรมด้วย อภิธรรมนั้นเป็นปิฎกด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอภิธรรมปิฎก

ก็ครั้นทราบอย่างนี้แล้ว เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในประการต่างๆ ในปิฎกทั้ง ๓ เหล่านั้นอีกครั้ง

พึงแสดงประเภทของเทศนา ประเภทของศาสนา ประเภทของกถา และลิกขาปหานะ คัมภีรภาพตามสมควรในปิฎกเหล่านั้น ภิกษุย่อมถึงซึ่งประเภทแห่งการเล่าเรียนใด ซึ่งสมบัติใด แม้ซึ่งวิบัติใดในปิฎกใด ด้วยอาการใด พึงแสดงซึ่งประเภทแห่งการเล่าเรียนทั้งหมดแม้นั้นด้วยอาการนั้น.

ในคาถาเหล่านั้น มีคําอธิบายอย่างแจ่มแจ้ง และชัดเจน ดังต่อไปนี้ จริงอยู่ ปิฎก ๓ เหล่านั้น ท่านเรียกตามลําดับว่า อาณาเทศนา โวหารเทศนา ปรมัตถเทศนา ยถาปราธศาสนา ยถานุโลมศาสนา ยถาธรรมศาสนา และสังวราสังวรกถา ทิฏฐิวินิเวฐนกถา นามรูปปริจเฉทกถา.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 99

ก็ในปิฎก ๓ นี้ วินัยปิฎก ท่านเรียกว่า อาณาเทศนา การเทศนาโดยอํานาจบังคับบัญชา เพราะเป็นปิฎกที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ควรออกคําสั่ง ทรงแสดงแล้วโดยความเป็นเทศนาที่มากไปด้วยคําสั่ง. สุตตันตปิฎกท่านเรียกว่า โวหารเทศนา การเทศนาโดยบัญญัติ เพราะเป็นปิฎกที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงฉลาดในเชิงสอน ทรงแสดงแล้วโดยความเป็นเทศนาที่มากไปด้วยคําสอน. อภิธรรมปิฎก ท่านเรียกว่า ปรมัตถเทศนา การเทศนาโดยปรมัตถ์ เพราะเป็นปิฎกที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ฉลาดในปรมัตถ์ ทรงแสดงแล้วโดยความเป็นเทศนาที่มากไปด้วยปรมัตถ์.

อนึ่ง ปิฎกที่ ๑ (วินัยปิฎก) ท่านเรียกว่า ยถาปราธศาสนา การสั่งสอนตามความผิด เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีความผิดมากมายเหล่านั้นใด สัตว์เหล่านั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งตามความผิดในปิฎกนี้. ปิฎกที่ ๒ (สุตตันตปิฎก) ที่ท่านเรียกว่า ยถานุโลมศาสนา การสั่งสอนอนุโลมตามอัธยาศัย เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยอนุสัย และจริยาวิมุตติ มิใช่น้อย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนแล้วในปิฎกนี้ตามอนุโลม. ปิฎกที่ ๓ (อภิธรรมปิฎก) ท่านเรียกว่า ยถาธรรมศาสนา การสั่งสอนตามปรมัตถธรรม เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีความสําคัญในสภาวะสักว่ากองแห่งปรมัตถธรรมว่า นี่เรา นั่นของเรา ดังนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนแล้ว ตามปรมัตถธรรมในปิฎกนี้.

อนึ่ง ปิฎกที่ ๑ ท่านเรียกว่า สังวราสังวรกถา ด้วยอรรถว่าสังวราสังวระอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการฝ่าฝืน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในปิฎกนี้. บทว่า สํวราสํวโร ได้แก่ สังวรเล็ก และสังวรใหญ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 100

เหมือนกัมมากัมมะ การงานน้อย และการงานใหญ่ และเหมือนผลาผละผลไม้น้อย และผลไม้ใหญ่. ปิฎกที่ ๒ ท่านเรียกว่า ทิฏฐิวินิเวฐนกถา คําบรรยายคลายทิฏฐิ ด้วยอรรถว่า การคลายทิฏฐิอันเป็นปฏิปักษ์ต่อทิฏฐิ ๖๒ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในปิฎกนี้. ปิฎกที่ ๓ ท่านเรียกว่านามรูปปริจเฉทกถา คําบรรยายการกําหนดนาม และรูป ด้วยอรรถว่าการกําหนดนาม และรูปอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสมีราคะเป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในปิฎกนี้.

อนึ่ง พึงทราบสิกขา ๓ ปหานะ ๓ และคัมภีรภาวะ ๔ อย่าง ในปิฎกทั้ง ๓ เหล่านี้ ดังต่อไปนี้. จริงอย่างนั้น อธิสีลสิกขา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยเฉพาะในวินัยปิฎก อธิจิตตสิกขา ตรัสไว้โดยเฉพาะในสุตตันตปิฎก อธิปัญญาสิกขา ตรัสไว้โดยเฉพาะในอภิธรรมปิฎก.

อนึ่ง การละกิเลสอย่างหยาบ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในวินัยปิฎก เพราะศีลเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสอย่างหยาบ. การละกิเลสอย่างกลางตรัสไว้ในสุตตันตปิฎก เพราะสมาธิเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสอย่างกลาง. การละกิเลสอย่างละเอียด ตรัสไว้ในอภิธรรมปิฎก เพราะปัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสอย่างละเอียด. อนึ่ง การละกิเลสชั่วคราว ตรัสไว้ในปิฎกที่ ๑ การละกิเลสด้วยข่มไว้ และการละกิเลสเด็ดขาด ตรัสไว้ในปิฎกทั้ง ๒ นอกนี้. การละสังกิเลสคือทุจริต ตรัสไว้ในปิฎกที่ ๑ การละสังกิเลสคือตัณหา และทิฏฐิ ตรัสไว้ในปิฎกทั้ง ๒ นอกนี้.

ในปิฎก ๓ นี้ พึงทราบว่า แต่ละปิฎกมีคัมภีรภาวะ ทั้ง ๔ คือความลึกซึ้งโดยธรรม โดยอรรถ โดยเทศนา และโดยปฏิเวธ. ในคัมภีร์ภาวะทั้ง ๔ นั้น ธรรมได้แก่บาลี อรรถได้แก่เนื้อความของบาลีนั้น แหละ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 101

เทศนาได้แก่การแสดงซึ่งบาลีนั้น อันกําหนดไว้อย่างดีด้วยใจ ปฏิเวธได้แก่ความหยั่งรู้บาลี และเนื้อความของบาลีตามความเป็นจริง ก็เพราะธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธเหล่านี้ ในปิฎกทั้ง ๓ นี้ ผู้มีปัญญาน้อยทั้งหลาย หยั่งรู้ได้ยาก และเป็นที่พึ่งไม่ได้ เหมือนมหาสมุทร สัตว์เล็กทั้งหลาย มีกระต่ายเป็นต้น พึ่งไม่ได้ฉะนั้น จึงเป็นของลึกซึ้ง.ในปิฎก ๓ นี้ พึงทราบคัมภีรภาวะทั้ง ๔ อย่าง ในแต่ละปิฎกด้วยประการฉะนี้.

อีกนัยหนึ่ง ธรรมได้แก่เหตุ ข้อนี้สมด้วยพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่าญาณในเหตุ ชื่อธรรมปฏิสัมภิทา. อรรถได้แก่ผลแห่งเหตุ ข้อนี้สมด้วยพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า ญาณในผลแห่งเหตุ ชื่ออรรถปฏิสัมภิทา เทศนาได้แก่บัญญัติ อธิบายว่า การแสดงธรรมตามสภาวธรรม อีกอย่างหนึ่ง การแสดงด้วยอํานาจอนุโลม และปฏิโลม สังเขป และพิสดารเป็นต้นเรียกว่า เทศนา. ปฏิเวธได้แก่การตรัสรู้ และปฏิเวธนั้น เป็นได้ทั้งโลกิยะ ทั้งโลกุตตระ ได้แก่ความรู้จริงไม่เปลี่ยนแปลง ในเหตุทั้งหลายสมควรแก่ผล ในผลทั้งหลายสมควรแก่เหตุ ในบัญญัติทั้งหลายสมควรแก่ทางแห่งบัญญัติ โดยอารมณ์ และโดยความไม่หลง สภาวะแห่งธรรมทั้งหลายนั้นๆ ที่กล่าวแล้วในปิฎกนั้นๆ ไม่วิปริต กล่าวคือบัณฑิตกําหนดเป็นมาตรฐาน ควรแทงตลอด.

สภาวธรรมที่มีเหตุใดๆ ก็ดี สภาวธรรมที่มีผลใดๆ ก็ดี เนื้อความที่ควรให้รู้ด้วยประการใดๆ ย่อมเป็นเป้าหมายสําคัญแห่งญาณของผู้ฟังทั้งหลาย เทศนานี้ใด ที่ส่องเนื้อความนั้นให้กระจ่างด้วยประการนั้นๆ ก็ดี ปฏิเวธใดกล่าวคือความรู้จริงไม่วิปริตในปิฎก ๓ นี้ อย่างหนึ่ง สภาวะ

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 102

แห่งธรรมทั้งหลายนั้นๆ ที่ไม่วิปริต กล่าวคือ ที่บัณฑิตกําหนดเป็นมาตรฐาน ควรแทงตลอด คุณชาตนี้ทั้งหมด ผู้มีปัญญาทรามทั้งหลาย ซึ่งมิได้สั่งสมกุศลสมภารไว้ หยั่งรู้ได้ยาก และพึ่งไม่ได้ เหมือนมหาสมุทร สัตว์เล็กทั้งหลาย มีกระต่ายเป็นต้น พึ่งไม่ได้ เพราะเหตุนั้นสภาวธรรมที่มีเหตุหรือสภาวธรรมที่มีผลนั้นๆ จึงลึกซึ้ง คัมภีรภาวะทั้ง ๔ อย่าง ในปิฎก ๓ นี้ แต่ละปิฎก ผู้ศึกษาพึงทราบในบัดนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้. ก็คาถานี้ว่า

พึงแสดงประเภทของเทศนา ประเภทของศาสนา ประเภทของกถา และสิกขา ปหานะ คัมภีรภาพตามสมควรในปิฎกเหล่านั้น ดังนี้

เป็นคาถามีเนื้อความอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วด้วยคํามีประมาณเท่านี้.

ส่วนประเภทแห่งการเล่าเรียน ๓ อย่าง ในปิฎก ๓ ในคาถานี้ว่า

ภิกษุย่อมถึงซึ่งประเภทแห่งปริยัติใด ซึ่งสมบัติใด แม้ซึ่งวิบัติใด ในปิฎกใด ด้วยอาการใด พึงแสดงซึ่งประเภทแห่งปริยัติทั้งหมดแม้นั้น ด้วยอาการนั้น ดังนี้ พึงทราบต่อไป.

จริงอยู่ การเล่าเรียนมี ๓ อย่าง คือ อลคัททูปมาปริยัติ การเล่าเรียนเหมือนจับงูข้างหาง นิสสรณัตถปริยัติ การเล่าเรียนมีวัตถุประสงค์เพื่อออกไป ภัณฑาคาริกปริยัติ การเล่าเรียนของพระอรหันต์เปรียบด้วยขุนคลัง.

ในปริยัติ ๓ ประเภทนั้น ปริยัติใด ที่บุคคลเรียนผิดทาง คือเรียนเพราะเหตุมีติเตียนผู้อื่นเป็นต้น ปริยัตินี้ ชื่อ อลคัททูปมา ซึ่งพระผู้มี

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 103

พระภาคเจ้าทรงมุ่งหมายตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ต้องการงูแสวงหางู เที่ยวค้นหางู เขาพึงพบงูใหญ่ พึงจับขนด หรือจับหางงูนั่นนั้น งูนั้นพึงเลี้ยวกลับมากัดมือหรือแขน หรืออวัยวะน้อยใหญ่ที่ใดที่หนึ่งของบุรุษนั้น บุรุษนั้นพึงถึงตายหรือทุกข์ปางตาย เพราะการถูกงูกัดนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเป็นเพราะเขาจับงูผิดวิธี ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษบางพวกในศาสนานี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรมคือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละ โมฆบุรุษเหล่านั้นครั้นเล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ไม่พิจารณาเนื้อความของธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา เมื่อโมฆบุรุษเหล่านั้นไม่พิจารณาเนื้อความด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้นย่อมไม่ทนต่อการเพ่งพินิจ โมฆบุรุษเหล่านั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อติเตียนผู้อื่น และมีวัตถุประสงค์เพื่อเปลื้องตนจากการกล่าวร้ายนั้นๆ จึงเล่าเรียนธรรม โมฆบุรุษเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์แห่งธรรมใด ย่อมไม่ได้ประโยชน์แห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น ที่โมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนผิดทาง ย่อมเป็นไปเพื่ออันตรายอันไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเป็นเพราะธรรมทั้งหลายอันโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนผิดทางดังนี้.

ส่วนปริยัติใด ที่บุคคลเรียนถูกทาง คือหวังความบริบูรณ์แห่งคุณมีสีลขันธ์เป็นต้นเท่านั้น เรียนแล้ว มิได้เรียนเพราะเหตุมีการติเตียนผู้อื่นเป็นต้น นี้ชื่อ นิสสรณัตถปริยัติ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมุ่งหมายตรัสไว้ว่า ธรรมเหล่านั้นที่บุคคลเหล่านั้นเรียนถูกทาง ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร?ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะธรรมทั้งหลายบุคคลเหล่านั้นเรียนถูกทาง.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 104

ส่วนพระอรหันต์ผู้มีขันธ์อันกําหนดรู้แล้ว มีกิเลสอันละได้แล้ว มีมรรคอันอบรมแล้ว มีพระอรหัตตผลอันแทงตลอดแล้ว มีนิโรธอันทําให้แจ้งแล้ว ย่อมเรียนซึ่งปริยัติใด เพื่อต้องการรักษาประเพณี เพื่อต้องการอนุรักษ์พุทธวงศ์โดยเฉพาะ นี้ชื่อ ภัณฑาคาริกปริยัติ.

อนึ่ง ภิกษุปฏิบัติดีในพระวินัย อาศัยสีลสัมปทา ย่อมบรรลุวิชชา ๓ เพราะท่านกล่าวประเภทแห่งวิชชา ๓ เหล่านั้น ไว้ในพระวินัยนั้น. ภิกษุปฏิบัติดีในพระสูตร อาศัยสมาธิสัมปทา ย่อมบรรลุอภิญญา ๖ เพราะท่านกล่าวประเภทแห่งอภิญญา ๖ เหล่านั้นไว้ในพระสูตรนั้น ภิกษุปฏิบัติดีในพระอภิธรรม อาศัยปัญญาสัมปทา ย่อมบรรลุปฏิสัมภิทา ๔ เพราะท่านกล่าวประเภทแห่งปฏิสัมภิทา ๔ ไว้ในพระอภิธรรมนั้นเหมือนกัน. ภิกษุปฏิบัติดีในปิฎก ๓ เหล่านั้น ย่อมบรรลุสมบัติต่างด้วยวิชชา ๓ อภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทา ๔ เป็นต้นนี้ตามลําดับ ด้วยประการฉะนี้.

ส่วนภิกษุปฏิบัติชั่วในพระวินัย ย่อมมีความสําคัญว่า ไม่มีโทษในผัสสะทั้งหลาย มีการถูกต้องสิ่งที่มีวิญญาณครองเป็นต้น ที่ต้องห้าม โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกับการถูกต้องวัตถุมีเครื่องปูลาด และผ้าห่ม อันมีสัมผัสสบายที่ทรงอนุญาตไว้เป็นต้น. สมด้วยคําที่พระอริฏฐะกล่าวไว้ว่าเรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่าเป็นธรรมทําอันตราย แต่ธรรมเหล่านั้นไม่อาจเพื่อเป็นอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้เลยดังนี้. แต่นั้นภิกษุนั้นย่อมถึงความเป็นผู้ทุศีล.

ภิกษุปฏิบัติชั่วในพระสูตร ไม่รู้ความมุ่งหมายในพระบาลีมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ พวกเหล่านี้ มีอยู่ ปรากฏอยู่ ดังนี้ ย่อมถือเอาผิดๆ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมุ่งหมายตรัสไว้ว่า บุคคลย่อม

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 105

กล่าวตู่เราทั้งหลายด้วย ย่อมขุดซึ่งตนด้วย ย่อมประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมากด้วย ด้วยการที่คนถือผิด ดังนี้. แต่นั้น ภิกษุนั้นย่อมถึงความเป็นมิจฉาทิฏฐิ.

ภิกษุปฏิบัติชั่วในพระอภิธรรม เมื่อคิดธรรมฟุ้งเกินไป ย่อมคิดแม้เรื่องที่ไม่ควรคิด แต่นั้นย่อมถึงจิตวิปลาส สมด้วยพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคิดอยู่ซึ่งเรื่องไม่ควรคิดทั้งหลายเหล่าใดพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เสียจริต เรื่องไม่ควรคิดทั้งหลายเหล่านี้ ๔ ประการ บุคคลไม่ควรคิดเลย ดังนี้.

ภิกษุปฏิบัติชั่วในปิฎก ๓ เหล่านี้ ย่อมถึงความวิบัติต่างด้วยความเป็นผู้ทุศีล ความเป็นมิจฉาทิฏฐิ และจิตวิปลาสนี้ตามลําดับ ด้วยประการฉะนี้. คาถาแม้นี้ว่า

ภิกษุย่อมถึงซึ่งประเภทแห่งปริยัติใด ซึ่งสมบัติใด แม้ซึ่งวิบัติใด ในปิฎกใด ด้วยอาการใด พึงแสดงซึ่งประเภทแห่งปริยัติทั้งหมดแม้นั้น ด้วยอาการนั้น ดังนี้

เป็นคาถามีเนื้อความอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วด้วยคํามีประมาณเท่านี้.

ครั้นทราบปิฎกทั้งหลายโดยประการต่างๆ แล้ว ผู้ศึกษาพึงทราบพระพุทธพจน์นี้ว่า มี ๓ อย่าง ด้วยอํานาจแห่งปิฎกเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

พระพุทธพจน์มี ๕ ประเภท ด้วยอํานาจแห่งนิกาย นับอย่างไร?ความจริง พระพุทธพจน์ทั้งหมดเลยนั้น มี ๕ ประเภท คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย. บรรดานิกาย ๕

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 106

นั้น ทีฆนิกายคืออะไร? คือ นิกายที่มีสูตร ๓๔ สูตร มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น จัดเป็น ๓ วรรค.

นิกายใด มีสูตร ๓๔ สูตร จัดเป็น ๓ วรรค

นิกายที่ ๑ นี้ ชื่อทีฆนิกาย มีชื่อว่าอนุโลม

ก็เพราะเหตุไร นิกายที่ ๑ นี้ จึงเรียกว่า ทีฆนิกาย? เพราะเป็นที่ประชุม และเป็นที่อยู่ของสูตรทั้งหลายที่มีขนาดยาว. จริงอยู่ หมู่ และที่อยู่ท่านเรียกว่า นิกาย. ก็ในข้อที่นิกายศัพท์หมายถึงหมู่ และที่อยู่นี้มีอุทาหรณ์เป็นเครื่องสาธกทั้งทางศาสนา และทางโลก มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นหมู่อื่นแม้หมู่หนึ่ง ซึ่งผิดแผกแตกต่างกันเหมือนหมู่สัตว์เดียรฉาน และเหมือนที่อยู่ของกษัตริย์โปณิกะที่อยู่ของกษัตริย์จิกขัลลิกะเลย ดังนี้. เนื้อความของคําในความที่นิกายทั้ง ๔ ที่เหลือเรียกว่านิกาย บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วอย่างนี้.

มัชฌิมนิกายคืออะไร? คือ นิกายที่มีสูตร ๑๕๒ สูตร มีมูลปริยายสูตรเป็นต้น มีขนาดปานกลาง จัดเป็น ๑๕ วรรค

ในนิกายใด มีสูตร ๑๕๒ สูตร จัดเป็น ๑๕ วรรค

นิกายนั้น ชื่อมัชฌิมนิกาย.

สังยุตตนิกาย คืออะไร? คือ นิกายที่มีสูตร ๗,๗๖๒ สูตร มีโอฆตรณสูตรเป็นต้น ที่ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งเทวดาสังยุต เป็นต้น

นิกายที่มีสูตร ๗,๗๖๒ สูตรนี้ จัดเป็นสังยุตตนิกาย

อังคุตตรนิกาย คืออะไร? คือนิกายที่มีสูตร ๙,๕๕๗ สูตร มีจิตตปริยาทานสูตร เป็นต้น ที่ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการเพิ่มขึ้นส่วนละหนึ่งๆ

จํานวนสูตรในอังคุตตรนิกายมีดังนี้คือ ๙,๕๕๗ สูตร

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 107

ขุททกนิกาย คืออะไร? คือวินัยปิฎกทั้งสิ้น อภิธรรมปิฎกทั้งสิ้น คัมภีร์ ๑๕ ประเภทมีขุททกปาฐะเป็นต้น และพระพุทธพจน์ที่เหลือ เว้นนิกาย ๔.

ยกเว้นนี้กายทั้ง ๔ มีทีฆนิกายเป็นต้นเหล่านี้เสีย พระพุทธพจน์อื่นจากนั้น ท่านเรียกว่า ขุททกนิกายแล. พระพุทธพจน์มี ๕ อย่าง ด้วยอํานาจแห่งนิกาย นับอย่างนี้แล. พระพุทธพจน์มี ๙ อย่าง ด้วยอํานาจแห่งองค์ นับอย่างไร? จริงอยู่ พระพุทธพจน์ทั้งหมดนี้ มี ๙ ประเภท คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ.

ในพระพุทธพจน์มีองค์ ๙ นั้น อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ และบริวาร มงคลสูตร รตนสูตร นาลกสูตร ตุวัฏฏกสูตร ในสุตตนิบาต และคําสอนของพระตถาคตที่มีชื่อว่าสูตรแม้อื่น พึงทราบว่าสุตตะ. สูตรที่มีคาถาทั้งหมด พึงทราบว่า เคยยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สคาถวรรค แม้ทั้งสิ้นในสังยุตตนิกาย พึงทราบว่า เคยยะ. อภิธรรมปิฎกทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพระพุทธพจน์ แม้อื่นใด ที่ไม่ได้รวบรวมไว้ด้วยองค์ ๘ พระพุทธพจน์นั้น พึงทราบว่า เวยยากรณะ. ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนที่ไม่มีชื่อว่า สูตร ในสุตตนิบาต พึงทราบว่าคาถา. สูตร ๘๒ สูตร ที่ประกอบด้วยคาถาสําเร็จด้วยญาณ เกิดร่วมด้วยโสมนัสเวทนาพึงทราบว่าอุทาน. สูตร ๑๑๐ สูตร ที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า วุตฺตํ เหตํภควตา พึงทราบว่า อิติวุตตกะ. ชาดก ๕๕๐ เรื่อง มีอปัณณกชาดก

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 108

เป็นต้น พึงทราบว่า ชาดก. พระสูตร อันประกอบด้วยเรื่องที่ไม่เคยมีมามีขึ้น น่าอัศจรรย์ทั้งหมด ที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันไม่เคยมีมามีขึ้น น่าอัศจรรย์ ๔ อย่าง เหล่านี้ มีในพระอานนท์ดังนี้ พึงทราบว่า อัพภูตธรรม. พระสูตรที่ถูกถาม ได้ญาณและปีติ แม้ทั้งหมด มีจูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สักกปัญหสูตร สังขารภาชนียสูตร และมหาปุณณมสูตร เป็นต้น พึงทราบว่าเวทัลละ. พระพุทธพจน์มี ๙ อย่าง ด้วยอํานาจแห่งองค์ นับอย่างนี้แล

พระพุทธพจน์มี ๘๔,๐๐๐ ด้วยอํานาจแห่งธรรมขันธ์นับอย่างไร?จริงอยู่ พระพุทธพจน์ทั้งหมดนี้ มี ๘๔,๐๐๐ ประเภท ด้วยอํานาจแห่งธรรมขันธ์ ที่ท่านพระอานนท์ แสดงไว้แล้วอย่างนี้ว่า

ธรรมเหล่าใด ที่ขึ้นปากขึ้นใจข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเรียนธรรมเหล่านั้นจากพระพุทธเจ้า ๘๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เรียนจากภิกษุ ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์.

ในธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ นั้น พระสูตรที่มีหัวข้อเรื่องเดียวนับเป็นธรรมขันธ์ ๑. พระสูตรใดมีหัวข้อเรื่องหลายเรื่องรวมกัน ในพระสูตรนั้นนับธรรมขันธ์ตามจํานวนหัวข้อเรื่อง.

ในคาถาประพันธ์ คําถามปัญหาเรื่อง ๑ นับเป็นธรรมขันธ์ ๑ คําวิสัชนาปัญหาเรื่อง ๑ นับเป็นธรรมขันธ์ ๑. ในพระอภิธรรม การแจกติกะ และทุกะแต่ละอย่างๆ และการแจกจิตตวาระแต่ละอย่างๆ นับเป็นธรรมขันธ์ ๑ๆ ในพระวินัย มีวัตถุ มีมาติกา มีบทภาชนีย์ มีอันตราบัติ มีอาบัติ มีอนาบัติ มีติกเฉทะ (การกําหนดอาบัติเป็น ๓ ส่วน) ในวัตถุ

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 109

และมาติกาเป็นต้นเหล่านั้น ส่วนหนึ่งๆ พึงทราบว่า ธรรมขันธ์หนึ่งๆ .พระพุทธพจน์มี ๘๔,๐๐๐ ด้วยอํานาจแห่งธรรมขันธ์ นับอย่างนี้แล.

พระพุทธพจน์นี้ โดยไม่แยกประเภท มีหนึ่ง คือรส โดยแยกประเภท มีประเภท ๒ อย่าง เป็นต้น คือ เป็นพระธรรมอย่าง ๑ เป็นวินัยอย่าง ๑ เป็นต้น อันคณะผู้เชี่ยวชาญ มี พระมหากัสสปะ เป็นประมุขเมื่อจะสังคายนา ได้กําหนดประเภทนี้ก่อนแล้ว จึงสังคายนาว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นปฐมพุทธพจน์ นี้เป็นมัชฌิมพุทธพจน์ นี้เป็นปัจฉิมพุทธพจน์ นี้เป็นวินัยปิฎก นี้เป็นสุตตันตปิฎก นี้เป็นอภิธรรมปิฎก นี้เป็นทีฆนิกาย นี้เป็นมัชฌิมนิกาย นี้เป็นสังยุตตนิกาย นี้เป็นอังคุตตรนิกาย นี้เป็นขุททกนิกาย นี้เป็นองค์ ๙ มีสุตตะเป็นต้น นี้เป็นพระธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ ด้วยประการฉะนี้. และใช่ว่า ท่านจะกําหนดประเภทนี้เท่านั้นอย่างเดียว สังคายนาแล้วหาก็ไม่ แต่ท่านยังกําหนดประเภทแห่งสังคหะแม้อื่นๆ ซึ่งมีประการมิใช่น้อย เป็นต้นว่า อุทานสังคหะ วัคคสังคหะ เปยยาลสังคหะ และนิปาตสังคหะ มีเอกนิบาต และทุกนิบาตเป็นต้น สังยุตตสังคหะ และปัญญาสสังคหะเป็นต้น ที่ปรากฏอยู่ในปิฎก ๓ สังคายนาแล้ว ใช้เวลา ๗ เดือน ด้วยประการฉะนี้.

ก็ในอวสานแห่งการสังคายนาพระพุทธพจน์นั้น แผ่นดินใหญ่นี้ได้สั่นสะเทือนเลื่อนลั่นหวั่นไหวเป็นอเนกประการทั่วไปจนถึงน้ำรองแผ่นดินเป็นประหนึ่งว่าเกิดความปราโมทย์ให้สาธุการว่า ศาสนาของพระทศพลนี้ พระมหากัสสปเถระ ได้ทําให้สามารถมีอายุยืนไปได้ตลอดกาลประมาณ ๕,๐๐๐ ปี และได้ปรากฏมหัศจรรย์ทั้งหลายมิใช่น้อย ด้วยประการฉะนี้. สังคายนาใดในโลกเรียกกันว่า ปัญจสตา เพราะพระอรหันต์

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 110

อรรถกถาพรหมชาลสูตร

เมื่อปฐมมหาสังคายนานี้กําลังดําเนินไปอยู่ เวลาสังคายนาพระวินัย จบลง ท่านพระมหากัสสปะ เมื่อถามพรหมชาลสูตร ซึ่งเป็นสูตรแรก แห่งนิกายแรกในสุตตันตปิฎก ได้กล่าวคําอย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพรหมชาลสูตรที่ไหน ดังนี้เป็นต้นจบลง ท่านพระอานนท์ เมื่อจะประกาศสถานที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพรหมชาลสูตร และบุคคลที่พระองค์ตรัสปรารภให้เป็นเหตุนั้นให้ครบกระแสความจึงกล่าวคําว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้เป็นต้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้พรหมชาลสูตร ก็มีคําเป็นนิทานว่า เอวมฺเม สุตํ ที่ท่านพระอานนท์ กล่าวในคราวปฐมมหาสังคายนา เป็นเบื้องต้น ดังนี้

ในคําเป็นนิทานแห่งพระสูตรนั้น พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้.

แก้อรรถบท เอวํ

บทว่า เอวํ เป็นบทนิบาต บทว่า เม เป็นต้น เป็นบทนาม ใน คําว่า ปฏิปนฺโน โหติ นี้ บทว่า ปฏิ เป็นบทอุปสรรค. บทว่า โหติ เป็นบทอาขยาต พึงทราบการจําแนกบทโดยนัยเท่านี้ก่อน

แต่โดยอรรถ เอวํ ศัพท์ แจกเนื้อความได้หลายอย่าง เป็นต้นว่า ความเปรียบเทียบ ความแนะนํา ความยกย่อง ความติเตียน ความรับคํา อาการะ ความชี้แจง ความห้ามความอื่น

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 111

จริงอย่างนั้น เอวํ ศัพท์นี้ ที่มาในความเปรียบเทียบ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวํ ชาเตน มจฺเจน กตฺตพฺพํ กุสลํ พหุํ สัตว์เกิดมาแล้วควรบําเพ็ญกุศลให้มาก ฉันนั้น.

ที่มาในความแนะนํา เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวํ เต อภิกฺกมิตพฺพํ เอวํ ปฏิกฺกมิตพฺพํ เธอพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้.

ที่มาในความยกย่อง เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวเมตํ ภควาเอวเมตํ สุคต ข้อนั้นเป็นอย่างนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้นเป็นอย่างนี้พระพระสุคต.

ที่มาในความติเตียน เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวเมวํ ปนายํวสลี ยสฺมึ วา ตสฺมึ วา ตสฺส มุณฺฑกสฺส สมณกสฺส วณฺณํ ภาสติ ก็หญิงถ่อยนี้ กล่าวสรรเสริญสมณะโล้นนั้น อย่างนี้อย่างนี้ ทุกหนทุกแห่ง.

ที่มาในความรับคํา เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวํ ภนฺเตติ โขเต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุํ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ที่มาในอาการะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอวํ พฺยาโข อหํ ภนฺเตภควตา ธมฺมํ เทสิตํ อาชานามิ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนี้จริง.

ที่มาในความชี้แจง เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอหิ ตฺวํ มาณวภเยน สมโณ อานนฺโท เตนุปสงฺกม อุปสงฺกมิตฺวา มม วจเนน สมณํอานนฺทํ อปฺปาพาธํ อปฺปาตงฺกํ ลหุฏานํ พลํ ผาสุวิหารํ ปุจฺฉสุโภ มาณโว โตเทยฺยปุตฺโต ภวนฺตํ อานนฺทํ อปฺปาพาธํ อปฺปาตงฺกํ ลหุฏานํ พลํ ผาสุวิหารํ ปุจฺฉตีติ เอวฺจ วเทหิ สาธุ กิร ภวํ

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 112

อานนฺโท เยน สุภสฺส มาณวสฺส โตเทยฺยปุตฺตสฺส นิเวสนํ เตนุปสงฺกมตุ อนุกมฺปํ อุปาทาย มานี่แนะ พ่อหนุ่มน้อย เธอจงเข้าไปหาพระอานนท์ แล้วเรียนถามพระอานนท์ ถึงความมีอาพาธน้อย ความมีโรคน้อย ความคล่องแคล่ว ความมีกําลัง ความอยู่สําราญ และจงพูดอย่างนี้ว่า สุภมาณพโตเทยยบุตรเรียนถามพระอานนท์ผู้เจริญ ถึงความมีอาพาธน้อย ความมีโรคน้อย ความคล่องแคล่ว ความมีกําลัง ความอยู่สําราญ และจงกล่าวอย่างนี้ว่า ขอประทานโอกาส ได้ยินว่า ขอพระอานนท์ผู้เจริญ โปรดอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของสุภมาณพโตเทยยบุตรเถิด.

ที่มาในอวธารณะ ห้ามความอื่น เช่นในประโยคมีอาทิว่า ตํ กึ มฺถกาลามา อิเม ธมฺมา ฯเปฯ เอวํ โน เอตฺถ โหติ ดูก่อนชาวกาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล. พวกชนชาวกาลามะต่างกราบทูลว่า เป็นอกุศล พระเจ้าข้า. มีโทษ หรือไม่มีโทษ? มีโทษพระเจ้าข้า. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ? ท่านผู้รู้ติเตียนพระเจ้าข้า. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ หรือหาไม่ หรือท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไรในข้อนี้? ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ ในข้อนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้พระเจ้าข้า. เอวํ ศัพท์นี้นั้น ในพระบาลีนี้ พึงเห็นใช้ในอรรถ คืออาการะ ความชี้แจง ความห้ามความอื่น.

บรรดาอรรถ ๓ อย่างนั้น ด้วย เอวํ ศัพท์ ซึ่งมีอาการะ เป็นอรรถ ท่านพระอานนท์แสดงเนื้อความนี้ว่า พระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 113

นั้นละเอียดโดยนัยต่างๆ ตั้งขึ้นด้วยอัธยาศัยมิใช่น้อย สมบูรณ์ด้วยอรรถ และพยัญชนะ มีปาฏิหาริย์ต่างๆ ลึกซึ้งโดยธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธ มาสู่คลองโสตสมควรแก่ภาษาของตนๆ ของสัตว์โลกทั้งปวง ใครเล่าที่สามารถเข้าใจได้โดยประการทั้งปวง แต่ข้าพเจ้าแม้ใช้เรี่ยวแรงทั้งหมดให้เกิดความประสงค์ที่จะสดับ ก็ได้สดับมาอย่างนี้ คือ แม้ข้าพเจ้าก็ได้สดับมาโดยอาการอย่างหนึ่ง.

ด้วย เอวํ ศัพท์ ซึ่งมีนิทัสสนะเป็นอรรถ ท่านพระอานนท์ เมื่อจะเปลื้องตนว่า ข้าพเจ้ามิใช่พระสยัมภู พระสูตรนี้ข้าพเจ้ามิได้กระทําให้แจ้ง จึงแสดงพระสูตรทั้งสิ้นที่ควรกล่าวในบัดนี้ว่า เอวมฺเม สุตํ คือ ข้าพเจ้าเองได้ยินมาอย่างนี้.

ด้วย เอวํ ศัพท์ ซึ่งมีอวธารณะเป็นอรรถ ท่านพระอานนท์เมื่อจะแสดงพลังด้านความทรงจําของตนอันควรแก่ภาวะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญไว้ อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์นี้ เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ซึ่งเป็นพหูสูต มีคติ มีสติ มีธิติ (ความทรงจํา) เป็นอุปฐาก ดังนี้ และที่ท่านธรรมเสนาบดีพระสารีบุตรเถระสรรเสริญไว้ อย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท์ เป็นผู้ฉลาดในอรรถ ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาดในนิรุตติ ฉลาดในคําเบื้องต้น และคําเบื้องปลาย ดังนี้ ย่อมให้เกิดความประสงค์ที่จะสดับแก่สัตว์โลกทั้งหลาย โดยกล่าวว่าข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ และที่สดับนั้นก็ไม่ขาดไม่เกินทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ คืออย่างนี้เท่านั้น ไม่พึงเห็นเป็นอย่างอื่น.

แก้อรรถบท เม

เม ศัพท์ เห็นใช้ในเนื้อความ ๓ อย่าง. จริงอย่างนั้น เม ศัพท์นี้

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 114

มีเนื้อความเท่ากับ มยา เช่นในประโยคมีอาทิว่า คาถาภิคีตํ เม อโภชเนยฺยํ โภชนะที่ได้มาด้วยการขับกล่อม เราไม่ควรบริโภค.

มีเนื้อความเท่ากับ มยฺหํ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สาธุ เม ภนฺเตภควา สงฺขิตฺเตน ธมฺมํ เทเสตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์เถิด.

มีเนื้อความเท่ากับ มม เช่นในประโยคมีอาทิว่า ธมฺมทายาทา เม ภิกฺขเว ภวถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของเรา.

แต่ในพระสูตรนี้ เม ศัพท์ ควรใช้ในอรรถ ๒ อย่าง คือ มยาสุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมา และ มม สุตํ การสดับของข้าพเจ้า.

แก้อรรถบทว่า สุตํ

สุต ศัพท์นี้ มีอุปสรรค และไม่มีอุปสรรค จําแนกเนื้อความได้หลายอย่าง เช่นเนื้อความว่าไป ว่าปรากฏ ว่ากําหนัด ว่าสั่งสม ว่าขวนขวาย ว่าสัททารมณ์ที่รู้ด้วยโสต และว่ารู้ตามโสตทวาร เป็นต้น.

จริงอย่างนั้น สุต ศัพท์นี้ มีเนื้อความว่าไป เช่นในประโยคมีอาทิว่า เสนาย ปสุโต เสนาเคลื่อนไป มีเนื้อความว่าเดินทัพ.

มีเนื้อความว่าปรากฏ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สุตธมฺมสฺสปสฺสโต ผู้มีธรรมอันปรากฏแล้ว ผู้เห็นอยู่ มีเนื้อความว่า ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว.

มีเนื้อความว่ากําหนัด เช่นในประโยคมีอาทิว่า อวสฺสุตาอวสฺสุตสฺส ภิกษุณีมีความกําหนัดยินดีการที่ชายผู้มีความกําหนัดมาลูบ

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 115

คลําจับต้องกาย มีเนื้อความว่า ภิกษุณีมีจิตชุ่มด้วยราคะ ยินดีการที่ชายผู้มีจิตชุ่มด้วยราคะมาจับต้องกาย.

มีเนื้อความว่าสั่งสม เช่นในประโยคมีอาทิว่า ตุเมฺหหิ ปุฺํปสุตํ อนปฺปกํ บุญเป็นอันมาก ท่านทั้งหลายได้สั่งสมแล้ว มีเนื้อความว่าเข้าไปสั่งสมแล้ว.

มีเนื้อความว่าขวนขวาย เช่นในประโยคมีอาทิว่า เย ฌานปสุตาธีรา ปราชญ์ทั้งหลายเหล่าใดผู้ขวนขวายในฌาน มีเนื้อความว่า ประกอบเนืองๆ ในฌาน.

มีเนื้อความว่า สัททารมณ์ที่รู้ด้วยโสต เช่นในประโยคมีอาทิว่า ทิฏฺิ สุตํ มุตํ รูปารมณ์ที่จักษุเห็น สัททารมณ์ที่โสตฟัง และอารมณ์ทั้งหลายที่ทราบ มีเนื้อความว่า สัททารมณ์ที่รู้ด้วยโสต.

มีเนื้อความว่า รู้ตามโสตทวาร เช่นในประโยคมีอาทิว่า สุตธโร สุตสนฺนิจฺจโย ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ มีเนื้อความว่า ทรงธรรม ที่รู้ตามโสตทวาร.

แต่ในพระสูตรนี้ สุต ศัพท์นี้ มีเนื้อความว่า จําหรือความจําตามโสตทวาร.

ก็ เม ศัพท์ เมื่อมีเนื้อความเท่ากับ มยา ย่อมประกอบความได้ว่า ข้าพเจ้าได้สดับมา คือจําตามโสตทวาร อย่างนี้ เมื่อมีเนื้อความเท่ากับ มม ย่อมประกอบความได้ว่า การสดับของข้าพเจ้า คือ ความจําตามโสตทวารของข้าพเจ้า อย่างนี้.

แก้อรรถ เอวมฺเม สุตํ

บรรดาบททั้ง ๓ ดังกล่าวมานี้ บทว่า เอวํ แสดงกิจแห่งวิญญาณ

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 116

มีโสตวิญญาณเป็นต้น.

บทว่า เม แสดงบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยวิญญาณที่กล่าวแล้ว.

บทว่า สุตํ แสดงการรับไว้อย่างไม่ขาดไม่เกิน และไม่วิปริต เพราะปฏิเสธภาวะที่ไม่ได้ยิน.

อนึ่ง บทว่า เอวํ ประกาศภาวะที่เป็นไปในอารมณ์ที่ประกอบต่างๆ ตามวิถีวิญญาณที่เป็นไปตามโสตทวารนั้น.

บทว่า เม เป็นคําประกาศตน.

บทว่า สุตํ เป็นคําประกาศธรรม.

ก็ในพระบาลีนี้ มีความย่อดังนี้ว่า ข้าพเจ้ามิได้กระทําสิ่งอื่น แต่ได้กระทําสิ่งนี้ คือได้สดับธรรมนี้ ตามวิถีวิญญาณอันเป็นไปในอารมณ์โดยประการต่างๆ

อนึ่ง บทว่า เอวํ เป็นคําประกาศข้อควรชี้แจง.

บทว่า เม เป็นคําประกาศถึงตัวบุคคล.

บทว่า สุตํ เป็นคําประกาศถึงกิจของบุคคล.

อธิบายว่า ข้าพเจ้าจักชี้แจงพระสูตรใด พระสูตรนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

อนึ่ง บทว่า เอวํ ชี้แจงอาการต่างๆ ของจิตสันดาน ซึ่งเป็นตัวรับอรรถะและพยัญชนะต่างๆ ด้วยเป็นไปโดยอาการต่างกัน.

จริงอยู่ ศัพท์ว่า เอวํ นี้ เป็นอาการบัญญัติ.

ศัพท์ว่า เม เป็นคําชี้ถึงผู้ทํา.

ศัพท์ว่า สุตํ เป็นคําชี้ถึงอารมณ์.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 117

ด้วยคําเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันจิตสันดานที่เป็นไปโดยอาการต่างกัน กระทําการตกลงรับอารมณ์ ของผู้ทําที่มีความพร้อมเพรียงด้วยจิตสันดานนั้น.

อีกประการหนึ่ง ศัพท์ว่า เอวํ เป็นคําชี้กิจของบุคคล.

ศัพท์ว่า สุตํ เป็นคําชี้ถึงกิจของวิญญาณ

ศัพท์ว่า เม เป็นคําชี้ถึงบุคคลผู้ประกอบกิจทั้งสอง.

ก็ในพระบาลีนี้ มีความย่อดังนี้ว่า ข้าพเจ้า คือบุคคลผู้ประกอบด้วยโสตวิญญาณ ได้สดับมาด้วยโวหารว่า สวนกิจที่ได้มาด้วยอํานาจวิญญาณ.

บรรดาศัพท์ทั้ง ๓ นั้น ศัพท์ว่า เอวํ และศัพท์ว่า เม เป็นอวิชชมานบัญญัติ ด้วยอํานาจสัจฉิกัตถปรมัตถ์ เพราะในพระบาลีนี้ ข้อที่ควรจะได้ชี้แจงว่า เอวํ ก็ดี ว่า เม ก็ดี นั้น ว่าโดยปรมัตถ์ จะมีอยู่อย่างไร.

บทว่า สุตํ เป็นวิชชมานบัญญัติ เพราะอารมณ์ที่ได้ทางโสต ในบทนี้นั้น ว่าโดยปรมัตถ์มีอยู่.

อนึ่ง บทว่า เอวํ และ เม เป็นอุปาทาบัญญัติ เพราะมุ่งกล่าวอารมณ์นั้นๆ .

บทว่า สุตํ เป็นอุปนิธาบัญญัติ เพราะกล่าวอ้างถึงอารมณ์มีอารมณ์ที่เห็นแล้วเป็นต้น.

ก็ในพระบาลีนี้ ด้วยคําว่า เอวํ ท่านพระอานนท์แสดงความไม่หลง. เพราะคนหลงย่อมไม่สามารถแทงตลอดโดยประการต่างๆ ได้.

ด้วยคําว่า สุตํ ท่านพระอานนท์แสดงความไม่ลืมถ้อยคําที่ได้สดับมา เพราะผู้ที่ลืมถ้อยคําที่ได้สดับมานั้น ย่อมไม่รู้ชัดว่า ข้าพเจ้าได้สดับ

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 118

มาโดยกาลพิเศษ.

ด้วยอาการอย่างนี้ ท่านพระอานนท์นี้ ย่อมมีความสําเร็จทางปัญญา ด้วยความไม่หลง และย่อมมีความสําเร็จทางสติ ด้วยความไม่ลืม.

ในความสําเร็จ ๒ ประการนั้น สติอันมีปัญญานํา สามารถห้าม (ความอื่น) โดยพยัญชนะ ปัญญาอันมีสตินํา สามารถแทงตลอดโดยอรรถ. โดยที่มีความสามารถทั้ง ๒ ประการนั้น ย่อมสําเร็จภาวะที่ท่านพระอานนท์จะได้นามว่า ขุนคลังแห่งพระธรรม เพราะสามารถจะอนุรักษ์คลังพระธรรม ซึ่งสมบูรณ์ด้วยอรรถะ และพยัญชนะ.

อีกนัยหนึ่ง

ด้วยคําว่า เอวํ ท่านพระอานนท์แสดงโยนิโสมนสิการ เพราะผู้ที่ไม่มีโยนิโสมนสิการ ไม่แทงตลอดโดยประการต่างๆ

ด้วยคําว่า สุตํ ท่านพระอานนท์แสดงความไม่ฟุ้งซ่าน เพราะผู้ที่มีจิตฟุ้งซ่านฟังไม่ได้.

จริงอย่างนั้น บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน แม้เขาจะพูดด้วยความสมบูรณ์ทุกอย่าง ก็ยังพูดว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ยิน ขอจงพูดซ้ำ.

ก็ในคุณ ๒ ข้อนี้ ท่านพระอานนท์ทําอัตตสัมมาปณิธิและปุพเพกตปุญญตาให้สําเร็จได้ ด้วยโยนิโสมนสิการ เพราะผู้มิได้ตั้งตนไว้ชอบหรือมิได้กระทําความดีไว้ก่อน จะไม่มีโยนิโสมนสิการ ท่านพระอานนท์ทําการฟังพระสัทธรรม และการพึ่งสัตบุรุษให้สําเร็จได้ ด้วยความไม่ฟุ้งซ่านเพราะผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่สามารถจะฟังได้ และผู้ไม่พึ่งสัตบุรุษ ก็ไม่มีการสดับฟัง.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 119

อีกนัยหนึ่ง เพราะข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า บทว่า เอวํ แสดงไขอาการต่างๆ ของจิตสันดาน ซึ่งเป็นตัวรับอรรถะ และพยัญชนะต่างๆ ด้วยเป็นไปโดยอาการต่างกัน และอาการอันเจริญอย่างนี้นั้น ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มิได้ตั้งตนไว้ชอบ หรือมิได้กระทําความดีไว้ก่อน ฉะนั้น ด้วยคําว่า เอวํ นี้ ท่านพระอานนท์แสดงสมบัติคือจักร ๒ ข้อเบื้องปลายของตนด้วยอาการอันเจริญนี้. ด้วยคําว่า สุตํ ท่านพระอานนท์แสดงสมบัติคือจักรธรรม ๒ ข้อเบื้องต้นของตน ด้วยการประกอบการฟัง. เพราะผู้ที่อยู่ในถิ่นฐานอันมิใช่เป็นปฏิรูปเทศก็ดี ผู้ที่เว้นการพึ่งสัตบุรุษก็ดี ย่อมไม่มีการฟัง ด้วยประการฉะนี้ . ความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัย ย่อมเป็นอันสําเร็จแก่ท่าน เพราะความสําเร็จแห่งจักรธรรม ๒ ข้อเบื้องปลาย ความบริสุทธิ์แห่งความเพียร ย่อมเป็นอันสําเร็จ เพราะความสําเร็จแห่งจักร ๒ ข้อเบื้องต้น และด้วยความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัยนั้น ย่อมเป็นอันสําเร็จ ความฉลาดในปฏิเวธ ด้วยความบริสุทธิ์แห่งความเพียร ย่อมเป็นอันสําเร็จความฉลาดในปริยัติ. ด้วยประการฉะนี้ ถ้อยคําของท่านพระอานนท์ผู้มีความเพียร และอัธยาศัย บริสุทธิ์ สมบูรณ์ ด้วยปริยัติ และปฏิเวธ ย่อมควรที่จะเป็นคําเริ่มแรกแห่งพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนความขึ้นไปแห่งอรุณ เป็นเบื้องต้นของดวงอาทิตย์ที่กําลังอุทัยอยู่ และเหมือนโยนิโสมนสิการ เป็นเบื้องต้นแห่งกุศลกรรมฉะนั้น เหตุดังนั้นท่านพระอานนท์ เมื่อจะตั้งคําเป็นนิทานในฐานะอันควร จึงกล่าวคําเป็นต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้.

อีกนัยหนึ่ง ด้วยคําแสดงการแทงตลอดมีประการต่างๆ ว่า เอวํ นี้ ท่านพระอานนท์แสดงถึงสภาพแห่งสมบัติ คือ อัตถปฏิสัมภิทา และ

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 120

ปฏิภาณปฏิสัมภิทาของตน. ด้วยคําแสดงถึงการแทงตลอดประเภทแห่งธรรมที่ควรสดับว่า สุตํ นี้ ท่านพระอานนท์แสดงถึงสภาพแห่งสมบัติคือ ธัมมปฏิสัมภิทา และนิรุตติปฏิสัมภิทา.

อนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อกล่าวคําอันแสดงโยนิโสมนสิการว่า เอวํ นี้ ย่อมแสดงว่า ธรรมเหล่านี้ ข้าพเจ้าเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยทิฏฐิ. เมื่อกล่าวคําอันแสดงการประกอบด้วยการสดับว่า สุตํ นี้ ย่อมแสดงว่า ธรรมเป็นอันมาก ข้าพเจ้าได้สดับแล้ว ทรงจําไว้แล้ว คล่องปาก. เมื่อแสดงความบริบูรณ์แห่งอรรถ และพยัญชนะ แม้ด้วยคําทั้งสองนั้น ย่อมให้เกิดความเอื้อเฟื้อในการฟัง เพราะว่าผู้ไม่สดับธรรม ที่บริบูรณ์ด้วยอรรถะ และพยัญชนะ โดยเอื้อเฟื้อ ย่อมเหินห่างจากประโยชน์เกื้อกูลอันใหญ่ เพราะเหตุดังนี้นั้น กุลบุตรควรจะให้เกิดความเอื้อเฟื้อฟังธรรมนี้โดยเคารพแล.

อนึ่ง ด้วยคําทั้งหมดว่า เอวมฺเม สุตํ นี้ ท่านพระอานนท์มิได้ตั้งธรรมที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว เพื่อตน ย่อมล่วงพ้นภูมิอสัตบุรุษเมื่อปฏิญาณความเป็นสาวก ย่อมก้าวลงสู่ภูมิสัตบุรุษ

อนึ่ง ย่อมยังจิตให้ออกพ้นจากอสัทธรรม ย่อมยังจิตให้ดํารงอยู่ในพระสัทธรรม เมื่อแสดงว่า ก็พระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเท่านั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาโดยสิ้นเชิงทีเดียว ชื่อว่าย่อมเปลื้องตนย่อมแสดงอ้างพระบรมศาสดา ทําพระดํารัสของพระชินเจ้าให้แนบแน่นประดิษฐานแบบแผนพระธรรมไว้.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อไม่ปฏิญาณว่าธรรมอันตนให้เกิดขึ้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ เปิดเผยการสดับให้เบื้องต้น ย่อม

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 121

ยังความไม่ศรัทธาให้พินาศ ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศรัทธาในธรรมนี้ให้เกิดขึ้นแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งปวงว่า พระดํารัสนี้ข้าพเจ้าได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แกล้วกล้าด้วยเวสารัชญาณทั้งสี่ ผู้ทรงกําลังสิบ ผู้ดํารงอยู่ในฐานะอันองอาจ ผู้บันลือสีหนาท ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง ผู้เป็นใหญ่ในธรรม ผู้เป็นธรรมราชา ผู้เป็นธรรมาธิบดี ผู้มีธรรมเป็นประทีป ผู้มีธรรมเป็นสรณะ ผู้ยังจักรอันประเสริฐ คือพระสัทธรรมให้หมุนไป ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ในพระดํารัสนี้ ใครๆ ไม่ควรทําความสงสัยหรือเคลือบแคลงในอรรถหรือธรรมในบทหรือพยัญชนะ เพราะฉะนั้น พระอานนท์ย่อมยังความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาให้พินาศ ยังสัทธาสัมปทาให้เกิดขึ้นในธรรมนี้ แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้ ด้วยเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวคาถาประพันธ์ไว้ดังนี้ว่า

พระอานนทเถระผู้เป็นสาวกของพระโคดมกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ ย่อมยังความไม่ศรัทธาให้พินาศ ย่อมยังศรัทธาในพระศาสนาให้เจริญ ดังนี้.

แก้อรรถบท เอกํ สมยํ

บทว่า เอกํ แสดงการกําหนดนับ.

บทว่า สมยํ แสดงสมัยที่กําหนด.สองบทว่า เอกํ สมยํ แสดงสมัยที่ไม่แน่นอน.สมย ศัพท์ ในบทว่า สมยํ นั้น

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 122

ปรากฏในความว่าพร้อมเพรียง ขณะ กาล ประชุม

เหตุ ลัทธิ ได้เฉพาะ ละ และ แทงตลอด.จริงอย่างนั้น สมย ศัพท์นั้น มีเนื้อความว่า พร้อมเพรียง เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า อปฺเปวนาม เสฺวปิ อุปสงฺกเมยฺยาม กาลํ จ สมยํ จ อุปาทาย ชื่อแม้ไฉน เราทั้งหลายกําหนดกาล และความพร้อมเพรียงแล้ว พึงเข้าไปหาแม้ในวันพรุ่งนี้

มีเนื้อความว่า ขณะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอโก จ โข ภิกฺขเว ขโณ จ สมโย จ พฺรหฺมจริยวาสาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โอกาส และขณะเพื่อการอยู่พรหมจรรย์อย่างเดียวเท่านั้นแล.

มีเนื้อความว่า กาล เช่นในประโยคมีอาทิว่า อุณฺหสมโย ปริฬาหสมโย กาลร้อน กาลกระวนกระวาย

มีเนื้อความว่า ประชุม เช่นในประโยคมีอาทิว่า มหาสมโย ปวนสฺมึ การประชุมใหญ่ ในป่าใหญ่.

มีเนื้อความว่า เหตุ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สมโยปิ โข เตภทฺทาลิ อปฺปฏิวิทฺโธ อโหสิ ภควา โข สาวตฺถิยํ วิหรติ ภควาปิมํ ชานิสฺสติ ภทฺทาลิ นาม ภิกฺขุ สตฺถุ สาสเน สิกฺขาย นปริปูริการีติ อยํปิ โข เต ภทฺทาลิ สมโย อปฺปฏิวิทฺโธ อโหสิ.ดูก่อนภัททาลิ แม้เหตุนี้แล เป็นเหตุอันเธอไม่แทงตลอดแล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ใกล้นครสาวัตถี แม้พระองค์จักทราบเราว่าภิกษุชื่อภัททาลิ เป็นผู้ไม่กระทําให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา ดังนี้ ดูก่อนภัททาลิ เหตุแม้นี้แล ได้เป็นเหตุอันเธอไม่แทงตลอดแล้ว.

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 123

มีเนื้อความว่า ลัทธิ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เตน โข ปนสมเยน อุคฺคหมาโน ปริพฺพาชโก สมณมุณฺฑิกาปุตฺโต สมยปฺปวาทเก ติณฺฑุกาจิเร เอกสาลเก มลฺลิกาย อาราเม ปฏิวสติ.
ก็โดยสมัยนั้นแล ปริพาชกชื่อว่าอุคคหมาน บุตรของนางสมณมุณฑิกาอยู่อาศัยในอารามของพระนางมัลลิกา ซึ่งมีศาลาหลังเดียว มีต้นมะพลับเรียงรายอยู่รอบ เป็นสถานที่สอนลัทธิ.

มีเนื้อความว่า ได้เฉพาะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า

ทิฏเ ธมฺเม จ โย อตฺโถ โย จตฺโถ สมฺปรายิโก อตฺถาภิสมยา ธีโร ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ.

ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรงจํา เราเรียกว่าบัณฑิต เพราะการได้เฉพาะ ซึ่งประโยชน์ทั้งภพนี้ และภพหน้า.

มีเนื้อความว่า ละ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สมฺมา มานาภิสมยา อนฺตมกาสิ ทุกฺขสฺส ได้ทําที่สุดแห่งทุกข์ เพราะละมานะโดยชอบ.

มีเนื้อความว่า แทงตลอด เช่นในประโยคมีอาทิว่า ทุกฺขสฺส ปีฬนฏโ สํขตฏโ สนฺตาปฏโ วิปริณามฏโ อภิสมยฏฺโ บีบคั้น ปรุงแต่ง เร่าร้อน แปรปรวน แทงตลอด.

สําหรับในพระสุตตันตปิฎกนี้ สมย ศัพท์ มีเนื้อความว่า กาล เพราะเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึงแสดงว่า สมัยหนึ่ง ในบรรดาสมัยทั้งหลาย อันเป็นประเภทแห่งกาล เป็นต้นว่า ปี ฤดู เดือน กึ่งเดือน กลางคืน กลางวัน เช้า เที่ยง เย็น ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม และครู่.

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 124

ในคําว่า สมัยหนึ่ง นั้น ในบรรดาสมัยทั้งหลาย มีปีเป็นต้นเหล่านี้ พระสูตรใดๆ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในปี ในฤดู ในเดือน ในปักษ์ ในกาลอันเป็นส่วนกลางคืน หรือในกาลอันเป็นส่วนกลางวันใดๆ ทั้งหมดนั้น พระอานนทเถระก็ทราบดี คือกําหนดไว้อย่างดีด้วยปัญญาแม้โดยแท้ ถึงอย่างนั้น เมื่อท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ ในปีโน้น ฤดูโน้น เดือนโน้น ปักษ์โน้น กาลอันเป็นส่วนแห่งกลางคืนโน้น หรือกาลอันเป็นส่วนกลางวันโน้น ดังนี้ ใครๆ ก็ไม่อาจทรงจําได้หรือแสดงได้ หรือให้ผู้อื่นแสดงได้ โดยง่าย และเป็นเรื่องที่ต้องกล่าวมาก ฉะนั้น พระอานนทเถระจึงประมวลเนื้อความนั้นไว้ด้วยบทเดียวเท่านั้น กล่าวว่าสมัยหนึ่ง ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ย่อมแสดงว่า สมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นประ องกาลมิใช่น้อยทีเดียว ที่ปรากฏมากมายในหมู่เทวดา และมนุษย์ทั้ง มีอาทิอย่างนี้ คือ สมัยเสด็จก้าวลงสู่พระครรภ์ สมัยประสูติ สมัยทรงสลดพระทัย สมัยเสด็จออกผนวช สมัยทรงบําเพ็ญทุกกรกิริยา สมัยทรงชนะมาร สมัยตรัสรู้ สมัยประทับเป็นสุขในทิฏฐธรรม สมัยตรัสเทศนา สมัยเสด็จปรินิพพาน เหล่านี้ใด ในบรรดาสมัยเหล่านั้น สมัยหนึ่ง คือสมัยตรัสเทศนา.

อนึ่ง ในบรรดาสมัยแห่งญาณกิจ และกรุณากิจ สมัยแห่งกรุณากิจ นี้ใด ในบรรดาสมัยทรงบําเพ็ญประโยชน์พระองค์ และทรงบําเพ็ญประโยชน์ผู้อื่น สมัยทรงบําเพ็ญประโยชน์ผู้อื่นนี้ใด ในบรรดาสมัยแห่งกรณียะทั้งสองแก่ผู้ประชุมกัน สมัยตรัสธรรมีกถานี้ใด ในบรรดาสมัยแห่งเทศนา และปฏิบัติ สมัยแห่งเทศนานี้ใด ท่านพระอานนท์กล่าวว่า สมัยหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 125

ดังนี้ หมายถึงสมัยใดสมัยหนึ่ง ในบรรดาสมัยทั้งหลายแม้เหล่านั้น.

ถามว่า ก็เหตุไร ในพระสูตรนี้ท่านจึงทำนิเทศ ด้วยทุติยาวิภัตติว่า เอกํ สมยํ ไม่กระทําเหมือนอย่างในพระอภิธรรม ซึ่งท่านได้ทํานิเทศด้วยสัตตมีวิภัตติ ว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ และในสุตตบทอื่นๆ จากพระอภิธรรมนี้ ก็ทํานิเทศด้วยสัตตมีวิภัตติว่า ยสฺมึ สมเย ภิกฺขเว ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ ส่วนในพระวินัยท่านทำนิเทศด้วยตติยาวิภัตติว่า เตนสมเยน พุทฺโธ ภควา?

ตอบว่า เพราะในพระอภิธรรม และพระวินัยนั้น มีอรรถเป็นอย่างนั้น ส่วนในพระสูตรนี้มีอรรถเป็นอย่างอื่น. จริงอยู่ บรรดาปิฎกทั้ง ๓ นั้นในพระอภิธรรม และในสุตตบทอื่นจากพระอภิธรรมนี้ ย่อมสําเร็จอรรถแห่งอธิกรณะและอรรถแห่งการกําหนดภาวะด้วยภาวะ. ก็อธิกรณะ คือสมัยที่มีกาลเป็นอรรถ และมีประชุมเป็นอรรถ และภาวะแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น ท่านกําหนดด้วยภาวะแห่งสมัย กล่าวคือ ขณะ ความพร้อมเพรียงและเหตุ แห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น ที่ตรัสไว้ในพระอภิธรรม และสุตตบทอื่นนั้นๆ เพราะฉะนั้น เพื่อส่องอรรถนั้น ท่านจึงทํานิเทศด้วยสัตตมีวิภัตติในพระอภิธรรม และในสุตตบทอื่นนั้น. ส่วนในพระวินัย ย่อมสําเร็จอรรถแห่งเหตุ และอรรถแห่งกรณะ. จริงอยู่ สมัยแห่งการทรงบัญญัติสิกขาบทนั้นใด แม้พระสาวกมีพระสารีบุตรเป็นต้น ก็ยังรู้ยาก โดยสมัยนั้นอันเป็นเหตุ และเป็นกรณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงบัญญัติสิกขาบททั้งหลาย และทรงพิจารณาถึงเหตุแห่งการทรงบัญญัติสิกขาบท ได้ประทับอยู่ในที่นั้นๆ เพราะฉะนั้น เพื่อส่องความข้อนั้น ท่านจึงทํานิเทศด้วยตติยาวิภัตติในพระวินัยนั้น. ส่วนในพระสูตรนี้ และพระสูตรอื่นที่มีกําเนิด

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 126

อย่างนี้ ย่อมสําเร็จอรรถแห่งอัจจันตสังโยคะ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้ หรือพระสูตรอื่น ตลอดสมัยใด เสด็จประทับอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่คือกรุณา ตลอดสมัยนั้นทีเดียว. เพราะฉะนั้น เพื่อส่องความข้อนั้น ท่านจึงทํานิเทศด้วยทุติยาวิภัตติในพระสูตรนี้ . เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถาประพันธ์ไว้ดังนี้ว่า

ท่านพิจารณาอรรถนั้นๆ กล่าวสมยศัพท์ในปิฎกอื่นด้วยสัตตมีวิภัตติและด้วยตติยาวิภัตติ แต่ในพระสุตตันตปิฎกนี้ กล่าวสมยศัพท์นั้น ด้วยทุติยาวิภัตติ

แต่พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย อธิบายว่า สมยศัพท์นี้ต่างกันแต่เพียงโวหาร ว่า ตสฺมึ สมเย หรือว่า เตน สมเยน หรือว่า ตํ สมยํ เท่านั้น ทุกปิฎกมีเนื้อความเป็นสัตตมีวิภัตติอย่างเดียว เพราะฉะนั้น ถึงท่านกล่าวว่า เอกํ สมยํ ก็พึงทราบเนื้อความว่า เอกสฺมึ สมเย ในสมัยหนึ่ง

แก้อรรถบท ภควา

บทว่า ภควา แปลว่า ครู. จริงอยู่ บัณฑิตทั้งหลาย เรียกครูว่า ภควาในโลก. และพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ก็ทรงเป็นครูของสรรพสัตว์ทั้งหลาย เพราะทรงเป็นผู้ประเสริฐที่สุดโดยคุณทั้งปวง ฉะนั้น พึงทราบว่าทรงเป็นภควา แม้พระโบราณาจารย์ทั้งหลายก็ได้กล่าวไว้ว่า

คําว่า ภควา เป็นคําประเสริฐสุด คําว่า ภควาเป็นคําสูงสุด เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงควรแก่ความเคารพโดยฐานเป็นครู ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 127

อีกอย่างหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีโชค ทรงหักกิเลส ทรงประกอบด้วยภคธรรม ทรงจําแนกแจกธรรม ทรงคบธรรม และทรงคายกิเลสเป็นเครื่องไปในภพทั้งหลายได้แล้ว เหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา.

บทว่า ภควา นี้ มีเนื้อความที่ควรทราบโดยพิสดาร ด้วยสามารถแห่งคาถานี้ และเนื้อความนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในนิเทศแห่งพุทธานุสสติ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

แก้อรรถบท เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา

ก็ด้วยลําดับแห่งคําเพียงเท่านี้ ในบรรดาคําเหล่านี้ ด้วยคําว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ เมื่อแสดงธรรมตามที่ได้สดับมา ชื่อว่าย่อมกระทําพระธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ประจักษ์. ด้วยคํานั้น ท่านย่อมยังประชาชนผู้กระวนกระวายเพราะไม่ได้เห็นพระศาสดาให้เบาใจว่า ปาพจน์คือ พระธรรมวินัยนี้ มีพระศาสดาล่วงไปแล้ว หามิได้ พระธรรมกายนี้เป็นพระศาสดาของท่านทั้งหลาย ดังนี้.ด้วยคําว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ ท่านพระอานนท์เมื่อแสดงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีอยู่ในสมัยนั้น ชื่อว่า ย่อมประกาศการเสด็จปรินิพพานแห่งพระรูปกาย. ด้วยคํานั้น ท่านพระอานนท์ ย่อมยังประชาชนผู้มัวเมาในชีวิตให้สลด และยังอุตสาหะในพระสัทธรรมให้เกิดแก่ประชาชนนั้นว่า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระวรกายเสมอด้วยกายเพชร ทรงไว้ซึ่งกําลังสิบ ทรงแสดงอริยธรรมชื่ออย่างนี้

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 128

ยังเสด็จปรินิพพาน คนอื่นใครเล่าจะพึงยังความหวังในชีวิตให้เกิดได้.อนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อกล่าวว่า อย่างนี้ ชื่อว่าย่อมแสดงซึ่งเทศนาสมบัติ เมื่อกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้สดับมา ชื่อว่าย่อมแสดงสาวกสมบัติ เมื่อกล่าวว่า สมัยหนึ่ง ชื่อว่าย่อมแสดงกาลสมบัติ เมื่อกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าย่อมแสดงเทสกสมบัติ.

แก้อรรถคํา อนฺตรา จ ราชคหํ อนฺตรา จ นาลนฺทํ

อนฺตรา ศัพท์ในคําว่า อนฺตรา จ ราชคหํ อนฺตรา จ นาลนฺทํ

เป็นไปในเนื้อความว่า เหตุ ขณะ จิต ท่ามกลาง และระหว่าง เป็นต้น

อนฺตราศัพท์เป็นไปในเนื้อความว่า เหตุ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ตทนนฺตรํ โก ชาเนยฺย อฺตฺร ตถาคตา ใครจะพึงรู้เหตุนั้น นอกจากพระตถาคต และว่า ชนา สงฺคมฺม มนฺเตนฺติ มฺจ ตฺจ กิมนฺตรํ ชนทั้งหลายมาประชุมปรึกษาเหตุอะไรกะข้าพเจ้า และกะท่าน.

ในเนื้อความว่า ขณะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า อทฺทส มํ ภนฺเตอนุตรา อิตฺถี วิชฺชนฺตริกาย ภาชนํ โธวนฺตี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หญิงคนหนึ่งล้างภาชนะ ฟ้าแลบ ได้เห็นข้าพระองค์.

ในเนื้อความว่า จิต เช่นในประโยคมีอาทิว่า ยสฺสนฺตรโต นสนฺติ โกปา ความกําเริบไม่มีในจิตของบุคคลใด.

ในเนื้อความว่า ท่ามกลาง เช่นในประโยคมีอาทิว่า อนฺตรา โวสานมาปาทิ ถึงที่สุดในท่ามกลาง.

ในเนื้อความว่า ระหว่าง เช่นในประโยคมีอาทิว่า อปิจายํ ตโปทาทฺวินฺนํ มหานิรยานํ อนฺตริกายาคจฺฉนฺติ อีกอย่างหนึ่ง บ่อน้ำร้อน

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 129

ชื่อตโปทานี้ มาในระหว่างมหานรกทั้งสอง.

อนฺตร ศัพท์นี้นั้น ในที่นี้เป็นไปในเนื้อความว่า ระหว่าง. เพราะฉะนั้น ในที่นี้พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ในระหว่างแห่งกรุงราชคฤห์และนาลันทา. แต่เพราะท่านประกอบด้วย อนฺตรศัพท์ ท่านจึงทําเป็นทุติยาวิภัตติ. ก็ในฐานะเช่นนี้ นักอักษรศาสตร์ทั้งหลาย ใช้ อนฺตรา ศัพท์เดียวเท่านั้น อย่างนี้ว่า อนฺตรา คามฺจ นทิฺจ ยาติ ไประหว่างบ้าน และแม่น้ำ. อนฺตราศัพท์นั้น ควรใช้ในบทที่สองด้วย เมื่อไม่ใช้ย่อมไม่เป็นทุติยาวิภัตติ. แต่ในที่นี้ท่านใช้ไว้แล้ว จึงกล่าวไว้อย่างนี้แล.

แก้อรรถบท อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน โหติ เป็นต้น

บทว่า อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน โหติ ความว่า ทรงดําเนินสู่ทางไกล อธิบายว่า ทางยาว. จริงอยู่ แม้กึ่งโยชน์ก็ชื่อว่า ทางไกล โดยพระบาลีในวิภังค์แห่งสมัยเดินทางไกลมีอาทิว่า พึงบริโภคด้วยคิดว่า เราจักเดินทางกึ่งโยชน์. ก็จากกรุงราชคฤห์ถึงเมืองนาลันทา ประมาณโยชน์หนึ่ง.

บทว่า ใหญ่ ในคําว่า กับด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ความว่า ใหญ่ทั้งโดยคุณทั้งโดยจํานวน. จริงอยู่ ภิกษุสงฆ์นั้น ชื่อว่าใหญ่โดยคุณ เพราะประกอบด้วยคุณธรรม มีความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยเป็นต้น ชื่อว่าใหญ่โดยจํานวน เพราะมีจํานวนถึงห้าร้อย. หมู่แห่งภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าภิกษุสงฆ์ ด้วยภิกษุสงฆ์นั้น อธิบายว่า ด้วยหมู่สมณะ กล่าวคือเป็นพวกที่มีความเสมอกันด้วยทิฏฐิ และศีล. บทว่า กับ คือโดยความเป็นอันเดียวกัน.

บทว่า ภิกษุประมาณห้าร้อย มีวิเคราะห์ว่า ประมาณของภิกษุ

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 130

เหล่านั้น ห้า เพราะเหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงชื่อว่า มีประมาณห้า. ประมาณท่านเรียกว่า มัตตะ. เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวว่าผู้รู้จักประมาณในโภชนะก็มีความว่า รู้จักประมาณ คือ รู้จักขนาดในการบริโภค ฉันใด แม้ในบทว่า มีประมาณห้า นี้ ก็พึงเห็นความอย่างนี้ว่า ประมาณห้า คือ ขนาดห้าของภิกษุจํานวนร้อยเหล่านั้น. ร้อยของภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าร้อยหนึ่ง.ด้วยภิกษุประมาณห้าร้อยเหล่านั้น

บทว่า สุปปิยะ ในคําว่า แม้สุปปิยปริพาชกแล เป็นชื่อของปริพาชกนั้น. ปิอักษร มีเนื้อความประมวลบุคคล เพราะเป็นเพื่อนเดินทาง. โขอักษรเป็นคําต่อบท ท่านกล่าวด้วยอํานาจเป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ. คําว่า ปริพาชก ได้แก่ปริพาชกนุ่งผ้า เป็นศิษย์ของสญชัย. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดําเนินทางไกลนั้นในกาลใด แม้สุปปิยปริพาชกก็ได้เดินทางในกาลนั้น. ก็ โหติ ศัพท์ในพระบาลีนี้มีเนื้อความเป็นอดีตกาล.

ในคําว่า กับด้วยพรหมทัตมาณพผู้เป็นศิษย์ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้

ชื่อว่า อันเตวาสี เพราะอรรถว่า อยู่ภายใน. อธิบายว่า เที่ยวไปในที่ใกล้ ท่องเที่ยวไปในสํานัก ได้แก่ เป็นศิษย์.

คําว่า พรหมทัต เป็นชื่อของศิษย์นั้น.

คําว่า มาณพ ท่านเรียกสัตว์บ้าง โจรบ้าง ชายหนุ่มบ้าง.

จริงอยู่ สัตว์ เรียกว่า มาณพ เช่นในประโยคมีอาทิว่า มาณพเหล่าใดถูกเทวทูตเตือนแล้ว ยังประมาทอยู่ มาณพเหล่านั้น เป็นนระผู้เข้าถึงหมู่ที่เลว ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน.

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 131

โจร เรียกว่า มาณพ เช่นในประโยคมีอาทิว่า สมาคมกับพวกมาณพผู้กระทํากรรมบ้าง ไม่ได้กระทํากรรมบ้าง.

ชายหนุ่ม เรียกว่า มาณพ เช่นในประโยคมีอาทิว่า อัมพัฏฐมาณพ มัณฑัพยมาณพ. แม้ในพระบาลีนี้ ก็มีเนื้อความอย่างนี้เหมือนกัน.

อธิบายว่า กับด้วยพรหมทัตศิษย์หนุ่ม.

บทว่า ตตฺร แปลว่า ในทางไกลนั้น หรือในคน ๒ คนนั้น.บทว่า สุทํ เป็นเพียงนิบาต.

ปริยาย ศัพท์ ในบทว่า โดยอเนกปริยาย เป็นไปในอรรถว่า วาระ เทศนา และเหตุ เท่านั้น.

ปริยาย ศัพท์ เป็นไปในอรรถว่า วาระ เช่นในประโยคมีอาทิว่า กสฺส นุ โข อานนฺท อชฺช ปริยาโย ภิกฺขุนิโย โอวทิตุํ ดูก่อนอานนท์ วันนี้เป็นวาระของใครที่จะให้โอวาทภิกษุณีทั้งหลาย.

เป็นไปในอรรถว่าเทศนา เช่นในประโยคมีอาทิว่า มธุปิณฺฑิกปริยาโยติ นํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจําธรรมนั้นว่าเป็นมธุปิณฑิกเทศนา.

เป็นไปในอรรถว่าเหตุ เช่นในประโยคมีอาทิว่า อิมินาปิ โข เตราชฺ ปริยาเยน เอวํ โหตุ ดูก่อนท่านเจ้าเมือง โดยเหตุแม้นี้ของท่าน จึงต้องเป็นอย่างนั้น.

แม้ในพระบาลีนี้ ปริยาย ศัพท์นี้นั้น ย่อมเป็นไปในอรรถว่าเหตุ ฉะนั้น เนื้อความในพระบาลีนี้ดังนี้ว่า โดยเหตุมากอย่าง อธิบายว่า โดยเหตุเป็นอันมาก.

บทว่า สุปปิยปริพาชกกล่าวโทษพระพุทธเจ้า ความว่า กล่าวติ

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 132

คือกล่าวโทษ กล่าวตําหนิ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้เว้นจากโทษอันไม่ควรสรรเสริญ ผู้แม้ประกอบด้วยคุณที่ควรสรรเสริญหาประมาณมิได้อย่างนั้นๆ โดยกล่าวเหตุอันไม่สมควรนั้นๆ นั่นแหละว่า เป็นเหตุอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นคนไม่มีรส เพราะเหตุที่พระสมณโคดมไม่มีการกระทําสามีจิกรรมมีการกราบไหว้เป็นต้น อันควรกระทําในผู้ใหญ่โดยชาติในโลก ที่เรียกว่าสามัคคีรส พระสมณโคดมเป็นคนไม่มีโภคะ พระสมณโคดมเป็นคนกล่าวการไม่กระทํา พระสมณโคดมเป็นคนกล่าวความขาดสูญ พระสมณโคดมเป็นคนเกลียดชัง พระสมณโคดมเป็นคนเจ้าระเบียบ พระสมณโคดมเป็นคนตบะจัด พระสมณโคดมเป็นคนไม่ผุดเกิด พระสมณโคดมไม่มีธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ซึ่งเป็นญาณ และทัศนะอันวิเศษที่ควรแก่พระอริยเจ้า พระสมณโคดมแสดงธรรมที่ตรึกเอง ที่ตรองเอง ที่รู้เอง พระสมณโคดมไม่ใช่สัพพัญู ไม่ใช่โลกวิทู ไม่ใช่คนยอดเยี่ยม ไม่ใช่อัครบุคคล ดังนี้ และกล่าวเหตุอันไม่ควรนั้นๆ นั่นแหละ ว่าเป็นเหตุกล่าวโทษแม้พระธรรม เหมือนอย่างกล่าวโทษพระพุทธเจ้า โดยประการนั้นๆ ว่า ธรรมของพระสมณโคดมกล่าวไว้ชั่ว รู้ได้ยาก ไม่เป็นธรรมที่นําออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ และกล่าวเหตุอันไม่สมควร ไม่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นเอง ว่าเป็นเหตุ กล่าวโทษแม้พระสงฆ์ เหมือนอย่างพระธรรม โดยประการนั้นๆ ว่า พระสงฆ์สาวกของพระสมณโคดมปฏิบัติผิด ปฏิบัติคดโกง ปฏิบัติปฏิปทาที่ขัด ปฏิปทาที่แย้ง ปฏิปทาอันไม่เป็นธรรมสมควรแก่ธรรม ดังนี้ โดยอเนกปริยาย.

ฝ่ายพรหมทัตมาณพศิษย์ของสุปปิยปริพาชกนั้น ผุดคิดขึ้นโดยอุบายอันแยบคายอย่างนี้ว่า อาจารย์ของพวกเราแตะต้องสิ่งที่ไม่ควรแตะ

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 133

ต้อง เหยียบสิ่งที่ไม่ควรเหยียบ อาจารย์ของพวกเรานี้นั้นกล่าวติพระรัตนตรัย ซึ่งควรสรรเสริญเท่านั้น จักถึงความพินาศย่อยยับเหมือนคนกลืนไฟ เหมือนคนเอามือลูบคมดาบ เหมือนคนเอากําปั้นทําลายภูเขาสิเนรุ เหมือนคนเล่นอยู่แถวซี่ฟันเลื่อย และเหมือนคนเอามือจับช้างซับมันที่ดุร้าย ก็เมื่ออาจารย์เหยียบคูถ หรือไฟ หรือหนาม หรืองูเห่าก็ดี ขึ้นทับหลาวก็ดี เคี้ยวกินยาพิษอันร้ายแรงก็ดี กลืนน้ำกรดก็ดี ตกเหวลึกก็ดี ไม่ใช่ศิษย์จะต้องทําตามนั้นไปเสียทุกอย่าง ด้วยว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ย่อมไปสู่คติตามควรแก่กรรมของตนแน่นอน มิใช่บิดาจะไปด้วยกรรมของบุตร มิใช่บุตรจะไปด้วยกรรมของบิดา มิใช่มารดาจะไปด้วยกรรมของบุตร มิใช่บุตรจะไปด้วยกรรมของมารดา มิใช่พี่ชายจะไปด้วยกรรมของน้องสาว มิใช่น้องสาวจะไปด้วยกรรมของพี่ชาย มิใช่อาจารย์จะไปด้วยกรรมของศิษย์ มิใช่ศิษย์จะไปด้วยกรรมของอาจารย์ ก็อาจารย์ของเรากล่าวติพระรัตนตรัย และการด่าพระอริยเจ้าก็มีโทษมากจริงๆ ดังนี้ เมื่อจะย่ํายีวาทะของอาจารย์ อ้างเหตุผลเหมาะควร เริ่มกล่าวสรรเสริญพระรัตนตรัยโดยอเนกปริยาย ทั้งนี้เพราะพรหมทัตมาณพเป็นกุลบุตรมีเชื้อชาติบัณฑิต ด้วยเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า ส่วนพรหมทัตมาณพศิษย์ของสุปปิยปริพาชก กล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย.

อธิบาย วณฺณ ศัพท์

ในศัพท์เหล่านั้น ศัพท์ว่า วณฺณ ในบทว่า วณฺโณ ย่อมปรากฏในความว่า สัณฐาน ชาติ รูปายตนะ การณะ ปมาณะ คุณะ และปสังสา.

ในบรรดาเนื้อความเหล่านั้น สัณฐาน เรียกว่า วณฺณ เช่นใน

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 134

ประโยคมีอาทิว่า มหนฺตํ สปฺปราชวณฺณํ อภินิมฺมินิตฺวา เนรมิตทรวดทรงเป็นพญางูตัวใหญ่.

ชาติ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า พฺราหฺมณาว เสฏโ วณฺโณ หีโน อฺโ วณฺโณ พวกพราหมณ์เท่านั้น มีชาติประเสริฐชาติอื่นเลว.

รูปายตนะ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ปรมายวณฺณโปกฺขรตาย สมนฺนาคตา ประกอบด้วยความงามแห่งรูปายตนะอย่างยิ่ง.

เหตุ เรียกว่า วณฺณ เช่นในคาถามีอาทิว่า

น หรามิ น ภฺชามิ อารา สึฆามิ วริชํ อถ เกน นุ วณฺเณน คนฺธตฺเถโนติ วุจฺจติ

ข้าพเจ้ามิได้ขโมย ข้าพเจ้ามิได้หัก ข้าพเจ้าดมห่างๆ ซึ่งดอกบัว เมื่อเป็นเช่นนี้ เหตุไรเล่าท่านจึงกล่าวว่าขโมยกลิ่น.

ประมาณ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ตโย ปตฺตสฺส วณฺณา บาตร ๓ ขนาด.

คุณ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า กทา สํุฬฺหาปน เต คหปติ อิเม สมณสฺส โคตมสฺส วณฺณา ดูก่อนคหบดีท่านประมวลคุณของพระสมณโคดมเหล่านี้ไว้แต่เมื่อไร.

สรรเสริญ เรียกว่า วณฺณ เช่นในประโยคมีอาทิว่า วณฺณารหสฺส วณฺณํ ภาสติ กล่าวสรรเสริญผู้ที่ควรสรรเสริญ.

ในพระบาลีนี้ วณฺณ หมายถึง ทั้งคุณ ทั้งสรรเสริญ

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 135

ได้ยินว่า พรหมทัตมาณพนี้ ได้อ้างเหตุที่เป็นจริงนั้นๆ กล่าวสรรเสริญประกอบด้วยคุณแห่งพระรัตนตรัย โดยอเนกปริยาย.

ในข้อนั้น พึงทราบคุณของพระพุทธเจ้า โดยนัยมีอาทิว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในบุคคลผู้เลิศ.

และมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเอก ไม่มีผู้เสมอ สมกับเป็นผู้ที่ไม่มีผู้เสมอ เมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นในโลก ดังนี้.

พึงทราบคุณของพระธรรม โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วว่า พระธรรมถอนอาลัย ตัดวัฏฏะ และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในอริยมรรคมีองค์ ๘ ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเลื่อมใสในธรรมอันเลิศ.

อนึ่ง พึงทราบคุณของพระสงฆ์ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระสงฆ์ ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ ดังนี้ .

ก็พระธรรมกถึก ผู้สามารถ พึงประมวลนวังคสัตถุศาสน์ในนิกายทั้ง ๕ เข้าสู่พระธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ ประกาศคุณของพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. พรหมทัตมาณพเมื่อประกาศคุณของพระพุทธเจ้าเป็นต้นในฐานะนี้ ใครๆ ก็ไม่อาจจะกล่าวว่าเป็นพระธรรมกถึกแล่นไปผิดท่า.แลพึงทราบกําลังความสามารถของพระธรรมกถึกในฐานะเช่นนี้. ส่วน

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 136

พรหมทัตมาณพกล่าวสรรเสริญพระรัตนตรัย โดยกําลังความสามารถของตน ซึ่งเพิ่มพูนขึ้นด้วยเพียงข่าวที่ฟังมาเป็นต้น

คําว่า อิติห เต อุโภ อาจริยนฺเตวาสี ความว่า ด้วยประการฉะนี้ อาจารย์ และศิษย์ทั้งสองนั้น. บทว่า อฺมฺสฺส ตัดบทเป็น อฺโ อฺสฺส ความว่า คนหนึ่งเป็นข้าศึกแก่อีกคนหนึ่ง.

บทว่า อุชุวิปจฺจนิกวาทา ความว่า มีวาทะเป็นข้าศึกหลายอย่างโดยตรงทีเดียว มิได้หลีกเลี่ยงกันแม้แต่น้อย อธิบายว่า มีวาทะผิดแผกกันหลายวาระทีเดียว ด้วยว่า เมื่ออาจารย์กล่าวติพระรัตนตรัย ศิษย์กล่าวชมคือคนหนึ่งกล่าวติ อีกคนหนึ่งกล่าวชม โดยทํานองนี้แล. อาจารย์กล่าวติพระรัตนตรัยบ่อยๆ อย่างนี้ เหมือนตอกลิ่มไม้เนื้ออ่อนลงบนแผ่นไม้เนื้อแข็ง. ฝ่ายศิษย์กล่าวชมพระรัตนตรัยบ่อยๆ เหมือนเอาลิ่มที่ทําด้วยทองเงิน และแก้วมณี ป้องกันลิ่มนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า ต่างมีถ้อยคําเป็นข้าศึกโดยตรง ดังนี้.

คําว่า ภควนฺตํ ปิฏิโต ปิฏิโต อนุพนฺธา โหนฺติ ภิกฺขุสงฺฆฺจ ความว่า เป็นผู้ติดตามไปข้างหลังๆ ยังมองเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์ โดยการติดตามอิริยาบถ อธิบายว่า ยังแลเห็นศีรษะตามไป.

ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จเดินทางไกล?เพราะเหตุไร สุปปิยปริพาชกจึงติดตามไป? และเพราะเหตุไร เขาจึงกล่าวติเตียนพระรัตนตรัย.

ตอบว่า เริ่มแรก พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ มหาวิหารแห่งหนึ่งในบรรดามหาวิหาร ๑๘ แห่ง ที่เรียงรายอยู่รอบกรุงราชคฤห์ ในกาลนั้น เวลาเช้าตรู่ ทรงปฏิบัติพระพุทธสรีระ ถึงเวลาภิกษาจาร

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 137

มีภิกษุสงฆ์แวดล้อมเสด็จเที่ยวบิณฑบาต ในกรุงราชคฤห์ วันนั้น พระองค์ทรงทําให้ภิกษุสงฆ์หาบิณฑบาตได้ง่าย ในเวลาภายหลังอาหารเสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ให้ภิกษุสงฆ์รับบาตร และจีวร มีพระพุทธดํารัสว่า จักไปเมืองนาลันทา เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ เสด็จดําเนินทางไกลนั้น.

ในกาลนั้น แม้สุปปิยปริพาชกก็อยู่ในอารามปริพาชกแห่งหนึ่งที่เรียงรายอยู่ รอบกรุงราชคฤห์ มีปริพาชกแวดล้อมเที่ยวภิกษาจารในกรุงราชคฤห์ วันนั้น แม้สุปปิยปริพาชกก็กระทําให้บริษัทปริพาชกหาภิกษาได้ง่าย บริโภคอาหารเช้าแล้ว ให้พวกปริพาชกรับบริขารแห่งปริพาชกกล่าวว่า จักไปเมืองนาลันทา เหมือนกัน ไม่ทราบเลยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปทางนั้น ชื่อว่าติดตามไป ถ้าทราบก็จะไม่ติดตามไป.สุปปิยปริพาชกนั้นไม่ทราบเลย เมื่อเดินไป ชะเง้อคอขึ้นดู จึงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้างามด้วยพระพุทธสิริปานประหนึ่งยอดภูเขาทองเดินได้ที่แวดวงด้วยผ้ากัมพลแดง.

ได้ยินว่า ในสมัยนั้น พระฉัพพรรณรังสีแผ่ซ่านออกจากพระสรีระของพระทศพล วนเวียนรอบเนื้อที่ประมาณแปดสิบศอก. บริเวณป่านั้นย่อมเป็นดังเกลื่อนกล่นไปด้วยช่อรัตนะ พวงรัตนะ และผงรัตนะ ดั่งแผ่นทองที่วิจิตรด้วยรัตนะอันแผ่ออก ดั่งประพรมด้วยน้ำทองสีแดงก่ําดั่งเกลื่อนกล่นด้วยกลุ่มดาวร่วง ดั่งฝุ่นชาดที่คลุ้งขึ้นด้วยแรงพายุ และดั่งแวบวาบปลาบแปลบด้วยแสงรัศมีแห่งสายรุ้งสายฟ้า และหมู่ดาราก็ปานกัน.

ก็และพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้ารุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะ

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 138

แปดสิบ ดั่งสระที่มีดอกบัวหลวง และบัวขาบแย้ม ดั่งต้นปาริฉัตตกออกดอกบานสะพรั่งไปทั้งต้น ดั่งจะเย้ยพื้นทิฆัมพร ซึ่งประหนึ่งแย้มด้วยพยับดาราด้วยพระสิริ อนึ่ง มาลัย คือพระลักษณะอันประเสริฐสามสิบสองประการของพระองค์ ที่งามวิลาศด้วยวงด้วยพระรัศมีประมาณวาหนึ่ง ก็ปานดั่งเอาพระสิริมาข่มเสียซึ่งพระสิริแห่งพระเจ้าจักรพรรดิสามสิบสองพระองค์ เทวราชสามสิบสองพระองค์ และมหาพรหมสามสิบสองพระองค์ ที่วางไว้ตั้งไว้ตามลําดับแห่งพวงมาลัยคือพระจันทร์สามสิบสองดวง พวงมาลัยคือพระอาทิตย์สามสิบสองดวงที่ร้อยแล้ว.

ก็และภิกษุทั้งหลายที่ยืนล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทั้งหมดล้วนแต่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลีกัน ตักเตือนกัน ติเตียนบาป ว่ากล่าวกัน ผู้เต็มใจทําตาม ทนคําสั่งสอน ประกอบด้วยศีล ประกอบด้วยสมาธิ ปัญญา วิมุตติ และ วิมุตติญาณทัสสนะ. ในท่ามกลางภิกษุเหล่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบดั่งเสาทอง ล้อมด้วยกําแพงคือผ้ากัมพลแดง ดั่งเรือทองที่อยู่กลางดงปทุมแดง ดั่งกองอัคคีที่วงด้วยไพที่แก้วประพาฬ ดั่งพระจันทร์เพ็ญอันล้อมด้วยหมู่ดาว ย่อมเจริญตาแม้แห่งฝูงมฤคชาติ และปักษีทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปไยถึงเทวดา และมนุษย์เล่า.

ก็ในวันนั้นแล โดยมากพระอสีติมหาเถระต่างก็ทรงผ้าบังสุกุลมีสีดังเมฆเฉวียงบ่าข้างหนึ่งถือไม้เท้า ราวกะว่าช้างตระกูลคันธวงศ์ที่ได้รับการฝึกหัดเป็นอย่างดี ปราศจากโทษแล้ว คายโทษแล้ว ทําลายกิเลสแล้ว สางเครื่องรุงรังแล้ว ตัดเครื่องผูกพันแล้ว พากันห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์เองทรงปราศจากราคะแล้ว

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 139

แวดล้อมด้วยไปด้วยภิกษุผู้ปราศจากราคะแล้ว พระองค์เองทรงปราศจากโทสะแล้ว แวดล้อมไปด้วยภิกษุผู้ปราศจากโทสะแล้ว พระองค์เองทรงปราศจากตัณหาแล้ว แวดล้อมไปด้วยภิกษุผู้ปราศจากตัณหาแล้ว พระองค์เองทรงไม่มีกิเลส แวดล้อมไปด้วยภิกษุผู้ไม่มีกิเลส พระองค์เองเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว แวดล้อมไปด้วยพระสาวกผู้รู้ตามเสด็จทั้งหลาย ราวกะว่าไกรสรราชสีหแวดล้อมไปด้วยมฤคชาติ ราวกะว่าดอกกัณณิการ์แวดล้อมด้วยเกสร ราวกะว่าพญาช้างฉัททันต์แวดล้อมด้วยช้างแปดพันเชือก ราวกะว่าพญาหงส์ชื่อธตรฐแวดล้อมด้วยหงส์เก้าหมื่น ราวกะว่าพระเจ้าจักรพรรดิแวดล้อมด้วยเสนางคนิกร ราวกว่าท้าวสักกเทวราชแวดล้อมด้วยหมู่เทวดา ราวกะว่าท้าวหาริตมหาพรหมแวดล้อมด้วยหมู่พรหม ได้เสด็จดําเนินไปทางนั้น ด้วยพุทธลีลาอันหาที่เปรียบมิได้ เป็นอจินไตยที่ใครๆ ไม่ควรคิดซึ่งบังเกิดด้วยผลบุญที่ทรงสั่งสมมาตลอดกาลประมาณมิได้ ดังดวงจันทร์ที่โคจรตลอดพื้นทิฆัมพรฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 140

สุปปิยปริพาชกพบพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้งนั้น ปริพาชกครั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปด้วยพุทธลีลาอันหาที่เปรียบมิได้ และเห็นภิกษุทั้งหลายมีจักษุทอดลง มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ กําลังถวายนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นดั่งดวงจันทร์เพ็ญที่ลอยเด่นอยู่บนนภากาศ ฉะนั้น อย่างนี้แล้ว ได้เหลียวดูบริษัทของตน. บริษัทของปริพาชกนั้น มากไปด้วยหาบบริขารมิใช่น้อยมีตั่งเล็กๆ สามง่าม บาตรดินมีสีดังแววหางนกยูง กะทอและคนโทน้ำเป็นต้น ซึ่งห้อยอยู่ที่ไม้คานหาบมาพะรุงพะรัง ทั้งปากกล้า กล่าววาจาหาประโยชน์มิได้ มีอาทิอย่างนี้ว่า มือของคนโน้นงาม เท้าของคนโน้นงาม มีวาจาเพ้อเจ้อ ไม่น่าดู ไม่น่าเลื่อมใส. ครั้นเห็นดังนั้นเขาเกิดวิปฏิสาร. ในกาลบัดนี้ ควรที่เขาจะกล่าวสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า.แต่เพราะเหตุที่ปริพาชกนี้ริษยาพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ตลอดกาลเป็นนิจ เพราะความเสื่อมแห่งลาภสักการะ และความเสื่อมพรรคพวก ด้วยว่าลาภสักการะย่อมบังเกิดแก่อัญเดียรถีย์ทั้งหลาย ตลอดเวลาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายยังมิได้เสด็จอุบัติในโลก แต่จําเดิมแต่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น อัญเดียรถีย์ทั้งหลายก็พากันเสื่อมลาภสักการะ ถึงความเป็นผู้ไร้สง่าราศี ดั่งหิ่งห้อยเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นฉะนั้น.

ก็ในเวลาที่อุปติสสะและโกลิตะบวชในสํานักของสัญชัยนั้น พวกปริพาชกได้มีบริษัทมาก แต่เมื่ออุปติสสะและไกลิตะหลีกไป บริษัทของพวกเขาแม้นั้นก็พากันแตกไป. ด้วยเหตุ ๒ ประการดังกล่าวมานี้พึงทราบว่าสุปปิยปริพาชกนี้เมื่อคายความริษยานั้นออกมา กล่าวติพระรัตนตรัยทีเดียว เพราะริษยาพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่เป็นนิจ

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 141

คําว่า อถโข ภควา อมฺพลฏิกายํ ราชาคารเก เอกรตฺติวาสํ อุปคฺฉิ สทฺธึ ภิกฺขุสงฺเฆน ความว่า ในครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปด้วยพุทธลีลานั้น ถึงประตูพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกาโดยลําดับ ทอดพระเนตรดูพระอาทิตย์ มีพระพุทธดําริว่า บัดนี้มิใช่กาลที่จะไป พระอาทิตย์ใกล้อัสดงคต จึงเสด็จเข้าประทับพักแรมราตรีหนึ่ง ณ พระตําหนักหลวง ในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา.

ในพระบาลีนั้น อุทยานของพระราชา ชื่อว่า อัมพลัฏฐิกา. ได้ยินว่า ณ ที่ใกล้ประตูแห่งอุทยานั้นมีต้นมะม่วงหนุ่มอยู่ ซึ่งคนทั้งหลายเรียกว่า อัมพลัฏฐิกา แม้อุทยานก็พลอย ชื่อว่า อัมพลัฏฐิกา ด้วย เพราะอยู่ใกล้มะม่วงหนุ่มต้นนั้น. อุทยานนั้นสมบูรณ์ด้วยร่มเงา และน้ำ มีกําแพงล้อมรอบ มีประตูประกอบไว้อย่างดี คุ้นครองอย่างดี ปานดังหีบฉะนั้น.ในอุทยานนั้นได้สร้างพระตําหนักอันวิจิตรด้วยประดิษฐกรรม เพื่อเป็นที่เล่นทรงสําราญพระราชหฤทัย พระตําหนักนั้น จึงเรียกกันว่า พระตําหนักหลวง.

คําว่า สุปฺปิโยปิ โข ความว่า แม้สุปปิยปริพาชกแลดูพระอาทิตย์ ณ ที่ตรงนั้นแล้ว ดําริว่า บัดนี้มิใช่กาลที่จะไป ปริพาชกทั้งผู้น้อย และผู้ใหญ่มีอยู่มาก และทางนี้ก็มีอันตรายอยู่มาก ด้วยโจรบ้าง ด้วยยักษ์ร้ายบ้าง ด้วยสัตว์ร้ายบ้าง ก็พระสมณโคดมนี้เสด็จเข้าไปยังอุทยาน ในสถานที่ประทับของพระสมณโคดม เทวดาย่อมพากันอารักขา อย่ากระนั้นเลยแม้เราก็จักเข้าไปพักแรมราตรีหนึ่งในอุทยานนี้แล พรุ่งนี้จึงค่อยไป ครั้นดําริดังนี้แล้วจึงเข้าไปสู่อุทยานนั้นแล.

ลําดับนั้น ภิกษุสงฆ์แสดงวัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กําหนดสถานที่พักของตนๆ แม้สุปปิยปริพาชกก็ให้วางบริขารของปริพาชก

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 142

ที่ด้านหนึ่งของอุทยาน แล้วเข้าพักแรมกับบริษัทของตน. แต่ในพระบาลีท่านกล่าวไว้ด้วยอํานาจคําที่ยกขึ้นเป็นประธานอย่างเดียวว่า กับด้วยพรหมทัตมาณพผู้เป็นศิษย์ของตน. ก็ปริพาชกนั้นเข้าพักแรมอยู่อย่างนี้ได้แลดูพระทศพลในตอนกลางคืน. และในสมัยนั้นก็ตามประทีปไว้สว่างดุจดาราเดียรดาษโดยรอบ. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ตรงกลางและภิกษุสงฆ์ก็พากันนั่งล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้ภิกษุสักรูปหนึ่งในที่ประชุมนั้น ก็มิได้มีการคะนองมือ คะนองเท้า หรือเสียงไอ เสียงจามเลย. ด้วยว่าบริษัทนั้นนั่งประชุมกันสงบเงียบราวกะเปลวประทีปในที่อับลม ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยการเป็นผู้ศึกษาอบรมแล้ว และด้วยความเคารพในพระศาสดา. ปริพาชกเห็นคุณสมบัติดังนั้น จึงแลดูบริษัทของตน. ในที่ประชุมปริพาชกนั้น บางพวกก็นอนยกมือ บางพวกก็นอนยกเท้า บางพวกก็นอนละเมอ บางพวกก็นอนแลบลิ้น น้ำลายไหล กัดฟัน กรนเสียงดังครอกๆ. แม้เมื่อควรจะกล่าวสรรเสริญ พระรัตนตรัย สุปปิยปริพาชกนั้นก็กล่าวติเตียนอยู่นั่นเองอีก ด้วยอํานาจความริษยา ส่วนพรหมทัตมาณพกล่าวสรรเสริญตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า ได้ยินว่า แม้ในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกานั้น สุปปิยปริพาชก ดังนี้ ควรกล่าวคําทั้งหมด. ในพระบาลีนั้น บทว่า ตตฺรปิ ความว่า ในอุทยานชื่ออัมพลัฏฐิกาแม้นั้น.

อธิบายคําว่าภิกษุหลายรูปและคําว่าสงฆ์

บทว่า สมฺพหุลานํ ความว่า มากรูปด้วยกัน. ในข้อนั้นตามบรรยายในพระวินัย ภิกษุ ๓ รูป เรียกว่าหลายรูป เกินกว่านั้น ไป เรียกว่า

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 143

สงฆ์ แต่ตามบรรยายในพระสูตร ภิกษุ๓ รูป เรียกว่า ๓ รูปนั่นเองมากกว่านั้น เรียกว่าหลายรูป. ในที่นี้พึงทราบว่าหลายรูป ตามบรรยายในพระสูตร.

บทว่า มณฺฑลมาเล ความว่า บางแห่งกูฎาคารศาลาที่เขาติดช่อฟ้าสร้างไว้ด้วยการมุงแบบหงส์ เรียกว่า มัณฑลมาลก็มี บางแห่งอุปัฏฐานศาลาที่เขาติดช่อฟ้าไว้ตัวเดียว สร้างเสาระเบียงไว้รอบ เรียกว่ามัณฑลมาลก็มี. แต่ในที่นี้พึงทราบว่า หอนั่ง เรียกว่ามัณฑลมาล.

บทว่า สนฺสิสินฺนานํ นั่งประชุม ท่านกล่าวเนื่องด้วยการนั่ง.

บทว่า สนฺนิปติตานํ ประชุม ท่านกล่าวเนื่องด้วยการรวมกัน.

ถ้อยคํา อธิบายว่า กถาธรรม เรียกว่า การสนทนา ในบทว่า อยํสงฺขิยธมฺโม.

บทว่า อุทปาทิ แปลว่า เกิดขึ้นแล้ว.

ก็ข้อสนทนานั้น เป็นอย่างไร?

คือ คุยกันอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ดังนี้เป็นต้น.

ในพระบาลีนั้น ที่ว่าน่าอัศจรรย์ เพราะไม่มีอยู่เป็นนิจ เช่นคนตาบอดขึ้นเขา. นัยแห่งศัพท์ก็เท่านี้. ส่วนนัยแห่งอรรถกถา มีดังต่อไปนี้

ข้อว่า น่าอัศจรรย์ เพราะควรดีดนิ้วมือ อธิบายว่า ควรแก่การดีดนิ้ว.

ข้อว่า ไม่เคยมี เพราะไม่เคยมีมามีขึ้น.

ทั้ง ๒ บทนี้เป็นชื่อแห่งความประหลาดใจนั่นเอง.

บทว่า ยาวฺจิทํ ตัดเป็น ยาวจ อิทํ . ด้วยบทนั้น ท่านแสดงความที่คํานั้นหาประมาณมิได้. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบดีแล้ว.

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 144

ในคําว่า เตน ภควตา ชานตา ปสฺสตา ฯเปฯ สุปฏิวิทิตานี้ มีความย่อดังต่อไปนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นใด ได้ทรงบําเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศแล้ว ทรงทําลายกิเลสทั้งปวง ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงทราบอาสยะ และอนุสยะ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ ทรงเห็นไญยธรรมทั้งปวง ดุจมะขามป้อมที่วางไว้บนฝ่าพระหัตถ์ อนึ่ง ทรงทราบด้วยพระญาณ มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นต้น ทรงเห็นด้วยทิพยจักษุ ก็หรือทรงทราบด้วยวิชชา ๓ บ้าง ด้วยอภิญญา ๖ บ้าง ทรงเห็นด้วยพระสมันตจักษุที่ไม่มีอะไรขัดข้องในธรรมทั้งปวง หรือทรงทราบด้วยพระปัญญาอันสามารถรู้ธรรมทั้งปวง ทรงเห็นรูปอันพ้นวิสัยจักษุแห่งสัตว์ทั้งปวง หรือแม้รูปที่อยู่นอกฝา เป็นต้น ด้วยพระมังสจักษุอันบริสุทธิ์ยิ่ง หรือทรงทราบด้วยพระปัญญาเครื่องแทงตลอด อันมีพระสมาธิเป็นปทัฏฐานให้สําเร็จประโยชน์เกื้อกูลแก่พระองค์ ทรงเห็นด้วยพระปัญญาเป็นเครื่องแสดง อันมีพระกรุณาเป็นปทัฏฐานให้สําเร็จประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ทรงเป็นพระอรหันต์ เพราะทรงกําจัดข้าศึกคือกิเลส และเพราะทรงเป็นผู้ควรแก่สักการะมีปัจจัย เป็นต้น ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบ และด้วยพระองค์เองหรือทรงทราบธรรมที่ทําอันตราย ทรงเห็นธรรมที่นําออกจากทุกข์ ทรงเป็นพระอรหันต์ เพราะทรงกําจัดข้าศึกคือกิเลส และเพราะทรงเป็นผู้ควรแก่สักการะมีปัจจัย เป็นต้น ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบ และด้วยพระองค์เอง ทรงได้รับสดุดี โดยอาการทั้ง ๔ ด้วยอํานาจแห่งเวสารัชญาณ ๔ ดังพรรณนามาฉะนี้ ทรงทราบดี

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 145

ถึงความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอธิมุติต่างๆ กัน และมีอัธยาศัยต่างๆ กัน และทรงทราบตลอดด้วยดีเพียงใด.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงทราบดีแล้ว ท่านจึงกล่าวคําว่า ก็สุปปิยปริพาชกนี้ ดังนี้เป็นต้น. มีคําอธิบายว่า ก็ความที่สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุติต่างกัน มีอัธยาศัยต่างกัน มีทิฏฐิต่างกัน มีความพอใจต่างกัน มีความชอบใจต่างกัน นี้ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบด้วยพระสัพพัญุตญาณอันเป็นเครื่องรู้ความที่สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุติต่างกัน ดุจทรงตวงด้วยทะนาน และดุจทรงชั่งด้วยตาชั่ง โดยพระบาลีอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายย่อมเทียบเคียงกันเข้าได้ คือพวกที่มีอธิมุติเลวก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติเลว พวกที่มีอธิมุติดีก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อดีตกาล ว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายก็เทียบเคียงเข้ากันได้ คือพวกที่มีอธิมุติเลวก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติเลว พวกที่มีอธิมุติดีก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อนาคตกาล ว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายจักเทียบเคียงเข้ากันได้ คือพวกที่มีอธิมุติเลวก็จักเทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติเลว พวกที่มีอธิมุติดีก็จักเทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ปัจจุบันกาลเดี๋ยวนี้ ว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายย่อมเทียบเคียงเข้ากันได้ คือพวกที่มีอธิมุติเลวก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติเลว พวกที่มีอธิมุติดีก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติดี ดังนี้ ความที่สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุติต่างกันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบดีแล้วเพียงใด ขึ้นชื่อว่าสัตว์ถึงสองคนมีอัธยาศัยอย่างเดียวกัน หาได้ยากในโลก

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 146

เมื่อคนหนึ่งต้องการจะเดิน คนหนึ่งต้องการจะยืน เมื่อคนหนึ่งต้องการจะดื่ม คนหนึ่งต้องการจะบริโภค และแม้ในอาจารย์ และศิษย์สองคนนี้ สุปปิยปริพาชกนี้ กล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย ส่วนพรหมทัตมาณพผู้เป็นศิษย์ของสุปปิยปริพาชก คงกล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยายอาจารย์ และศิษย์ทั้งสองนั้นมีถ้อยคําเป็นข้าศึกแก่กัน และกันโดยตรงฉะนี้ เดินตามพระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์ไปข้างหลังๆ ด้วยประการฉะนี้.ในพระบาลีนั้น บทว่า อิติหเม ตัดบทเป็น อิติห อิเม มีความว่าเหล่านี้... ด้วยประการฉะนี้. คําที่เหลือก็นัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ในคําว่า อถโข ภควา เตสํ ภิกฺขูนํ อิมํ สงฺขิยธมฺมํ วิทิตฺวานี้ บทว่า วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบด้วยพระสัพพัญุตญาณ.

จริงอยู่ ในบาลีประเทศบางแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นด้วยมังสจักษุ จึงทรงทราบ เช่นในประโยคมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นไม้ท่อนใหญ่ถูกกระแสน้ำในแม่น้ำคงคาพัดไป. ในบาลีประเทศบางแห่งทรงเห็นด้วยทิพยจักษุ จึงทรงทราบเช่นในประโยคมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นเทวดาเหล่านั้นนับเป็นพันๆ กําลังหวงแหนพื้นที่ทั้งหลายในปาฏลิคาม ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์. ในบาลีประเทศบางแห่งทรงสดับด้วยพระโสตธรรมดาจึงทรงทราบ เช่นในประโยคมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับท่านพระอานนท์สนทนาปราศรัยกับสุภัททปริพาชก. ในบาลีประเทศบางแห่ง ทรงฟังด้วยทิพยโสตแล้วทรงทราบ เช่นในประโยคมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับสันธานคหบดี สนทนาปราศรัย

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 147

กับนิโครธปริพาชกด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตมนุษย์. ก็ในพระบาลีนี้ทรงเห็นด้วยพระสัพพัญุตญาณ จึงได้ทรงทราบ. ทรงทําอะไร จึงได้ทรงทราบ? ทรงทํากิจในปัจฉิมยาม.

พรรณนาพุทธกิจ ๕ ประการ

ขึ้นชื่อว่ากิจนี้มี ๒ อย่าง คือ กิจที่มีประโยชน์ และกิจที่ไม่มีประโยชน์. บรรดากิจ ๒ อย่างนั้น กิจที่ไม่มีประโยชน์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเพิกถอนแล้วด้วยอรหัตตมรรค ณ โพธิบัลลังก์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีกิจแต่ที่มีประโยชน์เท่านั้น. กิจที่มีประโยชน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมี ๕ อย่าง คือ

๑. กิจในปุเรภัต

๒. กิจในปัจฉาภัต

๓. กิจในปุริมยาม

๔. กิจในมัชฌิมยาม

๕. กิจในปัจฉิมยาม

ในบรรดากิจ ๕ อย่างนั้น กิจในปุเรภัตมีดังนี้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ทรงปฏิบัติพระสรีระ มีบ้วนพระโอฐเป็นต้น เพื่อทรงอนุเคราะห์อุปฐาก และเพื่อความสําราญแห่งพระสรีระเสร็จแล้วทรงประทับยับยั้งอยู่บนพุทธอาสน์ที่เงียบสงัด จนถึงเวลาภิกษาจาร ครั้นถึงเวลาภิกษาจาร ทรงนุ่งสบง ทรงคาดประคดเอว ทรงครองจีวร ทรงถือบาตร บางครั้งเสด็จพระองค์เดียว บางครั้งแวดล้อม

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 148

ไปด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังคามหรือนิคม บางครั้งเสด็จเข้าไปตามปกติ บางครั้งก็เสด็จเข้าไปด้วยปาฏิหาริย์หลายประการ. คืออย่างไร? เมื่อพระบรมโลกนาถเสด็จเข้าไปบิณฑบาต ลมที่พัดอ่อนๆ พัดไปเบื้องหน้าแผ้วพื้นพสุธาให้สะอาดหมดจด พลาหกก็หลั่งหยาดน้ำลงระงับฝุ่นละอองในมรรคา กางกั้นเป็นเพดานอยู่เบื้องบน กระแสลมก็หอบเอาดอกไม้ทั้งหลายมาโรยลงในมรรคา ภูมิประเทศที่สูงก็ต่ําลง ที่ต่ําก็สูงขึ้น ภาคพื้นก็ราบเรียบสม่ําเสมอในขณะที่ทรงย่างพระยุคลบาท หรือมีปทุมบุปผชาติอันมีสัมผัสนิ่มนวลชวนสบายคอยรองรับพระยุคลบาท พอพระบาทเบื้องขวาประดิษฐานลงภายในธรณีประตู พระฉัพพรรณรังสีก็โอภาสแผ่ไพศาล ซ่านออกจากพระพุทธสรีระพุ่งวนแวบวาบประดับปราสาทราชมณเฑียร เป็นต้น ดั่งแสงเลื่อมพรายแห่งทอง และดั่งล้อมไว้ด้วยผืนผ้าอันวิจิตร บรรดาสัตว์ทั้งหลาย มีช้าง ม้า และนก เป็นต้น ซึ่งอยู่ในสถานที่แห่งตนๆ ก็พากันเปล่งสําเนียงอย่างเสนาะ ทั้งดนตรีที่ไพเราะ เช่น เภรี และพิณ เป็นต้น ก็บรรเลงเสียงเพียงดนตรีสวรรค์ และสรรพาภรณ์แห่งมนุษย์ทั้งหลาย ก็ปรากฏสวมใส่ร่างกายในทันที ด้วยสัญญาณอันนี้ ทําให้คนทั้งหลายทราบได้ว่า วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในย่านนี้ เขาเหล่านั้นต่างก็แต่งตัวนุ่งห่มเรียบร้อยพากันถือของหอม และดอกไม้ เป็นต้น ออกจากเรือนเดินไปตามถนนบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยของหอม และดอกไม้ เป็นต้น โดยเคารพถวายบังคมแล้ว กราบทูลขอสงฆ์ว่า ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดประทานภิกษุแก่พวกข้าพระองค์ ๑๐ รูป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดประทานภิกษุแก่พวกข้าพระองค์ ๒๐ รูป แก่พวกข้าพระ-

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 149

องค์ ๕๐ รูป แก่พวกข้าพระองค์ ๑๐๐ รูป ดังนี้ แล้วรับบาตรแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปูลาดอาสนะน้อมนําถวายบิณฑบาตโดยเคารพ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทําภัตกิจเสร็จแล้ว ทรงตรวจดูจิตสันดานของสัตว์เหล่านั้น ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดให้บางพวกตั้งอยู่ในสรณคมน์ บางพวกตั้งอยู่ในศีล ๕ บางพวกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อย่างใดอย่างหนึ่ง บางพวกบวชแล้วทั้งอยู่ในพระอรหัต ซึ่งเป็นผลเลิศ ทรงอนุเคราะห์มหาชนดังพรรณนามาฉะนั้นแล้ว ทรงลุกจากอาสนะเสด็จไปยังพระวิหาร ครั้นแล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์อันบวรซึ่งปูลาดไว้ในมัณฑลศาลา ทรงรอคอยการเสร็จภัตกิจของภิกษุทั้งหลาย ครั้นภิกษุทั้งหลายเสร็จกิจเรียบร้อยแล้ว ภิกษุผู้อุปฐากก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ ลําดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จเข้าพระคันธกุฎี.นี้เป็นกิจในปุเรภัตก่อน.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงบําเพ็ญกิจในปุเรภัตเสร็จแล้วอย่างนี้ ประทับนั่ง ณ ศาลาปรนนิบัติใกล้พระคันธกุฎี ทรงล้างพระบาทแล้วประทับยืนบนตั่งรองพระบาท ประทานโอวาทภิกษุสงฆ์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงยังประโยชน์ตน และประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด และว่า

ทุลฺลภฺจ มนุสฺสตฺตํ พุทฺธุปฺปาโท จ ทุลฺลโภ ทุลฺลภา ขณสมฺปตฺติ สทฺธมฺโม ปรมทุลฺลโภ ทุลฺลภา สทฺธาสมฺปตฺติ ปพฺพชฺช จ ทุลฺลภา ทุลฺลภํ สทฺธมฺมสฺสวนํ

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 150

ความเป็นมนุษย์ หาได้ยาก

ความเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า หาได้ยาก

ความถึงพร้อมด้วยขณะ หาได้ยาก

พระสัทธรรม หาได้ยากอย่างยิ่ง

ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา หาได้ยาก

การบวช หาได้ยาก

การฟังพระสัทธรรม หาได้ยาก

ณ ที่นั้น ภิกษุบางพวกทูลถามกรรมฐานกะพระผู้มีพระภาคเจ้า.แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ประทานกรรมฐานที่เหมาะแก่จริตของภิกษุเหล่านั้น. ลําดับนั้น ภิกษุทั้งปวงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วไปยังที่พักกลางคืน และกลางวันของตนๆ . บางพวกก็ไปป่า บางพวกก็ไปสู่โคนไม้ บางพวกก็ไปยังที่แห่งใดแห่งหนึ่ง มีภูเขา เป็นต้น บางพวกก็ไปยังภพของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ฯลฯ บางพวกก็ไปยังภพของเทวดาชั้นวสวัดดี ด้วยประการฉะนี้. ลําดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าพระคันธกุฎี ถ้ามีพระพุทธประสงค์ ก็ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ สําเร็จสีหไสยาครู่หนึ่ง โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ครั้นมีพระวรกายปลอดโปร่งแล้ว เสด็จลุกขึ้นตรวจดูโลกในภาคที่สอง. ณ คาม หรือนิคมที่พระองค์เสด็จเข้าไปอาศัยประทับอยู่ มหาชนพากันถวายทานก่อนอาหาร ครั้นเวลาหลังอาหารนุ่งห่มเรียบร้อย ถือของหอม และดอกไม้ เป็นต้น มาประชุมกันในพระวิหาร. ครั้นเมื่อบริษัทพร้อมเพรียงกันแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปด้วยพระปาฏิหาริย์อันสมควร ประทับนั่ง แสดงธรรมที่ควรแก่กาลสมัย ณ บวรพุทธอาสน์ที่บรรจงจัดไว้ ณ ธรรมสภา ครั้นทรงทราบ

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 151

กาลอันควรแล้วก็ทรงส่งบริษัทกลับ . เหล่ามนุษย์ต่างก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วพากันหลีกไป. นี้เป็นกิจหลังอาหาร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ครั้นเสร็จกิจหลังอาหารอย่างนี้แล้ว ถ้ามีพระพุทธประสงค์จะโสรจสรงพระวรกาย ก็เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าซุ้มเป็นที่สรงสนาน ทรงสรงพระวรกายด้วยน้ำที่ภิกษุผู้เป็นพุทธุปฐากจัดถวาย. ฝ่ายภิกษุผู้เป็นพุทธุปฐากก็นําพุทธอาสน์มาปูลาดที่บริเวณพระคันธกุฎี. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองจีวรสองชั้นอันย้อมดีแล้ว ทรงคาดประคดเอว ทรงครองจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วเสด็จไปประทับนั่งบนพุทธอาสน์นั้น. ทรงหลีกเร้นอยู่ครู่หนึ่งแต่ลําพังพระองค์เดียว. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายพากันมาจากที่นั้นๆ แล้วมาสู่ที่ปรนนิบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ณ ที่นั้น ภิกษุบางพวกก็ทูลถามปัญหา บางพวกก็ทูลขอกรรมฐาน บางพวกก็ทูลขอฟังธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยับยั้งตลอดยามต้น ทรงให้ความประสงค์ของภิกษุเหล่านั้นสําเร็จ.นี้เป็นกิจในปฐมยาม.

ก็เมื่อสิ้นสุดกิจในปฐมยาม ภิกษุทั้งหลายถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วหลีกไป เหล่าเทวดาในหมื่นโลกธาตุทั้งสิ้น เมื่อได้โอกาสก็พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่างทูลถามปัญหาตามที่เตรียมมา โดยที่สุดแม้อักขระ ๔ ตัว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตอบปัญหาแก่เทวดาเหล่านั้น ให้มัชฌิมยามผ่านไป นี้เป็นกิจในมัชฌิมยาม.

ส่วนปัจฉิมยาม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแบ่งเป็น ๓ ส่วน คือทรงยับยั้งอยู่ด้วยการเสด็จจงกรมส่วนหนึ่ง เพื่อทรงเปลื้องจากความเมื่อยล้าแห่งพระสรีระอันถูกอิริยาบถนั่งตั้งแต่ก่อนอาหารบีบคั้นแล้ว. ในส่วน

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 152

ที่สอง เสด็จเข้าพระคันธกุฎี ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ สําเร็จสีหไสยาโดยพระปรัศว์เบื้องขวา. ในส่วนที่สาม เสด็จลุกขึ้นประทับนั่งแล้วทรงใช้พุทธจักษุตรวจดูสัตว์โลกเพื่อเล็งเห็นบุคคลผู้สร้างสมบุญญาธิการไว้ ด้วยอํานาจทาน และศีล เป็นต้น ในสํานักของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ . นี้เป็นกิจในปัจฉิมยาม.

ก็วันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังกิจก่อนอาหารให้สําเร็จในกรุงราชคฤห์แล้ว ถึงเวลาหลังอาหารเสด็จดําเนินมายังหนทาง ตรัสบอกกรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลายในเวลาปฐมยาม ทรงแก้ปัญหาแก่เทวดาทั้งหลายในมัชฌิมยาม เสด็จขึ้นสู่ที่จงกรม ทรงจงกรมอยู่ในปัจฉิมยาม ทรงได้ยินภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปสนทนาพาดพิงถึงพระสัพพัญุตญาณนี้ ด้วยพระสัพพัญุตญาณนั่นแล ได้ทรงทราบแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวว่า เมื่อทรงกระทํากิจในปัจฉิมยาม ได้ทรงทราบแล้ว. ก็และครั้นทรงทราบแล้ว ได้มีพระพุทธดําริดังนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้กล่าวคุณพาดพิงถึงสัพพัญุตญาณของเรา ก็กิจแห่งสัพพัญุตญาณไม่ปรากฏแก่ภิกษุเหล่านี้ปรากฏแก่เราเท่านั้น เมื่อเราไปแล้ว ภิกษุเหล่านั้นก็จักบอกการสนทนาของตนตลอดกาล. แต่นั้นเราจักทําการสนทนาของภิกษุเหล่านั้นให้เป็นต้นเหตุ แล้วจําแนกศีล ๓ อย่าง บันลือสีหนาทอันใครๆ คัดค้านไม่ได้ในฐานะ ๖๒ ประการ ประชุมปัจจยาการกระทําพุทธคุณให้ปรากฏ จักแสดงพรหมชาลสูตร อันจะยังหมื่นโลกธาตุให้หวั่นไหว ให้จบลงด้วยยอดคือพระอรหัต ปานประหนึ่งยกภูเขาสิเนรุราชขึ้น และดุจฟาดท้องฟ้าด้วยยอดสุวรรณกูฏ เทศนานั้นแม้เมื่อเราปรินิพพานแล้ว ก็จักยังอมตมหานฤพานให้สําเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายตลอดห้าพันปี ครั้นมีพระพุทธดําริ

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 153

อย่างนี้แล้ว ได้เสด็จเข้าไปยังศาลามณฑลที่ภิกษุเหล่านั้นนั่งอยู่ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า เยน ความว่า ศาลามณฑลนั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงเสด็จเข้าไปโดยทางทิศใด.

อีกอย่างว่า บทว่า เยน นี้ เป็นตติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. เพราะฉะนั้น ในบทนี้จึงมีเนื้อความว่า ได้เสด็จไป ณ ประเทศที่มีศาลามณฑลนั้น ดังนี้ .

คําว่า ปฺตฺเต อาสเน นิสีทิ ประทับเหนืออาสนะที่บรรจงจัดไว้ ความว่า ข่าวว่า ในครั้งพุทธกาล สถานที่ใดๆ ที่มีภิกษุอยู่แม้รูปเดียวก็จัดพุทธอาสน์ไว้ทุกแห่งทีเดียว. เพราะเหตุไร? เขาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมนสิการถึงเหล่าภิกษุที่รับกรรมฐานในสํานักของพระองค์แล้ว อยู่ในที่สําราญว่า ภิกษุรูปโน้นรับกรรมฐานในสํานักของเราไป สามารถจะยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นหรือไม่หนอ ครั้นทรงเห็นภิกษุรูปนั้นละกรรมฐานตรึกถึงอกุศลวิตกอยู่ ลําดับนั้น มีพระพุทธดําริว่า กุลบุตรผู้นี้รับกรรมฐานในสํานักของศาสดาเช่นเรา เหตุไฉนเล่าจักถูกอกุศลวิตกครอบงําให้จมลงในวัฏฏทุกข์อันหาเงื่อนต้นไม่ปรากฏ เพื่อจะทรงอนุเคราะห์ภิกษุรูปนั้นจึงทรงแสดงพระองค์ ณ ที่นั้นทีเดียว ประทานโอวาทกุลบุตรนั้นแล้วเสด็จเหาะขึ้นสู่อากาศกลับไปยังที่ประทับของพระองค์ต่อไป.

ลําดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทานโอวาทอยู่อย่างนี้ คิดกันว่า พระบรมศาสดาทรงทราบความคิดของพวกเรา เสด็จมาแสดงพระองค์ประทับยืน ณ ที่ใกล้พวกเรา เป็นภาระที่พวกเราจะต้อง

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 154

เตรียมพุทธอาสน์ไว้ สําหรับทูลเชิญในขณะนั้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดประทับนั่งบนพุทธอาสน์นี้ ขอพระองค์โปรดประทับนั่งบนพุทธอาสน์นี้. ภิกษุเหล่านั้นต่างจัดพุทธอาสน์ไว้แล้วอยู่. ภิกษุที่มีตั่งก็จัดตั่งไว้ ที่ไม่มีก็จัดเตียง หรือแผ่นกระดาน หรือไม้ หรือแผ่นศิลา หรือกองทรายไว้ เมื่อไม่ได้ดังนั้นก็ดึงเอาแม้ใบไม้เก่าๆ มาปูผ้าบังสุกุลตั้งไว้บนที่นั้นเอง แต่ในพระตําหนักหลวงในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกานี้ มีพระราชอาสน์อยู่ ภิกษุเหล่านั้นช่วยกันปัดกวาดฝุ่นละออง พระราชอาสน์นั้นปูลาดไว้ นั่งล้อมสดุดีพระพุทธคุณ ปรารภถึงพระอธิมุติญาณ (ญาณรู้อัธยาศัยสัตว์) ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ท่านพระอานนท์หมายถึงพระราชอาสน์นั้น จึงกล่าวว่า ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่เขาบรรจงจัดถวาย. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอย่างนี้ ทั้งที่ทรงทราบอยู่ ก็ตรัสถามภิกษุทั้งหลายเพื่อให้เกิดการสนทนา และภิกษุเหล่านั้นก็พากันกราบทูลแด่พระองค์ทุกเรื่อง. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอานนท์ จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นประทับนั่งแล้ว ดังนี้เป็นต้น.

ประชุมบทเหล่านั้น บทว่า กายนุตฺถ ความว่า พวกเธอนั่งสนทนากันถึงเรื่องอะไร? บาลีเป็น กายเนฺวตฺถ ก็มี. พระบาลีนั้นมีเนื้อความว่า พวกเธอนั่งสนทนากันถึงเรื่องอะไรในที่นี้. บาลีเป็น กายโนตฺถ ก็มี.ในธรรมบท แม้พระบาลีนั้นก็มีเนื้อความดังก่อนนั่นเอง.

บทว่า อนฺตรา กถา ความว่า สนทนาระหว่างการมนสิการกรรมฐาน อุเทศ และปริปุจฉา เป็นต้น คือในระหว่างเป็นเรื่องอื่นเรื่องหนึ่ง.

บทว่า วิปฺปกตา ความว่า ยังไม่จบ คือยังไม่ถึงที่สุด เพราะตถาคตมาเสียก่อน.

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 155

ด้วยบทนั้น ทรงแสดงไว้อย่างไร?

อธิบายว่า ตถาคตมาเพื่อหยุดการสนทนาของพวกเธอหามิได้ แต่มาด้วยหวังว่าจักแสดงให้การสนทนาของพวกเธอจบลง คือทําให้ถึงที่สุดด้วยความเป็นสัพพัญู ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงประทับนั่ง ทรงห้ามอย่างพระสัพพัญู.

แม้ในคําว่า พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์สนทนาค้างอยู่ ก็พอดีพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาถึงนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การสนทนาพระพุทธคุณ ปรารภพระสัพพัญุตญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกข้าพระองค์ยังค้างอยู่ หาใช่ติรัจฉานกถา มีราชกถาเป็นต้นไม่ ก็พอดีพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาถึง ขอพระองค์ได้โปรดแสดงให้การสนทนาของพวกข้าพระองค์นั้นจบลง ณ กาลบัดนี้เถิด. ก็ด้วยคํามีประมาณเท่านี้ ท่านพระอานนท์ได้ภาษิตคําอันเป็นนิทาน ซึ่งประดับด้วยกาละ เทศะ ผู้แสดง เรื่อง บริษัท และที่อ้างอิงเพื่อให้เข้าใจโดยง่าย ซึ่งพระสูตรนี้ที่ชี้แจงอานุภาพแห่งพระพุทธคุณ อันสมบูรณ์ด้วยอรรถะ และพยัญชนะ อุปมาดังท่าน้ำมีภูมิภาคอันบริสุทธิ์สะอาด เต็มไปด้วยทรายดังใยแก้วมุกดาอันเกลื่อนกล่น มีบันไดแก้วอันงามพิลาสรจนาด้วยพื้นศิลาอันบริสุทธิ์ เพื่อให้หยั่งลงได้โดยสะดวกสู่สระโบกขรณี อันมีน้ำมีรสดีใสสะอาดรุ่งเรืองด้วยดอกอุบล และดอกปทุมฉะนั้น และอุปมาดังบันไดอันงามรุ่งเรืองเกิดแสงแห่งแก้วมณี มีแผ่นกระดานที่เกลี้ยงเกลาอ่อนนุ่มที่ทําด้วยงา อันเถาทองคํารัดไว้เพื่อให้ขึ้นได้โดยสะดวกสู่ปราสาทอันประเสริฐ มีฝาอันจําแนกไว้เป็นอย่างดี แวดล้อมด้วยไพทีอันวิจิตร ทั้งทรวดทรงก็โสภิตโปร่งสล้าง ราวกะว่าประสงค์จะ

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 156

สัมผัสทางกลุ่มดาว และอุปมาดังมหาวิหาร อันมีบานประตูไพศาล ติดตั้งเป็นอย่างดี โชติช่วงด้วยรัศมีแห่งทองเงินแก้วมณีแก้วมุกดา และแก้วประพาฬ เป็นต้น เพื่อเข้าได้โดยสะดวกสู่เรือนใหญ่ที่งามไปด้วยอิสริยสมบัติอันโอฬาร มีการกรีดกรายร่ายรําของเหล่าเคหชนผู้มีเสียงไพเราะเจรจาร่าเริงระคนกับเสียงกระทบกันแห่งอาภรณ์ มีทองกรและเครื่องประดับเท้าเป็นต้น ฉะนั้น.

จบวรรณนาความของคําเป็นนิทานแห่งพระสูตร

พรรณนาเหตุที่ตั้งพระสูตร

บัดนี้ ถึงลําดับโอกาสที่จะพรรณนาพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดงโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าอื่นจะพึงติเราก็ดี ดังนี้. ก็การพรรณนาพระสูตรนี้นั้น เมื่อได้พิจารณาเหตุที่ทรงตั้งพระสูตรแล้วจึงกล่าวย่อมแจ่มแจ้ง ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักวิจารณ์เหตุที่ทรงตั้งพระสูตรเสียก่อน.

ก็เหตุที่ทรงตั้งพระสูตรมี ๔ ประการ คือ

๑. อัตตัชฌาสยะ เป็นไปตามพระอัธยาศัยของพระองค์

๒. ปรัชฌาสยะ เป็นไปตามอัธยาศัยของผู้อื่น

๓. ปุจฉาวสิกะ เป็นไปด้วยอํานาจการถาม

๔. อัตถุปปัตติกะ เป็นไปโดยเหตุที่เกิดขึ้น

ในบรรดาเหตุ ๔ ประการนั้น พระสูตรเหล่าใดที่คนเหล่าอื่นมิได้ทูลอาราธนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนาโดยพระอัธยาศัยของพระ

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 157

องค์แต่ลําพังอย่างเดียว มีอาทิอย่างนี้ คือ อากังเขยยสูตร วัตถสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร มหาสฬายตนวิภังคสูตร อริยวังสสูตร ส่วนแห่งสัมมัปปธานสูตร ส่วนแห่งอิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และมรรค พระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุที่ทรงตั้งเป็นไปตามพระอัธยาศัยของพระองค์.

อนึ่ง พระสูตรเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยสามารถแห่งอัธยาศัยของผู้อื่น เล็งดูอัธยาศัยความพอใจ ความชอบใจ อภินิหาร และภาวะที่จะตรัสรู้ได้ ของชนเหล่าอื่นอย่างนี้ว่า ธรรมบ่มวิมุติของราหุลแก่กล้าแล้ว ถ้ากระไรเราพึงแนะนําราหุลในอาสวักขยธรรมให้สูงขึ้นดังนี้แล้ว มีอาทิอย่างนี้ คือ จุลลราหุโลวาทสูตร มหาราหุโลวาทสูตร ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ธาตุวิภังคสูตร พระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุ ทรงตั้งเป็นไปตามอัธยาศัยของผู้อื่น.

อนึ่ง พระสูตรเหล่าใดที่เหล่าสัตว์ทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือบริษัท ๔ วรรณะ ๔ นาค ครุฑ คนธรรพ์ อสูร ยักษ์ ท้าวมหาราชเทวดาชั้นดาวดึงส์ เป็นต้น และท้าวมหาพรหม พากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลถามปัญหาโดยนัยมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าโพชฌงค์ โพชฌงค์ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่านิวรณ์ นิวรณ์ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ห้าเหล่านี้หนอแล ในโลกนี้อะไรเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจที่ประเสริฐที่สุดของคน เมื่อถูกถามอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเทศนามีโพชฌงค์สังยุต เป็นต้น ก็หรือพระสูตรแม้อื่นเหล่าใด มีเทวตาสังยุต มารสังยุต พรหมสังยุต สักกปัญหสูตร จุลลเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สามัญญผลสูตร

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 158

อาฬวกสูตร สูจิโลมสูตร เป็นต้น พระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุที่ทรงตั้งเป็นไปด้วยอํานาจการถาม.

อนึ่ง พระสูตรเหล่านั้นใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงตรัสเทศนา มีอาทิอย่างนี้ คือ ธรรมทายาทสูตร จุลลสีหนาทสูตร จันทูปมสูตร ปุตตมังสูปมสูตร ทารุกขันธูปมสูตร อัคคิกขันธูปมสูตร เผณปิณฑูปมสูตร ปาริฉัตตกูปมสูตร พระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุที่ทรงตั้งเป็นไปโดยเหตุที่เกิดขึ้น.

ในบรรดาเหตุที่ทรงตั้งพระสูตร ๔ ประการ ดังพรรณนามานี้พรหมชาลสูตรนี้มีเหตุที่ทรงตั้งเป็นไปโดยเหตุที่เกิดขึ้น.

ก็พรหมชาลสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งในเพราะเหตุที่เกิดขึ้น. ในเพราะเหตุที่เกิดขึ้นอย่างไร? ในเพราะการสรรเสริญ และการติเตียน คืออาจารย์ติเตียนพระรัตนตรัย ศิษย์ชมพระรัตนตรัย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นเทศนาโกศล ทรงทําการสรรเสริญ และการติเตียนนี้ให้เป็นเหตุที่เกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้ แล้วทรงเริ่มเทศนาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าอื่นจะพึงกล่าวติเราก็ดี ดังนี้.

ประชุมบทเหล่านั้น บทว่า มมํ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ เนื้อความเท่ากับ มม. วาศัพท์เป็นวิกัปปัตถะ. บทว่า ปเร ได้แก่เหล่าสัตว์ผู้เป็นข้าศึก.บทว่า ตตฺร ความว่า ในคนพวกที่กล่าวติเตียนเหล่านั้น. ด้วยคําว่า นอาฆาโต เป็นต้น ถึงแม้ว่าภิกษุเหล่านั้นไม่มีความอาฆาตเลยก็จริง ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงป้องกันมิให้อกุศลเกิดขึ้นในฐานะเช่นนี้ แก่กุลบุตรทั้งหลายในกาลอนาคต จึงได้ทรงตั้งไว้เป็นธรรมเนียม.

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 159

คําว่า ความอาฆาต ในพระบาลีนั้นมีวิเคราะห์ว่า เป็นที่มากระทบแห่งจิต. คํานี้เป็นชื่อของความโกรธ.

คําว่า ความไม่แช่มชื่น มีวิเคราะห์ว่าเป็นเหตุให้ไม่เบิกบานใจ คือ ไม่ยินดี ไม่ดีใจ. คํานี้เป็นชื่อของโทมนัส.

คําว่า ความไม่อภิรมย์ใจ มีวิเคราะห์ว่า ไม่ยินดีประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ไม่ยินดีประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนอื่นๆ . คํานี้เป็นชื่อของความโกรธ.

บรรดาบททั้งสามนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสขันธ์สอง คือตรัสสังขารขันธ์ด้วยบททั้งสอง (อาฆาต และ อนภิรทฺธิ) ตรัสเวทนาขันธ์ด้วยบทเดียว (อปจฺจโย) ด้วยประการฉะนี้.

ด้วยอํานาจแห่งขันธ์ทั้งสองนั้น ได้ตรัสปฏิเสธการทําหน้าที่แห่งสัมปยุตตธรรมแม้ที่เหลือทีเดียว. ครั้นทรงห้ามความเจ็บใจโดยนัยแรกอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงโทษในความเจ็บใจนั้น โดยนัยที่สองจึงตรัสว่า ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคือง หรือจักน้อยใจในคนเหล่านั้น อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นเป็นแน่ ดังนี้.

ประชุมบทเหล่านั้น หลายบทว่า ตตฺร เจ ตุมฺเห อสฺสถ ความว่าหากว่าเธอทั้งหลายจะพึงขุ่นเคืองด้วยความโกรธ จะพึงน้อยใจด้วยความโทมนัส ในพวกที่กล่าวติเตียนเหล่านั้น หรือในคําติเตียนนั้น.

หลายบทว่า ตุมฺหฺเวสฺส เตน อนฺตราโย ความว่า อันตรายจะพึงมีแก่คุณธรรมทั้งหลาย มีปฐมฌาน เป็นต้น ด้วยความโกรธนั้น และด้วยความน้อยใจนั้น ของเธอทั้งหลายนั่นเอง.

ครั้นทรงแสดงโทษโดยนัยที่สองอย่างนี้แล้ว เพื่อจะทรงแสดงว่าผู้ที่น้อยใจเป็นผู้ไม่สามารถแม้ในเหตุเพียงกําหนดเนื้อความของถ้อยคํา

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 160

โดยนัยที่สาม จึงตรัสว่า เธอทั้งหลายจะพึงรู้คําที่เป็นสุภาษิต หรือคําที่เป็นทุพภาษิตของคนเหล่าอื่นได้ละหรือ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปเรสํ ความว่า ก็คนมักโกรธ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงเนื้อความของคําที่เป็นสุภาษิต และคําที่เป็นทุพภาษิต ของคนพวกใดพวกหนึ่ง คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวก หรือมารดาบิดา หรือคนที่เป็นข้าศึกได้เลย. อย่างที่ตรัสไว้ว่า

คนโกรธย่อมไม่รู้อรรถ คนโกรธย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อนรชนถูกความโกรธครอบงํา ย่อมมืดตื้อทันที ความโกรธก่อให้เกิดความพินาศ ความโกรธทําให้จิตกําเริบ ชนไม่รู้จักความโกรธซึ่งเป็นภัยเกิดในจิต ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงห้ามความเจ็บใจในเพราะการติเตียนแม้โดยประการทั้งปวงอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอาการที่ควรปฏิบัติ จึงได้ตรัสคํามีอาทิว่า ในคําที่เขากล่าวติเตียนนั้น คําที่ไม่จริง เธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความไม่เป็นจริง ดังนี้.

ประชุมบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺร ตุมฺเหหิ ความว่า ในคําที่เขากล่าวติเตียนนั้น เธอทั้งหลาย. บทว่า อภูตํ อภูตโต นิพเพเธตพฺพํ ความว่า คําใดที่ไม่จริง คํานั้น เธอทั้งหลายพึงแยกโดยความไม่เป็นจริงทีเดียว. แก้อย่างไร? พึงแก้โดยนัยมีอาทิว่า นั่นไม่จริง แม้เพราะเหตุนี้ ดังนี้.

ในข้อนั้น มีคําประกอบดังต่อไปนี้ เธอทั้งหลายได้ฟังเขาพูดว่า ศาสดาของพวกท่านไม่ใช่พระสัพพัญู พระธรรมอันศาสดาของพวก

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 161

ท่านกล่าวแล้วชั่ว พระสงฆ์ปฏิบัติชั่ว ดังนี้เป็นต้น ไม่ควรนิ่งเสีย แต่ควรกล่าวแก้เขาอย่างนี้ว่า นั่นไม่จริง แม้เพราะเหตุนี้ คือ คําที่พวกท่านกล่าวนั้น ไม่จริงแม้เพราะเหตุนี้ ไม่แท้แม้เพราะเหตุนี้ ข้อนี้ไม่มีในพวกเรา และก็หาไม่ได้ในพวกเรา พระศาสดาของพวกเราเป็นพระสัพพัญูจริง พระธรรมพระองค์ตรัสดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้ว ในข้อนั้นมีเหตุดังนี้ๆ .

ในบทเหล่านี้ บทที่สอง พึงทราบว่าเป็นไวพจน์ของบทที่หนึ่ง บทที่สี่พึงทราบว่าเป็นไวพจน์ของบทที่สาม. และควรทําการแก้ในการติเตียนเท่านั้นดังนี้ ไม่ต้องแก้ทั่วไป. แต่ถ้าเมื่อถูกเขากล่าวว่า ท่านเป็นคนทุศีล อาจารย์ของท่านเป็นคนทุศีล สิ่งนี้ๆ ท่านได้กระทําแล้ว อาจารย์ของท่านได้กระทําแล้ว ดังนี้ ก็ทนนิ่งอยู่ได้ ย่อมเป็นที่หวาดเกรงแก่ผู้กล่าวฉะนั้น ไม่ต้องทําความขุ่นใจ แก้ไขการติเตียน ส่วนบุคคลที่ด่าด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ โดยนัยว่า อ้ายอูฐ อ้ายวัว เป็นต้น ควรวางเฉยเสียใช้อธิวาสนขันติอย่างเดียวในบุคคลนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงลักษณะของผู้คงที่ในฐานะแห่งการติเตียนอย่างนี้แล้ว บัดนี้ มีพระพุทธประสงค์จะทรงแสดงลักษณะของผู้คงที่ในฐานะแห่งการสรรเสริญ จึงตรัสพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ดังนี้เป็นต้น.

ในพระบาลีนั้น คําว่า คนเหล่าอื่น ได้แก่ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายผู้เลื่อมใสเหล่าใดเหล่าหนึ่ง. เพลิดเพลิน มีวิเคราะห์ว่า เป็นเหตุมายินดีแห่งใจ. คํานี้เป็นชื่อของปีติ.

ภาวะแห่งใจดี ชื่อว่า โสมนัส. คําว่า โสมนัสนี้เป็นชื่อของความ

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 162

สุขทางจิต.

ภาวะแห่งบุคคลผู้เบิกบาน ชื่อว่า ความเบิกบาน ถามว่า ความเบิกบานของอะไร? ตอบว่า ของใจ. คําว่า ความเบิกบานนี้เป็นชื่อของปีติอันทําให้เบิกบาน นํามาซึ่งความฟุ้งซ่าน.

แม้ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสสังขารขันธ์ด้วยบททั้งสอง ตรัสเวทนาขันธ์ด้วยบทเดียว ด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงห้ามความเบิกบานโดยนัยที่หนึ่งอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงโทษในความเบิกบานนั้น โดยนัยที่สองจึงได้ตรัสคํามีอาทิว่า ถ้าเธอทั้งหลายจักเพลิดเพลิน จักดีใจ จักเบิกบานใจในคําชมนั้น อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นเป็นแน่ดังนี้.

แม้ในที่นี้ ก็พึงทราบเนื้อความว่า บทว่า ตุมฺหฺเวสฺส เตน อนฺตราโย ความว่า อันตรายจะพึงมีแก่คุณธรรมทั้งหลาย มีปฐมฌานเป็นต้น ของเธอทั้งหลายนั้นเอง เพราะความเบิกบานนั้น.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไรจึงตรัสดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญปีติ และโสมนัสในพระรัตนตรัยนั่นเทียว โดยพระสูตรหลายร้อยสูตร มีอาทิอย่างนี้ว่า ผู้ที่ประกาศว่า พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ เกิดปีติไปทั่วกาย ก็ปีตินั้นประเสริฐกว่าชมพูทวีปเสียอีก และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในวัตถุอันเลิศ ดังนี้มิใช่หรือ?

ตอบว่า ตรัสสรรเสริญไว้จริง แต่ปีติ และโสมนัสนั้นเกี่ยวกับเนกขัมมะ ในที่นี้ ทรงประสงค์ปีติ และโสมนัสที่เนื่องด้วยการครองเรือน

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 163

อย่างที่เกิดขึ้นแก่ท่านพระฉันนะ โดยนัยว่า พระพุทธเจ้าของเรา พระธรรมของเรา ดังนี้เป็นต้น. ด้วยว่า ปีติ และโสมนัสที่เนื่องด้วยการครองเรือนนี้ ย่อมกระทําอันตรายแก่การบรรลุฌาน เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้นแหละ แม้ท่านพระฉันนะจึงไม่สามารถที่จะทําคุณวิเศษให้บังเกิดได้ตลอดเวลาที่พระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จปรินิพพาน. แต่ท่านได้ถูกคุกคามด้วยพรหมทัณฑ์ที่ทรงบัญญัติไว้ในปรินิพพานสมัย ละปีติ และโสมนัสนั้นได้แล้ว จึงยังคุณวิเศษให้บังเกิดได้. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ปีติ และโสมนัสที่ตรัสแล้วนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายปีติ และโสมนัสที่ทําอันตรายเท่านั้น. ก็ปีตินี้ที่เกิดพร้อมกับความโลภ และความโลภก็เช่นกับความโกรธนั่นเอง. อย่างที่ตรัสไว้ว่า

คนโลภย่อมไม่รู้อรรถ คนโลภย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อนรชนถูกความโลภครอบงํา ย่อมมืดตื้อทันที ความโลภก่อให้เกิดความพินาศ ความโลภทําให้จิตอยากได้ ชนไม่รู้จักความโลภนั้นซึ่งเป็นภัยเกิดในภายใน ดังนี้.

ก็วาระที่สามแม้ไม่ได้มาในที่นี้ ก็พึงทราบว่า มาแล้วโดยอรรถะเหมือนกัน. แม้คนโลภก็ไม่รู้อรรถเหมือนอย่างคนโกรธ.

ในวาระแห่งการแสดงอาการที่จะพึงปฏิบัติ มีคําประกอบดังต่อไปนี้ เธอทั้งหลายได้ฟังเขาพูดว่า พระศาสดาของท่านทั้งหลายเป็นพระสัพพัญู เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระองค์ตรัสดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้เป็นต้น ไม่ควรนิ่งเสีย แต่ควรยืนยันอย่างนี้ว่า คําที่พวกท่านพูดนั้น เป็นคําจริงแม้เพราะเหตุนี้ เป็นคําแท้แม้เพราะเหตุ

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 164

นี้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์แม้เพราะเหตุนี้ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้เพราะเหตุนี้ พระธรรมอันพระองค์ตรัสดีแล้วแม้เพราะเหตุนี้ เป็นพระธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นเองแม้เพราะเหตุนี้ พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้วแม้เพราะเหตุนี้ ปฏิบัติตรงแม้เพราะเหตุนี้ ดังนี้แม้ถูกถามว่า ท่านมีศีลหรือ? ถ้ามีศีลก็พึงยืนยันว่า เราเป็นผู้มีศีล ดังนี้ทีเดียว แม้ถูกถามว่า ท่านเป็นผู้ได้ปฐมฌานหรือ?ๆ ลๆ ท่านเป็นพระอรหันต์หรือ? ดังนี้ พึงยืนยันเฉพาะแก่ภิกษุทั้งหลายที่เป็นสภาคกันเท่านั้น. ก็ด้วยการปฏิบัติตามที่กล่าวมานี้ ย่อมเป็นอันละเว้นความเป็นผู้ปรารถนาลามก และย่อมเป็นอันแสดงความที่พระศาสนาไม่เป็นโมฆะดังนี้. คําที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

พรรณนาอนุสนธิเริ่มต้น

อนุสนธิเริ่มต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคตจะพึงกล่าวด้วยประการใด นั่นมีประมาณน้อยนัก ยังต่ํานัก เป็นเพียงศีลดังนี้.

พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มด้วยบทสองบท คือ การสรรเสริญ และการติเตียน. ในสองประการนั้น การติเตียนต้องยับยั้งไว้เหมือนไฟ พอถึงน้ำก็ดับฉะนั้น อย่างในคํานี้ว่า นั่นไม่จริงเพราะเหตุนี้ นั่นไม่แท้แม้เพราะเหตุนี้ ดังนี้. ส่วนการสรรเสริญก็ควรยืนยันที่เป็นจริงว่า เป็นจริง คล้อยตามไปอย่างนี้ทีเดียวว่า นั่นเป็นจริงแม้เพราะเหตุนี้.ก็คําสรรเสริญนั้นมีสองอย่าง คือ คําสรรเสริญที่พรหมทัตมาณพกล่าวอย่างหนึ่ง คําสรรเสริญที่ภิกษุสงฆ์ปรารภโดยนัยมีอาทิว่า ท่านทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 165

น่าอัศจรรย์ ดังนี้ อย่างหนึ่ง. ในสองอย่างนั้น คําสรรเสริญที่ภิกษุสงฆ์กล่าว พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงแสดงอนุสนธิในการประกาศความว่างเปล่าข้างหน้า แต่ในที่นี้มีพุทธประสงค์จะทรงแสดงอนุสนธิ คําสรรเสริญที่พรหมทัตมาณพกล่าว จึงทรงเริ่มเทศนาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต จะพึงกล่าวด้วยประการใด นั่นมีประมาณน้อยนัก ยังต่ํานัก เป็นเพียงศีล ดังนี้.

ในคําเหล่านั้น คําว่า มีประมาณน้อย เป็นชื่อของสิ่งเล็กน้อย คําว่า ยังต่ํานัก เป็นไวพจน์ของคําว่า มีประมาณน้อย. ขนาดเรียกว่าประมาณ. ชื่อว่า มีประมาณน้อย เพราะมีประมาณน้อย. ชื่อว่า ยังต่ํานัก เพราะมีประมาณต่ำ. ชื่อว่า เป็นเพียงศีล คือศีลนั่นเอง. มีอธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต แม้กระทําอุตสาหะว่าเราจะกล่าวชม จะพึงกล่าวชมด้วยประการใด นั่นมีประมาณน้อยนัก เป็นเพียงศีล ดังนี้.

ในข้อนั้น หากจะพึงมีคําถามว่า ธรรมดาว่าศีลนี้ เป็นเครื่องประดับอันเลิศของพระโยคี ดังที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า

ศีลเป็นอลังการของพระโยคี ศีลเป็นเครื่องประดับของพระโยคี พระโยคีผู้ตกแต่งด้วยศีลทั้งหลาย ถึงความเป็นผู้เลิศในการประดับ ดังนี้.

อนึ่ง แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสศีล ทรงกระทําให้ยิ่งใหญ่ทีเดียวในพระสูตรหลายร้อยสูตร อย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ดังนี้ ก็พึงเป็นผู้กระทําให้บริบูรณ์

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 166

ในศีลทั้งหลายทีเดียว ดังนี้ และว่า

นกต้อยตีวิดรักษาฟองไข่ฉันใด จามรีรักษาขนหางฉันใด คนมีบุตรคนเดียวรักษาบุตรผู้เป็นที่รักฉันใด คนมีนัยน์ตาข้างเดียว รักษานัยน์ตาที่ยังเหลืออีกข้างฉันใด ท่านทั้งหลายจงตามรักษาศีลเหมือนฉันนั้นทีเดียว จงเป็นผู้มีศีลเป็นที่รักด้วยดี มีความเคารพทุกเมื่อเถิด ดังนี้ และว่า กลิ่นดอกไม้ไม่ฟุ้งทวนลม จันทน์หรือกฤษณา และมะลิซ้อน ก็ไม่ฟุ้งทวนลม แต่กลิ่นสัตบุรุษย่อมฟุ้งทวนลม สัตบุรุษย่อมฟุ้งไปได้ทุกทิศ

จันทน์ก็ดี กฤษณาก็ดี อุบลก็ดี มะลิก็ดี กลิ่นคือศีลยอดเยี่ยมกว่าบรรดาคันธชาตเหล่านั้น กลิ่นกฤษณา และจันทน์นี้มีประมาณน้อย ส่วนกลิ่นของผู้มีศีลเป็นกลิ่นสูงสุด ฟุ้งไปในทวยเทพทั้งหลาย

มารย่อมไม่พบทางของท่านเหล่านั้น ผู้มีศีลสมบูรณ์มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ

ภิกษุเป็นพระผู้มีปัญญา ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ยังจิต และปัญญาให้เจริญอยู่ ผู้มีความเพียร มีปัญญารักษาตนนั้น พึงสางชัฏนี้ได้ ดังนี้ และว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พีชคาม และภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ พีชคาม และภูตคามเหล่านั้นทั้งหมด อาศัย

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 167

แผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้อย่างนี้ มีอุปมาแม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีล เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทําให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเป็นใหญ่หรือความไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ก็อุปไมยฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้ พระสูตรแม้อื่นๆ อีกไม่น้อย ก็พึงเห็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสศีลทรงกระทําให้ยิ่งใหญ่ทีเดียวในพระสูตร หลายร้อยสูตรอย่างนี้มิใช่หรือ เหตุไฉน ในที่นี้จึงตรัสศีลนั้นว่ามีประมาณน้อยเล่า?

ตอบว่า เพราะทรงเทียบเคียงคุณชั้นสูง. ด้วยว่า ศีลยังไม่ถึงสมาธิ สมาธิยังไม่ถึงปัญญา ฉะนั้น ทรงเทียบเคียงคุณสูงๆ ขั้นไป ศีลอยู่เบื้องล่าง จึงชื่อว่า ยังต่ํานัก.

ศีลยังไม่ถึงสมาธิ เป็นอย่างไร?

คือว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ในปีที่ ๗ นับแต่ตรัสรู้ ได้ประทับนั่งบนรัตนบัลลังก์ประมาณโยชน์หนึ่ง ในรัตนมณฑปประมาณ ๑๒ โยชน์ ณ ควงต้นคัณฑามพฤกษ์ ใกล้ประตูนครสาวัตถี เมื่อเทพยดากางกั้นทิพยเศวตฉัตรประมาณ ๓ โยชน์ ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ย่ํายีเดียรถีย์ซึ่งแสดงการทรงถือเอาเป็นส่วนพระองค์ ในบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์ คือ ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ อันเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ท่อไฟพวยพุ่งออกจากพระวรกายส่วนบน สายน้ำไหลออกจากพระวรกายส่วนล่าง ฯลฯ ท่อไฟพวยพุ่งออกจากขุมพระโลมาแต่ละขุมๆ สายน้ำไหลออกจากขุมพระโลมาแต่ละขุม มีวรรณะ ๖ ประการ ดังนี้ พระรัศมีมีวรรณะดุจ

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 168

ทองคําพุ่งขึ้นจากพระสรีระอันมีวรรณะดังทองคําของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นไปจนถึงภวัคพรหม เป็นประหนึ่งกาลเป็นที่ประดับหมื่นจักรวาลทั้งสิ้น. รัศมีอย่างที่สองๆ กับอย่างแรกๆ เหมือนเป็นคู่ๆ พวยพุ่งออกราวกะว่าในขณะเดียวกัน. อันชื่อว่าจิตสองดวงจะเกิดในขณะเดียวกันย่อมมีไม่ได้. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ทรงมีการพักภวังคจิตเร็ว และทรงมีความชํานาญที่สั่งสมไว้โดยอาการ ๕ อย่าง ดังนั้น พระรัศมีเหล่านั้นจึงเป็นไปราวกะว่าในขณะเดียวกัน. แต่พระรัศมีนั้นๆ ยังมีอาวัชชนะ บริกรรม และอธิษฐาน แยกกันอยู่นั่นเอง คือ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระพุทธประสงค์รัศมีสีเขียว ก็ทรงเข้าฌานมีนีลกสิณเป็นอารมณ์ มีพระพุทธประสงค์รัศมีสีเหลือง ก็ทรงเข้าฌานมีปีตกสิณเป็นอารมณ์ มีพระพุทธประสงค์รัศมีสีแดง และสีขาว ก็ทรงเข้าฌานมีโลหิตกสิณเป็นอารมณ์ โอทาตสิณเป็นอารมณ์ มีพระพุทธประสงค์ท่อไฟ ก็ทรงเข้าฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ มีพระพุทธประสงค์สายน้ำ ก็ทรงเข้าฌานมีอาโปกสิณเป็นอารมณ์. พระศาสดาเสด็จจงกรม พระพุทธนฤมิตก็ประทับยืน หรือประทับนั่ง หรือบรรทม บัณฑิตพึงอธิบายให้พิสดารทุกบท ด้วยประการฉะนี้. ในข้อนี้ กิจแห่งศีลแม้อย่างเดียวก็ไม่มี ทุกอย่างเป็นกิจของสมาธิทั้งนั้น ศีลไม่ถึงสมาธิ เป็นอย่างนี้.

    อนึ่งเล่า ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบําเพ็ญพระบารมีมาสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปแล้ว เมื่อกาลที่ทรงมีพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา เสด็จออกจากที่ประทับ อันเป็นที่อยู่อาศัย อันเป็นสิริแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ผนวช ณ ริมฝังแม่น้ำอโนมา ทรงบําเพ็ญเพียรตลอด ๖ พรรษา ครั้นถึงวันวิสาขบุรณมี ดิถีเพ็ญเดือน ๖ เสวยมธุปายาสใส่ทิพยโอชา ซึ่งนางสุชาดา

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 169

บ้านอุรุเวลคามถวาย เวลาสายัณหสมัย เสด็จเข้าไปยังโพธิมัณฑสถานทางทิศทักษิณ และทิศอุดร ทรงทําประทักษิณพญาไม้โพธิใบ ๓ รอบ แล้วประทับยืน ณ เบื้องทิศอีสาน ทรงลาดสันถัตหญ้า ทรงขัดสมาธิสามชั้น ทรงทํากรรมฐานมีเมตตาเป็นอารมณ์อันประกอบด้วยองค์ ๔ ให้เป็นเบื้องต้น ทรงอธิษฐานความเพียร เสด็จขึ้นสู่บัลลังก์อันประเสริฐ ๑๔ ศอก ผินพระปฤษฎางค์สู่ลําต้นโพธิ์อันสูง ๕๐ ศอก ราวกะต้นเงินที่ตั้งอยู่บนตั่งทอง ณ เบื้องบนมีกิ่งโพธิ์กางกั้นอยู่ราวกะฉัตรแก้วมณี มีหน่อโพธิ์ซึ่งคล้ายแก้วประพาฬหล่นลงที่จีวรซึ่งมีสีเหมือนทอง ยามพระอาทิตย์ใกล้จะอัสดงคต ทรงกําจัดมาร และพลมารได้แล้ว ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ในปฐมยาม ทรงชําระทิพยจักษุ ในมัชฌิมยาม ครั้นเวลาปัจจุสสมัยใกล้รุ่ง ทรงหยั่งพระปรีชาญาณลงในปัจจยาการที่พระสัพพัญูพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงสั่งสมกันมา ยังจตุตถฌานมีอานาปานสติเป็นอารมณ์ให้บังเกิด ทรงทําจตุตถฌานนั้นให้เป็นบาท ทรงเจริญวิปัสสนา ทรงยังกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปด้วยมรรคที่ ๔ ที่พระองค์ทรงบรรลุแล้ว ตามลําดับแห่งมรรค ทรงแทงตลอดพระพุทธคุณทั้งปวง. นี้เป็นกิจแห่งปัญญาของพระองค์. สมาธิไม่ถึงปัญญา เป็นอย่างนี้.

    ในข้อนั้น น้ำในมือยังไม่ถึงน้ำในถาด น้ำในถาดยังไม่ถึงน้ำในหม้อ น้ำในหม้อยังไม่ถึงน้ำในไห น้ำในไหยังไม่ถึงน้ำในตุ่ม น้ำในตุ่มยังไม่ถึงน้ำในหม้อใหญ่ น้ำในหม้อใหญ่ยังไม่ถึงน้ำในบ่อ น้ำในบ่อยังไม่ถึงน้ำในลําธาร น้ำในลําธารยังไม่ถึงน้ำในแม่น้ำน้อย น้ำในแม่น้ำน้อยยังไม่ถึงน้ำในปัญจมหานที น้ำในปัญจมหานทียังไม่ถึงน้ำในมหาสมุทรจักรวาล น้ำในมหาสมุทรจักรวาลยังไม่ถึงน้ำในมหาสมุทรเชิงเขาสิเนรุ

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 170

น้ำในมือเทียบน้ำในถาดก็นิดหน่อย ฯลฯ น้ำในมหาสมุทรจักรวาลเทียบน้ำในมหาสมุทรเชิงเขาสิเนรุ ก็นิดหน่อย ฉะนั้น น้ำในเบื้องต้นๆ ถึงมาก ก็เป็นน้ำนิดหน่อย โดยเทียบกับน้ำในเบื้องต่อๆ ไป ด้วยประการฉะนี้ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ศีลในเบื้องล่างก็มีอุปไมยฉันนั้นนั่นเทียว พึงทราบว่า มีประมาณน้อย ยังต่ํานัก โดยเทียบกับคุณในเบื้องบนๆ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคตจะพึงกล่าวด้วยประการใด นั่นมีประมาณน้อยนัก ยังต่ํานัก เป็นเพียงศีล ดังนี้.

อธิบายคําว่า ปุถุชน

ในคําว่า เยน ปุถุชโน นี้ มีคําอธิบาย ดังต่อไปนี้

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ตรัสว่า

ปุถุชนมี ๒ พวก คือ อันธปุถุชน ๑ กัลยาณปุถุชน ๑ ดังนี้.

ในปุถุชน ๒ พวกนั้น บุคคลผู้ไม่มีการเรียน การสอบสวน การฟัง การทรงจํา และการพิจารณาในขันธ์ ธาตุ และอายตนะเป็นต้น นี้ชื่อว่าอันธปุถุชน บุคคลผู้มีกิจเหล่านั้น ชื่อว่า กัลยาณปุถุชน. อนึ่ง ปุถุชนทั้ง ๒ พวกนี้

ชื่อว่าปุถุชน ด้วยเหตุทั้งหลาย มีการยังกิเลสมากมายให้เกิดเป็นต้น ชนนี้เป็นพวกหนึ่ง เพราะหยั่งลงภายในของปุถุชน ดังนี้.

จริงอยู่ ปุถุชนนั้น ชื่อว่า ปุถุชน ด้วยเหตุเป็นต้นว่า ยังกิเลส

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 171

เป็นต้น มีประการต่างๆ มากมายให้เกิด. อย่างที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระกล่าวไว้ว่า ชื่อว่า ปุถุชน เพราะยังกิเลสมากมายให้เกิด.เพราะยังกําจัดสักกายทิฏฐิมากมายไม่ได้. เพราะส่วนมากคอยแต่แหงนมองหน้าครูทั้งหลาย. เพราะส่วนมากออกไปจากคติทั้งปวงไม่ได้. เพราะส่วนมากสร้างบุญบาปต่างๆ. เพราะส่วนมากถูกโอฆะต่างๆ พัดไป ถูกความเดือดร้อนให้เดือดร้อน ถูกความเร่าร้อนให้เร่าร้อน กําหนัด ยินดี รักใคร่ สยบ หมกมุ่น ข้อง ติด พัวพัน อยู่ในเบญจกามคุณ. เพราะถูกนิวรณ์ ๕ กางกั้น กําบัง เคลือบ ปกปิด ครอบงํา. เพราะหยั่งลงภายในชนจํานวนมาก ซึ่งนับไม่ถ้วน ล้วนแต่เบือนหน้าหนีอริยธรรม มีแต่ประพฤติธรรมที่เลวทราม ดังนี้ก็มี. เพราะชนนี้เป็นพวกหนึ่ง คือถึงการนับว่า เป็น ต่างหากทีเดียว ไม่เกี่ยวข้องกับอริยชนทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยคุณมีศีล และสุตะเป็นต้น ดังนี้ก็มี.

คําว่า ตถาคต มีความหมาย ๘ อย่าง

บทว่า ตถาคตสฺส ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต ด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ

๑. เพราะเสด็จมาอย่างนั้น

๒. เพราะเสด็จไปอย่างนั้น

๓. เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะที่แท้

๔. เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้จริง ตามที่เป็นจริง

๕. เพราะทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 172

    ๖. เพราะมีพระวาจาที่แท้จริง

    ๗. เพราะทรงกระทําเอง และให้ผู้อื่นกระทํา

    ๘. เพราะทรงครอบงํา

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาอย่างนั้น เป็นอย่างไร?

    เหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ทรงขวนขวายเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งปวงเสด็จมาแล้ว เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระวิปัสสีเสด็จมา เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระสิขีเสด็จมา เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระเวสสภูเสด็จมา เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระกกุสันธะเสด็จมา เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระโกนาคมน์เสด็จมา เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระกัสสปะเสด็จมา ข้อนี้มีอธิบายอย่างไร? มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น เสด็จมาด้วยอภินิหารใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จมาด้วยอภินิหารนั้นเหมือนกัน.

    อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระวิปัสสี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคพระกัสสปะ ทรงบําเพ็ญทานบารมี ทรงบําเพ็ญศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี ทรงบําเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศเหล่านี้ คือบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ทรงบริจาคมหาบริจาค ๕ ประการ คือ บริจาคอวัยวะ บริจาคทรัพย์ บริจาคลูก บริจาคเมีย บริจาคชีวิต ทรงบําเพ็ญบุพประโยค บุพจริยา การแสดงธรรม และญาตัตถจริยา เป็นต้น ทรงถึงที่สุดแห่งพุทธจริยา เสด็จมาแล้วอย่างใด

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 173

พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จมาเหมือนอย่างนั้น.

    อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระวิปัสสีฯลฯ พระผู้มีพระภาคพระกัสสปะ ทรงเจริญเพิ่มพูนสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เสด็จมาแล้วอย่างใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จมาเหมือนอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาอย่างนั้นเป็นอย่างนี้.

    พระมุนีทั้งหลายมีพระวิปัสสีเป็นต้น เสด็จมาสู่ความเป็นพระสัพพัญูในโลกนี้อย่างใด แม้พระศากยมุนีนี้ ก็เสด็จมาเหมือนอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีจักษุจึงทรงพระนามว่า ตถาคต ดังนี้ .

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาอย่างนั้น เป็นอย่างนี้.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปอย่างนั้น เป็นอย่างไร?

    เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระวิปัสสี ประสูติในบัดเดี๋ยวนั้นก็เสด็จไป ฯลฯ เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระกัสสปะ ประสูติในบัดเดี๋ยวนั้น ก็เสด็จไป ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเสด็จไปอย่างไร? จริงอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นประสูติในบัดเดี๋ยวนั้นเอง ประทับยืนบนปฐพีด้วยพระยุคลบาทอันเสมอกัน บ่ายพระพักตร์ไปเบื้องทิศอุดร เสด็จไปโดยย่างพระบาท ๗ ก้าว ดังพระบาลีที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 174

ประสูติบัดเดี๋ยวนั้น ก็ประทับยืนด้วยพระยุคลบาทอันเสมอกัน บ่ายพระพักตร์ไปเบื้องทิศอุดร เสด็จไปโดยย่างพระบาท ๗ ก้าว เมื่อท้าวมหาพรหมกั้นพระเศวตฉัตร ทรงเหลียวดูทั่วทิศ ทรงเปล่งอาสภิวาจาว่าเราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นการเกิดครั้งสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีต่อไปดังนี้ . และการเสด็จไปของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็ได้เป็นอาการอันแท้ ไม่แปรผันด้วยความเป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุคุณวิเศษหลายประการ คือ ข้อที่พระองค์ประสูติในบัดเดี๋ยวนั้นเอง ก็ได้ประทับยืนด้วยพระยุคลบาทอันเสมอกัน นี้เป็นบุพนิมิตแห่งการได้อิทธิบาท ๔ ของพระองค์. อนึ่ง ความที่พระองค์บ่ายพระพักตร์ไปเบื้องทิศอุดร เป็นบุพนิมิตแห่งความเป็นโลกุตตรธรรมทั้งปวง. การย่างพระบาท ๗ ก้าวเป็นบุพนิมิตแห่งการได้รัตนะ คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ. อนึ่ง การยกพัดจามรขึ้นที่กล่าวไว้ในคํานี้ว่า พัดจามรทั้งหลาย มีด้ามทองก็โบกสะบัด นี้เป็นบุพนิมิตแห่งการย่ํายีเดียรถีย์ทั้งปวง. อนึ่ง การกั้นพระเศวตฉัตรเป็นบุพนิมิตแห่งการได้เศวตฉัตร อันบริสุทธิ์ ประเสริฐ คือ พระอรหัตตวิมุตติธรรม. การประทับยืนบนก้าวที่๗ ทอดพระเนตรเหลียวดูทั่วทิศ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้พระอนาวรญาณ คือความเป็นพระสัพพัญู. การเปล่งอาสภิวาจา เป็นบุพนิมิตแห่งการประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ อันใครๆ เปลี่ยนแปลงไม่ได้. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ก็เสด็จไปเหมือนอย่างนั้น และการเสด็จไปของพระองค์นั้น ก็ได้เป็นอาการอันแท้ ไม่แปรผัน ด้วยความเป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุคุณวิเศษเหล่านั้นแล ด้วยเหตุนั้นพระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 175

พระควัมบดีโคดมนั้นประสูติแล้วในบัดเดี๋ยวนั้น ก็ทรงสัมผัสพื้นดินด้วยพระยุคลบาทสม่ําเสมอ เสด็จย่างพระบาทไปได้ ๗ ก้าว และฝูงเทพยดาเจ้าก็กางกั้นเศวตฉัตร พระโคดมนั้นครั้นเสด็จไปได้ ๗ ก้าว ก็ทอดพระเนตรไปรอบทิศเสมอกัน ทรงเปล่งพระสุร-เสียงประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ปานดังราชสีห์ยืนอยู่บนยอดบรรพตฉะนั้น ดังนี้.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต แม้เพราะเสด็จไปอย่างนั้น เป็นอย่างนี้.

    อีกนัยหนึ่ง เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระวิปัสสีเสด็จไปแล้วฯลฯ พระผู้มีพระภาคพระกัสสปะเสด็จไปแล้วฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ก็เหมือนฉันนั้นทีเดียว ทรงละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะเสด็จไปแล้ว ทรงละพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท ทรงละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ทรงละอุทธัจจกุกกุจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ทรงละวิจิกิจฉาด้วยการกําหนดธรรม เสด็จไปแล้ว ทรงทําลายอวิชชาด้วยพระปรีชาญาณ ทรงบรรเทาอรติด้วยความปราโมทย์ ทรงเปิดบานประตูคือนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ทรงยังวิตกและวิจารณ์ให้สงบด้วยทุติยฌาน ทรงหน่ายปีติด้วยตติยฌาน ทรงละสุข และทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ทรงก้าวล่วงรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา และนานัตตสัญญาด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ทรงก้าวล่วงอากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ทรงก้าวล่วง

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 176

วิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ทรงก้าวล่วงอากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เสด็จไปแล้ว ทรงละนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา ทรงละสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา ทรงละอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา ทรงละความเพลิดเพลินด้วยนิพพิทานุปัสสนา ทรงละความกําหนัดด้วยวิราคานุปัสสนา. ทรงละสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ทรงละความยึดมั่นด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ทรงละฆนสัญญาด้วยขยานุปัสสนา ทรงละความเพิ่มพูนด้วยวยานุปัสสนา ทรงละความยั่งยืนด้วยวิปริณามานุปัสสนา ทรงละนิมิตตสัญญาด้วยอนิมิตตานุปัสสนา ทรงละการตั้งมั่นแห่งกิเลสด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนา ทรงละการยึดมั่นด้วยสุญญตานุปัสสนา ทรงละความยึดมั่นด้วยการยึดถือว่าเป็นสาระด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา ทรงละความยึดมั่นโดยความลุ่มหลงด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ทรงละความยึดมั่นในธรรมเป็นที่อาลัยด้วยอาทีนวานุ-ปัสสนา ทรงละการไม่พิจารณาสังขารด้วยปฏิสังขานุปัสสนา ทรงละความยึดมั่นในการประกอบกิเลสด้วยวิวัฏฏานุปัสสนา ทรงหักกิเลสอันตั้งอยู่ร่วมกับทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรค ทรงละกิเลสหยาบด้วยสกทาคามิมรรค ทรงเพิกกิเลสอย่างละเอียดด้วยอนาคามิมรรค ทรงตัดกิเลสทั้งหมดได้ด้วยอรหัตตมรรค เสด็จไปแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคตเพราะเสด็จไปอย่างนั้น เป็นอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะที่แท้ เป็นอย่างไร?

ปฐวีธาตุมีลักษณะแข้นแข็ง เป็นลักษณะแท้ไม่แปรผัน อาโปธาตุมีลักษณะไหลไป เตโชธาตุมีลักษณะร้อน วาโยธาตุมีลักษณะเคลื่อนไป

 
  ข้อความที่ 110  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 177

มา อากาศธาตุมีลักษณะสัมผัสไม่ได้ วิญญาณธาตุมีลักษณะรู้อารมณ์ รูปมีลักษณะสลาย เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ สัญญามีลักษณะจําอารมณ์ สังขารมีลักษณะปรุงแต่งอารมณ์ วิญญาณมีลักษณะรู้อารมณ์ วิตกมีลักษณะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ วิจารมีลักษณะตามเคล้าอารมณ์ ปีติมีลักษณะแผ่ไป สุขมีลักษณะสําราญ เอกัคคตาจิตมีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน ผัสสะมีลักษณะถูกต้องอารมณ์ สัทธินทรีย์มีลักษณะน้อมใจเชื่อ วิริยินทรีย์มีลักษณะประคอง สตินทรีย์มีลักษณะบํารุง สมาธินทรีย์มีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์มีลักษณะรู้โดยประการ สัทธาพละมีลักษณะอันใครๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้ในความไม่เชื่อ วิริยพละมีลักษณะอันใครๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้ในความเกียจคร้าน สติพละมีลักษณะอันใครๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้ในความมีสติฟันเฟือน สมาธิพละมีลักษณะอันใครๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้ในความฟุ้งซ่าน ปัญญาพละมีลักษณะอันใครๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้ในอวิชชา สติสัมโพชฌงค์มีลักษณะบํารุง ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์มีลักษณะค้นคว้า วิริยสัมโพชฌงค์มีลักษณะประคอง ปีติสัมโพชฌงค์มีลักษณะแผ่ไป ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีลักษณะเข้าไปสงบ สมาธิสัมโพชฌงค์มีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีลักษณะพิจารณา สัมมาทิฏฐิมีลักษณะเห็น สัมมาสังกัปปะมีลักษณะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาวาจามีลักษณะกําหนดถือเอา สัมมากัมมันตะมีลักษณะเป็นสมุฏฐาน สัมมาอาชีวะมีลักษณะผ่องแผ้ว สัมมาวายามะมีลักษณะประคอง สัมมาสติมีลักษณะบํารุง สัมมาสมาธิมีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน อวิชชามีลักษณะไม่รู้ สังขารมีลักษณะคิดอ่าน วิญญาณมีลักษณะรู้อารมณ์ นามมีลักษณะน้อมไป รูปมีลักษณะสลาย สฬายตนะมีลักษณะเป็นที่มาต่อ ผัสสะมีลักษณะถูกต้อง

 
  ข้อความที่ 111  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 178

อารมณ์ เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ ตัณหามีลักษณะเป็นเหตุ อุปาทานมีลักษณะยึดมั่น ภพมีลักษณะเพิ่มพูน ชาติมีลักษณะบังเกิด ชรามีลักษณะทรุดโทรม มรณะมีลักษณะจุติ ธาตุมีลักษณะเป็นความว่างเปล่า อายตนะมีลักษณะเป็นที่มาต่อ สติปัฏฐานมีลักษณะบํารุง สัมมัปปธานมีลักษณะเริ่มตั้ง อิทธิบาทมีลักษณะสําเร็จ อินทรีย์มีลักษณะเป็นใหญ่ยิ่ง พละมีลักษณะอันใครๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้ โพชฌงค์มีลักษณะนําออกจากทุกข์ มรรคมีลักษณะเป็นเหตุ สัจจะมีลักษณะแท้ สมถะมีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนามีลักษณะตามพิจารณาเห็น สมถะ และวิปัสสนามีลักษณะมีกิจเป็นหนึ่ง ธรรมที่ขนานคู่กันมีลักษณะไม่กลับกลาย ศีลวิสุทธิมีลักษณะสํารวม จิตตวิสุทธิมีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิมีลักษณะเห็น ขยญาณมีลักษณะตัดได้เด็ดขาด อนุปปาทญาณมีลักษณะระงับ ฉันทะมีลักษณะเป็นมูล มนสิการมีลักษณะเป็นสมุฏฐาน ผัสสะมีลักษณะเป็นที่ประชุม เวทนามีลักษณะเป็นสโมสร สมาธิมีลักษณะเป็นประมุข สติมีลักษณะเป็นอธิปไตย ปัญญามีลักษณะยอดเยี่ยมกว่านั้น วิมุติมีลักษณะเป็นสาระ พระนิพพานอันหยั่งลงสู่อมตะมีลักษณะเป็นปริโยสาน ซึ่งแต่ละอย่างเป็นลักษณะที่แท้ไม่แปรผัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาสู่ลักษณะที่แท้ด้วยพระญาณคติ คือ ทรงบรรลุ ทรงบรรลุโดยลําดับไม่ผิดพลาดอย่างนี้ เหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะที่แท้ เป็นอย่างนี้.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้จริง ตามที่เป็นจริง เป็นอย่างไร?

    อริยสัจ ๔ ชื่อว่าธรรมที่แท้จริง อย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 112  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 179

อริยสัจ ๔ เหล่านี้ เป็นธรรมที่แท้ ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ว่า นี้ทุกข์ ดังนี้ เป็นธรรมที่แท้ ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น ดังนี้ . พึงทราบความพิสดารต่อไป. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้อริยสัจ ๔ เหล่านั้น เหตุนั้นจึงได้รับพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้. ก็คตศัพท์ ในที่นี้ มีเนื้อความว่า ตรัสรู้.

    อีกอย่างหนึ่ง ชรา และมรณะ อันเกิดแต่ชาติเป็นปัจจัย มีเนื้อความว่า ปรากฏ เป็นเนื้อความที่แท้ ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่นๆ ลฯ สังขารอันเกิดแต่อวิชชาเป็นปัจจัย มีเนื้อความว่า ปรากฏเป็นเนื้อความที่แท้ ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น ฯลฯอวิชชามีเนื้อความว่า เป็นปัจจัยแก่สังขาร สังขารมีเนื้อความว่า เป็นปัจจัยแก่วิญญาณ ฯลฯชาติมีเนื้อความว่า เป็นปัจจัยแก่ชรา และมรณะ เป็นเนื้อความที่แท้ ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ธรรมที่แท้นั้นทั้งหมด แม้เพราะเหตุนั้น จึงได้รับพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้จริง ตามที่เป็นจริง เป็นอย่างนี้แล.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง เป็นอย่างไร?

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ทรงเห็นโดยประการทั้งปวง ซึ่งอารมณ์อันชื่อว่ารูปารมณ์ ที่มาปรากฏทางจักษุทวารของหมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ในโลกพร้อมทั้งเทวดา คือ ของสัตว์ทั้งหลายอันหาประมาณมิได้ และอารมณ์นั้นอันพระองค์ผู้ทรงรู้ทรงเห็นอยู่อย่างนี้ ทรงจําแนก

 
  ข้อความที่ 113  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 180

ด้วยสามารถอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์เป็นต้น หรือด้วยสามารถบทที่ได้ในอารมณ์ที่ได้เห็น ที่ได้ยิน ที่ได้ทราบ และที่ได้รู้ ๑๓ วาระบ้าง ๕๒ นัยบ้าง มีชื่อมากมายโดยนัยเป็นต้นว่า รูป คือ รูปายตนะเป็นไฉน? คือ รูปใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นแสงสี เป็นรูปที่เห็นได้ เป็นรูปที่กระทบได้ เป็นรูปสีเขียว เป็นรูปสีเหลือง ดังนี้ ย่อมเป็นอารมณ์ที่แท้จริงอย่างเดียว ไม่มีแปรผัน. แม้ในอารมณ์มีเสียงเป็นต้น ที่มาปรากฏแม้ในโสตทวารเป็นต้น ก็นัยนี้. ข้อนี้สมด้วยพระบาลี ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อารมณ์ใดที่โลกพร้อมทั้งเทวดา พร้อมทั้งมาร พร้อมทั้งพรหม พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ได้เห็น ได้ยิน ได้ทราบ ได้รู้ ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ค้นคว้าแล้ว ด้วยใจ เราย่อมรู้ซึ่งอารมณ์นั้น รู้ยิ่งแล้ว ซึ่งอารมณ์นั้น อารมณ์นั้น ตถาคต ทราบแล้วไม่ปรากฏแล้วในตถาคต ดังนี้ .

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง เป็นอย่างนี้. พึงทราบความสําเร็จบทว่า ตถาคต มีเนื้อความว่า ทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะมีวาจาที่แท้จริง เป็นอย่างไร?ตลอดราตรีใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอปราชิตบัลลังก์ ณ โพธิมณฑสถาน ทรงล้างสมองมารทั้ง ๓ แล้ว ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และตลอดราตรีใดที่พระองค์เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในระหว่างไม้สาละทั้งคู่ ในระหว่างนี้ คือ ในกาลประมาณ ๔๕ พรรษา พระวาจาใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ทั้ง

 
  ข้อความที่ 114  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 181

ในปฐมโพธิกาล ทั้งในมัชฌิมโพธิกาล ทั้งในปัจฉิมโพธิกาล คือสุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละ พระวาจานั้นทั้งหมด อันใครๆ ติเตียนไม่ได้ ไม่ขาด ไม่เกิน โดยอรรถะ และโดยพยัญชนะ บริบูรณ์โดยอาการทั้งปวง บรรเทาความเมา คือ ราคะ โทสะ โมหะ ในพระวาจานั้นไม่มีความพลั้งพลาดแม้เพียงปลายขนทราย พระวาจานั้นทั้งหมด ย่อมแท้จริงอย่างเดียว ไม่แปรผัน ไม่กลายเป็นอย่างอื่น ดุจประทับไว้ด้วยตราอันเดียวกัน ดุจตวงไว้ด้วยทะนานใบเดียวกัน และดุจชั่งไว้ด้วยตาชั่งอันเดียวกัน ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนจุนทะ ตลอดราตรีใดที่ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และตลอดราตรีใด ที่ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในระหว่างนี้ คําใดที่ตถาคตกล่าว พูด แสดง คํานั้นทั้งหมด ย่อมเป็นคําแท้จริงอย่างเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น เหตุนั้น จึงได้นามว่า ตถาคต ดังนี้. ก็ในที่นี้ศัพท์ คต มีเนื้อความเท่า คท แปลว่าคําพูด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะมีพระวาจาที่แท้จริง เป็นอย่างนี้.

    อนึ่ง มีอธิบายว่า อาคทนํ เป็น อาคโท แปลว่า คําพูด มีวิเคราะห์ว่า ตโถ อวิปริโต อาคโท อสฺสาติ ตถาคโต แปลว่า ชื่อว่า ตถาคต เพราะมีพระวาจาแท้จริง ไม่วิปริต โดยแปลง ท เป็น ต ในอรรถนี้ พึงทราบความสําเร็จบทอย่างนี้เทียว.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงกระทําเอง และให้ผู้อื่นกระทํา เป็นอย่างไร?

    จริงอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระวรกายตรงกับพระวาจา ทรงมีพระวาจาตรงกับพระวรกาย ฉะนั้น ทรงมีพระวาจาอย่างใด ก็ทรง

 
  ข้อความที่ 115  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 182

กระทําอย่างนั้น และทรงกระทําอย่างใด ก็ทรงมีพระวาจาอย่างนั้น อธิบายว่า ก็พระองค์ผู้เป็นอย่างนี้ มีพระวาจาอย่างใด แม้พระวรกายก็ทรงเป็นไป คือ ทรงประพฤติอย่างนั้น และพระวรกายอย่างใด แม้พระวาจาก็ทรงเป็นไป คือ ทรงประพฤติอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้นแล จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตพูดอย่างใด กระทําอย่างนั้น กระทําอย่างใด พูดอย่างนั้น ด้วยเหตุนี้ จึงชื่อว่า ยถาวาที ตถาการี ยถาการี ตถาวาที เหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ตถาคต ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงกระทําเองและ ให้ผู้อื่นกระทํา เป็นอย่างนี้.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงครอบงําเป็นอย่างไร?

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครอบงําสรรพสัตว์ เบื้องบนถึงภวัคคพรหม เบื้องล่างถึงอเวจีเป็นที่สุด เบื้องขวางในโลกธาตุอันหาประมาณมิได้ ด้วยศีลบ้าง ด้วยสมาธิบ้าง ด้วยปัญญาบ้าง ด้วยวิมุตติบ้าง ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะบ้าง การจะชั่งหรือประมาณพระองค์หามีไม่ พระองค์เป็นผู้ไม่มีใครเทียบเคียงได้ อันใครๆ ประมาณไม่ได้ เป็นผู้ยอดเยี่ยม เป็นพระราชาที่พระราชาทรงบูชา คือ เป็นเทพของเทพ เป็นสักกะยิ่งกว่าสักกะทั้งหลาย เป็นพรหมยิ่งกว่าพรหมทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกพร้อมทั้งเทวดา พร้อมทั้งมาร พร้อมทั้งพรหมในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ และพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดา และมนุษย์ ตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่ อันใครๆ ครอบงําไม่ได้ เป็นผู้เห็นถ่องแท้ เป็นผู้ทรงอํานาจ เหตุนั้น จึงได้รับพระนามว่า ตถาคต ดังนี้

 
  ข้อความที่ 116  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 183

    ในข้อนั้น พึงทราบความสําเร็จบทอย่างนี้ อคโท แปลว่าโอสถ ก็เหมือน อาคโท ที่แปลว่า วาจา. ก็โอสถนี้คืออะไร? คือ เทศนาวิลาส และบุญพิเศษ. ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ทรงครอบงําผู้มีวาทะตรงกันข้ามทั้งหมด และโลกพร้อมทั้งเทวดา เหมือนนายแพทย์ผู้มีอานุภาพมาก ครอบงํางูทั้งหลายด้วยทิพยโอสถฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าบัณฑิตพึงทราบว่า ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเหตุว่า ทรงมีพระโอสถ คือ เทศนาวิลาส และบุญพิเศษ อันแท้ ไม่วิปริต ด้วยการครอบงําโลกทั้งปวง ดังนี้ เพราะแปลง ท เป็น ต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะอรรถว่าทรงครอบงํา เป็นอย่างนี้.

    อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปด้วยกิริยาที่แท้ ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงถึงกิริยาที่แท้ดังนี้ก็มี.

    บทว่า คโต มีเนื้อความว่า หยั่งรู้ เป็นไปล่วง บรรลุ ปฏิบัติ.ในเนื้อความ ๔ อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงหยั่งรู้โลกทั้งสิ้นด้วยตีรณปริญญา ชื่อว่าด้วยกิริยาที่แท้. เพราะทรงเป็นไปล่วงซึ่งโลกสมุทัย ด้วยปหานปริญญา ชื่อว่า ด้วยกิริยาที่แท้.เพราะทรงบรรลุโลกนิโรธด้วยสัจฉิกิริยา ชื่อว่า ด้วยกิริยาที่แท้. เพราะทรงปฏิบัติปฏิปทาอันให้ถึงโลกนิโรธ ชื่อว่ากิริยาที่แท้. ด้วยเหตุนั้น คําใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกตถาคตตรัสรู้แล้วตถาคตพรากแล้วจากโลก โลกสมุทัย ตถาคตตรัสรู้แล้ว โลกสมุทัยตถาคตละได้แล้ว โลกนิโรธตถาคตตรัสรู้แล้ว โลกนิโรธตถาคตทําให้แจ้งแล้ว ปฏิปทาอันให้ถึงโลกนิโรธ ตถาคตตรัสรู้แล้ว ปฏิปทาอันให้ถึงโลกนิโรธ

 
  ข้อความที่ 117  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 184

ตถาคตเจริญแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติใดของโลกพร้อมทั้งเทวดา ฯลฯ ธรรมชาตินั้นทั้งหมดตถาคตตรัสรู้แล้ว เหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ตถาคต ดังนี้ พึงทราบเนื้อความแห่งคํานั้นแม้อย่างนี้. อนึ่งแม้ข้อนี้ก็เป็นเพียงมุขในการแสดงภาวะที่พระตถาคตมีพระนามว่าตถาคตเท่านั้น. ที่จริง พระตถาคตเท่านั้น จะพึงพรรณนาภาวะที่พระตถาคตมีพระนามว่า ตถาคต โดยอาการทั้งปวงได้.

อธิบายคํา ปุจฉา

คําว่า กตมฺเจตํ ภิกฺขเว เป็นต้น ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามข้อที่ปุถุชนเมื่อกล่าวชมตถาคต จะพึงกล่าวด้วยประการใดซึ่งมีประมาณน้อยนัก ยังต่ํานัก เป็นเพียงศีล นั้นว่าเป็นไฉน?

ชื่อว่าคําถามในพระบาลีนั้น มี ๕ อย่าง คือ

๑. อทิฏฐโชตนาปุจฉา คําถามเพื่อส่องลักษณะที่ยังไม่เห็นให้กระจ่าง

๒. ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา คําถามเทียบเคียงลักษณะที่เห็นแล้ว

๓. วิมติเฉทนาปุจฉา คําถามเพื่อตัดความสงสัย

๔. อนุมติปุจฉา คําถามเพื่อการรับรอง

๕. กเถตุกัมยตาปุจฉา คําถามเพื่อประสงค์จะตอบเอง

ในบรรดาคําถามเหล่านั้น อทิฏฐโชตนาปุจฉา เป็นไฉน? ตามปกติลักษณะที่ยังไม่รู้ ยังไม่เห็น ยังไม่ได้พิจารณา ยังไม่ได้ไตร่ตรอง ยังไม่แจ่มแจ้ง ยังไม่ได้อธิบาย บุคคลย่อมถามปัญหา เพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อพิจารณา เพื่อไตร่ตรอง เพื่ออธิบายลักษณะนั้น นี้ชื่อว่า อทิฏฐ-

 
  ข้อความที่ 118  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 185

โชตนาปุจฉา.

    ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา เป็นไฉน? ตามปกติลักษณะที่รู้แล้ว เห็นแล้ว พิจารณาแล้ว ไตร่ตรองแล้ว แจ่มแจ้งแล้ว อธิบายแล้ว บุคคลย่อมถามปัญหาเพื่อต้องการจะเทียบเคียงลักษณะนั้นกับบัณฑิตเหล่าอื่น นี้ชื่อว่า ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา.

    วิมติเฉทนาปุจฉา เป็นไฉน? ตามปกติบุคคลเป็นผู้มักสงสัย มักระแวง เกิดความแคลงใจว่า อย่างนี้หนอ? ไม่ใช่หนอ? อะไรหนอ? อย่างไรหนอ? บุคคลนั้นย่อมถามปัญหาเพื่อต้องการตัดความสงสัย นี้ชื่อว่า วิมติเฉทนาปุจฉา.

    อนุมติปุจฉา เป็นไฉน? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามปัญหาเพื่อการรับรองของภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า ก็รูปที่ไม่เที่ยงนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุข เป็นทุกข์พระเจ้าข้า พึงกล่าวคําทั้งหมด นี้ชื่อว่า อนุมติปุจฉา.

    กเถตุกัมยตาปุจฉา เป็นไฉน? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามปัญหาด้วยมีพุทธประสงค์จะทรงตอบแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔ อะไรบ้าง? ฯลฯดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์แห่งมรรค ๘ เหล่านี้ องค์แห่งมรรค ๘ อะไรบ้าง? นี้ชื่อว่า กเถตุกัมยตาปุจฉา.

    ในบรรดาปุจฉา ๕ ประการดังพรรณนามานี้ เบื้องต้น อทิฏฐโชตนาปุจฉา ย่อมไม่มีแก่พระตถาคต เพราะธรรมอะไรๆ ที่พระองค์ไม่ทรงเห็นไม่มี แม้ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา ก็ไม่มี เพราะไม่เกิดการประมวล

 
  ข้อความที่ 119  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 186

พระดําริว่า ลักษณะชื่อนี้ เราจักแสดงเทียบเคียงกับสมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตเหล่าอื่น ดังนี้เลย. อนึ่ง เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงมีความลังเลความสับสน แม้ในธรรมสักข้อเดียว พระองค์ทรงตัดความสงสัยทั้งปวงได้ ณ โพธิมัณฑสถานนั่นแล ฉะนั้น แม้วิมุติเฉทนาปุจฉาก็ไม่มีแน่นอน. แต่ปุจฉา ๒ ประการนอกจากที่กล่าวมาแล้ว ย่อมมีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ในปุจฉา ๒ ประการนั้น นี้ชื่อว่า กเถตุกัมยตาปุจฉา.

วรรณนาจุลศีล

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระพุทธประสงค์จะทรงแก้เนื้อความที่ได้ตรัสถามด้วยกเถตุกัมยตาปุจฉานั้น จึงตรัสพระบาลีอาทิว่า ปาณาติปาตํ ปหาย ดังนี้.

ในคําว่า ละปาณาติบาต. ปาณาติบาต แปลว่าทําสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป อธิบายว่า ฆ่าสัตว์ ปลงชีพสัตว์. ก็ในคําว่า ปาณะ นี้ โดยโวหาร ได้แก่สัตว์ โดยปรมัตถ์ ได้แก่ชีวิตินทรีย์. อนึ่ง เจตนาฆ่า อันเป็นเหตุยังความพยายามตัดรอนชีวิตินทรีย์ให้ตั้งขึ้น เป็นไปทางกายทวาร และวจีทวาร ทางใดทางหนึ่ง ของผู้มีความสําคัญในชีวิตนั้นว่า เป็นสัตว์มีชีวิต ชื่อว่าปาณาติบาต. ปาณาติบาตนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในสัตว์เล็ก บรรดาสัตว์ที่เว้นจากคุณมีสัตว์เดรัจฉานเป็นต้น ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะสัตว์มีร่างกายใหญ่. เพราะเหตุไร? เพราะต้องขวนขวายมาก. แม้เมื่อมีความพยายามเสมอกัน ก็มีโทษมาก เพราะมีวัตถุใหญ่. ในบรรดาสัตว์ที่มีคุณมีมนุษย์เป็นต้น สัตว์มีคุณน้อยมีโทษน้อย สัตว์มีคุณมากมีโทษมาก.

 
  ข้อความที่ 120  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 187

แม้เมื่อมีสรีระและคุณเท่ากัน ก็พึงทราบว่า มีโทษน้อย เพราะกิเลส และความพยายามอ่อน มีโทษมาก เพราะกิเลส และความพยายามแรงกล้า.

ปาณาติบาตนั้น มีองค์ ๕ คือ

๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต

๒. ปาณสฺิตา ตนรู้ว่าสัตว์มีชีวิต

๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า

๔. อุปกฺกโม มีความพยายาม (ลงมือทํา)

๕. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น.

ปาณาติบาตนั้น มีประโยค ๖ คือ

๑. สาหัตถิกประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยมือตนเอง

๒. อาณัตติกประโยค ประโยคที่สั่งให้คนอื่นฆ่า

๓. นิสสัคคิยประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยอาวุธที่ชัดไป

๔. ถาวรประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยอุปกรณ์ที่อยู่กับที่

๕. วิชชามยประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยวิชา

๖. อิทธิมยประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยฤทธิ์.

ก็เมื่อข้าพเจ้าจะพรรณนาเนื้อความนี้ให้พิสดาร ย่อมจะเนิ่นช้าเกินไป ฉะนั้น จะไม่พรรณนาความนั้น และความอื่นที่มีรูปเช่นนั้นให้พิสดาร ส่วนผู้ที่ต้องการพึงตรวจดูสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย ถือเอาความเถิด.

บทว่า ปหาย ความว่า ละโทษอันเป็นเหตุทุศีล นี้กล่าวคือ เจตนาทําปาณาติบาต. บทว่า ปฏิวิรโต ความว่างด คือเว้นจากโทษอันเป็นเหตุ

 
  ข้อความที่ 121  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 188

ทุศีลนั้น จําเดิมแต่กาลที่ละปาณาติบาตได้แล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นไม่มีธรรมที่จะพึงรู้ทางจักษุและโสตว่า เราจักละเมิดดังนี้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมที่เป็นไปทางกายเล่า. แม้ในบทอื่นๆ ที่มีรูปอย่างนี้ ก็พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้แหละ.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้โวหารว่า สมณะ เพราะเป็นผู้มีบาปสงบแล้ว. บทว่า โคตโม ความว่า ทรงพระนามว่าโคดม ด้วยอํานาจพระโคตร. มิใช่แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น ที่เว้นจากปาณาติบาต แม้ภิกษุสงฆ์ก็เว้นด้วย แต่เทศนามีมาอย่างนี้ตั้งแต่ต้น แต่เมื่อจะแสดงเนื้อความ จะแสดงแม้ด้วยสามารถแห่งภิกษุสงฆ์ก็ควร.

    บทว่า นิหิตทณฺโฑ นิหิตสตฺโถ ความว่า มีไม้อันวางแล้ว และมีมีดอันวางแล้ว เพราะไม่ถือไม้หรือมีดไปเพื่อต้องการจะฆ่าผู้อื่น. ก็ในพระบาลีนี้ นอกจากไม้ อุปกรณ์ที่เหลือทั้งหมด พึงทราบว่า ชื่อว่ามีดเพราะทําให้สัตว์ทั้งหลายพินาศได้. ส่วนไม้เท้าคนแก่ก็ดี ไม้ก็ดี มีดก็ดี มีดโกนที่ภิกษุทั้งหลายถือเที่ยวไปนั้น มิใช่เพื่อต้องการจะฆ่าผู้อื่น ฉะนั้น จึงนับว่า วางไม้ วางมีด เหมือนกัน.

    บทว่า ลชฺชี ความว่า ประกอบด้วยความละอายอันมีลักษณะเกลียดบาป. บทว่า ทยาปนฺโน ความว่า ถึงความเอ็นดู คือความเป็นผู้มีเมตตาจิต. บทว่า สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปี ความว่า อนุเคราะห์สัตว์มีชีวิตทั้งปวงด้วยความเกื้อกูล อธิบายว่า มีจิตเกื้อกูลแก่สัตว์มีชีวิตทุกจําพวกเพราะถึงความเอ็นดูนั้น. บทว่า วิหรติ ความว่า เปลี่ยนอิริยาบถ คือยังอัตภาพให้เป็นไป ได้แก่รักษาตัวอยู่.

    คําว่า อิติ วา หิ ภิกฺขเว ความเท่ากับ เอวํ วา ภิกฺขเว วา

 
  ข้อความที่ 122  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 189

ศัพท์ ตรัสเป็นความวิกัป (แยกความ) เล็งถึงคําว่า ละอทินนาทาน เป็นต้นข้างหน้า. พึงทราบความวิกัป เล็งถึงคําต้นบ้าง คําหลังบ้าง ทุกแห่งอย่างนี้.

    ก็ในอธิการนี้ มีความย่อดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อปุถุชนจะกล่าวชมตถาคต พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ใช้ให้คนอื่นฆ่า ไม่เห็นชอบในการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นจากโทษเป็นเหตุทุศีลนี้ น่าชมเชยแท้ พระคุณของพระพุทธเจ้ายิ่งใหญ่ ดังนี้ ถึงต้องการจะกล่าวชม ทําอุตสาหะใหญ่ ดังนี้ ก็จักกล่าวได้เพียงอาจาระ และศีลเท่านั้น ซึ่งเป็นคุณมีประมาณน้อย จักไม่สามารถกล่าวพระคุณอาศัยสภาพอันไม่ทั่วไปยิ่งขึ้นได้เลย และมิใช่แต่ปุถุชนอย่างเดียวเท่านั้นที่ไม่สามารถ แม้พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่สามารถเหมือนกัน แต่ตถาคตเท่านั้นสามารถเราจักกล่าวความข้อนั้นแก่เธอทั้งหลายในเบื้องหน้า. นี้เป็นพรรณนาเนื้อความพร้อมทั้งอธิบายในพระบาลีนี้ . ต่อแต่นี้ไป เราจักพรรณนาตามลําดับทีเดียว.

    ในคําว่า ละอทินนาทานนี้ การถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ชื่อ อทินนาทาน มีอธิบายว่า การลักทรัพย์ของผู้อื่น คือความเป็นขโมย ได้แก่กิริยาที่เป็นโจร. คําว่า ของที่เขาไม่ได้ให้ ในคําว่า อทินนาทานนั้น ได้แก่ของที่เจ้าของหวงแหน คือ เป็นทรัพย์ที่ผู้อื่นใช้ให้ทําตามประสงค์ย่อมไม่ควรถูกลงอาชญา และไม่ถูกตําหนิ. อนึ่ง เจตนาคิดลักอันเป็นเหตุให้เกิดความพยายามที่จะถือเอาของที่เจ้าของหวงแหนนั้น ของบุคคลผู้มีความสําคัญในของที่เจ้าของหวงแหนว่า เป็นของที่เจ้าของหวงแหน ชื่อว่า อทินนาทาน. อทินนาทานนั้น ลักของเลว มีโทษน้อย ลักของ

 
  ข้อความที่ 123  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 190

ดี มีโทษมาก. เพราะเหตุไร? เพราะวัตถุประณีต. อทินนาทานนั้น เมื่อวัตถุเสมอกัน ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะวัตถุเป็นของๆ ผู้ยิ่งด้วยคุณ ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะวัตถุเป็นของๆ ผู้มีคุณน้อยๆ กว่าผู้ยิ่งด้วยคุณนั้นๆ.

อทินนาทานนั้น มีองค์ ๕ คือ

๑. ปรปริคฺคหิตํ ของที่เจ้าของหวงแหน

๒. ปรปริคฺคหิตสฺิตา รู้อยู่ว่า เป็นของที่เจ้าของหวงแหน

๓. เถยฺยจิตฺตํ จิตคิดลัก

๔. อุปกฺกโม พยายามลัก

๕. เตน หรณํ ลักมาได้ด้วยความพยายามนั้น

อทินนาทานนั้น มี ๖ ประโยค มีสาหัตถิกประโยคเป็นต้นนั่นเอง.และประโยคเหล่านี้แล เป็นไปด้วยอํานาจอวหารเหล่านี้ คือ

๑. เถยยาวหาร ลักโดยการขโมย

๒. ปสัยหาวหาร ลักโดยข่มขี่

๓. ปฏิจฉันนาวหาร ลักซ่อน

๔. ปริกัปปาวหาร ลักโดยกําหนดของ

๕. กุสาวหาร ลักโดยสับสลาก

ตามควร. นี้เป็นความย่อในอธิการนี้ ส่วนความพิสดาร ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย.

พระสมณโคดม ชื่อว่า ทินนาทายี เพราะถือเอาแต่ของที่เขาให้เท่านั้น. ชื่อว่า ทินฺนปาฏิกงฺขี เพราะต้องการแต่ของที่เขาให้เท่านั้น แม้ด้วยจิต. ผู้ที่ชื่อว่าเถนะ เพราะลัก. ผู้ที่ไม่ใช่ขโมย ชื่อว่าอเถนะ.

 
  ข้อความที่ 124  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 191

พระสมณโคดมประพฤติตนเป็นคนสะอาดเพราะไม่เป็นขโมยนั่นเอง. บทว่า อตฺตนา คืออัตภาพ. มีอธิบายว่า กระทําตนไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่. คําที่เหลือพึงประกอบตามนัยที่กล่าวแล้วในสิกขาบทที่หนึ่งนั่นแหละ. ทุกสิกขาบทก็เหมือนในสิกขาบทนี้.

    บทว่า อพฺรหฺมจริยํ ความว่า ความประพฤติไม่ประเสริฐ. ชื่อว่าพรหมจารี เพราะประพฤติอาจาระอันประเสริฐที่สุด. ผู้ที่ไม่ใช่พรหมจารีชื่อว่า อพรหมจารี. บทว่า อาราจารี ความว่า ทรงประพฤติไกลจากกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์. บทว่า เมถุนา ความว่า จากอสัทธรรมที่นับว่า เมถุน เพราะบุคคลผู้ได้บัญญัติว่าเป็นคู่กัน เพราะเป็นเช่นเดียวกันด้วยอํานาจความกลุ้มรุมแห่งราคะ พึงส้องเสพ. บทว่า คามธมฺมา ความว่า เป็นธรรมของชาวบ้าน.

    ในคําว่า มุสาวาทํ ปหาย นี้ คําว่า มุสา ได้แก่วจีประโยค หรือกายประโยค ที่ทําลายประโยชน์ของบุคคลผู้มุ่งจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน.ก็เจตนาอันให้เกิดกายประโยคและวจีประโยค ซึ่งพูดให้ผู้อื่นคลาดเคลื่อนของบุคคลผู้มุ่งจะกล่าวให้คลาดเคลื่อนนั้น ด้วยประสงค์จะกล่าวให้คลาดเคลื่อน ชื่อว่า มุสาวาท.

    อีกนัยหนึ่ง คําว่า มุสา ได้แก่เรื่องที่ไม่เป็นจริง ไม่แท้. คําว่า วาท ได้แก่กิริยาที่ทําให้เขาเข้าใจเรื่องที่ไม่จริง ไม่แท้นั้นว่า เป็นเรื่องจริง เรื่องแท้. ว่าโดยลักษณะ เจตนาที่ให้เกิดวิญญัติอย่างนั้น ของผู้ประสงค์จะให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องที่ไม่แท้ว่าเป็นเรื่องแท้ ชื่อว่า มุสาวาท.มุสาวาทนั้น มีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่ทําลายนั้นน้อย มีโทษมากเพราะประโยชน์ที่ทําลายนั้นมาก.

 
  ข้อความที่ 125  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 192

อีกอย่างหนึ่ง สําหรับพวกคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปโดยนัยว่า ไม่มี เป็นต้น เพราะประสงค์จะไม่ให้ของของตนมีโทษน้อย ที่เป็นพยานกล่าวเพื่อทําลายประโยชน์ มีโทษมาก. สําหรับพวกบรรพชิต มุสาวาทที่เป็นไปโดยนัยแห่งการพูดว่าเป็นของบริบูรณ์ เช่นว่าวันนี้น้ำมันในบ้านไหลเหมือนแม่น้ำเป็นต้น ด้วยประสงค์จะหัวเราะ เพราะได้น้ำมันหรือเนยใสมาน้อย มีโทษน้อย แต่เมื่อพูดถึงสิ่งที่ไม่เห็นเลย โดยนัยว่า เห็นแล้ว เป็นต้น มีโทษมาก.

มุสาวาทนั้น มีองค์ ๔ คือ

๑. อตถํ วตฺถุํ เรื่องไม่แท้

๒. วิสํวาทนจิตฺตํ จิตคิดจะพูดให้คลาดเคลื่อน

๓. ตชฺโช วายาโม ความพยายามเกิดจากจิตคิดจะพูดให้คลาดเคลื่อนนั้น

๔. ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ คนอื่นรู้เรื่องนั้น.

มุสาวาทนั้นมีประโยคเดียว คือ สาหัตถิกประโยค. มุสาวาทนั้นพึงเห็นด้วยการใช้กายบ้าง ใช้ของที่เนื่องด้วยกายบ้าง ใช้วาจาบ้าง กระทํากิริยาหลอกลวงผู้อื่น. ถ้าผู้อื่นเข้าใจความนั้น ด้วยกิริยานั้น ผู้นี้ย่อมผูกพันด้วยกรรม คือ มุสาวาทในขณะที่คิดจะให้เกิดกิริยาทีเดียว. ก็เพราะเหตุที่บุคคลสั่งว่า ท่านจงพูดเรื่องนี้แก่ผู้นี้ ดังนี้ก็มี เขียนหนังสือแล้วโยนไปตรงหน้าก็มี เขียนติดไว้ที่ฝาเรือน เป็นต้น ให้รู้ว่า เนื้อความนี้ พึงรู้อย่างนี้ ดังนี้ ก็มี โดยทํานองที่หลอกลวงผู้อื่น ด้วยกาย ของเนื่องด้วยกายและวาจา ฉะนั้น แม้อาณัตติกประโยค นิสสัคคิยประโยค และถาวร-

 
  ข้อความที่ 126  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 193

ประโยค ก็ย่อมควรในมุสาวาทนี้. แต่เพราะประโยคทั้ง ๓ นั้น ไม่ได้มาในอรรถกถาทั้งหลาย จึงต้องพิจารณาก่อนแล้วพึงถือเอา.

    ชื่อว่า สัจจวาที เพราะพูดแต่คําจริง. ชื่อว่า สจฺจสนฺโธ เพราะเชื่อม คือ สืบต่อคําสัตย์ด้วยคําสัตย์ อธิบายว่า ไม่พูดมุสาในระหว่างๆ .จริงอยู่ บุรุษใดพูดมุสาแม้ในกาลบางครั้ง พูดคําสัตย์ในกาลบางคราว ไม่เอาคําสัตย์สืบต่อคําสัตย์ เพราะบุรุษนั้นเอามุสาวาทคั่นไว้ ฉะนั้น บุรุษนั้นไม่ชื่อว่า ดํารงคําสัตย์ แต่พระสมณโคดมนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ไม่พูดมุสาแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต เอาคําสัตย์เชื่อมคําสัตย์อย่างเดียว เหตุนั้นจึงชื่อว่าสัจจสันโธ.

    บทว่า เถโต ความว่า เป็นผู้มั่งคั่ง อธิบายว่า มีถ้อยคําเป็นหลักฐาน. บุคคลหนึ่งเป็นคนมีถ้อยคําไม่เป็นหลักฐานเหมือนย้อมด้วยขมิ้น เหมือนหลักไม้ที่ปักไว้ในกองแกลบ และเหมือนฟักเขียวที่วางไว้บนหลังม้า. คนหนึ่งมีถ้อยคําเป็นหลักฐาน เหมือนรอยจารึกบนแผ่นหิน และเหมือนเสาเขื่อน แม้เมื่อเขาเอาดาบตัดศีรษะ ก็ไม่ยอมพูดเป็นสอง บุคคลนี้เรียกว่า เถตะ.

    บทว่า ปจฺจยิโก ความว่า เป็นผู้ควรยึดถือ อธิบายว่า เป็นผู้ควรเชื่อถือ. ก็บุคคลบางคนไม่เป็นคนควรเชื่อ เมื่อถูกถามว่า คํานี้ใครพูด?คนโน้นพูดหรือ? ย่อมจะถึงความเป็นผู้ควรตอบว่า ท่านทั้งหลายอย่าเชื่อคําของคนนั้น บางคนเป็นคนควรเชื่อ เมื่อถูกถามว่า คํานี้ใครพูด คนโน้นพูดหรือ? ถ้าเขาพูด ก็จะถึงความเป็นผู้ควรตอบว่า คํานี้เท่านั้นเป็นประมาณ บัดนี้ไม่ต้องพิจารณาก็ได้ คํานี้เป็นอย่างนี้แหละ ผู้นี้เรียกว่า ปัจจยิกะ.

 
  ข้อความที่ 127  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 194

บทว่า อวิสํวาทโก โลกสฺส ความว่า ไม่พูดลวงโลก เพราะความเป็นผู้พูดคําจริงนั้น.

ในคําว่า ปิสุณํ วาจํ ปหาย เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้

วาจาที่เป็นเหตุทําตนเป็นที่รักในใจของผู้ที่คนพูดด้วย และเป็นเหตุส่อเสียดผู้อื่น ชื่อว่า ปิสุณาวาจา.

อนึ่ง วาจาที่เป็นเหตุให้กระทําตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง หยาบคาย ทั้งหยาบคายแม้เอง ไม่เสนาะหู ไม่สุขใจ ชื่อว่า ผรุสวาจา.

วาทะที่เป็นเหตุให้บุคคลพูดเพ้อเจ้อ ไร้ประโยชน์ ชื่อว่า สัมผัปปลาป.

แม้เจตนาอันเป็นต้นเหตุแห่งคําพูดเหล่านั้น ก็พลอยได้ชื่อว่าปิสุณาวาจา เป็นต้นไปด้วย. ก็ในที่นี้ ประสงค์เอาเจตนานั้นแหละ.

ในบรรดาวาจาทั้ง ๓ อย่างนั้น เจตนาของบุคคลผู้มีจิตเศร้าหมองอันให้เกิดกายประโยค และวจีประโยค เพื่อให้คนอื่นแตกกันก็ดี เพื่อต้องการทําตนให้เป็นที่รักก็ดี ชื่อว่า ปิสุณาวาจา. ปิสุณาวาจานั้นชื่อว่ามีคุณน้อย เพราะผู้กระทําความแตกแยกมีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะผู้นั้นมีคุณมาก.

ปิสุณาวาจานั้น มีองค์ ๔ คือ

๑. ภินฺทิตพฺโพ ปโร ผู้อื่นที่พึงให้แตกกัน

๒. เภทปุเรกฺขารตา มุ่งให้เขาแตกกันว่า คนเหล่านี้จักเป็นผู้ต่างกัน และแยกกันด้วยอุบายอย่างนี้ หรือ ปิยกมฺยตา ประสงค์ให้ตนเป็นที่รักว่า เราจักเป็นที่รัก จักเป็นที่ไว้วางใจ ด้วยอุบายอย่างนี้

 
  ข้อความที่ 128  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 195

    ๓. ตชฺโช วายาโม ความพยายามที่เกิดแต่ความมุ่งให้เขาแตกกันนั้น

    ๔. ตสฺส ตทตฺถวิชานนํ ผู้นั้นรู้เรื่องนั้น.

    บทว่า อิเมสํ เภทาย ความว่า ฟังในสํานักของคนเหล่าใดที่ตรัสไว้ว่า จากข้างนี้ เพื่อให้คนเหล่านั้นแตกกัน.

    บทว่า ภินฺนานํ วา สนฺธาตา ความว่า มิตร ๒ คนก็ดี ภิกษุร่วมอุปัชฌาย์เป็นต้น ๒ รูปก็ดี แตกกันด้วยเหตุไรๆ ก็ตาม เข้าไปหาทีละคนแล้วกล่าวคําเป็นต้นว่า การแตกกันนี้ไม่ควรแก่ท่านผู้เกิดในตระกูลเช่นนี้ ผู้เป็นพหูสูตอย่างนี้ ดังนี้ กระทํา กระทําเนืองๆ ซึ่งการสมาน.

    บทว่า อนุปฺปทาตา ความว่า ส่งเสริมการสมาน อธิบายว่า เห็นคน ๒ คน พร้อมเพรียงกันแล้วกล่าวคําเป็นต้นว่า ความพร้อมเพรียงนี้สมควรแก่ท่านทั้งหลาย ผู้เกิดในตระกูลปานนี้ ผู้ประกอบด้วยคุณเห็นปานนี้ ดังนี้ กระทําให้มั่นเข้า.

    ชื่อว่า ชอบคนที่พร้อมเพรียงกัน เพราะมีคนที่พร้อมเพรียงกันเป็นที่มายินดี อธิบายว่า ในที่ใดไม่มีคนพร้อมเพรียงกัน ไม่ปรารถนาแม้จะอยู่ในที่นั้น. พระบาลีเป็น สมคฺคราโม ก็มี ความอย่างเดียวกัน.

    บทว่า สมคฺครโต แปลว่า ยินดีแล้วในคนผู้พร้อมเพรียงทั้งหลาย อธิบายว่า ไม่ปรารถนาแม้จะละคนผู้พร้อมเพรียงเหล่านั้นไปอยู่ที่อื่น.

    ชื่อว่า เพลิดเพลินในคนที่พร้อมเพรียงกัน เพราะเห็นก็ดี ฟังก็ดี ซึ่งคนผู้พร้อมเพรียงกันแล้วเพลิดเพลิน.

    ข้อว่า สมคฺคกรณึ วาจํ ภาสิตา ความว่า กล่าวแต่วาจาที่ทําให้

 
  ข้อความที่ 129  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 196

เหล่าสัตว์พร้อมเพรียงกันอย่างเดียว ซึ่งเป็นวาจาแสดงคุณแห่งสามัคคีเท่านั้น ไม่กล่าววาจานอกนี้. เจตนาหยาบโดยส่วนเดียวซึ่งให้เกิดกายประโยคและวจีประโยค อันเป็นเหตุตัดความรักของผู้อื่น ชื่อว่า ผรุสวาจา. เพื่อเข้าใจผรุสวาจานั้นอย่างแจ้งชัด พึงทราบเรื่องดังต่อไปนี้.

เรื่องวาจาหยาบ แต่ใจไม่หยาบ

ได้ยินว่า เด็กคนหนึ่งไม่เอื้อเฟื้อถ้อยคําของมารดาไปป่า มารดาไม่สามารถให้เด็กนั้นกลับได้ จึงได้ด่าว่า ขอให้แม่กระบือดุจงไล่มึง ทันใดนั้น แม่กระบือป่าได้ปรากฏแก่เด็กนั้น เหมือนอย่างมารดาว่าทีเดียว เด็กนั้นได้กระทําสัจจกิริยาว่า สิ่งที่มารดาของเราพูดด้วยปาก จงอย่ามี สิ่งที่มารดาคิดด้วยใจ จงมีเถิด แม่กระบือได้ยืนอยู่เหมือนถูกผูกไว้ในป่านั้นเอง.

ประโยคแม้ตัดความรักอย่างนี้ ก็ไม่เป็นผรุสวาจา เพราะมีจิตอ่อนโยน. จริงอยู่ บางครั้งมารดาบิดาย่อมกล่าวกะลูกน้อยๆ ถึงอย่างนี้ว่า พวกโจรจงห้ำหั่นพวกเจ้าเป็นชิ้นๆ ดังนี้ แต่ก็ไม่ปรารถนาแม้ให้กลีบบัวตกเบื้องบนของลูกน้อยๆ เหล่านั้น อนึ่ง อาจารย์และอุปัชฌาย์ บางคราวก็กล่าวกะพวกศิษย์อย่างนี้ว่า พวกนี้ไม่มียางอาย ไม่เกรงกลัว คุยอะไรกัน จงไล่มันไปเสีย ก็แต่ว่า ย่อมปรารถนาให้ศิษย์เหล่านั้นสําเร็จการศึกษา และบรรลุมรรคผล. เหมือนอย่างว่า วาจาไม่เป็นผรุสวาจา เพราะคําอ่อนหวานก็หาไม่. ด้วยว่าผู้ต้องการจะฆ่า พูดว่า จงให้ผู้นี้นอนให้สบาย ดังนี้ จะไม่เป็นผรุสวาจาก็หาไม่. ก็วาจานี้เป็นผรุสวาจาทีเดียวเพราะมีจิตหยาบ. ผรุสวาจานั้น มีโทษน้อย เพราะผู้ที่ตนพูดหมายถึงนั้น

 
  ข้อความที่ 130  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 197

มีคุณน้อย มีโทษมาก เพราะผู้นั้นมีคุณมาก.

ผรุสวาจานั้น มีองค์ ๓ คือ

๑. อกฺโกสิตพฺโพ ปโร คนอื่นที่ตนด่า

๒. กุปิตจิตฺตํ จิตโกรธ

๓. อกฺโกสนา การด่า

บทว่า เนลา ความว่า โทษเรียกว่า เอละ วาจาชื่อว่า เนลา เพราะไม่มีโทษ อธิบายว่า มีโทษออกแล้ว. เหมือนอย่าง เนลํ ไม่มีโทษที่พระองค์ตรัสไว้ในประโยคนี้ว่า รถคืออริยมรรคมีองค์ไม่มีโทษ มีหลังคาขาว ดังนี้.

บทว่า กณฺณสุขา ความว่า สบายหู เพราะมีพยัญชนะสละสลวยคือ ไม่ให้เกิดการเสียบหู เหมือนแทงด้วยเข็ม.

วาจาชื่อว่า ชวนให้รัก เพราะไม่ให้เกิดความโกรธ ให้เกิดแต่ความรักในสรีระทั้งสิ้น เพราะมีเนื้อความสละสลวย.

วาจาชื่อว่า จับใจ เพราะถึงใจ คือเข้าไปสู่จิตได้สะดวก ไม่กระทบกระทั่ง.

วาจาชื่อว่า เป็นคําชาวเมือง เพราะอยู่ในเมือง โดยเหตุที่บริบูรณ์ด้วยคุณ. ชื่อว่าเป็นคําชาวเมือง แม้เพราะเป็นถ้อยคําอ่อนโยนเหมือนนารีที่เติบโตในเมือง. ชื่อว่า เป็นถ้อยคําชาวเมือง แม้เพราะวาจานี้เป็นของชาวเมือง อธิบายว่า เป็นถ้อยคําของชาวกรุง. จริงอยู่ ชาวกรุงย่อมเป็นผู้มีถ้อยคําเหมาะสม เรียกคนปูนพ่อว่าพ่อ เรียกคนปูนพี่ว่าพี่.

วาจาชื่อว่า คนส่วนมากรักใคร่ เพราะถ้อยคําอย่างนี้เป็นถ้อยคําที่

 
  ข้อความที่ 131  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 198

คนส่วนมากรักใคร่.

วาจาชื่อว่า คนส่วนมากพอใจ เพราะเป็นที่พอใจ คือ ทําความเจริญใจแก่คนส่วนมาก โดยที่คนส่วนมากรักใคร่นั่นเอง.

อกุศลเจตนาที่ให้เกิดกายประโยคและวจีประโยค อันเป็นเหตุให้เข้าใจเรื่องที่ไม่มีประโยชน์ ชื่อว่า สัมผัปปลาป. สัมผัปปลาปนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะมีอาเสวนะน้อย ชื่อว่า มีโทษมาก เพราะมีอาเสวนะมาก.

สัมผัปปลาบนั้น มีองค์ ๒ คือ

นิรตฺถกกถาปุเรกฺขารตา มุ่งกล่าวถ้อยคําที่ไร้ประโยชน์มีเรื่องภารตยุทธ และเรื่องชิงนางสีดา เป็นต้น.

๒. ตถารูปีกถากถนํ กล่าวเรื่องเช่นนั้น ชื่อว่า พูดถูกกาล เพราะพูดตามกาล อธิบายว่า พูดกําหนดเวลาให้เหมาะแก่เรื่องที่จะพูด.

ชื่อว่า พูดแต่คําจริง เพราะพูดคําจริง แท้ แน่นอน ตามสภาพเท่านั้น.

ชื่อว่า พูดอิงประโยชน์ เพราะพูดทําให้อิงประโยชน์ปัจจุบัน และประโยชน์ภายหน้านั่นเอง.

ชื่อว่า พูดอิงธรรม เพราะพูดทําให้อิงโลกุตตรธรรม ๙.

ชื่อว่า พูดอิงวินัย เพราะพูดให้อิงสังวรวินัย และปหานวินัย.

โอกาสที่ตั้งไว้ เรียกว่าหลักฐาน. คําชื่อว่า มีหลักฐาน เพราะหลักฐานของคํานั้นมีอยู่ อธิบายว่า พูดคําที่ควรจะต้องเก็บไว้ในหัวใจ.

บทว่า กาเลน ความว่า และแม้เมื่อพูดคําเห็นปานนี้ ก็มิได้พูด

 
  ข้อความที่ 132  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 199

โดยกาลอันไม่ควร ด้วยคิดว่า เราจักพูดคําที่มีหลักฐาน ดังนี้ อธิบายว่า แต่พูดพิจารณาถึงกาลอันควรเท่านั้น.

    บทว่า สาปเทสํ ความว่า มีอุปมา มีเหตุ.

    บทว่า ปริยนฺตวตึ ความว่า แสดงกําหนดไว้แล้ว พูดโดยประการที่กําหนดแห่งคํานั้นจะปรากฏ.

    บทว่า อตฺถสฺหิตํ ความว่า พูดคําที่ประกอบด้วยประโยชน์เพราะผู้พูดจําแนกไปโดยนัยแม้มิใช่น้อย ก็ไม่อาจให้สิ้นสุดลงได้. อีกอย่างหนึ่ง พูดคําที่ประกอบด้วยประโยชน์ เพราะประกอบด้วยประโยชน์ ที่ผู้พูดถึงประโยชน์นั้นกล่าวถึง มีอธิบายว่า มิใช่ตั้งเรื่องไว้เรื่องหนึ่ง แล้วไปพูดอีกเรื่องหนึ่ง.

    บทว่า พีชคามภูตคามสมารมฺภา ความว่า เว้นขาดจากการพรากคือจากการโค่น ด้วยภาวะแห่งกิริยามีการตัด การทําลาย และการเผาเป็นต้น ซึ่งพืชคาม ๕ อย่าง คือพืชเกิดแต่ราก ๑ พืชเกิดแต่ลําต้น ๑ พืชเกิดแต่ข้อ ๑ พืชเกิดแต่ยอด ๑ พืชเกิดแต่เมล็ด ๑ และซึ่งภูตคามมีหญ้าและต้นไม้สีเขียว เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง.

    บทว่า เอกภตฺติโก ความว่า ภัตมี ๒ มื้อ คือ ภัตที่พึงกินเวลาเช้า ๑ ภัตที่พึงกินเวลาเย็น ๑ ในภัต ๒ มื้อนั้น ภัตที่พึงกินเวลาเช้ากําหนดด้วยเวลาภายในเที่ยงวัน ภัตที่พึงกินเวลาเย็นนอกนี้ กําหนดด้วยเวลากินเที่ยงวันภายในอรุณขึ้น ฉะนั้น แม้จะฉันสัก ๑๐ ครั้ง ในเวลาภายในเที่ยงวัน ก็เป็นผู้ชื่อว่าฉันหนเดียวนั่นเอง. ที่ตรัสว่า มีภัตเดียวดังนี้ ทรงหมายถึงภัตที่พึงกินเวลาเช้านั้น.

    ชื่อว่า รตฺตุปรโต เพราะเว้นจากการฉันในราตรีนั้น. การฉันใน

 
  ข้อความที่ 133  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 200

เมื่อเลยเวลาเที่ยงวันไป จนถึงเวลาพระอาทิตย์ตก ชื่อว่า วิกาลโภชน์.

    ชื่อว่า งดการฉันในเวลาวิกาล เพราะงดการฉันแบบนั้น. งดเมื่อไร? งดตั้งแต่วันผนวช ณ ฝังแม่น้ำอโนมา.

    ชื่อว่า ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เพราะการดูเป็นข้าศึก คือเป็นศัตรู เพราะขัดต่อพระศาสนา. ที่ว่า จากการฟ้อนรํา ขับร้องประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึก คือจากการฟ้อนรํา ขับร้องและประโคมด้วยตนเอง ด้วยอํานาจฟ้อนเองและให้ผู้อื่นฟ้อน เป็นต้น และการดูการฟ้อน เป็นต้น โดยที่สุดที่เป็นไปด้วยอํานาจการฟ้อนของนกยูง เป็นต้น อันเป็นข้าศึก. จริงอยู่ การประกอบด้วยตนเอง ซึ่งกิจมีการฟ้อนรํา เป็นต้นก็ดี การให้ผู้อื่นประกอบก็ดี และการดูที่เขาประกอบก็ดี ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายเลย และไม่ควรแก่ภิกษุณีทั้งหลายด้วย.

    ในบรรดาเครื่องประดับทั้งหลายมีดอกไม้ เป็นต้น ชื่อว่า มาลา ได้แก่ดอกไม้อย่างใดอย่างหนึ่ง.

    ชื่อว่า คันธะ ได้แก่ คันธชาตอย่างใดอย่างหนึ่ง.

    ชื่อว่า วิเลปนะ ได้แก่ เครื่องประเทืองผิว.

    ในบรรดาเครื่องประดับเหล่านั้น บุคคลเมื่อประดับ ชื่อว่า ทัดทรง.เมื่อทําร่างกายส่วนที่พร่องให้เต็ม ชื่อว่า ประดับ. เมื่อยินดีด้วยอํานาจของหอม และด้วยอํานาจการประเทืองผิว ชื่อว่า ตกแต่ง. เหตุเรียกว่า ฐานะ ฉะนั้น จึงมีความว่า คนส่วนมากกระทําการทัดทรงมาลา เป็นต้นเหล่านั้น ด้วยเจตนาเป็นเหตุให้ทุศีลใด พระสมณโคดมเว้นขาดจากเจตนาเป็นเหตุให้ทุศีลนั้น.

 
  ข้อความที่ 134  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 201

    ที่นอนเกินประมาณ เรียกว่า ที่นอนสูง เครื่องปูลาดที่เป็นอกัปปิยะเรียกว่า ที่นอนใหญ่ ความว่า ทรงเว้นขาดจากที่นอนสูง ที่นอนใหญ่นั้น.

    บทว่า ชาตรูปํ ได้แก่ทอง บทว่า รชตํ ได้แก่อกัปปิยะที่บัญญัติเรียกว่า กหาปณะ เป็นมาสกทําด้วยโลหะ มาสกทําด้วยครั่ง มาสกทําด้วยไม้. พระสมณโคดมทรงเว้นขาดจากการรับทองและเงินทั้ง ๒ นั้น.อธิบายว่า พระสมณโคดมไม่จับทองและเงินนั้นเอง ไม่ให้คนอื่นจับไม่ยอมรับทองและเงินที่เขาเก็บไว้เพื่อตน.

    บทว่า อามกธฺมปฏิคฺคหณา ความว่า จากการรับธัญชาติดิบทั้ง ๗ อย่าง กล่าวคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้. อนึ่ง มิใช่แต่การรับธัญชาติดิบเหล่านี้อย่างเดียวเท่านั้น แม้การจับต้องก็ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายเหมือนกัน.

    ในบทว่า อามกมํสปฏิคฺคหณา นี้ ความว่า การรับเนื้อและปลาดิบเว้นแต่ที่ทรงอนุญาตไว้เฉพาะ ย่อมไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลาย การจับต้องก็ไม่ควร.

    ในบทว่า อิตฺถีกุมาริกปฏิคฺคหณา นี้ ความว่า หญิงที่มีชายครอบครอง ชื่อว่า สตรี หญิงนอกนี้ ชื่อว่า กุมารี. ทั้งการรับทั้งการจับต้องหญิงเหล่านั้น ไม่ควรทั้งนั้น.

    ในบทว่า ทาสีทาสปฏิคฺคหณา นี้ ความว่า การรับทาสีและทาสเหล่านั้นไว้เป็นทาสีและทาสเท่านั้น ไม่ควร แต่เมื่อเขาพูดว่า ขอถวายเป็นกัปปิยการก ขอถวายเป็นคนงานวัด ดังนี้ จะรับก็ควร.

    นัยแห่งกัปปิยะและอกัปปิยะ ในการรับทรัพย์สินแม้มีแพะและแกะ

 
  ข้อความที่ 135  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 202

เป็นต้น มีไร่นาและที่ดินเป็นที่สุด พึงพิจารณาตามพระวินัย.

    ในบรรดาไร่นาและที่ดินนั้น ที่ชื่อว่า นา ได้แก่พื้นที่เพาะปลูกปุพพัณณชาติ ที่ชื่อว่า ไร่ ได้แก่พื้นที่เพาะปลูกอปรัณณชาติ.อีกอย่างหนึ่ง พื้นที่ที่ทั้ง ๒ อย่างงอกขึ้น ชื่อว่า นา ส่วนแห่งพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่า ที่ดิน. อนึ่ง แม้บ่อและบึงเป็นต้น ก็สงเคราะห์เข้าในอธิการนี้เหมือนกัน ด้วยยกศัพท์ไร่นาและที่ดินเป็นหัวข้อ.

    งานของทูต เรียกว่า การเป็นทูต ได้แก่การรับหนังสือ หรือข่าวสาส์น ที่พวกคฤหัสถ์ใช้ไปในที่นั้นๆ .

    การเดินรับใช้จากเรือนนี้ไปเรือนนั้น เล็กๆ น้อยๆ เรียกว่า การรับใช้.

    การกระทําทั้ง ๒ อย่างนั้น ชื่อว่า การประกอบเนืองๆ เพราะฉะนั้น พึงทราบความในข้อนี้อย่างนี้ว่า จากการประกอบเนืองๆ ซึ่งการเป็นทูต และการรับใช้.

    บทว่า กยวิกฺกยา แปลว่า จากการซื้อและการขาย.

    ในการโกงทั้งหลาย มีการโกงด้วยตาชั่งเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    การโกง ได้แก่การลวง. ในการโกงนั้น ชื่อว่า การโกงด้วยตาชั่ง มี ๔ อย่าง คือ

    ๑. รูปกูฏํ การโกงด้วยรูป

    ๒. องฺคกูฏํ การโกงด้วยอวัยวะ

    ๓. คหณกูฏํ การโกงด้วยการจับ

 
  ข้อความที่ 136  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 203

    ๔. ปฏิจฺฉนฺนกูฏํ การโกงด้วยกําบังไว้.

    ในการโกงด้วยตาชั่ง ๔ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า การโกงด้วยรูป ได้แก่ทําตาชั่ง ๒ คันให้มีรูปเท่ากัน เมื่อรับ รับด้วยตาชั่งคันใหญ่ เมื่อให้ ให้ด้วยตาชั่งคันเล็ก.

    ที่ชื่อว่า การโกงด้วยอวัยวะ ได้แก่เมื่อรับ ใช้มือกดคันชั่งข้างหลังไว้ เมื่อให้ ใช้มือกดคันชั่งข้างหน้าไว้นั่นเอง.

    ที่ชื่อว่า การโกงด้วยการจับ ได้แก่เมื่อรับ ก็จับเชือกไว้ที่โคนตาชั่ง เมื่อให้ ก็จับเชือกไว้ที่ปลายตาชั่ง.

    ที่ชื่อว่า การโกงด้วยกําบังไว้ ได้แก่ทําตาชั่งให้เป็นโพรงแล้วใส่ผงเหล็กไว้ภายใน เมื่อรับ ก็เลื่อนผงเหล็กนั้นไปข้างปลายตาชั่ง เมื่อให้ ก็เลื่อนผงเหล็กไปข้างหัวตาชั่ง.

    ถาดทอง เรียกว่า ทองสัมฤทธิ์ การลวงด้วยถาดทองนั้น ชื่อว่าการโกงด้วยสัมฤทธิ์. โกงอย่างไร? ทําถาดทองไว้ใบหนึ่ง แล้วทําถาดโลหะอื่นสองสามใบให้มีสีเหมือนทอง ต่อจากนั้นไปสู่ชนบท เข้าไปยังตระกูลมั่งคั่งตระกูลหนึ่ง กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงซื้อถาดทองคํา เมื่อถูกคนอื่นๆ ถามราคา ประสงค์จะขายราคาเท่ากัน ต่อแต่นั้น เมื่อเขาถามว่าจะรู้ได้อย่างไรว่า ภาชนะเหล่านี้เป็นทอง บอกว่า ทดลองดูก่อนแล้วจึงรับไป แล้วครูดถาดทองลงที่หิน ขายถาดทั้งหมดแล้วจึงไป.

    ที่ชื่อว่า การโกงด้วยเครื่องตวงวัด มี ๓ อย่าง คือ ทําลายใจกลาง ทําลายยอด และทําลายเชือก.

    ใน ๓ อย่างนั้น การโกงด้วยเครื่องตวงทําลายใจกลาง ได้ในเวลาตวงเนยใส และน้ำมันเป็นต้น. ก็เมื่อจะรับเอาเนยใส และน้ำมันเป็นต้นเหล่า

 
  ข้อความที่ 137  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 204

นั้น ใช้เครื่องตวงมีช่องข้างล่าง บอกให้ค่อยๆ เท แล้วให้ไหลลงในภาชนะของตนเร็วๆ รับเอาไป เมื่อให้ ปิดช่องไว้ให้เต็มโดยพลันให้ไป.

การโกงด้วยเครื่องตวงทําลายยอด ได้ในเวลาตวงงาและข้าวสารเป็นต้น. ก็เมื่อรับเอางาและข้าวสารเป็นต้นเหล่านั้น ค่อยๆ ทําให้สูงขึ้นเป็นยอดแล้วรับเอาไป เมื่อให้ ก็ทําให้เต็มโดยเร็ว ตัดยอดให้ไป.

การโกงด้วยเครื่องวัดทําลายเชือก ได้ในเวลาวัดไร่นาและที่ดินเป็นต้น ด้วยว่า เมื่อไม่ให้สินจ้าง ไร่นาแม้ไม่ใหญ่ ก็วัดทําให้ใหญ่.

การรับสินจ้างเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า ฉ้อโกง ได้แก่การรับสินบนเพื่อกระทําผู้เป็นเจ้าของให้ไม่เป็นเจ้าของ.

บทว่า ลวง ได้แก่การล่อลวงผู้อื่นด้วยอุบายนั้นๆ. ในข้อนั้นมีตัวอย่างอยู่เรื่องหนึ่งดังนี้

เล่ากันว่า มีนายพรานคนหนึ่งจับกวางและลูกกวางมา นักเลงคนหนึ่งถามนายพรานคนนั้นว่า พ่อมหาจําเริญ กวางราคาเท่าไร? ลูกกวางราคาเท่าไร? เมื่อนายพรานตอบว่า กวางราคา ๒ กหาปณะ ลูกกวางราคากหาปณะเดียว นักเลงก็ให้กหาปณะหนึ่ง รับเอาลูกกวางมา เดินไปได้หน่อยหนึ่งแล้วกลับมาบอกว่า พ่อมหาจําเริญ ฉันไม่ต้องการลูกกวางท่านจงให้กวางแก่ฉันเถิด นายพรานตอบว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงให้ ๒ กหาปณะซิ. นักเลงกล่าวว่า พ่อมหาจําเริญ ทีแรกฉันให้ท่านหนึ่งกหาปณะแล้วมิใช่หรือ? นายพรานตอบว่า ถูกแล้ว ท่านให้ไว้แล้ว.นักเลงกล่าวว่า ท่านจงรับเอาลูกกวางแม้นี้ ไป เมื่อเป็นอย่างนี้ กหาปณะนั้นและลูกเนื้อซึ่งมีราคาหนึ่งกหาปณะนี้ รวมเป็น ๒ กหาปณะ. นาย

 
  ข้อความที่ 138  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 205

พรานพิจารณาดูว่า เขาพูดมีเหตุผล จึงรับเอาลูกกวางมาแล้วให้กวางไป.

บทว่า นิกติ ได้แก่การล่อลวงด้วยของเทียมโดยทําของที่มิใช่สังวาลให้เห็นเป็นสังวาล ของที่มิใช่แก้วมณี ให้เห็นเป็นแก้วมณี ของที่มิใช่ทอง ให้เห็นเป็นทอง ด้วยอํานาจการประกอบขึ้น หรือด้วยอํานาจกลลวง.

บทว่า สาวิโยโค ได้แก่วิธีโกง. คํานี้เป็นชื่อของการรับสินบนเป็นต้น เหล่านี้แหละ เพราะฉะนั้น พึงทราบความในข้อนี้อย่างนี้ว่า การตลบตะแลง คือการรับสินบน การตลบตะแลง คือการล่อลวง การตลบตะแลงคือการปลอม. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า การแสดงสิ่งหนึ่งแล้วสับเปลี่ยนเป็นสิ่งหนึ่ง ชื่อว่าการตลบตะแลง. ก็ข้อนั้นสงเคราะห์เข้าด้วยการล่อลวงนั่นเอง.

ในการตัดเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า ตัด ได้แก่การตัดมือเป็นต้น.

บทว่า ฆ่า ได้แก่ทําให้ตาย.

บทว่า ผูกมัด ได้แก่ผูกด้วยเครื่องผูกคือเชือกเป็นต้น.

บทว่า วิปราโมโส ความว่า การตีชิง มี ๒ อย่าง คือ การบังหมอกตีชิง ๑ การบังพุ่มไม้ตีชิง ๑. เวลาหิมะตก ซ่อนตัวด้วยหิมะ แย่งชิงคนเดินทาง นี้ชื่อว่า การบังหมอกตีชิง. ซ่อนตัวด้วยพุ่มไม้เป็นต้นแย่งชิง นี้ชื่อว่า การบังพุ่มไม้ตีชิง.

การกระทําการปล้นบ้านและนิคมเป็นต้น เรียกว่า การปล้น.

บทว่า สหสากาโร ได้แก่การกระทําอย่างรุนแรง ได้แก่การเข้าเรือนแล้วเอาศาตราจ่ออกพวกชาวบ้าน เก็บเอาสิ่งของที่ตนต้องการ

 
  ข้อความที่ 139  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 206

พระสมณโคดม เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การผูกมัด การตีชิง การปล้น และกรรโชกนี้ ด้วยประการฉะนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต ก็พึงกล่าวดังนี้แล.

จุลศีลเป็นอันจบแต่เพียงเท่านี้

วรรณนามัชฌิมศีล

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงเริ่มแสดงมัชฌิมศีล จึงตรัสพระบาลีมีอาทิว่า ยถา วา ปเนเก โภนฺโต ดังนี้.

ในคํานั้น มีวรรณนาบทที่ยากๆ ดังต่อไปนี้

บทว่า สทฺธาเทยฺยานิ ความว่า ที่คนเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมและโลกนี้โลกหน้าให้แล้ว. อธิบายว่า เขามิได้ให้ด้วยประสงค์อย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นญาติของเรา หรือว่าเป็นมิตรของเรา หรือว่าเขาจักตอบแทนสิ่งนี้ หรือว่า สิ่งนี้เขาเคยทํา ดังนี้. ด้วยว่า โภชนะที่เขาให้อย่างนี้ ย่อมไม่ชื่อว่าให้ด้วยศรัทธา

บทว่า โภชนานิ นี้เป็นเพียงหัวข้อเทศนา แต่โดยเนื้อความ ย่อมเป็นอันกล่าวคํานี้ทั้งหมดทีเดียวว่า บริโภคโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา ห่มจีวร ใช้สอยเสนาสนะ บริโภคคิลานเภสัชที่เขาให้ด้วยศรัทธา ดังนี้.

บทว่า เสยฺยถีทํ เป็นนิบาต มีเนื้อความเป็นไฉน มีเนื้อความว่า พืชคามและภูตคามที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกประกอบการพรากอยู่.

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงพืชคามแสะภูตคามนั้น จึงตรัสว่า มูลพีชํ เป็นต้น ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 140  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 207

    ในพระบาลีนั้น ที่ชื่อว่า พืชเกิดแต่ราก ได้แก่พืชมีอาทิอย่างนี้ คือ ขมิ้น ขิง ว่านเปราะป่า ว่านเปราะบ้าน อุตพิด ข่า แฝก หญ้าคาและหญ้าแห้วหมู.

    ที่ชื่อว่า พืชเกิดแต่ลําต้น ได้แก่พืชมีอาทิอย่างนี้ โพ ไทร มะสัง มะเดื่อ มะเดื่อป่า มะขวิด.

    ที่ชื่อว่า พืชเกิดแต่ข้อ ได้แก่พืชมีอาทิอย่างนี้ คือ อ้อย อ้อ ไผ่.

    ที่ชื่อว่า พืชเกิดแต่ยอด ได้แก่พืชมีอาทิอย่างนี้ คือ แมงลัก คะไคร้ หอมแดง.

    ที่ชื่อว่า พืชเกิดแต่เมล็ด ได้แก่พืชมีอาทิอย่างนี้ คือ ปุพพัณณชาติ อปรัณณชาติ.

    ก็พืชทั้งหมดนี้ ที่แยกออกจากต้นแล้ว ยังสามารถงอกได้ เรียกว่า พืชคาม. ส่วนพืชที่ยังไม่ได้แยกจากต้น ไม่แห้ง เรียกว่า ภูตคาม. ในพืช ๒ อย่างนั้น การพรากภูตคาม พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งปาจิตตีย์ การพรากพืชคาม เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.

    บทว่า สนฺนิธิการกปริโภคํ ความว่า บริโภคของที่สะสมไว้.ในข้อนั้น มีคําที่ควรกล่าว ๒ อย่าง คือ เกี่ยวกับพระวินัยอย่าง ๑ เกี่ยวกับการปฏิบัติเคร่งครัดอย่าง ๑. ว่าถึงเกี่ยวกับพระวินัยก่อน ข้าวอย่างใดอย่างหนึ่งที่รับประเคนวันนี้ เอาไว้วันหลัง เป็นการทําการสะสม เมื่อบริโภคข้าวนั้น เป็นปาจิตตีย์. แต่ให้ข้าวที่ตนได้แล้วแก่สามเณร ให้สามเณรเหล่านั้นเก็บไว้ จะฉันในวันรุ่งขึ้นควรอยู่ แต่ไม่เป็นการปฏิบัติเคร่งครัด. แม้ในการสะสมน้ำปานะ ก็มีนัยนี้แหละ.

    ในข้อนั้น ที่ชื่อว่า น้ำปานะ ได้แก่น้ำปานะ ๘ อย่าง มีน้ำ

 
  ข้อความที่ 141  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 208

มะม่วงเป็นต้น และน้ำที่อนุโลมเข้าได้กับน้ำปานะ ๘ อย่างนั้น. วินิจฉัยน้ำปานะเหล่านั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย.

ในการสะสมผ้า มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

ผ้าที่ยังไม่ได้อธิฐานและยังไม่ได้วิกัปไว้ ย่อมเป็นการสะสมและทําให้เสียการปฏิบัติเคร่งครัด นี้เป็นการกล่าวโดยอ้อม ส่วนโดยตรง ภิกษุควรจะเป็นผู้สันโดษในไตรจีวร ได้ผืนที่ ๔ แล้ว ควรให้แก่รูปอื่นถ้าไม่อาจจะให้แก่รูปใดรูปหนึ่งได้ แต่ประสงค์จะให้แก่รูปใดรูปนั้นไปเพื่อประโยชน์แก่อุเทศ หรือเพื่อประโยชน์แก่ปริปุจฉา พอเธอกลับมาควรให้เลย จะไม่ให้ไม่ควร แต่เมื่อจีวรไม่เพียงพอ ยังมีความหวังที่จะได้มา จะเก็บไว้ภายในเวลาที่ทรงอนุญาตก็ควร เมื่อยังไม่ได้เข็มด้ายและตัวผู้ทําจีวร จะเก็บไว้เกินกว่านั้น ต้องทําวินัยกรรมจึงควร แต่เมื่อจีวรผืนนี้เก่า จะเก็บไว้รอว่า เราจักได้จีวรเช่นนี้จากไหนอีก ดังนี้ ไม่ควร ย่อมชื่อว่าเป็นการสะสมและทําให้เสียการปฏิบัติเคร่งครัด.

การสะสมยาน มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่ล้อเลื่อน รถ เกวียน รถมีเครื่องประดับ วอ รถเข็น. นี้มิใช่ยานของบรรพชิต. บรรพชิตมียานอย่างเดียวคือ รองเท้า,ก็ภิกษุรูปหนึ่ง ควรใช้รองเท้าได้ ๒ คู่เป็นอย่างมาก คือ คู่หนึ่งสําหรับเดินป่า คู่หนึ่งสําหรับเท้าที่ล้างแล้ว ได้คู่ที่ ๓ ควรให้แก่รูปอื่น. แต่จะเก็บไว้ด้วยคิดว่า เมื่อคู่นี้เก่า เราจักได้คู่อื่นจากไหน ดังนี้ ไม่ควร.ย่อมชื่อว่าเป็นการสะสมและทําให้เสียการปฏิบัติเคร่งครัด.

 
  ข้อความที่ 142  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 209

ในการสะสมที่นอน มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า สยนํ ได้แก่เตียง. ภิกษุรูปหนึ่ง ควรมีเตียงได้อย่างมาก ๒ เตียง คือเตียงหนึ่งไว้ในห้อง เตียงหนึ่งไว้ในที่พักกลางวัน. ได้เกินกว่านั้น ควรให้แก่ภิกษุรูปอื่น หรือแก่คณะ. จะไม่ให้ไม่ควร. ย่อมชื่อว่าเป็นการสะสมและทําให้เสียการปฏิบัติเคร่งครัด.

ในการสะสมของหอม มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

เมื่อภิกษุอาพาธเป็นฝี เป็นหิด และโรคผิวหนังเป็นต้น จะใช้ของหอมก็ควร. เมื่อโรคนั้นหายแล้ว ควรให้นําของหอมเหล่านั้นมาให้แก่ภิกษุอาพาธรูปอื่นๆ หรือควรนําไปใช้ในกิจ มีการรมควันเรือน ด้วยนิ้วมือ ๕ นิ้วเป็นต้นที่ประตู. แต่จะเก็บไว้ด้วยประสงค์ว่า เมื่อเป็นโรคอีกจักได้ใช้ ดังนี้ไม่ควร. ย่อมชื่อว่าเป็นการสะสมของหอมและทําให้เสียการปฏิบัติเคร่งครัด.

สิ่งของนอกจากที่กล่าวแล้ว พึงเห็นว่า ชื่อว่า อามิส. คือ ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้ ให้เขานําเอาภาชนะงา ข้าวสาร ถั่วเขียว ถั่วราชมาส มะพร้าว เกลือ ปลา เนื้อ เนื้อแห้ง เนยใส น้ำมัน และน้ำอ้อยงบเป็นต้น มาเก็บไว้ด้วยคิดว่า จักมีเพื่ออุปการะในกาลเห็นปานนั้น. ครั้นเข้าฤดูฝน แต่เช้าตรู่ทีเดียว เธอให้พวกสามเณรต้มข้าวต้ม ฉันแล้วใช้สามเณรไปด้วยสั่งว่า สามเณร เธอจงเข้าไปบ้านที่ลําบากเพราะน้ำโคลน ครั้นไปถึงตระกูลนั้นแล้ว บอกว่า ฉันอยู่ที่วัดแล้วจงนํานมส้มเป็นต้นจากตระกูลโน้นมา. แม้เมื่อภิกษุทั้งหลายถามว่า ท่านขอรับ จักเข้าบ้านหรือ? ก็ตอบว่าผู้มีอายุ เวลานี้บ้านเข้าไปลําบาก. ภิกษุเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 143  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 210

กล่าวว่า ช่างเถิดขอรับ นิมนต์ท่านอยู่เถิด พวกกระผมจักแสวงหาอาหารมาถวาย ดังนี้ แล้วพากันไป. ลําดับนั้น แม้สามเณรก็นําเอานมส้มเป็นต้นมาปรุงข้าวและกับ แล้วนําเข้าไปถวาย. เมื่อท่านกําลังฉันอาหารนั้นอยู่นั่นแหละ พวกอุปัฏฐากยังส่งภัตตาหารไปถวาย. ท่านก็ฉันแต่ที่ชอบๆ แต่นั้น. ลําดับนั้นภิกษุทั้งหลายรับบิณฑบาตมา. ท่านก็ฉันแต่ที่ชอบใจจนล้นคอหอย. ท่านเป็นอยู่อย่างนี้ถึง ๔ เดือน. ภิกษุรูปนี้ เรียกว่า มีชีวิตอยู่อย่างเศรษฐีหัวโล้น มิใช่มีชีวิตอยู่อย่างสมณะ. ภิกษุแบบนี้ ย่อมชื่อว่าเป็นผู้สะสมอามิส.

ก็ในที่อยู่ของภิกษุ จะเก็บได้เพียงเท่านี้ คือ ข้าวสารทะนาน ๑ น้ำอ้อยงบ ๑ เนยใสประมาณ ๔ ส่วน เพื่อประโยชน์สําหรับพวกที่เข้ามาผิดเวลา. ด้วยว่าพวกโจรเหล่านั้น เมื่อไม่ได้อามิสปฏิสันถารเท่านี้ พึงปลงแม้ชีวิต เพราะฉะนั้น ถ้าเสบียงเพียงเท่านี้ก็ไม่มี แม้จะให้นํามาเองเก็บไว้ก็ควร. อนึ่ง ในเวลาไม่สบาย ในที่อยู่นี้มีสิ่งใดที่เป็นกัปปิยะ จะฉันสิ่งนั้นแม้ด้วยตนเองก็ควร. ส่วนในกัปปิยกุฎี แม้จะเก็บไว้มากก็ไม่ชื่อว่าเป็นการสะสม. แต่สําหรับพระตถาคต ที่จะชื่อว่าทรงเก็บข้าวสารทะนานหนึ่งเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือชิ้นผ้าเก่าประมาณองคุลีด้วยมีพระพุทธดําริว่า สิ่งนี้จักมีแก่เราในวันนี้หรือในวันพรุ่งนี้ ดังนี้หามีไม่.

ในการดูที่เป็นข้าศึก มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

ที่ชื่อว่า การฟ้อนรํา ได้แก่การฟ้อนรําอย่างใดอย่างหนึ่ง. ภิกษุแม้เดินผ่านไปทางนั้นจะชะเง้อดูก็ไม่ควร. ก็วินิจฉัยโดยพิสดารในอธิการนี้พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัยนั่นแหละ.

 
  ข้อความที่ 144  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 211

และในบทพระสูตรที่เกี่ยวด้วยสิกขาบททุกแห่ง ก็พึงทราบวินิจฉัยอย่างเดียวกับในอธิการนี้.

    ก็เบื้องหน้าแต่นี้ไป จะไม่กล่าวเพียงเท่านี้ จักพรรณนาให้พอแก่ประโยชน์ในข้อนั้นๆ ทีเดียวฉะนี้แล.

    บทว่า เปกฺขํ ได้แก่มหรสพมีการรําเป็นต้น.

    บทว่า อกฺขานํ ได้แก่การเล่าเรื่องสงครามมีภารตยุทธและรามเกียรติ์เป็นต้น. ภิกษุแม้จะไปในที่ที่เขาเล่านิยายนั้น ก็ไม่ควร.

    บทว่า ปาณิสฺสรํ ได้แก่กังสดาล. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า การเล่นปรบฝ่ามือ ดังนี้ก็มี.

    บทว่า เวตาฬํ ได้แก่ตีกลองฆนะ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ปลุกร่างของคนตายให้ลุกขึ้นด้วยมนต์ ดังนี้ก็มี.

    บทว่า กุมฺภถูนํ ได้แก่ตีกลอง ๔ เหลี่ยม. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า เสียงหม้อ ดังนี้ก็มี.

    บทว่า โสภนครกํ ได้แก่ฉากละครหรือภาพบ้านเมืองที่สวยงาม.อธิบายว่า เป็นภาพวิจิตรด้วยปฏิภาณ.

    บทว่า จณฺฑาลํ ได้แก่การเล่นขลุบทําด้วยเหล็ก อาจารย์บางพวกกล่าวว่า การเล่นซักผ้าเปลือกไม้ของพวกคนจัณฑาล.

    บทว่า วํสํ ได้แก่การเล่นยกไม้ไผ่ขึ้น.

    บทว่า โธวนํ ได้แก่การเล่นล้างกระดูก. ได้ยินว่า ในชนบทบางแห่ง เมื่อญาติตาย เขายังไม่เผา เก็บฝังไว้ ครั้นรู้ว่า ศพเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 145  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 212

เปือยเน่าแล้ว ก็นําออกมาล้างอัฐิ ทาด้วยของหอม แล้วเก็บไว้. ในคราวนักษัตรฤกษ์ เขาตั้งอัฐิไว้แห่งหนึ่ง ตั้งสุราเป็นต้นไว้แห่งหนึ่ง แล้วก็พากันร้องไห้คร่ําครวญดื่มเหล้ากัน. ข้อนี้สมด้วยพระบาลีที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีพิธีชื่อว่า การเล่นล้างอัฐิในชนบทตอนใต้ ในพิธีนั้นมีข้าวบ้าง น้ำบ้าง ของเคี้ยวบ้าง ของบริโภคบ้าง ของลิ้มบ้าง เป็นอันมาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พิธีล้างกระดูกนั้นมีอยู่ เรามิได้กล่าวว่า พิธีล้างอัฐินั้นไม่มี. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พิธีล้างกระดูกด้วยการเล่นกล ชื่อว่า การเล่นหน้าศพ ดังนี้ก็มี.

    ในบรรดาการชนช้างเป็นต้น การต่อสู้กับช้างเป็นต้นก็ดี การให้ช้างชนกันก็ดี การดูช้างชนกันก็ดี ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งนั้น.

    บทว่า นิพฺพุทฺธํ ได้แก่การสู้กันของมวยปล้ำ.

    บทว่า อุยฺโยธิกํ ได้แก่สถานที่ซ้อมรบกัน.

    บทว่า พลคฺคํ ได้แก่สถานที่ของหมู่พลรบ.

    บทว่า เสนาพฺยูหํ ได้แก่การจัดกองทัพ คือ การตั้งทัพด้วยสามารถแห่งการจัดกระบวนทัพ มีกระบวนเกวียนเป็นต้น.

    บทว่า อนีกทสฺสนํ ได้แก่การดูกองทัพที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า ช้าง ๓ เชือก เป็นอย่างต่ํา ชื่อว่า ทัพช้าง ดังนี้.

    ชื่อว่า ปมาทัฏฐาน เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท. การพนันนั้นด้วย เป็นที่ตั้งแห่งความประมาทด้วย เหตุนั้น ชื่อว่า การพนันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท.

    หมากรุก ชื่อว่า เล่นแถวละ ๘ ตา เพราะมีตาอยู่แถวละ ๘ๆ

 
  ข้อความที่ 146  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 213

แม้ในการเล่นหมากรุกแถวละ ๑๐ ตา ก็มีนัยดังนี้เหมือนกัน.

    บทว่า อากาสํ ได้แก่การเล่นหมากเก็บ เหมือนในการเล่นหมากรุก แถวละ ๘ ตา แถวละ ๑๐ ตา.

    บทว่า ปริหารปถํ ได้แก่การเล่นของคนที่ทําเป็นวงกลมไว้หลายแนวด้วยกัน บนพื้นดิน เดินเลี่ยงกันไปในวงกลมนั้นๆ .

    บทว่า สนฺติกํ ได้แก่เล่นใกล้ๆ กัน (เล่นอีขีดอีเขียน) โดยเอาเบี้ยหรือก้อนกรวดกองรวมกันไว้ ไม่ให้เคลื่อน เอาเล็บเขี่ยออกไปและเขี่ยเข้ามา ถ้าไหวบางเม็ดในนั้น เป็นอันแพ้ นี้เป็นชื่อของการเล่นแบบนั้น.

    บทว่า ขลิกํ ได้แก่ การเล่นสะกาบนกระดานสะกา.

    เล่นเอาไม้ท่อนยาวตีไม้ท่อนสั้น เรียกว่า เล่นไม้หึ่ง.

    บทว่า สลากหตฺถํ ได้แก่การเล่นโดยเอาครั่งหรือฝาง หรือแป้งเปียก ชุบมือที่กําซี่ไม้ไว้ทายว่า จะเป็นรูปอะไร ดีดไปที่พื้นดินหรือที่ฝา แสดงรูปช้างม้าเป็นต้น.

    บทว่า อกฺขํ ได้แก่เล่นขลุบ. เล่นเป่าหลอดที่ทําด้วยใบไม้นั้น เรียกว่า เล่นเป่าใบไม้.

    บทว่า วงฺกกํ ได้แก่ไถเล็กๆ เป็นเครื่องเล่นของเด็กชาวบ้าน.

    บทว่า โมกฺขจิกํ ได้แก่เล่นพลิกกลับตัวไปมา (ตีลังกา) มีอธิบายว่า จับท่อนไม้ไว้ในอากาศ หรือวางศีรษะไว้บนพื้น เล่นพลิกตัวโดยเอาข้างล่างไว้ข้างบน เอาข้างบนไว้ข้างล่าง.

    ที่เรียกว่า เล่นกังหัน ได้แก่เล่นจักรที่หมุนได้ด้วยลมพัด ที่ทําด้วยใบตาลเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 147  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 214

    ที่เรียกว่า เล่นตวงทราย ได้แก่เอาทะนานที่ทําด้วยใบไม้ เล่นตวงทรายเป็นต้น.

    บทว่า รถกํ ความว่า เล่นรถเล็กๆ .

    บทว่า ธนุกํ ความว่า เล่นธนูเล็กๆ นั่นเอง.

    ที่เรียกว่า เล่นทายอักษร ได้แก่เล่นให้รู้อักษร ในอากาศ หรือบนหลัง.

    ที่ชื่อว่า เล่นทายใจ ได้แก่เล่นให้รู้เรื่องที่คิดด้วยใจ.

    ที่ชื่อว่า เล่นเลียนคนพิการ ได้แก่เล่นโดยแสดงเลียนแบบ โทษของคนพิการ มีคนตาบอด คนง่อย และคนค่อมเป็นต้น.

    บทว่า อาสนฺทึ ได้แก่อาสนะที่เกินประมาณ. ก็ที่ทําเป็นทุติยาวิภัตติทุกบท เล็งถึงคําว่า อนุยุตฺตา วิหรนฺติ นี้.

    บทว่า ปลฺลงฺโก ได้แก่เตียงที่ทํารูปสัตว์ร้ายไว้ที่เท้า.

    บทว่า โคณโก ได้แก่ผ้าโกเชาว์ผืนใหญ่มีขนยาว. ได้ยินว่า ผ้าโกเชาว์ผืนใหญ่นั้น มีขนยาวเกิน ๔ องคุลี.

    บทว่า จิตตฺกํ ได้แก่เครื่องลาดทําด้วยขนแกะ วิจิตรด้วยเครื่องร้อยรัดชนิดหนึ่ง.

    บทว่า ปฏิกา ได้แก่เครื่องลาดสีขาวทําด้วยขนแกะ.

    บทว่า ปฏลิกา ได้แก่เครื่องลาดทําด้วยขนแกะ เป็นรูปดอกไม้ทึบซึ่งบางคนเรียกว่ามีทรงเป็นใบมะขามป้อม ดังนี้ก็มี.

    บทว่า ตูลิกา ได้แก่เครื่องลาดยัดนุ่น เต็มไปด้วยนุ่น ๓ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง.

    บทว่า วิกติกา ได้แก่เครื่องลาดทําด้วยขนแกะ วิจิตรด้วยรูปสีหะ

 
  ข้อความที่ 148  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 215

และเสือเป็นต้น.

    บทว่า อุทฺธโลมึ ได้แก่เครื่องลาดทําด้วยขนแกะมีชาย ๒ ข้าง.อาจารย์บางท่านกล่าวว่า เป็นรูปดอกไม้ชูขึ้นข้างเดียวกัน

    บทว่า เอกนฺตโลมึ ได้แก่เครื่องลาดทําด้วยขนแกะมีชายข้างเดียว.บางท่านกล่าวว่า เป็นรูปดอกไม้ชูขึ้น ๒ ข้าง ดังนี้ก็มี.

    บทว่า กฏิสฺสํ ได้แก่เครื่องลาดทําด้วยใยไหม ขลิบแก้ว.

    บทว่า โกเสยฺยํ ได้แก่เครื่องลาดทําด้วยเส้นไหม ขลิบแก้วเหมือนกัน. ส่วนผ้าไหมล้วน ตรัสไว้ในพระวินัยว่าควร. แต่ในอรรถกถาทีฆนิกายกล่าวว่า เว้นเครื่องลาดยัดนุ่น เครื่องลาดที่ทอด้วยรัตนะมีพรมที่ทําด้วยขนสัตว์เป็นต้น ทุกอย่างเลย ไม่ควร.

    บทว่า กุตฺตกํ ได้แก่เครื่องลาดทําด้วยขนแกะ พอที่นางฟ้อน ๑๖ นางยืนฟ้อนได้.

    บทว่า หตฺถตฺถรํ อสฺสตฺถรํ ได้แก่เครื่องลาดที่ใช้ลาดบนหลังช้างหลังม้านั่นเอง. แม้ในเครื่องลาดในรถ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

    บทว่า อชินปฺปเวณึ ได้แก่เครื่องลาดเย็บด้วยหนังเสือพอขนาดเตียง.

    บทว่า กทลิมิคปวรปจฺจตฺถรณํ ได้แก่เครื่องลาดอย่างดีที่ทําด้วยหนังชะมด. อธิบายว่า เป็นเครื่องชั้นสูงสุด. ได้ยินว่า เครื่องลาดนั้นเขาลาดเย็บทําหนังชะมดบนผ้าขาว.

    บทว่า สอุตฺตรจฺฉทํ ได้แก่เครื่องลาดพร้อมเพดานบน คือพร้อมกับเพดานสีแดงที่ติดไว้เบื้องบน. แม้เพดานสีขาว เมื่อมีเครื่องลาดเป็นอกัปปิยะอยู่ภายใต้ ไม่ควร แต่เมื่อไม่มี ควรอยู่.

    บทว่า อุภโตโลหิตกุปธานํ ได้แก่เครื่องลาดมีหมอนสีแดงอยู่

 
  ข้อความที่ 149  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 216

๒ ข้างเตียง คือหมอนหนุนศีรษะและหมอนหนุนเท้า นั่นไม่ควร. ส่วนหมอนใบเดียวเท่านั้น ทั้ง ๒ ข้างมีสีแดงก็ดี มีสีดอกปทุมก็ดี มีลวดลายวิจิตรก็ดี ถ้าได้ขนาด ก็ควร แต่หมอนใหญ่ท่านห้าม. หมอนที่สีไม่แดงแม้ ๒ ใบก็ควรเหมือนกัน. ได้เกินกว่า ๒ ใบนั้น ควรให้แก่ภิกษุรูปอื่นๆ. เมื่อไม่อาจจะให้ได้ แม้จะลาดขวางไว้บนเตียง ปูเครื่องลาดไว้ข้างบนแล้วนอน ก็ย่อมได้. และพึงปฏิบัติตามนัยที่ตรัสไว้ในเรื่องเตียงที่มีเท้าเกินประมาณเป็นต้นนั่นเทียว. ดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตัดเท้าเตียงที่มีเท้าเกินประมาณแล้วใช้สอยได้ อนุญาตให้ทําลายรูปสัตว์ร้ายของเตียง มีเท้าทําเป็นรูปสัตว์ร้ายแล้วใช้สอยได้ อนุญาตให้แหวะเครื่องลาดที่ยัดนุ่น ทําเป็นหมอนได้ อนุญาตให้ทําเครื่องลาดฟื้นที่เหลือได้ ดังนี้.

ในเรื่องอบตัวเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

กลิ่นกายของทารกที่คลอดจากครรภ์มารดา จะหมดไปในเวลาที่มีอายุประมาณ ๑๒ ปี คนทั้งหลายจึงอบตัวด้วยจุณของหอมเป็นต้น เพื่อกําจัดกลิ่นเหม็นของกายทารกเหล่านั้น การอบตัวอย่างนี้ไม่ควร.

อนึ่ง หากทารกที่มีบุญ เขาให้นอนบนระหว่างขาทั้ง ๒ เอาน้ำมันทาไคลอวัยวะเพื่อให้มือ เท้า ขา ท้องเป็นต้น ได้สัดส่วน. การไคลตัวอย่างนี้ไม่ควร.

บทว่า นฺหาปนํ ได้แก่การอาบ เหมือนอาบน้ำหอมเป็นต้น ให้ทารกเหล่านั้นแหละ.

บทว่า สมฺพาหนํ ได้แก่นวด เหมือนพวกนักมวยรุ่นใหญ่ ใช้

 
  ข้อความที่ 150  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 217

ค้อนเป็นต้น ตีมือเท้า ทําให้แขนโตขึ้น.

บทว่า อาทาสํ ได้แก่ไม่ควรใช้กระจกอย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า อฺชนํ ได้แก่แต้มตาทําให้งามนั่นเอง.

บทว่า มาลา ได้แก่ดอกไม้ที่ร้อยบ้าง ดอกไม้ที่ไม่ได้ร้อยบ้าง.

บทว่า วิเลปนํ ได้แก่ทําการประเทืองผิวอย่างใดอย่างหนึ่ง.

ด้วยบทว่า มุขจุณฺณกํ มุขาเลปนํ คนทั้งหลายใส่ตะกอนดินเพื่อต้องการกําจัดไฝและตุ่มเป็นต้นที่หน้า เมื่อโลหิตเดินไปด้วยตะกอนดินนั้น ก็ใส่ตะกอนเมล็ดพันธุ์ผักกาด เมื่อตะกอนเมล็ดพันธุ์ผักกาดกัดส่วนที่เสียหมดแล้ว ก็ใส่ตะกอนงา เมื่อโลหิตหยุดด้วยตะกอนงานั้น เขาก็ใส่ตะกอนขมิ้นนั้น เมื่อผิวพรรณผุดผาดด้วยตะกอนขมิ้นแล้ว ก็ผัดหน้าด้วยแป้งผัดหน้า การกระทําทั้งหมดนั้น ไม่ควร ฉะนี้แล.

ในเรื่องประดับข้อมือเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

คนบางพวกเอาสังข์และกระเบื้องเป็นต้นที่วิจิตรผูกที่มือเที่ยวไป.เครื่องประดับมืออย่างนั้นก็ดี อย่างอื่นก็ดี ทั้งหมด ไม่ควร. คนอีกพวกหนึ่ง ผูกปลายผมเที่ยวไป และเอาเส้นทอง และเถามุกดาเป็นต้น ล้อมปลายผมนั้น. ทั้งหมดนั้น ไม่ควร.

คนอีกพวกหนึ่ง ถือไม้เท้ายาว ๔ ศอก หรือไม้เท้าอย่างอื่น มีด้ามประดับสวยงาม เที่ยวไป. กล้องยาที่วิจิตรด้วยรูปหญิงชายเป็นต้น วงรอบเป็นอย่างดี คล้องไว้ข้างซ้าย.

แม้ดาบคมกริบ มีฝักล้อมด้วยรัตนะเป็นรูปดอกกรรณิการ์ ร่มอันวิจิตรด้วยฟันมังกรเป็นต้น เย็บด้วยด้าย ๕ สี.

 
  ข้อความที่ 151  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 218

    รองเท้าวงด้วยแววหางนกยูงเป็นต้น วิจิตรด้วยทองและเงินเป็นต้น.

    บางพวกแสดงท้ายผมตกยาวประมาณศอกหนึ่ง กว้าง ๔ องคุลี ติดแผ่นกรอบหน้าที่หน้าผากเหมือนฟ้าแลบในกลีบเมฆ ปักปิน ใช้พัดจามรและพัดวาลวีชนี. ทั้งหมดนั้น ไม่ควร.

    ที่ชื่อว่า ติรัจฉานกถา เพราะเป็นถ้อยคําที่ขวางทางสวรรค์และทางนิพพาน เพราะไม่ใช่ธรรมที่เป็นเหตุให้ออกไปจากทุกข์.

    บรรดาติรัจฉานกถาเหล่านั้น เรื่องที่พูดปรารภถึงพระราชา โดยนัยมีอาทิว่า พระเจ้ามหาสมมตราช พระเจ้ามันธาตุราช พระเจ้าธรรมาโศกราช มีอานุภาพมากอย่างนี้ ชื่อว่า เรื่องพระราชา. ในเรื่องโจรเป็นต้น ก็นัยนี้.

    ถ้อยคําที่เกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัว โดยนัยเป็นต้นว่า บรรดาท่านเหล่านั้น พระราชาองค์โน้น มีรูปงามน่าชม ดังนี้แหละ ชื่อว่าเป็นติรัจฉานกถา. แต่เรื่องที่พูดอย่างนี้ว่า พระราชาพระนามแม้นั้น มีอานุภาพมากอย่างนี้ สวรรคตแล้ว ดังนี้ ตั้งอยู่ในความเป็นกรรมฐาน.

    แม้ในเรื่องโจร ถ้อยคําที่เกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัว ว่าโอ กล้าจริงดังนี้ อิงอาศัยการกระทําของโจรเหล่านั้นว่า โจรชื่อมูลเทพ มีอานุภาพมากอย่างนี้ โจรชื่อเมฆมาล มีอานุภาพมากอย่างนี้ ดังนี้ ชื่อว่าติรัจฉานกถา.

    แม้ในเรื่องการรบ มีเรื่องภารตยุทธ์เป็นต้น ถ้อยคําที่เกี่ยวกับความพอใจในเรื่องทายว่า คนโน้นถูกคนโน้นฆ่าอย่างนี้ แทงอย่างนี้นั่นแหละ ชื่อว่าติรัจฉานกถา. แต่เรื่องที่พูดอย่างนี้ว่า แม้คนชื่อเหล่านั้นก็ถึงความสิ้นไป ดังนี้ ย่อมเป็นกรรมฐานทุกเรื่องทีเดียว.

    อนึ่ง ในเรื่องข้าวเป็นต้น การพูดเกี่ยวกับความพอใจในสิ่งที่ชอบ

 
  ข้อความที่ 152  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 219

ว่า เราเคี้ยว เราบริโภคข้าวมีสีสวย มีกลิ่นหอม มีรสอร่อย นิ่มนวล ดังนี้ ไม่ควร. แต่การพูดทําให้มีประโยชน์ว่า เมื่อก่อนเราได้ถวายข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน ดอกไม้ ของหอม อันถึงพร้อมด้วยสีเป็นต้น แก่ท่านผู้มีศีล เราได้บูชาพระเจดีย์อย่างนี้ ดังนี้ ย่อมควร.

ก็ในเรื่องญาติเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

การพูดเกี่ยวกับความพอใจว่า ญาติของพวกเรากล้า สามารถ ดังนี้ก็ดี ว่าเมื่อก่อนเราเที่ยวไปด้วยยานอันสวยงามอย่างนี้ ดังนี้ก็ดี ไม่ควร. แต่ควรจะพูดให้มีประโยชน์ว่า ญาติของพวกเราแม้เหล่านั้น ก็ตายไปแล้ว หรือว่า เมื่อก่อนเราได้ถวายรองเท้าอย่างนี้แก่พระสงฆ์ ดังนี้.

ก็ในเรื่องบ้านเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

แม้พูดเรื่องบ้านที่เกี่ยวกับเรื่องว่า อยู่อาศัยดี อยู่อาศัยไม่ดี ข้าวปลาหาได้ง่าย และข้าวยากหมากแพงเป็นต้น หรือที่เกี่ยวกับความพอใจอย่างนี้ว่า ชาวบ้านโน้นกล้า สามารถ ดังนี้ ไม่ควร แต่พูดให้มีประโยชน์ว่า ชาวบ้านโน้มมีศรัทธาเลื่อมใส หรือว่า ถึงความสิ้นไปเสื่อมไป ดังนี้ ควรอยู่. แม้ในเรื่องนิคม นคร ชนบท ก็นัยนี้แหละ.

แม้เรื่องหญิงที่เกี่ยวกับความพอใจอาศัยผิวพรรณและทรวดทรงเป็นต้น ไม่ควร. แต่พูดอย่างนี้ว่า หญิงคนโน้นมีศรัทธาเลื่อมใส ถึงความสิ้นไปเสื่อมไป ดังนี้แหละ ควรอยู่.

แม้เรื่องคนกล้าที่เกี่ยวกับความพอใจว่า ทหารชื่อนันทมิตเป็นคนกล้า ดังนี้ ไม่ควร. แต่พูดอย่างนี้ว่า ทหารเป็นผู้มีศรัทธา ถึงความสิ้นไปดังนี้แหละ ควรอยู่.

 
  ข้อความที่ 153  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 220

    แม้เรื่องตรอกที่เกี่ยวกับความพอใจว่า ตรอกโน้นอยู่ดี อยู่ไม่ดี มีคนกล้า มีคนสามารถ ดังนี้ ไม่ควร. พูดอย่างนี้ว่า ตรอกโน้นมีคนมีศรัทธาเลื่อมใส ถึงความสิ้นไปเสื่อมไป ดังนี้ ควรอยู่.

    บทว่า กุมฺภฏานกถํ ได้แก่การพูดเรื่องที่ตั้งน้ำ การพูดเรื่องท่าน้ำ ท่านเรียกว่ากุมภทาสีกถาก็มี. พูดเกี่ยวกับความพอใจว่า นางกุมภทาสีแม้นั้น น่าเลื่อมใส ฉลาดฟ้อนรํา ขับร้อง ดังนี้แหละ ไม่ควร.แต่พูดโดยนัยเป็นต้นว่า เป็นคนมีศรัทธาเลื่อมใส ดังนี้แหละ ควรอยู่.

    บทว่า ปุพฺพเปตกถํ ได้แก่พูดเรื่องญาติในอดีต. ข้อวินิจฉัยก็เหมือนกับพูดเรื่องญาติปัจจุบันในที่นั้นๆ .

    บทว่า นานตฺตกถา ได้แก่พูดเรื่องไร้ประโยชน์ เป็นเรื่องต่างๆ ที่เหลือพ้นจากคําต้นและคําปลาย.

    บทว่า โลกกฺขายิกา ความว่า การพูดเล่นเกี่ยวกับโลก เป็นต้น อย่างนี้ว่า โลกนี้ใครสร้าง คนโน้นสร้าง กาสีขาวเพราะกระดูกขาว นกตะกรุมสีแดงเพราะเลือดแดง ดังนี้.

    ที่ชื่อว่า พูดเรื่องทะเล ได้แก่ถ้อยคําที่กล่าวถึงทะเลอันไร้ประโยชน์ เป็นต้นอย่างนี้ว่า ทะเลชื่อว่าสาคร เพราะเหตุไร? เพราะพระเจ้าสาครเทพขุดไว้ ฉะนั้นจึงชื่อว่า สาคร ที่ชื่อว่า สมุทร เพราะประกาศด้วยหัวแม่มือว่า สาคร เราขุดไว้ ดังนี้.

    บทว่า ภโว แปลว่า ความเจริญ.

    บทว่า อภโว แปลว่า ความเสื่อม.

    ถ้อยคําที่พูดกล่าวถึงเหตุไร้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งว่า เจริญเพราะเหตุนี้ เสื่อมเพราะเหตุนี้ ดังนี้ ชื่อว่า พูดเรื่องความเจริญความ

 
  ข้อความที่ 154  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 221

เสื่อม ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า วิคฺคาหิกกถา ได้แก่การพูดแก่งแย่ง การพูดแข่งดี.

บทว่า สหิตํ เม ในอธิการนั้น ความว่า คําพูดของข้าพเจ้ามีประโยชน์ สละสลวย ประกอบด้วยผล ประกอบด้วยเหตุ.

บทว่า อสหิตนฺเต ได้แก่คําพูดของท่านไม่มีประโยชน์ ไม่สละสลวย.

บทว่า อธิจิณฺณนฺเต วิปฺปราวตฺตํ ได้แก่ข้อที่ท่านคล่องแคล่วเป็นอย่างดี ด้วยอํานาจเคยสั่งสมมาเป็นเวลานานนั้น ได้ผันแปรไปแล้ว คือบิดเบือนไปแล้ว ด้วยคําพูดคําเดียวเท่านั้นของเรา ท่านยังไม่รู้อะไร.

บทว่า อาโรปิโต เต วาโท ได้แก่ความผิดในวาทะของท่าน ข้าพเจ้าจับได้แล้ว.

บทว่า จร วาทปฺปโมกฺขาย ความว่า เพื่อเปลื้องความผิด ท่านจงเที่ยวไปเที่ยวมา จงไปศึกษาในข้อนั้นๆ เสีย.

บทว่า นิพฺเพเหิ วา สเจ ปโหสิ ความว่า ถ้าท่านเองสามารถก็จงแก้ไขเสียในบัดนี้ทีเดียว.

ในเรื่องการทําตัวเป็นทูต มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า อิธ คจฺฉ ความว่า จงไปจากที่นี้สู่ที่ชื่อโน้น.

บทว่า อมุตร คจฺฉ ความว่า จงไปจากที่นั้นสู่ที่ชื่อโน้น.

บทว่า อิทํ หร ความว่า จงนําเรื่องนี้ไปจากที่นี้.

บทว่า อมุตฺร อิทํ อาหร ความว่า จงนําเรื่องนี้จากที่โน้นมาในที่นี้.

 
  ข้อความที่ 155  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 222

ก็โดยสังเขป ขึ้นชื่อว่าการทําตัวเป็นทูตนี้ สําหรับสหธรรมิกทั้ง ๕ และข่าวสาสน์ ของคฤหัสถ์ที่เกี่ยวด้วยอุปการะพระรัตนตรัย ควร สําหรับคนเหล่าอื่น ไม่ควร.

ในบทว่า กุหกา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

ที่ชื่อว่า พูดหลอกลวง เพราะหลอกลวงชาวโลก คือทําให้พิศวงด้วยเรื่องหลอกลวง ๓ อย่าง.

ที่ชื่อว่า พูดเลียบเคียง เพราะเป็นผู้พูดมีความต้องการลาภสักการะ.

ที่ชื่อว่า พูดหว่านล้อม เพราะเป็นคําพูดที่มีการหว่านล้อมเป็นปกติทีเดียว.

ที่ชื่อว่า พูดและเล็ม เพราะมีคําพูดและเล็มเป็นปกติทีเดียว.

ที่ชื่อว่า แสวงหาลาภด้วยลาภ เพราะแสวงหา คือค้นหา เสาะหาลาภด้วยลาภ.

นี้เป็นชื่อของบุคคลผู้ประกอบด้วยการหลอกลวงเหล่านี้ คือ พูดหลอกลวง พูดเลียบเคียง พูดหว่านล้อม พูดและเล็ม แสวงหาลาภด้วยลาภ. นี้เป็นความย่อในที่นี้ แต่โดยพิสดาร เรื่องพูดมีพูดหลอกลวงเป็นต้น ข้าพเจ้าได้นําพระบาลีและอรรถกถามาประกาศไว้ในสีลนิเทศ ในวิสุทธิมรรค ดังนี้แล.

มัชฌิมศีลจบเพียงเท่านี้.

เบื้องหน้าแต่นี้ไป เป็นมหาศีล

บทว่า องฺคํ ได้แก่ตําราทายอวัยวะที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ผู้ที่ประกอบด้วยอวัยวะมีมือและเท้าเห็นปานนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง มีอายุยืน มียศ.

 
  ข้อความที่ 156  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 223

    บทว่า นิมิตฺตํ ได้แก่ตําราทายนิมิต.

    ได้ยินว่า พระเจ้าปัณฑุราช ทรงกําแก้วมุกดาไว้ ๓ ดวง แล้วตรัสถามหมอดูนิมิตว่า อะไรอยู่ในกํามือของฉัน? หมอดูนิมิตผู้นั้นเหลียวดูข้างโน้นข้างนี้ และในเวลานั้น แมลงวันถูกจิ้งจกคาบแล้วหลุดไป เขาจึงกราบทูลว่า แก้วมุกดา ตรัสถามต่อไปว่า กี่ดวง? เขาได้ยินเสียงไก่ขัน ๓ ครั้ง จึงกราบทูลว่า ๓ ดวง. สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกทายนิมิตอ้างตําราทายนิมิตนั้นๆ อยู่อย่างนี้.

    บทว่า อุปฺปาตํ ได้แก่ทายวัตถุใหญ่ๆ เช่น อสนีบาต เป็นต้นตกลงมา. ก็สมณพราหมณ์บางพวกเห็นดังนั้นแล้ว ทํานายอ้างว่า จักมีเรื่องนี้ จักเป็นอย่างนี้.

    บทว่า สุปินํ ได้แก่สมณพราหมณ์บางพวกประกอบเนืองๆ ซึ่งการทํานายฝันโดยนัยมีอาทิว่า ผู้ฝันเวลาเช้า จะมีผลอย่างนี้ ผู้ฝันดังนี้ จะมีเรื่องชื่อนี้ ดังนี้อยู่.

    บทว่า ลกฺขณํ ได้แก่ตําราทายลักษณะมีอาทิว่า ผู้ที่ประกอบด้วยลักษณะนี้ จะเป็นพระราชา ด้วยลักษณะนี้ จะเป็นอุปราช.

    บทว่า มูสิกจฺฉินฺนํ ได้แก่ตําราทํานายหนูกัดผ้า. ก็เมื่อผ้าแม้ถูกหนูนั้นคาบมาหรือไม่คาบมาก็ตาม กัดอย่างนี้ตั้งแต่ที่นี้ไป สมณพราหณ์บางพวกก็ทํานายอ้างว่า จะมีเรื่องชื่อนี้.

    บทว่า อคฺคิโหมํ ได้แก่พิธีบูชาไฟว่า เมื่อใช้ฟืนอย่างนี้ บูชาไฟอย่างนี้ จะมีผลชื่อนี้.

    แม้พิธีเบิกแว่นเวียนเทียนเป็นต้น ก็คือ พิธีบูชาไฟนั่นเอง ตรัสไว้แผนกหนึ่ง ด้วยสามารถแห่งความเป็นไปอย่างนี้ว่า เมื่อใช้แว่นเวียน

 
  ข้อความที่ 157  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 224

เทียนเห็นปานนี้ ใช้วัตถุมีรําเป็นต้นเช่นนี้บูชาไฟ จะมีผลชื่อนี้.

    บทว่า กโณ ในพิธีนั้น ได้แก่รําข้าว.

    บทว่า ตณฺฑุล ได้แก่ข้าวสารแห่งข้าวสาลีเป็นต้น และแห่งติณชาติทั้งหลาย.

    บทว่า สปฺปิ ได้แก่เนยโคเป็นต้น.

    บทว่า เตลํ ได้แก่น้ำมันงาเป็นต้น.

    ก็การอมเมล็ดพันธุ์ผักกาดเป็นต้น พ่นเข้าในไฟ หรือการร่ายเวทเป่าเข้าในไฟ ชื่อว่าทําพิธีเสกเป่าบูชาไฟ.

    การบูชายัญด้วยโลหิตแห่งรากขวัญและเข่าเบื้องขวาเป็นต้น ชื่อว่าบูชาด้วยโลหิต.

    บทว่า องฺควิชฺชา ได้แก่ข้อแรก พูดถึงอวัยวะโดยได้เห็นอวัยวะก่อน แล้วจึงพยากรณ์ ในที่นี้ตรัสถึงวิชาดูอวัยวะ โดยได้เห็นกระดูกนิ้วมือ แล้วร่ายเวทพยากรณ์ว่า กุลบุตรนี้มีทรัพย์หรือไม่ หรือมีสิริหรือไม่ดังนี้เป็นต้น.

    บทว่า วตฺถุวิชฺชา ได้แก่วิชาหมอดู กําหนดคุณและโทษแห่งปลูกเรือนและพื้นที่สวนเป็นต้น. แม้ได้เห็นความต่างแห่งดินเป็นต้น ก็ร่ายเวทเห็นคุณและโทษ ในใต้พื้นปฐพี ในอากาศ ประมาณ ๓๐ ศอกและในพื้นที่ประมาณ ๘๐ ศอก.

    บทว่า เขตฺตวิชฺชา ได้แก่วิชานิติศาสตร์ มีอัพเภยยศาสตร์ มาสุรักขศาสตร์และราชศาสตร์เป็นต้น.

    บทว่า สิววิชฺชา ได้แก่วิชาว่าด้วยการเข้าไปทําความสงบในป่าช้า อาจารย์บางท่านกล่าวว่า เป็นวิชารู้เสียงหอนของสุนัขจิ้งจอกก็มี.

 
  ข้อความที่ 158  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 225

บทว่า ภูตวิชฺชา ได้แก่มนต์ของหมอผี.

บทว่า ภูริวิชฺชา ได้แก่มนต์ที่คนอยู่ในบ้านเรือนจะต้องเรียนไว้.

บทว่า อหิวิชฺชา ได้แก่วิชารักษาคนถูกงูกัด และวิชาเรียกงู.

บทว่า วิสวิชฺชา ได้แก่วิชาที่ใช้รักษาพิษเก่าหรือรักษาพิษใหม่หรือใช้ทําพิษอย่างอื่น.

บทว่า วิจฺฉิกวิชฺชา ได้แก่วิชารักษาแมลงป่องต่อย.

แม้ในวิชาว่าด้วยหนู ก็นัยนี้แหละ.

บทว่า สกุณวิชฺชา ได้แก่รู้เสียงนก โดยรู้เสียงร้องและการไปเป็นต้น ของสัตว์มีปีกและไม่มีปีก และสัตว์ ๒ เท้า ๔ เท้า.

บทว่า วายสวิชฺชา ได้แก่รู้เสียงร้องของกา. ความรู้นั้น เป็นตําราแผนกหนึ่งทีเดียว ฉะนั้น จึงได้ตรัสไว้แผนกหนึ่ง.

บทว่า ปกฺกชฺฌานํ ได้แก่วิชาแก่คิด อธิบายว่า เป็นความรู้ในสิ่งที่ตนไม่เห็น ในบัดนี้ เป็นไปอย่างนี้ว่า คนนี้จักเป็นอยู่ได้เท่านี้ คนนี้เท่านี้.

บทว่า สวปริตฺตานํ ได้แก่วิชาแคล้วคลาด คือ เป็นวิชาทําให้ลูกศรไม่มาถูกตนได้.

บทว่า มิคจกฺกํ นี้ ตรัสรวมสัตว์ทุกชนิด โดยที่รู้เสียงร้องของนกและสัตว์ ๔ เท้าทั้งหมด.

ในการทายลักษณะแก้วมณีเป็นต้น มีอธิบายดังนี้

สมณพราหมณ์บางพวกประกอบเนืองๆ ซึ่งการทายลักษณะแก้วมณีเป็นต้น ด้วยอํานาจสีและสัณฐานเป็นต้น อย่างนี้ว่า แก้วมณีอย่างนี้ดี

 
  ข้อความที่ 159  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 226

อย่างนี้ไม่ดี เป็นเหตุ ไม่เป็นเหตุ ให้เจ้าของปราศจากโรคและมีความยิงใหญ่เป็นต้น.

    ในการทายลักษณะนั้น คําว่า อาวุธํ ได้แก่เว้นของมีคมมีดาบเป็นต้น นอกนั้นชื่อว่าอาวุธ.

    แม้การทายลักษณะหญิงเป็นต้น ก็พึงทราบโดยความเจริญและความเสื่อมของตระกูลที่หญิงชายเป็นต้นเหล่านั้นอยู่.

    ส่วนในการทายลักษณะแพะเป็นต้น พึงทราบความต่างกันดังนี้ว่า เนื้อของสัตว์มีแพะเป็นต้น อย่างนี้ควรกิน อย่างนี้ไม่ควรกิน.

    อนึ่ง ในการทายลักษณะเหี้ยนี้ พึงทราบความต่างกันแม้ในภาพจิตรกรรมและเครื่องประดับเป็นต้น แม้ดังนี้ว่า เมื่อมีเหี้ยอย่างนี้ จะมีผลอันนี้.

    และในข้อนี้ มีเรื่องดังต่อไปนี้.

    ได้ยินว่า ที่วัดแห่งหนึ่ง เขาเขียนภาพจิตรกรรม เป็นรูปเหี้ยกําลังพ่นไฟ ตั้งแต่นั้นมาภิกษุทั้งหลายเกิดทะเลาะกันใหญ่. ภิกษุอาคันตุกะรูปหนึ่ง เห็นภาพนั้นเข้า จึงลบเสีย ตั้งแต่นั้นมา การทะเลาะก็เบาลง.

    การทายลักษณะช่อฟ้า พึงทราบโดยเป็นช่อฟ้าเครื่องประดับบ้าง ช่อฟ้าเรือนบ้าง.

    การทายลักษณะเต่า ก็เช่นเดียวกับการทายลักษณะเหี้ยนั่นเอง.

    การทายลักษณะเนื้อ ตรัสรวมสัตว์ทุกชนิดโดยลักษณะของสัตว์ ๔ เท้าทั้งหมด.

    คําว่า รฺํ นิยฺยานํ ภวิสฺสติ ได้แก่พยากรณ์การเสด็จประพาสของพระราชาทั้งหลายอย่างนี้ว่า พระราชาพระองค์โน้นจักเสด็จออกโดย

 
  ข้อความที่ 160  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 227

วันโน้น โดยฤกษ์โน้น. ทุกบทมีนัยดังนี้ จึงอธิบายในบทนี้บทเดียว.

    ส่วนบทว่า อนิยฺยานํ ในที่นี้อย่างเดียว ได้แก่การที่พระราชาเสด็จไปพักแรมแล้วกลับมา.

    คําว่า พระราชาภายในจักเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย ความว่า พยากรณ์การเข้าประชิดและการถอยของพระราชาทั้งหลายอย่างนี้ว่า พระราชาของพวกเราภายในพระนครจักเข้าประชิดพระราชาภายนอกผู้เป็นข้าศึก ลําดับนั้น พระราชาภายนอกพระองค์นั้นจักถอย. แม้ในบทที่สอง ก็นัยนี้แหละ. ความชนะและความแพ้ปรากฏแล้วเทียว.

    เรื่องจันทรคราสเป็นต้น พึงทราบโดยพยากรณ์ว่า ราหูจักถึงจันทร์ในวันโน้น. อนึ่ง แม้ดาวนักษัตรร่วมจับดาวอังคารเป็นต้น ก็ชื่อนักษัตรคราสนั่นเอง.

    บทว่า อุกฺกาปาโต ได้แก่คบไฟตกจากอากาศ.

    บทว่า ทิสาฑาโห ได้แก่ทิศมืดคลุ้มราวกะอากูลด้วยเปลวไฟและเปลวควันเป็นต้น.

    บทว่า เทวทุนฺทุภิ ได้แก่เมฆคํารามหน้าแล้ง.

    บทว่า อุคฺคมนํ ได้แก่ขึ้น.

    บทว่า โอคฺคมนํ ได้แก่ตก.

    บทว่า สงฺกิเลสํ แปลว่า ไม่บริสุทธิ์.

    บทว่า โวทานํ แปลว่า บริสุทธิ์.

    บทว่า เอวํ วิปาโก ความว่า จักนําสุขและทุกข์ต่างๆ อย่างนี้มาให้แก่โลก.

    บทว่า สุวุฏิกา ความว่า ฝนตกต้องตามฤดูกาล.

 
  ข้อความที่ 161  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 228

    บทว่า ทุพฺพุฏิกา ความว่า ฝนตกเป็นครั้งคราว อธิบายว่า ฝนน้อย.

    บทว่า มุทฺธา ท่านกล่าวถึงการนับด้วยหัวแม่มือ.

    บทว่า คณนา ได้แก่การนับไม่ขาดสาย.

    บทว่า สงฺขานํ ได้แก่การนับรวมโดยการบวกและการคูณเป็นต้น.ผู้ที่ชํานาญการนับรวมนั้น พอเห็นต้นไม้ ก็รู้ได้ว่า ในต้นนี้มีใบเท่านี้.

    บทว่า กาเวยฺยํ ความว่า กิริยาที่กวีทั้ง ๔ พวก ดังที่ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กวีมี ๔ พวกเหล่านี้ คือ จินตากวี สุตกวี อรรถกวี ปฏิภาณกวี ดังนี้ แต่งกาพย์เพื่อเลี้ยงชีพ โดยความคิดของตนบ้าง โดยสดับเพราะได้ฟังเรื่องมีอาทิว่า ได้มีพระราชาพระนามเวสสันดร ดังนี้บ้าง โดยเนื้อความอย่างนี้ว่า เรื่องนี้มีเนื้อความอย่างนี้ เราจักแต่งเรื่องนั้นอย่างนี้ ดังนี้บ้าง โดยปฏิภาณที่เกิดขึ้นตามเหตุการณ์อย่างนี้ว่า เราได้เห็นเหตุการณ์บางอย่าง จักแต่งกาพย์ให้เข้ากันได้กับเรื่องนั้นบ้าง. เรื่องที่เกี่ยวกับโลกข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วเทียว.

    ที่ชื่อว่า ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ได้แก่ให้ฤกษ์ทําพิธีอาวาหมงคลว่าท่านทั้งหลายจงนําเจ้าสาวจากตระกูลโน้นมาให้เจ้าบ่าวผู้นี้โดยฤกษ์โน้น.

    บทว่า วิวาหํ ความว่า ให้ฤกษ์ทําพิธีวิวาหมงคลว่า ท่านทั้งหลายจงนําเจ้าสาวนี้ไปให้เจ้าบ่าวโน้นโดยฤกษ์โน้น เขาจักมีความเจริญ.

    บทว่า สํวทนํ ความว่า ที่ชื่อว่าฤกษ์ส่งตัว ได้แก่พิธีทําให้คู่บ่าวสาวปรองดองกันอย่างนี้ว่า วันนี้ฤกษ์ดี เธอทั้ง ๒ จงปรองดองกันในวันนี้แหละ เธอทั้ง ๒ จักไม่หย่าร้างกัน ด้วยประการฉะนี้.

    ที่ชื่อว่า วิวทนํ ได้แก่ถ้าสามีภรรยาประสงค์จะหย่าร้างกัน ก็ดูฤกษ์

 
  ข้อความที่ 162  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 229

ทําพิธีหย่าร้างอย่างนี้ว่า ท่านจงหย่าขาดกันในวันนี้แหละ ท่านจักไม่ร่วมกันอีก ด้วยประการฉะนี้.

    บทว่า สงฺกิรณํ ความว่า ดูฤกษ์ให้รวบรวมทรัพย์อย่างนี้ว่า ทรัพย์ที่ให้กู้ยืมก็ดี เป็นหนี้ก็ดี ท่านจงเรียกเก็บเสียในวันนี้ เพราะทรัพย์ที่เรียกเก็บในวันนี้นั้นจักถาวร.

    บทว่า วิกิรณํ ความว่า ดูฤกษ์หาประโยชน์เองหรือให้คนอื่นหาประโยชน์อย่างนี้ว่า ถ้าท่านต้องการจะหาประโยชน์ด้วยการลงทุนและให้กู้ยืมเป็นต้น ทรัพย์ที่หาประโยชน์ในวันนี้จะเพิ่มเป็น ๒ เท่า ๔ เท่า.

    บทว่า สุภคกรณํ ความว่า ดูฤกษ์ทําให้เป็นที่รัก ที่ชอบใจหรือทําให้มีสิริ.

    บทว่า ทุพฺภคกรณํ ความตรงกันข้ามกับบท สุภคกรณํ นั้น.

    บทว่า วิรุทฺธคพฺภกรณํ ความว่า กระทําครรภ์ที่ตก ที่ทําลาย ที่แท้ง ที่ตาย อธิบายว่า ให้ยาเพื่อไม่ให้แม่เสียหายต่อไป.

    ก็ครรภ์ย่อมพินาศด้วยเหตุ ๓ อย่าง คือ ลม เชื้อโรค กรรม.ในครรภ์พินาศ ๓ อย่างนั้น เมื่อครรภ์พินาศด้วยลม ต้องให้ยาเย็นๆ สําหรับระงับ เมื่อพินาศด้วยเชื้อโรค ต้องต่อต้านเชื้อโรค แต่เมื่อพินาศด้วยกรรม แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่อาจจะห้ามได้.

    บทว่า ชิวฺหานิพนฺธนํ ได้แก่ร่ายมนต์ผูกลิ้นไว้.

    บทว่า หนุสํหนนํ ได้แก่ร่ายมนต์ผูกปาก ผูกไว้อย่างที่ไม่สามารถจะให้คางเคลื่อนไหวได้.

    บทว่า หตฺถาภิชปฺปนํ ได้แก่ร่ายมนต์ทําให้มือทั้ง ๒ สั่นรัว.ได้ยินว่า เมื่อยืนอยู่ภายใน ๗ ก้าว ร่ายมนต์นั้นแล้ว อีกคนหนึ่งจะมือ

 
  ข้อความที่ 163  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 230

สั่นรัว พลิกไปมา.

    บทว่า กณฺณชปฺปนํ ได้แก่ร่ายเวท ทําให้หูทั้ง ๒ ไม่ได้ยินเสียง.ได้ยินว่า ร่ายมนต์นั้นแล้วกล่าวตามประสงค์ในโรงศาล ฝ่ายปรปักษ์ไม่ได้ยินเสียงนั้น ดังนั้น จึงไม่อาจโต้ตอบได้เต็มที่.

    บทว่า อาทาสปฺหํ ได้แก่เชิญเทวดาลงในกระจก แล้วถามปัญหา.

    บทว่า กุมารีปฺหํ ได้แก่เชิญเทวดาเข้าในร่างของเด็กสาว แล้วถามปัญหา.

    บทว่า เทวปฺหํ ได้แก่เชิญเทวดาเข้าในร่างของนางทาสี แล้วถามปัญหา.

    บทว่า อาทิจฺจุปฏานํ ได้แก่บําเรอพระอาทิตย์เพื่อประโยชน์ในการดํารงชีพ.

    บทว่า มหตุปฏานํ ได้แก่บําเรอท้าวมหาพรหมเพื่อประโยชน์อย่างเดียวกัน.

    บทว่า อพฺภุชฺชลนํ ได้แก่ร่ายมนต์พ่นเปลวไฟออกจากปาก.

    บทว่า สิริวฺหายนํ ได้แก่เชิญขวัญเข้าตัวอย่างนี้ว่า ขวัญเอยจงมาอยู่ในร่างเราเอย.

    บทว่า สนฺติกมฺมํ ได้แก่ไปเทวสถานทําพิธีสัญญาบนบาน ซึ่งจะต้องทําในเวลาที่สําเร็จว่า ถ้าเรื่องนี้จักสําเร็จแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักแก้บนแก่ท่าน ด้วยสิ่งนี้ๆ . และเมื่อเรื่องนั้นสําเร็จแล้ว กระทําตามนั้น ชื่อว่า ทําพิธีแก้บน.

    บทว่า ภูริกมฺมํ ได้แก่สอนการใช้มนต์ที่ผู้อยู่ในบ้านเรือนจะ

 
  ข้อความที่ 164  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 231

ต้องเรียน.

    ในข้อว่า วสฺสกมฺมํ โวสฺสกมฺมํ นี้ บทว่า วสฺโส ได้แก่ชาย บทว่า โวสฺโส ได้แก่บัณเฑาะก์. การทําบัณเฑาะก์ให้เป็นชายชื่อ วัสสกรรม การทําชายให้เป็นบัณเฑาะก์ ชื่อ โวสสกรรม ด้วยประการฉะนี้. ก็เมื่อทําดังนั้น ย่อมให้ถึงเพียงภาวะที่ตัดเท่านั้น ไม่อาจทําให้เพศหายไปได้ บทว่า วตฺถุกมฺมํ ได้แก่ทําพิธีสร้างเรือนในพื้นที่ที่ยังมิได้ตกแต่ง.

    บทว่า วตฺถุปริกรณํ ได้แก่กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงนําสิ่งนี้ๆ มา ดังนี้แล้ว ทําพิธีบวงสรวงพื้นที่.

    บทว่า อาจมนํ ได้แก่ใช้น้ำล้างปากให้สะอาด.

    บทว่า นฺหาปนํ ได้แก่อาบน้ำมนต์ให้คนอื่น.

    บทว่า ชูหนํ ได้แก่ทําพิธีบูชาไฟ เพื่อประโยชน์แก่พวกเขา.

    บทว่า วมนํ ได้แก่ทํายาสํารอก.

    แม้ในการปรุงยาถ่าย ก็นัยนี้เหมือนกัน.

    บทว่า อุทฺธวิเรจนํ ได้แก่ปรุงยาถ่ายโรคเบื้องบน.

    บทว่า อโธวิเรจนํ ได้แก่ปรุงยาถ่ายโรคเบื้องล่าง.

    บทว่า สีสวิเรจนํ ได้แก่ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ.

    บทว่า กณฺณเตลํ ได้แก่หุงน้ำมันยาเพื่อสมานหู หรือเพื่อบําบัดแผล.

    บทว่า เนตฺตปฺปานํ ได้แก่น้ำมันหยอดตา.

    บทว่า นตฺถุกมฺมํ ได้แก่ใช้น้ำมันปรุงเป็นยานัตถุ์.

    บทว่า อฺชนํ ได้แก่ปรุงยาทากัดเป็นด่างสามารถลอกได้ ๒

 
  ข้อความที่ 165  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 232

หรือ ๓ ชั้น.

    บทว่า ปจฺจฺชนํ ได้แก่ปรุงยาเย็นระงับ.

    บทว่า สาลากิยํ ได้แก่เครื่องมือของจักษุแพทย์

    บทว่า สลฺลกตฺติยํ ได้แก่เครื่องมือของศัลยแพทย์.

    กิจกรรมของแพทย์รักษาโรคเด็ก เรียกว่า กุมารเวชกรรม.

    ด้วยคําว่า มูลเภสชฺชานํ อนุปฺปทานํ (ใส่ยา) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงกายบําบัด.

    บทว่า โอสธีนํ ปฏิโมกฺโข ได้แก่ใส่ด่างเป็นต้น เมื่อแผลได้ที่ควรแก่ด่างเป็นต้นนั้น ก็เอาด่างเป็นต้นนั้นออกไป.

    จบมหาศีลเพียงเท่านี้

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ทรงพรรณนาศีล ๓ ประการโดยพิสดารโดยอนุสนธิ แห่งคําสรรเสริญที่พรหมทัตมาณพกล่าว ด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ ทรงเริ่มประกาศความว่างเปล่าโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีธรรมอื่นๆ ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก ดังนี้ โดยอนุสนธิแห่งคําสรรเสริญที่ภิกษุสงฆ์กล่าว.

    คําว่า ธรรม ในพระบาลีนั้น ความว่า ธรรมศัพท์ เป็นไปในอรรถทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ คุณธรรม เทศนาธรรม ปริยัติธรรม นิสัตตธรรม.

    จริงอยู่ ธรรมศัพท์เป็นไปในคุณธรรม เช่นในประโยคมีอาทิว่า

    ธรรมและอธรรมทั้ง ๒ หามีผลเสมอกันไม่ อธรรมนําสัตว์ไปนรก ธรรมให้สัตว์ถึงสุคติ.

 
  ข้อความที่ 166  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 233

    เป็นไปในเทศนาธรรม เช่นในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น . . . . . . แก่เธอทั้งหลาย.

    เป็นไปในปริยัติธรรม เช่นในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ.

    เป็นไปในนิสัตตธรรม เช่นในประโยคมีอาทิว่า ก็ในสมัยนั้นแลธรรมมีอยู่ คือ ขันธ์ทั้งหลายมีอยู่.

    ก็ในพระบาลีนี้ ธรรมศัพท์เป็นไปในคุณธรรม. เพราะฉะนั้น พึงเห็นความในพระบาลีนี้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตยังมีคุณอื่นๆ อีก.

    บทว่า คมฺภีรา ความว่า มีที่ตั้งอันญาณของบุคคลอื่นหยั่งไม่ได้ยกเว้นตถาคต เหมือนมหาสมุทรอันปลายจะงอยปากยุงหยั่งไม่ถึงฉะนั้น.

    ที่ชื่อว่า เห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้งนั่นเอง.

    ที่ชื่อว่า ได้ยาก เพราะเห็นได้ยากนั่นเอง.

    ที่ชื่อว่า สงบ เพราะดับความเร่าร้อนทั้งหมด.

    ก็ชื่อว่า สงบ แม้เพราะเป็นไปในอารมณ์ที่สงบ.

    ที่ชื่อว่า ประณีต เพราะทําให้ไม่รู้จักอิ่ม ดุจโภชนะที่มีรสอร่อย

    ที่ชื่อว่า คาดคะเนเอาไม่ได้ เพราะจะใช้การคะเนเอาไม่ได้ เหตุเป็นวิสัยแห่งญาณอันสูงสุด.

    ที่ชื่อว่า ละเอียด เพราะมีสภาพละเอียดอ่อน.

    ที่ชื่อว่า รู้ได้เฉพาะบัณฑิต เพราะบัณฑิตเท่านั้นพึงรู้ เหตุมิใช่วิสัยของพวกพาล.

    ข้อว่า เย ตถาคโต สยํ อภิฺา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทติ ความว่า

 
  ข้อความที่ 167  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 234

ซึ่งเป็นคุณธรรมที่ตถาคตเป็นผู้ที่มิใช่มีบุคคลอื่นแนะนํา ก็ทําให้ประจักษ์ด้วยพระปรีชาญาณอันวิเศษยิ่งเอาทีเดียว แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง คือ แสดง กล่าว ประกาศ.

    บทว่า เยหิ ความว่า ด้วยคุณธรรมเหล่าใด.

    บทว่า ยถาภุจฺจํ แปลว่า ตามเป็นจริง.

    ข้อว่า วณฺณํ สมฺมา วทมานา วเทยฺยุํ ความว่า ผู้ประสงค์จะกล่าวสรรเสริญตถาคต พึงกล่าวได้โดยชอบ อธิบายว่า อาจกล่าวได้ไม่บกพร่อง.

    ถามว่า ก็และธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญอย่างนี้นั้นได้แก่อะไร?

    ตอบว่า ได้แก่พระสัพพัญุตญาณ.

    ถามว่า ถ้าอย่างนั้น ทําไมถึงทรงทำนิเทศเป็นพหุวจนะ.

    ตอบว่า เพราะประกอบด้วยจิตมากดวง และมีอารมณ์มากมาย.

    จริงอยู่ พระสัพพัญุตญาณนั้น ได้ในมหากิริยาจิตที่เป็นญาณสัมปยุต ๔ ดวง. และธรรมอะไรๆ ที่ไม่ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของพระสัพพัญุตญาณนั้น หามิได้. สมดังคําที่พระสารีบุตรกล่าวไว้เป็นต้นว่า ชื่อว่าพระสัพพัญุตญาณ เพราะรู้ธรรมทั้งหมด กล่าวคือ ธรรมส่วนอดีต อนาคต และปัจจุบัน ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องขัดข้องในพระญาณนั้น.

    ทรงทํานิเทศเป็นพหุวจนะ เพราะประกอบด้วยจิตมากดวง และเพราะมีอารมณ์มากมายด้วยอํานาจที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ด้วยประการฉะนั้นแล.

    ส่วนคําว่า อฺเว นี้เป็นคํากําหนดไว้ในพระบาลีนี้ พึงประกอบ

 
  ข้อความที่ 168  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 235

กับบททุกบทอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่าอื่นมิใช่ธรรมมีเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ลึกซึ้งจริงๆ ไม่ใช่ตื้น.

ก็สาวกบารมีญาณลึกซึ้ง แต่ปัจเจกโพธิญาณยังลึกซึ้งกว่านั้น ฉะนั้น จึงไม่มีคํากําหนดไว้ในสาวกบารมีญาณนั้น และพระสัพพัญุตญาณยังลึกซึ้งกว่าปัจเจกโพธิญาณนั้น ฉะนั้น จึงไม่มีคํากําหนดไว้ในปัจเจกโพธิญาณนั้น ส่วนญาณอื่นที่ลึกซึ้งกว่าพระสัพพัญุตญาณนี้ไม่มี ฉะนั้น จึงได้คํากําหนดว่า ลึกซึ้งทีเดียว. พึงทราบคําทั้งหมดว่า เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เหมือนอย่างนั้น.

ก็คําถามในบทว่า กตเม จ เต ภิกฺขเว นี้ เป็นคําถามเพื่อประสงค์จะแก้ธรรมเหล่านั้น.

ในคําเป็นต้นว่า สนฺติ ภิกฺขเว เอเก สมณพฺราหฺมณา ดังนี้เป็นคําตอบคําถาม.

หากจะมีคําถามว่า ก็เหตุไรจึงทรงเริ่มคําตอบคําถามนี้อย่างนี้?

ตอบว่า การที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงถึงฐานะ ๔ ประการ แล้วทรงบันลือเป็นการยิ่งใหญ่ พระปรีชาญาณก็ติดตามมา ความที่พระพุทธญาณยิ่งใหญ่ย่อมปรากฏ พระธรรมเทศนาลึกซึ้ง ตรึงตราไว้ด้วยพระไตรลักษณ์ ประกอบด้วยสุญญตา.

ฐานะ ๔ ประการอะไรบ้าง?

คือ ทรงบัญญัติพระวินัย ประการ ๑ ทรงกําหนดธรรมอันเป็นภูมิพิเศษ ประการ ๑ ทรงจําแนกปัจจยาการ ประการ ๑ ทรงรู้ถึงลัทธิอื่นประการ ๑.

 
  ข้อความที่ 169  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 236

    เพราะฉะนั้น ธรรมดาว่าการทรงบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อเรื่องลงกันได้อย่างนี้ว่า นี้โทษเบา นี้โทษหนัก นี้เป็นความผิดแก้ไขไม่ได้ นี้เป็นอาบัติ นี้ไม่เป็นอาบัติ นี้เป็นอาบัติถึงชั้นเด็ดขาด นี้เป็นอาบัติถึงขั้นอยู่กรรม นี้เป็นอาบัติขั้นแสดง นี้เป็นโลกวัชชะ นี้เป็นปัณณัตติวัชชะควรบัญญัติข้อนี้เข้าในเรื่องนี้ ดังนี้ ในการทรงบัญญัติสิกขาบทนั้น ผู้อื่นไม่มีปรีชาสามารถ เรื่องนี้มิใช่วิสัยของผู้อื่น เป็นวิสัยของพระตถาคตเท่านั้น. ดังนั้น การที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงถึงฐานะ คือ ทรงบัญญัติพระวินัยดังนี้ ทรงบันลือจึงเป็นการยิ่งใหญ่ พระปรีชาญาณก็ติดตามมาประกอบด้วยสุญญตา ดังนี้แล.

    อนึ่ง คนเหล่าอื่นไม่มีปรีชาสามารถจะกล่าวจําแนกอภิธรรมปิฎก สมันตปัฏฐานอนันตนัย ๒๔ ประการว่า ชื่อว่า สติปัฏฐาน ๔ ชื่อว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ ชื่อว่า ขันธ์ ๕ ชื่อว่า อายตนะ ๑๒ ชื่อว่า ธาตุ ๑๘ ชื่อว่า อริยสัจ ๔ ชื่อว่า อินทรีย์ ๒๒ ชื่อว่า เหตุ ๙ ชื่อว่า อาหาร ๔ ชื่อว่า ผัสสะ ๗ ชื่อว่า เวทนา ๗ ชื่อว่า สัญญา ๗ ชื่อว่า เจตนา ๗ ชื่อว่า จิต ๗ ในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กามาวจรธรรมเท่านี้ ชื่อว่ารูปาวจรปริยาปันธรรมเท่านี้ ชื่อว่าอรูปาวจรอปริยาปันธรรมเท่านี้ ชื่อว่าโลกิยธรรมเท่านี้ ชื่อว่า โลกุตตรธรรมเท่านี้ ดังนี้. เรื่องนี้มิใช่วิสัยของผู้อื่น เป็นวิสัยของพระตถาคตเท่านั้น. ดังนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงถึงฐานะ คือ ทรงกําหนดธรรมอันเป็นภูมิพิเศษ ทรงบันลือจึงเป็นการยิ่งใหญ่ พระปรีชาญาณก็ติดตามมา ประกอบด้วยสุญญตา ดังนี้แล

    อนึ่ง อวิชชานี้ใดเป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลาย โดยอาการ ๙ อย่าง คือ อวิชชานั้นเป็นปัจจัยโดยภาวะที่เกิดขึ้น ๑ เป็นปัจจัยโดยภาวะที่เป็น

 
  ข้อความที่ 170  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 237

ไป ๑ เป็นปัจจัยโดยภาวะที่เป็นนิมิต ๑ เป็นปัจจัยโดยความประมวลมา ๑ โดยเป็นความประกอบร่วม ๑ โดยเป็นความกังวล ๑ โดยเป็นสมุทัย ๑ โดยเป็นเหตุ ๑ โดยเป็นปัจจัย ๑

    อนึ่ง สังขารเป็นต้น ก็เป็นปัจจัยแก่วิญญาณเป็นต้น โดยอาการ ๙ อย่าง ดังที่พระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า ปัญญาในการกําหนดปัจจัยชื่อธัมมัฏฐิติญาณ อย่างไร? คือ อวิชชาเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดของสังขาร ๑ เป็นที่ตั้งแห่งความเป็นไปของสังขาร ๑ เป็นที่ตั้งแห่งนิมิตของสังขาร ๑ เป็นที่ตั้งแห่งความประมวลมาของสังขาร ๑ เป็นที่ตั้งแห่งการประกอบร่วมของสังขาร ๑ เป็นที่ตั้งแห่งความกังวลของสังขาร ๑ เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัยของสังขาร ๑ เป็นที่ตั้งแห่งเหตุของสังขาร ๑ เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของสังขาร ๑ อวิชชาเป็นปัจจัยโดยอาการ ๙ อย่างนี้ สังขารเป็นธรรมที่อาศัยกันเกิดขั้น ธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ เป็นปัจจัยและเกิดแต่ปัจจัย ปัญญาในการกําหนดปัจจัยดังกล่าวนี้ ชื่อธัมมัฏฐิติญาณ ทั้งอดีตกาล ทั้งอนาคตกาล อวิชชาเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้นของสังขาร ๑ เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของสังขาร ๑ อวิชชาเป็นปัจจัยโดยอาการ ๙ อย่างนี้ สังขารเป็นธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น ธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ เป็นปัจจัยและเกิดแต่ปัจจัย ปัญญาในการกําหนดปัจจัยดังกล่าวนี้ ชื่อธัมมัฏฐิติญาณ ชาติเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดของชรามรณะ ๑ และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของชรามรณะ ๑ ชาติเป็นปัจจัยโดยอาการ ๙ อย่างนี้ ชรามรณะเกิดแต่ปัจจัยธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ เป็นปัจจัยและเกิดแต่ปัจจัย ปัญญาในการกําหนดปัจจัยดังกล่าวนี้ ชื่อธัมมัฏฐิติญาณ ดังนี้. คนเหล่าอื่นไม่มีปรีชาสามารถที่จะกล่าวจําแนกปฏิจจสมุปบาทอันมีวัฏฏะ ๓ มีกาล ๓ มีสนธิ ๓ มี

 
  ข้อความที่ 171  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 238

สังเขป ๔ มีอาการ ๒๐ ซึ่งเป็นไปโดยความเป็นปัจจัย โดยประการนั้นๆ แก่ธรรมนั้นๆ ดังพรรณนามาฉะนี้ได้ นี้มิใช่วิสัยของผู้อื่น เป็นวิสัยของพระตถาคตเท่านั้น. ดังนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงถึงฐานะคือปัจจยาการ ทรงบันลือจึงเป็นการยิ่งใหญ่ พระปรีชาญาณก็ติดตามมาประกอบด้วยสุญญตา ดังนี้แล.

    อนึ่ง คนพวกที่ชื่อว่า สัสสตวาทะ มี ๔

    คนพวกที่ชื่อว่า เอกัจจสัสสตวาทะ มี ๔

    คนพวกที่ชื่อว่า อันตาอันติกะ มี ๔

    คนพวกที่ชื่อว่า อมราวิกเขปะ มี ๔

    คนพวกที่ชื่อว่า อธิจจสมุปปันนิกะ มี ๒

    คนพวกที่ชื่อว่า สัญญีวาทะ มี ๑๖

    คนพวกที่ชื่อว่า อสัญญีวาทะ มี ๘

    คนพวกที่ชื่อว่า เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ มี ๘

    คนพวกที่ชื่อว่า อุจเฉทวาทะ มี ๗

    คนพวกที่ชื่อว่า ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ มี ๕

    คนเหล่านั้นอาศัยทิฏฐินี้แล้ว ยึดถือทิฏฐินี้ ฉะนั้น จึงรวมเป็นทิฏฐิ ๖๒ คนเหล่าอื่นไม่มีปรีชาสามารถที่จะกล่าวทําลายทิฏฐิเหล่านั้น สะสางไม่ให้รกได้ นี้มิใช่วิสัยของผู้อื่น เป็นวิสัยของพระตถาคตเท่านั้น ดังนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงรู้ถึงฐานะข้อที่เป็นลัทธิอื่น ดังนี้แล้ว ทรงบันลือจึงเป็นการยิ่งใหญ่ จัดเข้าเป็นพระปรีชาญาณย่อมติดตามมาความที่พระพุทธญาณยิ่งใหญ่ก็ปรากฏ เทศนาย่อมลึกซึ้ง ตรึงตราไว้ด้วยลักษณะ ๓ ประกอบด้วยสุญญตา ดังนี้แล.

 
  ข้อความที่ 172  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 239

    แต่ในที่นี้ ได้ฐานะคือลัทธิอื่น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นธรรมราชา เมื่อทรงติดตามฐานะคือลัทธิอื่น เพื่อทรงแสดงความที่พระสัพพัญุตญาณยิ่งใหญ่ และเพื่อทรงประกอบสุญญตาด้วยพระธรรมเทศนา จึงทรงเริ่มคําถามและตอบอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ดังนี้.

    ในพระบาลีนั้น บทว่า สนฺติ ความว่า มีปรากฏเกิดขึ้น.

    บทว่า ภิกฺขเว เป็นคําอาลปนะ.

    บทว่า เอเก ก็คือ บางพวก.

    บทว่า สมณพฺราหฺมณา ความว่า ที่ชื่อว่า สมณะ. เพราะความเข้าบวช ที่ชื่อว่า พราหมณ์ โดยกําเนิด. อีกอย่างหนึ่ง โลกสมมติอย่างนี้ว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง.

    สมณพราหมณ์ ชื่อว่า ปุพฺพนฺตกปฺปิกา เพราะกําหนด คือ แยกขันธ์ส่วนอดีตแล้วยึดถือ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุพฺพนฺตกปฺปิกา เพราะการกําหนดขันธ์ส่วนอดีต มีอยู่แก่สมณพราหมณ์เหล่านั้น.

    ศัพท์ว่า อนฺโต นี้ในพระบาลีนั้น ใช้ในอรรถ คือ ลําไส้ใหญ่ภายใน ขอบเขต เลว สุด ส่วน.

    จริงอยู่ อนฺต ศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ลําไส้ใหญ่ เช่นในประโยคมีอาทิว่า อนฺตปูโร อุทรปูโร เต็มไส้ เต็มท้อง.

    ใช้ในอรรถว่า ภายใน เช่นในประโยคมีอาทิว่า

    จรนฺติ โลเก ปริวารฉนฺนา

    อนฺโต อสุทฺธา พหิ โสภมานา

    คนผู้ไม่สํารวม ภายในไม่บริสุทธิ์

 
  ข้อความที่ 173  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 240

งามแต่ภายนอก แวดล้อมด้วยบริวารเที่ยวไปในโลก.

    ใช้ในอรรถว่า ขอบเขต เช่นในประโยคมีอาทิว่า

    กายพนฺธนสฺส อนฺโต ชิรติ สา หริตนฺตํ วา ปถนฺตํ วา

    ขอบประคดเอวเก่า ไฟนั้น มาถึงเขตของเขียวก็ดี เขตทางก็ดี.

    ใช้ในอรรถว่า เลว เช่นในประโยคมีอาทิว่า

    อนฺตมิทํ ภิกฺขเว ชีวิกานํ ยทิทํ ปิณฺโฑลฺยํ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาการเลี้ยงชีพทั้งหลาย

    การเลี้ยงชีพด้วยบิณฑบาตนี้เลว.

    ใช้ในอรรถว่า สุด เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส นี้แหละเป็นที่สุดแห่งทุกข์.

    จริงอยู่ ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งปวง เป็นส่วนสุด ท่านเรียกว่าที่สุดแห่งทุกข์.

    ใช้ในอรรถว่า ส่วนอื่น เช่นในประโยคมีอาทิว่า

    เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส นี่เป็นส่วนอื่นของทุกข์. อนึ่ง ส่วนอื่นของทุกข์ที่นับว่าเป็นปัจจัยทุกอย่างเรียกว่า ส่วนสุด. ใช้ในอรรถว่า ส่วน เช่นในประโยคมีอาทิว่า

    สกฺกาโย โข อาวุโส เอโก อนฺโต

    ดูก่อนอาวุโส สักกายะแล เป็นส่วนหนึ่ง.

    แม้ในที่นี้ อนฺต ศัพท์ นี้นั้น ก็เป็นไปในอรรถว่า ส่วน.

    แม้ กปฺป ศัพท์ ก็เป็นไปในอรรถหลายอย่าง เช่น อายุกัป

 
  ข้อความที่ 174  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 241

เลสกัป และวินัยกัป เป็นต้น อย่างนี้ว่า ติฏตุ ภนฺเต ภควา กปฺปํ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงดํารงพระชนม์อยู่ตลอดกัปเถิด อตฺถิ กปฺโป นิปชฺชิตุํ มีเลสเพื่อจะนอน กปฺปกเตน อกปฺปกตํ สํสิพฺพิตํ โหติ จีวรที่ยังไม่ได้ทําเครื่องหมายไว้ เย็บกับจีวรที่ทําเครื่องหมายไว้แล้ว. ในที่นี้พึงทราบว่า เป็นไปในอรรถว่า ตัณหาและทิฏฐิ.ข้อนี้แม้พระสารีบุตรก็ได้กล่าวไว้ว่า โดยอุทานว่า กปฺโป กัปปะ มี ๒ อย่าง คือ ตัณหากัปปะ ข้อกําหนดคือตัณหา และทิฏฐิกัปปะ ข้อกําหนดคือทิฏฐิ ฉะนั้น พึงทราบความในคําว่า ปุพฺพนฺตกปฺปิกา นี้อย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์เหล่าใด กําหนดขันธ์ส่วนอดีตโดยเป็นตัณหาและทิฏฐิ ตั้งอยู่แล้ว เหตุนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า ปุพฺพนฺตกปฺปิกา ผู้กําหนดขันธ์ส่วนอดีต.

    ที่ชื่อว่า ปุพฺพนฺตานุทิฏิโน เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ผู้กําหนดขันธ์ส่วนอดีตตั้งอยู่อย่างนี้ มีความเห็นไปตามขันธ์ส่วนอดีตนั่นเอง โดยที่เกิดขึ้นบ่อยๆ . สมณพราหมณ์เหล่านั้นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ เมื่อมาปรารภอาศัย อ้างอิงขันธ์ส่วนอดีตนั้น ทําแม้คนอื่นให้เห็นไปด้วย กล่าวคําแสดงทิฏฐิหลายอย่าง ด้วยเหตุ ๑๘ ประการ ดังนี้.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกวิหิตานิ ได้แก่หลายอย่าง.

    บทว่า อธิมุตติปทานิ ได้แก่บทที่เป็นชื่อ.

    อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิ เรียกว่า อธิมุตติ เพราะเป็นไปครอบงําอรรถที่เป็นจริง ไม่ถือเอาตามสภาวะที่เป็นจริง. บทแห่งอธิมุตติทั้งหลายชื่อว่า อธิมุตติปทานิ ได้แก่คําที่แสดงทิฏฐิ.

    บทว่า อฏารสหิ วตฺถูหิ ได้แก่โดยเหตุ ๑๘ ประการ.

 
  ข้อความที่ 175  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 242

    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคํามีอาทิว่า สนฺติ ภิกฺขเว เพื่อตรัสถามโดยนัยมีอาทิว่า เต จ โภนฺโต แล้วจําแนกแสดงวัตถุเหล่านั้น เพื่อประสงค์จะแสดงวัตถุ ๑๘ ที่สมณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวย้ำ.

    ในพระบาลีนั้น ที่ชื่อว่า วาทะ เพราะเป็นเครื่องกล่าว. คําว่า วาทะ นี้ เป็นชื่อแห่งทิฏฐิ.

    ที่ชื่อว่า สัสสตวาทะ เพราะมีวาทะว่าเที่ยง. อธิบายว่า เป็นพวกมีความเห็นว่าเที่ยง.

    แม้บทอื่นๆ นอกจากนี้ ที่มีรูปอย่างนี้ ก็พึงทราบความโดยนัยนี้แหละ.

    คําว่า สสฺสตํ อตฺตานฺจ โลกฺจ ความว่า ยึดขันธ์มีรูปเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ว่าเป็นอัตตาและว่าเป็นโลก แล้วบัญญัติอัตตาและโลกนั้นว่ายั่งยืน ไม่ตาย เที่ยง มั่นคง ดังที่ตรัสไว้ว่า บัญญัติรูปว่าเป็นอัตตาและโลก บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง อนึ่ง บัญญัติเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นอัตตาและโลก บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.

    ในคํามีอาทิว่า อาตปฺปมนฺวาย มีอธิบายว่า ความเพียรชื่อว่าอาตัปปะ. โดยภาวะที่ยังกิเลสให้เร่าร้อน ความเพียรนั้นแหละ ชื่อว่า ปธานะ โดยเป็นความตั้งมั่น ชื่อว่า อนุโยคะ โดยที่ประกอบอยู่บ่อยๆ ความว่า เป็นไปตาม คืออาศัย คือพึ่งพิงความเพียรทั้ง ๓ ประเภท ดังพรรณนามาฉะนี้.

    ความไม่อยู่ปราศแห่งสติ เรียกว่า ความไม่ประมาท

    บทว่า สมฺมามนสิกาโร มีอธิบายว่า มนสิการโดยอุบาย คือมนสิการครั้งแรก โดยความได้แก่ปัญญา.

 
  ข้อความที่ 176  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 243

    ก็ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ สําเร็จแก่ผู้ที่ตั้งอยู่ในมนสิการใด มนสิการนี้ท่านประสงค์เอาว่า มนสิการ ในที่นี้. ฉะนั้น ในพระบาลีนี้จึงมีความย่อดังนี้ว่า อาศัยความเพียร สติ และปัญญา.

    บทว่า ตถารูปํ ความว่า มีชาติอย่างนั้น.

    บทว่า เจโตสมาธึ ความว่า ความตั้งมั่นแห่งจิต .

    บทว่า ผุสติ ความว่า ประสบ คือได้เฉพาะ.

    ข้อว่า ยถา สมาหิเต จิตฺเต ความว่า สมาธิซึ่งเป็นเหตุตั้งจิตไว้ชอบ คือ ตั้งไว้ด้วยดี.

    ความแห่งบทว่า อเนกวิหิตํ ปุพฺเพนิวาสํ เป็นต้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.

    คําว่า โส เอวมาห ความว่า เขาเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอานุภาพแห่งฌานอย่างนี้ มีทิฏฐิ จึงกล่าวอย่างนี้ .

    บทว่า วฺโฌ ความว่า ไม่มีผล คือไม่ให้กําเนิดแก่ใครๆ ดุจสัตว์เลี้ยงเป็นหมันและตาลเป็นหมันเป็นต้น ฉะนั้น ด้วยบทว่า วฺโฌ นี้เขาจึงปฏิเสธภาวะที่จะให้กําเนิดรูปเป็นต้นแห่งคุณวิเศษมีฌานเป็นต้น ที่ยึดถือว่าเป็นอัตตาและเป็นโลก.

    ที่ชื่อว่า กูฏฏโ เพราะตั้งมั่นดุจยอดภูเขา.

    ข้อว่า เอสิกฏายี ิโต ความว่า ตั้งมั่นเป็นเหมือนเสาระเนียดที่ตั้งอยู่ เหตุนั้น จึงชื่อว่า เอสิกฏายิฏิโต. อธิบายว่า เสาระเนียดที่ฝังแน่นย่อมตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ฉันใด อัตตาและโลกก็ตั้งมั่นเหมือนฉันนั้น. ด้วยบททั้งสอง ย่อมแสดงว่าโลกไม่พินาศ. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวเป็นพระบาลีว่า อีสิกฏายิฏิโต แล้วกล่าวว่า ตั้งอยู่ดุจไส้หญ้า

 
  ข้อความที่ 177  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 244

ปล้อง. ในคําของอาจารย์บางพวกนั้น มีอธิบายดังนี้ว่า คําที่กล่าวว่าย่อมเกิด นั้น มีอยู่ ย่อมออกไปดุจไส้ออกจากหญ้าปล้องตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ตั้งอยู่ดุจไส้หญ้าปล้องตั้งอยู่ ฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น จึงแล่นไป คือจากภพนี้ไปในภพอื่น.

    บทว่า สํสรนฺติ ความว่า ท่องเที่ยวไปๆ มาๆ

    บทว่า จวนฺติ ความว่า ถึงการนับอย่างนี้

    บทว่า อุปปชฺชนฺติ ก็เหมือนกัน

    แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า ด้วยการที่ท่านได้กล่าวไว้ในเบื้องต้นว่า โลกและอัตตาเที่ยง ดังนี้ มาบัดนี้กลับกล่าวว่า ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป ดังนี้เป็นต้น สมณะ หรือพราหมณ์ผู้มีทิฏฐินี้ ชื่อว่า ย่อมทําลายวาทะของตนด้วยตนเอง ชื่อว่า ความเห็นของผู้มีทิฏฐิ ไม่เนื่องกัน หวั่นไหวเหมือนหลักที่ปักประจําในกองแกลบ และในความเห็นนี้ ย่อมมีทั้งดีทั้งไม่ดี เหมือนชิ้นขนมคูถและโคมัยเป็นต้น ในกระเช้าของคนบ้า

    บทว่า สสฺสติ ในคําว่า อตฺถิ เตฺวว สสฺสติสมํ นี้ มีความว่าย่อมสําคัญ แผ่นดินใหญ่ ว่าเที่ยง เพราะมีอยู่เป็นนิจ แม้ภูเขาสิเนรุ พระจันทร์ พระอาทิตย์ ก็สําคัญอย่างนั้น ฉะนั้น เมื่อสําคัญอัตตาเสมอด้วยสิ่งเหล่านั้นจึงกล่าวว่า แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ดังนี้.

    บัดนี้ สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิ เมื่อจะแสดงเหตุเพื่อให้สําเร็จ ปฏิญญาว่า อัตตาและโลกเที่ยงดังนี้เป็นต้น จึงกล่าวคํามีอาทิว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะข้าพเจ้าอาศัยความเพียร ดังนี้.

    ในพระบาลีนั้น คําว่า อิมินามหํ เอตํ ชานามิ ความว่า สมณะ

 
  ข้อความที่ 178  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 245

หรือพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิย่อมแสดงว่าด้วยการบรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้ดังนี้โดยประจักษ์ มิใช่ข้าพเจ้ากล่าวโดยเพียงความเชื่ออย่างเดียว ดังนี้.ก็ ม อักษร ในพระบาลีว่า อิมินา มหํ เอตํ ชานามิ นี้ ท่านกล่าวเพื่อทําบทสนธิ.

    คําว่า อิทํ ภิกฺขเว ปมํ านํ ความว่า บรรดาฐานะทั้ง ๔ ที่ตรัสไว้ด้วยศัพท์ว่า ด้วยเหตุ ๔ อย่าง นี้เป็นฐานะที่ ๑ อธิบายว่า การระลึกชาติได้เพียงแสนชาติดังนี้ เป็นเหตุที่ ๑. แม้ในวาทะทั้ง ๒ ข้างต้นก็นัยนี้แหละ.

    ก็วาระนี้ ตรัสโดยระลึกได้แสนชาติอย่างเดียว. ๒ วาระนอกนี้ ตรัสโดยระลึกได้ ๑๐ ถึง ๔๐ สังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัป.

    จริงอยู่ เดียรถีย์ผู้มีปัญญาน้อย ระลึกได้ ประมาณแสนชาติ ผู้มีปัญญาปานกลาง ระลึกได้ ๑๐ สังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัป ผู้มีปัญญาหลักแหลม ระลึกได้ ๔๐ สังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัป ไม่เกินกว่านั้น.

    ในวาระที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

    สมณะหรือพราหมณ์บางคน ที่ชื่อว่า ตกฺกี เพราะช่างตรึก อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า ตกฺกี เพราะว่า มีความตรึก คําว่า ตกฺกี นี้เป็นชื่อของคนช่างตรึกตรองแล้ว ยึดถือเป็นทิฏฐิ.

    ที่ชื่อว่า วิมํสี เพราะประกอบด้วยปัญญาพิจารณา. ชื่อว่าการชั่งใจ การชอบใจ การถูกใจด้วยปัญญาพิจารณา. เหมือนอย่างว่า บุรุษใช้ไม้เท้าลองหยั่งน้ำดูแล้วจึงลง ฉันใด ผู้ที่ชั่งใจชอบใจ ถูกใจแล้ว จึงลง ความเห็น นั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า วิมํสี เหมือนฉันนั้น.

    บทว่า ตกฺกปริยาหตํ ความว่า กําหนดเอาด้วยความตรึก อธิบายว่า

 
  ข้อความที่ 179  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 246

ตรึกไปตามทางนั้นๆ .

    บทว่า วิมํสานุจริตํ ความว่า ดําเนินตามปัญญาพิจารณา มีประการที่กล่าวแล้วนั้น.

    บทว่า สยํ ปาฏิภาณํ ความว่า เกิดแต่ปฏิภาณของตนเท่านั้น.

    บทว่า เอวมาห ความว่า ยึดสัสสตทิฏฐิ จึงกล่าวอย่างนี้.

    ในพระบาลีนั้น นักตรึก มี ๔ จําพวก คือ

    ๑. อนุสฺสติโก นึกตามที่ได้ฟังเรื่องราวมา

    ๒. ชาติสฺสโร นึกโดยระลึกชาติได้

    ๓. ลาภี นึกเอาแต่ที่นึกได้

    ๔. สุทฺธตกฺกิโก นึกเอาลอยๆ

    ใน ๔ จําพวกนั้น ผู้ใดฟังเรื่องราวมาว่า ได้มีพระราชาพระนามว่า เวสสันดร ดังนี้เป็นต้น แล้วก็นึกเอาว่า ด้วยเหตุนั้นแหละ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า คือ พระเวสสันดร อัตตาก็เที่ยง ดังนี้ ถือเป็นทิฏฐิ ผู้นี้ชื่อว่า นึกตามที่ได้ฟังเรื่องราวมา.

    ผู้ที่ระลึกชาติได้ ๒ - ๓ ชาติ แล้วนึกเอาว่า เมื่อก่อน เรานี่แหละ ได้มีมาแล้วในที่ชื่อโน้น ฉะนั้น อัตตาจึงเที่ยงดังนี้ ชื่อว่า นึกโดยระลึกชาติได้.

    อนึ่ง ผู้ใดนึกเอาว่า อัตตาของเราในบัดนี้ มีความสุขอยู่ฉันใด แม้ในอดีตก็ได้มีความสุขมาแล้ว แม้ในอนาคตก็จักมีความสุขเหมือน ฉันนั้น ถือเป็นทิฏฐิโดยที่ได้แก่ตัว ผู้นี้ชื่อว่า นึกเอาแต่ที่นึกได้.

    อนึ่ง ผู้ที่ยึดถือโดยเพียงแต่นึกเอาเองเท่านั้น ว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ก็จะเป็นอย่างนี้ ดังนี้ ชื่อว่า นึกเอาลอยๆ .

 
  ข้อความที่ 180  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 247

    คําว่า เอเตสํ วา อฺตเรน ความว่า ด้วยเหตุ ๔ อย่างเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง คืออย่างเดียวบ้าง ๒ อย่างบ้าง ๓ อย่างบ้าง.

    คําว่า นตฺถิ อิโต พหิทฺธา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบันลือสีหนาทที่ใครๆ จะคัดค้านไม่ได้ว่า ก็เหตุอื่นแม้สักอย่างนอกจากเหตุเหล่านี้ ไม่มีเพื่อจะบัญญัติว่าเที่ยง.

    คําว่า ตยิทํ ภิกฺขเว ตถาคโต ปชานาติ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้นั้น คือ ทิฏฐิทั้ง ๔ ประการ ตถาคตย่อมรู้โดยประการต่างๆ .

    ลําดับนั้น เมื่อจะทรงแสดงอาการคือการทรงรู้ชัดนั้น จึงตรัสพระบาลีมีอาทิว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ ดังนี้:-

    ในพระบาลีนั้น ทิฏฐินั่นแหละ ชื่อว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ.อีกอย่างหนึ่ง แม้เหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย ก็ชื่อว่าฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหมือนกัน ดังที่พระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ ๘ อย่าง อะไรบ้าง? คือ ขันธ์บ้าง อวิชชาบ้าง ผัสสะบ้าง สัญญาบ้าง วิตกบ้าง อโยนิโสมนสิการบ้าง ปาปมิตรบ้าง การฟังมาจากคนอื่นบ้าง แต่ละอย่างเป็นฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ เพราะฉะนั้น ขันธ์เป็นเหตุเป็นปัจจัย ด้วยอรรถว่า เป็นสมุฏฐานเพื่อความเกิดขึ้นแห่งทิฏฐิทั้งหลาย ขันธ์บ้าง เป็นฐานะ เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิอย่างนี้. อวิชชาเป็นเหตุ ฯลฯ ปาปมิตรเป็นเหตุ ฯลฯ เสียงเล่าลือจากคนอื่นเป็นปัจจัย ด้วยอรรถว่า เป็นสมุฏฐานเพื่อความเกิดขึ้นแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เสียงเล่าลือจากคนอื่นเป็นฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิอย่างนี้.

    คําว่า เอวํ คหิตา ความว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิเบื้องต้น

 
  ข้อความที่ 181  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 248

กล่าวคือ ทิฏฐิ ที่บุคคลถือไว้ ยึดไว้ คือ เป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง.

    คําว่า เอวํ ปรามฏา ความว่า ยึดไว้บ่อยๆ เพราะความเป็นผู้มีจิตไม่สงสัย ชื่อว่า ยึดมั่นแล้ว คือให้สําเร็จว่า นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า. ส่วนฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิกล่าวคือ เหตุ เมื่อถือไว้ด้วยประการใด ย่อมยังทิฏฐิทั้งหลายให้ตั้งขึ้น อันบุคคลถือไว้แล้ว ด้วยประการนั้น โดยเป็นอารมณ์ โดยเป็นความเป็นไป และโดยการส้องเสพ ยึดมั่นไว้ ด้วยการถือบ่อยๆ เพราะเห็นว่าไม่มีโทษ.

    คําว่า เอวํ คติกา ความว่า มีนิรยคติ ติรัจฉานคติ และเปตวิสัยคติ อย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างนี้.

    คําว่า เอวํ อภิสมฺปรายา นี้เป็นไวพจน์ของบทแรกนั่นเอง มีคําอธิบายว่า มีโลกนี้และโลกอื่น อย่างนี้.

    คําว่า ตฺจ ตถาคโต ปชานาติ ความว่า ใช่ว่าตถาคตจะรู้ชัดเฉพาะทิฏฐิพร้อมทั้งเหตุ พร้อมทั้งคติ แต่อย่างเดียวก็หามิได้ ที่จริงตถาคตย่อมรู้ชัดทั้งหมดนั้น และรู้ชัดซึ่งศีล สมาธิ และพระสัพพัญุตญาณ ซึ่งเป็นคุณธรรมยิ่งขึ้นไปกว่านั้น.

    คําว่า ตฺจ ปชานํ น ปรามสติ ความว่า ก็แม้จะรู้ชัดคุณวิเศษยอดเยี่ยมอย่างนี้นั้น แต่ก็ไม่ยึดมั่นด้วยความยึดมั่น คือ ตัณหาทิฏฐิมานะว่า เรารู้ชัด.

    คําว่า อปรามสโต จสฺส ปจฺจตฺตฺเจว นิพฺพุติ วิทิตา ความว่า และเมื่อไม่ยึดมั่นอย่างนี้ ตถาคตก็รู้ความดับสนิทแห่งกิเลส คือ ความยึดมั่นเหล่านั้นเองทีเดียว ถือด้วยตนนั่นเอง เพราะความไม่ยึดมั่นเป็นปัจจัย.

 
  ข้อความที่ 182  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 249

ทรงแสดงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิพพานของตถาคตปรากฏแล้ว.

    บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงข้อปฏิบัติที่พระตถาคตทรงปฏิบัติแล้ว เป็นเหตุให้ทรงบรรลุความดับสนิทนั้น พวกเดียรถีย์ยินดีแล้ว ในเวทนาเหล่าใด ย่อมเข้าไปสู่การยึดถือทิฏฐิว่า เราจักเป็นผู้มีความสุขในที่นี้ เราจักเป็นผู้มีความสุขในธรรมนี้ ดังนี้ เมื่อจะตรัสบอกกรรมฐาน โดยเวทนาเหล่านั้นแหละ จึงตรัสพระบาลีมีอาทิว่า เวทนานํ สมุทยฺจ ดังนี้.

    ในพระบาลีนั้น คําว่า ยถาภูตํ วิทิตฺวา ความว่า เพราะอวิชชาเกิดเวทนาจึงเกิด ฉะนั้น บุคคลย่อมเห็นความเกิดแห่งเวทนาขันธ์ด้วยอรรถคือความเกิดแห่งปัจจัย เวทนาเกิดเพราะตัณหาเกิด เพราะกรรมเกิด เพราะผัสสะเกิด แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความบังเกิด ชื่อว่า ย่อมเห็นความเกิดแห่งเวทนาขันธ์ รู้ตามเป็นจริง ซึ่งความเกิดแห่งเวทนา โดยลักษณะทั้ง ๕ นี้ เพราะอวิชชาดับ เวทนาจึงดับ เพราะตัณหาดับ เพราะกรรมดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ ฉะนั้น บุคคลย่อมเห็นความสิ้นไปแห่งเวทนาขันธ์ ด้วยอรรถคือความดับแห่งปัจจัย แม้เมื่อเห็นลักษณะแปรปรวน ชื่อว่า ย่อมเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ รู้ตามเป็นจริง ซึ่งการถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งเวทนาทั้งหลาย โดยลักษณะทั้ง ๕ นี้อาศัยเวทนาใดเกิดสุข โสมนัส นี้เป็นอัสสาทะแห่งเวทนา รู้ตามเป็นจริงซึ่งอัสสาทะแห่งเวทนาดังนี้ เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดาใด นี้เป็นอาทีนพแห่งเวทนา รู้ตามเป็นจริง ซึ่งอาทีนพแห่งเวทนาดังกล่าวนี้ การกําจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ในเวทนาใด นี้เป็นเหตุเครื่องออกไปแห่งเวทนา รู้ตามเป็นจริง ซึ่งเหตุเครื่องออกไปแห่งเวทนา ดังกล่าวมานี้.

 
  ข้อความที่ 183  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 250

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะมีฉันทราคะไปปราศแล้ว ตถาคตจึงไม่ยึดถือ จึงหลุดพ้น เมื่อยังมีอุปาทานใดอยู่ บุคคลก็พึงยึดถือธรรมอะไรๆ และขันธ์ก็จะพึงมีเพราะยึดถือไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ยึดถือธรรมอะไรๆ เพราะไม่มีอุปาทานนั้นเทียว จึงหลุดพ้นแล้ว ดังนี้.

    คําว่า อิเม โข เต ภิกฺขเว ความว่าธรรมคือพระสัพพัญุตญาณเหล่าใด ที่ตถาคตได้แสดงไว้แล้ว แก่เธอทั้งหลาย อย่างนี้ว่า เราได้ถามแล้วว่า ก็ธรรมเหล่านี้นั้น ที่ลึกซึ้ง เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้นั้นแล และตถาคตย่อมรู้ชัดข้อนั้น และรู้ชัดยิ่งกว่านั้นด้วยดังนี้ ธรรมเหล่านั้น พึงทราบว่าลึกซึ้งเห็นได้ยาก ฯลฯ รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งเป็นเหตุให้ปุถุชนและพระอริยบุคคล มีพระโสดาบันเป็นต้น ผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่อาจจะกล่าวสรรเสริญตถาคตตามเป็นจริงได้ ที่จริงตถาคตเท่านั้น เมื่อกล่าวสรรเสริญตามเป็นจริง ก็จะพึงกล่าวได้โดยชอบฉะนั้นแล.

    พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เมื่อตรัสอธิบายอย่างนี้ ก็ตรัสถามเฉพาะสัพพัญุตญาณ แม้เมื่อจะมอบให้ ก็มอบเฉพาะพระสัพพัญุตญาณนั้น แต่ได้ทรงจําแนกทิฏฐิไว้ในระหว่าง ฉะนั้นแล.

    วรรณนาภาณวาร ที่ ๑ จบ.

    ในพระบาลีนั้น บทว่า เอกจฺจสสฺสติกา ความว่า มีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง. พวกที่มีวาทะว่าบางอย่างเที่ยง มี ๒ จําพวก คือ พวกที่มีวาทะว่าบางอย่างของสัตว์เที่ยง ๑ พวกที่มีวาทะว่าบางอย่างของสังขารเที่ยง ๑ ในที่นี้ท่านถือเอาทั้ง ๒ จําพวกทีเดียว.

    บทว่า ยํ เป็นเพียงนิบาต.

    บทว่า กทาจิ ความว่า ในกาลบางคราว.

 
  ข้อความที่ 184  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 251

    บทว่า กรหจิ เป็นไวพจน์ของบทว่า กทาจิ นั้นเอง.

    บทว่า ทีฆสฺส อทฺธุโน ได้แก่แห่งกาลนาน.

    บทว่า อจฺจเยน ได้แก่โดยล่วงไป.

    บทว่า สํวฏฏติ ได้แก่ย่อมพินาศ.

    บทว่า เยภุยฺเยน ตรัสหมายเอาสัตว์พวกที่เหลือจากพวกที่บังเกิดในพรหมโลกชั้นสูง หรือในอรูปพรหม.

    ที่ชื่อว่า สําเร็จทางใจ เพราะบังเกิดด้วยฌานจิต.

    ที่ชื่อว่า มีปีติเป็นภักษา เพราะสัตว์เหล่านั้นมีปีติเป็นภักษา คือเป็นอาหาร.

    ที่ชื่อว่า มีรัศมีในตัวเอง เพราะสัตว์เหล่านั้นมีรัศมีเป็นของตัวเอง.

    ที่ชื่อว่า ผู้เที่ยวไปในอากาศ เพราะเที่ยวไปในอากาศ.

    ที่ชื่อว่า สุภฏายิโน เพราะอยู่ในสถานที่อันสวยงาม มีอุทยานวิมาน และต้นกัลปพฤกษ์เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า สุภฏายิโน เพราะเป็นผู้สวยงาม คือมีผ้าและอาภรณ์อันน่ารื่นรมย์ใจอยู่.

    บทว่า จีรํ ทีฆมทฺธานํ ความว่า กําหนดอย่างสูงสุดตลอด ๘ กัลป.

    บทว่า วิวฏฏติ ได้แก่ ตั้งอยู่ด้วยดี.

    บทว่า สุฺํ พฺรหฺมวิมานํ ความว่า ชื่อว่า ว่าง เพราะไม่มีสัตว์บังเกิดตามปกติ ภูมิอันเป็นที่สถิตของพวกพรหม ย่อมบังเกิด. ผู้สร้างก็ดี ผู้ใช้ให้สร้างก็ดี ซึ่งวิมานพรหมนั้น ย่อมไม่มี. แต่รัตนภูมิอันมีอุตุเป็นสมุฏฐาน ย่อมบังเกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย ตามนัยที่กล่าวแล้วในวิสุทธิมรรค. และในรัตนภูมินี้ ย่อมบังเกิดอุทยานและต้นกัลปพฤกษ์ เป็นต้น ในสถานที่สัตว์บังเกิดตามปกตินั่นเอง ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 185  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 252

ย่อมเกิดติดใจในสถานที่อยู่ตามปกติ สัตว์เหล่านั้นเจริญปฐมฌานแล้วลงจากสถานที่อยู่นั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ครั้งนั้นสัตว์ผู้ใดผู้หนึ่ง ดังนี้เป็นต้น .

    บทว่า อายุกฺขยา วา ปุฺกฺขยา วา ความว่า สัตว์เหล่าใดทําบุญกรรมไว้มากแล้วไปบังเกิดในเทวโลก ที่มีอายุน้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง สัตว์เหล่านั้นไม่อาจดํารงอยู่ตลอดอายุ ด้วยกําลังบุญของตน แต่จะจุติโดยประมาณอายุของเทวโลกนั้นเอง ฉะนั้น จึงเรียกว่า จุติเพราะสิ้นอายุบ้าง ส่วนสัตว์เหล่าใด ทําบุญกรรมไว้น้อยแล้วไปบังเกิดในเทวโลกที่มีอายุยืน สัตว์เหล่านั้นไม่อาจดํารงอยู่ได้ตลอดอายุ ย่อมจุติเสียในระหว่าง เพราะฉะนั้น เรียกว่า จุติเพราะสิ้นบุญบ้าง.

    บทว่า ทีฆมทฺธานํ ติฏติ ความว่า ตลอดกัลปหรือกึ่งกัลป.

    บทว่า อนภิรติ ความว่า ปรารถนาให้สัตว์แม้อื่นมา. ก็ความระอาอันประกอบด้วยปฏิฆะ ไม่มีในพรหมโลก.

    บทว่า ปริตสฺสนา ความว่า ความยุ่งยากใจ ความกระสับกระส่าย

    ก็ความดิ้นรนนี้นั้น มี ๔ อย่างคือ

    ๑. ตาสตสฺสนา ความดิ้นรนเพราะความสะดุ้ง

    ๒. ตณฺหาตสฺสนา ความดิ้นรนเพราะตัณหา

    ๓. ทิฏิตสฺสนา ความดิ้นรนเพราะทิฏฐิ

    ๔. าณตสฺสนา ความดิ้นรนเพราะญาณ

    ในความดิ้นรน ๔ อย่างนั้น อาศัยชาติ ชรา พยาธิ มรณะ รู้สึกกลัว รู้สึกน่ากลัว สยอง ขนลุก จิตสะดุ้ง หวาดหวั่น ดังนี้ นี้ชื่อว่า ความดิ้นรนเพราะความสะดุ้ง.

 
  ข้อความที่ 186  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 253

    ความดิ้นรนว่า โอหนอ แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้ ดังนี้ นี้ชื่อว่า ความดิ้นรนเพราะตัณหา.

    ความสะดุ้ง ความดิ้นรนนั่นแล ดังนี้ นี้ชื่อว่า ความดิ้นรนเพราะทิฏฐิ.

    ความดิ้นรนว่า แม้คนเหล่านั้นฟังพระธรรมเทศนาของพระตถาคตแล้ว โดยมากถึงความกลัวความสังเวชหวาดเสียว ดังนี้ นี้ชื่อว่า ความดิ้นรนเพราะญาณ.

    ก็ในที่นี้ ย่อมควรทั้งความดิ้นรนเพราะตัณหาทั้งความดิ้นรนเพราะทิฏฐิ.

    ก็คําว่า วิมานพรหม ในพระบาลีนี้ มิได้ตรัสว่า ว่างเปล่า เพราะมีสัตว์ผู้บังเกิดอยู่ก่อนแล้ว.

    บทว่า อุปฺปชฺชนฺติ ความว่า เข้าไปด้วยการอุบัติ.

    บทว่า สหพฺยตํ ความว่า ภาวะร่วมกัน.

    บทว่า อภิภู ความว่า เป็นผู้ข่มว่า เราเป็นผู้เจริญที่สุด.

    บทว่า อนภิภูโต ความว่า คนเหล่าอื่นข่มไม่ได้.

    บทว่า อฺทตฺถุํ เป็นนิบาตในอรรถว่า ถ่องแท้.

    ที่ชื่อว่า ทโส โดยการเห็น.

    อธิบายว่า เราเห็นทุกอย่าง.

    บทว่า วสวตฺตี ความว่า เราทําชนทั้งปวงให้อยู่ในอํานาจ.

    บทว่า อิสฺสโร กตฺตา นิมฺมิตา ความว่า เราเป็นใหญ่ในโลก เราเป็นผู้สร้างโลก และเนรมิตแผ่นดิน ป่าหิมพานต์ ภูเขาสิเนรุ จักรวาล มหาสมุทร พระจันทร์ และพระอาทิตย์.

 
  ข้อความที่ 187  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 254

    บทว่า เสฏโ สชฺชิตา ความว่า ย่อมสําคัญว่า เราเป็นผู้สูงสุดและเป็นผู้จัดโลก คือเราเป็นผู้จําแนกสัตว์ทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ท่านจงชื่อว่ากษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต โดยที่สุด ท่านจงชื่อว่าอูฐ จงชื่อว่าโค ดังนี้ .

    บทว่า วสี ปิตา ภูตภพฺยานํ ความว่า ย่อมสําคัญว่า เราชื่อว่าเป็นผู้มีอํานาจ เพราะเป็นผู้สั่งสมอํานาจไว้ เราเป็นบิดาของเหล่าสัตว์ที่เป็นแล้ว และของเหล่าสัตว์ที่กําลังจะเป็น.

    บรรดาเหล่าสัตว์ ๒ ประเภทนั้น เหล่าสัตว์พวกอัณฑชะ และชลาพุชะ อยู่ภายในกะเปาะไข่ และอยู่ภายในมดลูก ชื่อว่ากําลังจะเป็นตั้งแต่เวลาที่ออกภายนอกชื่อว่า เป็นแล้ว. เหล่าสัตว์พวกสังเสทชะ ในขณะจิตดวงแรก ชื่อว่า กําลังจะเป็น ตั้งแต่จิตดวงที่ ๒ ไป ชื่อว่า เป็นแล้ว. เหล่าสัตว์พวกโอปปาติกะ ในอิริยาบถแรก ชื่อว่า กําลังจะเป็น ตั้งแต่อิริยาบถที่ ๒ ไป พึงทราบว่า ชื่อว่า เป็นแล้ว. ย่อมสําคัญว่า เราเป็นบิดาของเหล่าสัตว์ที่เป็นแล้ว และของเหล่าสัตว์ที่กําลังจะเป็น ด้วยความสําคัญว่า สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด เป็นบุตรของเรา.

    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระประสงค์จะให้เนื้อความสําเร็จโดยการสร้าง จึงทรงทําปฏิญญาว่า สัตว์เหล่านี้ เราเนรมิตแล้ว จึงตรัสพระบาลีมีอาทิว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร?

    บทว่า อิตฺถตฺตํ ความว่า เป็นอย่างนี้ อธิบายว่า เป็นพรหม.

    บทว่า อิมินา มยํ ความว่า สัตว์เหล่านั้น แม้จุติ แม้อุบัติด้วยกรรมของตนๆ แต่โดยเพียงที่สําคัญไปอย่างเดียวเท่านั้น ก็สําคัญว่า พวก

 
  ข้อความที่ 188  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 255

เราอันพระพรหมผู้เจริญเนรมิตแล้ว ต่างก็พากันน้อมตัวลงไปแทบบาทมูลของพระพรหมนั้นทีเดียว ดุจลิ่มสลักที่คดโดยช่องที่คดฉะนั้น.

    บทว่า วณฺณวนฺตตโร จ ความว่า มีผิวพรรณงามกว่า อธิบายว่า มีรูปงาม น่าเลื่อมใส.

    บทว่า มเหสกฺขตโร ความว่า มียศใหญ่กว่า ด้วยอิสริยยศ และบริวารยศ.

    บทว่า านํ โข ปเนตํ ความว่า ข้อนี้เป็นเหตุที่จะมีได้. ที่ตรัสดังนี้หมายถึงสัตว์ผู้นั้นว่า สัตว์ผู้นั้นจุติจากชั้นนั้นแล้ว ไม่ไปในโลกอื่น ย่อมมาในโลกนี้เท่านั้น.

    บทว่า อคารสฺมา ได้แก่จากเรือน.

    บทว่า อนคาริยํ ได้แก่บรรพชา. จริงอยู่ บรรพชา ท่านเรียกว่าอนคาริยะ เพราะไม่มีการงาน มีการทํานา และเลี้ยงโคเป็นต้น ที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เรือน.

    บทว่า ปพฺพชติ ได้แก่เข้าถึง.

    บทว่า ตโต ปรํ นานุสฺสรติ ความว่า ระลึกไม่ได้เกินกว่าขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยนั้น เมื่อไม่อาจระลึกได้ ก็ตั้งอยู่ในขันธ์ที่อาศัยนั้น ยึดถือเป็นทิฏฐิ.

    ในคําว่า นิจฺโจ เป็นต้น ความว่า สัตว์เหล่านั้น เมื่อไม่เห็นความเกิดของพระพรหมนั้น จึงกล่าวว่า ยั่งยืน เมื่อไม่เห็นความตาย จึงกล่าวว่า มั่นคง. เพราะมีอยู่ทุกเมื่อ จึงกล่าวว่า ยั่งยืน. เพราะไม่มีความแปรปรวนแม้โดยชรา จึงกล่าวว่า มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา.คําที่เหลือในวาระนี้ ง่ายทั้งนั้น ดังนี้แล.

 
  ข้อความที่ 189  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 256

    ในวาระที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    พวกเทวดาที่ชื่อว่า ขิฑฑาปโฑสิกะ เพราะเสียหาย คือพินาศด้วยการเล่น. นักเขียนเขียนบาลีเป็นปทูสิกา ก็มี. บาลีว่า ปทูสิกา นั้นไม่มีในอรรถกถา.

    บทว่า อติเวลํ ความว่า เกินกาล คือนานเกินไป.

    บทว่า หสฺสขิฑฺฑารติธมฺมสมาปนฺนา ความว่า หมกมุ่น คือฝักใฝ่อยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเส และความรื่นรมย์คือการเล่นหัว อธิบายว่า ฝักใฝ่อยู่กับความสุข อันเกิดแต่การเล่นการสรวลเสและความสุข ที่เป็นกีฬาทางกายทางวาจา เป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยความรื่นรมย์มีประการดังกล่าวแล้วอยู่.

    บทว่า สติ ปมุสฺสติ ความว่า ลืมนึกถึงของเคี้ยว และของบริโภค.

    ได้ยินว่า เทวดาพวกขิฑฑาปโทสิกะเหล่านั้น เล่นนักษัตรด้วยสิริสมบัติอันใหญ่ของตน ที่ได้มาด้วยบุญวิเศษ เพราะความที่ตนมีสมบัติให้นั้น จึงไม่รู้ว่า เราบริโภคอาหารแล้วหรือยัง ครั้นเลยเวลาอาหารมื้อหนึ่งไป ทั้งเคี้ยวกินทั้งดื่มอยู่ไม่ขาดระยะ ก็จุติทันที ตั้งอยู่ไม่ได้เพราะเหตุไร? เพราะเตโชธาตุอันเกิดแต่กรรมแรง. ก็มนุษย์ทั้งหลายมีเตโชธาตุอันเกิดแต่กรรมอ่อน มีกรัชกายแข็งแรง และเมื่อเตโชธาตุของมนุษย์เหล่านั้นอ่อน กรัชกายแข็งแรง แม้เลยเวลาอาหารไปถึง ๗ วัน ก็อาจใช้น้ำร้อนและข้าวต้มใสเป็นต้นบํารุงร่างกายได้. ส่วนพวกเทวดามีเตโชธาตุแรง กรัชกายอ่อนแอ เทวดาเหล่านั้นเลยเวลาอาหารมื้อเดียวเท่านั้น ก็ไม่อาจจะดํารงอยู่ได้ เหมือนดอกปทุมหรือดอกอุบลที่

 
  ข้อความที่ 190  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 257

บุคคลวางไว้บนแผ่นหินอันร้อนในเวลาเที่ยงวันแห่งฤดูร้อน ตกเย็น แม้จะตักน้ำรดตั้งร้อยหม้อ ก็ไม่เป็นปกติได้ ย่อมพินาศไปถ่ายเดียว ฉันใด เทวดาพวกขิฑฑาปโทสิกะ แม้จะเคี้ยว แม้จะดื่มอยู่ไม่ขาดระยะในภายหลัง ก็จุติทันที ตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเพราะลืมสติ เทวดาเหล่านั้น จึงจุติจากชั้นนั้น ดังนี้.

    ถามว่า ก็เทวดาเหล่านั้น เป็นพวกไหน?

    ตอบว่า ในอรรถกถามิได้มีการวิจารณ์ไว้ว่า เป็นพวกชื่อนี้. แต่เพราะได้กล่าวไว้โดยไม่ต่างกันว่า เหล่าเทวดามีเตโชธาตุอันเกิดแต่กรรมแรง มีกรัชกายอ่อนแอ ดังนี้ เทวดาพวกใดพวกหนึ่ง ซึ่งอาศัยกวฬิงการาหาร เลี้ยงชีพ ทําอยู่อย่างนี้ เทวดาเหล่านั้นแหละ. พึงทราบว่า จุติดังนี้. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เทวดาชั้นนิมมานรดี และชั้นปรนิมมิตวสวัตดี คือเทวดาพวกขิฑฑาปโทสิกะนั้น ด้วยว่า เทวดาพวกนี้ท่านเรียกว่าขิฑฑาปโทสิกะ ด้วยเหตุเพียงเสียเพราะการเล่นเท่านั้น. คําที่เหลือในวาระนี้ พึงทราบตามนัยแรกนั้นแล.

    ในวาระที่๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    พวกเทวดาที่ชื่อว่า มโนปโทสิกะ เพราะถูกใจลงโทษ คือทําให้ฉิบหาย ทําให้พินาศ เทวดาพวกนี้ เป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราช.

    ได้ยินว่า บรรดาเทวดาเหล่านั้น เทพบุตรองค์หนึ่งคิดว่า จักเล่นนักษัตร จึงเดินทางไปด้วยรถพร้อมทั้งบริวาร. ครั้งนั้น เทพบุตรองค์อื่นเมื่อออกไปเห็นเทพบุตรองค์นั้นไปข้างหน้า ก็โกรธกล่าวว่า ช่างกระไรชาวเราเอ่ย เทพบุตรองค์นี้ช่างตระหนี่ ได้พบผู้หนึ่งราวกะว่าไม่เคยพบ ไปเหมือนกับจะยืดและเหมือนกับจะแตก ด้วยความอิ่มใจ. ฝ่ายเทพบุตร

 
  ข้อความที่ 191  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 258

องค์ที่ไปข้างหน้าเหลียวกลับมาเห็นเทพบุตรองค์นั้นโกรธ ขึ้นชื่อว่า คนโกรธกัน ย่อมรู้ได้ง่าย จึงรู้ว่า เทพบุตรองค์นั้นโกรธ ก็เลยโกรธตอบว่าท่านโกรธเรา จักทําอะไรเราได้ สมบัตินี้เราได้มาด้วยอํานาจบุญ มีทาน ศีล เป็นต้น มิใช่ได้มาด้วยอํานาจของท่าน. ถ้าเมื่อเทพบุตรองค์หนึ่งโกรธ อีกองค์ไม่โกรธก็ยังคุ้มอยู่ได้. แต่เมื่อโกรธทั้ง ๒ ฝ่าย ความโกรธของฝ่ายหนึ่ง ย่อมเป็นปัจจัยแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ความโกรธของฝ่ายแม้นั้น ก็เป็นปัจจัยแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ฉะนั้น ทั้ง ๒ ฝ่ายจึงจุติทั้งๆ ที่นางสนมกํานัลพากันคร่ําครวญอยู่นั่นเอง. นี้เป็นเรื่องธรรมดาในการโกรธของพวกเทวดา คําที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวนั่นแล.

    ในวาระของนักตรึก มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    สมณะหรือพราหมณ์ผู้ตรึกนี้ ย่อมเห็นความแตก ทําลายของจักษุเป็นต้น แต่เพราะเหตุที่จิตดวงแรกๆ พอให้ปัจจัยแก่ดวงหลังๆ จึงดับไปฉะนั้น จึงไม่เห็นความแตกทําลายของจิต ซึ่งแม้จะมีกําลังกว่าการแตกทําลายของจักษุ เป็นต้น. สมณะหรือพราหมณ์ผู้ตรึกนั้น เมื่อไม่เห็นความแตกทําลายของจิตนั้น จึงยึดถือว่า เมื่ออัตตภาพนี้แตกทําลายแล้ว จิตย่อมไปในอัตตภาพอื่นเหมือนอย่างนกละต้นไม้ต้นหนึ่งแล้วไปจับที่ต้นอื่นฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนี้.

    คําที่เหลือในวาระนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล

    บทว่า อนฺตานนฺติกา ความว่า มีวาทะว่า โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด อธิบายว่า มีวาทะเป็นไปปรารภโลกว่า มีที่สุดก็มี ไม่มีที่สุดก็มี บางที่มีที่สุดและไม่มีที่สุด มีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่.

    บทว่า อนฺตสฺี โลกสฺมึ วิหรติ ความว่า สมณะหรือพราหมณ์

 
  ข้อความที่ 192  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 259

มิได้ขยายปฏิภาคนิมิตไปถึงขอบจักรวาล ยึดถือเอาขอบจักรวาลนั้นว่าเป็นโลก จึงมีความสําคัญในโลกว่า มีที่สุดอยู่ แต่ในกสิณที่ขยายออกไปถึงขอบจักรวาล มีความสําคัญว่า โลกไม่มีที่สุด อนึ่ง มิได้ขยายไปด้านบนและด้านล่างขยายไปแต่ด้านขวาง จึงมีความสําคัญในโลกว่า ด้านบนและด้านล่าง มีที่สุด มีความสําคัญในโลกว่า ด้านขวางไม่มีที่สุด.

    วาทะของสมณะหรือพราหมณ์พวกตรึก พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

    วาทะทั้ง ๔ อย่างนี้ จัดเข้าในปุพพันตกัปปิกวาทะ เพราะยึดถือด้วยทิฏฐิ ตามทํานองที่ตนเคยเห็นแล้วนั่นเอง.

    ที่ชื่อว่า อมรา เพราะไม่ตาย.

    อมรานั้น คือ อะไร?

    คือความเห็นและวาทะของคนผู้เห็นไป ซึ่งเว้นจากความสิ้นสุดโดยนัยมีอาทิว่า ความเห็นของเราอย่างนี้ก็มิใช่ ดังนี้.

    ที่ชื่อว่า วิกฺเขโป เพราะดิ้นไปมีอย่างต่างๆ .

    ที่ชื่อว่า อมราวิกฺเขโป เพราะทิฏฐิและวาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.

    สมณะหรือพราหมณ์ ชื่อว่า อมราวิกเขปิกะ เพราะมีทิฏฐิและวาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว.

    อีกนัยหนึ่ง ปลาชนิดหนึ่ง ชื่ออมรา แปลว่าปลาไหล. ปลาไหลนั้น เมื่อแล่นไปในน้ำด้วยการผุดขึ้นและดําลงเป็นต้น ใครๆ ไม่อาจจับได้ แม้วาทะนี้ก็เหมือนอย่างนั้น แล่นไปข้างโน้นข้างนี้ ไม่เข้าถึงอาการที่จะจับไว้ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า อมราวิกเขปะ. สมณะหรือพราหมณ์ที่ชื่อว่า อมราวิกเขปิกะ เพราะมีทิฏฐิและวาจาดิ้นได้เหมือนปลาไหล

 
  ข้อความที่ 193  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 260

    บทว่า อิทํ กุสลนฺติ ยถาภูตํ นปฺปชานาติ ความว่า ไม่รู้กุศลกรรมบถ ๑๐ ตามความเป็นจริง. แม้ในฝ่ายอกุศล ก็ประสงค์เอาอกุศลกรรมบถ ๑๐ นั่นเอง.

    บทว่า โส มมสฺส วิฆาโต ความว่า พึงเป็นความเดือดร้อนคือ พึงเป็นความทุกข์แก่เรา เพราะเกิดความร้อนใจว่า เรากล่าวเท็จเสียแล้ว.

    บทว่า โส มมสฺส อนฺตราโย ความว่า ความร้อนใจนั้น พึงเป็นอันตรายแก่สวรรค์และมรรคของเรา.

    บทว่า มุสาวาทภยา มุสาวาทปริเชคุจฺฉา ความว่า เพราะความเกรงกลัว และเพราะความละอายในการพูดเท็จ

    บทว่า วาจาวิกฺเขปํ อาปชฺชติ ความว่า จึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว คือดิ้นไปไม่มีที่สุด.

    ในคําว่า เอวนฺติปิ เม โน ดังนี้เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    คําว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ ดังนี้ เป็นคําดิ้นได้ไม่แน่นอน.

    คําว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนั้นก็มิใช่ ท่านปฏิเสธวาทะว่า เที่ยง ที่กล่าวไว้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง

    คําว่า ความเห็นของเราว่า อย่างอื่นก็มิใช่ ท่านปฏิเสธวาทะว่า เที่ยงบางอย่าง ว่าไม่เที่ยงบางอย่าง ที่กล่าวไว้โดยประการอื่นจากความเที่ยง.

    คําว่า ความเห็นของเราว่า ไม่ใช่ก็มิใช่ ท่านปฏิเสธวาทะว่า ขาดสูญ ที่กล่าวไว้ว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย สัตว์ไม่มี.

 
  ข้อความที่ 194  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 261

    คําว่า ความเห็นของเรามิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ท่านปฏิเสธวาทะของนักตรึก ที่กล่าวไว้ว่า เป็นก็ไม่ใช่ ไม่เป็นก็ไม่ใช่.

    ก็บุคคลผู้มีความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัวนี้ ถูกถามว่า นี้เป็นกุศลหรืออกุศล ย่อมไม่ตอบอะไรๆ หรือถูกถามว่า นี้เป็นกุศลหรือ ก็กล่าวว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่. ลําดับนั้น เมื่อเขากล่าวว่า อะไรเป็นกุศล ก็กล่าวว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนั้นก็มิใช่ เมื่อเขากล่าวว่าอย่างอื่นจากทั้ง ๒ อย่างหรือ ก็กล่าวว่า ความเห็นของเราว่า อย่างอื่นก็มิใช่. ลําดับนั้น เมื่อเขากล่าวว่า ลัทธิของท่านว่า ไม่ใช่ทั้ง ๓ อย่างหรือ ก็กล่าวว่า ความเห็นของเราว่า ไม่ใช่ก็มิใช่. ลําดับนั้น เมื่อเขากล่าวว่า ลัทธิของท่านว่าไม่ใช่ก็มิใช่หรือ ก็กล่าวดิ้นไปอย่างนี้เลยว่าความเห็นของเราว่า มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ดังนี้ ไม่ตั้งอยู่แม้ในฝ่ายหนึ่ง.

    บทว่า ฉนฺโท วา ราโค วา ความว่า แม้เมื่อไม่ยืนยัน ก็รีบตอบกุศลนั่นแหละว่า เป็นกุศล ตอบอกุศลนั่นแหละว่าเป็นอกุศล แล้วถามบัณฑิตเหล่าอื่นว่า ที่เราตอบคนชื่อโน้นไปอย่างนี้ คําตอบนั้น ตอบดีแล้วหรือ? เมื่อบัณฑิตเหล่านั้นตอบว่า ตอบดีแล้ว พ่อมหาจําเริญกุศลนั่นแหละท่านตอบว่ากุศล อกุศลนั่นแหละท่านก็ตอบว่าอกุศล ก็จะพึงมีความพอใจบ้าง ความติดใจบ้างในข้อนี้ อย่างนี้ว่า บัณฑิตเช่นกับเราไม่มี. ก็ในพระบาลีนี้ ความพอใจ ได้แก่ความติดใจอย่างเพลา ความติดใจ ได้แก่ความติดใจอย่างแรง.

    บทว่า โทโส วา ปฏิโฆ วา ความว่า แม้ที่เป็นกุศล ก็ตอบว่า เป็นอกุศล หรือที่เป็นอกุศล ก็ตอบว่า เป็นกุศล ดังนี้ แล้วถามบัณฑิตเหล่าอื่น เมื่อบัณฑิตเหล่านั้นตอบว่า ท่านตอบไม่ดี ก็จะพึงมีความ

 
  ข้อความที่ 195  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 262

เคืองใจบ้าง ความขัดใจบ้าง แก่เราในข้อนั้นว่า เรื่องแม้เพียงเท่านี้เราก็ไม่รู้. แม้ในพระบาลีนี้ ความเคืองใจ ได้แก่ความโกรธอย่างเพลา ความขัดใจ ได้แก่ความโกรธอย่างแรง.

    บทว่า ตํ มมสฺส อุปาทานํ โส มมสฺส วิฆาโต ความว่าความพอใจและความติดใจทั้ง ๒ นั้นจะพึงเป็นอุปาทานของเรา ความเคืองใจและความขัดใจทั้ง ๒ จะพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา หรือทั้ง ๒ อย่าง เป็นอุปาทานด้วยอํานาจความยึดมั่น เป็นความลําบากใจด้วยอํานาจความกระทบ. จริงอยู่ ความติดใจย่อมจับอารมณ์ โดยความที่ไม่อยากจะปล่อย เหมือนปลิงเกาะ. ความเคืองใจย่อมจับอารมณ์ โดยความที่อยากจะให้พินาศ เหมือนอสรพิษ และทั้ง ๒ นี้ ย่อมทําให้เดือดร้อนด้วยอรรถว่า แผดเผาทั้งนั้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นอุปาทานและว่าเป็นความลําบากใจ. คําที่เหลือเหมือนกับวาระแรกนั่นแล.

    บทว่า ปณฺฑิตา ความว่า ผู้ประกอบด้วยคุณเครื่องเป็นบัณฑิต.

    บทว่า นิปุณา ความว่า ผู้เจริญด้วยปัญญาอันละเอียดสุขุมสามารถแทงตลอดอรรถอันพิเศษซึ่งละเอียดสุขุม.

    บทว่า กตปรปฺปวาทา ความว่า เข้าใจการโต้วาทะและคุ้นเคยการโต้กับฝ่ายอื่น.

    บทว่า วาลเวธิรูปา ความว่า เช่นกับนายขมังธนู ยิงถูกขนทราย.

    บทว่า เต ภินฺทนฺตา มฺเ ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมเที่ยวไปราวกับจะทําลายทิฏฐิของคนเหล่าอื่นแม้สุขุม ด้วยกําลังปัญญาของตน ดุจนายขมังธนูยิงถูกขนทรายฉะนั้น.

    บทว่า เต มํ ตตฺถ ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ซักไซ้

 
  ข้อความที่ 196  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 263

ไล่เลียง สอบสวนเราในข้อที่เป็นกุศลและอกุศลนั้นๆ .

    บทว่า สมนุยุฺเชยฺยุํ ความว่า พึงถามถึงลัทธิว่า ท่านจงกล่าวลัทธิของตนว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล.

    บทว่า สมนุคฺคาเหยฺยุํ ความว่า เมื่อตอบไปว่า เรื่องชื่อนี้เป็นกุศล เป็นอกุศล ก็จะพึงถามถึงเหตุว่า ท่านให้ถือความข้อนี้ด้วยเหตุอะไร.

    บทว่า สมนุภาเสยฺยุํ ความว่า เมื่อตอบเหตุไปว่า ด้วยเหตุชื่อนี้ก็จะพึงชี้โทษซักไซ้อย่างนี้ว่า ท่านยังไม่รู้เหตุนี้ ท่านก็จงถือเอาข้อนี้จงละข้อนี้เสีย.

    บทว่า น สมฺปาเยยฺยุํ ความว่า เราก็จะพึงให้คําตอบเขาไม่ได้ คือไม่อาจจะกล่าวตอบเขาได้.

    บทว่า โส มมสฺส วิฆาโต ความว่า ชื่อว่า แม้จะพูดซ้ำซาก ก็โต้ตอบเขาไม่ได้นั้น จะพึงเป็นความลําบากใจ คือเป็นทุกข์ เพราะทําให้ริมฝีปาก เพดาน ลิ้น และคอแห้งทีเดียว แก่เรา. คําที่เหลือแม้ในวาระที่ ๓ นี้ เหมือนกับวาระแรกนั้นเอง.

    บทว่า มนฺโท ความว่า มีปัญญาอ่อน. คํานี้เป็นชื่อของคนไม่มีปัญญานั่นเอง.

    บทว่า โมมูโห ความว่า เป็นคนมัวเมามากมาย. สัตว์ ท่านประสงค์เอาว่า ตถาคโต ในคําว่า โหติ ตถาคโต เป็นต้น. คําที่เหลือในวาระที่ ๔ แม้นี้ ง่ายทั้งนั้น.

    อมราวิกเขปิกะ ทั้ง ๔ แม้เหล่านี้ จัดเข้าในปุพพันตกัปปิกวาทะ เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ยึดถือความเห็นตามทํานองแห่งธรรมที่เป็น

 
  ข้อความที่ 197  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 264

ไปก่อนนั่นเอง.

    ความเห็นว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ชื่อว่า อธิจจสมุปบันนะ.สมณพราหมณ์ ที่ชื่อว่าอธิจจสมุปปันนิกะ เพราะมีความเห็นว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ

    บทว่า อธิจฺจสมุปฺปนฺนํ ความว่า เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุ.

    คําว่า อสฺีสตฺตา นี้เป็นหัวข้อเทศนา. ความว่า มีอัตตภาพสักแต่ว่ารูป เพราะไม่มีจิตเกิดขึ้น.

    พึงทราบความอุบัติของพวกอสัญญีสัตว์เหล่านั้น อย่างนี้.

    ก็บุคคลบางคนบวชในลัทธิเดียรถีย์แล้ว ทําบริกรรมในวาโยกสิณ ยังจตุตถฌานให้บังเกิด ออกจากฌานแล้ว เห็นโทษในจิตว่า เมื่อมีจิตย่อมมีทุกข์ เพราะถูกตัดมือเป็นต้น และมีภัยทั้งปวง พอกันทีด้วยจิตนี้ความไม่มีจิตสงบแท้ ครั้นเห็นโทษในจิตอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มีฌานไม่เสื่อมถอย ทํากาละแล้ว ไปบังเกิดในพวกอสัญญีสัตว์ จิตของบุคคลนั้น ย่อมกลับมาในโลกนี้ ด้วยความดับแห่งจุติจิต. ในพวกอสัญญีสัตว์นั้น ปรากฏแต่เพียงรูปขันธ์เท่านั้น. ธรรมดาว่า ลูกศรที่ถูกซัดขึ้นไปด้วยกําลังสายธนูย่อมไปในอากาศเท่ากําลังสายธนูนั้นเอง ฉันใด อสัญญีสัตว์เหล่านั้นในชั้นอสัญญีสัตว์นั้น ถูกซัดไปด้วยกําลังแห่งฌาน เกิดขึ้นแล้ว ก็จะดํารงอยู่ได้ตลอดกาลเท่าที่กําลังฌานมีอยู่เท่านั้น ฉันนั้นนั่นแล. แต่เมื่อกําลังฌานเสื่อมถอย รูปขันธ์ในชั้นอสัญญีสัตว์นั้น ก็จะอันตรธาน ปฏิสนธิสัญญาย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้ ก็เพราะสัญญาที่เกิดขึ้นในโลกนี้นั้น เป็นเหตุให้ปรากฏการจุติของอสัญญีสัตว์เหล่านั้นในชั้นอสัญญีสัตว์นั้น ฉะนั้น จึงตรัสต่อไปว่า ก็และเทวดาเหล่านั้น ย่อมจุติจากชั้นนั้น เพราะความเกิด

 
  ข้อความที่ 198  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 265

ขึ้นแห่งสัญญา.

    บทว่า สนฺตตาย ความว่า เพื่อความสงบ.

    คําที่เหลือในวาระนี้ ง่ายทั้งนั้น.

    แม้วาทะของนักตรึก ก็พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้ว ดังนี้แล.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นแสดงปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ ๑๘ ประการอย่างนี้แล้ว บัดนี้มีพระประสงค์จะทรงแสดงอปรันตกัปปิกทิฏฐิ ๔๔ ประการ จึงตรัสพระบาลีมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ดังนี้.

    ในพระบาลีนั้น สมณพราหมณ์ที่ชื่อว่า อปรันตกัปปิกะ เพราะกําหนดอปรันตะ กล่าวคือขันธ์ส่วนอนาคต ยึดถือ. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า อปรันตกัปปิกะ เพราะมีการกําหนดขันธ์ส่วนอนาคต. แม้คําที่เหลือก็พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในเบื้องต้น ด้วยประการฉะนี้.

    บทว่า อุทฺธมาฆตนิกา ความว่า ความตาย เรียกว่า อาฆาตนะ สมณพราหมณ์ที่ชื่อว่า อุทฺธมาฆตนิกา เพราะกล่าวอัตตาเบื้องหน้าแต่ความตาย.

    วาทะที่เป็นไปว่า มีสัญญา ชื่อสัญญีวาทะ.

    ในคําว่า อัตตาที่มีรูป เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    ย่อมบัญญัติอัตตานั้นว่า เบื้องหน้าแต่ความตาย อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา ดังนี้ เพราะยึดถือรูปกสิณว่า เป็นอัตตา และยึดถือสัญญา ที่เป็นไปในรูปกสิณนั้น ว่าเป็นสัญญาของอัตตานั้น หรือเพราะเพียงแต่นึกเอาเท่านั้น ดุจพวกนอกศาสนามีอาชีวกเป็นต้น.

    ในพระบาลีนั้น บทว่า อโรโค ความว่า เที่ยง

 
  ข้อความที่ 199  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 266

    อนึ่ง ย่อมบัญญัติอัตตานั้นว่า อัตตาที่ไม่มีรูปมีสัญญาดังนี้ เพราะยึดถือนิมิตแห่งอรูปสมาบัติว่าเป็นอัตตา และยึดถือสัญญาแห่งสมาบัติว่าเป็นสัญญาของอัตตานั้น หรือเพราะเพียงแต่นึกเอาเท่านั้น ดุจพวกนอกศาสนามีนิครนถ์เป็นต้น.

    ส่วนข้อที่ ๓ เป็นทิฏฐิที่เป็นไปด้วยอํานาจความยึดถือระคนกัน.

    ข้อที่ ๔ เป็นทิฏฐิที่เป็นไปด้วยความยึดถือโดยนึกเอาเท่านั้น.

    จตุกกะที่ ๒ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในอันตานันติกวาทะนั่นแล.

    ในจตุกกะที่ ๓ พึงทราบว่า อัตตาชื่อว่ามีสัญญาอย่างเดียวกัน ด้วยอํานาจแห่งผู้ได้สมาบัติ อัตตาชื่อว่ามีสัญญาต่างกัน ด้วยอํานาจแห่งผู้ไม่ได้สมาบัติ อัตตาชื่อว่ามีสัญญานิดหน่อย ด้วยอํานาจแห่งกสิณนิดหน่อย อัตตาชื่อว่ามีสัญญาหาประมาณมิได้ ด้วยอํานาจแห่งกสิณอันไพบูลย์.

    ส่วนในจตุกกะที่ ๔ อธิบายว่า บุคคลมีทิพยจักษุ เห็นสัตว์ผู้บังเกิดในติกฌานภูมิและจตุกกฌานภูมิ ย่อมยึดถือว่า อัตตามีสุขอย่างเดียว เห็นสัตว์บังเกิดในนรก ย่อมยึดถือว่า อัตตามีทุกข์อย่างเดียว เห็นสัตว์บังเกิดในหมู่มนุษย์ ย่อมยึดถือว่า อัตตามีทั้งสุขทั้งทุกข์ เห็นสัตว์บังเกิดในเทพชั้นเวหัปผละ ย่อมยึดถือว่า อัตตามีทุกข์ก็มิใช่ มีสุขก็มิใช่.

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่ได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นพวกปุพพันตกัปปิกะ พวกที่ได้ทิพยจักษุ เป็นพวกอปรันตกัปปิกะดังนี้แล

    อสัญญีวาทะ บัณฑิตพึงทราบด้วยอํานาจตุกกะทั้ง ๒ ที่กล่าวไว้ข้างต้นในสัญญีวาทะ.

 
  ข้อความที่ 200  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 267

    เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ก็เหมือนกัน.

    ก็เพียงแต่ในสัญญีวาทะนั้น ทิฏฐิเหล่านั้น ของพวกที่ถือว่า อัตตามีสัญญา, ในอสัญญีวาทะ และเนวสัญญีนาสัญญีวาทะนี้ ทิฏฐิเหล่านั้นพวกที่ถือว่า อัตตาไม่มีสัญญา และว่า อัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.

    ในทิฏฐิเหล่านั้น พึงตรวจสอบเหตุการณ์ ไม่ใช่โดยส่วนเดียว.ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า ความยึดถือแม้ของคนผู้มีทิฏฐิ ก็เช่นเดียวกับกระเช้าของคนบ้า.

    ในอุจเฉทวาทะ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    บทว่า สโต ได้แก่ยังมีอยู่.

    บทว่า อุจฺเฉทํ ได้แก่ความขาดสูญ.

    บทว่า วินาสํ ได้แก่ความไม่พบปะ.

    บทว่า วิภวํ ได้แก่ไปปราศจากภพ.

    คําเหล่านี้ทั้งหมด เป็นไวพจน์ของกันและกันทั้งนั้น.

    ในอุจเฉทวาทะนั้น มีตนที่ถืออุจเฉททิฏฐิอยู่ ๒ พวก คือผู้ได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ๑ ผู้ไม่ได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ๑ ผู้ที่ได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เมื่อระลึกตาม มีทิพยจักษุ เห็นจุติไม่เห็นอุบัติอีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดสามารถเห็นเพียงจุติเท่านั้น ไม่เห็นอุบัติ ผู้นั้นชื่อว่ายึดถืออุจเฉททิฏฐิ.

    ผู้ที่ไม่ได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คิดว่า ใครเล่าจะรู้ปรโลก ย่อมยึดถือความขาดสูญ เพราะค่าที่ตนเป็นผู้ต้องการกามสุข หรือเพราะการนึกเอาเองเป็นต้นว่า สัตว์ทั้งหลาย ก็เหมือนกับใบไม้ที่หล่นจากต้นไม้

 
  ข้อความที่ 201  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 268

ไม่งอกต่อไปฉะนั้น.

    ก็ในอธิการนี้ พึงทราบว่า ทิฏฐิ ๗ เหล่านี้ เกิดขึ้นด้วยอํานาจตัณหาและทิฏฐิ หรือเพราะกําหนดเอาอย่างนั้น และอย่างอื่น.

    ในพระบาลีนั้น บทว่า รูปี ได้แก่ผู้มีรูป.

    บทว่า จาตุมฺมหาภูติโก ได้แก่สําเร็จด้วยมหาภูต ๔.

    ที่ชื่อว่า มาตาเปตฺติกํ เพราะมีมารดาและบิดา. นั้นได้แก่อะไร?ได้แก่สุกกะและโลหิต.

    ที่ชื่อว่า มาตาเปตฺติกสมฺภโว เพราะสมภพ คือ เกิดในสุกกะและโลหิตอันเป็นของมารดาและบิดา.

    สมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีวาทะและทิฏฐิ ย่อมกล่าวอัตตภาพของมนุษย์ว่าอัตตา โดยยกรูปกายขึ้นเป็นประธาน.

    บทว่า อิตฺเถเก ตัดบทเป็น อิตฺถํ เอเก ความเท่ากับ เอวเมเก.

    สมณะหรือพราหมณ์พวกที่ ๒ ปฏิเสธข้อนั้น กล่าวอัตตภาพอันเป็นทิพย์.

    บทว่า ทิพฺโพ ความว่า เกิดในเทวโลก.

    บทว่า กามาวจโร ได้แก่นับเนื่องในเทวดาชั้นกามาวจร ๖ ชั้น.

    ที่ชื่อว่า กวฬิงฺการาหารภกฺโข เพราะกินอาหาร คือคําข้าว.

    บทว่า มโนมโย ได้แก่บังเกิดด้วยฌานจิต.

    บทว่า สพฺพงฺคปจฺจงฺคี ได้แก่ประกอบด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน.

    บทว่า อหีนินฺทฺริโย ได้แก่มีอินทรีย์บริบูรณ์.

 
  ข้อความที่ 202  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 269

    คํานี้ท่านกล่าวด้วยอํานาจแห่งอินทรีย์ ที่มีอยู่ในพรหมโลก และด้วยอํานาจทรวดทรงของอินทรีย์นอกนี้.

    เนื้อความของคําว่า สพฺพโส รูปสฺานํ สมติกฺกมา ดังนี้เป็นต้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.

    ส่วนในคําว่า อากาสานฺจายตนุปโค เป็นต้น พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า เข้าถึงภพชั้นอากาสานัญจายตนะ. คําที่เหลือในอุจเฉทวาทะนี้ ง่ายทั้งนั้น ดังนี้แล.

    ในทิฏฐธรรมนิพพานวาทะ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    ธรรมที่ประจักษ์ เรียกว่า ทิฏฐธรรม.

    คํานี้เป็นชื่อของอัตตภาพที่ได้เฉพาะในภพนั้นๆ . นิพพานในทิฏฐธรรม ชื่อว่า นิพพานปัจจุบัน. อธิบายว่า ทุกข์สงบในอัตตภาพนี้เอง.

    สมณพราหมณ์ ชื่อว่า ทิฏฐธรรมนิพพานวาทะ เพราะกล่าวนิพพานปัจจุบันนั้น.

    บทว่า ปรมทิฏนิพฺพานํ ได้แก่นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่ง อธิบายว่า สูงสุด.

    บทว่า ปฺจหิ กามคุเณหิ ความว่า ด้วยส่วนแห่งกาม หรือด้วยเครื่องผูก ๕ อย่าง มีรูปเป็นที่ชอบใจและเป็นที่รักเป็นต้น.

    บทว่า สมปฺปิโต ได้แก่เป็นผู้แนบแน่น คือติดแน่นด้วยดี.

    บทว่า สมงฺคีภูโต ได้แก่ประกอบ.

    บทว่า ปริจาเรติ ความว่า ยังอินทรีย์ให้เที่ยวไป ให้สัญจรไป นําเข้าไปข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง ตามสบายในกามคุณเหล่านั้น . ก็อีกนัยหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 203  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 270

ย่อมพอใจ ย่อมยินดี ย่อมเล่น.

    ก็กามคุณในที่นี้มี ๒ อย่าง คือ ที่เป็นของมนุษย์ ๑ ที่เป็นทิพย์ ๑.กามคุณที่เป็นของมนุษย์ พึงเห็นเช่นกับกามคุณของพระเจ้ามันธาตุราช ส่วนกามคุณที่เป็นทิพย์พึงเห็นเช่นกับกามคุณของปรนิมมิตวสวัตดีเทวราชฉะนั้นแล.

    ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมบัญญัติการบรรลุนิพพานปัจจุบันของพวกที่เข้าถึงกาม เห็นปานนี้.

    ในวาระที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    กามทั้งหลาย พึงทราบว่า ชื่อว่า ไม่เที่ยง ด้วยอรรถว่า มีแล้ว กลับไม่มี ชื่อว่า เป็นทุกข์ ด้วยอรรถว่า บีบคั้น ชื่อว่า มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยอรรถว่า ละปกติ.

    บทว่า เตสํ วิปริณามฺถาภาวา ความว่า เพราะกามเหล่านั้นกลายเป็นอย่างอื่น กล่าวคือ แปรปรวน จึงเกิดความโศก ความคร่ําครวญ ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจ โดยนัยที่กล่าวว่า แม้สิ่งใดได้มีแก่เรา แม้สิ่งนั้นไม่มีแก่เรา ดังนี้.

    ใน ๕ อย่างนั้น ความโศกมีลักษณะแผดเผาในภายใน ความคร่ําครวญมีลักษณะบ่นเพ้อพร่ําอาศัยความโศกนั้น ความทุกข์มีลักษณะบีบคั้นกาย ความโทมนัสมีลักษณะลําบากใจ ความคับแค้นใจมีลักษณะเศร้าสลดใจ.

    เนื้อความของคําว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ ดังนี้เป็นต้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.

 
  ข้อความที่ 204  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 271

    บทว่า วิตกฺกิตํ ความว่า วิตกที่เป็นไปด้วยอํานาจยกจิตขึ้นไว้ในอารมณ์.

    บทว่า วิจาริตํ ความว่า วิจารซึ่งเป็นไปด้วยอํานาจเคล้าอารมณ์.

    บทว่า เอเตเนตํ ความว่า ปฐมฌานนี้ปรากฏว่า หยาบเหมือนกับมีหนาม ด้วยยังมีวิตกและวิจาร.

    บทว่า ปิตคตํ ได้แก่ปีตินั่นเอง.

    บทว่า เจตโส อุพฺพิลฺลาวิตตฺตํ ได้แก่เป็นเหตุทําใจให้หวาดเสียว.

    บทว่า เจตโส อาโภโค ความว่า ออกจากฌานแล้ว จิตก็ยังคํานึง คือนึกถึงวนเวียนอยู่ในสุขนั้นบ่อยๆ .

    คําที่เหลือในทิฏฐธรรมนิพพานวาทะนี้ ง่ายทั้งนั้น.

    โดยลําดับแห่งคําเพียงเท่านี้ เป็นอันตรัสถึงทิฏฐิ ๖๒ ทั้งหมด ซึ่งแบ่งเป็นอุจเฉททิฏฐิ ๗ เท่านั้น ที่เหลือ เป็นสัสสตทิฏฐิ.

    บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประมวลปุพพันตกัปปิกทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยวาระนี้ว่า อิเม โข เต ภิกฺขเว เป็นต้น แล้วทรงวิสัชนาพระสัพพัญุตญาณ. ทรงประมวลอปรันตกัปปิกทิฏฐิ และปุพพันตอปรันตกัปปิกทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยวาระว่า อิเมโข เต ภิกฺขเว เป็นต้น แล้วทรงวิสัชนาพระญาณนั้นแหละ แม้เมื่อตรัสถามในพระดํารัสว่า กตเม จ เต ภิกฺขเว ธมฺมา เป็นต้น ก็ตรัสถามพระสัพพัญุตญาณนั่นเอง แม้เมื่อทรงวิสัชนาก็ทรงยกทิฏฐิ ๖๒ ประการ ขึ้นแล้วทรงวิสัชนาพระสัพพัญุตญาณนั่นเอง เหมือนดังทรงชั่งอัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลายด้วยตาชั่ง เหมือนดังทรงยกทรายจากเชิงภูเขาสิเนรุ

 
  ข้อความที่ 205  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 272

ฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้.

พระธรรมเทศนานี้มาแล้วด้วยอํานาจตามลําดับอนุสนธิอย่างนี้.

ก็พระสูตรมีอนุสนธิ ๓ อย่าง คือ

๑. ปุจฉานุสนธิ พระธรรมเทศนาที่ตรัสตอบคําถาม.

๒. อัชฌาสยานุสนธิ พระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงตามอัธยาศัยของสัตว์.

๓. ยถานุสนธิ พระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงตามลําดับเรื่อง.

ในอนุสนธิแห่งพระสูตร ๓ อย่างนั้น พึงทราบปุจฉานุสนธิด้วยอํานาจแห่งพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิสัชนาแก่ผู้ที่ทูลถามอย่างนี้ว่า เมื่อพระพุทธองค์ตรัสอย่างนี้แล้ว นันทโคบาลจึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝังใน ได้แก่อะไร?ฝังนอก ได้แก่อะไร? สงสารในท่ามกลาง ได้แก่อะไร? เกยบนบกได้แก่อะไร? มนุษย์จับ ได้แก่อะไร? อมนุษย์จับ ได้แก่อะไร? ถูกน้ำวนเอาไว้ ได้แก่อะไร? ความเน่าใน ได้แก่อะไร?

พึงทราบอัชฌาสยานุสนธิ ด้วยอํานาจแห่งพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของสัตว์เหล่าอื่น แล้วตรัสอย่างนี้ว่า ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเกิดปริวิตกทางใจอย่างนี้ว่า จําเริญละ เท่าที่พูดกันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ต่างก็เป็นอนัตตา เอาชิ กรรมที่อนัตตากระทําแล้วจักถูกอัตตาไหนกัน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกทางใจของภิกษุรูปนั้น ด้วยพระหฤทัยของพระองค์ จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้

 
  ข้อความที่ 206  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 273

ที่จะมีโมฆบุรุษบางคนในพระธรรมวินัยนี้ ตกอยู่ในอวิชชา มีใจซึ่งมีตัณหาเป็นใหญ่ จะพึงเข้าใจสัตถุศาสน์แล่นเกินหน้าไปว่า จําเริญละ เท่าที่พูดกันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ต่างก็เป็นอนัตตา เอาซิ กรรมที่อนัตตากระทําแล้ว จักถูกอัตตาไหนกัน ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ดังนี้.

    แต่พึงทราบยถานุสนธิ ด้วยอํานาจแห่งพระสูตรทั้งหลาย อันเป็นที่มาแห่งพระธรรมเทศนาในข้างหน้า ด้วยอํานาจแห่งธรรมอันเข้ากันได้หรือด้วยอํานาจแห่งธรรมที่ขัดกันแก่ธรรมที่เป็นเหตุให้พระธรรมเทศนาตั้งขึ้นในเบื้องต้น ตัวอย่างเช่น ในอากังเขยยสูตร เทศนาตั้งขึ้นด้วยศีลในตอนต้น อภิญญา ๖ มาในตอนปลาย ในวัตถุสูตร เทศนาทั้งขึ้นด้วยอํานาจกิเลสในตอนต้น พรหมวิหารมาในตอนปลาย ในโกสัมพิกสูตร เทศนาตั้งขึ้นด้วยการทะเลาะในตอนต้น สาราณียธรรมมาในตอนปลาย ในกักกัจโจปัมมสูตร เทศนาทั้งขึ้นด้วยความไม่อดทนในตอนต้น อุปมาด้วยเลื่อยมาในตอนปลาย. ในพรหมชาลสูตรนี้ เทศนาตั้งขึ้นด้วยอํานาจแห่งทิฏฐิในตอนต้น การประกาศสุญญตามาในตอนปลาย. เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงได้กล่าวไว้ว่า พระธรรมเทศนานี้มาแล้วด้วยอํานาจแห่งยถานุสนธิอย่างนี้ ดังนี้.

    บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงการจําแนกขอบเขต พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มเทศนาว่า ตตฺร ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น

    คํา ตทปิ เตสํ ภวตํ สมณพฺราหฺมณานํ อชานตํ อปสฺสตํ เวทยิตํ ตณฺหาคตานํ ปริตสฺสิตํ วิปฺผนฺทิตเมว ดังนี้ ความว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้น เกิดโสมนัส ด้วยความยินดีในทิฏฐิ ด้วยความ

 
  ข้อความที่ 207  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 274

สุขในทิฏฐิ ด้วยความรู้สึกในทิฏฐิอันใด ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ แม้ข้อนั้นก็เป็นความรู้สึกของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็นสภาวะแห่งธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริง เป็นคนที่ยังมีตัณหาอยู่ ความรู้สึกนั้นเป็นของคนที่ยังมีตัณหาเท่านั้นอย่างเดียว ก็และความรู้สึกนี้นั้นแล เป็นความดิ้นรนเป็นความแส่หาเท่านั้น คือเป็นความหวั่นเท่านั้น เป็นความไหวเท่านั้น ด้วยความดิ้นรนกล่าวคือทิฏฐิและตัณหา เหมือนกับหลักที่ปักไว้ในกองแกลบ มิใช่ไม่หวั่นไหวดุจทัศนะของพระโสดาบัน. แม้ในเอกัจจสัสสตวาทะเป็นต้น ก็นัยนี้แล.

    พระบาลีว่า ตตฺร ภิกฺขเว เย เต สมณพฺราหฺมณา สสฺสตวาทา ดังนี้เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มไว้อีก เพื่อทรงแสดงปัจจัยสืบๆ กันมา.

    ในพระบาลีนั้น ด้วยพระดํารัสว่า ตทปิ ผสฺสปจฺจยา ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น เกิดโสมนัสด้วยความยินดีในทิฏฐิ ด้วยความสุขในทิฏฐิ ด้วยความรู้สึกในทิฏฐิอันใด ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ แม้ข้อนั้นก็คือความรู้สึกดิ้นรนเพราะตัณหาและทิฏฐิ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย ดังนี้.ในวาทะทั้งปวงก็นัยนี้.

    บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงภาวะที่ปัจจัยนั้นมีกําลังในความรู้สึกในทิฏฐิ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระบาลีอีกว่า ตตฺร ภิกฺขเว เย เต สมณพฺราหฺมณา สสฺสตวาทา ดังนี้ เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 208  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 275

    ในพระบาลีนั้น ด้วยคําว่า เต วต อฺตฺร ผสฺสา ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความว่า ข้อที่ว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น เว้นจากผัสสะ จักรู้สึกความรู้อันนั้น ดังนี้นั้น ไม่มีเหตุที่จะเป็นไปได้ อุปมาเหมือนอย่างว่า ขึ้นชื่อว่าเสาย่อมเป็นปัจจัยมีกําลังเพื่อประโยชน์ในการค้ำเรือนจากการล้ม เรือนนั้น ไม่มีเสาค้ำไว้ ไม่อาจจะตั้งอยู่ได้ฉันใด แม้ผัสสะก็มีอุปไมยฉันนั้นแล เป็นปัจจัยมีกําลังแก่เวทนา เว้นผัสสะนั้นเสียความรู้สึกในทิฏฐินี้ ย่อมไม่มี ดังนี้. ในวาทะทั้งปวงก็นัยนี้.

    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประมวลความรู้สึกในทิฏฐิทั้งปวงโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นใด เป็นสัสสตวาทะ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ แม้สมณพราหมณ์เหล่านั้นใด เป็นเอกัจจสัสสติกะ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ดังนี้.

    เพราะเหตุไร?

    เพราะเพื่อต้องการจะเพิ่มผัสสะข้างหน้า.

    อย่างไร?

    สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดถูกต้องแล้ว ด้วยผัสสายตนะทั้ง ๖ ย่อมเสวยเวทนา. ที่ชื่อว่าผัสสายตนะทั้ง ๖ ในข้อนั้น ได้แก่ผัสสายตนะ ๖ เหล่านี้ คือ จักขุผัสสายตนะ ๑ โสตผัสสายตนะ ๑ ฆานผัสสายตนะ ๑ ชิวหาผัสสายตนะ ๑ กายผัสสายตนะ ๑ มโนผัสสายตนะ ๑.

    ก็ อายตนศัพท์นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถว่า ที่เกิด ที่ประชุม เหตุและบัญญัติ. ในอรรถเหล่านั้น อายตน ศัพท์เป็นไปในอรรถว่า ที่เกิดเช่นในคําว่า ชนบทกัมโพชะ เป็นที่เกิดของม้าทั้งหลาย ทักขิณาบถเป็น

 
  ข้อความที่ 209  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 276

ที่เกิดของโคทั้งหลาย ดังนี้ อธิบายว่า ในที่เป็นที่เกิด.

    เป็นไปในอรรถว่า ที่ประชุม เช่นในคําว่า เมื่อต้นไม้ใหญ่นั้นเป็นที่ประชุมที่น่ารื่นรมย์ใจ นกทั้งหลายย่อมพากันอาศัยต้นไม้นั้น ดังนี้.

    เป็นไปในอรรถว่า บัญญัติ เช่นในคําว่า ย่อมสมมติบัญญัติว่าในราวป่า ในบรรณกุฎี.

    อายตนศัพท์นี้นั้น ในที่นี้ย่อมควรในอรรถทั้ง ๓ มีถิ่นเกิดเป็นต้น.

    จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นที่ห้า ย่อมเกิด ย่อมประชุมในจักษุเป็นต้น แม้จักษุเป็นต้นเหล่านั้น ก็เป็นเหตุของธรรมเหล่านั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า อายตนะ. และในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสผัสสายตนะทั้ง ๖ เป็นต้นไว้ เพื่อจะทรงแสดงความสืบๆ กันแห่งปัจจัยนับแต่ผัสสะเป็นต้นไป ยกพระธรรมเทศนาโดยยกผัสสะเป็นหัวข้อนั่นเอง โดยนัยนี้ว่า อาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักษุวิญญาณทั้ง ๓ อย่าง ประชุมกันเข้า จึงเป็นผัสสะ ดังนี้.

    บทว่า ผุสฺส ผุสฺส ปฏิสํเวเทนฺติ ความว่า ถูกต้องๆ แล้วเสวยเวทนา.

    ก็ในพระบาลีนี้ แม้จะได้ตรัสเหมือนอายตนะทั้งหลายมีการถูกต้องเป็นกิจไว้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ไม่พึงเข้าใจว่า อายตนะเหล่านั้น มีการถูกต้องเป็นกิจ. เพราะว่า อายตนะทั้งหลาย ถูกต้องไม่ได้ ส่วนผัสสะย่อมถูกต้องอารมณ์นั้นๆ . ก็อายตนะทั้งหลาย ทรงแสดงแฝงไว้ในผัสสะ เพราะฉะนั้น พึงทราบความในพระบาลีนี้อย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ถูกต้องอารมณ์มีรูปเป็นต้น ด้วยผัสสะที่เกิดแต่ผัสสายตนะ ๖ แล้วเสวยเวทนาในทิฏฐินั้น.

 
  ข้อความที่ 210  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 277

    ในข้อว่า เตสํ เวทนาปจฺจยา ตณฺหา ดังนี้เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    บทว่า เวทนา ความว่า เวทนาเกิดแต่ผัสสายตนะ ๖. เวทนานั้น ย่อมเป็นปัจจัยโดยเงื่อนแห่งอุปนิสสัยปัจจัยแก่ตัณหาอันต่างด้วยรูปตัณหาเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เพราะเวทนาของสมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ดังนี้. และตัณหานั้นก็เป็นปัจจัยโดยเงื่อนแห่งอุปนิสสัยปัจจัย และโดยเงื่อนแห่งสหชาตปัจจัย แก่อุปทาน ๔ อย่าง. อุปาทานก็เป็นปัจจัยแก่ภพอย่างนั้น. ภพเป็นปัจจัยโดยเงื่อนแห่งอุปนิสสัยปัจจัยแก่ชาติ. ก็ในคําว่า ชาติ นี้ พึงเห็นว่า ได้แก่ขันธ์ ๕ พร้อมทั้งวิการ. ชาติเป็นปัจจัยโดยเงื่อนแห่งอุปนิสสัยปัจจัย แก่ชรา มรณะ และโสกะเป็นต้น. นี้เป็นความย่อในพระบาลีนี้. ส่วนกถาว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท ได้กล่าวไว้แล้วโดยพิสดารในวิสุทธิมรรค. ก็ในที่นี้พึงทราบพอประกอบพระบาลีนั้นเท่านั้น.

    ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสวัฏฏกถา ย่อมตรัสด้วยศัพท์อันเป็นหัวข้อคืออวิชชา อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏ ในกาลก่อนแต่นี้อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคํานี้อย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชามีเพราะข้อนี้เป็นปัจจัย จึงปรากฏ ดังนี้บ้าง ด้วยศัพท์อันเป็นหัวข้อคือตัณหาอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งภวตัณหาย่อมไม่ปรากฏ ในกาลก่อนแต่นี้ ภวตัณหาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคํานี้อย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ภวตัณหามีเพราะข้อนี้เป็นปัจจัย จึงปรากฏ ดังนี้บ้าง ด้วยศัพท์อันเป็นหัวข้อคือทิฏฐิอย่างนี้ว่า ดูก่อน

 
  ข้อความที่ 211  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 278

ภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งภวทิฏฐิ ย่อมไม่ปรากฏ ในกาลก่อนแต่นี้ภวทิฏฐิไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคํานี้อย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ภวทิฏฐิมีเพราะข้อนี้เป็นปัจจัย จึงปรากฏ ดังนี้บ้าง.ก็ในพระสูตรนี้ เมื่อตรัสด้วยศัพท์อันเป็นหัวข้อคือทิฏฐิ ตรัสทิฏฐิทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นด้วยความติดใจในเวทนา จึงตรัสปฏิจจสมุปบาทอันมีเวทนาเป็นมูล. ด้วยเหตุนั้น จึงทรงแสดงความข้อนี้ว่า สมณพราหมณ์เจ้าทิฏฐิเหล่านี้ ยึดถือความเห็นนี้แล้ว แล่นไปท่องเที่ยวไปในภพ ๓ กําเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณคติ ๗ สัตตาวาส ๙ จากนี่ไปนั่น จากนั่นไปนี่ ดังนี้ ย่อมวนเวียนไปตามวัฏฏทุกข์อย่างเดียว ไม่สามารถจะเงยศีรษะขึ้นจากวัฏฏทุกข์ได้ ดุจโคที่เขาเทียมไว้ในเครื่องยนต์ ดุจลูกสุนัขที่เขาล่ามไว้ที่เสา และดุจเรือที่อับปางลงด้วยลมฉะนั้น ดังนี้แล.

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสวัฏฏะอันเป็นที่ตั้งอาศัยของตนผู้มีทิฏฐิอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะ ยกภิกษุผู้ประกอบความเพียรขึ้นเป็นที่ตั้ง จึงตรัสพระบาลีว่า ยโต โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ เป็นต้น

    ในพระบาลีนั้น บทว่า ยโต แปลว่า ในกาลใด.

    บทว่า ฉนฺนํ ผสฺสายตนานํ ความว่า วัฏฏะย่อมวนไปแก่คนผู้มีทิฏฐิ ผู้ถูกต้องด้วยผัสสายตนะเหล่าใด เสวยเวทนาอยู่ แห่งผัสสายตนะ ๖ เหล่านั้นนั่นแล.

    ในคําว่า สมุทยํ เป็นต้น พึงทราบความเกิดแห่งผัสสายตนะตามนัยที่ตรัสไว้ในเวทนากัมมัฏฐานว่า เพราะอวิชชาเกิด จักษุจึงเกิดดังนี้เป็นต้น. เหมือนอย่างว่า ในเวทนากัมมัฏฐานนั้น ตรัสไว้ว่า เพราะผัสสะเกิด เพราะผัสสะดับ ดังนี้ฉันใด ในพระบาลีนี้ก็เป็นฉันนั้น

 
  ข้อความที่ 212  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 279

พึงทราบอายตนะนั้นว่า ในจักษุเป็นต้น เพราะอาหารเกิด เพราะอาหารดับ ในมนายตนะ เพราะนามรูปเกิด เพราะนามรูปดับ ดังนี้แล.

    บทว่า อุตฺตริตรํ ปชานาติ ความว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิย่อมรู้ชัดเฉพาะทิฏฐิเท่านั้น ส่วนภิกษุนี้ย่อมรู้ทิฏฐิ และยิ่งขึ้นไปกว่าทิฏฐิ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุติ จนถึงพระอรหัต คือพระขีณาสพก็รู้ พระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบันก็รู้ ภิกษุผู้เป็นพหูสูต ทรงคันถธุระก็รู้ ภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนาก็รู้.

    ก็พระธรรมเทศนาอันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้จบลงด้วยยอดคือ พระอรหัตทีเดียว ดังนี้แล.

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสวิวัฏฏะ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า ขึ้นชื่อว่าคนมีทิฏฐิที่พ้นไปจากข่าย คือ พระธรรมเทศนาย่อมไม่มี จึงตรัสต่อไปว่า เย หิ เกจิ ภิกฺขเว เป็นต้น.

    ในพระบาลีนั้น บทว่า อนฺโตชาลีกตา ความว่า อยู่ภายในข่ายคือ เทศนาของเรานี้นั่นเอง.

    บทว่า เอตฺถ สิตา ความว่า อยู่ อาศัย คือ พึ่งพิงอยู่ในข่าย คือเทศนาของเรานี้นั่นแหละ.

    คําว่า เมื่อผุดก็ผุด มีคําอธิบายอย่างไร?

    มีคําอธิบายว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จมลงบ้าง โผล่ขึ้นบ้าง ก็เป็นผู้อยู่ในข่ายคือเทศนาของเรา จมลงและโผล่ขึ้น.

    บทว่า เอตฺถ ปริยาปนฺนา ความว่า เป็นผู้นับเนื่องในข่ายคือเทศนาของเรานี้ คืออันข่ายคือเทศนานี้ผูกพันไว้ ดุจอยู่ภายในข่าย เมื่อผุดก็ผุดขึ้น ด้วยว่าชื่อว่าคนมีทิฏฐิ ที่ไม่สงเคราะห์เข้าในข่าย คือ

 
  ข้อความที่ 213  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 280

เทศนานี้ ย่อมไม่มี ดังนี้แล.

    บทว่า สุขุมจฺฉิเกน ความว่า ด้วยข่ายตาละเอียดถี่ยิบ.

    จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบเหมือนชาวประมง พระธรรมเทศนาเปรียบเหมือนข่าย หมื่นโลกธาตุเปรียบเหมือนน้ำน้อย สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิ ๖๒ เปรียบเหมือนสัตว์ใหญ่ กิริยาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความที่สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิทั้งหมดตกอยู่ภายในข่ายคือพระธรรมเทศนา เปรียบเหมือนกิริยาที่ชาวประมงนั้น ยืนแลดูอยู่ริมฝัง เห็นสัตว์ใหญ่ๆ อยู่ภายในข่ายฉะนั้น.

    การเทียบเคียงด้วยข้ออุปมาในพระธรรมเทศนานี้ พึงทราบด้วยประการฉะนี้.

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่สมณพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิทั้งหมดเป็นผู้นับเนื่องในข่ายคือพระธรรมเทศนานี้ เพราะทิฏฐิทั้งหมดสงเคราะห์เข้าด้วยทิฏฐิ ๖๒ เหล่านี้ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความที่พระองค์เป็นผู้นับเนื่องในข้อไหนๆ จึงตรัสพระบาลีว่า อุจฺฉินฺนภวเนตฺติโก ภิกฺขเว ตถาคตสฺส กาโย ดังนี้เป็นต้น.

    ในพระบาลีนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

    ที่ชื่อว่า เนตฺติ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องนําไป.

    บทว่า นยนฺติ แปลว่า ผูกคอฉุดมา.

    นี้เป็นชื่อของเชือก. ก็ในที่นี้ ภวตัณหาทรงประสงค์เอาว่า เนตฺติ เพราะเป็นเช่นกับเชือกเครื่องนําไป. จริงอยู่ ภวตัณหานั้น ย่อมผูกคอมหาชน นําไป คือนําเข้าไปสู่ภพนั้นๆ เหตุนั้น จึงชื่อว่า ภวเนตฺติ.ตัณหาเครื่องนําสัตว์ไปสู่ภพนั้น แห่งกายของพระตถาคต ขาดแล้วด้วย

 
  ข้อความที่ 214  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 281

ศัสตราคืออรหัตตมรรค เหตุนั้น กายของพระตถาคตจึงชื่อว่า มีตัณหาเครื่องนําสัตว์ไปสู่ภพขาดแล้ว.

    บทว่า กายสฺส เภทา อุทฺธํ ความว่า ต่อจากกายแตกไป.

    บทว่า ชีวิตปริยาทานา ความว่า เพราะสิ้นชีวิตแล้ว คือสิ้นรอบแล้วโดยประการทั้งปวง เพราะไม่ปฏิสนธิต่อไป.

    บทว่า น ตํ ทุกฺขนฺติ ความว่า เทวดาก็ดี มนุษย์ก็ดี จักไม่เห็นพระตถาคตนั้น จักถึงความเป็นผู้หาบัญญัติมิได้.

    ก็ในคําอุปมาว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น มีคําเทียบเคียงดังต่อไปนี้.

    ก็กายของพระตถาคต เปรียบเหมือนต้นมะม่วง ตัณหาที่อาศัยกายนี้เป็นไปในภพก่อน เปรียบเหมือนขั้วใหญ่ ซึ่งเกิดที่ต้น เมื่อยังมีตัณหาอยู่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ซึ่งเป็นสภาพติดอยู่กับตัณหาจะเกิดต่อไป เปรียบเหมือนพวงมะม่วงสุก ประมาณ ๕ ผลบ้าง ๑๒ ผลบ้าง ๑๘ ผลบ้าง ติดอยู่ที่ขั้วนั้น. เหมือนอย่างว่า เมื่อขั้วนั้นขาด มะม่วงเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมติดขั้วนั้นไป อธิบายว่า ไปตามขั้วนั้นแหละ ขาดไปเช่นเดียวกัน เพราะขั้วขาด ข้อนั้นฉันใด ขั้วตัณหาเครื่องนําสัตว์ไปสู่ภพยังไม่ขาด ก็พึงเป็นเหตุให้เกิดขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมติดตามขั้วตัณหาเครื่องนําสัตว์ไปสู่ภพนั้น อธิบายว่า ไปตามตัณหาเครื่องนําสัตว์ไปสู่ภพ เมื่อตัณหานั้นขาดแล้ว ก็ขาดไปเช่นเดียวกัน เหมือนฉันนั้นทีเดียว.

    อนึ่ง เมื่อต้นไม้แม้นั้น อาศัยผัสสะอันเป็นพิษของหนามกระเบนซูบซีดลงโดยลําดับ ตายแล้วก็ย่อมจะมีแต่เพียงโวหารว่า ณ ที่นี้ได้มีต้นไม้

 
  ข้อความที่ 215  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 282

ชื่อนี้เท่านั้น ใครๆ มิได้เห็นต้นไม้นั้น ข้อนี้ฉันใด เมื่อกายนี้อาศัยสัมผัสอริยมรรค เพราะยางคือตัณหาสิ้นไปแล้ว จึงเป็นดังซูบซีดลงตามลําดับ แตกทําลายไป ต่อจากกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นแม้ซึ่งพระตถาคต จักมีแต่เพียงโวหารว่า ได้ยินว่า นี้เป็นศาสนาของพระศาสดาซึ่งเห็นปานนี้เท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงพระธรรมเทศนาถึงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ด้วยประการฉะนี้.

    ข้อว่า เอวํ วุตฺเต อายสฺมา อานนฺโท ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้อย่างนี้แล้ว พระอานนทเถระได้ประมวลพระสูตรทั้งหมดตั้งแต่ต้นมา แล้วคิดว่า เราจักแสดงกําลังของพระพุทธเจ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงขนานนามพระสูตรที่ตรัส อย่ากระนั้นเลยเราจักกราบทูลให้ทรงขนานนามพระสูตรที่ตรัสนั้น ดังนี้แล้วจึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้.

    ในบทว่า ตสฺมาติห ตฺวํ ดังนี้เป็นต้น มีคําประกอบความดังต่อไปนี้

    ดูก่อนอานนท์ เพราะในธรรมบรรยายนี้ เราจักได้จําแนกทั้งประโยชน์ในโลกนี้ ทั้งประโยชน์ในโลกหน้า ฉะนั้นแล เธอจงทรงจําธรรมบรรยายนี้ว่า อรรถชาละ บ้าง อนึ่ง เพราะในธรรมบรรยายนี้ เราได้กล่าวธรรมอันเป็นแบบแผนเป็นอันมาก ฉะนั้น เธอจงทรงจําธรรมบรรยายอันเป็นแบบแผนนี้ว่า ธรรมชาละบ้าง อนึ่ง เพราะในธรรมบรรยายนี้ เราได้จําแนกพระสัพพัญุตญาณ อันชื่อว่า พรหม ด้วยอรรถว่า ประเสริฐสุด ฉะนั้น เธอจงทรงจําธรรมบรรยายนี้ว่า พรหมชาละบ้าง เพราะในธรรมบรรยายนี้ เราได้จําแนกทิฏฐิ ๖๒ ฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 216  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 283

เธอทรงจําธรรมบรรยายนี้ว่า ทิฏฐิชาละบ้าง อนึ่ง เพราะใครๆ ฟังธรรมบรรยายนี้แล้ว อาจจะย่ํายีเทวบุตรมารบ้าง ขันธมารบ้าง มัจจุมารบ้าง กิเลสมารบ้าง ฉะนั้น เธอจงทรงจําธรรมบรรยายนี้ว่า พิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้าง ดังนี้แล.

    บทว่า อิทมโวจ ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรทั้งสิ้นนี้ จําเดิมแต่จบคํานิทานจนถึงที่ตรัสว่า เธอจงทรงจําธรรมบรรยายนี้ว่า พิชัยสงความอันยอดเยี่ยมดังนี้ ทรงประกาศพระสัพพัญุตญาณ อันลึกซึ้งอย่างยิ่ง ซึ่งมีที่ตั้งอาศัยอันใครๆ ไม่พึงได้ด้วยปัญญาของชนเหล่าอื่น ทรงกําจัดมืดมนใหญ่คือทิฏฐิ ดุจพระอาทิตย์กําจัดความมืดฉะนั้น.

    บทว่า อตฺตมนา เต ภิกฺขู ความว่า ภิกษุเหล่านั้น ต่างมีใจชื่นบานเป็นของตนเอง อธิบายว่า เป็นผู้มีจิตฟูขึ้นด้วยปีติอันไปในพระพุทธเจ้า.

    บทว่า ภควโต ภาสิตํ ความว่า พระสูตรนี้ประกอบด้วยเทศนาวิลาสมีนัยอันวิจิตรอย่างนี้ คือเป็นพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะ ดังเสียงนกการเวก เสนาะโสต เป็นพระสุรเสียงเพียงดังเสียงแห่งพรหม เช่นกับทรงโสรจสรงน้ำอมฤตลงในหทัยแห่งบัณฑิตชน.

    บทว่า อภินนฺทุํ ความว่า อนุโมทนาด้วย รับรองด้วย.

    ก็ อภินนฺท ศัพท์นี้ มาในอรรถว่า ตัณหา ก็มี เช่นในคําว่า อภินนฺทติ อภิภวติ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมกล่าวสรรเสริญ เป็นต้น.

    มาในอรรถว่า เข้าไปใกล้ ก็มี เช่นในประโยคว่า เทวดาและ

 
  ข้อความที่ 217  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 284

มนุษย์ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างก็เข้าไปใกล้อาหารเป็นต้น.

    มาในอรรถว่า รับรอง ก็มี เช่นในประโยคว่า

    ญาติมิตรและผู้มีใจดี ย่อมรับรองบุคคลผู้ร้างแรมไปนาน แล้วกลับจากที่ไกลมาโดยสวัสดีเป็นต้น.

    มาในอรรถว่า อนุโมทนา ก็มี เช่นในประโยคว่า

    อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา แปลว่า เพลิดเพลินแล้ว อนุโมทนาแล้วเป็นต้น.

    อภินนฺท ศัพท์นี้นั้น ในที่นี้ย่อมควรในความว่า อนุโมทนาและรับรอง ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า บทว่า อภินนฺทุํ ความว่า อนุโมทนาด้วย รับรองด้วย ดังนี้.

    ภิกษุทั้งหลายต่างอนุโมทนาสุภาษิต ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้คงที่ตรัสดีแล้ว รับรองด้วยเศียรเกล้าว่า สาธุ สาธุ ดังนี้แล.

    บทว่า อิมสฺมิฺจ ปน เวยฺยากรณสฺมึ ความว่า พระสูตรอันไม่มีคาถาปนนี้. ก็พระสูตรนี้ เรียกว่า ไวยากรณ์ เพราะไม่มีคาถาปน

    บทว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุ ความว่า โลกธาตุประมาณหมื่นจักรวาล.

    บทว่า อกมฺปิตฺถ พึงทราบว่า ได้ไหวในเมื่อจบพระสูตรทีเดียวหามิได้ ข้อนี้สมดังที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ว่า เมื่อกําลังตรัสอยู่ ฉะนั้นพึงทราบว่า เมื่อกําลังทรงแสดงคลี่คลายทิฏฐิ ๖๒ อยู่ ได้ไหวแล้วในฐานะ ๖๒ ประการ คือเมื่อเทศนาทิฏฐินั้นๆ จบลงๆ .

 
  ข้อความที่ 218  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 285

    ในข้อนั้น พึงทราบแผ่นดินไหวด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ

    ๑. ธาตุกําเริบ

    ๒. อานุภาพของผู้มีฤทธิ์

    ๓. พระโพธิสัตว์ก้าวลงสู่พระครรภ์

    ๔. เสด็จออกจากครรภ์พระมารดา

    ๕. บรรลุพระสัมโพธิญาณ

    ๖. ทรงแสดงพระธรรมจักร

    ๗. ทรงปลงอายุสังขาร

    ๘. เสด็จดับขันธปรินิพพาน

    วินิจฉัยเหตุแม้เหล่านั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวในคราววรรณนาพระบาลีที่มาในมหาปรินิพพานสูตรอย่างนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ เหตุ ปัจจัย ๘ เหล่านี้แล ที่ให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ ดังนี้ทีเดียว. ก็แผ่นดินใหญ่นี้ได้ไหวในฐานะ ๘ แม้อื่น คือ

    ๑. คราวเสด็จมหาภิเนษกรมณ์

    ๒. คราวเสด็จเข้าสู่โพธิมัณฑสถาน

    ๓. คราวรับผ้าบังสุกุล

    ๔. คราวซักผ้าบังสุกุล

    ๕. คราวแสดงกาลามสูตร

    ๖. คราวแสดงโคตมกสูตร

    ๗. คราวแสดงเวสสันดรชาดก

    ๘. คราวแสดงพรหมชาลสูตรนี้

    ใน ๘ คราวนั้น คราวเสด็จมหาภิเนษกรมณ์ และคราวเสด็จเข้า

 
  ข้อความที่ 219  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 286

สู่โพธิมัณฑสถาน แผ่นดินได้ไหวด้วยกําลังแห่งพระวิริยะ คราวรับผ้าบังสุกุล แผ่นดินถูกกําลังความอัศจรรย์กระทบแล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละมหาทวีป ๔ อันมีทวีปสองพันเป็นบริวาร ออกผนวชไปสู่ป่าช้าถือเอาผ้าบังสุกุล ได้ทรงกระทํากรรมที่ทําได้ยาก ดังนี้ ได้ไหวแล้วคราวซักผ้าบังสุกุล และคราวแสดงเวสสันดรชาดก แผ่นดินได้ไหวด้วยความไหวมิใช่กาล คราวแสดงกาลามสูตร และคราวแสดงโคตมกสูตร แผ่นดินได้ไหวด้วยความเป็นสักขีว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอเป็นสักขี แต่คราวแสดงพรหมชาลสูตรนี้ เมื่อทรงแสดงสะสางคลี่คลายทิฏฐิ ๖๒ ประการอยู่ พึงทราบว่า ได้ไหวด้วยอํานาจถวายสาธุการ.

    อนึ่ง มิใช่แต่ในฐานะเหล่านี้อย่างเดียวเท่านั้น ที่แผ่นดินไหว ที่จริงแผ่นดินไหวแล้ว แม้ในคราวสังคายนาทั้ง ๓ ครั้ง แม้ในวันที่พระมหินทเถระมาสู่ทวีปนี้ นั่งแสดงธรรมในชาติวัน และเมื่อพระบิณฑปาติยเถระกวาดลานพระเจดีย์ในกัลยาณีวิหาร แล้วนั่งที่ลานพระเจดีย์นั้นแหละ ยึดปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เริ่มสวดพระสูตรนี้เวลาจบพระสูตร แผ่นดินได้ไหวไปถึงน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุด. มีสถานที่ชื่ออัมพลัฏฐิกะอยู่ด้านทิศตะวันออกของโลหปราสาท พระเถระผู้กล่าวคัมภีร์ทีฆนิกายนั่งในสถานที่นั้น เริ่มสวดพรหมชาลสูตร แม้ในเวลาที่พระเถระเหล่านั้นสวดจบ แผ่นดินก็ได้ไหวไปถึงน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุดเหมือนกัน ดังนี้แล.

    ด้วยอานุภาพแห่งพระสูตรอันประเสริฐใด ที่พระสยัมภูได้ทรงแสดงแล้ว แผ่นดินได้ไหวหลายครั้ง

 
  ข้อความที่ 220  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 287

อย่างนี้ ขอบัณฑิตทั้งหลายจงศึกษาโดยเคารพ ซึ่งอรรถธรรมของพระสูตรนั้น อันมีชื่อว่า พรหมชาลสูตรในพระศาสนานี้ แล้วปฏิบัติโดยอุบายอันแยบคาย เทอญ

    วรรณนาพรหมชาลสูตร อันดับที่ ๑ ในสุมังคลวิลาสินี อรรถกถา ทีฆนิกาย

    จบแล้วด้วยประการฉะนี้