พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ชาลิยสูตร เรื่องมัณฑิยปริพาชก และชาลิปริพายก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  14 ก.ค. 2564
หมายเลข  34621
อ่าน  772
  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 113

๗. ชาลิยสูตร

เรื่องมัณฑิยปริพาชก และชาลิปริพายก

[๒๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี. ครั้งนั้น บรรพชิตสองรูป คือ ปริพาชก ชื่อ มัณฑิยะ ชาลิยะ อันเตวาสิก ของบรรพชิตผู้ใช้บาตรไม้ ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระโคดม ชีวะอันนั้น สรีระอันนั้น หรือ ชีวะอันอื่น สรีระอันอื่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เธอฟังเถิด ทําในใจจงดีเถิด เราจักกล่าว. บรรพชิตสองรูปนั้นทูลรับว่า จักทําตามแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า แน่ะเธอ พระตถาคตเสด็จอุบัติ ในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ [พึงดูพิสดารในสามัญญผลสูตร] ฯลฯ แน่ะเธอ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้แล. เข้าถึงปฐมฌานอยู่.

[๒๕๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า แน่ะเธอ ภิกษุผู้รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ควรจะกล่าวว่า ชีวะอันนั้น สรีระอันนั้น หรือว่าชีวะอันอื่น สรีระอันอื่น. แน่ะเธอ ภิกษุผู้รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ไม่สมควรกล่าวอย่างนั้นว่า ฯลฯ ก็เรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจึงไม่กล่าวว่า ชีวะอันนั้น สรีระอันนั้น หรือว่า ชีวะอันอื่น สรีระอันอื่น. ทุติยฌาน. ตติยฌาน. เข้าถึงจตุตถฌานอยู่.

[๒๕๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า แน่ะเธอ ภิกษุผู้รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ สมควรหรือที่จะกล่าวว่า ชีวะอันนั้น สรีระอันนั้น หรือว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 114

ชีวะอันอื่น สรีระอันอื่น แน่ะเธอ ภิกษุผู้รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ไม่สมควรกล่าวว่า ชีวะอันนั้น สรีระอันนั้น หรือว่าชีวะอันอื่น สรีระอันอื่น. แน่ะเธอ ก็เรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจึงไม่กล่าวว่า ชีวะอันนั้น สรีระอันนั้น หรือว่าชีวะอันอื่น สรีระอันอื่น. ภิกษุนําไปเฉพาะ น้อมไปเฉพาะ ซึ่งจิตเพื่อญาณทัสสนะ. แน่ะเธอ ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

    [๒๕๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า แน่ะเธอ ภิกษุผู้รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ สมควรหรือที่จะกล่าวว่า ชีวะอันนั้น สรีระอันนั้น หรือว่าชีวะอันอื่น สรีระอันอื่น. แน่ะเธอ ภิกษุผู้รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ไม่สมควร กล่าวว่า ชีวะอันนั้น สรีระอันนั้น หรือว่าชีวะอันอื่น สรีระอันอื่น. แน่ะเธอ ก็เรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจึงไม่กล่าวว่า ชีวะอันนั้น สรีระอันนั้น หรือว่า ชีวะอันอื่น สรีระอันอื่น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้. บรรพชิตสองรูปนั้นดีใจชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วแล.

    จบชาลิยสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 115

อรรถกถาชาลิสูตร

(เดิมไม่ได้แปลไว้)

ชาลิยสูตรว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ฯลฯ ในกรุงโกสัมพี เป็นต้น

ใน ชาลิยสูตร นั้น มีการพรรณนาตามลําดับบท ดังต่อไปนี้. บทว่า โฆสิตาราเม ความว่า ในอารามที่โฆษิตเศรษฐีสร้างถวาย.

ได้ยินว่าในกาลก่อน ได้มีนครแห่งหนึ่งชื่อ ทมิฬรัฐ. จากนครนั้นบุรุษเข็ญใจชื่อ โกตูหลิก พร้อมกับบุตร และภรรยาหนีไปสู่ อวันตีรัฐ เพราะฉาตกภัย เมื่อไม่อาจนําบุตรไปได้จึงทิ้งบุตรเสียแล้วเดินทางต่อไป. มารดากลับไปรับเอาบุตรนั้น. เขาจึงพากันไปยังบ้านนายโคบาลแห่งหนึ่ง. ก็ในกาลนั้น นายโคบาล ได้ตระเตรียมข้าวปายาสไว้มาก. เขาได้กินข้าวปายาสนั้น. ลําดับนั้นแล บุรุษนั้นกินข้าวปายาสมาก ไม่อาจจะให้ย่อยได้ ตกกลางคืนได้ตายไป ถือปฏิสนธิในท้องแม่สุนัข เกิดเป็นลูกสุนัขน้อย ในบ้านนายโคบาลนั้นเทียว. ลูกสุนัขน้อยนั้นเป็นที่รักของนายโคบาล. และนายโคบาลบํารุงอุปัฏฐาก พระปัจเจกพุทธเจ้า. ฝ่ายพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ให้ก้อนข้าวก้อนหนึ่งๆ แก่ลูกสุนัขน้อย ในกาลเสร็จภัตกิจ. ลูกสุนัขน้อยนั้น เกิดความรักในพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงไปยังบรรณศาลา พร้อมกับนายโคบาล. ครั้นนายโคบาลไม่ใช้ไป ก็ไปเอง ในเวลาภัต เฝ้าอยู่ที่ประตูบรรณศาลา เพื่อรอเวลาและเฝ้าดูสัตว์ร้าย ในระหว่างทางให้สัตว์ร้ายหนีไป. สุนัขน้อยนั้นตาย ไปเกิดในเทวโลก ด้วยจิตอ่อนน้อม ในพระปัจเจกพุทธะ. ในเทวโลกนั้น เขาจึงมีชื่อว่า โฆสกเทวบุตร.

โฆสกเทวบุตรนั้น จุติจากเทวโลกแล้ว ไปเกิดในเรือนตระกูลหนึ่ง ในกรุงโกสัมพี. เศรษฐีไม่มีบุตร ได้ให้ทรัพย์แก่บิดามารดาของทารกนั้น ได้

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 116

รับเขาเป็นบุตร. ต่อมาครั้นบุตรของตนเกิด เศรษฐีก็พยายามให้ฆ่าเขาถึงเจ็ดครั้ง. เขาไม่ถึงความตายในที่เจ็ดแห่ง เพราะค่าที่ตนเป็นผู้มีบุญ ในที่สุดก็ได้ชีวิตรอดมา เพราะความช่วยเหลือของ ธิดาเศรษฐีคนหนึ่ง. ในกาลต่อมาเมื่อบิดาล่วงลับไป เขาจึงได้ตําแหน่งเศรษฐีชื่อว่า โฆษิตเศรษฐี.

    ก็ในกรุงโกสัมพี ยังมีเศรษฐีอีกสองคน คือ กุกกุฏเศรษฐี และปาวาริกเศรษฐี รวมเป็น ๓ คนกับโฆษิตเศรษฐีนี้. ก็โดยสมัยนั้น ดาบส ๕๐๐ คน จากป่าหิมพานต์ พากันไปยังกรุงโกสัมพี เพื่อตากอากาศอบอุ่น. เศรษฐีสามคนนั้น ได้สร้างบรรณกุฏิในอุทยานของตนๆ ทําการบํารุงแก่ดาบสเหล่านั้น. อยู่มาวันหนึ่ง ดาบสเหล่านั้นมาจากป่าหิมพานต์ ได้รับหนาวจัดลําบากในทางกันดารมาก ถึงต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง พากันนั่งรอรับการสงเคราะห์ จากสํานักของเทวดา ที่สิงสถิตอยู่ในต้นไทรนั้น. เทวดาได้เหยียดแขน ซึ่งประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ให้วัตถุมีน้ำดื่มน้ำใช้ เป็นต้น แก่ดาบสเหล่านั้น บรรเทาความลําบาก.

    ดาบสเหล่านั้น ยิ้มแย้มด้วยอานุภาพแห่งเทวดา จึงถามว่า ข้าแต่เทพท่านทํากรรมอะไรหนอแล จึงได้สมบัตินี้. เทวดากล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า พุทธ ได้เกิดแล้วในโลก บัดนี้พระองค์ประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีบํารุง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ในวันอุโบสถทั้งหลาย ท่านอนาถบิณฑิกะให้ภัต และค่าจ้างตามปกติแก่ลูกจ้างของตนแล้ว ให้รักษาอุโบสถศีล อยู่มาวันหนึ่งในเวลาเที่ยงวัน ข้าพเจ้ามาเพื่อประโยชน์แก่อาหารเช้า ได้เห็นท่านอนาถบิณฑิกะ ไม่ทําการงานเกี่ยวกับลูกจ้างอะไรเลย จึงถามว่า ในวันนี้มนุษย์ทั้งหลาย ไม่ทําการงานเพราะเหตุอะไร เขาเหล่านั้นได้บอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้า ลําดับนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าว

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 117

คํานี้ว่า บัดนี้ได้ล่วงไปครึ่งวันแล้ว ข้าพเจ้าอาจเพื่อรักษาอุโบสถครึ่งหนึ่ง หรือหนอแล แต่นั้นท่านเศรษฐีให้ดีใจ แล้วพูดว่าอาจรักษาได้ ข้าพเจ้านั้นจึงได้สมาทานอุโบสถ ครึ่งในครึ่งวัน ได้ทํากาลกิริยาในวันนั้นเทียวจึงได้รับสมบัตินี้.

    ลําดับนั้น ดาบสเหล่านั้นเกิดปิติปราโมทย์ว่า ได้ยินว่า พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ประสงค์จะไปสู่กรุงสาวัตถี จากนั้นพากันไปสู่กรุงโกสัมพีด้วยคิดว่า เศรษฐีผู้บํารุงมีอุปการะมากแก่พวกเรา พวกเราจักบอกเนื้อความนี้แก่เศรษฐีแม้เหล่านั้น ผู้อันเศรษฐีทั้งหลายกระทําสักการะมากมาย จึงกล่าวว่าพวกเราจะไปในเวลานั้นเทียว. ผู้อันเศรษฐีทั้งหลายกล่าวว่า ท่านรีบร้อนอะไรหนอ ในกาลก่อนพวกท่านจะอยู่ตลอดสี่เดือนจึงไป ได้บอกประวัตินั้น. และครั้นเศรษฐีทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน ถ้าอย่างนั้นพวกเราจะไปพร้อมกัน จึงกล่าวว่าพวกเราจะไป ขอให้พวกท่านค่อยตามมา แล้วไปสู่กรุงสาวัตถี บวชในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้บรรลุพระอรหัต. ฝ่ายเศรษฐีเหล่านั้น มีเกวียนคนละ ๕๐๐ เล่มเป็นบริวารไปสู่กรุงสาวัตถี ได้ทํากิจมีทาน เป็นต้น ทูลขอพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์เสด็จมาสู่กรุงโกสัมพี กลับมาสร้างวัดสามแห่ง. ในเศรษฐีเหล่านั้น กุกุกุฏเศรษฐีสร้างวัด ชื่อว่า กุกกุฏาราม ปาวาริกเศรษฐีสร้างวัด ชื่อ ปาวาริกัมพวัน ท่านโฆษิตเศรษฐีสร้างวัด ชื่อ โฆษิตาราม. ท่านหมายถึงโฆษิตารามนั้น จึงกล่าวว่า โกสุมฺพิยํ วิหรติ โฆสิตาราเม ดังนี้.

    บทว่า มณฺฑิโย นี้ เป็นชื่อของบรรพชิตนั้น. บทว่า ชาลิโย แม้นี้ เป็นชื่อของบรรพชิตอีกรูปหนึ่งเหมือนกัน. ก็เพราะพระอุปัชฌาย์ของชาลิยะนั้น เที่ยวบิณฑบาตด้วยบาตรทําด้วยไม้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 118

ทารุปตฺติกนฺเตวาสี. บทว่า เอตทโวจุํ ความว่าบรรพชิตทั้งสองประสงค์จะทูลบอกวาทะโดยประสงค์จะโต้ตอบ จึงทูลเนื้อความนั่น. ได้ยินว่าบรรพชิตสองรูปนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าพระสมณโคดมตรัสว่า ชีวะอันนั้น สรีระอันนั้น ลําดับนั้น พวกเราก็จักยกวาทะนั่นของพระสมณโคดมนั้นว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ตามลัทธิของท่าน สัตว์ในโลกนี้เทียว จะดับสูญ ด้วยเหตุนั้นวาทะของพระองค์ท่าน ย่อมเป็นอุจเฉทวาทะ แต่ถ้าตรัสว่า ชีวะอันอื่นสรีระอันอื่น ลําดับนั้น พวกเราจักยกวาทะของพระสมณโคดมนั้นว่า ในวาทะของท่านรูปย่อมดับสูญ สัตว์ย่อมไม่ดับสูญ เพราะเหตุนั้น วาทะของพระองค์ท่าน สัตว์ก็จะเที่ยงดังนี้.

    ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดําริว่า บรรพชิตเหล่านี้ ย่อมถามปัญหาเพื่อประโยชน์แก่การยกวาทะ แต่บรรพชิตเหล่านี้ ไม่อ้างอิงที่สุดสองอย่างในศาสนาของเรา จึงไม่รู้ว่ามัชฌิมาปฏิปทามีอยู่ เอาละ เราจะไม่แก้ปัญหาของบรรพชิตเหล่านั้น จะแสดงธรรม เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งปฏิปทาเห็นปานนี้ แม้นั้น จึงตรัสว่า เตนหาวุโส ดังนี้ เป็นต้น.

    ในบทเหล่านั้น บทว่า กลฺลํ นุโข ตสฺเสตํ วจนาย ความว่า บรรพชิตผู้บวชด้วยศรัทธาบําเพ็ญศีล ๓ อย่างบรรลุปฐมฌานนั้น สมควรกล่าวคํานั้นหรือหนอ อธิบายว่า คํานั้นควรเพื่อกล่าวด้วยคําพูด. ปริพาชกทั้งหลายได้ฟังพระพุทธพจน์นั้นแล้ว สําคัญอยู่ว่า ธรรมดาปุถุชนย่อมไม่สิ้นความสงสัย เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนั้นในบางคราว จึงกล่าวว่า กลฺลํ ตสฺเสตํ วจนาย ดังนี้. บทว่า อถ จ ปนาหํ น วทามิ ความว่า เราตั้งสัญญาว่า ความข้อนั้นเรารู้อย่างนี้ จึงไม่กล่าวอย่างนั้น ถ้าและเมื่อภิกษุ กระทํากสิณบริกรรมเจริญอยู่ มหัคคตจิตนั้นก็เกิดขึ้นด้วยกําลังปัญญา. บทว่า น กลฺลํ ตสฺเสตํ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 119

ความว่า ปริพาชกเหล่านั้น สําคัญความข้อนี้กล่าวว่า พระขีณาสพปราศจาก ความงมงาย ปราศจากความสงสัย เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น พระขีณาสพนั้น จึงไม่ควรกล่าวความข้อนั้น. บทที่เหลือ ในชาลิยสูตร นั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

อรรถกถาชาลิยสูตร ในอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อ สุมังคลวิลาสินี จบเพียงเท่านี้.

    จบ อรรถกถาชาลิสูตรที่ ๗