พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถถกถามหาสุทัสสนสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  15 ก.ค. 2564
หมายเลข  34636
อ่าน  881

[เล่มที่ 13] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 501

๔. มหาสุทัสสนสูตร

อรรถถกถามหาสุทัสสนสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 13]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 501

อรรถถกถามหาสุทัสสนสูตร

มหาสุทัสสนสูตรขึ้นต้นว่าข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้. การพรรณนาตามลําดับบทในมหาสุทัสสนสูตรนั้นมีดังนี้ ในคําว่า เอาแก้วทุกอย่างมาสร้างปนกัน นั้น อิฐก้อนหนึ่งทําด้วยทอง ก้อนหนึ่งทําด้วยเงิน ก้อนหนึ่งทําด้วยแก้วไพฑูรย์ ก้อนหนึ่งทําด้วยแก้วผลึก ก้อนหนึ่งทําด้วยโกเมน ก้อนหนึ่งทําด้วยบุษราคัม ก้อนหนึ่งทําด้วยรัตนะทุกอย่าง กําแพงนี้อยู่ภายในกําแพง ทั้งหมดสูงประมาณ ๖๐ ศอก แต่พระเถระพวกหนึ่งกล่าวว่า ชื่อว่านคร เมื่อคนยืนอยู่ภายในแลดูก็จะมีสัณฐานกลม เพราะฉะนั้น กําแพงที่อยู่ข้างนอกทั้งหมดจึงสูง ๖๐ ศอก กําแพงที่เหลือจึงต่ําโดยลําดับ. พวกหนึ่งกล่าวว่า นครนี้ เมื่อคนยืนอยู่ภายนอกแลดูก็จะมีสัณฐานกลม เพราะฉะนั้น กําแพงในที่สุดจึงสูง ๖๐ ศอก กําแพงที่เหลือจึงต่ําโดยลําดับ. พวกหนึ่งกล่าวว่า นครนี้ เมื่อคนยืนอยู่ภายในและภายนอกแลดูก็จะมีสัณฐานกลม เพราะฉะนั้น กําแพงในท่ามกลางจึงสูง ๖๐ ศอก กําแพงภายใน ๓ แห่งและภายนอก ๓ แห่งจึงต่ําโดยลําดับ.

บทว่า เอกสิกา คือ เสาระเนียด. บทว่า ติโปริสงฺคา ความว่า แขนบุรุษคนหนึ่งพันแขนกัน ๓ คนรวมกันเป็น ๑๕ แขน ก็เสาระเนียดเหล่านั้นตั้งอยู่อย่างไร. โดยข้างนอกพระนครใกล้ปีกพระทวารใหญ่แต่ละแห่งมีเสาระเนียดแห่งละ ๑ ต้น ใกล้ปีกพระทวารเล็กแต่ละแห่ง มีเสาระเนียดแห่งละ ๑ ต้น ระหว่างพระทวารใหญ่และพระทวารเล็กแห่งละ ๓ ต้น.

บรรดาต้นตาลที่ทําด้วยรัตนะทั้งหมดในแถวตาลทั้งหลาย ตาลต้นหนึ่งทําด้วยทอง เพราะฉะนั้น พึงทราบลักษณะที่กล่าวแล้วในกําแพงนั่นเทียว.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 502

แม้ในใบและผลทั้งหลายก็มีนัยเช่นเดียวกัน. ก็แถวตาลเหล่านั้นสูง ๘๐ ศอก ตั้งอยู่ในระหว่างกําแพงแห่งละ ๑ แถว ในพื้นที่ราบเรียบซึ่งเกลี่ยด้วยทราย. บทว่า วคฺคู แปลว่า ฉลาดดี. บทว่า รชนีโย แปลว่า สามารถเพื่อกําหนัด. บทว่า กมนีโย แปลว่า เมื่อฟังแม้ตลอดวันก็ไม่เบื่อ. บทว่า มทนีโย แปลว่า ทําให้เกิดเมาใจ เมาคน. บทว่า ปฺจงฺคิกสฺส ความว่า ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ คือ อาตฏะ วิตฏะ อาตฏวิตฏะ สุริระ ฆนะ. ในองค์ ๕ ประการนั้น ดุริยางค์ที่หุ้มหนังหน้าเดียว ในบรรดากลองเป็นต้นซึ่งหุ้มด้วยหนัง ชื่อว่าอาตฏะ ดุริยางค์ที่หุ้มทั้ง ๒ หน้า ชื่อว่า วิตฏะ ดุริยางค์ที่หุ้มทั้งหมด ชื่อว่า อาตฏวิตฏะ. ปีแลสังข์เป็นต้น ชื่อว่า สุสิระ. สัมมตาลเป็นต้น ชื่อว่า ฆนะ. บทว่า สุวินีตสฺส ความว่า ขึงดีแล้ว ด้วยทําให้หย่อนเป็นต้น. บทว่า สุปฏิตาพิตสฺส ความว่า ตีเทียบดีแล้ว เพื่อให้รู้ว่าพอดี. บทว่า กุสเลหิ สมนฺนาหตสฺส ความว่า บรรเลงโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งสามารถที่จะบรรเลง. บทว่า ธุตฺตา แปลว่า นักเลงการพนัน. บทว่า โสณฺฑา ความว่า นักเลงสุรา. นักเลงสุราเหล่านั้นเทียวชื่อว่านักดื่ม ด้วยความสามารถดื่มได้บ่อยๆ. บทว่า ปริจาเรสุํ แปลว่า ถือจังหวะมือจังหวะเท้าฟ้อนเล่น. บทว่า สีสนฺหาตสฺส แปลว่า ทรงอาบด้วยน้ำกลิ่นหอมทั่วพระเศียร.

บทว่า อุโปสถิกสฺส ความว่า ทรงสมาทานองค์อุโบสถ. บทว่า อุปริปาสาทวรคตสฺส ความว่า เสด็จขึ้นปราสาทอันประเสริฐ ทรงเสวยพระกระยาหารแล้ว เสด็จเข้าไปยังห้องศิริ เบื้องบนคือบนพื้นใหญ่แห่งพระปราสาทอันประเสริฐ แล้วทรงระลึกถึงศีล. ได้ยินว่า ครั้งนั้นพระราชาทรงแก้ปัญหาตั้งแสนตั้งแต่เช้าตรู่ แล้วทรงถวายมหาทาน ทรงชําระพระเศียร ด้วยน้ำหอม ๑๖ หม้อ เสวยพระกระยาหารเช้า ทรงสพักสไบอันบริสุทธิ์ ประทับนั่งสมาธิในห้องบรรทมบนพระปราสาทอันประเสริฐ ทรง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 503

ระลึกถึงเหตุแห่งบุญ ซึ่งสําเร็จด้วยทาน ทมะ และสัญญมะ ของพระองค์. นี้เป็นธรรมดาของพระเจ้าจักรพรรดิทั้งปวง. เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิเหล่านั้นทรงระลึกถึงศีลอย่างนั้น จักรรัตนะอันเป็นทิพย์ เช่นกับก้อนแก้วมณีสีเขียวอันมีสมุฏฐานจากบุญกรรม ปัจจัยและฤดูดังกล่าวแล้ว ย่อมปรากฏเหมือนพื้นน้ำสมุทรด้านปราจีนถูกคลื่นพัด เหมือนอากาศอันประดับประดาแล้วฉะนั้น. จักรรัตนะนั้นได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิราชฉันนั้นเหมือนกัน.

จักรรัตนะนี้นั้น ท่านกล่าวว่าเป็นทิพย์ เพราะประกอบด้วยอานุภาพอันเป็นทิพย์. จักรรัตนะมีกําตั้งพัน จึงชื่อว่า สหสฺสารํ. มีกงและมีดุม จึงชื่อว่า สเนมิกํ สนาภิกํ. บริบูรณ์ด้วย อาการทั้งปวง จึงชื่อว่า สพฺพาการปริปูรํ.

จักรในมหาสุทัสสนสูตรนั้นด้วย เป็นรัตนะด้วย เพราะอรรถว่าให้เกิดความยินดี เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า จักรรัตนะ. ก็จักรรัตนะท่านกล่าวว่า สนาภิกํ ด้วยดุมใด ดุมนั้นทําด้วยแก้วมณีสีเขียว. ก็ท่ามกลางแห่งดุมซึ่งทําด้วยเงินแท้รุ่งโรจน์เหมือนเบียดเสียดด้วยระเบียบฟันที่ขาวสนิท. ล้อมด้วยแผ่นเงินทั้งภายนอกและภายในทั้งสอง เหมือนมณฑลแห่งจันทร์ที่มีจุดในท่ามกลางฉะนั้น. ก็ลวดลายที่แกะสลักในที่อันสมควรในแผ่นล้อมดุมและซี่นั้น ปรากฏว่าจัดแบ่งไว้เป็นอย่างดี. ความบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวงแห่งดุมแห่งจักรรัตน์เพียงเท่านี้ก่อน. จักรรัตนะนั้นท่านกล่าวว่า สหสฺสารํ ด้วยกําเหล่าใด กําเหล่านั้นทําด้วยรัตนะเจ็ดประการ ถึงพร้อมด้วยแสงสว่างเหมือนรัศมีแห่งพระอาทิตย์ฉะนั้น. อาการมีลวดลายสลักด้วยก้อนแก้วแห่งกําแม้เหล่านี้ปรากฏเป็นจักร แบ่งเป็นอย่างดีทีเดียว. นี้เป็นความสมบูรณ์โดยอาการทั้งปวงแห่งกําแห่งจักรรัตนะนั้น. อนึ่ง จักรรัตนะนั้นท่านกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 504

สเนมิกํ ด้วยกงใด กงนั้นทําด้วยแก้วประพาฬอันแดงจัด บริสุทธิ์สนิทเหมือนกับจะเยาะเย้ยศิริแห่งกลุ่มรัศมีพระอาทิตย์อ่อนๆ ฉะนั้น. ก็ในที่ต่อแห่งกงนั้นลวดลายที่สลักกลมมีศิริเป็นก้อนขาวแดงบริสุทธิ์ดี ดาดาษด้วยชมพูนุทสีแดงปรากฏเป็นอันจัดแบ่งไว้เป็นอย่างดี. นี้คือ ความบริบูรณ์โดยอาการทั้งปวงแห่งกงจักรรัตนะนั้น. ก็ในระหว่างกําทั้งสิบแห่งจักรรัตนะนั้น ในเบื้องหลังแห่งบริเวณกงมีก้อนแก้วประพาฬจับลม แกะสลักเป็นศีรษะภายในเหมือนกลุ่มควันฉะนั้น.

จักรรัตนะใดที่ต้องลมแล้ว มีเสียงไพเราะ ยวนใจ ชวนให้ฟัง ให้เคลิบเคลิ้มเหมือนเสียงดนตรีที่ประกอบด้วยองค์ห้าที่บรรเลงโดยผู้ชํานาญดีแล้วฉะนั้น ก็จักรรัตนะนั้น ในเบื้องบนแห่งคัน แก้วประพาฬมีฉัตรขาวในข้างทั้งสอง มีแถวลวดลายดอกทองคํารวมกันเป็นสองแถว ภายในดุมและซี่แม้ทั้งสอง ล้อมกงซึ่งงามพร้อมด้วยคันแก้วประพาฬร้อยคัน ทรงฉัตรขาวตั้งร้อย มีแถวลวดลายดอกทองคําที่รวมประชุมสองร้อยอย่างนี้เป็นบริวาร มีมุขสีหะสองมุข มีพวงแก้วมุกดาประมาณเท่าลําตาล ๒ พวงอันสวยงามเหมือนประกายแสงพระจันทร์เพ็ญ ดาดาษด้วยผ้ากัมพลสีแดงเสมอเหมือนดวงพระอาทิตย์อ่อนๆ รอนๆ จะเย้อความงามที่แผ่กระจายในอากาศและแม่น้ำคงคาฉะนั้น ห้อยระย้าอยู่ มีวงจักร ๓ วง พร้อมกับจักรรัตนะปรากฏเหมือนหมุนในอากาศพร้อมกันฉะนั้น นี้ความบริสุทธิ์ทุกอย่างโดยประการทั้งปวงแห่งจักรรัตนะนั้น.

ก็จักรรัตนะนี้นั้นสมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวงดังนี้ เหมือนกับมวลมนุษย์บริโภคอาหารเย็นตามปกติ นั่งบนอาสนะที่ปูลาดที่ประตูบ้านของตนๆ สนทนากัน เด็กๆ กําลังเล่นในทางสี่แพร่ง เป็นต้น ให้อากาศไม่สูงนักไม่ต่ํานักประมาณปลายไม้ให้สว่างไสวอยู่ เหมือนให้ได้ยินเสียงสัตว์ทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 505

ด้วยเสียงไพเราะซึ่งฟังได้ตั้งแต่ปลายกิ่งไม้ถึงสิบสองโยชน์ ทําให้นัยน์ตามองเห็นด้วยสีอันรุ่งเรืองด้วยแสงต่างๆ ถึงโยชน์ เหมือนกับโฆษณาบุญญานุภาพแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ กลับมายังราชธานี. ลําดับนั้น ด้วยการฟังเสียงจักรรัตนะนั่นเอง มวลมนุษย์ที่แลดูทิศตะวันออกมีจิตจดจ่อว่า นี้เป็นเสียงของใครจากที่ไหนหนอ ต่างก็กล่าวกะกันว่า ท่านผู้เจริญ ดูอัศจรรย์จริง แต่กาลก่อนพระจันทร์เพ็ญขึ้นเพียงดวงเดียว แต่วันนี้ไฉนจึงขึ้นเป็น ๒ ดวง ก็นั่นเป็นพระจันทร์เพ็ญคู่เหมือนราชหงษ์คู่ประดับท้องฟ้า เหมือนอย่างแต่กาลก่อน. คนอื่นก็กล่าวกะคนนั่นว่า พูดอะไรเพื่อน ท่านเคยเห็นพระจันทร์๒ ดวงขึ้นพร้อมกันแต่ที่ไหน นั่นเป็นพระอาทิตย์ทรงกลดมิใช่หรือ. คนอื่นยิ้มแล้วกล่าวกะคนนั้นว่า ท่านเป็นบ้าหรือ พระอาทิตย์พึงตกเดี๋ยวนี้มิใช่หรือ พระอาทิตย์นั้นจักขึ้นตามพระจันทร์เพ็ญนี้อย่างไร ก็นั่นจักเป็นวิมานของผู้มีบุญคนหนึ่งซึ่งรุ่งโรจน์ด้วยแสงรัตนะแน่แท้. มนุษย์แม้ทั้งหมดเหล่านั้น ต่างไม่เชื่อกัน ก็กล่าวกะคนเหล่าอื่นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ พูดมากไปทําไม นี้ไม่ใช่พระจันทร์เพ็ญ ไม่ใช่พระอาทิตย์ ไม่ใช่วิมานของเทพ และไม่ใช่ศิริสมบัติของเหล่าเทพปานนี้ แต่พึงเป็นจักรรัตนะอย่างหนึ่งแน่นอน. เมื่อชนนั้นสนทนากันอย่างนี้แล้ว จักรรัตนะนั้นก็ละเสียซึ่งมณฑลแห่งพระจันทร์มุ่งตรงต่อราชธานี.

แต่นั้น ถ้าพูดว่าจักรรัตนะนี้เกิดแก่ใครหนอ ก็จะมีคนพูดว่าจักรรัตนะนั่นไม่เกิดแก่ใครอื่น แต่เกิดแก่พระเจ้ามหาจักรพรรดิผู้มีพระบารมีบริบูรณ์ของพวกเรามิใช่หรือ. ลําดับนั้น มหาชนนั้นและชนผู้อื่นๆ ทั้งหมดก็ติดตามจักรรัตนะนั่นเทียว. จักรรัตนะแม้นั้น เหมือนประสงค์จะให้รู้ถึงภาวะเป็นไปแห่งตนเพื่อประโยชน์แก่พระเจ้าจักรพรรดิ วนเลียบพระนครสูงประมาณกําแพงถึง ๗ ครั้ง ทําประทักษิณพระนครของพระเจ้าจักรพรรดิแล้ว

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 506

ประดิษฐานอยู่ในที่เช่นสีหบัญชรด้านเหนือ ภายในแห่งราชธานีปรากฏเหมือนให้มหาชนสะดวกแก่การบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้นฉะนั้น. ก็เมื่อจักรรัตนะนั้นตั้งอยู่อย่างนี้แล้ว ก็จะมีพระราชาพระองค์ผู้ประสงค์จะทอดพระเนตรดูจักรรัตนะซึ่งมีกลุ่มแสงทําให้ภายในปราสาทสว่างไสวด้วยแสงรัตนะหลากสีซึ่งพุ่งออกมาทางช่องบานหน้าต่าง. แม้ปริชนผู้มากับพระราชานั้นก็ปรารภถึงคําน่ารักแห่งจักรรัตนะนั้น จึงประกาศเนื้อความนั้น.

ลําดับนั้น พระราชาทรงมีพระสรีระผุดผ่องด้วยพระปีติและปราโมทย์เป็นกําลัง ทรงเลิกสมาธิ เสด็จลุกขึ้นจากพระราชอาสน์ เสด็จไปใกล้สีหบัญชร ทรงเห็นจักรรัตนะนั้น ทรงพระดําริว่า ก็จักรรัตนะนั้นเราได้ฟังแล้ว ดังนี้เป็นต้น. จักรรัตนะนั้นทั้งหมดได้เป็นอย่างนั้นแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิราช. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า รฺโ มหาสุทสฺสนสฺส ฯเปฯ อสฺสํ นุโข อหํ ราชา จกฺกวตฺติ. ในบทนั้นมีอรรถว่า พระราชาพระองค์นั้นเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ. ถามว่า เป็นพระเจ้าจักรพรรดิด้วยเหตุมีประมาณเท่าใด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นจักรรัตนะพุ่งขึ้นไปสู่อากาศแม้เพียงหนึ่งองคุลีสององคุลี ทรงแสดงกิจจะพึงกระทําเพื่อยังจักรรัตนะนั้นเป็นไป ณ บัดนี้ จึงตรัสว่า อถโข อานนฺท เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า อุฏฺายาสนา ความว่า เสด็จลุกจากพระราชอาสนะที่ประทับแล้ว เสด็จมาใกล้จักรรัตนะ. บทว่า สุวณฺณภิงฺคารํ คเหตฺวา ความว่า ทรงยกพระสุวรรณภิงคารมีทะนานเช่นงวงช้าง.

บทว่า อนฺวเทว ราชา มหาสุทสฺสโน สทฺธึ จตุรงฺคินิยา เสนาย ความว่า ก็พระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิราชนั้น ทรงพระนามว่าจักรพรรดิชั่วกาลใกล้เคียงกับจักรรัตนะพุ่งขึ้นเวหา ใกล้เคียงกับพระเจ้าพรรดิทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 507

ทรงรินน้ำแล้วตรัสว่า ขอจักรรัตนะจงอภิชิตจักรภพ. ก็ครั้นจักรรัตนะเป็นไปแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเสด็จติดตามจักรรัตนะนั้น เสด็จไปยังยานอันประเสริฐแล้ว พุ่งขึ้นสู่เวหาส. ลําดับนั้น ปริชนและอันโตชนของพระราชานั้นถือฉัตรและจามรเป็นต้น ต่อจากนั้นหมู่อุปราชและเสนาบดีพร้อมกับพลกําลังประดับประดาด้วยเสื้อผ้าเกราะเป็นต้น รุ่งเรืองด้วยแสงอาภรณ์ต่างๆ ตกแต่งด้วยธงปฏากอันสวยงาม พุ่งขึ้นสู่เวหาสแวดล้อมพระราชา. ก็บรรดาเภรีราชยุตก็ให้ตีเที่ยวไปในถนนพระนครเพื่อสงเคราะห์ชนว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย จักรรัตนะได้บังเกิดแก่พระราชาของพวกเราแล้ว ท่านทั้งหลายจงตกแต่งประดับประดาตามสมควรแก่ทรัพย์ของตนๆ แล้วมาประชุม. และแม้มหาชนละกิจทั้งปวงตามปกติด้วยเสียงจักรรัตนะนั่นเทียว ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นประชุมกันแล้ว. มหาชนแม้นั้นทั้งหมด เหาะขึ้นเวหาสแวดล้อมพระราชานั่นเทียว. ก็มหาชนใดๆ ประสงค์จะไปกับพระราชา มหาชนนั้นๆ ก็ไปสู่อากาศเทียว. บริษัทยาวกว้างประมาณสิบสองโยชน์อย่างนี้. ในบริษัทนั้น แม้คนหนึ่งจะมีสรีระขาดแตกหรือผ้าเปื้อนก็ไม่มี. จริงอยู่ พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีราชบริวารอันสะอาด. ขึ้นชื่อว่าบริษัทของพระเจ้าจักรพรรดิเหาะได้เหมือนวิทยาธร เป็นเช่นกับแก้วมณีที่เกลื่อนกล่นในท้องฟ้าสีเขียว. บริษัทแม้ของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิราชก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อนฺวเทว ราชา มหาสุทสฺสโน สทฺธิํ จตุรงฺคินิยา เสนาย.

ก็จักรรัตนะนั้นย่อมพุ่งไปบนท้องฟ้าเหนือยอดไม้โดยไม่สูงนักไม่ต่ํานัก เหมือนคนต้องการดอกผลและเถาวัลย์ของต้นไม้ ก็อาจจับดอกผลเหล่านั้นได้ง่าย และเหมือนคนยืนอยู่บนแผ่นดินก็อาจจะสังเกตว่า นั่นพระราชา นั่นอุปราช นั่นเสนาบดี. ก็ในบรรดาอิริยาบถมียืนเป็นต้น ผู้ใดต้องการอิริยาบถใด ผู้นั้นก็ดําเนินไปด้วยอิริยาบถนั้นได้. ก็ในที่นี้ผู้ขวนขวาย

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 508

ศิลปะมีจิตรกรรมเป็นต้น เมื่อทํากิจของตนๆ ไป กิจทั้งปวงของชนเหล่านั้นก็ย่อมสําเร็จในอากาศนั้นเทียวเหมือนในแผ่นดิน จักรรัตนะนั้นพาบริษัทพระเจ้าจักรพรรดิไปด้วยอาการอย่างนี้ และละเขาพระสุเมรุทางเบื้องซ้ายไปสู่ปุพพวิเทหประเทศประมาณแปดพันโยชน์ในส่วนเบื้องบนแห่งมหาสมุทร. ในที่นั้น ภูมิภาคใดส่วนกว้างล้อมรอบได้ ๑๒ โยชน์ ควรแก่การอยู่อาศัยของบริษัท ๑๖ โยชน์ มีอาหารเครื่องอุปกรณ์หาได้ง่าย สมบูรณ์ด้วยร่มเงาและน้ำมีภาคพื้นสะอาดสม่ําเสมอ น่ารื่นรมย์ จักรรัตนะนั้นตั้งอยู่เหมือนไม่หวั่นไหวในส่วนเบื้องบนแห่งภูมิภาคนั้นๆ ลําดับนั้น ด้วยสัญญาณนั้น มหาชนนั้นก็ลงทํากิจทั้งปวงมีการอาบและการกินเป็นต้น ตามใจชอบ สําเร็จการอยู่. จักรรัตนะทั้งปวงได้เป็นเช่นนั้น แม้ของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิก็เป็นเช่นนั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ดูก่อนอานนท์ ก็จักรรัตน์ประดิษฐ์อยู่ในประเทศใดพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิก็เสด็จเข้าไปประทับอยู่ในประเทศนั้นพร้อมด้วยจตุรงคเสนา.

ครั้นพระเจ้าจักรพรรดิประทับอยู่อย่างนี้แล้ว พระราชาทั้งหลายในประเทศนั้นแม้ได้ฟังแล้วว่าจักรมาแล้ว ก็ย่อมไม่ประชุมกําลังพลเตรียมรบ. เพราะในระหว่างอุบัติขึ้นแห่งจักรรัตนะ ธรรมดาสัตว์ที่จะพยายามยกอาวุธต่อพระราชานั้นด้วยสําคัญว่าเป็นศัตรู ไม่มีเลย. นี้เป็นอานุภาพแห่งจักรรัตนะ. ก็ข้าศึกศัตรูที่เหลือของพระราชานั้นย่อมเข้าถึงการฝึกด้วยอานุภาพแห่งจักร. ธรรมดาการฝึกศัตรูเป็นหน้าที่ของพระราชาผู้เป็นใหญ่แห่งคน ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวถึงจักรของพระราชานั้น. เพราะฉะนั้น พระราชาเหล่านั้นแม้ทั้งหมดทรงถือบรรณาการอันสมควรแก่ราชศิริสมบัติของตนๆ เสด็จเข้าเฝ้าพระราชานั้น ทรงน้อมพระเศียร ทําการบูชาพระบาทแห่งพระราชานั้นด้วยอภิเษกแห่งรัศมีแก้วมณีพระโมลีของตนถึงซึ่งการต้อนรับพระราชานั้นด้วยพระวจนะว่า ข้าแต่พระมหาราช ขอพระองค์จงเสด็จมา ดังนี้เป็นต้น. พระราชา

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 509

ทั้งหลายก็ได้กระทําอย่างนั้นแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิราชเหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เย โข ปนานนฺท ปุรตฺถิมาย ทิสาย ฯเปฯ อนุสาส มหาราช ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฺวาคตํ แปลว่า เสด็จมาดีแล้ว. ท่านกล่าวว่า ก็ครั้นพระราชาองค์หนึ่งเสด็จมา ราชศัตรูก็เศร้าโศก ครั้นเสด็จไปก็ทรงเพลิดเพลิน ครั้นพระราชาบางองค์เสด็จมา ราชศัตรูก็ทรงเพลิดเพลิน ครั้นเสด็จไปก็ทรงเศร้าโศก พระองค์ก็เป็นเช่นนั้น ทรงเสด็จมาเพลิดเพลิน เสด็จไปเศร้าโศก เพราะฉะนั้น การเสด็จมาของพระองค์จึงเป็นการเสด็จมาดี ก็ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเจ้าจักรพรรดิจะไม่ตรัสว่า ท่านทั้งหลาย จงนําพลีอันสมควรมีประมาณเท่านี้ให้แก่เราบ้าง จะไม่ตัดเอาโภคะของพระราชาองค์อื่นไปพระราชทานแก่พระราชาอีกองค์บ้าง แต่จะทรงหยิบยกคําว่า ปาณาติปาตา เป็นต้น ขึ้นกล่าวด้วยปัญญาอันสมควรแก่ความที่พระองค์เป็นธรรมราชา ทรงแสดงพระธรรมด้วยพระวจนะอันเป็นที่รัก อันละเอียดอ่อน โดยนัยเป็นอาทิว่า ดูกรพ่อทั้งหลาย ท่านจงดู ขึ้นชื่อว่าการฆ่าสัตว์นั่น อันเสพแล้ว เจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก ย่อมพระราชทานพระโอวาทเป็นอาทิว่าไม่พึงฆ่าสัตว์ดังนี้. แม้พระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิก็ทรงกระทําอย่างนี้เหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า พระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิตรัสอย่างนี้ว่า ท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ ฯลฯ และท่านพึงบริโภคตามสมควร.

ถามว่า ก็พระราชาแม้ทั้งหมดทรงถือเอาพระโอวาทนี้ของพระราชาหรือไม่. ตอบว่า พระราชาแม้ทั้งหมดยังไม่ถือเอาพระโอวาทแม้ของพระพุทธเจ้า จักถือเอาพระโอวาทของพระราชาได้อย่างไร. เพราะฉะนั้น พระราชาเหล่าใดทรงเป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา พระราชาเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 510

ก็จะทรงถือเอา. แต่พระราชาทั้งหมดทรงตามเสด็จ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เยโข ปนานนฺท ดังนี้เป็นต้น.

ลําดับนั้น จักรรัตนะนั้น ครั้นพระราชาให้พระโอวาทแก่ชาวบุพพวิเทหะอย่างนี้แล้ว ก็พุ่งขึ้นสู่เวหาสพร้อมกับกําลังของจักรพรรดิที่ได้รับประทานอาหารเช้าเสร็จแล้ว ก็ย่างเข้าสู่สมุทรด้านปุรัตถิมทิศ ผ่านคลื่นอันกว้างขวาง เหมือนนาคราชได้กลิ่นงูแล้วแผ่พังพานฉะนั้น บินเหนือน้ำมหาสมุทรประมาณหนึ่งโยชน์ ตั้งอยู่ภายในมหาสมุทรประดุจระเบียบแก้วไพฑูรย์ฉะนั้น. และในขณะนั้น รัตนนานาชนิดเกลื่อนกล่นในพื้นมหาสมุทรดุจประสงค์จะเห็นบุญศิริของพระราชาพระองค์นั้น มาจากที่นั้นๆ เต็มประเทศนั้นๆ ลําดับนั้น บริษัทแห่งพระราชานั้นเห็นพื้นมหาสมุทรเต็มด้วยรัตนนานาชนิดนั้น ก็ถือเอาด้วยกอบเป็นต้นตามใจชอบ. ก็เมื่อบริษัทได้ถือเอารัตนะตามชอบ จักรรัตนะนั้นก็กลับ. ก็ครั้นจักรรัตนะนั้นกลับ บริษัทไม่ได้ไป พระราชาอยู่ในท่ามกลาง จักรรัตนะอยู่ในที่สุด. จักรรัตนะนั้นกระทบรอบๆ กงโดยการแยกนั้นเหมือนกระทบพื้นน้ำทะเล และเหมือนข่มด้วยจักรรัตนศิริเข้าไปชั่วนิรันดร. พระเจ้าจักรพรรดิทรงชํานะปุพพวิเทหประเทศ ซึ่งมีมหาสมุทรด้านทิศตะวันออกเป็นขอบเขตอย่างนี้แล้ว ทรงประสงค์จะชํานะชมพูทวีป ซึ่งมีสมุทรด้านทิศใต้เป็นขอบเขต เสด็จไปมุ่งตรงต่อสมุทรด้านทิศใต้ ตามทางที่จักรรัตนะแสดงนําไป. แม้พระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิก็เสด็จไปเช่นนั้นเหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ดูก่อนอานนท์ ลําดับนั้นแล จักรรัตนะนั้นข้ามไปยังสมุทรทิศตะวันออกแล้ว กลับไปยังทิศใต้ดังนี้.

ก็เมื่อจักรรัตนะนั้นเป็นไปอย่างนี้ คําว่า วิธีกลับ การพักอยู่แห่งเสนา การเสด็จมาแห่งพระอริราช การพระราชทานอนุสาสนีแก่เหล่าพระอริราชนั้นๆ การข้ามไปยังสมุทรด้านทิศใต้ การขึ้นไปเหนือน้ำสมุทร การ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 511

ถือเอารัตนนานาชนิดทั้งหมด พึงทราบโดยนัยก่อนนั้นเทียว. ก็ทรงชํานะชมพูทวีปประมาณหนึ่งโยชน์นั้นแล้ว กลับจากสมุทรทางทิศใต้ เสด็จไปโดยนัยกล่าวแล้วในบทก่อน เพื่อชํานะอมรโคยานมีเจ็ดพันโยชน์เป็นประมาณ ทรงชนะอมรโคยานแม้นั้นซึ่งมีสมุทรเป็นขอบเขตอย่างนั้น เสด็จข้ามไปจากสมุทรทางทิศตะวันตก เสด็จไปอย่างนั้นเพื่อชํานะอุตรกุรุซึ่งมีแปดพันโยชน์เป็นประมาณ ทรงชนะอุตรกุรุแม้นั้นซึ่งมีสมุทรเป็นขอบเขตเช่นกัน แล้วเสด็จกลับจากสมุทรทางทิศเหนือ. พระเจ้าจักรพรรดิทรงบรรลุความเป็นผู้ยิ่งใหญ่แห่งปฐพีซึ่งมีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขต ด้วยประการฉะนี้.

พระราชาพระองค์นั้น ทรงชนะวิเศษด้วยอันชํานะแล้วอย่างนี้ มีบริษัทเพื่อแสดงถึงศิริราชสมบัติของพระองค์ ทรงแหงนดูท้องฟ้าเบื้องบน ทรงแลดูมหาทวีปสี่ซึ่งมีเกาะเล็กประมาณ ๕๐๐ๆ เป็นบริวาร เหมือนสระเกิดขึ้นเองทั้งสี่ ที่วิจิตรด้วยป่าปทุม อุบล กุมุท และบุณฑริก ที่บานแย้มดีแล้วฉะนั้น เสด็จกลับไปสู่ราชธานีของพระองค์ตามลําดับ ตามทางที่จักรรัตนะแสดงแล้วนั่นเทียว. ลําดับนั้น จักรรัตนะนั้นก็ตั้งอยู่เหมือนยังภายในประตูแห่งบุรีให้งดงามฉะนั้น. ก็ครั้นจักรรัตนะนั้นประดิษฐานอยู่อย่างนี้แล้ว กิจอันจะพึงกระทําบางอย่างด้วยคบเพลิงหรือด้วยประทีปภายในราชบุรีก็ไม่มี. แสงสว่างแห่งจักรรัตนะนั่นเทียว ย่อมกําจัดความมืดแห่งราตรี. แต่บุคคลเหล่าใดต้องการความมืด ความมืดนั่นเทียวก็ย่อมมีแก่บุคคลเหล่านั้น. จักรรัตนะนั้นทั้งหมดได้มีแล้วอย่างนี้ แม้แก่พระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทกฺขิณสมุทฺทํ อชฺโฌคาเหตฺวา ฯเปฯ เอวรูปํ จกฺกรตนํ ปาตุรโหสิ.

อํามาตย์ทั้งหลายของพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีจักรรัตนะปรากฏอย่างนี้ ก็ให้กระทําสถานที่อยู่ของช้างมงคลปกติให้เป็นภูมิภาคสม่ําเสมอบริสุทธิ์สะอาด

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 512

ประพรมด้วยกลิ่นสุรภี มีจันทน์แดงเป็นต้น ตบแต่งให้สวยงามเหมือนวิมานเทพ ภายใต้เกลื่อนกล่นด้วยดอกสุรภี ดอกกุสุม อันมีสีวิจิตร เบื้องบนมีเพดานประดับประดาด้วยลายกุสุมอันพึงพอใจ รวบรวมภายในดวงดาวทอง แล้วทูลว่า ข้าแต่สมติเทพ ขอพระองค์จงพระดําริการมาแห่งหัตถีรัตนะมีรูปปานนี้. พระราชานั้นก็ทรงถวายมหาทานโดยนัยที่กล่าวแล้วในกาลก่อน และทรงสมาทานศีล แล้วประทับนั่งระลึกถึงบุญสมบัตินั้น. ลําดับนั้น ช้างประเสริฐอันอานุภาพแห่งบุญของพระราชานั้นเตือนแล้ว เหมือนจะครอบงําสักการะพิเศษนั้นจากตระกูลฉัททันต์ หรือจากตระกูลอุโบสถ มีสรีระขาวปลอด ตกแต่งการเดิน คอและปากมีสีแดงดุจมณฑลแห่งพระอาทิตย์อ่อนๆ มีที่ประดิษฐ์เจ็ดประการ มีรูปร่างอวัยวะน้อยใหญ่ตั้งไว้อย่างดี มีนม เล็บ และปลายงวงแดงแย้ม สามารถเหาะได้เหมือนโยคีผู้มีฤทธิ์ ใหญ่ขาว เหมือนบริเวณที่ย้อมด้วยจุณแห่งมโนสิลา มายืนอยู่ในประเทศนั้น. ช้างนั้นมาจากตระกูลช้างฉัททันต์ย่อมเล็กกว่าช้างทั้งหมด. ช้างที่มาจากตระกูลช้างอุโบสถย่อมใหญ่กว่า ช้างทั้งปวง. แต่ในบาลีย่อมมาว่านาคราชชื่ออุโบสถ ดังนี้. ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลายว่า ขึ้นชื่อว่าช้างนาคราชไม่คู่ควรแก่ใครๆ เป็นช้างเล็กกว่าช้างทั้งหมดย่อมมาดังนี้. ช้างนี้นั้นย่อมมาแก่พระเจ้าจักรพรรดิผู้มีวัตรแห่งจักรพรรดิ ทรงดําริโดยนัยกล่าวแล้วนั่นเทียว. ก็ช้างนาคราชมาสู่โรงช้างมงคลปกติเองไม่กําจัดช้างมงคล ยืนอยู่ในที่นั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปุน จปรํ อานนฺท ฯเปฯ นาคราช ดังนี้.

ก็บุคคลทั้งหลายมีคนเลี้ยงช้างเป็นต้น เห็นหัตถีรัตนะที่ปรากฏอย่างนั้นแล้วรื่นเริงดีใจรีบไปทูลแด่พระราชา. พระราชารีบเสด็จมาดูหัตถีรัตนะนั้น ทรงมีพระราชหฤทัยผ่องใส ทรงคิดว่า หัตถียานประเสริฐหนอถ้าสมควรนําเข้าฝึก ดังนี้. ทรงเหยียดพระหัตถ์ ลําดับนั้น ช้างนั้นเหมือน

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 513

กับช้างแม่นม สยายหู แสดงเสียงร้องเข้าไปเฝ้าพระราชา. พระราชาทรงใคร่จะเสด็จขึ้นประทับช้างนั้น. ลําดับนั้น ปริชนของพระราชานั้นรู้พระประสงค์ ทําธงทอง เครื่องประดับทอง คลุมด้วยข่ายทอง นําเข้าหาหัตถีรัตนะนั้น. พระราชาไม่ให้ประทับนั่งช้างนั้น เสด็จขึ้นบันไดที่ทําด้วยรัตนะเจ็ดประการ มีพระราชหฤทัยน้อมไปในอากาศ. พร้อมด้วยจิตตุบาทของพระราชานั้น หัตถินาคราชนั้นก็ลอยขึ้นสู้ท้องฟ้าที่รุ่งเรืองด้วยแสงแก้วอินทนิลและแก้วมณีเหมือนราชหงษ์ฉะนั้น. ต่อจากนั้นบริษัทของพระราชาทั้งหมดก็เหาะขึ้นโดยนัยอันกล่าวแล้วในจักกจาริกานั่นเทียว. พระราชาพร้อมกับบริษัทขึ้นชมปฐวีทั้งสิ้นก็กลับราชธานีภายในอาหารเช้า ด้วยประการฉะนี้. หัตถีรัตนะแม้ของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิราชก็เป็นเช่นนั่นเทียว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทิสฺวา รฺโ ฯเปฯ ปาตุรโหสิ ดังนี้.

ก็อํามาตย์ทั้งหลายของพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีหัตถีรัตนะปรากฏอย่างนี้แล้ว ให้กระทําและประดับประดาโรงม้ามงคลตามปกติให้มีพื้นสะอาดราบเรียบ ยังพระอุตสาหะให้เกิดขึ้นแก่พระราชา เพื่อทรงคิดการมาแห่งม้านั้นโดยนัยก่อนนั่นเทียว. พระราชานั้นทรงมีสักการะน้อมในทานที่ทรงกระทําแล้วโดยนัยก่อนนั่นเทียว ทรงสมาทานศีลและวัตร ประทับนั่งสําราญบนพื้นปราสาท ทรงระลึกบุญสมบัติ. ลําดับนั้น อัศวราชชื่อว่าวลาหกจากตระกูลม้าสินธพ อันอานุภาพแห่งบุญของพระราชานั้นเตือนแล้ว มีศิริแห่งกลุ่มเมฆขาวในสรทกาลที่ต้องสายฟ้า มีเท้าแดง มีกลีบเท้าแดง มีรูปร่างแข็งแรงบริสุทธิ์สนิทเช่นกับกลุ่มรัศมีแห่งพระจันทร์ มีศีรษะดําเพราะถึงพร้อมด้วยขนตั้งตรงวงกลมละเอียดสีขาวเช่นหญ้าปล้องที่สําเร็จด้วยดีตั้งไว้แล้ว สามารถเหาะได้ มาอยู่ในโรงนั้น. ก็อัศวราชนั้นมาแล้วแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิเหมือนหัตถีรัตนะฉะนั้น. บททั้งปวงที่เหลือพึงทราบโดยนัยกล่าวแล้วใน

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 514

หัตถีรัตนะนั่นแหละ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงอัสสรัตนะอย่างนั้น จึงตรัสว่า ปุน จปรํ ดังนี้เป็นต้น.

ก็มณีรัตนะจากวิบุลบรรพตยาวสี่ศอก มีรูปทรงงดงาม ประดับประดาด้วยทอง และปทุมทั้งสองมีกลีบเป็นมุกดาอันบริสุทธิ์เปล่งออกจากสองก้อนในที่สุด สองข้างมีมณีแปดหมื่นสี่พันเป็นบริวาร ราวจะแผ่ไปกระทบศิริแห่งพระจันทร์เพ็ญที่หมู่ดาวล้อมรอบมาแก่พระเจ้าจักรพรรดิผู้มีอัสสรัตนะปรากฏแล้วอย่างนี้. เมื่อมณีรัตนะนั้นมาแล้วอย่างนี้ อันบุคคลวางไว้ในข่ายมุกดา ยกขึ้นสู่อากาศประมาณหกสิบศอกเพียงยอดไม้ไผ่ แสงสว่างจะแผ่ไปสู่โอกาสประมาณหนึ่งโยชน์โดยรอบ อันเป็นเหตุให้โอกาสนั้นทั้งหมดเกิดแสงสว่างเหมือนในเวลาอรุณขึ้นฉะนั้น. แต่นั้น ชาวนาก็ประกอบกสิกรรม พ่อค้าก็ประกอบการซื้อขาย ศีลปินนั้นๆ ก็ประกอบการงานนั้นๆ สําคัญว่าเป็นกลางวัน. มณีรัตนะนั้นทั้งหมดได้มีแล้วอย่างนั้นแม้แก่พระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดินั่นเทียว. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปุน จปรํ อานนฺท ฯเปฯ มณิรตนํ ปาตุรโหสิ ดังนี้.

อิตถีรัตนะมีการณ์พิเศษปรากฏแก่พระเจ้าจักพรรดิผู้ทรงมีสุขวิสัยพิเศษมีมณีรัตนะปรากฏแล้วอย่างนี้. ก็พระญาติทั้งหลายย่อมนําอิตถีรัตนะนั้นจากมัทรราชตระกูลมาเป็นอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดินั้น. หรือมาจากอุตตรกุรุประเทศด้วยบุญญานุภาพ. ก็สมบัติแห่งอิตถีรัตนะนั้นที่เหลือมาแล้วในบาลีนั่นเทียว โดยนัยมีอาทิว่า ดูกรพระอานนท์อีกประการหนึ่งอิตถีรัตนะซึ่งมีรูปสุดสวย น่าดู. ปรากฏแล้วแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิราช. ในบรรดาสมบัตินั้น ชื่อว่า อภิรูปา เพราะอิตถีรัตนะนั้นมีรูปสวยงาม บริบูรณ์ด้วยทรวดทรง. และ ชื่อว่า ทัสสนียา เพราะเมื่อดูก็ถูกตา แม้ต้องเลิกธุรกิจอย่างอื่นมองดู. ชื่อว่า ปาสาทิกา เพราะเมื่อดูก็ยังให้เลื่อมใสด้วยอํานาจ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 515

โสมนัส. บทว่า ปรมาย ความว่า อุดมเพราะนํามาซึ่งความเลื่อมใสอย่างนี้. บทว่า วณฺณโปกฺขรตาย ความว่า เพราะวรรณงาม. บทว่า สมนฺนาคตา ความว่า เข้าถึงแล้ว. อีกประการหนึ่ง ชื่อว่า อภิรูปา เพราะไม่สูงนักไม่เตี้ยนัก. ชื่อว่า ทัสสนียา เพราะไม่ผอมนักไม่อ้วนนัก. ชื่อว่า ปาสาทิกา เพราะไม่ดํานักไม่ขาวนัก. ชื่อว่า ปรมาย วณฺณโปกฺขรตาย สมนฺนาคตา เพราะก้าวล่วงวรรณมนุษย์แต่ไม่ถึงวรรณทิพย์. จริงอยู่ แสงสว่างวรรณะของพวกมนุษย์ย่อมไม่เปล่งออกภายนอก. แต่ของเทพทั้งหลายย่อมเปล่งไปแม้ไกล. ส่วนแสงสว่างสรีระแห่งอิตถีรัตนะนั้นย่อมยังประเทศประมาณสิบสองศอกให้สว่างได้. ก็ในบรรดาสมบัติมีไม่สูงนักเป็นต้นของอิตถีรัตนะนั้น ท่านกล่าวอาโรหสมบัติด้วยคู่ที่หนึ่ง กล่าวปริณาหสมบัติด้วยคู่ที่สอง กล่าววรรณสมบัติด้วยคู่ที่สาม กล่าวความที่กายวิบัติด้วยกายวิบัติด้วยอาการหกประการนั่น. กล่าวกายสมบัติด้วยบทนี้ว่า อติกฺกนฺตา มานุสวณฺณํ. บทว่า ตูลปิจุโน วากปฺปาสปิจุโน วา ความว่า ดุจปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายแห่งกายสัมผัส ซึ่งเอาไปวางไว้บนก้อนเนยใส แล้วแยกออกเจ็ดส่วน. บทว่า สีเต ความว่า อบอุ่นในการที่พระราชาเย็น. บทว่า อุณฺเห ความว่า เย็นในเวลาที่พระราชาร้อน. บทว่า จนฺทนคนฺโธ ความว่า กลิ่นจันทน์แดงอันประกอบด้วยชาติสี่ชนิด ยังใหม่บดละเอียดดีตลอดกาล ย่อมระเหยออกจากกาย. บทว่า อุปฺปลคนฺโธ ความว่า กลิ่นหอมอย่างยิ่งแห่งนีลุบลซึ่งบานแย้มขณะนั้นย่อมพุ่งออกจากปากในเวลาไอหรือพูด. ก็เพื่อทรงแสดงอาจาระอันสมควรแห่งสรีรสมบัติประกอบด้วยสัมผัสสมบัติและคันธสมบัติอย่างนี้ จึงตรัสว่า ตํโข ปน เป็นต้น. ในอาจาระนั้น อิตถีรัตนะเห็นพระราชาแล้วลุกขึ้นก่อนทีเดียวจากอาสนะที่นั่งเหมือนคนถูกไฟไหม้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปุพฺพุฏฺายินี ครั้นพระราชานั้นประทับนั่งแล้ว อิตถีรัตนะกระทํากิจมีพัดด้วยใบตาลเป็นต้น

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 516

แก่พระราชานั้นแล้วจึงพัก คือนั่งที่หลัง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปัจฉานิปาตินี. อิตถีรัตนะย่อมขวนขวายกิจอันพึงทําด้วยวาจาว่า ข้าแต่เทวะ หม่อมฉันจะทําอะไรแก่พระองค์ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่ากึการปฏิสาวีนี. อิตถีรัตนะย่อมประพฤติย่อมกระทําสิ่งที่พอพระราชหฤทัยของพระราชาเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่ามนาปจารินี. อิตถีรัตนะย่อมกล่าวคําที่น่ารักแก่พระราชาเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าปิยวาทินี. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตํ โข ปน เป็นต้น เพื่อทรงแสดงว่าอาจาระของอิตถีรัตนะนี้นั้นบริสุทธิ์ถ่ายเดียวโดยไม่มีสาไถยะเลย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โน อติจารี ความว่า ไม่ประพฤติล่วงเกิน. ท่านกล่าวว่า อิตถีรัตนะไม่ปรารถนาชายอื่นแม้ด้วยจิตนอกจากพระราชา. ในบทนั้น อาจาระเหล่าใดของอิตถีรัตนะนั้น ท่านกล่าวว่า อภิรูปา เป็นต้นในเบื้องต้น และกล่าวว่าปุพพุฏฐายินีในที่สุด อาจาระเหล่านั้นเป็นคุณโดยปกติเท่านั้นเอง. ก็สมบัติเป็นต้นว่า อติกฺกนฺตา มานุสวณฺณํ พึงทราบว่า บังเกิดขึ้นแล้วด้วยอานุภาพกรรมเก่าตั้งแต่จักรรัตนะปรากฏขึ้น เพราะอาศัยบุญของพระเจ้าจักรพรรดิ. หรือสมบัติว่าอภิรูปตาเป็นต้น เกิดบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวงตั้งแต่จักรรัตนะปรากฏแล้ว. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เอวรูปํ อิตฺถีรตนํ ปาตุรโหสิ ดังนี้.

ก็คหบดีรัตนะ เพื่อให้กิจทั้งหลายที่พึงกระทําด้วยทรัพย์เป็นไปโดยสะดวกย่อมปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิผู้มีอิตถีรัตนะปรากฏแล้วอย่างนี้. คหบดีนั้นโดยปกติมีโภคะมาก เกิดในตระกูลมีโภคะมาก เจริญด้วยกองทรัพย์ของพระราชา เป็นเศรษฐีคหบดี. ก็ทิพยจักษุอันเป็นเหตุเห็นขุมทรัพย์ภายในหนึ่งโยชน์แม้ในภายในปฐพีซึ่งเกิดแต่ผลกรรม สงเคราะห์ด้วยอานุภาพจักรรัตนะ ย่อมปรากฏแก่คหบดีรัตนะนั้น คหบดีรัตนะนั้นเห็นสมบัตินั้น

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 517

แล้ว ดีใจ ไปปวารณาพระราชาด้วยทรัพย์ รับทํากิจทั้งหลายที่จะพึงทําด้วยทรัพย์ทั้งหมดให้สําเร็จ. คหบดีรัตนะแม้ของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิก็ยังกิจอันพึงทําทรัพย์ให้สําเร็จอย่างนั้นเหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปุน จปรํ อานนฺท ฯเปฯ เอวรูปํ คหปติรตนํปาตุรโหสิ ดังนี้.

ก็ปริณายกรัตนะซึ่งสามารถจัดแจงสรรพกิจย่อมปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิผู้มีคหบดีรัตนะปรากฏแล้วอย่างนี้. ปริณายกรัตนะนั้นเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระราชานั่นเทียว. โดยปกติทีเดียว ปริณายกรัตนะนั้น เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา อาศัยบุญญานุภาพของพระราชา ย่อมเข้าถึงญาณ รู้จิตของบุคคลอื่นด้วยอานุภาพแห่งกรรมของตน ซึ่งเป็นเหตุให้รู้วาระจิตแห่งบริษัทประมาณสิบสองโยชน์ สามารถกําหนดรู้หิตะประโยชน์และอหิตะประโยชน์แก่พระราชาได้. ปริณายกรัตนะแม้นั้นเห็นอานุภาพของตนนั้น ดีใจ ปวารณาพระราชาด้วยการบริหารกิจทั้งหมด. ปริณายกรัตนะปวารณาแม้พระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิอย่างนั้นเหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ปุนจปรํ อานนฺท ฯเปฯ ปริณายกรตนํ ปาตุรโหสิ ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า เปตพฺพํ เปตุํ ความว่า เพื่อตั้งให้ดํารงในฐานันดรนั้นๆ.

บทว่า สมเวปากินิยา ความว่า อันเกิดแต่ผลกรรมอันสม่ําเสมอ. บทว่า คหณิยา ความว่า ด้วยเตโชธาตอันเกิดแก่กรรม. ในบทนี้ อาหารสักว่าเสวยแล้วของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิย่อมย่อย ก็หรือย่อมตั้งอยู่อย่างนั้น เหมือนภัตที่เสวยถึงพร้อมด้วยเตโชธาตุอันเกิดแต่วิบากอันสม่ําเสมอแม้ทั้งสองนั้น. ก็ความพอพระราชหฤทัยในพระกระยาหารในกาลแห่งภัตย่อมบังเกิดขึ้นแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิใด พระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิราชนี้ทรงถึงพร้อมด้วยเตโชธาตุอันเกิดแต่วิบากอันสม่ําเสมอ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 518

บทว่า มาเปสิโข ความว่า ทรงให้ตีกลองประกาศในพระนคร ทรงให้ฝูงชนกระทําการสร้าง. ก็สระโบกขรณี ๘๔,๐๐๐ แห่งก็ผุดขึ้นพร้อมกับความเกิดขึ้นแห่งพระราชดําริของพระราชา. บทว่า มาเปสิโข นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงสระโบกขรณีเหล่านั้น. บทว่า ทฺวีหิ เวทิกาหิ ความว่า ล้อมด้วยอิฐก้อนหนึ่งในที่สุดแห่งอิฐทั้งหลาย ล้อมด้วยอิฐก้อนหนึ่งในที่สุดกําหนดบริเวณ.

บทว่า เอตทโหสิ ความว่า ได้มีแล้วเพราะอะไร.

ได้ยินว่า ในวันหนึ่ง มหาบุรุษมองดูมหาชนไปอาบและดื่ม คิดว่าชนเหล่านั้นย่อมไปด้วยเพศคนบ้า ถ้าพึงมีดอกไม้ประดับในสระนั่นแก่ชนเหล่านั้นก็จะเป็นการดี ลําดับนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดินั้นได้มีพระราชดําริดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า สพฺโพตุกํ ความว่า พระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิทรงดําริว่า ธรรมดาดอกไม้ย่อมบานในฤดูเดียวเท่านั้น ก็เราจักทําโดยประการที่ดอกไม้จักบานในทุกฤดู. บทว่า โรปาเปสิ ความว่า ทรงให้นําพืชอุบลนานาชนิดเป็นต้น จากที่นั้นๆ ทรงให้ปลูก. ดอกไม้ทั้งหมดก็สําเร็จพร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งพระราชดําริของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดินั้น. ชาวโลกเข้าใจว่าดอกไม้นั้นพระราชาทรงให้ปลูก. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โรปาเปสิ ดังนี้. ตั้งแต่นั้นมามหาชนได้ประดับดอกไม้ที่เกิดจากน้ำและเกิดจากบนบกนานับประการไปเหมือนเล่นนักขัตฤกษ์ฉะนั้น.

ลําดับนั้น พระราชาทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทําชนให้ถึงพร้อมด้วยความสุขยิ่งกว่านั้น จึงทรงคิดจัดหาความสุขแก่ชนด้วยบทว่า ยนฺนูนาหํ อิมาสํ โปกฺขรณีนํ ตีเร เป็นต้น แล้วทรงกระทํากิจทั้งปวง. ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นฺหาเปสุํ ความว่า คนอื่นชําระร่างกาย คนอื่นประกอบ

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 519

จุณทั้งหลาย คนอื่นนําน้ำมาให้แก่ผู้อาบน้ำที่ขอบสระโบกขรณี คนอื่นรับผ้าและให้ผ้า. บทว่า ปฏฺเปสิ ความว่า ทรงตั้งอย่างไร. ทรงตั้งพนักงานประดับประดาอันสมควรแก่สตรีและบุรุษทั้งหลาย ทรงตั้งเพียงสตรีเท่านั้นด้วยสามารถบําเรอในที่นั้นๆ ทรงตั้งกิจทั้งหมดที่เหลือด้วยสามารถการบริจาค ทรงให้ตีกลองประกาศว่าพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิทรงถวายทาน ท่านทั้งหลายจงบริโภคทานนั้น.

มหาชนมาสู่ขอบสระโบกขรณี อาบน้ำ เปลี่ยนผ้า ลูบไล้ด้วยของหอมต่างๆ ประดับประดาอันวิจิตร ไปโรงทาน กินและดื่มสิ่งที่ต้องการในบรรดายาคู ภัต และขบเคี้ยวหลายประการ และเครื่องดื่ม ๘ อย่าง นุ่งห่มผ้าฝ้ายอันละเอียดอ่อนมีสีต่างๆ เสวยสมบัติ ละบุคคลผู้มีของเช่นนั้นไป. คนที่ไม่มีของเช่นนั้นถือเอาแล้วจากไป. บุคคลที่นั่งในช้าง ม้า และยานเป็นต้นเที่ยวไปนิดหน่อย ไม่ต้องการก็จากไป ต้องการก็ถือเอาไป. บุคคลที่นอนแม้ในที่นอนอันประเสริฐ เสวยสมบัติแล้ว ไม่ต้องการก็จากไป ต้องการก็รับไป. ผู้ที่เสวยสมบัติกับสตรีทั้งหลาย ไม่ต้องการก็จากไป ต้องการก็รับเอาไป. ผู้ประดับประดาเครื่องรัตนะเจ็ดชนิด เสวยสมบัติแล้ว ไม่ต้องการก็จากไป ต้องการก็รับเอาไป. ทานแม้นั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิทรงลุกขึ้นแล้วก็ทรงถวาย. การงานอย่างอื่นของชาวชมพูทวีปทั้งหลายไม่มี. ชาวชมพูทวีปเที่ยวบริโภคทานของพระราชาเท่านั้น.

ลําดับนั้น พราหมณ์คหบดีทั้งหลายคิดว่า พระราชานี้ แม้เมื่อจะถวายทานปานนี้ ก็ไม่ทรงให้นําอะไรมาว่าท่านทั้งหลายจงให้ข้าวสารเป็นต้นหรือให้น้ำนมเป็นต้นแก่เรา ก็ข้อนั้นไม่สมควรที่จะนิ่งดูดายว่าพระราชาของพวกเราไม่ทรงให้นํามา. พราหมณ์คหบดีเหล่านั้นก็รวบรวมทรัพย์สมบัติจํานวนมากนําไปทูลถวายแด่พระราชา. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อถโข อานนฺท พฺราหฺมณคหปติกา ดังนี้เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 520

บทว่า เอวํ สมจินฺเตสุํ ความว่า คิดบ่อยๆ อย่างนี้เพราะเหตุอะไร. เพราะพราหมณ์คหบดีทั้งหลายคิดบ่อยๆ อย่างนี้ว่า บางคนนําทรัพย์สมบัติจากเรือนน้อย บางคนนํามามาก เมื่อทรัพย์สมบัติกําลังรวบรวม แม้เสียงอึกกระทึกก็จะพึงเกิดขึ้นว่า ทําไมท่านเท่านั้นนําทรัพย์สมบัติจากเรือนดี เรานํามาจากเรือนไม่ดี ทําไมท่านเท่านั้นนําทรัพย์สมบัติจากเรือนมาก เราไม่มาก ดังนี้ เสียงอึกกระทึกนั้นอย่าพึงเกิดขึ้นเลย.

บทว่า เอหิ ตฺวํ สมฺม ความว่า ดูก่อนผู้มียศ ท่านจงมา. บทว่า ธมฺมํ นาม ปาสาทํ ความว่า ยกขึ้นแล้วทรงตั้งชื่อปราสาท. ก็วิศวกรรมเทวบุตรรับทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ปราสาทจะใหญ่เท่าไร ครั้นตรัสว่า ปราสาทนั้นยาวหนึ่งโยชน์ กว้างครึ่งโยชน์ สร้างด้วยรัตนะทั้งปวง ทูลรับพระดํารัสพระราชาว่าจงสําเร็จดังนั้น พระดํารัสของพระองค์ดี ลําดับนั้น ทูลให้พระธรรมราชาทรงรับทราบแล้วก็สร้าง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ ภทฺทํ ตวาติ โข อานนฺท ความว่า ดูก่อนพระอานนท์ (วิศวกรรมเทพบุตรทูลรับสนอง) ว่า พระดํารัสของพระองค์อย่างนี้ดี. บทว่า ปฏิสฺสุณิตฺวา ความว่า รับทราบแล้ว คือกราบทูลแล้ว. บทว่า ตุณฺหีภาเวน ความว่า พระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิทรงปรารถนาว่าเราจักมีโอกาสกระทําการปฏิบัติสมณธรรม ทรงรับด้วยการทรงนิ่ง.

บทว่า สารมโย ความว่า สําเร็จด้วยแก่นจันทร์. ในบทว่า ทฺวีหิ เวทิกาหิ นั่น เวทีหนึ่งมีในยอดอุณหิส เวทีหนึ่งมีในที่สุดกําหนดภายใต้. บทว่า ทุทฺทิกฺโข อโหสิ ความว่า เห็นได้ยาก คือเห็นได้ลําบากเพราะสมบัติแห่งแสงสว่าง. บทว่า มุสติ คือ นําไปให้สําเร็จ คือไม่ให้เพื่อตั้งอยู่โดยสภาพเป็นนิตย์ บทว่า อุปวิทฺเธ ความว่า มั่นคง คืออยู่ไกล

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 521

เพราะปราศจากเมฆ. บทว่า เทเว ความว่า ในอากาศ. บทว่า มาเปสิ โข ความว่า วิศวกรรมเทพบุตรไม่กระทําอย่างนี้ว่าเราจะสร้างสระโบกขรณีในที่นี้ท่านทั้งหลายจงทําลายบ้านเรือนของท่าน ดังนี้แล้วสร้าง. ก็สระโบกขรณีเห็นปานนั้นได้ผุดขึ้นแล้วด้วยสามารถแห่งจิตตุปบาทของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดินั้น. บทว่า เต สพฺพกาเมหิ ความว่า ทรงเลี้ยงสมณะทั้งหลายด้วยวัตถุที่ต้องการทั้งปวง คือ ด้วยสมณบริขาร ทรงเลี้ยงพราหมณ์ทั้งหลายด้วยพราหมณบริขาร.

จบ ปฐมภาณวารวรรณนา

บทว่า มหิทฺธิโก ความว่า ทรงถึงพร้อมด้วยอิทธิฤทธิ์มาก กล่าวคือ ความสําเร็จแห่งสระโบกขรณีจํานวน ๘๔,๐๐๐ สระ ด้วยอํานาจแห่งจิตตุปบาทเท่านั้น. บทว่า มหานุภาโว ความว่า ถึงพร้อมด้วยอานุภาพใหญ่เพราะความที่กรรมอันพึงเสวยเหล่านั้นมีมาก. บทว่า เสยฺยถีทํ ความว่า เป็นนิบาต. อรรถแห่งนิบาตนั้นว่า กรรม ๓ ประการ เป็นไฉน. บทว่า ทานสฺส ได้แก่ บริจาคสมบัติ. บทว่า ทมสฺส ความว่า ปัญญามาว่าทมะในอาฬวกสูตร. ในบทนี้ เราฝึกตนเองรักษาอุโบสถกรรม. บทว่า สฺมสฺส ได้แก่ ศีล. ก็พึงทราบบุรพโยคของพระราชาที่ดํารงอยู่ในศีลนี้นั้น.

ได้ยินว่าในกาลก่อนพระราชาทรงสมภพในตระกูลคหบดี. ก็โดยสมัยนั้น พระเถระรูปหนึ่งในพระศาสนาของพระพุทธเจ้ากัสสปะทรงพระชนม์อยู่ จําพรรษาในป่า. พระโพธิสัตว์เข้าป่าด้วยการงานของตน เห็นพระเถระแล้วเข้าไปเฝ้า ไหว้แล้ว แลดูที่นั่งและที่จงกรมเป็นต้นของพระเถระ จึงถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้าอยู่ในที่นั้นหรือ. ได้ฟังว่า อย่างนั่น

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 522

อุบาสกจึงคิดว่าสมควรที่จะสร้างบรรณศาลาถวายพระผู้เป็นเจ้าในที่นี้ แล้วเลิกการงานของตนขนทัพพสัมภาระทําบรรณศาลา ฉาบ โบกฝาด้วยดินเหนียวติดประตู ทําพนักนั่ง นั่ง ณ ที่ควรส่วนสุดข้างหนึ่ง ด้วยคิดว่าพระผู้เป็นเจ้าจักทําการบริโภคหรือไม่หนอ.

พระเถระมาจากภายในบ้าน เข้าไปสู่บรรณศาลา แล้วนั่งที่พนัก. แม้อุบาสกมาแล้วไหว้ นั่ง ณ ที่ใกล้ แล้วถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บรรณศาลาผาสุกไหม. ผาสุก สมควรแก่บรรพชิต. ท่านจักอยู่ที่นี้หรือ. อย่างนั้น อุบาสก. อุบาสกนั้นรู้แล้วว่าพระเถระจักอยู่โดยอาการรับ ให้พระเถระทราบว่าท่านพึงไปสู่ประตูเรือนของกระผมเป็นนิตย์แล้วเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญขอท่านจงให้พรอย่างหนึ่งแก่กระผมเถิด. ดูก่อนอุบาสก บรรพชิตก้าวล่วงแล้ว. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เป็นพรที่ควรและไม่มีโทษ. อุบาสก จงบอก. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มนุษย์ทั้งหลายในที่เป็นที่อยู่ประจํา ย่อมปรารถนาการมาในมงคลหรืออมงคล ย่อมโกรธแก่พระเถระผู้ไม่มา เพราะฉะนั้น ท่านแม้ไปสู่ที่นิมนต์อื่นแล้ว เข้าไปสู่เรือนของกระผมแล้ว พึงทําภัตกิจ. พระเถระรับแล้ว.

ก็โพธิสัตว์นั้นปูเสื่อลําแพนในศาลา ตั้งเตียงตั่ง วางพนักพิง วางที่เช็ดเท้า ขุดสระ ทําที่จงกรม เกลี่ยทราย เห็นสัตว์มาทําลายฝาทําดินเหนียวให้ตกก็ล้อมรั้วหนาม เห็นสัตว์ลงสระทําน้ำให้ขุ่นก็ก่อบันไดภายในล้อมรั้วหนามภายนอก ปลูกแถวตาลในที่สุดรั้วภายใน เห็นสัตว์ทําสกปรกที่อันสมควรในมหาจงกรมก็ล้อมที่จงกรมด้วยรั้ว ปลูกแถวตาลในที่สุดรั้วภายใน ยังอาวาสให้สําเร็จอย่างนี้ ถวายไตรจีวร บิณฑบาต ยา ภาชนบริโภค เหยือกน้ำกรรไกร มีดตัดเล็บ เข็ม ไม้เท้า รองเท้า ตุ่มน้ำ ร่ม คบเพลิง ไม้แคะมูลหู บาตร ถลกบาตร ผ้ากรองน้ำ ที่กรองน้ำ ก็หรือสิ่งที่บรรพชิตควรบริโภคอื่นแด่พระเถระ ชื่อว่าบริขารที่พระโพธิสัตว์ไม่ถวายแก่พระเถระไม่มี.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 523

พระโพธิสัตว์นั้น รักษาศีล รักษาอุโบสถ บํารุงพระเถระตลอดชีวิต. พระเถระอยู่ในอาวาสนั้นเทียว บรรลุพระอรหัตแล้วนิพพาน. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทําบุญตลอดอายุแล้วไปเกิดในเทวโลก จุติจากเทวโลกนั้นมาสู่มนุษยโลกไปเกิดเป็นพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิในราชธานีชื่อว่ากุสาวดี.

บุญแม้อันไม่ใหญ่ยิ่งได้กระทําแล้วในศาสนาของท่านอย่างนี้ มหาวิบากจึงมี เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญาพึงทําบุญนั้น.

บทว่า มหาวิยูหํ ความว่า มหากูฏาคารอันทําด้วยเงิน. ทรงพระประสงค์ที่จะประทับอยู่ในกูฏาคารนั้นจึงได้เสด็จไป. บทว่า เอตฺตาวตา กามวิตกฺก ความว่า พระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิทรงข่มวิตกทั้งสามที่ประตูกูฏาคารนั่นเทียวอย่างนี้ว่า.-

ดูก่อนกามวิตก ท่านพึงกลับเพียงเท่านี้ เบื้องหน้าแต่นี้ไปท่านไม่มีที่อยู่ นี้ชื่อว่า ฌานาคาร ฌานาคารนี้ไม่ใช่ที่อยู่ร่วมกับท่าน.

ในบทว่า ปมชฺฌานํ เป็นต้น ชื่อว่า กสิณบริกรรมกิจย่อมไม่มีต่างหาก ครั้นมีความต้องการนีลกสิณ นิลมณีก็ย่อมมี ครั้นมีความต้องการด้วยปิตกกสิณ สุวัณณะก็ย่อมมี ครั้นมีความต้องการด้วยโลหิตกสิณ รัตตมณีก็ย่อมมี ครั้นมีความต้องการด้วยโอทาตกสิณ รัชตก็ย่อมมี ท่านบัญญัติกสิณในฐานะที่แลดูแล้วๆ อย่างนี้ ในบทว่า เมตฺตาสหคเตน เป็นต้น คําที่จะพึงกล่าวแม้ทั้งหมดได้กล่าวแล้วในวิสุทธิมรรคนั้นแล. ท่านกล่าวฌานสี่อัปปมัญญาสี่ในบาลีด้วยประการฉะนี้. ก็มหาบุรุษยังสมาบัติแปดทั้งหมดอภิญญาห้าให้เกิดแล้ว เข้าสมาบัติโดยอาการสิบสี่ด้วยสามารถอนุโลมปฏิโลมเป็นอาทิ ให้เป็นไปด้วยความสุขในสมาบัตินั้นเทียว เหมือนภมรเข้ารวงผึ้งเป็นอยู่ด้วยมธุรส ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 524

บทว่า กุสาวติราชธานี ความว่า กุสาวดีราชธานีเป็นประมุข คือ เป็นใหญ่ทั้งหมดแห่งพระนครเหล่านั้น. บทว่า ภตฺตาภิหาโร ความว่า ภัตอันจะพึงนําไปเฉพาะ. บทว่า วสฺสสตสฺส วสฺสสตสฺส ความว่า ท่านคิดอย่างนี้เพราะเหตุไร. เพราะรําคาญด้วยเสียงบุคคลเหล่านั้น. ก็ท่านกล่าวว่าเสียงย่อมรบกวนผู้เข้าสมาบัติ เพราะฉะนั้นมหาบุรุษจึงรําคาญด้วยเสียง. ถ้าเช่นนั้นทําไมจึงไม่บอกว่าพวกท่านจงอย่ามา. เดี๋ยวนี้พระราชาไม่เห็น เพราะฉะนั้นจึงไม่กล่าวว่าจักไม่ได้วัตรเป็นนิตย์ วัตรนั้นของชนเหล่านั้นจงอย่าขาดไป.

บทว่า เอตทโหสิ ความว่า ความคิดนั้นได้มีแล้วเมื่อไร. ในวันกาลกิริยาของพระราชา. ได้ยินว่าในกาลนั้น เทพดาทั้งหลายคิดว่าพระราชาจงอย่าทรงกระทํากาลกิริยาอย่างอนาถา จงมีธิดา บุตรทั้งหลาย ที่ร้องไห้แวดล้อมกระทํากาลกิริยาเถิด. ลําดับนั้น นึกถึงเทวี ยังจิตแห่งเทวีเกิดขึ้นอย่างนี้. บทว่า ปิตานิ วตฺถานิ ความว่า ได้ยินว่า ผ้าเหลืองเหล่านั้น เป็นที่พึงพอพระราชหฤทัยของพระราชาโดยปกติ เพราะฉะนั้น พระนางสุภัททาเทวีจึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงห่มผ้าเหลือง. บทว่า เอตฺเถว เทวิ เทวิ ติฏฺ ความว่า ชื่อว่าฌานาคารนี้ ไม่ใช่สถานอยู่ร่วมกับท่านทั้งหลาย ชื่อว่าสถานที่ได้ความยินดีในฌาน ท่านอย่าเข้ามาในที่นี้.

บทว่า เอตทโหสิ ความว่า ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายในโลกย่อมรุ่งโรจน์ยิ่งในกาลสมัยใกล้ตาย ด้วยเหตุนั้น พระนางเทวีนั้น ทรงเห็นความที่พระราชาทรงมีพระอินทรีย์ผ่องใส จึงมีพระดํารัสอย่างนั้น.

แต่นั้น พระนางเทวีไม่ทรงปรารถนากาลกิริยาของพระราชานั้น ว่าขอกาลกิริยาอย่าได้มีแด่พระราชา ตรัสถึงคุณสมบัติของพระราชานั้น ทรงคิดว่าเราจักทําอาการให้ทรงมีพระชนม์อยู่ จึงทูลว่า อิมานิ เต เทว เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 525

ในบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺทํ ชเนหิ ความว่า จงทรงยังความรักให้เกิดขึ้น คือ จงทรงกระทําปีติ. บทว่า ชีวิเต ปน อเปกฺขํ ความว่า พระองค์จงทรงทําความอาลัย คือ ความอยากในชีวิต. บทว่า เอวํ โข มํ ตฺวํ เทวิ ความว่า ครั้นพระนางเทวีสําคัญพระราชาว่าพระราชานี้เป็นบรรพชิต จึงทูลว่า ข้าแต่เทวะ หม่อมฉันเป็นหญิงย่อมไม่รู้จักถ้อยคําอันควรแก่บรรพชิต หม่อมฉันจะกล่าวอย่างไร มหาราช พระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิจึงตรัสว่า เอวํ โข มํ ตฺวํ เทวิ สมุทาจาร ดังนี้. บทว่า ครหิตา ความว่า สเปกขกาลกิริยา อันพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวกและบรรพชิตเหล่าอื่นผู้เป็นพหูสูตติเตียนแล้ว. เพราะเหตุอะไร. เพราะกาลกิริยาที่มีความห่วงใยเป็นเหตุให้เกิดเป็นยักษ์ สุนัข แพะ โค กระบือ หนู ไก่ และนกเป็นต้น ในเรือนของตนเท่านั้น.

บทว่า อถโข อานนฺท ความว่า พระนางเทวีไปในที่ควรส่วนสุดข้างหนึ่งแล้วทรงพระกันแสง ทรงเช็ดพระอัสสุชล จึงตรัสดังนั้น. บทว่า คหปติสฺส วา ความว่า ทําไมพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส. ได้ยินว่า สมบัติอันมากย่อมมีแก่ชนเหล่านั้นเหมือนมีแก่บุตรของโสณเศรษฐีเป็นต้น ฉะนั้น. ได้ยินว่า ถาดแห่งภัตใบหนึ่งของโสณเศรษฐีบุตรมีราคาตั้งสองแสน เมื่อชนเหล่านั้นบริโภคภัตเช่นนั้น ชั่วครู่ก็เกิดความเมาในภัต ทําให้อึดอัด ลําบากเพราะภัต ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ยํ เตน สมเยน อชฺฌาวสามิ ความว่า นครที่เราอยู่มีเพียงนครเดียวเท่านั้น. บุตรธิดาเป็นต้นและทาสมนุษย์ทั้งหลายอยู่ในนครที่เหลือ. แม้ในปราสาทและกูฏาคารทั้งหลายก็มีนัยเช่นเดียวกัน.

ในบัลลังก์เป็นต้นก็ทรงใช้บัลลังก์เดียวเท่านั้น. บัลลังก์ที่เหลือเป็นของใช้สําหรับบุตรเป็นต้น. แม้ในสตรีทั้งหลาย สตรีคนเดียวเท่านั้นบํารุง

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 526

สตรีที่เหลือเป็นเพียงบริวาร. บทว่า ปริทหามิ ความว่า เรานุ่งผ้าคู่เดียวเท่านั้น. ผ้าคู่ที่เหลือย่อมมีแก่บุรุษ ๑๖ แสน ๘๐ พันคนผู้ขอเที่ยวไป. บทว่า ภุฺชามิ แสดงว่า เราบริโภคข้าวสุกเพียงหนึ่งทะนานโดยปัตถะเป็นประมาณ ที่เหลือได้แก่บุรุษ ๘ แสน ๔๐ พันที่ขอเที่ยวไป. จริงอยู่ สํารับหนึ่งพอแก่ชนสิบคน. ได้ยินว่า พระนคร ๘๔,๐๐๐ แห่ง ปราสาทพันหลัง และกูฏาคารหนึ่งพัน เกิดขึ้นเพราะผลบุญไหลมาแห่งบรรณศาลาหลังเดียว. บัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ หลังเกิดขึ้นด้วยผลบุญไหลมาแห่งเตียงที่ถวายเพื่อประโยชน์แก่การนอน. ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือก ม้า ๑,๐๐๐ ตัว รถ ๑,๐๐๐ คัน เกิดขึ้นด้วยผลบุญที่ไหลมาแห่งตั่งที่ถวายเพื่อประโยชน์แก่การนั่ง. แก้วมณี ๘๔,๐๐๐ ดวงเกิดขึ้นด้วยผลบุญที่ไหลมาแห่งประทีปหนึ่งดวง. สระโบกขรณี ๘๔,๐๐๐ สระเกิดขึ้นด้วยผลบุญที่ไหลมาแห่งสระโบกขรณีหนึ่งสระ. สตรี ๘๔,๐๐๐ นาง บุตร ๑,๐๐๐ คน คหบดี ๑,๐๐๐ คน เกิดขึ้นด้วยผลบุญที่ไหลมาแห่งการถวายบริโภค ภาชนะ บาตร ถลกบาตร ธรรมกรก ผ้ากรองน้ำ หม้อน้ำ กรรไกร มีดตัดเล็บ เข็ม กุญแจ ไม้แคะมูลหู ผ้าเช็ดเท้า รองเท้า ร่ม และไม้เท้า. แม่โคนม ๘๔,๐๐๐ ตัวเกิดขึ้นด้วยผลบุญที่ไหลมาแห่งทานโครส. ผ้า ๘๔,๐๐๐ โกฏิพับเกิดขึ้นด้วยผลบุญอันไหลมาแห่งทานผ้านุ่งผ้าห่ม. สํารับใส่พระกระยาหาร ๘๔,๐๐๐ สํารับ พึงทราบว่าเกิดขึ้นด้วยผลบุญที่ไหลมาแห่งทานโภชนา. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงสมบัติของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิตั้งแต่ต้นโดยพิสดารดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงสมบัตินั้นทั้งหมดเหมือนแสดงโรงเล่นฝุ่นแก่เด็กทั้งหลาย บรรทมบนพระแท่นเป็นที่ดับขันธปรินิพพานแล้วตรัสว่า ดูกรอานนท์ เธอจงดู ดังนี้เป็นอาทิ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วิปริณตา ความว่า ถึงซึ่งความแปรปรวนเหมือนประทีปดับโดยละปกติไปฉะนั้น. บทว่า เอวํ อนิจฺจาโข อานนฺท

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 527

สํ ขารา ความว่า ชื่อว่า ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่ามีแล้ว กลับไม่มีอย่างนี้. บุรุษผูกพะองในต้นไม้จําปาสูงร้อยศอก ขึ้นแล้ว ถือเอาดอกไม้จําปา แก้พะองลงมา ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงยกซึ่งสมบัติของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิสูงถึงแสนโกฏิปีไม่ใช่น้อย เหมือนผูกพะอง ทรงถือเอาอนิจลักษณะที่ตั้งอยู่ในที่สุดแห่งสมบัติ ก้าวลงเหมือนแก้พะอง ด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้น ในกาลก่อน พระเจ้าวสภะทรงสดับพระสูตรนี้ที่พระทีฆภาณกเถระสาธยายในอัมพลัฏฐิกาด้านทิศตะวันออกแห่งโลหะปราสาท แล้วทรงคิดว่า พระผู้เป็นเจ้าของเรากล่าวอะไรในที่นี้ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวเฉพาะสมบัติในฐานที่ตนได้กินได้ดื่มเท่านั้น ทรงเหยียดพระหัตถ์ซ้ายประสานด้วยพระหัตถ์ขวาว่า ท่านมีจักษุด้วยจักษุห้าประการ เห็นสูตรนี้แล้วกล่าวอย่างนี้ ในกาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้แล. ทรงมีพระหฤทัยยินดีว่า สาธุ สาธุ ทรงให้สาธุการ.

บทว่า เอวํ อธุวา ความว่า ปราศจากความแน่นอน เหมือนคลื่นน้ำเป็นต้น อย่างนี้. บทว่า เอวํ อนสฺสาสิกา ความว่า ปราศจากลมอัสสาสะเหมือนน้ำที่ดื่มแล้ว และเหมือนจันทร์ที่ลูบไล้ในความฝันอย่างนี้. บทว่า สรีรํ นิกฺขิเปยฺย ความว่า ทิ้งสรีระ. บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ การทิ้งหรือการปฏิบัติสรีระอื่นย่อมไม่มีแก่พระตถาคต. ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้วจึงตรัสเรียกพระเถระอีกว่า ธรรมดาอานุภาพแห่งพระเจ้าจักรพรรดิย่อมอันตรธานในวันที่เจ็ดแห่งการบวช. ส่วนสมบัติทั้งหมดนี้ คือกําแพงรัตนะเจ็ดชั้น ตาลรัตนะ สระโบกขรณี ๘๔,๐๐๐ สระ ธรรมปราสาท ธรรมาโบกขรณี จักรรัตนะ อันตรธานแล้วในวันที่เจ็ดแต่กาลกิริยาแห่งพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิ. ในช้างเป็นต้น ก็ธรรมดาอย่างนี้. ที่หมดอายุขัยก็ทํากาลกิริยาไป. ครั้นอายุยังเหลืออยู่ หัตถีรัตนะก็จะไปสู่ตระกูลอุโบสถ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 528

อัสสรัตนะก็จะไปสู่ตระกูลวลาหก มณีรัตนะก็จะไปสู่วิบุลบรรพต เท่านั้นเอง อานุภาพแห่งอิตถีรัตนะย่อมอันตรธานไป จักษุของคหบดีรัตนะก็จะกลับเป็นปกติ การขวนขวายของปริณายกรัตนะก็ย่อมพินาศ.

บทว่า อิทมโวจ ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสบทนี้ทั้งหมดที่มาแล้วและไม่มาแล้วในพระบาลี. บทที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น ดังนี้.

จบ อรรถกถามหาสุทัสสนสูตรที่ ๔