๔. มหาสุทัสสนสูตร
[เล่มที่ 13] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 473
๔. มหาสุทัสสนสูตร
เรื่องพระเจ้าจักรพรรดิมหาสุทัสสนะ 473
กถาว่าด้วยการปรากฎแห่งจักรรัตนะ หน้า 475
กถาว่าด้วยการปรากฎของหัตถิรัตนะเป็นต้น หน้า 477
เรื่องท้าวสักกะให้สร้างปราสาทประทับ หน้า 483
กถาว่าด้วยการสร้างธรรมปราสาท หน้า 485
กถาว่ด้วยการสร้างธรรมาโบกขรณี หน้า 486
กถาว่าด้วยพระนางสุภัททาเทวี หน้า 490
ว่าด้วยความสลดพระทัยของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ หน้า 493
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 13]
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 473
๔. มหาสุทัสสนสูตร
เรื่องพระอานนทเถระ
[๑๖๓] ข้าพเจ้าฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง อันเป็นสมัยแห่งการปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับที่ป่าสาละตรงที่แวะพักผ่อนของพวกเจ้ามัลละ ระหว่างคู่สาละ ใกล้กรุงกุสินารา. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่งในที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว. ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่าได้ปรินิพพานในเมืองเล็กเมืองดอน เมืองกิ่งนครนี้ พระพุทธเจ้าข้า นครใหญ่อื่น เช่นเมืองจําปา ราชคฤห์ สาวัตถี สาเกต โกสัมพี พาราณสี ก็ยังมีอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสด็จไปปรินิพพานในเมืองเหล่านั้นเถิด ในเมืองเหล่านั้น กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล คหบดีมหาศาล จํานวนมาก เลื่อมใสในพระตถาคตเจ้า พวกท่านเหล่านั้นจักกระทําการบูชาพระสรีระของพระตถาคตเจ้า.
เรื่องพระเจ้าจักพรรดิมหาสุทัสสนะ
อานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า กุสินาราเป็นเมืองเล็กเมืองดอน เมืองกิ่งนครเลย. อานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระราชาพระนามว่ามหาสุทัสสนะเป็นกษัตริย์ได้รับมุรธาภิเษก มีอาณาเขตปกครองจรด ๔ มหาสมุทร เป็นผู้พิชิต ทรงปกครองบ้านเมืองอย่างมั่นคง. อานนท์ เมืองกุสินารา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 474
นี้ เป็นราชธานีชื่อกุสาวดีของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ. โดยส่วนยาวทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ๑๒ โยชน์ โดยส่วนกว้างทางทิศเหนือและทิศใต้ ๗ โยชน์. อานนท์ กุสาวดีราชธานีเป็นเมืองมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ มีคนมาก เกลื่อนกล่นไปด้วยคน และหาอาหารได้ง่าย. อานนท์ ราชธานีชื่ออาลกมันทาของพวกเทวดาเป็นเมืองมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ มีชนมาก เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่ยักษ์ และหาอาหารได้ง่าย แม้ฉันใด อานนท์ กุสาวดีราชธานีเป็นเมืองมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ มีคนมาก มีคนพลุกพล่าน และอาหารก็หาได้ง่าย ฉันนั้น นั่นแหละ อานนท์ กุสาวดีราชธานีเป็นราชธานีที่ไม่เงียบจากเสียง ๑๐ อย่าง ทั้งกลางวันและกลางคืน คือ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง เสียงกังสดาล เสียงประโคม และเสียงเรียกกันว่า จงกิน จงดื่ม จงเคี้ยว เป็นที่ ๑๐. อานนท์ กุสาวดีราชธานีมีกําแพงล้อมรอบ ๗ ชั้น กําแพง ๑ สร้างด้วยทองคํา กําแพง ๑ สร้างด้วยเงิน กําแพง ๑ สร้างด้วยไพฑูรย์ กําแพง ๑ สร้างด้วยแก้วผลึก กําแพง ๑ สร้างด้วยแก้วทับทิม กําแพง ๑ สร้างด้วยบุษราคัม และอีกกําแพง ๑ สร้างด้วยแก้วทุกอย่างมารวมกัน. อานนท์ กุสาวดีราชธานีมีประตู ๔ ชนิด คือ เป็นประตูทองคํา ๑ ประตูเงิน ๑ ประตูแก้วไพฑูรย์ ๑ ประตูแก้วผลึก ๑ ในแต่ละประตูปักเสาระเนียดไว้ ๗ ต้น แต่ละต้นปักลึก ๓ ชั่วคน เหนือพื้นดินขึ้นมาสูง ๑๒ ชั่วคน เสาทองต้น ๑ เสาเงินต้น ๑ เสาแก้วไพฑูรย์ต้น ๑ เสาแก้วผลึกต้น ๑ เสาแก้วทับทิมต้น ๑ เสาบุษราคัมต้น ๑ และเสาที่เอาแก้วทุกอย่างมาสร้างรวมกันอีกต้น ๑ อานนท์ กุสาวดีราชธานีมีแถวตาลล้อม ๗ แถวคือ แถวตาลทอง ๑ แถวเงิน ๑ แถวไพฑูรย์ ๑ แถวแก้วผลึก ๑ แถวแก้วทับทิม ๑ แถวบุษราคัม ๑ แถวที่สําเร็จด้วยแก้วทุกอย่างอีก ๑. แถวตาลทองลําต้นแล้วไปด้วยทอง ใบและผลแล้วไปด้วยเงิน แถวตาลเงินลําต้นเป็นเงิน ใบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 475
และผลเป็นทอง. แถวตาลแก้วไพฑูรย์ลําต้นเป็นแก้วไพฑูรย์ ใบและผลเป็นแก้วผลึก. แถวตาลแก้วผลึกลําต้นเป็นแก้วผลึก ใบและผลเป็นแก้วไพฑูรย์. แถวตาลแก้วทับทิมลําต้นเป็นบุษราคัม ใบและผลเป็นแก้วทับทิม. แถวตาลที่เป็นแก้วทุกอย่างปนกันลําต้นก็เป็นแก้วทุกอย่าง ใบและผลเป็นแก้วทุกชนิด. ก็แลอานนท์ แถวตาลเหล่านั้นที่ถูกลมพัด มีเสียงไพเราะ ยวนใจ ชวนให้ฟัง และน่าเคลิบเคลิ้ม. อานนท์ เสียงแห่งดนตรีที่ประกอบด้วยองค์ห้าที่นักดนตรีผู้ฉลาดปรับดีแล้ว ประโคมดีแล้ว บรรเลงดีแล้ว ย่อมเป็นเสียงไพเราะ ยวนใจ ชวนให้ฟัง และให้เคลิบเคลิ้ม แม้ฉันใด อานนท์ เสียงแถวตาลเหล่านั้นที่ถูกลมพัดก็เป็นเสียงไพเราะ ยวนใจ ชวนให้ฟัง และให้เคลิบเคลิ้ม ฉันนั้น นั่นแล. อานนท์ โดยสมัยนั้น พวกนักเลง พวกนักเล่น พวกนักดื่ม แห่งกรุงกุสาวดี ก็คลอเสียงประสานกับเสียงแถวตาลที่ถูกลมพัดเหล่านั้น.
กถาว่าด้วยการปรากฏแห่งจักรรัตนะ
[๑๖๔] อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงมีแก้ว ๗ อย่าง และฤทธิ์ ๔ อย่าง. แก้ว ๗ อย่างอะไรบ้าง.
อานนท์ ในแก้ว ๗ ประการนี้ คือ
จักรแก้ว เป็นทิพย์ ประกอบด้วย กํา กง ดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะผู้เสด็จสนานพระเศียร รักษาอุโบสถ ประทับอยู่บนปราสาทชั้นบนอันประเสริฐ ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ํานั้น เมื่อพระเจ้ามหาสุทัสสนะทอดพระเนตรเห็น ก็ทรงพระดําริว่า ก็แลข้อนี้ เราเคยฟังมาว่า พระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษกองค์ใด สนานพระเศียรแล้ว ทรงพระอุโบสถอยู่บนปราสาทอันประเสริฐ ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ํา นั้น ปรากฏ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 476
จักรแก้วอันเป็นทิพย์ มี กํา กง ดุม บริบูรณ์ด้วยรายละเอียดทุกอย่างขึ้นมา พระราชาองค์นั้นย่อมเป็นจักรพรรดิ เราเห็นจะต้องเป็นพระเจ้าจักรพรรดิหรือ. อานนท์ ทีนั้นพระเจ้ามหาสุทัสสนะเสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ ทรงผ้าสะไบเฉวียงบ่า และทรงใช้พระหัตถ์ซ้ายจับพระเต้าทอง พระหัตถ์ขวาทรงชูจักรขึ้น ตรัสว่า โอจักรแก้วจงหมุนไปเถิด โอจักรแก้วจงพิชิตเถิด. อานนท์ ทันใดนั้นจักรแก้วก็หมุนไปทิศตะวันออก. พระเจ้ามหาสุทัสสนะพร้อมกับกองทัพ ๔ เหล่าก็ตามติดไป. ก็แหละอานนท์ จักรแก้วไปหยุดในประเทศใด พระเจ้ามหาสุทัสสนะพร้อมกับกองทัพ ๔ เหล่าก็เสด็จเข้าไปพักในประเทศนั้น. เหล่าพระราชาฝ่ายตรงข้าม (อริราชศัตรู) ทางทิศตะวันออกก็เข้ามาเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ กราบทูลว่า มหาราช เชิญเสด็จพระราชดําเนินมาเถิดมหาราช ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายการต้อนรับมหาราช ราชสมบัติของหม่อมฉันขอยกถวายแก่พระองค์มหาราช ขอพระองค์จงพระราชทานพระบรมราโชวาท. พระเจ้ามหาสุทัสสนะมีพระราชดํารัสอย่างนี้ว่า อย่าฆ่าสัตว์ อย่าลักทรัพย์ อย่าประพฤติผิดในกาม อย่ากล่าวเท็จ อย่าดื่มน้ำเมา และจงเสวยสมบัติตามที่เคยเสวยเถิด. อานนท์ ก็แล เหล่าพระราชาฝ่ายตรงกันข้ามทางทิศตะวันออกได้เป็นบริวารของพระเจ้ามหาสุทัสสนะแล้ว. อานนท์ ครั้งนั้นแล จักรแก้วนั้นก็ย่างเข้าสู่ทะเลทิศตะวันออกหมุนไปทางทิศใต้ ย่างเข้าสู่ทะเลทางทิศใต้หมุนไปทางทิศตะวันตก ย่างเข้าสู่ทะเลตะวันตกหมุนไปทางทิศเหนือ. พระเจ้ามหาสุทัสสนะพร้อมกับกองทัพ ๔ เหล่าก็เสด็จตามติดไป. ดูก่อนอานนท์ ก็จักรแก้วหยุดอยู่ในประเทศใด พระเจ้ามหาสุทัสสนะพร้อมด้วยจตุรงคเสนาก็เสด็จเข้าไปประทับในประเทศนั้น. อานนท์ ก็แลเหล่าพระราชาฝ่ายตรงข้ามในทิศเหนือก็เสด็จมาเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า มหาราช ขอจงเสด็จพระราชดําเนินมาเถิด พระองค์เสด็จมาดีแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 477
ราชสมบัติของหม่อมฉันย่อมเป็นของพระองค์ ขอพระองค์จงประทานพระบรมราโชวาท. พระเจ้ามหาสุทัสสนะจึงตรัสอย่างนี้ว่า พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงกล่าวเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา และจงเสวยสมบัติตามที่เคยเสวยเถิด. อานนท์ ก็แลเหล่าพระราชาฝ่ายตรงข้ามทางทิศเหนือต่างยอมเป็นบริวารของพระเจ้ามหาสุทัสสนะแล้ว. อานนท์ ครั้งนั้นแล จักรแก้วนั้น ครั้นพิชิตแผ่นดินจรดขอบทะเลแล้วก็กลับมาสู่กรุงกุสาวดี หยุดอยู่กับที่เหมือนถอดเพลาออกตรงหน้ามุขศาลใกล้ประตูพระราชวังของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ ทําให้พระราชวังของพระเจ้ามหาสุทัสสนะสง่างาม. อานนท์ จักรแก้วเห็นปานนี้ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะแล้ว.
กถาว่าด้วยการปรากฏของหัตถิรัตนะเป็นต้น
[๑๖๕] อานนท์ ข้ออื่นยังมีอีก ช้างแก้วได้ปรากฏแล้วแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เป็นพระยาช้างชื่ออุโบสถขาวปลอด เป็นที่ตั้งแห่งคชลักษณ์ครบ ๗ ประการ มีฤทธิ์เหาะได้. พระเจ้ามหาสุทัสสนะทอดพระเนตรเห็นช้างนั้นก็ทรงเลื่อมใส ตรัสว่า ผู้เจริญ ยานช้างนี้ ถ้าพึงฝึกหัดก็จะดี. อานนท์ ทันทีนั้น ช้างแก้วนั้นก็ถึงการฝึกหัดเหมือนช้างแสนรู้ตัวเจริญที่ได้รับการฝึกอย่างดีมาแล้วสิ้นกาลนานฉะนั้น. อานนท์ เล่ากันมาว่า พระเจ้ามหาสุทัสสนะเมื่อจะทรงทดลองช้างแก้วนั้นเอง ตอนเช้าเสด็จขึ้นเลียบไปทั่วแผ่นดินจมจรดขอบทะเล แล้วเสด็จกลับมาสู่กรุงกุสาวดี เสวยพระกระยาหารเช้า. อานนท์ ช้างแก้วเห็นปานนี้ ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะแล้ว.
[๑๖๖] อานนท์ ยังมีข้ออื่นอีก ม้าแก้วได้ปรากฏขึ้นแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เป็นพญาม้าชื่อวลาหก สีขาวล้วน ศีรษะดําเหมือนกา มีผมเป็นพวง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 478
เหมือนหญ้าปล้อง มีฤทธิ์เหาะได้. พระเจ้ามหาสุทัสสนะทอดพระเนตรเห็นก็ทรงเลื่อมใส ตรัสว่า ผู้เจริญ ยานคือม้าถ้าฝึกหัดได้ ก็จะเป็นยานม้าที่ดี. ทันใดนั้น อานนท์ ม้าแก้วนั้นก็เข้าถึงการฝึกหัดเหมือนม้าอาชาไนยชั้นดี ได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดีสิ้นกาลนาน. อานนท์ เล่ากันมาว่า พระเจ้ามหาสุทัสสนะจะทรงพิสูจน์ม้าแก้วนั้นเอง ตอนเช้าก็เสด็จขึ้นทรงแล้ว ควบไปทั่วแผ่นดินจนจรดขอบทะเล แล้วเสด็จกลับกรุงกุสาวดี เสวยพระกระยาหารเช้า. อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงมีม้าแก้วเห็นปานนี้แล้ว.
[๑๖๗] อานนท์ ข้ออื่นยังมีอีก พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงมีแก้วมณี เป็นแก้วมณีชนิดไพฑูรย์ชั้นงาม มีกําเนิดแปดเหลี่ยม เจียระไนอย่างดี สุกใสแวววาว มีอาการสมบูรณ์ทุกอย่าง. อานนท์ ก็แหละ แก้วมณีนั้นแลมีรัศมีแผ่ไปตั้งโยชน์หนึ่งโดยรอบ. อานนท์ เคยมีเรื่องเล่าว่า พระเจ้ามหาสุทัสสนะจะทรงทดลองแก้วมณีดวงนั้นเอง ทรงเตรียมกองทัพสี่เหล่าแล้วเอาแก้วมณีวางบนยอดธง เสด็จออกไปในกลางคืนที่มืดมิด. อานนท์ ก็แลพวกชาวบ้านโดยรอบต่างเข้าใจว่าเป็นกลางวัน จึงพากันประกอบการงานด้วยแสงนั้น. อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงมีแก้วมณีเห็นปานนี้แล้ว.
[๑๖๘] อานนท์ ยังมีข้ออื่นอีก นางแก้วได้ปรากฏขึ้นแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เป็นหญิงมีรูปงาม น่าชม น่าเลื่อมใส ถึงพร้อมด้วยผิวพรรณที่งดงามอย่างยิ่ง ไม่สูงนัก ไม่เตี้ยนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดํานัก ไม่ขาวนัก ไม่ถึงกับเป็นผิวทิพย์ แต่ก็ล่วงผิวหญิงมนุษย์. อานนท์ ก็แหละสัมผัสทางกายของนางแก้วนั้นแลเป็นดังนี้ คือเป็นเหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย. ก็แลอานนท์ เมื่ออากาศเย็น ตัวนางแก้วนั้นเองก็ร้อน เมื่ออากาศร้อนก็เย็น. อานนท์ ก็แลกลิ่นจันทร์ฟุ้งจากกาย กลิ่นอุบลฟุ้งจากปากของนางแก้วนั้นแหละ. อานนท์ ก็แลนางแก้วนั้นแล ตื่นก่อนนอนหลังพระเจ้ามหา-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 479
สุทัสสนะเสมอ คอยฟังรับสั่ง ประพฤติชอบพระหฤทัย เพ็ดทูลด้วยคําที่น่ารัก. อานนท์ ก็แล นางแก้วนั้นเอง แม้แต่ทางใจก็ไม่ประพฤตินอกพระหฤทัยพระเจ้ามหาสุทัสสนะ แล้วทางกายจะพึงมีแต่ไหนเล่า. อานนท์ ก็แลพระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงมีนางแก้วเห็นปานนี้แล้ว.
[๑๖๙] อานนท์ ยังมีข้ออื่นอีก คฤหบดีแก้วได้ปรากฏแล้วแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เขามีตาทิพย์ที่เกิดแต่ผลกรรมที่เป็นเหตุให้เขาเห็นขุมทรัพย์ ทั้งที่มีเจ้าของ ทั้งที่หาเจ้าของมิได้. เขาเข้าเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะแล้วกราบทูลว่า ขอเดชะ พระองค์ไม่ต้องทรงเป็นห่วง ข้าพระพุทธเจ้าจักกระทําหน้าที่เรื่องพระราชทรัพย์ด้วยทรัพย์แก่พระองค์. อานนท์ มีเรื่องเล่ากันมาว่า พระเจ้ามหาสุทัสสนะจะทรงทดลองคฤหบดีแก้วนั้นแล จึงเสด็จขึ้นประทับเรือ หยั่งลงสู่กระแสกลางแม่คงคา มีรับสั่งกับคฤหบดีแก้วอย่างนี้ว่า คฤหบดี ฉันต้องการเงินทอง.
คฤหบดี.. มหาราชเจ้า ถ้ากระนั้น โปรดเทียบเรือเข้าไปริมตลิ่ง.
พระราชา.. คฤหบดี ตรงนี้แหละ ฉันต้องการเงินทองจริงๆ.
อานนท์ ทันใดนั้น คฤหบดีแก้วนั้น ก็เอามือทั้งสองข้างจุ่มลงน้ำแล้วก็ยกเอาหม้อที่เต็มไปด้วยเงินทอง พลางกราบทูลพระเจ้ามหาสุทัสสนะว่า มหาราชเจ้า เท่านี้พอหรือยัง ทําเท่านี้หรือมหาราชเจ้า พระเจ้ามหาสุทัสสนะตรัสอย่างนี้ว่า คฤหบดี เท่านี้ก็พอแล้ว ทําเพียงเท่านี้เถิด คฤหบดี เท่านี้ก็เป็นอันท่านบูชาแล้ว อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงมีคฤหบดีแก้วเห็นปานนี้แล้ว.
[๑๗๐] อานนท์ ข้ออื่นยังมีอีก พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงมีปริณายกแก้ว ซึ่งเป็นบัณฑิตมีความสามารถ เป็นนักปราชญ์ เข้มแข็ง เพื่อจะให้พระเจ้ามหาสุทัสสนะเสด็จเข้าไปยังที่ที่ควรเข้าไป ให้หลีกไปยังที่ที่ควรหลีก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 480
ทรงยับยั้งสิ่งที่ควรยับยั้ง เขาเข้าเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์ไม่ต้องทรงเป็นห่วง ข้าพระพุทธเจ้าจักปกครอง. อานนท์ ปริณายกแก้วเห็นปานนี้ ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะแล้ว. อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงถึงพร้อมด้วยแก้ว ๗ ประการเหล่านี้.
กถาว่าด้วยฤทธิ์ ๔
[๑๗๑] อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงมีพระฤทธิ์ ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน.
อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงมีพระรูปงาม น่าชม น่าเลื่อมใส ทรงมีพระฉวีวรรณผ่องใสยิ่งกว่ามนุษย์เหล่าอื่นในโลกนี้. อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงมีพระฤทธิ์ นี้เป็นที่หนึ่ง.
[๑๗๒] อานนท์ ข้ออื่นยังมีอีก พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงมีพระชนมายุยืนนาน ทรงดํารงพระชนม์ยืนนานยิ่งกว่าพวกมนุษย์เหล่าอื่น. อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงมีพระฤทธิ์ นี้เป็นที่สอง.
[๑๗๓] อานนท์ ข้ออื่นยังมีอีก พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีพระโรคน้อย ทรงมีพระเตโชธาตุอันเกิดแต่กรรมอันมีวิบากเสมอกัน ไม่เย็นจัดและไม่ร้อนจัด ยิ่งกว่าพวกมนุษย์เหล่าอื่น. อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงมีพระฤทธิ์ นี้เป็นที่สาม.
[๑๗๔] อานนท์ ข้ออื่นยังมีอีก พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงเป็นที่รักที่ชอบใจของพวกพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย. อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงเป็นที่รักที่ชอบใจของพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เหมือนบิดาเป็นที่รักที่ชอบใจของบุตรทั้งหลายฉะนั้น. อานนท์ ก็พวกพราหณ์และคฤหบดีได้เป็นที่รักที่โปรดปรานของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ. อานนท์ พวกพราหมณ์และคฤหบดีได้เป็นที่รักที่โปรดปรานแม้ของพระเจ้ามหา-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 481
สุทัสสนะ เหมือนบุตรเป็นที่รักที่โปรดปรานของบิดานั่นเทียว. อานนท์ เรื่องเคยมีแล้ว พระเจ้ามหาสุทัสสนะเสด็จไปพระราชอุทยานกับกองทัพ ๔ เหล่า. อานนท์ ครั้งนั้นแล พวกพราหมณ์และคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ พลางกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์อย่าด่วนเสด็จไปจนกว่าพวกข้าพระองค์พึงเฝ้าพระองค์ได้นานๆ. อานนท์ ฝ่ายพระเจ้ามหาสุทัสสนะก็ตรัสกับสารถีว่า สารถี เธออย่าด่วนขับรถไปจนกว่าเราจะพึงเห็นพวกพราหมณ์และคฤหบดีได้นานๆ. อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงมีพระฤทธิ์ นี้เป็นที่ ๔. อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงมีพระฤทธิ์ ๔ ประการนี้.
การสร้างสระโบกขรณี
[๑๗๕] อานนท์ ครั้งนั้นแล พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงดําริว่า ถ้ากระไร เราพึงขุดสระโบกขรณีห่างกันเป็นระยะร้อยชั่วธนูในระหว่างต้นตาลเหล่านี้. อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงให้ขุดสระโบกขรณีห่างกันเป็นระยะร้อยชั่วธนูระหว่างต้นตาลเหล่านั้น. อานนท์ ก็แลสระโบกขรณีเหล่านั้น ก่อด้วยอิฐ ๔ ชนิด คือ อิฐชนิดหนึ่งเป็นทอง ชนิดหนึ่งเป็นเงิน ชนิดหนึ่งเป็นแก้วไพฑูรย์ ชนิดหนึ่งเป็นแก้วผลึก. อานนท์ ก็แลบรรดาสระเหล่านั้น แต่ละสระได้มีบันไดสระละ ๔ ชนิด คือ บันไดหนึ่งเป็นทอง บันไดหนึ่งเป็นเงิน บันไดหนึ่งเป็นแก้วไพฑูรย์ บันไดหนึ่งเป็นแก้วผลึก. บันไดทองได้มีเสาทอง ลูกบันไดและพนักเป็นเงิน. บันไดเงินได้มีเสาเงิน ลูกบันไดและพนักเป็นทอง. บันไดแก้วไพฑูรย์มีเสาแก้วไพฑูรย์ ลูกบันไดและพนักเป็นแก้วผลึก. บันไดแก้วผลึก เสาก็เป็นแก้วผลึก ลูกบันไดและพนักเป็นแก้วไพฑูรย์. อานนท์ ก็แลสระโบกขรณีเหล่านั้นมีเวทีสองชั้นแวดล้อม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 482
คือ เวทีชั้นหนึ่งเป็นทอง ชั้นหนึ่งเป็นเงิน. เวทีทองได้มีแม่บันไดเป็นทองลูกและพนักเป็นเงิน. เวทีเงินมีแม่บันไดเป็นเงิน ลูกและพนักเป็นทอง. อานนท์ ครั้งนั้นแล พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงพระดําริว่า ถ้ากระไร เราพึงให้ปลูกดอกไม้เห็นปานนี้ คือ อุบล ปทุม โกมุท บุณฑริก อันผลิดอกในทุกฤดู ไม่ให้ชนทั้งหมดที่มาแล้วกลับไปมือเปล่า ที่สระโบกขรณีเหล่านี้. อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงให้ปลูกดอกไม้เห็นปานนี้ คือ อุบล ปทุม โกมุท ปุณฑริก อันผลิดอกในทุกฤดู ไม่ให้ชนทั้งหมดมีมือเปล่ากลับไป ที่สระโบกขรณีเหล่านั้น. อานนท์ ครั้งนั้นแล พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงพระดําริว่า ถ้ากระไร เราพึงวางคนสําหรับเชิญคนให้อาบน้ำที่ฝังสระโบกขรณีเหล่านี้ จะได้เชิญคนผู้มาแล้วๆ ให้อาบ. อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะจึงทรงวางคนสําหรับเชิญคนให้อาบน้ำที่ฝังสระโบกขรณีเหล่านั้น สําหรับเชิญคนผู้มาแล้วๆ ให้อาบ. อานนท์ ครั้งนั้นแล พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงดําริว่า ถ้ากระไรเราพึงตั้งโรงทานเห็นปานนี้ คือ ข้าวสําหรับผู้ต้องการข้าว น้ำสําหรับผู้ต้องการน้ำ ผ้าสําหรับผู้ต้องการผ้า ยานสําหรับผู้ต้องการยาน ที่นอนสําหรับผู้ต้องการที่นอน สตรีสําหรับผู้ต้องการสตรี เงินสําหรับผู้ต้องการเงิน และทองสําหรับผู้ต้องการทอง ใกล้ฝังสระโบกขรณีเหล่านั้น. อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงตั้งโรงทานเห็นปานนั้น คือ ข้าวสําหรับผู้ต้องการข้าว น้ำสําหรับผู้ต้องการน้ำ ผ้าสําหรับผู้ต้องการผ้า ยานสําหร้บผู้ต้องการยาน ที่นอนสําหรับผู้ต้องการที่นอน สตรีสําหรับผู้ต้องการสตรี เงินสําหรับผู้ต้องการเงิน และทองสําหรับผู้ต้องการทอง ใกล้ฝังสระโบกขรณีเหล่านั้น.
[๑๗๖] อานนท์ ครั้งนั้นแล พวกพราหมณ์และคฤหบดีนําเอาทรัพย์จํานวนมากเข้าไปเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ทรัพย์จํานวนมากนี้ พวกข้าพระพุทธเจ้าเจาะจงนํามาถวายแด่พระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 483
องค์ผู้เดียว ขอพระองค์ทรงรับเอาทรัพย์นั้นไว้เถิด. พระเจ้าสุทัสสนะตรัสตอบว่าอย่าเลยท่าน สมบัติของฉันนี้ ที่เก็บภาษีอย่างเป็นธรรมมา มากพอแล้ว ทรัพย์นั้นจงเป็นของพวกท่านเถิด และขอให้พวกท่านช่วยนําเอาออกจากนี้คนละมากๆ ไปด้วย. พวกเขาถูกพระราชาทรงปฏิเสธแล้ว ก็พากันหลีกไปหาที่ส่วนหนึ่ง ปรึกษากันอย่างนี้ว่า การที่พวกเราขนเอาสมบัติเหล่านั้นกลับไปเรือนของตนอีกครั้งหนึ่งแบบนี้ไม่เหมาะแก่พวกเราเลย เอาอย่างนี้เถิด คือ พวกเราช่วยกันสร้างพระราชวังถวายพระเจ้ามหาสุทัสสนะเถิด. แล้วพวกนั้นก็เข้าเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ พวกข้าพระพุทธเจ้าต้องให้สร้างพระราชวังถวายแด่พระองค์. อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงรับด้วยความนิ่งแล้วแล.
เรื่องท้าวสักกะให้สร้างปราสาทประทับ
[๑๗๗] อานนท์ ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมทวยเทพทรงทราบความดําริในพระหฤทัยของพระเจ้ามหาสุทัสสนะด้วยพระหฤทัย แล้วทรงเรียกวิศวกรรมเทพบุตรมาสั่งว่า เออนี่ วิศวกรรมจงมา เธอจงไปสร้างพระราชวังชื่อธรรมปราสาท ถวายแด่พระเจ้ามหาสุทัสสนะเถิด อานนท์ วิศวกรรมเทพบุตรรับเทวบัญชาของท้าวสักกะจอมทวยเทพว่า อย่างนั้น ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์เถิด แล้วก็หายจากหมู่เทพชั้นดาวดึงส์มาปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ รวดเร็วเหมือนคนมีกําลังเหยียดแขนที่คู้เข้าออก หรือคู้แขนเหยียดออกเข้า ฉะนั้น. อานนท์ ทีนั้น วิศวกรรมเทพบุตรได้กราบทูลพระเจ้ามหาสุทัสสนะอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าจักสร้างพระราชวังชื่อธรรมปราสาทแด่พระองค์. อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงรับด้วยการนิ่งแล้วแล. อานนท์ วิศวกรรมเทพบุตรสร้าง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 484
ธรรมปราสาทถวายแด่พระเจ้ามหาสุทัสสนะแล้ว. อานนท์ ธรรมปราสาทยาวไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกหนึ่งโยชน์ กว้างไปทางทิศเหนือและทิศใต้กึ่งโยชน์. อานนท์ วัสดุที่เอามาก่อสร้างธรรมปราสาทสูงกว่า ๓ ชั่วคนด้วยอิฐ ๔ ชนิด คือ เป็นอิฐทองพวกหนึ่ง อิฐเงินพวกหนึ่ง อิฐไพฑูรย์พวกหนึ่ง อิฐผลึกพวกหนึ่ง. อานนท์ ธรรมปราสาทมีเสา ๘๔,๐๐๐ ต้น แบ่งเป็น ๔ ชนิด คือ เป็นเสาทองชนิดหนึ่ง เสาเงินชนิดหนึ่ง เสาไพฑูรย์ชนิดหนึ่ง เสาผลึกชนิดหนึ่ง. อานนท์ ธรรมปราสาทปูกระดาน ๔ สี คือ กระดานทองสีหนึ่ง กระดานเงินสีหนึ่ง กระดานไพฑูรย์สีหนึ่ง กระดานผลึกสีหนึ่ง. อานนท์ ธรรมปราสาทมี ๒๔ บันได แบ่งเป็น ๔ ชนิด คือ บันไดทองหนึ่ง บันไดเงินหนึ่ง บันไดไพฑูรย์หนึ่ง บันไดผลึกหนึ่ง. สําหรับบันไดทองมีแม่บันไดสําเร็จไปด้วยทอง ลูกบันไดและพนักแล้วไปด้วยเงิน. บันไดเงินมีแม่บันไดเป็นเงิน ขั้นและพนักบันไดเป็นทอง. บันไดไพฑูรย์มีแม่บันไดล้วนแล้วไปด้วยไพฑูรย์ ขั้นและพนักบันไดเป็นผลึก. บันไดผลึกมีแม่บันไดเป็นผลึก ขั้นและพนักบันไดล้วนแล้วไปด้วยไพฑูรย์. อานนท์ ในธรรมปราสาทมีเรือนยอด ๘๔,๐๐๐ ยอด แบ่งเป็น ๔ ชนิด คือ ยอดหนึ่งเป็นทอง ยอดหนึ่งเป็นเงิน ยอดหนึ่งเป็นไพฑูรย์ ยอดหนึ่งเป็นผลึก. ที่เรือนยอดทองตั้งบัลลังก์เงินไว้. บัลลังก์ทองตั้งไว้ที่เรือนยอดเงิน. ที่เรือนยอดไพฑูรย์ตั้งบัลลังก์งาช้างไว้. บัลลังก์บุษราคําตั้งไว้ที่เรือนยอดผลึก. ใกล้ประตูเรือนยอดทองประดิษฐานตาลเงินไว้ ลําต้นแล้วไปด้วยเงิน ใบและผลเป็นทอง. ใกล้ประตูเรือนยอดเงินประดิษฐานตาลทองไว้ ลําต้นแล้วไปด้วยทอง ใบและผลเป็นเงิน. ใกล้ประตูเรือนยอดไพฑูรย์ประดิษฐานตาลผลึกไว้ ลําต้นแล้วไปด้วยผลึก ใบและผลเป็นไพฑูรย์. ใกล้ประตูเรือนยอดผลึกประดิษฐานตาลไพฑูรย์ไว้ ลําต้นล้วนแล้วไปด้วยไพฑูรย์ ใบและผลเป็นผลึก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 485
กถาว่าด้วยการสร้างธรรมปราสาท
[๑๗๘] อานนท์ ครั้งนั้นแล พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงมีพระดําริอย่างนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึงให้สร้างป่าตาลที่แล้วไปด้วยทองทั้งหมดใกล้ประตูเรือนยอดหลังใหญ่ซึ่งเป็นที่ที่เรานั่งพักผ่อนตอนกลางวัน. อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงให้สร้างป่าตาลที่แล้วไปด้วยทองทั้งหมดใกล้ประตูเรือนยอดหลังใหญ่ซึ่งเป็นที่ที่พระองค์ประทับนั่งพักผ่อนตอนกลางวันแล้ว. อานนท์ ธรรมปราสาทแวดล้อมไปด้วยไพทีสองชั้น คือ ชั้นหนึ่งแล้วไปด้วยทอง อีกชั้นหนึ่งแล้วไปด้วยเงิน. แม่บันไดของไพทีที่แล้วไปด้วยทองก็สําเร็จไปด้วยทอง ขั้นและพนักสําเร็จไปด้วยเงิน. แม่บันไดของไพทีที่แล้วไปด้วยเงินก็สําเร็จไปด้วยเงิน ขั้นและพนักเอาทองมาทํา. อานนท์ ธรรมปราสาทแวดล้อมไปด้วยข่ายลูกกระพรวนสองข่าย คือ ข่ายหนึ่งเป็นข่ายทอง อีกข่ายหนึ่งเป็นข่ายเงิน. ข่ายทองแขวนกระดึงเงิน. ข่ายเงินแขวนกระดึงทอง. อานนท์ เมื่อข่ายกระดึงเหล่านั้นแลถูกลมพัด ก็มีเสียงไพเราะ น่าใคร่ ทําให้คึกคักและน่าหลงใหลด้วย. อานนท์ เสียงดนตรีมีองค์ ๕ ที่นักดนตรีผู้ฉลาดปรับดีแล้ว ประโคมดีแล้ว บรรเลงดีแล้ว เป็นเสียงไพเราะ น่าใคร่ ทําให้คึกคักและชักให้หลงใหล แม้ฉันใด อานนท์ เมื่อข่ายกระดึงเหล่านั้นแลถูกลมพัด ก็มีเสียงไพเราะ น่าใคร่ ทําให้คึกคักและชักให้หลงใหล ฉันนั้นเหมือนกัน. อานนท์ ก็ส่วนพวกนักเลง นักเล่น พวกนักดื่มคอเหล้าแห่งกรุงกุสาวดีสมัยนั้น ต่างพากันคลอเสียงตามเสียงข่ายกระดึงที่ถูกลมพัดเหล่านั้น. อานนท์ ธรรมปราสาทที่สร้างแล้วนั่นแล เพ่งดูไม่ได้ทําให้ตาพร่า. เหมือนพระอาทิตย์ที่กําลังขึ้นสู่นภาบนท้องฟ้าที่ปราศจากเมฆฝนบริสุทธิ์ ส่องจ้าในสรทสมัยเดือนท้ายฤดูฝน เพ่งดูไม่ได้ทําให้ตาพร่า ฉันใด ธรรมปราสาทก็ฉะนั้นเหมือนกัน ยากที่จะดู ย่อมทํานัยน์ตาให้พร่าพราย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 486
กถาว่าด้วยการสร้างธรรมาโบกขรณี
อานนท์ ต่อมาพระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงพระดําริอย่างนี้ว่า ไฉนหนอเราจะพึงให้สร้างสระชื่อธรรมาโบกขรณีข้างหน้าธรรมปราสาท. อานนท์ แล้วก็พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงให้สร้างสระชื่อธรรมาโบกขรณีไว้ข้างหน้าธรรมปราสาท. อานนท์ ธรรมาโบกขรณียาวไปทางทิศตะวันออกและตะวันตกหนึ่งโยชน์ กว้างไปทางทิศเหนือและทิศใต้กึ่งโยชน์. อานนท์ ธรรมาโบกขรณีใช้อิฐสี่ชนิดก่อ คือ อิฐชนิดหนึ่งแล้วไปด้วยทอง ชนิดหนึ่งแล้วไปด้วยเงิน ชนิดหนึ่งแล้วไปด้วยไพฑูรย์ ชนิดหนึ่งแล้วไปด้วยผลึก. อานนท์ ก็แลธรรมาโบกขรณี มี ๒๔ บันได แบ่งเป็น ๔ ชนิด บันไดชนิดหนึ่งแล้วไปด้วยทอง. บันไดชนิดหนึ่งแล้วไปด้วยเงิน. บันไดชนิดหนึ่งแล้วไปด้วยไพฑูรย์. บันไดชนิดหนึ่งแล้วไปด้วยผลึก. บันไดทองเอาทองมาทําเป็นแม่บันได ลูกและพนักบันไดเป็นเงิน. บันไดเงินเอาเงินมาทําเป็นแม่บันได ลูกและพนักบันไดเป็นทอง. บันไดไพฑูรย์เอาไพฑูรย์มาทําเป็นแม่บันได ลูกและพนักบันไดเป็นผลึก. บันไดผลึกเอาผลึกมาทําเป็นแม่บันได ลูกและพนักบันไดเป็นไพฑูรย์. อานนท์ ธรรมาโบกขรณีมีไพทีล้อมสองชั้น คือ ไพทีทองหนึ่ง ไพทีเงินหนึ่ง. ไพทีทองเอาทองมาทําเป็นแม่บันได ลูกและพนักบันไดเป็นเงิน. ไพทีเงินเอาเงินมาทําเป็นแม่บันได ลูกและพนักเป็นทอง. อานนท์ ธรรมาโบกขรณีมีแถวตาลล้อมไว้ ๗ แถว คือ แถวตาลทอง ๑ แถวตาลเงิน ๑ แถวตาลไพฑูรย์ ๑ แถวตาลผลึก ๑ แถวตาลทับทิม ๑ แถวตาลบุษราคัม ๑ แถวตาลผสมแก้วทุกชนิด ๑. ตาลทองมีลําต้นเป็นทอง ใบและผลเป็นเงิน. ตาลเงินมีลําต้นเป็นเงิน ใบและผลเป็นทอง. ตาลไพฑูรย์มีลําต้นเป็นไพฑูรย์ ใบและผลเป็นผลึก. ตาลผลึกมีลําต้นเป็นผลึก ใบและผลเป็นไพฑูรย์. ตาลทับทิมมีลําต้นเป็นโกเมน ใบและผลเป็นบุษราคัม. ตาล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 487
บุษราคัมมีลําต้นเป็นบุษราคัม ใบและผลเป็นโกเมน. ทับทิมตาลผสมแก้วทุกชนิด เอาแก้วทุกชนิดมาทําเป็นลําต้น ใบและผลก็ผสมแก้วทุกชนิด. อานนท์ ก็แลเมื่อแถวตาลเหล่านั้นถูกลมพัดก็มีเสียงไพเราะ น่าใคร่ ทําให้ใจคึกคักและชักให้หลงใหล. เหมือนกับเสียงดนตรีมีองค์ ๕ ที่นักดนตรีผู้ชํานาญปรับดีแล้ว ประโคมแล้ว บรรเลงดีแล้ว เป็นเสียงที่ไพเราะ น่าใคร่ ทําให้ใจคึกคักและชักให้หลงใหล แม้ฉันใด ดูก่อนอานนท์ เสียงแห่งแถวต้นตาลเหล่านั้นต้องลมพัดก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ส่วนพวกนักเลง นักเล่น นักดื่ม แห่งกรุงกุสาวดีสมัยนั้น ต่างก็พากันคลอเสียงตามเสียงแถวตาลที่ถูกลมพัด. อานนท์ ก็แหละ ครั้นเมื่อเสร็จธรรมปราสาทและธรรมาโบกขรณีแล้ว พระเจ้ามหาสุทัสสนะก็โปรดให้เลี้ยงดูพวกสมณะที่รู้กันทั่วไปว่าเป็นสมณะหรือพวกพราหมณ์ที่ยอมรับกันว่าเป็นพราหมณ์ในสมัยนั้นให้อิ่มหนําสําราญด้วยของน่าใคร่ทุกชนิด เสด็จขึ้นสู่ธรรมปราสาท ด้วยประการฉะนี้.
จบ ภาณวารที่หนึ่ง
การเข้าปฐมฌานเป็นต้น
[๑๗๙] อานนท์ ลําดับนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงพระดําริอย่างนี้ว่า นี้เป็นผลของกรรมอะไรของเราหนอ เป็นวิบากของกรรมอะไรที่เป็นเหตุให้เรามีฤทธิ์อย่างนี้ มีอานุภาพใหญ่อย่างนี้ ในบัดนี้. อานนท์ ครั้งนั้นแล พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงมีพระดําริอย่างนี้ว่า นี้เป็นผลของกรรมสามอย่างของเรา เป็นวิบากของกรรมสามอย่างที่เป็นเหตุให้เรามีฤทธิ์ใหญ่อย่างนี้ มีอานุภาพใหญ่อย่างนี้ในบัดนี้ คือ เป็นผลเป็นวิบากแห่งทาน ทมะ สัญญมะ อานนท์ ทีนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะเสด็จเข้าเรือนยอดหลังใหญ่ แล้วประทับยืนที่ประตูเรือนยอดหลังใหญ่ ทรงเปล่งพระอุทานว่า หยุดกาม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 488
วิตก หยุดพยาบาทวิตก หยุดวิหิงสาวิตก เท่านี้พอละกามวิตก เท่านี้พอละพยาบาทวิตก เท่านี้พอละวิหิงสาวิตก. อานนท์ ทีนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะเสด็จเข้าสู่เรือนยอดหลังใหญ่ ประทับบนบัลลังก์ที่แล้วไปด้วยทอง ทรงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทรงเข้าถึงฌานที่ ๑ ซึ่งมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ เพราะระงับวิตก วิจาร จึงทรงเข้าถึงฌานที่ ๒ ซึ่งมีความผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขที่เกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะคลายปีติเสียได้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยความสุขทางกาย เข้าถึงฌานที่ ๓ ที่พวกอาจารย์ต่างพูดว่าเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีปรกติอยู่เป็นสุขอยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะดับโสมนัสและโทมนัสก่อนๆ จึงเข้าถึงฌานที่ ๔ ที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข มีอุเบกขาและสติบริสุทธิ์อยู่.
การเจริญพรหมวิหาร
[๑๘๐] อานนท์ ลําดับนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะเสด็จออกจากเรือนยอดหลังใหญ่แล้วทรงเข้าสู่เรือนยอดที่แล้วไปด้วยทอง ประทับบนบัลลังก์ที่แล้วไปด้วยเงิน ทรงแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งด้วยพระหฤทัยที่สหรคตด้วยเมตตาแล้วอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น. ด้วยประการฉะนี้ ทรงแผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ทุกหนทุกแห่งจนสิ้นหมดทั้งโลก ด้วยพระหฤทัยที่สหรคตด้วยเมตตา อันไพบูลย์ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทอยู่ ด้วยพระหฤทัยที่สหรคตด้วยกรุณา. ด้วยพระหฤทัยสหรคตด้วยมุทิตา. ทรงแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งด้วยพระหฤทัยที่สหรคตด้วยอุเบกขาอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้ ทรงแผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 489
ทุกหนทุกแห่งจบสิ้นหมดทั้งโลกด้วยพระหฤทัยที่สหรคตด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทอยู่.
[๑๘๑] อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงมีพระนคร ๘๔,๐๐๐ แห่ง มีกุสาวดีราชธานีเป็นประมุข มีปราสาท ๘๔,๐๐๐ องค์ มีธรรมปราสาทเป็นประมุข มีเรือนยอด ๘๔,๐๐๐ หลัง มีเรือนยอดหลังใหญ่เป็นประมุข มีบัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ ที่ เป็นบัลลังก์แล้วด้วยทอง แล้วด้วยเงิน แล้วด้วยงาช้าง แล้วด้วยบุษราคัม ลาดด้วยขนเจียม ลาดด้วยสักหลาด ลาดด้วยผ้าปักลวดลาย ลาดด้วยหนังกวางอย่างดี มีพนักสูง มีนวมแดงสองข้าง มีช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือก มีเครื่องแต่งเป็นทอง ปักธงทอง หุ้มด้วยตาข่ายทอง มีพญาช้างอุโบสถเป็นประมุข มีม้า ๘๔,๐๐๐ ตัว มีเครื่องแต่งเป็นทอง ปักธงทอง หุ้มด้วยตาข่ายทอง มีพญาม้าวลาหกเป็นประมุข มีรถ ๘๔,๐๐๐ คัน หุ้มด้วยหนังราชสีห์ หุ้มด้วยหนังเสือโคร่ง หุ้มด้วยหนังเสือเหลือง หุ้มด้วยผ้าขนสัตว์สีเหลือง มีเครื่องแต่งเป็นทอง ปักธงทอง หุ้มด้วยตาข่ายทอง มีรถไพชยันต์เป็นประมุข มีมณี ๘๔,๐๐๐ ดวง มีแก้วมณีเป็นประมุข มีสตรี ๘๔,๐๐๐ นาง มีพระนางสุภัททาเทวีเป็นประมุข มีคหบดี ๘๔,๐๐๐ คน มีคหบดีแก้วประมุข มีกษัตริย์ผู้สวามิภักดิ์ ๘๔,๐๐๐ องค์ มีปริณายกแก้วเป็นประมุข มีแม่โคนม ๘๔,๐๐๐ ตัว กําลังให้นม กําลังเอาถาดทองสัมฤทธิ์รองรับ มีผ้า ๘๔,๐๐๐ โกฏิพับ เป็นผ้าเปลือกไม้อย่างดี ผ้าฝ้ายอย่างดี ผ้าไหมอย่างดี และผ้าขนสัตว์อย่างดี. อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงมีพระกระยาหารเต็มภาชนะ ๘๔,๐๐๐ สํารับ มีคนนํามาถวายทั้งเวลาเช้าและเวลาเย็น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 490
กถาว่าด้วยพระนางสุภัททาเทวี
[๑๘๒] อานนท์ ก็สมัยนั้นแล ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือกมาสู่ที่เฝ้าพระเจ้ามหาทัสสนะทุกเช้าทุกเย็น. อานนท์ ครั้งนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงมีพระดําริอย่างนี้ว่า พวกช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือกเหล่านี้แล มาสู่ที่เฝ้าเราทั้งเช้าเย็น ถ้าไฉน ช้าง ๔๒,๐๐๐ เชือกพึงมาสู่ที่เฝ้าโดยล่วงไปร้อยปีต่อครั้ง. อานนท์ ทีนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะรับสั่งเรียกปริณายกแก้วมาตรัสสั่งว่า ดูก่อนปริณายกแก้ว พวกช้างตั้ง ๘๔,๐๐๐ เชือกเหล่านี้ มาสู่ที่เฝ้าเราทั้งเช้าและเย็น อย่ากระนั้นเลย ช้างเพียง ๔๒,๐๐๐ เชือกจงมาสู่ที่เฝ้าแต่ละครั้งโดยล่วงไปทุกๆ ร้อยปี. ปริณายกแก้วรับพระราชโองการของพระเจ้ามหาสุทัสสนะว่า อย่างนั้น ขอเดชะ. อานนท์ ครั้งนั้น โดยสมัยอื่น ช้างจึงมาสู่ที่เฝ้าพระมหาสุทัสสนะคราวละสี่หมื่นสองพันเชือก โดยล่วงไปทุกๆ ร้อยปี. อานนท์ ครั้งนั้นแล พระนางสุภัททาเทวี โดยล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี ทรงพระดําริว่า เราได้เฝ้าพระเจ้ามหาทัสสนะมานานแล้ว ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะเถิด. อานนท์ ครั้งนั้นแล พระนางสุภัททาเทวีรับสั่งเรียกนางสนมมาตรัสว่า พวกท่านในที่นี้ จงสระหัว จงห่มผ้าสีเหลือง พวกเราได้เฝ้าพระเจ้ามหาทัสสนะนานแล้ว พวกเราพึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ. พวกนางสนมรับสนองพระเสาวนีย์ของพระนางสุภัททาเทวีว่า อย่างนั้นพระแม่เจ้า แล้วก็สระหัวห่มผ้าสีเหลืองเข้าไปเฝ้าพระนางสุภัททาเทวีถึงที่ประทับ. อานนท์ ครั้งนั้นแล พระนางสุภัททาเทวีรับสั่งกับปริณายกแก้วว่า พ่อปริณายกแก้ว ท่านจงจัดกองทัพ ๔ เหล่า พวกเราได้เฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะนานมาแล้ว พวกเราพึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ. อานนท์ ปริณายกแก้วรับพระเสาวนีย์ของพระนางสุภัททาเทวีว่า อย่างนั้นพระเทวีเจ้า แล้วจัดกองทัพ ๔ เหล่า เสร็จแล้วกราบทูลพระนางสุภัททาเทวีว่า พระ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 491
เทวีเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าจัดกองทัพ ๔ เหล่าสําหรับพระองค์เสร็จแล้ว ขอพระเทวีเจ้าโปรดทรงสําคัญเวลาอันสมควรเถิด. อานนท์ ครั้งนั้นแล พระนางสุภัททาเทวีพร้อมกับนางสนมเสด็จเข้าไปจนถึงธรรมปราสาทด้วยกองทัพ ๔ เหล่า เสด็จขึ้นธรรมปราสาทแล้ว เสด็จเข้าไปจนถึงเรือนยอดหลังใหญ่ แล้วประทับยืนเหนี่ยวบานประตูแห่งเรือนยอดหลังใหญ่. อานนท์ ลําดับนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงได้ยินเสียง ทรงดําริว่า อะไรหนอ นั้นเหมือนเสียงคนจํานวนมาก แล้วเสด็จออกจากเรือนยอดหลังใหญ่ ได้ทอดพระเนตรเห็นพระนางภัททาเทวีประทับยืนยึดประตู แล้วตรัสกับพระนางสุภัททาเทวีอย่างนี้ว่า เทวีหยุดตรงนั้นแหละ อย่าเข้ามา. อานนท์ ลําดับนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะรับสั่งกะบุรุษคนใดคนหนึ่งว่า แน่พ่อ เธอจงมาช่วยกันยกบัลลังก์ทองจากเรือนยอดหลังใหญ่ เอาไปตั้งที่สวนตาลที่แล้วไปด้วยทองทุกอย่าง. บุรุษนั้นก็สนองพระดํารัสของพระเจ้ามหาสุทัสสนะว่า อย่างนั้น ขอเดชะ. แล้วก็ไปยกบัลลังก์ทองจากเรือนยอดหลังใหญ่ เอาไปตั้งที่สวนตาลที่แล้วไปด้วยทองทุกอย่าง. อานนท์ ลําดับนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงสําเร็จสีหไสยาสน์ด้วยพระปรัศว์เบื้องขวา ซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาทมีพระสติสัมปชัญญะ.
[๑๘๓] อานนท์ ลําดับนั้น พระนางสุภัททาเทวีได้ทรงมีพระดําริอย่างนี้ว่า พระอินทรีย์ของพระเจ้ามหาสุทัสสนะบริสุทธิ์ผ่องใส พระฉวีวรรณขาวผ่อง ขอให้พระเจ้ามหาสุทัสสนะอย่าได้เสด็จสวรรคตเลย. แล้วได้ตรัสอย่างนี้กับพระเจ้ามหาสุทัสสนะว่า ขอเดชะ เหล่านี้เป็นพระนคร ๘๔,๐๐๐ นคร มีกุสาวดีราชธานีเป็นประมุขของพระองค์ ขอเดชะ ขอพระองค์จงบังเกิดความพอพระหฤทัยในพระนครเหล่านั้นเถิด จงทรงห่วงใยในพระชนมชีพเถิด ขอเดชะ เหล่านี้คือปราสาทแปดหมื่นสี่พันองค์ของพระองค์ มีธรรมปราสาทเป็นประมุข ขอเดชะ ขอพระองค์จงบังเกิดความพอพระหฤทัยในปราสาทเหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 492
เถิด จงทรงห่วงใยในพระชนมชีพเถิด ขอเดชะ เหล่านี้คือเรือนยอดแปดหมื่นสี่พันหลังของพระองค์ มีเรือนยอดหลังใหญ่เป็นประมุข ขอเดชะ ขอพระองค์จงบังเกิดความพอพระหฤทัยในเรือนยอดเหล่านั้นเถิด จงทรงห่วงใยในพระชนมชีพเถิด ขอเดชะ เหล่านี้คือบัลลังก์แปดหมื่นสี่พันที่ของพระองค์ ทําด้วยทอง เงิน งาช้าง บุษราคัม ลาดด้วยขนเจียม ลาดด้วยสักหลาด ลาดด้วยผ้าปักลวดลาย ลาดด้วยหนังกวางอย่างดี มีพนักสูง มีนวมแดงสองข้าง ขอเดชะ ขอพระองค์จงบังเกิดความพอพระหฤทัยในบัลลังก์เหล่านั้นเถิด จงทรงห่วงใยในพระชนมชีพเถิด ขอเดชะ เหล่านี้คือ ช้างแปดหมื่นสี่พันเชือกของพระองค์ มีเครื่องแต่งเป็นทอง ปักธงทอง หุ้มด้วยตาข่ายทอง มีพญาช้างอุโบสถเป็นประมุข ขอเดชะ ขอพระองค์จงบังเกิดความพอพระหฤทัยในช้างเหล่านั้นเถิด จงทรงห่วงใยในพระชนมชีพเถิด ขอเดชะ เหล่านี้คือม้าแปดหมื่นสี่พันตัวของพระองค์ มีเครื่องแต่งเป็นทอง ปักธงทอง หุ้มด้วยตาข่ายทอง มีพญาม้าวลาหกเป็นประมุข ขอเดชะ ขอพระองค์จงบังเกิดความพอพระราชหฤทัยในม้าเหล่านั้นเถิด จงทรงห่วงใยในพระชนมชีพเถิด ขอเดชะ เหล่านี้คือรถแปดหมื่นสี่พันคันของพระองค์ หุ้มด้วยหนังราชสีห์ หุ้มด้วยหนังเสือโคร่ง หุ้มด้วยหนังเสือเหลือง หุ้มด้วยผ้าขนสัตว์สีเหลือง มีเครื่องแต่งเป็นทอง ปักธงทอง หุ้มด้วยตาข่ายทอง มีรถไพชยันต์เป็นประมุข ขอเดชะ ขอพระองค์จงบังเกิดความพอพระหฤทัยในรถเหล่านั้นเถิด ขอจงทรงห่วงใยในพระชนมชีพเถิด ขอเดชะ เหล่านี้คือแก้วแปดหมื่นสี่พันดวงของพระองค์ มีแก้วมณีเป็นประมุข ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงบังเกิดความพอพระหฤทัยในแก้วเหล่านั้นเถิด ขอจงทรงห่วงใยในพระชนมชีพเถิด ขอเดชะ เหล่านี้คือสตรีแปดหมื่นสี่พันนางของพระองค์ มีหญิงแก้วเป็นประมุข ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงบังเกิดความพอพระหฤทัยในสตรีเหล่านั้นเถิด ขอจงทรงห่วงใยใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 493
พระชนมชีพเถิด ขอเดชะ เหล่านี้คือคฤหบดี ๘๔,๐๐๐ คน ของพระองค์ มีคฤหบดีแก้วเป็นประมุข ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงบังเกิดความพอพระหฤทัยในคฤหบดีเหล่านั้นเถิด ขอจงทรงห่วงใยในพระชนมชีพเถิด ขอเดชะ เหล่านั้นคือกษัตริย์ ๘๔,๐๐๐ พระองค์ ผู้จงรักภักดีต่อพระองค์ มีปริณายกแก้วเป็นประมุข ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงบังเกิดความพอพระหฤทัยในกษัตริย์เหล่านั้นเถิด จงทรงห่วงใยในพระชนมชีพเถิด ขอเดชะเหล่านี้คือแม่โคนม ๘๔,๐๐๐ ตัวของพระองค์ ซึ่งกําลังหลั่งน้ำนม กําลังเอาถาดสําริดไปรอง ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงบังเกิดความพอพระหฤทัยในแม่โคนมเหล่านั้นเถิด ขอจงทรงห่วงใยในพระชนมชีพเถิด ขอเดชะ เหล่านี้คือผ้า ๘๔,๐๐๐ โกฏิพับของพระองค์ เป็นผ้าเปลือกไม้อย่างดี ผ้าฝ้ายอย่างดี ผ้าไหมอย่างดี ผ้าขนสัตว์อย่างดี ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงบังเกิดความพอพระหฤทัยในผ้าเหล่านั้นเถิด จงทรงห่วงใยในพระชนมชีพเถิด ขอเดชะ เหล่านี้คือถาดพระกระยาหาร ๘๔,๐๐๐ สํารับของพระองค์ ซึ่งมีคนนํามาถวายในเวลาเช้าและเวลาเย็น ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงบังเกิดความพอพระหฤทัยในถาดพระกระยาหารเหล่านั้นเถิด ขอจงทรงห่วงใยในพระชนมชีพเถิด.
ว่าด้วยความสลดพระทัยของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ
เมื่อพระนางกราบทูลอย่างนี้แล้ว อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ตรัสอย่างนี้กับพระนางสุภัททาเทวีว่า เทวี เธอได้ทักทายเราด้วยของน่ารัก น่าใคร่ น่าพอใจ มานานแล้ว ก็แต่ในเวลาภายหลัง เธอจะทักเราด้วยของที่ไม่น่ารัก ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ. ขอเดชะ ก็แลพระองค์จะให้หม่อมฉันทักทายพระองค์อย่างไร. เทวี เธอจงทักทายเราดังนี้ว่าความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่นจากของน่ารักน่าพอใจทั้งหมดทีเดียว ย่อมมี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 494
ขอเดชะ ขอพระองค์อย่าทรงมีความห่วงใยในสวรรคต การตายของผู้มีความห่วงใยเป็นทุกข์ และความตายของผู้มีความห่วงใยย่อมถูกติเตียน ขอเดชะ เหล่านี้คือนคร ๘๔,๐๐๐ ของทูลกระหม่อม มีกุสาวดีราชธานีเป็นประมุข ขอเดชะ ขอพระองค์จงละความพอพระหฤทัยในนครเหล่านั้นเสียเถิด อย่าทรงห่วงใยพระชนมชีพ ขอเดชะ เหล่านี้คือ ปราสาท ๘๔,๐๐๐ องค์ของทูลกระหม่อม ฯลฯ ขอทูลกระหม่อมอย่าทรงห่วงใยในพระชนมชีพ ขอเดชะ เหล่านี้เป็นเรือนยอด ๘๔,๐๐๐ หลังของทูลกระหม่อม ฯลฯ ขอทูลกระหม่อมอย่าทรงห่วงใยในพระชนมชีพ ขอเดชะ เหล่านี้เป็นบัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ ที่ของทูลกระหม่อม เป็นบัลลังก์ที่ทําด้วยทอง ด้วยเงิน ด้วยงา ด้วยบุษราคัม ลาดด้วยขนแกะ ลาดด้วยสักหลาด ลาดด้วยผ้าปักลวดลาย ลาดด้วยหนังกวางอย่างดี มีพนักสูง มีนวมแดงทั้งสองข้าง ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมจงละความพอพระทัยในบัลลังก์เหล่านั้นเสีย ขอทูลกระหม่อมอย่าทรงห่วงใยในพระชนมชีพ ขอเดชะ เหล่านี้เป็นช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือกของทูลกระหม่อม มีเครื่องแต่งเป็นทอง ปักธงทอง คลุมด้วยตาข่ายทอง มีพญาช้างอุโบสถเป็นประมุข ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมจงละความพอพระหฤทัยในช้างเหล่านั้นเสียเถิด ขอทูลกระหม่อมอย่าได้ห่วงใยพระชนมชีพ ขอเดชะ เหล่านี้เป็นม้า ๘๔,๐๐๐ ตัวของทูลกระหม่อม มีเครื่องแต่งเป็นทอง ปักธงทอง มีตาข่ายทองคลุม มีพญาม้าวลาหกเป็นประมุข ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมจงละความพอพระหฤทัยในม้าเหล่านั้นเสียเถิด ขอทูลกระหม่อมอย่าทรงห่วงใยในพระชนมชีพ ขอเดชะ เหล่านี้เป็นรถ ๘๔,๐๐๐ คันของพระองค์ หุ้มด้วยหนังราชสีห์ หุ้มด้วยหนังเสือโคร่งหุ้มด้วยหนังเสือเหลือง หุ้มด้วยผ้าขนสัตว์สีเหลือง มีเครื่องแต่งเป็นทอง ปักธงทอง คลุมด้วยตาข่ายทอง มีรถไพชยันต์เป็นประมุข ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมจงทรงละความพอพระหฤทัยในรถเหล่านั้นเสียเถิด ขอทูลกระ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 495
หม่อมอย่าได้ทรงห่วงใยในพระชนมชีพ ขอเดชะ เหล่านี้เป็นมณี ๘๔,๐๐๐ ดวงของทูลกระหม่อม มีแก้วมณีเป็นประมุข ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมจงทรงละความพอพระทัยในมณีเหล่านั้นเสียเถิด ขอทูลกระหม่อมอย่าได้ทรงห่วงใยในพระชนม์ชีพ ขอเดชะ เหล่านี้สตรี ๘๔,๐๐๐ นางของทูลกระหม่อม มีพระนางสุภัททาเทวีเป็นประมุข ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมจงทรงละความพอพระทัยในสตรีเหล่านั้นเสียเถิด ขอทูลกระหม่อมอย่าได้ทรงห่วงใยในพระชนม์ชีพ ขอเดชะ เหล่านี้คือคฤหบดี ๘๔,๐๐๐ คน ของทูลกระหม่อม มีคฤหบดีแก้วเป็นประมุข ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมจงทรงละความพอพระทัยในคฤหบดีเหล่านั้นเสียเถิด ขอทูลกระหม่อมอย่าได้ทรงห่วงใยในพระชนม์ชีพขอเดชะ เหล่านี้คือกษัตริย์ ๘๔,๐๐๐ พระองค์ ผู้จงรักภักดีของทูลกระหม่อม มีปริณายกแก้วเป็นประมุข ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมจงทรงละความพอพระหฤทัยในกษัตริย์เหล่านั้นเสียเถิด ขอทูลกระหม่อมอย่าได้ทรงห่วงใยในพระชนม์ชีพ ขอเดชะ เหล่านี้เป็นแม่โคนม ๘๔,๐๐๐ ตัวของทูลกระหม่อม ซึ่งกําลังกําดัดหลั่งนม กําลังเอาถาดสําริดไปรองรับ ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมจงทรงละความพอพระหฤทัยในแม่โคนมเหล่านั้นเสียเถิด ขอทูลกระหม่อมอย่าได้ทรงห่วงใยในพระชนม์ชีพ ขอเดชะ เหล่านี้เป็นผ้า ๘๔,๐๐๐ โกฏิพับ เป็นผ้าเปลือกไม้อย่างดี ผ้าฝ้ายอย่างดี ผ้าไหมอย่างดี ผ้าขนสัตว์อย่างดี ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมจงทรงละความพอพระหฤทัยในผ้าเหล่านั้นเสียเถิด ขอทูลกระหม่อมอย่าอาลัยในพระชนม์ชีพ ขอเดชะ พระกระยาหาร ๘๔,๐๐๐ สํารับ มีคนนํามาถวายทั้งเวลาเช้าและเย็นเหล่านี้ของทูลกระหม่อม ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมจงทรงละความพอพระหฤทัยในพระกระยาหารนั้น อย่าได้อาลัยในพระชนม์ชีพ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 496
อานนท์ เมื่อพระเทวีกราบทูลอย่างนี้ พระเทวีสุภัททาทรงกันแสง หลั่งพระอัสสุชล. อานนท์ ครั้งนั้นแล พระนางสุภัททาเทวีทรงซับน้ำพระเนตรแล้ว ได้กราบทูลอย่างนี้กับพระเจ้ามหาสุทัสสนะว่า ขอเดชะ ความเป็นต่างๆ กัน ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่นจากสิ่งที่น่ารักน่าชอบใจทั้งปวงย่อมมี ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมอย่าทรงมีความอาลัยสวรรคตเลย กาลกิริยาของผู้มีอาลัยเป็นทุกข์ กาลกิริยาของผู้อาลัยบัณฑิตติเตียน ขอเดชะพระนคร ๘๔,๐๐๐ เหล่านี้แล มีพระนครกุสาวดีของทูลกระหม่อมเป็นประมุข ขอเดชะ ทูลกระหม่อมจงทรงละความพอพระทัยในนครเหล่านั้น อย่าทรงอาลัยในพระชนมชีพเลย ขอเดชะ ปราสาท ๘๔,๐๐๐ เหล่านี้ มีธรรมปราสาทของทูลกระหม่อมเป็นประมุข ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมจงทรงละความพอพระทัยในปราสาทเหล่านั้น อย่าได้อาลัยในพระชนมชีพเลย ขอเดชะ เรือนยอด ๘๔,๐๐๐ มีเรือนยอดหลังใหญ่เป็นประมุขของทูลกระหม่อมเหล่านั้น ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมจงทรงละความพอพระทัยในเรือนยอดเหล่านั้น อย่าได้ทรงอาลัยในพระชนมชีพเลย ขอเดชะ บัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ ที่เหล่านี้ของทูลกระหม่อม เป็นทอง เป็นเงิน ทําด้วยงา ล้วนด้วยแก้วบุษราคัม บุลาดด้วยขนเจียม ด้วยสักหลาด ด้วยผ้าปักเป็นลวดลาย บุลาดด้วยหนังกวางอย่างดี มีพนักสูง มีนวมสีแดงทั้งสองข้าง ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมจงทรงละความพอพระทัยในบัลลังก์เหล่านั้น อย่าได้อาลัยในพระชนมชีพ ขอเดชะช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือก มีเครื่องแต่งทําด้วยทอง ปักธงทอง คลุมด้วยตาข่ายทอง ของทูลกระหม่อมเหล่านี้ มีช้างตระกูลอุโบสถเป็นประมุข ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมจงทรงละความพอพระทัยในช้างเหล่านั้น อย่าได้ทรงมีอาลัยในพระชนมชีพ ขอเดชะ ม้า ๘๔,๐๐๐ เหล่านี้ของทูลกระหม่อม มีเครื่องแต่งทําด้วยทอง ปักธงทอง ปกปิดด้วยตาข่ายทอง มีพระยาม้าวลาหกเป็นประมุข
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 497
ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมจงทรงละความพอพระทัยในม้าเหล่านั้น ขออย่าได้ทรงอาลัยในพระชนมชีพ ขอเดชะ รถ ๘๔,๐๐๐ เหล่านี้ของทูลกระหม่อม หุ้มด้วยหนังราชสีห์ หนังเสือโคร่ง หนังเสือเหลือง หุ้มด้วยผ้าขนสัตว์สีเหลือง มีเครื่องแต่งทําด้วยทอง ปักธงทอง คลุมด้วยตาข่ายทอง มีรถไพชยันต์เป็นประมุข ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมจงทรงละความพอพระทัยในรถเหล่านั้น อย่าได้อาลัยในพระชนมชีพ ขอเดชะ แก้ว ๘๔,๐๐๐ ดวงเหล่านั้นของทูลกระหม่อม มีแก้วมณีเป็นประมุข ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมจงทรงละความพอพระทัยในแก้วเหล่านั้น อย่าได้ทรงอาลัยในพระชนมชีพ ขอเดชะ หญิง ๘๔,๐๐๐ คนเหล่านี้ของทูลกระหม่อม มีนางแก้วเป็นประมุข ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมจงทรงละความพอพระทัยในหญิงเหล่านั้น อย่าได้ทรงอาลัยในพระชนมชีพ ขอเดชะ คฤหบดี ๘๔,๐๐๐ คนเหล่านี้ของทูลกระหม่อม มีคฤหบดีแก้วเป็นประมุข ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมทรงละความพอพระทัยในคฤหบดีเหล่านั้น อย่าได้ทรงอาลัยในพระชนมชีพ ขอเดชะ กษัตริย์ ๘๔,๐๐๐ พระองค์เหล่านี้ของทูลกระหม่อม ผู้จงรักภักดี มีปริณายกแก้วเป็นประมุข ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมจงทรงละความพอพระทัยในกษัตริย์เหล่านั้น อย่าได้ทรงอาลัยในพระชนมชีพ ขอเดชะ แม่โคนม ๘๔,๐๐๐ ตัวเหล่านี้ของทูลกระหม่อม กําลังกําดัดหลั่งน้ำนม กําลังเอาถาดรองรับ ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมจงทรงละความพอพระทัยในแม่โคนมเหล่านั้น อย่าได้ทรงอาลัยในพระชนมชีพ ขอเดชะ ผ้าเปลือกไม้อย่างดี ผ้าฝ้ายอย่างดี ผ้าไหมอย่างเนื้อดี และผ้าขนสัตว์อย่างดี ๘๔,๐๐๐ โกฏิพับเหล่านี้ของทูลกระหม่อม ขอเดชะ ขอทูลกระหม่อมจงทรงละความพอพระทัยในผ้าเหล่านั้น อย่าได้อาลัยในพระชนมชีพ ขอเดชะ ถาดพระกระยาหาร ๘๔,๐๐๐ สํารับเหล่านี้ มีคนนํามาถวายทั้งเวลาเช้าและเวลาเย็นของทูลกระหม่อม ขอเดชะ ทูลกระหม่อมจงทรงละความพอพระทัยในพระกระยาหารเหล่านั้น อย่าได้ทรงอาลัยในพระชนมชีพ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 498
พระเจ้ามหาสุทัสสนะสวรรคต
[๑๘๔] อานนท์ ครั้งนั้นแล พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้เสด็จสวรรคตแล้ว ต่อกาลไม่นาน อานนท์ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีบริโภคโภชนะที่ชอบใจ ย่อมเมาในอาหารฉันใด อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้เสวยเวทนาที่มีการสวรรคตเป็นที่สุด ฉันนั้นนั่นแล. อานนท์ ก็แลพระเจ้ามหาสุทัสสนะสวรรคตแล้ว ทรงเข้าถึงสุคติพรหมโลก. อานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงเล่นอย่างพระกุมารอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงดํารงตําแหน่งอุปราชอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงครองราชสมบัติอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงดํารงเพศคฤหัสถ์ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมประสาท ๘๔,๐๐๐ ปี. พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงเจริญพรหมวิหารธรรมสี่ หลังจากสวรรคตเพราะพระกายแตก ได้เสด็จเข้าถึงพรหมโลกแล้ว.
กถาว่าด้วยความสังเวช
[๑๘๕] อานนท์ เธอคงจะคิดอย่างนี้ว่า สมัยนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้เป็นคนอื่น อานนท์ ข้อนั้นเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น สมัยนั้น เราได้เป็นพระเจ้ามหาสุทัสสนะ พระนคร ๘๔,๐๐๐ ของเรานั้นมีกรุงกุสาวดีราชธานีเป็นประมุข ปราสาท ๘๔,๐๐๐ เหล่านั้นของเรามีธรรมปราสาทเป็นประมุข เรือนยอด ๘๔,๐๐๐ เหล่านั้นของเรามีเรือนยอดหลังใหญ่เป็นประมุข บัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ เหล่านั้นของเราทําด้วยทอง เงิน งา บุษราคัม บุลาดด้วยขนเจียม ลาดด้วยสักหลาด ลาดด้วยผ้าอย่างดี ปักเป็นลวดลาย บุลาดด้วยหนังกวางอย่างดี มีพนักสูงอย่างดี มีนวมแดงสองข้าง ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือกเหล่านั้นของเรามีเครื่องแต่งทําด้วยทอง ปักธงทอง คลุมด้วยตาข่ายทอง มีพระยาช้างตระกูลอุโบสถเป็นประมุข ม้า ๘๔,๐๐๐ ตัวของเราเหล่านั้นมีเครื่องแต่งเป็นทอง ปักธงทอง คลุมด้วยตาข่ายทอง มีพระยาม้าวลาหกเป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 499
ประมุข รถ ๘๔,๐๐๐ เหล่านั้นของเราหุ้มด้วยหนังราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง และผ้าขนสัตว์สีเหลือง มีเครื่องแต่งทําด้วยทอง มีธงทอง คลุมด้วยตาข่ายทอง มีรถไพชยันต์เป็นประมุข แก้ว ๘๔,๐๐๐ ดวงเหล่านั้นของเรามีแก้วมณีเป็นประมุข หญิง ๘๔,๐๐๐ คนเหล่านั้นของเรามีพระนางสุภัททาเทวีเป็นประมุข คฤหบดี ๘๔,๐๐๐ คนเหล่านั้นของเรามีคฤหบดีแก้วเป็นประมุข กษัตริย์ ๘๔,๐๐๐ พระองค์เหล่านั้นของเรา ผู้จงรักภักดี มีปริณายกแก้วเป็นประมุข แม่โคนม ๘๔,๐๐๐ ตัวเหล่านั้นของเรา กําลังกําดัดหลั่งน้ำนม กําลังเอาภาชนะสําริดรองรับ ผ้าเปลือกไม้อย่างเนื้อดี ผ้าฝ้ายอย่างเนื้อดี ผ้าไหมอย่างเนื้อดี ผ้าขนสัตว์อย่างเนื้อดีของเรามี ๘๔,๐๐๐ โกฏิพับ ถาดพระกระยาหาร ๘๔,๐๐๐ สํารับเหล่านั้นของเรามีคนใส่อาหารนํามาถวายทั้งเวลาเช้าและเย็น อานนท์ ก็แล บรรดาพระนคร ๘๔,๐๐๐ เหล่านั้น พระนครที่เราอยู่ครอบครองสมัยนั้นคือกุสาวดีราชธานีพระนครเดียวเท่านั้น อานนท์ ก็แล บรรดาประสาท ๘๔,๐๐๐ เหล่านั้น ปราสาทที่เราอยู่ครอบครองสมัยนั้นคือธรรมปราสาทหลังเดียวเท่านั้น อานนท์ ก็แลบรรดาเรือนยอด ๘๔,๐๐๐ เหล่านั้น เรือนยอดที่เราอยู่ครอบครองสมัยนั้นคือเรือนยอดหลังใหญ่หลังเดียวเท่านั้น อานนท์ ก็แล บรรดาบัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ เหล่านั้น บัลลังก์ที่เราใช้เสวยสมัยนั้นจะเป็นบัลลังก์ทอง เงิน งา หรือบุษราคัมนั้นก็ตาม บัลลังก์เดียวเท่านั้น อานนท์ ก็แลบรรดาช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือกเหล่านั้น ช้างที่เราขี่สมัยนั้นคือพระยาช้างตระกูลอุโบสถเชือกเดียวเท่านั้น อานนท์ ก็แล บรรดาม้า ๘๔,๐๐๐ ตัวเหล่านั้น ม้าที่เราขี่คือพระยาม้าวลาหกตัวเดียวเท่านั้น อานนท์ ก็แล บรรดารถ ๘๔,๐๐๐ เหล่านั้น รถคันที่เราขี่สมัยนั้นคือรถไพชยันต์คันเดียวเท่านั้น อานนท์ ก็แล บรรดาหญิง ๘๔,๐๐๐ เหล่านั้น หญิงที่บํารุงเราสมัยนั้นจะเป็นนางกษัตริย์หรือว่าเป็นหญิงแพศย์ หญิงคนเดียวเท่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 500
อานนท์ ก็แล บรรดาผ้า ๘๔,๐๐๐ โกฏิพับเหล่านั้น ผ้าที่เรานุ่งห่มสมัยนั้นจะเป็นผ้าเปลือกไม้อย่างดี ผ้าฝ้ายอย่างดี ผ้าไหมอย่างดี หรือเป็นผ้าขนสัตว์อย่างดีก็ตาม ผ้าคู่เดียวเท่านั้น อานนท์ ก็แล บรรดาถาดพระกระยาหาร ๘๔,๐๐๐ สํารับเหล่านั้น ถาดพระกระยาหารที่เราบริโภคคําข้าวสุกทนานหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง และกับพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น ถาดพระกระยาหารเดียวเท่านั้น อานนท์ เธอจงดูซิ สังขารเหล่านั้นล่วงไป ดับไป แปรไปหมดแล้ว อานนท์ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ อานนท์ สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืนอย่างนี้แล อานนท์ สังขารทั้งหลายไม่น่ายินดีอย่างนี้แล อานนท์ ข้อนี้ควรจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวงเทียว ควรจะคลายกําหนัด ควรละหลุดพ้น อานนท์ ก็แล เราย่อมรู้ที่ทอดทิ้งร่างกาย เราทิ้งร่างกายในประเทศนี้ การที่เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิทรงความเป็นธรรมราชา เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต เป็นผู้พิชิต มีชนบทมั่นคงสมบูรณ์ด้วยรัตนะเจ็ดประการ ทิ้งร่างกายนี้เป็นที่เจ็ด อานนท์ ก็แล เราไม่เล็งเห็นประเทศนั้นในโลกทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ทั้งสมณะพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ที่พระตถาคตจะทอดทิ้งร่างกายเป็นครั้งที่แปด ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้พระสุคตตรัสคํานี้แล้ว ลําดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสคาถาประพันธ์นี้อื่นอีกว่า
[๑๘๖] สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเป็นความสุข ดังนี้.
จบ มหาสุทัสสนสูตรที่ ๔