พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. ปาฏิกสูตร เรื่อง ปริพาชกภัคควโคตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  15 ก.ค. 2564
หมายเลข  34640
อ่าน  1,026
  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 1

๑. ปาฏิกสูตร

เรื่อง ปริพาชกภัคควโคตร

ทรงเล่าเรื่อง สุนักขัตตลิจฉวี

[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมของชาวมัลละ ชื่ออนุปิยะ ในแคว้นมัลละ ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาค ทรงนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังอนุปิยนิคม. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงดําริว่า ยังเป็นเวลาเช้านักที่จะเข้าไปบิณฑบาตยังอนุปิยนิคม เราควรจะไปในอารามของปริพาชกชื่อ ภัคควโคตร เข้าไปหาปริพาชกชื่อภัคควโคตร ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จไปยังอารามของปริพาชกชื่อ ภัคควโคตร เข้าไปหาปริพาชกชื่อภัคควโคตร ปริพาชกชื่อภัคควโคตร ได้กราบทูลเชิญพระผู้มีพระภาคว่า ขอเชิญพระผู้มีพระภาคเสด็จมาเถิดพระเจ้าข้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว เป็นเวลานานนักที่พระองค์ได้มีโอกาสเสด็จ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 2

มาแวะเวียนเยี่ยมเยียนเช่นนี้ ขอเชิญประทับนั่ง นี้คืออาสนะที่จัดไว้. พระผู้มีพระภาคได้ประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้แล้ว. แม้ปริพาชกชื่อภัคควโคตร ก็ถือเอาอาสนะต่ําที่ใดที่หนึ่ง นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันก่อนล่วงมาหลายวันแล้ว พระโอรสเจ้าลิจฉวีนามว่าสุนักขัตตะ ได้เข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ แล้วบอกข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ดูก่อนภัคควะ บัดนี้ ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้มีพระภาคแล้ว ข้าพเจ้าไม่อยู่อุทิศต่อพระผู้มีพระภาคดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คําตามที่พระโอรสเจ้าลิจฉวีนามว่าสุนักขัตตะกล่าวนั้น เป็นความจริงเช่นนั้นหรือพระเจ้าข้า.พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อนภัคควะ ก็เป็นดังที่เขากล่าวนั่นแหละ ในวันก่อนๆ เขาได้เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ถวายอภิวาทเรา แล้วนั่ง ณ สมควรข้างหนึ่ง. ได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอบอกคืนพระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์จักไม่อยู่อุทิศต่อพระผู้มีพระภาค. เมื่อเขากล่าวอย่างนี้แล้ว เราจึงได้กล่าวว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ เราได้กล่าวกะเธออย่างนี้ว่า เธอจงอยู่อุทิศต่อเรา ดังนี้ บ้างหรือ.

    สุนักขัตตะตอบว่า หามิได้ พระเจ้าข้า.

    เราถามว่า หรือเธอได้กล่าวกะเราอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่อุทิศต่อพระผู้มีพระภาค.

    เขาตอบว่า หามิได้ พระเจ้าข้า.

    เราถามว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ เพราะเหตุที่เราไม่ได้กล่าวกะเธอว่า มาเถิดสุนักขัตตะเธอจงอยู่อุทิศต่อเรา และเธอก็มิได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่อุทิศต่อพระมีพระภาค ดูก่อนโมฆบุรุษ เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอเมื่อบอกคืน จะชื่อว่าบอกคืนใครเล่า เธอจงเห็นว่า การกระทําเช่นนี้ เป็นความผิดของเธอเพียงใด.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 3

    [๒] สุนักขัตตะ ได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงกระทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ แก่ข้าพระองค์เลย.

    เรากล่าวว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ เราได้กล่าวกะเธออย่างนี้ว่า มาเถิดสุนักขัตตะ เธอจงอยู่อุทิศต่อเรา เราจะกระทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์แก่เธอ ดังนี้ บ้างหรือ.

    เขาทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า.

    เรากล่าวว่า หรือว่าเธอได้กล่าวกะเราอย่างนี้ว่า พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่อุทิศต่อพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจักทรงทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์แก่ข้าพระองค์.

    สุนักขัตตะ ได้ทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า.

    เรากล่าวว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ เพราะเหตุที่เรามิได้กล่าวกะเธอว่า มาเถิดสุนักขัตตะ เรอจงอยู่อุทิศต่อเรา เราจักกระทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์แก่เธอ และเธอก็ไม่ได้กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่อุทิศต่อพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจักทรงกระทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์แก่ข้าพระองค์ ดูก่อนโมฆบุรุษ เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอเมื่อบอกคืน จะชื่อว่าบอกคืนใครเล่า. ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คือเมื่อเราได้กระทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ก็ดี หรือมิได้กระทําก็ดี ธรรมที่เราได้แสดงไว้แล้ว ย่อมนําผู้ประพฤติให้สิ้นทุกข์โดยชอบหรือ. เขาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์ได้ทรงทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ หรือมิได้ทรงกระทําก็ดี ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงไว้ ย่อมนําผู้ประพฤติให้สิ้นทุกข์โดยชอบ พระเจ้าข้า. เรากล่าวว่า ดูก่อน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 4

สุนักขัตตะ เพราะเหตุที่เมื่อเราได้กระทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์หรือมิได้กระทําก็ดี ธรรมที่เราได้แสดงไว้ย่อมนําผู้ประพฤติให้สิ้นทุกข์โดยชอบ เพราะเหตุนั้น เธอปรารถนาการทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ไปทําไม. ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอจงเห็นว่า การกระทําเช่นนี้เป็นความผิดของเธอเพียงใด.

    [๓] สุนักขัตตะ ได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศแก่ข้าพระองค์เลย.

    เรากล่าวว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ เราได้กล่าวกะเธออย่างนี้ว่า มาเถิดสุนักขัตตะ เธอจงอยู่อุทิศเรา เราจักบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศแก่เธอ ดังนี้ บ้างหรือ.

    เขาทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า.

    เรากล่าวว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ เพราะเหตุที่เรามิได้กล่าวกะเธอว่า มาเถิดสุนักขัตตะ เธอจงอยู่อุทิศต่อเรา เราจักบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศแก่เธอ และเธอก็มิได้กล่าวแก่เราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่อุทิศต่อพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจักทรงบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศแก่เธอ ดูก่อนโมฆบุรุษ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอเมื่อบอกคืน จะชื่อว่าบอกคืนใคร. ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน คือเมื่อเราได้บัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ หรือมิได้บัญญัติก็ดี ธรรมที่เราได้แสดงไว้ ย่อมนําผู้ประพฤติให้สิ้นทุกข์โดยชอบหรือ.

    เขาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์ได้บัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ หรือมิได้บัญญัติก็ดี ธรรมที่พระองค์แสดงไว้ย่อม นําผู้ประพฤติให้สิ้นทุกข์โดยชอบ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 5

    เรากล่าวว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ เพราะเหตุที่เมื่อเราได้บัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศหรือมิได้บัญญัติก็ดี ธรรมที่เราได้แสดงไว้ ย่อมนําผู้ประพฤติให้สิ้นทุกข์โดยชอบเช่นนี้ เธอจะปรารถนาการบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศไปทําไม ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอจงเห็นว่า การกระะทําเช่นนี้เป็นความผิดของเธอเพียงใด. ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอได้สรรเสริญเราที่วัชชีคาม โดยอเนกปริยายว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ สมบูรณ์วิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จําแนกพระธรรมดังนี้ เธอได้สรรเสริญพระธรรมที่วัชชีคาม โดยอเนกปริยายว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ผู้บรรลุพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้ดู ควรน้อมเข้าไปในตน อันผู้ปฏิบัติพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ และเธอได้สรรเสริญพระสงฆ์ที่วัชชีคาม โดยอเนกปริยายว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบ คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นคือพระสงฆ์สาวกพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรรับของบูชา เป็นผู้ควรรับของต้อนรับ เป็นผู้ควรรับของทําบุญ เป็นผู้ควรทําอัญชลี เป็นบุญเขตของชาวโลกไม่มีเขตอื่นยิ่งกว่า ดังนี้. สุนักขัตตะเราขอบอกเธอ เราขอเตือนเธอว่า จักมีผู้กล่าวติเตียนเธอว่า โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เมื่อเขาไม่สามารถ ได้บอกลาสิกขาเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลวดังนี้. ดูก่อนภัคควะ โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ถึงแม้ถูกเรากล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ได้หนีจากธรรมวินัยนี้ เหมือนสัตว์ที่ตกอบายนรกฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 6

กถาว่าด้วยเรื่องอเจลกโกรักขัตติยะ

[๔] ดูก่อนภัคควะ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่นิคมแห่งชาวถูลูชื่อว่าอุตตรกา ในถูลูชนบท. ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า เรานุ่งห่มแล้ว ถือบาตรจีวร มีโอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะเป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปบิณฑบาตที่อุตตรกานิคม. สมัยนั้น มีนักบวชเปลือยคนหนึ่งชื่อว่าโกรักขัตติยะ ประพฤติอย่างสุนัข เดินด้วยข้อศอกและเข่า กินอาหารที่กองบนพื้นด้วยปาก. ดูก่อนภัคควะ โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ได้เห็นเข้า จึงคิดว่า สมณะเดินด้วยข้อศอกและเข่า กินอาหารที่กองบนพื้นด้วยปาก เป็นพระอรหันต์ที่ดีหนอ.

ครั้งนั้น เราได้ทราบความคิดในใจของโอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ด้วยเจโตปริยญาณ จึงกล่าวกะเขาว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ แม้คนเช่นเธอ ก็ยังปฏิญาณตนว่าเป็นศากยบุตรอยู่หรือ.

สุนักขัตตะ ได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไฉนพระผู้มีพระภาคจึงตรัสกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า โมฆบุรุษ แม้คนเช่นเธอ ก็ยังปฏิญาณตนว่าเป็นศากยบุตรหรือ. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอได้เห็นนักบวชเปลือยชื่อโกรักขัตติยะนี้ ซึ่งประพฤติอย่างสุนัข เดินด้วยข้อศอกและเข่า ใช้ปากกินอาหารบนพื้นดิน แล้วเธอได้คิดต่อไปว่า สมณะเดินด้วยศอกและเข่า กินอาหารที่กองบนพื้นด้วยปาก เป็นพระอรหันต์ที่ดีหนอ มิใช่หรือ.

สุนักขัตตะ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระผู้มีพระภาคยังหวงแหนความเป็นพระอรหันต์อยู่หรือ. เรากล่าวว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เราไม่ได้หวงแหนความเป็นพระอรหันต์ แต่ว่าเธอได้เกิดทิฏฐิเลวทรามขึ้น เธอจงละมันเสีย ทิฏฐิเลวทรามนั่น อย่าได้เกิดมีขึ้น เพื่อไม่เป็นประโยชน์และเป็นทุกข์แก่เธอ ชั่วกาล

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 7

นาน นักบวชเปลือยชื่อโกรักขัตติยะ ที่เธอสําคัญว่าเป็นสมณะอรหันต์ที่ดีนั้น อีก ๗ วัน เขาจักตายด้วยโรคอลสกะ (โรคกินอาหารมากเกินไป) ครั้นแล้ว จักบังเกิดในเหล่าอสูรกาลกัญชิกา ซึ่งเลวกว่าอสุรกายทุกชนิด และจักถูกนําไปทิ้งที่ป่าช้าวีรณัตถัมภกะ. และเมื่อเธอต้องการทราบ พึงเข้าไปถามโกรักขิตติยะว่า ท่านโกรักขัตติยะ ท่านทราบคติของตนหรือ ข้อที่โกรักขัตติยะพึงตอบเธอว่า สุนักขัตตะ ข้าพเจ้าทราบคติของตนอยู่ คือข้าพเจ้าไปเกิดในเหล่าอสูรกาลกัญชิกา ซึ่งเลวกว่าอสุรกายทุกชนิดดังนี้ เป็นฐานะที่มีได้. ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะได้เข้าไปหาโกรักขัตติยะ บอกว่า ท่านโกรักขัตติยะ ท่านถูกพระสมณโคดมพยากรณ์ว่า อีก ๗ วัน โกรักขัตติยะจักตายด้วยโรคอลสกะ แล้วจักบังเถิดในเหล่าอสูรกาลกัญชิกา ซึ่งเลวกว่าอสุรกายทุกชนิด และจักถูกเขานําไปทิ้งที่ป่าช้าวีรณัตถัมภกะ ฉะนั้น ท่านจงกินอาหารแต่พอสมควร และดื่มน้ำแต่พอสมควร จึงทําให้คําพูดพระสมณโคดมผิด ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ได้นับวันคืน ตั้งแต่วันที่ ๑ ที่ ๒ ไปจนครบ ๗ วัน เพราะเขาไม่เชื่อพระตถาคต. ครั้งนั้น นักบวชเปลือยชื่อโกรักขัตติยะ ได้ตายด้วยโรคอลสกะในวันที่ ๗ แล้วได้ไปเกิดในเหล่าอสูรกาลกัญชิกา ซึ่งเลวกว่าอสุรกายทุกชนิดและถูกเขานําไปทิ้งไว้ที่ป่าช้าชื่อว่าวีรณัตถัมภกะ โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะได้ทราบข่าวว่า โกรักขัตติยอเจลกได้ตายด้วยโรคอลสกะ ได้ถูกเขานําไปทิ้งที่ป่าช้าวีรณัตถัมภกะ จึงเข้าไปหาศพโกรักขิตติยะที่ป่าช้าวีรณัตถัมภกะ ใช้มือตบซากศพเขา ๓ ครั้ง ถามว่า โกรักขัตติยะ ท่านทราบคติของตนหรือ. ครั้งนั้น ซากศพโกรักขัตติยะ ได้ลุกขึ้นยืนพลางเอามือลูบหลังตนเอง ตอบว่า สุนักขัตตะผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทราบคติ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 8

ของตน ข้าพเจ้าไปบังเกิดในเหล่าอสูรชื่อกาลกัญชิกา ซึ่งเลวกว่าอสุรกายทุกชนิดดังนี้ แล้วล้มลงนอนหงาย อยู่ ณ ที่นั่นเอง.

ดูก่อนภัคควะ ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ได้เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. เราได้กล่าวกะโอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะผู้นั่งเรียบร้อยว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน วิบากนั้นได้มีขึ้นเช่นดังที่เราพยากรณ์ปรารภโกรักขัตติยะไว้ต่อเธอมิใช่มีโดยประการอื่น.

สุนักขัตตะ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิบากนั้นได้มีขึ้น ดังที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์โกรักขัตติยะไว้แก่ข้าพระองค์มิใช่มีโดยประการอื่น.

เรากล่าวว่า เธอสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้ อิทธิปฏิหารย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ ชื่อว่าเป็นสิ่งที่เราได้แสดงแล้วหรือยัง.

สุนักขัตตะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์แสดงไว้แล้วแน่นอน มิใช่จะไม่ทรงแสดงก็หาไม่.

เรากล่าวว่า แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอยังจะกล่าวกะเราผู้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยอดเยี่ยมกว่าธรรมของมนุษย์แก่ข้าพระองค์ ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอจงเห็นว่า การกระทําเช่นนี้ เป็นความผิดของเธอเพียงใด. ดูก่อนภัคควะ โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ ได้หนีจากพระธรรมวินัยนี้ เหมือนสัตว์ผู้เกิดในอบายและนรกฉะนั้น.

กถาว่าด้วยเรื่องอเจลกกฬารมัชฌกะ

[๕] ดูก่อนภัคควะ สมัยหนึ่งเราอยู่ที่กูฏาคารศาลาในป่า

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 9

มหาวัน ในเมืองเวสาลี สมัยนั้น นักบวชเปลือยคนหนึ่งชื่อกฬารมัชฌกะ อยู่ที่วัชชีคามในเมืองเวสาลี. เป็นผู้เลิศด้วยลาภและยศ. เขาได้สมาทานข้อวัตร ๗ ข้อ คือ

    ๑. เราพึงเปลือยกาย ไม่นุ่งห่มผ้าตลอดชีวิต.

    ๒. เราพึงประพฤติพรหมจรรย์ ไม่เสพเมถุนตลอดชีวิต

    ๓. เราพึงดื่มสุราและบริโภคเนื้อสัตว์ดํารงชีพอยู่ ไม่บริโภคข้าวและขนมตลอดชีวิต.

    ๔. เราไม่พึงล่วงเกินอุเทนเจดีย์ ซึ่งอยู่ทางทิศบูรพาเมืองเวสาลี.

    ๕. เราไม่พึงล่วงเกินโคตมเจดีย์ ซึ่งอยู่ทางทิศทักษิณเมืองเวสาลี.

    ๖. เราไม่พึงล่วงเกินสัตตัมพเจดีย์ ซึ่งอยู่ทางทิศปัจฉิมเมืองเวสาลี.

    ๗. เราไม่พึงล่วงเกินพหุปุตตกเจดีย์ อยู่ทางทิศอุดรเมืองเวสาลี.

    เพราะการสมาทานข้อวัตรทั้ง ๗ นี้ เขาจึงเป็นผู้เลิศด้วยลาภและยศ อยู่ที่วัชชีคาม. ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ได้เข้าไปหานักบวชเปลือยชื่อกฬารมัชฌกะ แล้วถามปัญหากะเขา. เขาถูกถามปัญหาแล้ว ไม่สามารถแก้ปัญหาของโอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะให้ถูกต้องได้ จึงแสดงความโกรธ โทสะ และความไม่แช่มชื่นให้ปรากฏออกมา. ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะได้คิดว่า ตนได้รุกรานสมณะผู้เป็นพระอรหันต์ที่ดี การกระทําเช่นนั้นอย่าได้มีแก่เรา เพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและทุกข์ชั่วกาลนาน. ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะได้เข้ามาหาเรา ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 10

เราได้กล่าวกะเธอผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ แม้คนเช่นเธอ ก็ยังปฏิญาณตนเป็นศากยบุตรอยู่หรือ.

    สุนักขัตตะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไฉนพระผู้มีพระภาคจึงตรัสกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า โมฆบุรุษ แม้คนเช่นเธอ ก็ยังปฏิญาณตนเป็นศากบุตรอยู่หรือ.

    เรากล่าวว่า สุนักขัตตะ เธอได้เข้าไปหานักบวชเปลือยชื่อกฬารมัชฌกะ แล้วถามปัญหากะเขา เขาถูกถามปัญหาแลัว ไม่สามารถแก้ปัญหาของเธอให้ถูกต้องได้ จึงได้แสดงความโกรธ โทสะและความไม่แช่มชื่นออกมา เธอจึงได้คิดว่า ตนได้รุกรานสมณะผู้เป็นพระอรหันต์ การรุกรานนั้นอย่าได้มีแก่เรา เพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและเพื่อทุกข์ชั่วกาลนาน ดังนี้ มิใช่หรือ.

    สุนักขัตตะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ พระผู้มีพระภาคก็ยังหวงแหนความเป็นพระอรหันต์อยู่หรือ.

    เรากล่าวว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เรามิได้หวงแหนความเป็นพระอรหันต์ แต่ว่าเธอได้เกิดทิฏฐิเลวทราม เธอจงละมันเสีย ทิฏฐิเลวทรามนี้ อย่าได้เกิดขึ้น เพื่อไม่เป็นประโยชน์และความทุกข์แก่เธอชั่วกาลนาน.

    อนึ่ง นักบวชเปลือยชื่อว่ากฬารมัชฌกะ ที่เธอสําคัญว่าเป็นสมณะผู้เป็นพระอรหันต์ที่ดีนั้น ต่อไปไม่นาน เขาจักกลับนุ่งห่มผ้า มีภรรยา กินข้าวและขนม ล่วงเกินเจดีย์ที่มีอยู่ในเมืองเวสาลีทั้งหมด กลายเป็นคนเสื่อมยศ แล้วตายไป. ดูก่อนภัคควะ ต่อมาไม่นาน อเจลกกฬารมัชฌกะ ก็กลับนุ่งหุ่มผ้า มีภรรยา กินข้าวและขนม ล่วงเกินเจดีย์ที่มีอยู่ในเมืองเวสาลีทั้งหมด กลายเป็นคนเสื่อมยศ แล้วตายไป. โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะได้ทราบข่าวว่า อเจลกชื่อ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 11

กฬารมัชฌกะ กลับนุ่งห่มผ้า มีภรรยา กินข้าวและขนม ล่วงเกินเจดีย์ที่มีอยู่ในเมืองเวลาลีทั้งหมด กลายเป็นคนเสื่อมยศ แล้วตายไป จึงได้เข้ามาหาเรา ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. เราจึงกล่าวกะเขาผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่า ดูก่อนสุนักขัตตะเธอสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน วิบากนั้น ได้มีขึ้นเช่นดังที่เราได้พยากรณ์อเจลกชื่อกฬารมัชฌกะไว้แก่เธอ มิใช่มีโดยประการอื่น.

สุนักขัตตะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิบากนั้น ได้มีขึ้นดังที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์อเจลกชื่อว่ากฬารมัชฌกะไว้แก่ข้าพระองค์ มิใช่มีโดยประการอื่น.

เรากล่าวว่า เธอสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้ อิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ ชื่อว่าเป็นสิ่งที่เราได้แสดงไว้แล้วหรือยัง.

สุนักขัตตะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงแสดงแล้วแน่นอน มิใช่จะไม่ทรงแสดงก็หาไม่.

เรากล่าวว่า แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอยังจะกล่าวกะเราผู้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคมิได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์แก่ข้าพระองค์ ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอจงเห็นว่า การกระทําเช่นนี้ เป็นความผิดของเธอเพียงใด. ดูก่อนภัคควะ โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ถูกเรากล่าวอยู่อย่างนี้ ได้หนีไปจากธรรมวินัยนี้ เหมือนสัตว์ผู้เกิดในอบายและนรกฉะนั้น.

กถาว่าด้วยเรื่องอเจลกปาฏิกบุตร

[๖] ภัคควะ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่กูฏาคารศาลาในป่ามหาวัน ในเมืองเวสาลีนั่นเอง. สมัยนั้น นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร อาศัยอยู่ที่วัชชีคาม

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 12

ในเมืองเวสาลี เป็นผู้มีลาภและยศเลิศ. เขากล่าววาจาในบริษัทที่เมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า แม้พระสมณโคดม ก็เป็นญาณวาทะ แม้เราก็เป็นญาณวาทะ อนึ่ง ระหว่างผู้มีญาณวาทะทั้งสองฝ่ายนั้น ควรจะได้แสดงอิทธิปาฏิหารย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ พระสมณโคดม พึงเสด็จไปกึ่งหนทาง แม้เราก็พึงไปกึ่งหนทาง ในที่พบกันนั้น แม้เราทั้งสอง พึงทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ ถ้าพระสมณโคดมจักทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ ๑ อย่าง เราจะทํา ๒ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทํา ๒ อย่าง เราจักทํา ๔ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทํา ๔ อย่าง เราจะทํา ๘ อย่าง พระสมณโคดมจักทําเท่าใดๆ เราก็จักทําให้มากกว่านั้น เป็นทวีคูณ. โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะทราบข่าวนั้น จึงเข้ามาหาเรา ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรอาศัยอยู่ที่วัชชีคาม ในเมืองเวสาลี มีลาภและยศเลิศ เขากล่าววาจาในบริษัทที่เมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า แม้พระสมณโคดม เป็นญาณวาทะ แม้เราก็เป็นญาณวาทะ ระหว่างผู้มีญาณวาทะทั้งสองฝ่ายนั้น ควรแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ พระสมณโคดมไปได้กึ่งทาง เราก็ไปได้กึ่งทาง ในที่พบกันนั้น แม้เราทั้งสองพึงกระทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ ถ้าพระสมณโคดมทรงทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ ๑ อย่าง เราจะทํา ๒ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจักทรงทํา ๒ อย่าง เราจะทํา ๔ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจักทรงทํา ๔ อย่าง เราจะทํา ๘ อย่าง พระสมณโคดมจะทรงทําเท่าใดๆ เราจะทําให้มากกว่านั้นเป็นทวีคูณ. เมื่อโอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะกล่าวอย่างนี้ เราได้กล่าวกะเขาว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร เมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นเราได้ ถ้าแม้เขาพึงคิดเห็นอย่างนี้

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 13

ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะเขาจะพึงแตกออก.

    สุนักขัตตะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรักษาพระวาจานั้น ขอพระสุคตทรงรักษาพระวาจานั้น.

    เรากล่าวว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ ก็ไฉนเธอจึงกล่าวกะเราอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรักษาพระวาจานั้น ขอพระสุคตทรงรักษาพระวาจานั้น.

    สุนักขัตตะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะพระผู้มีพระภาคตรัสวาจาโดยแน่นอนว่า นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร เมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถจะมาพบเห็นเราได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะเขาพึงแตกออก ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร อาจแปลงรูปมาพบเห็นพระผู้มีพระภาคก็ได้ พระดํารัสเช่นนั้นของพระผู้มีพระภาคก็เป็นมุสา.

    เรากล่าวว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ ตถาคตเคยกล่าววาจาที่เป็นสองไว้บ้างหรือ.

    สุนักขัตตะ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคทรงทราบนักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรโดยแจ้งชัดด้วยพระหฤทัยว่า เขาเมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นเราได้ ถ้าแม้เขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะเขาจะพึงเตกออก หรือเทวดามาทูลความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคว่า เขาเมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นพระองค์ได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 14

คืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะของเขาจะพึงแตกออก.

    เรากล่าวว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ เราทราบนักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร โดยแจ้งชัดด้วยใจของเราว่า เขาไม่ละวาจา จิต และสละทิฏฐิเช่นนั้น จึงไม่สามารถมาพบเห็นเราได้ ถ้าแม้เขาพึงเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะเขาจะพึงแตกออก แม้เทวดา ก็ได้บอกความนั้นแก่เราว่า เขาเมื่อไม่ละวาจานั้น ฯลฯ แม้ศีรษะเขาจะพึงแตกออก. แม้เสนาบดีเจ้าลิจฉวีชื่ออชิตะ ซึ่งได้ตายไปเมื่อเร็วๆ นี้ ได้ไปเกิดในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ก็ได้เข้ามาบอกเราอย่างนี้ว่า นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรเป็นคนไม่ละอายชอบกล่าวมุสา ทั้งได้พยากรณ์ข้าพระองค์ว่า เสนาบดีแห่งเจ้าลิจฉวีชื่ออชิตะ ในวัชชีคาม ได้เกิดในมหานรก แต่ข้าพระองค์มิได้เกิดในมหานรก ได้เกิดในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ เขาไม่ละอาย ชอบพูดมุสา เขาเมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถจะพบเห็นพระองค์ได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะของเขาจะพึงแตกออก. แม้เพราะเหตุนี้แล เราทราบ นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรโดยแจ้งชัดด้วยใจของเราว่า เขาไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ไม่ควรมาพบเห็นเรา ถ้าแม้เขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคตมได้ ดังนี้ ศีรษะเขาจะพึงแตกออก แม้เทวดา ก็บอกความนี้แก่เราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร ไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ไม่ควรมาพบเห็นพระผู้มีพระภาค ถ้าแม้เขาพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น พึงไปพบเห็นพระ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 15

สมณโคดมได้ดังนี้ แม้ศีรษะเขาพึงแตกออก. ดูก่อนสุนักขัตตะ เรานี้แล เที่ยวไปบิณฑบาตที่เมืองเวสาลี กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต แล้วเข้าไปยังอารามของนักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร เพื่อพักผ่อนกลางวัน บัดนี้ถ้าเธอปรารถนาก็จงบอกเขาเถิด.

    [๗] ภัคควะ ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า เรานุ่งห่มแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตที่เมืองเวสาลี กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต แล้วเข้าไปยังอารามของนักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร เพื่อพักผ่อนกลางวัน. ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ รีบเข้าไปเมืองเวสาลี แล้วเข้าไปหาพวกเจ้าลิจฉวีที่มีข้อเสียงบอกว่า ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปบิณฑบาตที่เมืองเวสาลี กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต แล้วเสด็จเข้าไปยังอารามของนักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร เพื่อทรงพักผ่อนกลางวัน ขอพวกท่านจงรีบออกไป จักมีการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ ของพวกสมณะที่ดี.

    ครั้งนั้น พวกเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงได้คิดกันว่า ท่านผู้เจริญ ทราบข่าวว่า จักมีการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ ของพวกสมณะที่ดี ฉะนั้นเชิญพวกเราไปกัน. และโอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะเข้าไปหาพวกพราหมณ์มหาศาล คฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่าเดียรถีย์ต่างๆ และสมณพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง แล้วบอกว่า ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปบิณฑบาตที่เมืองเวสาลี กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต แล้วเสด็จเข้าไปยังอารามของอเจลกปาฏิกบุตร เพื่อทรงพักผ่อนกลางวัน ขอพวกท่านจงรีบออกไป จักมีการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ ของพวกสมณะที่ดี ครั้งนั้น พวกพราหมณ์มหาศาล คฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่าเดียรถีย์ต่างๆ และสมณพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง ได้คิดกันว่า ท่านผู้เจริญ ทราบข่าวว่า จักมีการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 16

พวกสมณะที่ดี ฉะนั้น เชิญพวกเราไปกัน.

    ครั้งนั้น พวกเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียง และพราหมณ์มหาศาล คฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่าเดียรถีย์ต่างๆ และสมณพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียงได้เข้าไปยังอารามของนักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร. ดูก่อนภัคควะ บริษัทนั้นๆ มีหลายร้อย หลายพันคน. นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรได้ทราบข่าวว่าบรรดาเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียง และพราหมณ์มหาศาล คฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่าเดียรถีย์ต่างๆ และสมณพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง ได้พากันออกมาแล้ว แม้พระสมณโคดมก็ทรงนั่งพักผ่อนที่อารามของเรา. ครั้นแล้ว จึงเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า. ครั้งนั้น นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร เมื่อกลัว หวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า จึงเข้าไปยังอารามของปริพาชกชื่อติณฑุกขานุ. บริษัทนั้นได้ทราบว่า นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรกลัว หวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า เข้าไปยังอารามของปริพาชกชื่อติณฑุกขานุ.

    ครั้งนั้น บริษัทนั้นได้เรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านจงเข้าไปหานักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรที่อารามของปริพาชกชื่อติณฑุกขานุ แล้วจงบอกกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านปาฎิกบุตร ท่านจงกลับไป บรรดาเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียง และพราหมณ์มหาศาล คฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่าเดียรถีย์ต่างๆ และสมณพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง ได้พากันออกมาแล้ว แม้พระสมณโคดมก็ประทับนั่งพักผ่อนกลางวันที่อารามของท่าน อนึ่ง ท่านได้กล่าวในบริษัทที่เมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า แม้พระสมณโคดมก็เป็นญาณวาทะ แม้เราก็เป็นญาณวาทะ อนึ่ง ระหว่างผู้เป็นญาณวาทะทั้งสองฝ่ายควรแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ พระสมณโคดมพึงเสด็จมากึ่งหนทาง แม้เราก็พึงไปกึ่งหนทาง ในที่พบกันนั้น แม้เราทั้งสอง พึงทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยอดเยี่ยมกว่าธรรมของมนุษย์ ถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทําอิทธิปาฎิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 17

๑ อย่าง เราจักกระทํา ๒ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทํา ๒ อย่างเราจะกระทำ ๔ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจักกระทํา ๔ อย่าง เราจะกระทํา ๘ อย่าง พระสมณโคดมจักทรงกระทําเท่าใดๆ เราก็จะกระทําให้มากกว่านั้นเป็นทวีคูณ ดังนี้ ท่านปาฏิกบุตร ท่านจงออกไปกึ่งหนทาง พระสมณโคดมเสด็จมาก่อนคนทั้งปวงทีเดียว ประทับนั่งพักผ่อนกลางวันที่อารามของท่าน ดูก่อนภัคควะ บุรุษนั้นรับคําสั่งบริษัทนั้นแล้ว จึงเข้าไปหานักบวชเปลือยชื่อปาฎิกบุตรที่อารามของปริพาชกชื่อติณฑุกขานุ แล้วบอกกะเขาอย่างนี้ ท่านปาฏิกบุตร ท่านจงกลับไป พวกเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียง และพราหมณ์มหาศาล คฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่าเดียรถีย์ต่างๆ และสมณพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง ได้พากันออกมาแล้ว แม้พระสมณโคดมก็ประทับนั่งพักผ่อนกลางวันที่อารามของท่าน อนึ่ง ท่านได้กล่าววาจาในที่บริษัทเมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า แม้พระสมณโคดมก็เป็นญาณวาทะ แม้เราก็เป็นญาณวาทะ อนึ่ง ระหว่างผู้เป็นญาณวาทะทั้งสองฝ่าย ควรแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ พระสมณโคดมพึงเสด็จมากึ่งหนทาง แม้เราก็พึงไปกึ่งหนทาง ในที่พบกันนั้น แม้เราทั้งสอง พึงทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยอดเยี่ยมกว่าธรรมของมนุษย์ ถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ ๑ อย่าง เราจะกระทํา ๒ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมทรงกระทํา ๒ อย่าง เราจะกระทํา ๔ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทํา ๔ อย่าง เราจะกระทํา ๘ อย่าง พระสมณโคดมจะทรงกระทําเท่าใดๆ เราก็จักกระทําให้มากกว่านั้นเป็นทวีคูณๆ ดังนี้ ท่านปาฎิกบุตร ท่านจงออกไปกึ่งหนทาง พระสมณโคดมเสด็จมาก่อนคนทั้งปวงที่เดียว ประทับนั่งพักผ่อนกลางวันที่อารามของท่าน. เมื่อบุรุษนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว นักบวช

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 18

เปลือยชื่อปาฏิกบุตร จึงกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้.

    ครั้งนั้น บุรุษนั้นได้กล่าวกะเขาว่า ท่านปาฏิกบุตร ไฉนท่านจึงเป็นอย่างนี้ ตะโพกของท่านติดกับที่นั่ง หรือว่าที่นั่งติดกับตะโพกของท่าน ท่านกล่าวว่า เราจะไปๆ แต่กลับซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้. ดูก่อนภัคควะ นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร แม้ถูกว่าอยู่อย่างนี้ ก็ยังกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้. เมื่อบุรุษนั้นได้ทราบว่า อเจลกปาฎิกบุตรนี้เป็นผู้แพ้แล้ว ก็ยังกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ จึงกลับมาหาบริษัทนั้นแล้วบอกว่า ท่านผู้เจริญ นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรนี้ เป็นผู้แพ้แล้ว ก็ยังกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้.

    ดูก่อนภัคควะ เมื่อบุรุษนั้นกล่าวอย่างนี้ เราจึงได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า ท่านทั้งหลาย นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร เมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นเราได้ แม้ถ้าเขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะเขาจะพึงแตกออก.

    ปฐมภาณวาร จบ

    [๘] ดูก่อนภัคควะ ครั้งนั้น มหาอํามาตย์แห่งเจ้าลิจฉวีคนหนึ่งลุกขึ้นยืน ได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอให้พวกท่านรอคอยสักครู่หนึ่ง ขอให้ข้าพเจ้าไป บางที ข้าพเจ้าอาจนําเอานักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร มาบริษัทนี้ได้ ครั้งนั้น มหาอํามาตย์แห่งเจ้าลิจฉวีคนนั้นจึงเข้าไปหานักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรที่อารามของปริพาชกชื่อติณฑุกขานุ กล่าวว่า ท่านปาฏิกบุตร ท่านจงกลับไป การกลับไปของท่าน

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 19

เป็นการดี พวกเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียง และพราหมณ์มหาศาล คฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่าเดียรถีย์ต่างๆ และสมณพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง ได้พากันออกมาแล้ว แม้พระสมณโคดมก็ประทับนั่งพักผ่อนกลางวันที่อารามของท่าน อนึ่ง ท่านได้กล่าววาจาในบริษัทที่เมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า แม้พระสมณโคดมก็เป็นญาณวาทะ แม้เราก็เป็นญาณวาทะ อนึ่ง ระหว่างผู้เป็นญาณวาทะทั้งสองฝ่าย ควรแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ พระสมณโคดมพึงเสด็จมากึ่งหนทาง แม้เราก็พึงไปกึ่งหนทาง ในที่พบกันนั้น แม้เราทั้งสอง พึงทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ ถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ ๑ อย่าง เราจะกระทํา ๒ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจะทรงกระทํา ๒ อย่าง เราจะกระทํา ๔ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจะทรงกระทํา ๔ อย่าง เราจะกระทํา ๘ อย่าง พระสมณโคดมจะทรงกระทําเท่าใดๆ เราจะกระทําให้มากกว่านั้นเป็นทวีคูณๆ ดังนี้ ท่านปาฎิกบุตร ท่านจงออกไปกึ่งหนทาง พระสมณโคดมเสด็จมาก่อนคนทั้งปวงทีเดียว ประทับนั่งพักผ่อนกลางวันที่อารามของท่าน อนึ่ง พระสมณโคดมได้ตรัสวาจาในบริษัทว่า นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรเมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นเราได้ ถ้าแม้เขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะของเขาจะพึงแตกออก ดังนั้น ท่านปาฏิกบุตร ท่านจงกลับไป ด้วยการกลับไปนั่นแหละ พวกข้าพเจ้าจักให้ชัยชนะแก่ท่าน จักให้ความปราชัยแก่พระสมณโคดม.

    ดูก่อนภัคควะ เมื่อมหาอํามาตย์แห่งเจ้าลิจฉวีกล่าวอย่างนี้ นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร จึงกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้. ครั้งนั้นมหาอํามาตย์แห่ง

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 20

เจ้าลิจฉวีจึงกล่าวกะเขาว่า ท่านปาฏิกบุตร ท่านเป็นอย่างไรเล่า ตะโพกของท่านติดกับที่นั่ง หรือว่าที่นั่งติดกับตะโพกของท่าน ท่านกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้. เมื่อมหาอํามาตย์แห่งเจ้าลิจฉวีนั้นได้ทราบว่า นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรนี้ เป็นผู้แพ้แล้ว ก็ยังกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ จึงมาหาบริษัทแล้วบอกว่า ท่านผู้เจริญ นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรนี้ เป็นผู้แพ้แล้ว ก็ยังกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้.

    ดูก่อนภัคควะ เมื่อมหาอํามาตย์แห่งเจ้าลิจฉวีนั้นกล่าวอย่างนี้ เราจึงกล่าวกับบริษัทว่า เธอทั้งหลาย นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรเมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะพบเห็นเราได้ ถ้าแม้เขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราจะไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะของเขาจะพึงแตกออก แม้ถ้าพวกเจ้าลิจฉวีพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า พวกเราจักเอาเชือกมัดอเจลกปาฏิกบุตร แล้วจึงฉุดมาด้วยคู่โคมากคู่ เชือกเหล่านั้น หรืออเจลกปาฏิกบุตร พึงขาดออก ก็อเจลกปาฏิกบุตรเมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นเราได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะของเขาจะพึงแตกออก.

    [๙] ดูก่อนภัคควะ ครั้งนั้น ศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อชาลิยะ ลุกขึ้นยืนกล่าวกะบริษัทว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้นขอให้พวกท่านจงรอคอยสักครู่หนึ่ง ขอให้ข้าพเจ้าไป บางที ข้าพเจ้า

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 21

อาจนําเอานักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร มาสู่บริษัทได้. ครั้งนั้นศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อว่าชาลิยะ จึงเข้าไปหานักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรที่อารามของปริพาชกชื่อติณฑุกขานุ แล้วจึงกล่าวว่า ท่านปาฏิกบุตร ท่านจงกลับไป การกลับไปของท่านเป็นการดี พวกเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียง และพราหมณ์มหาศาล คฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่าเดียรถีย์ต่างๆ และสมณพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียงได้พากันออกมาแล้ว แม้พระสมณโคดมก็ประทับนั่งพักผ่อนกลางวันที่อารามของท่าน อนึ่ง ท่านได้กล่าววาจาในบริษัท ที่เมืองเวสาลีว่า แม้พระสมณโคดมก็เป็นญาณวาทะ แม้เราก็เป็นญาณวาทะ อนึ่ง ระหว่างผู้เป็นญาณวาทะทั้งสองฝ่าย ควรแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ พระสมณโคดมพึงเสด็จมากึ่งหนทาง แม้เราก็พึงไปกึ่งหนทาง ในที่พบกันนั้น แม้เราทั้งสอง พึงกระทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ ถ้าพระสมณโคดมทรงกระทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ ๑ อย่าง เราจะกระทํา ๒ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจะทรงกระทํา ๒ อย่าง เราจะกระทํา ๔ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจะทรงกระทํา ๔ อย่าง เราจะกระทํา ๘ อย่าง พระสมณโคดมจักทรงกระทําเท่าใดๆ เราจักกระทําให้มากกว่านั้นเป็นทวีคูณๆ ดังนี้ ท่านปาฏิบุตร ท่านจงออกไปกึ่งหนทาง พระสมณโคดมเสด็จมาก่อนคนทั้งปวงทีเดียว ประทับนั่งพักผ่อนกลางวันที่อารามของท่าน อนึ่ง พระสมณโคดมได้ตรัสวาจาในบริษัทว่า นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร เมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นเราได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะของเขาจะพึงแตกออก แม้ถ้าพวกเจ้าลิจฉวีจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า พวกเราจักเอาเชือกมัดนักบวช

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 22

เปลือยชื่อปาฏิกบุตร แล้วจึงฉุดมาด้วยคู่โคมากคู่ เชือกเหล่านั้น หรืออเจลกชื่อปาฏิกบุตร พึงขาดออก ก็อเจลกปาฏิกบุตร เมื่อไม่ละวาจาจิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นเราได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่อาจละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ดังนี้ แม้ศีรษะของเขาจะพึงแตกออก ดังนี้ ท่านปาฏิกบุตร ท่านจงกลับไป ด้วยการกลับไปของท่านนั่นแหละ พวกข้าพเจ้าจะให้ชัยชนะแด่ท่าน จะให้ความปราชัยแก่พระสมณโคดม.

ดูก่อนภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อชาลิยะ กล่าวแล้วอย่างนี้ นักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตรจึงกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ ครั้งนั้นศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อชาลิยะจึงกล่าวกะเขาว่า ท่านปาฏิกบุตรท่านเป็นอย่างไรไปเล่า ตะโพกของท่านติดกับที่นั่ง หรือว่าที่นั่งติดกับตะโพกของท่าน ท่านกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้. อเจลกปาฏิกบุตร แม้ถูกว่าอย่างนี้ก็ยังกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเองไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อชาลิยะได้ทราบว่าอเจลกชื่อปาฏิกบุตรนี้ เป็นผู้แพ้แล้ว ก็ยังกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ จึงกล่าวกะเขาต่อไปว่า

กถาว่าด้วยอุปมาสุนัขจิ้งจอกกับพญาราชสีห์

ท่านปาฏิกบุตร เรื่องเคยมีมาแล้ว คือพญาสีหราชได้คิดอย่างนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึงอาศัยป่าทึบบางแห่งซ่อนอยู่ แล้วออกจากที่ซ่อนในเวลาเย็น ดัดกายเหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบ แล้วบันลือ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 23

สีหนาท ๓ ครั้ง จึงเที่ยวไปหากิน เราต้องหาหมู่เนื้อตัวล่ําสัน กินเนื้อที่อ่อนนุ่มๆ แล้วกลับมาซ่อนตัวอยู่ตามเคย. ครั้งนั้น พญาสีหมิคราชนั้น จึงอาศัยป่าทึบบางแห่งซ่อนอยู่ ออกจากที่ซ่อนในเวลาเย็น ดัดกายเหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง เที่ยวไปหากิน มันฆ่าหมู่เนื้อตัวล่ําสัน กินเนื้อที่อ่อนนุ่มๆ แล้วกลับมาซ่อนอยู่ตามเคย. ท่านปาฏิกบุตร มีสุนัขจิ้งจอกแก่ตัวหนึ่ง กินเนื้อที่เป็นเดนของพญาสีหมิคราชนั้น แล้วก็เจริญอ้วนท้วนมีกําลัง ต่อมาสุนัขจิ้งจอกแก่ตัวนั้น จึงเกิดความคิดว่า เราคือใคร พญาสีหราชคือใคร ถ้ากระไร เราพึงอาศัยป่าทึบบางแห่งซ่อนอยู่ ออกจากที่ซ่อนเวลาเย็น ดัดกายเหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบบันลือสีหนาท ๓ ครั้ง เที่ยวไปหากิน เราต้องฆ่าหมู่เนื้อตัวล่ําสัน กินเนื้อที่อ่อนนุ่มๆ แล้วก็กลับมาซ่อนอยู่ตามเคย. ครั้งนั้น สุนัขจิ้งจอกแก่ตัวนั้นอาศัยป่าทึบบางแห่งซ่อนอยู่ ออกจากที่ซ่อนในเวลาเย็น ดัดกายเหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบ แล้วคิดว่า เราจักบันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แต่กลับบันลือเสียงสุนัขจิ้งจอกอย่างน่ากลัว น่าเกลียด สุนัขจิ้งจอกที่ต่ําทรามเป็นอย่างไร และการบันลือของสีหะเป็นอย่างไร. ปาฏิกบุตร ท่านก็เป็นเช่นนั้น ดํารงชีพตามแบบพระสุคต บริโภคอาหารที่เป็นเดนพระสุคต ยังสําคัญการรุกรานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านปาฏิกบุตรเป็นอย่างไร การรุกรานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างไร.

    ดูก่อนภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อชาลิยะไม่สามารถที่จะให้อเจลกชื่อปาฏิกบุตร เคลื่อนจากอาสนะนั้นได้ แม้ด้วยคําเปรียบเปรยเช่นนี้ จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

    สุนัขจิ้งจอกสําคัญตนเป็นสีหะ จึงได้ถือตัว

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 24

ว่าเป็นมิคราช มันได้บันลือเสียงสุนัขจิ้งจอกเช่นนั้น สุนัขจิ้งจอกที่ต่ําทรามเป็นอย่างไร การบันลือของสีหะเป็นอย่างไร.

    [๑๐] ท่านปาฏิกบุตร ท่านก็เป็นเช่นนั้น ดํารงชีพตามแบบพระสุคต บริโภคอาหารที่เป็นเดนพระสุคต ยังสําคัญการรุกรานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านปาฏิกบุตรเป็นอย่างไร การรุกรานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างไร. ภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อชาลิยะไม่สามารถที่จะให้นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร เคลื่อนจากอาสนะนั้นได้ แม้ด้วยคําเปรียบเปรยเช่นนี้ จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

    สุนัขจิ้งจอกดูเงาของตนที่ปรากฏในน้ำ ทั้งอยู่ข้างบ่อ ไม่เห็นตนตามความเป็นจริง จึงถือตัวว่าเป็นสีหะ มันได้บันลือเสียงสุนัขจิ้งจอกเช่นนั้น เสียงสุนัขจิ้งจอกที่ต่ําทรามเป็นอย่างไร การบันลือของสีหะเป็นอย่างไร.

    [๑๑] ท่านปาฏิกบุตร ท่านก็เป็นเช่นนั้น ดํารงชีพตามแบบพระสุคต บริโภคอาหารที่เป็นเดนพระสุคต ยังสําคัญการรุกรานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านปาฏิกบุตรเป็นอย่างไร การรุกรานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างไร.

    ดูก่อนภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อชาลิยะไม่สามารถที่จะให้นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร เคลื่อนจากอาสนะนั้นได้ แม้ด้วยคําเปรียบเปรยเช่นนี้ จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

    สุนัขจิ้งจอกกินกบ กินหนู ตามลานข้าวและกินซากศพที่ทิ้งตามป่าช้า จึงอ้วนพีอยู่ตามป่าใหญ่

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 25

ตามป่าที่ว่างเปล่า จึงได้ถือตัวว่าเป็นมิคราช มันได้บันลือเสียงสุนัขจิ้งจอกเช่นนั้น สุนัขจิ้งจอกที่ต่ําทรามเป็นอย่างไร การบันลือของสีหะเป็นอย่างไร.

    [๑๒] ท่านปาฏิกบุตร ท่านก็เป็นเช่นนั้น ดํารงชีพตามแบบพระสุคต บริโภคอาหารที่เป็นเดนพระสุคต ยังสําคัญการรุกรานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านปาฎิกบุตรเป็นอย่างไร การรุกรานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างไร.

    ดูก่อนภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อชาลิยะไม่สามารถที่จะให้นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร เคลื่อนจากอาสนะนั้นได้ แม้ด้วยคําเปรียบเปรยเช่นนี้ จึงกลับมาหาบริษัทนั้น แล้วบอกว่า ท่านผู้เจริญ นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรนี้ เป็นผู้แพ้แล้ว ก็ยังกล่าวว่า เราจะไปๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้.

    ดูก่อนภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อชาลิยะนั้น กล่าวอย่างนี้ เราจึงกล่าวกะบริษัทนั้นว่า เธอทั้งหลาย นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะพบเห็นเราได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ดังนี้ แม้ศีรษะของเขาจะพึงแตกออก แม้ถ้าพวกเจ้าลิจฉวีจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า พวกเราจักเอาเชือกมัดนักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร แล้วฉุดมาด้วยโคมากคู่ เชือกเหล่านั้น หรืออเจลกปาฎิกบุตร พึงขาดออก ก็นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรเมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นเราได้ ถ้าแม้เขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะของเขาจะพึงแตกออก.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 26

    ดูก่อนภัคควะ ลําดับนั้น เราจึงให้บริษัทนั้นเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถา ทําให้พ้นจากเครื่องผูกใหญ่ รื้อถอนสัตว์ประมาณ ๘๔,๐๐๐ ขึ้นจากหลุมใหญ่ จึงเข้าเตโชธาตุกสิณ เหาะขึ้นเวหาสสูงประมาณ ๗ ชั่วลําตาล เนรมิตไฟอื่นให้ลุกโพลงมีควันกลบ สูงประมาณ ๗ ชั่วลําตาลแล้ว จึงกลับมาปรากฏที่กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน. ดูก่อนภัคควะ ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะได้เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. เราจึงได้กล่าวกะเขาผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่า สุนักขัตตะ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน วิบากนั้นได้มีขึ้น เหมือนดังที่เราได้พยากรณ์นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรแก่เธอ มิใช่มีโดยประการอื่น. สุนักขัตตะ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิบากนั้นได้มีแล้ว เหมือนดังที่พระตถาคตได้ทรงพยากรณ์อเจลกชื่อปาฏิกบุตร แก่ข้าพระองค์ มิใช่โดยประการอื่น.

    เรากล่าวว่า เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้ อิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ ชื่อว่าเป็นสิ่งที่เราแสดงแล้วหรือยัง.

    สุนักขัตตะ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์แสดงไว้แล้วแน่นอน มิใช่ไม่ทรงแสดงก็หาไม่.

    เรากล่าวว่า แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอยังจะกล่าวกะเราผู้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์แก่ข้าพระองค์ดังนี้. เธอจงเห็นว่า การกระทําเช่นนั้นเป็นความผิดของเธอเพียงไร ดูก่อนภัคควะ โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะเมื่อเรากล่าวอย่างนี้ ได้หนีไปจากพระธรรมวินัยนี้ เหมือนสัตว์ผู้ไปเกิดในอบายและนรกฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 27

กถาว่าด้วยเรื่องมหาพรหมเป็นต้น

[๑๓] ดูก่อนภัคควะ ก็เราย่อมทราบชัดสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ทั้งรู้ชัดกว่านั้น และไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับได้เฉพาะตน ฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์. ดูก่อนภัคควะ มีสมณพราหมณ์บางพวก บัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่าพระอิศวรทําให้ ว่าพระพรหมทําให้ ตามลัทธิอาจารย์ เราจึงเข้าไปถามเขาอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า ท่านทั้งหลายบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่าพระอิศวรทําให้ ว่าพระพรหมทําให้ ตามลัทธิอาจารย์ จริงหรือ. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ยืนยันว่าเป็นเช่นนั้น เราจึงถามต่อไปว่า พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่าพระอิศวรทําให้ ว่าพระพรหมทําให้ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบอย่างไร. สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้ ก็ตอบไม่ถูก จึงย้อนถามเรา เราถูกถามแล้ว จึงพยากรณ์ว่า เธอทั้งหลายมีบางกาลบางสมัยล่วงมาช้านาน ที่โลกนี้จะพินาศ เมื่อโลกกําลังพินาศอยู่ โดยมากเหล่าสัตว์ย่อมเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม สัตว์เหล่านั้นได้สําเร็จทางใจ มีปิติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้น สิ้นกาลช้านาน.

เธอทั้งหลาย มีบางกาลบางสมัยล่วงมาช้านาน ที่โลกนี้กลับเจริญ เมื่อโลกกําลังเจริญอยู่ วิมานของพรหมปรากฏว่า ว่างเปล่า ครั้งนั้นสัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นอาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงวิมานพรหมที่ว่างเปล่า แม้สัตว์ผู้นั้นก็ได้สําเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานงาม สถิตอยู่ในภพนั้น สิ้นกาลยืดยาวช้านาน เพราะสัตว์นั้นอยู่แต่ผู้เดียวเป็นเวลานาน จึงเกิดความกระสัน ความดิ้นรนขึ้นว่า โอหนอ แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง. ต่อมา สัตว์เหล่าอื่นก็จุติจากชั้น

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 28

อาภัสสรพรหมเพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงวิมานพรหมที่ว่าง เป็นสหายของสัตว์ผู้นั้น แม้สัตว์พวกนั้นก็ได้สําเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลช้านาน.

    เธอทั้งหลาย บรรดาสัตว์จําพวกนั้น ผู้ใดเกิดก่อน ผู้นั้นมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอํานาจ เป็นอิศวร เป็นผู้สร้าง เป็นผู้เนรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอํานาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกําลังเป็น สัตว์เหล่านี้ เราเนรมิตขึ้น. ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่าเราได้มีความคิดอย่างนี้ก่อนว่า โอหนอ แม้สัตว์อื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง ความตั้งใจของเราเป็นเช่นนี้ และสัตว์เหล่านี้ ก็ได้มาเป็นอย่างนี้แล้ว. แม้พวกสัตว์ที่เกิดภายหลังก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ นี้แล เป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอํานาจ เป็นอิศวร เป็นผู้สร้าง เป็นผู้เนรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอํานาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกําลังเป็น พวกเราอันพระพรหมผู้เจริญนี้เนรมิตแล้ว. ข้อนั้นเพราะเหตุใด. เพราะว่าพวกเราได้เห็นท่านพรหมผู้นี้เกิดก่อน ส่วนพวกเราเกิดภายหลัง.

    เธอทั้งหลาย บรรดาสัตว์จําพวกนั้น สัตว์ใดเกิดก่อน สัตว์นั้นมีอายุยืนกว่า มีผิวพรรณงามกว่า มีศักดิ์มากกว่า. ส่วนสัตว์ที่เกิดภายหลังมีอายุน้อยกว่า มีผิวพรรณทรามกว่า มีศักดิ์น้อยกว่า. เธอทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็น (มนุษย์) อย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 29

แล้วบรรลุเจโตสมาธิ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้. เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้ใดแลเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอํานาจ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้เนรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอํานาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกําลังเป็น พระพรหมผู้เจริญใดที่เนรมิตพวกเรา พระพรหมผู้เจริญนั้นเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอายุยืน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว. ส่วนพวกเราที่พระพรหมผู้เจริญนั้นเนรมิตแล้ว เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้. ก็พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่าพระอิศวรทําให้ ว่าพระพรหมทําให้ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบเช่นนี้หรือมิใช่. สมณพราหมณ์เหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านโคดม พวกข้าพเจ้าได้ทราบมาดังที่ท่านโคดมได้กล่าวมานี้แล.

ภัคควะ เราย่อมทราบชัดสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น และไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับได้เฉพาะตน ฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์.

กถาว่าด้วยเรื่องเทวดาชื่อขิฑฑาปโทสิกะ

[๑๔] ภัคควะ มีสมณพราหมณ์บางพวก บัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่าขิฑฑาปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์ เราจึงเข้าไปถามเขาอย่างนี้ว่า ทราบว่า ท่านทั้งหลายบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่าขิฑฑาปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์ จริงหรือ สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ยืนยันว่าเป็นเช่นนั้น เราจึงถามต่อไปว่า พวกเธอบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่าขิฑฑาปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบอย่างไร. สมณพราหมณ์เหล่า

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 30

นั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ก็ตอบไม่ถูก จึงย้อนถามเรา เราถูกถามแล้ว จึงพยากรณ์ว่า เธอทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อว่าขิฑฑาปโทสิกะมีอยู่ พวกนั้นพากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา เมื่อพวกเขาพากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา สติก็ย่อมหลงลืม เพราะสติหลงลืม จึงพากันจุติจากชั้นนั้น. เธอทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้วย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้. เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพวกเทวดาผู้มิใช่เหล่าขิฑฑาปโทสิกะ ย่อมไม่พากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา สติย่อมไม่หลงลืม เพราะสติไม่หลงลืม พวกเหล่านั้นจึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอายุยืน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จึงตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นแล. ส่วนพวกเราเหล่าขิฑฑาปโทสิกะ หมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา สติย่อมหลงลืม เพราะสติหลงลืม พวกเราจึงพากันจุติจากชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้. ก็พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่าขิฑฑาปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบเช่นนี้หรือมิใช่. สมณพราหมณ์เหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านโคดม พวกข้าพเจ้าได้ทราบมา ดังที่ท่านโคดมได้กล่าวมานี้แล. ภัคควะ เราย่อมทราบชัดสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น และไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับเฉพาะตน

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 31

ฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์.

กถาว่าด้วยเรื่องเทวดาชื่อมโนปโทสิกะ

[๑๕] ภัคควะ มีสมณพราหมณ์บางจําพวก บัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่ามโนปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์ เราจึงเข้าไปถามเขาอย่างนี้ว่า ทราบว่า เธอทั้งหลายบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่ามโนปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์ จริงหรือ. สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ยืนยันว่าเป็นเช่นนั้น เราจึงถามต่อไปว่า พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่ามโนปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบอย่างอะไร. สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ก็ตอบไม่ถูก เมื่อตอบไม่ถูก จึงย้อนถามเรา เราถูกถามแล้ว จึงพยากรณ์ว่า เธอทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อมโนปโทสิกะมีอยู่ พวกนั้นมักเพ่งโทษกันและกันเกินควร เมื่อมัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร ย่อมคิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน จึงลําบากกาย ลําบากใจ พากันจุติจากชั้นนั้น. เธอทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้น แล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกถึงไม่ได้. เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพวกเทวดาผู้มิใช่เหล่ามโนปโทสิกะย่อมไม่มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร เมื่อไม่มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร ก็ไม่คิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างไม่คิดมุ่งร้ายกันและกันแล้ว ก็ไม่ลําบากกาย ไม่ลําบากใจ พวกนั้นจึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 32

มีอายุยืน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว. ส่วนพวกเราเหล่า มโนปโทสิกะมัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร เมื่อมัวเพ่งโทษกันละกันเกินควร ก็คิดมุ่งร้ายกันและกัน จึงพากันลําบากกาย ลําบากใจ พวกเราจึงพากันจุติจากชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอายุน้อยยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้. ก็พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่ามโนปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบเช่นนี้ หรือมิใช่. สมณพราหมณ์เหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านโคดม พวกข้าพเจ้าได้ทราบมาดังที่ท่านโคดมได้กล่าวมานี้แล. ภัคควะ เราย่อมทราบชัดสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น แต่เราไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับเฉพาะตน ฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์.

กถาว่าด้วยเรื่องมีความเห็นว่าเกิดขึ้นลอยๆ

[๑๖] ดูก่อนภัคควะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ถือกันว่าเกิดขึ้นลอยๆ ตามลัทธิอาจารย์ เราจึงเข้าไปถามเขาอย่างนี้ว่า ทราบว่า ท่านทั้งหลายบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ถือกันว่าเกิดขึ้นลอยๆ ตามลัทธิอาจารย์ จริงหรือ. สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ยืนยันว่าเป็นเช่นนั้น เราจึงถามต่อไปว่า พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ถือกันว่าเกิดขึ้นลอยๆ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบอย่างไร. สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ก็ตอบไม่ถูก เมื่อตอบไม่ถูก จึงย้อนถามเรา เราถูกถามแล้ว จึงพยากรณ์ว่า

เธอทั้งหลาย มีเทวดาเหล่าอสัญญีสัตว์ ก็แลเทวดาเหล่านั้นย่อมจุติจากชั้นนั้น เพราะความเกิดขึ้นแห่งสัญญา. ดูก่อนเธอทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 33

เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรเป็นที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึงความเกิดขึ้นแห่งสัญญานั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้. เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ข้อนั้นเป็นเพราะอะไร เพราะว่าเมื่อก่อนข้าพเจ้าไม่ได้มีแล้ว (ไม่มีสัญญา) เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้านั้นไม่มี เพราะน้อมไปเพื่อความเป็นผู้สงบ. ก็พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ถือกันว่าเกิดขึ้นลอยๆ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบเช่นนี้หรือ. สมณพราหมณ์เหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านโคดม พวกข้าพเจ้าก็ได้ทราบมาดังที่ท่านโคดมได้กล่าวมานี้แล. ภัคควะ เราย่อมทราบชัดสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น และไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย. เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับเฉพาะตน ฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์.

กถาว่าด้วยเรื่องสุภวิโมกข์

[๑๗] ภัคควะ สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวตู่เรา ซึ่งกล่าวอยู่อย่างนี้ ด้วยคําที่ไม่มีจริง ด้วยคําเปล่า ด้วยคํามุสา ด้วยคําที่ไม่เป็นจริง พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า สมัยใด พระโยคาวจรเข้าสุภวิโมกข์อยู่. สมัยนั้น ย่อมทราบชัดสิ่งทั้งปวงว่าไม่งาม. ภัคควะ ก็เราไม่ได้กล่าวอย่างนี้เลยว่า สมัยใด พระโยคาวจรย่อมเข้าสุภวิโมกข์อยู่. สมัยนั้น ย่อมทราบชัดสิ่งทั้งปวงว่าไม่งาม. แต่เราย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า สมัยใด พระโยคาวจรย่อมเข้าสุภวิโมกข์อยู่ สมัยนั้น ย่อมทราบชัดแต่สิ่งที่ดีงามเท่านั้น. และ ผู้ที่ชื่อว่าวิปริตไปแล้ว ก็คือผู้ที่กล่าวร้ายพระผู้มีพระภาคและพวกภิกษุ เพราะตนวิปริตไปเองได้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 34

องค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรงสามารถแสดงธรรม ให้ข้าพระองค์เข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่

    ภัคควะ การที่เธอผู้มีความเห็นไปทางหนึ่ง มีความพอใจทางหนึ่ง มีความชอบใจไปทางหนึ่ง ไม่มีความเพียรเป็นเครื่องประกอบ ไม่มีลัทธิอาจารย์ จะเข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่ เป็นของยากมาก ขอให้เธอจงรักษาความเลื่อมใสในเราเท่าที่เธอมีอยู่ให้ดีก็พอ.

    ปริพาชกชื่อภัคควโคตรจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าการที่ข้าพระองค์ผู้มีความเห็นไปทางหนึ่ง มีความพอใจไปทางหนึ่ง มีความชอบใจไปทางหนึ่ง ไม่มีความเพียรเป็นเครื่องประกอบ ไม่มีลัทธิอาจารย์ เข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่ เป็นของยากก็จริง ข้าพระองค์ก็ จะพยายามรักษาความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเท่าที่ข้าพระองค์มีอยู่ ให้ดี.

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว ปริพาชกชื่อภัคควโคตรมีความยินดี ชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล.

    จบ ปาฏิกสูตรที่ ๑