พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาปาฏิกสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  15 ก.ค. 2564
หมายเลข  34641
อ่าน  893
  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 15 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 35

สุมังคลวิลาสินี

ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรควรรณนา

อรรถกถาปาฏิกสูตร

ปาฏิกสูตร มีคําบาลีว่า เอวมฺเม สุตํฯ เปฯ มลฺเลสุ วิหรติ.

ในปาฎิกสูตรนั้น จะได้อธิบายข้อความตามลําดับบท ดังต่อไปนี้ :-

คําว่า มลฺเลสุ วิหรติ มีคําอธิบายดังนี้ แม้ชนบทแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นถิ่นพํานักอาศัยของบรรดามัลลราชกุมาร ผู้มีนิวาสฐานอยู่ในชนบท ก็เรียกว่า มัลละ เพราะเพิ่มศัพท์เข้ามา (พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่) ในชนบทแห่งหนึ่งนั้น ในบรรดามัลลชนบททั้งหลาย. คําว่า อนุปฺปิยํ นาม มลฺลานํ นิคโม มีคําอธิบายดังนี้ มีนิคมชนบทของชาวมัลละแห่งหนึ่งชื่อว่าอนุปิยะ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในราวป่าแห่งหนึ่ง ถึงพร้อมด้วยร่มเงาและน้ำ อาศัยอนุปิยนิคมชนบทนั้นเป็นโคจรคาม บาลีบางแห่งเป็น "อโนปิยะ" ก็มี. บทว่า ปาวิสิ แปลว่า ได้เสด็จเข้าไปแล้ว. อนึ่ง จะกล่าวว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปเสร็จสิ้นแล้วไม่ได้ ต้องกล่าวว่ายังต้องเสด็จเข้าไปอีก เพราะเหตุว่า แม้เสด็จออกมาแล้ว ก็ยังทรงมีพระราชประสงค์จะเสด็จเข้าไปอีก. มีอุปมาดังนี้. เช่นชายคนหนึ่งออกจากบ้านประสงค์จะไปยังบ้านอีกแห่งหนึ่ง แม้จะเดินทางยังไม่ถึงบ้านแห่งนั้น เมื่อมีคําถามว่า ชายคนนี้อยู่ที่ไหน ก็ต้องตอบว่า เขาไปบ้านนั้นแล้ว ข้อนี้มีอุปมาฉันใด อุปไมยก็มีฉันนั้น.

คําว่า เอตทโหสิ พระราชดํารินี้ได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อพระผู้มีพระภาคประทับยืนอยู่ใกล้บ้านและทอดพระเนตรดวงอาทิตย์. คําว่า อติปฺปโค โข แปลว่ายังเช้ามืดเกินไป คนในตระกูลทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 36

ยังจัดข้าวยาคูไม่เสร็จ. มีคําถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทราบเวลาหรือ จึงเสด็จออกไป. มีคําตอบว่า พระองค์ไม่ทรงทราบเวลาเสด็จออกไปก็หามิได้. เพราะในเวลาเช้าตรู่ พระผู้มีพระภาคทรงแผ่ข่ายพระญาณตรวจดูสัตวโลก ทอดพระเนตรเห็นฉันนปริพาชก ภัคควโคตร เข้าไปปรากฏในข่ายพระญาณ ทรงทราบแน่ชัดว่า ในวันนี้ เราจักนําเหตุที่เราได้บําเพ็ญไว้ในปางก่อน มาแสดงธรรมแก่ปริพาชกนี้ ธรรมกถานั้นจักมีผลเพราะปริพาชกนั้นได้ความเลื่อมใสในเรา ทรงมีพระประสงค์จะเสด็จเข้าไปยังอารามของปริพาชก จึงได้เสด็จออกไปแต่เช้าตรู่ เพราะฉะนั้นจึงทรงบังเกิดมีพระราชดําริอย่างนี้ เพราะมีพระราชประสงค์จะเสด็จเข้าไปในอารามของฉันนปริพาชกนั้น.

    คําว่า เอตทโวจ มีคําอธิบายดังนี้ ฉันนปริพาชกเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มิได้แสดงอาการแข็งกระด้างเพราะมีมานะ ได้ถวายการต้อนรับพระศาสดา กราบทูลถ้อยคําว่า "ขอเชิญพระองค์เสด็จเข้ามาเถิด พระเจ้าข้า" เป็นต้น. คําว่า อิมํ ปริยายํ ได้แก่ วาระนี้ อธิบายว่า วาระที่ได้เสด็จมานี้ในวันนี้. แม้เมื่อครั้งก่อน พระผู้มีพระภาคเคยได้เสด็จไปในอารามของฉันนปริพาชกนั้นบ้างหรือ. ไม่เคยเสด็จไป. แต่ปริพาชกได้กราบทูลอย่างนั้น เพราะคล้อยตามสํานวนของชาวโลกทั้งหลาย. เพราะชาวโลกทั้งหลายได้เห็นคนที่ตนพอใจ ไม่ว่าจะเคยมานานแล้วก็ดี หรือไม่เคยมาเลยก็ดี ย่อมกล่าวคําเป็นต้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่านมาจากไหน เป็นเวลานานเหลือเกินที่ท่านผู้เจริญได้มาที่นี้อีก ท่านรู้ทางมาที่นี้ได้อย่างไร ท่านหลงทางมาหรือ เป็นต้น เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ฉันนปริพาชกนี้ได้กล่าวอย่างนี้ เพราะคล้อยตามสํานวนของชาวโลก. ประโยคว่า อิทมาสนํ หมายความว่า ปริพาชก ได้กล่าวอย่างนั้นพร้อมกับชี้บอกอาสนะที่ตนนั่ง.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 37

    คําว่า สุนกฺขตฺโต ลิจฺฉวิปุตฺโต ได้แก่ พระราชโอรสของกษัตริย์ลิจฉวี ทรงพระนามว่า สุนักขัตตะ. ได้ยินว่า พระราชโอรสพระองค์นั้นเป็นสหายคฤหัสถ์ของฉันนปริพาชกนั้น ได้เสด็จมาสู่สํานักของปริพาชกนั้น ในบางครั้งบางคราว. คําว่า ปจฺจกฺขาโต ได้แก่ บอกคืน คือสละ ละทิ้ง ด้วยกล่าวถ้อยคําอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้มีพระภาค บัดนี้ ข้าพเจ้าจะไม่ขออยู่อุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า. คําว่า ภควนฺตํ อุทฺทิสฺส ได้แก่ แสดงอ้างอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของเรา เราจะปฏิบัติตามโอวาทของพระผู้มีพระภาค.

    คําว่า โกสนฺโต กํ ความว่าพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า ผู้ขอพึงบอกคืนผู้ถูกขอ หรือว่าผู้ถูกขอพึงบอกคืนผู้ขอ แต่ว่าเธอมิใช่ทั้งผู้ขอและผู้ถูกขอ ดูก่อนโมฆบุรุษ เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอจะเป็นใคร บอกคืนใครเล่า. คําว่า ปสฺส โมฆปุริส แปลว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอจงดู. คําว่า ยาวฺจ เต อิทํ อปรทฺธํ แปลว่า เรื่องนี้ เป็นความผิดของเธอมากเพียงใด. พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า เราขอยกโทษที่มีอยู่อย่างนี้ว่า เธอมีความผิดเพียงใด ก็มีโทษเพียงนั้น.

    บทว่า อุตฺตริมนุสฺสธมฺมา แปลว่า ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ ได้แก่ศีล ๕ และศีล ๑๐. บทว่า อิทฺธิปาฏิหาริยํ ได้แก่ ปาฏิหาริย์เป็นฤทธิ์. บทว่า กเต วา แปลว่า ได้ทําแล้วก็ตาม. บทว่า ยสฺสตฺถาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แห่งความสิ้นทุกข์ใด. ด้วยคําว่า โส นิยฺยาติ ตกฺกรสฺส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ธรรมนั้นย่อมไป คือเป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์ในวัฏฏะทั้งปวง ได้แก่เพื่อทําให้แจ้งซึ่งอมตนิพพานแก่ผู้กระทําตามธรรมนั้น คือผู้กระทําตามธรรมที่เราแสดงไว้ ได้แก่บุคคลผู้ปฏิบัติชอบ. หรือด้วยคําว่า ตตฺร สุนกฺขตฺต เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความไร้ประโยชน์แห่งปาฏิหาริย์ว่า ดูก่อนสุนักขัตตะเมื่อธรรม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 38

ที่เราแสดงแล้วนั้น เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น อิทธิปาฏิหาริย์อันยุ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ที่เรากระทําแล้ว จักทําอะไรได้ คือ มีประโยชน์อะไรด้วยการกระทําปาฏิหาริย์นั้น เพราะแม้เราจะกระทําปาฏิหาริย์นั้นหรือไม่กระทําก็ตาม ความเสื่อมแห่งคําสอนของเราย่อมไม่มี ความจริงเราบําเพ็ญบารมีมาเพื่อมุ่งให้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บรรลุอมตนิพพาน มิได้มุ่งให้ทําปาฏิหาริย์ แล้วได้ทรงยกโทษที่สองว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอจงเห็น.

    คําว่า อคฺคฺํ คือ บัญญัติแห่งโลกที่พึงรู้อย่างนี้ว่า สิ่งนี้เป็นเลิศในโลก ได้แก่ความประพฤติอันเลิศ พระราชกุมารตรัสว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่บัญญัติส่งที่โลกสมมติว่าเลิศนั้น. คําที่เหลือในพระสูตรนี้ พึงทราบตามทํานองวาระที่อยู่ถัดไปนั่นเทียว. คําว่า อเนกปริยาเยน โข นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภขึ้น เพราะเหตุใด. ได้ยินว่าสุนักขัตตราชกุมาร ได้ทรงพร่ําบ่นคําเช่นนี้ว่า เราจักลบล้างคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า บัญญัติโทษขึ้น เมื่อได้สดับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาค ดํารงอยู่ไม่ได้ ไม่กล้าเปล่งพระสุรเสียง. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคําว่า อเนกปริยาเยน เป็นต้น เพื่อทรงแสดงโทษในความเป็นผู้ลบหลู่ว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอตั้งอยู่ในความเป็นผู้ลบหลู่อย่างนี้ จักได้รับคําติเตียนเองทีเดียว.

    บทว่า อเนกปริยาเยน ในพระสูตรนั้น แปลว่า โดยมิใช่หนึ่ง. บทว่า วชฺชิคาเม ได้แก่เวสาลีนคร ซึ่งเป็นบ้านของคณะเจ้าวัชชี. บทว่าว่า โน วิสหิ ได้แก่ ไม่สามารถ. บทว่า โส อวิสหนฺโต ได้แก่ สุนักขัตตราชกุมารพระองค์นั้น. ในครั้งก่อน พระราชกุมารพระองค์ใด เมื่อตรัสสรรเสริญพระรัตนตรัย พระโอฐที่ตรัสไม่เพียงพอ บัดนี้ พระราชกุมารพระองค์นั้น ได้ทรงใช้พระโอฐนั้นเหมือนกัน มาตรัสติเตียนพระ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 39

รัตนตรัย. บทว่า อวิสหนฺโต ได้แก่ไม่อาจประพฤติพรหมจรรย์ ได้ตรัสติเตียนเพราะความที่พระองค์เป็นพาล แล้วเวียนมาเพื่อเป็นคนเลว ส่วนเหล่ามนุษย์ผู้ชมเชยพระรัตนตรัยอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ดีจริง พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีจริง พระสงฆ์ปฏิบัติดีจริง ย่อมชี้โทษของเธอโดยเฉพาะ. คําว่า อิติ โข เต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ เหล่ามนุษย์จักกล่าวติเตียนอย่างนี้แล. เพราะฉะนั้น เมื่อโทษเกิดขึ้นอย่างนี้ เธอไม่อาจจะกล่าวได้ว่า พระศาสดาผู้มีพระญาณไม่ขัดข้องในอดีตและอนาคต แม้ทรงทราบว่า โทษจักเกิดแก่เราอย่างนี้ ก็ไม่ตรัสเตือนเราล่วงหน้าก่อน. บทว่า อปกฺกเมว ได้แก่ ได้หลีกออกไปทีเดียว. หรือได้หนีออกไป อธิบายว่า เคลื่อนออกไป. คําว่า ยถา ตํ อาปายิโก อธิบายว่า สัตว์ผู้ควรไปเกิดในอบาย สัตว์ผู้ควรไปเกิดในนรก พึงหนีไปเกิดฉันใด เธอก็ได้หนีไปฉันนั้น.

    ด้วยคําว่า เอกมิทาหํ นี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอะไร. พระองค์ทรงเริ่มสูตรนี้ ด้วยสองบทว่า ไม่ทรงทําอิทธิปาฏิหาริย์และไม่บัญญัติสิ่งที่ชาวโลกสมมติว่าเลิศ. ในสองบทนั้น บทว่า ไม่ทรงบัญญัติสิ่งที่ชาวโลกสมมติเลิศ นี้ จักทรงแสดงในตอนท้ายสูตร. ส่วนบทว่า ไม่ทรงทําปาฏิหาริย์ นี้ ได้ทรงเริ่มเทศนานี้ด้วยอํานาจที่ทรงแสดงสืบต่อ.

    คําว่า เอกมิทาหํ ในบาลีนั้น แยกบทเป็น เอกสฺมิํ อหํ. บทว่า สมยํ ได้แก่ ในสมัย. อธิบายว่า ในกาลครั้งหนึ่งเรา. บทว่า ถูลูสุ อธิบายว่า มีชนบทแห่งหนึ่งชื่อว่า ถูลู เราอยู่ในชนบทนั้น. บทว่า อุตฺตรกา นาม อธิบายว่า มีนิคมถูลูชนบท มีชื่อเป็นเพศหญิงว่า อุตตรกา ทรงอาศัยนิคมนั้นเป็นโคจรคาม. บทว่า อเจโล ได้แก่ผู้เปลือยกาย. บทว่า โกรกฺขตฺติโย ได้แก่ กษัตริย์ผู้มีพระบาทงองุ้ม. บทว่า กุกฺกุรวตฺติโก ได้แก่สมาทานสุนัขวัตร ดมกลิ่น กินอาหาร นอนในบริเวณเตาไฟ เหมือน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 40

สุนัข ทํากิริยาของสุนัขแม้อย่างอื่นอีก. บทว่า จตุโกณฺฑิโก คือเดินสี่ขา ได้แก่คู้เข่าสองข้างและศอกสองข้างลงบนพื้นเดินเที่ยวไป. บทว่า ฉมานิกิณฺณํ ได้แก่ ที่เรี่ยราย ใส่ไว้ วางไว้ บนพื้น. บทว่า ภกฺขสํ ได้แก่อาหาร คือของเคี้ยวของบริโภคอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า มุเขเนว คือ มิได้ใช้มือหยิบอาหาร ใช้ปากอย่างเดียวเคี้ยวอาหารที่พึงเคี้ยว แม้อาหารที่พึงบริโภค ก็ใช้ปากอย่างเดียวบริโภค. บทว่า สาธุรูโป ได้แก่มีรูปงาม. บทว่า อรหํ สมโณ ได้แก่ สมณะผู้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง.ศัพท์ว่า วต ในบาลีนั้น เป็นนิบาต ลงในอรรถแห่งความปรารถนา. ได้ยินว่า พระราชกุมารนั้น มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า นักบวชอื่นที่จะจัดว่าเป็นสมณะเช่นสมณะรูปนี้ ไม่มี เพราะสมณะรูปนี้ ไม่นุ่งผ้า เพราะเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย มีความสําคัญว่า สิ่งนี้เป็นเหตุให้เกิดความเนิ่นช้า จึงไม่ใช้แม้ภาชนะสําหรับใส่อาหาร กินอาหารที่กองอยู่บนพื้นเท่านั้น นักบวชรูปนี้จัดว่าเป็นสมณะ ส่วนพวกเราจะเป็นสมณะได้อย่างไร. สาวกผู้เดินตามหลังพระพุทธเจ้าผู้เป็นสัพพัญูอย่างนี้ ได้มีความนึกคิดชั่วเช่นนี้.

    คําว่า เอตทโวจ อธิบายว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาค ทรงดําริว่า สุนักขัตตะ ผู้มีอัธยาศัยทรามนี้ เห็นนักบวชนี้แล้วคิดอย่างไรหนอ ครั้นทรงดําริอย่างนี้ ทรงทราบอัธยาศัยของเขา ทรงพิจารณาเห็นว่าโมฆบุรุษผู้นี้ เดินตามหลังของพระสัพพัญูเช่นเรา ไปสําคัญนักบวชผู้เปลือยกายว่าเป็นพระอรหันต์ บัดนี้ คนพาลผู้นี้ ควรถูกตําหนิโทษ ณ ที่นี้แหละ ยังไม่ทันได้เสด็จกลับเลย ได้ตรัสคําว่า ตฺวํ ปิ นาม เป็นต้นนี้. ปิ ศัพท์ในคําว่า ตฺวํ ปิ นาม นั้น ลงในอรรถว่า ติเตียน. เพราะพระผู้มีพระภาค เมื่อทรงติเตียนสุนักขัตตะ ได้ตรัสคําว่า ""ตฺวํ ปิ นาม". ในคํานี้ มีคําอธิบายดังนี้ว่า แม้ตัวเธอมีอัธยาศัยทรามขนาดนี้ ยังจักปฏิญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นสมณะ ผู้เป็นศากยบุตรอีกหรือ. ด้วยคําว่า กิํ ปน เม

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 41

ภนฺเต สุนักขัตตะได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงเห็นสิ่งที่น่าตําหนิอะไร ในตัวของข้าพระองค์ จึงได้ตรัสอย่างนี้. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสบอกแก่เขา ได้ตรัสคําว่า นนุ เตเป็นต้น. ด้วยคําว่า มจฺฉรายติ นี้ สุนักขัตตะ ได้กราบทูลถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหวงพระอรหัต เพราะทรงดําริอย่างนี้ว่า ผู้อื่นจงอย่าได้เป็นพระอรหันต์ หรือ. คําว่า น โข อหํ อธิบายว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เราปรารถนาให้โลกมนุษย์พร้อมทั้งเทวโลกได้พระอรหันต์กันทั้งนั้น เราทํากรรมที่ทําได้ยากมากมาย บําเพ็ญบารมีมาก็เพื่อประโยชน์อย่างนี้เท่านั้น เราไม่ได้หวงพระอรหัตเลย. คําว่า ปาปกํ ทิฏิคตํ อธิบายว่า เขาบังเกิดมีความเห็นในผู้ที่มิใช่พระอรหันต์ว่า เป็นพระอรหันต์ และในผู้ที่เป็นพระอรหันต์ว่ามิใช่พระอรหันต์. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ปาปกํ ทิฏิคตํ หมายถึงความเห็นผิดที่กล่าวมานั้น. คําว่า ยํ โข ปน ได้แก่ เธอสําคัญนักบวชผู้เปลือยกายรูปนั้นใด อย่างนี้.

    คําว่า สตฺตมํ ทิวสํ แปลว่า ในวันที่ ๗. บทว่า อลสเกน ได้แก่ ด้วยพยาธิชื่อ อลสกะ. คําว่า กาลํ กริสฺสติ แปลว่า มีท้องพองตาย. คําว่า กาลกฺชิกา เป็นชื่อของอสูรเหล่านั้น. ได้ยินว่า อสูรเหล่านั้น มีอัตภาพยาวสามคาวุต มีเนื้อและโลหิตน้อย เช่นกับใบไม้เก่า มีตาออกมาติดอยู่บนหัวเหมือนปู มีปากเท่ารูเข็มติดอยู่บนหัวเช่นกัน ก้มตัวลงใช้ปากนั้นกินอาหาร. บทว่า วีรณตฺถมฺภเก อธิบายว่า ในป่าช้านั้น มีเสาปกคลุมด้วยกอหญ้า เพราะฉะนั้น จึงเรียกป่าช้านั้นว่า "วีรณตฺถมฺภก". คําว่า เตนุปสงฺกมิ อธิบายว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนั้น เสด็จไปบิณฑบาตในบ้านนั้นแล้วเสด็จไปสู่วิหาร สุนักขัตตะ ได้ออกจากวิหารเข้าไปหานักบวชเปลือยนั้น. คําว่า เยน ตฺวํ แปลว่า ท่านถูกพระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้เพราะเหตุใด. อธิบายว่า เพราะเหตุที่ท่านถูกพระผู้มีพระ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 42

ภาคเจ้าทรงพยากรณ์ไว้. คําว่า มตฺตํ มตฺตํ แปลว่า พอควรแก่ประมาณๆ . บาลีบางแห่งว่า มนฺตา มนฺตา ก็มี อธิบายว่าใช้ปัญญาพิจารณาๆ . คําว่า ยถา สมณสฺส ความว่า สุนักขัตตะ ได้กล่าวว่า ท่านพึงทําให้คํากล่าวของพระสมณโคดมผิดไป. เมื่อสุนักขัตตะกล่าวอย่างนี้แล้ว นักบวชเปลือยนอนในบริเวณเตาไฟเหมือนสุนัข ได้ชูศีรษะลืมตามองดู กล่าวว่า พระสมณโคดม ผู้ผูกเวรเป็นศัตรูกับพวกเรา ได้พูดอะไร นับตั้งแต่พระสมณโคดมอุบัติขึ้นมา พวกเรากลายสภาพเป็นเหมือนฝูงหิ่งห้อยในยามดวงอาทิตย์อุทัย พระสมณโคดมพึงกล่าววาจาอย่างนี้กับพวกเรา หรือกล่าวอย่างอื่น แต่ย่อมเป็นธรรมดาว่า ถ้อยคําของผู้ที่เป็นศัตรูกันย่อมไม่เป็นจริง ท่านจงไปเสียเถิด เราจักรู้ในเรื่องนี้เอง แล้วนอนต่อไป.

    บทว่า เอกทฺวีหิกาย ได้แก่ กล่าวนับว่า หนึ่ง สอง. บทว่า ยถา ตํ อธิบายว่า นับดุจคนบางคนที่ไม่เชื่อพึงนับ และในวันหนึ่งได้เข้าไปหาสามครั้งบอกว่า วันหนึ่งล่วงไปแล้ว สองวันล่วงไปแล้ว. คําว่า สตฺตมํ ทิวสํ อธิบายว่า ได้ยินว่า นักบวชเปลือยนั้น ได้ฟังคําของสุนักขัตตะแล้ว ไม่บริโภคอาหารเลยตลอด ๗ วัน. ครั้นถึงวันที่ ๗ อุปฐากคนหนึ่งของเขาคิดว่า วันนี้เป็นวันที่ ๗ ที่สมณะประจําสกุลของพวกเราไม่มา ชะรอยว่าจะเกิดความไม่สบาย แล้วให้ปิ้งเนื้อหมู นําอาหารไปกองไว้บนพื้นข้างหน้า. นักบวชเปลือย แลดูแล้วคิดว่า ถ้อยคําของพระสมณโคดมจะเป็นจริงหรือเท็จก็ตาม แต่เมื่อเราบริโภคอิ่มหนําแล้ว แม้เราจะตายก็ถือว่าตายดี แล้วก็ลุกขึ้นคลาน กินอาหารจนอิ่มท้อง. ในเวลากลางคืน เขาไม่อาจจะให้อาหารย่อยได้ จึงสิ้นชีวิตด้วยโรคชื่อ อลสกะ. ถึงแม้เขายังไม่คิดว่าจะบริโภค แม้กระนั้น เขาจะต้องบริโภคในวันนั้น แล้วสิ้นชีวิตด้วยโรคชื่อ อลสกะ. เพราะพระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่มีวาจาเป็นสอง.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 43

    คําว่า วีรณตฺถมฺภเก อธิบายว่า ได้ยินว่า พวกเดียรถีย์ทราบข่าวว่า โกรักขัตติยะสิ้นชีวิตแล้ว นับวันแล้วกล่าวว่า คําพยากรณ์ของพระสมณโคดมเกิดเป็นจริงแล้ว บัดนี้ พวกเราจะนําศพเขาไปทิ้งในที่อื่น จักข่มพระสมณโคดมด้วยมุสาวาท ได้พากันไปนําเอาเถาวัลย์มาพันศพแล้วลากไปพร้อมกับกล่าวว่า ทิ้งศพไว้ตรงนี้ๆ . สถานที่ๆ ลากศพไปนั้นเป็นเนินทั้งนั้น. พวกเขาจึงลากศพไปสู่ป่าช้าชื่อ วีรณัตถัมภกะ ทราบว่าเป็นสุสานก็ได้ลากศพต่อไปตั้งใจว่าจะนําไปทิ้งในที่อื่น. ทันใดนั้น เถาวัลย์ลากศพขาด. พวกเขาไม่อาจให้ศพเคลื่อนไหวได้ จึงพากันหนีไปจากที่นั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ได้ทิ้งไว้ในป่าช้าชื่อวีรณัตถัมภกะ.

    คําว่า เตนุปสงฺกมิ มีคําอธิบายดังนี้ เพราะเหตุไร โอรสของเจ้าลิจฉวี นามสุนักขัตตะจึงเข้าไปหา ได้ทราบว่า สุนักขัตตะโอรสเจ้าลิจฉวีนั้น คิดว่า คําพูดของพระสมณโคดม ย่อมสมจริงแน่นอน ก็ธรรมดาว่าคนตายจะลุกขึ้นพูดกับคนอื่น ย่อมไม่มี เอาเถอะ เราจะไปถาม ถ้าโกรักขัตติยะบอก ก็ดีไป ถ้าไม่บอกไซร้ เราจักข่มพระสมณโคดมด้วยมุสาวาท. สุนักขัตตะเข้าไปถามเพราะเหตุนี้. บทว่า อาโกฏเฏสิ แปลว่าว่า เคาะ (ด้วยฝ่ามือ) . มีคําถามว่า ซากศพของคนที่ตายแล้ว ย่อมไม่สามารถจะลุกขึ้นมาพูดได้ นักบวชเปลือยรูปนั้นได้กล่าวคําว่า "ดูก่อนผู้มีอายุ เรารู้" ได้อย่างไร. มีคําตอบว่า เขาพูดได้ด้วยพุทธานุภาพ. ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคได้นําโกรักขัตติยะ จากกําเนิดอสูรให้เข้าสิงในซากศพแล้วให้พูด. อีกนัยหนึ่ง พระองค์ได้ทรงให้ซากศพนั้นพูด. เพราะวิสัยพระพุทธเจ้า เป็นอจินไตย (คนอื่นไม่ควรคิด) คําว่า ตเถว ตํ วิปากํ ได้แก่ ผลของคําพูดนั้น เกิดแล้วอย่างนั้นทีเดียว ศัพท์ว่า วิปากํ นั้น จัดเป็นลิงควิปลาศ. ความหมายที่ถูกต้องก็คือ ตเถว โส วิปาโก.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 44

ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า วิปกฺกํ ก็มี. เนื้อความคือเกิดแล้ว. ถึงคราวนี้ ควรจะได้ประมวลปาฏิหาริย์มา ก็เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ เป็นปาฎิหาริย์ ๕ อย่าง. คือ พระดํารัสว่า นักบวชเปลือยนั้นจักตายในวันที่ ๗ เขาก็ตายตามพระดํารัสนั้น นี้ เป็นปาฏิหาริย์ ข้อที่ ๑ พระดํารัสว่า เขาจักตายด้วยโรค "อลสกะ" เขาก็ตายด้วยโรคอลสกะจริง นี้เป็นปาฏิหาริย์ข้อที่ ๒ พระดํารัสว่า นักบวชเปลือยนั้นจักเกิดในภพอสูรชื่อว่ากาลกัญชิกา เขาก็เกิดในภพอสูรจริง นี้เป็นปาฏิหาริย์ข้อที่ ๓. พระดํารัสว่า พวกเดียรถีย์จักทิ้งซากศพไว้ในป่าช้า วีรณัตถัมภกะ เขาก็ถูกทิ้งในป่าช้านั้นจริง นี้เป็นปาฏิหาริย์ข้อที่ ๔. พระดํารัสว่า เขาจักมาจากที่ตนเกิดแล้ว กล่าวกับสุนักขัตตะโอรสเจ้าลิจฉวี เขาก็กล่าวจริง นี้เป็นปาฏิหาริย์ข้อที่ ๕.

    บทว่า กฬารมชฺชโก คือ นักบวชเปลือย ผู้มีฟันและหนวดงอกออกมา หรือคําว่า กฬารมชฺชโก นี้เป็นชื่อของนักบวชเปลือยผู้นั้นเท่านั้น บทว่า ลาภคฺคปฺปตฺโต คือผู้ถึงความเลิศด้วยลาภ อธิบายว่าผู้ประสบลาภที่ดีเลิศ บทว่า ยสคฺคปฺปตฺโต คือประสบความเลิศด้วยยศ คือมีบริวารอย่างยอดเยี่ยม. บทว่า วตฺตปทานิ คือข้อปฏิบัติทั้งหมด หรือข้อปฏิบัติบางส่วน บทว่า สมตฺตานิ ได้แก่ ถือเอา. บทว่า สมาทินฺนานิ เป็นไวพจน์ของบทว่า สมตฺตานิ นั่นแล. คําว่า ปุรตฺถิเมน เวลาลิํ ได้แก่ ในทิศบูรพาใกล้กรุงเวสาลี. บทว่า เจติยํ คือเป็นเจดีย์สถานของยักษ์. ทุกๆ บท ก็มีนัยเช่นนี้.

    คําว่า เยน อเจโล มีอธิบายว่า สุนักขัตตะ โอรสเจ้าลิจฉวี กระทําวัตรพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ไปทางทิศที่ อเจลกปริพาชกชื่อว่า กฬารมัชชกะ อยู่. บทว่า ปฺหํ ปุจฺฉิ คือถามปัญหาที่ประกอบด้วยไตรลักษณ์อย่างลึกซึ้ง. บทว่า น สมฺปายาสิ อธิบายว่า กฬารมัชชก

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 45

ปริพาชกไม่ได้ดําเนินไปด้วยญาณคติที่ถูกทาง เขาตอบผิดพลาดในแต่ละปัญหานั้นๆ เหมือนคนตาบอดเดินลื่นล้มในที่ขรุขระ เขามองไม่เห็นเงื่อนปลายของปัญหา. อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า น สมฺปายาสิ ความว่าไม่ให้ถึงพร้อม (ด้วย) ปัญญา คือไม่สามารถจะให้ปัญญาเกิดขึ้นกล่าว (ตอบ) ได้ กฬารมัชชกปริพาชกเมื่อไม่สามารถจะตอบได้ ก็ยืนกรอกลูกตาไปมา พูดว่า ท่านอยู่ในสํานักของผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษา บวชในที่ไม่ใช่โอกาส เที่ยวถามปัญหาทั่วไป จงหลีกไป อย่ามายืนในสถานที่นี้. คําว่า โกปฺจ โทสฺจ อปจฺจยฺจ ปาตฺวากาสิ มีอธิบายดังนี้ กฬารมัชชกปริพาชก ได้แสดงความโกรธ คืออาการกําเริบ โทสะ มีอาการประทุษร้าย และความไม่แช่มชื่น คือโทมนัส อันเป็นอาการแห่งความไม่ยินดี. บทว่า อาสาทิยิมฺหเส ได้แก่ ได้รุกราน คือเบียดเบียน. คําว่า มา วต โน อโหสิ แปลว่า โอ ข้อนั้นไม่พึงมีแก่เรา. บาลีว่า มํ วต โน อโหสิ ดังนี้ก็มี. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มํ เป็นทุติยาวิภัตติ ใข้ในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ. ความว่า ข้อนั้นได้มีแก่เราแล้วหนอ ก็แลสุนักขัตตะ ครั้นคิดอย่างนั้นแล้ว จึงนั่งกระโหย่งขอขมา กฬารมัชชกปริพาชก นั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านโปรดอดโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด แม้ปริพาชกนั้นก็กล่าวว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ท่านจักไม่ถามปัญหาอื่นใด. สุนักขัตตะโอรสเจ้าลิจฉวีกล่าวว่า ข้าพเจ้าขอรับรองว่า จะไม่ถามปัญหาอีก ปริพาชกนั้นกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจงไป เราอดโทษให้ท่าน แล้วสั่งสุนักขัตตะโอรสเจ้าลิจฉวีกลับไป.

    บทว่า ปริหิโต แปลว่า นุ่งห่ม คือกลับนุ่งห่มผ้า. บทว่า สานุจริโก ความว่า ภริยาท่านเรียก อนุจาริกา. บุคคลผู้มีภรรยา ท่านเรียก สานุจริกะ อธิบายว่า อเจลกชื่อกฬารมัชชกะ ละการประพฤติพรหมจรรย์นั้นๆ แล้ว มีภรรยา. บทว่า โอทนกุมฺมาสํ ได้แก่ กินข้าว

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 46

บ้าง กินขนมบ้าง ยิ่งกว่าที่ดื่มสุราและกินเนื้อสัตว์. บทว่า ยสา นิหิํโน ความว่า เขาประสบความเลิศด้วยลาภ ความเลิศด้วยยศอันใด ก็เสื่อมจากลาภและยศอันนั้น.

    อิทธิปาฏิหาริย์ที่สูงยิ่งกว่าปกติธรรมดาของมนุษย์ ชื่อว่าเป็นคุณที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว เพราะเหตุนั้น ในข้อนี้พึงทราบปาฏิหาริย์ ๗ ย่าง คือการก้าวพระบาทไปได้ ๗ ก้าว. บทว่า ปาฏิกปุตฺโต คือเป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อ ปาฏิกะ. บทว่า าณวาเทน คือกับญาณวาทะ. บทว่า อุปฑฺฒปถํ ความว่า ถ้าในระหว่างพวกเราพึงมี (หนทางไกล) หนึ่งโยชน์ พระสมณโคดมพึงเสด็จไปกึ่งหนทาง เราก็พึงไปในกึ่งหนทาง. ในหนทางมีกึ่งหนทางเป็นต้น ก็นัยนี้. บุคคลผู้เดินไปได้ ๑ ก้าว จักชนะ ผู้ไม่ได้ดําเนินไป จักแพ้. บทว่า เต ตตฺถ ความว่า ในที่พบกันนั้น เราทั้งสอง (พึงกระทําอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งกว่าปกติธรรมดาของมนุษย์) . บทว่า ตทฺทิคุณํ ตทฺทิคุณาหํ ความว่า เราจักกระทําให้มากกว่านั้น เป็นทวีคูณๆ . อเจลกชื่อปาฏิกบุตร แม้ทราบความที่ตนไม่สามารถทําปาฏิหาริย์แข่งกับพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ก็ทราบว่า ผู้ที่เริ่มทําปาฏิหาริย์แข่งกับบุรุษชั้นเยี่ยม แม้ไม่สามารถเอาชนะได้ก็ได้รับคําสรรเสริญแลัว จึงกล่าวอย่างนี้. แม้ชาวพระนครฟังคํานั้นแล้ว ก็พากันคิดว่า ธรรมดาคนที่ไม่สามารถย่อมไม่ประกาศอย่างนี้ อเจลกปาฏิกบุตร แม้นี้จักเป็นพระอรหันต์แน่แท้ จึงได้พากันทําสักการะเป็นอันมากแก่เขา.

    คําว่า เยนาหํ เตนุปสงฺกมิ ความว่า ได้ยินว่าสุนักขัตตะได้สดับว่า อเจลกปาฏิกบุตรย่อมกล่าวอย่างนี้. ทีนั้น อเจลกชื่อว่าปาฏิกบุตร ได้เกิดความคิด (อย่างนี้) เพราะมีอัธยาศัยชั่ว เพราะมีความคิดเห็นทราม. สุนักขัตตะ ทําวัตรพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าพระคันธกุฎี จึงไปสํานักอเจลกชื่อปาฏิกบุตร แล้วถามว่า

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 47

ได้ยินว่า ท่านกล่าวคําเช่นนี้หรือ. เขาตอบว่า ใช่ เรากล่าว. สุนักขัตตะกล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านอย่าคิด อย่ากลัวเลย ท่านเป็นผู้ที่คุ้นเคย จงพูดอย่างนี้ร่ําไป ข้าพเจ้าเป็นอุปัฏฐากของพระสมณโคดม ย่อมทราบวิสัยของพระองค์ พระสมณโคดมจักไม่สามารถทําปาฏิหาริย์กับท่านได้เราจักบอกแก่พระสมณโคดมให้เกิดความกลัว จักพาพระองค์ไปที่อื่น ท่านอย่ากลัวไปเลย ได้ปลอบโยนอเจลกปาฎิกบุตรจนเบาใจ ไปสํานักพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เยนาหํ เตนุปสงฺกมิ.

    ในคําว่า ตํ วาจํ เป็นต้นนั้น ความว่า อเจลกปาฏิกบุตร เมื่อกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าเลย ได้เที่ยวพูดว่า ข้าพเจ้าเป็นพระพุทธเจ้า ได้กล่าวถ้อยคําไม่จริงเลย ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าเลย ชื่อว่าละวาจานั้น อเจลกชื่อว่าปาฏิกบุตรนั่งคิดในที่ลับตาคน คิดว่า ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าเลยตลอดกาลนั้น ได้เที่ยวพูดว่าข้าพเจ้าเป็นพระพุทธเจ้า จําเดิมตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปข้าพเจ้ามิได้เป็นพระพุทธเจ้า ชื่อว่าละความคิดนั้น ปาฏิกบุตรเมื่อละความคิดว่า ข้าพเจ้ามิได้เป็นพระพุทธเจ้า แต่ได้ยึดถือทิฏฐิชั่วว่า ข้าพเจ้าเป็นพระพุทธเจ้าเที่ยวไปตลอดกาลเท่านี้ ข้าพเจ้าละทิฏฐินี้จําเดิมตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ชื่อว่าสละทิฏฐินั้น แต่ปาฏิกบุตรไม่ทําอย่างนี้ ท่านจึงกล่าวว่า ไม่ละวาจานั้น ไม่ละความคิดนั้น ไม่สละทิฏฐินั้น. บทว่า วิปเตยฺย คือ ศีรษะของเขาพึงหลุดจากคอ เหมือนผลตาลสุกหลุดจากขั้ว หรือพึงแตกเจ็ดเสียง.

    บทว่า รกฺขเตตํ ได้แก่ จงทรงรักษาพระวาจานั้น. บทว่า เอกํเสน คือโดยนิปปริยาย. บทว่า โอธาริตา แปลว่า กล่าวแล้ว. คําว่า อเจโล จ ภนฺเต ปาฏิกปุตฺโต ความว่า ถ้าอเจลกปาฏิกบุตรกล่าวแล้วโดยวาจาแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าโดยส่วนเดียวด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 48

บทว่า วิรูปรูเปน ได้แก่ แปลงรูป. อธิบายว่าอเจลกชื่อปาฏิกบุตรมาด้วยรูปที่เปลี่ยนจากสภาพเดิม คือ ละรูปของคนมาอยู่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการที่ไม่ปรากฏ หรือด้วยรูปต่างๆ เช่นราชสีห์ และเสือ เป็นต้น. คําว่า ตทสฺส ภควโต มุสา ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น พระดํารัสนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงเป็นคําเท็จ คือ (อเจลกปาฏิกบุตร) ข่มด้วยมุสาวาท. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พึงถูกข่มด้วยมุสาวาทอื่นเว้นแต่มุสาวาทข้อนั้น. บทว่า ทฺวยคามินี ความว่า มีพระวาจาเป็นสองอย่างนี้ คือ มีอยู่โดยย่อแต่ไม่มีโดยเนื้อหาที่เป็นประโยชน์. คําว่า ทฺวยคามินี นั่น เป็นชื่อวาจาที่เหลาะแหละ เปล่าประโยชน์ และไม่มีผล.

คําว่า อชิโตปิ นาม ลิจฺฉวีนํ เสนาปติ ความว่า ได้ทราบว่าอชิตะนั้น เป็นอุปัฏฐาก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เขาตายเสียแล้ว. คราวนั้น พวกมนุษย์ได้ทําฌาปนกิจศพเขา แล้วถามปาฏิกบุตรว่าเสนาบดีเกิดที่ไหน ปาฏิกบุตรตอบว่า เกิดในมหานรก. ก็แล ปาฏิกบุตร ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว พูดอีกว่า เสนาบดีของพวกท่านมาสํานักของเราแล้วร้องไห้ว่า เราไม่ทําตามถ้อยคําของท่าน เชื่อในวาทะของสมณโคดม บังเกิดในนรกแล้ว.

ในคําว่า เตนุปสงฺกมิํ ทิวาวิหาราย นี้ ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ตรัสว่า เพื่อทําปาฏิหาริย์. ตอบว่า เพราะไม่มีเหตุ แม้ความเผชิญหน้ากันของปาฏิกบุตรกับพระผู้มีพระภาคไม่มี การกระทําปาฏิหาริย์ จะมีแต่ไหน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ตรัสอย่างนั้น ตรัสว่า ทิวาวิหารราย.

บทว่า คหปติเนจยิกา ได้แก่ คฤหบดีมหาศาล. จริงอยู่คฤหบดีเหล่านั้นได้สะสมทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นอันมากไว้ เพราะฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 49

คฤหบดีเหล่านั้น ท่านจึงเรียกว่า เนจยิกา. บทว่า อเนกสหสฺสา ได้แก่ คํานวนไม่ได้ แม้ด้วยจํานวนพัน. ได้ยินว่า บุคคลอื่นเว้นสุนักขัตตะย่อมไม่สามารถให้บริษัทใหญ่ประชุมกันได้อย่างนี้ เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้พาสุนักขัตตะเที่ยวไป ตลอดกาลประมาณเท่านี้. ความสะดุ้งแห่งจิต ชื่อว่าภัย ความหวั่นไหวแห่งสรีระทุกส่วน ชื่อว่า ฉมฺภิตตฺตํ. การที่เส้นขนทั้งหลายชูชันขึ้น ชื่อว่า โลมหํโส. ได้ยินว่า อเจลกชื่อว่าปาฏิกบุตร คิดว่า เราได้กล่าวถ้อยคําใหญ่ยิ่ง ทําผิดกับบุคคลผู้เลิศในโลกกับทั้งเทวโลก ความเป็นพระอรหันต์หรือเหตุแห่งการกระทําปาฏิหาริย์ไม่มีภายในเราเลย ส่วนพระสมณโคดม จักกระทําปาฏิหาริย์ เมื่อเป็นเช่นนั้น มหาชนเห็นปาฏิหาริย์ของพระสมณโคดมนั้นแล้ว จักเบียดเบียนด้วยเครื่องประหารมี ท่อนไม้ ก้อนดิน และอาชญา เป็นต้น ด้วยกล่าวว่า บัดนี้ท่านไม่สามารถทําปาฏิหาริย์ได้เพราะเหตุไรจึงไม่รู้ประมาณตัวเอง มาตั้งตัวเป็นคู่ต่อสู้กับบุคคลชั้นเลิศในโลก แสดงกิริยารุกราน. เพราะฉะนั้น ความกลัว ความหวาดกลัวหรือความขนพองสยองเกล้าจึงได้เกิดขึ้นแก่เขา เพราะสดับข่าวการประชุมกันของมหาชนและการเสด็จมาของพระผู้มีพระภาคเจ้า. อเจลกปาฏิกบุตรนั้น ใคร่จะพ้นจากทุกข์นั้น จึงได้ไปอารามของปริพาชกชื่อว่า ติณฑุกขาณุ. เพื่อจะแสดงเนื้อความนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า อถ โข ภคฺคว เป็นต้น.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า อเจลกชื่อว่าปาฏิกบุตร มิได้เข้าไปหาอย่างเดียว ก็ครั้นเข้าไปแล้ว ก็เข้าไปยังอารามของปริพาชกไกลได้กึ่งโยชน์ ยังไม่ได้ความสบายใจ จึงเข้าไปทางด้านริมสุดของอาราม เลือกได้สถานที่เป็นป่ารกแห่งหนึ่ง ที่ริมอาราม นั่งบนแผ่นหิน. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดําริว่า ถ้าอเจลกปาฏิกบุตรนี้เป็นคนพาลเชื่อคําของคนบางคน พึงมาในสถานที่นี้ไซร้ คนพาลจงอย่าฉิบหายเลย จึง

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 50

ทรงอธิษฐานว่า ขอแผ่นหินที่นั่งจงติดกับสรีระของเขา พร้อมกับจิตที่อธิษฐาน ที่นั่งนั้นได้ติดกับสรีระของเขา. อเจลกปาฏิกบุตรนั้น ได้เป็นเหมือนถูกผูกด้วยเครื่องผูกคือโซ่ตรวนใหญ่และเหมือนถูกตัดเท้าฉะนั้น. บทว่า อสฺโสสิ ความว่า พวกบริษัทพากันแสวงหาอเจลกชื่อปาฏิกบุตร ข้างโน้นและข้างนี้ เมื่อถูกบุรุษคนใดคนหนึ่งผู้ติดตามรอยเท้าของอเจลกชื่อปาฏิกบุตร รู้ที่นั่งมาแล้ว ถามว่า พวกท่านแสวงหาใคร ต่างพากันตอบว่าอเจลกชื่อปาฏิกบุตร ได้ฟังวาจาที่บุรุษนั้นตอบว่า อเจลกชื่อปาฏิกบุตร นั้นนั่งอยู่ในอารามปริพาชกชื่อว่าติณฑุกขาณุ. บทว่า สํ สปฺปติ ได้แก่ ซบศีรษะ คืออยู่ในอารามนั้นนั่นเอง. ตะโพก ท่านเรียกว่า ปาวฬะ. บทว่า ปราภูตรูโป ได้แก่ เป็นผู้แพ้แล้ว คือฉิบหายแล้ว.

    บทว่า โคยุเคหิ ความว่า ด้วยคู่เทียมแล้วด้วยโคจํานวนร้อยหรือจํานวนพัน. บทว่า อาวิฺเชยฺยาม แปลว่า พึงลากมา. บทว่า ฉิชฺเชรุํ ได้แก่ พึงขาดออก หรืออเจลกชื่อปาฏิกบุตรพึงขาดออกในที่ผูก.

    บทว่า ทารุปตฺติกนฺเตวาสี ได้แก่ ผู้เป็นศิษย์แห่งช่างกลึงไม้. ได้สดับว่า ศิษย์ช่างกลึงไม้นั้น ได้มีความคิดว่า จงยกปาฏิหาริย์ไว้ก่อน พระสมณโคดมกล่าวว่า อเจลกชื่อว่าปาฏิกบุตรจักไม่ลุกขึ้นแม้จากอาสนะ เอาเถอะ เราจักไป ให้ปาฏิกบุตรนั้นลุกขึ้นจากอาสนะด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระสมณโคดมก็จักแพ้ เพราะฉะนั้น ศิษย์ช่างกลึงไม้จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า สีหสฺส ความว่า พญาสีหมิคราช มี ๔ ชนิด คือ พญาสีหติณราช พญาสีหกาฬราช พญาสีหปัณฑุราช และ พญาสีหเกสรราช. บรรดาพญาสีหราชเหล่านั้น พญาสีหเกสรราช ได้ถึงความเป็นสัตว์เลิศ. ในที่นี้

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 51

ท่านประสงค์เอาพญาสีหเกสรราช. บทว่า มิครฺโ ได้แก่ ผู้เป็นราชา แห่งสัตว์สี่เท้าทุกชนิด. บทว่า อาสยํ ได้แก่ สถานที่อยู่. บทว่า สีหนาทํ คือ บันลือแบบไม่กลัว. บทว่า โคจราย ปกฺกเมยฺยํ ความว่า พึงเที่ยวไปเพื่อหาอาหาร. คําว่า วรํ วรํ ได้แก่ ฝูงเนื้อตัวล่ําสัน ชั้นยอดเยี่ยม. บทว่า มุทุมํสานิ ได้แก่ เนื้อที่อ่อนนุ่ม. บาลีว่า มธุมํ สานิ ก็มี. อธิบายว่า เนื้อที่มีรสอร่อย. บทว่า อชฺฌุเปยฺยํ ได้แก่ พึงเข้าไป. บทว่า สีหนาทํ นทิตฺวา ความว่า บันลือแล้วด้วยความการุณย์ ซึ่งอาศัยความเป็นผู้กล้าของตนว่า สัตว์เหล่าใดมีกําลังน้อย สัตว์เหล่านั้นจงหนีไป. บทว่า วิฆาสสํวฑฺโฒ ความว่า อ้วนท้วนด้วยเนื้อที่เป็นเดน คือ กินเนื้อที่เป็นแดนที่เหลือจากสัตว์อื่นกินแล้วเติบโตขึ้น. บทว่า ทิตฺโต คืออ้วนท้วน คือมีร่างกายอ้วน. บทว่า พลวา คือสมบูรณ์ด้วยกําลัง. บทว่า เอตทโหสิ ได้แก่ ได้มีแล้วเพราะเหตุไร. เพราะโทษแห่งอัสมิมานะ. ในข้อนั้นมีอนุปุพพิกถาดังต่อไปนี้.

    ได้ยินว่า วันหนึ่ง พญาสีหราชนั้น กลับจากที่แสวงหาอาหาร ได้เห็นสุนัขจิ้งจอกนั้น กําลังหนีไปเพราะความกลัว เกิดความการุณย์ จึงพูดว่า สหายรัก อย่ากลัวเลย หยุดก่อน ท่านชื่ออะไร. สุนัขจิ้งจอกตอบว่า เราชื่อ ชมพุกะ นาย. พญาราชสีห์จึงพูดว่า ชัมพุกะ ผู้มีวัยเสมอกัน ตั้งแต่นี้ไป ท่านสามารถอุปัฏฐากเราได้หรือ. สุนัขจิ้งจอกตอบว่า เราจักอุปัฏฐากท่าน. ตั้งแต่นั้นมา สุนัขจิ้งจอกนั้น ก็อุปัฏฐาก (พญาราชสีห์) . พญาราชสีห์เมื่อกลับจากที่แสวงอาหาร ก็นําเนื้อชิ้นใหญ่มาให้. สุนัขจิ้งจอกนั้นเคี้ยวกินเนื้อชิ้นใหญ่นั้นแล้ว ก็อยู่บนแผ่นหินในที่ไม่ไกล. พอเวลาล่วงไปสองสามวันเท่านั้น สุนัขจิ้งจอกนั้นก็อ้วนท้วน มีลําคอใหญ่. ครั้งนั้น พญาราชสีห์นั้นได้กล่าวกับสุนัขจิ้งจอกนั้นว่า เฮ้ย ชัมพุกะ ท่านจักสามารถพูดว่า ในเวลาที่เราบิดกาย

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 52

ท่านสามารถจะยืนอยู่ในที่ไม่ไกลแล้วพูดว่า ข้าแต่นาย ท่านจงโกรธ ได้หรือไม่. สุนัขจิ้งจอกตอบว่า สามารถนาย. ในเวลาที่ราชสีห์บิดกาย สุนัขจิ้งจอกได้ทําตามคําสั่ง เพราะการกระทําตามนั้น. พญาราชสีห์จึงมีอัสมิมานะอย่างยิ่ง. ต่อมาวันหนึ่ง สุนัขจิ้งจอกแก่ เมื่อดื่มน้ำในสระ ได้เห็นเงาของตน เห็นร่างตนอ้วนและคอใหญ่ ไม่ทําใจว่า เราเป็นสุนัขจิ้งจอกแก่มากแล้ว แต่สําคัญว่า แม้เราก็เป็นราชสีห์ จึงได้พูดคํานี้กับตนว่า เฮ้ย ชัมพุกะ การที่อัตภาพนี้ของเจ้าบริโภคเนื้อที่เป็นเดนผู้อื่น ควรแล้วหรือ เจ้ามิใช่ลูกผู้ชายหรือ แม้ราชสีห์ก็มีสี่เท้า สองเขี้ยว สองหูและมีหางเดียว แม้อวัยวะทั้งหมดของเจ้าก็มีเหมือนราชสีห์ เจ้าเองมิใช่มีกําลังเพียรเกสรดอกไม้อย่างเดียวเท่านั้น. เมื่อสุนัขจิ้งจอกแก่คิดอย่างนี้ อัสมิมานะก็กําเริบขึ้น. ครั้งนั้น สุนัขจิ้งจอกแก่นั้น ได้เกิดความสําคัญว่า เราคือใครเป็นต้น เพราะโทษแห่งอัสมิมานะนั้น.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก จาหํ ความว่า เราคือใคร พญาสีหมิคราช คือใคร พญาสีหมิคราช ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่นายของเรา อธิบายว่า เราจะทําความอ่อนน้อมแก่สัตว์ใหญ่ทําไม. บทว่า สิคาลกํ เยว ได้แก่ ร้องอย่างสุนัขนั่นแล. บทว่า เกรณฺฑกํ เยว ได้แก่ เสียงไม่น่ารักและไม่น่าพอใจ. คําว่า เก จ เฉเว สิคาเล ความว่า สุนัขจิ้งจอกที่ต่ําทรามจะเป็นอย่างไร. คําว่า เก ปน สีหนาเท ได้แก่ ก็การบันลือแบบสีหะจะเป็นอย่าง. อธิบายว่า ก็การบันลือของสุนัขจิ้งจอกและของพญาราชสีห์ มีอะไรเกี่ยวเนื่องกัน.

    บทว่า สุคตาปทาเนสุ ได้แก่ ตามสิกขา ๓ อย่าง อันเป็นลักษณะของพระสุคต คือเป็นศาสนาของพระสุคต. ก็พระสุคตนั่นดํารงชีพตามแบบสิกขา ๓ อย่างนั้น อย่างไร. จริงอยู่ พุทธศาสนิกชนเมื่อถวายปัจจัย

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 53

๔ แด่พระสุคตนั้น ย่อมถวายด้วยคิดว่า เราจะถวาย (ปัจจัย ๔) แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้สมบูรณ์ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น (ส่วน) อเจลกปาฏิกบุตรนั้น ไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อบริโภคปัจจัยที่ชนกําหนดถวายพระพุทธเจ้า ชื่อว่า ดําเนินชีวิตในศาสนาของพระสุคต. บทว่า สุคตาติริตฺตานิ อธิบายว่า ได้ยินว่า ประชาชนเมื่อจะให้โภชนะแก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ได้ให้แก่พระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ภายหลังจึงให้อาหารที่เหลือในเวลาเย็น อเจลกชื่อปาฏิกบุตรนี้ ชื่อว่า บริโภคอาหารที่เป็นเดนพระสุคต ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ตถาคเต ความว่า ท่านสําคัญว่าพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ที่พึงเบียดเบียน คือพึงรุกราน. อีกนัยหนึ่ง. บทว่า ตถาคเต เป็นต้น เป็นทุติยาวิภัตติพหุวจนะ. แม้บทว่า อาสาเทตพฺพํ นี้ ก็เป็นพหุวจนะเหมือนกัน ท่านกล่าวว่า เป็นเหมือนเอกวจนะ. บทว่า อาสาทนา ได้แก่เบียดเบียนว่า "เราจักทําปาฏิหาริย์กับพระพุทธเจ้า".

    บทว่า สเมกฺขิยาน แปลว่า พิจารณาแล้ว คือสําคัญแล้ว. บทว่า อมฺิ แปลว่า ได้ถือตัว. บทว่า โกตฺถุ หมายเอา สุนัขจิ้งจอก. คําว่า อตฺตานํ วิฆาเส สเมกฺขิย ได้แก่ ได้เห็นอัตตภาพอ้วนพี ในน้ำที่ใสในสระน้ำ. บทว่า ยาวตฺตานํ น ปสฺสติ ความว่า ย่อมไม่เห็นตนตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า เราเป็นสุนัขจิ้งจอกแก่ เติบโตขึ้นเพราะเนื้อที่เป็นเดนของพญาสีหมิคราช. บทว่า พฺยคฺโฆติ มฺติ ได้แก่ ย่อมสําคัญว่า เราเป็นพญาสีหมิคราช หรือถือตัวว่า เรามีกําลังเท่ากับสีหะ เป็นพยัคฆ์แท้. บทว่า ภุตฺวาน เภงฺเค ได้แก่ กินกบตามบ่อ. บทว่า ขลมูสิกาโย ความว่า กินหนูในลานข้าว. บาทคาถาว่า กฏสีสุ ขิตฺตานิ จ กูณปานิ ความว่า กินซากศพที่ทิ้งไว้ในป่าช้า. บทว่า มหาวเน คือในป่าใหญ่. บทว่า สุฺวเน คือในป่าเปลี่ยว. บทว่า วิวฑฺโฒ คือเติบโตแล้ว. คําว่า ตเถว โส สิคาลกํ อนทิ ความ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 54

ว่า สุนัขจิ้งจอก แม้นั้น แม้เติบโตได้อย่างนี้ ก็ยังสําคัญว่า เราเป็นพวกมิคราช ก็ร้องเหมือนสุนัขแก่ เหมือนอย่างที่เป็นสุนัขจิ้งจอกเสื่อมกําลังในคราวก่อนฉะนั้น. ศิษย์ของช่างกลึงไม้ชื่อชาลิยะ ได้รุกรานปาฏิกบุตรนั้นแล้วว่า ท่านบริโภคอาหารที่เป็นเดน แล้วติดอยู่ในลาภสักการะ เหมือนสุนัขจิ้งจอกตัวที่กินสัตว์มีกบเป็นต้น แล้วเติบโตขึ้นฉะนั้น ด้วยคาถาแม้นี้.

    บทว่า นาเคหิ คือ ด้วยเหล่าช้าง. บทว่า มหาพนฺธนา คือให้พ้นจากเครื่องผูก คือ กิเลสใหญ่. บทว่า มหาวิทุคฺคา ความว่า โอฆะ ๔ อย่าง ชื่อว่าหล่มใหญ่ รื้อถอนจากหล่มใหญ่นั้นแล้ว ให้ดํารงอยู่บนบกคือพระนิพพาน. พระอรรถกถาจารย์ ครั้นแสดงบทอนุสนธิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไม่ทรงกระทําปาฏิหาริย์ ด้วยกถามรรคประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะแสดงอนุสนธิแห่งบทนี้ว่า น อคฺคฺํ ปฺเปติ จึงเริ่มเทศนาว่า อคฺคฺฺจาหํ เป็นต้น

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคฺฺจาหํ ความว่า ดูก่อนภัคควะ เราย่อมรู้ชัดซึ่งสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ และจริยาวัตรที่เกิดขึ้นของโลก. บทว่า ตฺจ ปชานามิ ความว่า เรามิใช่จะทราบชัดสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมรู้ชัดสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศนั้นด้วย แล้วรู้ชัดกว่านั้น คือทราบชัดตั้งแต่ศีล สมาธิ จนถึงพระสัพพัญุตญาณ. คําว่า ตฺจ ปชานนํ น ปรามสามิ ความว่า เราแม้เมื่อทราบชัดซึ่งสิ่งนั้น ก็ไม่ยึดมั่นด้วยอํานาจของตัณหา ทิฏฐิ และมานะว่า เราย่อมรู้ชัดถึงสิ่งชื่อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า พระตถาคตไม่มีความยึดถือมั่น. คําว่า ปจฺจตฺตฺเว นิพฺพุติ วิทิตา ได้แก่ ทรงทราบการดับกิเลสในพระองค์ด้วยพระองค์เดียว. คําว่า ยทภิชานํ ตถาคโต คือ พระตถาคตทรงรู้ คือ ทรงทราบ การดับกิเลส.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 55

คําว่า โน อนยํ อาปชฺชติ มีอธิบายว่า พระตถาคตย่อมไม่ถึงอนยะ คือทุกข์ ได้แก่ ความพินาศ เหมือนเดียรถีย์ผู้ยังไม่ทราบพระนิพพาน ฉะนั้น. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อแสดงถึงสิ่งที่เหล่าเดียรถีย์บัญญัติว่าเลิศ จึงตรัสว่า สนฺติ ภคฺคว เป็นต้น บรรดาบทเหล่านั้น. บทว่า อิสฺสรกุตฺตํ พฺรหฺมกุตฺตํ ได้แก่ พระอิศวรทําให้ พระพรหมทําให้. อธิบายว่า พระอิศวรเนรมิตให้ พระพรหมเนรมิตให้. จริงอยู่พึงทราบว่า พระพรหมเท่านั้น ชื่อว่าเป็นใหญ่โดยความเป็นอธิบดี ในคําว่า อิสฺสรกุตฺตํ พฺรหฺมกุตฺตํ นี้. บทว่า อาจริยกํ คือ ความเป็นอาจารย์ ได้แก่ ลัทธิของอาจารย์. ในคําว่า อาจริยกํ นั้น อาจริยวาท ชื่อว่า สิ่งที่ชาวโลกสมมติกันว่าเลิศ. ก็อาจริยวาทนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายว่า สิ่งที่ชาวโลกสมมติว่าเลิศ เราแสดงไว้ในคําว่า อาจริยวาทนี้ จึงตรัสว่า อคฺคฺํ ดังนี้. บทว่า กถํวิหิตกํ คือ ใครจักไว้ จัดไว้อย่างไร. คําที่เหลือ พึงทราบตามนัยที่อธิบายพิสดารแล้วในพรหมชาลสูตร. บทว่า ขิฑฺฑาปโทสิกํ ได้แก่ มีมูลมาแต่เทวดาเหล่าขิฑฑาปโทสิกะ.

บทว่า อสตา คือไม่มีอยู่. อธิบายว่า เพราะอรรถว่าไม่มี. บทว่า ตุจฺฉา ได้แก่ ด้วยคําเปล่า คือเว้นจากแก่นภายใน. บทว่า มุสา คือด้วยมุสาวาท. บทว่า อภูเตน คือเว้นจากถ้อยคําที่เป็นจริง. บทว่า อพฺภาจิกฺขนฺติ แปลว่า กล่าวตู่ (เรา). บทว่า วิปรีโต คือ มีสัญญาวิปริต ได้แก่ มีจิตวิปริต. บทว่า ภิกฺขโว จ ความว่า มิใช่พระสมณโคดมอย่างเดียวที่วิปริต พวกภิกษุผู้ทําตามคําสอนพระสมณโคดมนั้นก็วิปริตไปด้วย. ครั้งนั้น เพื่อจะแสดงคํากล่าวที่พวกเดียรถีย์กล่าวหมายเอา

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 56

ว่า พระสมณโคดมเป็นผู้วิปริต พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคําว่า สมโณ โคตโม เป็นต้น. บทว่า สุภวิโมกขํ ได้แก่ วัณณกสิณ. บทว่า อสุภนฺเตฺวว ได้แก่ รู้ชัดอย่างนี้ว่า สิ่งที่งาม และสิ่งที่ไม่งามทั้งหมด จัดเป็นอสุภะ. คําว่า สุภนฺเตน ตสฺมิํ สมเย ความว่า ย่อมรู้ชัดในสมัยนั้น ว่าสิ่งนี้งาม ย่อมไม่รู้สิ่งที่ไม่งาม.

    บทว่า ภิกฺขโว จ ความว่า พวกภิกษุ และสมณะอันเตวาสิกของเหล่าชนที่พูดอย่างนี้ (นั่นแหละ) วิปริต. บทว่า ปโหติ ได้แก่ สามารถ คือ อาจ. บทว่า ทุกฺกรํ โข ได้แก่ ปริพาชกนี้เลื่อมใสอย่างนี้แล้ว จึงพูดเขาว่า อหํ ภนฺเต เป็นต้น. (ความจริง) ปริพาชกกล่าวคํานั้นด้วยความโอ้อวด คือด้วยการหลอกลวง ได้ทราบว่า ปริพาชกนั้นมีความคิดว่า พระสมณโคดมแสดงธรรมกถาประมาณเท่านี้แก่เรา เราแม้ฟังธรรมกถานั้นแล้ว ก็ไม่สามารถบวชได้ เราควรทําตัวเหมือนจะปฏิบัติตามคําสอนพระสมณะโคดมนั้น. เพราะเหตุนั้น ปริพาชกนั้นจึงกล่าวอย่างนี้ ด้วยความโอ้อวด คือด้วยความหลอกลวง. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเหมือนจะตัดขาดความเยื่อใยต่อปริพาชกนั้น จึงตรัสว่า ทุกฺกรํ โข เอตํ ภคฺคว ตยา อฺทิฏิเกน เป็นต้น. คํานั้นมีเนื้อความตามที่กล่าวไว้ในโปฏฐปาทสูตร. บทว่า สาธุกมนุรกฺข ได้แก่ จงรักษาให้ดี. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชักชวนปริพาชกรักษาความเลื่อมใส (เพียงเท่าที่มีอยู่ให้ดี) ด้วยประการฉะนี้. ปริพาชกชื่อภัคควโคตรแม้นั้น แม้ฟังพระสูตรอย่างมากมายอย่างนี้ ก็ไม่สามารถทํากิเลสให้สิ้นไปได้. ก็การเทศนา (พระสูตรนี้) ได้เป็น

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 57

ปัจจัยเพื่อวาสนาในภพต่อไปของเขา. คําที่เหลือทุกๆ บท มีเนื้อความชัดเจนแล้วทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาปาฏิกสูตรแห่งอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อสุมังคลวิลาสินี ด้วยประการฉะนี้.

จบสูตรที่ ๑