๖. ปาสาทิกสูตร เรื่องนิคัณฐนาฏบุตรถึงแก่กรรม
[เล่มที่ 15] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 259
๖. ปาสาทิกสูตร
เรื่องนิคัณฐนาฏบุตรถึงแก่กรรม หน้า 259
เรื่องธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี หน้า 261
เรื่องกาลกิริยาของศาสดา หน้า 265
เรื่องศาสดาที่เลิศด้วยลาภ หน้า 271
เรื่องอภิญญาเทสิตธรรม หน้า 272
เรื่องการแสดงธรรมเพื่อปิดกั้นอาสวะ หน้า 275
เรื่องประกอบตนให้ติดความสุข หน้า 277
เรื่องผู้ไม่ควรล่วงฐานะ ๙ หน้า 279
เรื่องเหตุที่มีพระนามว่า ตถาคต หน้า 281
เรื่องทิฏฐินิสัยเกี่ยวกับกาลอนาคต หน้า 287
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 15]
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 259
๖. ปาสาทิกสูตร
เรื่องนิคัณฐนาฏบุตรถึงแก่กรรม
[๙๔] ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระเจ้า) ได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปราสาทในสวนอัมพวันของพวกศากยะ มีนามว่า เวธัญญา ในแคว้นสักกะ. ก็สมัยนั้น นิคัณฐนาฏบุตร ได้ถึงแก่กรรมที่เมืองปาวาไม่นานนัก. เพราะนิคัณฐนาฏบุตรนั้นได้ถึงแก่กรรม พวกนิครณฐ์จึงแตกกัน ได้แตกแยกกันเป็นสองฝ่าย เกิดบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกันขึ้น ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ได้อย่างไร ท่านเป็นผู้ปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก ถ้อยคําของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คําที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คําที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน สิ่งที่ท่านช่ําชองได้ผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย หรือจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ. เห็นจะมีแต่ความตายเท่านั้น จะเป็นไปในพวกอันเตวาสิกของนิคัณฐนาฏบุตร. พวกสาวกของนิคัณฐนาฏบุตรเหล่าใด ที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาว พวกสาวกเหล่านั้น มีอาการเบื่อหน่าย คลายความรัก รู้สึกท้อถอย ในพวกอันเตวาสิกของนิคัณฐนาฏบุตร โดยเหตุที่ธรรมวินัยที่นิคัณฐนาฏบุตร กล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่นําผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 260
ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่ธรรมวินัยอันพระสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยที่ถูกทําลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยอันไม่มีที่พึ่งอาศัย.
[๙๕] ครั้งนั้น พระจุนทสมณุเทส จําพรรษาอยู่ในเมืองปาวา ได้เข้าไปหาท่านพระอานนทเถระซึ่งอยู่ในสามคาม ครั้นเข้าไปหาแล้ว ได้กราบไหว้ท่านพระอานนทเถระเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอานนทเถระเจ้าว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า นิคัณฐนาฎบุตรได้ถึงแก่กรรมเสียแล้วที่เมืองปาวา เมื่อไม่นานมานี้ เพราะนิคัณฐนาฏบุตรถึงแก่กรรม พวกนิครณฐ์แตกกัน เกิดแยกเป็นสองพวก ฯลฯ โดยเหตุที่ธรรมวินัยที่นิคัณฐนาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนําผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่ใช่ธรรมวินัยที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยที่ถูกทําลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยไม่มีที่พึ่งอาศัย. เมื่อพระจุนทสมณุเทสกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะพระจุนทสมณุเทสว่า ดูก่อนอาวุโสจุนทะ มีมูลเหตุแห่งถ้อยคํานี้ เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า อาวุโสจุนทะมาเถิด เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่ประทับ แล้วพึงกราบทูลเรื่องนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระจุนทสมณุเทสรับคําของท่านพระอานนทเถระเจ้าแล้ว.
ครั้งนั้น ท่านพระอานนทเถระเจ้าและพระจุนทสมณุเทส ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้กราบถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ท่านพระอานนท
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 261
เถระเจ้า ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระจุนทสมณุเทสนี้ ได้บอกว่า นิคัณฐนาฏบุตรได้ถึงแก่กรรมเสียแล้ว เมื่อไม่นานมานี้ เพราะนิคัณฐนาฏบุตรถึงแก่กรรม พวกนิครณฐ์แตกกัน เกิดแยกเป็นสองพวก ฯลฯ โดยเหตุที่ธรรมวินัยที่นิคัณฐนาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนําผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่ใช่ธรรมวินัยที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยที่ถูกทําลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยไม่มีที่พึ่งพาอาศัย.
ว่าด้วยธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี
[๙๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนจุนทะ ข้อนี้ ย่อมเป็นอย่างนั้น ในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนําผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่ใช่ธรรมวินัยที่สัมมาสัมพุทธะประกาศไว้. ดูก่อนจุนทะ ศาสดาในโลกนี้ไม่เป็นสัมมาสัมพุทธะ และธรรมก็เป็นธรรมที่ศาสดานั้นกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนําผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่ใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ และสาวกไม่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมในธรรมนั้นอยู่ ไม่เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ไม่เป็นผู้ประพฤติตามธรรม และประพฤติหลีกเลี่ยงจากธรรมนั้น สาวกนั้น ควรที่ใครๆ จะกล่าวได้อย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ศาสดาของท่านไม่เป็นสัมมาสัมพุทธะ และธรรมก็เป็นธรรมที่ศาสดานั้นกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนําผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นเพื่อความสงบ ไม่ใช่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 262
ธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ แต่ท่านไม่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมในธรรมนั้นอยู่ ไม่เป็นผู้ปฎิบัติชอบ ไม่เป็นผู้ประพฤติตามธรรม และประพฤติหลีกเลี่ยงจากธรรมนั้น. ดูก่อนจุนทะ ด้วยเหตุนี้แล แม้ศาสดา ก็เป็นผู้ควรถูกติเตียนในธรรมนั้น แม้ธรรมก็ควรถูกติเตียน แต่สาวก ควรได้รับการสรรเสริญในธรรมนั้นอย่างนี้. ดูก่อนจุนทะ ผู้ใดแลพึงกล่าวกะสาวกเห็นปานนั้น อย่างนี้ว่า ท่านจงปฏิบัติตามธรรมที่ศาสดาของท่านแสดงไว้แล้ว บัญญัติไว้แล้วเถิด. ผู้ที่ชักชวน ผู้ที่ถูกชักชวน และผู้ที่เขาชักชวนแล้ว ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น คนทั้งหมดนั้น จะประสบสิ่งที่ไม่ใช่บุญ เป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนจุนทะ เพราะว่า ข้อนี้ ย่อมมีในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนําผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่ธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้อย่างนี้แล.
[๙๗] ดูก่อนจุนทะ อนึ่ง ศาสดาในโลกไม่เป็นสัมมาสัมพุทธะ และธรรมเป็นธรรมที่ศาสดานั้นกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนําผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ และสาวกก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมในธรรมนั้นอยู่ เป็นผู้ปฏิบัติชอบ เป็นผู้ประพฤติตามธรรม ย่อมยึดถือประพฤติธรรมนั้น สาวกนั้น ควรที่ใครๆ จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ไม่เป็นลาภของท่าน ท่านได้ไม่ดีแล้ว และศาสดาของท่านก็ไม่เป็นสัมมาสัมพุทธะ และธรรมก็เป็นธรรมที่ศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนําผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ ทั้งตัวท่าน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 263
ก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ เป็นผู้ปฏิบัติตามธรรม ย่อมยึดถือประพฤติธรรมนั้น. ดูก่อนจุนทะ ด้วยเหตุดังนี้แล แม้ศาสดา ก็เป็นผู้ควรถูกติเตียนในธรรมนั้น แม้ธรรม ก็ควรถูกติเตียน แม้สาวก ก็เป็นผู้ควรถูกติเตียนในธรรมนั้น อย่างนี้. ดูก่อนจุนทะ ผู้ใดพึงกล่าวกะสาวกเห็นปานนั้น อย่างนี้ว่า ท่านเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อธรรมอันควรรู้ จักยังธรรมที่ควรรู้ให้สําเร็จได้โดยแท้. ผู้ที่สรรเสริญ ผู้ที่รับสรรเสริญ และผู้ที่ได้รับสรรเสริญแล้ว ปรารภความเพียรโดยประมาณยิ่ง คนทั้งหมดนั้น ย่อมประสบสิ่งที่ไม่ใช่บุญ เป็นอันมาก. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. ดูก่อนจุนทะ เพราะว่าข้อนี้ย่อมมีในธรรมวินัยมีศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนําผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่ธรรมวินัยที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ อย่างนี้แล.
[๙๘] ดูก่อนจุนทะ อนึ่ง ศาสดาในโลกนี้ เป็นสัมมาสัมพุทธะ และธรรม ก็เป็นธรรมอันศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนําผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ แต่สาวก ไม่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมในธรรมนั้นอยู่ ไม่เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ไม่เป็นผู้ประพฤติตามธรรมและย่อมประพฤติหลีกเลี่ยงจากธรรมนั้น สาวกนั้น ควรจะกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ไม่เป็นลาภของท่าน ท่านได้ไม่ดีแล้ว ด้วยว่าศาสดาของท่าน เป็นสัมมาสัมพุทธะ และธรรม ก็เป็นธรรมที่ศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนําผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ แต่ว่าตัวท่าน ไม่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 264
เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมในธรรมนั้นอยู่ ไม่เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ไม่เป็นผู้ประพฤติตามธรรม และย่อมประพฤติหลีกเลี่ยงจากธรรมนั้น. ด้วยเหตุดังนี้แล ดูก่อนจุนทะ แม้ศาสดา ก็ควรได้รับการสรรเสริญในธรรมนั้น แม้ธรรม ก็ควรได้รับการสรรเสริญ แต่ว่าสาวก ควรได้รับการติเตียนในธรรมนั้น อย่างนี้. ดูก่อนจุนทะ ผู้ใดแลพึงกล่าวกะสาวกเห็นปานนั้น อย่างนี้ว่า ท่านจงปฏิบัติธรรมที่ศาสดาของท่านแสดงไว้แล้ว บัญญัติไว้แล้วเถิด ผู้ที่ชักชวน ผู้ที่ถูกชักชวน ผู้ที่ถูกชักชวนแล้วย่อมปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น คนทั้งหมดนั้น จะประสบบุญ เป็นอันมาก. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. ดูก่อนจุนทะ เพราะว่าข้อนี้ มีอยู่ในธรรมวินัย ที่พระศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนําผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้อย่างนี้แล.
[๙๙] ดูก่อนจุนทะ อนึ่ง ศาสดาในโลกนี้ เป็นสัมมาสัมพุทธะ และธรรม ก็เป็นธรรมที่ศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนําผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ ทั้งสาวก ก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมในธรรมนั้นอยู่ เป็นผู้ปฏิบัติชอบ เป็นผู้ประพฤติตามธรรม ย่อมยึดถือปฏิบัติธรรมนั้น สาวกนั้น ควรที่ใครๆ จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เป็นลาภอย่างยิ่งของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ด้วยว่า ศาสดาของท่าน ก็เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ธรรม ก็เป็นธรรมที่ศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนําผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 265
ไว้ ทั้งตัวท่าน ก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมในธรรมนั้นอยู่ เป็นผู้ปฏิบัติชอบ เป็นผู้ประพฤติตามธรรม ย่อมยึดถือประพฤติธรรมนั้น. ดูก่อนจุนทะ ด้วยเหตุดังนี้แล แม้ศาสดา ก็ควรได้รับความสรรเสริญในธรรมนั้น แม้ธรรม ก็ควรได้รับความสรรเสริญ แม้สาวก ก็ควรได้รับความสรรเสริญในธรรมนั้น อย่างนี้. ดูก่อนจุนทะ ผู้ใดแลพึงกล่าวกะสาวกเห็นปานนั้น อย่างนี้ว่า ท่านเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อธรรมอันควรรู้ จักยังธรรมอันควรรู้ให้สําเร็จได้โดยแท้. ผู้ที่สรรเสริญ ผู้ที่ได้รับสรรเสริญ ผู้ที่ได้รับสรรเสริญแล้วย่อมปรารภความเพียรโดยประมาณยิ่ง คนทั้งหมดนั้น จะประสบบุญ เป็นอันมาก. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. ดูก่อนจุนทะ เพราะว่าข้อนี้ ย่อมมีในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนําผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ อย่างนี้แล.
ว่าด้วยกาลกิริยาของศาสดา
[๑๐๐] ดูก่อนจุนทะ ศาสดาผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ และธรรมอันศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่นําผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ แต่สาวกทั้งหลายของศาสดานั้น เป็นผู้ไม่รู้แจ้งเนื้อความในสัทธรรมและพรหมจรรย์อันบริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นคําสอนอันศาสดาของสาวกเหล่านั้น ทําให้แจ้งแล้ว ทําให้ตื้นแล้ว ทําให้มีบทรวบรวมไว้พร้อมแล้ว ทําให้มีปาฏิหาริย์ พอที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศไว้ด้วยดี แก่สาวกเหล่านั้น ครั้นต่อมา ศาสดาของสาวกเหล่านั้นย่อมอันตรธานไป. ดูก่อนจุนทะ ศาสดาเห็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 266
ปานนั้น ได้ถึงแก่กรรมเสียแล้ว ทําให้สาวกเหล่านั้นเดือดร้อน. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะว่า ศาสดาผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะได้เกิดแล้วในโลก และธรรมก็เป็นธรรมที่ศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่นําผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ แต่ว่า เราทั้งหลาย ไม่ได้เป็นผู้รู้แจ้งในเนื้อความในสัทธรรมและพรหมจรรย์อันบริบูรณ์สิ้นเชิง ไม่ได้เป็นคําสอนอันเราทั้งหลายทําให้แจ้งแล้ว ทําให้ตื้นแล้ว ทําให้มีบทรวบรวมไว้พร้อมแล้ว ทําให้มีปาฏิหาริย์ พอที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศไว้ด้วยดี ครั้นต่อมา ศาสดาของเราทั้งหลายย่อมอันตรธานไป ดูก่อนจุนทะ ศาสดาเห็นปานนั้นแล ได้ถึงแก่กรรมเสียแล้ว ทําสาวกเหล่านั้นเดือดร้อน.
[๑๐๑] ดูก่อนจุนทะ อนึ่ง ศาสดาผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ และธรรมก็เป็นธรรมที่ศาสดานั้นกล่าวไว้แล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ และสาวกทั้งหลายของศาสดานั้น เป็นผู้รู้แจ้งเนื้อความในสัทธรรมและพรหมจรรย์อันบริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นคําสอนอันศาสดานั้นทําให้แจ้งแล้ว ทําให้ตื้นแล้ว ทําให้มีบทรวบรวมไว้พร้อมแล้ว ทําให้มีปาฏิหาริย์ พอที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศไว้ด้วยดี แก่สาวกเหล่านั้น ครั้นต่อมา ศาสดาของสาวกเหล่านั้นย่อมอันตรธานไป. ก่อนจุนทะ ศาสดาเห็นปานนี้แล ได้ถึงแก่กรรมเสียแล้ว ย่อมไม่ทําให้สาวกเหล่านั้นเดือดร้อน. ข้อนี้เพราะเหตุไร. เพราะว่า แม้ศาสดาผู้เป็นอรหันตสัมมา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 267
สัมพุทธะ ก็เกิดขึ้นแล้วในโลก และธรรมก็เป็นธรรมที่ศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่นําผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นธรรมอันท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ และเราทั้งหลายก็เป็นผู้รู้แจ้งเนื้อความในสัทธรรมและพรหมจรรย์อันบริบูรณ์สิ้นเชิง ก็เป็นคําสอนอันเราทั้งหลายทําให้แจ้งแล้ว ทําให้ตื้นแล้ว ทําให้มีบทรวบรวมไว้พร้อมแล้ว ทําให้มีปาฏิหาริย์ พอที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศไว้ด้วยดี ครั้นต่อมา ศาสดาอันตรธานไป. ดูก่อนจุนทะ ศาสดาเห็นปานนั้น ได้ถึงแก่กรรมเสียแล้ว ก็ไม่ทําให้สาวกทั้งหลายเดือดร้อน.
ว่าด้วยพรหมจรรย์
[๑๐๒] ดูก่อนจุนทะ แม้หากว่า พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือศาสดาไม่เป็นเถระ ไม่เป็นรัตตัญู ไม่เป็นผู้บวชนาน ไม่เป็นผู้ล่วงกาลผ่านวัย พรหมจรรย์นั้นย่อมไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น. ดูก่อนจุนทะ เมื่อใดแล แม้หากว่า พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือศาสดาเป็นเถระ เป็นรัตตัญู เป็นผู้บวชนาน เป็นผู้ล่วงกาลผ่านวัย เมื่อนั้น พรหมจรรย์ย่อมบริบูรณ์ด้วยองค์นั้น.
[๑๐๓] ดูก่อนจุนทะ แม้หากว่า พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือศาสดาเป็นเถระ เป็นรัตตัญู เป็นผู้บวชนาน เป็นผู้ล่วงกาลผ่านวัย แต่ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น ไม่เป็นเถระ ไม่เป็นผู้ฉลาด ไม่เป็นผู้ได้รับแนะนํา ไม่เป็นผู้แกล้วกล้า และไม่บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ไม่สามารถกล่าวพระสัทธรรมได้ ไม่สามารถแสดงธรรมให้มีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปปวาทอันเกิดขึ้นแล้วได้ด้วยดี โดยชอบธรรม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 268
พรหมจรรย์นั้นย่อมไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น. ดูก่อนจุนทะ เมื่อใดแล แม้หากว่า พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือศาสดาเป็นเถระ เป็นรัตตัญู ผู้เป็นบวชนาน เป็นผู้ล่วงกาลผ่านวัย และภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น ก็เป็นเถระ เป็นผู้ฉลาด เป็นผู้ได้รับแนะนํา เป็นผู้แกล้วกล้า และเป็นผู้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะแล้ว สามารถกล่าวสัทธรรมได้โดยชอบ สามารถแสดงธรรมให้มีปาฎิหาริย์ ข่มขี่ปรัปปวาทที่เกิดขึ้นแล้วได้ด้วยดี โดยชอบธรรม อย่างนี้ เมื่อนั้น พรหมจรรย์ย่อมบริบูรณ์ด้วยองค์นั้น.
[๑๐๔] ดูก่อนจุนทะ แม้หากว่า พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือศาสดาเป็นเถระ เป็นรัตตัญู เป็นผู้บวชนาน เป็นผู้ล่วงกาลผ่านวัย และภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น ก็เป็นเถระ เป็นผู้ฉลาด เป็นผู้ได้รับแนะนําแล้ว เป็นผู้แกล้วกล้า เป็นผู้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะแล้ว สามารถกล่าวสัทธรรมได้โดยชอบ สามารถแสดงธรรมให้มีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปปวาทอันเกิดขึ้นแล้วได้ด้วยดี โดยชอบธรรม แต่ภิกษุทั้งหลายที่เป็นสาวกของศาสดานั้น ที่เป็นผู้ปานกลาง ไม่มี. และภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวก ผู้ปานกลาง ถึงจะมีอยู่. แต่ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น ที่เป็นผู้ใหม่ไม่มี และภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของศาสดานั้น เป็นผู้ใหม่ ถึงจะมีอยู่ แต่ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของศาสดานั้น ที่เป็นเถรี ถึงจะไม่มี และภิกษุณีทั้งหลายที่เป็นสาวิกาของศาสดานั้น ที่เป็นเถรี ถึงจะมีอยู่ แต่ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของศาสดานั้น ที่เป็นผู้ปานกลาง ไม่มี และภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของศาสดานั้น ที่เป็นผู้ปานกลาง มีอยู่ แต่ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของศาสดานั้น ที่เป็นผู้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 269
ใหม่ ไม่มี และภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของศาสดานั้น ที่เป็นผู้ใหม่ ถึงจะมีอยู่ แต่อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มี และอุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์ ถึงจะมีอยู่. แต่อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ไม่มี และอุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ถึงจะมีอยู่. แต่อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มี และอุบาสิกาทั้งหลายที่เป็นสาวิกาของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์ ถึงจะมีอยู่. แต่อุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ไม่มี และอุบาสิกาทั้งหลายเป็นสาวิกาของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ถึงจะมีอยู่. แต่พรหมจรรย์ของศาสดานั้น มิได้เป็นพรหมจรรย์ สําเร็จผล แพร่หลาย กว้างขวาง ชนเป็นอันมากรู้ได้ เป็นปึกแผ่น พอที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ด้วยดี และพรหมจรรย์นั้น แม้จะเป็นพรหมจรรย์ สําเร็จผล แพร่หลาย กว้างขวาง ชนเป็นอันมากรู้ได้ เป็นปึกแผ่น พอที่เทวดามนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ด้วยดี แต่พรหมจรรย์นั้น ไม่ถึงความเลิศด้วยลาภ เลิศด้วยยศอย่างนี้ พรหมจรรย์อย่างนั้น ย่อมไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น.
ดูก่อนจุนทะ เมื่อใดแล พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือศาสดาเป็นเถระ เป็นรัตตัญู เป็นผู้บวชนาน เป็นผู้ล่วงกาลผ่านวัย และภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น ก็เป็นเถระผู้ฉลาด ได้รับแนะนําแล้ว แกล้วกล้า ได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะแล้ว สามารถเพื่อจะกล่าวพระสัทธรรมได้โดยชอบ สามารถเพื่อแสดงธรรมให้มีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรับ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 270
ปวาทที่เกิดขึ้นแล้วได้ด้วยดี โดยชอบธรรม. ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น ที่เป็นผู้ปานกลางก็มีอยู่ ที่เป็นผู้ใหม่ก็มีอยู่ ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิภาของศาสดานั้น ที่เป็นเถรีก็มีอยู่ ที่เป็นผู้ปานกลางก็มีอยู่ ที่เป็นผู้ใหม่ก็มีอยู่ อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์ก็มีอยู่ ที่บริโภคกามก็มีอยู่ อุบาสิกาทั้งหลายที่เป็นสาวิกาของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์ก็มีอยู่ บริโภคกามก็มีอยู่ และพรหมจรรย์ของศาสดานั้นก็เป็นคําสอนสําเร็จผล แพร่หลาย กว้างขวาง ชนเป็นอันมากรู้ได้ เป็นปึกแผ่น พอที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ด้วยดี และถึงความเลิศด้วยลาภ เลิศด้วยยศ เมื่อนั้นพรหมจรรย์นั้นย่อมบริบูรณ์ด้วยองค์นั้น.
[๑๐๕] ดูก่อนจุนทะ ก็บัดนี้ เราเป็นศาสดา เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะเกิดขึ้นแล้วในโลก ธรรมก็เป็นธรรมที่เรากล่าวดีแล้ว ประกาศดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนําผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นธรรมอันเราผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้แล้ว สาวกทั้งหลายของเราก็เป็นผู้รู้แจ้งเนื้อความในสัทธรรม และพรหมจรรย์อันบริบูรณ์สิ้นเชิง ก็เป็นพรหมจรรย์อันเราทําให้แจ้งแล้ว ทําให้ตื้นแล้ว ทําให้มีบทรวบรวมไว้พร้อมแล้ว ทําให้มีปาฏิหาริย์ พอที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ด้วยดี แก่สาวกเหล่านั้นแล้ว. ดูก่อนจุนทะ ก็บัดนี้ เราแลเป็นศาสดา ผู้เถระ เป็นรัตตัญู ผู้บวชนาน ผู้ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลําดับ.
[๑๐๖] ดูก่อนจุนทะ ก็บัดนี้ ภิกษุสาวกของเรา เป็นเถระ เป็นผู้ฉลาด ได้รับแนะนําแล้ว เป็นผู้แกล้วกล้า บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะแล้ว สามารถจะกล่าวสัทธรรมได้โดยชอบ สามารถจะแสดงธรรมให้มีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปปวาทที่เกิดขึ้นแล้วได้ด้วยดี โดยชอบธรรมมีอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 271
ดูก่อนจุนทะ บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายของเรา ผู้เป็นเถระก็มีอยู่ ผู้ปานกลางก็มีอยู่ ผู้ใหม่ก็มีอยู่. ดูก่อนจุนทะ บัดนี้ ภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้เป็นเถรีก็มีอยู่ ผู้ปานกลางก็มีอยู่ ผู้ใหม่ก็มีอยู่. ดูก่อนจุนทะ อุบาสกผู้สาวกและอุบาสิกาผู้สาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์ก็มีอยู่ บริโภคกามก็มีอยู่. ดูก่อนจุนทะ บัดนี้ พรหมจรรย์ของเราก็สําเร็จผล แพร่หลาย กว้างขวาง ชนเป็นอันมากก็รู้ได้ เป็นปึกแผ่น พอที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศไว้ด้วยดีแล้ว.
ว่าด้วยศาสดาที่เลิศด้วยลาภ
[๑๐๗] ดูก่อนจุนทะ เท่าที่ศาสดาทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วในโลก ในบัดนี้ เรายังไม่เห็นศาสดาอื่นสักผู้เดียว ที่ถึงความเลิศด้วยลาภ เลิศด้วยยศเหมือนเรา. ดูก่อนจุนทะ อนึ่ง เท่าที่สงฆ์หรือคณะ เกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ เรายังไม่เห็นสงฆ์หรือคณะสักหมู่เดียว ที่ถึงความเลิศด้วยลาภ เลิศด้วยยศ เหมือนภิกษุสงฆ์เลย. ดูก่อนจุนทะ บุคคลเมื่อกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวว่า พรหมจรรย์นี้เท่านั้น เป็นพรหมจรรย์สมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง อันศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นพรหมจรรย์อันศาสดาประกาศไว้ดีแล้ว ดังนี้.
ดูก่อนจุนทะ ได้ยินมาว่า อุทกดาบสรามบุตรกล่าววาจาอย่างนี้ว่า บุคคลเห็นอยู่ ชื่อว่า ย่อมไม่เห็น. บุคคลเห็นอยู่ซึ่งอะไร ชื่อว่า ย่อมไม่เห็น. บุคคลเห็นพื้นส่วนเบื้องล่างแห่งมีดโกนที่ลับดีแล้ว แต่จะไม่เห็นคมแห่งมีดโกนนั้น. ดูก่อนจุนทะ ข้อนี้ ที่อุทกดาบสรามบุตรกล่าวว่า บุคคลเห็นอยู่ ชื่อว่า ย่อมไม่เห็น. ดูก่อนจุนทะ ก็คํานี้นี่แหละ ที่อุทกดาบสรามบุตรกล่าวแล้ว เป็นคําเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นคําของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เพราะหมายเอามีดโกนเท่านั้น. ดูก่อนจุนทะ เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 272
บุคคลกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวคํานี้ว่า บุคคลเห็นอยู่ ชื่อว่า ย่อมไม่เห็น ดังนี้ เห็นอะไร ชื่อว่า ย่อมไม่เห็น บุคคลเห็นอยู่อย่างนี้ว่า พรหมจรรย์ที่สมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง ศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นพรหมจรรย์ที่ศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว ดังนี้ ด้วยเหตุดังนี้แล พึงนําคําว่า บุคคลย่อมไม่เห็นนั้น ออกเสีย. บุคคลเห็นอยู่ซึ่งพรหมจรรย์นั้นอย่างนี้ว่า พรหมจรรย์ที่บริสุทธิ์กว่า พึงมี ดังนี้ ด้วยเหตุนี้แล พึงนําคําว่า บุคคลย่อมไม่เห็นนั้น เข้าไว้ในคํานั่น. บุคคลเห็นอยู่ซึ่งพรหมจรรย์อย่างนี้ว่า พรหมจรรย์ที่บริสุทธิ์กว่า พึงมี ดังนี้ ด้วยเหตุดังนี้แลบุคคลชื่อว่า ย่อมไม่เห็นพรหมจรรย์นั่น นี้แหละ เรียกว่า บุคคลเห็นอยู่ ชื่อว่า ย่อมไม่เห็น. ดูก่อนจุนทะ บุคคลเมื่อกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวพรหมจรรย์ที่สมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง ศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นพรหมจรรย์อันศาสดาประกาศไว้ดีแล้ว ดังนี้.
ว่าด้วยอภิญญาเทสิตธรรม
[๑๐๘] เพราะเหตุนี้แหละ ดูก่อนจุนทะ ควรที่บริษัททั้งหมดพร้อมเพรียงกัน ประชุม รวบรวม ตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยัญชนะด้วยพยัญชนะ ในธรรมที่เราแสดงแล้ว เพื่อความรู้ยิ่ง จะเป็นเหตุให้พรหมจรรย์นี้ พึงเป็นไปตลอดกาลยืดยาว ตั้งมั่นอยู่นาน พรหมจรรย์นั้นจะพึงเป็นไป เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ดูก่อนจุนทะ ก็ธรรมทั้งหลาย ที่เราแสดงแล้วเพื่อความรู้ยิ่ง เป็นไฉน ที่บริษัททั้งหมดพร้อมเพรียงกันประชุม รวบรวม ตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยัญชนะด้วยพยัญชนะ จะเป็นเหตุให้พรหมจรรย์นี้พึงเป็นไปตลอดกาลยืดยาว ตั้งมั่นอยู่นาน พรหมจรรย์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนเป็นอัน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 273
มาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมเหล่านั้น คือสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘. ดูก่อนจุนทะ ธรรมเหล่านี้แล ที่เราแสดงแล้ว เพื่อความรู้ยิ่ง การที่บริษัททั้งหมด พึงพร้อมเพรียงกันประชุม รวบรวม ตรวจตรา อรรถด้วยอรรถ พยัญชนะด้วยพยัญชนะ จะเป็นเหตุทําให้พรหมจรรย์พึงตั้งอยู่ยืดยาว ตั้งมั่นอยู่นาน พรหมจรรย์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาเละมนุษย์ทั้งหลาย.
[๑๐๙] ดูก่อนจุนทะ ก็บริษัทเหล่านั้นแล พึงพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาเถิด สพรหมจารีสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งพึงกล่าวธรรม หากว่าในภาษิตของสพรหมจารีนั้นจะพึงมีคําอย่างนี้ แก่เธอทั้งหลายว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ท่านผู้นี้แล ถือเอาอรรถผิด และยกพยัญชนะผิด ดังนี้ เธอไม่ควรยินดี ไม่ควรคัดค้าน ต่อสพรหมจารีนั้น ครั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านแล้ว พวกเธอควรกล่าวกะสพรหมจารีนั้นว่า ดูก่อนผู้มีอายุ พยัญชนะเหล่านี้ หรือพยัญชนะเหล่านั้น ของอรรถนี้ เหล่าไหนจะสมควรกว่ากัน อรรถนี้ หรืออรรถนั้น ของพยัญชนะทั้งหลายเหล่านี้ อย่างไหนจะสมควรกว่ากัน หากว่าสพรหมจารีนั้น พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ พยัญชนะเหล่านี้แหละ ของอรรถนี้สมควรกว่า และอรรถนี้แหละ ของพยัญชนะเหล่านี้สมควรกว่า พวกเธอไม่สมควรยินดี ไม่ควรรุกรานสพรหมจารีนั้น ครั้นไม่ยินดี ไม่รุกรานแล้ว พวกเธอควรให้สพรหมจารีนั้นแหละ รู้ด้วยดี เพื่อไตร่ตรองอรรถนั้น และพยัญชนะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 274
[๑๑๐] ดูก่อนจุนทะ ถ้าสพรหมจารีสงฆ์แม้อื่นอีก พึงกล่าวธรรม หากว่าในภาษิตของสพรหมจารีนั้น จะพึงมีคําอย่างนี้ แก่พวกเธอว่า ท่านผู้มีอายุนี้แล ถือเอาอรรถผิด ยกพยัญชนะทั้งหลายชอบ ดังนี้. เธอทั้งหลาย ไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้าน ต่อสพรหมจารีนั้น. ครั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านแล้ว พวกเธอพึงกล่าวกะสพรหมจารีนั้น อย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ อรรถนี้ หรืออรรถนั้น ของพยัญชนะเหล่านี้ อย่างไหนจะสมควรกว่ากัน. หากว่าสพรหมจารีนั้น พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อรรถนี้แหละ ของพยัญชนะเหล่านี้ สมควรกว่า พวกเธอไม่ควรยกย่อง ไม่ควรรุกราน สพรหมจารีนั้น ครั้นไม่ยกย่อง ไม่รุกรานแล้ว พวกเธอควรให้สพรหมจารีนั้น รู้ด้วยดีเพื่อไตร่ตรองอรรถนั้น.
[๑๑๑] ดูก่อนจุนทะ ถ้าสพรหมจารีสงฆ์แม้อื่นอีก พึงกล่าวธรรม หากว่าในภาษิตของสพรหมจารีนั้น จะพึงมีคําอย่างนี้ แก่พวกเธอว่า ท่านผู้มีอายุนี้แล ถือเอาอรรถชอบ ยกพยัญชนะทั้งหลายผิด ดังนี้.พวกเธอทั้งหลายไม่ควรยินดี ไม่ควรคัดค้านต่อสพรหมจารีนั้น. พวกเธอควรกล่าวกะสพรหมจารีนั้น อย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ พยัญชนะเหล่านี้ หรือพยัญชนะเหล่านั้น ของอรรถนี้ เหล่าไหนจะสมควรแก่กัน. หากว่าสพรหมจารีนั้น พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พยัญชนะเหล่านี้แหละ ของอรรถนี้แล สมควรกว่า. พวกเธอไม่ควรยกย่อง ไม่ควรรุกราน สพรหมจารีนั้น. พวกเธอควรให้สพรหมจารีนั้น รู้ด้วยดี เพื่อไตร่ตรองพยัญชนะเหล่านั้น.
[๑๑๒] ดูก่อนจุนทะ หากสพรหมจารีสงฆ์แม้อื่นอีก พึงกล่าวธรรม หากว่าในภาษิตของสพรหมจารีนั้น จะพึงมีคําอย่างนี้ แก่พวกเธอว่า ท่านผู้มีอายุนี้แหละ ถือเอาอรรถชอบ ยกพยัญชนะทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 275
ชอบดังนี้. พวกเธอควรยินดี ควรอนุโมทนาภาษิตของพรหมจารีนั้นว่า ดีแล้ว พวกเธอควรกล่าวกะสพรหมจารีนั้น อย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เป็นลาภของเราทั้งหลาย พวกเราได้ดีแล้ว ที่พวกเราจักระลึกถึงท่านผู้มีอายุ ผู้เป็นสพรหมจารีเช่นท่าน ผู้เข้าถึงอรรถ เข้าถึงพยัญชนะอย่างนี้ ดังนี้.
ว่าด้วยการแสดงธรรมเพื่อปิดกั้นอาสวะ
[๑๑๓] ดูก่อนจุนทะ เราไม่แสดงธรรมเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลาย ที่เป็นไปในปัจจุบันแก่พวกเธอเท่านั้น ดูก่อนจุนทะ อนึ่ง เราไม่แสดงธรรมเพื่อกําจัดอาสวะทั้งหลาย ที่เป็นไปในสัมปรายภพเท่านั้น แต่ เราแสดงธรรมเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลาย ที่เป็นไปในปัจจุบันด้วย เพื่อกําจัดอาสวะทั้งหลายที่เป็นไปในสัมปรายภพด้วย. ดูก่อนจุนทะ เพราะฉะนั้นแล เราอนุญาตจีวรแก่พวกเธอ ก็เพียงเพื่อเป็นเครื่องบําบัดหนาว บําบัดร้อน บําบัดสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อเป็นเครื่องปกปิดอวัยวะ อันยังความละอายให้กําเริบ เราอนุญาตบิณฑบาตแก่พวกเธอ ก็เพียงเพื่อให้กายดํารงอยู่ได้ ให้กายเป็นไปได้ ให้ความลําบากสงบ เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า เราจักบรรเทาเวทนาเก่า จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ด้วยประการดังนี้ ความเป็นไปแห่งชีวิต ความเป็นผู้ไม่มีโทษ และความอยู่สบาย จักมีแก่เรา เราอนุญาตเสนาสนะแก่พวกเธอ ก็เพียงเพื่อบําบัดหนาว บําบัดร้อน บําบัดสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อเป็นเครื่องบรรเทาอันตรายอันเกิดแต่ฤดู เพื่อความยินดีในการหลีกออกเร้นอยู่ เราอนุญาตคิลานปัจจัยเภสัชบริขารแก่พวกเธอ ก็เพียงเพื่อกําจัดเวทนา อันเกิดแต่อาพาธต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความไม่ลําบากอย่างนี้ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 276
[๑๑๔] ดูก่อนจุนทะ ข้อนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกสมณะศากยบุตร เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุข ดังนี้. ดูก่อนจุนทะ พวกเธอควรกล่าวกะปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ การประกอบตนให้ติดในความสุขเป็นไฉน เพราะการประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุข มีมากมายหลายอย่างต่างๆ กัน. ดูก่อนจุนทะ การประกอบตนให้ติดเนื่องอยู่ในความสุข ๔ อย่างเหล่านี้ เป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน มิใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายความกําหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน. ๔ อย่างเป็นไฉน. ดูก่อนจุนทะ คนพาลบางคนในโลกนี้ ฆ่าสัตว์ ยังตนให้ถึงความสุข ให้เอิบอิ่มอยู่ ข้อนี้ เป็นการประกอบตนให้ติดในความสุข ข้อที่ ๑ คนพาลบางคนในโลกนี้ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว ยังตนให้ถึงความสุข ให้เอิบอิ่มอยู่ ข้อนี้ เป็นการประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุข ข้อที่ ๒ คนพาลบางคนในโลกนี้ กล่าวคําเท็จแล้ว ยังตนให้ถึงความสุข ให้เอิบอิ่มอยู่ ข้อนี้ เป็นการประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุข ข้อที่ ๓ คนพาลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เพรียบพร้อมพรั่งพร้อมบําเรออยู่ด้วยกามคุณทั้งห้า ข้อนี้ เป็นการประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุข ข้อที่ ๔. ดูก่อนจุนทะ การประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุข ๔ ประการเหล่านี้ เป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน มิใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายความกําหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 277
ว่าด้วยการประกอบตนให้ติดความสุข ๔ อย่าง
[๑๑๕] ดูก่อนจุนทะ ข้อนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกสมณะศากยบุตร เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุข ๔ อย่างเหล่านี้ ดังนี้. พวกเธอควรกล่าวกะพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นว่า พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนี้เลย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น เมื่อจะกล่าวชอบ ไม่ควรกล่าวแก่พวกเธอ หามิได้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น พึงกล่าวตู่พวกเธอด้วยสิ่งที่ไม่มี ไม่เป็นจริง หามิได้. ดูก่อนจุนทะ การประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุข ๔ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายความกําหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน โดยส่วนเดียว เป็นไฉน ดูก่อนจุนทะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ข้อนี้ เป็นการประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุข ข้อที่ ๑ ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิอยู่ ข้อนี้ เป็นการประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุข ข้อที่ ๒ ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผุ้มีอุเบกขา มีสติ เป็นสุขอยู่ ข้อนี้ เป็นการประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุข ข้อที่ ๓ ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ข้อนี้ เป็นการประกอบตนให้ติดอยู่ในสุข ข้อที่ ๔.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 278
ดูก่อนจุนทะ การประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุข ๔ ประการ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายความกําหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว. ดูก่อนจุนทะ ข้อนี้ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกสมณะศากยบุตร เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุข ๔ ประการ เหล่านี้แล ดังนี้. พวกเธอควรกล่าวกะปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น อย่างนี้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น เมื่อจะกล่าวกะพวกเธอ พึงกล่าวได้โดยชอบ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น พึงกล่าวตู่กะพวกเธอ ด้วยสิ่งไม่มีจริง ไม่เป็นจริง หามิได้.
ว่าด้วยอานิสงส์ ๔
[๑๑๖] ดูก่อนจุนทะ ข้อนี้ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ก็เมื่อพวกท่านประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุข ๔ ประการ เหล่านี้ พวกท่านพึงหวังได้ผล กี่ประการ อานิสงส์กี่ประการ. ดูก่อนจุนทะ พวกท่านควรกล่าวกะปริพาชกอัญญเดียรถีย์ อย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เมื่อพวกเราประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุข ๔ ประการ เหล่านี้ พวกเราพึงหวังได้ผล ๔ ประการ อานิสงส์ ๔ ประการ. ผล ๔ อานิสงส์ ๔ เป็นไฉน. ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จะเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ในภายหน้า เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ข้อนี้ เป็นผลประการที่ ๑ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ ภิกษุจะเป็นพระสกทาคามีมาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วจะทําที่สุดแห่งทุกข์ เพราะสังโยชน์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 279
๓ สิ้นไป และราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง ข้อนี้ เป็นผลประการที่ ๒ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒. ภิกษุจะเป็นอุปปาติกะ (เป็นอนาคามี) ผู้จะปรินิพพานในภพนั้น เป็นผู้ไม่ต้องกลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์เบื้องต่ําทั้ง ๕ สิ้นไป ข้อนี้ เป็นผลประการที่ ๓ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ ภิกษุทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ข้อนี้ เป็นผลประการที่ ๔ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔. ดูก่อนผู้มีอายุ เมื่อพวกเราเป็นผู้ประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุข ๔ ประการ เหล่านี้แล พวกเราพึงหวังได้ผล ๔ ประการ อานิสงส์ ๔ ประการ ดังนี้.
ว่าด้วยผู้ไม่ควรล่วงฐานะ ๙
[๑๑๗] ดูก่อนจุนทะ ข้อนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกสมณะศากยบุตร เป็นผู้มีธรรมไม่ตั้งมั่นแล้ว. ดูก่อนจุนทะ พวกเธอควรกล่าวกะพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ผู้มีวาทะอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ธรรมทั้งหลาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงรู้ทรงเห็น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ทรงบัญญัติแล้ว แก่สาวกทั้งหลาย เป็นธรรมอันพวกสาวก ไม่ควรก้าวล่วงตลอดชีวิต มีอยู่แล. ดูก่อนผู้มีอายุ เสาเขื่อนหรือเสาเหล็กมีรากอันลึก ปักไว้ดีแล้ว ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นสะเทือน ฉันใด ธรรมทั้งหลาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้ทรงเห็น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ทรงบัญญัติแล้ว แก่สาวกทั้งหลาย เป็นธรรม อันสาวกไม่ก้าวล่วงตลอดชีวิต ฉันนั้น เหมือนกันแล. ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 280
ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นแล้ว เป็นผู้พ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ ภิกษุนั้น ไม่ควรประพฤติล่วงฐานะ ๙ ประการ. ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ ไม่ควรจงใจปลงสัตว์จากชีวิต ไม่ควรถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ซึ่งนับว่าเป็นขโมย ไม่ควรเสพเมถุน ไม่ควรกล่าวคําเท็จทั้งที่รู้ ไม่ควรบริโภคกาม ที่ทําความสั่งสมเหมือนอย่างตนเป็นผู้ครองเรือนในกาลก่อน ไม่ควรถึงฉันทาคติ ไม่ควรถึงโทสาคติ ไม่ควรถึงโมหาคติ ไม่ควรถึงภยาคติ. ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว มีสังโยชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว เป็นผู้พ้นแล้ว เพราะความรู้ชอบ ภิกษุนั้น เป็นผู้ไม่ควรประพฤติล่วงฐานะ ๙ ประการ เหล่านี้.
[๑๑๘] ดูก่อนจุนทะ ข้อนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม ปรารภกาลนานที่เป็นอดีต บัญญัติญาณทัสสนะอันหาฝังมิได้ แต่หาได้ปรารภกาลนานที่เป็นอนาคต บัญญัติญาณทัสสนะอันหาฝังมิได้ไม่ เพราะเหตุไรจึงทรงบัญญัติเช่นนั้น การที่ทรงบัญญัติเช่นนั้น เป็นอย่างไรเล่า. พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ย่อมสําคัญสิ่งที่พึงบัญญัติอันไม่ใช่ญาณทัสสนะ ซึ่งเป็นอย่างอื่น ด้วยญาณทัสสนะซึ่งเป็นอย่างอื่น เหมือนคนโง่ ไม่ฉลาด ฉะนั้น.
ดูก่อนจุนทะ สตานุสาริญาณ ปรารภกาลนานที่เป็นอดีต ย่อมมีแก่ตถาคต ย่อมระลึกได้ตลอดกาล มีประมาณเท่าที่ตนหวัง และญาณ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 281
อันเกิดแต่ความตรัสรู้ ย่อมเกิดขึ้นแก่ตถาคต เพราะปรารภกาลนานที่เป็นอนาคตว่า ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ย่อมไม่มี ดังนี้.
ว่าด้วยเหตุที่มีพระนามว่า ตถาคต
[๑๑๙] ดูก่อนจุนทะ แม้หากว่า สิ่งที่เป็นอดีต ไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์สิ่งนั้น. ดูก่อนจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอดีต เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้กาลในสิ่งนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น. ดูก่อนจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอนาคต ไม่เป็นจริง ไม่เป็นของแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์สิ่งนั้น. ดูก่อนจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอนาคต เป็นของจริง เป็นของแท้ แต่ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์แม้สิ่งนั้น. ดูก่อนจุนทะ แม้หากว่า สิ่งที่เป็นอนาคต เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้กาลในสิ่งนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น. ดูก่อนจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นปัจจุบัน ไม่เป็นของจริง ไม่เป็นของแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อมไม่พยากรณ์สิ่งนั้น ดูก่อนจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นปัจจุบัน เป็นของจริง เป็นของแท้ แต่ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์แม้สิ่งนั้น ดูก่อนจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นปัจจุบัน เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้กาลในสิ่งนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น. ด้วยเหตุดังนี้แล จุนทะ ตถาคตเป็นกาลวาที เป็นสัจจวาที เป็นภูตวาที เป็นอัตถวาที เป็นธรรมวาที เป็นวินัยวาที ในธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เพราะฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ตถาคต ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 282
[๑๒๐] ดูก่อนจุนทะ สิ่งใดที่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก อันหมู่สัตว์พร้อมด้วยสมณพราหมณ์ เทวดา มนุษย์ เห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้ว ด้วยใจ สิ่งนั้นตถาคตได้ตรัสรู้ยิ่งแล้วโดยชอบ เพราะฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ตถาคต.
ดูก่อนจุนทะ ตถาคตย่อมตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในราตรีใดก็ดี ย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในราตรีใดก็ดี ตถาคตย่อมกล่าว ย่อมแสดง ซึ่งสิ่งใดในระหว่างนี้ สิ่งนั้นทั้งหมด ย่อมเป็นอย่างนั้นทีเดียว ย่อมไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ตถาคต.
ดูก่อนจุนทะ ตถาคตเป็นผู้กล่าวอย่างใด ทําอย่างนั้น เป็นผู้ทําอย่างใด กล่าวอย่างนั้น ด้วยเหตุนี้ ตถาคตชื่อว่า เป็นผู้กล่าวอย่างใด ทําอย่างนั้น หรือเป็นผู้ทําอย่างใด กล่าวอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ตถาคต. ตถาคตเป็นผู้ใหญ่ยิ่ง ไม่มีผู้ใหญ่ยิ่งกว่า เป็นผู้เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอํานาจในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา มนุษย์ เพราะฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ตถาคต ดังนี้.
ว่าด้วยทิฏฐิต่างๆ
[๑๒๑] ดูก่อนจุนทะ ข้อนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เบื้องหน้าแต่มรณะ สัตว์ย่อมมี สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า หรือหนอ ดังนี้. ดูก่อนจุนทะ พวกเธอควรกล่าวกะปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ สัตว์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 283
ย่อมมี สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า. ดูก่อนจุนทะ ข้อนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ก็เบื้องหน้าแต่มรณะ สัตว์ย่อมไม่มี สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า หรือหนอ ดังนี้. ดูก่อนจุนทะ พวกเธอพึงกล่าวกะพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า ดูก่อนผู้มีอายุ แม้ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ สัตว์ย่อมไม่มี สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า. ดูก่อนจุนทะ ข้อนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ก็เบื้องหน้าแต่มรณะ สัตว์ย่อมมีด้วย ย่อมไม่มีด้วย สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า หรือหนอ ดังนี้. ดูก่อนจุนทะ พวกเธอควรกล่าวกะปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ แม้ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ สัตว์ย่อมมีด้วย ย่อมไม่มีด้วย สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า. ดูก่อนจุนทะ ข้อนี้ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ก็เบื้องหน้าแต่มรณะ สัตว์ย่อมมีหามิได้ ย่อมไม่มีก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า หรือหนอ ดังนี้. ดูก่อนจุนทะ พวกเธอควรกล่าวกะพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ แม้ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ สัตว์ย่อมมีก็หามิได้ ย่อมไม่มีก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้.
[๑๒๒] ดูก่อนจุนทะ ข้อนี้ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ก็เพราะเหตุไร ข้อนี้ พระสมณโคดมจึงไม่ทรงพยากรณ์ไว้เล่า. ดูก่อนจุนทะ พวกเธอควรกล่าวกะพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 284
อายุ เพราะว่าข้อนี้ ไม่ประกอบด้วยอรรถ ไม่ประกอบด้วยธรรม ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อคลายความกําหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว ฉะนั้น ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมิได้ทรงพยากรณ์ไว้.
ดูก่อนจุนทะ ข้อนี้ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น พึงกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ก็พระสมณโคดมทรงพยากรณ์ไว้อย่างไรเล่า. ดูก่อนจุนทะ พวกเธอควรกล่าวกะปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดังนี้แล.
ดูก่อนจุนทะ ข้อนั้น ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ก็เพราะเหตุไร ข้อนี้ พระสมณโคคมจึงทรงพยากรณ์ไว้เล่า. ดูก่อนจุนทะ พวกเธอควรกล่าวกะพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นผู้มีวาทะอย่างนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เพราะว่าข้อนี้ เป็นสิ่งที่ประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม ข้อนี้เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความกําหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว ฉะนั้น ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงพยากรณ์ไว้ดังนี้.
[๑๒๓] ดูก่อนจุนทะ ทิฏฐินิสัยแม้เหล่าใด อันสหรคตด้วยส่วนเบื้องต้น ทิฏฐินิสัยแม้เหล่านั้น อันเราได้พยากรณ์ไว้แล้ว เราได้พยากรณ์ทิฏฐินิสัยเหล่านั้น ด้วยประการใด และเราไม่พยากรณ์ด้วยประการ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 285
ใด ไฉน เราจักพยากรณ์ทิฏฐินิสัยเหล่านั้นกะพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ในข้อนั้นเล่า. ดูก่อนจุนทะ ทิฏฐินิสัยแม้เหล่าใด อันสหรคตด้วยส่วนเบื้องปลาย ทิฏฐินิสัยแม้เหล่านั้น เราได้พยากรณ์กะพวกเธอแล้ว ทิฏฐินิสัยเหล่านั้นเราพึงพยากรณ์ด้วยประการใด และเราไม่พึงพยากรณ์ด้วยประการใด ไฉน เราจักไม่พยากรณ์ทิฏฐินิสัยเหล่านั้นกะพวกเธอในข้อนั้นเล่า. ดูก่อนจุนทะ ทิฏฐินิสัยทั้งหลาย อันสหรคตด้วยส่วนเบื้องต้น ที่เราได้พยากรณ์กะพวกเธอ โดยประการที่เราพึงพยากรณ์ และโดยประการที่เราไม่พึงพยากรณ์ เป็นไฉน.
ดูก่อนจุนทะ มีสมณพราหมณ์บางพวก ผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า. ดูก่อนจุนทะ อนึ่ง มีสมณพระพราหมณ์บางพวก มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกไม่เที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า. อัตตาและโลกเที่ยงด้วย ไม่เที่ยงด้วย. อัตตาและโลกเที่ยงก็ไม่ใช่ ไม่เที่ยงก็ไม่ใช่. อัตตาและโลกสัตว์ทําได้เอง. อัตตาและโลกผู้อื่นทําให้. อัตตาและโลกสัตว์ทําได้เองด้วย ผู้อื่นทําให้ด้วย. อัตตาและโลกสัตว์มิได้ทําเอง และผู้อื่นมิได้ทํา เกิดขึ้นลอยๆ. สุขและทุกข์เที่ยง. สุขและทุกข์ไม่เที่ยง. สุขและทุกข์เที่ยงด้วย ไม่เที่ยงด้วย. สุขและทุกข์เที่ยงก็ไม่ใช่ ไม่เที่ยงก็ไม่ใช่. สุขและทุกข์สัตว์ทําได้เอง. สุขและทุกข์ผู้อื่นทําให้. สุขและทุกข์สัตว์ทําได้เองด้วย ผู้อื่นทําให้ด้วย. สุขและทุกข์สัตว์มิได้ทําเองด้วย ผู้อื่นมิได้ทําให้ด้วย เกิดขึ้นลอยๆ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้.
[๑๒๔] ดูก่อนจุนทะ สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ เรา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 286
เข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ คําที่ท่านทั้งหลายกล่าวว่า อัตตาและโลกเที่ยง มีอยู่ หรือหนอ ดังนี้ และสมณพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวคําใด อย่างนี้ว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้. เราไม่คล้อยตามคํานั้น ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. ดูก่อนจุนทะ เพราะว่าในสมณพราหมณ์เหล่านี้ สัตว์จําพวกหนึ่งแม้เป็นผู้มีสัญญาเป็นอย่างอื่นมีอยู่. ดูก่อนจุนทะ ด้วยบัญญัตินี้แล เรายังไม่เห็นผู้เสมอตนเลย ผู้ยิ่งกว่าจักมีแต่ไหน เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งในบัญญัติ ที่เป็นอธิบัญญัติโดยแท้.
[๑๒๕] ดูก่อนจุนทะ สมณพราหมณ์เหล่าใดผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกไม่เที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ฯลฯ อัตตาและโลกเที่ยงด้วย ไม่เที่ยงด้วย. อัตตาและโลกเที่ยงก็ไม่ใช่ ไม่เที่ยงก็ไม่ใช่. อัตตาและโลก สัตว์ทําได้เอง. อัตตาและโลก ผู้อื่นทําให้. อัตตาและโลก สัตว์ทําได้เองด้วย ผู้อื่นทําให้ด้วย. อัตตาและโลก สัตว์มิได้ทําเอง และผู้อื่นมิได้ทําให้ เกิดขึ้นลอยๆ. สุขและทุกข์ เที่ยง สุขและทุกข์ ไม่เที่ยง. สุขและทุกข์ เที่ยงด้วย ไม่เที่ยงด้วย. สุขและทุกข์ เที่ยงก็ไม่ใช่ ไม่เที่ยงก็ไม่ใช่. สุขและทุกข์ สัตว์ทําได้เอง. สุขและทุกข์ ผู้อื่นทําให้. สุขและทุกข์ สัตว์ทําได้เองด้วย ผู้อื่นทําให้ด้วย. สุขและทุกข์ สัตว์มิได้ทําเองด้วย ผู้อื่นมิได้ทําให้ด้วย เกิดขึ้นลอยๆ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า. เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า มีอยู่ หรือหนอ คําที่ท่านทั้งหลายกล่าวว่า สุขและทุกข์ สัตว์มิได้ทําเองด้วย ผู้อื่นมิได้ทําให้ด้วย เกิดขึ้นลอยๆ ดังนี้ และสมณพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวคําใด อย่างนี้ว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ เรา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 287
ย่อมไม่คล้อยตามคํานั้น ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น. ข้อนั้น เพราะเหตุไร. ดูก่อนจุนทะ เพราะว่า ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สัตว์จําพวกหนึ่งแม้เป็นผู้มีสัญญาเป็นอย่างอื่นมีอยู่. ดูก่อนจุนทะ ด้วยบัญญัตินี้แล เราไม่เห็นผู้อื่นเสมอตนเลย ผู้ยิ่งกว่าจักมีแต่ไหน เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งในบัญญัติ ที่เป็นอธิบัญญัติโดยแท้.
ดูก่อนจุนทะ ทิฏฐินิสัยอันประกอบด้วยส่วนเบื้องต้นนี้แล ที่เราได้พยากรณ์กะพวกเธอ โดยประการที่เราพึงพยากรณ์ และโดยประการที่เราไม่พึงพยากรณ์ ไฉน เราจักพยากรณ์ทิฏฐินิสัยเหล่านั้นกะพวกเธอในข้อนั้นเล่า.
ว่าด้วยทิฏฐินิสัยเกี่ยวกับกาลอนาคต
[๑๒๖] ดูก่อนจุนทะ ทิฏฐินิสัยทั้งหลาย อันสหรคตด้วยส่วนเบื้องปลาย ที่เราได้พยากรณ์ไว้กะพวกเธอ โดยประการที่เราพยากรณ์แล้ว และโดยประการที่เราไม่พึงพยากรณ์ เป็นไฉน. ดูก่อนจุนทะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ อัตตามีรูปหาโรคมิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้. ดูก่อนจุนทะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ อัตตาไม่มีรูป. อัตตามีรูปด้วย ไม่มีรูปด้วย. อัตตามีรูปก็ไม่ใช่ ไม่มีรูปก็ไม่ใช่. อัตตามีสัญญา อัตตาไม่มีสัญญา. อัตตามีสัญญาด้วย ไม่มีสัญญาด้วย. อัตตามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่. อัตตาย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี เบื้องหน้าแต่มรณะ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้.
ดูก่อนจุนทะ สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ เบื้องหน้าแต่มรณะ อัตตามีรูปหาโรคมิได้ สิ่งนี้แหละจริง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 288
สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้. เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ มีอยู่ หรือหนอ คําที่ท่านทั้งหลายกล่าวว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ อัตตามีรูปหาโรคมิได้ ดังนี้ และสมณพราหมณ์เหล่านั้น กล่าวคําใดอย่างนี้ว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้. เราย่อมไม่คล้อยตามคํานั้นของสมณพราหมณ์เหล่านั้น. ข้อนี้ เพราะเหตุไร. ดูก่อนจุนทะ เพราะว่าในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สัตว์จําพวกหนึ่งแม้เป็นผู้มีสัญญาเป็นอย่างอื่นมีอยู่. ดูก่อนจุนทะ ด้วยบัญญัตินี้แล เราไม่เห็นผู้เสมอตนเลย ผู้ยิ่งกว่าจักมีแต่ไหน เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในบัญญัติ อันเป็นอธิบัญญัตินี้โดยแท้.
[๑๒๗] ดูก่อนจุนทะ สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ อัตตาไม่มีรูป. อัตตามีรูปด้วย ไม่มีรูปด้วย. อัตตามีรูปก็ไม่ใช่ ไม่มีรูปก็ไม่ใช่. อัตตามีสัญญา. อัตตามีสัญญาด้วย ไม่มีสัญญาด้วย. อัตตามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่. เบื้องหน้าแต่มรณะ อัตตาย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้. เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ มีอยู่ หรือหนอ คําที่ท่านทั้งหลายกล่าวว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ ตนย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี และสมณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวคําใดอย่างนี้ว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ เราไม่คล้อยตามคํานั้นของสมณพราหมณ์เหล่านั้น. ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร. ดูก่อนจุนทะ เพราะว่า ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สัตว์พวกหนึ่งแม้เป็นผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 289
สัญญาเป็นอย่างอื่นมีอยู่. ดูก่อนจุนทะ ด้วยบัญญัตินี้แล เราไม่พิจารณาเห็นผู้สม่ําเสมอด้วยตนเลย ผู้ยิ่งกว่าจักมีแต่ไหน เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในบัญญัติ ที่เป็นอธิบัญญัตินี้โดยแท้.
ดูก่อนจุนทะ ทิฏฐินิสัย อันสหรคตด้วยส่วนเบื้องปลายนี้แล ที่เราได้พยากรณ์กะพวกเธอ โดยประการที่เราพึงพยากรณ์ และโดยประการที่เราไม่พึงพยากรณ์ เพราะฉะนั้น ไฉนเราจักพยากรณ์ทิฏฐินิสัยเหล่านั้นกะพวกเธอในข้อนั้นเล่า.
ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔
[๑๒๘] ดูก่อนจุนทะ สติปัฏฐาน ๔ ประการ อันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วอย่างนี้ เพื่อละ เพื่อก้าวล่วงทิฏฐินิสัยอันประกอบด้วยส่วนเบื้องต้นเหล่านี้ด้วย ทิฏฐินิสัยอันสหรคตด้วยส่วนเบื้องปลายเหล่านี้ด้วย สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ดูก่อนจุนทะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกําจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเนืองๆ. ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเนืองๆ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกําจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้. ดูก่อนจุนทะ สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ อันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วอย่างนี้ เพื่อละ เพื่อก้าวล่วงซึ่งทิฏฐินิสัยอันสหรคตด้วยส่วนเบื้องต้นเหล่านี้ด้วย ทิฏฐินิสัยอันสหรคตด้วยส่วนเบื้องปลายเหล่านี้ด้วย ดังนี้.
[๑๒๙] ในเวลานั้น ท่านอุปทานะ ยืนถวายงานพัดอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ท่านอุปทานะได้กราบทูลพระผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 290
พระภาคเจ้าว่า น่าอัศจรรย์พระเจ้าข้า ไม่เคยมีเลยพระเจ้าข้า ธรรมปริยายนี้ น่าเสื่อมใสนัก พระเจ้าข้า ธรรมปริยายนี้ น่าเลื่อมใสดีนักพระเจ้าข้า ธรรมปริยายชื่ออะไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุปทานะ เธอจงจําธรรมปริยายนี้ไว้เถิดว่า "ปาสาทิก" ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านอุปทานะ ยินดี ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.
จบ ปาสาทิกสูตร ที่ ๖