๑๑. ทสุตตรสูตร ว่าด้วยหมวดธรรมอันยิ่งขึ้นไปจนถึงสิบ
[เล่มที่ 16] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 404
๑๑. ทสุตตรสูตร
เรื่องพระสารีบุตร หน้า 404
ว่าด้วยธรรมหมวด ๑ หน้า 404
ว่าด้วยธรรมหมวด ๒ หน้า 406
ว่าด้วยธรรมหมวด ๓ หน้า 407
ว่าด้วยธรรมหมวด ๔ หน้า 409
ว่าด้วยธรรมหมวด ๕ หน้า 411
ว่าด้วยธรรมหมวด ๖ หน้า 418
ว่าด้วยธรรมหมวด ๗ หน้า 425
ว่าด้วยธรรมหมวด ๘ หน้า 430
ว่าด้วยธรรมหมวด ๙ หน้า 442
ว่าด้วยธรรมหมวด ๑๐ หน้า 448
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 16]
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 404
๑๑. ทสุตตรสูตร ว่าด้วยหมวดธรรมอันยิ่งขึ้นไปจนถึงสิบ
เรื่อง พระสารีบุตรเถระ
ธรรมหมวด ๑
[๓๖๔] ข้าพเจ้า สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ประทับอยู่ที่ฝังสระโปกขรณี ชื่อคัดครา ใกล้เมืองจําปา. ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลายมา ภิกษุเหล่านั้น รับคําของท่านพระสารีบุตรแล้ว. ท่านพระสารีบุตร กล่าวว่า
[๓๖๕] เราจักกล่าวทสุตตรสูตร อันเป็นธรรมเพื่อปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง เพื่อบรรลุถึงพระนิพพาน เพื่อทําที่สุดทุกข์.
[๓๖๖] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่ง มีอุปการะมาก ธรรมอย่างหนึ่ง ควรเจริญ ธรรมอย่างหนึ่ง ควรกําหนดรู้ ธรรมอย่างหนึ่ง ควรละ ธรรมอย่างหนึ่ง เป็นไปในส่วนเสื่อม ธรรมอย่างหนึ่ง เป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรมอย่างหนึ่ง แทงตลอดได้ยาก ธรรมอย่างหนึ่ง ควรให้เกิดขึ้น ควรรู้ยิ่ง ธรรมอย่างหนึ่ง ควรทําให้แจ้ง.
[๓๖๗] ธรรมอย่างหนึ่ง มีอุปการะมาก เป็นไฉน? คือความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย. นี้ เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ที่มีอุปการะมาก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 405
[๓๖๘] ธรรมอย่างหนึ่ง ควรเจริญเป็นไฉน. คือกายคตาสติสหรคตด้วยความสําราญ. นี้ ธรรมอย่างหนึ่ง ควรเจริญ.
[๓๖๙] ธรรมอย่างหนึ่ง ควรกําหนดรู้ เป็นไฉน. คือ ผัสสะที่ยังมี อาสวะ มีอุปาทาน. นี้ ธรรมอย่างหนึ่ง ที่ควรกําหนดรู้.
[๓๗๐] ธรรมอย่างหนึ่ง ควรละเป็นไฉน. คือ อัสมิมานะ. นี้ธรรมอย่างหนึ่ง ควรละ.
[๓๗๑] ธรรมอย่างหนึ่ง เป็นไปในส่วนเสื่อมเป็นไฉน. คืออโยนิโสมนสิการ. นี้ ธรรมอย่างหนึ่ง เป็นไปในส่วนเสื่อม.
[๓๗๒] ธรรมอย่างหนึ่ง เป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. คือโยนิโสมนนิการ. นี้ ธรรมอย่างหนึ่ง เป็นไปในส่วนวิเศษ.
[๓๗๓] ธรรมอย่างหนึ่ง แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. คือเจโตสมาธิ อันมีลําดับติดต่อกันไป. นี้ ธรรมอย่างหนึ่ง แทงตลอดได้ยาก.
[๓๗๔] ธรรมอย่างหนึ่ง ควรให้เกิดขึ้น เป็นไฉน. คือ ญานอันไม่กําเริบ. นี้ ธรรมอย่างหนึ่ง ควรทําให้เกิดขึ้น.
[๓๗๕] ธรรมอย่างหนึ่ง ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. คือ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง อยู่ได้ด้วยอาหาร. นี้ ธรรมอย่างหนึ่ง ควรรู้ยิ่ง.
[๓๗๖] ธรรมอย่างหนึ่ง ควรทําให้แจ้งเป็นไฉน. คือ เจโตวิมุติอันไม่กําเริบ. นี้ ธรรมอย่างหนึ่ง ควรทําให้แจ้ง. ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ จริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้ว โดยชอบ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 406
ว่าด้วยธรรมหมวด ๒
[๓๗๗] ธรรม ๒ อย่าง มีอุปการะมาก ธรรม ๒ อย่าง ควรเจริญ ธรรม ๒ อย่าง ควรกําหนดรู้ ธรรม ๒ อย่าง ควรละ ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนเสื่อม ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม ๒ อย่าง แทงตลอดได้ยาก ธรรม ๒ อย่าง ควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๒ อย่าง ควรรู้ยิ่ง ธรรม ๒ อย่าง ควรทําให้แจ้ง.
[๓๗๘] ธรรม ๒ อย่าง มีอุปการะมากเป็นไฉน คือ สติ และสัมปชัญญะ ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ มีอุปการะมาก.
[๓๗๙] ธรรม ๒ อย่าง ควรเจริญเป็นไฉน. คือ สมถะ และวิปัสสนา ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ ควรเจริญ.
[๓๘๐] ธรรม ๒ อย่าง ควรกําหนดรู้เป็นไฉน. คือ นามและรูปธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ ควรกําหนดรู้.
[๓๘๑] ธรรม ๒ อย่าง ควรละเป็นไฉน. คือ อวิชชา และภวตัณหา ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ ควรละ.
[๓๘๒] ธรรม ๒ อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน. คือความเป็นผู้ว่ายาก และความคบคนชั่วเป็นมิตร. ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม.
[๓๘๓] ธรรม ๒ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. คือความเป็นผู้ว่าง่าย และความคบคนดีเป็นมิตร. ธรรม ๒ อย่างเหล่าเป็นไปในส่วนวิเศษ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 407
[๓๘๔] ธรรม ๒ อย่าง แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่ธรรมใดเป็นเหตุ และเป็นปัจจัย เพื่อความเศร้าหมอง แห่งสัตว์ทั้งหลาย ธรรมใดเป็นเหตุ และเป็นปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ แทงตลอดได้ยาก.
[๓๘๕] ธรรม ๒ อย่าง ควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่ ญาณ ๒ คือ ญาณในความสิ้น ญาณในความไม่เกิด. ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ ควรให้เกิดขึ้น.
[๓๘๖] ธรรม ๒ อย่าง ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ ธาตุ ๒ คือสังขตธาตุ และอสังขตธาตุ. ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง.
[๓๘๗] ธรรม ๒ อย่าง ควรทําให้แจ้งเป็นไฉน. คือ วิชชาและวิมุติ. ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ ควรทําให้แจ้ง. ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้จริงแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้ชอบแล้วด้วยประการฉะนี้.
ว่าด้วยธรรมหมวด ๓
[๓๘๘] ธรรม ๓ อย่าง มีอุปการะมาก ธรรม ๓ อย่าง ควรเจริญ ธรรม ๓ อย่าง ควรกําหนดรู้ ธรรม ๓ อย่าง ควรละ ธรรม ๓ อย่างเป็นในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๓ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม ๓ อย่าง แทงตลอดได้ยาก ธรรม ๓ อย่าง ควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๓ อย่าง ควรรู้ยิ่งธรรม ๓ อย่าง ควรทําให้แจ้ง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 408
[๓๘๙] ธรรม ๓ อย่างมีอุปการะมากเป็นไฉน. ได้แก่ การคบคนดี การฟังธรรม การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก.
[๓๙๐] ธรรม ๓ อย่างควรเจริญเป็นไฉน. ได้แก่ สมาธิ ๓ คือ สมาธิมีวิตก มีวิจาร สมาธิไม่มีวิตก มีแต่วิจาร สมาธิไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร. ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ ควรเจริญ.
[๓๙๑] ธรรม ๓ อย่างควรกําหนดรู้เป็นไฉน. ได้แก่ เวทนา ๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา. ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ ควรกําหนดรู้.
[๓๙๒] ธรรม ๓ อย่างควรละเป็นไฉน. ได้แก่ ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา. ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ควรละ.
[๓๙๓] ธรรม ๓ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน. ได้แก่ อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ. ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม.
[๓๙๔] ธรรม ๓ อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. ได้แก่กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ. ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนวิเศษ.
[๓๙๕] ธรรม ๓ อย่างแทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่ ธาตุอันเป็นที่ตั้งแห่งการสลัดออก ๓ คือ เนกขัมมะ เป็นที่สลัดออกของกาม อรูปเป็นที่สลัดออกของรูป นิโรธเป็นที่สลักออกของสิ่งที่เกิดแล้ว สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยเกิดแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง. ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้แทงตลอดได้ยาก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 409
[๓๙๖] ธรรม ๓ อย่างควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่ ญาณ ๓ คือ อตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ ปัจจุปปันนังสญาณ. ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ควรให้เกิดขึ้น.
[๓๙๗] ธรรม ๓ อย่างควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ ธาตุ ๓ คือ กามธาตุ รูปธาตุ และอรูปธาตุ. ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง.
[๓๙๘] ธรรม ๓ อย่างควรทําให้แจ้งเป็นไฉน. ได้แก่ วิชชา ๓ คือ วิชชาคือความรู้ระลึกถึงชาติก่อนได้ วิชชาคือความรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย วิชชาคือความรู้ในความสิ้นแห่งอาสวะทั้งหลาย. ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ ควรทําให้แจ้ง. ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ จริง แท้แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้ว โดยชอบด้วยประการฉะนี้.
ว่าด้วยธรรมหมวด ๔
[๓๙๙] ธรรม ๔ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๔ อย่างควรเจริญ ธรรม ๔ อย่างควรกําหนดรู้ ธรรม ๔ อย่างควรละ ธรรม ๔ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม. ธรรม ๔ อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม ๔ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๔ อย่างควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๔ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๔ อย่างควรทําให้แจ้ง.
[๔๐๐] ธรรม ๔ อย่างมีอุปการะมากเป็นไฉน. ได้แก่ จักร ๔ คือการอยู่ในประเทศอันสมควร เข้าหาสัตบุรุษ ตั้งตนไว้ชอบ ความเป็นผู้ทําบุญไว้ในก่อน. ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ มีอุปการะมาก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 410
[๔๐๑] ธรรม ๔ อย่างควรเจริญเป็นไฉน. ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณากายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. ภิกษุพิจารณา เวทนา ... .จิต ... พิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ควรเจริญ.
[๔๐๒] ธรรม ๔ อย่างควรกําหนดรู้เป็นไฉน. ได้แก่ อาหาร ๔ คือ กวฬิงการาหาร อาหารคือคําข้าว หยาบ ละเอียด ๑ ผัสสาหาร ๑ มโนสัญเจตนาหาร ๑ วิญญาณาหาร ๑. ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ควรกําหนดรู้.
[๔๐๓] ธรรม ๔ อย่างควรละเป็นไฉน. ได้แก่ โอฆะ ๔ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา. ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ควรละ.
[๔๐๔] ธรรม ๔ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน. ได้แก่ โยคะ ๔ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา. ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม.
[๔๐๕] ธรรม ๔ อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. ได้แก่ ความพราก ๔ คือ พรากจากกาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา. ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนวิเศษ.
[๔๐๖] ธรรม ๔ อย่างแทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่ สมาธิ ๔ คือ สมาธิเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ๑ สมาธิเป็นไปในส่วนข้างดํารงอยู่ ๑ สมาธิเป็นไปในส่วนวิเศษ ๑ สมาธิเป็นไปในส่วนแทงตลอด ๑. ธรรม๔ อย่างเหล่านี้ แทงตลอดได้ยาก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 411
[๔๐๗] ธรรม ๔ อย่างควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่ ญาณ ๔ คือ ความรู้ในธรรม ๑ ความรู้ในการคล้ายตาม ๑ ความรู้ในการกําหนด ๑ ความรู้ในการสมมติ ๑. ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ควรให้เกิดขึ้น.
[๔๐๘] ธรรม ๔ อย่างควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ อริยสัจ ๔ คือ ทุกขอริยสัจ ๑ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ๑. ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง.
[๔๐๙] ธรรม ๔ อย่างควรทําให้แจ้งเป็นไฉน. ได้แก่ สามัญญผล ๔ คือ โสดาปัตติผล ๑ สกทาคามิผล ๑ อนาคามิผล ๑ อรหัตตผล ๑. ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ควรทําให้แจ้ง. ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ จริง แท้แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบด้วยประการฉะนี้.
ว่าด้วยธรรมหมวด ๕
[๔๑๐] ธรรม ๕ อย่าง มีอุปการะมาก ธรรม ๕ อย่าง ควรเจริญ ธรรม ๕ อย่าง ควรกําหนดรู้ ธรรม ๕ อย่าง ควรละ ธรรม ๕ อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๕ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม ๕ อย่าง แทงตลอดได้ยาก ธรรม ๕ อย่าง ควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๕ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๕ อย่าง ควรทําให้แจ้ง.
[๔๑๑] ธรรม ๕ อย่างมีอุปการะมากเป็นไฉน. ได้แก่ องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร ๕ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีศรัทธา เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 412
เจ้า พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก ฝึกผู้ที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จําแนกธรรม ๑ เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย ประกอบด้วยไฟธาตุมีผลสม่ําเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง ควรแก่การตั้งความเพียร ๑ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ทําตนให้แจ้ง ตามเป็นจริงในพระศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญู ๑ ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อเข้าถึงกุศลธรรม มีกําลังมีความเพียรมั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ๑ มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเห็นความเกิดและความดับ อันเป็นจริยาเป็นไปเพื่อความแทงตลอด อันจะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ๑ ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ มีอุปการะมาก.
[๔๑๒] ธรรม ๕ อย่าง ควรเจริญเป็นไฉน. ได้แก่ สัมมาสมาธิ ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ปีติแผ่ไป ๑ สุขแผ่ไป ๑ การกําหนดจิตผู้อื่นแผ่ไป ๑ แสงสว่างแผ่ไป ๑ นิมิตเป็นเครื่องพิจารณา ๑ ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ ควรเจริญ.
[๔๑๓] ธรรม ๕ อย่างควรกําหนดรู้ เป็นไฉน. ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูปูปาทานขันธ์ ๑ เวทนูปาทานขันธ์ ๑ สัญูปาทานขันธ์ ๑ สังขารูปาทานขันธ์ ๑ วิญญาณูปาทานขันธ์ ๑ ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ ควรกําหนดรู้.
[๔๑๔] ธรรม ๕ อย่าง ควรละเป็นไฉน. ได้แก่ นิวรณ์ ๕ คือ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถีนมิทธะ ๑ อุทธัจจกุกกุจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 413
ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ ควรละ.
[๔๑๕] ธรรม ๕ อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน ได้แก่เจตขีล ๕ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อการประกอบเนืองๆ เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย เพื่อความตั้งมั่น ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใดเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อการประกอบเนืองๆ เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย เพื่อความตั่งมั่น จิตของภิกษุใด ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อการประกอบเนืองๆ เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย เพื่อความตั้งมั่น นี้ เป็นเจตขีลข้อที่หนึ่ง.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในธรรม ... ในสงฆ์ ... ในการศึกษา เป็นผู้โกรธ ไม่ชอบใจ ขัดใจ กระด้าง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใดโกรธ ไม่ชอบใจ ขัดใจ กระด้างในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อการประกอบเนืองๆ เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย เพื่อความตั้งมั่น จิตของภิกษุใด ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อการประกอบเนืองๆ เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย เพื่อความตั้งมั่น นี้เป็นเจตขีลข้อที่ ๕. ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม.
[๔๑๖] ธรรม ๕ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. ได้แก่ อินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนวิเศษ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 414
[๔๑๗] ธรรม ๕ อย่าง แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่ ธาตุ เป็น ที่ตั้งแห่งการสลัดออก ๕ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้กระทํากามไว้ในใจ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมใจไป ในกามทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุนั้น กระทําเนกขัมมะไว้ในใจ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมใจไปในเนกขัมมะ จิตของภิกษุนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้ว พรากจากกาม อาสวะเหล่าใดมีความคับแค้น มีความเร่าร่อนเกิดขึ้น เพราะกามเป็นปัจจัย ภิกษุนั้น พ้นแล้วจากอาสวะเหล่านั้น ไม่เสวยเวทนานั้น นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นที่สลัดออกแห่งกามทั้งหลาย.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เมื่อภิกษุกระทําพยาบาทไว้ในใจ จิต ย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมใจไปในพยาบาท ก็เมื่อภิกษุนั้นกระทําความไม่พยาบาทไว้ในใจ จิต ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมใจไปในความไม่พยาบาท จิตของภิกษุนั้น ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้ว พรากพยาบาทได้แล้ว อาสวะเหล่าใดมีความคับแค้น มีความเร่าร้อนเกิดขึ้น เพราะมีพยาบาทเป็นปัจจัย ภิกษุนั้นพ้นแล้วจากพยาบาทเหล่านั้น ไม่เสวยเวทนานั้น นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นที่สลัดออกแห่งพยาบาท.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เมื่อภิกษุ กระทําความเบียดเบียนไว้ในใจ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมใจไปในความเบียดเบียน ก็เมื่อเธอกระทําความไม่เบียดเบียนไว้ในใจ จิตย่อม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 415
แล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมใจไปในความไม่เบียดเบียน จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นไปดีแล้ว พรากจากความเบียดเบียน อาสวะเหล่าใดมีความคับแค้นมีความเร่าร้อน เกิดขึ้นเพราะมีความเบียดเบียนเป็นปัจจัย เธอพ้นแล้ว จากอาสวะเหล่านั้น ไม่เสวยเวทนานั้น นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นที่สลัดออกแห่งความเบียดเบียน.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เมื่อภิกษุกระทํารูปไว้ในใจ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมใจไปในรูปทั้งหลาย เธอเมื่อกระทําอรูปไว้ในใจ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมใจไปในอรูป จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้ว พรากจากรูปทั้งหลาย อาสวะเหล่าใดมีความคับแค้นมีความเร่าร้อน เกิดขึ้นเพราะมีรูปเป็นปัจจัยเธอพ้นแล้วจากอาสวะเหล่านั้น ไม่เสวยเวทนานั้น นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นที่สลัดออก แห่งรูปทั้งหลาย.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เมื่อภิกษุกระทํากายของตนไว้ในใจ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมใจไปในกายของตน ก็เมื่อเธอกระทําไว้ในใจถึงความดับกายของตน จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมใจไปในความดับกายของตน จิตของเธอนั้น ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้ว พรากกายของตน และอาสวะเหล่าใดมีความคับแค้นมีความเร่าร้อน เกิดขึ้นเพราะมีกายของตนเป็นปัจจัย เธอพ้นแล้วจากอาสวะเหล่านั้น ไม่เสวยเวทนานั้น นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นที่สลัดออกแห่งกายของตน. ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ แทงตลอดได้ยาก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 416
[๔๑๘] ธรรม ๕ อย่าง ควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่ สัมมาสมาธิประกอบด้วยญาณ ๕ คือ ญาณ ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่าสมาธินี้ เป็นอริยะไม่มีอามิส. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้อันบุรุษไม่ต่ําทรามเสพแล้ว ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้ สงบประณีต ได้ปฏิปัสสัทธิแล้ว ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และมิใช่ข่มขี่ห้าม สสังขารจิต. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า เรานั้นแล มีสติ เข้าสมาธิและเรามีสติออกจากสมาธินี้. ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ ควรให้เกิดขึ้น.
[๔๑๙] ธรรม ๕ อย่างควรรู้ยิ่งเป็นไฉน ได้แก่ วิมุตตายตนะ ๕ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดา หรือ เพื่อน พรหมจรรย์อยู่ในฐานะควรเคารพ รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ภิกษุรู้อรรถและรู้ธรรมในธรรมนั้น โดยประการที่พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะเป็นครู รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุ ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้อรรถ รู้ธรรม เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยความสุข เมื่อเมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น นี้ ก็เป็นวิมุตตายตนะ ข้อที่หนึ่ง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะควรเคารพ รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมไม่แสดงธรรมแก่ภิกษุ อีกอย่างหนึ่ง ย่อมแสดงธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอเป็นผู้รู้อรรถและรู้ธรรม ในธรรมนั้น โดยประการที่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้อรรถรู้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 417
ธรรม เมื่อปราโมทย์ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้ก็เป็นวิมุตตายตนะ ข้อที่สอง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะควรเคารพ รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมไม่แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งไม่แสดงธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมาแก่ผู้อื่น โดยพิสดาร อีกอย่างหนึ่ง ย่อมกระทําการท่องบ่นธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมา โดยพิสดาร เธอเป็นผู้รู้อรรถและเป็นผู้รู้ธรรมในธรรมนั้น โดยประการที่ภิกษุ กระทําการท่องบ่นธรรม ตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมา ความปราโมทย์ ย่อมเกิดแก่เธอรู้อรรถผู้รู้ธรรม เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้ก็เป็นวิมุตตายตนะข้อที่สาม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะควรเคารพ รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมไม่แสดงธรรม ทั้งไม่แสดงธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมาแก่ผู้อื่น โดยพิสดาร ทั้งไม่กระทําการท่องบ่นธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมา อีกอย่างหนึ่ง เธอตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามธรรม ตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมาด้วยใจ เธอเป็นผู้รู้อรรถและเป็นผู้รู้ธรรมในธรรมนั้น โดยประการที่ภิกษุตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมาด้วยใจ ความปราโมทย์ ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้อรรถรู้ธรรม เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น นี้ก็เป็นวิมุตตายตนะข้อที่สี่.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 418
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะควรเคารพ รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมแสดงธรรม ทั้งไม่แสดงธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมาแก่ผู้อื่น โดยพิสดาร ทั้งไม่กระทําการท่องบ่นธรรม ตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมา โดยพิสดาร ทั้งไม่ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามธรรม ตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมาด้วยใจ อีกอย่างหนึ่ง สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เธอเรียนดีแล้ว ทําไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา เธอเป็นผู้รู้อรรถและเป็นผู้รู้ธรรมในธรรมนั้น โดยประการที่สมาธินิมิต อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ภิกษุเรียนดีแล้ว กระทําไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้อรรถ รู้ธรรม เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น นี้ก็เป็นวิมุตตายตนะ ข้อที่ห้า. ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง.
[๔๒๐] ธรรม ๕ อย่าง ควรทําให้แจ้งเป็นไฉน. ได้แก่ ธรรมขันธ์ ๕ คือ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ ควรทําให้แจ้ง. ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้จริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ.
ว่าด้วยธรรมหมวด ๖
[๔๒๑] ธรรม ๖ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๖ อย่างควรเจริญ ธรรม ๖ อย่าง ควรกําหนดรู้ ธรรม ๖ อย่างควรละ ธรรม ๖ อย่าง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 419
เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๖ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม ๖ อย่าง แทงตลอดได้ยาก ธรรม ๖ อย่าง ควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๖ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๖ อย่าง ควรทําให้แจ้ง.
[๔๒๒] ธรรม ๖ อย่าง มีอุปการะมากเป็นไฉน. ได้แก่สาราณียธรรม ๖ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม ทําให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันเดียวกัน.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม ทําให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันเดียวกัน.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ... ย่อมเป็นไป เพื่อความเป็นอันเดียวกัน.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุแบ่งปันลาภอันประกอบด้วยธรรม ได้มาแล้วโดยธรรม แม้โดยที่สุด แม้เพียงของที่เนื่องด้วยบิณฑบาตเฉลี่ยกันบริโภคกับเพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีล แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม ทําให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันเดียวกัน.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุมีศีลเสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลังในศีลทั้งหลาย ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ผู้รู้สรรเสริญแล้ว กิเลสไม่ถูกต้องแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ แม้นี้ก็เป็นสาราณีย-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 420
ธรรม ทําให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันเดียวกัน.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุมีทิฏฐิเสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ในทิฏฐิอันเป็นอริยะนําออกจากทุกข์ นําผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม ทําให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันเดียวกัน. ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ มีอุปการะมาก.
[๔๒๓] ธรรม ๖ อย่าง ควรเจริญเป็นไฉน. ได้แก่ที่ตั้งอนุสสติ ๖ คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ควรเจริญ.
[๔๒๔] ธรรม ๖ อย่าง ควรกําหนดรู้เป็นไฉน. ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ คือ จักขวายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ มนายตนะ. ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ควรกําหนดรู้.
[๔๒๕] ธรรม ๖ อย่าง ควรละเป็นไฉน. ได้แก่ หมู่ตัณหา ๖ คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา. ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ควรละ.
[๔๒๖] ธรรม ๖ อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน. ได้แก่ อคารวะ ๖ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยําเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ในความไม่ประมาท ในการปฏิสันถาร. ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม.
[๔๒๗] ธรรม ๖ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 421
คารวะ ๖ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยําเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ในความไม่ประมาท ในการปฏิสันถาร. ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนวิเศษ
[๔๒๘] ธรรม ๖ อย่าง แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่ธาตุเป็นที่ตั้งแห่งความสลัดออก ๖ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เมตตาเจโตวิมุติอันเราเจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว ทําให้เป็นยาน ทําให้เป็นวัตถุแล้ว ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้น พยาบาทยังครอบงําจิตของเราตั้งอยู่. ภิกษุนั้น พึงถูกกล่าวว่า เธออย่าพูดอย่างนี้ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พึงตรัส นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คําที่ว่า เมื่อเมตตาเจโตวิมุติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว ทําให้เป็นยานแล้ว ทําให้เป็นวัตถุแล้ว ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ก็เมื่อเป็นเช่นนั้นพยาบาทก็ยังครอบงําจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่ดังนี้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะเมตตาเจโตวิมุตินี้ก็เป็นที่สลัดออกจากพยาบาท.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า กรุณาเจโตวิมุติอันเราเจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว ทําให้เป็นยานแล้ว ทําให้เป็นวัตถุแล้ว ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ความเบียดเบียนยังครอบงําจิตของเราตั้งอยู่. ภิกษุนั้น พึงถูกกล่าวว่าเธออย่ากล่าวอย่างนี้ ... นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ... คําที่ว่า เมื่อกรุณาเจโตวิมุติ ... ปรารภดีแล้ว ก็เมื่อเป็นเช่นนั้นความเบียดเบียนยังครอบงําจิต
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 422
ของภิกษุนั้นตั้งอยู่ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ กรุณาเจโตวิมุตินี้ ก็เป็นที่สลัดออกจากความเบียดเบียน.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า มุทิตาเจโตวิมุติ ... ปรารภดีแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น ความไม่ยินดียังครอบงําจิตของเราตั้งอยู่. ภิกษุนั้น พึงถูกกล่าวว่า เธออย่าพูดอย่างนี้ ... ..นั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คําที่ว่า เมื่อมุทิตาเจโตวิมุติ ... ปรารภดีแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น ความไม่ยินดียังครอบงําจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ มุทิตาเจโตวิมุตินี้ ก็เป็นที่สลัดออกจากความไม่ยินดี.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อุเบกขาเจโตวิมุติ ... ปรารภดีแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น ราคะยังครอบงําจิตของเราตั้งอยู่. ภิกษุนั้นพึงถูกกล่าวว่า เธออย่าพูดอย่างนี้ ... นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คําที่ว่า เมื่ออุเบกขาเจโตวิมุติ ... ปรารภดีแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น ราคะยังครอบงําจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ อุเบกขาเจโตวิมุตินี้ ก็เป็นที่สลัดออกจากราคะ.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติ อันหานิมิตมิได้ ... ปรารภดีแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้นวิญญาณของเรา ย่อมไปตามนิมิต ภิกษุนั้นพึงถูกกล่าวว่า เธออย่าพูดอย่างนี้ ... .นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คําที่ว่า เมื่อเจโตวิมุติ อันหานิมิตมิได้ ... .ปรารภดีแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้นวิญญาณอันไปตามนิมิต จักมีแก่ภิกษุนั้น นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ เจโตวิมุติอันหานิมิตมิได้นี้ ก็เป็นที่สลัดออกจากนิมิตทั้งปวง.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 423
ถือว่าเรามีอยู่ดังนี้ ของเราหมดไปแล้ว เราย่อมไม่พิจารณาเห็นว่าเรานี้มีอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้น ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัยยังครอบงําจิตของเราตั้งอยู่. ภิกษุนั้นพึงถูกกล่าวว่า เธออย่าพูดอย่างนี้ ... นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คําที่ว่า เมื่อถือว่าเรามีอยู่ หายไปแล้ว และเมื่อเขาไม่พิจารณาเห็นว่าเรานี้มีอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้น ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย ยังครอบงําจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ การถอนอัสมิมานะนี้ก็เป็นที่สลัดออกจากลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย. ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ แทงตลอดได้ยาก.
[๔๒๙] ธรรม ๖ อย่างควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่ ธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองๆ ๖ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยตา ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่. ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่. ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ควรให้เกิดขึ้น.
[๔๓๐] ธรรม ๖ อย่าง ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ อนุตตริยะ ๖ คือทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ ปาริจริยานุตตริยะ อนุสสตานุตตริยะ. ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง
[๔๓๑] ธรรม ๖ อย่าง ควรทําให้แจ้งเป็นไฉน. ได้แก่ อภิญญา ๖ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุการแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง แม้คนเดียวทําเป็นหลายคนได้ แม้หลายคนก็ทําเป็นคนเดียวได้ ทําให้ปรากฏ ทําให้หายตัว ทะลุฝากําแพงภูเขาไปไม่ติดขัด เหมือนไปในอากาศก็ได้ ผุดขึ้นดําลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 424
ไม่แยกเหมือนบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปบนอากาศ เหมือนนกก็ได้ ลูบไล้พระจันทร์พระอาทิตย์ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อํานาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.
เธอได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์.
เธอ กําหนดรู้ใจ ของสัตว์อื่น บุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ย่อมรู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ. รู้ว่าจิตเป็นมหัคคตะ หรือจิตเป็นอมหัคคตะ รู้ว่าจิตเป็นอมหัคคตะ. จิตเป็นสอุตตระ รู้ว่าจิตเป็นสอุตตระ หรือ จิตเป็นอนุตตระ รู้ว่าจิตเป็นอนุตตระ จิตตั้งมั่น รู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่น รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้นแล้ว รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้น รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น.
ภิกษุนั้น ระลึกถึงชาติก่อนได้หลายอย่าง คือ หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปไม่น้อยบ้าง วิวัฏฏกัปไม่น้อยบ้าง สังวัฏฏวิวัฏฏกัปไม่น้อยบ้าง ว่าในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขทุกข์อย่างนี้ มีกําหนดอายุอย่างนี้ จุติจากภพนั้นไปเกิดในภพโน้น ในภพนั้นเรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 425
มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขทุกข์อย่างนี้ มีกําหนดอายุอย่างนี้ ครั้นจุติจากภพนั้นมาเกิดในภพนี้ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายอย่างพร้อมทั้งอาการ อุเทศด้วยประการฉะนี้.
เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กําลังจุติ อุปบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ถึงหมู่สัตว์ไปตามกรรมว่า สัตว์ผู้เจริญเหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถือกรรมเป็นมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก หรือ สัตว์ผู้เจริญเหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยะเจ้าแล้ว เป็นสัมมาทิฏฐิ ถือกรรมเป็นสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์
เธอเห็นหมู่สัตว์ ที่กําลังจุติ อุปบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ถึงหมู่สัตว์ ไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้.
เธอกระทําให้แจ้ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าอยู่. ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ควรทําให้แจ้ง. ธรรม ๖๐ เหล่านี้ จริง แท้ แน่นอน. ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้ว โดยชอบด้วยประการฉะนี้.
ว่าด้วยธรรมหมวด ๗
[๔๓๒] ธรรม ๗ อย่าง มีอุปการะมาก ธรรม ๗ อย่างควรเจริญ ธรรม ๗ อย่างควรกําหนดรู้ ธรรม ๗ อย่างควรละ ธรรม ๗ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๗ อย่างเป็นไปในส่วนพิเศษ ธรรม ๗
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 426
อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๗ อย่างควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๗ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๗ อย่างควรทําให้แจ้ง.
[๔๓๓] ธรรม ๗ อย่าง มีอุปการะมากเป็นไฉน. คือ อริยทรัพย์ ๗ ได้แก่ สัทธา สีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ ปัญญา ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ มีอุปการะมาก.
[๔๓๔] ธรรม ๗ อย่าง ควรเจริญเป็นไฉน. ได้แก่ สัมโพชฌงศ์ ๗ คือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา. ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ ควรเจริญ.
[๔๓๕] ธรรม ๗ อย่างควรกําหนดรู้เป็นไฉน. ได้แก่ วิญญาณฐิติ ๗ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือนมนุษย์ เทพบางพวก วินิปาติกะบางพวก นี้ก็เป็นวิญญาณฐิติข้อที่หนึ่ง. สัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกันเหมือนเทพผู้นับเนื่องในพรหม ผู้เกิดในปฐมฌาน นี้ก็เป็นวิญญาณฐิติ ข้อที่สอง. สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือนพวกเทพอาภัสสรานี้ ก็เป็นวิญญาณฐิติข้อที่สาม. สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนพวกเทพสุภกิณหา นี้ก็เป็นวิญญาณฐิติ ข้อที่สี่. สัตว์ทั้งหลาย ล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญาได้ ไม่กระทําไว้ในใจซึ่งสัญญาต่างกัน โดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะว่า อากาศไม่มีที่สุดนี้ก็เป็นวิญญาณฐิติ ข้อที่ห้า. สัตว์ทั้งหลาย ล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะว่า วิญญาณไม่มีที่สุด นี้ก็เป็นวิญญาณฐิติ ข้อที่หก. สัตว์ทั้งหลาย ล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 427
ประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะว่า ไม่มีอะไร นี้ก็เป็นวิญญาณฐิติ ข้อที่เจ็ด. ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ ควรกําหนดรู้.
[๔๓๖] ธรรม ๗ อย่างควรละเป็นไฉน. ได้แก่ อนุสัย ๗ คือกามราคะ ปฏิฆะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา มานะ ภวราคะ อวิชชา. ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ ควรละ.
[๔๓๗] ธรรม ๗ อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน. ได้แก่อสัทธรรม ๗ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่มีศรัทธา ไม่ละอาย ไม่เกรงกลัว สดับน้อย เกียจคร้าน ลืมสติ ปัญญาทึบ. ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม.
[๔๓๘] ธรรม ๗ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. ได้แก่สัทธรรม ๗ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีศรัทธา มีความละอาย มีความเกรงกลัว เป็นผู้สดับมาก ปรารภความเพียร มีสติตั้งมั่น มีปัญญา ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนวิเศษ.
[๔๓๙] ธรรม ๗ อย่าง แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่สัปปุริสธรรม ๗ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รู้จักเหตุ เป็นผู้รู้จักผล เป็นผู้รู้จักตน เป็นผู้รู้จักประมาณ เป็นผู้รู้จักกาลเวลา เป็นผู้รู้จักประชุมชน เป็นผู้รู้จักเลือกบุคคล. ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ แทงตลอดได้ยาก.
[๔๔๐] ธรรม ๗ อย่างควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่ สัญญา ๗ คือ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภสัญญา อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา วิราคสัญญา นิโรธสัญญา. ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ ควรให้เกิดขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 428
[๔๔๑] ธรรม ๗ อย่างควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ นิทเทสวัตถุ ๗ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีฉันทะกล้าในการสมาทานสิกขา และไม่ปราศจากความรักในการสมาทานสิกขาต่อไป มีฉันทะกล้าในการพิจารณาธรรมและไม่ปราศจากความรัก ในการพิจารณาธรรมต่อไป มีฉันทะกล้าในการกําจัดความอยาก และไม่ปราศจากความรักในการกําจัดความอยากต่อไป มีฉันทะกล้าในการหลีกออกเร้น และไม่ปราศจากความรักในการหลีกออกเร้นต่อไป มีฉันทะกล้าในการปรารภความเพียร และไม่ปราศจากความรักในการปรารภความเพียรต่อไป มีฉันทะกล้าในสติและปัญญาเครื่องรักษาตน และไม่ปราศจากความรัก ในสติและปัญญาเครื่องรักษาตนต่อไป มีฉันทะกล้าในการแทงตลอดทิฏฐิ และไม่ปราศจากความรักในการแทงตลอดทิฏฐิต่อไป. ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง.
[๔๔๒] ธรรม ๗ อย่าง ควรทําให้แจ้งเป็นไฉน. ได้แก่ กําลังของพระขีณาสพ ๗ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพในธรรมวินัยนี้ เห็นสังขารทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดีแล้ว ข้อที่ภิกษุขีณาสพ เห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดีแล้ว นี้ก็เป็นกําลังของภิกษุผู้ขีณาสพ กําลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ เห็นกามเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดีแล้ว ข้อที่ภิกษุขีณาสพ เห็นกามเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดีแล้ว นี้ก็เป็นกําลังของภิกษุขีณาสพ กําลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัยย่อมรู้ความสิ้นไป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 429
แห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก จิตของภิกษุขีณาสพ น้อมไปในวิเวก โอนไปในวิเวก เงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ สิ้นสุดจากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ โดยประการทั้งปวง ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพ น้อมไปในวิเวก โอนไปในวิเวก เงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ สิ้นสุดจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ โดยประการทั้งปวง แม้นี้ก็เป็นกําลังของภิกษุขีณาสพ กําลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ข้อที่สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดีแล้ว แม้นี้ก็เป็นกําลังของภิกษุขีณาสพ กําลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก อินทรีย์ ๕ อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ข้อที่อินทรีย์ ๕ อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดีแล้ว แม้นี้ก็เป็นกําลังของภิกษุขีณาสพ กําลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ข้อที่โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดีแล้ว แม้นี้ก็เป็นกําลังของภิกษุขีณาสพ กําลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก อริยมรรคมีองค์ ๘ อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ข้อที่ อริยมรรคมีองค์ ๘ อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 430
แล้ว แม้นี้ ก็เป็นกําลังของภิกษุขีณาสพ กําลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว. ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ ควรทําให้แจ้ง ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ จริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้ว โดยชอบ ด้วยประการฉะนี้.
จบปฐมภาณวาร.
ว่าด้วยธรรมหมวด ๘
[๔๔๓] ธรรม ๘ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๘ อย่าง ควรเจริญ ธรรม ๘ อย่าง ควรกําหนดรู้ ธรรม ๘ อย่าง ควรละ ธรรม ๘ อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๘ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม ๘ อย่าง ควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๘ อย่าง ควรรู้ยิ่ง ธรรม ๘ อย่าง ควรทําให้แจ้ง.
[๔๔๔] ธรรม ๘ อย่าง มีอุปการะมากเป็นไฉน. ได้แก่ เหตุ ๘ อย่าง ปัจจัย ๘ อย่าง ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาเป็นอาทิพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว เหตุและปัจจัย ๘ อย่าง เป็นไฉน คือดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์ อยู่ในฐานะควรเคารพรูปใดรูปหนึ่ง หิริและโอตตัปปะแรงกล้า เข้าไปปรากฏแก่ภิกษุนั้น เป็นความรักและความเคารพในท่าน นี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่หนึ่ง ย่อมเป็นไป เพื่อได้ปัญญาอาทิพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 431
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเข้าไปอาศัยพระศาสดา หรือ เพื่อนพรหมจรรย์ อยู่ในฐานะควรเคารพนั้นรูปใดรูปหนึ่ง หิริและโอตตัปปะอย่างแรงกล้าเข้าไปปรากฏแก่ภิกษุนั้นเป็นความรักและความเคารพในท่าน เธอเข้าไปหาท่านเสมอๆ สอบถามไต่สวนว่า ข้อนี้เป็นอย่างไร เนื้อความของข้อนี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิด กระทําสิ่งที่ยากให้ง่ายและบรรเทาความสงสัยในธรรม เป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายๆ อย่างแก่เธอ นี้ ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่สอง ...
ภิกษุฟังธรรมนั้นแล้ว ถึงพร้อมด้วยความหลีกออก ๒ อย่าง คือความหลีกออกแห่งกาย ๑ ความหลีกออกแห่งจิต ๑ นี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่สาม ...
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้มีศีล สํารวมในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบท นี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่สี่ ...
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงสุตะไว้ สั่งสมสุตะ ธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นธรรมอันภิกษุนั้น สดับมาก ทรงไว้ คล่องปาก พิจารณาด้วยใจ แทงตลอดด้วยทิฏฐิ นี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ห้า ...
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุปรารภความเพียร ละอกุศลธรรม ยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกําลัง ความเพียรมั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมอยู่ นี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่หก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 432
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุมีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกถึง สิ่งที่ทําไว้นาน ถ้อยคําที่พูดไว้นาน นี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัย ข้อที่เจ็ด ...
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ พิจารณาถึงความเกิดและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า ดังนี้ รูป ดังนี้ ความเกิดแห่งรูป ดังนี้ ความดับแห่งรูป ดังนี้ เวทนา ดังนี้ ความเกิดแห่งเวทนา ดังนี้ ความดับแห่งเวทนา ดังนี้ สัญญา ดังนี้ ความเกิดแห่งสัญญา ดังนี้ ความดับแห่งสัญญาดังนี้ สังขารทั้งหลาย ดังนี้ ความเกิดแห่งสังขารทั้งหลาย ดังนี้ ความดับแห่งสังขารทั้งหลาย ดังนี้ วิญญาณ ดังนี้ ความเกิดแห่งวิญญาณ ดังนี้ ความดับแห่งวิญญาน. นี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่แปด ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอาทิพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว. ธรรม ๘ อย่าง เหล่านี้มีอุปการะมาก.
[๔๔๕] ธรรม ๘ อย่าง ควรเจริญเป็นไฉน. อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ เห็นชอบ ดําริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ ความเพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งมั่นชอบ ธรรม ๘ อย่าง เหล่านี้ ควรเจริญ.
[๔๔๖] ธรรม ๘ อย่าง ควรกําหนดรู้เป็นไฉน. โลกธรรม ๘ คือ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ ควรกําหนดรู้.
[๔๔๗] ธรรม ๘ อย่าง ควรละเป็นไฉน. มิจฉัตตะ ๘ คือเห็นผิด ดําริผิด วาจาผิด การงานผิด อาชีพผิด เพียรผิด ระลึกผิด สมาธิผิด ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ ควรละ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 433
[๔๔๘] ธรรม ๘ อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน. ได้แก่เหตุของผู้เกียจคร้าน ๘ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย การงานเป็นสิ่งอันภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงทํา เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า การงานจักเป็นสิ่งอันเราพึงทําแล ก็แหละเมื่อเราทําการงานอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ช่างเถิดเราจะนอน. เธอนอน ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทําให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทําให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่หนึ่ง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก การงานเป็นสิ่งอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ทําแล้วเธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้กระทําการงานแล้ว ก็แหละเมื่อเรากระทําการงานอยู่ ร่างกายเหน็ดเหนื่อยแล้ว ช่างเถิดเราจะนอน. เธอนอนไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อทําให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทําให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่สอง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ก็เราจักต้องเดินทางผู้เดียว ก็แหละ เมื่อเราเดินทางไป ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ช่างเถิด เราจะนอน. เธอนอน ไม่ปรารภความเพียร ... นี้ก็เป็นเหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่สาม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้เดินทางแล้ว เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เดินทางแล้ว ก็แหละเมื่อเราเดินทางไปอยู่ ร่างกายเหน็ดเหนื่อยแล้ว ช่างเถิดเราจะนอน เธอนอน ไม่ปรารภความเพียร ... นี้ ก็เป็นเหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่สี่.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 434
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านหรือนิคมไม่ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต เต็มตามความต้องการ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านหรือนิคมก็ไม่ได้โภชนะที่เศร้าหมอง หรือประณีตเต็มความต้องการ ร่างกายของเรานั้น เหน็ดเหนื่อยแล้ว ไม่ควรแก่การงาน ช่างเถิดเราจะนอน. เธอนอนไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อทําให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทําให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่ห้า.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านหรือนิคม ย่อมได้โภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีต เต็มตามความต้องการ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะที่เศร้าหมอง หรือประณีต เต็มตามความต้องการแล้ว ร่างกายของเรานั้นหนักไม่ควรแก่การงาน เหมือนถั่วราชมาส ที่เขาหมักไว้ ช่างเถิด เราจะนอน. เธอนอน ไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อทําให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทําให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่หก.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก อาพาธเล็กน้อยเกิดแก่ภิกษุ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเพียงเล็กน้อยนี้ เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมควรเพื่อจะนอนมีอยู่ ช่างเถิด เราจะนอน. เธอนอนไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อทําให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ให้ทําให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่เจ็ด.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุหายอาพาธแล้ว หายจากอาพาธยังไม่นาน เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายอาพาธแล้ว หายจากความอาพาธยังไม่นาน ร่างกายของเรานั้นยังอ่อนเพลีย ไม่ควรแก่การงาน ช่างเถิดเรา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 435
จะนอน. เธอนอน ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทําให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทําให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่แปด. ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม.
[๔๔๙] ธรรม ๘ อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. ได้แก่ เหตุของผู้ปรารภความเพียร ๘ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย การงานเป็นสิ่งอันภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงทํา เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า การงานจักเป็นสิ่งอันเราควรทํา ก็แหละเมื่อเราทําการงานอยู่ การกระทําคําสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไว้ในใจ มิใช่กระทําได้โดยง่าย ช่างเถิด เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทําให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทําให้แจ้ง. เธอปรารภความเพียรอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทําให้แจ้ง ธรรมที่ยังไม่ได้ทําให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียร ข้อที่หนึ่ง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก การงานเป็นสิ่งอันภิกษุทําแล้ว เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ทําการงานแล้วแล ก็แหละ เราเมื่อทําการงานอยู่ ก็ไม่อาจทําคําสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไว้ในใจ ช่างเถิด เราจะปรารภความเพียร ... เธอปรารภความเพียรอยู่ ... เพื่อทําให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทําให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียร ข้อที่สอง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุต้องเดินทาง เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทาง ก็แหละ เมื่อเราเดินทางไป การกระทําคําสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไว้ในใจ มิใช่กระทําได้โดยง่าย ช่างเถิดเราจะปรารภความเพียร ... เธอปรารภความเพียรอยู่ ... เพื่อทําให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 436
ทําให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียร ข้อที่สาม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเดินทางแล้ว เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เดินทางแล้วแล ก็แหละ เมื่อเราเดินทางอยู่ก็ไม่อาจทําคําสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไว้ในใจ ช่างเถิดเราจะปรารภความเพียร ... เธอปรารภความเพียรอยู่ ... เพื่อทําให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทําให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียร ข้อที่สี่.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านหรือนิคม ย่อมไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง หรือประณีต เต็มตามความต้องการ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้าน หรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง หรือประณีต เต็มตามความต้องการแล้ว ร่างกายของเรานั้นเบาควรแก่การงาน ช่างเถิดเราจะปรารภความเพียร ... เธอปรารภความเพียรอยู่ ... เพื่อทําให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทําให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียร ข้อที่ห้า.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้าน หรือนิคม ย่อมได้โภชนะเศร้าหมอง หรือประณีต เต็มตามความต้องการ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้าน หรือนิคมได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต เต็มตามความต้องการแล้ว ร่างกายของเรานั้นมีกําลัง ควรแก่การงาน ช่างเถิดเราจะปรารภความเพียร ... เธอปรารภความเพียรอยู่ ... เพื่อทําให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทําให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียรข้อที่หก.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุแล้ว เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเพียงเล็กน้อยนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว ข้อที่อาพาธ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 437
ของเราจะพึงมากขึ้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ช่างเถิดเราจะปรารภความเพียร ... เธอปรารภความเพียรอยู่ ... เพื่อทําให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทําให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียร ข้อที่เจ็ด.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุหายอาพาธแล้ว หายจากความเป็นผู้อาพาธยังไม่นาน เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายอาพาธแล้ว หายจากความอาพาธยังไม่นาน ข้อที่อาพาธของเราจะพึงกลับกําเริบขึ้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ช่างเถิดเราจะปรารภความเพียร ... เธอปรารภความเพียรอยู่ ... เพื่อทําให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทําให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียรข้อที่แปด. ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนวิเศษ.
[๔๕๐] ธรรม ๘ อย่าง แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่กาลมิใช่ขณะ มิใช่สมัยเพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ คือ ดูก่อนผู้มีอายุ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติในโลกนี้ และพระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้สัตว์ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงนรกแล้ว นี้ก็เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่หนึ่ง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติในโลกนี้ และพระองค์ทรงแสดงธรรม เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้สัตว์ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้ เป็นผู้เข้าถึงกําเนิดสัตว์ดิรัจฉาน นี้ก็เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่สอง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติในโลกนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 438
และทรงแสดงธรรม เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้สัตว์ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้ เข้าถึงปิตติวิสัย นี้ก็เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่สาม.
ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติในโลกนี้ทรงแสดงธรรม เป็นไปเพื่อความสงบ ... แต่บุคคลนี้ เข้าถึงเทพนิกายซึ่งมีอายุยืน อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้ก็เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่สี่.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติในโลกนี้ และพระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ ... แต่บุคคลนี้เป็นผู้เกิดในปัจจันตชนบท เป็นถิ่นของชนมิลักขะ ผู้ไม่มีความรู้ ซึ่งมิใช่คติของ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา นี้ก็เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่ห้า.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติในโลกนี้ ... ส่วนบุคคลนี้ เกิดในมัชฌิมชนบท แต่เขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิดไปว่า ทานที่บุคคลให้ ไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทําดีทําชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี เหล่าสัตว์ผุดเกิดไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดําเนินไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบในโลกไม่มี ซึ่งกระทําโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้รู้ ไม่มีในโลกนี้ นี้ก็เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่หก.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติในโลก ...
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 439
ส่วนบุคคลนี้เป็นผู้เกิดในมัชฌิมชนบท แต่เขาเป็นคนมีปัญญาทึบ โง่เขลา เป็นใบ้ ไม่สามารถจะรู้เนื้อความแห่งคําสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้ก็เป็นกาล มิใช่ขณะ มิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่เจ็ด.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่อุบัติในโลก และพระองค์ยังไม่ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้สัตว์ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว ส่วนบุคคลนี้ เกิดในมัชฌิมชนบท แต่เขามีปัญญาไม่โง่เขลา ไม่เป็นใบ้ สามารถจะรู้เนื้อความแห่งคําสุภาษิต และทุพภาษิตได้ นี้ก็เป็นกาล มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่แปด. ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้แทงตลอดได้ยาก.
[๔๕๑] ธรรม ๘ อย่างควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่ ความตรึกของมหาบุรุษ ๘ คือธรรมนี้ ของผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่ใช่ของผู้มีความปรารถนาใหญ่ ธรรมนี้ของผู้สันโดษ ไม่ใช่ของผู้ไม่สันโดษ ธรรมนี้ของผู้สงัด ไม่ใช่ของผู้ยินดีในความคลุกคลี ธรรมนี้ของผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ของผู้เกียจคร้าน ธรรมนี้ของผู้เข้าไปตั้งสติไว้ ไม่ใช่ของผู้ลืมสติ ธรรมนี้ของผู้มีจิตตั้งมั่น ไม่ใช่ของผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมนี้ของผู้มีปัญญา ไม่ใช่ของผู้มีปัญญาทึบ ธรรมนี้ของผู้ไม่มีธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี ยินดีในธรรมเป็นเครื่องไม่เนิ่นช้า ไม่ใช่ของผู้มีธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี ยินดีในธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ ควรให้เกิดขึ้น.
[๔๕๒] ธรรม ๘ อย่าง ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ อภิภายตนะ ๘ คือ ภิกษุรูปหนึ่งสําคัญรูปภายใน เห็นรูปภายนอกน้อย มีผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ครอบงํารูปเหล่านั้น มีสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น นี้ก็
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 440
เป็นอภิภายตนะข้อที่หนึ่ง. ภิกษุรูปหนึ่ง สําคัญรูปภายนอก หาประมาณมิได้ มีผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ครอบงํารูปเหล่านั้น มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น นี้ก็เป็นอภิภาตนะข้อที่สอง. ภิกษุรูปหนึ่ง สําคัญอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกน้อย มีผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ครอบงํารูปเหล่านั้น มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น นี้ก็เป็นอภิภายตนะข้อที่สาม. ภิกษุรูปหนึ่ง สําคัญอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก หาประมาณมิได้ มีผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ครอบงํารูปเหล่านั้น มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น นี้ก็เป็นอภิภายตนะข้อที่สี่. ภิกษุรูปหนึ่ง สําคัญอรูปภายในเป็นรูปภายนอกเขียว สีเขียว แสงเขียว รัศมีเขียว ดอกผักตบเขียว สีเขียว แสงเขียว รัศมีเขียว แม้ฉันใด หรือว่า ผ้านั้นทําในกรุงพาราณสี เนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้างเขียว สีเขียว รัศมีเขียว แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่ง สําคัญอรูปภายในเห็นรูปภายนอก เขียว สีเขียว แสงเขียว รัศมีเขียว ครอบงํารูปเหล่านั้น มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็นฉันนั้นเหมือนกัน นี้ก็เป็นอภิภายตนะข้อที่ห้า. ภิกษุรูปหนึ่งสําคัญอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก เหลือง สีเหลือง แสงเหลือง รัศมีเหลือง ดอกกรรณิการ์ เหลือง สีเหลือง แสงเหลือง รัศมีเหลือง แม้ฉันใด หรือว่า ผ้านั้นทําในกรุงพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง เหลือง สีเหลือง แสงเหลือง รัศมีเหลือง แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่งสําคัญอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก เหลือง สีเหลือง แสงเหลือง รัศมีเหลือง ครอบงํารูปเหล่านั้น มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น ฉันนั้นเหมือนกัน นี้ก็เป็นอภิภายตนะข้อที่หก. ภิกษุรูปหนึ่งสําคัญอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก แดง สีแดง แสงแดง รัศมีแดง ดอกชะบาแดง สีแดง แสงแดง รัศมีแดง หรือว่า ผ้านั้นทําในกรุงพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสอง
ผพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 441
ข้าง แดง สีแดง แสงแดง รัศมีแดง แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่ง สําคัญอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก แดง สีแดง แสงแดง รัศมีแดง ครอบงํารูปเหล่านั้น มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็นฉันนั้นเหมือนกัน นี้ก็เป็นอภิภายตนะข้อที่เจ็ด. ภิกษุรูปหนึ่ง สําคัญอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก ขาว สีขาว แสงขาว รัศมีขาว ดาวประกายพรึก ขาว สีขาว แสงขาว รัศมีขาว แม้ฉันใด หรือว่า ผ้านั้นทําในกรุงพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง ขาว สีขาว แสงขาว รัศมีขาว แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่งสําคัญอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก ขาว สีขาว แสงขาว รัศมีขาว ครอบงํารูปเหล่านั้น มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น ฉันนั้น นี้ก็เป็นอภิภายตนะข้อที่แปด. ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง.
[๔๕๓] ธรรม ๘ อย่าง ควรทําให้แจ้งเป็น ไฉน. ได้แก่ วิโมกข์ ๘ คือ ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หนึ่ง. ผู้หนึ่งมีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สอง. บุคคลย่อมน้อมใจไปว่า สิ่งนี้งามทีเดียว นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สาม. เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่กระทํานานัตตสัญญาไว้ในใจโดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะว่า อากาศไม่มีที่สุดดังนี้อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สี่. บุคคลล่วงอากาสานัญจาตยนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะว่า วิญญาณไม่มีที่สุดดังนี้อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ห้า. บุคคลล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะว่า ไม่มีอะไรดังนี้อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หก. บุคคลล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่เจ็ด. บุคคลล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 442
โรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด. ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ ควรทําให้แจ้ง. ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ จริงแท้แน่นอน ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบด้วยประการฉะนี้.
ว่าด้วยธรรมหมวด ๙
[๔๕๔] ธรรม ๙ อย่าง มีอุปการะมาก ธรรม ๙ อย่าง ควรเจริญ ธรรม ๙ อย่างควรกําหนดรู้ ธรรม ๙ อย่างควรละ ธรรม ๙ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๙ อย่าง เป็นไปในส่วนพิเศษ ธรรม ๙ อย่าง แทงตลอดได้ยาก ธรรม ๙ อย่าง ควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๙ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๙ อย่าง ควรทําให้แจ้ง.
[๔๕๕] ธรรม ๙ อย่าง มีอุปการะมากเป็นไฉน. ได้แก่ธรรมมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล ๙ คือเมื่อกระทําไว้ในใจโดยแยบคาย ปราโมทย์ย่อมเกิด ปีติย่อมเกิดแก่ผู้มีปราโมทย์ กายของผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ เสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมรู้ ย่อมเห็นตามเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามเป็นจริง ตนเองย่อมหน่าย เมื่อหน่าย ย่อมคลายกําหนัด ย่อมหลุดพ้นเพราะคลายกําหนัด ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ มีอุปการะมาก.
[๔๕๖] ธรรม ๙ อย่างควรเจริญเป็นไฉน. ได้แก่องค์เป็นที่ตั้งแห่งความบริสุทธิ์ ๙ อย่าง คือ ศีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล เป็นองค์ เป็นที่ตั้งแห่งความบริสุทธิ์ จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต ...
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 443
ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ ... กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย ... มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง ... ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ ... ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดแห่งญาณทัสสนะ ... ปัญญาวิสุทธิ ความหมดจดแห่งปัญญา ... วิมุตติวิสุทธิ ความหมดจดแห่งความหลุดพ้น เป็นองค์ เป็นที่ตั้งแห่งความบริสุทธิ์. ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ ควรเจริญ.
[๔๕๗] ธรรม ๙ อย่างควรกําหนดรู้เป็นไฉน. ได้แก่ สัตตาวาส ๙ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือนมนุษย์ เทพบางพวก และวินิปาติกบางพวก นี้ก็เป็นสัตตาวาสข้อที่หนึ่ง. สัตว์ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนพวกเทพนับเนื่องในหมู่พรหม เกิดในปฐมฌาน นี้ก็เป็นสัตตาวาสข้อที่สอง. สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือนพวกเทพอาภัสสรา นี้ก็เป็นสัตตาวาสข้อที่สาม. สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนพวกเทพสุภกิณหา นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่สี่. สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา เหมือนพวกเทพอสัญญีสัตว์ นี้ก็เป็นสัตตาวาสข้อที่ห้า. สัตว์ทั้งหลาย ล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กระทํานานัตตสัญญาไว้ในใจ เข้าถึงอากาสาปัญจายตนะว่า อากาศไม่มีที่สุด นี้ก็เป็นสัตตาวาสข้อที่หก. สัตว์ทั้งหลาย ล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะว่า วิญญาณไม่มีที่สุด นี้ก็เป็นสัตตาวาสข้อที่เจ็ด. สัตว์ทั้งหลาย ล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 444
ทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะว่า ไม่มีอะไร นี้ก็เป็นสัตตาวาสข้อที่แปด. สัตว์ทั้งหลาย ล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะว่า นั่นสงบ นั่นประณีต นี้ก็เป็นสัตตาวาสข้อที่เก้า. ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ ควรกําหนดรู้.
[๔๕๘] ธรรม ๙ อย่าง ควรละเป็นไฉน. ได้แก่ธรรมมีตัณหาเป็นมูล ๙ คือ การแสวงหาย่อมเป็นไปเพราะอาศัยตัณหา ลาภย่อมเป็นไปเพราะอาศัยการแสวงหา ความตกลงใจย่อมเป็นไปเพราะอาศัยลาภ ความกําหนดด้วยความพอใจ ย่อมเป็นไปเพราะอาศัยความตกลงใจ ความพอใจ ย่อมเป็นไปเพราะอาศัยความกําหนัดด้วยความพอใจ ความหวงแหนย่อมเป็นไปเพราะอาศัยความพอใจ ความตระหนี่ ย่อมเป็นไปเพราะอาศัยความหวงแหน การรักษาย่อมเป็นไปเพราะอาศัยความตระหนี่ อกุศลธรรมอันลามกหลายอย่างคือ การถือไม้ ถือศัสตรา การทะเลาะแก่งแย่งวิวาท กล่าวส่อเสียดว่า มึง มึง และการพูดเท็จ ย่อมเป็นไป เพราะอาศัยการรักษาเป็นเหตุธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ ควรละ.
[๔๕๙] ธรรม ๙ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน. ได้แก่เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความอาฆาต ๙ คือ บุคคลย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว. ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เราอยู่. ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา. ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว. ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 445
ของเราอยู่. ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบของเรา. ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว. ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราอยู่. ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา. ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม
[๔๖๐] ธรรม ๙ อย่างเป็นไปในส่วนข้างวิเศษเป็นไฉน. ได้แก่ความกําจัดความอาฆาต ๙ คือบุคคลย่อมกําจัดความอาฆาตว่าคือ ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว ข้อนั้น จะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน. ย่อมกําจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เราอยู่ ข้อนั้น จะหาได้ในบุคคลนี้ แต่ที่ไหน. ย่อมกําจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ข้อนั้น จะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน. ย่อมกําจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว ข้อนั้นจะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน. ย่อมกําจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเราอยู่ ข้อนั้นจะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน. ย่อมกําจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบของเรา ข้อนั้นจะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน.
บุคคลย่อมกําจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ข้อนั้นจะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน. ย่อมกําจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้ประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 446
ที่รัก ที่ชอบใจ ของเราอยู่ ข้อนั้น จะหาได้ในบุคคลนี้ แต่ที่ไหน. ย่อมกําจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้ จักประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ข้อนั้นจะหาได้ในบุคคลนี้ แต่ที่ไหน. ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างวิเศษ
[๔๖๑] ธรรม ๙ อย่างแทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่นานัตตะ ๙ คือ ผัสสะต่างกัน ย่อมเกิดเพราะอาศัยธาตุต่างกัน เวทนาต่างกัน ย่อมเกิดเพราะอาศัยผัสสะต่างกัน สัญญาต่างกัน ย่อมเกิดเพราะอาศัยเวทนาต่างกัน ความดําริต่างกัน ย่อมเกิดเพราะอาศัยสัญญาต่างกัน ความพอใจต่างกัน ย่อมเกิดเพราะอาศัยความดําริต่างกัน ความเร่าร้อนต่างกัน ย่อมเกิดเพราะอาศัยความพอใจต่างกัน การแสวงหาต่างกัน ย่อมเกิดเพราะอาศัยความเร่าร้อนต่างกัน ความอยากได้ต่างกัน ย่อมเกิดเพราะอาศัยการแสวงหาต่างกัน. ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้แทงตลอดได้ยาก.
[๔๖๒] ธรรม ๙ อย่าง ควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่สัญญา ๙ คือ อสุภสัญญา กําหนดหมายความไม่งามแห่งกาย มรณสัญญา กําหนดหมายในความตาย อาหาเรปฏิกูลสัญญา กําหนดหมายในอาหารว่า เป็นปฏิกูล สัพพโลเกอนภิรตสัญญา กําหนดหมายความไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง อนิจจสัญญา กําหนดหมายความไม่เที่ยง อนิจเจ ทุกขสัญญา กําหนดหมายในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ ทุกขอนัตตสัญญา กําหนดหมายในทุกข์ว่าไม่ใช่ตัวตน ปหานสัญญา กําหนดหมายการละ วิราคสัญญา กําหนดหมายความคลายกําหนัด ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ ควรให้เกิดขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 447
[๔๖๓] ธรรม ๙ อย่าง ที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ อนุปุพพวิหาร ๙ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ อนึ่ง เป็นผู้มีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสและโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาและสติบริสุทธิ์ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กระทํานานัตตสัญญาไว้ในใจ โดยประการทั้งปวง บรรลุอากาสานัญจายตนะว่า อากาศไม่มีที่สุดอยู่ ล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนะว่า วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่ ล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนะว่า ไม่มีอะไรอยู่ ล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่. ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง.
[๔๖๔] ธรรม ๙ อย่าง ควรทําให้แจ้งเป็นไฉน. ได้แก่ อนุปุพพนิโรธ ๙ คือ เมื่อเข้าปฐมฌาน กามสัญญาดับ เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารดับ เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติดับ เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะดับ เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนะ รูปสัญญาดับ เมื่อเข้าวิญญา-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 448
ณัญจายตนะ อากาสานัญจายตนะสัญญาดับ เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนะ วิญญาณัญจายตนะสัญญาดับ เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ อากิญจัญญายตนะสัญญาดับ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาดับ. ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ ควรทําให้แจ้ง. ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ จริงแท้แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้ว โดยชอบด้วยประการฉะนี้.
ว่าด้วยธรรมหมวด ๑๐
[๔๖๕] ธรรม ๑๐ อย่าง มีอุปการะมาก ธรรม ๑๐ อย่างควรเจริญ ธรรม ๑๐ อย่างควรกําหนดรู้ ธรรม ๑๐ อย่างควรละ ธรรม ๑๐ อย่างเป็นไปในส่วนเสื่อม ธรรม ๑๐ อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม ๑๐ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๑๐ อย่างควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๑๐ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๑๐ อย่าง ควรทําให้แจ้ง.
[๔๖๖] ธรรม ๑๐ อย่าง มีอุปการะมากเป็นๆ ไฉน. ได้แก่ นาถกรณธรรม ๑๐ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สํารวมระวังปาติโมกข์ ถึงพร้อมอาจาระและโคจรอยู่ มักเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ข้อที่ภิกษุมีศีลสํารวมระวังในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ มักเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 449
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ย่อมประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง เห็นปานนั้น อันเธอสดับแล้วมาก ทรงไว้แล้วคล่องปาก พิจารณาด้วยใจ แทงตลอดทิฏฐิ. ข้อที่ภิกษุเป็นพหูสูต ... แทงตลอดด้วยทิฏฐิ แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี. ข้อที่ภิกษุมีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่กระทําให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับอนุศาสนีเบื้องขวา. ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรม ที่กระทําให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับอนุศาสนีเบื้องขวา แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญา เครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานนั้น สามารถทํา สามารถจัดในกรณียกิจใหญ่น้อยของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย. ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานนั้น สามารถทํา สามารถจัดในกรณียกิจใหญ่น้อยของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เจรจาน่ารัก มีความปราโมทย์ยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรมเจรจาน่า-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 450
รักมีความปราโมทย์ยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรปิณฑบาตเสนาสนะและเภสัชบริขาร เป็นปัจจัยแก่คนไข้ตามมีตามได้. ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรปิณฑบาตเสนาสนะและเภสัชบริขาร เป็นปัจจัยแก่คนไข้ตามมีตามได้ แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อจะยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อมอยู่ มีกําลัง มีความเพียรมั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ ... แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึก ระลึกถึง แม้สิ่งที่ทําแล้วนาน แม้คําที่พูดแล้วนานได้. ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึก ระลึกถึง แม้สิ่งที่ทําแล้วนาน แม้คําที่พูดแล้วนานได้. แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา เห็นความเกิดและความดับเป็นอริยะชําแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ. ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ... ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม. ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ มีอุปการะ
[๔๖๗] ธรรม ๑๐ อย่าง ควรเจริญเป็นไฉน. ได้แก่ กสิณายตนะ ๑๐ คือ ผู้หนึ่งย่อมจําปฐวีกสิณได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวางตามลําดับหาประมาณมิได้. ผู้หนึ่งจําอาโปกสิณได้ ... ผู้หนึ่งจําเตโชกสิณ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 451
ได้ ... ผู้หนึ่งจําวาโยกสิณได้ ... ผู้หนึ่งจํานีลกสิณได้ ... ผู้หนึ่งจําปีตกสิณ ... ผู้หนึ่งจําโลหิตกสิณได้ ... ผู้หนึ่งจําโอทาตกสิณไดั ... ผู้หนึ่งจําอากาสกสิณได้ ... ผู้หนึ่งจําวิญญาณกสิณได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตามลําดับหาประมาณมิได้. ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ ควรเจริญ.
[๔๖๘] ธรรม ๑๐ อย่างควรกําหนดรู้เป็นไฉน. ได้แก่อายตนะ ๑๐ คือ จักขวายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะโผฏฐัพพายตนะ ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ ควรกําหนดรู้.
[๔๖๙] ธรรม ๑๐ อย่าง ควรละเป็นไฉน. ได้แก่ มิจฉัตตะ ๑๐ คือ เห็นผิด ดําริผิด เจรจาผิด การงานผิด อาชีพผิด ความพยายามผิด ระลึกผิด ตั้งใจผิด รู้ผิด พ้นผิด. ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ ควรละ.
[๔๗๐] ธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน. ได้แก่อกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคําหยาบ พูดเพ้อเจ้อ โลภอยากได้ของเขา พยาบาทปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม. ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม.
[๔๗๑] ธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. ได้แก่กุศลกรรมบถ ๑๐ คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ เว้นจากลักทรัพย์ เว้นจากประพฤติผิดในกาม เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดคําหยาบ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้ายเขา เห็นชอบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 452
ตามคลองธรรม. ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนวิเศษ.
[๔๗๒] ธรรม ๑๐ อย่าง แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่อริยวาส ๑๐ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว ประกอบด้วยองค์ ๖ มีธรรมอย่างเดียวเป็นเครื่องรักษา มีธรรมเป็นพนักพิง ๔ ด้าน มีสัจจะเฉพาะอย่างบรรเทาแล้ว มีความแสวงหาทุกอย่างอันสละแล้ว มีความดําริไม่ขุ่นมัว มีกายสังขารอันระงับแล้ว มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว มีปัญญาหลุดพ้นดีแล้ว.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว. กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจีกิจฉา เป็นโทษอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ละได้แล้ว. อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยตา ... ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... .ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ยินดีไม่ยินร้าย เป็นผู้วางเฉยมีสติสัมปชัญญะอยู่. อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีธรรมอย่างเดียวเป็นเครื่องรักษา. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ประกอบแล้วด้วยใจ มีสติเป็นเครื่องรักษา. อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีธรรมอย่างเดียวเป็นเครื่องรักษา.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีธรรมเป็นพนักพิง ๔ ด้าน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 453
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีธรรมเป็นพนักพิง ๔ ด้าน.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาแล้ว. สัจจะเฉพาะอย่างเป็นอันมาก ของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก อันภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรเทาแล้ว บรรเทาดีแล้ว สละคายปล่อยละสละคืนเสียหมดสิ้นแล้ว. อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาแล้ว.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีการแสวงหาทุกอย่างอันสละแล้ว. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละการแสวงหากาม ละการแสวงหาภพ สละการแสวงหาพรหมจรรย์. อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีการแสวงหาทุกอย่างอันสละแล้ว.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีความดําริไม่ขุ่นมัว. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละความดําริในกาม ในความพยาบาท ในความเบียดเบียน. อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีความดําริไม่ขุ่นมัว.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีกายสังขารอันระงับแล้ว. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ เพราะดับโสมนัสและโทมนัสก่อนๆ เสียได้ มีอุเบกขาและสติบริสุทธิ์อยู่. อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีกายสังขารอันระงับแล้ว.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีจิตหลุดพ้นดีแล้ว. จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ หลุดพ้นแล้วจากราคะ โทสะ โมหะ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีจิตหลุดพ้นดีแล้ว.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีปัญญาหลุดพ้นดีแล้ว. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ชัดว่า ราคะ โทสะ โมหะ อันเราละแล้ว ถอนรากแล้ว ทําให้เหมือนตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีปัญญาหลุดพ้นดีแล้ว. ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ แทงตลอดได้ยาก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 454
[๔๗๓] ธรรม ๑๐ อย่างควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. คือ สัญญา ๑๐ ได้แก่ อสุภสัญญา กําหนดหมายความไม่งามแห่งกาย มรณสัญญากําหนดหมายในความตาย อาหาเร ปฏิกูลสัญญา กําหนดหมายในอาหารว่า เป็นปฏิกูล สัพพโลเก อนภิรตสัญญา กําหนดหมายความไม่น่ายินดี ในโลกทั้งปวง อนิจจสัญญา กําหนดหมายความไม่เที่ยง อนิจเจ ทุกขสัญญา กําหนดหมายในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ ทุกเข อนัตตสัญญา กําหนดหมายในทุกข์ว่าไม่ใช่ตัวตน ปหานสัญญา กําหนดหมายการละ วิราคสัญญา กําหนดหมายวิราคธรรม นิโรธสัญญา กําหนดหมายนิโรธความดับ. ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ ควรให้เกิดขึ้น.
[๔๗๔] ธรรม ๑๐ อย่างควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ นิชชิณณวัตถุ ๑๐ คือ ความเห็นผิดอันบุคคลผู้เห็นชอบย่อมละได้ ทั้งอกุศลธรรมอันลามกไม่น้อย ที่เกิดเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยเขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมไม่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ความดําริผิดอันบุคคลผู้ดําริชอบย่อมละได้ ... เพราะมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย ... เพราะสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย ... เจรจาผิดอันบุคคลผู้เจรจาชอบย่อมละได้ ... เพราะมิจฉาวาจาเป็นปัจจัย ... เพราะสัมมาวาจาเป็นปัจจัย ... การงานผิดอันบุคคลผู้ทําการงานชอบย่อมละได้ ... เพราะมิจฉากัมมันตะเป็นปัจจัย ... เพราะสัมมากัมมันตะเป็นปัจจัย ... เลี้ยงชีพผิดอันบุคคลผู้เลี้ยงชีพชอบย่อมละได้ ... เพราะมิจฉาอาชีวะเป็นปัจจัย ... เพราะสัมมาอาชีวะเป็นปัจจัย ... ความพยายามผิด อันบุคคลผู้พยายามชอบย่อมละได้ ... เพราะมิจฉาวายามะเป็นปัจจัย ... เพราะสัมมา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 455
วายามะเป็นปัจจัย ... ความระลึกผิด อันบุคคล ผู้ระลึกชอบย่อมละได้ ... เพราะมิจฉาสติเป็นปัจจัย ... เพราะสัมมาสติเป็นปัจจัย ... ความตั้งมั่นผิดอันบุคคลผู้ตั้งมั่นชอบ ย่อมละได้ ... เพราะมิจฉาสมาธิเป็นปัจจัย.. เพราะสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย ... ความรู้ผิดอันบุคคลผู้รู้ชอบ ย่อมละได้ ... เพราะมิจฉาญาณเป็นปัจจัย ... เพราะสัมมาญาณเป็นปัจจัย ... ความพ้นผิดอันบุคคลผู้พ้นชอบย่อมละได้ ทั้งอกุศลธรรมอันลามกไม่น้อย ที่เกิดเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมไม่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย. ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง.
[๔๗๕] ธรรม ๑๐ อย่าง ควรทําให้แจ้งเป็นไฉน. ได้แก่ อเสขธรรม ๑๐ คือความเห็นชอบเป็นของพระอเสขะ ... ความดําริชอบ ... เจรจาชอบ ... การงานชอบ ... เลี้ยงชีพชอบ ... พยายามชอบ ... ระลึกชอบ ... ตั้งมั่นชอบ ... ความรู้ชอบ ... ความพ้นชอบ เป็นของพระอเสขะ. ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ ควรทําให้แจ้ง. ธรรมหนึ่งร้อยเหล่านี้ ดังพรรณนามานี้เป็นของจริงแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบด้วยประการฉะนี้. ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวสูตรนี้แล้ว. ภิกษุเหล่านั้นดีใจ ชื่นชมภาษิตของท่านพระสารีบุตร ด้วยประการฉะนี้
จบทสุตตรสูตรที่ ๑๑
จบปาฏิกวรรค