๖. มหาโควินทสูตร เรื่องปัญจสิขคนธรรพบุตร
[เล่มที่ 14] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๖. มหาโควินทสูตร
เรื่องปัญจสิขคนธรรพบุตร หน้า 1
บุพพนิมิตแห่งการปรากฏข้นของพรหม หน้า 7
คาถาอนุโมทนาของสนังกุมารพรหม หน้า 9
เสียงของสุนังกุมารพรหม หน้า 10
พระคุณ ๘ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า หน้า 11
พระเจ้าเรณุได้รับอภิเษก หน้า 17
เกียรติศัพท์อันงามของมหาโควินท์ หน้า 19
มหาโควินท์เข้าเฝ้า ๖ กษัตริย์ หน้า 20
ว่าด้วยการปรากฏของสนังกุมารพรหม หน้า 23
ว่าด้วยปฏิปทาให้ถึงพรหมโลก หน้า 23
ข้อปฏิบัติให้ถึงพรหมโลก หน้า 25
กถาว่าด้วยอัฏฐังคิกมรรค หน้า 35
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 14]
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 1
๖. มหาโควินทสูตร
เรื่องปัญจสิขะ คนธรรพบุตร
[๒๐๙] ข้าพเจ้าฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับที่เขาคิชฌกูฏใกล้กรุงราชคฤห์. ครั้งนั้นแล ปัญจสิขคนธรรพบุตร เมื่อราตรีก้าวล่วงแล้ว มีรัศมีงดงามยิ่ง ส่องเขาคิชฌกูฏให้สว่างไสว แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ยืนอยู่ ที่ส่วนข้างหนึ่ง. ปัญจสิขคนธรรพบุตรยืนแล้วแลที่ส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลคํานี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พระพุทธเจ้าข้า คําใดที่ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมาแล้วต่อหน้า ได้รับมาแล้วต่อหน้าพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบทูลคํานั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า. ปัญจสิขะเธอจงบอกแก่เราเถิด พระพุทธเจ้าข้า วันก่อน หลายวันมาแล้วในวันอุโบสถที่ ๑๕ นั้น ในราตรีวันเพ็ญแห่งปวารณา เทพชั้นดาวดึงส์ทั้งสิ้นเป็นผู้นั่งประชุมพร้อมกัน ที่สุธรรมาสภาและทิพยบริษัท ใหญ่เป็นผู้นั่งล้อมรอบ และมหาราชทั้ง ๔ องค์ ต่างเป็นผู้นั่งประจําทิศทั้ง ๔
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 2
คือในทิศตะวันออก มหาราชธตรัฐ อันพวกเทวดาแวดล้อมแล้ว นั่งหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ในทิศใต้ มหาราชวิรุฬหก อันพวกเทวดาแวดล้อมแล้ว นั่งหันหน้าไปทิศเหนือ ในทิศตะวันตก มหาราชวิรูปักขะ อันพวกเทวดาแวดล้อมแล้ว นั่งหันหน้าไปทิศตะวันออก ในทิศเหนือ มหาราชเวสสวัณ อันเทวดาแวดล้อมแล้ว นั่งหันหน้าไปทิศใต้ พระพุทธเจ้าข้า ก็แหละในเวลาที่เทวดาชั้นดาวดึงส์ทั้งหมดด้วยกันเป็นผู้นั่งประชุมกันที่สุธรรมาสภา ทิพยบริษัทใหญ่เป็นผู้นั่งแล้วล้อมรอบ และมหาราชทั้ง ๔ องค์ก็เป็นผู้นั่งประจําทิศทั้ง ๔ แล้ว อาสนะนี้เป็นของพวกท่าน เหล่านั้น และอาสนะหลังเป็นของพวกเราพระพุทธเจ้าข้า พวกเทพเหล่าใด ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าถึงชั้นดาวดึงส์เมื่อไม่นาน เทพเหล่านั้น ย่อมรุ่งเรืองยิ่งเทพเหล่าอื่น ทั้งด้วยรัศมีทีเดียว ทั้งด้วยยศ เพราะเหตุนั้น จึงเล่ากันมาว่า พวกเทพชั้นดาวดึงส์จึงชื่นใจ บันเทิง เกิดปิติโสมนัสว่า โอหนอ ผู้เจริญ กายทิพย์ย่อมบริบูรณ์กายอสูรย่อมเสื่อม.
คาถาอนุโมทนา
พระพุทธเจ้าข้า ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ทรงทราบความเลื่อมใส ของพวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ทรงอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
[๒๑๐] โอหนอผู้เจริญ พวกเทพชั้นดาวดึงส์พร้อมกับพระอินทร์ ย่อมบันเทิงไหว้พระตถาคตและความที่เป็นธรรมเป็นธรรมดี.
เห็นอยู่ซึ่งพวกเทพใหม่เทียว ผู้มีรัศมีมียศ ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสุคต และมาในที่นี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 3
พวกเทพเหล่านั้นรุ่งเรืองล่วงเทพเหล่าอื่น โดยรัศมี โดยยศ โดยอายุ เป็นสาวกของพระผู้มีปัญญา เหมือนแผ่นดินบรรลุคุณวิเศษแล้วในสวรรค์ชั้นนี้.
พวกเทพชั้นดาวดึงส์พร้อมทั้งพระอินทร์เห็นข้อนี้แล้วจึงต่างยินดี ไหว้อยู่ซึ่งพระตถาคต และความที่ธรรมเป็นธรรมดี.
[๒๑๑] พระพุทธเจ้าข้า เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวกันมาว่า พวกเทพชั้นดาวดึงส์จึงชื่นใจ บันเทิง เกิดปิติโสมนัสโดยประมาณยิ่งว่า โอหนอผู้เจริญกายทิพย์ย่อมบริบูรณ์ กายอสูรย่อมเสื่อม. ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงทราบความเลื่อมใสพร้อมของทวยเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ทรงเรียกทวยเทพชั้นดาวดึงส์ว่า ท่านผู้นิรทุกข์ พวกท่านอยากจะฟังพระคุณตามความเป็นจริงแปดอย่างของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหรือไม่. พวกข้าพเจ้าอยากจะฟังพระคุณตามความเป็นจริงแปดอย่างของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น. ทีนั้นท้าวสักกะจอมเทพจึงตรัสพระคุณตามความเป็นจริงแปดอย่างของพระผู้มีพระภาคเจ้าแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกเทพชั้นดาวดึงส์จะสําคัญข้อความนั้นเป็นไฉน
ว่าด้วยพระคุณ ๘ ประการ
[๑] ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ทรงปฏิบัติเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนจํานวนมาก เพื่อความสุขแก่ชนจํานวนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลกเพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่ปฏิบัติ เพื่อความเกื้อกูลแก่ชนจํานวนมาก เพื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 4
ความสุขแก่ชนจํานวนมากเพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต และไม่ว่าในปัจจุบันนี้ นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
[๒] พระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่พึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เรียกให้มาดูได้ น้อมมาในตน พวกผู้รู้พึงทราบเฉพาะตน. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาผู้แสดงธรรมที่น้อมเอามาใช้ได้อย่างนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีตและไม่ว่าในปัจจุบันนี้ นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
[๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงบัญญัติไว้แล้วอย่างดีว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล นี้เป็นโทษ นี้ไม่มีโทษ นี้พึงเสพ นี้ไม่พึงเสพ นี้เลว นี้ประณีต นี้ดํา ขาว มีส่วนคล้ายกัน. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่บัญญัติธรรมที่เป็นกุศลอกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ พึงเสพ พึงไม่เสพ เลวประณีต ดํา ขาว มีส่วนคล้ายกันอย่างนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต และไม่ว่าในปัจจุบันนี้ นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
[๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติข้อปฏิบัติสําหรับไปถึงพระนิพพานแก่สาวกทั้งหลาย ทั้งพระนิพพาน ทั้งข้อปฏิบัติ ก็กลมกลืนกันไว้เป็นอย่างดีแล้ว น้ำจากแม่น้ำคงคา กับน้ำจากแม่น้ำยมุนา ย่อมกลมกลืนกัน เข้ากันได้อย่างเรียบร้อย แม้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงบัญญัติข้อปฏิบัติสําหรับไปถึงพระนิพพาน แก่พระสาวกทั้งหลาย ทั้งพระนิพพาน ทั้งข้อปฏิบัติก็กลมกลืนกัน เป็นอย่างดีแล้ว ฉันนั้นนั่นเทียว. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาเป็นผู้บัญญัติข้อปฏิบัติสําหรับไปถึงพระนิพพานได้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 5
อย่างนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต และไม่ว่าในปัจจุบันนี้ นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
[๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงได้พระสหายแห่งข้อปฏิบัติของพระผู้ยังต้องศึกษาอีกเทียว และพระผู้สิ้นอาสวะ อยู่จบวัตรแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงติดด้วยข้อปฏิบัติและวัตรนั้น ทรงตามประกอบความเป็นผู้เดียว เป็นที่มาแห่งความยินดีอยู่. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่ตามประกอบความเป็นผู้ยินดีในความเป็นผู้เดียวอย่างนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต และไม่ว่าในปัจจุบันนี้ นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
[๖] ลาภสําเร็จอย่างยิ่ง ชื่อเสียงก็สําเร็จอย่างยิ่ง แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ปานกับพวกกษัตริย์ทรงพระศิริโฉม สง่า น่ารักอยู่ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล ทรงปราศจากความเมา เสวยพระอาหาร. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่ปราศจากความเมาบริโภคอาหารอยู่อย่างนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต และไม่ว่าในปัจจุบันนี้ นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
[๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้มีปกติตรัสอย่างไร ก็ทรงมีปกติทําอย่างนั้น ทรงมีปกติทําอย่างไร ก็ทรงมีปกติตรัสอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้ ก็เป็นอันว่าทรงเป็นผู้มีปกติตรัสอย่างไร ก็ทรงมีปกติทําอย่างนั้น ทรงมีปกติทําอย่างไร ก็ทรงมีปกติตรัสอย่างนั้น. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมอย่างนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต และไม่ว่าในปัจจุบัน ยกเว้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
[๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงข้ามความสงสัยได้แล้วปราศจากความเคลือบแคลง สิ้นสุดความดําริ เกี่ยวกับอัชฌาสัย เกี่ยวกับข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดา ที่ข้าม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 6
ความสงสัยได้ ปราศจากความเคลือบแคลง สิ้นสุดความดําริ เกี่ยวกับอัชฌาสัยเกี่ยวกับ ข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์อย่างนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต ไม่ว่าในปัจจุบันนี้ ยกเว้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระพุทธเจ้าข้า ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสถึงพระคุณตามที่เป็นจริง ๘ ประการ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านี้แลแก่ทวยเทพชั้นดาวดึงส์.
[๒๑๒] เพราะเหตุนั้น พระเจ้าข้า จึงเล่ากันมาว่า ทวยเทพชั้นดาวดึงส์จึงชื่นใจ บันเทิง เกิดปิติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ฟังพระคุณตามที่เป็นจริงทั้งแปดประการของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ครั้งนั้น เทพบางพวก กล่าวอย่างนี้ว่า น่าอัศจรรย์จริงๆ หนอ ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ พระองค์ พึงทรงเกิดขึ้นในโลก และพึงทรงแสดงพระธรรม เช่นเดียวกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนจํานวนมาก เพื่อความสุขแก่ชนจํานวนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย. เทพบางพวกก็กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ พระองค์ ยกไว้ก่อน น่าอัศจรรย์จริงหนอ เพื่อนทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓ พระองค์พึงทรงเกิดขึ้นในโลก และพึงทรงแสดงธรรม เช่นเดียวกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้น พึงเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนจํานวนมาก เพื่อความสุขแก่ชนจํานวนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย. เทพบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เพื่อนทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓ พระองค์ ยกไว้ก่อน น่าอัศจรรย์จริงหนอ เพื่อนทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พึงทรงเกิดขึ้นในโลก และพึงทรงแสดงธรรม เช่นเดียวกับพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 7
ข้อนั้น พึงเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนจํานวนมาก เพื่อความสุขแก่ชนจํานวนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย. เมื่อพวกเขากล่าวอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะจอมเทพจึงได้ตรัสคํานี้ กะพวกเทพชั้นดาวดึงส์ว่า เพื่อนทั้งหลายข้อนั้น เป็นไปไม่ได้จริงๆ ไม่ใช่โอกาสที่ในโลกธาตุหนึ่ง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พึงเกิดขึ้นไม่ก่อนไม่หลังกัน ฐานะนี้มีไม่ได้ โอ้หนอเพื่อนทั้งหลาย ขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแหละ ทรงมีพระอาพาธน้อย ทรงมีพระโรคน้อย พึงทรงดํารงยืนนาน สิ้นกาลนานเถิด ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนจํานวนมาก เพื่อความสุขแก่ชนจํานวนมากเพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย. ครั้งนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์ที่มานั่งประชุมพร้อมกันที่สุธรรมาสภา เพื่อประโยชน์อันใด แม้มหาราชทั้ง ๔ พระองค์ ก็พากันคิดประโยชน์นั้นปรึกษากันถึงประโยชน์นั้น ตรัสแต่คําที่กล่าวถึงประโยชน์นั้น มหาราชทั้ง ๔ พระองค์ ก็ตรัสพร่ําสอนเฉพาะแต่เรื่องประโยชน์นั้น ในเพราะประโยชน์นั้น จึงประทับบนอาสนะของตนๆ ไม่ยอมแยกย้าย.
[๒๑๓] ท้าวเธอเหล่านั้น กล่าวแต่คําที่กล่าวแล้ว รับคําพร่ําสอน เป็นผู้มีจิตผ่องใสแล้ว ได้ประทับบนอาสนะของตน.
บุพพนิมิตแห่งการปรากฏขึ้นของพรหม
[๒๑๔] ครั้นนั้นแล ทางทิศเหนือเกิดแสงสว่างอันอุฬารอย่างเจิดจ้า เป็นแสงที่ปรากฏขึ้น ชนิดที่ก้าวล่วงเทวานุภาพของทวยเทพทีเดียว. ครั้งนั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 8
ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงเรียกพวกเทพชั้นดาวดึงส์มาตรัสว่า เพื่อนทั้งหลายนิมิตรทั้งหลายย่อมปรากฏ แสงสว่างอันอุฬารเกิดขึ้นอย่างแจ่มจ้า รัศมีย่อมปรากฏขึ้นมาโดยประการใด พรหมก็จักปรากฏขึ้นโดยประการนั้น เพราะเกิดแสงสว่างอย่างเจิดจ้า รัศมีก็ปรากฏขึ้นมานี้ เป็นบุพพนิมิตแห่งการปรากฏของพรหม.
[๒๑๕] นิมิตทั้งหลายย่อมปรากฏโดยประการใด พรหมก็จักปรากฏโดยประการนั้นเพราะการที่โอภาสอันไพบูลย์มาก ปรากฏนี้เป็นบุพพนิมิตของพรหม.
[๒๑๖] ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าข้า พวกเทพชั้นดาวดึงส์นั่งบนอาสนะของตนๆ แล้วพูดว่า พวกเราจักรู้แสงนั้น สิ่งใดจักเป็นวิบาก เราทําให้แจ้งสิ่งนั้น แล้วจึงจักไป. แม้มหาราชทั้ง ๔ พระองค์ ก็ประทับนั่งบนอาสนะของตนๆ แล้วก็ตรัสว่า พวกเราจักรู้แสงนั้น สิ่งใดจักเป็นวิบาก เราทําให้แจ้งสิ่งนั้นแล้ว จึงจักไป. เมื่อฟังคํานี้แล้ว พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ทําใจให้แน่วแน่ สงบอยู่ด้วยคิดว่า เราจักรู้แสงนั้น ผลจักเป็นอย่างไร เราทําให้แจ้งผลนั้นแล้ว จึงจักไป. ตอนที่สนังกุมารพรหมจะปรากฏกายแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ท่านจําแลงอัตภาพชนิดหยาบแล้ว จึงปรากฏ. ก็แหละผิวพรรณโดยปกติของพรหม ไม่พึงปรากฏในสายตาของพวกเทพชั้นดาวดึงส์ได้ ตอนที่สนังกุมารพรหมจะปรากฏกายแก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ท่านรุ่งเรืองยิ่งกว่าหมู่เทพเหล่าอื่นทั้งโดยรัศมี ทั้งโดยยศ. ตอนที่สนังกุมารพรหมปรากฏกายแก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ท่านรุ่งเรืองยิ่งกว่าหมู่เทพเหล่าอื่นทั้งโดยรัศมี ทั้งโดยยศ แม้ถ้าจะเปรียบก็เหมือนร่างทอง ย่อมรุ่งเรืองยิ่งกว่าร่างที่เป็นของมนุษย์ ฉะนั้นแล. ตอนที่สนังกุมารพรหมปรากฏกายแก่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 9
พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ในบริษัทนั้นไม่มีเทพองค์ใด อภิวาทลุกขึ้นรับ หรือเชื้อเชิญด้วยอาสนะเลย. นิ่งกันหมดเทียว ประณมมือนั่งบนบัลลังก์ คราวนี้สนังกุมารพรหมจักต้องการบัลลังก์ ของเทพองค์ใด ก็จักนั่งบนบัลลังก์ของเทพองค์นั้น. ก็สนังกุมารพรหม นั่งบนบัลลังก์ของเทพองค์ใดแล เทพองค์นั้นก็ย่อมได้รับความยินดีอันยิ่งใหญ่ เทพองค์นั้นย่อมได้รับความดีใจอันยิ่งใหญ่. สนังกุมารพรหม นั่งบนบัลลังก์ของเทพองค์ใด เทพองค์นั้นก็ย่อมได้รับความยินดีอันยิ่งใหญ่ เทพองค์นั้นย่อมได้รับความดีใจอันยิ่งใหญ่ ถ้าจะเปรียบก็เหมือนพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ ได้รับมุรธาภิเษก ได้รับอภิเษกมาไม่นานพระราชานั้นย่อมจะทรงได้รับความยินดีอันยิ่งใหญ่ พระราชานั้นย่อมจะทรงได้รับซึ่งความดีพระทัยอันยิ่งใหญ่ ฉะนั้น.
คาถาอนุโมทนาของสนังกุมารพรหม
ครั้งนั้น สนังกุมารพรหมทราบ ความเลื่อมใสพร้อมของทวยเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็หายไป อนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
[๒๑๗] โอหนอ ท่านผู้เจริญ พวกเทพชั้นดาวดึงส์ พร้อมกับพระอินทร์ ย่อมบันเทิงไหว้อยู่ซึ่งพระตถาคต และความที่พระธรรมเป็นธรรมดี.
เห็นอยู่ซึ่งพวกเทพรุ่นใหม่เทียว ผู้มีรัศมี มียศ ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสุคตแล้วมาในที่นี้.
พวกเทพเหล่านั้นรุ่งเรืองยิ่งกว่าพวกเทพเหล่าอื่น โดยรัศมี โดยยศ โดยอายุ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 10
เป็นสาวกของพระผู้มีปัญญาเหมือนแผ่นดิน บรรลุคุณวิเศษแล้วในสวรรค์ชั้นนี้.
พวกเทพชั้นดาวดึงส์ พร้อมทั้งพระอินทร์ เห็นข้อนี้แล้วจึงต่างยินดีไหว้อยู่ซึ่งพระตถาคต และความที่ธรรมเป็นธรรมดี.
เสียงของสนังกุมารพรหม
[๒๑๘] สนังกุมารพรหม ได้ภาษิตข้อความนี้แล้ว. เมื่อสนังกุมารพรหมกําลังกล่าวข้อความนี้อยู่ ย่อมมีน้ำเสียงที่ประกอบพร้อมด้วยองค์ ๘ คือเสียงแจ่มใส ๑ เสียงเข้าใจ (ง่าย) ๑ เสียงไพเราะ ๑ เสียงน่าฟัง ๑ เสียงหยดย้อย ๑ เสียงไม่แตกพร่า ๑ เสียงลึก ๑ เสียงกังวาน ๑. สนังกุมารพรหม ย่อมทําให้บริษัทเข้าใจแจ่มแจ้งด้วยเสียง และเสียงของท่านไม่เปล่งก้องไปภายนอกบริษัทเลย ก็ผู้ใดแลมีเสียงที่ประกอบพร้อมด้วยองค์แปดอย่างนี้ ผู้นั้นท่านเรียกว่าผู้มีเสียงเหมือนพรหม. ครั้งนั้นแล พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้กล่าวคํานี้กับสนังกุมารพรหมว่า สาธุมหาพรหม พวกข้าพเจ้า พิจารณาข้อนี้นั่นแล จึงโมทนา ยังมีพระคุณตามความเป็นจริง ๘ ประการ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ท้าวสักกะจอมทวยเทพได้ทรงภาษิตไว้แล้ว และพวกข้าพเจ้าก็ได้พิจารณาถึงพระคุณเหล่านั้นแล้ว จึงโมทนา. ครั้งนั้นแล สนังกุมารพรหมจึงได้ทูลคํานี้กับท้าวสักกะจอมทวยเทพว่า ดีละ จอมทวยเทพ แม้หม่อมฉันก็พึงฟังพระคุณตามที่เป็นจริง ๘ ประการ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. ท้าวสักกะจอมทวยเทพฟังเฉพาะคําของสนังกุมารพรหมนั่นแลว่า อย่างนั้นท่านมหาพรหม แล้วจึงตรัสพระคุณตามที่เป็นจริงแปดประการของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านมหาพรหมผู้เจริญ จะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คือ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 11
พระคุณ ๘ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
[๑] ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ทรงปฏิบัติ เพื่อความเกื้อกูลแก่ชนจํานวนมาก เพื่อความสุขแก่ชนจํานวนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มาสักเพียงไร. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่ปฏิบัติเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนจํานวนมาก เพื่อความสุขแก่ชนจํานวนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอย่างนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต และไม่ว่าในปัจจุบันนี้เลย นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
[๒] พระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่พึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เรียกให้มาพิสูจน์ดูได้ น้อมเอามาใช้ได้ พวกผู้รู้พึงทราบเฉพาะตน. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่แสดงธรรมที่น้อมเอามาใช้ได้อย่างนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีตและไม่ว่าในปัจจุบันนี้เลย นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
[๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติไว้แล้วเป็นอย่างดีว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล. นี้มีโทษ. นี้ไม่มีโทษ. นี้พึงเสพ. นี้ไม่พึงเสพ. นี้เลว. นี้ประณีต. นี้ดํา ขาว มีส่วนคล้ายกัน. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่บัญญัติธรรมที่เป็นกุศลอกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ พึงเสพ ไม่พึงเสพ เลวประณีต ดํา ขาว มีส่วนคล้ายกันอย่างนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์แม้นี้ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต หรือปัจจุบันนี้ นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
[๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติข้อปฏิบัติสําหรับนําไปถึงพระนิพพานแก่พระสาวกทั้งหลาย ทั้งพระนิพพาน ทั้งข้อปฏิบัติ ก็
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 12
กลมกลืนกัน เป็นอย่างดีแล้ว. น้ำจากแม่น้ำคงคากับน้ำจากแม่น้ำยมุนา ย่อมกลมกลืนกัน เข้ากันได้อย่างเรียบร้อย ชื่อแม้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงบัญญัติข้อปฏิบัติสําหรับไปให้ถึงพระนิพพานแก่พระสาวกทั้งหลาย ทั้งพระนิพพาน ทั้งข้อปฏิบัติก็กลมกลืนกัน เป็นอย่างดีแล้ว ฉันนั้นนั่นเทียว. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาผู้ที่บัญญัติข้อปฏิบัติสําหรับไปให้ถึงพระนิพพานได้อย่างนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต และไม่ว่าปัจจุบันนี้เลย นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
[๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงได้พระสหายแห่งข้อปฏิบัติของพระผู้ยังต้องศึกษาอีกเทียว และพระผู้สิ้นอาสวะ ผู้จบวัตรแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงติดด้วยข้อปฏิบัติ และวัตรนั้น ทรงตามประกอบความเป็นผู้เดียว เป็นที่มาแห่งความยินดีอยู่. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่ทรงประกอบความเป็นผู้ยินดีในความเป็นผู้เดียวอย่างนี้ ผู้ถึงความพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต และไม่ว่าปัจจุบันนี้เลย นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
[๖] ลาภสําเร็จอย่างยิ่ง ชื่อเสียงก็สําเร็จอย่างยิ่ง แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ปานกับพวกกษัตริย์ที่ทรงพระสิริโฉมสง่า น่ารักอยู่ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล ทรงปราศจากความเมา เสวยพระอาหาร. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่ปราศจากความเมา บริโภคอาหารอยู่อย่างนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต และไม่ว่าปัจจุบันนี้เลย นอกจากพระตถาคตเจ้าพระองค์นั้น.
[๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้มีปกติตรัสอย่างไร ก็ทรงมีปกติทําอย่างนั้น ทรงมีปกติทําอย่างไร ก็ทรงมีปกติตรัสอย่างนั้นด้วยประการฉะนี้ ก็เป็นอันว่า ทรงเป็นผู้มีปกติตรัสอย่างไร ก็ทรงมีปกติทํา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 13
อย่างนั้น ทรงมีปกติทําอย่างไร ก็ทรงมีปกติตรัสอย่างนั้น. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมอย่างนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์แม้นี้ไม่ว่าในส่วนอดีตหรือในปัจจุบันนี้ ยกเว้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
[๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงข้ามความสงสัยได้แล้วปราศจากความเคลือบแคลง สิ้นสุดความดําริเกี่ยวกับอัชฌาสัย เกี่ยวกับข้อปฏิบัติ อันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์. เราไม่พิจารณาเห็นศาสดาที่ข้ามความสงสัยได้ ปราศจากความเคลือบแคลงสิ้นสุดความดําริ เกี่ยวกับอัชฌาสัยเกี่ยวกับข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์อย่างนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์แม้นี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนอดีต และไม่ว่าปัจจุบันนี้เลย ยกเว้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
พระพุทธเจ้าข้า ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ได้ตรัสถึงพระคุณตามที่เป็นจริง ๘ ประการ เหล่านี้แก่ สนังกุมารพรหม.
[๒๑๙] เพราะเหตุนั้น พระเจ้าข้า จึงเล่ากันมาว่า สนังกุมารพรหมจึงชื่นใจ บันเทิง เกิดปิติโสมนัส เมื่อได้ฟังพระคุณตามที่เป็นจริง ๘ ประการของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ครั้งนั้น สนังกุมารพรหม นิมิตอัตภาพใหญ่ยิ่งเป็นเพศกุมาร ไว้ผม ๕ จุก ปรากฏแก่ทวยเทพชั้นดาวดึงส์. สนังกุมารพรหมนั้นเหาะขึ้นสู่ฟ้านั่งโดยบัลลังก์ในอากาศ บุรุษมีกําลังพึงนั่งบนบัลลังก์ที่ปูลาดไว้เป็นอย่างดี หรือโดยบัลลังก์บนภาคพื้นที่เสมอแม้ฉันใด สนังกุมารพรหมก็ฉันนั้น เหาะขึ้นสู่ฟ้า นั่งโดยบัลลังก์ในอากาศแล้ว เรียกพวกเทพชั้นดาวดึงส์ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกเทพชั้นดาวดึงส์จะสําคัญข้อนั้นเป็นไฉนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระปัญญายิ่งใหญ่มาตลอดกาลนานเพียงไร.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 14
เรื่องพระเจ้าทิสัมบดี
ท่านผู้เจริญ เคยมีพระราชาพระนามว่า ทิสัมบดีมาแล้ว. พระเจ้าทิสัมบดีได้ทรงมีพราหมณ์ที่ปรึกษาชี่อโควินท์. พระเจ้าทิสัมบดี ทรงมีพระราชบุตรพระนามว่า เรณุกุมาร. สําหรับโควินทพราหมณ์ได้มีบุตรชื่อ โชติบาลมาณพ. ด้วยประการฉะนี้ จึงได้มีเพื่อน ๘ คน คือเรณุราชบุตร ๑ โชติบาลมาณพ ๑ และกษัตริย์ อื่นอีก ๖ องค์. ครั้งนั้นแล โดยกาลล่วงไปแห่งวันและคืน โควินทพราหมณ์ได้ทํากาละแล้ว. ครั้นโควินทพราหมณ์ตายแล้วพระเจ้าทิสัมบดี ก็ทรงคร่ําครวญว่า โอ้หนอ ในสมัยใด เรามอบหมายงานทุกอย่างในโควินทพราหมณ์อิ่มเอิบสะพรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณทั้ง ๕ ให้เขาบําเรออยู่ ก็ในสมัยนั้นแลโควินทพราหมณ์ ตายไปเสียแล้ว. เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีตรัสอย่างนี้แล้ว เรณุราชบุตรก็กราบทูลคํานี้ กับพระเจ้าทิสัมบดีว่าข้าแต่เทวะ ขอพระองค์อย่าทรงคร่ําครวญในเพราะโควินทพราหมณ์ตายเลยลูกชายของโควินทพราหมณ์ชื่อโชติบาลยังมีอยู่ ฉลาดกว่าบิดาเสียด้วย และสามารถมองเห็นอรรถกว่าเสียด้วย. บิดาของเขาพร่ําสอนข้อความแม้เหล่าใดข้อความแม้เหล่านั้นเขาก็พร่ําสอนแก่โชติบาลมาณพทั้งนั้น. อย่างนั้นหรือพ่อกุมาร พระเจ้าทิสัมบดีตรัสถาม. อย่างนั้น เทวะ พระกุมารกราบทูล. ครั้งนั้นแล พระเจ้าทิสัมบดีจึงทรงเรียกบุรุษคนใดคนหนึ่งมาสั่งว่า นี่บุรุษ เธอมานี่ เธอจงไปหาโชติบาลมาณพ แล้วจงกล่าวกะโชติบาลมาณพอย่างนี้ว่า ขอความเจริญจงมีแก่โชติบาลมาณพผู้เจริญ พระเจ้าทิสัมบดีรับสั่งเรียกโชติบาลมาณพผู้เจริญ พระเจ้าทิสัมบดีทรงใคร่จะทอดพระเนตรโชติบาลมาณพผู้เจริญ. บุรุษนั้นรับสนองพระราชโองการของพระเจ้าทิสัมบดีแล้วก็เข้าไปหาโชติบาลมาณพ ครั้นเข้าไปแล้วก็ได้กล่าวคํานี้กะโชติบาลมาณพว่า ขอความเจริญจงมีแก่ท่านโชติบาลมาณพ พระเจ้าทิสัมบดีสั่งให้เรียกท่านโชติบาลมาณพ พระเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 15
ทิสัมบดีทรงใคร่จะทอดพระเนตรท่านโชติบาลมาณพ. โชติบาลมาณพสนองตอบแก่บุรุษนั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าทิสัมบดี บันเทิงเป็นอันดี กับพระเจ้าทิสัมบดี ครั้นเสร็จสิ้นถ้อยคํา ชื่นชมพอให้เกิดความคิดถึงกันแล้ว จึงนั่งในที่ส่วนหนึ่ง. พระเจ้าทิสัมบดีได้ตรัสคํานี้กับโชติบาลมาณพ ผู้นั่งในที่ส่วนหนึ่งว่า ขอให้ท่านโชติบาลจงพร่ําสอนพวกเราเถิด ขอท่านโชติบาลอย่าทําให้พวกเราเสื่อมเสียจากคําพร่ําสอนเลย เราจะตั้งท่านในตําแหน่งบิดา เราจักอภิเษกในตําแหน่งท่านโควินท์. โชติบาลมาณพ รับสนองพระราชโองการของพระเจ้าทิสัมบดีว่าอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. ครั้งนั้นแล ท่านผู้เจริญ พระเจ้าทิสัมบดีทรงอภิเษกโชติบาลมาณพในตําแหน่งท่านโควินท์ ตั้งไว้ในตําแหน่งบิดาแล้ว.
ชื่อมหาโควินท์
โชติบาลมาณพได้รับอภิเษกในตําแหน่งท่านโควินท์ ได้รับแต่งตั้งในตําแหน่งบิดาแล้ว บิดาพร่ําสอนข้อความแม้เหล่าใด แก่พระเจ้าทิสัมบดีนั้นก็พร่ําสอนข้อความแม้เหล่านั้น แม้ข้อความเหล่าใด ที่บิดามิได้พร่ําสอนแด่พระเจ้าทิสัมบดี ก็มิได้พร่ําสอนข้อความแม้เหล่านั้น บิดาจัดการงานแม้เหล่าใด แด่พระเจ้าทิสัมบดีนั้น ก็จัดการงานแม้เหล่านั้น บิดามิได้จัดการงานเหล่าใดแก่พระเจ้าทิสัมบดีก็ไม่จัดการงานเหล่านั้น คนทั้งหลายกล่าวขวัญถึงเขาอย่างนี้ว่า ท่านโควินทพราหมณ์หนอ ท่านมหาโควินทพราหมณ์หนอ. ด้วยปริยายอย่างนี้แล มหาโควินท์ ชื่อนี้จึงได้เกิดขึ้นแล้วแก่โชติบาลมาณพ.
เรื่องเรณุราชบุตร
[๒๒๐] ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ เข้าไปเฝ้ากษัตริย์ ๖ พระองค์เหล่านั้นแล้ว ได้ทูลคํานี้กับกษัตริย์ ๖ พระองค์เหล่านั้นว่า ข้าแต่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 16
พระองค์ พระเจ้าทิสัมบดีแล ทรงพระชราแล้ว เป็นผู้เฒ่าแล้ว เป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว ก็ใครเล่าหนอจะรู้ชีวิต ข้อนี้ย่อมเป็นไปได้ทีเดียว คือข้อที่ว่า เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีเสด็จสวรรคตแล้ว พวกข้าราชการก็จะพึงอภิเษกเจ้าเรณุราชบุตรในราชสมบัติ มาเถิดพระองค์ ขอให้พวกพระองค์เข้าเฝ้าเจ้าเรณุผู้ราชบุตร ทูลอย่างนี้ว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าแล เป็นพระสหาย ที่โปรดปรานที่ชื่นพระทัยไม่เป็นที่สะอิดสะเอียนของพระองค์เรณุ ใต้ฝ่าพระบาททรงมีความสุขอย่างไร พวกข้าพระพุทธเจ้าก็มีความสุขอย่างนั้น ใต้ฝ่าพระบาททรงมีความทุกข์อย่างไร พวกข้าพระพุทธเจ้าก็มีความทุกข์อย่างนั้น พระเจ้าทิสัมบดีแล ทรงพระชราแล้ว เป็นผู้เฒ่าแล้ว เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว ก็ใครเล่าหนอจะรู้ชีวิต ข้อนี้ย่อมเป็นไปได้ทีเดียว คือข้อที่ว่า เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีเสร็จสวรรคตแล้ว พวกข้าราชการก็จะพึงอภิเษกพระองค์เรณุในราชสมบัติ ถ้าพระองค์เรณุพึงทรงได้ราชสมบัติ ก็จะพึงทรงแบ่งราชสมบัติแก่พวกข้าพระพุทธเจ้า. หกกษัตริย์เหล่านั้น ต่างทรงรับคําของมหาโควินทพราหมณ์แล้วทรงเข้าไปเฝ้าเจ้าเรณุราชบุตร แล้วได้กราบทูลคํานี้กะเจ้าเรณุราชบุตรว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าแล เป็นพระสหายที่โปรดปรานที่ชื่นพระทัยไม่เป็นที่สะอิดสะเอียนของพระองค์เรณุ ใต้ฝ่าพระบาททรงมีความสุขอย่างไรพวกข้าพระพุทธเจ้าก็มีความสุขอย่างนั้น ใต้ฝ่าพระบาททรงมีความทุกข์อย่างไร พวกข้าพระพุทธเจ้าก็มีความทุกข์อย่างนั้น พระเจ้าทิสัมบดีแล ทรงพระชราแล้ว เป็นผู้เฒ่าแล้ว เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว ก็ใครเล่าหนอจะรู้ชีวิต ข้อนี้ย่อมเป็นไปทีเดียว คือข้อที่ว่า เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีเสด็จสวรรคตแล้ว พวกข้าราชการก็จะพึงอภิเษกพระองค์เรณุในราชสมบัติ ถ้าใต้ฝ่าพระบาทพระองค์เรณุพึงทรงได้ราชสมบัติ ก็จะทรงแบ่งราชสมบัติแก่พวกข้าพระพุทธเจ้า. คนอื่นใครเล่าหนอ พึงมีความสุขในแว่นแคว้นของหม่อมฉัน นอกจาก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 17
พวกท่าน ถ้าหม่อมฉันจักได้ราชสมบัติ หม่อมฉันจักแบ่งราชสมบัติแก่พวกท่าน เรณุราชบุตรตรัส.
พระเจ้าเรณุได้รับอภิเษก
ครั้งนั้นแล โดยการล่วงไปแห่งวันและคืน พระเจ้าทิสัมบดีก็เสด็จสวรรคตแล้ว เมื่อพระเจ้าทิสัมบดีเสด็จสวรรคตแล้ว พวกข้าราชการก็อภิเษกเจ้าเรณุราชบุตรในราชสมบัติ. เจ้าเรณุได้รับอภิเษกแล้วก็ทรงเอิบอิ่มเพรียบพร้อมไปด้วยกามคุณทั้ง ๕ ให้บําเรออยู่. ครั้นนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ เข้าไปเฝ้ากษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้น แล้วได้กราบทูลคํานี้กับกษัตริย์ ๖ พระองค์นั้นว่า พระเจ้าทิสัมบดีสวรรคตแล้วแล. เจ้าเรณุก็ได้รับอภิเษกด้วยราชสมบัติทรงเอิบอิ่มเพรียบพร้อมไปด้วยกามคุณทั้ง ๕ ให้บําเรออยู่ ก็ใครเล่าหนอ จะรู้ว่ากามทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา เชิญเถิดพระองค์ พวกพระองค์จงทรงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าเรณุ แล้วกราบทูลพระเจ้าเรณุอย่างนี้ว่า ขอเดชะพระเจ้าทิสัมบดีของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ก็เสด็จสวรรคตไปแล้ว พระองค์เรณุเล่าก็ทรงได้รับอภิเษกด้วยราชสมบัติแล้ว พระองค์ทรงระลึกถึงพระราชดํารัสนั้นได้อยู่หรือ. ท่านหกกษัตริย์นั้น ทรงตอบรับคําของมหาโควินทพราหมณ์แล้วจึงพากันเข้าเฝ้าพระเจ้าเรณุ แล้วได้กราบทูลคํานี้กะพระเจ้าเรณุว่า ขอเดชะ พระเจ้าทิสัมบดี ก็เสด็จสวรรคตไปแล้ว. ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทพระองค์เรณุเล่า ก็ทรงได้รับอภิเษกด้วยราชสมบัติแล้วพระองค์ยังทรงระลึกพระราชดํารัสนั้นได้อยู่หรือ. หม่อมฉันยังจําได้อยู่ท่าน พระเจ้าเรณุตอบแล้ว ตรัสอีกว่า ใครเล่าหนอจะสามารถแบ่งมหาปฐพีนี้ ที่ยาวไปทางเหนือและใต้เป็นเหมือนทางเกวียนให้เป็น ๗ ส่วนเท่าๆ กันได้ เป็นอย่างดีละท่าน. คนอื่นนอกจากมหาโควินทพราหมณ์แล้ว ใครเล่าหนอจะสามารถ. ครั้งนั้นแล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 18
พระเจ้าเรณุรับสั่งกับบุรุษคนใดคนหนึ่งว่า บุรุษ เธอมานี่ เธอจงไปหามหาโควินทพราหมณ์ แล้วกล่าวกะมหาโควินทพราหมณ์อย่างนี้ว่า พระเจ้าเรณุรับสั่งเรียกใต้เท้า. บุรุษนั้น รับสนองพระราชโองการของพระเจ้าเรณุว่าขอรับใส่เกล้า พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้แล้ว จึงไปหามหาโควินทพราหมณ์แล้วได้กล่าวคํานี้กะมหาโควินทพราหมณ์ว่า พระคุณท่าน พระเจ้าเรณุสั่งเรียกใต้เท้า ขอรับกระผม. มหาโควินทพราหมณ์ก็รับคําของบุรุษนั้น แล้วจึงเข้าเฝ้าพระเจ้าเรณุ แล้วกราบทูลสนทนาสัมโมทนียกถาพอให้คิดถึงกันแล้วจึงนั่งที่ส่วนข้างหนึ่ง. พระเจ้าเรณุ ได้ทรงมีพระราชดํารัสนี้กับมหาโควินทพราหมณ์ ผู้นั่งแล้วที่ส่วนข้างหนึ่งนั่นแหละว่า ท่านโควินท์จงมาแบ่งมหาปฐพีนี้ที่ยาวไปทางเหนือและทางใต้เป็นเหมือนทางเกวียนให้เป็น ๗ ส่วนอย่างดีเท่ากัน. ท่านมหาโควินทพราหมณ์ รับสนองพระราชบัญชาของพระเจ้าเรณุ แล้วก็แบ่งชนิดแบ่งอย่างดีซึ่งมหาปฐพีนี้ ที่ยาวไปทางเหนือและทางใต้เป็นเหมือนทางเกวียนเป็น ๗ ส่วนเท่ากัน คือทั้งทุกส่วนให้เหมือนทางเกวียน เล่ากันมาว่าส่วนตรงท่ามกลางนั้นเป็นชนบทของพระเจ้าเรณุ.
[๒๒๑] เมืองที่โควินท์สร้างไว้แล้วเหล่านี้คือ ทันตปุระแห่งแคว้นกาลิงค์ ๑ โปตนะแห่งแคว้นอัสสกะ ๑ มาหิสสดี (มเหสัย) แห่งแคว้นอวันตี ๑ โรรุกะแห่งแคว้นโสจิระ (สะวีระ) ๑ มิถิลาแห่งแคว้นวิเทหะ ๑ สร้างเมืองจัมปาในแคว้นอังคะ ๑ และพาราณสีแห่งแคว้นกาสี ๑ .
[๒๒๒] ครั้งนั้นแล กษัตริย์ ๖ พระองค์นั้นทรงเป็นผู้ชื่นใจ ทรงมีความดําริเต็มที่แล้วด้วยลาภตามที่เป็นของตน ทรงคิดว่า โอหนอ พวกเรา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 19
ได้สิ่งที่เราอยากได้ สิ่งที่เราหวัง สิ่งที่เราประสงค์ สิ่งที่เราปรารถนาอย่างยิ่งแล้ว.
[๒๒๓] ในครั้งนั้น มีมหาราชผู้ทรงภาระ ๗ พระองค์คือ พระเจ้าสัตตภู ๑ พระเจ้าพรหมทัต ๑ พระเจ้าเวสสภู ๑ พระเจ้าภรตะพระเจ้าเรณุ ๑ พระเจ้าธตรัฐอีก ๒ พระองค์ดังนี้แล.
จบ ปฐมภาณวาร.
เกียรติศัพท์อันงามของมหาโควินท์
[๒๒๔] ครั้งนั้นแล กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้น เสด็จไปหามหาโควินทพราหมณ์แล้ว ได้ตรัสคํานี้กะมหาโควินทพราหมณ์ว่า ท่านโควินท์ผู้เจริญ เป็นพระสหายที่โปรดปรานที่ชอบพระทัยไม่เป็นที่สะอิดสะเอียนของพระเจ้าเรณุฉันใดแล ท่านโควินทผู้เจริญ ก็เป็นสหายเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจไม่เป็นที่รังเกียจแม้ของพวกเรา ฉันนั้นเหมือนกัน ขอให้ท่านพราหมณ์โควินท์ผู้เจริญได้โปรดพร่ําสอนพวกเราเถิด ขอท่านพราหมณ์โควินท์อย่าให้พวกเราเสื่อมเสียจากคําพร่ําสอน. ท่านพราหมณ์ มหาโควินท์ ทูลสนองพระดํารัสของกษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ ผู้ทรงได้รับมุรธาภิเษก เสร็จแล้วเหล่านั้นว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้แล. ครั้งนั้นแล ท่านพราหมณ์ มหาโควินท์ พร่ําสอนพระราชา ๗ พระองค์ ผู้เป็นกษัตริย์ได้รับมุรธาภิเษกด้วยราชสมบัติแล้วด้วยอนุสาสนี สอนพราหมณ์มหาศาล ๗ คน และสอนมนต์แก่ข้าบริวาร ๗๐๐ คน. ครั้งนั้นแล โดยสมัยอื่นอีก เกียรติศัพท์อันงามอย่างนี้ ของพราหมณ์มหาโควินท์ กระฉ่อนไปว่า พราหมณ์มหาโควินท์อาจเห็นพรหม พราหมณ์มหาโควินท์อาจสากัจฉา สนทนา ปรึกษากันกับพรหม. ครั้งนั้นแล ความ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 20
ตรึกนี้ได้มีแล้วแก่พราหมณ์มหาโควินท์ว่า เกียรติศัพท์อันงามอย่างนี้ของเราแล กระฉ่อนไปแล้วว่า พราหมณ์มหาโควินท์อาจเห็นพรหม พราหมณ์มหาโควินท์อาจสากัจฉา สนทนา ปรึกษา กับพรหม จึงคิดว่า ก็เราเองย่อมไม่เห็นพรหม ยังไม่สากัจฉากับพรหม ยังไม่สนทนากับพรหม ยังไม่ปรึกษากับพรหมเลย แต่เราก็ได้ฟังคํานี้ของพวกพราหมณ์ผู้เฒ่าเป็นผู้หลักผู้ใหญ่เป็นอาจารย์ของอาจารย์ กล่าวอยู่ว่า ผู้ใดหลีกเร้น ๔ เดือนในฤดูฝน เพ่งกรุณาอยู่ ผู้นั้นย่อมเห็นพรหมได้ ย่อมสากัจฉา สนทนาปรึกษากับพรหมก็ได้เพราะเหตุนั้น ถ้าไฉนเราพึงหลีกเร้น ๔ เดือน ในฤดูฝน พึงเพ่งกรุณาฌาน. ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าเรณุ แล้วกราบทูลคํานี้กับพระเจ้าเรณุว่า ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เกียรติศัพท์อันงามอย่างนี้ของข้าพระพุทธเจ้าแล ฟุ้งไปว่า มหาโควินทพราหมณ์อาจเห็นพรหมก็ได้ มหาโควินทพราหมณ์อาจจะสากัจฉา สนทนา ปรึกษากับพรหมได้ ขอเดชะข้าพระพุทธเจ้าเองเห็นพรหมไม่ได้เลย จะสากัจฉากับพรหมก็ไม่ได้ จะสนทนากับพรหมก็ไม่ได้ จะปรึกษากับพรหมก็ไม่ได้ แต่ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคํานี้ของพวกพราหมณ์ผู้เฒ่า เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นอาจารย์ของอาจารย์กล่าวอยู่ว่า ผู้ใดหลีกเร้น ๔ เดือนในฤดูฝน เพ่งกรุณาอยู่ ผู้นั้นจะเห็นพรหมได้ จะสากัจฉา จะสนทนา จะปรึกษากับพรหมก็ได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงอยากจะหลีกเร้นไป ๔ เดือนในฤดูฝน เพ่งกรุณาฌาน เป็นผู้อันใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาเลย ยกเว้นแต่ผู้นําอาหารคนเดียว. พระเจ้าเรณุตรัสว่าบัดนี้ท่านโควินท์ผู้เจริญ ย่อมสําคัญเวลาอันสมควร.
มหาโควินท์เข้าเฝ้า ๖ กษัตริย์
ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ จึงเข้าไปเฝ้ากษัตริย์ ๖ พระองค์นั้น แล้วได้กราบทูลคํานี้กะกษัตริย์๖ พระองค์นั้นว่า พระเจ้าข้า เกียรติศัพท์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 21
อันงามอย่างนี้ ของข้าพระพุทธเจ้าฟุ้งไปว่า มหาโควินทพราหมณ์ อาจเห็นพรหมก็ได้ อาจจะสากัจฉา จะสนทนา จะปรึกษากับพรหมก็ได้ ข้าพระพุทธเจ้าเอง เห็นพรหมไม่ได้เลย จะสากัจฉากับพรหมก็ไม่ได้ จะสนทนากับพรหมก็ไม่ได้ จะปรึกษากับพรหมก็ไม่ได้ แต่ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคํานี้ของพวกพราหมณ์ผู้เฒ่าเป็นผู้หลัก ผู้ใหญ่ เป็นอาจารย์ ของอาจารย์ พูดกันอยู่ว่า ผู้ใดหลีกเร้นอยู่ ๔ เดือนในฤดูฝน เพ่งกรุณาอยู่ผู้นั้นจะเห็นพรหมได้ จะสากัจฉา จะสนทนา จะปรึกษากับพรหมก็ได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าอยากจะหลีกเร้นอยู่ ๔ เดือนในฤดูฝน เพ่งกรุณาฌาน เป็นผู้อันใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาเลย ยกเว้นแต่คนที่นําอาหาร ไปส่งคนเดียว. กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้น ก็ทรงอนุญาตว่า บัดนี้ ท่านโควินท์ผู้เจริญ ย่อมสําคัญเวลาอันสมควร.
ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ เข้าไปหาพราหมณ์มหาศาลทั้ง ๗ และข้าบริวาร ๗๐๐ คน แล้วได้กล่าวคํานี้กะพราหมณ์มหาศาล ๗ คน และข้าบริวาร ๗๐๐ คนว่า เกียรติศัพท์อันงามอย่างนี้ ของข้าพเจ้าฟุ้งขจรไปว่ามหาโควินทพราหมณ์ อาจเห็นพรหมก็ได้ มหาโควินทพราหมณ์อาจจะสากัจฉาจะสนทนา จะปรึกษากับพรหมก็ได้ ตัวข้าพเจ้าเองก็ไม่เห็นพรหมเลย จะสากัจฉากับพรหมก็ไม่ได้ จะสนทนากับพรหมก็ไม่ได้ จะปรึกษากับพรหมก็ไม่ได้ แต่ข้าพเจ้าได้ฟังคํานี้ของพวกพราหมณ์ผู้เฒ่าเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นอาจารย์ของอาจารย์พูดกันอยู่ว่า ผู้ใดหลีกเร้นอยู่ ๔ เดือน ในฤดูฝน เพ่งกรุณาฌานอยู่ ผู้นั้นจะเห็นพรหมได้ จะสากัจฉา จะสนทนา จะปรึกษากับพรหมก็ได้ถ้าเช่นนั้น ขอให้พวกท่านจงทําสาธยายมนต์ทั้งหลายตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เรียนมาโดยพิสดาร จงสอนมนต์กันและกันเถิด ข้าพเจ้าอยากจะหลีกเร้น ๔ เดือนในฤดูฝน เพ่งกรุณาฌาน เป็นผู้อันใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาเลย ยกเว้นแต่คนส่งอาหารคนเดียว. คนเหล่านั้นกล่าวว่า บัดนี้ ท่านโควินท์ผู้เจริญ ย่อม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 22
สําคัญเวลาอันสมควรเถิด. ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์เข้าไปหาภริยา ๔๐ นาง ผู้เสมอกันแล้วก็ได้กล่าวคํานี้กะภรรยาทั้ง ๔๐ นางผู้เสมอกัน ว่า แนะนางผู้เจริญ เกียรติศัพท์อันงามอย่างนี้ ของฉันแล ฟุ้งขจรไปแล้วว่า มหาโควินทพราหมณ์ อาจเห็นพรหมก็ได้ อาจจะสากัจฉา จะสนทนา จะปรึกษากับพรหมก็ได้ ฉันเองเห็นพรหมไม่ได้เลย จะสากัจฉากับพรหมก็ไม่ได้ จะสนทนากับพรหมก็ไม่ได้ จะปรึกษากับพรหมก็ไม่ได้ แต่ฉันได้ฟังคํานี้ของพวกพราหมณ์ผู้เฒ่า เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นอาจารย์ของอาจารย์ พูดกันอยู่ว่าผู้ใดหลีกเร้นอยู่ ๔ เดือน ในฤดูฝน เพ่งกรุณาฌานอยู่ ผู้นั้นจะเห็นพรหมก็ได้ จะสากัจฉา จะสนทนา จะปรึกษากับพรหมก็ได้ เพราะเหตุนั้น ฉันอยากหลีกเร้น ๔ เดือนในฤดูฝน จะเพ่งกรุณาฌาน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหายกเว้นแต่คนส่งอาหารคนเดียว. พวกนางตอบว่า บัดนี้ ท่านโควินท์ผู้เจริญย่อมสําคัญเวลาอันสมควร.
ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ ให้สร้างสัณฐาคารใหม่ทางทิศตะวันออก แห่งพระนครนั่นเองแล้วก็หลีกเร้น ในฤดูฝนจนครบ ๔ เดือน เพ่งกรุณาฌานแล้ว ไม่มีใครเข้าไปหาท่านนอกจากคนส่งอาหารคนเดียว. ครั้งนั้นแล โดยล่วงไป ๔ เดือน ความกระสันได้มีแล้วทีเดียว ความหวาดสะดุ้งก็ได้มีแล้วแก่มหาโควินทพราหมณ์ว่า ก็แหละเราได้ฟังคํานี้ของพราหมณ์ผู้เฒ่าเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นอาจารย์ของอาจารย์ พูดกันอยู่ว่า ผู้ใดหลีกเร้นอยู่ตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน เพ่งกรุณาฌานอยู่ ผู้นั้นจะเห็นพรหมได้ จะสากัจฉา จะสนทนา จะปรึกษากับพรหมก็ได้ แต่ส่วนเราเห็นพรหมไม่ได้เลย สากัจฉากับพรหมก็ไม่ได้ สนทนากับพรหมก็ไม่ได้ ปรึกษากับพรหมก็ไม่ได้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 23
ว่าด้วยการปรากฏของสนังกุมารพรหม
ครั้งนั้นแล สนังกุมารพรหมทราบความดําริทางใจของมหาโควินทพราหมณ์ด้วยใจแล้ว ก็หายไปในพรหมโลก ได้ปรากฏต่อหน้ามหาโควินทพราหมณ์เหมือนบุรุษผู้มีกําลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น. ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์มีความกลัวตัวสั่น ขนพอง เพราะเห็นรูปอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน.
ว่าด้วยปฏิปทาให้ถึงพรหมโลก
ครั้งนั้นแล พราหมณ์มหาโควินท์ กลัวแล้วสลดแล้ว เกิดขนชูชันแล้วได้กล่าวกะพรหมสนังกุมารด้วยคาถาว่า
[๒๒๕] ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นใคร มีรัศมี มียศ มีสิริ พวกเราไม่รู้จักท่าน จึงขอถามท่าน ทําอย่างไร พวกเราจึงจะรู้จักท่านเล่า.
พวกเทพทั้งปวงในพรหมโลกย่อมรู้จักเราว่าเป็นกุมารมานมนานแล้ว ทวยเทพทั้งหมดก็รู้จักเรา โควินท์ท่านจงรู้อย่างนี้.
ที่นั่ง น้ำ น้ำมันทาเท้า และขนมสุกคลุกน้ำผึ้ง สําหรับพรหม ขอเชิญท่านด้วยของควรค่า ขอท่านจงรับของควรค่าของข้าพเจ้าเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 24
โควินท์ ท่านพูดถึงของควรค่าใด เราจะรับเอาของควรค่า (นั้น) ของท่าน เราเปิดโอกาสแล้ว ท่านจงถามอะไรๆ ที่ท่านปรารถนาเป็นอย่างยิ่ง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน และเพื่อความสุขในเบื้องหน้า.
[๒๒๖] ครั้งนั้นแล ความคิดนี้ได้มีแก่มหาโควินทพราหมณ์ว่า เราเป็นผู้ที่สนังกุมารพรหมเปิดโอกาสให้แล้ว เราพึงถามอะไรหนอแล กับสนังกุมารพรหม ประโยชน์ปัจจุบันหรือประโยชน์เบื้องหน้า ครั้งนั้นแล ความคิดนี้ได้มีแล้วแก่มหาโควินทพราหมณ์ว่า สําหรับประโยชน์ปัจจุบัน เราเป็นผู้ฉลาดแล แม้คนเหล่าอื่นก็ย่อมถามประโยชน์ปัจจุบันกะเรา อย่ากระนั้นเลยเราพึงถามประโยชน์ที่เป็นไปในภพเบื้องหน้าเท่านั้นกะสนังกุมารพรหม ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ จึงได้กล่าวคาถากับสนังกุมารพรหมว่า
[๒๒๗] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความสงสัย ขอถามท่านสนังกุมารพรหมผู้ไม่มีความสงสัยในปัญหาที่พึงรู้อื่น สัตว์ตั้งอยู่ในอะไร และศึกษาอยู่ในอะไรจึงจะถึงพรหมโลกที่ไม่ตายได้.
ดูก่อนพราหมณ์ สัตว์ละความยึดถืออัตตาว่าเป็นของเรา ในสัตว์ทั้งหลาย ที่เกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้เดียวโดดเด่น น้อมไปในกรุณาปราศจากกลิ่นเหม็น เว้นจาก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 25
เมถุน ตั้งอยู่ในธรรมนี้ และศึกษาอยู่ในธรรมนี้จึงจะถึงพรหมโลกที่ไม่ตายได้.
ข้อปฏิบัติให้ถึงพรหมโลก
[๒๒๘] ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงจากท่านว่า ละความยึดถืออัตตาเป็นของเราได้แล้ว. คนบางคนโนโลกนี้ สละกองโภคะน้อย หรือสละกองโภคะมาก สละเครือญาติน้อย หรือสละเครือญาติมาก ปลงผม และหนวด นุ่งห่มผ้าย้อมฝาด บวชเป็นบรรพชิต ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงจากท่านว่า ละความยึดถืออัตตาเป็นเราได้แล้ว ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงจากท่านว่า เป็นผู้เดียวโดดเด่น. คนบางคนในโลนนี้ ใช้ที่นอนที่นั่งเงียบอยู่ หลีกเร้นอยู่ที่ป่า โคนไม้ ภูเขาซอกเขา ถ้ำเขา ป่าช้า ราวป่า กลางแจ้ง ลอมฟาง ดังว่ามานี้ ข้าพเจ้านั้นย่อมรู้ทั่วถึงจากท่านว่า เป็นผู้เดียวโดดเด่น. ข้อว่า น้อมไปในกรุณาข้าพเจ้านั้นย่อมรู้ทั่วถึงจากท่านว่า คนบางคนในโลกนี้ แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งมีใจสหรคตด้วยกรุณาอยู่ ทิศที่สองก็อย่างนั้น ทิศที่สามก็อย่างนั้น ทิศที่สี่ก็อย่างนั้น แผ่ไปด้วยใจที่สหรคตด้วยกรุณา ไม่มีเวร ไม่มีความพยาบาทกว้างขวาง ถึงความเป็นใหญ่ ไม่มีจํากัด ตลอดทิศทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ทุกแห่ง ตลอดโลกทั้งหมดอย่างทั่วถึงอยู่ ดังที่ว่ามานี้ ข้าพเจ้านั้นย่อมรู้ทั่วถึงจากท่านว่า น้อมไปในกรุณา. ก็แลข้าพเจ้าย่อมไม่รู้ทั่วถึงจากท่านผู้กล่าวถึงกลิ่นที่เหม็น
[๒๒๙] ข้าแต่พรหม ในหมู่มนุษย์มีกลิ่นเหม็นอะไร หมู่มนุษย์ในโลกนี้ ไม่รู้จักกลิ่นเหม็นเหล่านี้ ธีระ ท่านโปรดกล่าว หมู่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 26
สัตว์อันอะไรร้อยรัดจึงมีกลิ่นเน่าฟุ้งไป กลายเป็นสัตว์อบาย มีพรหมโลกอันปิดแล้ว.
ความโกรธ ความเท็จ ความหลอกลวง ความประทุษร้ายมิตร ความตระหนี่ ความถือตัวจัด ความริษยา ความอยาก ความสงสัย ความเบียดเบียนผู้อื่น ความโลภ ความประทุษร้าย ความมัวเมา และความหลง ผู้ประกอบในกิเลสเหล่านี้ เป็นผู้ไม่ปราศจากกลิ่นเหม็นเน่า กลายเป็นสัตว์อบาย มีพรหมโลกอันปิดแล้ว.
[๒๓๐] ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงจากท่านผู้กล่าวถึงกลิ่นเหม็นอยู่โดยประการที่กลิ่นเหม็นเหล่านั้นอันผู้อยู่ครองเรือนจะพึงย่ํายีอย่างง่ายๆ ไม่ได้ ข้าพเจ้าจักบวชเป็นบรรพชิต. บัดนี้ ท่านโควินท์ผู้เจริญย่อมสําคัญเวลาอันสมควร.
มหาโควินท์ทูลลาบวช
ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ก็เข้าไปเฝ้าพระเจ้าเรณุ แล้วกราบทูลคํานี้กะพระเจ้าเรณุว่า ขอพระองค์โปรดทรงแสวงหาที่ปรึกษาคนอื่น ผู้ที่จักพร่ําสอนเกี่ยวกับราชสมบัติของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ ณ บัดนี้ ขอเดชะข้าพระพุทธเจ้าอยากจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ตามที่ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคําของพรหมกล่าวถึงกลิ่นเหม็น กลิ่นเหม็นเหล่านั้นอันผู้อยู่ครองเรือนจะพึงย่ํายีไม่ได้ โดยง่ายเลย ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 27
[๒๓๑] ข้าพระพุทธเจ้า ขอกราบทูลเชิญพระเจ้าเรณุ ภูมิบดี ขอพระองค์โปรดทรงทราบด้วยราชสมบัติ ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดีในความเป็นที่ปรึกษา.
ถ้าท่านมีความต้องการยังพร่องอยู่ เราจะเพิ่มให้ท่านจนเต็มที่ ใครเบียดเบียนท่าน เราผู้เป็นจอมทัพแห่งแผ่นดินจะป้องกัน ท่านเป็นเหมือนบิดา เราเป็นเหมือนบุตร ท่านโควินท์ อย่าทิ้งพวกเราไปเลย.
ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีความต้องการที่ยังพร่อง ผู้เบียดเบียนข้าพระพุทธเจ้าก็ไม่มีแต่เพราะฟังคําของอมนุษย์ ข้าพระพุทธเจ้าจึงไม่ยินดีในเรือน.
อมนุษย์พวกไหน เขาได้กล่าวข้อความอะไรกะท่าน ซึ่งท่านได้ฟังแล้ว จึงทิ้งพวกเรา ทิ้งเรือนของเรา และทิ้งเราทั้งหมด.
ในกาลก่อน เมื่อข้าพระพุทธเจ้า เข้าไปอยู่แล้ว เป็นผู้ใคร่บูชา ไฟที่เติมใบหญ้าคา โชติช่วงแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 28
แต่นั้น พรหมองค์เก่าแก่จากพรหมโลกมาปรากฏกายแก่ข้าพระพุทธเจ้า แล้วพรหมนั้น ได้แก้ปัญหาของข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าฟังคํานั้นแล้ว จึงไม่ยินดีในเรือน.
โควินท์ ท่านกล่าวคําใด เราเชื่อคํานั้นของท่าน ท่านฟังถ้อยคําของอมนุษย์จะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้อย่างไร พวกเราจักคล้อยตามท่าน โควินท์ขอท่านจงเป็นครูของพวกเรา.
มณี ไพฑูรย์ ไม่ขุ่นมัว ปราศจากมลทินงดงามฉันใด พวกเราฟังแล้วจักประพฤติในคําพร่ําสอนของท่านโควินท์ฉันนั้น.
[๒๓๒] ถ้าท่านโควินท์ผู้เจริญ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แม้พวกเราก็จักออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต และคติของท่านก็จักเป็นคติของพวกเรา. ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ เข้าเฝ้ากษัตริย์ ๖ พระองค์นั้นแล้วได้ทูลคํานี้กะกษัตริย์ ๖ พระองค์นั้นว่า ใต้ฝ่าพระบาท บัดนี้ขอพระองค์โปรดแสวงหาคนอื่นผู้ที่จักพร่ําสอนในเรื่องราชสมบัติของพวกพระองค์มาเป็นที่ปรึกษาเถิด ข้าพระพุทธเจ้าอยากจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตตามคําของพรหมผู้กล่าวถึงกลิ่นเหม็นที่ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังนั้นแล กลิ่นเหม็นเหล่านั้น อันผู้อยู่ครอบครองเรือนจะพึงย่ํายีง่ายๆ ไม่ได้ ข้าพระพุทธเจ้าจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. ครั้งนั้นแล กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 29
หลีกไปในที่ส่วนหนึ่งแล้วปรึกษากันว่า ขึ้นชื่อว่าพราหมณ์พวกนี้เป็นคนละโมบในทรัพย์ อย่ากระนั้นเลย พวกเราพึงเกลี้ยกล่อมโควินทพราหมณ์ด้วยทรัพย์. กษัตริย์เหล่านั้นเข้าไปหามหาโควินทพราหมณ์แล้วตรัสอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญสมบัติในราชสมบัติทั้ง ๗ นี้ มีอยู่เพียงพอจริงๆ ท่านต้องการด้วยประมาณเท่าไรๆ จากราชสมบัติทั้ง ๗ นั้น จงนํามาให้มีประมาณเท่านั้น. อย่าเลยใต้ฝ่าพระบาท สมบัติแม้นี้ของข้าพระองค์ก็มีพอแล้ว สมบัติของพวกพระองค์ก็อย่างนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์จักสละทุกอย่างแล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ตามคําของพรหมผู้กล่าวถึงกลิ่นเหม็นที่ข้าพระองค์ได้ฟังมานั่นแลกลิ่นเหม็นทั้งหลายเหล่านั้น อันผู้อยู่ครอบครองเรือนจะพึงย่ํายีอย่างง่ายๆ ไม่ได้ ข้าพระพุทธเจ้าจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. ครั้งนั้นแล เหล่า ๖ กษัตริย์นั้นหลีกไปในส่วนข้างหนึ่งแล้วช่วยกันคิดว่า ขึ้นชื่อว่าพราหมณ์พวกนี้เป็นคนละโมบในสตรี อย่ากระนั้นเลย พวกเราพึงเกลี้ยกล่อมมหาโควินท์พราหมณ์ด้วยพวกสตรี กษัตริย์เหล่านั้นเข้าไปหามหาโควินทพราหมณ์แล้วตรัสอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ พวกสตรีในราชสมบัติทั้ง ๗ นี้มีอยู่อย่างเหลือเฟือจริงๆ ท่านต้องการพวกสตรีจํานวนเท่าไร จากราชสมบัติทั้ง ๗ นั้น จะนํามาให้จํานวนเท่านั้น. พอลjะ ใต้ฝ่าพระบาท ภริยาของข้าพระองค์มี ๔๐ นางผู้เสมอกัน ข้าพระองค์จักสละนางเหล่านั้นทั้งหมด ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตตามคําของพรหมผู้กล่าวถึงกลิ่นเหม็นเน่าที่ข้าพระองค์ได้ฟังมานั่นแหละ กลิ่นที่เหม็นเน่าเหล่านั้น อันผู้อยู่ครองเรือนจะพึงย่ํายีอย่างง่ายๆ ไม่ได้ ข้าพระองค์จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. ถ้าท่านโควินท์ผู้เจริญจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พวกเราก็จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเหมือนกัน และอันใดเป็นคติของท่าน อันนั้นก็จักเป็นคติของพวกเรา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 30
[๒๓๓] ถ้าพวกพระองค์ละกามทั้งหลาย ซึ่งเป็นแหล่งที่ปุถุชนข้องได้แล้ว จงปรารภความเพียรมั่นคง เป็นผู้มีขันติเป็นกําลังทั้งมีใจตั้งมั่นเถิด.
ทางนั่นเป็นทางตรง ทางนั่นเป็นทางยอดเยี่ยม พระสัทธรรมอันพวกสัตบุรุษรักษาแล้วเพื่อการเข้าถึงพรหมโลก.
การอําลาของมหาโควินท์
[๒๓๔] ถ้าอย่างนั้น ท่านโควินท์ผู้เจริญ โปรดจงรอ ๗ ปี โดยล่วงไป ๗ ปี พวกเราก็จักบวชออกจากเรือนเลิกเกี่ยวข้องกับการเรือนเหมือนกันและอันใดเป็นคติของท่าน อันนั้นก็จักเป็นคติของพวกเรา. ใต้ฝ่าพระบาท ๗ ปี นานเกินไป ข้าพระองค์ไม่สามารถรอพวกพระองค์ได้ตั้ง ๗ ปี ก็ใครเล่าหนอจะรู้ชีวิตได้ ภพหน้าจําต้องไป ต้องตัดสินใจให้เด็ดขาดลงไปด้วยความรู้ต้องทํากุศล ต้องประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เกิดมาแล้วไม่ตายไม่มี ก็อย่างคําของพรหมผู้กล่าวถึงกลิ่นเหม็นเน่าที่ข้าพระองค์ได้ฟังมาแล้วนั่นแหละ กลิ่นคาวเหล่านั้นอันผู้อยู่ครองเรือนจะพึงย่ํายีอย่างง่ายๆ ไม่ได้ ข้าพระองค์จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ถ้าอย่างนั้น ท่านโควินท์ผู้เจริญโปรดจงรอ ๖ ปี ฯลฯ โปรดจงรอ ๕ ปี. โปรดจงรอ ๔ ปี. โปรดจงรอ ๓ ปี. โปรดจงรอ ๒ ปี.. โปรดจงคอย ๑ ปีโดยล่วง ๑ ปีไป พวกเราก็จักบวชออกจากเรือนเลิกยุ่งเกี่ยวกับการเรือนและอันใดเป็นคติของท่าน อันนั้นก็จักเป็นคติของพวกเรา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 31
ใต้ฝ่าพระบาท ๑ ปี นานเกินไป ข้าพระองค์ไม่อาจคอยพวกพระองค์ ๑ ปี ก็ใครเล่าจะรู้ชีวิตได้ ภพหน้าจําต้องไป ต้องใช้ความรู้ตัดสินใจให้เด็ดขาดลงไป ต้องทํากุศลไว้ ต้องประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เกิดมาแล้ว ไม่ตายไม่มี ก็อย่างคําของพรหมกล่าวอยู่เกี่ยวกับกลิ่นเหม็นเน่า ที่ข้าพระองค์ได้ฟังมาแล้วนั่นแหละ กลิ่นเหม็นเหล่านั้น อันผู้อยู่ครองเรือนจะพึงย่ํายีอย่างง่ายๆ ไม่ได้ ข้าพระองค์จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ถ้าอย่างนั้น ท่านโควินท์ผู้เจริญ โปรดจงรอ ๗ เดือน โดยกาลล่วงไป ๗ เดือน พวกเราก็จักบวชออกจากเรือนเลิกยุ่งกับการเรือนเหมือนกันและอันใดเป็นคติของท่าน อันนั้นก็จักเป็นคติของพวกเรา.
ใต้ฝ่าพระบาท ๗ เดือนนานเกินไป ข้าพระองค์คอยพวกพระองค์ ๗ เดือนไม่ได้ ใครเล่าจะรู้ความเป็นอยู่ได้ ภพหน้าจําต้องไป ต้องใช้ความรู้ตัดสินใจให้เด็ดขาดลงไป ต้องสร้างกุศลไว้ ต้องประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เกิดมาไม่ตายไม่มี ก็อย่างคําของพรหมกล่าวอยู่เกี่ยวกับกลิ่นเหม็นเน่า ที่ข้าพระองค์ได้ฟังมาแล้วนั่นแหละ กลิ่นเหม็นเน่าเหล่านั้น อันผู้อยู่ครองเรือนจะพึงย่ํายีอย่างง่ายๆ ไม่ได้ ข้าพระองค์จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ถ้าอย่างนั้น ท่านโควินท์ผู้เจริญ โปรดจงคอย ๖ เดือน. โปรดจงคอย ๕ เดือน. โปรดจงคอย ๔ เดือนโปรดจงคอย ๓ เดือน. โปรดจงคอย๒ เดือน. โปรดจงคอย ๑ เดือน. โปรดจงคอยครึ่งเดือน โดยครึ่งเดือนล่วงไป พวกเราก็จักบวชออกจากเรือนเลิกยุ่งเกี่ยวกับการเรือน และคติของท่านจักเป็นคติของพวกเรา
ใต้ฝ่าพระบาท ครึ่งเดือนนานเกินไป ข้าพระองค์คอยพวกพระองค์ถึงครึ่งเดือนไม่ได้ ก็ใครเล่าจะรู้ชีวิตได้ ภพหน้าจําต้องไป ต้องใช้ความรู้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 32
ตัดสินใจให้เด็ดขาดลงไป ต้องสร้างกุศลไว้ ต้องพฤติพรหมจรรย์ ผู้เกิดมาแล้วไม่ตายไม่มี ก็อย่างคําของพรหมกล่าวอยู่ เกี่ยวกับกลิ่นเหม็นทั้งหลาย ที่ข้าพระองค์ได้ฟังมาแล้วนั่นแหละ กลิ่นเหม็นเหล่านั้น อันผู้อยู่ครองเรือนจะพึงย่ํายีเสียง่ายๆ ไม่ได้ ข้าพระองค์จักบวชเป็นบรรพชิต.
ถ้าอย่างนั้น ท่านโควินท์ผู้เจริญโปรดจงรอ ๗ วัน กว่าพวกเราจักพร่ําสอนลูกและพี่น้องของตนในเรื่องราชสมบัติ เสร็จก่อนโดยล่วงไป ๗ วันพวกเราก็จักบวชเป็นบรรพชิตเหมือนกัน และอันใดเป็นคติของท่าน อันนั้นจักเป็นคติของพวกเรา.
ใต้ฝ่าพระบาท ๗ วัน ไม่นานดอก ข้าพระบาทจักคอยพวกพระองค์ ๗ วัน. ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ เข้าไปหาพราหมณ์มหาศาล ๗ คนและข้าบริวาร ๗๐๐ คน แล้วได้กล่าวคํานี้กับพราหมณ์มหาศาล ๗ คน และข้าบริวาร ๗๐๐ คนว่า บัดนี้ขอให้ท่านจงแสวงหาอาจารย์คนอื่น ผู้ที่จักสอนมนต์แก่พวกท่าน ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าอยากจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตก็อย่างคําของพรหมผู้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องกลิ่นเหม็น ที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วนั่นแหละ กลิ่นเหม็นเหล่านั้น อันผู้อยู่ครองเรือนจะพึงย่ํายีเสียง่ายๆ ไม่ได้ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ท่านโควินท์ผู้เจริญ อย่าบวชออกจากเรือนไม่เกี่ยวข้องกับเรือนเลยท่านผู้เจริญ การบวชมีศักดิ์น้อย และมีลาภน้อย ความเป็นพราหมณ์มีศักดิ์ใหญ่ มีลาภใหญ่.
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า การบวชมีศักดิ์น้อย และมีลาภน้อย ความเป็นพราหมณ์มีศักดิ์ใหญ่ และมีลาภใหญ่ คนอื่นใครเล่าที่มีศักดิ์มากกว่า หรือมีลาภมากกว่าข้าพเจ้า บัดนี้ข้าพเจ้าเหมือนราชาของพระราชา เหมือนพรหม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 33
ของพราหมณ์ทั้งหลาย เหมือนเทวดาของพวกคฤหบดีทั้งหลาย ข้าพเจ้าจักสละความเป็นทั้งหมดนั้น ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ก็อย่างคําของพรหมกล่าวอยู่เกี่ยวกับเรื่องกลิ่นเหม็นเน่า ที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วนั่นแหละ กลิ่นเน่าเหม็นเหล่านั้นอันผู้ครองเรือนอยู่ จะพึงย่ํายีเสียง่ายๆ ไม่ได้ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ถ้าท่านโควินท์ผู้เจริญจักออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต พวกเราก็จักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเหมือนกัน และอันใดเป็นคติของท่านอันนั้นจักเป็นคติของพวกเรา.
ครั้งนั้นแล มหาโควินทพราหมณ์ เข้าไปหาพวกภริยาผู้เสมอกันแล้วได้กล่าวคํานี้กับพวกภริยาผู้เสมอกันว่า แนะนางผู้เจริญ ผู้ที่อยากไปสู่ตระกูลญาติของตนนั้น ก็จงไปสู่ตระกูลของตนเถิด หรือจะหาสามีคนอื่นก็ได้ ฉันอยากออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ก็อย่างคําของพรหมกล่าวอยู่เกี่ยวกับเรื่องกลิ่นเหม็นเน่า ที่ฉันได้ฟังมาแล้วนั่นแหละ กลิ่นเหม็นเน่าเหล่านั้นอันผู้อยู่ครองเรือนจะพึงย่ํายีเสียอย่างง่ายๆ ไม่ได้ ฉันจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. ท่านเท่านั้น เป็นญาติของพวกดิฉัน ผู้ต้องการญาติ และท่านเป็นภัสดา ของพวกดิฉันผู้ต้องการภัสดา ถ้าท่านโควินท์ผู้เจริญจักออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต พวกดิฉันก็จักออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตเหมือนกัน และอันใดเป็นคติของท่าน อันนั้นก็จักเป็นคติของพวกดิฉัน.
การบวชของมหาโควินท์
ครั้งนั้นแล โดยล่วงไป ๗ วัน มหาโควินทพราหมณ์ ก็โกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตแล้ว. ก็แหละพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ซึ่งได้รับมุรธาภิเษกแล้ว ๗ พระองค์ พราหมณ์มหาศาล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 34
๗ คน ข้าบริวาร ๗๐๐ คน พวกภริยาซึ่งมีวรรณะมีชาติเสมอกัน ๔๐ นางพวกกษัตริย์หลายพัน พวกพราหมณ์หลายพัน พวกคฤหบดีหลายพันและพวกนางสนมอีกมิใช่น้อย พากันโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้าย้อมฝาด บวชตามมหาโควินทพราหมณ์เป็นบรรพชิตออกจากเรือน เลิกยุ่งเกี่ยวกับการเรือนแล้ว. เล่ากันว่า ท่านมหาโควินทพราหมณ์ อันบริษัทนั้นแวดล้อมแล้วย่อมเที่ยวจาริกไปในคามนิคม และราชธานีทั้งหลาย ก็โดยสมัยนั้นท่านมหาโควินทพราหมณ์เข้าไปยังคามนิคมใดแล ในคามหรือนิคมนั้น เป็นเหมือนราชาของพวกพระราชา เป็นเหมือนพรหมของพวกพราหมณ์ เป็นเหมือนเทวดาของพวกคฤหบดี. ก็โดยสมัยนั้น พวกมนุษย์เหล่าใดแลย่อมจาม หรือลื่นล้ม พวกมนุษย์เหล่านั้น ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ขอนอบน้อมแด่ท่านมหาโควินทพราหมณ์ ขอนอบน้อมแด่ท่านปุโรหิตของกษัตริย์ทั้ง ๗ พระองค์.
การเจริญอัปปมัญญา ๔
ท่านมหาโควินทพราหมณ์ มีใจสหรคตด้วยเมตตา ไม่มีเวร ไม่มีความพยาบาทแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น มีใจสหรคตด้วยเมตตา ไม่มีเวร ไม่มีความพยาบาทกว้างขวาง ถึงความเป็นใหญ่ ไม่มีจํากัด แผ่ไปตลอดทิศทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ทุกแห่งตลอดโลกอย่างทั่วถึงอยู่ มีใจสหรคต ด้วยกรุณา ฯลฯ มีใจสหรคตด้วยมุทิตา ฯลฯ มีใจที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฯลฯ และแสดงทางแห่งความเป็นสหายแห่งพรหมโลกแก่สาวกทั้งหลาย. ก็โดยสมัยนั้น หมู่สาวกของท่านมหาโควินทพราหมณ์เหล่าใดแล รู้ทั่วถึงแล้วซึ่งคําสั่งสอนทั้งหมดโดยประการทั้งปวง หมู่สาวกเหล่านั้น เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เข้าถึงสุคติพรหมโลกแล้ว. สาวกเหล่าใด ไม่รู้ทั่วถึงคําสั่งสอนทั้งหมดอย่างทั่วถึง สาวกเหล่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 35
นั้นเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก บางพวกก็เข้าถึงความเป็นสหายแห่งหมู่เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตี บางพวกก็เข้าถึงความเป็นสหายแห่งหมู่เทพชั้นนิมมานรดีบางพวกก็เข้าถึงความเป็นสหายแห่งหมู่เทพชั้นดุสิต บางพวกก็เข้าถึงความเป็นสหายแห่งหมู่เทพชั้นยามา บางพวกก็เข้าถึงความเป็นสหายแห่งหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ บางพวกก็เข้าถึงความเป็นสหายแห่งหมู่เทพชั้นจาตุมหาราชิกาแล้ว. พวกท่านเหล่าใด ยังกายที่เลวกว่าเขาทั้งหมด ให้เต็มรอบแล้ว พวกท่านนั้นก็ยังกายแห่งคนธรรพ์ให้บริบูรณ์แล้ว. ด้วยประการฉะนั้นแล การบวชของกุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมดทีเดียว เป็นของไม่เปล่า ไม่เป็นหมัน มีผล มีกําไร ดังนี้แล. พระผู้มีพระภาคเจ้า ยังทรงระลึกถึงเรื่องนั้นได้หรือ ปัญจสิขะทูลถาม. ยังระลึกได้อยู่ ปัญจสิขะผู้เจริญ
ว่าด้วยอัฏฐังคิกมรรค
สมัยนั้น เราได้เป็นมหาโควินทพราหมณ์ เราแสดงทางนั้นเพื่อความเป็นสหายแห่งพรหมโลกแก่หมู่สาวก ก็แต่ว่า ปัญจสิขะ พรหมจรรย์นั้นแลเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายก็เปล่า เพื่อคลายกําหนัดก็เปล่า เพื่อดับโดยไม่เหลือก็เปล่า เพื่อเข้าไปสงบก็เปล่า เพื่อรู้ยิ่งก็เปล่า เพื่อตรัสรู้ก็เปล่า เพื่อพระนิพพานก็เปล่า เพียงเพื่อการเกิดขึ้นในพรหมโลกเท่านั้นเอง ดูก่อนปัญจสิขะก็พรหมจรรย์ของเรานี้แล จึงจะเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกําหนัด เพื่อดับโดยไม่มีเหลือ เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน. ก็แลพรหมจรรย์นั้นเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความคลายกําหนัด เพื่อดับโดยไม่มีเหลือ เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้เพื่อพระนิพพานเป็นไฉน ทางประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้แล อันได้แก่ความเห็นชอบ ความดําริชอบ พูดจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 36
พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งมั่นชอบ ก็นี้แล คือพรหมจรรย์นั้น ที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกําหนัด เพื่อดับโดยไม่มีเหลือเพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน.
ก็หมู่สาวกของเราเหล่าใดแล ย่อมรู้ทั่วถึงคําสั่งสอนเจนจบ หมู่สาวกเหล่านั้น เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ทําเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ให้แจ่มแจ้งแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันเทียว. หมู่สาวกเหล่าใดไม่รู้ทั่วถึงคําสั่งสอนหมดทุกแง่ทุกมุม หมู่สาวกเหล่านั้น เพราะสังโยชน์เบื้องต่ํา ๕ อย่างสิ้นไป ย่อมเป็นโอปปาติกะ เป็นผู้ปรินิพพานในโลกนั้น เป็นผู้ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา. หมู่สาวกเหล่าใดยังไม่รู้ทั่วถึงคําสั่งสอนหมดทุกแง่ทุกมุม บางพวก เพราะสังโยชน์ ๓ อย่างสิ้นไป เพราะความที่ราคะ โทสะ และ โมหะเบาบางลง ย่อมเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้ครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจักทําที่สุดแห่งทุกข์. หมู่สาวกเหล่าใด ยังไม่รู้ทั่วถึงคําสั่งสอนหมดทุกแง่ทุกมุม บางพวกเพราะสังโยชน์ ๓ อย่างสิ้นไป ย่อมเป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา แน่นอนมีความตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า. ด้วยประการดังที่กล่าวมานี้ การบวชของกุลบุตรเหล่านี้ ทั้งหมดทีเดียว จึงเป็นการบวชที่ไม่สูญเปล่า ไม่เป็นหมัน มีผล มีกําไร ดังนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว. ปัญจสิขะ บุตรคนธรรพ์มีใจเป็นของตน ชื่นชม ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอย่างยิ่ง อนุโมทนาแล้วถวายอภิวาทกระทําประทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็หายไปในที่นั้นนั่นเทียว ดังนี้แล.
จบ มหาโควินทสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 37
อรรถกถามหาโควินทสูตร
มหาโควินทสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
ต่อไปนี้ เป็นคําพรรณนาบทที่ยังไม่ตื้นในมหาโควินทสูตรนั้น. คําว่า ปัญจสิขะ ความว่า มี ๕ จุก คือมี ๕ แหยม. เล่ากันมาว่า ปัญจสิขะ บุตรคนธรรพ์นั้น ในเวลาทํากรรมที่เป็นบุญในถิ่นมนุษย์ยังเป็นหนุ่ม ในเวลาเป็นเด็กไว้จุก ๕ จุก เป็นหัวหน้าเลี้ยงโค พาพวกเด็กแม้เหล่าอื่นทําศาลา ในที่อันเป็นทางสี่แยก ขุดสระบัว ผูกสะพาน ปราบทางขรุขระให้เรียบ ขนไม้ มาทําเพลาและไม้สอดเพลาของยานทั้งหลาย เที่ยวทําบุญแบบนี้ดังที่กล่าวมาแล้ว ก็ตายลงทั้งที่ยังเป็นหนุ่ม. ร่างของเขานั้นเป็นร่างที่น่ารัก น่าใคร่ น่าชอบใจ. ครั้นเขาตายแล้ว ก็ไปเกิดในเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา มี อายุ ๙ ล้านปี. ร่างของเขาคล้ายกับกองทองมีขนาดเท่าสามคาวุต. เขาประดับ เครื่องประดับปริมาณ ๖๐ เล่มเกวียน พรมของหอมประมาณ ๙ หม้อ ทรงผ้าทิพย์สีแดง ประดับดอกกรรณิการ์ทองแดง มีแหยม ๕ แหยมห้อยอยู่ ที่เบื้องหลัง เที่ยวไปทํานองเด็ก ๕ จุกนั่นแหละ. พวกเทพจึงทราบทั่วกัน ว่า ปัญจสิขะ ดังนี้แล.
บทว่า เมื่อราตรีก้าวล่วงไปแล้ว คือราตรีก้าวล่วงไปแล้ว คือ สิ้นไปแล้ว. หมายความว่าล่วงไปแล้วส่วนหนึ่ง. คําว่า มีรัศมีงดงามยิ่ง คือมีรัศมี น่ารัก น่าใคร่น่าชอบใจอย่างยิ่ง. ก็แม้โดยปกติเทพบุตรนั้นก็มีรัศมี (ผิวพรรณ) น่าใคร่อยู่แล้ว แต่เมื่อเป็นผู้แต่งมาแล้วก็ยิ่งเป็นผู้มีผิวพรรณ น่าใคร่ยิ่งขึ้นอีก. คําว่า อย่างทั่วถึง คือโดยรอบไม่มีเหลือ. เกวลศัพท์ใน ที่นี้แปลว่าไม่เหลือเหมือนในคํานี้ว่า บริบูรณ์อย่างสิ้นเชิง. กัปปศัพท์แปลว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 38
โดยรอบเหมือนในคํานี้ว่า ยังพระเชตวัน โดยรอบอย่างสิ้นเชิง. คําว่า ส่องให้สว่าง คือแผ่ไปด้วยแสง. หมายความว่า ทําให้เป็นแสงลําเดียว ให้เป็นประทีปดวงเดียว ดังพระจันทร์และดังพระอาทิตย์.
คําว่า ที่สุธรรมาสภา คือที่สภาที่เกิดเพราะผลแห่งไม้กรรณิการ์ ซึ่งพอๆ กับ แก้วของหญิงชื่อสุธรรมา. ดังได้ยินมาว่า พื้นของสุธรรมาสภานั้นสําเร็จด้วยแก้วผลึก ลิ่มสลักเอาแก้วมณีมาทํา เสาสําเร็จด้วยทองคํา ของเชื่อมเสา และเต้าทําจากเงิน รูปสัตว์ร้ายเอาแก้วประพาฬมาทํา จันทันเพดานและขอบหน้ามุขเอาแก้ว ๗ ชนิดมาสร้าง กระเบื้องใช้ก้อนอิฐสีแก้วอินทนิล หลังคาเอาทองคํามาทํา โดมทําด้วยเงิน โดยส่วนยาวและส่วนกว้าง ข้างละ ๓๐๐ โยชน์โดยบริเวณรอบใน ๙๐๐ โยชน์ โดยส่วนสูง ๕๐๐ โยชน์. สุธรรมาสภาเห็นปานนี้.
ในบทเป็นต้นว่า ท้าวธตรฐ พึงทราบว่า ท้าวธตรฐเป็นราซาแห่งคนธรรพ์ อันพวกเทวดานักฟ้อนแสนโกฏิแวดล้อมแล้วให้ถือเอาแผ่นกระดานใหญ่ที่ทําด้วยทองคําแสนโกฏิ และหอกทองคําแล้วหันพระพักตร์ไปทิศตะวันตก เอาพวกเทวดาในเทวโลกทั้งสองไว้ข้างหน้าแล้วประทับนั่งทางทิศตะวันออก.
ท้าววิรุฬหกเป็นราชาแห่งกุมภัณฑ์ อันเหล่าเทพพวกกุมภัณฑ์แสนโกฏิแวดล้อมแล้ว ให้ถือเอาแผ่นกระดานใหญ่ที่ทําด้วยเงินแสนโกฏิ และหอกทองคําแล้วหันพระพักตร์ไปทิศเหนือ เอาพวกเทวดาในเทวโลกทั้งสองไว้ข้างหน้าแล้วประทับนั่งทางทิศใต้.
ท้าววิรูปักษ์เป็นราชาแห่งนาค มีพวกนาคแสนโกฏิแวดล้อมให้ถือเอากระดานแผ่นใหญ่สําเร็จด้วยมณีแสนโกฏิ และหอกทองคําแล้วหันพระพักตร์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 39
ไปทางทิศตะวันออก เอาพวกเทวดาในเทวโลกทั้งสองไว้ข้างหน้าแล้วประทับนั่งทางทิศตะวันตก.
ท้าวเวสวัณเป็นราชาแห่งยักษ์ มีพวกยักษ์แสนโกฏิแวดล้อมให้ถือเอากระดานแผ่นใหญ่ที่ทําด้วยแก้วประพาฬแสนโกฏิ และหอกทองคําหันพระพักตร์ไปทางทิศใต้ เอาพวกเทวดาในเทวโลกทั้งสองไว้ข้างหน้าแล้วประทับนั่งทางทิศเหนือ.
บทว่า และข้างหลังเป็นอาสนะของพวกเรา คือ โอกาสสําหรับนั่งของพวกเรา ย่อมถึงทางด้านหลังของท่านทั้ง ๔ องค์นั้น ต่อจากนั้น พวกเราจะเข้าก็ไม่ได้ หรือจะดูก็ไม่ได้
สําหรับในกรณีนี้ ท่านกล่าวเหตุการประชุมกัน ๔ อย่างไว้ก่อนทีเดียว. ในเหตุทั้ง ๔ อย่างนั้น การประมวลลงในวันเข้าพรรษาท่านขยายไว้ให้กว้างขวางแล้ว. จริงอยู่ เหตุในวันเข้าพรรษาเป็นฉันใด ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในวันเพ็ญในวันมหาปวารณาปรึกษากันว่า วันนี้พวกเราจักไปไหนแล้วปวารณาในสํานักใคร ก็ฉะนั้น ในที่ประชุมนั้นท้าวสักกะ จอมทวยเทพโดยมากจะทรงปวารณาในปิยังคุทีปพระมหาวิหารนั่นเอง. พวกเทพที่เหลือก็ถือเอาดอกไม้ทิพย์ เช่น ดอกปาริฉัตร เป็นต้น และผงจันทน์ทิพย์แล้วไปสู่ที่เป็นที่ชอบใจของตนๆ แล้ว ปวารณากัน. แบบนี้ชื่อว่า ย่อมประชุมกันเพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ปวารณา.
ก็ในเทวโลกมีเถาชื่อ อาสาวดี พวกเทวดาคิดว่าเถานั้นจักออกดอกจึงไปสู่ที่บํารุงตลอดพันปี เมื่อต้นปาริฉัตรกําลังออกดอกพวกเทวดาไปสู่ที่บํารุงตลอดหนึ่งปี. เทวดาเหล่านั้นพากันดีใจ ตั้งแต่ต้นไม้นั้นมีใบเหลืองเป็นต้นไป. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใดไม้ปาริฉัตร คือไม้ทองหลาง ของพวกเทพชาวดาวดึงส์ มีใบเหลือง ภิกษุ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 40
ทั้งหลาย ในสมัยนั้น พวกเทพชาวดาวดึงส์ก็พากันดีใจว่า บัดนี้ ไม้ปาริฉัตร คือ ไม้ทองหลาง มีใบเหลืองแล ไม่นานหรอกจักสลัดใบเหลืองทิ้ง ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด ไม้ปาริฉัตร คือไม้ทองหลาง ของพวกเทพชาวดาวดึงส์สลัดใบเหลืองทิ้งแล้ว เริ่มเป็นตุ่มดอก เริ่มผลิดอก เป็นดอกตูม เป็นดอกแย้ม ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น พวกเทพชาวดาวดึงส์ ก็พากันดีใจว่า บัดนี้ไม้ปาริฉัตร คือไม้ทองหลาง เป็นดอกแย้ม ไม่นานหรอกจักบานสะพรั่งหมดก็แล ภิกษุทั้งหลาย รัศมีครอบคลุมไป ๕๐ โยชน์โดยรอบต้นปาริฉัตรคือไม้ทองหลางที่บานสะพรั่ง กลิ่นพัดไปตามลม ๑๐๐ โยชน์. นี้เป็นอานุภาพแห่งต้นปาริฉัตร คือไม้ทองหลาง (๑)
เมื่อไม้ปาริฉัตรบานแล้ว กิจด้วยการพาดพะอง กิจด้วยการเอาขอเกี่ยวโน้มมา หรือกิจด้วยการเอาผอบไปรับเพื่อนําเอาดอกไม้มาไม่มี. ลมที่ทําหน้าที่เด็ดตั้งขึ้นแล้วก็เด็ดดอกไม้จากขั้ว ลมที่ทําหน้าที่รับก็รับไว้ ลมที่ทําหน้าที่หอบส่งก็ส่งเข้าไปสู่สุธรรมาเทวสภา. ลมที่ทําหน้าที่กวาดก็กวาดเอาดอกไม้เก่าทิ้ง. ลมที่ทําหน้าที่ปูลาดก็จัดแจงปูลาดใบฝักและเกสร. ที่ตรงกลางมีธรรมาสน์ มีบัลลังก์แก้วสูงขนาดโยชน์ มีเศวตฉัตรสูงสามโยชน์กั้นไว้ข้างบนถัดจากบัลลังก์นั้น ก็ปูอาสนะท้าวสักกเทวราช. ถัดนั้นมาก็เป็นอาสนะของเทพบุตรอีกสามสิบสามองค์. ถัดนั้นมาก็เป็นอาสนะของเทพบุตรผู้มีศักดิ์ใหญ่ๆ เหล่าอื่น. สําหรับ เทพเหล่าอื่นก็ใช้ฝักดอกไม้เป็นอาสนะ. พวกเทวดาเข้าสู่เทวสภาแล้วนั่งอยู่. เกลียวละอองดอกไม้ฟุ้งไปจรดฝักเบื้องบนแล้วตกมาทําให้อัตภาพประมาณสามคาวุตของเทวดาทั้งหลายเหมือนชโลมด้วยน้ำครั่ง. พวกเทวดาเหล่านั้นเล่นกีฬานั้นสี่เดือนจึงสิ้นสุดลง. พวกเทวดาย่อมประชุมกัน เพื่อประโยชน์แก่การเสวย ปาริฉัตรตกกีฬาด้วยประการฉะนี้.
(๑) อํ. สตฺตก. ๑๑๘
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 41
ก็แหละ ในเทวโลก เทวดาโฆษณาการฟังธรรมใหญ่เดือนละ ๘ วันในวันทั้ง ๘ นั้น สนังกุมารมหาพรหม ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ภิกษุธรรมกถึกหรือไม่อย่างนั้นก็เทพบุตรธรรมกถึกองค์ใดองค์หนึ่งกล่าวธรรมกถาในสุธรรมาเทวสภา. ในวัน ๘ ค่ํา ของปักษ์ พวกอํามาตย์ของมหาราชทั้ง ๔ องค์ ในวัน ๑๔ ค่ํา โอรสทั้งหลาย ในวัน ๑๕ ค่ํา มหาราชทั้ง ๔ องค์ เสด็จออกไป ทรงถือแผ่นกระดาษทองและชาติหิงคุลก์ ท่องเที่ยวไปตามคามนิคมและราชธานีทั้งหลาย. พระองค์ทรงบันทึกไว้ด้วยชาติหิงคุลก์บนแผ่นทองว่าหญิงหรือชายชื่อโน้นนั้น ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ. รักษาศีล ๕ กระทําอุโบสถ ๘ ทุกเดือน บําเพ็ญการบํารุงมารดา การบํารุงบิดา กระทําการบูชาด้วยดอกอุบล ๑๐๐ กํา บูชาด้วย แจกันดอกไม้ในที่โน้น ตามประทีป ๑,๐๐๐ ดวง ทําการฟังธรรมไม่เป็นเวลาสร้างฉัตรเวที มุทธิเวที กุจฉิเวที บัลลังก์สิงห์ บันไดสิงห์ บําเพ็ญสุจริต ๓ ประการ ประพฤติยึดมั่นกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ แล้วนํามามอบให้ที่มือของปัญจสิขะ. ปัญจสิขะก็ให้ที่มือของมาตลี. สารถีมาตลีก็ถวายแด่ท้าวสักกเทวราช เมื่อคนทําบุญมีไม่มาก สมุดบัญชีก็น้อย. พอพวกเทวดาได้เห็นบัญชีนั้น เท่านั้น ก็เสียใจว่า เพื่อนเอย มหาชนประมาทจริงหนอ อบาย ๔ จักเต็ม เทวโลก ๖ จักว่างเปล่า. แต่ถ้าบัญชีหนา เมื่อพวกเทวดาได้เห็นมันเท่านั้น ก็พากันดีใจว่า โอ เพื่อเอย มหาชนมิได้ประมาท อบาย ๔ จักว่าง เทวโลก ๖ จักเต็ม พวกเราจักได้ห้อมล้อมผู้มีบุญใหญ่ที่ได้ทําบุญไว้ในพระพุทธศาสนาแล้วมาเล่นนักษัตรด้วยกัน. ท้าวสักกเทวราชทรงถือบัญชีนั้นแล้วก็ทรงสั่งสอน. โดยแบบปกติ เมื่อท้าวสักกเทวราชนั้นกําลังตรัสพระสุรเสียงได้ยินไป ๑๒ โยชน์. เมื่อตรัสด้วยพระสุรเสียงดังพระสุรเสียงก็กลบเทวนครหมดทั้งหมื่นโยชน์ตั้งอยู่. อย่างที่กล่าวมานี้ เทวดาทั้งหลายย่อมประชุม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 42
กันเพื่อประโยชน์ฟังธรรม. ก็ในที่นี้ พึงทราบว่า พวกเทวดาประชุมกัน เพื่อประโยชน์ปวารณาสงเคราะห์.
คําว่า นมัสการพระตถาคตอยู่ หมายความว่า นมัสการอยู่ซึ่งพระตถาคตด้วยเหตุ ๙ อย่าง. ใจความของบาทคาถาว่า และความที่พระธรรมเป็นธรรมดี เป็นต้น คือความที่พระธรรม ซึ่งต่างด้วยธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้น เป็นธรรมที่ดี และการปฏิบัติดีที่ต่างด้วยความเป็นผู้ปฏิบัติตรงเป็นต้น ของพระสงฆ์.
คําว่า ตามความเป็นจริง คือตามที่เป็นจริง ตามภาวะของตน. วัณณะ หมายเอาพระคุณ. คําว่า ได้กล่าวขึ้นแล้ว หมายความว่า พูดแล้ว. คําว่า ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก คือ ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติอย่างนี้ คือ
แม้เมื่อทรงรวบรวมธรรม ๘ ประการ แทบพระบาทของพระทีปังกรแล้วบําเพ็ญพระอภินิหาร ชื่อว่า ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก. แม้เมื่อทรงบําเพ็ญพระบารมี๑๐ ทัศเหล่านี้ คือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี เป็นเวลา ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ก็ชื่อว่าทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก. ในคราวเป็นดาบสผู้ถือมั่นขันติ (ขันติวาที) ในคราวเป็นจูฬธัมมบาลกุมาร ในคราวเป็นพญาช้างฉัททันต์ ในคราวเป็นพญานาคภูริทัตต์จัมไปยยะและสังขบาล และในคราวเป็นมหากปิ แม้ทรงกระทํางานที่ทําได้ยากเช่นนั้น ก็ชื่อว่าทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก. แม้เมื่อทรงดํารงอัตภาพเป็นพระเวสสันดรทรงให้ทานใหญ่ชนิดละร้อยรวม ๗ ชนิด ทําให้แผ่นดินไหวใน ๗ สถานแล้วทรงยึดเอายอดพระบารมี ก็ชื่อว่า ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก. แม้ในอัตภาพถัดจากอัตภาพเป็นพระเวสสันดรนั้น เสด็จดํารงอยู่ในดุสิต
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 43
บุรีตลอดพระชนมายุ ก็ชื่อว่า ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก. พระองค์ทรงเห็นบุพพนิมิต ๕ อย่างในดุสิตบุรีนั้น ผู้อันพวกเทวดาในหมื่นจักรวาลอ้อนวอนแล้ว ทรงตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ ประการแล้ว ประทานปฏิญาณเพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์พวกเทวดา แล้วทรงจุติจากดุสิตบุรี แม้ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์มารดา ก็ชื่อว่าทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก. ทรงอยู่ในพระครรภ์พระมารดาตลอดสิบเดือนแล้วประสูติจากพระครรภ์พระมารดาที่ป่าลุมพินีก็ดี ทรงครองเรือนสิ้นยี่สิบเก้าพรรษา เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงผนวชอยู่ที่ริมฝังแม่น้ำอโนมาก็ดี ทรงทําพระองค์ให้ลําบากด้วยความเพียรที่ยิ่งใหญ่ ตั้งหกปีแล้วเสด็จขึ้นสู่โพธิบัลลังก์แล้วทรงแทงตลอดพระสัพพัญุตญานก็ดี ทรงยังพระอิริยาบถให้เป็นไปที่ควงไม้โพธิ์ตลอดเจ็ดสัปดาห์ก็ดี เสด็จอาศัยป่าอิสิปตนะแล้ว ทรงหมุนล้อธรรมอันยอดเยี่ยมก็ดี ทรงกระทํายมกปาฏิหาริย์ก็ดี เสด็จลงจากเทวโลกก็ดี ทรงเป็นพระพุทธเจ้าแล้วเสด็จดํารงอยู่ตั้งสี่สิบห้าพรรษาก็ดี ทรงปลงพระชนมายุสังขารก็ดี เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุระหว่างคู่ไม้สาละก็ดี ก็ชื่อว่าทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก. พึงทราบว่า ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มากตลอดเวลาที่พระธาตุของพระองค์แม้เท่าเม็ดผักกาดยังธํารงอยู่. บทที่เหลือก็เป็นคําใช้แทนบทว่า ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก นี้ทั้งนั้น. ในบทเหล่านั้น บทหลัง เป็นไขความของบทก่อน
ในหลายบทว่า ในส่วนอดีต เรายังมองไม่เห็นเลย และในบัดนี้ก็มองไม่เห็น นี้หมายความว่า แม้ในอดีต เราก็มองไม่เห็น ในอนาคตก็มองไม่เห็นคนอื่นนอกจากพระพุทธเจ้า ถึงในบัดนี้ก็มองไม่เห็นเพราะไม่มีศาสดาอื่นเลย นอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. ถึงแม้ในอรรถกถาท่านก็วิจารณ์ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งที่ล่วงแล้วและที่ยังไม่มาถึง ต่างก็
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 44
เหมือนพระศาสดาของพวกเราทั้งนั้น แล้วท้าวสักกะตรัสทําไม แล้วกล่าวว่า ในบัดนี้ พระศาสดาทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก พ้นพระศาสดาของพวกเราแล้ว ก็ไม่มีใครอื่น เพราะฉะนั้น ท้าวสักกะ จึงตรัสว่า เรามองไม่เห็น. ก็ในบทนี้ฉันใด แม้ในบทเหล่าอื่นจากนี้ ก็พึงทราบว่า มีใจความอย่างเดียวกันนี้ ฉันนั้น.
คําทั้งหลายมีคําว่า ธรรมอันพระองค์ตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้น และคําทั้งหลายเป็นต้นว่านี้เป็นกุศล มีใจความที่ได้กล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.
สองบทว่า น้ำแห่งแม่คงคา กับน้ำแห่งยมุนา ความว่า น้ำในที่รวมแห่งแม่น้ำคงคากับแม่น้ำยมุนาย่อมเข้ากัน กลมกลืนกันได้ทั้งโดยสี ทั้งโดยกลิ่น ทั้งโดยรส คือย่อมเป็นเช่นเดียวกันนั่นแหละ เหมือนทองที่หักตรงกลางไม่ใช่แตกต่างกัน เหมือนเวลาที่คลุกเคล้าเข้ากันกับน้ำของมหาสมุทร. ปฏิปทาเพื่อนิพพานที่หมดจด จึงหมดจด. จริงอยู่ บุคคลทําการงานมีเวชกรรมเป็นต้นในเวลาเป็นหนุ่มเที่ยวไปในอโคจร ก็ไม่อาจเห็นนิพพานในเวลาเป็นคนแก่ได้. ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพระนิพพานควรจะเป็นข้อปฏิบัติที่หมดจดจริงๆ เปรียบเหมือนอากาศ. จริงอย่างนั้น ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้จะไปสู่พระนิพพาน ควรจะเปรียบด้วยอากาศ ไม่ข้องไม่ติดในตระกูล หรือในหมู่คณะ เหมือนทางดําเนิน ซึ่งเป็นที่ต้องการปรารถนาในอากาศ ของพระจันทร์และพระอาทิตย์ที่กําลังไปสู่อากาศ อันบริสุทธิ์ไม่มีอะไรติดขัด ฉะนั้น. ก็แหละข้อปฏิบัตินี้นั้น คือเช่นนั้นแหละ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ ตรัส คือทรงแสดงไว้แล้ว.เพราะเหตุนั้น ท้าวสักกะจึงตรัสว่า ทั้งพระนิพพานทั้งข้อปฏิบัติย่อมเข้ากันได้ดังนี้.
บทว่า แห่งข้อปฏิบัติทั้งหลาย คือ ของผู้ตั้งอยู่ในข้อปฏิบัติ. บทว่า ผู้มี (การอยู่) ที่อยู่แล้ว คือ ผู้มีการอยู่อันอยู่เสร็จแล้ว บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 45
ผู้มีคนเหล่านี้เป็นสหายอันตนได้แล้ว ความว่า ชื่อว่าสหาย เพราะไปด้วยกันกับคนเหล่านั้นในที่นั้นๆ. ก็คําว่า ผู้ไม่มีใครเป็นที่สอง ไม่มีสหาย ไม่มีใครเปรียบ นี้ ท้าวสักกะตรัส ด้วยอรรถว่าไม่มีใครเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. คําว่า ไม่ทรงติดอยู่ คือ หมายความว่า แม้ในท่ามกลางคนเหล่านี้ ก็ทรงอยู่ด้วยผลสมาบัติ คือด้วยพระทัยแล้ว ไม่ทรงติดคนเหล่านี้ ทรงตามประกอบความเป็นผู้มีความเป็นผู้เดียวเป็นที่มายินดีอยู่.
หลายบทว่า ก็ลาภของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นสําเร็จยิ่งแล้วแล คือลาภอันยิ่งใหญ่เกิดขึ้นแล้วแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. เกิดขึ้นแล้วตั้งแต่เมื่อไร เกิดขึ้นแล้วแก่พระองค์ตั้งแต่ทรงบรรลุอภิสัมโพธิแล้วทรงล่วงเจ็ดสัปดาห์ เสด็จหมุนล้อธรรมที่อิสิปตนะทรงทําการฝึกเทพและมนุษย์โดยลําดับ ทรงให้สามชฏิลบวช เสด็จกรุงราชคฤห์และทรงฝึกพระเจ้าพิมพิสาร อย่างที่ท่านหมายเอากล่าวไว้ว่า ก็แลโดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นผู้อันชนทําสักการะแล้ว ทําความเคารพแล้ว นับถือแล้ว บูชาแล้ว นอบน้อมแล้ว ทรงเป็นผู้มีลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และบริขาร คือยาอันเป็นปัจจัยสําหรับคนไข้ (๑) ลาภสักการะเกิดขึ้นมาเหมือนห้วงน้ำใหญ่ท่วมท้นอยู่ เพราะผลบุญอันหนาแน่นในสื่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป.
เล่ากันมาว่า ในกรุงราชคฤห์ กรุงสาวัตถี กรุงสาเกต กรุงโกสัมพี กรุงพาราณสี ชื่อว่าปฏิปาฏิภัต (ภัตที่ให้ตามลําดับ) เกิดขึ้นแล้วแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ในกรุงเหล่านั้น คนหนึ่ง จดบัญชีไว้ว่า ข้าพเจ้าจักสละทรัพย์ร้อยหนึ่งถวายทาน แล้วก็ติดไว้ที่ประตูวิหาร คนอื่น ข้าพเจ้าสองร้อยคนหนึ่ง ข้าพเจ้าห้าร้อย คนอื่น ข้าพเจ้าพันหนึ่ง คนอื่น ข้าพเจ้าสอง
(๑) สํ. นิทาน. ๑๑๓.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 46
พัน คนอื่น ข้าพเจ้าห้า สิบ ยี่สิบ ห้าสิบ คนอื่น ข้าพเจ้าแสนหนึ่ง. คนอื่น ข้าพเจ้าจักสละทรัพย์สองแสนถวายทาน เขียนดังนี้แล้ว ก็ติดไว้ที่ประตูวิหาร. มหาชนคิดว่า ได้โอกาสข้าพเจ้าจักถวาย แล้วก็บรรทุกเต็มเกวียน ติดตามภิกษุที่แม้กําลังเที่ยวไปสู่ชนบททีเดียว. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่าก็โดยสมัยนั้นแล พวกชาวชนบท เอาเกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสารบ้างของขบเคี้ยวบ้าง เป็นอันมากใส่ในเกวียนแล้วก็ติดตามปฤษฎางค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคิดว่า เราจักทําภัตในที่ที่เราจักได้ลําดับ (๑) แม้เรื่องอื่นๆ เป็นอันมากทั้งในขันธกะทั้งในพระวินัย ดังที่ว่ามานี้ ก็พึงทราบไว้. ก็แหละลาภนั่นถึงยอดแล้วในอสทิสทาน.
เขาเล่ากันมาว่า สมัยหนึ่ง ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวจาริกไปตามชนบทแล้วทรงมาถึงพระเชตวัน พระราชาทรงนิมนต์มาถวายทาน. ในวันที่สองพวกชาวกรุงถวาย. พระราชาทรงถวายยิ่งกว่าทานของพวกชาวกรุงเหล่านั้นอีก พวกชาวกรุงก็ถวายยิ่งกว่าทานของพระองค์ เป็นดังนี้ ครั้นเมื่อล่วงไปหลายวันอย่างนั้น พระราชาทรงพระดําริว่าพวกชาวกรุงเหล่านั้น พากันทํายิ่งขึ้นๆ ทุกๆ วัน จักมีคําครหาว่า เออ พวกชาวกรุงพิชิตพระราชาผู้ใหญ่ในแผ่นดินได้. ทีนั้นพระนางมัลลิกาได้กราบทูลอุบายแด่พระองค์.
พระองค์รับสั่งให้เอากระดานไม้สาละชนิดดีมาสร้างปะรํา แล้วให้เอาดอกอุบลเขียวมามุง รับสั่งให้ปูที่นั่ง ๕๐๐ ที่ทางด้านหลังที่นั่งยืนช้างไว้ ๕๐๐ เชือก ให้ช้างแต่ละเชือก กั้นเศวตฉัตรให้ภิกษุแต่ละรูป. ระหว่างที่นั่งแต่ละคู่ๆ ธิดากษัตริย์แต่ละนางๆ ตกแต่งด้วยเครื่องสําอางพร้อมสรรพบดเครื่องหอมที่เกิดจากไม้สี่ชนิด. ธิดากษัตริย์นางอื่นก็ใส่เครื่องหอมที่บดเสร็จแล้วๆ ในเรือชล่าที่สําหรับใส่ของหอมในที่ตรงกลาง. ธิดากษัตริย์อีกนางหนึ่งก็เอากํา
(๑) วิ. ม. เภสชฺชกฺขนฺธก ๗๑ฯ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 47
อุบลเขียวโบกกระพือเครื่องหอมนั้น. ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุแต่ละรูปๆ ก็มีธิดากษัตริย์สามนางๆ เป็นบริวาร ผู้หญิงอีกคนหนึ่งที่แต่งเครื่องสําอางพร้อมสรรพถือใบตาลพัด นางอื่นเอาที่กรองน้ำ หญิงอื่นนําเอาน้ำจากบาตร. สําหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า มีของสี่อย่างตีราคาไม่ได้. ของสี่อย่างที่ตีราคาไม่ได้เหล่านี้คือ ที่เช็ดพระบาท ที่รองของ กระดานพิง มณีเชิงฉัตร. ไทยธรรมสําหรับภิกษุใหม่ในสงฆ์มีค่าแสนหนึ่ง. ก็แหละในการถวายทานนั้น พระองคุลิมาลเถระได้เป็นภิกษุใหม่ในสงฆ์ ใกล้ที่นั่งของท่าน ช้างที่นํามาๆ แล้ว ไม่สามารถเข้าใกล้ท่านได้. ลําดับนั้น เจ้าพนักงานกราบทูลพระราชา พระราชาตรัสสั่งว่าพวกท่านจงนําเอาช้างเชือกอื่นมา ช้างที่นํามาแล้ว นํามาแล้วก็ไม่สามารถเลย. พระราชาตรัสว่า ไม่มีช้างเชือกอื่น. เจ้าพนักงานกราบทูลว่า ยังมีช้างดุอยู่ แต่นํามาไม่ได้. พระราชาทูลถามพระตถาคตเจ้าว่า พระเจ้าข้า. รูปใดเป็นภิกษุใหม่ในสงฆ์ พระตถาคตเจ้าตรัสว่า องคุลิมาล มหาบพิตร เพราะฉะนั้น ขอให้เจ้าพนักงานนําเอาช้างดุมาเทียบไว้เถิด มหาบพิตร พวกเจ้าพนักงานแต่งช้างดุแล้วก็นํามา. ด้วยเดชของพระเถระ ช้างเชือกนั้น แม้สักว่าพ่นลมจมูก ก็ทําไม่ได้. พระราชาได้ทรงถวายทานติดต่อกันเจ็ดวันด้วยประการฉะนี้. ในวันที่ ๗ พระราชาทรงถวายบังคมแล้วกราบทูลพระทศพลว่าข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด.
ก็แหละในบริษัทนั้น มีอํามาตย์ ๒ คน คือ กาฬะ และ ชุณหะ. กาฬะคิดว่า สมบัติของราชตระกูลจะฉิบหาย พวกคนมีประมาณเท่านี้ จักทําอะไรกินแล้วไปวัดแล้วก็จักนอนเท่านั้นเอง แต่ราชบุรุษคนเดียวได้สิ่งนี้ จะไม่กระทําหรือ โอ้! สมบัติของในหลวงจะฉิบหาย. ชุณหะคิดว่า ขึ้นชื่อว่า ความเป็นพระราชานี้ยิ่งใหญ่ คนอื่นใดเล่าจักทําสิ่งนี้ได้ ขึ้นชื่อว่าพระราชา คือผู้ที่แม้ดํารงอยู่ในความเป็นพระราชาแล้ว จะทรงให้ทานเห็นปานนั้นไม่ได้หรือ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 48
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยาศัยของบริษัท ก็ทรงทราบอัธยาศัยของคนทั้งสองนั้น จึงทรงพระดําริว่า ถ้าเราจะแสดงธรรมตามอัธยาศัยของชุณหะในวันนี้ ศีรษะของกาฬะจักแตกเป็นเจ็ดเสี่ยง ก็เราแลบําเพ็ญบารมีก็ด้วยความสงสารสัตว์ แม้ในวันอื่นเมื่อเราแสดงธรรม ชุณหะก็คงจักแทงตลอดมรรคผลสําหรับคราวนี้เราจักเห็นแก่กาฬะ แล้วได้ตรัสคาถาสี่บาทเท่านั้นแก่พระราชาว่า
พวกคนตระหนี่ จะไปเทวโลกไม่ได้ พวกคนโง่ จะไม่สรรเสริญทานเลย แต่นักปราชญ์พลอยยินดีตามทาน เพราะเหตุนั้นเอง เขาจึงมีความสุขในโลกหน้า.
พระราชาไม่ทรงพอพระราชหฤทัยว่า เราถวายทานเสียใหญ่โต แต่พระศาสดา ทรงแสดงธรรมแก่เรานิดเดียวแท้ๆ เราไม่สามารถจับพระหฤทัยของพระทศพลได้กระมัง เมื่อเสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว ท้าวเธอก็เสด็จไปวัด ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็ทูลถามว่า พระเจ้าข้าหม่อมฉันถวายทานเสียใหญ่โต แต่พระองค์ทรงทําอนุโมทนา แก่หม่อมฉันไม่ใหญ่หม่อมฉันมีผิดอะไรหรือพระเจ้าข้า. มหาบพิตร พระองค์ไม่ทรงมีผิดอะไรแต่บริษัทไม่สะอาด เพราะฉะนั้น อาตมภาพจึงไม่แสดงธรรม. เพราะเหตุไรพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงว่าบริษัทไม่สะอาด. พระศาสดา ตรัสบอกปริวิตกของอํามาตย์. พระราชาตรัสถามกาฬะว่า อย่างนั้นหรือพ่อกาฬะ. อย่างนั้นมหาราช. พระราชาตรัสว่า เมื่อข้าให้ทรัพย์ของข้า เธอจะเดือดร้อนอะไรเล่า ข้าไม่อาจดูเธอได้ พวกเธอจงขับเขาจากแว่นแคว้นข้า. ต่อจากนั้นตรัสสั่งเรียกชุณหะมาถามว่า นัยว่า พ่อคิดอย่างนั้นหรือ. อย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า จงตามใจเธอเถิด เธอจงนิมนต์ภิกษุ ๕๐๐ รูปมานั่งบน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 49
ที่นั่งที่ปูไว้ในปะรํานั่นแล แล้วให้ธิดากษัตริย์เหล่านั้นนั่นแหละแวดล้อม เอาทรัพย์จากพระราชวังมาถวายทานเจ็ดวันอย่างที่ข้าถวายทีเดียวนะ เขาได้ทําอย่างนั้นแล้ว. ครั้นถวายเสร็จแล้วในวันที่เจ็ด ก็กราบทูลว่าข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าขอพระองค์โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระพุทธเจ้าเถิด. พระศาสดาทรงกระทําการอนุโมทนาทานแม้ทั้งสองให้เป็นอันเดียวกัน เหมือนทรงกระทําแม่น้ำใหญ่สองสายให้เต็มด้วยห้วงน้ำเดียวกัน ทรงแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์ใหญ่ เมื่อทรงเทศน์จบ ชุณหะก็ได้เป็นพระโสดาบัน. พระราชาทรงเลื่อมใสทรงถวายผ้าชื่อปาวายแด่พระทศพล. พึงทราบว่า ก็ลาภสําเร็จยิ่งแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล ด้วยอาการอย่างนี้.
บทว่า พระเกียรติสําเร็จอย่างยิ่ง คือ การสรรเสริญถึงพระเกียรติคุณ.ถึงแม้พระเกียรตินั้นก็สําเร็จอย่างยิ่งแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งแต่ทรงหมุนล้อธรรมไป. จริงอย่างนั้น ตั้งแต่นั้นมา พวกกษัตริย์ก็พูดถึงพระเกียรติของพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงพวกพราหมณ์ พวกคหบดี พวกนาค พวกครุฑ พวกคนธรรพ์ พวกเทวดา พวกพรหม ต่างก็กล่าวถึงพระเกียรติแล้วสรรเสริญด้วยคําเป็นต้นว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ถึงพวกเดียรถีย์ให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่วรโรชะแล้วส่งไปว่า เธอจงกล่าวโทษพระสมณโคดม. เขารับทรัพย์พันหนึ่งแล้ว ก็สํารวจดูพระทศพลตั้งแต่พื้นพระบาทจรดปลายพระเกศา โทษสักลิกขา (๑) ก็ไม่เห็นมี จึงคิดว่าผู้ที่พลิกแพลงปากพูดถึงโทษในอัตภาพที่หาโทษมิได้ ซึ่งเกลื่อนกล่นไปด้วยมหาปุริลลักษณะ ๓๒ ประการ ประดับด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ อย่าง ห้อมล้อมไปด้วยรัศมีวาหนึ่ง เช่นกับปาริฉัตรที่บานเต็มที่ ท้องฟ้าที่โชติช่วงหมู่ดาวและนันทวันที่งดงามไปด้วยดอกไม้อันวิจิตรเช่นนี้ หัวต้องแตกเป็นเจ็ดเสี่ยงอุบายที่จะ
(๑) ลิกฺขา มาตราชั่ง หนักเท่ากับ ๑๒๙๖ อณู.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 50
กล่าวติก็ไม่มี เราจะกล่าวชมเท่านั้น ดังนี้แล้วก็กล่าวชมอย่างเดียว ตั้งแต่พื้นพระบาทจนถึงปลายพระเกศา ด้วยถ้อยคําพันกว่าบท. ก็ขึ้นชื่อว่าพระเกียรตินั้น ถึงยอดในเรื่องยมกปาฏิหาริย์ พระเกียรติสําเร็จเป็นอย่างยิ่งดังว่ามาด้วยประการฉะนี้. บทว่า แม้กระทั่งพวกกษัตริย์เหล่าอื่น ความว่าแม้คนเป็นต้น ทั้งหมด คือพวกพราหมณ์ พวกแพทย์ พวกสูทร พวกนาค พวกครุฑ พวกอสูร พวกเทวดา พวกพรหม ล้วนแต่เป็นผู้รักใคร่ ร่าเริงพอใจด้วยกันทั้งนั้น.
บทว่า ก็แลทรงปราศจากความเมา คือ ไม่ทรงเป็นผู้มัวเมาประมาทว่า พวกชนมีประมาณเท่านี้ เป็นผู้รักใคร่เรา แล้วเสวยพระกระยาหารด้วยสามารถการเล่นเป็นต้น แต่ที่แท้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแลทรงปราศจากความเมา เสวยพระกระยาหาร. บทว่า มีปกติตรัสอย่างไร ความว่า ตรัสคําใดด้วยพระวาจา พระกรณียกิจทางพระกายของพระองค์ก็คล้อยตามพระวาจานั้นจริงๆ และพระกรณียกิจที่ทรงกระทําด้วยพระกาย พระกรณียกิจทางพระวาจาของพระองค์ก็คล้อยตามพระกายโดยแท้ พระกายไม่ก้าวล่วงพระวาจา หรือพระวาจาก็ไม่ก้าวล่วงพระกาย พระวาจาสมกับพระกาย และพระกายก็สมกับพระวาจา. เหมือนอย่างว่า
ข้างซ้ายเป็นหมู ข้างขวาเป็นแพะโดยเสียงเป็นแกะ โดยเสียงเป็นวัวแก่
ดังนี้ ยักษ์หมูนี้เมื่อเห็นฝูงหมู ก็แสดงด้านซ้ายเหมือนหมูแล้วก็จับหมูเหล่านั้นกิน ครั้นเห็นฝูงแพะ ก็แสดงด้านขวาเหมือนแพะนั้น แล้วก็จับแพะเหล่านั้นกิน ครั้นเห็นฝูงลูกแกะ ก็ร้องเป็นเสียงร้องของลูกแกะ แล้วก็จับลูกแกะเหล่านั้นกิน พอเห็นฝูงวัวก็นิรมิตเขาให้เหมือนเขาของพวกวัวเหล่านั้น ดูแต่ไกลก็เห็นเหมือนวัวด้วยประการฉะนี้ ก็จับวัวเหล่านั้น ที่เข้ามาใกล้อย่างนั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 51
กินฉันใด และเหมือนอย่างกาในชาดกกาทรงธรรมที่พวกนกถามก็บอกว่า ข้าเป็นกาอ้าปากกินลม ยืนด้วยเท้าข้างเดียวเท่านั้น เพราะกลัวจะเหยียบสัตว์ตาย เพราะฉะนั้น แม้พวกท่าน
ขอจงประพฤติธรรม ขอความเจริญจงมีแก่พวกท่าน ญาติทั้งหลาย ขอพวกท่านจงประพฤติธรรม ผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติย่อมอยู่เป็นสุข ทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า
แล้วทําให้พวกนกตายใจ ต่อจากนั้น ก็กินหมู่นกที่มาถึงความตายใจอย่างนี้ว่า
นกตัวนี้ช่างดีจริงหนอ นกตัวนี้ทรงธรรมอย่างยิ่ง เอาเท้าข้างเดียวยืน ร้องว่า ธรรม ธรรม
วาจาของยักษ์หมูและกาเหล่านั้น ไม่สมกับกายและกายก็ไม่สมกับวาจาฉันใด ของพระผู้มีพระภาคเจ้า หาเป็นฉันนั้น ไม่ ท่านแสดงว่า เพราะพระวาจาของพระผู้มีพระภาคเจ้าสมกับพระกาย และพระกายก็สมกับพระวาจาโดยแท้จริงดังนี้.
ชื่อว่า ทรงล่วงความสงสัยได้ เพราะพระองค์ทรงล่วงคือทรงข้ามความสงสัยได้แล้ว. ชื่อว่าทรงปราศจากการถามว่าอย่างไรๆ เพราะพระองค์ปราศจากการถามอย่างไรๆ เห็นปานนี้ว่า นี้อย่างไร นี้อย่างไร. จริงอยู่พระศาสดาไม่เหมือนคนจํานวนมากที่ยังมีความสงสัยว่า ต้นไม้นี้ชื่อต้นอะไร ตําบลนี้ (ชื่อตําบลอะไร) อําเภอ (หรือจังหวัด) นี้ (ชื่ออําเภอหรือจังหวัดอะไร) แคว้นนี้ชื่อแคว้นอะไร ทําไมนะต้นไม้นี้จึงมีลําต้นตรง ต้นไม้นี้มีลําต้นคดทําไมจึงมีหนาม บางต้นตรง บางต้นคด บางดอกกลิ่นหอม บางดอกกลิ่นเหม็น บางผลหวาน บางผลไม่หวาน. จริงอย่างนั้น พระศาสดาทรงทราบว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 52
เพราะธาตุเหล่านี้หนาแน่น สิ่งนี้จึงเป็นอย่างนี้ จึงทรงเป็นผู้ปราศจากการถามอย่างไรๆ โดยแท้. และสําหรับพระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงเหมือนผู้ที่ได้ฌานที่ ๑ เป็นต้น มีความสงสัยในฌานที่ ๒ เป็นต้น และถึงแม้พระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ยังมีความสงสัยด้วยอํานาจโวหารอยู่โดยแท้ เพราะยังไม่มีการตกลงใจตามความเป็นจริงด้วยสัพพัญุตญาณ ท้าวสักกะท่านจึงทรงแสดงว่า ก็แลพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงปราศจากการถามว่าอย่างไรๆ ในทุกสิ่งทุกอย่างดังนี้.
บทว่า จบความคิดแล้ว คือ พระศาสดาของเราไม่เหมือนคนบางคนที่ไปจบความคิด คือเต็มมโนรถเอาแค่ศีล บ้างก็แค่วิปัสสนา บ้างก็แค่ฌานที่ ๑ ฯลฯ บ้างก็ด้วยเนวสัญญานาสัญญาสมาบัติ บ้างก็แค่ความเป็นพระโสดาบัน บ้างด้วยอรหัตตมรรค บ้างด้วยสาวกบารมีญาณ บ้างด้วยปัจเจกโพธิญาณ. ท้าวสักกะ ทรงชี้ว่า ส่วนพระศาสดาของเรา ทรงจบความคิดด้วยสัพพัญุตญาณ. บทว่า อชฺฌาสยํ อาทิพฺรหฺมจริยํ เป็นปฐมาวิภัติลงในอรรถแห่งตติยาวิภัติ. อธิบายว่า ทรงข้ามความสงสัยได้ ทรงปราศจากการถามว่าอย่างไรๆ ทรงสิ้นสุดความคิด ด้วยข้อปฏิบัติอันเป็นเบื้องต้นพรหมจรรย์ อันเป็นที่อาศัยอย่างยิ่ง คือเป็นที่อาศัยชั้นสูงสุด และด้วยอริยมรรคอันเป็นพรหมจรรย์เก่าแก่. แม้ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบความคิดชื่อว่าสําเร็จแล้วด้วยอริยมรรคนั่นแหละ เพราะพระบาลีว่าตรัสรู้สัจจะทั้งหลายด้วยพระองค์เองในสิ่งที่ไม่ทรงได้ฟังมาก่อน และทรงบรรลุความเป็นผู้ทรงรู้ทุกอย่างในสิ่งเหล่านั้น และทรงบรรลุแม้ความเป็นผู้ชํานิชํานาญในธรรมอันเป็นกําลังทั้งหลาย
บทว่า เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเทียว คือ พระผู้มีพระภาคเจ้านั่นแลฉันใด. คนทั้งหลายหวังอยู่พูดว่า โอ้หนอ! พระชินเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 53
สี่พระองค์พึงเที่ยวจาริกแสดงธรรมในทิศทั้งสี่บนพื้นชมพูทวีปเดียว ต่อมาคนพวกอื่น หวังการเสด็จท่องเที่ยวไปด้วยกันในสามมณฑล ก็กล่าวว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสามพระองค์. คนอีกพวกหนึ่งคิดอยู่ว่าการบําเพ็ญพระบารมีจนครบสิบทัศแล้ว เกิดพระพุทธเจ้า ๔ หรือ ๓ พระองค์ขึ้นมา ยากที่จะได้แต่ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์เดียว พึงประทับประจําแสดงธรรม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียวเสด็จท่องเที่ยวไป แม้เมื่อเช่นนี้ชมพูทวีป ก็จะพึงงดงามและพึงบรรลุหิตสุขเป็นอันมากด้วยเป็นแน่จึงกล่าวว่า โอ้หนอ! ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น.
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า นี้ไม่ใช่ฐานะ นี้ไม่ใช่โอกาส ดังต่อไปนี้. คําทั้งสองนี้คือ ฐานะอวกาส เป็นชื่อของการณ์นั่นแหละ. จริงอยู่การณ์ (เหตุ) ชื่อว่า ฐานะ เพราะผลย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น เพราะความที่ผลเป็นของเป็นไปเกี่ยวเนื่องกับเหตุนั้น และเหตุนั้นก็เป็นเหมือนโอกาส จึงชื่อว่า อวกาสเพราะความที่ผลนั้น เว้นโอกาสนั้นเสียไม่มีในที่อื่น. บทว่า ยํ เป็นปฐมาวิภัติลงในอรรถตติยาวิภัติ. มีคําที่ท้าวสักกะทรงอธิบายไว้ดังนี้ว่า ในโลกธาตุเดียว พระพุทธเจ้าสองพระองค์พึงทรงเกิดขึ้นพร้อมกัน ด้วยเหตุใด เหตุนั้นไม่มี. และจักรวาลหนึ่งเท่านั้น ชื่อว่าหนึ่งโลกธาตุ ในคาถานี้ว่า
พระจันทร์และพระอาทิตย์ โคจรส่องทิศให้สว่างไสวมีประมาณเท่าใด โลกตั้งพันก็เท่านั้น อํานาจของพระองค์ย่อมเป็นไปในพันโลกนั้น.
พันจักรวาล ชื่อว่าหนึ่งโลกธาตุในอนาคตสถานว่า พันโลกธาตุได้หวั่นไหวแล้ว. ติสหัสสีจักรวาล มหาสหัสสีจักรวาล ชื่อว่าหนึ่งโลกธาตุในที่มาว่า อานนท์ตถาคตเมื่อต้องการจะพึงใช้เสียงให้ติสหัสสีโลกธาตุ มหาสหัสสีโลกธาตุเข้าใจ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 54
ก็ได้ และแผ่รัศมีไปก็ได้. หมื่นจักรวาลชื่อว่าโลกธาตุในที่มาว่า และหมื่นโลกธาตุนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงหมายถึงหมื่นโลกธาตุนั้น ตรัสว่าในโลกธาตุหนึ่ง ดังนี้. ก็ที่เท่านี้ ชื่อว่าเขตแห่งพระชาติ. ถึงในเขตแห่งพระชาตินั้น ยกเว้นประเทศส่วนกลางแห่งชมพูทวีปในจักรวาลนี้เสียแล้วในประเทศอื่นพระพุทธเจ้าทั้งหลายหาได้ทรงเกิดขึ้นไม่ ก็แหละพ้นจากเขตแห่งพระชาติไป ไม่ปรากฏที่เสด็จเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเลย.
บทว่า ด้วยประโยชน์อันใด คือด้วยประโยชน์แห่งปวารณาสงเคราะห์ใด.
บทว่า ด้วยวรรณะและด้วยยศนั่นเทียว ความว่า ด้วยเครื่องแต่งตัวและบริวาร และด้วยบุญสิริ. สาธุศัพท์เป็นไปในความเลื่อมใส ในบทนี้ว่า สาธุท่านมหาพรหม. บทว่า พิจารณาแล้วยินดี คือรู้แล้วจึงยินดี. ใครๆ ไม่สามารถกําหนดว่า เท่านี้ แล้วกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงมีพระปัญญายิ่งใหญ่มานานเพียงไรแล้วเทียว ที่แท้พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเราพระองค์นั้น ทรงมีพระปัญญายิ่งใหญ่มานาน คือนานเหลือเกินมาแล้ว เพราะฉะนั้น พวกท่านจะสําคัญอย่างไร ทีนั้น สนังกุมารพรหม มีความประสงค์จะแก้ปัญหานั้นด้วยพระองค์เองทีเดียว จึงตรัสว่าท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ไม่น่าอัศจรรย์เลย ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงบําเพ็ญพระบารมีทําลายยอดมารทั้งสามที่โพธิบัลลังก์ ทรงมีพระญาณที่ไม่ทั่วไปซึ่งทรงแทงตลอดแล้ว พึงกลายเป็นผู้ทรงมีพระปัญญายิ่งใหญ่ในบัดนี้ อัศจรรย์อะไรในข้อนี้. แต่เพื่อนเอย ข้าพเจ้าจักบอกพวกท่านถึงความที่พระองค์ยังดํารงอยู่ในประเทศญาณแห่งพระโพธิญาณ ที่ยังไม่แก่กล้าก็ทรงมีพระปัญญายิ่งใหญ่จริงๆ แม้ในเวลาที่ยังทรงมีราคะเป็นต้น เมื่อจะทรงนําเอาเหตุการณ์ที่ถูกภพปิดมาแสดงจึงตรัสคําเป็นต้นว่า ภูคปุพฺพํ โภ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 55
คําว่า ปุโรหิต คือ ที่ปรึกษาสําหรับพร่ําสอนกิจทุกอย่าง. บทว่า โควินท์ คือได้รับอภิเษกด้วยการอภิเษกให้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน. ก็โดยปกติเขามีชื่อเป็นอย่างอื่นแท้ๆ ตั้งแต่เวลาได้รับอภิเษกแล้ว ก็ถึงการนับว่า โควินท์. คําว่า โชติบาล คือชื่อว่า โชติบาล เพราะรุ่งเรืองและเพราะรักษา.
ได้ยินมาว่า ในวันที่โชติบาลเกิดนั้น อาวุธทุกชนิดลุกโพลง. แม้พระราชาเมื่อทรงเห็นพระแสงมังคลาวุธของพระองค์ลุกโพลง ในเวลาใกล้สว่าง ก็ทรงกลัวประทับยืนแล้ว. โควินท์ไปเฝ้าพระราชาแต่เช้าตรู่ กราบทูลถามการบรรทมเป็นสุข. พระราชาตรัสตอบว่า ท่านอาจารย์ ฉันจะนอนเป็นสุขแต่ที่ไหน แล้วก็ทรงบอกเหตุนั้น. มหาราช อย่าทรงกลัวเลย ลูกชายข้าพระพุทธเจ้าเกิดแล้ว ด้วยอานุภาพของเขา อาวุธทั้งหลาย ลุกโพลง ทั่วทั้งพระนคร. พระราชาทรงคิดว่า เด็กนี้จะพึงเป็นศัตรูแก่เราหรือหนอ แล้วก็ยิ่งทรงกลัว. และเมื่อทรงถูกทูลถามว่า มหาราช พระองค์ทรงคิดอะไร? ก็ตรัสบอกข้อความนั้น. ที่นั้นโควินท์ได้กราบทูลพระองค์ว่า มหาราช อย่าทรงกลัวไปเลย เด็กนี้จักไม่ทําร้ายพระองค์ แต่ว่าในชมพูทวีปทั้งสิ้น จักไม่มีใครมีปัญญาเท่าเขา ความสงสัยของมหาชน จักขาดสิ้น เพราะคําของลูกชายของข้าพระพุทธเจ้า และเขาจักพร่ําสอนกิจทุกอย่างแด่พระองค์ แล้วก็ปลอบโยนพระองค์. พระราชาทรงพอพระทัยตรัสว่า จงเป็นค่าน้ำนมของเด็ก แล้วพระราชทานทรัพย์พันหนึ่ง ตรัสสั่งว่า จงแสดงเด็กแก่เรา ในเวลาเป็นผู้ใหญ่. เด็กถึงความเติบโตโดยลําดับ. เพราะความที่เด็กนั้นเป็นผู้รุ่งเรือง และเป็นผู้สามารถในการรักษา พ่อแม่จึงตั้งชื่อว่า โชติบาล. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า โชติบาล เพราะความรุ่งเรือง และเพราะการรักษาดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 56
บทว่า ละได้อย่างถูกต้อง คือสละได้โดยชอบ. หรือบทว่า สละได้โดยชอบ นี่เอง เป็นปาฐะ. บทว่า เป็นผู้สามารถเห็นและไตร่ตรองข้อความ คือเพราะเป็นผู้สามารถ อาจหาญ เป็นผู้เห็นข้อความ จึงชื่อว่าเป็นผู้สามารถเห็นข้อความ ชื่อว่าเป็นผู้สามารถเห็นและไตร่ตรองข้อความ เพราะย่อมไตร่ตรองข้อความนั้น. ด้วยบทว่า อันโชติบาลมาณพนั่นแหละพึงพร่ําสอน ท่านแสดงว่า แม้พระราชานั้นก็ทรงถามโชติบาลนั่นแล แล้วจึงทรงปกครอง. บทว่า ขอความเจริญจงมีกะโชติบาลผู้เจริญ ความว่า ความเป็นความเจริญ ความบรรลุคุณวิเศษ ความดีงามและมหามงคลทั้งหมดจงมีแก่โชติบาลผู้เจริญ.
บทว่า ถ้อยคํานําให้เกิดความบันเทิง คือ จบคําปฏิสันถารอันเป็นเครื่องบรรเทาโศก เกี่ยวกับความตายโดยนัยเป็นต้นว่า อย่าเลยมหาราชอย่าทรงคิดเลย นี่เป็นของแน่นอนสําหรับสรรพสัตว์. บทว่า โซติบาลผู้เจริญอย่าให้เราเสื่อมจากคําพร่ําสอน ความว่า อย่าให้เสื่อมเสียจากคําพร่ําสอน. อธิบายว่า เมื่อถูกขอร้องว่า จงพร่ําสอน ก็อย่าบอกเลิกพวกเราจากคําพร่ําสอนด้วยพูดว่า ข้าพเจ้าจะไม่พร่ําสอน. บทว่า จัดแจง คือจัดแจงแต่งตั้ง.
บทว่า พวกคนกล่าวอย่างนี้ ความว่า เมื่อพวกคนเห็นโชติบาลนั้นมีปัญญามากกว่าพ่อ พร่ําสอนกิจทุกชนิด จัดการงานทุกอย่าง ก็มีจิตยินดีกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ โควินทพราหมณ์หนอ ท่านผู้เจริญ มหาโควินทพราหมณ์หนอ มีคําที่ท่านอธิบายอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ โควินทพราหมณ์เป็นบิดาของคนนี้ ส่วนคนนี้ เป็นมหาโควินทพราหมณ์.
บทว่า กษัตริย์ ๖ องค์นั้น โดยที่ใด คือกษัตริย์ ๖ องค์ที่ท่านกล่าวว่า สหายเหล่านั้นใด. เล่ากันมาว่า กษัตริย์เหล่านั้น ร่วมพระบิดากับเจ้าชายเรณุ ทรงเป็นน้อง เพราะฉะนั้น มหาโควินท์จึงคิดว่า เจ้าชายเรณุนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 57
ทรงได้รับอภิเษกแล้ว จะแบ่งหรือไม่แบ่งราชสมบัติแก่กษัตริย์ทั้ง ๖ องค์นั้น ถ้าไฉนเราต้องส่งกษัตริย์เหล่านั้น ไปสู่สํานักของเจ้าชายเรณุโดยทันทีแล้วทําให้เจ้าชายเรณุทรงรับคํามั่นให้ได้แล้ว จึงเข้าเฝ้ากษัตริย์ทั้ง ๖ องค์นั้นยังที่ประทับ. บทว่า ผู้ทําของพระราชา ได้แก่พวกข้าราชการ คือพวกอํามาตย์. บทว่า กามทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งความเคลิบเคลิ้ม หมายความว่า การทั้งหลายทําให้เมา ทําให้ประมาท อธิบายว่า เมื่อเวลาล่วงไปๆ เจ้าชายเรณุนี้ จะไม่พึงสามารถแม้เพื่อตามระลึกถึง. เพราะฉะนั้น ท่านผู้เจริญทั้งหลายจึงมา คือจงดําเนินมา. บทว่า ท่าน ข้าพเจ้ายังจําได้ คือเขาว่าครั้งนั้นเป็นเวลาที่พวกคนชอบพูดความจริงกัน เพราะฉะนั้น เจ้าชายเรณุจึงไม่ตรัสคําไม่จริงว่า ข้าพเจ้าพูดเมื่อไร ใครได้เห็น ใครได้ยิน (แต่) ตรัสว่า ท่าน ข้าพเจ้ายังจําได้.
บทว่า ถ้อยคําที่พึงบันเทิง คือ ถ้อยคําต้อนรับเห็นปานนี้ว่ามหาราช เมื่อพระราชาเสด็จสวรรคตแล้ว พระองค์อย่าไปทรงคิดอะไร นี่เป็นสิ่งแน่นอนของสรรพสัตว์ สังขารทั้งหลายเป็นอย่างนี้. บทว่า ตั้งเป็นหน้าเกวียนทั้งหมด คือ ตั้งหมดทั้ง ๖ แคว้น เป็นทางเกวียน. พระราชาแต่ละองค์มีราชสมบัติสามร้อยโยชน์ ประเทศที่เป็นที่รวมแห่งราชสมบัติของพระเจ้าเรณุสิบคาวุต. ก็ราชสมบัติของพระเจ้าเรณุอยู่ตรงกลางเช่นกับเพดาน. ทําไมจึงตั้งไว้อย่างนี้ กษัตริย์ทั้งหลายเมื่อมาเฝ้าพระราชาเป็นบางครั้งบางคราว จักไม่ทรงเบียดเบียนราชสมบัติของกษัตริย์องค์อื่น ทรงมาและไปโดยประเทศของตนๆ เท่านั้น เพราะเมื่อทรงหยั่งลงสู่ราชสมบัติขององค์อื่นแล้วตรัสอยู่ว่า พวกท่านจงให้อาหาร จงให้โค พวกมนุษย์ก็จะยกโทษ พระราชาเหล่านี้ไม่เสด็จไปทางแว่นแคว้นของตนๆ ย่อมทรงกระทําการเบียดเบียนพวกเรา. แต่เมื่อเสด็จไปทางแว่นแคว้นของตน พวกคนก็ย่อมไม่สําคัญการเบียด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 58
เบียนว่า พระราชาองค์นี้จะต้องได้สิ่งนี้และสิ่งนี้ไปจากสํานักของพวกเราทีเดียว. มหาโควินท์คํานึงถึงข้อนี้ จึงตั้งไว้อย่างนี้ว่า เมื่อพวกพระราชาทรงบันเทิงพร้อมกันจงครอบครองราชสมบัติให้ยืนนานเถิดดังนี้ นคร ๗ แห่งนี้ คือ
ทันตปุระแห่งแคว้นกลิงค์ โปตนะแห่งแคว้นอสัสกะ มาหิสสดีแห่งแคว้นอวันตี โรรุกะแห่งแคว้นโสจิระ มิถิลาแห่งแคว้นวิเทหะ และสร้างจัมปาในแคว้นอังคะ และพาราณสีแห่งแคว้นกาสี เหล่านี้โควินท์สร้างไว้แล้ว
อันมหาโควินท์นั่นแหละสร้างไว้เพื่อประโยชน์แก่พระราชา พระนามเหล่านี้คือ
สัตตภู พรหมทัต เวสสภู พร้อมกับภรตะ เรณุ และสองธตรฐะ ทั้ง ๗ องค์นี้ได้เป็นผู้ทรงภาระในครั้งนั้น
เป็นพระนามแม้แห่งพระราชาทั้งเจ็ดพระองค์เหล่านั้น. จริงอยู่ในเจ็ดพระองค์เหล่านั้น ได้แก่องค์เหล่านี้คือ สัตภู ๑ พรหมทัต ๑ เวสสภู ๑ พร้อมกับเวสสภูนั้นแลคือ ภรตะ ๑ เรณุ ๑ ส่วนธตรฐะมีสองพระองค์. บทว่าทั้ง ๗ องค์ทรงมีภาระ คือ ทรงเป็นผู้มีพระภาระ ได้แก่ทรงเป็นมหาราชในพื้นชมพูทวีป.
จบ การพรรณนาในปฐมภาณวาร
บทว่า เข้าไปหา คือ พระราชาทั้ง ๗ พระองค์ทรงพระดําริว่า อิสริยสมบัตินี้สําเร็จแล้วแก่พวกเรา ไม่ใช่ด้วยอานุภาพแห่งคนอื่น แต่ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 59
อานุภาพของมหาโควินท์ มหาโควินท์ได้ทําให้พวกเราเหล่า ๗ ราชาพร้อมเพรียงกัน แต่งตั้งพวกเราในพื้นชมพูทวีป ก็แล พวกเราไม่ง่ายที่จะทําการตอบสนองแก่มหาโควินท์ผู้เป็นบุรพูปการี มหาโควินท์นี้แลจงพร่ําสอนพวกเราแม้ทั้ง ๗ คน พวกเราจะให้มหาโควินท์นี้แลเป็นแม่ทัพและเป็นที่ปรึกษาเมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราคงจะมีความเจริญแน่ แล้วก็เข้าไปหา. ถึงมหาโควินท์ก็คิดว่า เราได้ทําให้พระราชาเหล่านี้สมัครสมานกันแล้ว. หากว่าพระราชาเหล่านี้จักมีคนอื่นเป็นแม่ทัพและเป็นที่ปรึกษา แต่นั้นพระราชาเหล่านี้ ก็จักทรงถือถ้อยคําของแม่ทัพและที่ปรึกษาของตนๆ แล้วแตกกัน เราจะยอมรับทั้งตําแหน่งแม่ทัพและตําแหน่งที่ปรึกษาของพระราชาเหล่านี้แล้วรับว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า.
บทว่า และพราหมณ์มหาศาล ๗ คน คือ มหาโควินท์มาคิดว่า เราจะพึงอยู่เฉพาะพระพักตร์หรือไม่ก็ตาม ในที่ทุกแห่ง พระราชาเหล่านี้จักทรงปฏิบัติหน้าที่โดยประการที่เราจักไม่อยู่เฉพาะพระพักตร์ได้ แล้วก็แต่งตั้งรองที่ปรึกษาไว้ ๗ คน ท่านหมายเอารองที่ปรึกษา ๗ คนนั้น จึงกล่าวคํานี้ว่า และพราหมณ์มหาศาล ๗ คน ดังนี้. ชื่อว่าผู้อาบ เพราะอาบน้ำวันละสามครั้ง หรืออาบในตอนเย็นและตอนเช้าทุกวัน หรือชื่อว่าอาบแล้วในเพราะจบการประพฤติพรต. ชื่อว่าผู้อาบ เพราะตั้งแต่นั้น พวกพราหมณ์ไม่กินไม่ดื่มร่วมกับพวกพราหมณ์ด้วยกัน.
บทว่า ฟุ้งไป แปลว่า ขึ้นไปสูงอย่างยิ่ง เล่ากันมาว่า ครั้งนั้นถ้อยคํานี้แลเป็นไปแล้วแก่คนทั้งหลายในที่ที่นั่งแล้วๆ (ในที่นั่งทุกแห่ง) ว่าคนเราเมื่อได้ปรึกษากับพรหมแล้วก็จะพร่ําสอนได้หมดทั้งชมพูทวีป. บทว่า แต่เราไม่เลย ความว่าได้ยินว่า มหาบุรุษ คิดว่า คุณที่ไม่เป็นจริงนี้เกิดแก่เราแล้ว ก็แลการเกิดคุณขึ้นไม่ใช่ของหนักหนาอะไร แต่การรักษาคุณที่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 60
เกิดขึ้นแล้วนั่นแล เป็นของหนัก. อนึ่งทั้งๆ ที่เราไม่ได้คิดไม่ได้ปรึกษากระทําอยู่ คุณนี้ก็เกิดขึ้นแล้วเทียว ก็เมื่อเราคิดแล้วปรึกษาแล้วจึงทํา คุณก็จักยิ่งกว้างใหญ่เป็นแน่ แล้วก็แสวงหาอุบายในการเห็นพรหม เมื่อได้เห็นพรหมนั้นแล้วก็ปริวิตกถึงข้อนี้เป็นต้นว่า ก็แลข้อนั้นเราได้ฟังมาแล้ว ดังนี้. บทว่า เข้าเฝ้าพระเจ้าเรณุถึงที่ประทับ ความว่า มหาโควินท์มาคิดว่า ความต้องการเพื่อจะเฝ้า หรือความต้องการ เพื่อจะสนทนากันในระหว่างอย่างนั้นจักไม่มีเลยเพราะเราตัดความกังวลได้แล้ว จักอยู่สบาย ดังนี้ จึงเข้าเฝ้าเพื่อตัดความกังวลให้ขาด. ทุกแห่งก็นัยนี้. บทว่า พวกเช่นกัน คือหญิงมีวรรณะเสมอกันมีชาติเสมอกัน.
บทว่า ให้สร้างสัณฐาคารหลังใหม่ คือ ให้สร้างที่อยู่อย่างวิจิตรเอาต้นอ้อมาล้อมข้างนอกมีที่พักกลางคืนที่พักกลางวันและที่จงกรม พร้อมบริบูรณ์เหมาะสําหรับอยู่ในฤดูฝน ๔ เดือน. บทว่า เพ่งกรุณาฌาน คือเพ่งฌานทั้งหมวดสามและหมวดสี่แห่งกรุณา. ก็ในบทว่า เพ่งกรุณาฌาน นี้ ด้วยมุขคือกรุณา ก็เป็นอันว่าพรหมวิหารที่เหลืออีกสามข้อท่านถือเอาแล้วเทียว. บทว่า ความกระสัน ความสะดุ้ง ความว่า เมื่ออยู่ในภูมิฌานไม่ว่าความกระสันเพราะความไม่ยินดี หรือความสะดุ้งเพราะความกลัวย่อมไม่มี แต่ความต้องการให้พรหมมา ความอยากให้พรหมมา ได้มีแล้ว. ความกลัวเพราะจิตสะดุ้งนั่นแหละ เรียกว่า ความกลัว.
บทว่า ไม่รู้อยู่ คือไม่ทราบอยู่. บทว่า ทําอย่างไรพวกเราจึงจะรู้จักท่าน ความว่า พวกเราจะรู้จักท่านว่าอะไร. อธิบายว่าพวกเราจะจําท่านด้วยอาการอะไรในอาการเป็นต้นว่า คนนี้อยู่ที่ไหน ชื่ออะไร โคตรอะไร. คําว่า คนทั้งหลายรู้จักข้าพเจ้าว่าเป็นกุมาร ความว่า คนทั้งหลายรู้จักข้าพเจ้านั่นแลว่าเป็นกุมารว่าเป็นชายหนุ่ม. บทว่า ในพรหมโลก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 61
คือในโลกที่ประเสริฐสุด. บทว่า เป็นของเก่า คือเป็นของนมนานเป็นของเก่าแก่. พรหมย่อมแสดงว่า ข้าพเจ้านั้นเป็นกุมารเก่า ชื่อสนังกุมารพรหม. บทว่า โควินท์ ท่านจงรู้อย่างนี้ ความว่าโควินท์ผู้เป็นบัณฑิต ท่านจงรู้ข้าพเจ้าอย่างนี้ คือจงจําข้าพเจ้าไว้อย่างนี้.
ของที่พึงน้อมไปเพื่อแขก เรียกว่าของรับแขก ในคาถานี้ว่า
ที่นั่ง น้ำ น้ำมันทาเท้า และผักนึ่งอย่างดี สําหรับพรหม (มีอยู่) ข้าพเจ้าขอต้อนรับผู้เจริญ ขอผู้เจริญจงรับของควรค่าของข้าพเจ้า.
มีคําที่ท่านอธิบายไว้ด้วยบทว่า ของรับแขก นั้นเองว่า นี้ที่นั่งที่ปูไว้แล้ว เชิญนั่งบนที่นั่งนี้ นี้น้ำบริสุทธิ์ เชิญดื่มน้ำ เชิญล้างเท้าจากน้ำนี้ นี้น้ำมันทาเท้า ที่เอาน้ำมันมาปรุงเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เท้า เชิญทาเท้าด้วยน้ำมันนี้. บทนี้ว่า ผักนึ่งอย่างดี คือ พรหมจรรย์ของพระโพธิสัตว์ หาเหมือนกับพรหมจรรย์ของคนเหล่าอื่นไม่ พระโพธิสัตว์นั้น ไม่ทําการสะสมด้วยคิดว่า นี้สําหรับพรุ่งนี้ นี้สําหรับวันที่สาม ก็ผักที่นึ่งด้วยน้ำ มีรสหวานไม่เค็ม ไม่ได้อบ ไม่เปรี้ยว (มีอยู่) พระโพธิสัตว์นั้นทรงหมายผักนึ่งนั้นเมื่อจะกล่าวว่า เชิญเอาผักนึ่งนี้ไปบริโภค จึงกล่าวคําเป็นต้นว่า ข้าพเจ้าขอถามผู้เจริญเกี่ยวกับของรับแขก. ของรับแขกทั้งหมดนี้ มีไว้สําหรับพรหม ข้าพเจ้าขอถามของรับแขกเหล่านั้นกับผู้เจริญ ท่านผู้เจริญจงกระทําของรับแขกของข้าพเจ้า คือ ท่านผู้เจริญจงรับของรับแขกนี้ของข้าพเจ้าผู้ถามอยู่อย่างนี้.
ก็ท่านมหาโควินท์นี้ไม่ทราบหรือว่า พรหมไม่บริโภคแต่สิ่งเดียวจากสิ่งนี้. ไม่ใช่ไม่ทราบ ทั้งที่ทราบอยู่ก็ถามด้วยมุ่งวัตรเป็นสําคัญว่า ชื่อว่าแขกที่มาสู่สํานักของตนเป็นผู้ที่ต้องถาม. ที่นั้นแล พรหมก็พิจารณาดูว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 62
บัณฑิตรู้ว่าเราไม่มีการทําการบริโภคแล้วจึงถามหรือหนอ หรือว่า ตั้งอยู่ในความหลอกลวงแล้วจึงถาม ทราบว่า ตั้งอยู่ในวัตรเป็นสําคัญจึงถาม จึงคิดว่า บัดนี้ เราควรรับ จึงกล่าวว่า โควินท์ เราจะขอรับของรับแขกที่ท่านกล่าวถึง. (มีคําที่มหาพรหมอธิบายว่า) โควินท์ คําที่ท่านกล่าวเป็นต้นว่า นี้ที่นั่งที่ปูไว้แล้วเชิญนั่งบนที่นั่งนี้ ในสิ่งเหล่านั้น เรานั้นชื่อว่าเป็นผู้นั่งแล้วบนที่นั่ง ชื่อว่าเป็นผู้ดื่มน้ำแล้ว แม้เท้าเราก็ชื่อว่าล้างแล้ว ชื่อว่าทาน้ำมันแล้ว ชื่อว่าบริโภคผักนึ่งน้ำแล้ว ตั้งแต่เวลาที่เรารับของที่ท่านให้ ท่านพูดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอันว่า เราได้รับเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงว่า โควินท์ เราขอรับของรับแขกที่กล่าวถึงนั้น. ก็แลครั้นรับของรับแขกแล้ว เมื่อจะทําโอกาสแห่งปัญหา มหาพรหมจึงกล่าวคําเป็นต้นว่า เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน ดังนี้.
บทว่า (ข้าพเจ้า) ผู้มีความสงสัย (ขอถามท่าน) ผู้ไม่สงสัย (ในปัญหา) ที่พึงทําให้คนอื่นเข้าใจ ความว่า ข้าพเจ้ายังมีความสงสัย (ขอถาม) ท่านผู้เจริญ ที่ไม่มีความสงสัยในปัญหาที่พึงทําให้คนอื่นเข้าใจ ซึ่งปรากฏแก่คนอื่น เพราะความที่ถูกคนอื่นสร้างขึ้นมาเอง. คําว่า ละความเป็นของเรา คือละตัณหาที่เป็นเครื่องมือให้ถือว่า นี้ของเรา ของเรานี้. คําว่า ในหมู่มนุษย์ คือในหมู่สัตว์. อธิบายว่า มนุษย์คนเราละความเป็นของเราแล้ว. คําว่า เป็นผู้โดดเดี่ยว คือ เป็นผู้เดียว. หมายความว่า ยืนอยู่คนเดียว นั่งอยู่คนเดียว. ก็ในข้อนี้ มีใจความของคําว่า ที่ชื่อว่า โดดเดี่ยวเพราะเป็นผู้เดียว เด่นขึ้น คือเป็นไป. ที่ชื่อว่า เป็นผู้โดดเดี่ยวเพราะ.เป็นผู้เช่นนั้น. คําว่า น้อมไปในความสงสาร คือน้อมไปในฌานที่ประกอบด้วยความสงสาร หมายความว่า ทําให้ฌานนั้นเกิดขึ้น. คําว่า ไม่มีกลิ่นสกปรก คือปราศจากกลิ่นเหม็น. คําว่า ตั้งอยู่ในนี้ คือตั้งอยู่ใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 63
ธรรมเหล่านี้. คําว่า และกําลังสําเหนียกอยู่ในนี้ คือกําลังศึกษาในธรรมเหล่านี้. นี้เป็นความย่อในเรื่องนี้. ส่วนความยาว มหาโควินท์ และพรหมได้กล่าวไว้ข้างบนเสร็จแล้วแล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ไม่รู้สิ่งเหล่านี้ มีความว่า ข้าพเจ้าไม่รู้ ไม่เข้าใจกลิ่นสกปรกเหล่านี้. บทว่า ธีระ ท่านจงกล่าวในที่นี้ ความว่า ธีระ คือนักปราชญ์ เพราะเหตุนั้น ท่านจงกล่าว คือจงบอกข้าพเจ้าในที่นี้. คําว่า หมู่สัตว์ถูกอะไรห่อหุ้มไว้จึงมีกลิ่นเน่าเหม็นฟุ้งไปความว่า สัตว์ถูกเครื่องกางกั้น คือกิเลสเป็นไฉนห่อหุ้มไว้จึงเน่าเหม็นฟุ้งไป คําว่า สัตว์อบาย ได้แก่สัตว์ที่เข้าถึงอบาย. บทว่า ปิดพรหมโลก คือ ชื่อว่า ปิดพรหมโลกแล้วเพราะพรหมโลกของเขาถูกหุ้มไว้ คือถูกปิดแล้ว. มหาโควินท์ถามว่า หมู่สัตว์ถูกกิเลสอะไรห่อหุ้ม คือปิดได้แก่ปกปิดทางพรหมโลกเล่า มหาพรหมตอบว่า ความโกรธ การกล่าวเท็จ ความหลอกลวง ความประทุษร้าย เป็นต้น ความโกรธมีความฉุนเฉียวเป็นลักษณะ การกล่าวเท็จมีการกล่าวให้คลาดเคลื่อนกับคนอื่นเป็นลักษณะ ความหลอกลวงมีการแสดงสิ่งที่เหมือนกันแล้วลวงเอาเป็นลักษณะ และความประทุษร้ายมีการทําลายมิตรเป็นลักษณะ. คําว่า ความตระหนี่ การดูหมิ่น ความริษยา ความว่า ความตระหนี่มีความกระด้างและความเหนียวแน่นเป็นลักษณะ การดูหมิ่นมีการเหยียบย่ําแล้วดูถูกเป็นลักษณะ และความริษยามีความสิ้นไปแห่งสมบัติคนอื่นเป็นลักษณะ. บทว่า ความอยาก ความอยากแปลกๆ และความเบียดเบียนผู้อื่น ความว่า ความอยากมีความทยานอยากเป็นลักษณะ ความหวงแหนมีความตระหนี่เป็นลักษณะ และความเบียดเบียนผู้อื่นมีการทําให้ลําบากเป็นลักษณะ. บทว่า ความอยากได้ ความประทุษร้าย ความเมาและความหลง คือความอยากได้ มีความโลภเป็นลักษณะ ความประทุษ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 64
ร้ายมีความร้ายกาจเป็นลักษณะ ความเมา มีความมัวเมาเป็นลักษณะ และความหลง มีความลุ่มหลงเป็นลักษณะ. บทว่า ผู้ประกอบในเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ไม่มีกลิ่นสกปรก ความว่า หมู่สัตว์ที่ประกอบในกิเลสทั้ง ๑๔ ข้อเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ไม่มีกลิ่นสกปรก. มหาพรหมกล่าวว่า เป็นผู้มีกลิ่นสกปรกมีกลิ่นศพ มีกลิ่นเน่าเหม็นแท้ๆ . บทว่า สัตว์อบายปิดพรหมโลกแล้ว มหาพรหมย่อมแสดงว่า ก็แหละ หมู่สัตว์นี้เป็นสัตว์อบายและเป็นผู้ปิดทางพรหมโลก. ก็แลผู้กล่าวสูตรนี้อยู่พึงกล่าวให้แจ่มแจ้งได้ด้วยอามคันธสูตร แม้อามคันธสูตรก็พึงกล่าวให้แจ่มแจ้งได้ด้วยสูตรนี้
บทว่า (กลิ่นน่าสะอิดสะเอียน) เหล่านั้น ไม่ใช่พึงย่ํายีได้ง่าย ความว่า กลิ่นเหม็นๆ เหล่านั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะพึงย่ํายีเสียได้โดยง่าย คือไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะพึงย่ํายีเสียได้อย่างสะดวก คือไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะพึงละได้อย่างง่ายๆ . หมายความว่า ละยาก คือลําบากที่จะละ. บทว่า โควินท์ผู้เจริญย่อมสําคัญกาลเพื่อสิ่งใดในบัดนี้ ความว่า โควินท์ผู้เจริญย่อมสําคัญเวลาเพื่อการบวชใด การบวชนี้แหละจงเป็น. เมื่อเป็นอย่างนั้น การมาในสํานักของท่านแม้ของเราก็จักเป็นการมาดี. ถ้อยคําในทางธรรมที่กล่าวแล้ว ก็จักเป็นอันกล่าวดีแล้ว พ่อ! ท่านเป็นคนชั้นเลิศในชมพูทวีปทั้งสิ้น เป็นคนหนุ่มยังอยู่ในวัยต้น ชื่อว่าการละความเป็นสิริแห่งสมบัติที่ใหญ่อย่างนี้แล้วบวชของท่านนี้ เป็นการยิ่งใหญ่เหมือนกับการที่ช้างกลิ่นหอม (ช้างได้กลิ่นช้างฟัง) แล้วตัดเครื่องล่ามคือ (โซ่) เหล็กไปได้ฉะนั้น. ครั้นกระทํางานคือความมั่นคงแก่มหาบุรุษว่า การบวชนี้ชื่อว่า ความเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้แล้วพรหมสนังกุมารก็ไปสู่พรหมโลกตามเดิม. แม้มหาบุรุษมาคิดว่า การที่เราออกจากที่นี้แลบวชไม่สมควร เราย่อมพร่ําสอนอรรถแก่ราชตระกูล เพราะฉะนั้น เราจักกราบทูลแด่พระราชา ถ้าพระองค์จักทรงผนวชด้วยก็เป็นการดีแท้ ถ้าจักไม่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 65
ทรงผนวชเราจักเวรคืนตําแหน่งที่ปรึกษาเสร็จแล้วจึงบวช ดังนี้แล้วจึงเข้าเฝ้าพระราชา. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ท่าน ครั้งนั้นแล มหาโควินท์ ฯลฯ ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดีในความเป็นที่ปรึกษา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขอพระองค์จงทรงทราบด้วยราชสมบัติ ความว่า พระองค์นั่นแล จงทรงทราบเฉพาะ (รับผิดชอบ) ด้วยราชสมบัติของพระองค์. บทว่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดีในความเป็นที่ปรึกษา ความว่า ข้าพระพุทธเจ้าหายินดีในความเป็นที่ปรึกษาไม่ ข้าพระพุทธเจ้าเบื่อหน่ายแล้ว ขอพระองค์จงทรงทราบปุโรหิตผู้พร่ําสอนอื่นเถิด ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดีในความเป็นที่ปรึกษา. ลําดับนั้น พระราชาทรงพระดําริว่า โภคะในเรือนของพราหมณ์ผู้หลีกเร้นตั้งสี่เดือน คงจะน้อยเป็นแน่ จึงทรงเชื้อเชิญด้วยทรัพย์ตรัสว่า ถ้าท่านยังพร่องด้วยกามทั้งหลาย ข้าพเจ้าจะเติมให้ท่านจนเต็ม แล้วทรงพระดําริอีกว่า เมื่อพราหมณ์นี้อยู่คนเดียว ต้องถูกใครๆ เบียดเบียนหรือหนอแล จึงตรัสถามว่า
ข้าพเจ้าจะป้องกันผู้ที่จะเบียดเบียนท่าน ข้าพเจ้าเป็นแม่ทัพแห่งแผ่นดิน ท่านเป็นพ่อ ข้าพเจ้าเป็นลูก โควินท์ขอท่านอย่าทิ้งพวกข้าพเจ้าไป.
ความแห่งคาถานั้นว่า ข้าพเจ้าจะป้องกันผู้ที่จะเบียดเบียนท่าน ขออย่างเดียวเพียงให้ท่านบอกว่า คนโน้น ข้าพเจ้าจักทราบสิ่งที่พึงกระทําในกรณีนั้น. บทว่า ข้าพเจ้าเป็นแม่ทัพแห่งแผ่นดิน ความว่าอีกอย่างหนึ่งข้าพเจ้าเป็นเจ้าแผ่นดิน ข้าพเจ้านั้นจักให้ท่านเท่านั้น ครอบครองราชสมบัตินี้. บทว่า ท่านเป็นบิดา ข้าพเจ้าเป็นบุตร ความว่า ท่านดํารงอยู่ในตําแหน่งพ่อ ข้าพเจ้าในตําแหน่งลูก ท่านนั้นได้นําเอาใจของข้าพเจ้าไปเพื่อตนเท่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 66
โควินท์! ขอท่านอย่าทอดทิ้งข้าพเจ้า ปาฐะว่า ท่านจงให้เป็นไปตามที่ท่านต้องการเถิด ส่วนข้าพเจ้ายอมคล้อยตามใจของท่านทีเดียว จะกินอาหารที่ท่านให้มีมือถือดาบและโล่รับใช้ท่านหรือขับรถให้ท่าน โควินท์ ท่านอย่าทอดทิ้งข้าพเจ้าไปเลย ดังนี้ก็มี. ใจความของคํานั้นว่า ท่านจงดํารงตําแหน่งพ่อข้าพเจ้าจักดํารงตําแหน่งลูก โควินท์! ท่านอย่าทอดทิ้ง คือสละข้าพเจ้าไปเลย.
ครั้งนั้น เมื่อมหาบุรุษจะแสดงสิ่งที่พระราชาทรงคิดไม่มีในตนจึงกล่าวว่า
ความพร่องด้วยกามของข้าพระพุทธเจ้าไม่มี และการเบียดเบียนก็ไม่มีแก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วย เพราะข้าพระพุทธเจ้าฟังคําของอมนุษย์แล้วจึงไม่ยินดีในเรือน.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ของข้าพระพุทธเจ้าไม่มี ความว่า ไม่มีแก่ข้าพระพุทธเจ้า. บทว่า ในเรือน คือที่เรือน.
ลําดับนั้น พระราชาตรัสถามมหาโควินท์นั้นว่า
อมนุษย์มีวรรณะอย่างไร ได้กล่าวความอะไรกะท่านที่ท่านได้ฟังแล้วก็ทิ้งเรือนของพวกเรา และพวกข้าพเจ้าทั้งหมดไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิ้งเรือนของพวกเราและพวกข้าพเจ้าทั้งหมดไป ความว่า พระราชาเมื่อจะทรงกระทําพระราชวังของพระองค์ด้วยอํานาจรวมถือเอาทั้งบ้านพราหมณ์ที่สมบูรณ์ด้วยสมบัติจึงตรัสว่า ที่ท่านได้ฟังแล้ว ก็ทิ้งเรือนของพวกเราพวกข้าพเจ้า และชาวพูทวีปทั้งหมดทั้งสิ้น คือไม่มีเหลือไป.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 67
ลําดับนั้น เมื่อมหาบุรุษจะกราบทูลแด่พระราชาพระองค์นั้น จึงกล่าวคําเป็นต้นว่า เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าไปอยู่คราวก่อน ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เข้าไปอยู่ ความว่า เข้าไปถึงความเป็นผู้เดียวแล้วอยู่. บทว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ต้องการบูชา ความว่าข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ใคร่เพื่อเซ่นสรวง. บทว่า ไฟที่เอาใบคามาเติมได้ลุกโชติช่วงแล้ว คือความในข้อนี้ว่า ข้าพระพุทธเจ้ายืนคิดอย่างนี้ว่า ไฟที่เอาใบหญ้าคามาเติมแล้วใส่เนยใสนมส้มและน้ำผึ้งเป็นต้นเข้าไป ได้เริ่มลุกโชติช่วงแล้วเมื่อก่อไฟให้ลุกโชติช่วงอย่างนั้นเสร็จแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าจักให้ทานแก่มหาชน. บทว่า ผู้เก่าแก่ ได้แก่ สนังกุมารพรหม. แต่นั้นแม้องค์พระราชาเอง ก็ทรงเป็นผู้อยากจะทรงผนวชจึงตรัสคําเป็นต้นว่า ข้าพเจ้าเชื่อ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทําไมท่านจึงประพฤติเป็นอย่างอื่น ความว่า ท่านจักประพฤติโดยประการอื่นได้อย่างไร. บทว่า พวกเราเหล่านั้นจักประพฤติตามท่าน ความว่า พวกเราเหล่านั้นจักประพฤติตามคือจักบวชตามท่านนั่นแล. บาลีว่า จักไปตาม ดังนี้ ก็มี ใจความของบาลีนั้นว่าจักดําเนินไปตาม. บทว่า ไม่ไอ คือ ไม่มีการไอ ไม่หยาบ. บทว่า ในอนุศาสน์ของโควินท์ คือในคําสอนของท่านผู้ชื่อโควินท์ พระราชาตรัสว่าพวกเราจักทําโควินท์ผู้เจริญนั่นเองให้เป็นครูประพฤติ. บทว่า เข้าเฝ้ากษัตริย์ ๖ พระองค์ถึงที่ประทับ ความว่า โควินท์สนับสนุนพระเจ้าเรณุว่า ดีแล้วมหาราช ! การอันยิ่งใหญ่ที่มหาราชผู้ทรงใคร่เพื่อจะทรงผนวชมาสละราชสิริอันยิ่งใหญ่อย่างนี้ในเมื่อพวกสัตว์ฆ่าพ่อบ้างแม่บ้าง พี่น้องชายบ้าง พี่น้องหญิงเป็นต้นบ้างถือเอาราชสมบัติ ทรงกระทําแล้ว กระทําอุตสาหะของพระองค์ให้มั่นคงแล้วจึงเข้าเฝ้า. บทว่า ทรงคิดพร้อมกันอย่างนั้น ความว่า กษัตริย์ ๖ พระองค์ทรงสําคัญอยู่ว่า บางทีโภคะทั้งหลายของพราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 68
เสื่อมรอบแล้วก็เป็นได้ จึงทรงคิดพร้อมกันโดยนัยที่พระราชาทรงคิดนั่นแล. บทว่า พวกเราพึงศึกษาด้วยทรัพย์ ความว่า พวกเราพึงช่วยเหลือ คือพึงสงเคราะห์. บทว่า จงให้นํามาเท่านั้น ความว่า พึงให้นํามา คือพึงให้ถือเอาเท่านั้น. มีคําที่ท่านกล่าวไว้ว่า ท่านพึงถือเอาเท่าจํานวนที่ท่านต้องการ. บทว่า สมบัติของท่านผู้เจริญทั้งหลาย ก็อย่างนั้น ความว่าสมบัติเกิดเป็นของเพียงพอแล้ว เพราะความที่ท่านทั้งหลายกระทําท่านผู้เจริญทั้งหลายให้เป็นปัจจัยให้แล้วนั่นเทียว.
บทว่า ถ้าพวกท่านละกามทั้งหลายได้ ความว่า ถ้าพวกท่านละวัตถุกามและกิเลสกามได้. บทว่า ในกามไรเล่าที่ปุถุชนข้องแล้ว ติดแล้ว คือติดขัดแล้วในกามเหล่าใด. บทว่า พวกท่านจงปรารภ จงเป็นผู้มั่นคง คือ เมื่อเป็นเช่นนี้ขอให้พวกท่านจงปรารภความเพียร อธิษฐานความบากบั่นที่หย่อนจงเป็นผู้มั่นคง. บทว่า เป็นผู้ตั้งมั่นในกําลัง คือความอดทน คือ โควินท์ ปลูกความอุตสาหะให้เกิดแก่พระราชาทั้งหลายว่า ขอให้พวกพระองค์จงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกําลังคือความอดทน. บทว่า นั่นเป็นทางตรง ความว่า ทางแห่งฌานที่ประกอบด้วยความสงสารนั่น ชื่อว่าเป็นทางตรง. บทว่า นั่นเป็นทางอันยอดเยี่ยม ความว่า นั่นแหละชื่อว่า เป็นทางสูงสุดที่ไม่มีทางอื่นเหมือนเพื่อความเข้าถึงพรหมโลก. บทว่า พระสัทธรรมอันเหล่าสัตบุรุษรักษาแล้ว ความว่า ชื่อว่าพระธรรมนั่นแลชื่อว่าเป็นธรรมอันเหล่าพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกผู้ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษรักษาแล้ว. โควินท์ ย่อมกระทําถ้อยคําให้เป็นกรรมมั่นคงจริงๆ เพื่อประโยชน์การไม่กลับ แห่งพระราชาเหล่านั้น แม้ด้วยการพรรณนาฌานที่ประกอบด้วยกรุณาด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 69
บทว่า ท่าน ! ก็ใครหนอจะรู้ (คติ) ของชีวิตทั้งหลาย ความว่า ท่าน ! ขึ้นชื่อว่าชีวิต มันก็เหมือนกับฟองน้ำ เหมือนหยาดน้ำค้างบนใบหญ้า มีการแตกกระจายในทันทีเป็นธรรมดา ใครจะรู้คติของชีวิตนั้นได้มันจักแตกสลายในขณะใด. บทว่า ภพหน้า จําต้องไป ความว่า ก็โลกหน้าเป็นของที่ต้องไปแน่นอนเทียว เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตพึงรู้ ด้วยปัญญาในเรื่องนั้น อธิบายว่า ปัญญาท่านเรียกว่าความรู้ต้องปรึกษา ต้องเข้าใจต้องพินิจพิจารณาด้วยปัญญานั้น. หรือคําว่า มนฺตาย นั้นเป็นสัตตมีวิภัติลงในอรรถตติยาวิภัติ. บทว่า ต้องชี้ขาดลงไปด้วยความรู้ ความว่า ต้องรู้ด้วยความรู้. อธิบายว่า ต้องเข้าใจด้วยความรู้ ต้องรู้อะไร ต้องรู้ความที่ชีวิตรู้ได้ยาก และโลกหน้าเป็นที่ จําต้องไปแน่นอน. ก็แลเมื่อรู้แล้ว ก็ต้องตัดความยุ่งทุกอย่างแล้วทํากุศล ต้องประพฤติพรหมจรรย์. เพราะอะไร เพราะผู้เกิดแล้วไม่ตายย่อมไม่มี.
บทว่า มีศักดิ์น้อย และมีลาภน้อย คือว่า (พระเจ้าเรณุย่อมตรัสว่า) ท่าน ! ขึ้นชื่อว่าการบวช ชื่อว่ามียศน้อยทีเดียว เพราะคนเบียดเบียนแล้วเบียดเบียนเล่า ซึ่งผู้ที่สละราชสมบัติแล้วบวชตั้งแต่เวลาที่บวชแล้ว ย่อมพูดทําให้เลวทรามและไร้ที่พึ่ง และชื่อว่ามีลาภน้อย เพราะแม้เดินไปจนทั่วหมู่บ้าน ก็หาอาหารกลืนได้ยากนั่นแหละ ส่วนความเป็นพราหมณ์นี้ชื่อว่ามีศักดิ์ใหญ่ เพราะความเป็นผู้มียศใหญ่ และชื่อว่ามีลาภใหญ่ เพราะความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยลาภและสักการะที่ใหญ่. ในบัดนี้ ท่านผู้เจริญเป็นที่ปรึกษาชั้นยอดทั่วทั้งชมพูทวีป ทุกหนทุกแห่ง ย่อมได้แต่ที่นั่งประเสริฐ น้ำที่เลิศ อาหารที่ยอด กลิ่นที่เยี่ยม ระเบียบดอกไม้ที่เลิศ. บทว่า เหมือนราชาแห่งราชาทั้งหลาย ความว่า ท่าน ! ข้าพระพุทธเจ้าแล บัดนี้ เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิในท่ามกลางหมู่พระราชา. บทว่า เหมือนพรหมแห่งหมู่พราหมณ์ ความ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 70
ว่า เป็นเช่นกับมหาพรหมในท่ามกลางแห่งพราหมณ์ปกติทั้งหลาย. บทว่า เป็นเหมือนเทวดาแห่งพวกคฤหบดี ความว่า ก็แล ข้าพระพุทธเจ้าเป็นเช่นกับสักกะเทวราชแห่งพวกคฤหบดีที่เหลือ.
บทว่า และพวกภริยาที่มีชาติและวรรณะเสมอกัน ๔๐ นาง ความว่า พวกภริยาที่มีชาติและวรรณะเช่นกัน ๔๐ นางเท่านั้น แต่พวกหญิงระบําในสามวัยเหล่าอื่นของโควินท์ มีมากทีเดียว. บทว่า เที่ยวจาริก ความว่า โควินท์ท่องเที่ยวไปโดยตําบลและอําเภอ ทุกๆ สถานที่เขาไปมีความอลหม่านปานกับความอลหม่านของพระพุทธเจ้า. พวกคนได้ฟังว่า นัยว่า มหาโควินท์บัณฑิตกําลังจะมา ก็ให้สร้างประรําคอยไว้ก่อน ให้ประดับประดาถนนหนทาง แล้วลุกขึ้นต้อนรับนํามา. ลาภและสักการะ เกิดขึ้นเหมือนห้วงน้ำใหญ่ไหลท่วมท้น. บทว่า แก่ที่ปรึกษาทั้งเจ็ด คือแต่ที่ปรึกษาของเหล่าพระราชาเจ็ดพระองค์. ในครั้นนั้น พวกคนย่อมกล่าวว่า ขอความนอบน้อมจงมีแต่มหาโควินทพราหมณ์ ขอความนอบน้อมจงมีแด่ที่ปรึกษาของพระราชาทั้งเจ็ด เหมือนในบัดนี้ เมื่อทุกข์ไรๆ เกิดในฐานะเห็นปานนี้ย่อมกล่าวว่า ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ฉะนั้นด้วยประการฉะนี้.
พรหมวิหารมาแล้วในบาลีโดยนัยเป็นต้นว่า ไปด้วยกันกับความรัก. ก็แลมหาบุรุษ ทําสมาบัติแปดและอภิญญาห้าให้เกิดจนครบแล้ว. บทว่า และแสดงทางแห่งความเป็นเพื่อนในพรหมโลกแก่พวกสาวก ความว่าบอกทางแห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพรหมในพรหมโลก. บทว่า หมดทั้งหมด ความว่า สาวกเหล่าใด ทําสมาบัติแปดและอภิญญาห้าให้เกิดขึ้นแล้ว. สาวกเหล่าใดไม่ทราบทั่วถึงศาสนา ทั้งหมด. สาวกเหล่าใดไม่รู้ไม่อาจเพื่อให้แม้แต่สมาบัติหนึ่งในสมาบัติแปดเกิดขึ้น. บทว่า ไม่เปล่า คือมีผล. บทว่า ไม่เป็นหมัน คือไม่ใช่เป็นหมัน. บาลีว่า ประสบผลที่เลว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 71
กว่าเขาหมดดังนี้บ้าง. อธิบายว่า ประสบกายคนธรรพ์. บทว่า มีผล คือเป็นไปกับด้วยผล เป็นไปกับด้วยประโยชน์เกื้อกูลเพื่อการเข้าถึงเทวโลกที่เหลือ. บทว่า มีกําไร ได้แก่เป็นไปกับด้วยความเจริญเพื่อเข้าถึงพรหมโลก.
บทว่า เรายังระลึกได้ ความว่า ปัญจสิขะเรายังจําได้. เล่ากันว่าเพราะบทนี้ พระสูตรนี้จึงกลายเป็นพุทธภาษิตไป. บทว่า ไม่ใช่เพื่อความเบื่อหน่าย คือไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ความเบื่อหน่ายในวัฏฏะ. บทว่า ไม่ใช่เพื่อความคลายกําหนัด คือไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ความคลายกําหนัดในวัฏฏะ. บทว่า ไม่ใช่เพื่อความดับโดยไม่เหลือ คือไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ความดับวัฏฏะโดยไม่เหลือ. บทว่า ไม่ใช่เพื่อความสงบระงับ คือไม่ใช่เพื่อแก่การเข้าไปสงบระงับวัฏฏะ. บทว่า ไม่ใช่เพื่อความรู้ยิ่ง คือไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ความรู้วัฏฏะอย่างยิ่ง. บทว่า ไม่ใช่เพื่อความตื่นพร้อม คือไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่ความตื่นจากวัฏฏะด้วยปราศไปจากความหลับในกิเลส. บทว่า ไม่ใช่เพื่อพระนิพพาน คือไม่ใช่เพื่อประโยชน์แก่อมตมหานิพพาน. บทว่า เพื่อความเบื่อหน่ายอย่างสิ้นเชิง คือเพื่อประโยชน์แก่ความเบื่อหน่ายในวัฏฏะส่วนเดียวเท่านั้น. สําหรับในที่นี้บทว่า เพื่อความเบื่อหน่าย ได้แก่วิปัสสนา. บทว่า เพื่อคลายความกําหนัด ได้แก่มรรค. บทว่า เพื่อความดับโดยไม่เหลือเพื่อความสงบระงับ ได้แก่นิพพาน. บทว่า เพื่อความรู้ยิ่งเพื่อความตรัสรู้ หมายเอามรรค. บทว่า เพื่อนิพพาน ก็คือนิพพานนั่นเอง ด้วยประการฉะนี้ ก็เป็นอันพึงทราบถ้อยคําที่ปราศจากวัฏฏะอย่างนี้ว่า ท่านกล่าววิปัสสนา ๑ แห่ง กล่าวมรรค ๓ แห่ง กล่าวนิพพาน ๓ แห่ง ก็แล คําใช้แทนมรรคก็ดี คําใช้แทนนิพพานก็ดี ทั้งหมดแม้นี้ย่อมมีโดยทํานองนี้แล.คําที่จะพึงกล่าวในบทเป็นต้นว่า ความเห็นชอบ ก็ได้กล่าวเสร็จแล้วในสัจจวรรณนาในวิสุทธิมรรค.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 72
บทว่า เหล่าใดไม่หมดทั้งหมด ความว่า กุลบุตรเหล่าใดไม่ทราบ เพื่อจะบําเพ็ญอริยมรรคทั้ง ๔ หรือทําให้อริยมรรค ๓, ๒ หรือ ๑ เกิดขึ้น. บทว่า ของพวกกุลบุตรทั้งหมดนี้ทีเดียว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังธรรมเทศนาให้จบลงด้วยยอดคือพระอรหัต (การบรรพชา) ของพวกกุลบุตรผู้ประพฤติพรหมจรรย์อยู่เนืองนิจไม่เป็นของเปล่า มีกําไรดังนี้. บทว่า อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทําประทักษิณ ความว่าปัญจสิขเทพบุตรชื่นชม รับพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ด้วยจิต อนุโมทนาสรรเสริญอยู่ด้วยวาจา ยกกระพุ่มมือใหญ่วางเหนือเศียร เข้าไปในระหว่างข่ายพระรัศมีหกสี ของพระทศพลเจ้าเหมือนดําลงในน้ำครั่งที่ใสไหว้ในที่ ๔ แห่ง แล้วทําประทักษิณสามรอบ ชื่นชมชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า พลางก็หายวับไปข้างหน้าพระศาสดาได้มาสู่เทวโลกของตนแล้ว ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามหาโควินทสูตรที่ ๖